[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 10:29:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โกเอ็นก้า ถึงธรรม บนหนทาง วิปัสสนา (สารคดี)  (อ่าน 1935 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5065


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2559 02:08:56 »















หนทาง (วิปัสสนา)

ท่านโกเอ็นก้าในวิดีโอธรรมบรรยายดูหนุ่มกว่าตัวจริงที่ข้าพเจ้าได้เห็นเมื่อปลายปีก่อน

ภาพในวิดีโอถูกบันทึกตอนท่านอายุ ๖๗ ปี เป็นการบรรยายธรรมในหลักสูตรการอบรมวิปัสสนาให้แก่ชาวอเมริกันที่แคลิฟอร์เนีย ซึ่งต่อมาถูกนำไปใช้ในการอบรมหลักสูตร ๑๐ วันในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

เฉพาะในเมืองไทยมีศูนย์วิปัสสนา ๖ แห่ง แต่ละแห่งจัดการอบรมปีละหลายครั้ง และจำนวนผู้เข้ารับการอบรมก็เพิ่มขึ้นทุกปี  ตามสถิติเฉพาะในปี ๒๕๕๕ มีจำนวน ๘,๐๐๐ กว่าราย

ปลายปีที่แล้วท่านโกเอ็นก้าเดินทางจากถิ่นพำนักปัจจุบันในประเทศอินเดียมายังพม่า ซึ่งท่านนับว่าเป็นดินแดนแห่งธรรมที่มีพระคุณต่อท่าน  ลูกศิษย์จากเมืองไทยจำนวนหนึ่งเดินทางไปร่วมต้อนรับท่าน ข้าพเจ้าได้รับการชักชวนให้ร่วมทางไปด้วย

ท่านโกเอ็นก้าที่ข้าพเจ้าได้เห็นตัวจริงเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ อยู่ในวัย ๘๘ ปี รูปร่างท้วมขึ้นกว่าเมื่อตอนที่ยังหนุ่มกว่านี้ เคลื่อนไหวเชื่องช้าตามความชรา  แต่แววตายังแจ่มใส ดูเปี่ยมความเมตตา เช่นเดียวกับน้ำเสียงทุ้มเย็นที่ยังก้องกังวานอยู่ไม่เปลี่ยน

หน้าตาของท่านดูมีเค้าของชาวอินเดีย แต่ความจริงท่านเกิดในประเทศพม่า ที่เมืองมัณฑะเลย์ เมื่อปี ๒๔๖๗ มีชื่อเต็มว่า สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า

เอกสารไม่กี่หน้าเกี่ยวกับประวัติของท่านระบุว่า เอส. เอ็น. โกเอ็นก้า เกิดในครอบครัวนักธุรกิจ และท่านเองก็เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงตั้งแต่ยังหนุ่ม ตั้งโรงงานน้ำตาล โรงงานทอผ้า โรงงานผ้าห่ม และเปิดบริษัทนำเข้า-ส่งออก โดยมีสำนักงานอยู่ทั่วโลก  ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำชุมชนชาวอินเดียในพม่า รวมทั้งเป็นประธานองค์กรต่างๆ อาทิ หอการค้ามาร์วารีแห่งพม่า สมาคมพาณิชย์และอุตสาหกรรมแห่งย่างกุ้ง

แต่พร้อมกับชื่อเสียง เกียรติยศ และความสำเร็จในชีวิตที่ได้มา ความตึงเครียดทางใจก็เพิ่มขึ้นเป็นเงา  ท่านเล่าไว้ว่าทุกๆ คืนหากการเจรจาธุรกิจในวันนั้นล้มเหลว ท่านจะคิดใคร่ครวญหาข้อผิดพลาดและหนทางแก้ไข แต่ในวันที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ท่านก็ยังนอนไม่หลับเพราะมัวแต่ชื่นชมความสำเร็จของตัวเอง

“ถึงแม้ข้าพเจ้าจะประสบกับความสำเร็จ แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่ามีความสุขสงบในใจแต่อย่างใด  ข้าพเจ้าพบว่าความสงบนั้นเกี่ยวพันกับความสุขอย่างมาก แต่ข้าพเจ้าก็มักจะไม่มีทั้งสองอย่างนี้ ทั้งๆ ที่มีเงินทองและตำแหน่งผู้นำชุมชน”

ในที่สุดท่านก็เป็นโรคไมเกรนชนิดรุนแรง ถึงขั้นต้องพึ่งมอร์ฟีนและมีทีท่าว่าจะต้องเพิ่มปริมาณการใช้มากขึ้นเรื่อยๆ

และในการแสดงธรรมบรรยายคืนสุดท้ายของหลักสูตรการอบรม ๑๐ วัน ท่านได้เล่าประวัติตัวเองในช่วงนี้โดยละเอียดว่า หมอที่รักษาท่านเห็นแนวโน้มการใช้มอร์ฟีนที่สูงขึ้นแล้วก็แนะนำให้ท่านลองไปเสาะหาหมอในประเทศอื่นดูบ้าง เพราะเห็นว่าท่านคงมีช่องทางและฐานะพอจะทำเช่นนั้นได้ไม่ยาก

ท่านไปรักษาตัวในหลายประเทศ ตั้งแต่สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี อังกฤษ อเมริกา และในญี่ปุ่น แต่ไม่เกิดผลอย่างใด  อย่าว่าแต่จะรักษาอาการปวดหัว แค่จะให้ท่านละเลิกจากการใช้มอร์ฟีน หมอทั่วโลกก็ยังหาวิธีการไม่ได้

แต่ท่านว่าทั้งหมดนั้นถือเป็นความโชคดีที่เป็นเงื่อนไขชักนำให้ท่านได้มาพบธรรมะ

หนุ่มโกเอ็นก้าในวัย ๓๒ ปี พากายที่เจ็บป่วยทรุดหนักกว่าเดิมกลับพม่า และได้ทราบเรื่องราวของท่านซายาจี อูบาขิ่น (๒๔๔๒-๒๕๑๔) ข้าราชการระดับสูงของพม่าที่เป็นนักวิปัสสนาและสอนวิธีปฏิบัติวิปัสสนา จากการแนะนำของเพื่อนคนหนึ่ง

และท่านอูบาขิ่นเองนั้นก็ได้รู้เรื่องการปฏิบัติวิปัสสนามาจากเพื่อนคนหนึ่งเช่นกัน เขามาเล่าถึงการเข้าร่วมฝึกปฏิบัติกับท่านซายาเท็ตจี (๒๔๑๖-๒๔๘๘) เรื่องการวิปัสสนาและวิธีการปฏิบัติอานาปานัสสติให้ฟัง  ท่านอูบาขิ่นได้ฟังแล้วเกิดความสนใจจึงทดลองปฏิบัติ ก็พบว่าทำให้จิตมีสมาธิตั้งมั่นดี เกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเข้ารับการอบรมเต็มหลักสูตรเพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนา

ท่านอูบาขิ่นในวัย ๓๘ ปีตัดสินใจขอลางานเสมียนที่สำนักงานกรมบัญชีกลาง มุ่งหน้าไปยังสำนักของท่านซายาเท็ตจีที่เปียวบ่วยจีในทันที



คุณของธรรม

ศูนย์วิปัสสนาของท่านซายาเท็ตจีที่เราได้มาเห็นใน พ.ศ. นี้   คงต่างจากเมื่อครั้งที่ท่านอูบาขิ่นมาเข้ารับการอบรมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ไม่มากนัก

จากตัวเมืองย่างกุ้ง ข้ามแม่น้ำย่างกุ้งด้วยแพขนานยนต์ขนาดใหญ่ซึ่งจอแจไปด้วยชาวเมืองและแม่ค้า ไปสู่อีกฟากฝั่งทางตะวันตก ก็เหมือนเป็นอีกโลกที่ชุมชนและผู้คนยังอยู่กันแบบพื้นบ้านดั้งเดิม

ถนนสายเล็กผิวขรุขระทอดออกจากท่าเรือ ฝ่าไปกลางท้องทุ่งกสิกรรมที่ยังคงทำการเพาะปลูกแบบเดิมๆ สภาพพื้นที่อันเอื้ออำนวยไม่จำเป็นต้องพึ่งระบบชลประทานหรือปรับพื้นที่จนเกลี้ยงเกลา  ไม้ท้องถิ่นอย่าง เตย สาคู และไม้ใหญ่ยืนต้นทั้งหลายยังเหลือรอดได้แทรกตัวเป็นกลุ่มเป็นกออยู่ตรงนั้นตรงนี้  ชาวนาใช้เครื่องจักรทุ่นแรงกันน้อย สังเกตจากร่องรอยการเก็บเกี่ยวและฟางข้าวก็พอดูออกว่าเป็นงานที่ทำมาด้วยแรงคนและวัวควายที่เคลื่อนฝูงคลาคล่ำกันอยู่ในท้องทุ่ง

ตามเส้นทางมีรถน้อย ที่เห็นวิ่งสวนกันอยู่บ้างเป็นรถโดยสารประจำทาง หรือไม่ก็รถของกลุ่มนักท่องเที่ยว  ชาวถิ่นตามชุมชน ๒ ข้างทางยังคงใช้เกวียนกันเป็นหลัก

จากบ่ายแก่ๆ จนเย็นย่ำ คณะศิษย์ท่านโกเอ็นก้าจากเมืองไทยจึงผ่านระยะทางจากฝั่งแม่น้ำย่างกุ้งไปถึงศูนย์วิปัสสนาของท่านซายาเท็ตจีที่เปียวบ่วยจี  แต่ก็นับว่ายังลำบากน้อยกว่าในยุคท่านอูบาขิ่นที่ต้องเดินเท้ามาท้องนาก่อนฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งยังชุ่มน้ำ ท่านต้องย่ำโคลนตมถึงน่องถึงเข่ากว่าจะฝ่ามาถึงสำนักของท่านอาจารย์เท็ต

อาคารไม้ขนาดย่อม ๓-๔ หลังตั้งอยู่บนที่ราบกว้างก้นซอยซึ่งแยกมาจากทางสายหลักกลางชุมชนยังคงมีผู้มาฝึกวิปัสสนากันอยู่ไม่ขาด  พวกเราไปถึงในยามเย็นที่แดดสีทองกำลังส่องทาบอยู่บนทิวใบมะพร้าวและหลังคาอาคารบ้านเรือน เป็นบรรยากาศที่ชวนให้นึกไปถึงเย็นวันแรกที่ท่านอูบาขิ่นเดินทางมาถึง

คืนนั้นท่านซายาเท็ตจีได้สอนวิธีการปฏิบัติอานาปานัสสติให้แก่ท่านอูบาขิ่นและชาวพม่าอีกคน ซึ่งผู้ปฏิบัติใหม่ทั้งสองก็ปฏิบัติได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งท่านซายาเท็ตจีตัดสินใจสอนวิปัสสนาให้ในวันถัดมา  แม้จะเป็นการฝึกปฏิบัติหลักสูตร ๑๐ วันครั้งแรกของท่านอูบาขิ่น แต่ท่านก็ปฏิบัติได้ผลดียิ่ง  หลังจากนั้นท่านก็เดินทางมาฝึกปฏิบัติที่สำนักของท่านซายาเท็ตจีบ่อยครั้ง

ต้นปี ๒๔๘๔ ท่านอูบาขิ่นได้พบกับท่านเวบู ซายาดอว์ พระภิกษุที่ชาวพม่าให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง หลังจากได้สนทนาด้วยอัธยาศัยที่ต้องกันและนั่งปฏิบัติร่วมกัน ท่านเวบู ซายาดอว์ ก็ได้กล่าวกับท่านอูบาขิ่นว่า ถึงเวลาที่ท่านอูบาขิ่นจะต้องลงมือสอนธรรมะให้แก่ผู้คนทั้งหลายแล้ว อย่าปล่อยให้ผู้ที่ได้พบกับท่านพลาดโอกาสที่จะได้รับธรรมะอีกเลย  ท่านอูบาขิ่นจึงได้เริ่มต้นเป็นอาจารย์สอนวิปัสสนาซึ่งท่านซายาเท็ตจีให้การสนับสนุน

เริ่มจากการตั้งชมรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขึ้นภายในสำนักงานกรมบัญชีกลาง ให้ข้าราชการในกรมฯ ได้ฝึกปฏิบัติ ซึ่งท่านอูบาขิ่นดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมบัญชีกลางมาตั้งแต่ปี ๒๔๙๑ ที่ประเทศพม่าได้รับเอกราช และในช่วงเวลา ๒๐ ปีถัดจากนั้น ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ หลายตำแหน่งในคณะรัฐบาล และมักต้องทำงานอย่างน้อย ๒ ตำแหน่งในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละตำแหน่งล้วนมีความรับผิดชอบสูงเทียบเท่าตำแหน่งอธิบดีทั้งสิ้น  ช่วงหนึ่งที่ท่านต้องรั้งตำแหน่งอธิบดีกรมถึง ๓ กรมพร้อมๆ กันเป็นเวลา ๓ ปี กับอีกครั้งต้องดูแลถึง ๔ กรมในเวลาเดียวกัน

ในปี ๒๔๙๕ ท่านอูบาขิ่นได้เปิดศูนย์วิปัสสนานานาชาติ (International Meditation Centre – I.M.C.) ขึ้นในกรุงย่างกุ้ง ห่างเจดีย์ชเวดากองไปทางทิศเหนือราว ๓ กิโลเมตร มีผู้ปฏิบัติทั้งชาวพม่าและชาวต่างชาติมาเรียนรู้ธรรมะจากท่านจำนวนมาก ไม่เฉพาะแต่นักธุรกิจอย่างท่านโกเอ็นก้าเท่านั้น  ตามประวัติกล่าวว่าแม้แต่ประธานาธิบดีคนแรกของสหภาพพม่า หรือนักวิทยาศาสตร์จากโลกตะวันตกก็เคยมาเข้ารับการอบรมหลักสูตรวิปัสสนาที่ศูนย์วิปัสสนานานาชาติเช่นกัน

เริ่มแรกท่านโกเอ็นก้าไปพบอาจารย์อูบาขิ่น แจ้งความประสงค์เรื่องการจะใช้วิปัสสนารักษาโรคไมเกรน แต่ท่านอาจารย์อูบาขิ่นบอกว่าธรรมะมีคุณมากกว่านั้น

“ธรรมะไม่ใช่สิ่งที่มีไว้รักษาโรคทางกาย ถ้าเธอต้องการรักษาโรคทางกายก็ควรไปโรงพยาบาล แต่ธรรมะคือสิ่งที่จะช่วยชำระจิตให้บริสุทธิ์ เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายในชีวิต  โรคของเธอเป็นเพียงส่วนที่เล็กมากในจำนวนความทุกข์ของเธอ มันย่อมจะหายไปเอง ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการชำระจิตให้บริสุทธิ์เท่านั้น  ถ้าเธอมาปฏิบัติเพราะต้องการรักษาโรคทางกายก็ถือว่าเธอประเมินคุณค่าของธรรมะต่ำเกินไป  จงปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้น ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรคทางกาย”

แต่ด้วยความเป็นชาวฮินดูที่เคร่งครัด ตอนแรกท่านโกเอ็นก้าก็ยังลังเลที่จะเข้าอบรมในศูนย์วิปัสสนาของอาจารย์ชาวพุทธ  กระทั่งผู้เป็นอาจารย์ให้คำยืนยันว่า “ฉันจะไม่เปลี่ยนแปลงเธอให้หันมาถือพุทธหรอก แต่ฉันจะสอนวิธีการปฏิบัติที่ทำให้เธอเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐยิ่งขึ้น”

ได้รับความกระจ่างเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติวิปัสสนาที่เน้นศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งไม่ขัดกับการเป็นศาสนิกชนของศาสนาใดท่านจึงตัดสินใจเข้ารับการอบรม

แต่การฝึกวิปัสสนาในระยะเริ่มต้นของท่านโกเอ็นก้าไม่ราบรื่นอย่างอาจารย์

ท่านโกเอ็นก้าเล่าว่า ท่านคิดจะล้มเลิกความตั้งใจ เก็บกระเป๋ากลับบ้านเสียตั้งแต่วันที่ ๒ ของการฝึกปฏิบัติ หลังได้ยินเพื่อนที่ร่วมปฏิบัติพูดให้ได้ยินว่าพวกเขาเห็นแสงนั่นนี่ ซึ่งตามคติฮินดูแล้วกล่าวกันว่านั่นคือแสงสวรรค์ แต่ท่านเองปฏิบัติแล้วยังไม่เห็นอะไรเลย และยังคิดเชื่อมโยงไปถึงคำกล่าวที่ว่า “เอาอูฐลอดรูเข็มยังง่ายเสียกว่าจะให้คนรวยได้ขึ้นสวรรค์” แล้วท่านเองเป็นนักธุรกิจเป็นคนรวยก็ยิ่งท้อแท้ เก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเตรียมจะหนีกลับในเย็นนั้น แต่ก็มีสุภาพสตรีที่เป็นผู้ปฏิบัติเก่าขอร้องให้ลองอยู่ต่ออีกสักวัน  เธอบอกกับเขาว่า “อีกวันเดียวเถิดน่า อยู่ต่ออีกสักวัน  แค่วันแรกคุณก็เริ่มรับรู้ความรู้สึกต่างๆ ได้ตั้งมากมาย คนอื่นเขากว่าจะรู้สึกได้ก็ตั้งวันที่ ๓  คุณทำได้ดีมาก ท่านอาจารย์เองก็พอใจกับการปฏิบัติของคุณ แล้วคุณจะหนีออกไปทำไม  แล้วแสงนั่นก็ไม่ได้สำคัญอะไร ถึงแม้จะอยากเห็นก็อย่าไปให้ความสำคัญกับมันเลย อีกแค่วันเดียวเท่านั้น”

ท่านโกเอ็นก้าอยู่ฝึกปฏิบัติต่อจนจบหลักสูตร และอยู่ในสายธรรมสืบมาจนบัดนี้

หลังผ่านการปฏิบัติตามหลักสูตร ๑๐ วันครั้งแรก ความเครียดและอาการปวดไมเกรนของท่านบรรเทาลง  ท่านโกเอ็นก้าเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในสาระคำสอนและการปฏิบัติในแนวทางนี้เป็นอย่างมาก จึงปวารณาตัวเข้าปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

ท่านกล่าวว่า “เมื่อข้าพเจ้าได้เข้ารับการอบรมวิปัสสนา ความสงสัยและความกลัวต่างๆ ก็หมดไป  ข้าพเจ้าพบว่าวิปัสสนาคือคัมภีร์ภควัทคีตาในแง่ของการปฏิบัตินั่นเอง ความเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียวจากวิปัสสนาก็คือการเปลี่ยนความทุกข์เป็นความสุข จากอวิชชาไปสู่ความรู้แจ้งจากพันธนาการที่ร้อยรัดไปสู่ความหลุดพ้น”

หลังฝึกวิปัสสนากับอาจารย์อูบาขิ่นมานาน ๑๔ ปี  ช่วงต้นปี ๒๕๑๒ ท่านโกเอ็นก้าได้ทราบข่าวความเจ็บป่วยของมารดา ซึ่งย้ายกลับไปพำนักอยู่ที่ประเทศอินเดีย เมื่อ ๒-๓ ปีก่อนหน้านั้น  ท่านมั่นใจว่าวิปัสสนาจะช่วยให้ความเจ็บป่วยด้วยอาการทางประสาทของแม่ดีขึ้น จึงขออนุญาตท่านอาจารย์ไปฝึกการปฏิบัติวิปัสสนาให้แม่ ซึ่งในช่วงนั้นอาจารย์อูบาขิ่นได้แต่งตั้งท่านทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนแล้ว

อาจารย์อูบาขิ่นให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อการที่ท่านโกเอ็นก้าจะนำการปฏิบัติวิปัสสนาไปเผยแผ่ยังอินเดียเพราะนั่นไม่ใช่แค่การตอบแทนคุณบุพการี แต่จะเป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินอินเดีย-แหล่งกำเนิดธรรมะอันบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์ที่เผยแผ่ต่อมาสู่พม่า  ท่านกล่าวกับศิษย์ชาวฮินดูอยู่เนืองๆ ว่า มีคำทำนายเล่าสืบต่อกันมาว่า ๒,๕๐๐ ปีหลังพุทธกาล พระธรรมคำสอนจะถูกนำกลับไปยังอินเดียอันเป็นแหล่งกำเนิด

ไม่ปรากฏหลักฐานบันทึก แต่เชื่อกันว่าการปฏิบัติในแนวทางนี้มีอยู่ในแผ่นดินพม่าตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ เมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงให้พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นผู้นำมาเผยแผ่ยังดินแดนสุวรรณภูมิ แล้วได้รับการสืบทอดต่อกันมาอย่างบริสุทธิ์ตามแบบดั้งเดิม เป็นภูมิปัญญาแห่งการดับทุกข์ที่ตกทอดอยู่ในแผ่นดินพม่าสืบมาหลายชั่วอายุคน จนถึงยุคของท่านเลดี ซายาดอร์ (๒๓๘๙-๒๔๖๖) พระภิกษุผู้มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์ของพม่า ซึ่งได้ถ่ายทอดมาสู่ศิษย์ฆราวาสที่ชื่อ ซายาเท็ตจี ผู้เป็นอาจารย์ของท่านอูบาขิ่น

ครั้นได้ทราบว่าศิษย์คนนี้จะไปสอนการวิปัสสนาให้แก่มารดาที่อินเดีย ท่านอูบาขิ่นจึงกล่าวอย่างยินดียิ่งว่า “โกเอ็นก้า ฉันต่างหากที่ไป ไม่ใช่เธอหรอก”

ส่วนท่านโกเอ็นก้าเองนั้น แม้ถึงวันที่ย้ายถิ่นกลับไปพำนักที่ประเทศอินเดียอย่างถาวรแล้ว ก็ยังยกย่องพม่าว่าเป็นแผ่นดินแห่งธรรมที่มีพระคุณต่อท่าน

จาก http://www.sarakadee.com/2013/09/18/goenga/

http://issuu-downloader.abuouday.com/view.php?url=sarakadeemag/docs/scp_go_n_ga

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วิปัสสนา-มหาสติปัฏฐาน 4 - วิสัยปัญญาวิมุตติ
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
เงาฝัน 1 4321 กระทู้ล่าสุด 06 มิถุนายน 2553 09:05:42
โดย เงาฝัน
วัชรยาน วิปัสสนา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 8668 กระทู้ล่าสุด 17 กรกฎาคม 2557 12:27:43
โดย มดเอ๊ก
ชีวิตภายหลังการปฏิบัติธรรม ( ศิษย์ โกเอ็นก้า )
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
มดเอ๊ก 0 1575 กระทู้ล่าสุด 30 มิถุนายน 2559 02:51:36
โดย มดเอ๊ก
3 ปี อาจาริยบูชารำลึก ท่านอาจารย์ โกเอ็นก้า
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
มดเอ๊ก 0 1620 กระทู้ล่าสุด 26 สิงหาคม 2559 22:47:52
โดย มดเอ๊ก
บรรยายหลักสูตรกรรมฐาน 10 วันโดย ท่านอาจารย์ โกเอ็นก้า
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
มดเอ๊ก 0 1445 กระทู้ล่าสุด 26 กันยายน 2559 03:18:45
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.945 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 4 ชั่วโมงที่แล้ว