[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 00:19:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "อิคคิวซัง" ธรรมะในพลังการ์ตูน  (อ่าน 2692 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 ตุลาคม 2559 21:08:15 »



"อิคคิวซัง" ธรรมะในพลังการ์ตูน

โดย...พรเทพ เฮง

นั่งสมาธิทำให้เกิดปัญญา แก้ปัญหาโดยใช้สมอง นั่นคือภาพของเณรน้อยอิคคิวซังที่นั่งสมาธิใช้หมองเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ และถือเป็นฉากสำคัญที่คลี่ปมต่างๆ ในแต่ละตอน

ช่วงหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมา มีโอกาสหยิบการ์ตูนญี่ปุ่น “อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา” มาดูใหม่ ถือเป็นการปัดฝุ่นกันเลยทีเดียว เพราะเก็บไว้นานมาก แผ่นวีซีดีมัดใหญ่ซึ่งซื้อการ์ตูนเรื่องนี้เก็บไว้เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว

คงไม่ต้องสาธยายสำหรับการ์ตูนเรื่องนี้กันมากนัก เพราะมีการขยายความเล่าเรื่องถึงประวัติพระนิกายเซน ชื่อ อิคคิว โซจุน ที่มีชีวิตในช่วงปี ค.ศ. 1394-1481 ซึ่งเป็นต้นแบบของเณรน้อยอิคคิวซังคนนี้ และมีหนังสือแปลเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับอิคคิวซังออกมาด้วย

แน่นอน การ์ตูนเรื่องนี้ถือว่าเป็นอมตะอยู่เหนือกาลเวลา ดูตอนเด็กก็สนุกบันเทิงและได้ปัญญา ดูตอนวัยรุ่นก็ได้มุมมองอีกอย่างหนึ่ง เมื่อดึงกลับมาดูตอนผู้ใหญ่ก็พบความลึกซึ้งเข้าไปอีกชั้นหรือมิติหนึ่ง เนื่องจากได้ผ่านพบประสบการณ์และตกตะกอนชีวิตมากขึ้น

แก่นของธรรมะของพุทธศาสนานิกายเซน ที่เรามองผาดเผินนั่งสมาธิใช้สมองขบคิดแก้ปัญหาเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น หรือการปุจฉาวิสัชนา ซึ่งเป็นการตั้งคำถามสนุกแบบศรีธนญชัย แต่การได้กลับมาพินิจพิเคราะห์ถึงการถาม-ตอบเชิงปัญญาทางธรรม ก็มีอะไรที่ลึกซึ้งอยู่มากมาย

ในหนังสือพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด ของ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต เขียนอธิบายไว้ว่า ปุจฉาวิสัชนา แปลว่า ถามตอบกัน หมายถึงการถามและตอบกันไปมา เป็นการหาความรู้ความเข้าใจจากอีกฝ่ายหนึ่ง ปุจฉาวิสัชนาจึงเป็นคำเรียกการเทศน์ที่มีการถามตอบกันเช่นนั้นว่า เทศน์ปุจฉาวิสัชนา คือพระรูปหนึ่งเป็นผู้ถาม อีกรูปหนึ่งเป็นผู้ตอบ โดยถามกันในเรื่องธรรมบ้างเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังบ้าง

ปุจฉาวิสัชนาเป็นวิธีสอนอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า โดยทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์หรือผู้เข้าเฝ้าถามปัญหาได้ และพระองค์ทรงตอบเอง เป็นทางเกิดปัญญาอย่างหนึ่ง เป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนาได้ซักไซ้ไล่เลียงถามจนกระทั่งได้คำตอบที่พอใจ เป็นวิธีการให้ความรู้ตรงแก่ผู้สงสัยในเรื่องนั้นๆ และเป็นการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองในการเรียนการสอน หรือการสนทนา

เคยได้ดูหนังทิเบตเรื่องหนึ่ง แต่จำชื่อเรื่องไม่ได้เลือนๆ แล้ว มีฉากหนึ่งที่ติดตาติดใจมาก ก็คือการปุจฉาวิสัชนาแบบพระทิเบตที่ถามตอบทางธรรมตรงลานวัดกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ท่าทางเคร่งเครียดขึ้งโกรธในการดวลปัญญากัน นั่นก็คืออีกวิธีหนึ่งในการเข้าสู่มรรคาแห่งธรรม เพื่อบรรลุธรรม

แรงบันดาลใจอย่างหนึ่งในช่วงสมัยวัยรุ่น การกลับมาดูการ์ตูนอิคคิวซังที่นำกลับมาฉายใหม่ทางจอทีวีอีกครั้งในคราวนั้น ทำให้ได้ไปหาอ่านหนังสือเกี่ยวกับเซนมาอ่าน

เซน เป็นพุทธศาสนาที่สอนให้คนเราเข้าถึงความมีพุทธตา (ธรรมชาติแห่งพุทธะ) สภาวะจิตที่เป็นจริงที่สุด คือ สภาวะที่ผู้แสวงหาธรรมจะรู้แจ้งหรือเข้าใจสัจธรรมได้แค่ไหน

เมื่อได้อ่านถึงการปุจฉาวิสัชนา ก็พบว่าการสนทนาธรรมแบบเซน หรือที่เรียกกันว่า ปุจฉาวิสัชนาธรรมแบบเซน ไม่ใช่การสนทนาธรรมลักษณะง่ายๆ หากแต่เป็น “คำถ่อมตัว” แบบหนึ่งคือการดลใจให้ผู้แสวงหาธรรม หาคำตอบจากคำถามที่เขาตั้งต้นขึ้น ในลักษณะหนึ่งคนถามหนึ่งคนตอบ หรือที่เรียกกันว่า “ปรึกษาหารือ” คือต่างฝ่ายต่างแลกเปลี่ยนความเห็นกันไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงรูปแบบต่างๆ อาทิ พฤติกรรม อากัปกิริยา การประพันธ์ หรืออีกหลายๆ อย่าง



จุดสำคัญของการสนทนาธรรม คือ อาจารย์จะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ หรือที่เรียกกันว่า “โกอาน” ซึ่งโกอานแต่ละเรื่องจะแสดงให้เห็นคุณค่าของเซนได้เต็มที่

สุนทรียะในพุทธศาสนานิกายเซนมีความโดดเด่นอยู่ที่บทกวีเซน โดยเฉพาะงานเขียนของอิคคิวซัง หรืออิคคิว โซจุน หยิบบทความชื่อผลงานของอิคคิวซัง เขียนโดย เต็ง ในเว็บไซต์ marumura.com ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่นบอกว่า

งานเขียนของอิคคิว โซจุน มักจะอยู่ในรูปแบบของอักษรจีนแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นที่นิยมกันในหมู่นักประพันธ์ร่วมสมัยนั้น บทกวีของท่านมักจะอยู่ในลักษณะที่แสดงออกแบบทันทีทันใด แหลมคมและชาญฉลาด และได้แปลบางส่วนของบทกวีไว้ด้วย ขอหยิบยกมาเป็นตัวอย่าง


“ความไม่แน่นอนของชีวิต

ผ่านความทุกข์และเจ็บปวด

สอนเราว่า

อย่ายึดติด

กับโลกอันเลื่อนลอยนี้”


จะเห็นได้ว่าเพียงบทกวีหนึ่งบทสั้นๆ บ่งบอกถึงสัจธรรมชีวิตให้ตระหนักรู้ในใจได้มากกว่าคำสอนสาธยายเรื่องราวชีวิตเกิดแก่เจ็บตายเป็นร้อยๆ หน้า แต่ก็เป็นเรื่องจริตของผู้รับสารจากบทกวีด้วยเช่นกัน หยิบบทกวีเซนของอิคคิว โซจุน อีก 2 บทมาให้อ่านกัน


“ทำไมผู้คน

จึงสิ้นเปลืองไปกับการตกแต่ง

บนโครงกระดูกนี้

ซึ่งถูกกำหนดให้สูญสลายไป

โดยไร้ร่องรอย

โลกใบนี้

เป็นเพียงแต่

ความฝันอันล่องลอย

เหตุไฉนจึงตื่นตระหนก

กับการเสื่อมสลายไป”



อีกบทก็เป็นกวีง่ายๆ แต่ลึกซึ้ง ดูเหมือนเป็นประโยคบอกเล่าง่ายๆ ปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อได้ทบทวนและขบให้แตกมันช่างลึกล้ำดำดิ่งยิ่งนัก


“ฉันไม่ชอบ ฉันรู้ว่าจริงๆ แล้วมันไม่มีอะไร

แต่ฉัน

ดูดกินลูกพลัมอันแสนหวานของโลก”


จะเห็นว่าบทกวีทั้งสองบท สั้นกระชับได้ใจความ ปลุกการตื่นรู้ถึงธรรมชาติภายในของชีวิต เพื่อตั้งต้นพิจารณาและเพ่งพิศชีวิตของตัวเอง นี่คือสิ่งที่ได้ไปไกลกว่าการ์ตูนอิคคิวซัง

จาก http://www.posttoday.com/ent/thai/428318

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ตามรอย อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา ที่ วัดทองคินคะคุจิ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1768 กระทู้ล่าสุด 08 ตุลาคม 2559 20:42:52
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.298 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มกราคม 2567 17:10:53