[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 16:50:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: น้าแม๊คพาเที่ยว ขึ้นเหนือแอ่วเมืองเจียงใหม่ ภาค ๓ วัดอุโมงค์  (อ่าน 19002 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 10.0.648.205 Chrome 10.0.648.205


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 เมษายน 2554 13:52:53 »


น้าแม๊คพาเที่ยว ขึ้นเหนือแอ่วเมืองเจียงใหม่

ภาค ๓ วัดอุโมงค์




<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae3"> <tr><td style="width: 800px; height: 64px" colspan="2" id="saeva3"><embed type="application/x-shockwave-flash" src="http://www.flash-mp3-player.net/medias/player_mp3_maxi.swf?mp3=http://www.sookjai.com/external/chiangmai/haneebahoey.mp3&amp;width=250&amp;showstop=1&amp;showinfo=1&amp;showvolume=1&amp;volumewidth=35&amp;sliderovercolor=ff0000&amp;buttonovercolor=ff0000" width="800px" height="64px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" autoplay="false" autostart="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.sookjai.com/external/chiangmai/haneebahoey.mp3" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.sookjai.com/external/chiangmai/haneebahoey.mp3</a></td><td class="aeva_q" id="aqc3"></td></tr></table>



ซีรี่ย์ท่องเที่ยวเมืองเจียงใหม่ โดยน้าแม๊ค ก็มาถึงภาคสามเข้าจนได้
ซึ่งถ้าใครยังไม่ได้อ่านภาคแรก กับ ภาคสอง สามารถตดตามอ่านได้ที่

http://www.sookjai.com/index.php?topic=18783.0 <<< ภาค ๑ !!!

http://www.sookjai.com/index.php?topic=18910.0 <<< ภาค ๒ !!!


ภาคนี้เราจะไปทัวร์วัดอุโมงค์กันครับพ่อแม่พี่น้อง !!

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 10.0.648.205 Chrome 10.0.648.205


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 เมษายน 2554 15:22:00 »


รอบนี้เที่ยววัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ก็มาลองดูประวัติวัดอุโมงค์กันก่อนครับ
ในส่วนของประวัติวัดอุโมงนี่ค่อนข้างยาว สามารถข้ามก็ได้ครับ เดี๋ยวจะหลับซะก่อน
แต่ถ้าใครอ่านไว้เป็นความรู้ก็จะดีมากครับ เข้าคอนเซปต์ของน้าแม๊คพาเที่ยวที่ว่า...
"เที่ยวทั่วไทยได้ความรู้คู่สุขใจ ไปกับน้าแม๊ค"


ประวัติวัดอุโมงค์ - สวนพุทธธรรม

วัดดอุโมงค์ และสวนพุทธธรรม สองชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกสถานที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม
ของพุทธนิคม เชียงใหม่แห่งเดียวกัน แต่มีความหมายต่างกัน

วัดอุโมงค์(อุโมงค์เถรจันทร์)

วัดอุโมงค์(อุโมงค์เถรจันทร์) เป็นชื่อเรียกวัดเก่าที่ "พระเจ้ากือนาธรรมิกราช" ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้น
เพื่อถวายเพื่อให้พระมหาเถรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฏกอาศัย
วัดอุโมงค์นี้หมายเอาเฉพาะบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมผืนผ้าซึ่งมีกำแพงอิฐปรากฏอยู่ทั้งสี่ด้าน
ด้านตะวันออกจากขอบสระใหญ่ ด้านเหนือตรงไปทางทิศเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันจรด กำแพงอิฐพอดี
ยาวประมาณ 100 วา ด้านเหนือจากแนวกำแพงเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันทางทิศตะวันตก
จนถึงขอบสระหลังวัดอุโมงค์ ยาวประมาณ 100 วา, ด้านตะวันตกจากขอบ สระแนวกำแพงด้านเหนือ
ถึงขอบสระใหญ่ใต้พระเจดีย์ ยาวประมาณ 100 วา, ด้านใต้จากขอบสระหลังพระเจดีย์ตรงไปทางตะวันตก
ออกจรดกำแพงทิศตะวันออกหน้าพระอุโบสถ ยาวประมาณ 100 วา มีพระอุโบสถขนาดย่อมตั้งอยู่
ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีพระเจดีย์ใหญ่แบบลังกาวงศ์ และอุโมงค์(ถ้ำ) 1 อุโมงค์ มีทางเข้า 3 ทาง
ตั้งอยู่ตลอดแนววัดด้านตะวันตก และมีศาลาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากหน้าอุโมงค์
ไปประมาณ 1 เส้น คิดเป็นเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 25 ไร่

สวนพุทธธรรม

สวนพุทธธรรม เป็นชื่อใหม่ที่ ภิกขุ ปัญญานันทะ ประธานวัดอุโมงค์ ในสมัยนั้น (2492-2509)
ตั้งขึ้นเรียกสถานที่ป่าผืนใหญ่ที่ปกคลุมวัดร้างโบราณ ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 150 ไร่ ที่พุทธนิคมเชียงใหม่
จัดขึ้นเป็นที่อยู่ของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ผู้แสวงหาความสงบ พื้นที่ซึ่งเรียกว่า สวนพุทธธรรม
นี้กว้างมาก รวมเอาวัดไผ่11กอ (เวฬุกัฏฐาราม ซึ่งพระเจ้ามังรายมหาราชทรงสร้างไว้ถวายเป็นที่พำนัก
ของพระมหากัสสปะเถระ ชาวลังกา ซึ่งเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในสมัยนั้น) วัดอุโมงค์เถรจันทร์ และวัดอื่นๆ
(ที่อยู่ใกล้วัดอุโมงค์ทั้ง 4 ด้าน) อีก 4 วัดเอาไว้ด้วยทั้งหมด

การค้นคว้าหาหลักฐาน

ประวัติวัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) มีหลักฐานทางตำนานไม่ละเอียดนัก ต้องอาศัยหลักการทางโบราณคดี
และประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่เข้าช่วยจึงได้ความชัดขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ไม่สู้จะมั่นใจว่าประวัติ
ที่นำมาเสนอท่านนี้จะถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะบริเวณที่ถูกเรียกว่า สวนพุทธธรรม นี้มีวัดอยู่หลายวัด
สร้างเก่าบ้างใหม่บ้างสับสน ซับซ้อนยิ่งวัดเหล่านี้เป็นวัดกษัตริย์ราชวงศ์มังราย (นับจากพระเจ้ามังราย)
ทรงสร้างสืบๆ ต่อกันมาเป็นระยะเวลาเกือบ 700 ปีด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้สันนิษฐานยากขึ้นไปอีก
แต่ถึงแม้การศึกษายากเพียงไร หลักฐานที่ค้นได้ และนำมาประกอบการเขียนเรื่องนี้
ทำให้มั่นใจว่าจะทำให้ท่านเข้าใจประวัติวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

ก่อนการศึกษาประวัติวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ควรทราบธรรมเนียมการสร้างวัดของพระมหากษัตริย์ไทย
สมัยโบราณไว้ด้วยว่า เมื่อทรงสร้างพระราชวัง และเมืองหลวงเสร็จแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำเป็นอันดับสอง
ก็คือ วัดสำคัญประจำเมืองทั้งสี่ทิศ หรือสองทิศ (เหนือ ใต้) และวัดพิเศษภายในราชวัง
สำหรับเป็นที่สักการะบูชาของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์อีก 1 วัดเสมอ ความจริงเรื่องนี้
หาดูได้ตามเมืองหลวงของไทยสมัยโบราณ เช่นเชียงแสน, สุโขทัย, อยุธยา, ลพบุรี, นครศรีธรรมราช, ฯลฯ
และกรุงเทพมหานคร อันเป็นเมืองหลวงปัจจุบันการที่พระมหากษัตริย์ไทยสมัยก่อน ถือว่าการสร้างวัด
เป็นสิ่งสำคัญอันดับสองรองจากการสร้างวังนั้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า บรรพบุรุษของพวกเรามั่นคง
ในศีลธรรมมีน้ำใจสูงมาก เห้นความสำคัญของพระพุทธศาสนาแจ่มแจ้งยึดเอาพุทธศาสนา
ประจำชาติมาตั้งแต่ต้น จนกลายเป็นความรู้สึกฝังใจว่า ชาติไทยกับพุทธศาสนาแยกจากกันไม่ได้
มาจนทุกวันนี้

ว่ากันตามประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์บอกไว้ว่า เมื่อ พระเจ้ามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ตกลงพระทัย
ที่จะสร้างเมืองใหม่ที่ป่าเลาคา (ต้นเลาคา และต้นหญ้าคา)ระหว่างแม่น้ำปิงกับดอยสุเทพแล้ว
ได้แต่งตั้งราชบุรุษถือพระราชสาส์นไปทูลเชิญพระสหายร่วมน้ำสาบานทั้งสองคือ พระเจ้ารามคำแหงมหาราช
เจ้าผู้ครองนครสุโขทัย และพระเจ้างำเมือง เจ้าผู้ครองนครพะเยา มาปรึกษาการสร้างเมืองที่ เวียงเหล็ก
(ที่ตั้งวัดเชียงมั่นทุกวันนี้) หลังจากที่สามกษัตริย์ได้ตกลงกันว่า ควรสร้างราชธานีใหม่ กว้าง 800 วา
ยาว 1000 วา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตกแล้วก็ทำพิธีฝังเสาหลักเมือง
ในวันพฤหัสบดี เดือนแปดเหนือ (เดือนหกใต้) ปีวอก พ.ศ. 1839 ฝังหลักเมืองแล้วใช้พลเมือง 5 หมื่นคน
ช่วยกันก่อสร้างพระราชเวศน์มณเฑียรสถาน อีก 4 หมื่นคนช่วยกันขุดคูเมือง และกำแพงเมือง
ก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 4 เดือนก็แล้วเสร็จหลังจากฉลองเมืองใหม่เป็นการใหญ่ 7 วัน 7 คืนแล้ว
กษัตริย์ทั้งสามก็พร้อมใจกันตั้งนามเมืองใหม่ว่า ”เมืองนพบุรี ศรีนครพิงค์ เชียงใหม่”


มีต่อ...

(โพสท์ต่อไปครับ มันยาวขอซอยกระทู้นิดนึง)
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 10.0.648.205 Chrome 10.0.648.205


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 เมษายน 2554 15:47:58 »


ต่อจากโพสท์ด้านบน...

หลังจากสร้างราชธานีเรียบร้อยแล้ว พระเจ้ามังรายมหาราชได้ทรงสร้างวัดสำคัญฝ่ายคามวาสี
ซึ่งก็คือวัดสำหรับภิกษุที่ชอบอยู่ในเมือง เพื่อเรียนพุทธวจนะ ประจำเมืองทั้ง 4 ทิศพร้อมทั้ง
วัดภายในพระราชวังด้วย และทรงสร้างวัดฝ่ายอรัญวาสี หรือวัดสำหรับภิกษุที่เรียนพุทธวัจนะแล้ว
ออกไปหาความสงบในป่า บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน บริเวณชานพระนครขึ้นหลายวัด เช่น
วัดเก้าถ้าน เป็นต้น
พระเจ้ามังรายมหาราช ทรงทำนุบำรุงพระศาสนา และพระภิกษุสามเณร ทั้งฝ่ายคามวาสี และอรัญวาสี
ด้วยปัจจัยสี่ ให้มีกำลังใจศึกษา และปฏิบัติพระธรรมวินัยตามความสามารถแห่งตนอย่างดียิ่งทั้งสองฝ่าย
กาลต่อมาพระองค์ได้ทรงทราบว่า พระเจ้ารามคำแหงมหาราช พระสหายผู้ครองนครสุโขทัย
ได้ส่งคนไปนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองลังกา ที่มาอยู่เมืองนครศรีธรรมราช มาสั่งสอนพระพุทธศาสนา
ทั้งฝ่ายปริยัติ และฝ่ายปฏิบัติแก่ชาวเมืองสุโขทัยปรากฏเกียรติคุณว่า พระสงฆ์ลังกาแตกฉาน
พระไตรปิฎก เคร่งครัดในพระธรรมวินัยยิ่งกว่าพระไทยที่มีอยู่เดิม เกิดศรัทธาเสื่อมใส
ประสงค์จะได้พระลังกามาเป็นหลักพระพุทธศาสนาในเมืองเชียงใหม่บ้าง จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ขอพระลังกา
จากพระเจ้ารามคำแหงมหาราชมา 5 รูป เมื่อได้พระลังกา 5 รูป อันมีพระมหากัสสปะเถระ
เป็นหัวหน้ามาสมพระประสงค์แล้ว เกิดลังเลพระทัยไม่ทราบว่าจะนำพระลังกา 5 รูปนี้ไปอยู่วัดไหนดี
จะนำไปอยู่กับพระไทยเดิมทั้งฝ่ายคามวาสีก้เกรงว่าพระลังกาจะไม่สบายใจเพราะระเบียบประเพณี
ในการประพฤติอาจจะไม่เหมือนกัน
ในที่สุดได้ตกลงพระทัยสร้างวัดฝ่ายอรัญวาสีเฉพาะพระลังกาขึ้นวัดหนึ่งต่างหากที่บริเวณป่าไผ่ 11 กอ
(สถานที่ซึ่งเรียกว่าวัดอุโมงค์ สวนพระพุทธธรรมทุกวันนี้) การสร้างวัดไผ่ 11 กอครั้งนั้นพระองค์
ประสงค์จะสร้างเป็นอนุสรณ์ในการนำพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาประดิษฐานในลานนาไทยเป็นครั้งแรก
จึงขอให้พระมหากัสสปะเถระเป็นผู้วางแผนผังวัดให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และประเพณีอันดีงาม
ของชาวพุทธจริงๆ เมื่อพระมหากัสสปะเถระวางแผนผังวัดออกเป็นเขตพุทธาวาส อันเป็นสถานที่เกี่ยวกับ
พระพุทธเจ้า เช่น พระเจดีย์ พระอุโบสถ
และสังฆาวาส ซึ่งก็คือสถานที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ เช่น
ศาลาแสดงธรรม กุฏิพระโรงฉัน
เรียบร้อยแล้วพระเจ้ามังรายมหาราชได้เป้นผู้อำนวยการสร้างวัดใหม่
ตามแผนผังนั้น โดยยึดเอาแบบอย่างการสร้างวัดของเมืองลังกาเป็นแบบฉบับ แม้พระเจดีย์ใหญ่
อันเป็นหลักชัยของวัด ก็สร้างทรวดทรงแบบพระเจดีย์ในเมืองลังกาทั้งหมด (พระเจดีย์ที่พระเจ้ามังรายสร้าง
อันเดียวกับพระเจดีย์ใหญ่ที่ปรากฏอยู่ในวัดอุโมงค์สวนพุทธธรรมทุกวันนี้ แต่ของเดิมย่อมกว่า
ที่ใหญ่ขึ้นยังไม่เก่านัก และมองเห็นลวดลายสวยงามชัดเจน เป็นพระเจ้ากือนาธรรมิกราชรัชกาลที่ 9
แห่งราชวงศ์มังรายทรงบูรณะขึ้นใหม่ด้วยการพอกปูนทับของเก่า พร้อมกับการสร้างอุโมงค์
ให้พระมหาเถรจันทร์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 1910-1930) สร้างวัดเสร็จเรียบร้อย และทำการฉลองแล้ว
ทรงขนานนามว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ) จากนั้น ก็นิมนต์คณะสงฆ์จากลังกาเข้าอยู่
จำพรรษาเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม และเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
หลังจากทรงสร้างวัดถวายคณะสงฆ์ลังกาวงศ์แล้วทรงสนพระทัยในการพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ทรงโปรดให้ความอุปถัมภ์แก่พระสงฆ์ไทย และพระสงฆ์ลังกาด้วยปัจจัยสี่และหมั่นมาฟังธรรมเทศนา
จากพระสงฆ์เสมอ การใดที่ทำให้พุทธศาสนาเจริญแล้ว จะทรงกระทำการนั้นทันที
นอกจากจะสนพระทัยพระพุทธศาสนาเป็นการส่วนพระองค์แล้ว ยังทรงชักชวนพระบรมวงศานานุวงศ์
และประชาชนให้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนา โดยพากันมาวัดในวันพระเพื่อให้ทาน รักษาศีล
ฟังธรรมเทศนาจากพระสงฆ์และเจริญภาวนาหาความสงบใจอีกด้วย
วัดที่พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนศรัทธาเลื่อมใส สนใจไปให้ทาน รักษาศีล
ฟังธรรมเทศนา และเจริญภาวนามากที่สุดในสมัยนั้น คือ วัดเวฬุกัฏฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ)
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพระลังกาที่มาจำพรรษาอยู่มีความรู้ในธรรมวินัยดี มีความสามารถในการแสดงธรรม
มีความประพฤติเรียบร้อย และเคร่งครัดในระเบียบวินัยมากกว่าพระอื่นๆ ความดีงามของพระลังกา
ในครั้งนั้นเป้นเหตุให้กุลบุตรสมัครเข้ามาบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุสามเณรมากมาย ยิ่งนับวัน
เกียรติคุณของพระลังกาวงศ์ขจรขจายไปทั่วทิศ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรือง
อย่างรวดเร็ว และตั้งหลักได้มั่นคงในลานนาไทยเป็นครั้งแรกในสมัยของพระองค์
หลังจากพระเจ้ามังรายมการาชทรงสวรรคต เพราะถูกฟ้าผ่า ที่สี่แยกเมืองเชียงใหม่ เมื่อพระชนมายุได้
80 พรรษา (พ.ศ. 1860) แล้ว กิจการพระศาสนาก็เริ่มเสื่อมลงทันที
เพราะพระมหากษัตริย์
ซึ่งเป็นรัชทายาทครองเมืองเชียงใหม่สมัยต่อมา เช่น พระเจ้าชัยสงคราม (พ.ศ. 1860-1861)
พระเจ้าแสนกู่ (พ.ศ.1865-1871) พระเจ้าคำฟู (พ.ศ.1871-1877) ไปประทับอยู่เมืองเชียงราย
และเชียงแสนเสียหมดคงตั้งพระโอรสที่เป็นรัชทายาทครองเมืองเชียงใหม่ในฐานะมหาอุปราชเท่านั้น
ประการหนึ่ง และเพราะมัวแต่รบพุ่งพุ่งชิงชัยแย่งราชบัลลังก์ระหว่างเจ้าพี่ เจ้าน้อง เจ้าลุง เจ้าอา
อีกประการหนึ่ง

ในยุคพระเจ้าผายู - พระเจ้ากือนา

ครั้นถึงสมัยนั้น พระเจ้าผายู (ประสูติที่เชียงใหม่ เป็นมหาอุปราชแล้วประทับอยู่เชียงใหม่ตลอดเวลา)
เป็นกษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1877 การพระศาสนาจึงค่อยกลับเจริญขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
เพราะพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมสัมมาปฏิบัติ ยึดหลักพุทธศาสนา
เป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศ งานศาสนาชิ้นแรกที่ทรงทำคือ โปรดให้ราชบัณฑิตไปอาราธนา
พระมหาอภัยจุฬาเถระ กับพระสงฆ์ 10 รูปจากเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) มาเป็นสังฆราชครองวัดลีเชียงพระ
(วัดพระสิงห์) ซึ่งทรงสร้างขึ้น การที่พระเจ้าผายูต้องแต่งตั้งพระมหาเถระในจังหวัดลำพูนเป็นพระสงฆ์
ในล้านนาไทยไม่ได้แต่งตั้งพระมหาเถระในเชียงใหม่นั้น แสดงว่าพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ในเชียงใหม่
ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองอย่างมากทั้งสยามวงศ์และลังกาวงศ์ เมื่อ 40 ปีก่อนโน้น เสื่อมลงอย่างน่าใจหาย
พระเจ้าผายูทำนุบำรุงประเทศชาติและพระพุทธศาสนาได้ประมาณ 33 ปี ก็สวรรคตในปี พ.ศ. 1910

หลังจากพระเจ้าผายูสวรรคตแล้ว เสนามาตย์ทั้งหลายได้ไปอันเชิญ เจ้าท้าวกือนา จากเมืองเชียงแสน
(ที่ต้องไปอยู่เมืองเชียงแสน เพราะพระราชบิดาให้ไปครองเมืองตามธรรมเนียมรัชทายาท)
มาราชาภิเษกเป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 (ของราชวงศ์มังราย) ครองเมืองเชียงใหม่ต่อไปตามประเพณี
ในปี พ.ศ. 1910 (เสวยราชย์เมื่อพระชนม์มายุได้ 40 พรรษา) เนื่องจากพระเจ้านากือนา
ทรงใฝ่พระทัยในการศึกษาวิชาการต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ประการหนึ่ง
ทรงฝึกหัดวิชาการรบต่างๆ ไว้อย่างชำนิชำนาญประการหนึ่ง ทรงเชี่ยวชาญในการปกครองบ้านเมือง
สมัยครองเมืองเชียงแสนประการหนึ่ง ทรงมีน้ำพระทัยตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมเหมือนพระราชบิดา
ประการหนึ่ง ทรงสนพระทัยในเรื่องพระพุทธศาสนา ตามพระราชบิดาเป็นอย่างมากประการหนึ่ง
และทรงมีพระชนม์มายุในขั้นเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวที่ประการหนึ่ง เมื่อเสวยราชย์แล้วจึงทำนุบำรุง
บ้านเมืองและพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองได้อย่างรวดเร็ว





มีต่อด้านล่าง...



บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 10.0.648.205 Chrome 10.0.648.205


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 26 เมษายน 2554 20:33:33 »



ระยะเวลา 21 ปี (1910-1931) ที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ครองราชสมบัติ ได้ทรงจัดการ
ปกครองบ้านเมืองอย่างดีเยี่ยมข้าราชการผู้ใหญ่และประชาชนเคารพรักและนับถือพระองค์มาก
เจ้าเมืองอื่นไม่กล้ายกกองทัพมารุกรานเพราะรู้ดีว่าพระองค์เป็นนักรบที่เก่งกล้า
เมื่อบ้านเมืองปรกติสุขความยุ่งยากไม่มีเช่นนี้ พระองค์ก็ใช้เวลาส่วนมากทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
อย่างแท้จริง จนปรากฏว่าพระพุทธศาสนาในล้านนาไทยเจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคของพระองค์

งานศาสนาชิ้นแรกที่ทรงทำเมื่อเสวยราชย์ คือ ส่งราชบัรฑิตไปอาราธนาพระมหาสวามีอุทุมพรบุบผา
พระมหาเถระชาวรามัญ เชื้อสายลังกาวงศ์ ผู้แตกฉานพระธรรมวินัยที่เมืองเมาะตะมะ
(ที่ทรงเจาะจงเลือกพระชาวลังกาวงศ์คงจะเป็นเพราะทรงทราบประวัติความดีงามของพระลังกา
ที่พระเจ้ามังรายนำมาประดิษฐานพุทธศาสนาในลานนาไทย ระหว่าง พ.ศ. 1839-1860 เป็นแน่)
แต่พระมหาสวามีเจ้าไม่ยอมคงมอบศิษย์ 10 รูป มี พระอานนท์ (พระอานนทเถระ) เป็นประธาน
มาแทน เมื่อพระรามัญเชื้อสายลังกาวงศ์มาถึงแล้วได้ทรงอาราธนาพักที่ วัดโลก
(ปัจจุบันเป็นที่ทำการสัตวแพทย์เชียงใหม่) แล้วขอให้ทำพินัยกรรมสมมติสีมาและอุปสมบทกุลบุตร
พระรามัญทั้ง 10 รูปไม่อาจปฏิบัติ เพราะการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรในประเทศไทยแบบลังกาวงศ์นั้น
พระมหาสวามีอุทุมพรบุปผา มอบอำนาจให้พระมหาสุมูนเถระและพระอโนมทัสสีเถระ เป็นผู้กระทำ
เพียงสองรูปเท่านั้น (พระเถระสุโขทัยสองรูปนี้ ไปเรียนพระไตรปิฎกที่อยุธยาก่อนแล้วกลับไปเรียนต่อ
ที่เมาะตะมะกับมหาสวามีอุทุมพรบุปผาเป็นเวลา 4 ปี จากนั้น ได้กลับมาที่สุโขทัย นำพระที่ฉลาดอีก
10 รูปกลับไปสวดญัติเป็นภิกษุแบบลังกาวงศ์แล้วพระมหาสวามีอุทุมพรบุปผา ได้มอบอำนาจให้
พระมหาเถระทั้งสองเป้นหัวหน้านำลัทธิลังกาวงศ์มาเผยแผ่ในเมืองไทย)
เมื่อ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ทรงทราบเช่นนั้นแล้วได้ตั้งให้ หมื่นเงินกอง 1 ปะขาวยอด 1
ปะขาวสาย 1 รวม 3 นาย เชิญราชสาส์นและเครื่องบรรณาการการไปถวาย พระมหาธรรมราชาไท
กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย (ครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1890-1919) เพื่ออาราธนา
พระมหาสุมนเถระ วัดอัมพวัน (ภายหลังเรียกว่าวัดป่าแก้ว) ไปสืบศาสนาในนครพิงค์ เชียงใหม่
พระมหาธรรมราชาลิไท ทราบแล้วได้ทรงอนุญาตให้พระมาสุมนเถระ ไปสืบศาสนาที่พระนครพิงค์
เชียงใหม่ด้วยความยินดี ขณะที่พระมหาสุมนเถระเดินทางจากสุโขทัยมาเชียงใหม่นั้น
พระเจ้ากือนาธรรมิกราชได้เสด็จไปคอยรับที่ วัดพระยืน จังหวัดลำพูน ได้ขอให้พระมหาสุมนเถระ
อุปสมบทกุลบุตรเป็นภิกษุที่นั่นก่อน แล้วจึงอาราธนามาพักที่ วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) เชียงใหม่
เนื่องจากพระมหาสุมนเถระแตกฉานพระไตรปิฏก เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีศีลวัตรน่าเลื่อมใส
ยิ่งกว่าภิกษุอื่น พระองค์จึงแต่งตั้งให้เป็น มหาสามีบุพรัตนะ เป้นพระประธานสงฆ์ลังกาวงศ์
ในล้านนาไทยต่อไป ลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมาครั้งหนึ่งสมัยพระเจ้ามังรายมหาราช
และได้เสื่อมทรามไปเกือบ 70 ปีนั้น ได้กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช

หลังจากทรงจัดการนำพระมหาสุมนเถระชาวสุโขทัย เชื้อสายลังกาวงศ์มาเป็นหลักศาสนา
ในล้านนาไทยแล้ว พระองค์ได้หันไปบูรณะถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา ซึ่งบรรพบุรุษได้ทรงสร้างไว้
โดยทั่วถึง อันใดควรซ่อมก็ซ่อมแซมให้ดีขึ้น อันใดความสร้างใหม่ก็ทรงสร้างด้วยช่างฝีมือชั้นเยี่ยม
ถาวรวัตถุที่ทรงบูรณะสร้างไว้ การบูรณะวัดเวฬุกัฎฐาราม ซึ่งพระเจ้ามังรายทรงสร้างไว้ การบูรณะ
วัดเวฬุกัฎฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ) ทรงสร้างด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง การพอกปูนซ่อมแซมใหม่
ทับของเก่า (ถ้าท่านไปดูรอยแตกของพระเจดีย์วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรมในขณะนี้ จะเห็นชัดเจนว่า
เปลือกเจดีย์มี 2 ชั้น)ได้ทรงรักษาทรวดทรงเดิมไว้ทั้งหมด ส่วนรูปภาพสีน้ำที่เขียนไว้ในอุโมงค์เจดีย์
ที่พระเจ้ากือนาทรงสร้างใหม่เหมือนกัน เมื่อทรงบูรณะเจดีย์ใหม่เสร็จแล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างอุโมงค์
ขนาดใหญ่ ถัดจากฐานพระเจดีย์ด้านเหนือขึ้นหนึ่งอุโมงค์ อุโมงค์ที่ทรงสร้างขึ้นใหม่นี้ทั้งใหญ่
และสวยงามมากมีทางเข้าออก 4 ช่อง แต่ละช่องเดินติดต่อกันได้ทั่วถึงข้างฝาผนังด้านในอุโมงค์
เจาะช่องสำหรับจุดประทีปให้เกิดความสว่างเป็นระยะ สะดวกแก่พระเดินจงกรม และภาวนาอยู่ข้างใน
เพดานอุโมงค์เขียนภาพต่างๆ ด้วยสีน้ำมันไว้ตลอดทั้ง 2 ช่อง ฝีมือที่เขียนดูจะเป็นช่างจีนผสมช่างไทย
เมื่อสร้างอุโมงค์เสร็จและทำการฉลองแล้ว ได้ทรงขนานนามว่า วัดอุโมงค์ ชื่อวัดอุโมงค์จึงปรากฏมา
ตั้งแต่ครั้งนั้น




มีต่อด้านล่าง...



บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 10.0.648.205 Chrome 10.0.648.205


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 26 เมษายน 2554 20:44:34 »


ต่อจากด้านบน

เหตุที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ทรงสร้างอุโมงค์ใหญ่โตสวยงาม ละเอียดประณีตเป็นพิเศษ
เกิดมาจากพระองค์ทรงศรัทธาเป็นพิเศษในพระมหาเถระชาวลานนา ผู้แตกฉานพระไตรปิฏก
มีปฏิภาณโต้ตอบปัญหาอยู่เป็นเยี่ยมรูปหนึ่ง พระมหาเถระรูปนั้นมีชื่อว่าพระมหาเถระจันทร์
ตำนานพิสดารเกี่ยวกับพระมหาเถระรูปนี้กล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของพระเจ้ากือนานั้น
มีพระเถระรูปหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฏก และมคธภาษา
อย่างหาตัวจับยากในยุคนั้น พระเถระชาวล้านนารูปนี้ มีนามว่า พระมหาเถระจันทร์ ในตำนาน
กล่าวต่อไปว่าพระมหาเถระจันทร์นี้ แต่เดิมเป็นเด็กอยู่บ้านเมืองวัว เมื่ออายุได้ 16 ปี
ก็ได้ไปขอบรรพชาเป็นสามเณรกับพระเถระวัดไผ่ 11 กอ ต่อมาได้ออกมาอยู่จำพรรษาที่
วัดโพธิ์น้อย ในเวียงเชียงใม่ 3 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์น้อย
อีก 3 พรรษา ในขณะนั้นครูบาเจ้าอาวาสวัดไผ่ 11 กอ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ได้ล้มป่วย
มีอาการหนัก พระภิกษุจันทร์ได้ไปเยี่ยมและเฝ้าพยาบาลอาจารย์ ท่านอาจารย์จึงได้มอบคัมภีร์ศาสตร์
ประเภทชื่อ มหาโยคีมันตระประเภท ให้ และแนะนำให้เอาไปทำพิธีเล่าเรียนในที่สงัด บอกว่า
เมื่อท่องบ่นมนต์นั้นจบแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีสติปัญญา เฉลียว ฉลาด เฉียบแหลม สามารถเล่าเรียน
และรอบรู้วิทยาการและพระธรรมได้โดยรวดเร็ว
เมื่อได้มอบคัมภีร์นั้นให้แก่ภิกษุจันทร์แล้ว ครูบาผู้เป็นอาจารย์ก็ถึงมรณภาพ หลังจากที่ได้จัดการ
ฌาปนกิจศพพระอาจารย์แล้ว พระภิกษุจันทร์ก็ได้เที่ยวแสวงหาสถานที่ที่สงัด เพื่อจะทำพิธีศึกษา
เวทมนตร์จากพระคัมภีร์ที่ท่านอาจารย์มอบให้ พระภิกษุจันทร์ได้ถามชาวบ้านและวานชาวบ้าน
ให้ส่งไปยังสถานที่อันสงัดบนดอยสุเทพ ซึ่งชาวบ้านก็ได้ไปส่ง ณ ศาลาฤาษีสุเทพ ซึ่งอยู่ห่าง
จากวัดไผ่ 11 กอ ประมาณ 2,000 วา (4 ก.ม.) ครั้นถึงที่นั่นแล้ว พระภิกษุจันทร์ก็บอกชาวบ้าน
ให้กลับ ส่วนตัวท่านเองก็เริ่มทำพิธีท่องมันตระประเภทให้ได้ครบพันคาบ สมจิตตสูตร ห้าร้อยคาบ
มหาสมัยสูตรห้าร้อยคาบ ธรรมจักรสูตรห้าร้อยคาบ พอถึงราตรีที่สาม ท่านก็สวดมนต์มหาสมัยสูตร
อีกห้าร้อยคาบ พอสวดถึงตอนที่ว่า เขมิยาตุสิตายามา ท่านก็มองเห็นแสงสว่างตรงมาข้างหน้า
แสงนั้นเคลื่อนใกล้เข้ามาๆ จนแลเห็นชัด ปรากฏเป็นรูปคล้ายมนุษย์และสวยงามอย่างยิ่ง
มายืนอยู่ตรงหน้าท่านแล้วถามว่า ท่านมาทำอะไร และปรารถนาอะไร ? พระภิกษุจันทร์ตอบว่า
“เรามาทำศาสตรเภท เพื่ออยากได้สติปัญญาอันเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด”
ผู้ประหลาดนั้นจึงถามอีกว่า ท่านจะอยู่ในพรหมจรรย์ตลอดชีวิตหรือ ?
หรือว่ายังจะลาสิกขาไปเป็นฆราวาสเมื่อเรียนศาสตรเภทจบแล้ว

พระภิกษุจันทร์ตอบว่า “เราถวายชีวิตของเราแล้วเพื่อพระพุทธศาสนา” ผู้ประหลาดนั้นจึงพูดว่า
“เราจะถวายของสิ่งหนึ่งให้แก่ท่าน ท่านจงยื่นมือมารับเอาเถอะ” แล้วก็ส่งของสิ่งหนึ่งให้
(ในตำนานกล่าวว่าสิ่งนั้นเป็นหมากเคี้ยวคือหมากที่ทำเป็นคำๆ) แก่พระภิกษุจันทร์ๆ แลเห็นแขน
และมือที่ยื่นส่งของมานั้นสวยงามผุดผ่องและนิ่มนวลก็จับเอาทั้งมือทั้งหมากรูปประหลาดนั้น
(เทวดาแปลง) ก็กล่าวเป็นคำคาถาว่า อสติกโรติ “ท่านจงหาสติมิได้เถิด” แล้วก็หายวับไปทันที
แต่นั้นมาท่านภิกษุจันทร์ก๊กลายเป็นคนหลงๆ ลืมๆคล้ายกับคนเสียสติ เป็นไปด้วยเดชคำสาป
ของเทวดาแปลงนั้น เมื่อเห็นว่าถูกทำลายพิธี และตนเองก็กลายเป็นคนสติเผลอไผลไปเช่นนี้
พระภิกษุจันทร์ก็กลับลงมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดโพธิ์น้อยตามเดิม (วัดนี้ไม่ทราบว่าอยู่แห่งใด)
เวลามีสติสัมปชัญญะดี สามารถเรียนพระไตรปิฎกได้แม่นยำรวดเร็วมาก เรียนพระวินัยจบ
ในเวลา 1 เดือน เรียนพระสูตรจบในเวลา 1 เดือน เรียนพระอภิธรรมจบภายในเวลา 1 เดือน
กับ 15 วัน เมื่อเวลาสติท่านไม่สู้จะปรกติท่านจะเที่ยวจาริกไปในที่สงบสงัด เพื่อบำเพ็ญภาวนา
ตามลำพัง

ในสมัยนั้น มีพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิและรอบรู้ในพระไตรปิฎกอยู่ 6 องค์ด้วยกันคือ พระธัมมะเทโวเถระ
พระติกขปัญโญเถระ สององค์นี้จำพรรษาอยู่ ณ วัดสวนดอก พระอาเมทะเถระ พระจักปัญโญคุฑะเถระ
เป็นพระเถระชาวพุกาม จำพรรษาอยู่ ณ วัดเสขาน (ไม่ทราบว่าอยู่แห่งใด) พระพุทธติสโสริยะเถระ
พระโสมาติสโสริยะเถระ สององค์นี้เป็นพระชาวใต้ (ไทยกลาง) จำพรรษาอยู่ ณ วัดปุยันโต
(ไม่ทราบว่าอยู่แห่งใด) พระเถระทั้ง 6 รูปนี้ แม้จะรอบรู้ในพระไตรปิฎก แต่ก็สู้ท่านมหาจันทร์ไม่ได้

ในครั้งนั้นมักจะมีพระเถระจากต่างเมืองมาถามปัญหาธรรมอยู่เสมอ และทุกครั้งที่มีการถกเถียง
ปัญหาธรรมที่ลึกซึ้ง ก็ต้องอาศัยพระเถระจันทร์เป็นผู้เฉลยปัญหานั้นให้ด้วยความเชี่ยวชาญ
และรอบรู้ของท่านมหาเถระจัทร์นี้เองทำให้พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงโปรดปรานเป็นอันมาก
แต่พระมหาเถระจันทร์ชอบจาริกอยู่ตามป่าดง เพื่อหาที่สงบสงัดบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นนิจ
ไม่มีที่อยู่ที่แน่นอน เวลาต้องการตัวโต้ตอบปัญหาหรือศึกษาข้อธรรม มักจะตามไม่ค่อยพบ
หรือพบได้ยากมาก พระเจ้ากือนาธรรมิกราชประสงค์จะให้พระมหาจันทร์อยู่เป็นที่ สะดวกต่อการติดต่อ
และพบปะง่าย จึงโปรดให้สรางอุโมงค์ใหญ่ขึ้นที่ด้านเหนือฐานพระเจดีย์ใหญ่ในวัดเวฬุกัฏฐาราม
สร้างเสร็จแล้วให้เป็นที่อยู่ของพระมหาจันทร์ มหาชนทั้งหลายจึงเรียกกันว่า “วัดอุโมงค์เถรจันทร์”
ตั้งแต่บัดนั้นมาถึงทุกวันนี้ พระมหาจันทร์อยู่จำพรรษาเจริญศรัทธาพระมหากษัตริย์ บรมวงศานุวงศ์
และประชาชน อยู่ที่วัดอุโมงค์หลายสิบปี ในที่สุดก็มรณะภาพลงด้วยอายุได้ประมาณ 77 ปี




จบประวัติ ประวัติศาสตร์ ตำนานและที่มาของวัดอุโมงค์


เป็นไงบ้างครับ ยาวมากพอสมควรเลย แต่อ่านแล้วได้รู้อะไรมากขึ้น ศึกษาประวัติศาสตร์ไปในตัว
ผมเองก็อ่านทุกตัวอักษร แก้คำผิดไปก็เยอะ หากตกหล่นตรงจุดไหนก็ขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วยครับ



ขอขอบคุณที่มาเนื้อหาจากเวบไซท์ของวัดอุโมงค์ครับ
http://www.watumong.org/history/
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 10.0.648.205 Chrome 10.0.648.205


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 26 เมษายน 2554 21:14:05 »


เป็นยังไงบ้างครับยังไม่เบื่อกันใช่ไหม
จริง ๆ แล้วดูเผิน ๆ เนื้อหาเยอะจริง แต่ในมุมมองของผม (ทั้งอ่านทั้งพิมพ์) ผมว่าอ่านมันส์มาก
คืออ่านแล้วติด เพราะนอกจากจะได้รู้ที่มาของวัดแล้ว ยังได้ความรู้เรื่องของเจ้าผู้ปกครองเชียงใหม่
ในยุคนั้น ๆ ด้วย ถ้าใครที่ข้ามมาไม่ได้อ่านเพราะเห็นว่าเยอะ ลองย้อนกลับไปอ่านดูก็ไม่เสียหายครับ

เข้าเรื่องการเดินทางกันต่อครับ หลังจากเราลงกันมาจากยอดดอยสุเทพแล้วตอนนั้นก็เที่ยงพอดีครับ
เลยแวะเข้าไปเชคเอาท์ห้องพักที่สนามกีฬา ๗๐๐ ปี (หอพัก ๗๐๐ ปี)
เพราะคืนนี้ เราจะไปค้างที่... "บ่อน้ำพุร้อน สันกำแพง !!!"

และเมื่อเราเก็บของกันเสร็จ เช็คเอาท์กันเรียบร้อยแล้ว เป้าหมายต่้อไปที่พ่อผมเลือกพาไปเที่ยว
ก็คือวัดอุโมงค์นั่นเองครับ


การเดินทาง

วัดอุโมงค์ อยู่ที่ถนนสุเทพ หากไปจากตลาดต้นพยอม วิ่งผ่านสี่แยกคลองชลประทาน
ด้านหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประมาณ ๕๐๐ เมตร เข้าซอยทางด้านซ้ายมือไปประมาณ ๒ กิโลเมตร


ย่อครับ สำหรับคนไม่ได้อ่านประวัติแบบเต็ม

แล้วก็สำหรับคนที่ไม่ได้อ่านประวัติแบบเต็ม ผมก็เอาแบบย่อมาให้อ่านละกันครับ จะได้ไม่พลาดใจความ
วัดอุโมงค์สร้างขึ้นในสมัยพญามังรายราว พ.ศ. ๑๘๓๙ เพื่อให้ฝ่ายอรัญวาสีจำพรรษา ต่อมาพญากือนา
ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อให้พระมหาเถระจันทร์ใช้เป็นที่วิปัสสนากรรมฐาน อุโมงค์นี้มีลักษณะเป็นกำแพง
ภายในเป็นทางเดินหลายช่องทะลุกันได้ ภายในอุโมงค์เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สันนิษฐานว่า
วาดในระหว่าง พ.ศ.๑๙๐๐-๒๐๐๐ แต่เดิมคงเป็นภาพจิตรกรรมเต็มบริเวณของทุกห้อง ส่วนใหญ่
เป็นภาพดอกบัว ดอกโบตั๋น และ นกต่าง ๆ เช่น นกยูง นกกระสา นกแก้ว และนกเป็ดน้ำ
ด้านบนอุโมงค์เป็นเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่ของล้านนา นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าสร้างประมาณ
ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นเจดีย์ทรงระฆัง มีชั้นทรงกลมประมาณ ๓ ชั้นเหมือนกลีบบัวซ้อนกันอยู่
ด้านบนมีปลียอด ด้านหน้าอุโมงค์มีเศียรพระพุทธรูปหินสลักสกุลช่างพะเยา พ.ศ.๑๙๕๐-๒๑๐๐
บริเวณวัดเป็นสวนพุทธธรรม ร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ เป็นสวนป่าที่เหมาะกับการนั่งวิปัสสนา
ด้านหลังเป็นสวนป่าและสวนสัตว์ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน เดินเล่นได้ และเป็นสถานที่ดูนกที่ดีอีกแห่งหนึ่ง



บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 10.0.648.205 Chrome 10.0.648.205


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 26 เมษายน 2554 21:41:16 »


มาถึงแล้วครับ วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)



ป้ายด้านหน้าวัดครับ วัดอยู่ในซอยลึกพอสมควร คนไม่คุ้นก็คงคิดว่ามาผิดทางเป็นแน่
แต่จริง ๆ แล้วมาง่ายครับ ตรงเข้าซอยมาอย่างเดียว แค่อยู่ลึกหน่อย
วัดนี้สงบร่มรื่นมากครับ อาจเพราะอยู่ลึกมาในซอยด้วย เลยสงบกว่าที่อื่น ๆ




เข้าวัดแล้ว ไม่ได้จอดด้านหน้าครับ แต่เราขับมาจอดด้านบนเลย ไม่งั้นต้องเดินมาอีกไกล
ถ้าจะมาชมในส่วนที่เป็นอุโมงค์ กับเจดีย์ของวัดอุโมงค์


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 10.0.648.205 Chrome 10.0.648.205


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 28 เมษายน 2554 01:23:04 »


หลังจากจอดรถแล้ว ลงรถมา โอ... บรรยากาศดีมากครับ ร่มรื่น สงบ มีเสียงจิ้งหรีด จักจั่นตลอด
ทั้ง ๆ ที่เป็นตอนกลางวัน ปกติไม่เคยได้ยินเสียงจิ้งหรีด เสียงจักจั่นกลางวันครับ
อากาศดี แดดร้อนต่างจากบนดอยซึ่งหมอกลง (ห่างกันสิบกว่ากิโล แต่เหมือนอยู่คนละจังหวัด)
แต่แสงแดดก็ถูกกรองกลายเป็นเงาให้สวยงามอย่างประณีตด้วยต้นไม้ใบหญ้าที่มีอยู่ทั่วบริเวณ





บันไดนี้คือทางขึ้นที่จะขึ้นไปชมด้านบนซึ่งเป็นส่วนของวัดอุโมงค์ และเจดีย์โบราณครับ
สังเกตรอบ ๆ ครับ บรรยากาศร่มรื่นมาก






ดูความร่มรื่นสิครับ แมวยังนอนสบายเลย ว่าแล้วเลยเข้าไปถ่ายรูปแมวซักหน่อย
ผมชอบแมวสีกับลายแบบนี้ แล้วตัวนี้ยิ่งน่ารัก หมาแมวทั่วไปปกติคนไม่รู้จักเข้าไปใกล้
มันจะวิ่งหนี แต่ตัวนี้มันนอนให้ถ่ายรูป แถมบิดขี้เกียจโชว์อีก เห็นแล้วอยากเก็บมาเลี้ยงจัง
ท่าทางแมวตัวนี้มันตรงข้ามกับ "อีหมวย" แมวนรกที่บ้านผมซะจริง ๆ
หลาย ๆ คนได้รู้จักอีหมวยแมวบ้านผมไปแล้ว จากกระทู้ที่ผมเคยตั้ง แต่ถ้าใครไม่รู้วีรกรรม
และความแสบแทบจะกระทืบมันให้จมดิน สามารถติดตามอ่านได้ที่กระทู้
"อีหมวย อีแมวร้ายจากขุมนรก" จากลิ้งค์ด้านล่างนี่ครับ

http://www.sookjai.com/index.php?topic=17769.0 << คลิก !


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
sati
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 7
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 169


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 28 เมษายน 2554 12:34:25 »

 ขำ

ไปตั้งไกล ยังมิวายบ่นถึงน้องหมวยที่บ้าน แสดงว่าถึงจะยังไงก็ยังคิดถึงหมวยอยู่ล่ะสิน้าแม็ก
ทำเป็นบ่น ที่แท้ก็ทั้งรักทั้งเกลียดนี่เอง *-*

 ช๊อค  รูปแรกเหมือนจะพาเราไปปล้นร้านเซเว่นงั้นแหละ เล่นเอาตกอกตกใจหมดเลย ค่ะ
แต่ตามดูอีกที อืม ๆ  บรรยากาศสงบๆ  น่านอนจริงๆ  นั่นแหละ  แล้วอากาศที่นั่นคงไม่ร้อนเหมือนที่
กรุงเทพแน่ ๆ เลย ช่วงนี้กรุงเทพ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝนตก  เฮ้อ อยากหนีไปเที่ยวกับน้าแม็กจังค่ะ
บันทึกการเข้า

โปรดงดแสดงความคิดเห็นที่ไม่สร้างสรรค์ ขาดเมตตาธรรม ส่อเสียด ดูหมิ่น สร้างความแตกแยกให้แก่สังคมหรือกระทบกระทั่งต่อสถาบันอันเป็นที่เคารพ กระทบต่อความมั่นคงของชาติ และขัดต่อกฎหมาย....และอย่าลืมว่าเราเป็นคนไทย โปรดใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องด้วยยนะคะ....
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 10.0.648.205 Chrome 10.0.648.205


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 28 เมษายน 2554 12:47:22 »


 ขำ

ไปตั้งไกล ยังมิวายบ่นถึงน้องหมวยที่บ้าน แสดงว่าถึงจะยังไงก็ยังคิดถึงหมวยอยู่ล่ะสิน้าแม็ก
ทำเป็นบ่น ที่แท้ก็ทั้งรักทั้งเกลียดนี่เอง *-*

 ช๊อค  รูปแรกเหมือนจะพาเราไปปล้นร้านเซเว่นงั้นแหละ เล่นเอาตกอกตกใจหมดเลย ค่ะ
แต่ตามดูอีกที อืม ๆ  บรรยากาศสงบๆ  น่านอนจริงๆ  นั่นแหละ  แล้วอากาศที่นั่นคงไม่ร้อนเหมือนที่
กรุงเทพแน่ ๆ เลย ช่วงนี้กรุงเทพ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝนตก  เฮ้อ อยากหนีไปเที่ยวกับน้าแม็กจังค่ะ


- คือถ้าอีแมวหมวยนี่ตายไป ชีวิตผมกับครอบครัวคงเหงาครับ ไม่มีตัวอะไรมากวนตัวกวนใจ
- คือพอดีหัวข้อมันไปเที่ยวครับ ผมแต่งชุดนี้ลุยฝุ่นขี่มอเตอร์ไซค์ไปเที่ยวบ่อย เลยชอบ
- วัดอุโมงค์เป็นสถานที่สงบครับ อยู่แล้วเพลิน นึกภาพมีเปลญวนผูก ลมเย็น ๆ เสียงจักจั่น
เสี้ยงจิ้งหรีด ดังทั้งวัน แดดไม่ร้อน ร่มรื่น อากาศบริสุทธิ์ เพอร์เฟกต์ครับ !
- หนีมาเที่ยวเลยครับจารย์ เดือนหน้าก็ขึ้นกทม. ครับ สนใจออกเที่ยว ตระเวณถ่ายรูป
กับผม วอนเด้อเม ปริศนา ลุงบางครั้ง ก็มาร่วมวงกันได้ครับ

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 11.0.696.60 Chrome 11.0.696.60


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2554 13:08:26 »


ห่างหายไปหลายวัน เพราะมีธุระสำคัญเลยไม่ได้มาโพสท์
มาต่อกันครับ

หลังจากเดินขึ้นบันได ที่เจอแมวเหมียวตัวเมื่อกี้แล้ว เราจะเจอรูปปั้นครับ




ผมไม่แน่ใจว่าเป็นรูปปั้นอะไร เพราะไม่มีป้ายบอก รูปร่างก็อย่างที่เห็นในภาพที่ถ่ายมาครับ
สวมอะไรสักอย่างเป็นเหมือนหมวกมียอดแหลม จากที่ผมเดา ด้านนึงน่าจะเป็นผู้ชาย
อีกด้านน่าจะเป็นผู้หญิง (สังเกตจากบริเวณหน้าอกครับ) หน้าตาน่ากลัว
ถ้าถามความคิดผมแว่บแรกผมมองเป็นยักษ์ ในจุดนี้ถ้าใครมีข้อมูลก็รบกวนด้วยครับ





เมื่อผ่านรูปปั้นทั้งสองตรงปากทางขึ้นเมื่อครู่แล้ว เดินมาอีกเพียงไม่กี่ก้าว ด้านซ้ายมือ
จะมีพระราชานุสาวรีย์ของพระเจ้าเม็งราย มหาราช ซึ่งผมได้กล่าวถึงบางส่วนของท่าน
จากประวัติวัดอุโมงค์ไว้แล้วในโพสท์ต้น ๆ ... แต่หากใครข้ามอ่านในส่วนของประวัติมา
ก็ขอสรุปให้สั้น ๆ ครับว่า พระเจ้าเม็งรายมหาราช หรือ พ่อขุนเม็งราย หรือ พญามังราย
ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา โดยทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงแสน
มาสู่เมืองเชียงราย และในที่สุดก็ทรงตั้งเมืองเวียงพิงค์ หรือเชียงใหม่เป็นราชธานี




บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 11.0.696.60 Chrome 11.0.696.60


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2554 13:18:19 »


เดินตรงตามทางผ่านพระราชานุสาวรีย์ของพระเจ้ามังรายมหาราชแล้วจะเจอลานกว้าง
สงบร่มรื่น และที่ลานนี้ก็มีเสาพระเจ้าอโศกจำลองอยู่ด้วย



เสาหินอโศกจำลองที่เห็นอยู่ในรูปภาพนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่
ของพระพุทธศาสนาในอดีต และทำให้เราได้รำลึกถึงพระราชเกียรติของพระเจ้าอโศกมหาราช
จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ด้วย สาเหตุที่ได้ชื่อว่าเสาหินอโศกก็เพราะว่า พระเจ้าอโศกมหาราช
ผู้ครองอาณาจักรอันกว้างใหญ่ในสมัยของพระองค์เป็นผู้สร้างขึ้นมา มีอยู่ทั้งหมด 48 ต้น
แต่ละต้นก็จะจารึกหลักธรรมคำสอนของพระองค์แก่อาณาประชาราษฎร์ ชมพูทวีปในครั้งนั้น
จึงถือว่าเป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง เพราะมีมหากษัตริย์ทรงทศพิศราชธรรม






ที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วทั้งวัดก็คือ...
คำสอน คำคม ข้อคิด พุธวัจนะ ภาษิตธรรม ต่าง ๆ ซึ่งจุดนี้จริง ๆ แล้วมีแทบทุกวัด
แล้วผมก็ชอบอ่านซะด้วยสิ ชอบไปยืนอ่านตามต้นไม้ (เพราะส่วนมากตอกไว้กับต้นไม้)
เจอที่คม ๆ ก็เยอะ เตือนสติได้ก็เยอะ แม้แต่ที่ฮา ๆ ก็มี ใครไม่เคยลองอ่าน
ก็ลองดูครับ อาจเป็นโรคติดคำคมเหมือนผม ฮ่า ๆ ๆ


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 11.0.696.60 Chrome 11.0.696.60


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2554 13:38:50 »


ถัดมาใกล้ ๆ กันกับเสาพระเจ้าอโศก (จำลอง)



จะเจออนุสาวรีย์หลวงพ่อปัญญาครับ หรือที่ทุก ๆ ท่านเรียกกันติดปากว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
สาเหตุที่มีอนุสาวรีย์หลวงพ่ออยู่ที่นี่ ผมขอย่อความมาในสมัยที่ท่านมาเชียงใหม่เลยนะครับ

ประกาศธรรมแก่ชาวบ้านที่เชียงใหม่

เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๒ ไปจังหวัดเชียงใหม่ เริ่มเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยการ
ปาฐกถาธรรม โดยสร้างโรงมุงใบตองขึ้นในที่ของชาวบ้านซึ่งเรียกว่าศาลาธรรมทาน
(พุทธสถานเชียงใหม่ในปัจจุบัน) เทศน์ทุกวันอาทิตย์ ส่วนวันพระออกเทศน์ตามหมู่บ้าน
โดยรถยนต์ติดเครื่องขยายเสียง ในระหว่างนี้ หลวงพ่อได้ไปปักหลักแสดงปาฐกถาธรรม
แข่งกับโรงหนัง แรกๆ ก็มีผู้มายืนฟังสี่ห้าคน แล้วก็เพิ่มขึ้นๆ เป็นร้อย จนกระทั่ง
“โรงหนังแทบต้องปิด” เพราะคนมาฟังพระเทศน์หมด พร้อมทั้งได้เขียนเรื่องลงใน
หนังสือพิมพ์ชาวเหนือ โดยใช้ฉายาและนามปากกาว่า “ปัญญานันทะ” ซึ่งความจริงแล้วนามปากกา
“ปัญญานันทะ” ก็ไม่ไกลจากความหมายของนามเดิม (ปทุมุตฺตโร) แต่อย่างใด เรียกว่าเป็นแก่น
หรือสาระของนามเดิมนั้นเอง เพราะพระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมเจริญงอกงาม
ด้วยปัญญา เป็นดอกบัวบานที่ไม่ยอมหุบ ชูช่อชูก้านไสวตลอดกาล

จนกระทั่งท่านมีชื่อเสียงขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในนาม “ภิกขุปัญญานันทะ” ผู้สนับสนุนคนสำคัญ
คือ เจ้าชื่น สิโรรส ทั้งนี้ ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ต.สุเทพ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่ เป็นเวลานานถึง ๑๑ พรรษา (พ.ศ.๒๔๙๒-๒๕๐๒)


พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นประธานก่อตั้งพุทธนิคม จ.เชียงใหม่ และประธานมูลนิธิ “ชาวพุทธมูลนิธิ”
วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่


ในยุคนี้เองที่หลวงพ่อได้ก่อตั้งมูลนิธิ “เมตตาศึกษา” ที่วัดเจดีย์หลวง ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
และบำเพ็ญศีล กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย

จะเห็นได้ว่าท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา และเผยแผ่หลักธรรมคำสอน จนชาวเชียงใหม่
ต่างให้ความเคารพบูชากันถ้วนทั่ว และที่สำคัญ ท่านยังได้จำพรรษาที่วัดอุโมงค์ถึง ๑๑ พรรษา
อีกด้วย




ป้ายบอกประวัติวัดอุโมงค์ครับ มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เป็นแบบอธิบายคร่าว ๆ
เพราะถ้าอยากได้แบบเต็ม ๆ ต้องหาอ่านที่ไหนรู้ไม๊ครับ ? แหม ก็ที่เวบสุขใจเรานี่ไง
ฮ่า ๆ ๆ ๆ (อันนี้ออกแนวชงเองกินเอง)

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น



บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
sati
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 7
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 169


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2554 19:31:15 »

 ตกหลุมรัก

ตามดูแบบอยากเที่ยวล่ะ  แต่ว่างานรัดตัวติ้วๆๆ   แค่ช่วงนี้เพื่อนชวนไปวิ่งออกกำลังกายตอนเย็น  ก็ได้ไปบ้างไม่ได้ไปบ้าง  กว่างานจะเสร็จบางวันก็ปาเข้าไปสี่ทุ่มแล้ว  ช่วงนี้
งานท่วมตัวเลยค่ะ  แต่ยังมีกำลังใจสู้ๆ  ทำแบบลืมวันลืมเวลาเลยล่ะ

น้าแม็กเข้ากรุงเทพวันไหน  ไปเที่ยวเมืองเก่ากันมั้ย  *-* เล่นใกล้ ๆ นี่แหละเนอะ
มีเวลาเช้าเย็นกลับเท่านั้นเองค่ะ  มาวันไหนส่งข้าว  เอ้ยยย ส่งข่าวด้วยนะคะ
ถ้าพอมีเวลาจะพาน้าแม็กทัวร์กรุงเก่าจ้า
บันทึกการเข้า

โปรดงดแสดงความคิดเห็นที่ไม่สร้างสรรค์ ขาดเมตตาธรรม ส่อเสียด ดูหมิ่น สร้างความแตกแยกให้แก่สังคมหรือกระทบกระทั่งต่อสถาบันอันเป็นที่เคารพ กระทบต่อความมั่นคงของชาติ และขัดต่อกฎหมาย....และอย่าลืมว่าเราเป็นคนไทย โปรดใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องด้วยยนะคะ....
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 11.0.696.60 Chrome 11.0.696.60


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2554 20:15:42 »

ตกหลุมรัก

ตามดูแบบอยากเที่ยวล่ะ  แต่ว่างานรัดตัวติ้วๆๆ   แค่ช่วงนี้เพื่อนชวนไปวิ่งออกกำลังกายตอนเย็น  ก็ได้ไปบ้างไม่ได้ไปบ้าง  กว่างานจะเสร็จบางวันก็ปาเข้าไปสี่ทุ่มแล้ว  ช่วงนี้
งานท่วมตัวเลยค่ะ  แต่ยังมีกำลังใจสู้ๆ  ทำแบบลืมวันลืมเวลาเลยล่ะ

น้าแม็กเข้ากรุงเทพวันไหน  ไปเที่ยวเมืองเก่ากันมั้ย  *-* เล่นใกล้ ๆ นี่แหละเนอะ
มีเวลาเช้าเย็นกลับเท่านั้นเองค่ะ  มาวันไหนส่งข้าว  เอ้ยยย ส่งข่าวด้วยนะคะ
ถ้าพอมีเวลาจะพาน้าแม็กทัวร์กรุงเก่าจ้า

ช่วงหยุดยาวห้าวันของเดือนนี้ครับ หยุดยาวนี่ผมชอบเข้ากทม.มาก

เพราะคนต่างจังหวัดส่วนมากจะพากันกลับบ้าน

ทำให้กทม.ค่อนข้างโล่ง

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 11.0.696.60 Chrome 11.0.696.60


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2554 23:19:17 »


ต่อกันครับ ช่วงนี้อัพขาด ๆ เพราะงานค่อนข้างเยอะ ทั้งงานส่วนตัว โครงการทำซีดีธรรมะแจก




แนวกำแพงครับ ทำเป็นเหมือนแนวกันดินไหลมากกว่า เพราะด้านในแนวกำแพงนี้จะเป็นอุโมงค์
ที่ถูกเจาะเป็นทางเดินครับ ถ้าสังเกตุที่แนวกำแพงนี้ จะเห็นเป็นช่องทางเข้า นั่นหละครับ
ทางเข้าส่วนที่เป็นอุโมงค์





นี่ครับ ถ่ายจากหน้าอุโมงค์ จะเห็นมีพระประดิษฐานอยู่ด้านใน เข้าไปจะเป็นทางแยกครับ




สังเกตนะครับ บริเวณนี้จะสว่าง หากมองขึ้นด้านบน จะพบว่าอุโมงค์ถูกเจาะให้แสงเข้าจากด้านบน
ซึ่งตอนนี้เค้าทำหลังคาคลุมเอาไว้ครับ ซึ่งผมจะพาไปดูด้านบนต่อ หลังจากออกจากอุโมงค์แล้ว


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 11.0.696.60 Chrome 11.0.696.60


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2554 13:18:34 »


อากาศภายในอุโมงค์ถือว่าเย็นครับ ถ้าให้เทียบก็เหมือนเปิดแอร์สักยี่สิบสององศา
อาจเป็นด้วยในอุโมงค์ไม่โดนแดดโดดตรง มีดินเป็นฉนวนอย่างดี ประกอบกับว่า
ในอุโมงค์จะมีช่องด้านบน ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นตัวระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี
เพราัะมวลอากาศร้อนจะลอยขึ้นด้านบน ทำให้ด้านล่าง (ในอุโมงค์) เย็นสบาย




ด้านในอุโมงค์จะมีพระพุทธรูปประดิษฐานไว้เป็นจุด ๆ ครับ
ดูจากในภาพน่าจะเป็นของดั้งเดิมมาแต่โบราณครับ เพราะจากที่ดูด้วยสายตาก็เห็นได้ว่าเก่ามาก



มีบันไดขึ้นภายในอุโมงค์ครับ ซึ่งบันไดนี้จะขึ้นไปยังด้านหลัง ซึ่งสามารถเดินต่อขึ้นไปยัง
ลานด้านบนได้ครับ




หลังจากขึ้นบันไดแล้ว จะเป็นทางเดินทอดยาวจนออกไปข้างนอกครับ


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 11.0.696.60 Chrome 11.0.696.60


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2554 13:38:29 »





หลังจากเดินตามทางมาจะเจอทางออกข้างนอกครับ ซึ่งขอบอกเลยว่าร้อนมาก
อากาศผิดกับในอุโมงค์เลย เสียดายครับที่ไม่ได้หิ้วรองเท้าเข้ามาด้วย
(ก่อนเข้าอุโมงค์ต้องถอดรองเท้าครับ) เลยไม่ได้เดินไปต่อ ซึ่งถ้าสังเกตดี ๆ
จะพบว่ามีทางเดินต่อไปด้านหลัง และมีทางเดินขึ้นไปด้านบนของตัวอุโมงค์
ก็ได้แต่ถ่ายภาพให้ดูแค่นี้ครับ เหตุเพราะลืมรองเท้า !



เมื่อไม่สามารถไปต่อได้ ก็เดินย้อนกลับลงมาครับ จากคำบอกของไกด์ ทางขึ้นมีอีกทางหนึ่ง
ซึ่งเราจะเปลี่ยนไปเส้นทางนั้นกันครับ




ออกจากตัวอุโมงค์มาแล้วครับ เรากำลังจะขึ้นไปที่เจดีย์ด้านบน ตอนนี้ยังไปได้ชิล ๆ สบาย ๆ
เพราะถึงแดดจะร้อน แต่ร่มเงาในวัดก็ช่วยบังจนแดดออกฤทธิ์ไม่ได้




และแล้วสายตาผมก็มาสะดุดที่ต้นไม้ต้นนี้ครับ ...




เข้ามาดูใกล้ ๆ เอ๊ะตัวอะไรมันเกาะเต็มต้นไม้เลย เกาะแม้กระทั่งจีวรที่พันรอบต้นไม้




ปรากฏว่าไอ้ตัวที่ผมสงสัยมันไม่อยู่แล้วครับ เหลือทิ้งไว้แต่คราบที่มันลอกออก ผมไม่รู้ว่าตัวอะไร
แต่คาดว่าเป็นจักจั่น เพราะที่นี่มีเสียงจักจั่นระงมทั้งวัน แม้แต่ตอนแดดเปรี้ยง ๆ อย่างนี้
อีกอย่างเคยได้ยินมาว่าจักจั่นลอกคราบได้ เพราะงั้นคงไม่ใช่คราบของแมงเม่า และของจิ้งจกแน่นอน
เพราะผมไม่เคยได้ยินว่าแมงเม่ากับจิ้งจกมันลอกคราบได้
เอ๊ะ หรือมันจะเป็นจิ้งหรีด ? เอาเป็นว่าผมไม่มีความรู้เรื่องแมลง มันอาจจะเป็นแมลงอะไรสักอย่าง
หรือมันอาจจะเป็นการลอกคราบของเอเลี่ยนที่แฝงตัวมาบนโลกก็ได้ ใครจะรู้

ฮ่า ๆ ๆ มั่วไปเรื่อยครับ ตามประสา ...
อ่านน้าแม๊คพาเที่ยวนี่ต้องใช้วิจารณญาณนะครับ ไอ้สาระความรู้ก็เยอะ ไอ้มั่วซั่วทะโหล่โถ่ทิ่มก็แยะ

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 11.0.696.60 Chrome 11.0.696.60


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2554 11:27:19 »




บันไดทางขึ้นครับ เราจะขึ้นไปดูเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกาวงศ์ที่สร้างไว้เหนืออุโมงค์ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นกัน
เท่าที่สังเกตทางภาคกลางที่ผมอยู่นี่ นาคตามบันไดส่วนมากจะมีหัวเดียว แต่นาคทางเหนือส่วนมาก
มักจะมีมากกว่า 1 หัว ดังจะเห็นได้จากในภาพ ซึ่งนาคที่บันไดนี้สร้างมาแต่โบราณ นั่นแปลว่า
ทางเหนือได้สร้างนาคตามบันไดที่มีมากกว่า 1 หัวแบบนี้มานานแล้ว




และนี่คือเจดีย์ที่ว่าครับ สวยงามมาก เจดีย์นี้คือเจดีย์ที่ผมได้กล่าวถึงไว้ในส่วนของประวัติวัดอุโมงค์
ในโพสท์ต้น ๆ ครับ แม้กาลเวลาจะผ่านไปนาน แต่ก็ยังคงความงดงามไว้ได้จนถึงทุกวันนี้





และนี่คือบริเวณเหนืออุโมงค์ครับ ถามจากแฟนซึ่งเคยมาทำโปรเจกต์ที่วัดอุโมงค์นี่เป็นเดือน ๆ
และได้มารังวัดบริเวณนี้ทั้งหมด แฟนผมบอกว่าเมื่อตอนมาครั้งก่อน แค่ปีกว่า ๆ พื้นที่ตรงนี้
ยังเป็นดินเป็นหญ้าอยู่เลย แต่ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่าได้มีการปรับปรุงใหม่เป็นเหมือนแผ่นอิฐมาเรียง
ซึ่งไม่รู้ว่าทำเพื่ออะไรแน่ แฟนผมบอกอาจเป็นการป้องกันการชะของดิน
ส่วนที่เห็นเป็นหลังคานั่น คือจุดที่ผมกล่าวไว้ว่าจะพาขึ้นมาชมเมื่อตอนอยู่ในอุโมงค์ครับ
จุดดังกล่าวคือจุดที่ให้แสงเข้าครับ เป็นโพรงลงไปจนถึงตัวอุโมงค์ ที่สำคัญ น่าจะเพราะจุดพวกนี้
ด้วยหละครับที่ยิ่งทำให้อุโมงค์นั้นเย็นขึ้นมาก


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 11.0.696.60 Chrome 11.0.696.60


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2554 11:36:54 »


เดี๋ยวเรามาปิดท้ายกันด้วยภาพรอบ ๆ บริเวณวัดอุโมงค์ครับ ร่มรื่นมากทีเดียว











ใครไม่เคยไปลองไปดูครับ ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ท่ามกลางความสงบและร่มรื่น
แล้วจะประทับใจไม่ลืมครับ

และเช่นเคยครับ ไม่มีรูปแม่ผมอีกแล้ว เพราะที่ไหนมีร้านหนังสือธรรมะ หรือขายซีดีธรรมะ
แม่จะตัดตัวเองออกจากโลกภายนอกทันทีครับ


 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น

หวังว่าคงยังไม่เบื่อกันนะครับ กับซีรี่ย์น้าแม๊คพาขึ้นเหนือ

ส่วนใครที่ต้องการชม ดูงานวิจัย ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดอุโมงค์
สามารถติดตามอ่านกระทู้ของ Wondermay สมัยไปทำ Project ได้ที่กระทู้นี้ครับ

วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ <<< คลิกเข้าไปอ่านเลยครับ







จบ !!

น้าแม๊คพาเที่ยว
ขึ้นเหนือแอ่วเมืองเจียงใหม่

ภาค ๓ วัดอุโมงค์


...



โปรดติดตามตอนต่อไปกับ: น้าแม๊คพาเที่ยว ขึ้นเหนือแอ่วเมืองเจียงใหม่ ภาค ๔ พระธาตุดอยคำ กับ พืชสวนโลก



บุญรักษา สวัสดี ตลก ตลก ตลก
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: น้าแม๊ค เที่ยว พาเที่ยว เชียงใหม่ เจียงใหม่ เดินทาง ท่องเที่ยว วัดอุโมงค์ 
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
น้าแม๊คพาเที่ยว ขึ้นเหนือแอ่วเมืองเจียงใหม่ ภาค ๑ การเดินทาง
สุขใจ ไปเที่ยว
หมีงงในพงหญ้า 15 15094 กระทู้ล่าสุด 19 เมษายน 2554 13:05:55
โดย หมีงงในพงหญ้า
น้าแม๊คพาเที่ยว ขึ้นเหนือแอ่วเมืองเจียงใหม่ ภาค ๒ ดอยสุเทพ « 1 2 »
สุขใจ ไปเที่ยว
หมีงงในพงหญ้า 26 22370 กระทู้ล่าสุด 25 เมษายน 2554 23:12:30
โดย หมีงงในพงหญ้า
น้าแม๊คพาเที่ยว ขึ้นเหนือแอ่วเมืองเจียงใหม่ ภาค ๔ พระธาตุดอยคำ - งานพืชสวนโลก
สุขใจ ไปเที่ยว
หมีงงในพงหญ้า 10 14700 กระทู้ล่าสุด 23 มิถุนายน 2554 23:02:02
โดย หมีงงในพงหญ้า
น้าแม๊คพาเที่ยว - วัดอุโปสถาราม (วัดโบสถ์ / วัดโบสถ์มโนรมย์) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
สุขใจ ไปเที่ยว
หมีงงในพงหญ้า 1 11959 กระทู้ล่าสุด 03 มิถุนายน 2557 07:09:31
โดย Kimleng
น้าแม๊คพาเที่ยว - วัดขุนอินทประมูล นายอากรผู้ยักยอกเงินพระมหากษัตริย์มาสร้างวัด
สุขใจ ไปเที่ยว
หมีงงในพงหญ้า 3 31431 กระทู้ล่าสุด 24 สิงหาคม 2557 22:05:09
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.68 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 09:05:36