จะขึ้นยอดดอยสุเทพกันแล้ว
เรามาทำความรู้จักกับประวัติ - ตำนาน ของดอยสุเทพกันดีกว่า ว่าเป็นมาอย่างไร
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ไปได้โดยเดินทางตามถนนห้วยแก้ว
ซึ่งระหว่างทางขึ้นจะผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ดังที่ผมกล่าวเอาไว้ข้างต้น
ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง
ระยะทางจากเชิงดอยถึงวัดประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง
วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่นับตั้งแต่โบราณกาล
นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาที่จังหวัดนี้จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน
ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่ประวัติตามประวัติแห่งดอยสุเทพนั้นเชื่อกันว่า เดิมภูเขาแห่งนี้เป็นที่อยู่ของฤาษีนามว่า
"สุเทวะ"ซึ่งตรงกับคำว่าสุเทพอันเป็นที่มาของชื่อดอยสูงแห่งนี้ โดยวัดพระธาตุดอยสุเทพนี้สร้างขึ้น
เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ในสมัย
พระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 6
เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้ทรงอัญเชิญมาจาก
เมืองศรีสัชนาลัยตามตำนานเล่าว่า พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงแยกพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นสองส่วน
โดยอัญเชิญองค์หนึ่งบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก ส่วนอีกองค์หนึ่งได้อัญเชิญขึ้น
บนหลัง
ช้างมงคล พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงตั้งจิตอธิษฐานเสี่ยงทายว่าหากช้างเชือกนั้น
หยุดลงตรงที่ใดก็จะให้สร้างพระธาตุขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ซึ่งช้างเชือกดังกล่าวได้มาหยุดลง
ตรงยอดดอยสุเทพแห่งนี้ โดยทำทักษิณาวรรตสามรอบก่อนที่จะล้มลง (ตาย)
ดังนั้นพระเจ้ากือนาธรรมิกราชจึงทรงรับสั่งให้สร้างพระบรมธาตุอันเป็นที่ประดิษฐาน
องค์พระบรมสารีริกธาตุ ณ ยอดดอยสุเทพ อยู่คู่ฟ้าคู่ดินเชียงใหม่มานับแต่นั้นการเดินทางขึ้นสักการะวัดพระธาตุดอยสุเทพตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ ผู้ที่เดินทางมาสักการะ
ที่วัดแห่งนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ได้อย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวสามารถ
เดินขึ้นบันไดนาคไป 300 ขั้น เพื่อไปยังวัด หรือใช้บริการรถกระเช้าขึ้น-ลงดอยสุเทพได้
ระหว่างเวลา 05.30-19.30 น.
ส่วนการเดินทางขึ้นสู่ยอดดอย หากนำรถมาเองสามารถขึ้นไปจอดได้ที่บริเวณลานจอดรถ
ดังที่ผมได้ลงไว้ให้ดูตามด้านบนครับ หรือไม่หากมาเองก็นั่งรถสองแถวได้จากตีนดอยครับ
บริเวณหน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ หรือบริเวณอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยก็ได้
ประเพณีที่ดอยสุเทพงานประเพณีเตียวขึ้นดอยเพื่อสักการะพระธาตุดอยสุเทพจัดเป็นประจำทุกปี โดยมีขึ้น
ก่อนหน้าวันวิสาขบูชา 1 คืน ในงานจะมีขบวนแห่น้ำสำหรับสรงพระธาตุโดยมีพระสงฆ์
สามเณร และพุทธศาสนิกชนจากชุมชนต่าง ๆ มาร่วมขบวนแห่ขึ้นดอยเป็นจำนวนมาก
วิธีบูชา อธิษฐานขอพรความเชื่อและวิธีการบูชา เชื่อกันว่าหากมาสักการะและอธิษฐานขอพรพระธาตุดอยสุเทพ
จะมีแต่ความสำเร็จสมหวังดังปรารถนา แคล้วคลาด ผ่านอุปสรรคนานาไปได้
ในการสักการะพระธาตุนั้น ควรเตรียมข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียนแล้วเดินเวียนขวา 3 รอบ
พร้อมกล่าวคำนมัสการพระธาตุ โดยตั้งจิตอธิษฐานขอให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา
และควรไหว้พระธาตุให้ครบทั้ง 4 ทิศ ซึ่งให้อานิสงส์ที่ต่างกัน คือ ทิศเหนือขอให้มีปัญญา
ดุจพระจัทร์เพ็ญ ทิศใต้ ขอให้ได้เป็นพระภิกษุสงฆ์ได้บวชในบวรพุทธศาสนา
ทิศตะวันออกขอให้ได้ขึ้นสวรรค์ ทิศตะวันตกเป็นการเคารพบูชาสูงสุดต่อพระธาตุ
ว่าด้วยเรื่องพญาช้างเผือกคชวรมงคลแล้วก็จากโพสท์ก่อนหน้าของผมที่ผมบอกว่าเจอรูปปั้นช้างตั้งอยู่กลางถนน
แล้วผมบอกว่าไม่แน่ใจว่าใช่ "พญาช้างเผือกคชวรมงคล" หรือเปล่า
แล้วผมบอกว่าจะลงประวัติของพญาช้างเชือกนั้นให้ได้รู้ ก็นี่เลยครับ
พญาช้างเชือกนั้นคือพญาช้างตามตำนานที่ผมได้กล่าวไว้ด้านบนนั่นเอง
ประวัติการเริ่มสร้าง จนถึงยุคครูบาศรีวิชัยวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา
กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญ
พระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่
ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน
พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ ก็ได้ร้องสามครั้ง ทำทักษิณาวัติสามรอบ
แล้วล้มลง (ตาย) พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้
ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก
หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญ
พระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา
ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้า
ในบริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น
ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริม
พระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำ
เป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรง
ให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้าง
บันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น
สมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป ถนนนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลบางส่วนจาก
http://forum.narandd.com/index.php?topic=481.0
http://touronthai.com/gallery/placeview.php?place_id=3001002