[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 13:51:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร  (อ่าน 1697 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5435


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2561 19:13:24 »



ถือกันว่าวัดแจ้ง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต จนกระทั่งสิ้นสมัยกรุงธนบุรี   
ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้อัญเชิญ
มาจากประเทศลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์ ได้ในปี พ.ศ.๒๓๒๒

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และฟากตะวันออกของถนนอรุณอัมรินทร์ ระหว่างคลองนครบาลหรือคลองวัดแจ้งกับพระราชวังเดิม ตำบลวัดอรุณ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดธนบุรี ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัดในสมัยโบราณ ตามหลักฐานเท่าที่ปรากฏมีเพียงว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีมาก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑) เมื่อแรกเรียกว่า วัดมะกอก ตามทางสันนิษฐานเข้าใจว่าคงจะเรียกคล้อยตามชื่อตำบลบางมะกอก ซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ซึ่งสมัยนั้นมีชื่อว่า “บางมะกอก” ตามคติเรียกชื่อวัดของไทยสมัยโบราณ เพราะชื่อวัดที่แท้จริงมักจะไม่มี จึงเรียกชื่อวัดตามชื่อตำบลที่ตั้ง เช่น วัดบางลำพู วัดปากน้ำ เป็นต้น  ภายหลังเปลี่ยนเป็นวัดมะกอกนอก แล้วเปลี่ยนเป็น วัดแจ้ง  วัดอรุณราชธาราม และวัดอรุณราชวราราม โดยลำดับ  ปัจจุบันเรียกชื่อว่า “วัดอรุณราชวราราม”

ส่วนที่เปลี่ยนเป็นเรียกว่า “วัดแจ้ง” นั้น มีเรื่องเล่าว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาสำเร็จเรียบร้อย ใน พ.ศ.๒๓๑๐ แล้ว มีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยา มาตั้ง ณ กรุงธนบุรี โดยทรงพระราชดำริว่า “กรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองใหญ่กว้าง ทั้งพระราชวังก็มีปราสาทสูงใหญ่ถึง ๕ องค์ และวัดวาอารามก็ล้วนแต่ใหญ่โต เมื่อบ้านเมืองถูกพม่าข้าศึกและพวกทุจริตเอาไฟจุดเผาเป็นอันตรายเสียหายจนเกือบหมดสิ้น พึ่งรวบรวมกำลังตั้งขึ้นใหม่ๆ จะเอากำลังวังชาทุนรอนที่ไหนไปซ่อมแซมบ้านเมืองที่ใหญ่โต ซึ่งทำลายแล้วให้กลับคืนคงดีขึ้นเป็นพระนครราชธานีได้เล่า ประการหนึ่ง ถ้ามีข้าศึกศัตรูเข้ามา รี้พลที่จะรักษาหน้าที่เชิงเทินป้องกันก็มีไม่พอ สู้ไปตั้งอยู่ที่เมืองธนบุรีสร้างขึ้นเป็นเมืองใหม่ไม่ได้ ด้วยว่ามีกำลังน้อยก็ทำเมืองแต่เล็ก อีกประการหนึ่ง ถ้าจะมีข้าศึกมาติดเมือง ถึงจะพลาดพลั้งลงประการใด กองทัพเรือก็มีอยู่เป็นกำลัง และทั้งยังทรงชำนาญในการทัพเรือ จะได้พาทัพเรือออกทะเลไปเที่ยวหาที่ตั้งมันได้ง่าย เห็นจะไม่ใช่แต่เฉพาะเรื่องที่ว่าทรงนิมิตฝันไปว่า พระเจ้าแผ่นดินกรุงเก่าทรงขับไล่มิให้อยู่แต่เรื่องเดียว”   จึงเสด็จกรีฑาพลล่องลงมาทางชลมารค พอถึงหน้าวัดนี้ ก็ได้อรุณหรือรุ่งแจ้งพอดี ทรงพระราชดำริเห็นเป็นอุดมมหามงคลฤกษ์ จึงโปรดให้เทียบเรือพระที่นั่งที่ท่าน้ำ เสด็จขึ้นไปทรงสักการบูชาพระมหาธาตุ ขณะนั้นสูงประมาณ ๘ วา ซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหน้าวัด แล้วเลยเสด็จประทับแรมที่ศาลาการเปรียญใกล้ร่มโพธิ์ ต่อมาได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์พระอารามแห่งนี้  และสถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า วัดแจ้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลารุ่งแจ้งพอดี

ชื่อ “วัดแจ้ง” นี้ มีเรื่องสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูลสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไว้ว่า “หม่อมฉันเคยเห็นแผนที่เมืองธนบุรีที่ฝรั่งเศสทำ เมื่อรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯ ในแผนที่นั้นมีแต่ วัดเลียบ กับวัดแจ้ง แต่วัดโพธิ์หามีไม่ ตรงที่วัดพระเชตุพนเวลานั้น ยังเป็นชานป้อมใหญ่ ซึ่งอยู่ราวโรงเรียนราชินี เพราะฉะนั้นวัดโพธิ์เป็นวัดสร้างเมื่อล่วงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ฯ มาแล้ว

จากหลักฐานนี้ ทำให้เห็นได้ชัดว่า วัดแจ้งมีมาก่อนที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะทรงย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรีตามเรื่องที่ได้กล่าวมาแล้ว และชาวฝรั่งเศสผู้ทำแผนที่เมืองธนบุรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น ก็คือ เรือเอก เดอ ฟอร์บัง (Glaude de Forbin) กับนายช่าง เดอ ฟอร์บัง (Claude de Forbin) กับนายช่าง เดอ ลามาร์ (de Lamare) และในวัดนี้เอง ยังมีพระอุโบสถและพระวิหารของเก่าอยู่ ณ บริเวณหน้าพระปรางค์ ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา




พระพุทธธรรมมิศราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์  เล่ากันว่าหุ่นพระพักตร์ปั้นโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ส่วนพระวรกายปั้นโดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และที่ฐานของพระพุทธธรรมมิศราชโลกธาตุดิลก  ยังเป็นที่
ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอีกด้วย


พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสร้างพระราชวังใหม่นั้น ได้ทรงเอากำแพงป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วโปรด “ให้ขยายเขตกั้นเป็นพระราชวังถึงคลองนครบาล (คลองวัดแจ้ง) เพราะฉะนั้น วัดแจ้งจึงตกเข้ามาอยู่กลางพระราชวังเป็นการยกเว้นเลิกไม่ให้พระสงฆ์อยู่อาศัย เขตพระราชวังตะวันตกจดวัดโมลีโลกย์ซึ่งเป็นตลาดท้ายสนม เรียกว่า วัดท้ายตลาด ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ระยะ ๑๕ ปีนั้น ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ และพระวิหารเดิมของวัดแจ้ง ให้บริบูรณ์ดีขึ้นตามที่จะทำได้”

การที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงสร้างพระราชวังและขยายเขตพระราชฐานจนถึงกับเอาวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวังนั้น คงจะทรงถือแบบอย่างพระราชวังในกรุงศรีอยุธยา ที่มีวัดพระศรีสรรเพชญ์อยู่ในพระราชวัง การปฏิสังขรณ์วัดเท่าที่ปรากฏตามหลักฐานในพระราชพงศาวดาร ก็คือ ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและพระวิหารเก่าที่อยู่หน้าพระปรางค์ กับโปรดให้สร้างกำแพงพระราชวังโอบล้อมวัดดังกล่าวมา และในระยะต่อมาก็คงจะได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุอื่นๆ อีก เพื่อให้สมกับที่เป็นวัดภายในพระราชวัง แต่ไม่ปรากฏรายการว่าได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์หรือก่อสร้างสิ่งใดขึ้นบ้าง

การปฏิสังขรณ์วัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงกระทำมาตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร และยังประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม นั้น ได้สำเร็จลงในต้นปีมะโรง พ.ศ.๒๓๖๓ สมัยรัชกาลที่ ๒ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการฉลอง แล้วพระราชทานชื่อใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”

ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดอรุณราชวราราม ดังที่เรียกกันมาจนในปัจจุบัน




พระบรมรูปจำลองพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ประดิษฐานอยู่ที่โบสถ์น้อย ในวัดอรุณราชวราราม  กรุงเทพฯ


พระบรมรูปจำลองพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ประดิษฐานอยู่ที่โบสถ์น้อย ในวัดอรุณราชวราราม  กรุงเทพฯ


พระแท่นบรรทม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒)
เก็บรักษาไว้ที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร


ยักษ์ทวารบาล วัดอรุณราชวราราม


สหัสสเดชะ (ทวารบาล)


ทศกัณฐ์ (ทวารบาล)

“ยักษ์” เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่ง มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี เป็นความเชื่อของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ โดยเชื่อว่ายักษ์มีหลายระดับขึ้นอยู่กับบุญบารมี ยักษ์ชั้นสูงจะมีวิมานเป็นทอง มีรูปร่างสวยงาม ปกติไม่เห็นเขี้ยว เวลาโกรธจึงจะมีเขี้ยวงอกออกมา ยักษ์ชั้นกลางส่วนใหญ่จะเป็นบริวารของยักษ์ชั้นสูง ส่วนยักษ์ชั้นต่ำที่บุญน้อยก็จะมีรูปร่างน่ากลัว ผมหยิกตัวดำผิวหยาบ นิสัยดุร้าย  จะเห็นได้ว่าในวัดวาอารามต่างๆ มักจะมียักษ์มาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของวัดหรือโบราณสถาน ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นยักษ์แบกพระเจดีย์ในวัดพระแก้ว รูปปั้นยักษ์แบกองค์พระปรางค์ในวัดแจ้ง หรือยักษ์วัดโพธิ์ เป็นต้น

ซึ่งตามตำนานเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้เทศน์สั่งสอนยักษ์ให้ลดทิฐิมานะ ยักษ์ที่ได้ฟังและเข้าใจในพระธรรม จึงได้กลายมาเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา หรืออีกนัยหนึ่งก็หมายถึงผู้แบกสรวงสวรรค์ และทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องคุ้มครองสถูปสถานและอาคารศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้มั่งคงและเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา

ตำนานเรื่องเล่า หลายคนคงเคยได้ยินตำนานกำเนิดท่าเตียน ที่เล่าปากต่อปากกันมาว่า บริเวณท่าเตียนอันเป็นพื้นที่โล่งเตียนนั้นเป็นผลจากการต่อสู้ของ “ยักษ์วัดแจ้ง” กับ “ยักษ์วัดโพธิ์” โดยมี “ยักษ์วัดพระแก้ว” เป็นผู้ห้ามทัพ

ตำนานกำเนิดท่าเตียน มีว่า ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งหรือวัดอรุณฯ ฝั่งตรงข้ามนั้น ทั้ง ๒ ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน จึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้ง พร้อมทั้งนัดวันที่จะนำเงินไปส่งคืน เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืน ยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่ายหนี้ เบี้ยวเอาเสียดื้อๆ ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้วรอเล่าจนทนไม่ไหว จึงตัดสินใจข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาทวงเงินคืน แต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้

ดังนั้น ในที่สุดยักษ์ทั้ง ๒ ตนจึงเกิดการทะเลาะถึงขั้นต่อสู้กัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตมหึมาและมีกำลังมหาศาลของยักษ์ทั้ง ๒ ตน เมื่อต่อสู้กันจึงทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้งสองเหยียบย่ำจนล้มตายลงหมด หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้วบริเวณที่ยักษ์ทั้งสองประลองกำลังกันนั้นจึงราบเรียบเป็นหน้ากลองกลายเป็นสถานที่ที่โล่งเตียนไปหมด ไม่มีอะไรเหลือเลยซึ่งตามตำนานเรื่องเล่าดังกล่าวยังสรุปไม่ได้ว่า ยักษ์วัดไหนเป็นฝ่ายชนะ

ครั้นเมื่อพระอิศวร (พระศิวะ) ได้ทราบเรื่องราวการต่อสู้กันทำให้บรรดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในบริเวณนั้นเดือดร้อน จึงได้ลงโทษโดยการสาปให้ยักษ์ทั้ง ๒ กลายเป็นหิน แล้วให้ยักษ์วัดโพธิ์ ทำหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ และให้ยักษ์วัดแจ้ง ทำหน้าที่ยืนเฝ้าพระวิหารวัดแจ้ง เรื่อยมา ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์ทั้งคู่ที่ทำชุมชนละแวกนี้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ท่าเตียน” เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
(ขอขอบคุณที่มาข้อมูลตำนาน “ยักษ์วัดแจ้ง-ยักษ์วัดโพธิ์” และกำเนิดท่าเตียน จากเว็บไซต์ลานธรรมจักร มา ณ ที่นี้่ึค่ะ)


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กรกฎาคม 2561 19:35:12 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ วัดประดู่ฉิมพลี เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ใบบุญ 0 1555 กระทู้ล่าสุด 01 ธันวาคม 2558 19:47:21
โดย ใบบุญ
หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ วัดประดู่ฉิมพลี แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ใบบุญ 0 1192 กระทู้ล่าสุด 03 มีนาคม 2559 19:07:13
โดย ใบบุญ
พระเทพเมธี (สมเกียรติ โกวิโท) วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1196 กระทู้ล่าสุด 13 สิงหาคม 2561 13:01:09
โดย ใบบุญ
พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 922 กระทู้ล่าสุด 26 สิงหาคม 2561 12:28:02
โดย ใบบุญ
พระธรรมสิริชัย (บุญเลิศ โฆสโก) วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 845 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2562 14:59:43
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.455 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 ชั่วโมงที่แล้ว