หลังจากทราบความเกี่ยวข้องของปู่แสะ ย่าแสะ และฤษีวาสุเทพซึ่งเป็นลูกของปู่แสะ ย่าแสะ แล้ว
ฤษีวาสุเทพก็ยังมีความเกี่ยวโยงไปถึงยุคของพระนางจามเทวี และการสร้างเมืองหริภุญชัย อีกด้วย
ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ตำนาน พระราชประวัติ พระนางจามเทวี
กษัตริย์ศรีหริภุญชัยอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี
ตามตำนานเล่าว่า พระนางจามเทวีเป็นลูกของเศรษฐีชาวมอญ (เม็ง) ชื่อ นายอินตา
มารดาไม่มีชื่อปรากฏ เกิดที่บ้านหนองดู่ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เมื่อวันพฤหัสบดี
เวลาใกล้พลบค่ำ เดือนห้า ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ. ๑๑๗๖ อภินิหารตอนพระนาง
อายุได้ ๓ ขวบนั้น กล่าวกันว่า ได้มี่นกใหญ่ตัวหนึ่งบินเข้ามาหาอาหารในบ้าน แล้วได้โฉบลงมาจับตัว
ทารกน้อยนี้บินไปในอากาศ ขึ้นไปทางทิศเหนือ จนกระทั่งนกใหญ่ตัวนี้หมดแรงเพราะเหตุใดไม่ปรากฏ
จึงปล่อยร่างทารกน้อยนี้ร่วงลงมายังสระใหญ่ ซึ่งทารกก็นอนอค้างอยู่บนใบบัว เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
น้าแม๊คพาเที่ยว ขึ้นเหนือแอ่วเมืองเจียงใหม่ ภาค ๔ พระธาตุดอยคำ - งานพืชสวนโลก
พระฤาษีวาสุเทพ (สุเทวฤาษี) ซึ่งจำศีลภาวนาอยู่ ณ ดอยสุเทพ ได้ธุดงค์มาพบเข้า
ก็ทราบว่าทารกคนนี้คงไม่ใช่คนธรรมดาสามัญ ต้องเป็นผู้มีบุญบารมีมาเกิดเป็นแน่ ท่านจึงใช้พัด (วี)
ยื่นไปในสระน้ำนั้นพร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานว่า หากทารกนี้มีบุญจริงก็ให้พัดของเรารับร่างน้อยนั้นเข้าฝั่ง
มาได้เถิด และสิ้นคำอธิษฐาน ร่างของทารกน้อยก็ลอยขึ้นฝั่งได้พร้อมกับพัดที่ใช้รองรับ ดังนั้น
ท่านฤาษีวาสุเทพจึงได้นำทารกน้อยนี้ไปเลี้ยงดูโดยตั้งชื่อให้ว่า “หญิงวี” ต่อมาพระนางได้ร่ำเรียนสรรพวิชาการ
ต่างๆ จากสุเทวฤๅษีท่านสุเทวฤๅษีจึงได้ผูกดวงและตรวจสอบชะตา ทราบว่ากุมารีผู้เป็นบุตรบุญธรรมของท่าน
จะมีวาสนาเป็นถึงจอมกษัตริย์ ปกครองบ้านเมืองอันใหญ่โตซึ่งจะรุ่งเรืองไปในภายภาคหน้า จึงตกลงใจว่า
จะต้องส่งเด็กหญิงไปสู่ราชสำนักเพื่อรับการอภิเษกขึ้นเป็นเชื้อพระวงศ์ให้สมควรแก่การที่จะได้เป็นใหญ่ต่อไป
และที่เหมาะสมในสายตาท่านฤๅษีคือ ราชสำนักแห่งกรุงละโว้ ซึ่งเป็นราชสำนักที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่ง
ในสุวรรณภูมิเวลานั้นท่านฤาษีวาสุเทพได้เลี้ยงดูหญิงวีจนกระทั่งอายุได้ ๑๓ ขวบ จึงได้ต่อแพยนต์
น้าแม๊คพาเที่ยว ขึ้นเหนือแอ่วเมืองเจียงใหม่ ภาค ๔ พระธาตุดอยคำ - งานพืชสวนโลก
จัดส่งพระนางไปตามนิมิต โดยให้นั่งไปบนแพยนต์ มีวานรติดตามไปดูแล ๓๕ ตัว แพยนต์ซึ่งพระฤาษีเสก
ด้วยเวทย์มนต์คาถาก็นำพาหญิงวีไปตามลำน้ำใหญ่ จนกระทั่งถึงวัดเชิงท่าตลาดลพบุรี อ.เมือง จ.ลพบุรี
(ละโว้) แพยนต์ของหญิงวีก็ลอยเป็นวงกลม อยู่ที่ท่าน้ำนั้น ประชาชนพลเมืองต่างช่วยกันชักลากขึ้นฝั่ง
แต่ก็กระทำไม่สำเร็จ จึงพากันไปทูลแจ้งแก่กษัตริย์เมืองละโว้ในขณะนั้นได้ทราบข่าวก็อัศจรรย์ยิ่งนัก
จึงเสด็จมาพร้อมกับรับหญิงวีเป็นธิดาบุญธรรม ต่อจากนั้นก็ได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองและเจิมพระขวัญ
แต่งตั้งให้หญิงวีที่มากับสายน้ำนี้เป็นพระราชธิดาแห่งกรุงละโว้ธานี และได้ให้ปุโรหิตจารึกพระนาม
ลงในแผ่นสุพรรณบัฏว่า
“เจ้าหญิงจามเทวีศรีสุริยวงศ์ บรมราชขัติยนารี รัตนกัญญาละโว้บุรีราไชศวรรย์”เป็นรัชทายาทแห่งนครละโว้ในดิถีอาทิตยวาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมีย พ.ศ. ๑๑๙๐ ต่อมาเจ้าหญิง
จามเทวีฯ ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายรามแห่งกรุงละโว้ และได้ครองราชย์ร่วมกัน
สร้างบ้านแปงเมืองน้าแม๊คพาเที่ยว ขึ้นเหนือแอ่วเมืองเจียงใหม่ ภาค ๔ พระธาตุดอยคำ - งานพืชสวนโลก
เมื่อปี พ.ศ. ๑๒๐๐ ฤาษีวาสุเทพ และ ฤาษีสุกกทนต ได้พิจารณาสถานที่ริมฝั่งแม่น้ำ
แห่งหนึ่งเห็นว่าเหมาะสมดีจึงทำตามคำแนะนำของเพื่อฤาษีองค์หนึ่งชื่อว่า อนุสิสะฤาษี ได้สร้าง
บ้านเมืองเป็นรูปสัณฐานดั่งหอยสังข์ โดยเชื่อว่าจะทำให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองประชาชน
อยู่เย็นเป็นสุข ท่านวาสุเทพฤาษีได้รวบรวมชนเผ่าลัวะ สร้างบ้านแปงเมืองเสร็จแล้ว จึงนึกถึงธิดาบุญธรรม
ซึ่งเมื่อหลายปีที่ผ่านมาท่านได้สร้างแพยนต์เพื่อหญิงวีได้ประทับล่องลอยไปกับวานร จำนวน ๓๕ ตัว
ซึ่งต่อมาท่านก็ได้ทราบว่าหญิงวีได้มีบุญบารมีเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ (ลพบุรี)
และเป็นขัตติยะนารีที่มีความสามารถเยี่ยงบุรุษ สามารถปกป้องบ้านเมือง เป็นจอมทัพรับหน้าพม่า
แห่งกรุงโกสัมภี และยังได้รับการสถาปนาอภิเษกสมรสกับ เจ้าราม ครองราชย์ ณ เมืองละโว้ธานี
ท่านวาสุเทพฤาษีจึงได้ทำสารไปอัญเชิญขอต่อเจ้าเมืองละโว้ เพื่อให้พระนางจามเทวีได้เสด็จกลับมา
ปกครองเมืองที่สร้างใหม่นี้ การทูลเชิญเสด็จนี้ได้แต่งตั้ง นายคะวะยะ เป็นทูตถือสารไปพร้อมกับ
สุกกะทันตะฤาษี ซึ่งตามตำนานได้กล่าวถึงคะวะยะนี้ว่า เป็นผู้ที่เฉลียวฉลาด กล้าหาญ อดทน
แข็งแรง สามารถเดินทางในป่าที่เต็มไปด้วยอันตราย รู้จักใช้ชีวิตในป่าและมีความรู้ทางยาสมุนไพรต่างๆ
ซึ่งบุคคลผู้นี้ต่อมาได้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างบ้านแปงเมืองของพระนางจามเทวี มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
มากมาย ปัจจุบันคนรุ่นหลังเคารพกราบไหว้ในนามของเจ้าพ่อเตโค เสื้อเมืองหริภุญชัย
นับว่าท่านคะวะยะเป็นขุนพลแก้วของพระนางจามเทวีโดยแท้
ในการตัดสินใจเสด็จกลับมาครองเมืองหริภุญชัยของพระนางจามเทวีนั้น พระนางได้
ทูลเชิญเจ้ารามพระสวามีมาด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธ ดังนั้นพระนางจึงต้องเสด็จมาโดยลำพัง
ขณะนั้นได้กำลังทรงพระครรภ์ได้ราว ๓ เดือน และพระนางได้ทูลขอจากพระราชบิดากรุงละโว้
นำประชาชนพลเมือง สิ่งของต่างๆ เดินทางมายังเมืองหริภุญชัยด้วย
พระนางจามเทวีทรงใช้เวลาเดินทางจากกรุงละโว้โดยทางเรือ มาตามแม่น้ำปิงใช้เวลาเดินทาง ๗ เดือน
ตลอดระยะเวลาการเดินทางได้เสด็จผ่านเมืองและสถานที่ต่างๆ เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาถึงยัง
หริภุญชัยนครแล้ว ทรงทำพระราชพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชย์ได้ ๗ วัน ก็ทรงประสูติพระราชโอรส
ฝาแฝด ทรงพระนามว่า พระมหันตยศ และพระอนันตยศ ในรัชสมัยของพระนางจามเทวีได้ทรงมี
ช้างเผือกคู่บุญบารมี คือ ช้างปู้หม่นงาเขียว หมายถึง ช้างที่มีงาเป็นสีเขียว ตามตำนานกล่าวว่า
ช้างเผือกเชือกนี้ได้มาพักหากินในดอยงัม ดอยโดน (เขต อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่) พระนางจามเทวี
ได้พาข้าราชบริพารพร้อมด้วย พญาลิงเผือก ชื่อ กากะวานร และบริวารมาทำการคล้องช้าง
โดยวิธีการให้พญาลิงเผือกและบริวารเข้าไปทำความคุ้นเคย จนช้างเผือกลดความดุร้ายเชื่องลง
หมดควาญช้างจึงได้นำอาหารให้ช้างกิน และทำการตกปลอกให้พญาลิงเผือกนำช้างเข้ามาถวายตัว
แด่พระนางจามเทวี ซึ่งข่าวนี้เป็นที่ปีติยินดีของชาวเมือง อันว่าช้างเผือกนี้เป็นพญาช้างเผือกที่มีอิทธิฤทธิ์
ปาฏิหาริย์เป็นอย่างมาก ปัจจุบันนี้ ชาวนครลำพูนและผู้คนโดยทั่วไปให้ความเคารพนับถือไหว้
เจดีย์กู่ช้างเป็นอย่างยิ่ง
ที่มาเนื้อหา:
http://www.lannatalkkhongdee.com/scoopDetail.php?id=Sco000007
ที่มาภาพประกอบ:
http://safetylp.blogspot.com/2010_11_26_archive.html?zx=69e7d34d1a69850f