[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 14:13:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กิโยติน (guillotine)  (อ่าน 1646 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5435


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2561 16:17:06 »



ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส นักโทษมักถูกตัดคอด้วยดาบหรือขวาน
ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปจะถูกแขวนคอ หรือทำให้ตายด้วยวิธีการประหลาดต่างๆ

ภาพจากหนังสือ Histoire de France พิมพ์ในประเทศฝรั่งเศส


ภาพจากหนังสือ Histoire de France พิมพ์ในประเทศฝรั่งเศส


กิโยติน guillotine


ด้วยแนวคิดของ โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง-Joseph-Ignace Guillotin (ออกเสียงกันแพร่หลายว่า กิโยตีน) แพทย์ผู้เสนอต่อสภาปฏิวัติฝรั่งเศส ว่า "จุดมุ่งหมายของการประหารชีวิต คือการยุติชีวิต ไม่ใช่การสร้างความเจ็บปวดทรมาน" และเสนอให้นำเครื่องประหารชนิดหนึ่งที่มีผู้คิดประดิษฐ์ขึ้นก่อนหน้านั้น มาใช้แทนการประหารตัดคอด้วยขวานและดาบ หรือแขวนคอ และให้ใช้กับนักโทษทุกชั้นวรรณะ ไม่ใช่เลือกใช้กับเฉพาะคนชั้นสูง

ในเวลาต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกเครื่องประหารดังกล่าว ว่า กียอแต็ง (กิโยตีน) ตามชื่อสกุลของ ดร.กียอแต็ง

ประเทศฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกที่ใช้การประหารชีวิตด้วยกิโยตีน กิโยตีนประดิษฐ์ขึ้นในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อใช้ตัดคอนักโทษ มีลักษณะเป็นโครงไม้ ๒ เสา ไว้สำหรับแขวนใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมูบนคานด้านบนหัวเสา น้ำหนักใบมีดประมาณ ๔๐ กิโลกรัม ระยะความสูงลงไปถึงส่วนที่ให้ผู้ถูกลงโทษวางศีรษะ ประมาณ ๒-๓ เมตร เมื่อเชือกถูกปล่อยหรือตัดลง ใบมีดที่หนักจะหล่นลงตัดศีรษะผู้ถูกประหาร ในระยะความสูง ๒.๓ เมตรของใบมีดที่แขวนไว้กับนักโทษที่นอนให้ประหาร

เครื่องมือนี้เดิมเรียกว่า "ลูยแซตต์ หรือ ลูยซ็อง-Louisette หรือ Louison" ตามชื่อของ อองตวน หลุยส์-Antoine Louis ราชบัณฑิตแห่งสภาศัลยแพทย์ ผู้ประดิษฐ์ โดยการทดลองพบว่า เครื่องใช้ได้ดีมีประสิทธิภาพ และน่าจะทำให้ผู้ถูกประหารชีวิตเจ็บปวดน้อยที่สุด กระทั่ง ดร.กียอแต็งเสนอแนวคิดต่อสภาปฏิวัติดังกล่าว

นีกอลา ฌัก แปลตีเย (Nicolas J. Pelletier) โจรปล้น คนสัญจร เป็นนักโทษคนแรกที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ค.ศ.๑๗๙๒ และช่วงเวลาใกล้เคียงกันในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ สหราชอาณาจักรมีเครื่องลงโทษลักษณะที่คล้ายกันชื่อ กรงเหล็กตะแลงแกง และมีเครื่องลงโทษลักษณะคล้ายกันในประเทศอิตาลีและสวิตเซอร์แลนด์

ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส นักโทษที่เป็นบุคคลมีชื่อเสียงมักถูกตัดคอด้วยดาบหรือขวาน ขณะที่ชาวบ้านทั่วไปจะถูกแขวนคอ หรือวิธีการประหลาดต่างๆ ในช่วงของยุคกลาง (เช่น ถูกเผา หรือมัดกับล้อไม้) ทั้งนี้ ในการตัดคอ มีหลายครั้งที่ตัดคอไม่สำเร็จในดาบแรก ทำให้เกิดความทรมานต่อผู้ถูกประหารชีวิต

การใช้กิโยตีนทำให้ผู้ถูกประหารชีวิตเจ็บปวดน้อยที่สุด ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส มีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนอย่างน้อย ๒๐,๐๐๐ คน

กิโยตีนเป็นเครื่องประหารชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย จนกระทั่งยกเลิกกฎหมายประหารชีวิตในปี ค.ศ.๑๘๘๑ อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทวีปยุโรปตกอยู่ภายใต้การยึดครองของนาซีเยอรมนี นาซีได้นำเครื่องกิโยตีนมาใช้ในการประหารชีวิตผู้ที่ต่อต้านในเยอรมนี

บุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนคือ ออยเกิน ไวด์มันน์ (Eugene Weidmann) ฆาตกรสังหาร ๕ ศพชาวเยอรมัน ถูกตัดศีรษะเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๓๙ เวลา ๑๖.๓๒ น. ภายนอกคุกแซ็ง-ปีแยร์ (Saint-Pierre) ที่เมืองแวร์ซายส์

กล่าวสำหรับ ดร.โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ในการประชุมสภากงว็องซียงแห่งชาติเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ค.ศ.๑๗๘๙ ได้เปิดอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการประหารชีวิตนักโทษ กียอแต็งเสนอต่อสภาให้ประหารด้วยวิธีตัดศีรษะโดยใช้เครื่องมือที่มีกลไกง่ายๆ โดยที่ขณะนั้นการตัดหัวในฝรั่งเศสยังทำโดยใช้ขวานหรือดาบ ซึ่งบางครั้งเพชฌฆาตก็ฟันไม่ขาดในทีเดียว ทำให้นักโทษเจ็บปวดทรมาน อย่างไรก็ตาม แม้กียอแต็งจะเป็นคนเสนอวิธีการประหาร แต่เขามีจุดยืนคัดค้านโทษประหารและต้องการให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต

คนนำชื่อของเขาไปตั้งเป็นชื่อเครื่องบั่นคอกิโยตีน แม้เขาจะร้องขอให้รัฐบาลเปลี่ยนชื่อเครื่องมือดังกล่าวแต่ก็ไม่เป็นผล ทำให้เขาและครอบครัวต้องเปลี่ยนนามสกุลแทน เนื่องจากไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลเป็นคำเดียวกับวิธีการประหารชีวิต  




อ็องตวน หลุยส์ (Antoine Louis)
หลุยส์ได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างต้นแบบของกิโยตีน อุปกรณ์นี้มีชื่อเรียกว่า
"ลูยแซ็ต" (louisette) อยู่ช่วงหนึ่งหลังจากที่เขาออกแบบมันขึ้นมา
ภายหลังอุปกรณ์ดังกล่าวถูกเปลี่ยนชื่อตามชื่อของโฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง
(ค.ศ.๑๗๓๘-๑๘๑๔) แพทย์ชาวฝรั่งเศสผู้เสนอให้สร้างเครื่องประหารที่
ถูกหลักมนุษยธรรมมากขึ้นกว่าเดิม



กีโยตีนในอังกฤษ
ภาพจากเว็บไซต์ wikimedia.org


การประหารชีวิตด้วยกิโยตินในประเทศฝรั่งเศส
ภาพจากเว็บไซต์ prachatalk.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤศจิกายน 2561 16:23:18 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.396 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้