[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 15:48:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดไลย์ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี : ชมศิลปะปูนปั้นที่งดงามและมีคุณค่ายิ่ง  (อ่าน 4743 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 มีนาคม 2562 16:19:14 »



 
พระพุทธรูปประธานในวิหารเก้าห้อง ทำด้วยหินทรายลงรักปิดทอง


วิหารเก้าห้อง วัดไลย์

วัดไลย์ (WAT LAI)
บ้านท้ายไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

วัดไลย์ หรือ วัดไล ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๐ บ้านท้ายไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ปรากฏหลักฐานว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญตั้งแต่อดีต ก่อสร้างเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นและได้รับการบูรณะในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดไลย์ได้ถูกไฟไหม้ วิหารพระศรีอาริย์ชำรุดไป จึงโปรดฯ ให้ทำการบูรณะใหม่

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่นั้นได้เสด็จจาริกมายังวัดนี้เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๖ และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดนี้อีก ๒ ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๖ และ พ.ศ.๒๔๔๘

วัดไลย์มีชื่อเสียงในเรื่องของลวดลายปูนปั้นตกแต่งวิหาร เป็นงานศิลปกรรมที่งดงาม มีคุณค่ายิ่ง และสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย

สิ่งที่มีคุณค่าและน่าสนใจศึกษามากที่สุดของวัดไลย์ ได้แก่

วิหารเก้าห้อง วิหารเก้าห้อง สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังด้านข้างทั้งสองข้างเจาะช่องแสงคล้ายซี่ลูกกรงเป็นระยะๆ ที่ผนังด้านหน้าเจาะช่องแสงแบบด้านข้าง แต่มีลวดลายปูนปั้นเป็นเรื่องทศชาติ

ที่หน้าบันและผนังด้านหน้า มีลวดลายปูนปั้นเรื่องมหานิบาตชาดก หรือเรื่องทศชาติ (พระเจ้าสิบชาติ) แสดงการบำเพ็ญบารมีใน ๑๐ ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระโคตมพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์  ส่วนผนังด้านทิศตะวันตกมีลวดลายปูนปั้นเรื่องปฐมสมโพธิ แสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  

ภายในวิหารเก้าห้อง มีพระพุทธรูปประธาน เป็นพระพุทธรูปทำด้วยหินทรายลงรักปิดทอง ประทับนั่งสมาธิราบ ปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง ๓.๘๐ เมตร พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโค้งมาจรดกันที่ต้นพระนาสิก พระเนตรเหลือบมองต่ำ พระมัสสุเหนือขอบพระโอษฐ์เป็นเส้นยาวปลายหยักคล้ายปลายคันธนู พระกรรณยาว มีพระอุณาโลมทำจากอัญมณีรูปหยดน้ำสีแดงสดล้อมเพชรประดิษฐาน ทรงครองอุตราสงค์ห่มเฉียง พาดพระอังสา ปลายตัด ยาวถึงพระอุทร ประดิษฐานภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว คล้ายกับเรือนซุ้มของพระพุทธชินราช วัดระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก  

ซุ้มเรือนแก้วที่ประดับเป็นกรอบของพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นเรือนแก้วที่งดงามมาก มีส่วนทำให้พระพุทธรูปดูโดดเด่น งามสง่า และยังทรงคุณค่าทางศิลปกรรมอีกด้วย ซุ้มเรือนแก้วเหนือพระอังสาของพระพุทธรูป ทำเป็นรูปมกร (สัตว์หิมพานต์ชนิดหนึ่ง) ส่วนฐานของซุ้มเรือนแก้ว เป็นรูปสัตว์หัวคล้ายสิงห์ มีหงอนเป็นลายก้านขดคล้ายงวงช้าง มีเท้าเหมือนนก และมีอกเหมือนนาค.

และวัดแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐาน “พระศรีอริยะ” (พระศรีอาริย์) ซึ่งเป็นที่นับถือมาก  

พระศรีอาริย์  เป็นประติมากรรมหล่อด้วยโลหะ ประทับนั่ง พระพักตร์รูปไข่ พระเนตรเหลือบมองต่ำ พระกรรณสั้น มีไรพระศก ไม่มีอุษณีษะและพระรัศมี พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ห้อยลง ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา ในอุ้งพระหัตถ์คล้ายจะถือวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ลักษณะโดยรวมคล้ายรูปพระสาวก มิใช่พระพุทธรูป (ซึ่งต้องมีอุษณีษะ พระรัศมีและพระกรรณยาว)

หลักฐานระบุว่า พระศรีอาริย์แห่งวัดไลย์นี้เคยถูกเพลิงไหม้ เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงระบุในพระนิพนธ์เรื่อง เที่ยวตามทางรถไฟ ว่า “ที่วัดไลย์นี้มีพระรูปพระศรีอาริย์ เป็นของสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งผู้คนนับถือมามากแต่โบราณ เมื่อรัชกาลที่ ๕ ไฟป่าไหม้วิหาร รูปพระศรีอาริย์ชำรุดไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เชิญลงมาปฏิสังขรณ์ในกรุงเทพฯ แล้วคืนกลับไปประดิษฐานไว้อย่างเดิม”

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน จุลศักราช ๑๒๔๕ (พ.ศ.๒๔๒๖) ได้ชี้ให้เห็นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ อธิบดีกรมช่างสิบหมู่  ทรงเป็นผู้ปฏิสังขรณ์พระศรีอาริย์ที่กรุงเทพฯ นั้นคือ “อนึ่ง วันนี้ (วันพฤหัสบดีที ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๒๖) โปรดให้แห่พระศรีอาริย์ (วัดไลย์) ซึ่งไฟไหม้ชำรุด โปรดให้ซ่อมเสร็จนั้นแต่วังพระองค์เจ้าประดิษฐ์ลงมาท่าน้ำศาลต่างประเทศ แล้วเชิญลงเรือทินกรส่องศรี มีเรือดั้งคู่ ๑ แห่ และกรมพระนครบาล ได้ป่าวร้องให้ราษฎรแห่ขึ้นไปส่ง และหัวเมืองตามรายทางก็จะได้แห่ส่งต่อกันไปจนถึงลพบุรี”

เรือแห่พระศรีอาริย์มาถึงเมืองลพบุรี เมื่อวันที่ ๖ พฤศิจกายน พ.ศ.๒๔๒๖ แล้วนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดมณีชลขันธ์ และมีการเฉลิมฉลองด้วย  ต่อมาในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๒๖ ได้อัญเชิญพระศรีอาริย์ไปประดิษฐานที่วัดไลย์

คนในท้องถิ่น เชื่อว่า พระศรีอาริย์องค์นี้ ไม่น่าจะใช่พระศรีอาริย์หรือศรีอาริยเมตไตรย องค์ที่เป็นอนาคตพุทธ ซึ่งจะลงมาปฏิสนธิในโลกเป็นมนุษย์ หลังจากพระพุทธโคตมะปรินิพพานครบ ๕,๐๐๐ ปี

คนในท้องถิ่นเชื่อว่า  เดิม พระศรีอาริย์เป็นเทพบุตร ต่อมาได้จุติลงในมนุษยโลก มีนามว่า “ศรี” ต่อมาได้อุปสมบทอยู่ที่อารามวัดไลย์ ด้วยเหตุผลก็เพื่อ “ช่วยเติมศรัทธาปสาทะของมหาชนพุทธบริษัท ทั้งจะเป็นเหตุให้พระบวรพุทธศาสนาถาวรวัฒนาเจริญรุ่งเรืองตลอดไป ถ้วนห้าพันวัสสาตามคติพุทธทำนาย” เมื่อได้อบรมสั่งสอนพุทธบริษัทให้ยึดมั่นในสัมมาปฏิบัติในพุทธดีแล้ว จึง “จุติจากอัตภาพแห่งมนุษย์ ทรงถือกำเนิดเป็นเทพบุตรประทับอยู่ยังสวรรค์อันมีนามว่าดุสิต ซึ่งเป็นที่ประทับของพระโพธิสัตว์เจ้าทุกพระองค์”

มณฑปยอดปรางค์ เป็นอาคารทรงมณฑปรูปทรงแปลกตา พบเห็นได้ยาก

หลังคามณฑปทำเป็นทรงปรางค์ มีระเบียงรอบมณฑป ประตูทางเข้ามี ๔ ด้าน เหนือช่องทางเข้าเป็นรูปโค้งปลายแหลม ช่องประตูทางเข้าทำเป็นซุ้มหน้าบัน เล่ากันมาว่า มณฑปนี้สร้างขึ้นครอบเตาหลอมอัฐทองแดง เมื่อครั้งทำพิธีหล่อพระศรีอาริยเมตไตรย หรือพระศรีอาริย์







มณฑปยอดปรางค์ สร้างครอบเตาหลอมอัฐทองแดง เมื่อครั้งทำพิธีหล่อพระศรีอาริยเมตไตรย หรือพระศรีอาริย์






โปรดติดตามตอนต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มีนาคม 2562 16:24:30 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 มีนาคม 2562 14:55:46 »


ลวดลายปูนปั้นประดับวิหารวัดไลย์







ลวดลายปูนปั้นภาพพุทธประวัติ ตกแต่งวิหาร ผนังด้านหน้า (ด้านนอก)
เป็นภาพมหานิบาตชาดก หรือพระเจ้าสิบชาติ โดยจัดให้แต่ละพระชาติอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ทั้งหมดมี ๑๐ ภาพ จัดให้ด้านหนึ่งมี ๕ ภาพ
(๕ พระชาติ) ตรงกลางเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คือ จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ภายหลังเสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้น
ดังกล่าวเพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา เป็นภาพพระพุทธองค์ประทับยืนในซุ้มเรือนแก้วทรงปราสาท มีดอกบัวรองพระบาท ยกพระหัตถ์
ขวาเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้า มีเทวนพเคราะห์ประทับบนราชรถที่มีดุมล้อเป็นรูปกระต่าย (ซ้าย) และดุมล้อเป็น
รูปนกยูง (ขวา) เป็นผู้ส่งเสด็จ ถัดลงมาคือพรหมและเทพ ส่วนล่างสุดของภาพเป็นช้าง ม้า และบุคคลนั่งเรียงกัน น่าจะเป็นมหาชน
ผู้รอรับเสด็จ ณ มนุษยโลก  



ปูนปั้นประดับซี่ลูกกรง เป็นลายเทวดาพนมมือประทับบนหลังช้างสามเศียร




ปูนปั้นประดับกรอบหน้าบัน ภาพปฐมสมโพธิ ตอนออกมหาภิเนษกรมณ์
เจ้าชายสิทธัตถะประทับบนหลังม้ากัณฐกะ เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์  



ลวดลายปูนปั้นตกแต่งวิหาร ผนังด้านหลัง (ด้านนอก)
เหนือซี่ลูกกรง เป็นภาพขนาดใหญ่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม เป็นภาพกองทัพ ประกอบด้วยขบวนช้าง ม้า มีเครื่องสูง
ได้แก่ ฉัตร ธง พร้อมด้วยพลรบถือยุทโธปกรณ์  มีผู้ลงความเห็นว่าเป็นภาพพุทธประวัติตอนโทนพราหมณ์แบ่ง
พระบรมสารีริกธาตุ หรือเป็นภาพมารวิชัย หรืออาจจะเป็นภาพเหตุการณ์ในเรื่องมโหสถชาดก ตอนพระเจ้า -
จุลนีย์พรหมทัตต์พร้อมด้วยเหล่ากษัตริย์ยกทัพมีตีเมืองมิถิลานคร  ที่ลูกมะหวด หรือซี่ลูกกรง ปั้นเป็นเทพนมท่ามกลายลายพันธุ์พฤกษา


จะเห็นได้ว่าลวดลายปูนปั้นทั้งหมดของวิหารวัดไลย์ มีคุณค่าทางศิลปกรรม ประเพณี และวัฒนธรรมของไทยโบราณอย่างยิ่ง การแต่งกายของบุคคลที่ปรากฏในภาพ น่าจะถอดแบบจากชีวิตจริง เช่น การสวมเสื้อ นุ่งโจงกระเบน หรือนุ่งผ้าสั้นทับกางเกง หรือนุ่งผ้าสั้นทับกางกาง ไม่สวมเสื้อ
ขบวนกองทัพแสดงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร ประกอบด้วยขบวนช้าง ขบวนม้า มีเครื่องสูงประกอบพระอิสริยยศที่สำคัญ เช่น ฉัตร ธง โล่ เขน พู่หางนกยูง เป็นต้น


อย่างไรก็ดี การเข้าไปศึกษาภาพโบราณของสถานที่แห่งนี้ พบปัญหาสำคัญ ได้แก่มูลของนกพิราบ ซึ่งเข้ามาอาศัยและถ่ายมูลที่มีทั้งเชื้อรา และกรดบางอย่างลงที่ปูนปั้นประดับอาคาร นอกจากจะสร้างความสกปรกดูไม่เจริญหูเจริญตาแล้ว ยังทำให้ภาพปูนปั้นที่หาชมได้ยากยิ่งได้รับความเสียหาย  

จึงขอฝากผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ได้โปรดช่วยอนุรักษ์ บำรุงรักษาโบราณสถานแห่งนี้เป็นอย่างดีเพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังด้วยเถิด



ขบวนกองทัพ ประกอบด้วยขบวนช้าง ขบวนม้า มีเครื่องสูงประกอบพระอิสริยยศที่สำคัญ เช่น ฉัตร ธง ฯลฯ

โปรดติดตามตอนต่อไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มีนาคม 2562 14:57:26 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5436


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 25 มีนาคม 2562 15:39:11 »

.





พระศรีอริยเมตไตร หรือพระศรีอาริย์
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น หรือในสมัยสุโขทัย เป็นประติมากรรมหล่อแบบพุทธสาวกด้วยโลหะ  ลักษณะประทับนั่ง คล้ายปางมารวิชัย
พระพักตร์รูปไ ข่ พระเนตรเหลือบมองต่ำ พระกรรณสั้น มีไรพระศก เม็ดพระศกเป็นปุ่มขนาดเล็ก ไม่มีอุษณีษะ ไม่มีเปลวพระรัศมี  ส่วนบนของพระเศียร
หล่อเพื่อให้ถอดแยกจากกันได้ พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์เรียวยาว พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลาลักษณะคล้ายกับมีวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในอุ้งพระหัตถ์  ครองอุตราสงค์ห่มเฉียง  พิจารณาโดยรวมแล้วคล้ายมนุษย์สามัญมากกว่ารูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า



โบราณวัตถุสำคัญในวิหารวัดไลย์




เห็นรูปปั้นที่มีกายสีเขียว ทรงพัสตราภรณ์สวยงาม สวมมงกุฏ ประดับเป็นเพชรนิลจินดา
ได้แก่ สร้อยคอ กำไลข้อมือ แหวน ผู้โพสท์ก็จินตนาการเอาว่า เป็นรูปปั้นพระอินทร์
หรือเรียกกันในชื่ออื่นๆ อีก เช่น ท้าวสหัสมนัยน์ ท้าวโกสีย์ ท้าวสักกะเทวราช ฯลฯ




ระฆังที่มีลวดลายศิลปะจีนโบราณ


ครุฑปูนปั้น ประดับอยู่รายรอบฐานประดิษฐานพระประธานในพระวิหาร


ลวดลายโบราณของแผ่นกระเบื้องวิหารวัดไลย์


ทัศนยภาพวัดไลย์










 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มีนาคม 2562 16:08:22 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 73.0.3683.86 Chrome 73.0.3683.86


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 26 มีนาคม 2562 08:42:07 »



บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
หลวงพ่อสาย ติสสโร วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
ใบบุญ 0 2213 กระทู้ล่าสุด 09 สิงหาคม 2559 20:05:55
โดย ใบบุญ
หลวงปู่จันทร์ จันทโชติ วัดนางหนู จ.ลพบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1514 กระทู้ล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2560 19:56:47
โดย ใบบุญ
พระอาจารย์ติ๋ว ฐิตวัฑฒโน วัดมณีชลขัณฑ์ อเมือง จ.ลพบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 748 กระทู้ล่าสุด 19 สิงหาคม 2562 17:47:27
โดย ใบบุญ
หลวงพ่อเภา พุทธสโร วัดถ้ำตะโก ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 508 กระทู้ล่าสุด 23 ธันวาคม 2562 15:59:55
โดย ใบบุญ
วัดเขาสมอคอน ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 365 กระทู้ล่าสุด 15 กันยายน 2566 16:07:33
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.369 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 14:26:59