[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 17:55:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 2 [3]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์  (อ่าน 9360 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #40 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2566 16:10:25 »




นกขมิ้น

นกขมิ้น (Oriole, Old world oriole) เป็นวงศ์ของนกที่มีสายวิวัฒนาการอยู่ระหว่างวงศ์นกแซงแซว (Dicruridae) และวงศ์นกกา (Corvidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Oriolidae แต่มีรูปร่างลักษณะและอุปนิสัยแตกต่างจากนกทั้งสองวงศ์นี้มาก คือ นกกาและนกแซงแซวส่วนใหญ่จะมีลำตัวเพรียว หางยาว หรือค่อนข้างยาว นิสัยค่อนข้างก้าวร้าวไม่กลัวคน แต่นกขมิ้นซึ่งเป็นนกที่มีลำตัวขนาดกลางถึงขนาดเล็ก มีความยาวตัวประมาณ ๒๐-๒๗ เซนติเมตร ขนาดเท่านกเอื้ยง หางสั้น สีตัวส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง มีบางชนิดเป็นสีอื่นบ้าง จะงอยปากแข็งแรงและงุ้มลง ปีกยาวแหลม นกตัวผู้มีสีสดใสสวยงามกว่านกตัวเมีย ลูกนกมีลายขีดสีดำกระจายอยู่ทั่วบริเวณท้อง

นกขมิ้นเป็นนกที่ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ในป่าบก, ป่าชายเลน และตามสวนผลไม้ ส่วนใหญ่หากินอยู่ตามเรือนยอดหรือพุ่มใบของต้นไม้ รวมอยู่ กับนกชนิดอื่นๆ เช่น นกแซงแซว, นกพญาไฟ และนกไต่ไม้ พบหากินเงียบๆ อยู่ตัวเดียวหรือเป็นคู่ ไม่ค่อยพบลงมาหากินตามพื้นล่าง กินผลไม้, แมลง และน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร บินได้เร็วและทนนาน ชอบทำรังอยู่ตามง่ามไม้บนต้นไม้สูง รังอยู่สูงประมาณ ๔-๑๐ เมตร สร้างรังเป็นรูปถ้วย ก้นลึก ทำด้วยต้นหญ้าหรือเส้นใยพืชร้อยถักอย่างประณีต วางไข่ครั้งละ ๒-๔ ฟอง ทั้งพ่อและแม่นกจะช่วยกันกกไข่และเลี้ยงลูก นกขมิ้นชอบสร้างรังใกล้ๆ รังของนกแซงแซวเพื่อให้นกแซงแซวช่วยป้องกันไข่และลูกนกจากศัตรู เนื่องจากนกแซงแซวจะป้องกันไข่และลูกนกของตัวเองจากศัตรู ดังนั้นจึงช่วยป้องกันไข่ และลูกนกขมิ้นด้วย





ขอขอบคุณ :
        - เจ้าของภาพถ่าย "ขมิ้น" ต้นแบบของการวาด/ระบายสี
        - วิกิพีเดียสารานุกรมฯ (ที่มาข้อมูล)
750/28
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #41 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2566 16:57:22 »



นกขุนแผนตะโพกแดง

นกขุนแผนตะโพกแดง (Scarlet-rumped Trogon) เป็นขนาดเล็กสายพันธุ์หนึ่งในตระกูล (Trogonidae) ที่ผสมข้ามสายพันธุ์ และยังไม่มีรายงานของประชากรที่มีลักษณะแท้ตามชนิดดั้งเดิม  อาศัยอยู่ตามธรรมชาติคือป่าที่ราบลุ่มกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้น หนองน้ำกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อน และป่าดิบชื้นกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้น พบในบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ และในไทยพบได้เฉพาะในป่าดิบที่ราบต่ำทางภาคใต้ หาอาหารในพุ่มไม้ระดับกลางและระดับสูงเป็นหลัก พบเห็นตัวได้ไม่ง่ายเลยในธรรมชาติ เพราะมักเกาะหลบอยู่บนยอดไม้สูงและมีนิสัยเกาะนิ่งไม่กระดุกกระดิกเป็นเวลานาน เพศผู้มีหัวสีดำตัดกับท้องสีแดงสด ส่วนเพศเมียมีหัวเป็นสีน้ำตาล และมีสีสันบนลำตัวซีดกว่าเล็กน้อย

750-28
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 ธันวาคม 2566 17:17:18 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #42 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2566 16:54:41 »




นกกระจาบธรรมดา
สัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช ๒๕๓๕

นกกระจาบธรรมดา หรือ นกกระจาบอกเรียบ ชื่อวิทยาศาสตร์: Ploceus philippinus

เป็นนกขนาดเล็กในวงศ์นกกระจาบ ที่พบในเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ อาศัยในทุ่งหญ้าและพื้นที่เกษตรกรรม ไร่นา ป่าละเมาะ ป่าทุติยภูมิ พื้นที่ริมน้ำ เป็นนกที่รู้จักกันดีจากรังที่ถักสานอย่างประณีตเป็นรูปน้ำเต้าคอยาวด้วยใบไม้และหญ้า ทางเข้ารังย้อยเป็นงวงยาวลงมา มักสร้างเป็นหมู่

ตัวผู้ชุดขนผสมพันธุ์ ปากสีดำทรงกรวยยาว บริเวณหน้าและคอสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ อกสีน้ำตาลข้างอกอาจมีลายขีดสีเข้มแต่ไม่เยอะเท่ากระจาบอกลาย กระหม่อมสีเหลืองสด ท้อง และขนคลุมโคนหางด้านล่างสีน้ำตาลอ่อน แข้งและตีนสีชมพูอ่อน ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้ม มีลายขอบขนสีน้ำตาลอ่อน ตัวผู้ และตัวเมียชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์ ปากสีเนื้อทรงกรวยยาว คิ้ว วงรอบหน้าและลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลมีลายขีดสีเข้มบริเวณหลัง ปีกดำขอบขนแต่ละเส้นสีจาง ตะโพกสีน้ำตาล หางสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มักหากินรวมกันเป็นฝูงปะปนกับนกกระจาบและนกกระจอกชนิดอื่นๆ

ปกติพบในต้นไม้มีหนามหรือที่ใบของไม้วงศ์ปาล์มรวมทั้งมะพร้าวและตาล บ่อยครั้งสร้างใกล้น้ำหรือห้อยเหนือน้ำที่สัตว์ล่าเหยื่อเข้าถึงยาก นกอยู่กระจายอย่างกว้างขวาง พบอย่างสามัญภายในเขตที่อยู่ แต่อาจอพยพตามฤดูขึ้นอยู่กับฝนและอาหาร ในประเทศไทยนกกระจาบธรรมดาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช ๒๕๓๕ ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง ห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก




750/28
ขอขอบคุณ เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ธันวาคม 2566 17:01:47 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #43 เมื่อ: 01 มกราคม 2567 11:47:43 »



นกจับแมลงหน้าผากขาว

นกจับแมลงหน้าผากขาว (Snowy-browed Flycatcher) ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficedula hyperythra เป็นนกสายพันธุ์หนึ่งในวงศ์ Muscicapidae พบในบังคลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ เนปาล ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของมันคือป่าดิบชื้นกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อน และป่าดิบชื้นกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อนชื้น

ลักษณะนกจับแมลงหน้าผากขาวเพศผู้ : หัวและลำตัวด้านบนสีน้ำเงินอมเทา มีคิ้วสั้นๆ สีขาว ไปจดกันตรงหน้าผาก คอ อก และท้องสีน้ำตาลแดงอมส้ม ขอบโคนหางและโคนหางด้านล่างมีสีขาว ขาสีเนื้อ

ลักษณะนกจับแมลงหน้าผากขาวเพศเมีย : ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมเขียวไพลทึมๆ ปีกมีสีน้ำตาลแดงแซมด้วยสีเนื้อ หน้าผาก หัวตา และวงรอบตาสีเนื้อ

พฤติกรรม : ชอบเกาะนิ่งตามกิ่งไม้หรือพุ่มไม้ต่ำๆ ใกล้พ้นดิน และออกไปโฉบจับแมลงที่ผ่านมา

อาศัยอยู่ตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง ๘๐๐ เมตรขึ้นไป มักหากินในระดับพุ่มไม้ หรือตามไม้พื้นล่างที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก นกประจำถิ่น พบไม่บ่อย หรือพบบ่อยบางพื้นที่สามารถพบนกชนิดนี้ได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ และภูเขาสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางต่อเนื่องกับอุทยานแห่งชาติแม่วงศ์





ขอขอบคุณ เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #44 เมื่อ: 20 มกราคม 2567 17:01:36 »



นกฟินซ์ม้าลาย (Zebra Finch)

นกตัวเล็กๆ ที่เราอาจเคยพบเห็นเป็นรูปตุ๊กตานกตัวสีขาวปากแดงตัวเล็กๆ ที่คนชอบตั้งโชว์กันบ่อยตา เจ้านกน่ารักที่พูดถึงนี้ เป็นนกข้ามฟ้าข้ามฝั่งมาจากดินแดนแห่งสายพันธุ์นกในประเทศออสเตรเลีย  ที่เรียกกันในนาม นกซีบร้า  หรือ นกม้าลาย นั่นเอง

นกซีบร้า เป็นหนึ่งในนกฟินซ์ อยู่ในสกุล Taeniopygia คำว่านกฟินซ์เป็นชื่อเรียกแทนเหล่านกตัวเล็กๆ ที่อาศัยเมล็ดพืชหรือแมลงเป็นอาหาร เนื่องจากเป็นนกที่มีจงอยปากที่แข็งแรง และสามารถบีบหรือเจาะพวกเมล็ดพืชเล็กๆ ที่มีความแข็งได้อย่างง่ายดาย

นกชนิดนี้เป็นนกพื้นเพจากประเทศออสเตรเลีย โดยเฉพาะในแถบตอนกลางของประเทศ รวมไปถึงสามารถพบได้ในประเทศที่ใกล้กันอย่างบางเกาะของอินโดนีเซีย หรือในหมู่เกาะติมอร์  จัดเป็นนกเล็กๆ ที่มีความน่ารัก เพราะขนาดของลำตัวที่มีความยาวเพียงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร และเป็นนกที่เลี้ยงง่ายมาก รวมทั้งไม่ก่อความรำคาญให้แก่ผู้เลี้ยงจากเสียงรบกวนแบบจำพวกนกปากขอ   สีสันของนกชนิดนี้ ถ้าเป็นนกดั้งเดิม เพศผู้จะมีจงอยปากสีอมส้ม และกลายเป็นแดงสดเมื่อเวลาโตเต็มที่ ส่วนเพศเมียจะเป็นสีส้ม ในเพศผู้จะมีสัญลักษณ์แถบสีส้มเป็นวงกลมอยู่บริเวณสองข้างแก้ม และบริเวณหน้าและบริเวณตะโพกและหางจะมีเส้นสีดำพาดเป็นแนวขวางคล้ายลายของม้าลาย บริเวณข้างลำตัวของผู้จะมีสีน้ำตาลอมแดงและมีจุดสีขาวกระจาย สวยงามน่ารัก  และดวงตาเมื่อโตเต็มวัยจะมีสีแดงกล่ำ  ส่วนในเพศเมียจะไม่มีที่กล่าวมา


ขอขอบคุณ
       - เว็บไซต์ blogspot.com (ที่มาข้อมูล)
       - เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี


800/30/
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #45 เมื่อ: 21 มกราคม 2567 18:10:50 »




นกอีเสือหลังแดง

นกอีเสือหัวแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Lanius collurioides ชื่อสามัญ: Burmese Shrike

ลำตัวค่อนข้างสั้น ตัวผู้ แถบคาดตาดำ หัวและท้ายทอยสีเทา ลำตัวด้านล่างสีขาว หัวไหล่ หลัง ตะโพกสีน้ำตาลแดง ขนคลุมปีกและขนปีกสีน้ำตาล ขอบสีน้ำตาลแดง หางสีน้ำตาลเข้ม ปลายหางและขอบหางขาว มีจุดสีขาวบริเวณโคนขนปลายปีก ตัวเมีย หัวตาสีขาว นกวัยอ่อน หัวสีน้ำตาลอ่อน มีจุดสีเข้มกระจายทั่วกระหม่อมและท้ายทอย หลังและสีข้างมีลายเกล็ด หางสีน้ำตาลแดง พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ชายป่า รวมถึงทุ่งโล่ง นกประจำถิ่นและนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อย

ตัวเมีย : สีจางกว่าตัวผู้ หัวตาขาว

นกวัยอ่อน : คล้ายตัวเมีย แต่มีแต่มีลายเกล็ดทั้งด้านบนและล่าง จุดขาวที่ปีกเล็กมากหรืออาจมองไม่เห็น

ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง : ชายป่าติดกับพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่เกษตรกรรมต่างๆ ตั้งแต่ที่ราบถึงความสูง ๑,๘๐๐ เมตร พบบ่อยบางพื้นที่ เช่น ชายป่าเต็งรังเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่และอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก และมีรายงานการขยายพันธุ์ในที่สูง ๙๐๐ เมตรขึ้นไป

นกอีเสือเป็นนกที่ล่าสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร หางยาว มีปากที่หนาและปลายงุ้มเหมือนตะขอ เอกลักษณ์ของพวกมันคือแถบคาดตาสีดำเหมือนหน้ากากโจร (bandit-mask) นอกจากนกอีเสือสีน้ำตาลแล้วแทบทุกปีตามสวนสาธารณะในเมืองกรุงเทพและปริมณฑลจะมีรายงานการพบ นกอีเสือหลังแดง (Burmese Shrike) และ นกอีเสือหลังเทา (Grey-backed Shrike) ทั้งสองชนิดล้วนเจอตัวทางภาคเหนือได้ง่ายกว่า นกที่พบในภาคกลางตอนล่างส่วนใหญ่น่าจะเป็นเพียงนกอพยพพลัดหลงเท่านั้น โดยเฉพาะชนิดหลังที่ปกติจะอาศัยอยู่บนที่สูง

ถึงแม้โดยรวมทั้งสองชนิดจะไม่ใช่นกที่พบยาก แต่การพบใน กทม. หรือจังหวัดใกล้เคียงนับว่าอยู่นอกพื้นที่ที่มีการพบเห็นตามปกติ ควรค่าแก่การรายงานเป็นข้อมูลให้ทางสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (BCST) รวบรวมและเผยแพร่ ปีนี้มีรายงานการพบนกอีเสือหลังแดงเพียงหนึ่งตัวเท่านั้นในภาคกลางตอนล่าง (ที่สวนลุมพินี ใจกลาง กทม.นี่เอง) ส่วนนกอีเสือหลังเทาที่จะพบได้บ้างนั้นปีนี้ไม่มีรายงานเลย

เรามักสังเกตนกอีเสือหลังแดงขณะเกาะสายไฟฟ้าหรือกิ่งไม้โล่งๆได้จากลำตัวด้านล่างสีขาวโพลนตัดกับด้านบนสีเข้ม มันมีหลังสีน้ำตาลแดงสมชื่อ กระหม่อมสีเทาเข้ม มีแต้มสีขาวที่ปีก เพศเมียมีบริเวณหัวตาสีขาว กระหม่อมและหลังสีอ่อนกว่าตัวผู้ บริเวณสีข้างมีสีน้ำตาลแดง ไม่ขาวสะอาดเหมือนเพศผู้

นกอีเสือหลังแดงทำรังวางไข่ตามป่าโปร่งและชายป่า โดยเฉพาะป่าผลัดใบและป่าสน ในระดับความสูงอย่างน้อย ๖๐๐  เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่พอเข้าสู่ฤดูหนาวนกบางส่วนจะอพยพกระจายลงมาอยู่ในที่ราบ พบได้ตามทุ่งโล่งและสวนสาธารณะ มีรายงานทั่วทุกภาคยกเว้นภาคใต้ มักหากินตามทุ่งที่มีไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นประปราย ไม่ค่อยพบในที่โล่งมากเท่านกอีเสือสีน้ำตาลและ นกอีเสือหัวดำ (Long-tailed Shrike)

มองเผินๆ นกอีเสือหลังแดงมีสีสันละม้ายคล้ายนกอีเสือหัวดำชนิดย่อย schach ซึ่งมีกระหม่อมสีเทาเหมือนกัน ต่างจากชนิดย่อยประจำถิ่นที่มีกระหม่อมสีดำสนิท มันเป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ที่หายากในประเทศไทย จำแนกได้จากสีเทาที่เลยไปจนถึงบริเวณหลังมากกว่านกอีเสือหลังแดงและมีขนาดตัวใหญ่กว่าเล็กน้อย



ขอขอบคุณ เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี
800/30
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มกราคม 2567 20:13:50 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 24 มกราคม 2567 16:30:02 »



นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก

นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก
       วงศ์ : Nectariniidae  
       ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arachnothera chrysogenys (Temminck) 1826.
       ชื่อสามัญ : Yellow-eared Spiderhunter
       ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Lesser Yellow-eared Spiderhunter


มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arachnothera chrysogenys ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ chrys, -o, =us หรือ khrusos แปลว่าสีทอง และ geny, -o, =us หรือ genus แปลว่าแก้ม ความหมายคือ “นกที่มีแก้มสีเหลืองทอง” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี ๒ ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ ๑ ชนิดย่อยคือ Arachnothera chrysogenys chrysogenys (Temminck) ที่มาและความหมายของชื่อ ชนิดย่อยเช่นเดียวกับชนิด

กระจายพันธุ์ : ในพม่า ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะ ซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป : เป็นนกขนาดเล็ก (๑๘ ซม.) ตัวเต็มวัยมีกระจุกขนบริเวณหูและวงรอบเบ้าตาสีเหลือง คอหอยและอกสีเขียวอ่อนแกมเทามีลายขีดเล็กน้อย ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลือง หาง ด้านล่างสีเขียวอ่อนแกมเทา ไม่มีสีขาว อกไม่มีพุ่มขน ปีกสั้นกว่า ๙๘ มม. ตัวไม่เต็มวัยสีจางกว่า สีเหลือง บริเวณหูมีขนาดเล็กจนเกือบไม่เห็น

อุปนิสัยและอาหาร : พบตามป่าดงดิบชื้น ป่าดง ดิบแล้ง และชายป่า ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง ๑,๘๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยไม่แตกต่าง จากนกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่

การผสมพันธุ์ :ผสมพันธุ์ช่วงฤดูร้อนระหว่าง เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน และช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ทำรังใต้ ใบไม้ในลักษณะเดียวกันกับนกปลีกล้วยชนิดอื่น รัง อยู่สูงจากพื้นดิน ๑.๕-๑๒ เมตร รังมีไข่ ๒ ฟอง

ไข่ :ไข่ สีเทาแกมขาว มีลายจุดสีน้ำตาลเหลืองและสีน้ำตาลเทา ยังไม่ทราบชีววิทยาคารสืบพันธุ์ด้านอื่น

สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบทางภาคตะวันตกตอนใต้และภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย : ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง



ขอขอบคุณ
       - เว็บไซต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี (ที่มาข้อมูล)
       - เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มกราคม 2567 16:37:38 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #47 เมื่อ: 27 มกราคม 2567 12:00:07 »



นกอีเสือหัวดำ

นกอีเสือหัวดำ (Long-tailed Shrike)

ชื่อภาษาอังกฤษ : Long-tailed Shrike

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lanius schach

สถานภาพ : นกประจำถิ่น

ขนาด : มีขนาด ๒๕ เซ็นติเมตร

ถิ่นที่อยู่ : เป็นนกที่ชอบอาศัยอยู่ในที่โล่ง ทุ่งนา ป่าละเมาะ หรือ แม้แต่ตามสายไฟฟ้าข้างถนน พบได้จากที่ราบ ขึ้นไปถึงที่สูงระดับกว่า ๒,๐๐๐ เมตร

เพศ : ตัวผู้ กับ ตัวเมีย มีลักษณะคล้ายกัน

อาหาร : สัตว์ขนาดเล็ก เช่น กบ เขียด นกขนาดเล็ก และแมลง ต่างๆ

พฤติกรรม : เป็นนกที่มีพฤติกรรมแปลก คือชอบจับเหยื่อเสียบไว้กับหนามแหลม แล้วจึงลงมือจิกกิน หรือ เสียบเหยื่อไว้กับหนามจนเหยื่อเริ่มเน่าแล้วจึงจิกกิน

เสียงร้อง : เป็นนกที่ร้องเลียนเสียงนกชนิดอื่นได้ แต่เลียนเสียงได้ไม่ดี ส่วนมากมักส่งเสียงร้อง (call) เป็นเสียงแหบๆ ๑ พยางค์ สั้นๆ ห้วนๆ

ชนิดย่อย ในประเทศไทย พบ ๒ ชนิดย่อย คือ longicaudatus (ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคอีสานตอนใต้) หน้าและกระหม่อมสีดำ หลังสีน้ำตาลอมส้ม หัวไหล่และขนปีกสีดำ โคนขนปลายปีกมีจุดขาว ตะโพกสีน้ำตาลอมส้ม คอและอกสีขาว สีข้างสีส้ม หางสีดำ หางยาวกว่าชนิดย่อยอื่นๆ ชนิดย่อย tricolor (ภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน) คล้ายชนิดย่อย longicaudatus แต่หลังตอนบนสีน้ำตาลอมเทา หางสั้นกว่า ชนิดย่อย schach (เคยมีรายงานทางภาคเหนือ) กระหม่อมและหลังตอนบนสีเทาเข้ม ชนิดย่อย bentet (ภาคใต้ตอนล่าง) ท้ายทอย หลัง สีเทาจางกว่าชนิดย่อยอื่น จุดสีขาวที่ปีกขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับชนิดย่อยอื่น นกประจำถิ่นและนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อย ชนิดย่อย longicaudatus พบไม่บ่อยและมีจำนวนประชากรลดลงอย่างมากในภาคกลาง




ขอขอบคุณ
       - เว็บไซต์ (ที่มาข้อมูล) www.bloggang.com / https://ebird.org/
       - เพจ ชมรมนักดูนก (ที่มาภาพถ่าย) ต้นแบบของการวาด/ระบายสี

800/30
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #48 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2567 11:21:56 »



สุลาเวสี พิตต้า




ภาพจาก เว็บไซต์ .oknation.net
800
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #49 เมื่อ: 03 มีนาคม 2567 13:23:26 »


นกแต้วแล้วลาย : ภาพวาดระบายด้วยสีชอล์คน้ำมัน

นกแต้วแล้วลาย

นกแต้วแล้วลาย นกขี้อายที่มีสีสันสวยงาม เป็นหนึ่งในนกแต้วแล้วชนิดหนึ่ง ที่มีสีสันสวยที่สุดชนิดในบรรดานกแต้วแล้วทั่วโลกก็ว่าได้ นกแต้วแล้วลายเป็นนกประจำถิ่น พบเฉพาะป่าดงดิบทางภาคใต้ของประเทศไทย และกระจายเป็นหย่อมๆ ในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย นกแต้วแล้วลาย ขนาด ๒๑-๒๔ เซนติเมตร เป็นนกแต้วแล้วขนาดกลาง ตัวผู้และตัวเมียต่างกัน แต่งามกันคนละแบบ คิ้วสีเหลืองสดขับเน้นปลายคิ้วด้วยสีแดงชาด กระหม่อมคาดแถบดำ คอขาวแบบปุยหิมะ ใบหน้าเข้มดุดันด้วยแถบดำคาดตาด สีข้างลาย และปีกสีน้ำตาลคาดด้วยแถบขาวยาวตลอดแนวโดดเด่นและหางสีฟ้า เพศเมียมีท้องสีอ่อนกว่า มีลายขวางสีดำทั่วท้อง หาอาหารอย่างเงียบเชียบตามพื้นป่าในป่าดิบที่ราบ มักได้ยินเสียงร้องคล้ายเสียงครางในลำคอดัง “กรือออ”

สำหรับนกแต้วแล้วลายตัวผู้ต่างจากตัวเมียที่อกและท้องเป็นสีน้ำเงินเข้มไม่มีลาย ลูกนกคล้ายตัวเมียแต่สีจืดชืดกว่ามาก ส่วนการสร้างรังจะสร้างเหนือพื้นดินซึ่งอาจจะสูงถึง ๓ เมตรจากพื้น รังซุกตามง่ามไม้กลุ่มปาล์ม เช่น หวาย นกใช้รากไม้และกิ่งไม้แห้งขัดสานเป็นโครงแล้วบุด้วยใบไม้แห้ง โดยที่ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละวางไข่ ๓-๔ ฟอง





800-30
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5462


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #50 เมื่อ: 18 เมษายน 2567 14:38:35 »


ภาพวาดระบายสีไม้

นกปีกลายตาขาว

นกปีกลายเพียงชนิดเดียวที่พบได้ในประเทศไทย เป็นนกกินแมลงที่อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาสูง
ทางภาคเหนือ มักหากินเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ มีวงรอบตาสีขาวเด่น ปีกและหางมีลายขวางถี่
สีดำตามชื่อ ใบหน้าเรียบไม่มีลาย ท้องสีอ่อน อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาและพื้นที่ชายป่า มักพบ
เป็นคู่หรือฝูงขนาดเล็ก ที่หากินตามพุ่มไม้รกทึบ มักออกมาเกาะในที่โล่งเป็นระยะๆ
และส่งเสียงร้องแหลมขึ้นจมูกเรียบๆ ติดต่อกัน


800-16
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  1 2 [3]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.198 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 เมษายน 2567 04:22:02