[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 พฤษภาคม 2567 01:10:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การเกิดแห่งอุปทานขันธ์ 0.1  (อ่าน 3168 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 11:18:11 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
การเกิดแห่งอุปทานขันธ์ 0.1

<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/22.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/22.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/22.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>




ในเรื่องเหตุแห่งการเกิดการมีชีวิตนั้นพระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าตราบใดยังมีกิเลส มีอวิชชา มีตัณหา ก็ยังต้องเกิดเมื่อเกิดแล้ว
ก็เป็นทุกข์เรื่อยไปจนกระทั่งตายเพราะชีวิตก็เป็นแต่เพียงนามธรรมและรูปธรรมแต่ละชนิดที่ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วสืบต่อกันไปเรื่อย ๆ ทุกขณะเราเรียนพุทธศาสนา ก็ไม่ได้เรียนเรื่องอื่นเลย นอกจากความทุกข์กับความดับทุกข์ ตามที่พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้เป็นคำตายตัว คือ ท่านตรัสว่าแต่ก่อนก็
ดีเดี๋ยวนี้ก็ดี กระทั่งต่อไปข้างหน้าก็ดี ฉันพูดแต่เรื่องทุกข์กับดับทุกข์เท่านั้น.เราต้องเรียนเรื่องทุกข์กับความดับทุกข์เราต้องเรียนลงไปบนตัวความทุกข์ มันจึงจะเป็นการเรียนวิทยาศาสตร์ถ้าเรียนลงไปบนสภาพอื่นที่มิใช่ความทุกข์ แล้วเอามาคำนึงคำนวณว่าเป็นความทุกข์ แล้วก็เรียนอย่างนี้มันรู้ไม่ได้
อย่างนี้เขาเรียกว่ามันเรียนปรัชญา เรียนอย่างวิธีปรัชญาไม่ใช่วิธีวิทยาศาสตร์ ฉะนั้น อยากจะบอกพวกลูกเด็ก ๆ เหล่านี้ทุกคนแหละว่า เมื่อไรมีความทุกข์ อกหักน้ำตาไหล จะไปกระโดดน้ำตายอย่างนี้ นั้นมีความทุกข์ แล้วก็เรียนลงไปบนความทุกข์นั้น ว่ามันมีรสชาติอย่างไร แล้วมันเกิดมาจากอะไร และถ้าอะไรหมดไปมันจึงจะไม่ทุกข์ อย่างกะไฟไหม้อก เมื่อมีความทุกข์อยู่ประจักษ์ แล้วก็เรียนลงไปบนความทุกข์ อย่างนี้เรียกว่าเรียนอย่างวิทยาศาสตร์ เรียนธรรมะอย่างวิทยาศาสตร์ มีตัวจริง เรียนลงไปบนของจริงพลิกหาข้อเท็จจริงของสิ่งนั้น ๆ นี้คือเรียนอย่างวิธีวิทยาศาสตร์ฉะนั้น อยากจะบอกพวกลูกเด็ก ๆ เหล่านี้ทุกคนแหละว่า เมื่อไรมีความทุกข์ อกหักน้ำตาไหล จะไปกระโดดน้ำตายอย่างนี้ นั้นมีความทุกข์ แล้วก็เรียนลงไปบนความทุกข์นั้น ว่า......................................
มันมีรสชาติอย่างไรแล้วมันเกิดมาจากอะไร และถ้าอะไรหมดไปมันจึงจะไม่ทุกข์ อย่างกะไฟไหม้อก เมื่อมีความทุกข์อยู่ประจักษ์ แล้วก็เรียนลงไปบนความทุกข์ อย่างนี้เรียกว่าเรียนอย่างวิทยาศาสตร์ เรียนธรรมะอย่างวิทยาศาสตร์ มีตัวจริง เรียนลงไปบนของจริงพลิกหาข้อเท็จจริงของสิ่งนั้น ๆ นี้คือเรียนอย่างวิธีวิทยาศาสตร์คำนวณ แล้วมันจะดับทุกข์ไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องคำนวณฉะนั้น จะเรียนเรื่องพุทธศาสนาเรื่องความทุกข์ ต้อง
เรียนเมื่อมีความทุกข์อยู่ในหัวอกจริง ๆ คือมีความทุกข์จริง ๆ ทุกข์นั้น ก็รู้มันอย่างนี้รู้จริงแล้วก็จะขจัดได้จริงทีนี้สบายดีเอ้า จับตัวมา มาเรียนเรื่องทุกข์เรื่องความดับทุกข์ เรื่องเหตุให้ดับทุกข์อะไรนี้ มันก็เป็นอย่างเรียนปรัชญา นี้เรามันเรียนกันโดยมากก็เรียนอย่างนี้ สอนเรื่องความดับทุกข์ ในเมื่อคนมันไม่ได้ทีความทุกข์อยู่ในหัวใจ มันก็เป็นเรื่องสมมุติไปทั้งนั้น อย่างนี้เขาเรียกว่าเรียนอย่างปรัชญา เราจึงไม่ค่อย
ประสพความสำเร็จอยู่แล้วก็เรียนลงไปบนตัวความทุกข์ เหมือนกับพลิกดูข้างล่างข้างบน ข้างซ้ายข้างขวา ข้างหน้าข้างหลัง ที่ตัวความ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2553 12:53:47 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 11:29:06 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
การเกิดแห่งอุปทานขันธ์ 0.1



ทุกข์นั้นก็รู้มันอย่างนี้รู้จริงแล้วก็จะขจัดได้จริง ทีนี้สบายดีเอ้า.....จับตัวมามาเรียนเรื่องทุกข์ เรื่องความดับทุกข์ เรื่องเหตุให้ดับทุกข์อะไรนี้ มันก็เป็นอย่างเรียนปรัชญานี้เรามันเรียนกันโดยมากก็เรียนอย่างนี้ สอนเรื่องความดับทุกข์ ในเมื่อคนมันไม่ได้ทีความทุกข์อยู่ในหัวใจมันก็เป็นเรื่องสมมุติไปทั้งนั้น อย่างนี้เขาเรียกว่าเรียนอย่างปรัชญา เราจึงไม่ค่อยประสพความสำเร็จความทุกข์ ถ้าเรามีทุกข์อยู่ เราก็ดูว่ามันทำไม มันมีรสชาติอย่างไร แล้วเรื่องนี้มันเกิดมาจากอะไรเดี๋ยวก็พบแหละ ถ้าเอาอะไรออกไปเสีย แล้วก็จะไม่มีความทุกข์ มันก็
พบเหมือนกัน ส่วนเรื่องสมมุตินั้น มันได้แต่สมมุติ มันได้แต่คว้า ๆ ไปอย่างนั้นทีนี้มันยังมีความทุกข์ตรง ๆ เช่นเราเจ็บปวดเดือดร้อนเป็นไฟอยู่ในใจ นี้เรียกว่าความทุกข์ตรง ๆ ก็พอที่จะหาโอกาสเรียนกันได้ตรง ๆ ส่วนความทุกข์ที่มันซับซ้อน หรือโดยอ้อมเช่นความกลัวเป็นต้น กลัวมืด กลัวผี กลัวตาย ซึ่งคนโง่เขากลัวกันอยู่ มันมีความกลัว ถ้ามันกำลังกลัวอยู่จริง ๆก็เรียนได้ง่าย, เรียนลงไปบนความกลัว ว่านี่มันโง่อะไร ตรง
ไหนนะ มันจึงได้กลัวขึ้นมาถ้ามีความกลัวอยู่ในใจจริง ๆ ก็เรียนเรื่องความกลัวนั้นรู้อย่างเรียนวิทยาศาสตร์ แล้วก็ขจัดความกลัวทีนี้เวลา
ที่สบายดี อยู่ในที่ที่ไม่กลัว ไม่อาจจะเกิดความกลัว จับมาให้เรียนเรื่องความกลัว มาพูดกันเรื่องความกลัว มันก็เป็นเรียนปรัชญา เรื่องคำนึงคำนวณอีกมีสมมุติฐานมาสำหรับเรียนมันก็ไม่อาจจะขจัดความกลัวได้ ฉะนั้นจึงกล่าวว่าความทุกข์ตรง ๆ ก็ดี ความทุกข์ที่ซับซ้อน เช่นกลัวตาย แล้วกลัวผีกลัวเสือกลัวอะไรอยู่นี้ก็ดี มันต้องเอาตัวจริงมาเรียนกันนี่เรียกว่าเรียนอย่างวิทยาศาสตร์นี้ธรรมะในพระพุทธศาสนานี้ มันเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ ต้องเรียนอย่างเรื่องวิทยาศาสตร์อย่าไปเรียนอย่างเรื่องปรัชญาเลย เดี๋ยวนี้คนเขาเมาปรัชญา เขาชอบปรัชญาอะไร ๆ ก็จะเรียนอย่างปรัชญาแล้วก็อวดกันว่าโก้ ว่าหรู ว่าเก่ง เพราะรู้ปรัชญา รับปริญญาปรัชญามาเป็นหางอย่างนี้มันก็ไม่รู้เรื่องนั้นโดยแท้จริงที่จะดับทุกข์ได้เอ้า เป็นอันว่าเราตกลงกันเสียที ว่าพระพุทธศาสนา
หรือธรรมะนี้ ต้องเรียนอย่างเรื่องวิทยาศาสตร์เรียนตามวิถีทางของวิทยาศาสตร์ คือเรียนเมื่อมีสิ่งนั้นอยู่จริง ๆ มีทุกข์อยู่จริง ๆ ก็เรียนเรื่องความทุกข์ แล้วก็ดับทุกข์ เราจะประสบความสำเร็จในการเรียน............................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2553 12:21:42 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 11:38:59 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
การเกิดแห่งอุปทานขันธ์ 0.1



เอ้า ....................เดี๋ยวนี้เธอไม่มีทุกข์ ฉันมาพูดเรื่องความทุกข์ ก็ดูบ้า ๆ บอ ๆ ชอบกล ฉะนั้นขอให้จำเอาไป จำเอาไป มี
ความทุกข์เมื่อไร แล้วก็คิดถึงเรื่องที่กำลังพูดกันอยู่ เวลานี้เวลานี้มันยังไม่มีทุกข์ ไม่มีของจริงสำหรับเรียน เธอต้องจำเรื่องนี้ไว้ สำหรับเอาไปใช้เรียน เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นฉะนั้นเมื่อความทุกข์เกิดขึ้น ก็อย่าไปนั่งร้องไห้น้ำตาเช็ดหัวเข่าหรือจะกินยาตาย หรือจะไปโดดน้ำตาย อย่างนั้นมันไม่มีความหมายอะไรพอความทุกข์เกิดขึ้น ก็จงนึกถึงสิ่งที่ได้เรียนมาว่าความทุกข์คืออะไร เกิดมาจากอะไรความทุกข์ คือความยึดมั่นในเบญจขันธ์ เกิดมาจากความโง่ พอจะมองเห็นได้ไหม ? เดี๋ยวนี้ไม่มีทุกข์ แต่ฉันกำลังบอกว่า ความทุกข์นั้น คือความยึดมั่นขันธ์ทั้ง ๕เหตุของมันก็คืออวิชชา คือความโง่ ทำให้ยึดมั่นขันธ์ ๕ เหมือน
กับก้อนหินมันวางอยู่ตรงนี้ ความโง่ทำให้หยิบเอาขึ้นมาแบกไว้ ทูนไว้มันก็หนัก นี่เพราะมันทูนก้อนหิน แล้วมันก็หนัก ก็รู้สึกได้ว่ามันหนักและเป็นทุกข์ทุกข์ก็คือหนักแล้วทำไมจึงไปเอามาแบกละ ? เพราะมันโง่นี้ก็เหมือนกัน ขันธ์ทั้ง ๕ มันมีอยู่ตามธรรมชาติ ตามธรรมชาติของธรรมชาติ อย่างก้อนหินมันวางอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่หยิบมาแบกมันก็ไม่หนัก ขันธ์ทั้ง ๕ มันเกิดดับ เกิดดับกันอยู่ตามธรรมชาติ ของสิ่งที่มีชีวิต ทีนี้ไปเอามาแบกเข้า มันก็หนัก
ใครเป็นคนแบก ? คือจิตที่มีความโง่ ไม่ต้องมีตัวตนดอก เราจะเรียกว่าตัวตน ก็ขอให้ดูให้ดีว่า มันเป็นเรื่องลม ๆ แล้ง ๆ ไม่ได้มีตัวตนจริง มันมีแต่จิตทำให้เกิดความรู้สึกว่าตัวตนแล้วมันโง่ มันก็ไปหยิบเอาของหนักนั้นขึ้นมาแบกไว้มันก็ต้องได้เป็นทุกข์แหละ ฉะนั้นเดี๋ยวนี้เราไม่มีความทุกข์มาเรียนเรื่องความทุกข์ คือแบกยึดถือซึ่งขันธ์ ๕ เราก็พูดถึงขันธ์ ๕ถ้าเธอรู้จักขันธ์ ๕ ก็เหมือนกับเรารู้จัก ก - ข  -ค - ฆ - ง ถึง – ฮ อะ - อา - อิ - อี - ถึง - ไอ
มาพูดกันถึงขันธ์ ๕ อีกที ถ้าคนที่เคยฟังมาหลายครั้งแล้ว ก็ขอให้ถือเสียเหมือนว่า ลบกระดานชนวนแล้วเขียนใหม่ก็แล้วกันเชื่อว่าคนแก่ ๆ ที่นั่งอยู่ที่นี้ เคยลบกระดานชนวนแล้วเขียน ก. ข.ใหม่ ลบกระดานชนวนแล้วเขียน ก. ข.ใหม่ นี้คงหลายสิบครั้งนะทำไมไม่เบื่อเล่า ทำไมไม่ต่อว่าบ้างนี้ก็เหมือนกัน เราจะเรียนหนังสือของพระพุทธเจ้า ตั้งต้นด้วยเรื่องขันธ์ทั้ง ๕ อย่าง ก. ข. กอ - กา ลบเขียนใหม่ ลบเขียนใหม่กันทุกวันที่แล้วมามันขี้เกียจเขียนนั่นเอง มันเป็นคนโง่คนขี้เกียจ มันไม่ลบแล้วเขียน ลบแล้วเขียน หลาย ๆ สิบวัน มันก็เลยไม่เข้าใจ ไม่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจไม่แจ่มแจ้ง ฉะนั้นขอร้องว่ามาลบใหม่เขียนใหม่ ลบใหม่เขียนใหม่กันอยู่เสมอ ๆ ให้เข้าใจเรื่องขันธ์ ๕ แล้วก็เข้าใจเรื่องแบกขันธ์ ๕ คือ ยึดถือแล้วก็หนัก แล้วก็เป็นทุกข์เรื่องของเรามีเท่านั้นรู้จักขันธ์ ๕ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เหมือนก้อนหินเหล่านี้มีอยู่ตามธรรมชาติแล้วคนโง่คนหนึ่งมาถึงก็แบกเข้าไว้ทูนเข้าไว้ มันก็หนักนี้ไปยึดถือเอาขันธ์ ๕ ขึ้นมายึดแบกเหมือนกับแบกเหมือนกับทูน มันก็หนัก............................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2553 12:22:23 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 11:46:37 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
การเกิดแห่งอุปทานขันธ์ 0.1



ทีนี้ที่เรียกว่าขันธ์ทั้ง ๕ อยู่ที่ไหน ? อยู่ตามธรรมชาติเกิดดับอยู่ตามธรรมชาติ ในสิ่งที่เรียกกันว่าคน ที่ยังเป็น ๆ ยังมีชีวิตอยู่เดี๋ยวนี้เราทุกคนยังมีชีวิตอยู่ ยังเป็น ๆ อยู่ฉะนั้นในทุกคนมีขันธ์ ๕ นี้ต้องรู้จักขันธ์ ๕ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติที่เรามีชีวิตอยู่ เกิดตายอยู่ นี้ก็เป็นไปตามธรรมชาติระหว่าง
ที่ยังไม่ตายนี้ แต่ละวัน ๆ นี้ก็มีสิ่งที่เรียกว่าขันธ์ ๕ เกิดอยู่ ดับอยู่ หรือเป็นไปอยู่ คือเกิดอยู่ ดับอยู่เพราะทำผิดกับสิ่งนี้
มันจึงเกิดความทุกเราก็ดูว่าขันธ์ ๕ เป็นอย่างไรจะไม่พูดอย่างวิธีพูดก่อน ๆ หรือที่พูดกันตามธรรมเนียม ตามระเบียบตามแบบแผน มันซ้ำซากนักแล้วเดี๋ยวนี้ก็จะพูดว่า ให้นักเรียนทุกคนเหล่านี้กำหนดเข้าไปที่ร่างกายของตน คือมีส่วนที่เป็นร่างกาย เนื้อหนังกระดูก เหล่านี้ ส่วนที่เป็นร่างกายอันนี้ส่วนหนึ่ง เรียกว่ารูป
ขันธ์ นี้ไม่ยาก เข้าใจได้ง่าย เพราะมันเป็นเนื้อ เป็นตัว เป็นก้อน เป็นดุ้น เราก็จับคลำเห็นกันอยู่ได้ง่าย ๆ ในส่วนที่เรียกว่ารูปขันธ์ทีนี้มันมีส่วนที่เป็นอรูป คือ ไม่ใช่รูป หรือว่าเป็นนามคือเป็นเรื่องจิตใจ นี้มีอยู่พวกหนึ่ง มีอยู่ตั้ง ๔ ขันธ์ เมื่อเธอรู้สึกสบาย เมื่อนั่งตรงนี้สบายเพราะว่านั่งบนทรายนิ่ม ๆสบาย ความรู้สึกว่าสบายนี้ ก็เป็นความรู้สึกอันหนึ่งหรือว่าลมพัดมาเย็น ก็สบาย ก็รู้สึกสบาย นี้ก็เป็นความรู้สึกอีกนั่นแหละ เป็นความรู้สึกว่าสบายหรือมันตรงกันข้าม มันไม่สบายนั่งบนก้อนหินแข็งๆ มันไม่สบาย หรือแดดมันส่องลงบนฉันคนเดียว มันร้อนมันไม่สบายนี้ก็เรียกว่าไม่สบาย ก็คือความรู้สึกนี้เรียกว่ารู้สึกกันทางผิวหนัง ซึ่งมีมากที่สุดแหละเราไปนั่ง เดิน ยืน นอน อยู่ที่ตรงไหน มันก็รู้สึก ซึ่งเรียกว่าเวทนา ถ้ารู้สึกสบายพอใจก็เรียกว่าสุขเวทนาไม่สบายไม่พอใจก็เรียกว่าทุกขเวทนา นี้ใครนั่งอยู่อย่างสบายรู้สึกสบายก็รู้จักความสบายนั้นเสียซิว่า มันเป็นเวทนา ท่านเรียกกันว่าเวทนาไม่สบายก็เรียกว่าเวทนาสบายก็เรียกว่าเวทนา หรืออยู่กลาง ๆ ยังไม่แน่นัก ก็เรียกว่า เวทนาฉะนั้นเวทนาจึงแปลว่าความรู้สึก ซึ่งเราจะต้องรู้สึกอยู่ตลอดเวลา ที่นี่หรือที่บ้าน ที่โรงเรียนที่ไหนก็ตามใจ ความรู้สึกประเภทที่เป็นเวทนา มันก็ต้องมีอยู่ทีนี้เรานั่งอยู่ตรงนี้รู้สึกสบาย ก็เรียกว่าเรานั่งสบาย บนเสื่อบนสาดบนทราย เราก็จำได้ รู้สึกสำคัญมั่นหมายได้ว่านั่งบนเสื่อบนทราย เรานั่งบนทราย เราสำคัญว่าเรา แล้วก็เรานั่งบนเสื่อแล้วก็วางอยู่บนทราย ความรู้สึกว่าเราว่าเสื่อ ว่า ทรายนี้
ก็เรียกว่า ความสำคัญ ว่ามันเป็นอะไรตามที่เราจำได้...............................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2553 12:51:48 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 11:56:41 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
การเกิดแห่งอุปทานขันธ์ 0.1



มันคนละอันกับความรู้สึกว่าสบายนะ สบายนั้นเป็นความรู้สึกเรียกว่าเวทนา ทีนี้เราจำได้หมายรู้ว่าเราว่าเสื่อว่าทราย นี่เราจำได้ตามที่บัญญัติเรียกกันว่าอย่างไร ความจำได้ ความสำคัญมั่นหมายไปตามความจำนั้น ๆ ว่าอะไรอย่างนี้เขาเรียกว่าสัญญามันก็มาจากเวทนาก็ได้ คือมีเวทนาแล้วจึงมีสัญญา หรือจะสัญญาก่อนแล้วจึงมีเวทนาก็ได้ เรื่องลำดับนี้มันไม่ค่อยแน่ มันแล้วแต่เรื่องแต่โดยมากมันไปตามลำดับก็คือว่า มีเวทนา แล้วก็มีสัญญาเมื่อรู้สึกสบาย ก็มีสัญญาว่าสบายอีกทีหนึ่ง รู้สึกว่าสบายนั้นเป็นเวทนา แล้วสำคัญมันลงไปว่า นี้เป็นความสบาย คือเป็นความสบายของเรา นี้สำคัญในเวทนานั้น จำเวทนานั้นได้ อย่างนี้เรียกว่าสัญญา มันเนื่องกันแหละ มันคนละอย่างแต่มันแยกกันไม่ได้ มันเนื่องๆ กันไปพอเรามีสัญญาว่าเรานั่งสบาย เราก็คิดต่อไปว่าเราจะทำอย่างไร มีความคิดดำเนินไป ก็เรียกว่าความคิด ความคิดนั้นไม่ใช่เวทนาไม่ใช่สัญญา เขาเรียกว่าความคิดที่เป็นความคิดนี้เรียกว่าสังขารเมื่อเราคิดอะไร ขอให้รู้เถอะว่านั้นเรากำลังมีสิ่งที่เรียกว่าสังขารเมื่อเรารู้สึกในทางชอบหรือไม่ชอบ ยินดียินร้าย สบายไม่สบาย รู้สึกนั้นเขาเรียกว่าเวทนาคือ ทำให้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรารู้สึกรู้แจ้งต่อสิ่งที่มากระทบได้ เช่น ตากระทบรูป ก็เกิดวิญญาณทางตา คือ เห็นรูปนั่นเองเสียงมากระทบหู ก็เกิดการได้ยินทางหู คือวิญญาณทางหู กลิ่นมากระทบจมูก ก็เรียกว่ารู้สึกรู้แจ้งทางจมูก นี้ก็เรียกว่า วิญญาณทางจมูกทีนี้ก็มีความสำคัญว่ามันเป็นอะไร มันคืออะไร มันเป็นอย่างไร นี้ก็เรียกว่าสัญญาอย่าไปเพิ่งไปนึกถึงหอมหรือเหม็น ชอบใจหรือไม่ชอบใจ นั้นมันเป็นส่วนเลยไปโน้น ซึ่งมันเป็เวทนา. เดี๋ยวนี้สักว่า ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส ผิวหนังได้สัมผัสกับอะไรเข้าเราได้ครบห้าอย่างแล้วนะ รูปคือร่างกายนี้ ประกอบ
อยู่ด้วยเลือดเนื้อ กระทั่งเหมาะสมที่จะเกิดระบบประสาททางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายเรามีก้อนลูกตา มีหู มีจมูก มีลิ้น ล้วนแต่ประกอบขึ้นด้วยเนื้อหนังทั้งนั้น ในเนื้อนั้นประกอบอยู่ด้วยประสาท สำหรับจะรู้สึกที่นั่น คือ ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย แม้ระบบประสาทนั้นก็นับรวมกัน
เข้าไว้ในเรื่องของรูป หรือ รูปกาย เป็นรูปขันธ์ นี่ไปทดสอบให้เข้าใจให้ชัดเจน ว่าร่างกายเป็นอย่างนี้เพียงแต่รู้แจ้งที่ตรงนั้นเอง ว่ามันเป็นอะไร อย่างนี้เรียกว่าวิญญาณส่วนที่เรียกว่าวิญญาณนั้น มันเป็นส่วนเบื้องต้นมากทีนี้เวทนา เมื่อเรารู้สึกสบายหรือไม่สบาย, สัญญานั้น
เราสำคัญมั่นหมายอะไรลงไปว่าเป็นอะไรตามความจำของเราสังขารนั้นเราคิดนึกต่อไปเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ว่าจะทำอย่างไรดีทีนี้ วิญญาณ นี้คือความทีแจ้งได้ที่ตา ที่หู ที่จมูกที่ลิ้น ที่กาย และที่ใจ เมื่อมีอะไรมาเกี่ยวข้องด้วยมากระทบด้วย นี้ ก - ข ของเรามีเพียง ๕ ตัวเมื่อเรียนหนังสือ ก. ข. ของเรามีตั้ง ๓๐ - ๔๐ ตัว มันยากกว่านี้มาก, เดี๋ยวนี้เราเรียนธรรมะของพระพุทธเจ้า มีก.ข.เพียง ๕ ตัว คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
นักเรียนก็เคยสวดมนต์ ออกชื่อสิ่งทั้ง ๕ นี้มาแล้วอย่างซ้ำซาก รูปูปาทานักขันโธ เวทะนูปาทานักขันโธ สัญญูปาทานักขันโธ สังขารูปาทานักขันโธ วิญญาณูปาทานักขันโธ ฉะนั้นเมื่อกลับไปบ้านกลับไปโรงเรียน ก็ทบทวนใหม่เถอะ ว่ามันคืออะไร เวทนาคืออะไร เป็นต้น ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ๆ แล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2553 12:52:20 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 12:04:17 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
การเกิดแห่งอุปทานขันธ์ 0.1



เมื่อไรมันมีสิ่งนั้น ขอให้มีสติระลึกได้ทันควันว่าเรามีสิ่งนั้นเมื่อใดร่างกายของเราทำหน้าที่ เมื่อนั้นให้รู้ว่าเรามีรูปขันธ์เมื่อใดจิตของเรารู้แจ้งที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าอะไรเป็นรูปอะไรเป็นเสียงอะไรเป็นกลิ่น อะไรนี้ ก็เรียกว่าเรามีวิญญาณขันธ์ทีนี้เราเกิดความรู้สึกที่ว่าสบายหรือไม่สบายถูกใจหรือไม่ถูกใจ นี้ก็เรียกว่าเวทนาขันธ์ทีนี้สำคัญมั่นหมายว่า อย่างนี้เราเรียกว่าความสุขเราสำคัญว่าเรา แล้วก็สำคัญว่ามีความสุข แล้วก็จากสิ่งนั้นจากรูปภาพนั้น จากเสียงของสิ่งนี้ จากกลิ่นของสิ่งโน้นจากรสของสิ่งนี้สัญญาขันธ์ ต่อจากสัญญานั้น มีสัญญาอย่างไร แล้วเราก็
คิดนึกไปตามสัญญานั้นอีกทีหนึ่ง ก็เรียกว่าสังขารขันธ์ เราเลยได้ครบห้า เรียกว่าขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ติดปาก เหมือน
กับเรียน ก - ข-กอ - กา A - B - C-D อะไรนั้นแหละ มันติดปากอย่างนั้นแหละให้รู้แต่ละอย่างทั้ง ๕ อย่าง เวลาไหนกำลังมี
อะไร ก็ให้รู้ซิ รู้ได้ด้วยสติ ระลึกได้ ว่าในร่างกายนี้มันกำลังเกิดมีเวทนา ในร่างกายนี้กำลังเกิดมีสัญญา กำลังเกิดมีสังขาร หรือกำลังทำหน้าที่ทางวิญญาณ หรือว่ามีรูปขันธ์ คือร่างกายนี้กำลังทำหน้าที่นี่จะบอกให้อย่างหนึ่งว่า ในภาษาธรรมะนี้เขาใช้คำแปลกกัน มีความหมายแปลกกันเขาจะถือว่ามีสิ่งใด ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นทำหน้าที่. นี่นักเรียนบางคนอาจจะยังไม่เข้าใจ ถ้าเข้าใจแล้วก็แล้วไป ถ้ายังไม่เข้าใจก็รีบเข้าใจเสียด้วย ว่าในทางธรรมทางศาสนา อันลึกซึ้งนี้ เขาจะถือว่า เรามีสิ่งใดต่อเมื่อสิ่งนั้นมันทำหน้าที่เช่นจะพูดว่าเรามีตา ก็ต่อเมื่อตามันทำหน้าที่เห็นรูปในระหว่างที่ตามันไม่ทำหน้าที่เห็นรูป หรือ
ดูรูป เขาไม่พูดว่ามีตาดอก แต่ถ้าชาวบ้านทั่วไปเขาพูดว่าเรามีตาอยู่ตลอดเวลา ล้วนแต่เป็นความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นรูปอะไร เสียงอะไร กลิ่นอะไร รสอะไร ตามความจำที่เราได้เคยมีมาหรือศึกษามา ความสำคัญมั่นหมายอย่างนี้ ก็เรียกว่าหูก็เหมือนกัน เมื่อหูทำหน้าที่ จึงเรียกว่าเรามีหู พอหู
หยุดทำหน้าที่ เราก็ไม่มีหูอีกแล้วกลิ่น เราไม่มีจมูกอีกแล้ว ลิ้นก็เหมือนกันแหละ เมื่อรู้รสเรียกว่าเรามีลิ้น พอไม่มีการรู้รส ก็เรียกว่าไม่มีลิ้น ผิวหนังหรือ
กายก็เหมือนกัน เมื่อมันไม่สัมผัสอะไร ก็เรียกว่ามันไม่มี ไม่มีผิวกาย ไม่มีกาย พอสัมผัสเข้าแล้วก็มีกายจิตก็เหมือนกันเมื่อมันคิดนึกก็มีจิต เมื่อมันไม่คิดไม่นึกก็ไม่มีจิตจมูกก็เหมือนกัน เมื่อมันทำหน้าที่รู้กลิ่น เมื่อนั้นเรามีจมูก พอมันไม่ดมกลิ่นไม่รู้จัก.......................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2553 12:52:51 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 12:11:25 »




 รัก    ยิ้ม    รัก
บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 12:12:44 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
การเกิดแห่งอุปทานขันธ์ 0.1



ฉะนั้น เขาจึงพูดคำประหลาด ๆ ที่พวกเธอเข้าใจไม่ได้ว่าตาเกิดตาดับอยู่ตลอดวัน หูเกิดหูดับอยู่ตลอดวัน จมูก
เกิดจมูกดับ อยู่ตลอดวัน ลิ้นก็เกิดลิ้นดับอยู่ตลอดวัน กายก็เกิดดับอยู่ตลอดวัน จิตใจก็เกิดดับอยู่ตลอดวัน พอตาเห็นรูปเรียกว่าตาเกิด พอตาหยุดหน้าที่เห็นรูป ก็เรียกว่าตาดับ นี้ภาษาอย่างนี้เป็นอย่างนี้ บ้าหรือดีก็ลองไปใคร่ครวญดูซิถ้าดีก็ต้องดับทุกข์ได้ ถ้าบ้าก็ดับทุกข์ไม่ได้ภาษาพูดนี้มันเป็นอย่างนี้ฉะนั้น
ตาเกิดตาดับ หูเกิดหูดับ จมูกเกิดจมูกดับ ลิ้นเกิดลิ้นดับ กายเกิดกายดับ ใจเกิดใจดับ สลับกันอยู่ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืนร่างกาย คือ รูป ร่างกายนี้ก็เหมือนกันแหละเมื่อมันทำหน้าที่เรียกว่า เรามีกาย หรือกายเกิด พอกายไม่ทำหน้าที่เรียกว่ากายดับ หรือเราไม่มีกาย จิตไม่รู้สึกว่ามีกาย
ฉะนั้นเป็นอันรู้ได้ด้วยความรู้สึกนะ ไม่ใช่โดยคำนวณนะไม่ใช่ให้รู้โดยคำนวณ ให้รู้ว่าเดี๋ยวเรามีตาที่เห็นรูปเดี๋ยวก็ไม่มีตาที่เห็นรูป เรียกว่าตาดับ ไม่มีตา. หูก็เหมือนกัน ให้รู้โดยประจักษ์อย่างนี้ ไม่ต้องคำนวณนะ อย่าใช้การคำนวณกับเรื่องนี้ฉะนั้นเธอต้องสนใจ ต้องมีสติ ต้องคอยกำหนดจดจำ
ให้ดี จนเห็นว่าเดี๋ยวมีตาเดี๋ยวไม่มีตา เดี๋ยวมีหูเดี๋ยวไม่มีหูอย่างนี้เรื่อยไป จนกระทั่งว่า เดี๋ยวเรามีรูป เดี๋ยวก็รูปดับเดี๋ยวก็มีเวทนา แล้วก็เวทนาดับเดี๋ยวก็มีสัญญา แล้วก็สัญญาดับเดี๋ยวก็มีสังขาร แล้วสังขารดับ เดี๋ยวมีวิญญาณแล้ววิญญาณดับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นมันก็สำคัญเหมือนกัน
แหละ แต่มันสำคัญตรงที่มันให้เกิดรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ. ฉะนั้น ความสำคัญมันจึงมาอยู่ที่ รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณยกตัวอย่างอีกสักเรื่องก็ได้ เราเดินไปเหยียบไฟ ก้นบุหรี่อะไรก็ได้ เหยียบไฟ ร้อนสะดุ้งโหยง มันเกิดอะไรบ้างทดสอบนักเรียนที่มัวแต่คุยกันอยู่นั่นแหละดูบ้าง ว่าเมื่อ
เหยียบไฟบุหรี่ แล้วสะดุ้งโหยง นี่มันเกิดอะไรบ้าง ลองคิดดูก็ตอบให้ถูกซิ เมื่อเท้ามันเหยียบลงไปบนบุหรี่ บุหรี่ที่มีไฟร่างกายนี้ เท้านี้ไปเหยียบเอาไฟเข้าเท้ามันก็คือร่างกาย หรือคือผิวกาย แล้วมันมีความรู้สึกได้ที่ผิวกาย เพราะมันมีประสาทอยู่ที่ผิวกาย นี้พอไปเหยียบลงบนไฟบุหรี่แล้วมันก็ร้อน มันก็เกิดวิญญาณทางกาย รู้แจ้งการเหยียบไฟว่าร้อน รู้ว่าร้อนนี้มันเป็นวิญญาณทีนี้พอรู้ว่าเจ็บนี้ หลังจากร้อนมันรู้สึกเจ็บ นี้มันเป็นเวทนา โดยไม่ต้องก้มดูก็ยังรู้ได้ว่าไฟ นี่มันเป็นสัญญา มันจำได้ว่าไฟ หรือมันอาจจะรู้ได้เลยว่า ก้นบุหรี่ นี้มันเป็นสัญญา มีสัญญาว่าไฟหรือก้นบุหรี่ รู้สึกได้ด้วยความจำหรือความรู้สึกประเภทที่จำได้มั่นหมายได้ ว่าเราเหยียบก้นบุหรี่นี่มันมีสัญญา เวทนามันเจ็บแล้ว, แล้วก็มีสัญญาว่าเหยียบบุหรี่ แล้วก็เกิดความคิดต่อไป เป็นสังขาร นึกด่าคนที่มันทิ้งก้นบุหรี่เอาไว้ที่ตรงนี้ก็ได้ นี่ความคิดอันนี้มันก็เกิด แล้วแต่มันจะเกิดอะไรความคิดอันนี้มันเป็นสังขาร...........................




.....................................จบการเกิดแห่งอุปทานขันธ์ 0.1..................................


สลึมสลือ สลึมสลือ สลึมสลือ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 พฤษภาคม 2553 12:53:19 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 14:28:20 »




 รัก    ยิ้ม    รัก

http://s242.photobucket.com/albums/ff298/akapong999/glitter2/glitterThai/T150909_05C.gif
การเกิดแห่งอุปทานขันธ์ 0.1
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.268 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 11 กันยายน 2566 09:25:06