[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 16:06:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “หม่อมเจ้าพรรณราย”พระมเหสีผู้ทรง“ออกรับแขกเมือง” สมัยรัชกาลที่ 4  (อ่าน 1961 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2562 10:39:42 »

.



พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (9 พฤษภาคม พ.ศ.2381 — 22 มิถุนายน พ.ศ.2457)
พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

“หม่อมเจ้าพรรณราย”พระมเหสีผู้ทรง“ออกรับแขกเมือง” สมัยรัชกาลที่ 4

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (พ.ศ.2381- 2457) มีพระนามเดิม หม่อมเจ้าพรรณราย (แฉ่ ศิริวงศ์) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ประสูติแต่หม่อมกิ่ม ทรงเป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ 4 ซึ่งในปี พ.ศ.2405 มีขุนนางอังกฤษระดับผู้บัญชาการเรือรบเดินทางมาเมืองไทย ซึ่งนอกจากจะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แล้ว ยังประสงค์จะเข้าเฝ้า “เจ้าข้างใน” แต่ขณะนั้นไม่ได้มีการสถาปนา “สมเด็จพระนาง” รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าพรรณราย “ออกรับแขกเมือง”

ซึ่งเรื่องนี้ ลาวัณย์ โชตามระ เขียนอธิบายไว้ “พระมเหสีเทวี” (สนพ.โอเดียนสโตร์ พ.ศ.2532) ซึ่งขอคัดบางบางส่วนดังนี้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงได้รับการกล่าวขวัญถึงว่ามีพระมเหสีและพระสนมนางมากที่สุดพระองค์หนึ่ง ยิ่งฝรั่งนําไปเขียนเป็นนิยาย บรรยายว่าทรงมี “ข้างใน” เป็นจํานวนนับพัน ก็ยิ่งเชื่อกันใหญ่ว่าถ้าไม่จริงแล้วที่ไหนฝรั่งจะเขียนขึ้นเล่า

อย่างไรก็ตาม ได้มีฝรั่งคนหนึ่งเขียนแก้ไว้และมีเหตุผล คือ ดร.เอ.บี.กริสโวลด์ นักโบราณคดีอเมริกัน ได้เขียนเรื่อง King Mongkut of Siam ลงในวารสารแห่งสยามสมาคมเล่ม 44 ภาค 1 เป็นภาษาอังกฤษ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงแปลเป็นไทยไว้ มีข้อความตอนหนึ่งว่า

“การมีสนมเป็นจํานวนมากเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าเป็นการสนุกสนานส่วนพระองค์ของพระราชาเท่านั้น แต่คล้ายกับพระอินทร์เทพเจ้าผู้มีนางอัปสรเป็นจํานวนพันๆ บํารุงบําเรออยู่บนสวรรค์ ประเพณีก็สนับสนุนด้วยว่าพระราชาต้องมีสนมหลายคน นอกจากนี้การมีสนมหลายคนก็เป็นเครื่องสนับสนุนทางด้านการเมืองด้วย พระราชาอาจผูกพันความซื่อสัตย์ของเจ้าประเทศราชและขุนนางผู้มีอํานาจได้โดยทรงรับธิดาของท่านเหล่านั้นเป็นเป็นเจ้าจอม…”

หลังจากที่ทรงได้รับราชสมบัติในปี พ.ศ.2394 แล้ว ได้มีการยกพระราชวงศ์ฝ่ายในและบุตรีข้าราชการผู้ใหญ่ขึ้นถวาย บางองค์บางท่านก็มีพระราชโอรสธิดาด้วย แต่บางท่านก็ไม่มี

“ข้างใน” ที่ได้รับการสถาปนาเป็นพระมเหสีพระองค์แรก คือสมเด็จพระนางเธอโสมนัสวัฒนาวดี พระธิดาพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 3 พระองค์เจ้าลักขณานคุณสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระโอรสธิดายังทรงพระเยาว์มาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ 3 โปรดฯ ให้รับมาเลี้ยงไว้ในพระบรมมหาราชวัง และทรงตั้ง “หม่อมเจ้าหญิงโสมนัส” ให้เป็น “พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า” เมื่อถึงรัชกาลที่ 4 ก็ได้ทรงเป็นพระมเหสี

สมเด็จพระนางโสมนัสนั้น แม้จะทรงกําพร้าพระบิดา แต่ก็ทรงเรืองวาสนายิ่งกว่าหม่อมเจ้าหลานเธอองค์ใด เพราะเป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่งของสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช นอกจากทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าดังกล่าวไว้ข้างต้นแล้ว เวลาโสกันต์ก็มีงานเกือบเท่าเจ้าฟ้า และเมื่อทรง “มีครอบครัว” ก็ทรงอยู่ในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสี ยิ่งยศกว่าพระมเหสีอื่นๆ ซึ่งเป็นหม่อมเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 3 ด้วยกัน และยิ่งกําลังทรงพระครรภ์อยู่ด้วย ก็ยิ่งเป็นที่โปรดปรานของพระราชสวามี เพราะพระราชโอรสหรือธิดาที่อยู่ในพระครรภ์นั้นจะต้องทรงเป็นเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ประสูติในเศวตฉัตรอย่างแน่นอน

แต่การณ์ก็มิได้เป็นไปตามที่ทุกพระองค์ทรงคาดหวังและรอคอย พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ข้า บุนนาค) บรรยายเหตุการณ์ ไว้ว่า

“ในเดือน 10 นั้น พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรพระองค์เจ้าลักขณา พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชุบเลี้ยงขึ้น ตั้งให้เป็นสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี ทรงพระประชวรเป็นพระยอดภายในที่ศูนย์พระนาภี แพทย์หมอไม่รู้ถึงพระโรค เข้าใจว่าเป็นโรคครรภรักษา ก็รักษาไป ครั้นพระครรภ์ได้ 7 เดือน ณ เดือน 11 ขึ้น 7 ค่ำ (วันจันทร์ที่ 20 กันยายน) ก็ประสูติพระราชกุมารออกมาอยู่ได้ 1 วัน ก็ดับสูญ ฝ่ายสมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีนั้น พระยอดเป็นพระบุพโพแก่ ก็แตกออกมาที่ศูนย์พระนาภีบ้างตกข้างในบ้าง ครั้น ณ วันอาทิตย์เดือน 11 แรม 12 ค่ำ (วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม) [พ.ศ.2395] ก็สิ้นพระชนม์”

พระราชโอรสที่ประสูตินั้น ยังไม่มีพระนาม แต่เรียกกันว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายโสมนัส ตามพระนามของพระชนนี

เพียงหนึ่งปีบริบูรณ์ หลังจากที่สมเด็จเจ้าฟ้าชายโสมนัส สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงได้พระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่ง เมื่อวันอังคาร แรม 2 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 ประสูติแต่ หม่อมเจ้ารําเพย

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ บรรยายว่า

“พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณายิ่งนัก โปรดฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสนาบดี สมโภช พระบรมวงศานุวงศ์เสนาบดีจึงเข้าชื่อกันกราบทูลว่า ทุกวันนี้เจ้าฟ้าก็ไม่มีเหมือนแต่ก่อน ขอให้ยกขึ้นเป็นเจ้าฟ้าจะได้สมเยี่ยงอย่างแต่โบราณมา…”

ก่อนที่จะทรงยกพระราชโอรสขึ้นเป็นเจ้าฟ้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงยกหม่อมเจ้ารําเพย ขึ้นเป็นพระองค์เจ้ารําเพยภมราภิรมย์ ทั้งนี้ตามธรรมเนียมราชตระกูลในเมืองไทยที่ว่า “เมื่อเป็นหม่อมเจ้าอยู่ดังนั้นก็ไม่สมควรที่จะเป็นพระมารดาเจ้าฟ้า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินจะโปรดให้เป็นเจ้าฟ้า จึงต้องยกขึ้นให้เป็นพระองค์เจ้า”

พระราชโอรสที่ประสูติในวันที่ 20 กันยายน 2396 ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระองค์เจ้ารําเพยภมราภิรมย์ยังทรงมีพระราชโอรสธิดาต่อมาอีก 3 พระองค์ คือสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล สมเด็จเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี และสมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระองค์น้อยประสูติเมื่อปีมะแม พ.ศ.2402

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องพระองค์เจ้ารําเพยเป็นพระอัครมเหสีมีตราประจําพระองค์ในตําแหน่งพระราชเทวีเป็นรูปมงกุฎกษัตรีบนพานแว่นฟ้า สองข้างเป็นลายกนก ทรง “อินเวนท์” ให้แต่งพระองค์ทรงพระภูษาเยียรบับ ทรงสพักผ้าตาดตะแบงมานสองพระอังสาคล้ายผ้าห่มนาง และทรงกระบังกรอบพระพักตร์ตามแบบ “ควีน” ของฝรั่ง นอกจากนั้นยังทรงฉายพระบรมรูปคู่กับพระนางเธอรําเพยภมราภิรมย์ เพียงพระองค์เดียว เป็นการยกย่องว่าพระนางเธอทรงเป็นเอก เพราะแม้จะทรงมีพระมเหสีอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้ทรงฉายพระรูปคู่ด้วยเลย และก็กลายเป็นพระราชนิยมกลายๆ ว่าเมื่อใดที่องค์พระมหากษัตริย์ทรงฉายพระบรมรูปคู่กับพระมเหสีพระองค์ใด เมื่อนั้นก็แปลว่าพระมเหสีพระองค์นั้นทรงเป็นเอก

พระนางเธอรําเพยภมราภิรมย์ เริ่มทรงพระประชวรกระเสาะกระแสะตั้งแต่ประสูติพระราชบุตรองค์เล็กในปี พ.ศ.2402พระอาการมีแต่ทรงกับทรุด และในที่สุดก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2404

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาเมื่อวันพุธ แรม 13 ค่ำ เดือน 10 (วันที่ 2 ตุลาคม) ถึงคณะทูตไทยที่ไปเจริญทางพระราชไมตรียังประเทศฝรั่งเศส ทรงเล่าเรื่องที่พระนางเธอรําเพยฯ สิ้นพระชนม์ และทรงแนะนำคระทูตในการปฏิบัติตลอดจนการแต่งกายอันเหมาะสมว่า

“แม่เพอยนี้ ถึงในกรุงเทพฯ ท่านทั้งปวงรู้ว่าเป็นแต่เจ้าเล็กนายน้อยก็ดี ในเมืองที่มาทําสัญญาไมตรี และลูกค้าพาณิชต่างประเทศเป็นอันมาก เขานับถือว่าเป็นคนใหญ่คนโตตั้งแต่วันสิ้นชีวิตลงแล้ว กงสุลต่างประเทศบรรดาที่มีธง เขาก็ลดธงครึ่งเสาให้สามวัน เรือกําปั้นที่ทอดอยู่ในแม่น้ําทุกลํา กงสุลเขาก็ป่าวร้องให้ลดธงและไขว้เชือกสําแดงความให้รู้ว่าเศร้าโศกสามวัน”

พระบรมศพสมเด็จพระนางเธอรําเพยภมราภิรมย์ ได้ รับพระราชทานเพลิงที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2405

ในระหว่างที่สมเด็จพระนางเธอ รําเพยภมราภิรมย์ ยังทรงดํารงพระชนม์อยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมีพระมเหสีอื่นๆ ที่ทรงมีพระราชโอรสธิดากับพระองค์ แต่ก็ไม่ได้ทรงโปรดฯ ให้พระราชโอรสธิดาเป็นเจ้าฟ้าแต่ประการใด “ข้างใน” บางท่านก็มีที่เป็นพระธิดาเจ้าประเทศราช ก็ได้ทรงมีพระราชปรารภว่า จะให้พระราชโอรสธิดาเป็นเจ้าฟ้า บางท่านถึงกับได้รับเฉลิมพระยศเป็นพระองค์เจ้าไว้ล่วงหน้าเช่น นักเยี่ยม ธิดาสมเด็จพระเจ้านโรดม พระเจ้ากรุงกัมโพชาก็โปรดให้เป็น พระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง และเป็นขุนนางมียศมีศักดิ์มีตําแหน่งเป็นผู้บังคับการเรือรบ

ในพระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงมีถึงกรมหมื่นบวรวิชัยชาญทรงเล่าถึงเรื่องราวตอนที่โปรดฯ ให้พระมเหสีองค์หนึ่งออกรับแขกเมือง เมื่อต้นเดือนมกราคม 2405 นั้นว่า

“ครั้นวันศุกร์แรม 6 ค่ำเดือนอ้าย เลอร์ด ยอนเฮ กับขุนนาง เรือรบ 8 นาย กับกงสุลอังกฤษพากันลงเรือไปเที่ยวรอบพระนคร แล้วไปหากรมหลวงวงษาธิราชสนิทแห่งหนึ่ง เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์แห่งหนึ่ง เจ้าพระยารวิวงษ์มหาโกษาธิบดี แห่งหนึ่ง ก็ไม่ได้ไปพูดจาว่าขานการสิ่งไร เป็นแต่เชิญพวกนั้นนัดให้ไปกินโต๊ะที่บ้านกงสุลแล้วก็กลับไป ครั้นวันเสาร์แรม 7 ค่ำ เดือนอ้าย เลอร์ด ยอนเฮ กัปตันอาเล็กแษนเดอร์กับขุนนางมียศเป็นเซอร์ แลหมอรวมกัน 9 นาย เข้ามาหา ฯข้าฯ  ในท่ามกลางเจ้านายขุนนาง

ฯข้าฯ ได้ปราไสว่าท่านมานี้ด้วยประสงค์ธุระสิ่งไร ก็ว่าไม่มีธุระอันใด เป็นแต่ได้ฟังกิตติศัพท์ว่า พระเจ้าแผ่นดินฝ่ายไทยโปรดอังกฤษมาก จนหัดเรียนเขียนอ่านภาษาอังกฤษได้ เลอร์ด ยอนเฮ อยากเห็นอยากชมก็เข้ามา แลว่าเวรที่จะต้องอยู่ในทะเลยังเหลืออยู่อีก 5 เดือน แล้วจะไปลอนดอน จะได้กราบทูลแก่ควีนวิกตอเรียว่า ได้เข้ามาเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินไทย และจะใคร่เฝ้าเจ้าข้างใน แต่หาได้มาทันในเวลาโน้นไม่ ทราบว่าเจ้าข้างในสิ้นพระชนม์เสียแล้ว

เดี๋ยวนี้ตั้งเจ้าข้างในใหม่ขึ้นฤายัง ถ้าตั้งขึ้นแล้ว จะขอเฝ้าให้เป็นเกียรติยศ ได้ตอบว่า เจ้าข้างในใหม่ยังไม่มี กงสุลอังกฤษว่าแซกเข้ามาว่า น้องสาวของเจ้าข้างในเก่าที่ล่วงแล้วนั้นมีอยู่ให้มารับคํานับแทนก็ได้ เลอร์ด ยอนเฮ ก็ดีใจ รับว่าจะขอเฝ้าเจ้าน้องข้างในแค่ให้รับคํานับแทน จึงได้ไปเรียกหม่อมเจ้าพรรณรายออกมาให้รับคํานับด้วย”

หม่อมเจ้าพรรณราย ทรงร่วมพระบิดากับสมเด็จพระนางเธอรําเพยภมราภิรมย์ โดยที่เมื่อยังทรงพระเยาว์ “ทรงแสง” ยิ่ง กว่าเจ้าพี่เจ้าน้ององค์ใด จึงทรงมีพระนามสมยา (nick name) ว่า แฉ่ แม้เมื่อทรงเป็นพระมเหสีเทวีแล้ว ในบางครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ตรัสเรียกว่าหญิงแฉ่ ในใบพระราชทานพระนามพระราชโอรส ทรงระบุว่า “หญิงแฉ่พรรณราย” และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งตรัสเรียกและทรงระบุถึงว่า “น้าแฉ่” เท่านั้น

หม่อมเจ้าพรรณราย ทรงมีพระราชธิดาเป็นพระองค์ใหญ่ จึงมิได้ทรงรับเฉลิมพระยศแต่ประการใด เมื่อทรง “ออกรับแขกเมือง” นั้น กําลังทรงครรภ์อยู่อ่อนๆ จากนั้นอีก 5 เดือนเศษ ก็ประสูติพระราชโอรส ในวันที่ 28 เมษายน 2460 ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานพระนามว่า “จิตรเจริญ” ทรงเป็นที่รู้จักของคนไทยและคนต่างชาติในฐานะยอดศิลปินของเมืองไทย และได้ทรงกรมมีพระนามกรมว่า “นริศรานุวัดติวงศ์



silpa-mag.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พฤศจิกายน 2562 10:50:32 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ประวัติศาสตร์ของ “กลิ่นเหม็น” ในเมืองกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 5-7
สุขใจ ห้องสมุด
ใบบุญ 0 357 กระทู้ล่าสุด 16 กรกฎาคม 2565 20:07:23
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.975 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 8 ชั่วโมงที่แล้ว