[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:44:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หิน ๓ ก้อนของวัดบวรฯ การเป็นพระภิกษุในวัดบวรนิเวศวิหารนั้น มิใช่เป็นเรื่องง่าย  (อ่าน 4334 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2563 14:57:54 »



หิน ๓ ก้อนของวัดบวรฯ

ในช่วงพรรษกาล ขอนำบทความเรื่อง "หินสามก้อน" กลับมาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อแสดงให้เห็นว่ากฎเกณฑ์สำคัญในการเป็นพระภิกษุในสำนักวัดบวรนิเวศวิหารนั้น มิใช่เป็นเรื่องง่ายเลย ดังที่ท่านเจ้าคุณราชบัณฑิต (แจ่ม ธมฺมสาโร) เปรียบไว้ว่าดั่งหินสามก้อน

พระราชบัณฑิต (แจ่ม ธมฺมสาโร) เล่าไว้ในหนังสือ "หลงวัดบวรฯ ๕๐ ปี" ความตอนหนึ่งว่า

ก็เป็นอันแน่นอนว่า จำต้องทำอะไร ซึ่งกลับมาที่คณะขาบ และตรวจดูว่าในปีแรกนี้ นอกจากท่องปาฏิโมกข์จะต้องทำอะไรอีก ก็พบหลักสูตรสวดมนต์พิมพ์อยู่ในกระดาษที่ออกดูยาวเกือบศอกมีประมาณ ๑๐๘ สูตร (น่าเป็นลม ภายหลังปรากฏว่าผู้ไม่สู้ก็มีเหมือนกัน) วันต่อๆ มาดูว่าปีแรกนี้ควรจะมีอะไรอีก ก็ปรากฏว่าท่านมหาหลายองค์เตรียมสอบนักธรรมชั้นเอก ซึ่งพูดกันว่าสอบได้ยากสมัยนั้น ท่านเหล่านั้นชวนไปซ้อมก็ตกลงร่วมอีกอย่างหนึ่ง คราวนี้จึงหนักเหมือนแบกหินวัดบวรฯ ไว้ ๓ ก้อน โดยแบกก้อนหนึ่งไว้ที่บ่าซ้าย ก้อนหนึ่งไว้ที่บ่าขวา ก้อนหนึ่งทูนไว้ที่หัว

ก็เป็นอันว่าจากปฐมนิเทศ- แบบถลุงแร่ ๓ อย่าง ท่องปาฏิโมกข์ ซ้อมสวดมนต์ และซ้อมนักธรรมเอก ปีแรกของการอยู่วัดบวรฯ พ.ศ.๒๔๗๔ ไม่ได้เรียนบาลีแน่นอน แต่พวกเรามีบทปลอบใจ "ช้าๆ ได้พร้า ๒ เล่มงาม" ก็เป็นอันว่าแม้ช้าก็มีทางได้ของดีเหมือนกัน

ท่องปาฏิโมกข์ ซ้อมสวดมนต์ และซ้อมนักธรรมเอก ๓ อย่างนี้ ที่ว่าหนักเหมือนแบกหินวัดบวรฯ ไว้ ๓ ก้อน ก็เป็นความเข้าใจ คือ

๑. ไม่ได้ปาฏิโมกข์ไม่รับเป็นพระวัดนี้ ก็เป็นอันว่าอยู่วัดบวรฯ แต่ไม่เป็นพระวัดบวรฯ ก็เหมือนกาฝากอยู่บนต้นมะม่วง แต่ไม่ใช่เป็นต้นมะม่วง และอาจเหมือนมดแดงเฝ้ามะม่วงแต่ไม่ได้รู้รสมะม่วง จึงจำจะต้องรีบท่องให้จบ ความรู้สึกหนักอยู่ที่จำจะต้องรีบนี่เอง ไม่เช่นนั้นก็ไม่ใช่เรื่องหนักหนาอะไร การท่องได้เป็นไปอย่างตั้งใจจะไม่อยู่วัดบวรฯ แบบกาฝาก หรือแบบมดแดงเฝ้ามะม่วง จึงไปซ้อม ๒ เที่ยวก็จบ คือเที่ยวละครึ่ง คือเที่ยวแรกจบนิสสัคคิยปาจิตตีย์ อีกเที่ยวหนึ่งขึ้นปาจิตตีย์-สิกฺขิตฺตพฺพํ ก็เอวัง จึงได้เป็นพระวัดบวรฯ ในพรรษานั้นเอง หินก้อนที่ ๑ หลุดไป

๒. เรื่องซ้อมสวดมนต์นี้หนัก เพราะมีมากสูตรนี้อย่างหนึ่ง และมีกรรมการชื่อพระมหาผ่อน แต่ไม่มีอะไรผ่อนสมชื่อเลย กรรมการร่วม ๒ องค์ คือ พระครูปริตรฯ พระครูวินัยธร ซึ่ง ๒ พระครูนี้ท่านคงถ่อมตัวว่าไม่ได้เป็น "ท่านมหา" เมื่อฟังซ้อมท่านจึงถามว่า "ท่านมหาว่าไง ได้ไหม" ซึ่งท่านมหาก็ตอบเสียงเครียดบ่อย ๆ ว่า "จะไปได้เด้ยอะไร สวดไม่เข้าท่า" ซึ่งผู้ถูกซ้อมก็น่าเบ้ไปตาม ๆ กัน   แม้ นโม ตสฺสฯ ท่านมหาผ่อนก็เคยกักไว้ถึง ๓ คืนจึงจะให้ ทั้งๆ ที่ผู้รับซ้อมนั้นเป็นเปรียญ ๕ ประโยคก็มี เป็นเปรียญ ๓ ประโยคก็มี จึงเกิดจะมีคอรัปชั่นคือหาปิ่นโตเถาใหญ่ๆ นิมนต์ท่านมหาผ่อนมาฉันตอนเพลบ่อยๆ เพื่อให้มีการผ่อนให้สมชื่อสักหน่อยก็ยังดี แต่ไม่ได้ผล เพราะท่านรู้จักเฉพาะตอนในกาล ตอนวิกาลแล้วไม่รู้จัก พระมหาสุดใจผู้ดำเนินการก็อ่อนใจ มิได้มุ่งหมายอะไรมากเพียงเพื่อให้ผ่อนลงบ้างเท่านั้นเอง ท่านมหาผ่อนนี้น่าจะมีวิญญาณเป็น ปปป. ยอดเยี่ยม   ในที่สุดเรื่องหนักคือซ้อมสวดมนต์ก็เอวัง พร้อมกับพระบวชที่วัดบวรฯ องค์หนึ่ง (กติกาพระบวชที่วัดบวรฯ เขาจะซ้อมพรรษาที่ ๒ ไม่เหมือนมาจากที่อื่นเขาจะซ้อมปีแรก) หินก้อนที่ ๒ หลุดไป

๓. เรื่องสอบนักธรรมเอก แม้จะหนักในความรู้สึกว่ายากในสมัยนั้น แต่ไม่มีเกณฑ์อะไร เห็นผู้สอบตกจนคางเหลืองก็ไม่มีกฏของวัดว่าอย่างไร แต่พอดีสอบได้ในปลายปี ๒๔๗๔ นั้นเอง โดยสำนักเรียนวัดบวรฯ ส่งเข้าสอบ ๓ โหล (๓๖) องค์ ได้ ๓ อย่าไปถามว่าใครได้คะแนนสูงสุด หรือที่ ๑ ในจำนวนนั้น เอาแต่เพียงว่า เอวังไปอีกอย่างหนึ่ง หินก้อนที่ ๓ หลุดไปอีก

ถ้าเราเพียงแค่นี้ก็ดูจะเป็นการกลิ้งหินที่หนักให้หลุดจากตัวไปได้ง่าย ความจริงความสามารถเท่าที่มีจำต้องใช้เกือบเต็มอัตรา คือ เมื่อทำวัตรเช้า กลับ ๐๘.๓๐ น.เศษ เข้าห้องปิดประตูกางหนังสือปาฏิโมกข์บนเตียงนั่งกับพื้น ก้มหน้า ลืมตาท่อง โดยอธิษฐานว่า ไม่ได้ยิน "เภรีบริโภค" จะไม่ลุกจากเตียงไปฉันเพล ส่วนตอนบ่ายท่องสวดมนต์เพื่อไปซ้อมในตอนเย็น ซึ่งไม่ค่อยได้เคร่งจริงจังนัก โดยทราบว่ากรรมการท่านหนึ่งชื่อว่า "มหาผ่อน" คงจะผ่อนให้สมชื่อ แต่ที่ไหนได้ ท่านกลับเป็นท่านมหา "ไม่ผ่อน" เท่าขี้เล็บ ซ้อมกันเป็นหมู่ (ประมาณ ๑๕ องค์) ใครทำท่าตีกินโดยทำปากขมุบขมิบ ท่านมหา "ไม่ผ่อน" จะสั่งให้ออกจากแถวไปนั่งหินอ่อน (พื้นพระอุโบสถเป็นหินอ่อน-เย็น-ตรงที่ไม่ปูพรม) เป็นการลงโทษ และใครถูกเช่นนี้บ่อยๆ ก็เป็นเหตุให้ได้ยากต่อไป เพราะถูกท่านมหาผ่อนมองหน้ามองปากมากขึ้น ซึ่งบางท่านก็น่าขบขัน บางทีก็น่าขันแตก แต่ไม่มีอะไรดีไปกว่าขันติ -
เมื่อเจอกรรมการซ้อมสวดมนต์ ไม่ผ่อนสมชื่อ และมีกรรมการอีก ๒ องค์ "สมยอม" เรื่อยๆ จึงจำต้องกางหนังสือสวดมนต์บนเตียงนั่งกับพื้น ท่องชนิดหูดับตับแทบพังอีกระยะหนึ่ง จนจบไปตามแบบพระมหาชนกว่า "เราเป็นลูกผู้ชายต้องพยายามร่ำไป จนกว่าประโยชน์จะสำเร็จ" โดยไม่มีเทพธิดาชาวทะเลช่วยเหมือนพระมหาชนก หรือไม่มีเทพธิดาชาวเขาช่วยเหมือนพระสุวรรณสาม หรือแม้พระบรมศาสดาก็มีเทพธิดาชาวดินชื่อ "สุนทรีวนิดา" ขึ้นมาปิดน้ำในมวยผมช่วย หรือมีใครช่วยอยู่ก็ไม่รู้ หรือโดยอนาถาโดยแท้ ในที่สุดก็จบซ้อมสวดมนต์ ดูจะจบเร็ว เพราะท่านมหา "ไม่ผ่อน" นั้นแหละ -  แต่ต้องนั่งสมาธิแบบนั้นนานๆ อะไรเกิดขึ้น "เหน็บชา-ขาเป๋" เคยลงบันไดด่วน ๗ ขั้นเป็นขั้นเดียวไปครั้งหนึ่ง แต่ก็คุ้มกลิ้งหินหนักๆ ทิ้งไปได้

คิดทบทวนในการขึ้นเฝ้าสมเด็จเจ้าอาวาส และได้ฟังรับสั่งเด็ดขาดต่างๆ และดังๆ ฟังชัดนั้น ก่อให้เกิดความคิดมากมายออกไปอย่างไพศาล ยิ่งคิดก็ยิ่งหลง พระแบบนี้ไม่เคยพบเห็นมาแต่ก่อน จึงได้ตั้งความสังเกตต่อมาโดยลำดับ "ความตรงไป-ตรงมา" ที่ได้ขึ้นเฝ้าเพียงชั่วคราวนั้น. ซึ่งถือว่าเป็นปฐมนิเทศ คือชี้แจงเบื้องต้น และถลุง คือเหมือนหลอมแร่แล้วคัดเอาแต่เนื้อ ย่อมได้ความเข้าใจและขจัดขี้ไคลออกไป เพื่อจะได้ทรงรับเป็นพระวัดบวรฯ


ขอขอบคุณที่มา (เรื่อง/ภาพ) : f.เรื่องเล่า วัดบวรฯ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.288 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 08 กุมภาพันธ์ 2567 10:15:35