[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:09:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: แกงเทโพ อาหารคุ้นเคยที่ทำจากปลาเทโพ ความอร่อยที่ ร.2 พระราชนิพนธ์ถึง  (อ่าน 455 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2564 11:24:31 »


ปลาเทโพ เขียนโดยหลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระนันท์) เผยแพร่

แกงเทโพ อาหารคุ้นเคยที่ทำจากปลาเทโพ
ความอร่อยที่ ร.2 พระราชนิพนธ์ถึง

เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม
วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2564



เทโพ เป็นชื่ออาหารคือ แกงเทโพ และชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง คือ ปลาเทโพ ซึ่งสัมพันธ์กันเนื่องจาก ปลาเทโพที่ท้องปลามีมันมาก นำมาปรุงเป็นแกงเทโพแล้วจะทำให้อร่อยกว่าใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์ชนิดอื่น

เมื่อ พ.ศ.2466 สองนักวิชาการประมงคนสำคัญ คือ ดร. ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ (Hugh McCormick Smith) เป็นนักวิชาการประมงชาวอเมริกันที่เคยรับราชการในไทย และเป็นอธิบดีกรมประมงคนแรก กับหลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระนันท์) มีความรู้และความสามารถในการวาดภาพปลาที่ดีเยี่ยม ผลงานจึงมีคุณค่าทั้งทางวิชาการและศิลปะ ได้ออกสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปลาในประเทศไทย

การสำรวจดังกล่าวมี ดร.สมิธ เป็นหัวคณะ หลวงมัศยจิตรการเป็นผู้ช่วย และเป็นผู้วาดภาพเก็บรายละเอียดสีสันของปลาในขณะที่ยังสดหรือมีชีวิตอยู่ แทนการบันทึกภาพด้วยกล้องที่เวลานั้นยังไม่มีใช้ รวบรวมข้อมูลปลา 107 ชนิด หนึ่งในจำนวนนั้นคือ ปลาเทโพ ที่บันทึกไว้ดังนี้

“ปลาเทโพ Pangasius larnaudii (Bocourt) 

ปลาเทโพเป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ ดูเหมือนจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และมีชุกชุมในลำน้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำติดต่อของภาคกลางที่กรุงเทพฯ, นนทบุรี, อยุธยา ลพบุรี และแม่น้ำแม่กลอง ที่บ้านโป่ง

รูปร่างของปลาเทโพคล้ายกับปลาสวาย ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่ปลาเทโพจะมีจุดดำเหนือครีบอก มีหลังเป็นสีน้ำเงินปนเทา หัวเขียวอ่อน ช่วงท้องเป็นสีเงิน

เพราะเนื้ออร่อย มีผู้ชอบรับประทานกันมาก จนได้ชื่อว่า แกงเทโพ ปลานี้สามารถอยู่ในเนื้อที่จำกัดได้ จึงมีผู้นำมาเลี้ยงในบ่อสำหรับขาย แต่ไม่ปรากฎว่ามันวางไข่ในบ่อ ข้อนี้ยีงมีผู้สงสัย

ขนาดใหญ่ที่เลี้ยงไว้ยาวประมาณ 130 เซนติเมตร”

ส่วนแกงเทโพนั้น ใน กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตอนหนึ่งกล่าวถึงแกงเทโพว่า

“เทโพ พื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมัน   น่าซดรสครามครัน ของสวรรค์เสวยรมย์”

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง อธิบายถึงแกงเทโพสรุปความโดยสังเขปว่า เป็นแกงประเภทแกงชักส้ม เครื่องแกงประกอบด้วยพริกแห้ง, ตระไคร้, ข่า, รากผักชี, พริกไทย, หอม, กระเทียม, เกลือ, กะปิ ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำส้มมะขาม, น้ำตาล ส่วนเนื้อสัตว์ที่ใส่มักเป็นปลาเทโพ ผักที่ใส่มักเป็นผักบุ้งไทยเท่านั้นจึงจะเข้ากัน บางครั้งจึงเรียก แกงเทโพ ว่า แกงเทโพยอดผักบุ้ง แต่ปัจจุบันปลาเทโพหายากมากขึ้น จึงมักใช้หมูสามชั้นแทนปลา จึงเรียกว่า แกงหมูเทโพ

แต่ชื่อปลาเทโพกับชื่อแกงเทโพนั้น ใครมีมาก่อนกันไม่มีหลักฐานชัดเจน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
“แกงเทโพ” ใส่หมูสามชั้น เกี่ยวข้องอย่างไรกับ “ปลาเทโพ” ?
สุขใจ ไปรษณีย์
ใบบุญ 0 313 กระทู้ล่าสุด 05 พฤศจิกายน 2565 15:51:34
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.266 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 กุมภาพันธ์ 2567 21:58:54