[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 18:33:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกของอ็องรี มูโอต์ เกี่ยวกับพระสงฆ์ในสังคมของประเทศไทย  (อ่าน 341 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 101.0.4951.41 Chrome 101.0.4951.41


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2565 13:20:44 »



ท่าน้ำของวัดแห่งหนึ่งในอยุธยา ภาพวาดลายเส้นจากรูปถ่ายโดยเธรงค์

บันทึกของอ็องรี มูโอต์ เกี่ยวกับพระสงฆ์ในสังคมของประเทศไทย

ผู้เขียน - เสมียนนารี
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2565


อ็องรี มูโอต์ (ค.ศ.1826-1861) นักโบราณคดี นักสำรวจ นักธรรมชาติชาวฝรั่งเศส ที่ออกเดินทางสำรวจราชอาณาจักรสยาม, กัมพูชา และลาว ถึง 4 ครั้ง ระหว่างตุลาคม ค.ศ.1858-ตุลาคม ค.ศ.1861 ข้อมูลในการเดินทางครั้งนั้นมูโอต์ยังรวบรวมเขียนเป็นหนังสือชื่อ “บันทึกการเดินทางของอ็องรี มูโอต์ ในสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่นๆ” (สนพ. มติชน, 2558) ตอนหนึ่งใน “บันทึกการเดินทางของอ็องรี มูโอต์ฯ” กล่าวถึง พระสงฆ์ ในสังคมไทยไว้ดังนี้ (จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำโดยกองบรรณาธิการ)

ชาวยุโรปเรียกพระสงฆ์ในพุทธศาสนาที่เมืองสยามว่า ตาลาปวง (talapoins) ซึ่งคงแผลงมาจากคำว่า ตาลปัตร (talapat) พัดใบตาลที่พระสงฆ์มักถือติดมือ ส่วนชาวสยามตลอดทั่วสองฟากฝั่งแม่น้ำเรียกสงฆ์ว่า พระ ซึ่งยังคงความหมายเดิมที่ใช้กันตลอดสองฟากฝั่งแม่น้ำไนล์ในอดีต คือหมายถึงผู้ยิ่งใหญ่ ศักดิ์สิทธิ์ และสว่างไสว

หากเอาแนวคิดทางเราไปอธิบายสถานะของพระที่เป็นคณะสงฆ์ในสังคม คงจะให้นิยามได้ยากนัก ด้วยว่านี่ไม่ใช่ชนชั้นทางสังคมเพราะใครๆ ก็บวชเป็นพระได้ แม้แต่พวกทาสที่ได้รับอนุญาตจากเจ้านายแล้ว จนอาจกล่าวได้ว่าพระสงฆ์เป็นชนกลุ่มเดียวที่ยังคงเจริญรอยตามแนวคิดดั้งเดิมของศาสดาผู้ก่อตั้ง

…………..

พวกเขาให้การยอมรับนับถือ [พระสงฆ์] อย่างสูงสุด อีกทั้งมอบสถานภาพอภิสิทธิ์หรูเลิศและชั้นยศสูงสุดให้ แม้เมื่ออยู่กลางถนน ชาวบ้านสามัญพากันหมอบกราบเมื่อเจอพระสงฆ์อยู่ต่อหน้าโดยยกมือขึ้นจรดหน้าผากแสดงความเคารพ แม้เหล่าขุนนางและบรรดาเชื้อพระวงศ์ก็ประนมสองมือไหว้ ส่วนพระมหากษัตริย์แม้จะทำความเคารพเพียงครั้งเดียว แต่ก็โปรดให้นั่งใกล้ๆ กับที่ประทับ ในแต่ละวันพระองค์ถวายทานแก่พระสงฆ์นับร้อยๆ รูปเป็นแบบอย่างให้พระราชินีและพระสนมชั้นเอกในพระราชวังกระทำตามด้วยศรัทธา

ทั้งนี้ แม้ว่าวินัยเข้มงวดพิสดาร 227 ประการของพระสงฆ์ จะมีข้อบัญญัติ อาทิ

“ห้ามมองสตรี”

“ห้ามคิดถึงสตรีทั้งในยามหลับและยามตื่น”

“ห้ามสนทนาวิสาสะกับสตรีสองต่อสอง”

“ห้ามรับของถวายมือต่อมือจากสตรี”

“ห้ามแตะต้องชายผ้าสตรี หรือแม้แต่เด็กหญิงตัวน้อยที่ยังนอนเปล”

“ห้ามนั่งเสื่อผืนเดียวกับสตรี”

“ห้ามขึ้นเรือที่อาจมีสตรีโดยสารด้วย” ฯลฯ

หากข้อเท็จจริงกลับกลายเป็นว่า สตรีเพศอันเป็นกึ่งหนึ่งของเผ่าพันธุ์มนุษย์นี่เองที่เป็นฐานค้ำจุนสนับสนุนสถาบันสงฆ์อย่างแน่นแฟ้นมั่นคงที่สุด

ทุกๆ เช้าในครอบครัวจนๆ ภรรยาหรือบุตรสาวคนที่นั่งคุกเข่านอบน้อมอยู่หน้าประตูบ้านเพื่อรอถวายทาน (ใส่บาตร) แก่พระผู้เดินบิณฑบาตมาจากวัดใกล้บ้าน อาหารที่ดีที่สุดเท่าที่สามารถจัดหามาได้จากรายการอาหารของคนยากจนถูกบรรจงหย่อนอย่างนิ่มนวลลงในบาตรที่เปิดฝาอยู่เสมอ ไม่เพียงเท่านี้ พวกนางยังนำดอกไม้ไปบูชาพระพุทธรูปที่วัดดังกล่าวเดือนละ 3-4 ครั้ง และนำข้าวของไปถวายแทบเท้าพระสงฆ์เป็นประจำพลางนั่งร้องสาธุ! สาธุ สาธุ! (บราโว! บราโว!) ไปด้วยระหว่างพระสงฆ์ผู้มีหน้าที่เทศน์ประจำวันพร่ำบ่นอะไรต่างๆ ที่ฟังไม่รู้เรื่องหรือน่าเบื่อชวนง่วงเป็นที่สุดนานเป็นชั่วโมงๆ

ส่วนในครอบครัวรวยๆ นายหญิงเจ้าบ้านถือว่าการนิมนต์พระมาเทศน์ให้บรรดาญาติมิตรฟังเป็นกิจกรรมเชิดหน้าชูตา เหมือนๆ กับที่พวกนายหญิงทางบ้านเราจัดงานบอลรูมหรืองานคอนเสิร์ตเพื่ออวดรวยหรืออวดยศศักดิ์ ในวาระโอกาสนี้นายหญิงชาวสยามพิถีพิถันเลือกเฟ้นของที่จะถวายพระนักเทศน์และประจงจัดวางไว้ในห้องรับรอง มีตั้งแต่ รองเท้า ผอบราคาแพงใบหนึ่งใส่เหรียญทอง ใบหนึ่งใส่เหรียญเงิน สิริรวมมูลค่ามากกว่าเงินรายรับประจำปีของขุนนาง อีกทั้งจีวรสีเหลืองทำจากผ้าไหมและผ้าฝ้าย แล้วก็หมากพลูหรือยาเส้น ห่อชา ท็อฟฟี่ เทียน ข้าว ผลไม้ และของกินนานาชนิด เอาเป็นว่าของสารพัดสารพัน…
…………..

จึงไม่ต้องประหลาดใจเลยที่ชาวสยามใช้ชีวิตด้วยการเคารพนับถือผ้าเหลืองโดยเชื่อว่าถ้าได้ถวายจีวรให้พระห่มก็จะได้บุญใหญ่ ไม่เฉพาะแต่กับตัวเอง หากบุญนั้นยังส่งผลต่อวิญญาณของบรรพบุรุษด้วย อนึ่ง พวกคนมีฐานะทั้งหลายมักขอให้ลูกชายเข้าพิธีบวชอย่างน้อยก็สักช่วงเวลาหนึ่ง ต่อจากนั้นก็ไม่มีอะไรจะง่ายเท่านี้อีกแล้ว

ชุมชนสงฆ์เปิดกว้างสำหรับบุคคลใดก็ตามที่ปวารณาตัวขอบวชต่อคณะพระอุปัชฌาย์ของแต่ละวัด โดยนุ่งขาวห่มขาว ตามด้วยขบวนแห่ของพ่อแม่ญาติพี่น้อง มิตรสหายและนักดนตรี พร้อมเครื่องปัจจัยไทยทาน ผ้าขาว (นาค) พร้อมเครื่อง สบง จีวร ผ้าคาด ผ้าสังฆาฏิ ผ้าไตรสีเหลือง และบาตรตีด้วยเหล็ก เพียงขานนาคต่อพระอุปัชฌาย์ว่า ตนไม่เคยเป็นโรคเรื้อน ไม่เคยเป็นบ้า ไม่เคยต้องคุณไสย ไม่มีหนี้สิน และได้รับฉันทานุมัติจากพ่อแม่ โดยที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์

เมื่อเอ่ยข้อความดังกล่าวให้ได้ยินกันถ้วนทั่ว คณะสงฆ์จึงให้ผู้ขอบวชรับฟังกฎระเบียบของคณะสงฆ์ และแล้วสมาชิกผู้ทรงเกียรติก็ได้รับการยกสถานะจากฆราวาสผู้ต่ำต้อยเป็นพระสงฆ์โดยสมบูรณ์ด้วยประการฉะนี้ และต้องครองผ้าเหลืองเป็นอย่างน้อย 3 เดือน พอครบกำหนดก็สามารถสึกจากความเป็นพระกลับไปนุ่งห่มอย่างคนธรรมดาและแต่งงานได้ เท่านี้ก็เป็นอันได้ทดแทนคุณผู้ให้กำเนิดเรียบร้อยแล้ว

หลังจำพรรษา 3 เดือนช่วงหน้าฝนผ่านพ้นไป พระสงฆ์น้อยรายเท่านั้นที่ต้องประจำอยู่ที่วัดเดิมแม้แต่ในหมู่พระสงฆ์ที่ครองเพศบรรพชิตตลอดชีวิต หลังจากนั้นเขาอาจจาริกไปทั่วราชอาณาจักรจากเหนือจรดใต้…

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อ็องรี มูโอต์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสบันทึกประสบการณ์กิน “ทุเรียน” เมืองจันท์
สุขใจ ไปรษณีย์
ใบบุญ 0 185 กระทู้ล่าสุด 17 เมษายน 2566 12:48:51
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.252 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 24 กันยายน 2566 17:12:03