[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 20:22:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ชา”ศาสตร์และศิลป์แห่งการดื่ม  (อ่าน 488 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 101.0.4951.64 Chrome 101.0.4951.64


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 25 พฤษภาคม 2565 11:04:35 »



“ชา”ศาสตร์และศิลป์แห่งการดื่ม

ชาถ้วยแรก...ประเดิมด้วยความชุ่มคอ ฉ่ำใจ
ชาถ้วยสอง...ล้างความอ้างว้างให้สูญสลาย
ชาถ้วยสาม...ซึมซาบแผ่ซ่านทั่วกาย
ชาถ้วยสี่...ขับความท้อแท้ ระเหิดหายสลายตามสายเหงื่อ
ชาถ้วยห้า...ปลดปล่อยข้าฯจากมลทินสู่ชีวิตบริสุทธิ์
ชาถ้วยหก...สู่โลกอมตะที่ไร้ขอบเขต
ชาถ้วยเจ็ด...อา สัมผัสแห่งสายลมเย็นพริ้ว
ผ่านชายเสื้อ พัดพาข้าฯ

ลอยล่องสู่ดินแดนแห่งความสุข

(กวีนิพนธ์จีน ๗๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล)

จากกวีนิพนธ์ที่เขียนโดยกวีชาวจีนผู้หนึ่งซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อหลายร้อยปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่ออ่านจบเราจะมีความรู้สึกได้ทันทีเลยว่า “ชา” นั้นมีความสำคัญมานานมากทีเดียว จากความหมายของชาในแต่ละถ้วยจะสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของชาที่มีต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และความรู้สึกของผู้ที่ได้สัมผัสในรสชาติ ความล้ำลึกของชา

ชาวจีนมีสมุนไพรประเภทหนึ่งที่พวกเขาจะนำมาคั้นเอาน้ำอันละมุนละไมออกมาดื่ม น้ำสมุนไพรนี้ จะบำรุง ถนอมสุขภาพ สมุนไพรของชาวจีนนี้คือ “ชา”

ไม่มีใครรู้ถึงจุดกำเนิดเริ่มแรกของการใช้ชา แต่มีนิยายปรัมปราในตำนานเกี่ยวกับชา คือ ในสมัยของจักรพรรดิเสินหนง เมื่อ ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในวันหนึ่งขณะที่พระองค์ประทับอยู่ใต้ต้นไม้เพื่อรอคอยให้น้ำเดือด ในขณะนั้นก็ได้มีใบไม้ ๓-๔ ใบ ร่วงจากต้นหล่นลงไปในกาต้มน้ำ ครู่ต่อมากลิ่นไออันหอมกรุ่นก็โชยขึ้นมาจากน้ำที่กำลังเดือด ด้วยความเย้ายวนของกลิ่นดังกล่าว พระองค์จึงจิบน้ำนั้นและพอพระทัย นั่นคือที่มาของการพบชาในตำนาน แต่ก็มีอีกที่กล่าวว่าประวัติความเป็นมาของชานั้นมีปรากฏควบคู่กันมากับประวัติศาสตร์จีน ย้อนหลังไปถึงในสมัยของจักรพรรดิเซินหลงซื่อ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเทพผู้ให้กำเนิดวิชาเกษตรกรรม การแพทย์ และยารักษาโรค ตำราที่ว่านี้เขียนขึ้นโดย จักรพรรดิเซินหลงซื่อ เมื่อ ๒,๕๓๗ ปีก่อนคริสต์ศักราช และได้ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในราวศตวรรษที่ 2 หรือ 3 ตำราชาของจีนนี้ชื่อว่า “Pen T sao” ได้กล่าวถึงชาเอาไว้ว่า

“พืชที่มีใบขมนี้เรียกว่าชา ปลูกกันในฤดูหนาวในหุบเขาใกล้ๆกับลำธาร และบนภูเขาแห่ง “Ichow” มันจะไม่ตายแม้ในฤดูหนาวที่ทารุณยิ่ง จะเก็บใบของมันในวันที่ ๓ ของเดือนที่ ๓ และเอามาทำให้แห้ง” และยังได้กล่าวถึง สรรพคุณอีกว่าชานั้น “สามารถรักษาเนื้องอกหรือฝีบวมที่เกิดขึ้นที่ศีรษะหรือโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ ชายังช่วยขับเสมหะและอาการอักเสบในทรวงอกได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ชายังช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำทำให้ไม่ง่วง และช่วยให้จิตใจเบิกบานสดชื่น”

ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ได้มีการบันทึกเรื่องราวโบราณเกี่ยวกับชาเอาไว้โดยหลู่อี้ เรียกได้ว่าเป็นคัมภีร์ชาจีนเล่มหนึ่งทีเดียวคือ “ฉงชิง” ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมความรู้รายละเอียดเกี่ยวกับชาถึง ๑๐ ประการ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มชา เครื่องมือในการผลิต อุปกรณ์ ขั้นตอนการผลิต วิธีชงชา วิธีดื่มชา ประวัติและเรื่องราวของชาในยุคอดีต แหล่งกำเนิด การแบ่งคุณภาพออกเป็นเกรด ธรรมเนียมการชงชานอกสถานที่ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ ๒๔ ชนิด ตามประเพณีการชงชาที่ถูกต้อง

หลู่อี้ได้ให้ความเห็นไว้อีกด้วยว่า “ชา” ช่วยกล่อมวิญญาณให้สงบ และสร้างความกลมกลืนแก่จิตใจ ปลุกเร้าความนึกคิด และขับไล่ความง่วงเหงาหาวนอน สร้างความโปร่งเบา และสดใสแก่ร่างกาย และขัดเกลาความสามารถในการรับรู้ให้กระจ่าง

ชามีบทบาทสำคัญๆในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติไม่เฉพาะแต่ในประเทศจีนเท่านั้น มีหลายๆประเทศในโลกต่างก็ให้ความนิยมและชื่นชมในการดื่มชา ตลอดรวมถึงประเพณีการชงชา อย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงในตอนท้ายถึงวิธีกรรมขั้นตอนในการชงชาที่เป็นศิลปะที่งดงาม และกลายเป็นประเพณีสำคัญทางศาสนา และแม้แต่นักพยากรณ์ก็สามารถใช้ชาเป็นสื่อ ในการทำนายทายทักโชคชะตาราศีได้อีกด้วย

ในประเทศจีนนั้นนับว่าชา เป็นปัจจัยที่เจ็ดประจำครอบครัวเลยทีเดียว ส่วนปัจจัยที่ชาวจีนถือว่าสำคัญที่จะขาดไม่ได้ คือ ไม้ฟืน ข้าว น้ำมัน ซีอิ๊ว เกลือ น้ำส้มสายชู ในหมู่ชาวจีน ประโยชน์ของชามีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการดื่มให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่าแล้ว ยังใช้ต้อนรับแขกผู้มาเยือนได้ การแต่งงาน ชาก็เข้าไปมีบทบาทอยู่มิใช่น้อย ชาหนึ่งกา สามารถที่จะยกมาขอขมาได้ ชายังใช้กราบไหว้บรรพบุรุษที่ตายจากไป เป็นการคารวะ เป็นเครื่องสมานมิตรภาพเมื่อเกิดความผิดพ้องหมองใจ เป็นต้น

ก่อนที่เราจะกล่าวถึงขั้นตอนประเพณีการชงชา เรามาทำความรู้จักกับชากันก่อน ต้นชา เป็นญาติห่างๆในตระกูลเดียวกับคาเมลเลีย มีใบสีเขียวมัน รูปร่างคล้ายรูปหอก ดอกสีขาว เกสรสีเหลือง เป็นต้นไม้พื้นเมือง สามารถเติบโตได้สูงถึง ๕๐ ฟุตหรือกว่านั้น มีอายุยืนยาวถึง ๗๐ ปี

ปัจจุบันนี้ ประเทศผู้ผลิตชาที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนประเทศที่นิยมดื่มชาเป็นเครื่องดื่มประจำชาติ ได้แก่ อังกฤษ สหภาพโซเวียต จีน ญี่ปุ่น

ชาจีน จำแนกออกเป็นประเภทสำคัญๆ ๓ ประเภท คือ
ชาเขียว เป็นชาที่ไม่ผ่านการหมัก
ชาดำ เป็นชาที่ผ่านการหมัก
ชาอูหลง เป็นชาที่ผ่านการหมักเป็นบางส่วน

ชาที่จำแนกนี้ เป็นการจำแนกตามวิธีการผลิต ไม่ใช่ประเภทของชา

ในประเทศจีน “ชาดำ” ทำขึ้นโดยการเอาใบชาใส่ถาดไม้ไผ่ ตากแดดให้แห้ง พลิกใบชาเป็นพักๆ ตาก ๒-๓ ชั่วโมง จากนั้นนำมาคั่วในกระทะร้อนแดงๆที่เรียกว่า “กัว” กระทั่งใบชาม้วนเป็นเม็ดกลมๆ ใบชาจะผ่านกรรมวิธีนี้ ๒-๓ หน จนน้ำย่อยในใบชาถูกสันดาปทำให้เป็นสีดำ (คือการหมัก) และเมื่อเห็นได้ที่แล้ว จึงนำมาใส่ตะกร้าผิงไว้เหนือถ่านไฟแดงๆเป็นอันเสร็จ

ส่วน “ชาเขียว” กรรมวิธีในการทำให้แห้งคล้ายกันกับชาดำ แต่ใบชาจะนำมาผิงหม้อถ่านไฟในทันทีที่เก็บจากต้นเพื่อเป็นการทำลายเอนไซม์ที่จะทำให้เกิดการหมัก ดังนั้นใบชาจึงแห้ง มีลักษณะสีเทาอมเขียว

ส่วน “ชาอูหลง” หรือ “มังกรดำ” จะเริ่มต้นด้วยการหมักแต่จะไม่ครบตลอดกรรมวิธีทั้งหมด ใบชาจะแห้งมีสีน้ำตาล แม้ชาอูหลงนี้กล่าวกันว่า นิยมดื่มกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงประมาณ ๗๐๐ ปีมาแล้ว

ชาที่ได้ชื่อว่าดี มีกิตติศัพท์ว่าสุดยอดของชาจีน คือ “ชาหลงจิ่ง” หรือว่าชาจากบ่อมังกร ชาชนิดนี้เป็นชาอ่อนสีเขียวที่ไม่ผ่านกรรมวิธีการหมัก มาจากชนบทอันงดงามของเมืองที่มีชื่อคือ หางโจว ซึ่งในสมัยก่อนชานี้จะสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับจักรพรรดิแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ส่วนในปัจจุบันใช้สำหรับนำมาต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง

ชาที่เป็นยอดนิยม มีลำดับดังนี้
ชาจิ่งหลง ชานี้ก็คล้ายกับเหล้าองุ่นแดงโบจาเลส์ คือจะต้องชงดื่มภายใน ๑ ปี นับจากวันที่เก็บมา เพราะนานวันไปจะทำให้ชาเสื่อมคุณภาพลง เสียรสของชาที่ยอดเยี่ยม ชาจิ่งหลง มีคุณสมบัติ ในการกระตุ้น การลิ้มรส ช่วยในการย่อยและทำให้คอโล่ง

เถี่ยกวนอิน หรือชากวนอิมเหล็ก (ชื่อนี้เรียกตามสีชาเป็นสีเทาอมเขียวแบบเหล็ก) เป็นชารสชาติ (ขลัง) มาจากฮกเกี้ยน

จิ่นโจว เป็นชาที่ปรุงจากการผสมชาเขียวกับชาอูหลง เป็นชาที่มีรสขม ถือกันว่ามีคุณสมบัติ ในการดับกระหายและฟื้นฟูจิตใจอันเหนื่อยล้า

โบตั๋น ทำจากใบชาอ่อนที่ดีที่สุด ผ่านการนวดสีเบาๆด้วยมือ ตากลมจนแห้งโดยไม่ถูกแดดส่องโดยตรง มีสรรพคุณพิเศษต่อการหายใจ และโรคหลอดลมอักเสบ

ชามะลิ ทำจากชาเขียว

ระดับรองๆลงมา ดัดแปลงโดยการเติมดอกไม้แห้งๆลงไป เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ

เราก็ได้รู้จักกับชามาบ้างพอสมควรแล้ว ทีนี้เราจะมาก้าวเข้าสู่ขั้นตอนในการชงชากันบ้าง จะกล่าวถึงการชงชาแบบจีนและควบคู่ด้วยพิธีการชงชาแบบญี่ปุ่นไปด้วยเลย

พิธีกรรมชงชา
ไม่ว่าในยุคอดีตหรือปัจจุบัน พิธีกรรมการชงชานั้นไม่ได้แตกต่างจากกรรมวิธีของหลู่อี้ ซึ่งได้เขียนไว้เมื่อ ๗๘๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า

“น้ำชาจะต้องเสพด้วยการจิบ ไม่ใช่ดื่ม โดยรินใส่ถ้วยกระเบื้องบริสุทธิ์ หลังจากต้มในภาชนะดินเผาด้วยน้ำที่เก็บมาเป็นพิเศษ” (พิเศษในสมัยโบราณนั้น หลู่อี้ กล่าวว่า จะต้องเป็นน้ำที่มาจากลำธารที่ไหลเอื่อยๆตามภูเขา ไม่ใช่น้ำที่ไหลเรื่อยหรือน้ำตก น้ำตามแม่น้ำก็ใช้ได้หากแต่ต้องอยู่ไกลจากที่ตั้งถิ่นฐานที่พักอาศัยของมนุษย์ ส่วนน้ำในบ่อน้ำนั้น ค่อนข้างด้อยคุณภาพ)

หลู่อี้กล่าวอีกว่า เมื่อน้ำที่นำมาต้มเดือดเป็นลูกคลื่นเบาๆเติมเกลือลงไปเล็กน้อย ในตำราของเขาระบุถึงคุณสมบัติจำเป็น ๔ ประการคือ สดใส กลิ่นหอม สะอาด และกัง (กัง หมายถึงมีรสชาติคล้ายสุรา) และที่สำคัญคือ การจิบชานั้นควรนั่งจิบในบรรยากาศที่แวดล้อมด้วยต้นไม้ใบหญ้าความเขียวสดของธรรมชาติ ท่ามกลางสะพานไม้ไผ่ และเหล่าสาวงามที่รู้ใจ อันนั้นเป็นคำกล่าวบรรยาย ในบันทึกของหลู่อี้ ทีนี้เรามาดูการชงชาในแบบปัจจุบันกัน

ชาที่ได้รสดีที่สุด คือชาที่ชงด้วยน้ำเดือดร้อนจัด ถ้าชงชาด้วยน้ำที่ต้มเดือดนานแล้ว จะทำให้ชาชืด ไม่มีรสชาติอันเป็นผลจากการที่อากาศในน้ำถูกขับไล่ออกไปมาก ชาควรจะถูกแช่ไว้ประมาณ ๕-๑๐ วินาที น้ำที่ชงชานี้ยิ่งร้อนมากเท่าไร ก็จะยิ่งสามารถเพิ่มรสชาติของใบชาได้มากยิ่งขึ้น จำนวนของชาที่ใช้ในการชงนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของชาและความเข้มข้นมากน้อยของผู้ดื่มแต่ละคน โดยทั่วไป จะอยู่ในประมาณ ๑ ช้อนชา ต่อ ๑ ถ้วย และชงแช่ไว้ประมาณ ๕-๑๐ วินาที

การชงชานี้ ถ้าแช่ชาไว้โดยความร้อนไม่ลดลงนานเป็นเวลา ๑ ชั่วโมงแล้ว จะทำให้รสชาติของชานั้นด้อยลง เป็นเพราะสาเหตุนี้ที่ทำให้ชาที่ชงเก็บไว้ในกระติกน้ำร้อนมีรสชาติและคุณภาพแตกต่างไปจากชาที่เพิ่งชงใหม่ๆ

ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำ ศิลปะการชงชาว่า ถ้าจะชงชาให้ได้รสดีจริงๆแล้ว เวลาแกะห่อออกมาจะเห็นว่า ในห่อมีทั้งชาใบและชาป่นการชงชาที่ถูกต้องคือ การใส่ทั้งชาใบและชาป่น ผสมกันนี้จะได้รสชาติที่กลมกล่อม และที่สำคัญคือก่อนที่จะใส่ชาลงไปในภาชนะแต่ละครั้งนั้นต้องลวกภาชนะด้วยน้ำร้อน และน้ำที่ใช้ก็ควรต้มด้วยเตาถ่านเป็นวิธีที่ดีที่สุด แล้วควรต้มให้เดือดจัดๆแล้วชงลงทันที

ขั้นตอนการชงชุดน้ำชา คือ ใช้น้ำร้อนลวกก่อนใส่ใบชา เพื่อให้การ้อนถ้วยร้อน โดยใช้ชาป่นและชาใบในอัตราส่วน ๒๐ ต่อ ๘๐ ส่วน และใช้น้ำเดือดลวกรินชาในภาชนะครั้งหนึ่งก่อน แล้วรินทิ้งทันที ครั้งที่ ๒ จึงใช้ดื่ม หรือเลี้ยงแขก

ศิลปะการชงชาจีน
ชงสูง เวลาชงควรยกกาน้ำร้อนขึ้นสูง รินลงในภาชนะที่ใส่ใบชาไว้แล้วเพื่อเพิ่มแรงชงกระทบตัวใบชาในภาชนะนั้นๆ

รินต่ำ ก่อนรินน้ำชาควรใช้ฝาของภาชนะนั้นปาดฟองที่เกิดจากการชงน้ำร้อนออกก่อน แล้วจึงรินจากภาชนะนั้นลงในถ้วยน้ำชาในลักษณะต่ำ

การชงชาเป็นศิลปะที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนประณีต และผู้ประกอบพิธีจะต้องมี สมาธิ ความตั้งใจที่แน่วแน่ เป็นส่วนประกอบกันด้วย

ญี่ปุ่น กับพิธีชงชา
การชงชาเป็นศิลปะอันละเอียดอ่อนอย่างหนึ่งที่มีพื้นฐานมาจากความเลื่อมใส บูชาในความสวยงามที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ความสวยงามนี้จะให้ความประทับใจที่บริสุทธิ์ และความสมดุล ความลึกลับแห่งจิตใจ ที่มีเมตตาต่อกัน และลัทธิความหลงใหล ความละเอียดอ่อนของกฎเกณฑ์ต่างๆในสังคม ดังนั้นลัทธิการชงชา จึงเป็นการสักการบูชาที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อสิ่งที่ยังไม่สมบูรณ์เพราะเป็นการแสดงถึงความพยายามอันละเอียดอ่อนในการที่จะบรรลุบางสิ่งบางอย่างที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ที่เรารู้จักกันดีกว่าคือ “ชีวิต” ลัทธิการชงชาเป็นรูปแบบที่เป็นอุดมการณ์อย่างหนึ่งของการดื่มและยังเป็นศาสนาที่เป็นศิลปะแห่งชีวิต

พิธีชา เป็นเหมือนละครที่มีเค้าโครงเกี่ยวกับชา ดอกไม้และภาพวาด ที่ไม่ได้มีการตระเตรียมบทมาก่อนจึงปราศจากสีสันใดนอกจากสีเดิมของตัวห้อง ไม่มีเสียงที่จะมาทำลายความกลมกลืน และไม่มีแม้แต่คำพูดที่จะทำให้สภาพรอบๆขาดความเป็นเอกภาพ ทุกอย่างเป็นไปอย่างเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติที่สุด และสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือหัวใจของพิธีชา

พิธีชาจะจัดในห้องน้ำชา
จะประกอบด้วยห้องชงชาซึ่งออกแบบสำหรับบรรจุคนได้ไม่เกิน ๕ คน ห้องเฉลียง เป็นห้องที่ล้างเครื่องใช้ในการชงชาตลอดจนการเตรียมการต่างๆ พลับพลา เป็นที่สำหรับนั่งรอก่อนที่จะเข้าห้องพิธี ทางเดินในสวนเชื่อมพลับพลากับห้องชงชา และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องน้ำชาคือ ประตูทางเข้าห้องชา มีความสูงไม่เกิน ๓ ฟุต เมื่อทุกคนไม่ว่าจะสูงศักดิ์ แค่ไหนก็ต้องลอดก้มตัวต่ำผ่านเข้าไปในห้องชาทุกคน จากจุดนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความถ่อมตัว ซึ่งตรงกับในลัทธิเต๋า ซึ่งสอนให้แสดงถึงความเรียบง่าย ความสงบความประณีต และความมีสมาธิ

ชา-โน-ยุ หรือซะโค คือ พิธีชงน้ำชาที่สืบทอดมาจากจีน แต่นำมาประยุกต์ใช้โดยท่าน

ริคิว แห่งศาสนาพุทธนิกายเซนในศตวรรษที่ 16 พิธีชงน้ำชาจึงเป็นสิ่งสะท้อนการปฏิบัติกายใจ ของชาวนิกายเซน สำหรับชาวญี่ปุ่น พิธีชงน้ำชาถือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกจิต ให้เกิดความสงบความพอใจในความเรียบง่ายรวมทั้งฝึกกายให้เกิดความสง่างาม

เรื่องชาทั้งหมดที่ผู้เขียนได้นำมาเสนอนี้ หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้รับคุณค่าและเห็นประโยชน์ของชาได้มากขึ้น ชาไม่ใช่เป็นแค่เพียงพืชเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ชานั้นยังทรงคุณและความรู้สึกทางจิตใจ ในเรื่องของสมาธิ ความเรียบง่ายที่ไม่ไร้คุณค่า แต่เป็นศิลปะที่ควรจะสงวนไว้เพราะการดื่มชาเป็นศิลปะอย่างแท้จริง

รุ่งนภา อัศวเกิดไพลิน เขียน
ที่มา ต่วย'ตูน พิเศษ







Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.502 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 25 มกราคม 2567 00:12:01