[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 18:47:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เสาชิงช้า : พิธีโล้ชิงช้า  (อ่าน 333 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 104.0.0.0 Chrome 104.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 สิงหาคม 2565 20:12:52 »


พิธีโล้ชิงช้า เชื่อกันว่าพระอิศวรจะเสด็จลงสู่โลก วันนั้นจะมีการแห่พระเป็นเจ้าไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว
และเมื่อพระเป็นเจ้าเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ก็ได้เชิญเทวดาองค์อื่นๆ มาเฝ้าและมาร่วมพิธีด้วย ได้แก่ พระอาทิตย์
พระจันทร์ พระคงคา และพระธรณี พราหมณ์จะแกะรูปสัญลักษณ์ของเทวดาแต่ละองค์เป็นเทวรูปลงในไม้กระดาน
สามแผ่นเพื่อทำการบูชาในเทวสถาน แล้วจากนั้นจะนำไปปักในหลุมหน้าโรงพิธีนั่งดูโล้ชิงช้า หันหน้ากระดานเข้า
หาตำแหน่งที่มีพระยายืนชิงช้านั่ง เรียกว่า “กระดานลงหลุม” ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่

เสาชิงช้า : พิธีโล้ชิงช้า

จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์บันทึกไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ โปรดให้สร้างเสาชิงช้าในพระนครขึ้นตรงหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เมื่อวันพุธ เดือน ๕ แรม ๔ ค่ำ ปีมะโรง ต่อมาย้ายมาสร้างใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันบริเวณหน้าวัดสุทัศนเทพวราราม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากข้อจำกัดด้านสถานที่

ลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง ๒๑.๑๕ ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๐.๕๐ ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได ๒ ขั้น ทั้งสองด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ ๒ คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทาสีแดงชาด ติดสายล่อฟ้าจากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน

“เสาชิงช้า” เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมพวายและตรีปวายมาตั้งแต่สมัยสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญอยู่คู่กับกรุงเทพมหานคร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๗ จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙

ส่วนพระราชพิธีตรียัมพวายและตรีปวายนั้น เป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของพวกพราหมณ์ เป็นการต้อนรับการเสด็จมาเยี่ยมโลกของพระอิศวรและพระนารายณ์ ตรงกับวันขึ้นเจ็ดค่ำเดือนยี่ (ซึ่งในหนึ่งปีพระอิศวรจะเสด็จมาเยี่ยมโลก ๑๐ วัน) ในตำนานพระราชพิธีตรียัมปวาย พิธีโล้ชิงช้ามีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพกล่าวไว้ว่า พระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตกว่าโลกจะถึงกาลวิบัติ พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวร โดยให้พญานาคขึงตนระหว่างต้นพุทราที่แม่น้ำ แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัวโดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรไม่ตกลงแสดงว่าโลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน ดังนั้นพิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น “ต้นพุทรา” ช่วงระหว่างเสาคือ “แม่น้ำ” นาลิวันผู้โล้ชิงช้าคือ “พญานาค” โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ
 
ซึ่งพระยายืนชิงช้าในสมัยนั้นมักแต่งตั้งจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพลเทพซึ่งอยู่ในตำแหน่งเกษตราธิบดีแต่เพียงผู้เดียวมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงทรงมีพระราชดำริเปลี่ยนแปลงว่า ถ้าเจ้าพระยาพลเทพจะต้องแห่ทุกปีอาจทำให้ขบวนแห่ดูจืดชืด ไม่ครึกครื้นเท่าที่ควร จึงโปรดเกล้าฯ ให้บรรดาข้าราชการผู้ใหญ่ที่ได้รับพระราชทานพานทอง (พระยาพานทอง) ได้มีโอกาสแห่แหนเป็นเกียรติยศกันคนละครั้ง หมุนเวียนไปทุกปี และได้ยึดถือเป็นประเพณีสืบมา

พระยายืนชิงช้าคนสุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์ คือ มหาอำมาตย์ตรีพระยาประดิพัทธภูบาล (คออยู่เหล ณ ระนอง) ขณะเป็นพระยายืนชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวายในปีมะแม พ.ศ.๒๔๗๔ เนื่องจากพิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีได้ยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ (ปัจจุบันการประกอบพระราชพิธีนี้จะกระทำเป็นการภายในเทวสถานเท่านั้น)



(ภาพจากหนังสือ พระราชพิธี ๑๒ เดือน : ปฏิทินชีวิตของชาวสยาม)

ในนิราศรำพึงของพระอยู่ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ ที่ปรากฏใน “เล่าเรื่องบางกอก”
ของ ส.พลายน้อย ได้สะท้อนให้เห็นว่า งานโล้ชิงช้าสมัยก่อนสนุกสนานเพียงใด


แล้วคิดไปเดือนยี่พิธีไสย      มีงานใหญ่ชิงช้าเมื่อหน้าหนาว
พวกหญิงชายมาดูกันกรูกราว      ทั้งเจ๊กลาวแขกฝรั่งทั้งญวนมอญ”




ก่อนเริ่มพิธีโล้ชิงช้าในวันแรก ตอนเช้าจะมีการจัดริ้วขบวนแห่งพระยายืนชิงช้าออกจากวัด ซึ่งแล้วแต่จะกำหนดว่าเป็นวัดใด จากนั้นจึงเคลื่อนขบวนเข้าสู่ปะรำพิธี พระยาจะจุดเทียนชัยส่งไปบูชาที่เทวสถาน ต่อจากนั้นพระยายืนชิงช้าก็จะนั่งเป็นประธานดูนาลิวัน (นักบวชพรามหณ์) ขึ้นโล้ชิงช้าจนครบ ๓ กระดาน แล้วจึงเคลื่อนขบวนกลับเข้าวัดเป็นอันเสร็จพิธี และในวันสุดท้ายก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับวันแรกทุกประการ

ในภาพเป็นภาพพลายมงคลแต่งตัวเป็นช้างเอราวัณ (มี ๓ หัว) เข้ากระบวนแห่พระราชพิธีโล้ชิงช้า พ.ศ.๒๔๓๗ ช้างแสนรู้ชื่อพลายมงคลเป็นช้างที่พระเจ้าเชียงใหม่ส่งมาถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารเพื่อเป็นบรรณาการในงานพระราชพิธีโสกันต์ พ.ศ.๒๔๓๓





สำหรับผู้ที่ขึ้นไปทำหน้าที่โล้ชิงช้านั้นเรียกว่า “นาลิวัน” โดยจะเลือกจากพราหมณ์หนุ่มที่มีอายุระหว่าง ๑๘-๒๐ มีร่างกายแข็งแรงและได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี

สำหรับแผ่นไม้กระดานนั้นจะขึงโยงลงมาจากคานบนของเสาด้วยเชือก ๘ เส้น ตัวเชือกทำด้วยหนังวัวเผือก โดยถือเคล็ดว่าวัวเป็นพาหนะของพระอิศวร ที่แผ่นกระดานมีรูสำหรับร้อยเชือก ๘ รู มีช่วงระยะห่างเท่าๆ กัน เชือกทั้ง ๘ เส้นนี้ นอกจากจะใช้ผูกติดกระดานแล้ว ยังช่วยยึดเหนี่ยวในขณะโยกตัวมิให้ร่วงหล่นซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ การโล้ชิงช้าจะแบ่งเป็น ๓ ชุด หรือเรียกว่า ๓ กระดาน คือ กระดานเอก มีเงินรางวัลสูงสุดถึง ๑๒ บาท กระดานโท ๑๐ บาท และกระดานตรี ๘ บาท ในแต่ละกระดานจะมี “นาลิวัน” ขึ้นไปโล้โลดโผนถึงครั้งละ ๔ คน ส่วนเงินรางวัลจะบรรจุในถุงซึ่งแขวนอยู่บนยอดเสาไม้ไผ่ที่ปักไว้ข้างเสาชิงช้า โดยมีกฎเกณฑ์ว่าห้ามใช้มือเอื้อมหยิบ ต้องใช้ปากคาบอย่างเดียว


ขอขอบคุณ  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ (ที่มาข้อมูล/ภาพประกอบ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เสาชิงช้า
สยาม ในอดีต
ขม..ค่ะึึ 0 2946 กระทู้ล่าสุด 08 กุมภาพันธ์ 2554 11:07:43
โดย ขม..ค่ะึึ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.355 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 06 มีนาคม 2567 11:27:19