[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 18:02:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ไล่เรือ” พิธีขอขมาผีน้ำผีดิน ขอให้น้ำลดด้วยการเห่กล่อมมวลน้ำลงบาดาล ณ บางปะอิน  (อ่าน 671 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0 Chrome 105.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 กันยายน 2565 17:38:11 »


ไพร่ฝีพายเรือของเจ้านายและขุนนางสมัยอยุธยา ลายเส้นจากหนังสือจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์

“ไล่เรือ” พิธีขอขมาผีน้ำผีดิน ขอให้น้ำลดด้วยการเห่กล่อมมวลน้ำลงบาดาล ณ บางปะอิน

เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันพฤหัสที่ 8 กันยายน พ.ศ.2565

พิธีขอขมาผีน้ำผีดิน “ไล่เรือ” ให้น้ำลดด้วยการเห่กล่อมขอมวลน้ำลงบาดาล ณ บางปะอิน คัดลอกข้อความบางส่วนจาก เอกสารประกอบรายการทอดน่องท่องเที่ยว ตอน อำนาจของนาฏกรรม อยุธยา “ไล่เรือ” ไปบางปะอิน โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ รายการออนแอร์เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2563 (ชมรายการเลื่อนลงด้านล่าง)

ขอขมาผีน้ำผีดิน
ขอขมาผีน้ำผีดิน เป็นประเพณีพิธีกรรมประจำปี ได้แก่ แข่งเรือ, จองเปรียงลดชุดลอยโคมส่งน้ำ, ไล่เรือ โดยต้องทำต่อเนื่องนาน 3 เดือน ตั้งแต่ราวเดือน 11 (กันยายน-ตุลาคม) ถึงราวเดือน 12 (ตุลาคม-พฤศจิกายน) บางทีถึงเดือน 1 หรือเดือนอ้าย (พฤศจิกายน-ธันวาคม) ดังนี้ แข่งเรือ เดือน 11 เพื่อผลักดันมวลน้ำให้ลดตามฤดูกาล จองเปรียงลดชุดลอยโคมส่งน้ำ เดือน 12 เพื่อขอขมาผีน้ำและผีดิน ไล่เรือ (พิธีจร) เพื่อวิงวอนร้องขอมวลน้ำลงบาดาลให้ลดจากการท่วมข้าวที่กำลังแตกรวงพร้อมเก็บเกี่ยว

ผี, พุทธ, พราหมณ์ พิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำและดินมีต้นตอจากความเชื่อดั้งเดิมในศาสนาผีสมัยดึกดำบรรพ์หลายพันปีมาแล้ว ครั้นหลังรับวัฒนธรรมอินเดียก็ปรับเข้ากับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ทำให้พิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำและดินเป็นประเพณีผี, พุทธ, พราหมณ์ ผสมกลมกลืนเข้าด้วยกันจนแยกไม่ได้

เซ่นผีน้ำผีดิน น้ำกับดินเป็นแหล่งกำเนิดอาหาร ที่คนเชื่อว่ามีผีสิงสู่เรียก “เจ้าแม่” ซึ่งเฮี้ยน ด้วยเหตุดังนั้นสมัยโบราณหลายพันปีเมื่อยังอ่อนแอทางเทคโนโลยี จึงต้องมีพิธีกรรมเซ่นผีน้ำและผีดินเมื่อถึงช่วงเวลาสิ้นฤดูกาลเก่า ขึ้นฤดูกาลใหม่ เพื่อขอความมั่นคงทางอาหารของคนในชุมชน แล้วเป็นประเพณีทำสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้

นาฏกรรมแห่งรัฐ
ประเพณีพิธีกรรมขอขมาผีน้ำผีดิน สิ้นฤดูกาลเก่า ขึ้นฤดูกาลใหม่ เป็นนาฏกรรมแห่งรัฐ หรือละครโรงใหญ่มหึมาที่ต้องมีทุกปี

แสดงว่าพระราชาไม่มีอำนาจมากล้นจริงจังในสมัยรัฐโบราณอุษาคเนย์ เพราะพระราชาต้องประนีประนอมด้วยกับบรรดาข้าราชบริพารที่ปฏิบัติราชการตามพระราชโองการ ซึ่งเป็นลูกท่านหลานเธอ หรือผู้มาจากตระกูลที่มีอำนาจในตัวเอง

อำนาจจึงต้องตั้งอยู่บนการแสดงหรือเป็นเชิงสัญลักษณ์ และหนึ่งในการแสดงเชิงอำนาจที่สำคัญ คือ พระราชพิธีต่างๆ ซึ่งรัฐต้องทำให้ได้ชมเป็นประจำเกือบทุกเดือน (ดังมีในกฎมณเฑียรบาล) อย่างเคร่งครัดในธรรมเนียมจารีตโบราณราชประเพณี ที่แสดงชนชั้นหรือความไม่เสมอภาค ซึ่งจะขาดเสียมิได้

ห้ามชมพระบารมี ประชาชนต้องหมอบก้มหน้าตลอดหนทางเสด็จ เป็นฉากสำคัญที่ขาดมิได้ของ “ละคร” นาฏกรรมแห่งรัฐ เมื่อขบวนเสด็จผ่านไปแล้วก็เงยหน้าขึ้นชมได้ หรือขณะเสด็จอาจแอบซ่อนชมบ้างก็ได้ (ต้องไม่ให้นายตระเวนเห็น)

ขบวนเสด็จทางชลมารคอยู่ห่างฝั่งและอยู่ห่างเรือนแพริมแม่น้ำ เพราะแม่น้ำกว้างมาก ประชาชนจะแอบชมพระบารมีย่อมทำได้ [สรุปจาก นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 1-7 มิถุนายน 2555 หน้า 30]

ขบวนเรือจากเกาะเมืองล่องลงไปบางปะอิน ทำพิธีให้น้ำลดเพื่อชาวนาเก็บเกี่ยวด้วยการเห่กล่อมขอน้ำไหลลงตาน้ำส่งกลับบาดาล

เมื่อทำพิธีทุกอย่างแล้วน้ำไม่ลด พระเจ้าแผ่นดินเสด็จลงเรือไปกลางน้ำ ถือพระแสงดาบฟันน้ำ เพื่อบงการให้น้ำลด เป็นคำบอกเล่าในคำให้การฯ แต่ไม่พบหลักฐานว่ามีจริง




พยุหยาตราทางชลมารคกระบวนใหญ่สุดของกรุงศรีอยุธยา ในพิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำและดินเป็นประจำทุกปี
เพื่อขอให้ไพร่บ้านพลเมืองอุดมสมบูรณ์ในพืชพันธุ์ว่านยาข้าวปลาอาหาร ภาพพิมพ์โดยนักทำแผนที่ชาวฮอลันดา
พ.ศ.2262 ตรงกับแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ [ภาพจากห้องสมุดส่วนบุคคล ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช พิมพ์ในหนังสือ
กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง สำนักพิมพ์มติชน 2549]



ขบวนเรือพระราชพิธีมากกว่า 500 ปีมาแล้ว เคลื่อนจากเกาะเมืองอยุธยาตามแม่น้ำลงไปบางปะอิน
เพื่อทำพิธีไล่น้ำท่วมข้าวลงบาดาล (ในภาพ) เกาะเมืองอยุธยา และแม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงทางทิศใต้
เป็นเส้นทางขบวนเรือพระราชพิธีเคลื่อนลงไปบางปะอิน
[ถ่ายจากเครื่องบินโดย เอนก สีหามาตย์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เมื่อ 2 มิถุนายน พ.ศ.2561]

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.254 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 03 กุมภาพันธ์ 2567 14:13:23