[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 11:46:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผ้าสันถัด - ผ้าที่พระภิกษุรองนั่ง. ผ้ากราบ  (อ่าน 271 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5392


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0 Chrome 105.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 กันยายน 2565 17:59:47 »


ผ้าสันถัด หมายถึง ผ้าที่พระภิกษุรองนั่ง. ผ้ากราบ หรือผ้าที่ภิกษุสามเณรใช้รองในเวลากราบพระ

ผ้าสันถัด


ประกาศแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ว่าด้วยผ้าสันถัด

ผ้าชื่อ (นิสีทนัง) เป็นของอย่างหนึ่ง มีพุทธานุญาตให้ทำ ให้ใช้ ว่าไว้ในจีวรขันธ์ แลมีประมาณบังคับในปาจิตตียกัณฑ์วรรปลายเป็นสิกขาบทอันหนึ่ง เป็นผ้าวิเศษอย่างหนึ่ง ซึ่งควรจะเล็กกว่าผ้าไตรจีวรทั้งสามผืน สำหรับภิกษุจะได้ใช้รักษากาย รักษาจีวร แลรักษาเสนาสนะมีอยู่ในวินัยบัญญัติ แต่ผ้านั้นเดี๋ยวนี้ไม่ได้ใช้นานแล้ว ก็เมื่อจะไม่ใช้ก็ได้ ไม่มีโทษก็เพราะภิกษุถือเตจิวริกก็ต้องยกเสียไม่ใช้ แต่ถึงกระนั้นพุทธบัญญัติเป็นสิกขาบท ภิกษุก็จำจะต้องศึกษารู้ไว้จึงจะชอบแต่บัดนี้ความในสิกขาบทนั้น ถึงพระราชาคณะบางองค์ที่มีบรรดาศักดิ์มาก เลื่อนที่เป็นถึงสมเด็จพระราชาคณะแล้วบ้าง เป็นพระราชาคณะสูงอายุแก่จนถึง ๖๐ พรรษาแล้วบ้างก็ไม่รู้ เมื่อยามจะมาต้องเทศนา ต้องเจรจาถึงผ้านิสีทนังนั้นก็ว่างมงาย มืดมน ไม่เข้าใจเลย จนถึงแปลคำบาลี (อทสกํ นิสีทนํ) ว่าสันถัดไม่มีฝ้ายก็ว่าได้ น่าอายแก่คฤหัสถ์ที่เป็นศิษย์พระสมถะ แปลหนังสือไม่ออกรู้แต่สิกขา ๑๐ ผูก สั่งสอนให้ศิษย์รู้สิกขาบทนี้ได้นั้นนักหนา ถึงตัวพระราชาคณะนั้นจะเพลิดเพลินไปด้วยความสุขที่ไม่เอาใจใส่สิกขาบทนั้นแล้วไม่รู้จักอายก็ดี พระเจ้าแผ่นดินซึ่งเป็นนิพัทธอุปฐาก ก็ได้ยกย่องตั้งแต่งให้มีฐานันดรยศศักดิ์เป็นพระราชาคณะแล้ว ถวายนิตยภัตอยู่เป็นนิตย์นั้น เมื่อได้ทรงสดับคำ งมๆ งายๆ เก้อๆ ดังนี้ มีความรำคาญพระราชหฤทัยละอายแทนนัก แต่ครั้นจะเตือนจะตักให้เอาใจใส่ศึกษาให้รู้ไว้ เพื่อจะได้ใช้ในเวลาเมื่อจะต้องออกชื่อของที่ต้องบังคับในวินัย คือเมื่อสำแดงธรรมเทศนาก็ดี เมื่อจะปรึกษาความพระสงฆ์บางคราวก็ดี จะต้องออกชื่อของนั้น อธิบายของนั้นแล้วจะได้ว่าให้ถูกๆ อย่าให้ผิดๆ เลื่อนเปื้อนไปให้ผู้รู้เล ๆ หัวเราะเยาะได้นั้น ก็ทรงพระราชดำริเป็นแน่ในพระราชหฤทัยอยู่แล้ว ว่าการที่จะทรงตักเตือนดังนั้น ก็จะเหมือนกันกับการที่บุราณว่า ว่าน้ำท่าไปยอนหูหนวก แต่ถึงกระนั้นกัลยาณวัตรของพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นผู้อุปฐาก อุปถัมภ์พระราชาคณะนั้นควรจะทรงปรนนิบัติอย่างไรให้เป็นคุณ โดยทางธรรมตามวิสัยนักปราชญ์ก็ทรงปรนนิบัติไปอย่างนั้นเอง เหมือนกับการถวายเงินทองแก่พระสงฆ์ด้วยกัปปิยโวหาร ถึงทรงทราบแล้วว่าพระสงฆ์ไม่ต้องการด้วยกัปปิยโวหาร ก็ดำรัสไปอย่างนั้นเองด้วยกัปปิยโวหาร แต่พอไม่ให้เสียกัลยาณวัตร เพราะฉะนั้นบัดนี้ จึงมีพระบรมราชโองการฯ ให้เจ้าพนักงานจัดแจงแต่งตัดผ้านิสีทนังนั้น ให้ต้องอย่างต้องประมาณ ตามความในบาลีแลอรรถกถาฎีกา เป็นผ้านิสีทนังร้อยผืนพระราชทานมาแก่พระราชาคณะ แลพระราชวงศานุวงศ์ซึ่งทรงผนวชมีฐานันดรเป็นพระราชาคณะแลเปรียญ แลพระครูฐานานุกรมบาเรียนผู้ใหญ่ ซึ่งควรจะเลื่อนที่เป็นพระราชาคณะต่อไปรูปละผืน เพื่อจะให้รู้จักว่าผ้านิสีทนังตามวินัยบัญญัติเป็นดั่งนี้  จะเชื่อก็ตามไม่เชื่อก็ตาม จะเอาใจใส่ก็ตามไม่เอาใจใส่ก็ตาม เมื่อเวลาจะออกชื่อถึงผ้านิสีทนังนี้ เมื่อเทศนาทุติยสังคายนา จะไม่ได้ว่าผ้าสันถัดไม่มีฝ้าย ฤาว่าล่อมๆ แล่มๆ แอ้มๆ อ้อมๆ อยู่น่าอายน่าบัดสี ๚

อนึ่ง พระสงฆ์เมื่อจะเทศนาก็ดี จะพูดยกตนก็ดี มักพูดบ่อยๆ ทีเดียว ว่าภิกษุตั้งอยู่ในศีล ๒๒๗ ฝ่ายผู้ที่ได้ฟังไปนั้น จนผู้หญิงแลเด็กๆ ก็พูดกันอึงไปว่าพระสงฆ์นั้นศีล ๒๒๗ ก็นิสีทนสิกขา บทที่ว่าด้วยประมาณผ้านิสีทนังเช่นนี้นั้นก็มีในพระปาฏิโมกข์นับเป็นหนึ่งใน ๒๒๗ ๚

ก็ถ้าพระสงฆ์รูปใดมาเทศนาว่าเลื่อนเปื้อน ไม่รู้จักผ้านิสีทนัง ไม่เข้าใจแล้ว ผู้หญิงก็ดี เด็กๆ ก็ดี จะมิว่าศีล ๒๒๗ ของพระสงฆ์รูปนั้นไม่ครบฤๅเป็นที่อัปยศอดอายเพราะไม่สมกับคำปฏิญญาว่าศีล ๒๒๗ นั้นว่ามาทั้งนี้ ก็ทราบแล้วจะไม่เป็นที่ยินดีแก่ท่านผู้อ่าน แต่เข้าใจว่าคำที่ว่ามานี้ ท่านผู้ใดได้ฟังแล้วไม่ชอบใจ ท่านผู้นั้นจะไม่เป็นเขตให้เกิดบาปแก่ผู้ว่านักดอก ท่านผู้ใดที่ได้อ่านคำที่ว่ามานี้แล้ว มีความยินดีสาธุการเห็นชอบด้วย ท่านผู้นั้นจะเป็นบุญเขตแรงยิ่งกว่าเขตบาป จึงได้ว่ามาเมื่อท่านผู้ใดเห็นว่าล่วงว่าจู้จี้ไม่ต้องการ ขอขมาเสียเถิดอย่าขัดเคืองเลย ๚ะ



ขอขอบคุณ เพจเล่าเรื่องวัดบวรฯ (ที่มาเรื่อง/ภาพ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.259 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 กุมภาพันธ์ 2567 05:30:14