[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 08:58:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: งานปั้นหุ่นต้นแบบพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  (อ่าน 318 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0 Chrome 105.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 กันยายน 2565 16:40:36 »



งานปั้นหุ่นต้นแบบพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

อย่างที่ทราบกันดีว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นนักรบทรงม้านำทหารในการสงครามและกอบกู้ประเทศชาติบ้านเมือง ดังนั้นเมื่อจะมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์คำนึงถึงพระเกียรติคุณของพระองค์ ข้อสำคัญคือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงต้องทรงม้า

กว่าจะมาเป็นรูปปั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงม้าศึก ซึ่งเป็นม้าที่มีลักษณะกล้ามเนื้อชัด กำยำ แต่ไม่สูงใหญ่มากนัก อยู่ในท่วงท่าพร้อมรบ มีที่มาอย่างไร วันนี้จะชวนมาอ่านเรื่องราวของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี กับงานปั้นหุ่นต้นแบบพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นำเสนอจากเอกสารจดหมายเหตุรายการที่ ๓ คือ เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร รหัส ศธ.๐๗๐๑.๔๕/๔ เรื่อง การปั้นอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี [พ.ศ.๒๔๙๒-๒๔๙๓] [๑๕๖ แผ่น]

เมื่อกรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้ออกแบบและดำเนินการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี อาจารย์ปฏิมากร กรมศิลปากร (ตำแหน่ง ณ ขณะนั้น) ซึ่งรับหน้าที่ผู้ปั้นและอำนวยการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ จึงได้สเก็ตซ์ภาพให้คณะกรรมการพิจารณา จำนวน ๘ แบบ ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๘๐ คณะกรรมการมีมติให้นำภาพเหล่านั้นไปจัดแสดงในงานฉลองรัฐธรรมนูญ โดยชักชวนให้ประชาชนลงคะแนน ผลปรากฏว่าแบบที่ได้รับเลือก คือ ภาพสเก็ตซ์แบบที่ ๑ ซึ่งเป็นพระบรมรูปทรงม้า ถือพระแสงดาบ ประดิษฐานอยู่บนฐานหิน ที่ฐานมีรูปปั้นนักรบไทย ๒ นาย

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี และคณะ จึงได้เริ่มเสาะหาและพบม้าที่เหมาะจะเป็นแบบปั้น จำนวน ๒ตัว ตัวแรกอยู่ที่กรมการสัตว์พาหนะทหารบก เป็นม้าพันธุ์อาหรับซึ่งมีอยู่ตัวเดียว ราคาราว ๑๐๐,๐๐๐ บาท ตัวที่สองอยู่ที่กองพันทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ เป็นม้าพันธุ์ไทย ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ได้เลือกม้าพันธุ์ไทยและให้ความเห็นเกี่ยวกับการยืมม้ามาเป็นแบบสำหรับปั้น ความว่า

“...ข้าพเจ้าไปดูลักษณะของม้าทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าที่กองพันทหารม้าที่ ๑ มีลักษณะดีอยู่ตัวหนึ่งพอจะดูเปนแบบปั้นได้ จึงหยากได้ม้าตัวนั้นมาเปนแบบปั้นด้วย จึงให้นายพิมาน มูลประมุข ไปติดต่อกับ ผ.บ.ม.พัน ๑ ด้วยวาจา ขอยืมม้าตัวนั้นและพร้อมทั้งขอคนมากำกับดูแลม้าด้วย โดยตอนเช้านำมาที่กรมศิลปากร และตอนเย็นนำกลับที่เดิม เปนประจำวัน ประมาณ ๗ วัน ส่วนค่าอาหารม้าและค่าเบี้ยเลี้ยงคนที่มากำกับดูแลม้านั้นทางกรมศิลปากรจะจ่ายให้ ผ.บ.ม.พัน ๑ บอกว่าไม่ขัดข้อง ขอให้มีหนังสือแจ้งไปเปนทางการ มีความยินดีช่วยเหลือใหความสะดวก จะจัดมอบม้านั้นมาพร้อมด้วยคนกำกับดูแล...”

“...บัดนี้มีความจำเป็นที่จะต้องได้ดูลักษณะของคนที่กำลังนั่งอยู่บนหลังม้าพันธ์ไทย เพื่อประกอบในการปั้นอนุสสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กรมศิลปากรได้มอบหมายให้นายพิมาน มูลประมุข ช่าง มาติดต่อ หากไม่ขัดข้องประการใดโปรดอนุญาตให้ช่างถ่ายรูปคนกำลังขี่ม้าพันธุ์ไทยตัวที่เคยยืมนั้น...”

นอกจากนี้ ในส่วนฐานของพระบรมราชานุสาวรีย์ที่มีมติให้ปั้นรูปนายทหาร ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เห็นว่าเมื่อประดิษฐานพระบรมรูปแล้วจะทำให้พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีซึ่งอยู่สูงกว่าดูเล็กมาก ไม่เหมาะสม จึงนำเสนอรูปปั้นนูนต่ำจำลอง ๔ รูป ให้คณะกรรมการพิจารณาเพิ่มเติม รูปปั้นนูนต่ำ ๔ รูป เป็นเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี คือ ภาพคนไทยแสดงอาการหดหู่ โศกเศร้าเสียใจเพราะเสียกรุง ภาพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปลุกใจให้ทุกคนร่วมกันต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของประเทศชาติ ภาพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงต่อสู้ การรบของทัพไทยจนชนะ และภาพภายหลังการกอบกู้อิสรภาพได้ ชาวบ้านประกอบกิจวัตรประจำวันอย่างมีความสุข

ภายหลังจากหล่อพระบรมรูปแล้วเสร็จ เจ้าหน้าที่ได้เคลื่อนย้ายม้าทรงออกจากโรงหล่อของกรมศิลปากรไปยังวงเวียนใหญ่ ธนบุรี เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๗ ส่วนพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้อัญเชิญเพื่อประดิษฐานบนพระแท่นพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๗ และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๗

หมายเหตุ : การสะกดคำยึดการสะกดคำตามอักขรวิธีปัจจุบัน ยกเว้นชื่อเรื่องรายการ คำศัพท์เฉพาะ หรือการคัดลอกข้อความ จะคงสะกดตามที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุรายการนั้นๆ



เรื่องเล่าจากจดหมายเหตุ : ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี กับงานปั้นหุ่นต้นแบบพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
สืบค้นและเรียบเรียง : น.ส. ดุษฎี ชัยเพชร นักจดหมายเหตุชำนาญการ




































ขอขอบคุณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ที่มาข้อมูล/ภาพ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2565 17:46:14 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.32 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 04 มีนาคม 2567 09:50:43