[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 16:04:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย.. ปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค  (อ่าน 5453 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2553 18:42:56 »



http://i170.photobucket.com/albums/u277/saviska/prism.jpg
ว่าด้วย.. ปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค


ว่าด้วย.. ปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

การตีความปฏิจจสมุปบาท มีการตีความหมายไปในรูปแบบข้ามภพข้ามชาติในภายภาคหน้า หรือการเกิดในชาติหน้า เป็นไปอย่างแพร่หลายต่อเนื่องยาวนานนับพันปี อันเนื่องมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยท่านพุทธโฆสาจารย์ ซึ่งเป็นนักปราชญ์ พระภิกษุชาวอินเดียได้นิพนธ์ขึ้นเมื่อประมาณ พศ. ๙๐๐ เศษ เมื่อคราวที่ท่านจาริกเพื่อรวบรวมพระธรรมต่างๆจากประเทศศรีลังกา อันเนื่องจากการสูญหายไปบางส่วนจากประเทศอินเดีย อันได้ตีความไว้เป็นเรื่องข้ามภพข้ามชาติดั่งนั้น ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่สำคัญยิ่งที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในวงการศึกษาพระพุทธศาสนามาจนตราบถึงปัจจุบันนี้

แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อคราวที่ท่านกล่าวถึงเรื่องปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น เป็นเรื่องเดียวที่ท่านยังไม่มีความมั่นใจในความถูกต้อง ท่านจึงได้กล่าวออกตัวหรือกล่าวแสดงไว้อย่างชัดแจ้งก่อนพรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ความว่าไว้ดั่งนี้

“การอธิบายความแห่งปฏิจจสมุปบาททำได้ยาก.....วันนี้ใคร่จะกล่าวพรรณนาปัจจยาการ ทั้งที่ยังหาที่อาศัยไม่ได้ เหมือนดังก้าวลงสู่สาครยังไม่มีที่เหยียบยัน ก็แต่ว่า คำสอนปฏิจจสมุปบาทนี้ ประดับประดาไปด้วยนัยแห่งเทศนาต่างๆ อีกทั้งแนวทางของบูรพาจารย์ก็ยังเป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจะอาศัยหลักสองอย่างนั้น ลงมือพรรณนาความแห่งปฏิจจสมุปบาท” (วิสุทธิมรรค. 3/114, ตรงกับ วิภงค.อ. 118)

ซึ่งถ้าแปลกันออกมาง่ายๆแล้วก้พอได้ความดังนี้ว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องยาก อุปมาเหมือนดั่งบุรุษที่ก้าวเท้าลงสู่ห้วงสมุทร ย่อมหาที่เหยียบยันหรือยึดเกาะไม่ได้ฉันนั้น อันแสดงถึงว่าไม่มีหลักฐานและยังไม่แน่ใจหรือยังไม่เข้าใจอย่างมั่นคง ดังนั้นท่านจึงบอกแจ้งกล่าวต่อไปว่า จึงได้พยายามรวบรวมเรียบเรียงคำวินิจฉัยโดยอาศัยคำเทศนาและแนวทางคำสอนตามเท่าที่ยังพอมีการถ่ายทอดกันต่อมาของบูรพาจารย์ในขณะนั้นมากล่าวไว้ กล่าวคือท่านก็ทำหน้าที่ของท่านโดยบริบูรณ์เต็มกำลัง


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ตุลาคม 2554 18:42:54 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: หัวข้อค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2553 18:45:10 »


และก็ได้กล่าวแจ้งความนัยไว้แต่เบื้องต้นดังที่กล่าวแสดงไว้แล้ว และต่อมาในภายหลังท่านพระพุทธโฆสาจารย์ก็ได้เขียนคัภีร์ขึ้นอีกเล่มหนึ่ง คือคัมภีร์สัมโมหวิโนทนี ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ตอน คราวครั้งนี้ในตอนที่หนึ่ง มีการกล่าวอธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติเหมือนดังในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่ในตอนสองได้ยอมรับและมีการอธิบายแบบเป็นไปใน๘ณะจิตหนึ่งเพิ่มเติมขึ้นมา แต่ก็ไม่ได้เน้นกล่าวอธิบายรายละเอียดแต่อย่างใดนัก แต่เนื่องจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงมีอยู่และเป็นที่นิยมแพร่หลายกันและถือเป็นบรรทัดฐานในการศึกษาพระพุทธศาสนากันมาโดยตลอด

ดังนั้นการเล่าเรียนและถ่ายทอดเรื่องปฏิจจสมุปบาทที่สืบๆกันมาภายหลัง จึงล้วนได้อิทธิพลเป็นไปแบบข้ามภพข้ามชาติตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค และยังเป็นที่นิยมถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลากว่า 1500 ปี ซึ่งใช้เป็นบรรทัดฐานในการศึกษาพระอภิธรรม

และตามที่ผู้เขียนทราบ ท่านพุทธทาสได้เริ่มกล่าวถึงปฏิจจสมุปบาทแบบการเกิดภพชาติในขณะจิตหนึ่งในประมาณปี พศ.๒๕๐๐ ซึ่งท่านได้เทศนาสั่งสอน และมีการจัดพิมพ์เผยแผ่เป็นที่กว้างขวางจนเป็นที่กล่าวขานกันไปโดยทั่ว มีทั้งเสียงตอบรับเห็นด้วยและทั้งเสียงคัดค้านเป็นจำนวนมากจากผู้ที่ยึดถือตามคัมภีร์ แต่สำหรับผู้เขียนแล้วถือว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการตีความปฏิจจสมุปบาทให้เป็นไปอย่างถูกต้องดีงามตามพระพุทะประสงค์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ตลอดจนในภายหลัง ท่านพระธรรมปิฎก ได้บันทึกแสดงความนัยไว้ทั้งสองกรณีด้วยความเป็นกลางอย่างถูกต้องดีงามให้ผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าวินิจฉัยด้วยตนเองในหนังสือพุทธธรรมอันทรงคุณค่ายิ่ง ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้นัยยะมาจากข้อธรรมในหนังสือของท่านผู้มีพระคุณทั้งสองรูปนี้นี่เอง

โดยเฉพาะจากหนังสือพุทธธรรมของท่านพระธรรมปิฎก จึงได้นำปฏิจจสมุปบาทมาพิจารณาแบบขณะจิตหนึ่งของการเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ โดยละเอียดแยบคายโดยการโยนิโสมนสิการ จนเกิดความเข้าใจในรายละเอียดเพิ่มเติมโดยนัยของปัจจยาการหรือการเป็นเหตุปัจจัยอย่างมีเหตุมีผล และเห็นเป็นไปตามกฎของธรรมชาติของปรมัตถธรรมปฏิจจสมุปบาท กระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นแลดับไปแห่งทุกข์อย่างถูกต้องดีงามสมดั่งพระพุทธประสงค์อย่างสมควร และยังไม่มีผู้ใดบันทึกไว้ในแนวทางแสดงกระบวนธรรมของจิตอย่างละเอียด อันรวมทั้งขันธ์ ๕ เช่นดังที่ปรากฏอยู่ในหนังสือนี้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2553 18:46:27 »


โดยเฉพาะในรายละเอียดต่างๆของทุกองค์ธรรมอย่างครบถ้วนบริบูรณ์จริงๆ จนเห็นการดำเนินไปตามเหตุปัจจัยอย่างบริบูรณ์ทั้งวงจรปฏิจจสมุปบาท โดยเฉพาะในรายละเอียดขององค์ธรรมเวทนา อันเป็นเหตุปัจจัยที่สำคัญที่ยังให้เกิดอุปาทานทุกข์หรือไม่ทุกข์ และองค์ธรรมชราอันเป็นสภาวะที่เกิดของอุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนด้วยไฟของกิเลศตัณหาอุปาทาน ตลอดจนแสดงความสัมพันธ์ของขันธ์๕ และปฏิจจสมุปบาท ซึ่งความจริงแล้วก็เป็นธรรมที่เนื่องสัมพันธ์หรือกล่าวว่าเป็นธรรมเดียวกันก็ได้ เพียงแต่ฝ่ายหนึ่งคือขันธ์๕ เป็นฝ่ายไม่ยังให้เกิดทุกข์อุปาทานเป็นไปเพื่อการดำรงชีวิต ส่วนฝ่ายปฏิจจสมุปบาทนั้นเมื่อเป็นไปแล้วย่อมยังให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้น

จึงเห็นสมควรบันทึกไว้เพื่อการเผยแผ่เป็นธรรมทาน เพื่ออนุรักษ์ปฏิจจสมุปบาทอันลึกซึ้งถุกต้องดีงามตามพระพุทธประสงค์ เพื่อประโยชน์แด่พระศาสนาต่อไปในภายหน้า เพื่อเป็นแนวทางไว้ให้อนุชนนักปฏิบัติรุ่นหลังได้ศึกษา และเป็นแนวทางนำไปปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งทุกข์ หรืออย่างน้อยก็จางคลายจากทุกข์ได้ตามควรฐานะแห่งตน

เหตุที่มีการตีความและอธิบายในรูปแบบการข้ามภพข้ามชาตินั้น เท่าที่พิจารณาแล้วเข้าใจว่า เนื่องเพราะในสมัยพุทธกาลนั้นยังไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร จึงไม่ได้มีการบันทึกแสดงธรรมไว้โดยตรงจากพระองค์เอง เป็นการถ่ายทอดสืบต่อกันมาโดยความเข้าใจและการจดจำ แล้วถ่ายทอดกันต่อๆมาโดยเหล่าพระอริยสาวกและพระสาวกทั้งหลายที่ได้ทำหน้าที่สืบทอดพระศาสนาสืบต่อๆกันมาให้อนุชนรุ่นหลัง

เริ่มมีการบันทึกเป็นครั้งแรกที่เป็นหลักฐานปรากฏในปัจจุบันอยู่ในรูปศิลาจารึกในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช (ครองราชสมบัติประมาณ พศ.๒๑๘ ถึง ๒๖๐) เพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นองค์อุปถัมภ์ให้จัดทำการสังคายนาครั้งที่ ๓ ขึ้นในรัชสมัยที่ ๑๗ ของพระองค์ ซึ่งเกิดขึ้นประมาณกว่า ๒๐๐ ปีหลังจากรพระปรินิพพานของพระพุทธองค์ และดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เมื่อคราวตรัสรู้ว่า ธรรมอันลึกซึ้งมีเพียง ๒ คือ ปฏิจจสมุปบาท และ นิพพาน
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2553 18:48:11 »


ดังนั้นการอธิบายจำเป็นต้องใช้เวลาหรือการอธิบายเป็นเวลายาวนานอย่างแน่นอน จึงจะอธิบายได้อย่างแจ่มแจ้ง เพราะความที่เป็นธรรมอันลึกซึ้งเกี่ยวเนื่องถึงการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์หรืออุปาทานทุกข์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นแก่มวลสรรพสัตว์ โดยแสดงทั้งเหตุปัจจัยต่างๆอย่างลึกซึ้งเป็นเหตุเป็นผลกันและเป็นระบบอย่างถูกต้องและยังเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับธรรมในพระพุทธศาสนาโดยถ้วนหน้า

ดังนั้นแม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็อาจมิได้เคยแสดงไว้โดยละเอียดก็คงเนื่องด้วยเหตุดั่งนี้นี่เอง จึงมิได้มีการแสดงรายละเอียดขยายความปฏิจจสมุปบาทอย่างแจ่มแจ้งในพระไตรปิฎกจากพระองค์ท่าน ตามปกติจึงแสดงเพียงในรูปการสรุป หรือย่อหรือตัดทอนนำมาสอนในรูปแบบต่างๆตามจริต สติ ปัญญาของผู้รับธรรม หรือท่านอาจแสดงโดยละเอียดแต่เนื่องจากไม่มีการบันทึกไว้เป็นอักษร ภายหลังจึงไม่มีผู้จดจำได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ คงเนื่องด้วยความลึกซึ้งของปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

ตลอดจนผ่านกาลเวลาอันยาวนาน ผ่านการจดจำ ผ่านการสังคายนา การบันทึก การแปลความ การถ่ายทอด การจัดเขียนจัดพิมพ์ กล่าวคือถูกปรุงแต่งรจนาขึ้นนั่นเอง ดังนั้นธรรมของพระองค์ท่านแม้เป็นจริงอย่างปรมัตถ์ที่สุดแล้ว แต่เมื่อเป็นพระคัมภีร์ทั้งหลายย่อมผ่านการปรุงแล้วคือมีการบันทึก ก็ย่อมเป็นสังขารที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างหนึ่งตามพระไตรลักษณ์เช่นกัน จึงต้องรู้และยอมรับตามความจริง

แม้แต่พระไตรปิฎกที่ไทยยอมรับก็มีการสังคายนาถึง ๙ ครั้ง ๙ คราแล้วด้วยกัน จึงอยู่ภายใต้พระไตรลักษณ์ จึงย่อมมีความแปรปรวนบ้าง เปลี่ยนแปลงบ้าง เสื่อมบ้าง สูยหายไปบ้างเป็นธรรมดาภายใต้พระไตรลักษณ์ แต่ถึงอย่างไรก็ตามพระสาวกทั้งหลายตลอดจนพุทธศาสนิกชนได้พยายามอย่างเป็นที่สุดแล้วในการสืบสานพระศาสนา แต่ถึงกระนั้นก็ตามย่อมมีความเสื่อมไปตามธรรม(ธรรมชาติหรือพระไตรลักษณ์) บ้าง
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2553 18:50:23 »


และก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดสูงสุดในการสืบสานถ่ายทอดพระศาสนาให้คงอยู่ ด้วยการรักษาตำราเหล่านี้ไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระไตรปิฎก เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา เพราะถ้าไม่มีก็ยิ่งไขว้เขวแปรปรวนไปกันใหญ่ ไม่มีบรรทัดฐานและหลักฐานใดๆไว้สืบทอดพระศาสนา แต่ถึงแม้จะมีความแปรปรวน เสื่อมหรือสูญหายไปบ้างตามธรรมชาติก็ตามที แต่แก่นธรรมอันสำคัญยิ่งทั้งหลายอันเป็นเหตุปัจจัยให้ท่านตรัสรู้ และได้เผยแผ่สั่งสอนแก่เวไนยสัตว์ ก็ยังแฝงตัวดุจดั่งลายแทงขุมอริยทรัพย์อยู่ในบันทึกในรูปพระไตรปิฎกนั่นเอง

กล่าวคือ จึงต้องประกอบด้วยการตีความในภาษาเดิม และทำความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งด้วยปัญญา และใช้หลักกาลามสูตรของพระองค์ท่านเป็นเครื่องระลึกและป้องกัน แต่ก็ไม่มีผู้กล้าตีความออกนอกไปจากตำราหรือคัมภีร์ กล่าวคือ เพราะมีพระพุทธพจน์กล่าวยืนยันไว้ว่ายากและลึกซึ้ง เมื่อไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจึงไม่กล้าแสดงความคิดเห็นขัดแย้งตามที่ถ่ายทอดสืบกันต่อๆมาตามตำราหรือคัมภีร์ และในภายหลังยังมีคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นแนวทางที่ยึดถือสืบต่อๆมาอย่างแพร่หลายอีกด้วย

ส่วนผู้ที่มีความเข้าใจแจ่มแจ้งก็ไม่ได้บันทึกเอาไว้ด้วยเหตุปัจจัยบางประการดังเช่น ความลึกซึ้งจึงยากแก่การที่จะพรรรนา และมีความยาวที่ต้องต่อเนื่องสัมพันธืกันอย่างครบถ้วนทั้งวงจร ความเจริญทางด้านอุปกรณ์บันทึกและแจกจ่ายต่างๆ ฯลฯ

จนในที่สุดท่านพุทธทาส และท่านพระธรรมปิฎก ได้จุดประกายธรรมของปรมัตถธรรมอันยิ่งใหญ่ของปฏิจจสมุปบาทขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยการเผยแผ่ตีความออกมาอย่างเปิดเผยและเต็มกำลัง กล่าวถึงทั้งในรูปแบบข้ามภพข้ามชาติ และในรูปแบบที่เกิดขึ้นในขณะจิต จึงทำให้การแปลความและอธิบายปฏิจจสมุปบาทดำเนินไปในแนวที่ถูกต้องดีงามดังพระพุทธประสงค์อีกครั้งหนึ่ง

เนื่องเพราะการเล่าเรียนปฏิจจสมุปบาทที่สืบๆกันมา ล้วนเป็นการแปลความและอธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติทั้งสิ้น

(หาอ่านรายละเอียดเพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตีความปฏิจจสมุปบาทได้ในหนังสือที่เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทของท่านพุทธทาสเช่น ปฏิจจสมุปบาท หลักปฏิบัติอริยสัจจ์ที่สมบูรณ์แบบ, ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร? หรือหนังสือพุทธธรรม โดยท่านพระธรรมปิฎก สำหรับผู้ที่ห่วงใยหรือกังวลใจในเรื่องการตีความปฏิจจสมุปบาท มาแสดงดังนี้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2553 18:58:49 »



“......เพราะการเล่าเรียนเรื่องปฏิจจสมุปบาทที่สืบๆกันมา ล้วนเป็นการแปล และอธิบาย แบบข้ามภพข้ามชาติกันทั้งนั้น เมื่อมีผู้ตีความและอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบกระบวนธรรมในชีวิตประจำวัน ท่านผู้ที่ยึดถือหลักฐานทางคัมภีร์เป็นใหญ่อาจเห็นว่า การทำเช่นนั้นเป็นการตีความนอกแบบแผน ขาดหลักฐาน และเกิดความห่วงใย ไม่สบายใจ เพื่อความอุ่นใจและสบายใจร่วมกัน จึงได้ยกหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่า การตีความปฏิจจสมุปบาทแบบชีวิตประจำวันนั้น มีหลักฐานในคัมภีร์ เป็นแต่มีข้อน่าสังเกตุว่า หลักฐานที่มีนั้นอาจเป็นร่องรอยของอดีตที่กำลังเลือนลางหรือลืมกันไปแล้วและที่เหลืออยู่ได้ก็เพราะมีแกนคือพระไตรปิฎกยืนยันบังคับอยู่............”-พุทธธรรม หน้า ๑๔๐)

ดังผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องทุกข์ว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมอันลึกซึ้งถึงปรมัตถ์อย่างสูงสุดเป็นไปตามกฏของธรรมชาติหรือสภาวะธรรมชาติของปุถุชน จึงสามารถอธิบายได้ทั้งแบบการเกิดข้ามภพข้ามชาติหรือโลกียะ และแบบการเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์แล้วดำเนินต่อเนื่องเป็นวงจรที่เนื่องสัมพันธ์กันไปอันเป็นแบบโลกุตระ แต่การเกิดขึ้นแบบขณะจิตหนึ่งหรือการเกิดขึ้นแห่งทุกข์จึงถือได้ว่าถูกต้องตามพระพุทธประสงค์อย่างแท้จริง

เมื่อเข้าใจแล้วก็จะเกิดปัจจัตตังรู้เห็นได้ด้วยตนเอง ส่วนผู้ที่ศึกษาในแนวทางแบบข้ามภพข้ามชาตินั้นเมื่อเกิดภูมิรู้ขึ้น ก็จะพยายามปฏิบัติเพื่อดับภพดับชาตินั้นก็จริงอยู่ หรือปฏิบัติตนเป็นคนดีเพื่อหวังผลในภพชาติต่อไป ก็ย่อมได้รับผลดีต่อขันธ์หรือชีวิตตนแม้ตั้งแต่ในชาตินี้ แต่จะไม่สามารถเกิดภูมิรู้ภูมิญาณในเรื่องปัจจยาการหรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของทุกข์และการดับทุกข์โดยตรงๆได้อย่างถูกต้อง จึงไม่เข้าใจสภาวธรรมของการดับอุปาทานทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง จึงไม่เป็นไปเพื่อการดับภพดับชาติเสียแต่ในภพชาติปัจจุบันนี้ หรืออย่างน้อยก็ทำให้จางคลายจากทุกข์ได้อย่างถูกต้องดีงามตามฐานะแห่งตนในปัจจุบัน จึงยังเป็นการปฏิบัติเพื่อหวังผลในภายภาคหน้า ทำให้เป็นไปอย่างเนิ่นช้าและไม่มีผู้ใดรู้และยืนยันได้อย่างแท้จริงว่าเป็นภพชาติใด จึงยังเป็นผู้ตั้งอยู่ในความประมาทอยู่



พุทธพจน์
เราตถาคต จึงบัญญัติความเพิกถอน
ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ในปัจจุบันนี้

(จูฬมาลุงโกยวาทสูตร  ข้อที่ ๑๕๑)

พุทธอุทานคาถาที่ ๑
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะมารู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ

พุทธอุทานคาถาที่ ๒
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.

พุทธอุทานคาถาที่ ๓
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น
ย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้
ดุจพระอาทิตย์อุทัย ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.
มหาขันธกะ
โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ

มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒)
... อนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า

ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้.

ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด  อุปาทานขันธ์ ๕
เหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม แล.
ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความชื่นชอบ ในอุปาทานขันธ์ ๕
เหล่านี้อันใด อันนี้ชื่อว่าทุกขสมุทัย.

การกำจัดความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจ
การละความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจ ใน
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล.

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล
คำสอนของพระผู้มีพระภาค เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น
ชื่นชมยินดีภาษิต ของท่านพระสารีบุตรแล้วแล.
จบ. มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘
http://i1229.photobucket.com/albums/ee468/numie2/d13-1.gif
ว่าด้วย.. ปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค


จาก"พุทธอุทาน"ที่บังเกิดขึ้น ทรงชี้ถึงธรรมหรือสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงปีติในญาณ
หรือการหยั่งรู้ทั้ง ๓ ครั้งดังนี้
"รู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ" อันคือ รู้ธรรมหรือสิ่งทั้งหลายล้วนเกิดแต่มีเหตุมาเป็นปัจจัยกัน
"ได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย" กล่าวคือ เมื่อสิ้นเหตุปัจจัย  ธรรมหรือสิ่งทั้งหลายก็ย่อมดับไป
"ย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยทำอากาศให้สว่าง"
อันคือย่อมกำจัดกิเลส ตัณหา อุปาทานเสียได้
ดุจดั่งพระอาทิตย์ที่ย่อมขับไล่ความมืดมัว อันจักทำให้โลกสว่างไสวและอบอุ่น

หรือพอสรุปกล่าวได้ว่า
ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ สิ่งหรือธรรมเหล่านั้นก็ดับไปเป็นธรรมดา
นัตถิ ปัญญาสมา อาภา
แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญาไม่มี

ที่มา : http://www.nkgen.com/739.htm
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ตุลาคม 2554 19:18:36 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: พุทธอุทาน ค่ะ » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2553 20:17:13 »

http://img110.imageshack.us/img110/9410/155h.jpg
ว่าด้วย.. ปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค



การฟังธรรมด้วยความตั้งใจ

เป็นการเคารพพระธรรม

การฟังธรรมเสมอ ๆ

ความเข้าใจย่อมสะสมไปในภพหน้า

ความถือตัว คือ มานะ

ขณะมีมานะ ขาดความเมตตา

ความเมตตาเจริญขึ้นเท่าไร ความโกรธยิ่งน้อยลง

เราต้องกรุณาแม้ความเห็นผิดของผู้อื่น



ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 พฤษภาคม 2553 20:26:07 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น: คัมภีร์วิสุทธมรรค   ปฏิจจสมุปบาท   ท่านพุทธโฆสาจารย์   ภพชาติ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
Of Death... ว่าด้วย ความตาย
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
เงาฝัน 15 25232 กระทู้ล่าสุด 11 มีนาคม 2553 14:50:39
โดย เงาฝัน
โศลก ว่าด้วย ฝุ่นบนกระจก
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 2745 กระทู้ล่าสุด 12 มิถุนายน 2553 13:14:41
โดย เงาฝัน
อุรคชาดก ว่าด้วย เปรียบคนตายเหมือนงูลอกคราบ
นิทาน - ชาดก
เงาฝัน 1 2546 กระทู้ล่าสุด 19 เมษายน 2555 21:11:31
โดย หมีงงในพงหญ้า
ภาคผนวก ว่าด้วย เซน (ฉาน) อะไรคือ “เซน” โดย เผิงหย่งเสียง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1069 กระทู้ล่าสุด 15 พฤศจิกายน 2559 08:10:32
โดย มดเอ๊ก
ว่าด้วย ศิวลึงค์ เคยสงสัยหรือไม่ ว่าทำไมคนอินเดียถึงบูชาพระศิวะแบบนี้ ?
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
หมีงงในพงหญ้า 0 1556 กระทู้ล่าสุด 08 มิถุนายน 2564 21:46:26
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.685 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้