[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 13:40:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ประมวลความเคลื่อนไหวว่าด้วย ‘งบสถาบันกษัตริย์’ ย่างเข้าสู่ปีที่ 4 ที่มีการพูด  (อ่าน 47 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 02 มกราคม 2567 21:47:49 »

ประมวลความเคลื่อนไหวว่าด้วย ‘งบสถาบันกษัตริย์’ ย่างเข้าสู่ปีที่ 4 ที่มีการพูดถึง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-01-02 18:58</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ทีมข่าวการเมือง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>จากรายงานเชิงข่าวต้นปี 63 การตั้งคำถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเคลื่อนไหวบนท้องถนน สู่การอภิปรายในสภา การพิจารณาของกรรมาธิการพิจารณางบฯ การอธิบายตอบโต้ และการสู้กันในชั้นศาล ขณะที่อีกฝ่ายชี้บิดเบือนงบฯ สถาบันกษัตริย์ สร้างวาทกรรม ‘เงินรายปี’</li>
<li>ความเคลื่อนไหวในสภาและกรรมาธิการ รวมทั้งข้อเสนอ ‘แผนบูรณาการโครงการที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ’ ของก้าวไกลที่ไม่ถูกนำไปใช้ สส.ก้าวไกลยังประเมินว่ามีพัฒนาการจากหน่วยงาน แต่คนในสภาเองที่พยายามเซ็นเซอร์กันเอง</li>
<li>‘ส่วนราชการในพระองค์’ ปรับวิธีแจงการใช้งบ-ขอหน่วยงานอื่นเลี่ยงต่อท้ายชื่อโครงการด้วย ‘เฉลิมพระเกียรติ’</li>
<li>ขณะที่กระบวนการในศาลยุติธรรมที่มีการฟ้องคดีจากการวิพากษณ์วิจารณ์งบส่วนนี้ มีทั้งลงโทษมีทั้งยกฟ้อง เปิดมุมมองนักวิชาการนิติศาสตร์เบิกความในศาลชี้ คำว่า ‘งบสถาบันพระมหากษัตริย์’ ไม่ได้เกี่ยวข้อง หรือเชื่อมโยงไปถึงพฤติกรรม หรือการกระทำของบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง ที่ได้รับความคุ้มครองตาม ม.112</li>
</ul>
</div>
<p>3-5 ม.ค.2567 นี้ สภาผู้แทนราษฎรจะประชุมเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจําปี 67 ในวาระที่ 1 โดยประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจตาม เอกสารงบประมาณ (เอกสารขาวคาดแดง) ที่เว็บไซต์สำนักงบประมาณเผยแพร่เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.66 นั้นคือเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 3 เล่มที่ 17 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ระบุรายละเอียดหน่วยงานสำคัญคือ ส่วนราชการในพระองค์ ปีนี้ลดลงเหลือ 8 หน้าหน้ากระดาษ และตั้งงบประมาณไว้ที่ 8,478,383,000 โดยปีที่แล้วหรืองบประมาณปี 66 นั้นมีจำนวน 9 หน้ากระดาษ เป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับหน่วยรับงบประมาณอื่นๆ ที่รับงบประมาณในระดับเดียวกัน เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ราว 8,800 ล้านบาท แต่กลับมีรายละเอียดถึง 366 หน้ากระดาษ แม้ที่ผ่านมาจะมีความเคลื่อนไหวทั้ง สส. และนอกสภาเพื่อเรียกร้องให้ส่วนราชการในพระองค์ชี้แจ้งรายละเอียดมากกว่านี้ก็ตามทามกลางกระแสเรียกร้องปฏิรูป ‘งบประมาณที่เกียวกับสถาบันกษัตริย์’ หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘งบสถาบันฯ’ กว่า 3 ปีที่ผ่านมา</p>
<p>ในโอกาสก่อนที่สภาจะพิจารณางบประมาณกว่า 3.48 ล้านล้านบาท จะขอย้อนทบทวนความเคลื่อนไหวหรือวาทกรรมเกี่ยวกับ ‘งบสถาบันฯ’ ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การตรวจสอบ การเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูป ปฏิกิริยาจากรัฐ รวมทั้งการต่อสู้ในคำอธิบายหรือนิยามของคำๆ นี้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เปิดเมื่อ มี.ค.63</span></h2>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/49651152987_79e5f2e297_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">พายชาร์ตงบประมาณส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ตาม พ.ร.บ.งบประมาณ 2563 ที่ประชาไทจัดทำและเผยแพร่เมื่อวันที่ 12 มี.ค.2563</span></p>
<p>ประชาไทเผยแพร่รายงานที่ชื่อว่า “เปิดงบประมาณปี 2563 ส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.9 หมื่นล้านบาท” เมื่อวันที่ 12 มี.ค.2563 สร้างปรากฎการณ์ที่มีผู้เข้ามาอ่านในจำนวนมาก รวมทั้งกระแสในการวิพากษ์วิจารณ์ โดยในครั้งนั้นประชาไทกำชับหรืออธิบายประกอบสิ่งที่เรียกว่า ‘งบสถาบันฯ’ ไว้ว่า</p>
<p>“..แบ่งการใช้จ่ายงบประมาณออกเป็น 2 ส่วนดังกล่าว โดยนิยามของรายจ่ายโดยตรงคือ รายจ่ายที่ใช้จ่ายกับสถาบันกษัตริย์โดยตรง เช่น งบรักษาความปลอดภัย งบการเดินทาง งบพิทักษ์สถาบัน นิยามของรายจ่ายโดยอ้อมคือ รายจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น โครงการในพระราชดำริ โครงการที่เป็นไปในลักษณะเทิดพระเกียรติ โครงการประชาสัมพันธ์  นอกจากนี้หากจะกล่าวกันอย่างเคร่งครัด ยังมีนิยามของส่วนที่สาม โครงการที่ใช้ชื่อเกี่ยวเนื่อง นิยามของมันคือ โครงการของหน่วยงานใดๆ ที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานแต่มีชื่อเกี่ยวเนื่องกับสถาบันเพื่อเทิดพระเกียรติ เช่น โครงการสร้างทักษะในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ 70,000 ราย เป็นต้น...”</p>

<p>เดิมการเปิดเรื่องงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์มุ่งไปที่ ‘ส่วนราชการในพระองค์’ ภายหลังจากที่มี พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 พ.ค.60 เพื่อจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยโดยได้โอนกิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน และงบประมาณของ 5 หน่วยงานเดิม ประกอบด้วย สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และกรมราชองครักษ์และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม และสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำไปเป็นส่วนราชการในพระองค์ ซึ่งที่แรกๆ ที่พูดถึงงบประมาณในส่วนนี้คือบีบีซีไทย เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.60 บีบีซีไทย รายงานหัวข้อ งบประมาณ 2561: "งบส่วนราชการในพระองค์" ลด 14% กลาโหมเพิ่ม 4.2%</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>เปิดงบประมาณปี 2563 ส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.9 หมื่นล้านบาท https://prachatai.com/journal/2020/03/86761</li>
<li>เปิดงบเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ปี 2564 รายละเอียดตามเอกสาร ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ https://prachatai.com/journal/2020/08/89306</li>
<li>เปิดงบเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ปี 65 รายละเอียดตามเอกสาร ร่างพ.ร.บ.งบฯ พบราว 3.57 หมื่นล้าน https://prachatai.com/journal/2021/08/94506</li>
<li>เปิดงบเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ปี 66 รายละเอียดตามเอกสาร ร่างพ.ร.บ.งบฯ พบราว 3.47 หมื่นล้านhttps://prachatai.com/journal/2022/08/99977</li>
</ul>
</div>
<p>อย่างไรก็ตามงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ซึ่งหมายรวมถึงองคาพยพและกลไกต่างๆ นั้น ไม่ได้มีอยู่เฉพาะในส่วนราชการในพระองค์เท่านั้น หากแต่ยังอยู่ในหน่วยรับงบอื่นๆ ที่ระบุวัตถุประสงค์ไว้ตามเอกสารงบประมาณอีก เช่น งบกลาง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น กระบวนการนับและเผยแพร่ผลการนับจึงเริ่มขึ้นอย่างที่กล่าวข้างต้น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ</span></h2>
<p>ภายหลังจากเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับงบสถาบันในเดือนมีนาคม 2563 ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน ชลธิชา แจ้งเร็วและโชคชัย ไพบูลย์รัชตะ นักกิจกรรมด้านประชาธิปไตย เข้ายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เพื่อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบและชี้แจงการใช้การใช้งบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งอานนท์ ระบุเหตุผลว่า เนื่องมาจากมีการถกเถียงกันว่า งบประมาณที่สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์มาจากภาษีประชาชนหรือไม่ หลังจากนั้นตนก็ถูกเพจของกลุ่มกษัตริย์นิยมที่มาล่าแม่มด แจ้งความดำเนินคดีด้วยข้อหานำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ ตนจึงต้องการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้</p>
<p><img alt="" src="[url]https://live.staticflickr.com/65535/50021997001_555c259594_b.jpg" />[/url]</p>
<p>ภาพ อานนท์ ชลธิชา ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบและชี้แจงการใช้การใช้งบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.63</p>
<p>ข้อเรียกร้องของทนายอานนท์ที่ระบุไว้ในหนังสือ มีทั้งหมด 3 ข้อคือ ข้อแรกให้มีการชี้แจงการใช้งบประมาณเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม และให้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีทำหนังสือถึงพระราชวังให้ชี้แจงการใช้งบประมาณแผ่นดิน และเงินคงเหลือทั้งหมด</p>
<p>ข้อสอง ให้ขอรับเงินงบประมาณแผ่นดินที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์จากทุกหน่วยงานของรัฐเฉพาะในส่วนที่เกินจำเป็นและที่คงเหลือคืน เพื่อนำมาเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยทนายอานนท์ได้ยกตัวอย่างงบลักษณะดังกล่าว เช่น งบสำหรับการเสด็จพระราชดำเนินทั้งในและต่างประเทศ งบส่วนราชการในพระองค์ และค่าประชาสัมพันธ์แฟชั่นของกระทรวงพาณิชย์ โดยเขาได้แนบเอกสารประกอบเป็นรายงาน “เปิดงบประมาณปี 2563 ส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.9 หมื่นล้านบาท" ที่จัดทำโดยประชาไท เพื่อประกอบการพิจารณา</p>
<p>ข้อสุดท้าย ทนายอานนท์ยังขอให้ส่งเอกสารที่ตรวจสอบแล้วแก่พนักงานสอบสวนในคดีที่เขาตกเป็นผู้ต้องหา และหากคดีต้องไปถึงชั้นศาลตนก็ขอให้พล.อ.ประยุทธ์มาเป็นพยานฝ่ายจำเลยในคดีด้วย</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ทนายอานนท์ ร้องประยุทธ์ ตรวจสอบการใช้งบเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์</li>
<li>สำนักปลัดนายกฯ โยนสำนักงบฯ กรมบัญชีกลาง ตอบ 'ทนายอานนท์' ปมงบฯ สถาบันกษัตริย์</li>
</ul>
</div>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53436487702_192f5f939a_b.jpg" /></p>
<p>อย่างไรก็ตามเดือนธันวาคมปีเดียวกัน สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือตอบกลับอานนท์ โดยระบุว่า ได้ประสานส่งเรื่องให้ สำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบกรณีที่ท่านได้มีหนังสือกราบเรียนนายกฯ ดังกล่าว เพื่อรับทราบข้อมูลประกอบการพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่เเละอำนาจต่อไปเเล้ว</p>
<p><img alt="" src="[url]https://live.staticflickr.com/65535/50184785531_8c5c742eb4_b.jpg" />[/url]</p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">อานนท์ ยังปราศรัยวันที่ 3 ส.ค.63 ซึ่งมีข้อเรียกร้องหนึ่งถึงการตรวจสอบงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์</span></p>
<p>3 ส.ค.2563 อานนท์ ยังปราศรัยระหว่างกิจกรรม 'เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย' ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการปราศรัยถึงข้อเรียกร้องต่อสถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมาในที่สาธารณะครั้งแรกในช่วงการเคลื่อนไหลระรอกปี 63 ซึ่งตอนหนึ่งอานนท์ ยังกล่าวถึงข้อเรียกร้องเกี่ยวกับงบส่วนนี้ว่า การใช้งบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นต้องถูกตรวจสอบตามระบอบ โดยการจัดกิจกรรมนี้นอกจาก อานนท์แล้ว ผู้จัดยังถูกฟ้องในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ตามมาตรา 112, ยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ, พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาฯ ด้วย</p>
<p>จากนั้นวันที่ 10 ส.ค.63 นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในนามแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จัดชุมนุมโดยใช้ชื่อกิจกรรม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" ที่ ศูนย์รังสิต ซึ่งมีข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ โดย 1 ใน 10 ข้อ ระบุว่า “ตัดลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ” จากนั้นเป็นต้นมาการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนและประชาชนที่ชู 3 ข้อเรียกร้อง คือ 1. ให้พล.อ.ประยุทธ์ ลาออกจากนายกฯ 2. จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ และ 3 ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ก็เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง จนมีการฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญและวันที่ 10 พ.ย.64 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 63 ซึ่งมีอานนท์ นำภา, ภาณุพงศ์ จาดนอก และ ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เป็นผู้ปราศรัย เป็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">งบสถาบันฯ ในมุมของ iLaw และ Common School ที่ไม่ใช่ตัวบุคคล แต่มองในเชิงสถาบัน</span></h2>
<p>สำหรับรายงานเกียวกับงบสถาบันฯ นั้น iLaw หรือโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน เคยนำเสนอ เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 64 โดยดูย้อนหลังไปถึง 10 ปี ขณะที่ Common School ซึ่งหน่วยงานทางความคิดของคณะก้าวหน้าก็ เผยแพร่ข้อมูลในชื่อ "เผยละเอียดทุกรายการ ทุกโครงการ งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์! ยอดรวมทั้งสิ้น 36,388.74 ล้านบาท" ซึ่งระบุ ผู้ค้นและเรียบเรียงข้อมูล คือ เอกวิทย์ ทองดีวรกุล เมื่อวันที่ 22 ส.ค.65</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>iLaw เปิดงบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์ 10 ปีย้อนหลัง (บางส่วน)</li>
<li>Common School เปิดงบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ ตามร่าง พ.ร.บ.งบฯ 66 ยอดรวม 3.6 หมื่นล้าน</li>
</ul>
</div>
<p>บุณยนุช มัทธุจักร ผู้จัดทำรายงานของ iLaw อธิบายการนับงบประมาณสถาบันกษัตริย์ของเธอกับประชาไทไว้เมื่อปลายปี 65 ว่า เป็นการเปรียบเทียบกันระหว่าง อิงสถานะบุคคล และอิงกับตัวพระมหากษัตริย์ รวมถึงตัวสถาบันที่เป็นบุคคลรอบข้างว่ารูปแบบการใช้ชีวิตแบบนี้เขาจำเป็นต้องใช้งบประมาณอะไรบ้างเพื่อให้ดำรงอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ได้</p>
<p>หากแบ่งเป็นกรอบเป็น 6 ส่วนใหญ่ๆ  1. เรื่องเกี่ยวกับพระราชฐาน ที่พำนัก  2. องคาพยพที่ใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หมายถึงตัวองค์กรที่ทำหน้าที่เลขาฯ อย่างสำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ ก่อนตั้งส่วนราชการในพระองค์ 3. งบฯ การเสด็จพระราชดำเนิน 4. การถวายความปลอดภัย 5. งบฯ การประชาสัมพันธ์ และ 6. งบฯ ที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามพระบรมราโชบายหรือโครงการจิตอาสา 904</p>
<p>จุดตัดของ iLaw ในการกำหนดกรอบวิธีคิดในการนับงบสถาบันฯ คือ สถาบันได้ประโยชน์จากงบประมาณเหล่านั้นหรือไม่ ซึ่งประโยชน์กาจจะไม่ใช่ประโยชน์โดยตรง อาจเป็นประโยชน์รอบๆ ตัว เช่น สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกหรือมีคนถวายความปลอดภัย แต่อีกอย่างที่สำคัญคือการจะนับงบสถาบันฯต้องดูวัตถุประสงค์ในการใช้งบฯนั้นๆ ด้วย สมมติมีการตั้งสถานที่หากตั้งสถานที่แล้วมีห้อยชื่อ 'เฉลิมพระเกียรติ' ก็อาจไม่สามารถนับว่าเป็นงบฯ สถาบันได้ แม้การตั้งโดยห้อยชื่อในยุคเริ่มต้นอาจจะต้องการประชาสัมพันธ์ แต่เราก็ต้องไปดูในเนื้อนั้นด้วยว่างบฯที่ลงกับสถานที่นั้นถูกนำไปใช้เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์จริงๆ หรือไม่ หรือมันเป็นการใช้อย่างอื่นแต่ว่าได้มีการห้อยชื่อเฉลิมพระเกียรติเฉย เช่น รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ แม้ว่าชื่อจะห้อยคำว่า "เฉลิมพระเกียรติ" มีคีย์เวิร์ด แต่งบฯก็ใช้ไปกับประชาชนที่เขามีสิทธิการรักษาในพื้นที่</p>
<p>อีกแบบที่ไม่ค่อยนับรวมเป็นงบฯสถาบันเท่าไหร่ คือ งบฯ เครื่องราชฯ แม้จะมองเป็นงบฯสถาบันก็ได้เพราะเป็นการสืบสารวัฒนธรรมรากเหง้าจากระบบเดิมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ แต่ทาง iLaw ก็ไม่ได้นับ เพราะคนที่ได้ประโยชน์ปลายทางจริงๆ คือคนที่ใส่เครื่องราชฯ มากกว่า ซึ่งก็ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันได้อยู่ ว่ามันควรนับหรือไม่ควรนับ  ส่วนโครงการในพระราชดำริที่หมายเหตุว่าไม่ได้นำมาคำนวนงบสถาบันฯ นั้น บุณยนุช กล่าวว่าเป็นเหตุผลเรื่องการทำงานมากกว่าเพื่อให้งานเสร็จทัน แต่ส่วนตัวคิดว่าหากจะนับโครงการพระราชดำริเป็นงบสถาบันฯ ก็ยังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันได้อยู่เช่นกัน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50809527197_dc7c6f652d_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">กราฟิกประกอบรายงานของ iLaw เผยแพร่เมื่อ 3 ม.ค. 64</span></p>
<p>กรณีที่ iLaw ทำงบสถาบันฯ นับย้อนหลังไปถึง 10 ปี นั้น นอกจากยอดที่เพิ่มขึ้นแล้ว บุณยนุช กล่าวว่า 10 ปี อาจเป็นตัวเลขที่มีข้อบกพร่องอยู่จากที่เห็นช่วง 3 รัฐบาล แต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้นก็เห็นไม่ครบ สำหรับเชิงตัวเลขนั้น ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการตั้งงบประมาณสถาบันฯ ค่อนข้างสูง แต่ว่าในเชิงรายละเอียดก็พบว่าในแง่หน่วยรับงบประมาณบางอย่างมีการเปลี่ยนแปลง เช่น งบประชาสัมพันธ์หรือพีอาร์ก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นภายใต้ยุครัฐบาลประยุทธ์</p>
<p>อีกสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงในการจัดสรรงบสถาบันฯ คือ ในรัฐบาลประยุทธ์ มีการโอนย้ายหน่วยงานอย่างสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และกรมราชองครักษ์และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ที่อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหม รวมไปถึงตำรวจราชสำนักภายใต้สำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเป็นส่วนราชการในพระองค์ เมื่อมีการฟอร์มรูปแบบหน่วยงานใหม่ภายใต้ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ ทำให้เกิดงบประมาณที่ไปตั้งในหน่วยงานใหม่ซึ่งมันไม่มีในยุครัฐบาลก่อนหน้านี้ และอีกอย่างเมื่อไปตั้งในหน่วยงานใหม่ก็จะมีงบประมาณบางอย่างที่ยังหลงเหลือจากหน่วยงานเดิมที่เขาโอนย้ายมา ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนในการตั้งงบประมาณกับหน่วยงานเดิม เช่น กระทรวงกลาโหมอาจจะมีการตั้งงบประมาณซ้ำซ้อนเรื่องการถวายความปลอดภัยทั้งที่นำกำลังพลไปส่วนราชการในพระองค์แล้ว และส่วนราชการในพระองค์ก็ควรจะรวมถึงเงินเดือนของข้าราชการที่รักษาความปลอดภัยแล้ว แต่กลับปรากฏมีงบส่วนนี้ห้อยอยู่ที่กระทรวงกลาโหมอีก ซึ่งเมื่อดูงบประมาณส่วนราชการในพระองค์ที่มีการชี้แจงกับกรรมาธิการตอนพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 65 และ 66 พบว่างบประมาณส่วนราชการในพระองค์ประมาณ 90% เป็นเงินเดือนของข้าราชการ จึงทำให้เข้าใจได้ว่างบประมาณส่วนราชการในพระองค์ตั้งแต่งบเเดือน อาจจะมีส่วนอื่นบ้างแต่เล็กน้อย อาจส่งผลให้งบประมาณที่เกี่ยวกับการถวายความปลอดภัย เช่น การจัดซื้อวัสดุต่างๆ มันถึงไปห้อยที่กระทรวงกลาโหม เนื่องจากส่วนราชการในพระองค์ไม่ครอบคลุม</p>
<p>"ถ้าเราจะต้องรักษาพระมหากษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งให้มีชีวิตอยู่ได้เพื่อเป็นประมุขของรัฐ เราต้องรักษาความปลอดภัย เพราะฉะนั้นคนที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยก็ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับภารกิจเพื่อการมีอยู่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง เพราะฉะนั้นเราควรนับงบประมาณขององคาพยพของคนที่ทำหน้าที่เหล่านั้นว่าเป็นงบสถาบันฯ มันไม่ได้หมายความว่าการนับงบสถาบันฯมันจะจบแค่ว่าเงินไปเข้ามือสถาบันฯ โดยตรง ส่วนตัวมองว่าแม้กระทั้งทำระบบบางอย่างให้สถาบันสามารถอยู่ต่อไปได้ สามารถทำงานมีกลไกขับเคลื่อนต่อไปได้มันก็ต้องนับ" บุณยนุช กล่าว</p>
<p>ขณะที่ เอกวิทย์ ผู้จัดทำรายงานงบสถาบันฯ ของ Common School เปิดเผยถึงกรอบในการนับงบประมาณของเขากับประชาไทไว้เมื่อปลายปี 65 เช่นกันว่า อะไรก็ตามที่ไม่มีการอ้างอิงใดๆ กับประมุขแล้วมันไม่น่าจะเกิดโครงการนั้นได้ คิดว่านี่เป็นงบสถาบันฯ ยกตัวอย่าง พิพิธภัณฑ์ไม้มีค่าที่กำลังก่อสร้าง แม้ว่าไม่ได้มีชื่อโดยตรง แต่ที่มาที่ไปของพิพิธภัณฑ์นี้เกี่ยวข้องกับประมุขอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่โครงการอาคารเฉลิมพระเกียรติหลายๆ แห่งแม้ว่าจะมีชื่อประมุขอยู่ ตนมองว่าไม่ใช่งบประมุขเพราะหลายที่มันต้องมีการก่อสร้างอยู่แล้ว เช่น โรงเรียนต่างๆ ถ้าไม่ใส่ชื่อประมุข อาคารเรียนก็ได้สร้างอยู่แล้ว</p>
<p>ในกรณี โครงการชลประทาน “ในพระราชดำริ” อย่างไรเสียก็ต้องเป็นงบประมุข เพราะความหมายมันคือโครงการที่เป็น “นโยบาย” ของประมุข ซึ่งเปรียบเสมือนการบริหารงานโดยประมุข การอ้างว่ารัฐบาลเป็นคนบริหารโครงการนี้เองโดยรับเอานโยบายจากประมุขมาทำ อย่างไรก็ผิดหลักการประชาธิปไตย ซึ่งในบริบทประชาธิปไตยมันอธิบายไม่ได้ งบส่วนนี้จึงควรเป็นของประมุขอย่างแน่นอน เป้าหมายคือการนำนโยบายประมุขไปทำต่อ เปรียบเสมือนนักการเมืองคนหนึ่งที่ใช้นโยบายนี้หาเสียงต่อไปเรื่อยๆโดยไม่ได้ยึดโยงกับนโยบายรัฐบาลที่ประชาชนเป็นคนเลือก เนื่องจากหลักการ King can do no wrong ที่รัชกาลที่ 9 เคยพูดไว้นั่นเอง โครงการ “ในพระราชดำริ” ไม่เพียงแต่เป็นงบประมุข แต่เป็นงบที่ประมุขไม่ได้ใช้กำไรจากทรัพย์สินประมุขลงทุนเองเสียด้วยซ้ำ ซึ่งในที่สุดแล้วประมุขสามารถที่จะทำได้หากใช้เงินส่วนพระองค์ เหมือนกับที่อังกฤษมีโครงการทางสังคมของตัวเอง ก็ใช้งบประมาณของวังเอง ส่วนญี่ปุ่นนั้นมีกรอบที่มากจนทำอะไรแทบไม่ได้</p>
<p>ส่วนอื่นๆ ก็คืองบโครงการจากแนวคิดของคนในพระราชวงศ์ ก็ควรเป็นงบประมุขเช่นกัน ในอีกนัยหนึ่งถ้าไม่มีระบบประมุขที่เป็นกษัตริย์คงไม่มีงบตรงนี้เกิดขึ้น เช่น งบเครื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52303540754_ae9139fd5b_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพที่ Common School เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 ส.ค.65</span></p>
<p>ผู้จัดทำรายงานงบสถาบันฯ ของ Common School ระบุด้วยว่า ในความเป็นจริง หากจากเปรียบเทียบงบประมาณกับอังกฤษ งบสถาบันฯไทยควรจะขึ้นไปถึง 5 หมื่นล้านอย่างน้อยๆ เป็นการรวมงบ สามหมื่นล้านจากงบสามล้านล้าน และงบจากกำไรทรัพย์สินพระฯอีกประมาณ สองหมื่นล้านอย่างต่ำๆ อาจจะมากกว่านี้ ไม่มีงานศึกษาแน่ชัด แต่ถ้าคิดจากทรัพย์สินที่เคยรายงานกว่า ล้านล้านบาท หากกำไรปีละ 1% ก็ได้แล้ว 3 หมื่นล้านบาท สุดท้ายแล้วข้อถกเถียงเรื่องทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะเป็นของร้อน ว่าสรุปเป็นของส่วนพระองค์หรือเป็นของรัฐ นี่คือระเบิดเวลาที่กำลังนับถอยหลัง แม้อานนท์ นำภา จะเคยนำมาอภิปรายไปแล้วก็ตาม แต่ถูกทำให้ลืมๆ ไปโดยนิติสงคราม</p>
<p>แม้กรอบการนับงบสถาบันฯ ของประชาไท พรรคกาวไกล iLaw และ Common School อาจจะไม่เหมือนกัน 100% แต่ในส่วนใหญ่ก็เห็นไปในทางเดียวกัน โดยเฉพาะไม่ได้มองเพียงแค่ตัวบุคคลหรือกษัตริย์ แต่มองที่องคาพยพหรือกลไกและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบสร้างความเป็นสถาบันขึ้นมา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ขณะที่อีกฝ่ายชี้บิดเบือนงบฯ สถาบันกษัตริย์ สร้างวาทกรรม ‘เงินรายปี’</span></h2>
<p>อย่างไรก็ตามไม่ได้มีเพียงกระแสทำความเข้าใจทรัพยากรหรือกลไกของรัฐผ่านงบประมาณส่วนนี้ไปทางเดียวเท่านั้น แต่ยังมีการโต้แย้ง โดยเฉพาะ อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ นักวิชาการคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า และยังเป็นหนึ่งในคณาจารย์สถาบันทิศทางไทย ออกมาเขียนบทความโต้ รวมทั้งรวมเล่มเป็นหนังสือ ‘สถาบันกษัตริย์ : ความจริงที่ถูกบิดเบือน’ ที่จัดเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 13 ต.ค.65 ในงานดังกล่าว อานนท์ กล่าวว่า งบประมาณถูกหยิบยกขึ้นมา เนื่องจากง่ายที่จะทำให้คนผิดใจกัน ดังนั้น จึงมีความพยายามใส่ไฟ และบิดเบือน เรื่องงบประมาณของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการประดิษฐ์วาทกรรมใหม่ คือ ‘เงินรายปี’</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>สรุปเสวนาเปิดตัวหนังสือ 'สถาบันกษัตริย์: ความจริงที่ถูกบิดเบือน'-มองเรื่อง ‘กษัตริย์’ ผ่านแว่น ‘อนุรักษ์นิยม’</li>
</ul>
</div>
<p>นักวิชาการนิด้า แย้งว่าเขาไม่เคยได้ยินคำว่า “เงินรายปี” เพราะในประเทศไทยปกติจะมีคำว่า “เงินปี” หรือเป็นเงินที่รัฐบาลถวายให้องค์พระมหากษัตริย์ เพื่อใช้เป็นการส่วนตัว และพระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีต่างประเทศก็มีเหมือนกันอย่างในประเทศอังกฤษ และญี่ปุ่น และเงินปีส่วนนี้ไม่ได้จำนวนมาก นอกจากนี้ จะยังมีงบประมาณประจำปีของหน่วยราชการในพระองค์ด้วย</p>
<p>มีคนที่พยายามเอางบประมาณส่วนราชการในพระองค์ภายใต้สำนักพระราชวัง สำนักองคมนตรี และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ มารวมกัน ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานมีบุคลากรจำนวนราว 14,000 คน และมาเรียกงบฯ ทั้งหมดว่า “เงินรายปี” และมีการนำมาตีความว่าเป็น “เงินปี” ซึ่งเป็นเงินที่ในหลวงใช้ส่วนพระองค์ ซึ่งอานนท์ มองว่า ‘เงินปี’ และงบประมาณส่วนราชการในพระองค์ฯ สำนักองคมนตรี และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยฯ เป็นงบฯ คนละส่วน ต้องมองแยกกัน</p>
<p><img alt="" src="[url]https://live.staticflickr.com/65535/52437089609_907e95d5cf_b.jpg" />[/url]</p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพ อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (ขวา) ในงานเปิดตัวหนังสือ ‘สถาบันกษัตริย์ : ความจริงที่ถูกบิดเบือน’ ที่เขาเป็นผู้เขียน เมื่อวันที่ 13 ต.ค.65</span></p>
<p>“อันหนึ่งเป็นเรื่องใช้ส่วนพระองค์ คือ เงินปี ส่วนเงินงบประมาณประจำปี เป็นเรื่องของงบประมาณแผ่นดิน กับราชการส่วนพระองค์ มาประดิษฐ์คำใหม่ว่า ‘เงินรายปี’ ให้คนงงเล่นๆ ใช้วิธีการในการโกหกได้ง่ายที่สุดคือการประดิษฐ์คำพูดใหม่” อานนท์ กล่าว</p>
<p>นอกจากนี้ อานนท์ ระบุว่าในความเป็นจริง พระมหากษัตริย์และพระราชินีไม่เคยรับเงินปีที่รัฐบาลถวาย และพระราชทานคืน ‘กรมบัญชีกลาง’ ทั้งหมด และเงินในส่วนที่ถวายให้พระบรมวงศานุวงษ์ ในหลวงใช้เงินส่วนพระองค์เองทั้งหมด ซึ่งไม่เกี่ยวกับที่รัฐบาลถวาย</p>
<p>สืบเนื่องจากเมื่อปี 2563 ทางรัฐบาลมีการออกพระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก ไปเป็นหน่วยบัญชาการความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทำให้ฝ่ายต่อต้านสถาบันฯ ออกมาวิจารณ์ว่าเป็นการสร้างกองทัพส่วนพระองค์</p>
<p>อานนท์ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า นี่เป็นเรื่องปกติที่ประมุขของทุกประเทศต้องได้รับการคุ้มครอง อย่างในสหรัฐฯ การดูแลความปลอดภัยของประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ปีหนึ่งใช้งบฯ ประมาณ 4 หมื่นกว่าล้านบาท และมีคนในหน่วยงานหลายหมื่นคน</p>
<p>อานนท์ ระบุว่า เป็นการโอนเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารจำนวน 8,000 รายเท่านั้น ซึ่งไม่ได้เยอะมากพอจะไปตั้งเป็นกองทัพส่วนพระองค์ตามที่ถูกกล่าวอ้าง และเป็นคนเดิมที่ถวายงานอารักษาให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว และการโอนอัตรากำลังพลครั้งนี้ โอนมาแค่กำลังพล และไม่มีการโอนอาวุธยุทโธปกรณ์มาด้วย</p>
<p>นักวิชาการสถิติศาสตร์ ระบุว่า ตามประวัติศาสตร์ กองพันทหาร ราบ 1 และราบ 11 แต่เดิมเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ของรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 แต่พอเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัย 2475 คณะราษฎรกังวลว่า พระเจ้าแผ่นดินจะมีทหารรักษาความปลอดภัยในมือ ก็มีการโอนทหารไปขึ้นอยู้กับกองทัพบก สุดท้ายก็แค่โอนกลับไปอยู่ทางพระราชวังเหมือนเดิม เป็นกองบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความเคลื่อนไหวในสภาและกรรมาธิการ รวมทั้งข้อเสนอ ‘แผนบูรณาการโครงการที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ’ ของก้าวไกลที่ไม่ถูกนำไปใช้</span></h2>
<p>อีกด้านคือการอภิปรายงบประมาณในสภาโดยเฉพาะบทบาทของ สส.พรรคก้าวไกล และกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบฯ เริ่มจาก 20 ส.ค. 63 ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 เป็นการพิจารณางบประมาณส่วนราชการในพระองค์ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ในฐานะที่ปรึกษา กมธ. ซึ่งเป็นสัดส่วนพรรคก้าวไกล ร่วมซักถามโดยขอให้สำนักงบประมาณช่วยชี้แจงว่า ทำไมงบประมาณส่วนราชการในพระองค์เพิ่มขึ้นในอัตราสูงมาก ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สำนักงบฯ ชี้แจงว่า ที่วงเงินเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นงบบุคลากรของหน่วยงานที่รับโอนมาตาม พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562 ด้วย</p>
<p><img alt="" src="[url]https://live.staticflickr.com/65535/51218297223_49c86491d6_b.jpg" />[/url]</p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพ เบญจา แสงจันทร์ ขณะอภิปราย งบประมาณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในปีงบประมาณ 2565 เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.64</span></p>
<p>ขณะที่ในสภาวันที่ 1 มิ.ย.64 ระหว่างประชุมเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2565 นั้น เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยระบุว่า เมื่อพูดถึงการกำหนดวงเงินของหน่วยงานรับงบประมาณต่างๆ ที่ตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในปีงบประมาณ 2565 มีงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอยู่อย่างน้อยๆ 33,712,000,000 บาท (สามหมื่นสามพันเจ็ดร้อยสิบสองล้านบาท) เป็นรายการตามที่แสดงเป็นชื่อโครงการในเอกสารงบประมาณ ยังไม่ได้รวมงบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันที่อาจซ่อนอยู่ในหมวดหมู่โครงการก่อสร้างที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 10 ล้านบาท หรืออื่นๆ ในจำนวนนี้แบ่งงบออกได้เป็น 5 ประเภท คือ 1. งบพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์  2. งบถวายความปลอดภัย 3. งบส่วนราชการในพระองค์  4. งบโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการหลวงต่าง ๆ  5. งบอื่น ๆ เช่น พระราชทานเพลิงศพ เครื่องราชอิสริยาภรณ์</p>
<p>“ต้องย้ำก่อนว่า เงินจำนวนสามหมื่นกว่าล้านนี้ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่ประเด็นคือผลผลิตของการตั้งงบประมาณ และประสิทธิภาพของโครงการที่ควรจะมีการพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบ เหมาะสม เปิดเผย โปร่งใส ถูกต้องและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดนั้นตกเป็นของประชาชน โดยเฉพ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 348 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 361 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 264 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 273 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 208 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.058 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 03 เมษายน 2567 05:25:56