[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 14:27:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อริยสัจ ๔ บนเวทีการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน  (อ่าน 2157 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 15:01:38 »

[ จากบอร์ดเก่า โดย อ.มดเอ็กซ์ ]


อริยสัจ ๔ บนเวทีการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
 
 
เมื่อการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนแบบเดิมไม่ได้ผล จึงมีการนำหลักในศาสนาพุทธมาใช้ในการแก้ปัญหา

คงเป็นเพราะการขาดความรู้ ความเข้าใจถึงภัยในภาวะโลกร้อน คนส่วนใหญ่จึงยังเห็นว่าภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องไกลตัว และขาดการกระทำที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง




 
โรคความจำเสื่อมอันเนื่องมาจากอากาศที่ร้อนมากขึ้น การแพร่กระจายของโรคระบาดที่รวดเร็วขึ้น ความอบอ้าว น้ำท่วม พายุที่ทวีความรุนแรง ฤดูกาลที่เปลี่ยนไป แผ่นดินที่ถูกกลืนด้วยผืนน้ำ จนโฉนดที่ดินเป็นเพียงเศษกระดาษ และเจ้าของที่ต้องเดือดร้อนเพราะไร้ที่อยู่อาศัย การขาดแคลนน้ำจืด การแก่งแย่งอาหารระหว่างสัตว์ป่ากับมนุษย์ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เหล่านี้เป็นเรื่องที่มนุษย์ต้องเผชิญเมื่อโลกร้อนมากขึ้น

 



(โรงงานปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ)

 
ประเทศไทยจัดเป็นอันดับต้นๆของประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ปี 2004 ไทยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุ่ชั้นบรรยากาศเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีกรุงเทพมหานครปล่อยก๊าซเป็น 40 % ของทั้งหมด

 
แล้วคนไทย ให้ความสำคัญกับปัญหาโลกร้อนมากน้อยแค่ไหน




( ธารน้ำแข็งในเปรู เมื่อปี 1978เปรียบเทียบกับปี 2000 น้ำแข็งละลายจนลดระดับลงถึง 1,100 เมตร )

 
ต่างชาติให้การยอมรับว่าวิธีที่เคยใช้ในการแก้ไขปัญหาไม่ได้ผล และเห็นว่าหลักอริยสัจ 4 ในพุทธศาสนา มีความเป็นวิทยาศาสตร์พอที่จะเป็นวิธีอันสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

 
1.3 การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวปฏิบัติพุทธศาสนา
การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวความคิดของสหประชาชาติที่เกิดขึ้นจากการประชุมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ให้ไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ในแผนปฏิบัติการที่ 21 ของแผนปฏิบัติการโลกไว้ว่า “ การพัฒนาที่ยั่งยืนคือ การพัฒนาที่บรรลุความต้องการในการดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันโดยต้องไม่ทำให้ความสามารถในการที่จะบรรลุความต้องการในการดำรงชีวิตของอนุชนในอนาคตลดลง ” ( WCED,1987 และ Kirkpatrick, C., and Norman, L. ( eds.) ม 1997 : 63 – 64 ) นี้ สามารถนำมาปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาที่เรียกว่าอริยสัจสี่ประการอันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางสายกลางคือ มัชฌิมาปฏิปทา หรืออริยมรรคแปด ได้อย่างเป็นรูปธรรม ( WCED, 1987; Kirkpatrick, C., and Norman, L. ( eds.) , 1997 : 63-64 และพระธรรมปิฏก (ประยุทธ ปยฺโต), 2543)

เหล่านี้คือ ถ้อยความในหนังสือ “ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา เล่ม 1 ” ที่ ดร.นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล ได้แต่งไว้เมื่อปี 2551

 


(ยอดเขาคิริมันจาโร ในปี 2000 สูญเสียน้ำแข็งที่ปกคลุม ลดลงจากปี 1912 ถึง 82%)

 
ีการเสนอความเห็นว่าควรนำหลักธรรมในศาสนาพุทธ คือ อริยสัจ ๔ มาใช้ในการแก้ปัญหาอริยสัจ 4 เป็นหลักการปฏิบัติที่เป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน อันก่อให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้อง ความสำนึกรับผิดชอบ และการกระทำ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

 
อริยสัจ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

 
ทุกข์ คือภาวะบีบคั้นที่มนุษย์ได้รับในปัจจุบัน และจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต

 
สมุทัย คือ ทางดับทุกข์ ที่ผ่านมามนุษย์แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ คือนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่มาสนองความต้องการ ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุดของมนุษย์ เพื่อให้บรรลุมาตรฐานการเป็นอยู่คือมีคุณภาพชีวิตที่ดี หากแต่การนำสิ่งดังกล่าวมาใช้ ไม่สามารถสนองความต้องการมนุษย์ทุกคนได้ มีเพียงประชากร 20 % ของโลกเท่านั้นที่ได้รับการตอบสนอง แต่อีก 80 % แค่ปัจจัยพื้นฐาน ยังไม่สามารถมีให้ครบได้ จึงเกิดความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างมาก

ดังนั้น ถ้าจะแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน เมื่อมนุษย์เป็นผู้ก่อ ก็ต้องแก้ที่มนุษย์ นั่นคือลดกิเลส ลดความต้องการอย่างฟุ่มเฟือยลง มาเป็นความต้องการที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น





นิโรธ การสิ้นสุดของปัญหา เป็นที่ยอมรับว่า ปัญหาโลกร้อนนั้นแก้ได้ยาก และปัจเจกชนไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่ในระดับท้องถิ่น ยังพอแก้ไขได้ และยังมีความหวังว่า เมื่อมีการแก้ไขในระดับท้องถิ่น จนเกิดจิตสำนึกร่วมกัน อาจขยายวงไปสู่ระดับชาติ ระดับนานาชาติได้
 
มรรคมีองค์แปด หมายถึงวิธีทั้ง 8 ที่รวมเป็นหนึ่งทางในแก้ปัญหานั้นคือ

 
1 สัมมาทิษฐิ ความเห็นชอบ มนุษย์ต้องมีทัศนคติต่อทรัพยากรโลก การใช้ทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร สาเหตุของปัญหา และการแก้ไขอย่างถูกต้อง

 
2 สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ มีความคิดอันถูกต้อง ในการที่จะแก้ปัญหา และไม่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างปัญหา เช่น มีความคิดที่จะลดการใช้พลังงาน มีความคิดที่จะใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

 
3 สัมมาวาจา เจารจาชอบ คือสื่อสารในอันที่เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นความจริง ในอันที่จะช่วยลด หรือแก้ปัญหา เช่น บอกแม่ค้าว่าไม่ขอรับถุงพลาสติกใส่สินค้า บอกสมาชิกในบ้านให้ช่วยประหยัดพลังงาน เป็นต้น

 
4 สัมมากัมมันตะ การงานชอบ หรือการกระทำชอบ มีการกระทำที่ช่วยในการแก้ปัญหา และไม่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เช่น ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลม เพราะการผลิตน้ำเปล่าใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า เลือกอาหารสดมาปรุงรัปประทานแทนอาหารแช่แข็ง เพราะอาหารแช่แข็งใช้พลังงานในการรักษาคุณภาพอาหารมากกว่าอาหารสดถง 10 เท่า นำสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากหลังรถเพื่อลดน้ำหนักบรรทุก อันเป็นการช่วยประหยัดน้ำมัน นำปิ่นโตไปใส่อาหารเมื่อจะซื้ออาหารสำเร็จรูป เพื่อช่วยลดการใช้ถุงพลาสติก

หรือมีการกระทำที่ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ในวงกว้าง ชักชวนผู้เผากระดาษเงินกระดาษทองสำหรับบรรพบุรุษให้ลดจำนวนกระดาษลง เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ (งานนี้เสี่ยงถูกดุ) ชักชวนลูกออกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะเพื่อแยกเด็กจากการเล่นเกมในคอมพิวเตอร์อันช่วยประหยัดพลังงาน ชักชวนเด็กๆสังเกตธรรมชาติรอบตัว เช่น ลักษณะของใบไม้ ดอกไม้ เพื่อบ่มเพาะความรัก และหวงแหนในธรรมชาติ เหล่านี้เป็นต้น



(ตัวอย่างรูปร่างใบไม้แบบต่างๆ)




(ตัวอย่างการจัดเรียงของใบไม้)

5 สัมมาอาชีวะ ประกอบอาชีพชอบ ไม่ประกอบอาชีพที่มีผลต่อการลดลงของทรัพยากระรรมชาติ เช่น เผาป่าเพื่อทำไร่ คนบางกลุ่ม อาจต้องลดความต้องการในการหารายได้โดยมิชอบลง เช่นการตัดไม้ทำลายป่า




6 สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือพยายามละ ลด พฤติกรรมที่ทำร้ายโลก และพยายามเพิ่ม และรักษา พฤติกรรมในการเยียวยาโลกที่ได้ริเริ่มทำขึ้นแล้ว

7 สัมมาสติ ระลึกชอบ มีสติระลึกรู้อยู่เสมอ ว่าการกระทำใดๆที่กำลังจะกระทำ หรือกระทำอยู่จะมีผลต่อโลกอย่างไร เช่น เมื่อจะออกจากห้อง ให้ระลึกว่าควรทำอะไรก่อนเดินออกจากห้องไป นั่นคือ ปิดไฟ ปิดแอร์ ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น





8 สัมมาสมาธิ มีสมาธิชอบ หรือตั้งมั่นชอบ มั่นใจว่าทำในสิ่งที่ถูกต้องไม่หวาดเสียวต่อคำนินทาจากสังคมที่ยังไม่เห็นความสำคัญอันเนื่องเพราะการกระทำที่ผิดแผกจากผู้อื่น อีกทั้งการมีสมาธิ จะช่วยให้จิตมีพลังเพียงพอที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น นำไปใช้คิดหาหนทางแก้ไขปัญหาต่อไป

ปัญหาโลกร้อน เป็นปัญหาของเราทุกคน เราทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไข เพราะมหันตภัย อาจไม่ได้มาถึงในรุ่นลูกหลานอย่างที่เราเคยได้ยิน หากเรายังบริโภคกันอย่างฟุ่มเฟือย และขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ขาดการกระทำในทางแก้ไข มหันตภัยอาจมาถึงเราไวกว่าที่เราคาดการณ์ไว้

กรุงเทพจมอยู่ใต้น้ำ แผ่นดินในจังหวัดชายทะเลสูญหายเพราะถูกน้ำทะเลท่วมถึงถาวร สินค้าเกษตรราคาสูงขึ้นเนื่องจากขาดแคลนพื้นที่เพาะปลูก สิ่งเหล่านี้ เราอาจได้เห็นในรุ่นอายุเรานี้เอง
.............................................

อ้างอิงเรื่องและรูป

วันฟ้าใส มหันตภัยโลกร้อนฉบับเยาวชน พิมพ์ครั้งที่2 สำนักพิมพ์ฟรีมายด์ 27/33 ซ.ศรีบำเพ็ญ ถ.พระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธทร กรุงเทพ

ดร.นงนภัส คู่วัญญู เที่ยงกมล สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 2 ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพ
Cristina Brodie Drawing and Painting Plants Timber Press Inc. The Haseltine Building 133 S.W. Second Avenue, Suite 450 Portland, Oregon 97204-3527, U.S.A.


http://gotoknow.org/blog/nadrda/289875





Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: อริยสัจ 4 แก้ไขปัญหา ภาวะ โลกร้อน 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ขันธ์ 5 อริยสัจ 4 - พระอาจารย์ภาสกร ภูริวฑฺฒโน ที่เนเธอร์แลนด์
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
มดเอ๊ก 0 1242 กระทู้ล่าสุด 05 กรกฎาคม 2559 03:26:19
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.529 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 17:02:04