[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 02:55:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระราชพินัยกรรม (ฉบับพิสดาร) ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖  (อ่าน 16556 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5458


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 เมษายน 2555 11:13:35 »

.


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ  พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระราชพินัยกรรม (ฉบับพิสดาร) ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖


คุณลักษณะของพินัยกรรมโดยทั่วไปมักเป็นเรื่องการมอบสมบัติหรือแบ่งสันปันส่วนทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่ทายาท รวมทั้งการจัดสรรตำแหน่งทายาทเป็นกรณีส่วนใหญ่

แม้แต่ในหนังสือพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓  ได้บัญญัติคำ “พินัยกรรม”  ไว้ว่าหมายถึง “หนังสือสำคัญที่ทำไว้ก่อนตายเพื่อมอบมรดก”  

อย่างไรก็ตามได้เกิดมีพินัยกรรมที่ค่อนข้างประหลาดขึ้นมาฉบับหนึ่ง ซึ่งในชั้นแรกมิได้ระบุถึงเรื่องการแบ่งมอบสมบัติมรดกให้แก่ผู้ใดไว้เลย   คงระบุแต่เพียงการจัดพิธีศพเท่านั้น  ดังที่ปรากฏในเรื่องราวพระราชพินัยกรรมของล้นเกล้าฯ  รัชกาลที่ ๖   ที่จะนำเสนอดังนี้

หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๔๕๓   สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร    ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ บรมราชาภิเศกเป็นพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ  พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   พระมหากษัตริย์ลำดับพระองค์ที่ 6  แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์       ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุ ๓๐ พรรษา และยังไม่ทรงมีพระชายาหรือหม่อมห้ามมาก่อน        ในขณะที่พระราชอนุชาส่วนใหญ่ทรงมีพระชายากันเกือบทุกพระองค์แล้ว     พระองค์ยังทรงดำรงพระองค์เป็นโสดอยู่ตลอดมา เนื่องจากทรงหมกมุ่นเอาจริงเอาจังอยู่กับพระราชกิจเป็นเนืองนิตย์มาแต่ครั้งขณะทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ     ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะใช้เวลาในช่วงต้นรัชกาลปฏิบัติพระราชกิจในราชการแผ่นดินให้ลุล่วงไปด้วยดีเสียก่อน   ด้วยในระยะเวลานั้นเป็นระยะที่พระองค์ทรงเริ่มปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองขนานใหญ่ตามแบบอย่างวิธีบริหารราชการแผ่นดินของยุโรป   เนื่องจากภัยของจักรวรรดินิยมกำลังใกล้บ้านเมืองเข้ามาทุกที  ทรงทราบดีว่าชาติมหาอำนาจในยุโรปได้บุกรุกเอาดินแดนในทวีปเอเชียซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับดินแดนไทยไปเป็นประเทศเมืองขึ้น   ถ้าหากว่าภาวะของบ้านเมืองยังอยู่ในลักษณะนี้ต่อไป  ก็น่ากลัวอันตรายว่าจะไม่พ้นอำนาจการรุกรานนั้น    โดยทรงลืมตระหนักไปว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่พระองค์จะต้องมีองค์รัชทายาทสืบราชบัลลังก์ต่อไป   แต่กว่าจะทรงนึกขึ้นได้วันเวลาก็ได้ผ่านล่วงเลยมาถึงตอนปลายรัชกาลเสียแล้ว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระโรคภายในมาแต่ยังทรงพระเยาว์  พระสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง  ทรงรู้ว่าคงมีพระชนม์ชีพอยู่ได้ไม่นานนัก ดังนั้น ในเวลาต่อมาจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้จัดทำพระราชพินัยกรรมขึ้นไว้ฉบับหนึ่งเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๓   ภายหลังครองราชย์สมบัติได้ ๑๐ ปีเศษ   และมีพระชนมายุได้ ๔๐ พรรษา   ก่อนเวลาสวรรคตเพียง ๕ ปี   ในขณะนั้นพระองค์เสด็จประทับ ณ พระราชวังพญาไทหรือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน  มีผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  คือ
       - มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี  (ม.ร.ว. ปุ้ม  มาลากุล)   เสนาบดีกระทรวงวัง
       - จางวางเอกและพลโทพระยาประสิทธิ์ศุภการ   (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ)   ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กและสมุหราชองครักษ์
       - จางวางโทพระยาอนิรุทธเทวา  (ม,ล.ฟื้น  พึ่งบุญ)  อธิบดีกรมมหาดเล็ก
       - จางวางโทพระยาสุจริตธำรง  (โถ  สุจริตกุล)   อธิบดีกรมชาวที่
       - จางวางตรีพระยาราชสาสน์โสภณ (สะอาด  ชูโต) ราชเลขานุการในพระองค์

พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า...เวลานี้ข้าพเจ้ากำลังมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์  จึงขอสั่งข้อความไว้ดังต่อไปนี้
        ๑.  ถ้าข้าพเจ้าสวรรคตลง ณ แห่งหนึ่งแห่งใด นอกจากในพระบรมมหาราชวังให้อัญเชิญพระบรมศพโดยเงียบ ๆ เข้าไปยังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน  ให้จัดการสรงน้ำพระบรมศพในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน และจึงให้เชิญไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
        ๒. ในเวลาที่ตั้งพระบรมศพที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และในเวลาอื่น ๆ ต่อไปนี้ตลอด   ห้ามมิให้มีนางร้องไห้  ถ้าผู้ใดรักใคร่ข้าพเจ้าจริง  ปรารถนาจะร้องไห้ ก็ให้ร้องไห้จริง ๆ เถิด อย่าร้องอย่างเล่นละครเลย *
        ๓. ในการทำบุญ ๗ วัน    ทุก ๆ ๗ วัน ไปจนถึงงานพระเมรุ  ขอให้นิมนต์พระซึ่งข้าพเจ้าได้เคยชอบพอมาเทศน์   อย่าได้นิมนต์ตามยศ   และนอกนั้นก็ให้นิมนต์พระมหาเปรียญที่มีท่าทางจะเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาต่อไป
        ๔. งานพระเมรุ  ขอให้กำหนดภายหลังวันสวรรคตโดยเร็ววันที่สุดที่จะทำได้   ถ้าจะได้ภายในฤดูแล้งแห่งปีสวรรคตแล้วก็ยิ่งดี  เพราะการไว้พระบรมศพนาน ๆ  เป็นการสิ้นเปลืองเปล่า ๆ
        ๕. ในการทำบุญ ๗ วัน เมื่อไว้พระบรมศพก็ดี และในงานพระเมรุก็ดี ขอให้จัดการทำพิธีกงเต็ก**   ถ้าไม่มีใครศรัทธาทำให้   ข้าพเจ้าขอให้ทายาทของข้าพเจ้าหานักพรตอานัมนิกาย  จีนนิกาย  มาทำให้ข้าพเจ้า
        ๖. ส่วนงานพระเมรุ  ขอให้ทางวังตัดกำหนดการลงให้น้อย  คือตัวพระเมรุให้ปลูกด้วยถาวรวัตถุ  ใช้วัตถุนั้นเองเป็นพลับพลาทรงธรรม
        ๗. ก่อนที่จะยกพระบรมศพไปสู่พระเมรุ  ให้มีงานศราทธพรต*** ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทวันเดียว
        ๘. ญาติวงศ์ของข้าพเจ้าและข้าราชการกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ถ้ามีความปรารถนาจะทำบุญให้ข้าพเจ้า ก็ให้ทำเสียให้เสร็จในขณะที่ตั้งพระบรมศพอยู่ก่อนงานพระเมรุ  ส่วนงานพระเมรุขอให้เป็นงานหลวงอย่างเดียว
        ๙. สังเค็ต**** ขอให้จัดของที่จะเป็นประโยชน์สำหรับพระสงฆ์ที่จะได้รับไป และให้เลือกพระสงฆ์ที่จะได้สังเค็ตนั้น ให้เลือกพระองค์ที่จะใช้สังเค็ตจริง ๆ จะไม่เอาไปขาย
       ๑๐. ส่วนของแจก ขอให้เลือกเป็นหนังสือ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเนื่องด้วยกิจการที่ข้าพเจ้าได้ทำเป็นประโยชน์มาแล้วแก่แผ่นดิน  อีกอย่างหนึ่งขอให้เป็นหนังสือที่จะเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
       ๑๑. ในการแห่พระบรมศพ ตั้งแต่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปถึงวัดพระเชตุพน  ให้ใช้พระยานมาศตามประเพณี  จากวัดพระเชตุพนไปพระเมรุ  ขอให้จัดรถเสียใหม่เป็นรถปืนใหญ่บรรทุกพระบรมศพ เพราะข้าพเจ้าเป็นทหาร อยากจะใคร่เดินทางในระยะที่สุดนี้อย่างทหาร
       ๑๒. ในขบวนแห่นี้ นอกจากทหาร  ขอให้จัดมีเสือป่าและลูกเสือให้สมทบกระบวนด้วย  แลขอให้นักเรียนโรงเรียนพระบรมราชูปถัมภ์*****ได้เข้ากระบวนด้วย
       ๑๓. การโยนโปรย ขอให้งดไม่ต้องมีทุกระยะ  และพระโกศขอให้ใช้เจ้าหน้าที่กรมภูษามาลา
       ๑๔. การอ่านพระอภิธรรมนำพระบรมศพ   ถ้าสิ้นสมเด็จพระมหาสมณะกรมพระยาวชิรญาณวโรรส และพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ไปแล้ว   ขอให้นิมนต์พระญาณวราภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น)  วัดบวรนิเวศน์  หรือพระราชสุธี (อุปโม)  วัดราชาธิวาส  แต่ถ้าแม้ท่านทั้งสองนี้ จะนำไม่ได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งแล้ว  จึงให้นิมนต์พระราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์สูงกว่ารูปใด ๆ ในคณะธรรมยุติกนิกาย
         ๑๕. ในการถวายพระเพลิง  เมื่อแตรทหารบกบรรเลงเพลงสรรเสริญบารมีจบแล้ว  ขอให้รวมแตรสั้นเป่าเพลงสัญญาณนอน
         ๑๖. ส่วนงานพระบรมอัฐิ  ขอให้ทำตามระเบียบที่เคยทำมาแล้วเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
๑๗. พระอังคาร ขอให้บรรจุใต้ฐานพระพุทธชินสีห์ในวัดบวรนิเวศวิหารส่วนหนึ่ง  อีกส่วนหนึ่งขอให้กันเอาไว้ไปบรรจุใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์  ที่พระปฐมเจดีย์ในโอกาสอันเหมาะซึ่งไม่ติดต่อกับงานพระเมรุ

พระบรมราชโองการนี้  ได้กระทำไว้เป็น ๓ ฉบับ ความต้องกัน  พระราชทานให้เสนาบดีกระทรวงวังรักษาไว้ฉบับหนึ่ง  ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กรักษาไว้ฉบับหนึ่ง  ราชเลขาธิการรักษาไว้ฉบับหนึ่ง  และทรงกำชับเจ้าหน้าที่ทั้งสามนี้ให้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้เสด็จขึ้นเสวยสืบสันตติวงศ์ เพื่อได้ทรงทราบพระราชประสงค์นี้โดยตลอดถ้วนถี่
                                (พระปรมาภิไธย)  ราม วชิราวุธ ปร.  ได้ตรวจถูกต้องกับต้นฉบับเดิมแล้ว
                                (ลงชื่อ)  พระยาราชสาส์นโสภณ




 
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 มีพระกำเนิดเป็นสามัญชนในสกุลอภัยวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2448  มีพระนามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์ (ติ๋ว อภัยวงศ์)


ตอนปลายรัชกาลเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘   ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตเพียงไม่กี่เดือน  ในขณะนั้นพระนางเจ้าสุวัทนา  พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระครรภ์แก่แล้ว  จึงได้ทรงเรียกนำพระราชพินัยกรรมฉบับดังกล่าวมาเพิ่มเติมในส่วนเกี่ยวกับพระราชมรดกไว้ดังนี้  

ถ้าพระองค์ได้พระราชโอรส ให้ทรงได้รับพระราชทานวังพญาไท  และพระราชวังสนามจันทร์ที่จังหวัดนครปฐมเป็นพระราชมรดก  และให้ทรงได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไป  ในขณะที่ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะอยู่นั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา (รัชกาลที่ ๗ ในเวลาต่อมา) ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  แต่ถ้าทรงได้พระราชธิดา ก็ได้ขอให้สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินที่ได้สืบสันตติวงศ์ต่อ ๆ ไป ทรงพระมหากรุณาถวายการเลี้ยงดูตามพระเกียรติของสมเด็จเจ้าฟ้าต่อไป

ในเวลาต่อมาปรากฏว่า พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีได้ถวายการประสูติพระราชธิดา เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑๒ นาฬิกา ๕๐ นาที  ก่อนที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ จะเสด็จสวรรคตเพียง ๑ วัน  ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาสในพระบรมมหาราชวัง   เจ้าพระยารามราฆพ  ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก  ได้อัญเชิญพระราชธิดาไปเข้าเฝ้าแล้วทูลว่าประสูติแล้วเป็นหญิง  พระเจ้าอยู่หัวทรงนิ่งอยู่ชั่วครู่หนึ่ง  ทรงมีพระราชดำรัสด้วยพระสุรเสียงอันแผ่วเบาด้วยความเหนื่อยอ่อนว่า  “ก็ดีเหมือนกัน  มิน่าเล่าได้ยินเสียงพิณพาทย์ประโคม ไม่ได้ยินเสียงปืน”  (ถ้าปืนใหญ่ยิงสลุตแสดงว่าประสูติพระราชโอรส)   ทรงลูบพระเศียรและพระอุระพระราชธิดาด้วยความรักและสงสาร แล้วทรงสะอื้นน้ำพระเนตรไหลลงสู่พระปรางทั้งสองข้าง  รุ่งขึ้นวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘   เมื่ออัญเชิญพระราชธิดามาให้ทอดพระเนตรอีกครั้งหนึ่ง  พระองค์ก็มีพระราชดำรัสไม่ได้เสียแล้ว  และต่อมาในคืนนั้นเองพระองค์ก็ได้เสด็จสวรรคตเมื่อเวลา ๑ นาฬิกา ๔๕ นาที ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานภายในพระบรมมหาราชวัง  ในขณะมีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา  เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี

บรรดาเหล่าข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ก็ได้สนองพระเดชพระคุณตามพระราชพินัยกรรมของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ครบถ้วนตามพระราชประสงค์ทุกประการ.  




* ขบวนนางร้องไห้ :  พระราชพิธีเก่าแก่มีมีแต่โบราณจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕   มีการเกณฑ์บรรดานางในขับกล่อมโหยหวนด้วยอาการเศร้าโศก  เพื่อถวายพระเกียรติยศในงานพระบรมศพ   (จึงถือว่าได้ถูกยกเลิกโดยปริยายในสมัยรัชกาลที่ ๖)
**กงเต๊ก : การที่ลูกหลานทำบุญกุศลทั้งทำแทนตัวผู้ตายและทำให้ผู้ตายด้วย เพื่อให้ผู้ตายได้กุศลผลบุญมากพอที่จะไปขึ้นสวรรค์    
***ศราทธพรต : พิธีทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
****สังเค็ด : ทานวัตถุมีตู้พระธรรม โต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่าเครื่องสังเค็ด

*****รัชกาลที่ ๖ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว



รวบรวมเรียบเรียง โดยกิมเล้ง : http://www.sookjai.com

ที่มาข้อมูล
-วารสารความรู้คือประทีป : ผู้พิมพ์ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด, ๒๕๓๙
-ประวัติศาสตร์ ๖ แผ่นดิน : สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, ๒๕๕๔
-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ : บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, ๒๕๔๖
http://wikipedia.org








.




.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 เมษายน 2555 10:33:48 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พิพิธภัณฑ์ พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๗
สยาม ในอดีต
เงาฝัน 2 5475 กระทู้ล่าสุด 13 กุมภาพันธ์ 2553 20:54:17
โดย sometime
อาการพระประชวรจนถึงสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 1 4599 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2555 19:45:03
โดย Kimleng
ภาษิตนักรบโบราณ พระราชนิพนธ์ ในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖
สุขใจ ใต้เงาไม้
Kimleng 0 6199 กระทู้ล่าสุด 04 กุมภาพันธ์ 2557 14:28:49
โดย Kimleng
ความเป็นชาติโดยแท้จริง-พระราชนิพนธ์ ความเรียง ในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖
สุขใจ ห้องสมุด
Kimleng 0 3756 กระทู้ล่าสุด 15 กุมภาพันธ์ 2557 16:10:02
โดย Kimleng
อดีตของสยาม ภาพถ่ายประเทศไทยช่วง รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๕
สยาม ในอดีต
มดเอ๊ก 0 1684 กระทู้ล่าสุด 10 พฤศจิกายน 2559 01:10:03
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.419 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 17:27:26