[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 18:47:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2] 3 4 5   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 'สมุดภาพพระพุทธประวัติ' ๘o ภาพ โดย ครูเหม เวชกร จิตรกรฝีมือเอก  (อ่าน 77149 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 21 มิถุนายน 2553 13:10:47 »




-:- คำนำ -:-


         หนังสือ 'สมุดภาพพระพุทธประวัติ' นี้ เกิดขึ้นจากการที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณฯ (ปุ่น ปุณฺณสิริ) สมเด็จพระสังฆราช วัดพระเชตพนฯ ครั้งทรงแสดงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมวโรดม ทรงโปรดให้ครูเหม เวชกร จิตรกรฝีมือเอก เขียนภาพตามหนังสือปฐมสมโพธิ ฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ จำนวน ๘๐ ภาพ และทรงโปรดให้จัดพิมพ์เป็นภาพสีงดงาม เพื่อให้วัดและโรงเรียนนำไปประดับไว้ให้ประชาชน ได้ศึกษาพระพุทธประวัติจากภาพเป็นที่นิยมกันมาก และได้มีผู้ขออนุญาตทางศึกษานิธิ วัดพระเชตุพนฯ เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพชุดนี้ นำไปพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อ สะดวกในการศึกษาและมีไว้ประจำห้องสมุด

          หนังสือสมุดภาพฯ นี้ แม้จะเป็นที่นิยมมาก แต่เมื่อกาลผ่านไปนานนับสิบปี หนังสือนี้ก็ได้กลายเป็นหนังสือหายากในที่สุด มีแต่เฉพาะในห้อง สมุดใหญ่ๆ จนกระทั่งต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ได้มีคณะผู้มีจิตศรัทธาพิมพ์แจกเป็นธรรมทานเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช แม้จะพิมพ์เป็นจำนวนมากแต่ไม่เพียงพอแก่ห้องสมุดและสาธุชนจำนวนมากที่ประสงค์จะได้เป็นเจ้าของหนังสือนี้

           ธรรมสภาจึงได้กราบนมัสการขออนุญาติพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร ผู้แทนศึกษานิธิ วัดพระเชตุพนฯ จัดพิมพ์หนังสือ สมุดภาพพระพุทธประวัติขึ้นใหม่ เป็นขนาดรูปเล่ม ๘ หน้ายกพิเศษ (ขนาดกระดาษ เอ ๔) ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ได้มีเมตตาอนุญาตให้พิมพ์ได้ ตามความประสงค์ ในการพิมพ์ครั้งนี้ พิมพ์สี่สีด้วยเทคนิคพิเศษ จัดทำอย่างประณีต สวยงาม สมคุณค่าหนังสือ ที่พิเศษยิ่งก็คือได้แทรก ศัพทานุกรม ท้าย เล่มเพื่อเสริมความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆ ในพระพุทธประวัติเพิ่มเติมให้ด้วย เพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป

          ธรรมสภาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดพิมพ์หนังสือสมุดภาพพระพุทธประวัติในครั้งนี้ จะเป็นปัจจัยให้พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธาปสาทะในการ ศึกษาพุทธธรรม ซึ่งก็คือสัจจธรรมที่จะนำปวงมนุษยชาติไปสู่ความดับทุกข์



ด้วยความสุจริตและหวังดี

ธรรมสภาปรารถนาให้โลกได้พบกับความสุขสงบ



   


http://www.trytodream.com/board/39
บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 03:13:45 »


ภาพที่ ๑๘

พระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปเฝ้า ทูลขอปฏิญาณว่าถ้าตรัสรู้แล้วขอให้มาโปรดก่อน



          พระเจ้าพิมพิสารได้ทราบความที่ชาวเมืองต่างโจษจันกันถึงเรื่องนักบวชหนุ่มผู้ทรงความสง่างามผิดจากนักบวชอื่นๆ   เข้ามาในเมือง   จึงทรงสั่งเจ้าพนักงานไปสืบความดู   หนังสือปฐมสมโพธิเรียบเรียงพระดำรัสสั่งของพระเจ้าพิมพิสารตอนนี้ไว้ว่า

         "ท่านจงสะกดตามบทจรไปดู    ให้รู้ตระหนักแน่      แม้เป็นเทพยดาก็จะเหาะไปในอากาศ  ผิว่าเป็นพญานาคก็ชำแรกปฐพีไปเป็นแท้  แม้ว่าเป็นมนุษย์  ก็จะไปนั่งบริโภคภัตตาหารโดยควรประมาณแก่ตนได้  จงไปพิจารณาดูให้รู้เหตุประจักษ์"

         ฝ่ายมหาบุรุษเมื่อทรงรับอาหารบิณฑบาตพอควรจากชาวเมืองแล้ว  ก็เสด็จออกจากเมืองไปที่เงื้อมภูเขานอกเมืองแห่งหนึ่ง  แล้วทรงตั้งสติพิจารณาปรารภที่จะเสวยอาหารที่ทรงได้มาจากการเสด็จบิณฑบาต  อาหารที่ว่าเป็นจำพวกที่เรียกว่า 'มิสกภัตร'  คือ  อาหารที่คละระคนปนกันทุกชนิด   ทั้งดีและเลว  ทั้งน้ำและแห้ง  ทั้งคาวและหวาน

         พระมหาบุรุษทรงเห็นแล้วทรงเกิดพระอาการอย่างหนึ่ง        ซึ่งปฐมสมโพธิพรรณาไว้ว่า  "ปานประหนึ่งลำไส้ใหญ่จะกลับออกทางพระโอษฐ์   เหตุพระองค์เคยเสวยประณีตโภชนาหาร  ปานประดุจ  ทิพย์สุธาโภชน์..." แต่ทรงข่มพระทัยด้วยคุณธรรมของนักบวชเสียได้  จึงเสวยอาหารนั้นอย่างปกติ

          พระเจ้าพิมพิสารกับพระมหาบุรุษทรงเป็น  'อทิฏฐสหาย'  กัน  แปลว่า  ทรงเป็นพระสหายที่เคยแต่ได้ยินพระนามกันมาก่อน   แต่ไม่เคยเห็นกันและกัน   เมื่อทรงทราบเรื่องจากเจ้าพนักงานกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว   พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปเฝ้าพระมหาบุรุษ   ทรงทราบว่าเป็นเจ้าชายจากศากยสกุล  จึงตรัสเชิญพระมหาบุรุษให้เสด็จอยู่ครองเมืองด้วยกัน      พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธและทรงแจ้งถึงความแน่วแน่ในพระทัยที่จะแสวงหาความตรัสรู้ 

          พระเจ้าพิมพิสารจึงตรัสขอปฏิญาณว่า  ถ้าได้ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จมาโปรด พระมหาบุรุษทรงรับปฏิญาณนั้น
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 03:40:54 »


ภาพที่ ๑๙

เสด็จไปศึกษาลัทธิฤาษีชีป่ากับอาฬารดาบส เห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้



          ในสมัยที่กล่าวนี้    แคว้นมคธมีนักบวชที่ตั้งตนเป็นคณาจารย์ต่างๆ     ที่มีชื่อเสียงมากคณะด้วยกัน   แต่ละคณะต่างก็มีศิษย์สาวกและมีคนนับถือมาก   กรุงราชคฤห์ก็เป็นที่สัญจรจาริกผ่านไปมาของเจ้าลัทธิต่างๆ  เพื่อเผยแพร่ลัทธิของตนให้คนเลื่อมใส

        คณาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด  ตอนเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช  ซึ่งอยู่ในแคว้นนี้มีสองคณะด้วยกันคือ  คณะอาฬารดาบสกาลามโคตร    และคณะอุทกดาบสรามบุตร    ทั้งสองคณะนี้ตั้งอาศรมสอนศิษย์อยู่ในป่านอกเมือง

         พระมหาบุรุษจึงเสด็จไปยังที่นี่  เพื่อทรงศึกษาเล่าเรียนและทดลองดูว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่  เสด็จไปทรงศึกษาที่สำนักแรกก่อน  ทรงศึกษาจนสิ้นความรู้ของท่านคณาจารย์เจ้าสำนักแล้ว  ทรงเห็นว่ายังมิใช่ทางตรัสรู้    จึงเสด็จไปทรงศึกษาในสำนักคณาจารย์ที่สอง   ทรงได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นนิดหน่อย  แต่ก็ได้เพียงสมาบัติแปด

        'สมาบัติ'  หมายถึง  ฌาณ  คือวิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ  มีตั้งแต่อย่างหยาบขึ้นไปจนถึงละเอียดที่สุด   ทั้งหมดมีแปดขั้นด้วยกัน   ทรงเห็นว่า  จิตใจในระดับนี้ก็ยังอยู่ในชั้นของโลกีย์   ปุถุชนสามารถมีได้  แต่มีแล้วยังเสื่อมได้   ยังไม่ใช่โลกุตตระคือทางหลุดพ้น

         ท่านคณาจารย์ทั้งสองสำนักชวนพระมหาบุรุษให้อยู่ด้วยกัน  เพื่อช่วยสั่งสอนศิษย์สาวกต่อไป  ทั้งสองท่านสรรเสริญพระมหาบุรุษว่าทรงมีความรู้ยอดเยี่ยมเทียบกับตน    แต่พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธคำเชิญชวนนั้นเสีย

        เมื่อทรงทดลองลัทธิของคณาจารย์ที่มหาชนยกย่องนับถือว่ามีความรู้สูงสุด    แต่ทรงเห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้ได้ด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์     พระมหาบุรุษจึงทรงดำริจะลองทดลองสิ่งที่นักบวชนักพรตจำนวนมากสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน  ว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่   ทางนั้นก็คือทุกกรกิริยา  ที่หมายถึงการบำเพ็ญเพียรที่เข้มงวด    เกินที่วิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้   ที่คนทั่วไปเรียกว่าทรมานตนให้ได้รับความลำบากนั่นเอง
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 04:36:14 »


ภาพที่ ๒๐

เสด็จถึงอุรุเวลาเสนานิคมอันสงัดเงียบ ทรงพอพระทัยประทับบำเพ็ญเพียรที่นั่น




         พระมหาบุรุษทรงอำลาท่านคณาจารย์ทั้งสองแล้วออกจากที่นั่น    แล้วเสด็จจาริกแสวงหาที่สำหรับทรงบำเพ็ญเพียร    เพื่อทดลองทุกกรกิริยาที่คนสมัยนั้นนิยมทำกันดังกล่าว    แล้วเสด็จไปถึงตำบลแห่งหนึ่ง    ซึ่งอยู่ในเขตแขวงมคธเหมือนกัน   มีนามว่า  'อุรุเวลาเสนานิคม'   อุรุเวลา   แปลว่า  กองทราย  เสนานิคม  แปลว่า  ตำบล  หมู่บ้าน

         พื้นที่ตำบลแห่งนี้เป็นที่ราบรื่น  มีแนวป่าเขียวสด  เป็นที่น่าเบิกบานใจ  มีแม่น้ำเนรัญชรา  น้ำไหลใสสะอาด  มีท่าสำหรับลงอาบ มีหมู่บ้านตั้งอยู่โดยรอบ ไม่ใกล้เกินไป และไม่ไกลเกินไป  เหมาะสำหรับเป็นที่อาศัยเที่ยวบิณฑบาตของนักบวชบำเพ็ญพรต

         อุรุเวลาเสนานิคม  ถ้าจะเรียกอย่างไทยเราก็คงจะเรียกได้ว่า 'หมู่บ้านกองทราย'  หรือหมู่บ้านทรายงาม  อะไรอย่างนั้น

         คัมภีร์อรรถกถาชื่อ  'สมันตปสาทิกา' เล่ม  ๓  ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์ชาวอินเดีย  สมัยหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้วเป็นผู้แต่ง  ได้เล่าประวัติของกองทรายที่ตำบลนี้ไว้ว่า  ในอดีตสมัย  ที่นี่เคยเป็นที่บำเพ็ญเพียรของพวกนักพรตจำนวนมาก     นักพรตที่มาตั้งอยู่ที่นี่ตั้งระเบียบข้อบังคับปกครองกันเองไว้ว่า  ความผิดของคนที่แสดงออกทางกายและวาจานั้นพอมองเห็นได้   ส่วนทางใจไม่มีใครมองเห็นเลย   ใครจะคิดผิดคิดชั่วอย่างไรก็มองไม่เห็น    ลงโทษว่ากล่าวกันก็ไม่ได้   เพราะฉะนั้น   ถ้าใครเกิดคิดชั่ว   เช่น   เกิดอารมณ์ความใคร่ขึ้นมาเมื่อใดละก็    ขอให้ผู้นั้นลงโทษตัวเอง    โดยวิธีนำบาตรไปตักเอาทรายมาเทกองไว้  หนึ่งคนหนึ่งครั้ง   ครั้งละหนึ่งบาตร   เป็นการประจานตัวเองให้คนอื่นรู้  ด้วยเหตุนี้  ภูเขากองทราย  หรืออุรุเวลา  ซึ่งเสมือนหนึ่งอนุสรณ์แห่งกองกิเลสของพระฤาษีเก่าก่อนจึงเกิดขึ้น

        สมัยพระพุทธเจ้า    บริเวณตำบลบ้านแห่งนี้ยังเรียกว่า   'อุรุเวลาเสนานิคม'   แต่มาสมัยหลังกระทั่งทุกวันนี้เรียกบริเวณตำบลแห่งนี้ว่า  'พุทธคยา'  ซึ่งปัจจุบันวัดไทยพุทธคยาก็ตั้งอยู่ที่นั่น

       พระมหาบุรุษทรงเลือกตำบลนี้เป็นที่บำเพ็ญทุกกรกิริยา   ซึ่งเป็นบททดลองอีกบทหนึ่งว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 05:06:30 »


ภาพที่ ๒๑

ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา ปัญจวัคคีย์เฝ้าปฎิบัติ พระอินทร์ดีดพิณถวายข้ออุปมา



         ตอนนี้เป็นตอนที่พระมหาบุรุษบำเพ็ญทุกกรกิริยา  กลุ่มคนที่นั่งอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์นั้นคือคณะปัญจวัคคีย์  มี  ๕  คนด้วยกัน  คือ  โกณฑัญญะ  วัปปะ  ภัททิยะ  มหานามะ  และอัสสชิ ทั้งหมดตามเสด็จพระมหาบุรุษออกมาเพื่อเฝ้าอุปัฏฐาก  ส่วนผู้ที่ถือพิณอยู่บนอากาศนั้นคือพระอินทร์

        คนหัวหน้าคือโกณฑัญญะ  เป็นคนหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ ๘ คน  ที่เคยทำนายพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ  ตอนนั้นยังหนุ่ม  แต่ตอนนี้แก่มากแล้ว  อีก  ๔  คน  เป็นลูกของพราหมณ์  ที่เหลือ  คือในจำนวนพราหมณ์  ๗  คนนั้น

         ทุกกรกิริยาเป็นพรตอย่างหนึ่งซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน  มีตั้งแต่อย่างต่ำธรรมดา  จนถึงขั้นอาการปางตายที่เกินวิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้อย่างยิ่งยวด  ปางตาย  คือ  กัดฟัน  กลั้นลมหายใจเข้าออกและอดอาหาร

         พระมหาบุรุษทรงทดลองดูทุกอย่าง จนบางครั้ง  เช่น  คราวลดเสวยอาหารน้อยลงๆ  จนถึงงดเสวยเลย   แทบสิ้นพระชนม์   พระกายซูบผอม   พระโลมา (ขน)   รากเน่าหลุดออกมา  เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก  เวลาเสด็จดำเนินถึงกับซวนเซล้มลง

          ทรงทดลองดูแล้วก็ทรงประจักษ์ความจริง  ความจริงที่ว่านี้  กวีท่านแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน  คือ  พระอินทร์ถือพิณสามสายมาทรงดีดให้ฟัง  สายพิณที่หนึ่งลวดขึงตึงเกินไปเลยขาด  สายที่สองหย่อนเกินไปดีดไม่ดัง  สายที่สามไม่หย่อนไม่ตึงนัก  ดีดดัง  เพราะ

         พระอินทร์ดีดพิณสายที่สาม  (มัชฌิมาปฏิปทา)   ดังออกมาเป็นความว่า   ไม้สดแช่อยู่ในน้ำ  ทำอย่างไรก็สีให้เกิดไฟไม่ได้  ถึงอยู่บนบก  แต่ยังสด  ก็สีให้เกิดไฟไม่ได้  ส่วนไม้แห้งและอยู่บนบกจึงสีให้เกิดไฟได้   อย่างแรกเหมือนคนยังมีกิเลสและอยู่ครองเรือน   อย่างที่สองเหมือนคนออกบวชแล้ว   แต่ใจยังสดด้วยกิเลส  อย่างที่สามเหมือนคนออกบวชแล้วใจเหี่ยวจากกิเลส

         พอทรงเห็นหรือได้ยินเช่นนั้น    พระมหาบุรุษจึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา    ซึ่งเป็นความเพียรทางกาย   แล้วเริ่มกลับเสวยอาหารเพื่อบำเพ็ญความเพียรทางใจ พวกปัญจวัคคีย์ทราบเข้าก็เกิดเสื่อมศรัทธา   หาว่าพระมหาบุรุษคลายความเพียรเวียนมาเพื่อกลับเป็นผู้มักมากเสียแล้ว   เลยพากันละทิ้งหน้าที่อุปัฏฐากหนีไปอยู่ที่อื่น
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 05:29:48 »


ภาพที่ ๒๒

เช้าวันตรัสรู้ นางสุชาดากับทาสีมาถวายข้าวมธุปายาส โดยสำคัญว่าเทวดา




         นับตั้งแต่พระมหาเสด็จออกบวชเป็นต้นมาจนถึงวันที่เห็นอยู่ในภาพนี้  เป็นเวลาย่างเข้าปีที่  ๖ตอนนี้พระมหาบุรุษเริ่มเสวยอาหารจนพระวรกายมีกำลังเป็นปกติแล้ว  และวันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน  ๖  ก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน ๔๕  ปี  สตรีที่กำลังถวายของแด่พระมหาบุรุษคือนางสุชาดา  เป็นธิดาของคหบดีผู้หนึ่งในหมู่บ้าน   ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ของที่นางถวายคือ ข้าวมธุปายาส   คือ   ข้าวที่หุงด้วยนมโคล้วน  เป็นอาหารจำพวกมังสวิรัติ  ไม่ปนเนื้อ  ไม่เจือปลา  ใช้สำหรับบวงสรวงเทพเจ้าโดยเฉพาะ

         ปฐมสมโพธิเล่าว่า  นางสุชาดาเคยบนเทพเจ้าไว้ที่ต้นไทรเพื่อให้ได้สามีผู้มีชาติสกุลเสมอกันและได้ลูกที่มีบุญ   เมื่อนางได้สมปรารถนาแล้ว   จึงหุงข้าวมธุปายาสเพื่อแก้บน  ก่อนถึงวันหุง  นางสุชาดา  สั่งคนงานให้ไล่ต้อนฝูงโคนมจำนวนหนึ่งพันตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ  ให้แม่โคกินชะเอมเครือ  กินอิ่มแล้วไล่ต้อนออกมา     แล้วแบ่งแม่โคนมออกเป็นสองฝูงๆ  ละ  ๕๐๐  ตัว  แล้วรีดเอานมจากแม่โคนมฝูงหนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน   แบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยๆ  ไปจนเหลือแม่โคนม  ๘  ตัว  เสร็จแล้วจึงรีดน้ำนมจากแม่โคนมทั้ง  ๘  มาหุงข้าวมธุปายาส

       หุงเสร็จแล้ว  นางสุชาดาสั่งให้นางทาสีหญิงรับใช้ไปทำความสะอาดปัดกวาดบริเวณต้นไทร  นางทาสีไปแล้วกลับมารายงานให้นางสุชาดาทราบว่า  เวลานี้รุกขเทพเจ้าที่จะรับเครื่องสังเวยได้สำแดงกายให้ปรากฏ  นั่งรออยู่ที่โคนต้นไทรแล้ว  นางสุชาดาดีใจเป็นกำลัง  จึงยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนหัวเดินมาที่ต้นไทรพร้อมกับนางทาสี   ก็ได้เห็นจริงอย่างนางทาสีเล่า   นางจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย   พระมหาบุรุษทรงรับแล้วทอดพระเนตรดูนาง    นางทราบพระอาการกิริยาว่า     พระมหาบุรุษไม่มีบาตรหรือภาชนะอย่างอื่นรับอาหาร  นางจึงกล่าวคำมอบถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดนั้น

        ถวายเสร็จแล้วก็ไหว้    แล้วเดินกลับบ้านด้วยความยินดีและด้วยความสำคัญหมายว่า  พระมหาบุรุษนั้นเป็นรุกขเทพเจ้า
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 06:00:14 »


ภาพที่ ๒๓

ทรงลอยถาด ถาดจมลงไปกระทบกับถาดเดิม ๓ ใบ พญานาคก็รู้ว่า
พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้



        เมื่อนางสุชาดากลับไปบ้านแล้ว   พระมหาบุรุษเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ   ทรงถือถาดทองข้าวมธุปายาส   เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา    เสด็จลงสรงน้ำ    แล้วขึ้นมาประทับนั่งริมฝั่ง   ทรงปั้นข้าวมธุปายาสออกเป็นปั้น  รวมได้  ๔๙  ปั้น  แล้วเสวยจนหมด  ปฐมสมโพธิว่า  'เป็นอาหารที่คุ้มไปได้  ๗  วัน ๗  หน'

         เสร็จแล้วทรงลอยถาดและทรงอธิษฐานว่า  "ถ้าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า  ขอให้ถาดจงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไปเถิด"  ถาดน้ำก็ได้ลอยไปไกลถึง  ๘๐  ศอก  ไปจนถึงวังน้ำวนแห่งหนึ่ง   ถาดนั้นจึงจมดิ่งหายไปจนถึงพิภพของกาฬนาคราช  กระทบกับถาดสามใบของพระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์เสียงดังกริ๊ก

   พระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์นั้นคือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์  และพระกัสสปะ  พระมหาบุรุษกำลังจะเป็นองค์ที่  ๔

         กาฬนาคราชหลับมาตั่งแต่สมัยพระพุทธเจ้าในอดีต  จะตื่นทุกครั้งที่ได้ยินเสียงถาด  พอได้ยินก็รู้ได้ว่าพระพุทธเจ้าองค์ใหม่เกิดในโลกแล้ว     คราวนี้ก็เหมือนกัน    เมื่อได้ยินเสียงถาดของพระมหาบุรุษก็งัวเงียขึ้นแล้วงึมงำว่า  "เมื่อวานนี้พระชินสีห์ (หมายถึงพระกัสสปพุทธเจ้า)  อุบัติในโลกพระองค์หนึ่ง  แล้วซ้ำบังเกิดอีกพระองค์หนึ่งเล่า"  ลุกขึ้นมาไหว้พระพุทธเจ้าเกิดใหม่  แล้วก็หลับต่อไปอีก

        ความที่กล่าวมาถึงตอนพระมหาบุรุษทรงลอยถาด  แล้วถาดลอยทวนกระแสน้ำจนถึง  กาฬนาคราชใต้บาดาลได้ยินเสียงถาดตกลงนั้น   ท่านพรรณาเป็นปุคคลาธิษฐานถ้าถอดความเป็นธรรมาธิษฐานก็ได้ความอย่างนี้คือ    ถาดนั้นคือพระศาสนาของพระพุทธเจ้า  แม่น้ำคือ  โลกหรือคนในโลก   คำสั่งสอนหรือพระศาสนาของพระพุทธเจ้า  พาคนไหลทวนกระแสโลกไปสู่กระแสนิพพาน คือความพ้นทุกข์ที่ไม่มีเกิด  แก่  เจ็บ  และตาย  ส่วนกระแสโลกไหลไปสู่ความเกิด  แก่  เจ็บ  และตาย  พญานาคใต้บาดาลผู้หลับใหล  คือสัตวโลกที่หนาแน่นด้วยกิเลส    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติบังเกิดขึ้นมาในโลกก็รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า  รู้แล้วก็หลับใหลไปด้วยอำนาจแห่งกิเลสต่อไปอีก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 12:00:30 »


ภาพที่ ๒๔

เสด็จกลับจากลอยถาด ทรงรับหญ้าคาซึ่งพราหมณ์โสตถิยะถวายในระหว่างทาง



         เสร็จจากทรงลอยถาดอธิษฐานแล้ว  เวลาสายขึ้น   แดดเริ่มจัด   พระมหาบุรุษจึงเสด็จจากชายฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเข้าไปยังดงไม้สาละ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำแห่งนี้  ประทับอยู่ที่นี่ตลอดเวลากลางวัน  เวลาบ่ายเกือบเย็นจึงเสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์

        พระศรีมหาโพธิ์เป็นต้นไม้ประเภทต้นโพธิ์ที่เราเห็นอยู่ในเมืองไทย   ในป่าก็มี   แต่ส่วนมากมีตามวัด   ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ไม่ได้เรียกว่าพระศรีมหาโพธิ์   แต่เรียกโดยชื่อตามภาษาพื้นเมือง  ๒  อย่าง  อย่างหนึ่งเป็นภาษาชาวบ้านเรียกว่า  'ต้นปีบปัน'   อีกอย่างหนึ่งเป็นภาษาหนังสือเรียกว่า  'ต้นอัสสถะ'    หรือ  'อัสสัตถพฤกษ์'

       เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วจึงเรียกว่า 'โพธิ์'  แปลว่า  ต้นไม้เป็นที่อาศัยตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า  ต่อมาเพิ่มคำนำหน้าขึ้นอีกเป็น มหาโพธิ์บ้าง พระศรีมหาโพธิ์บ้าง  และว่าเป็นต้นไม้สหชาติของพระพุทธเจ้า  คือ  เกิดพร้อมกันในวันที่พระพุทธเจ้าสมัยที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะประสูติดังได้เคยเล่าไว้แล้ว

        ระหว่างทางเสด็จไปยังโคนต้นพระศรีมหาโพธิ์  พระมหาบุรุษได้สวนทางกับชายผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในวรรณะพราหมณ์ชื่อโสตถิยะ  พราหมณ์โสตถิยะเดินถือกำหญ้าคามา ๘  กำ  ได้ถวายหญ้าคาทั้ง ๘  กำแก่พระมหาบุรุษ  พระมหาบุรุษทรงรับ แล้วทรงนำไปปูเป็นอาสนะสำหรับประทับนั่งที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์

        พระมหาบุรุษประทับนั่งขัดสมาธิ   พระบาทขวาวางทับพระบาทซ้าย    และพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย  ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก  ผินพระปฤษฎางค์ คือ  หลัง  ไปทางำต้นพระศรีมหาโพธิ์  แล้วทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะแน่วแน่ว่า

         "ถ้าเรายังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด   เราจักไม่ยอมลุกขึ้นตราบนั้น  แม้ว่าเนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง  เอ็น  และกระดูกก็ตามที"
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 12:19:27 »


ภาพที่ ๒๕

ทรงลาดหญ้าคาประทับเป็นโพธิบัลลังก์ ตกเย็นพญามารก็กรีฑาพลมาขับไล่



          เหตุการณ์ที่เกิดกับพระมหาบุรุษตอนนี้เรียกว่า 'มารผจญ'  ซึ่งเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือนหก  ก่อนตรัสรู้ไม่กี่ชั่งโมง   พระอาทิตย์กำลังอัสดงลงลับทิวไม้   สัตว์สี่เท้าที่กำลังจะใช้งาทิ่มแทงพระมหาบุรุษนั้นมีชื่อว่า 'นาราคีรีเมขล์'  เป็นช้างทรงของพระยาวัสสวดีมารซึ่งเป็นจอมทัพ  สตรีที่กำลังบีบมวยผมนั้นคือพระนางธรณี  มีชื่อจริงว่า  'สุนธรีวนิดา'

         พระยามารตนนี้เคยผจญพระมหาบุรุษมาครั้งหนึ่งแล้ว  คือ   เมื่อคราวเสด็จออกจากเมือง แต่คราวนี้เป็นการผจญชิงชัยกับพระมหาบุรุษยิ่งใหญ่กว่าทุกคราว   กำลังพลที่พระยามารยกมาครั้งนี้มืดฟ้ามัวดิน  มาทั้งบนเวหา  บนดิน  และใต้บาดาลขนาดเทพเจ้าที่มาเฝ้ารักษาพระมหาบุรุษต่างเผ่นหนีกลับวิมานกันหมดเพราะเกรงกลัวมาร

        ปฐมสมโพธิพรรณนาภาพพลมารตอนนี้ไว้ว่า 
"...บางจำพวกก็หน้าแดงกายเขียว  บางจำพวกก็หน้าเขียวกายแดง    ลางเหล่าจำแลงกายขาวหน้าเหลือง...บางหมู่กายลายพร้อยหน้าดำ...ลางพวกกายท่อนล่างเป็นนาค  กายท่อนต่ำหลากเป็นมนุษย์..."

         ส่วนตัวพระยามารเนรมิตพาหาคือแขนซ้ายและขวาข้างละหนึ่งพันแขน    แต่ละแขนถืออาวุธต่างๆ   เช่น   ดาบ  หอก  ธนู  ศร  โตมร  (หอกซัด)  จักรสังข์  อังกัส  (ของ้าวเหล็ก)   คทา  ก้อนศิลา  หลาวเหล็ก  ครกเหล็ก  ขวานถาก  ขวานผ่า  ตรีศูล  (หลาวสามง่าม)  ฯลฯ


        เหตุที่พระยามารมาผจญพระมหาบุรุษทุกครั้ง  เพราะพระยามารมีนิสัยไม่อยากเห็นใครดีเกินหน้าตน    เมื่อพระมหาบุรุษจะทรงพยายามเพื่อเป็นคนดีที่สุดในโลก   จึงขัดขวางไว้   แต่ก็พ่ายแพ้พระมหาบุรุษทุกครั้ง   ครั้งนี้เมื่อเริ่มยกแรกก็แพ้   แพ้แล้วก็ใช้เล่ห์   คือ   กล่าวตู่พระมหาบุรุษว่ามายึดเอาโพธิบัลลังก์  คือตรงที่พระมหาบุรุษประทับนั่ง   ซึ่งพระยามารตู่เป็นที่ของตน    พระยามารอ้างพยานบุคคลคือพวกพ้องของตน  ฝ่ายพระมหาบุรุษทรงมองหาใครเป็นพยานไม่ได้  เทพเจ้าเล่าก็เปิดหนีกันหมด  จึงทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาออกจากชายจีวร      แล้วทรงชี้พระดัชนีลงยังพื้นพระธรณี    พระนางธรณีจึงผุดขึ้นตอนนี้เพื่อเป็นพยาน
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 12:45:22 »


ภาพที่ ๒๖

แม่พระธรณีบิดพระเกศา เกิดเป็นสมุทรธารา พระยามารก็พ่ายแพ้แก่พระบารมี



        สถานที่ที่พระมหาบุรุษประทับนั่งพื่อทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ  แสวงหาทางตรัสรู้  ซึ่งอยู่ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น  เรียกว่า  'โพธิบัลลังก์'  พระยามารกล่าวตู่ว่าเป็นสมบัติของตน  ส่วนพระมหาบุรุษทรงกล่าวแก้ว่า   บังเกิดขึ้นด้วยผลแห่งบุญบารมีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อน   แล้วทรงอ้างพระนางธรณีเป็นพยาน

   ปฐมสมโพธิว่า  "พระธรณีก็มิอาจดำรงกายอยู่ได้...ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี   ผุดขึ้นจากพื้นปฐพี..." แล้วกล่าวเป็นพยานมหาบุรุษ  พร้อมกับบีบน้ำออกจากมวยผม  น้ำนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า 'ทักษิโณทก'  อันได้แก่   น้ำที่พระมหาบุรุษทรงกรวดทุกครั้งที่ทรงบำเพ็ญบุญบารมีแต่ชาติปางก่อนเป็นลำดับมา  ซึ่งแม่พระธรณีเก็บไว้ที่มวยผม  เมื่อนางบีบก็หลั่งไหลออกมา
 
         ปฐมสมโพธิว่า   "เป็นท่อธารมหามหรรณพ   นองท่วมไปในประเทศทั้งปวง    ประดุจห้วงมหาสาครสมุทร...หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้   ก็ลอยไปตามกระแสน้ำ   ปลาสนาการไปสิ้น  ส่วนคิรีเมขล์คชินทร  ที่นั่งทรงองค์พระยาวัสสวดี   ก็มีบาทาอันพลาด  มิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้   ก็ลอยตามชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร...   พระยามารก็พ่ายแพ้ไปในที่สุด"

       บารมีนั้นคือความดี  พระมหาบุรุษท่านทรงรำพึงว่า  ชีวิต  ดวงหทัย  นัยน์เนตรที่ท่านทรงบริจาคให้เป็นกุศลผลทานมาก่อนนั้น    ถ้าจะเก็บรวมไว้ก็จะมากกว่าผลาผลไม้ในป่า มากกว่าดวงดาราในท้องฟ้า

        ความดีที่ทำไว้นั้นไม่หนีไปไหน  ถึงใครไม่เห็น  ฟ้าดินก็เห็น  ดินคือแม่พระธรณี
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 13:12:34 »


ภาพที่ ๒๗

รุ่งอรุณตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เทวดาฟ้อนร่อนรำถวายเป็นพุทธบูชา




       เมื่อพระมหาบุรุษทรงชนะมารแล้วนั้น   พระอาทิตย์กำลังจะอัสดง  ราตรีเริ่มย่างเข้ามา  พระมหาบุรุษยังคงประทับนั่งไม่หวั่นไหวที่โพธิบัลลังก์  ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์  ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัยด้วยวิธีที่เรียกว่าเข้าฌาน  แล้วทรงบรรลุญาณ

        ฌาน  คือ วิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ  คือ ให้จิตแน่วแน่  ไม่ฟุ้งซ่านคิดโน่นคิดนี่อย่างปุถุชนธรรมดา  ส่วนญาณคือปัญญาความรู้แจ้ง  เปรียบให้เห็นความง่ายเข้าก็คือ  แสงเทียนที่นิ่งไม่มีลมพัด  คือ 'ฌาน'  แสงสว่างอันเกิดจากแสงเทียนเท่ากับปัญญา  (ญาณ)

        พระมหาบุรุษทรงบรรลุญาณที่หนึ่งในตอนปฐมยาม (ประมาณ ๓  ทุ่ม)  ญาณที่หนึ่งนี้เรียกว่า 'บุพเพนิวาสานุสติญาณ'   หมายถึง   ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น  พอถึงมัชฌิมยาม  (ประมาณเที่ยงคืน)  ทรงบรรลุญาณที่สอง  ที่เรียกว่า 'จุตูปปาตญาณ'  หมายถึงความรู้แจ้งถึงความจุติ  คือ  ดับและเกิดของสัตวโลก ตลอดถึงความแตกต่างกันที่เรียกว่า 'กรรม' พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วงแล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สามคือ 'อาสวักขยญาณ'  หมายถึงความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส  และอริยสัจ ๔   คือ  ความทุกข์  เหตุเกิดของความทุกข์  ความดับทุกข์  และวิธีดับทุกข์

        การได้บรรลุญาณทั้งสามของพระมหาบุรุษนั้นเรียกว่า  ตรัสรู้ความเป็นพระพุทธเจ้า   ซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๖  หลังจากนั้น  พระนามว่า สิทธัตถะก็ดี  พระโพธิสัตว์ก็ดี  ที่เกิดใหม่  ตอนก่อนตรัสรู้ว่าพระมหาบุรุษก็ดี  ได้กลายเป็นพระนามในอดีตหนหลัง  เพราะตั้งแต่นี้ต่อไปทรงมีพระนามใหม่ว่า  'อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า'  แปลว่า พระผู้ตรัสรู้ธรรมเครื่องหลุดพ้นจากกิเลสโดยชอบด้วยพระองค์เอง

       เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเป็นที่มหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง  กวีจึงแต่งความเป็นปุคคลาธิษฐานเฉลิมพระเกียรติพระพุทธเจ้าว่า   นำสัตว์   มนุษย์นิกร   และทวยเทพในหมื่นโลกธาตุ  หายทุกข์  หายโศก  สิ้นวิปโยคจากผองภัย  สัตว์ทั้งหลายต่างมีเมตตาจิตต่อกันทุกถ้วนหน้า  เว้นจากเวรานุเวร  อาฆาตมาดร้ายแก่กัน

       ทวยเทพต่างบรรเลงดนตรีสวรรค์  ร่ายรำ  ขับร้อง  แซ่ซ้องถวายเป็นพุทธบูชาและกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณกันทั่วหน้า
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #31 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 13:35:10 »


ภาพที่ ๒๘

เสด็จไปประทับโคนต้นไทร สามธิดามารมาประโลมล่อให้หลง ก็ไม่ทรงใยดี




          ตรัสรู้แล้ว   พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา  ๗  วัน  คำว่า 'เสวยวิมุติสุข'  เป็นภาษาที่ใช้สำหรับท่านผู้ทรงหลุดพ้นแล้ว  เทียบกับภาษาสามัญชนคนมีกิเลสก็คือพักผ่อนภายหลังที่ตรากตรำงานมานั่นเอง

         หลังจากนั้นจึงเสด็จไปยังต้นอชปาลนิโครธ  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นศรีมหาโพธิ์  ต้นนิโครธคือต้นไทร  ส่วนคำหน้าคือ  'อชปาล'  แปลว่า  เป็นที่เลี้ยงแพะ  ตามตำนานบอกว่าที่ใต้ต้นไทรแห่งนี้เคยเป็นที่อาศัยของคนเลี้ยงแพะมานาน    คนเลี้ยงแพะที่ตำบลแห่งนี้ได้เข้ามาอาศัยร่มเงาต้นไทรเป็นที่เลี้ยงแพะเสมอมา

         ระหว่างที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นี่  นักแต่งเรื่องเรื่องในยุคอรรถกถาจารย์  ยุคนี้เกิดขึ้นภายหลัง    พระพุทธเจ้านิพพานแล้วหลายร้อยปี   ได้แต่งเรื่องขึ้นเฉลิมพระเกียรติของพระพุทธเจ้าว่า    ลูกสาวพระยามารซึ่งเคยยกทัพมาผจญพระพุทธเจ้าเมื่อตอน  ก่อนตรัสรู้เล็กน้อยแต่ก็พ่ายแพ้ไป  ได้ขันอาสาพระยามารผู้บิดาเพื่อประโลมล่อพระพุทธเจ้าให้ตกอยู่ในอำนาจของพระยามารให้จงได้     ลูกสาวพระยามารมี  ๓  คน  คือ  นางตัณหา  นางราคา  และนางอรดี

        ทั้งสามนางเข้าไปประเล้าประโลมพระพุทธเจ้าด้วยกลวิธีทางกามารมณ์ต่างๆ   เช่น   เปลื้องภูษาอาภรณ์ทรงออก  แปลงร่างเป็นสาวรุ่นบ้าง  เป็นสาวใหญ่บ้าง  เป็นสตรีในวัยต่างๆ  บ้าง  แต่พระพุทธเจ้าผู้ทรงบริสุทธิ์สิ้นเชิงแล้วไม่ทรงแสดงพระอาการผิดปกติแม้แต่ลืมพระเนตรแลมอง

       เรื่องธิดาพระยามารประโลมพระพุทธเจ้าก็เป็นปุคคลาธิษฐาน  ถอดความได้ว่า  ทั้งสามธิดาพระยามารนั้น  ล้วนหมายถึงกิเลสทั้งนั้น  อย่างหนึ่งคือความยินดี  อีกอย่างหนึ่งคือความยินร้ายหรือความเกลียดชัง   ความยินดีส่วนหนึ่งแยกออกเป็นตัณหา   คือความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด     อีกส่วนหนึ่งเป็นราคา  หรือราคะ     คือความใคร่หรือกำหนัด     ความเกลียดชังหรือยินร้ายออกมาในรูปของอรดี   อรดีในที่นี้คือ ความริษยา

        ความที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงพระอาการผิดปกติ  แม้แต่ทรงลืมพระเนตรนั้น  ก็หมายถึงว่า  พระพุทธเจ้าอยู่ห่างไกลจากกิเลสดังกล่าวมาโดยสิ้นเชิงนั่นเอง
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #32 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 13:43:51 »


ภาพที่ ๒๙

ย้ายไปประทับโคนไม้จิก ฝนตกพรำ พญานาคมาขดขนดปกพระกาย กำบังฝน



         ระหว่างที่พระพุทธเจ้ายังไม่ตัดสินใจพระทัยว่าจะทรงแสดงธรรมโปรดใครเพื่อประกาศพระศาสนา    นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมานี้    ได้เสด็จแปรสถานที่ประทับแห่งละ  ๗  วัน    ที่เห็นอยู่ตามภาพนี้เป็นสัปดาห์ที่สาม  และสถานที่ประทับก็เป็นแห่งที่สาม  คือ ใต้ต้นมุจลินทร์  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์

         มุจลินทร์เป็นต้นไม้ที่เกิดอยู่ในที่ทั่วไปในประเทศอินเดีย  มีชื่อปรากฏอยู่ในวรรณคดี  ทั้งประเภทชาดก   และอย่างอื่นมากหลาย    ในเวสสันดรชาดกก็กล่าวถึงสระมุจลินทร์ที่เวสสันดรไปประทับอยู่เมื่อคราวเสด็จไปอยู่ป่า

        ไทยเราแปลต้นมุจลินทร์กันว่าต้นจิก  เข้าใจว่าจะใช่  เพราะดูลักษณะที่เกิดคล้ายกัน  คือ  ชอบเกิดตามที่ชุ่มชื้น  เช่น  ตามห้วย  หนอง  คลอง  บึง  เป็นไม้เนื้อเหนียว  ดอกระย้า  มีทั้งสีขาวและสีแดง   ใบประมาณเท่าใบชมพู่สาแหรก  ปกติใบดกหนา  เป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาดี

        เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ที่นี่  ฝนเจือลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย  ท่านผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า     พญานาคชื่อมุจลินทร์ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้เข้าไปวงขนด ๗ รอบ  แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกาย  ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง  พญานาคจึงคลาดขนดออก แล้วจำแลงแปลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้าพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์

        พระพุทธรูปนาคปรกที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้น    ก็เป็นนิมิตหมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดกับพระพุทธเจ้าในปางหรือในตอนนี้   เป็นพระพุทธรูปที่เชื่อถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตา  เพราะเป็นรูปหรือภาพที่สอนคนโดยทางอ้อมให้เห็นอานิสงส์หรือผลดีของเมตตา  เพราะแม้แต่พญางูใหญ่ในสระน้ำก็ยังขึ้นจากสระเข้าไปถวายความอารักขาแก่พระพุทธเจ้า  ทั้งนี้พลานุภาพแห่งพระมหากรุณาของพระพุทธองค์
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #33 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 13:54:18 »


ภาพที่ ๓๐

ขณะประทับโคนไม้เกด ท้าวโลกบาลถวายบาตร เทวดาบอกสองพาณิชให้ไปเฝ้า




         เสด็จประทับอยู่ภายใต้ต้นจิก  หรือมุจลินทร์ตลอด ๗  วันแล้ว  พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ใต้ต้นไม้ที่ภาษาบาลีเรียกว่า 'ราชายตนะ' อยู่ถัดไปทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์   ราชายตนะแปลกันว่า  ไม้เกด  เป็นไม้ที่อยู่ในตระกูลพิกุล  ผู้บรรยายเคยเห็นที่ชานพระทักษิณาด้านนอกขององค์ปฐมเจดีย์  นครปฐม  ที่ทางราชการนำมาปลูกไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  ๕  เป็นต้นใหญ่แล้ว  จำได้ว่าใบเหมือนประดู่

        ตอนพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นี่   มีพ่อค้านายกองเกวียนสองคนเข้ามาเฝ้า  และนำของมาถวายคนหนึ่งชื่อ 'ตปุสสะ'  อีกคนหนึ่งชื่อ 'ภัลลิกะ'   เดินทางด้วยขบวนเกวียนหลายร้อยเล่ม (ปฐมสมโพธิว่า  ๕๐๐ เล่ม)  มาจากอุกกลชนบท  ได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นไม้เกด   ก็ให้นึกเลื่อมใสจึงนำข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผง   ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวาย   ข้าวสัตตุนี้   ไทยเราเรียกว่าข้าวตู  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า  "ข้าวตากคั่วแล้วตำเป็นผลเคล้ากับน้ำตาลและมะพร้าว"

          พระพุทธเจ้าทรงรับอาหารนายกองเกวียนสองคนนั้นด้วยบาตรศิลาที่ท้าวจตุมหาราชทั้ง   ๔  นำมาถวาย      เสวยเสร็จแล้ว     นายกองเกวียนทั้งสองคนเกิดความเลื่อมใสได้แสดงตนเป็นอุบาสก    ขอถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเจ้าเป็นสรณะ

        กล่าวอย่างสั้นๆ  ก็ว่า  ทั้งสองประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกชน  ทั้งสองจึงนับได้ว่าอุบาสกหรือพุทธศาสนิกชนคู่แรกก่อนใครในโลก    นับแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นต้นมา   ที่ทั้งสองนายประกาศตนนับถือพระรัตนะทั้งสองดังกล่าวแล้วนั้น  เพราะตอนที่กล่าวนี้  สังฆรัตนะ คือ  พระสงฆ์ยังไม่เกิดมี  ด้วยพระพุทธเจ้ายังมิได้ตรัสเทศนาโปรดใครเลย

       ปฐมสมโพธิเล่าว่า   "เมื่อสองนายกองเกวียนประกาศตนเป็นอุบาสกแล้ว      ก่อนที่จะถวายบังคมกราบทูลลาพระพุทธเจ้าไป  ได้กราบทูลขอสิ่งของเป็นที่ระลึกจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบเบื้องพระเศียรและว่า "ลำดับนั้นพระเกศาธาตุ (ผม)  ทั้ง ๘  เส้นมีสีดุจแก้วอินทนิล  แลปีกแมลงภู่...ก็หล่นลงประดิษฐานในฝ่าพระหัตถ์"

         แล้วทรงประทานเส้นพระเกศาทั้งแปดแก่นายกองเกวียนเพื่อนำไปบูชาเป็นที่ระลึก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2553 13:56:54 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #34 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 14:27:36 »


ภาพที่ ๓๑

สองพาณิชถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง แล้วทูลปฎิญาณตนเป็นอุบาสกคู่แรกในโลก



         ภาพที่เห็นอยู่นี้    เป็นเหตุการณ์ที่เกิดกับพระพุทธเจ้าในสถานที่และในสัปดาห์เดียวกันกับที่ได้บรรยายไว้แล้วในภาพที่ ๓๐  สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่  คือ  ต้นราชายตนะหรือต้นเกด  ส่วนสัปดาห์ที่ประทับอยู่ที่นี่ตั้งแต่ตรัสรู้แล้วเป็นต้นมา  นับเป็นสัปดาห์ที่  ๔

         สัปดาห์ที่  ๑   ประทับที่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์    สัปดาห์ที่  ๒   ที่ใต้ต้นไทรที่เคยเป็นที่อาศัยของคนเลี้ยงแพะ  ที่เรียกว่า  'อชปาลนิโครธ'  สัปดาห์ที่  ๓    ที่ใต้ต้นมุจลินทร์  หรือต้นจิก  และที่  ๔  คือ  ที่กำลังเห็นอยู่นั้น

         ในภาพที่เห็นนั้นคือ  คนหนึ่งในจำนวนนายพาณิช  หรือนายกองเกวียนสองพี่น้องกำลังยกข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผงถวายพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าทรงรับด้วยบาตรศิลา  ที่ท้าวจาตุมหาราชหรือท้าวจตุโลกบาลก็เรียก  นำมาถวาย  ดังได้บรรยายไว้แล้ว

         ท้าวจาตุมหาราช  เป็นเทพเจ้าผู้ใหญ่  ผู้ทำหน้าที่รักษาโลก  ประจำอยู่ในทิศทั้ง  ๔  คือ  ท้าวธตรฐ  เป็นหัวหน้าฝ่ายคนธรรพ์  อยู่ทางทิศตะวันออก    ท้าววิรุฬหก  เป็นหัวหน้าฝ่ายเทวดา  อยู่ทางทิศใต้  ท้าววิรูปักษ์  เป็นหัวหน้าฝ่ายนาค  อยู่ทางทิศตะวันตก  และท้าวกุเวร  เป็นหัวหน้าฝ่ายยักษ์  อยู่ทางทิศเหนือ

         เทพเจ้าทั้ง  ๔  นำบาตรองค์ละหนึ่งใบ  รวมเป็น  ๔  ใบ  มาถวายพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าทรงรับแล้วทรงอธิษฐานให้เป็นใบเดียวกัน  แล้วรับอาหารจากสองนายกองเกวียนพี่น้อง

        ปฐมสมโพธิเล่าไว้ว่า  บาตรใบแรกของพระพุทธเจ้าที่ฆฏิการพรหมณ์นำมาถวายพร้อมทั้งจีวรเมื่อคราวเสด็จออกทรงผนวช  และเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานั้น  เกิดหายไปในตอนจะรับข้าวมธุปายาส  จากนางสุชาดา  คือ  ตอนก่อนตรัสรู้ได้หนึ่งวัน

         เมื่อสองพี่น้องนายกองเกวียนนำอาหารเสบียงมาถวายพระพุทธเจ้า เกิดไม่มีบาตรจะรับอาหาร  เทพเจ้าทั้ง ๔  จึงนำบาตรมาถวายดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้เป็นธรรมเนียมของพระศาสดาชั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ที่ไม่รับของถวายจำพวกอาหารด้วยพระหัตถ์  แต่จะรับด้วยภาชนะคือบาตรเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 16:31:27 »


ภาพที่ ๓๒

กลับมาประทับโคนต้นไทร ท้อพระทัยในอันโปรดสัตว์ สหัสบดีพรหมต้องทูลวิงวอน



        ประทับอยู่ภายใต้ต้นราชายตนะหรือไม้เกดครบ  ๗   วันแล้ว   พระพุทธเจ้าเสด็จแปรสถานที่ประทับ กลับไปประทับอยู่ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธหรือต้นไทร  ซึ่งเคยเสด็จไปประทับหนหนึ่งมาแล้ว  ครั้งนี้นับเป็นสัปดาห์ที่  ๕

         ระหว่างที่ประทับอยู่  ณ ที่นี่  พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มา  ทรงเห็นว่า    เป็นธรรมที่มีความหมายสุขุมละเอียด    ก็ทรงบังเกิดความท้อพระทัยว่า   จะมีใครสักกี่คนที่จะฟังธรรมของพระองค์รู้เรื่อง  พระทัยหนึ่งจึงเกิดความมักน้อยว่าจะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลย

         ท่านผู้รจนาคัมภีร์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  ได้แต่งเรื่องสาธกให้เห็นเป็นปุคคลธิษฐานประกอบเข้าในตอนนี้ว่า พระดำริของพระพุทธเจ้าเรื่องนี้ได้ทราบไปถึงท้าวสหัมบดีพรหมในเทวโลก ท้าวสหัมบดีพรหมจึงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงเปล่งศัพท์สำเนียงอันดังถึงสามครั้งว่า "โลกจะฉิบหายในครั้งนี้"

        ปฐมสมโพธิว่า   "เสียงนั้นก็ดังแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ    ท้าวสหัมบดีพรหมจึงพร้อมด้วยเทวาคณานิกรลงมากราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรม"

         ตอนท้าวสหัมบดีพรหมลงมาทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมโปรดชาวโลกนี้  กวีท่านแต่งเป็นอินทรวงศ์ฉันท์ภาษาบาลีไว้ว่า

     
"พรหฺมา  จ  โลกาธิปตี  สหมฺปติ
      กตฺอญฺชลี  อนฺธิวรํ  อยาจถ
      สนฺตีธ  สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
      เทเสตุ  ธมฺมํ  อนุกมฺปิมํ  ปชํ"


         แปลว่า  "ท้าวสหัสบดีพรหม  ประณมกรกราบอาราธนาพระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐว่า  สัตว์ในโลกนี้  ที่มีกิเลสบางเบาพอที่จะฟังธรรมเข้าใจนั้นมีอยู่  ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมช่วยเหลือชาวโลกเทอญ"

          ต่อมาภาษาบาลีที่เป็นฉันท์บทนี้       ได้กลายเป็นคำสำหรับอาราธนาพระสงฆ์ในเมืองไทยให้แสดงธรรมมาจนทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #36 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 16:40:25 »


ภาพที่ ๓๓

ทรงคำนึงเห็นอุปนิสัยเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่าจึงรับอาราธนา



         ท้าวสหัมบดีพรหมที่เสด็จมากราบทูลอาราธนา พระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนาโปรดชาวโลก  ดังที่ได้บรรยายไว้ในภาพที่  ๓๒  นั้น  เป็นเรื่องที่กวีแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน  คือ  แต่งเป็นนิยายมีบุคคลเป็นตัวแสดงในเรื่อง  ถ้าถอดความเป็นธรรมาธิษฐาน  หรืออธิบายกันตรงๆ  ก็คือ    สหัมบดีพรหมนั้น  ได้แก่พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้านั่นเอง

         ถึงพระพุทธเจ้าจะทรงท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรม  แต่อีกพระทัยหนึ่งซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า  คือพระมหากรุณา    และพระมหากรุณานี่เองที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยว่า  จะทรงแสดงธรรม  หลังจากตัดสินพระทัยแล้ว    จึงทรงพิจารณาดูอัธยาศัยของของคนในโลก   แล้วทรงเห็นความแตกต่างแห่งระดับสติปัญญาของคนถึง  ๔  ระดับ  หรือ  ๔  จำพวก

   
๑.  อุคฆฏิตัญญู   ผู้อาจรู้ธรรมแต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
   ๒.  วิปจิตัญญู   ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น
   ๓.  เนยยะ      ผู้พอแนะนำได้
   ๔.  ปทปรมะ    ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง


        จำพวกที่หนึ่ง  เหมือนดอกบัวเปี่ยมน้ำ  พอได้รับแสงอาทิตย์ก็บาน  ที่สอง  เหมือนดอกบัวใต้น้ำที่จะโผล่พ้นน้ำ  และที่จะบานในวันรุ่งขึ้น  ที่สาม  เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปหน่อย  ซึ่งจะแก่กล้าขึ้นมาบานในวันต่อๆ  ไป   และที่สี่  เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปมาก   ถึงขนาดไม่อาจขึ้นมาบานได้   เพราะตกเป็นภักษาของปลาและเต่าเสียก่อน

          ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์จะเสด็จไปโปรด  ทรงมองเห็นภาพของดาบสทั้งสอง   ที่พระองค์เคยเสด็จไปทรงศึกษาอยู่ด้วย   แต่ทั้งสองนั้นก็สิ้นชีพเสียแล้ว  ทรงเห็นเบญจวัคคีย์ว่ายังมีชีวิตอยู่  จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จไปโปรดเบญจวัคคีย์เป็นอันดับแรก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2553 16:56:58 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #37 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 16:54:35 »


ภาพที่ ๓๔

เสด็จพระพุทธดำเนินไปโปรดเบญจวัคคีย์ พบอุปกาชีวกในระหว่างทาง


ในสัปดาห์ที่ ๖ ถึงที่ ๘ เป็นระเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จแปรสถานที่ประทับไปมาที่ระหว่างต้นศรีมหาโพธิ์กับต้นอชปาลนิโครธหรือต้นไทร จนถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ในสัปดาห์ที่ ๘ นับแต่ตรัสรู้มา พระพุทธเจ้าจึงเสด็จออกจากบริเวณสถานที่ตรัสรู้ เพื่อเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือที่ทุกวันนี้เรียกว่าสารนาถ ซึ่งอยู่ในเขตแดนเมืองพาราณสี เวลาที่กล่าวนี้พวกเบญจวัคคีย์ที่เคยตามเสด็จออกบวชและอยู่เฝ้าอุปัฏฐากได้พากันผละหนีพระพุทธเจ้ามาอยู่ที่นี่
 
ระหว่างทาง คือ เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำคยาอันเป็นที่สุดเขตตำบลของสถานที่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ทรงพบอาชีวกผู้หนึ่งนามว่า 'อุปกะ' เดินสวนทางมา อาชีวกคือนักบวชนอกศาสนาพุทธนิกายหนึ่งในสมัยพระพุทธเจ้า
 
ตอนที่เดินยังไม่เข้าใกล้และได้เห็นพระพุทธเจ้านั้น อาชีวกผู้นี้ได้เห็นพระรัศมีที่แผ่ซ่านออกจากพระวรกายพระพุทธเจ้ามากระทบเข้าที่หน้าตนก่อน พระรัศมีนั้น สมัยนั้นเรียกว่า 'ฉัพพรรณรังสี' คือ พระรัศมี ๖ ประการที่ซ่านออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า ได้แก่
 
๑. นีละ สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน
๒. ปีตะ สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง
๓. โลหิตะ สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน
๔. โอทาตะ สีขาวเหมือนแผ่นเงิน
๕. มัญเชฐะ สีแสดเหมือนดอกหงอนไก่
๖. ประภัสสระ สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก
 
มาถึงสมัยสร้างพระพุทธรูปฉัพพรรณรังสีนี้เรียกกันว่า 'ประภามณฑล' คือ พระรัศมีที่พุ่งขึ้นจากเบื้องพระเศียรที่เป็นรูปกลมรีขึ้นข้างบนนั่นเอง
 
พอพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามาใกล้ อาชีวกจึงได้เห็นที่มาของรัศมี พอเห็นก็เกิดความสนใจจึงเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ใครเป็นพระศาสดาของพระพุทธเจ้า พอพระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ไม่มีศาสดาผู้เป็นครูสอน พระพุทธองค์เป็นสยัมภู คือ ผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง อาชีวกได้ฟังแล้วแสดงอาการสองอย่างคือสั่นศีรษะและแลบลิ้น แล้วเดินหลีกพระพุทธเจ้าไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2553 17:00:17 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #38 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 17:20:09 »


ภาพที่ ๓๕

ถึงป่าอิสิปตนะ เบญจวัคคีย์เห็นแต่ไกล นัดกันว่าจะไม่ต้อนรับ แต่แล้วก็กลับใจ


พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันในเย็นวันเดียวกัน ที่ว่านี้ว่าตามวันเวลาที่ระบุไว้ในหนังสือปฐมสมโพธิ
 
ขณะนี้พวกเบญจวัคคีย์ ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้ากำลังสนทนากันอยู่ เรื่องที่สนทนากันก็เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรงว่า นับตั้งแต่ผละหนีจากพระพุทธเจ้ามาก็นานแล้ว ป่านนี้จะประทับอยู่ที่ไหน จะทรงระลึกถึงพวกตนอยู่หรือหาไม่
 
ทันใดเบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ก็เห็นพระฉัพพรรณรังสีสว่างรุ่งเรืองมาแต่ไกล เมื่อเหลียวแลลำแสงพระรัศมี ก็เห็นพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จดำเนินมา
 
ทั้ง ๕ จึงนัดหมายกันว่าจะไม่รับเสด็จพระพุทธเจ้า และจะไม่ถวายความเคารพ คือจะไม่ลุกขึ้นออกไปรับบาตรและจีวร จะปูแต่อาสนะถวายให้ประทับนั่ง จะไม่ถวายบังคม แต่ต่างจะนั่งอยู่เฉยๆ ทำเป็นไม่รู้ ไม่สนใจว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมา
 
แต่ครั้นพอพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงจริง เบญจวัคคีย์ทั้งหมดต่างลืมนัดหมายกันเสียสิ้น เพราะต่างก็ลุกขึ้นรับเสด็จ ถวายบังคม และรับบาตรและจีวรด้วยความเคารพอย่างแต่ก่อนเคยทำมา ผิดแต่ว่าเวลาทั้ง ๕ กราบทูลพระพุทธเจ้านั้นได้ใช้ถ้อยคำที่พวกตนไม่เคยใช้มาก่อนเท่านั้น
 
เบญจวัคคีย์ใช้โวหารเรียกพระพุทธเจ้าว่า 'อาวุโส โคดม' คำท้ายคือ โคดม หมายถึงชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า ส่วน อาวุโส เป็นคำเดียวกับที่คนไทยเรานำมาใช้ในภาษาไทย ผิดแต่หมายต่างกันในทางตรงกันข้าม ภาษาไทยใช้และหมายกับผู้สูงอายุและคุณวุฒิ แต่ภาษาบาลีใช้เรียกบุคคลผู้อ่อนทั้งวัยและวุฒิ คือเป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย 'อาวุโส' จึงเท่ากับคำว่า 'คุณ' ในภาษาไทย
 
พระพุทธเจ้าตรัสเตือนสติเบญจวัคคีย์ว่า "เคยใช้โวหารนี้กับพระองค์มาก่อนหรือไม่" เมื่อเบญจวัคคีย์ได้สติ  พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าเรื่องให้ฟังว่าพระองค์ได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ที่เสด็จมาที่นี่ก็เพื่อจะมาแสดงธรรมโปรดนั่นเอง
บันทึกการเข้า
น้ำผึ้ง
มือใหม่หัดโพสท์กระทู้
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 1


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #39 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 18:01:07 »

ทรงมีความพากเพียรอย่างยิ่งและไม่มีใครจะเทียบได้ในโลกนี้ อายจัง ยิ้ม ชิลๆ ตลก
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #40 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 18:04:13 »


ภาพที่ ๓๖

สำแดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดเบญจวัคคีย์ ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม


 
วันที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรม 'ปฐมเทศนา' ดังที่เห็นอยู่ในภาพนั้น คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นรุ่งขึ้นหลังจากเสด็จมาถึงและพบเบญจวัคคีย์ คือ วันอาสาฬหบูชานั่นเอง
 
ผู้ฟังธรรมมี ๕ คน ที่เรียกว่า 'เบญจวัคคีย์' เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรงปฏิเสธสิ่งที่คนคือนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน คือ เรื่องทรมานตนให้ลำบาก และการปล่อยชีวิตไปตามความใคร่ ทรงปฏิเสธว่าทั้งสองทางนั้น พระองค์เคยทรงผ่านและทรงทดลองมาแล้ว ไม่ใช่ทางตรัสรู้เลย แล้วทรงแนะนำ ทางสายกลางที่เรียกว่า 'มัชฌิมาปฏิปทา' คือปฏิบัติดีปฏิบัติตามมรรค ๘ ที่กล่าวโดยย่อคือ ศีล สมาธิ และปัญญา
 
เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว พระสาวกรุ่นทำสังคายนาตั้งชื่อเรื่องเทศน์กัณฑ์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงครั้งแรกนี้ว่า 'ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร' หรือเรียกโดยย่อว่าธรรมจักร โดยเปรียบเทียบการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าครั้งนี้ว่า เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิทรงขับจักรหรือรถศึกแผ่พระบรมเดชานุภาพต่างแต่จักรหรือรถศึกของพระพุทธเจ้าเป็นธรรม หรือธรรมจักร
 
พอแสดงธรรมกัณฑ์นี้จบลง โกณฑัญญะ ผู้หัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดดวงตาเห็นธรรม คือ ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระพุทธเจ้าจึงเปล่งอุทานด้วยความเบิกบานพระทัย เมื่อเห็นโกณฑัญญะได้ฟังธรรมแล้วสำเร็จมรรคผลที่แม้จะเป็นขั้นต่ำ "อัญญาสิ วตโก โกณฑัญโญ ฯลฯ" แปลว่า "โอ! โกณฑัญญะได้รู้แล้ว ได้สำเร็จแล้ว" ตั้งแต่นั้นมา ท่านโกณฑัญญะจึงมีคำหน้าชื่อเพิ่มขึ้นว่า 'อัญญาโกณฑัญญะ'
 
โกณฑัญญะฟังธรรมจบแล้ว ได้ทูลขอบวชเป็นพระภิกษุ พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานอนุญาตให้ท่านบวช ด้วยพระดำรัสรับรองเพียงว่า "เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด" พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่าน ส่วนอีก ๔ ที่เหลือนอกนั้น ต่อมาได้สำเร็จและได้บวชเช่นเดียวกับพระโกณฑัญญะ
บันทึกการเข้า
คำค้น: สมุดภาพ พุทธประวัติ ๘o ภาพ  ครูเหม เวชกร  จิตรกรฝีมือเอก  
หน้า:  1 [2] 3 4 5   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วิสุทธิมรรค-วิมุตติมรรค โดย เสถียร โพธินันทะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 3 4996 กระทู้ล่าสุด 24 มกราคม 2553 16:16:45
โดย เงาฝัน
มรณานุสติ : เรียนรู้ความตายอย่างมีสติ : พระไพศาล
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
เงาฝัน 9 10300 กระทู้ล่าสุด 10 มิถุนายน 2553 05:38:00
โดย เงาฝัน
ปริศนาธรรม "นิรรูป" หลวงปู่พุทธอิสระ
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
เงาฝัน 0 2994 กระทู้ล่าสุด 15 มิถุนายน 2553 16:16:02
โดย เงาฝัน
สัทธรรมปุณฑรีกะสูตร บทที่ 3 เอาปัมยปริวรรต ว่าด้วยอุปมาการเปรียบเทียบ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 5 7860 กระทู้ล่าสุด 15 ตุลาคม 2553 16:23:02
โดย เงาฝัน
เจริญสติรับปีใหม่ (พระอาจารย์มิตซูโอะ ค
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 2783 กระทู้ล่าสุด 31 ธันวาคม 2553 15:52:56
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.486 วินาที กับ 35 คำสั่ง

Google visited last this page 18 มีนาคม 2567 00:55:11