[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 เมษายน 2567 05:39:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิเสสลักษณะรสะแปลว่าธรรมที่มีองค์ ๔  (อ่าน 6106 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 07:43:24 »




<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>


บรรดาคำสั่งสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดเวลา ๔๕ ปี

รวมได้ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เมื่อประมวลและจัดสรรสงเคราะห์เป็นหมวดหมู่ได้ ๓ หมวด

๑.พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่แสดงไว้เป็นข้อบังคับ เป็นระเบียบแบบแผนให้ประพฤติปฏิบัติ ผู้ล่วงละเมิดหรือไม่ปฏิบัติ

จะต้องมีโทษตามชั้น ๆ ที่กำหนดไว้

๒.พระสุตตันตปิฏก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่แสดงไว้ โดยยกบุคคลขึ้นเป็นตัวอย่างทั้งในทางดีและทางชั่ว มุ่งหมายให้ผู้ศึกษาได้รู้ถึง

สมมุติสัจจะรู้ความจริงตามความเป็นไปของโลก พระสูตรนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ให้อัธยาศัยสงบ และมีจิตใจแน่วแน่มั่นคง

๓.พระอภิธรรมปิฎก มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นธรรมที่ล้วนเป็นปรมัตถสัจจะ คือเป็นความจริงอันมีเนื้อความไม่เปลี่ยนแปลงผันแปร เพื่อให้ผู้

ศึกษาได้เห็นแจ้งในสภาวธรรมนั้น ๆ โดยไม่กล่าวอ้างบุคคล พระอภิธรรมนี้เป็นพื้นฐานที่จะสร้างสรรค์ให้มีสติว่องไว และมีปัญญาหลักแหลม

๑.บาลี หมายถึง พระพุทธพจน์ คือถ้อยคำที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาโดยตรง

๒.อรรถกถา หมายถึง คำอธิบาย หรือขยายความของท่านอรรถกถาจารย์ เพื่อให้คำหรือเนื้อความในบาลีให้ละเอียดชัดเจนเข้าใจง่ายขึ้น

๓.ฎีกา หมายถึง คำอธิบายขยายความในอรรถกถาให้ชัดเจนอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งท่านฎีกาจารย์ได้อธิบายไว้

๔.อนุฎีกาจารย์ คือ ผู้ที่อธิบายข้อสงสัยในฎีกา

๕.เกจิอาจารย์ คือ อาจารย์อื่น ๆ ที่แสดงความเห็นในข้อธรรม เพื่ออธิบายขยายความในข้อธรรมโดยทั่ว ๆ ไปอนิจจลักษณะ เรียกว่าไตรลักษณ์

(นิพพานสามัญญลักษณะทุกขลักษณะมีเฉพาะอนัตตลักษณะเท่านั้นอนัตตลักษณะไม่มีอนิจจลักษณะทุกขลักษณะ)ปรมัตถธรรม มี

ลักษณะ เรียกว่า ลักขณาทิจตุกะ


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2553 08:58:03 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 07:50:34 »





........................วิเสสลักษณะรสะ แปลว่า ธรรมที่มีองค์ ๔..........................



พระอภิธรรมปัจจุปัฏฐานปทัฏฐานนิพพานไม่มีปทัฏฐาบัญญัติธรรมปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่มีเนื้อความไม่เปลี่ยนแปลงไม่วิปริตผันแปร
มี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และบัญญัติธรรม เป็นสิ่งที่บัญญัติขึ้น สมมติขึ้นเพื่อเรียกขานกัน ตามความนิยมเฉพาะหมู่เฉพาะเหล่าไม่มีวิเสสลักษณะ
สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะสามัญทั่ว ๆไป ลักษณะตามธรรมชาติ ตามปกติปรมัตถธรรมจะต้องมีเหมือน ๆ กันอยู่ ๓ อย่าง คือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะอนิจจลักษณะ เป็นลักษณะที่ไม่เที่ยงไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืนอยู่ได้ตลอดกาล
ทุกขลักษณะ เป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแตกดับเสื่อมสลายสูญหายไปอนัตตลักษณะเป็นลักษณะที่ว่างเปล่าไม่ใช่ตัวตนบังคับ
บัญชาไม่ได้จะให้เป็นไปตามที่ใจชอบไม่ได้วิเสสลักษณะ เป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของปรมัตถธรรมแต่ละอย่างซึ่งไม่เหมือนกันเลย วิเสสลักษณะ
มี ๔ ประการ คือลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐานลักษณะ คือ คุณภาพหรือเครื่องแสดง หรือสภาพโดยเฉพาะที่มีประจำตัวของธรรมนั้น ๆ
รสะ คือ กิจการงาน หรือหน้าที่ของธรรมนั้น ๆปัจจุปัฏฐาน คือผลของรสะ หรืออาการปรากฏของธรรมนั้น ๆปทัฏฐาน คือ เหตุใกล้ที่ทำให้ธรรมนั้น ๆ
เกิดขึ้นพระอภิธัมมัตถสังคหะ แบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท คือ...............................................

ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อว่า จิตตสังคหวิภาค รวบรวมแสดงจิตปรมัตถ

ปริจเฉทที่ ๒ ชื่อว่า เจตสิกสังคหวิภาค รวบรวมแสดงเจตสิกปรมัตถ

ปริจเฉทที่ ๓ ชื่อว่า ปกิณณกสังคหวิภาค รวบรวมแสดงธรรมต่าง ๆ ๖ หมวด คือ เวทนา เหตุ ทวาร กิจ อารมณ์ และวัตถุ

ปริจเฉทที่ ๔ ชื่อว่า วิถีสังคหวิภาค รวบรวมแสดงวิถีจิต

ปริจเฉทที่ ๕ ชื่อว่า วิถีมุตตสังคหวิภาค รวบรวมแสดงจิตที่พ้นวิถี และธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับจิตที่พ้นวิถี

ปริจเฉทที่ ๖ ชื่อว่า รูปสังคหวิภาค รวบรวมแสดงรูปปรมัตถ และนิพพาน

ปริจเฉทที่ ๗ ชื่อว่า สมุจจยสังคหวิภาค รวบรวมแสดงธรรมที่สงเคราะห์เข้าเป็นหมวดเดียวกันได้

ปริจเฉทที่ ๘ ชื่อว่า ปัจจยสังคหวิภาค รวบรวมแสดงธรรมที่อุปการะซึ่งกันและกัน และแสดงบัญญัติธรรมด้วย

ปริจเฉทที่ ๙ ชื่อว่า กัมมัฏฐานสังคหวิภาค รวบรวมแสดงอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการงาน ทางใจ คือ สมถะและ วิปัสสนา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2553 08:58:59 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 07:55:27 »





.................................จิตคืออะไร.............................



จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งรู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้ เรียกว่าอารมณ์
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์
จิต ต้องรับอารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไป
จิต มีชื่อเรียกหลายคำ เช่น มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ฯลฯ



สภาพหรือลักษณะของจิต
จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้นจิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่าง คือ สามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ
๑.สามัญญลักษณะ จิตมีไตรลักษณ์ครบ คือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะจิตนี้เป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลจิตนี้เป็นทุกขัง คือ ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาลจึงมีอาการเกิดดับเกิดดับ
จิตนี้เป็นอนัตตา คือ เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ ไม่ให้เกิดดับไม่ได้
๒.วิเสสลักษณะ หรือลักขณาทิจตุกะของจิต มีครบทั้ง ๔ ประการคือ
มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะเป็นประธานในธรรมทั้งปวงเป็นกิจ(รสะ)มีการเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาดสายเป็นอาการปรากฏ(ปัจจุปัฏฐาน)
มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด(ปทัฏฐาน)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2553 08:59:47 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 07:58:04 »





....................................อำนาจของจิต...........................



๑.มีอำนาจในการกระทำ คือ ทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ ทำให้น่ากลัวทำกิริยามารยาทที่น่ารักหรือคิดผลิตสิ่งต่าง ๆ เช่น รถ เรือ เครื่องบิน ฯลฯ ทั้งหมดนี้เรียกว่า วิจิตรในการกระทำ
๒.มีอำนาจด้วยตนเอง คือ จิตนั่นเองมีทั้งจิตกุศล จิตอกุศล จิตวิบาก จิตกิริยา จิตที่เป็นบุญ จิตที่เป็นบาป จิตที่โง่เขลา จิตที่มีปัญญา จิตที่ไม่มีปัญญา ซึ่งรวมเรียกว่า วิจิตรด้วยตนเอง
๓.มีอำนาจในการสั่งสมกรรมและกิเลส คือ จิตนั่นเอง ที่เป็นต้นเหตุในการก่อกรรมทำบาป ทำอกุศล ทำบุญกุศล ทำฌานอภิญญา เมื่อกระทำลงไปแล้วก็เก็บความดีความชั่วนั้นไว้ เรียกว่า วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส"
๔.มีอำนาจในการรักษาวิบาก (วิบาก=ผลของกรรม) ผลของกรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรม บุญ บาป ฯลฯ ที่จิตได้ทำไว้นั้นไม่สูญหายไปไหน ผลของกรรมนั้นไม่เสื่อมคุณภาพ แม้นานเท่าไรก็จะให้ผลอย่างเต็มที่เมื่อมีโอกาส ซึ่งเรียกว่า "วิจิตรในการรักษาไว้ซึ่งวิบากกรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้
๕.มีอำนาจในการสั่งสมสันดานของตนเอง คือ ถ้าได้คิดได้ทำกรรมอย่างใด ๆ ก็ตาม ถ้าได้กระทำบ่อย ๆ ทำอยู่เสมอ ๆ ก็จะฝังติดเป็นนิสสัยสันดาน ชอบทำชอบคิดอย่างนั้นเรื่อย ๆ ไป เรียกว่า วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง
๖.มีอำนาจต่ออารมณ์ต่าง ๆ คือ จิตจะรับอารมณ์ได้ต่าง ๆ นานา ไม่จำกัดและที่สำคัญที่สุด คือ คนพาลจะรับอารมณ์ที่ไม่ดีที่ชั่วได้ง่าย สำหรับบัณฑิตจะรับอารมณ์ที่ดีได้ง่าย เรียกว่า วิจิตรด้วยอารมณ์ต่าง ๆ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2553 09:01:03 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 08:02:46 »





................................จำแนกจิตเป็น ๔ ประเภท...............................


เมื่อกล่าวตามสภาพแล้ว จิตมีสภาพเพียงหนึ่ง คือ รับรู้อารมณ์เพียงอย่างเดียว
แต่เมื่อกล่าวตามอาการที่รู้ ตามประเภทที่รู้ คือ รู้ในเรื่องของกามเรื่องที่เป็นบุญเป็นบาป รู้เรื่องรูปฌาน รู้เรื่องอรูปฌาน รู้ในเรื่องนิพพานถ้ากล่าวตามอาการที่รู้แล้ว จิตก็จำแนกได้เป็น๔ ประเภท และนับจำนวนได้โดยย่อ ๘๙ ดวง นับโดยพิศดารได้ ๑๒๑ ดวงดังนี้................................

๑.กามาวจรจิต ๕๔ ดวง

๒.รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง

๓.อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง

๔.โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง




.............................รวม ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง................................



๑.กามาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ข้องอยู่ ที่ติดอยู่ ที่หลงอยู่ ที่เจืออยู่ในกามตัณหา หรือเป็นจิตที่ส่วนมากท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกาม

ภูมิ จิตประเภทนี้เรียกกันสั้นๆ ว่า กามจิต มีจำนวน ๕๔ ดวง

๒.รูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ถึงซึ่งรูปฌาน พอใจที่จะเป็นรูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวในรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๕ ดวง

๓.อรูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ถึงซึ่งอรูปฌาน พอใจที่จะเป็นอรูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๒ ดวง

๔.โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลกทั้ง ๓ คือ พ้นจากกามโลก(กามภูมิ) จากรูปโลก(รูปภูมิ) และจากอรูปโลก(อรูปภูมิ) จิต

ประเภทนี้มีจำนวนเพียง ๘ ดวงถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วยฌานตามชั้นตามประเภทของฌาน ซึ่งมี ๕ ชั้นแล้วก็จะเป็นจิตนับอย่างพิสดารได้ ๔๐ ดวง (๘x๕ = ๔๐)




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2553 09:02:03 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 08:08:08 »





กามาวจรจิตกามาวจรจิต หรือกามจิต ซึ่งมีจำนวน ๕๔ ดวง จำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ..............



อกุสลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘กามาวจรโสภณจิต ๒๔อกุสลจิต เป็นจิตที่ไม่ฉลาด ไม่ดี ไม่งาม เป็นจิตที่ทราม ที่ชั่ว หยาบ ที่เป็นบาป ที่มีโทษ และให้ผลเป็นทุกข์
เหตุที่แสดงอกุสลจิตก่อนก็เพื่อให้รู้จักกับสิ่งที่ชั่วไม่ดี จะได้ไม่ประพฤติชั่ว อันจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่นอุปมาว่าให้เรารู้จักผู้ร้าย
ก่อนจะได้หนีให้ห่างไกล จึงจะพ้นความเดือดร้อนวุ่นวาย
อเหตุกจิต เป็นจิตที่ ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป เพราะไม่มีเหตุบุญหรือบาปมาร่วมประกอบด้วย เป็นจิตที่มีอยู่แล้วในตัวเราทุกคนและเกิดอยู่เป็นนิจ แม้ว่าจะเป็นจิตที่ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปก็จริง แต่ทว่าเป็นจิตที่เป็นสื่อ หรือเป็นทางน้อมนำมาซึ่งบาปและบุญอยู่แทบทุกขณะ
กามาวจรโสภณจิต เป็นจิตที่ดีงาม ฉลาด สอาด ไม่ก่อความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่ตนหรือผู้อื่น เป็นจิตที่ปราศจากโทษและให้ผลเป็นสุข



...................................สรุปภูมิทั้ง ๓๑...............................


เนวสัญญานาสัญญายตน

อากิญจัญญายตน

อรูปภูมิ ๔ วิญญาณัญจายตน

อากาสานัญจายตน

อกนิฏฐา

สุทัสสี

สุทธาวาส ๕ สุทัสสา

อตัปปา

อวิหา

จตุตถฌานภูมิ ๗

เวหัปผลา

อสัญญสัตตา

สุภกิณหา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2553 09:03:01 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 08:10:24 »





ตติยฌานภูมิ ๓ อัปปมาณสุภา

ปริตตสุภา

๓๑ ภูมิ รูปภูมิ ๑๖

อาภัสสรา

ทุติยฌานภูมิ ๓ อัปปมาณาภา

ปริตตาภา

มหาพรหมา

ปฐมฌานภูมิ ๓ ปุโรหิตา

ปาริสัชชา

ปรินิมมิตวสวัสตี

นิมมานรตี

ฉกามาวจร - ดุสิต

หรือเทวภูมิ ๖ ยามา

ดาวดึงสา

กามสุคติภูมิ ๗ จตุมมหาราชิกา

มนุสสภูมิ ๑ มนุสส

กามภูมิ ๑๑

อสุรกาย

เปรต

อบายภูมิ ๔ ดิรัจฉาน

นรก

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2553 09:12:14 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2553 08:13:21 »





....................................อกุสลจิต................................


อกุสลจิต แม้จะเป็นจิตที่ชั่วเป็นบาปและให้ผลเป็นทุกข์ แต่ส่วนมากมักจะเกิดได้ง่ายและเกิดได้บ่อย ทั้งนี้เพราะเหตุว่าเมื่อจิตได้รับอารมณ์ใดแล้วส่วนมากก็ไม่ได้พิจารณาให้ แยบคาย คือ ไม่พิจารณาให้ซึ้งถึงสภาพแห่งความเป็นจริงของอารมณ์ที่ประสบนั้น การไม่ใส่ใจพิจารณาอารมณ์ด้วยดีนี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ เมื่อมีอโยนิโสมนสิการ อกุสลจิตย่อมเกิด และอโยนิโสมนสิการนี้ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุ ๕ ประการ คือ...................

๑.ไม่ได้สร้างสมบุญไว้แต่ปางก่อน - เป็นอดีตกรรม

๒.อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (คือไม่มีสัปบุรุษ) - เป็นปัจจุบันกรรม

๓.ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ

๔.ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ

๕.ตั้งตนไว้ผิด



http://forums.212cafe.com/boxser/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มิถุนายน 2553 09:11:15 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น: ดื่มด่ำ ซาบซึ้ง ปีติ วิโมกข์ บางครั้ง พระไตรปฏก dhamma พระสูตร อื่น ๆ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.378 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 24 มีนาคม 2567 19:22:38