[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
25 เมษายน 2567 15:41:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประทีปส่องธรรม หลวงพ่อปราโมทย์  (อ่าน 3477 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 มิถุนายน 2553 15:44:52 »






ประทีปส่องธรรม
โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช


o บุญเน้นที่ตัวกิจกรรมที่ว่าทำอะไรแล้วดี กุศลเน้นที่จิตใจอันเป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำความดีงามหรือละเว้นความชั่ว

o ขณิกสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตอยู่ในอารมณ์รูปนามอันเดียวที่กำลังปรากฎอย่างสบายๆ ไม่ซัดส่ายหลงไปหาอารมณ์อื่น

o การจงใจจดจ่อหรือเพ่งจ้องอยู่ในอารมณ์อันเดียวด้วยอำนาจของตัณหาคือความอยากจะปฎิบัติธรรม น่าจะจัดว่าเป็นมิจฉาสมาธิมากกว่าสัมมาสมาธิ เช่นการเอาความรู้สึกไปเพ่งจ้องแนบแน่นจมแช่อยู่กับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง มีเท้า ท้อง มือ และลมหายใจ เป็นต้น

o ไม่ตั้งมั่นด้วยสติปัญญา แต่ตั้งอยู่ด้วยการกดข่มบังคับด้วยอำนาจขอตัณหาคือความอยากจะปฎิบัติธรรม และไม่รู้อารมณ์อย่างซื่อตรงแต่รู้ไปตามความอยากรู้ จิตที่มีสมาธิแบบนี้เอาไปทำวิปัสสนาไม่ได้จริง เพราะเป็นอกุศลจิต

o ถ้าเมื่อใด ผู้ปฎิบัติมีสติระลึกรู้สภาวธรรม หรือรูปนามที่กำลังปรากฎ ตรงตามความเป็นจริง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารู้ทันสภาวะความหลงของจิตที่หลงไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) โดยไม่ได้ตั้งใจหรือมีตัณหาที่จะรู้สภาวธรรมนั้นๆ เมื่อนั้นขณิกสมาธิจะเกิดขึ้นเอง

o สมถะจำเป็นสำหรับผู้ปฎิบัติบางคน แต่มีประโยชน์กับผู้ปฎิบัติทุกคน

o พระพุทธเจ้า ท่านเน้นว่าควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่ใช่เจริญแบบไร้สติไร้ปัญญา หมายความว่าเราจะทำสมถะหรือวิปัสสนาก็ตาม เราต้องรู้ว่า (๑) เราจะทำอะไร (สมถะ/วิปัสสนา) (๒) จะทำเพื่ออะไร (สงบ/พ้นทุกข์) (๓) จะทำอย่างไร (มีสติรู้อารมณ์อันดียวอย่างต่อเนื่อง/มีสติสัมปชัญญะรู้รูปนามตามความเป็นจริง) และ (๔) ระหว่างทำก็ต้องมีสติปัญญารู้ชัดว่าทำอะไรอยู่ด้วย

o หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสอนไว้ชัดเจนน่าฟังมาก ว่า "ทำสมาธิมากก็เนิ่นช้า คิดพิจารณามากก็ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฎิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน จะเดิน(รวมทั้งเดินจงกรม) ก็ต้องเดินด้วยความมีสติ จะนั่ง (รวมทั้งนั่งสมาธิ) ก็ต้องนั่งด้วยความมีสติ เพราะมีสติก็คือมีความเพียร ขาดสติก็คือขาดความเพียร"

o การเจริญวิปัสสนานั้น ต้องมีสติรู้รูปนาม และมีปัญญาหรือสัมปชัญญะรู้ความเป็นจริงของรูปนามนั้นๆตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ด้วย



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2553 15:50:09 »




o (๑) หมั่นสังเกตหรือเรียนจนรู้จักสภาวะของรูปนาม (๒) เมื่อเข้าใจสภาวะของรูปนามถูกต้องและทันท่วงทีแล้ว ความรู้สึกตัว จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องกำหนดหรือจงใจสร้าง คือพอกระทบอารมณ์ปั๊บ จิตจะเกิดสติรู้ทันอารมณ์ ด้วยความตั้งมั่นและเป็นกลางขึ้นเอง และ (๓) เมื่อสติรู้อารมณ์รูปนาม (จิต เจตสิก รูป) ที่กำลังปรากฎโดนไม่เข้าไปแทรกแซงและไม่เติมความคิดลงไป ก็จะเกิดปัญญาเข้าใจความจริงของอารมณ์รูปนามได้ถูกต้องไปตามลำดับ จนจิตปล่อยวางความยึดถือรูปนามและสิ่งทั้งปวงเสียได้

o ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ

o ตามรู้ -> รู้ทัน -> รู้ถูก -> รู้ทุกข์

o อย่าส่งจิตออกนอก หมายความว่าในเวลาที่รู้อารมณ์นั้นให้สักว่ารู้ อย่าให้จิตหลงกระโจนเข้าไปรู้แล้วหลงจมแช่ยึดถือหรือหมุนเหวี่ยงไปตามอารมณ์

o การปฎิบัติวิปัสสนาจะต้องใช้สภาวะของจิตที่ธรรมดาๆไปรู้อารมณ์ที่ธรรมดาๆ

o จิตที่เป็นปกติธรรมดาคือจิตที่ปลอดจากตัณหาและทิฎฐิ คืออย่าอยากปฎิบัติแล้วลงมือปฎิบัติไปตามความอยากนั้น

o เราสัมผัสกับอารมณ์ปรมัตถ์อยู่แล้วทั้งวัน แต่ความคิดของเราเองปิดกั้นไว้ไม่ให้เรารู้จักอารมณ์ปรมัตถ์นั้น (บัญญัติปิดบังปรมัตถ์)

o การรู้รูปนามต้องรู้ในปัจจุบัน เพราะรูปนามในอดีตเป็นแค่ความจำ และรูปนามในอนาคตเป็นแค่ความคิด ส่วนรูปนามในปัจจุบันคือความจริง และเมื่อรู้แล้วก็อย่าหลงเติมสมมุติบัญญัติลงไปในการรับรู้นั้น

o สติ สมาธิ ปัญญา

o สติ คือ การระลึกได้/การระลึกรู้ ไม่ใช่ การกำหนดรู้

o สมาธิ คือ การตั้งมั่น ไม่ใช่ ความสงบ - ในขณะที่จิตฟุ้งซ่านหรือไม่สงบนั้น จิตยังสามารถตั้งมั่นรู้ความฟุ้งซ่านได้อย่างเป็นกลาง ไม่ควรมุ่งทำความสงบที่จะพาไปสู่การติดความสงบ ติดปีติ และติดนิมิต

o วิปัสสนา คือ การตามรู้รูปนามได้ตรงตามความเป็นจริง ไม่ใช่ คิด

o ผู้ปฎิบัติพึงทำความรู้จักสภาวะของความรู้สึกตัว โดยการหัดสังเกตความแตกต่างระหว่างความหลงกับความรู้สึกตัวซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน

o เมื่อรู้สึกตัวเป็นแล้วก็ต้องเจริญสติปัฎฐาน จึงจะสามารถละความเห็นผิดว่ารูปนามคือตัวตนในเบื้องต้น และสามารถทำลายความยึดถือรูปนามลงได้ในที่สุด

o หมั่นรู้สึกถึงอาการปรากฎของกายและของจิตใจอยู่เนืองๆ แต่ไม่จำเป็นจะต้องรู้แบบไม่ให้คลาดสายตา เพราะจะกลายเป็นการกำหนด เพ่งจ้องหรือดักดูกายและใจ ด้วยอำนาจบงการของตัณหา ให้รู้ไปอย่างสบายๆ รู้บ้าง เผลอบ้างก็ยังดี

o ไม่ต้องพยายามห้ามไม่ให้จิตหลง เพราะจิตเป็นอนัตตา คือห้ามไม่ได้ บังคับไม่ได้ เพียงทำความรู้จักสภาวะของความหลงให้ดี และเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ แล้วความหลงจะสั้นลงได้

o สติเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นตามใจไม่ได้ หากแต่เกิดขึ้นเพราะจิตจดจำสภาวธรรมได้แม่นยำ เช่นผู้ที่เคยฝึกมีสติตามรู้รูปยีนเดินนั่งนอนอยู่เนืองๆ ต่อมาเมื่อเผลอขาดสติแล้วเกิดการเคลื่อนไหวกายขึ้น สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

o ในเบื้องต้นจึงต้องหมั่นตามระลึกรู้อาการปรากฎทางกายและอาการหรืออารมณ์ที่ปรากฎทางใจไว้เป็นระยะๆ พอถึงเบื้องปลายสติจะเกิดระลึกรู้ได้เองเมื่อสภาวธรรมที่จิตรู้จักแล้วปรากฎขึ้นมา

o จุดสำคัญอยู่ที่การมีสติรู้ทุกข์คือรู้กายรู้ใจ และรู้ในลักษณะของการตามรู้ไปเนืองๆ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลาง ส่วนผลจะปรากฎเป็นความพ้นทุกข์อย่างไรก็จะสัมผัสได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆไป





ขอบคุณบทความจาก  dhammajak.net
http://variety.thaiza.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_1212_181342_1212_.htm
บันทึกการเข้า
คำค้น: เจริญสติ  หลวงพ่อปราโมทย์ สมถะ วิปัสสนา สภาวธรรม สมาธิ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วิหารธรรม (หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช)
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 1652 กระทู้ล่าสุด 30 กันยายน 2555 09:36:05
โดย เงาฝัน
วิธีพัฒนาปัญญา1-3 :หลวงพ่อปราโมทย์
ห้อง วีดีโอ
เงาฝัน 0 2073 กระทู้ล่าสุด 17 ตุลาคม 2555 12:11:22
โดย เงาฝัน
หัดเจริญสติ :หลวงพ่อปราโมทย์
ห้อง วีดีโอ
เงาฝัน 0 2127 กระทู้ล่าสุด 30 ตุลาคม 2555 13:58:12
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.297 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 เมษายน 2567 01:13:06