o (๑) หมั่นสังเกตหรือเรียนจนรู้จักสภาวะของรูปนาม (๒) เมื่อเข้าใจสภาวะของรูปนามถูกต้องและทันท่วงทีแล้ว ความรู้สึกตัว จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องกำหนดหรือจงใจสร้าง คือพอกระทบอารมณ์ปั๊บ จิตจะเกิดสติรู้ทันอารมณ์ ด้วยความตั้งมั่นและเป็นกลางขึ้นเอง และ (๓) เมื่อสติรู้อารมณ์รูปนาม (จิต เจตสิก รูป) ที่กำลังปรากฎโดนไม่เข้าไปแทรกแซงและไม่เติมความคิดลงไป ก็จะเกิดปัญญาเข้าใจความจริงของอารมณ์รูปนามได้ถูกต้องไปตามลำดับ จนจิตปล่อยวางความยึดถือรูปนามและสิ่งทั้งปวงเสียได้
o ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ
o ตามรู้ -> รู้ทัน -> รู้ถูก -> รู้ทุกข์
o อย่าส่งจิตออกนอก หมายความว่าในเวลาที่รู้อารมณ์นั้นให้สักว่ารู้ อย่าให้จิตหลงกระโจนเข้าไปรู้แล้วหลงจมแช่ยึดถือหรือหมุนเหวี่ยงไปตามอารมณ์
o การปฎิบัติวิปัสสนาจะต้องใช้สภาวะของจิตที่ธรรมดาๆไปรู้อารมณ์ที่ธรรมดาๆ
o จิตที่เป็นปกติธรรมดาคือจิตที่ปลอดจากตัณหาและทิฎฐิ คืออย่าอยากปฎิบัติแล้วลงมือปฎิบัติไปตามความอยากนั้น
o เราสัมผัสกับอารมณ์ปรมัตถ์อยู่แล้วทั้งวัน แต่ความคิดของเราเองปิดกั้นไว้ไม่ให้เรารู้จักอารมณ์ปรมัตถ์นั้น (บัญญัติปิดบังปรมัตถ์)
o การรู้รูปนามต้องรู้ในปัจจุบัน เพราะรูปนามในอดีตเป็นแค่ความจำ และรูปนามในอนาคตเป็นแค่ความคิด ส่วนรูปนามในปัจจุบันคือความจริง และเมื่อรู้แล้วก็อย่าหลงเติมสมมุติบัญญัติลงไปในการรับรู้นั้น
o สติ สมาธิ ปัญญา
o สติ คือ การระลึกได้/การระลึกรู้ ไม่ใช่ การกำหนดรู้
o สมาธิ คือ การตั้งมั่น ไม่ใช่ ความสงบ - ในขณะที่จิตฟุ้งซ่านหรือไม่สงบนั้น จิตยังสามารถตั้งมั่นรู้ความฟุ้งซ่านได้อย่างเป็นกลาง ไม่ควรมุ่งทำความสงบที่จะพาไปสู่การติดความสงบ ติดปีติ และติดนิมิต
o วิปัสสนา คือ การตามรู้รูปนามได้ตรงตามความเป็นจริง ไม่ใช่ คิด
o ผู้ปฎิบัติพึงทำความรู้จักสภาวะของความรู้สึกตัว โดยการหัดสังเกตความแตกต่างระหว่างความหลงกับความรู้สึกตัวซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน
o เมื่อรู้สึกตัวเป็นแล้วก็ต้องเจริญสติปัฎฐาน จึงจะสามารถละความเห็นผิดว่ารูปนามคือตัวตนในเบื้องต้น และสามารถทำลายความยึดถือรูปนามลงได้ในที่สุด
o หมั่นรู้สึกถึงอาการปรากฎของกายและของจิตใจอยู่เนืองๆ แต่ไม่จำเป็นจะต้องรู้แบบไม่ให้คลาดสายตา เพราะจะกลายเป็นการกำหนด เพ่งจ้องหรือดักดูกายและใจ ด้วยอำนาจบงการของตัณหา ให้รู้ไปอย่างสบายๆ รู้บ้าง เผลอบ้างก็ยังดี
o ไม่ต้องพยายามห้ามไม่ให้จิตหลง เพราะจิตเป็นอนัตตา คือห้ามไม่ได้ บังคับไม่ได้ เพียงทำความรู้จักสภาวะของความหลงให้ดี และเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ แล้วความหลงจะสั้นลงได้
o สติเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นตามใจไม่ได้ หากแต่เกิดขึ้นเพราะจิตจดจำสภาวธรรมได้แม่นยำ เช่นผู้ที่เคยฝึกมีสติตามรู้รูปยีนเดินนั่งนอนอยู่เนืองๆ ต่อมาเมื่อเผลอขาดสติแล้วเกิดการเคลื่อนไหวกายขึ้น สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ
o ในเบื้องต้นจึงต้องหมั่นตามระลึกรู้อาการปรากฎทางกายและอาการหรืออารมณ์ที่ปรากฎทางใจไว้เป็นระยะๆ พอถึงเบื้องปลายสติจะเกิดระลึกรู้ได้เองเมื่อสภาวธรรมที่จิตรู้จักแล้วปรากฎขึ้นมา
o จุดสำคัญอยู่ที่การมีสติรู้ทุกข์คือรู้กายรู้ใจ และรู้ในลักษณะของการตามรู้ไปเนืองๆ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลาง ส่วนผลจะปรากฎเป็นความพ้นทุกข์อย่างไรก็จะสัมผัสได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆไปขอบคุณบทความจาก dhammajak.net
http://variety.thaiza.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_1212_181342_1212_.htm