[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:40:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทศกุศลกรรมบถสูตร  (อ่าน 10913 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 18:44:13 »




Gilt-bronze Vairocana Buddha
at the Bulguksa Temple and a National Treasure of South Korea.


ทศกุศลกรรมบถสูตร





พระตรีปิฎกธราจารย์ศึกษานันทะ แห่งราชวงศ์ถัง แปลจากสันสกฤตพากย์สู่จีนพากย์

(ประมาณปี พ.ศ.๑๒๓๓ ถึง ๑๒๔๘)
 

พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก แปลไทย เมื่อ ๒๒-๒๔ เมษายน ๒๕๕๓


ข้าพเจ้าได้สดับมาดั่งนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนาคมณเฑียรแห่งสาครนาคราช พร้อมด้วยมหาภิกษุจำนวนแปดพันองค์ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์สามหมื่นสองพันองค์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งกับนาคราชว่า บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย เหตุที่มีสัญญาแห่งจิตต่างกัน การกระทำกรรมจึงต่างกัน เพราะเหตุนี้จึงมีการเวียนว่ายไปในภูมิต่างๆ

ดูก่อนนาคราช เธอทัศนารูปลักษณะต่างๆ ของ(ผู้ที่อยู่ใน)สมาคมที่นี้และห้วงมหาสาคร ว่ามีความต่างกันอยู่หรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะไม่ได้เกิดขึ้นเพราะจิตก็หาไม่ ไม่ว่าการทำกุศลหรืออกุศล ไม่ว่าการเป็นไปของกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็ตาม อันว่าจิตนั้นไร้ซึ่งรูป ไม่อาจเห็นหรือจับต้องเอาได้ เป็นเพียงสิ่งที่ไม่จริง ธรรมทั้งปวงแม้นประชุมกันขึ้น ที่สุดแล้วก็ไร้ซึ่งการควบคุมได้ ไร้ซึ่งตัวตน(อัตตา) และไร้ที่ตั้งแห่งตัวตน(มมังการ)

แม้จะล้วนเกิดขึ้นตามกรรม ก็ปรากฏขึ้นไม่เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็ไร้ซึ่งผู้กระทำให้เป็นไป เหตุนี้แล สรรพธรรมจึงล้วนเป็นอจินไตย(1)สวภาวะ(2)ที่ว่าก็เป็นดุจมายา อันผู้มีปัญญาจึงรู้ว่าเมื่อตนเองประพฤติกุศลกรรมแล้ว ขันธ์ อายตนะ ธาตุที่เกิดขึ้นนั้นจะงดงามทั้งสิ้น ผู้ที่ได้พบเห็นจะไม่รังเกียจเลย



[1]  อจินติตสูตร    ว่าด้วยอจินไตย ๔ กล่าวว่า  
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อจินไตย ๔ อย่างนี้ไม่ควรคิด  ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า   ได้รับความลำบากเปล่า
อจินไตย  ๔  คืออะไรบ้าง  คือ

๑.  พุทธวิสัยแห่งพระพุทธทั้งหลาย  เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า   ได้รับความลำบากเปล่า
๒. ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน  เป็นอจินไตยไม่ควรคิด   ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า   ได้รับความลำปากเปล่า
๓.  วิบากแห่งกรรม   เป็นอจินไตยไม่ควรคิด  ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า  ได้รับความลำบากเปล่า
๔. โลกจินดา   (ความคิดในเรื่องของโลก)  เป็นอจินไตยไม่ควรคิดผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า  ได้รับความลำบากเปล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้แล  อจินไตย  ๔ ไม่ควรคิด ผู้ที่คิด  ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า.
(พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 235)

[2] สวภาวะ แปลว่า ความเห็นที่ว่าสรรพสิ่งล้วนมีคุณลักษณ์เฉพาะของตัวเอง เช่น รถยนต์มีสวภาวะของความเป็นรถยนต์ จึงทำให้เป็นรถยนต์ แต่นัยยะของพระสูตรนี้ มุ่งแสดงให้เห็นว่าทุกสรรพสิ่งล้วนว่างเปล่าจากสวภาวะ กล่าวคือ ทุกสิ่งไม่ได้มีคุณลักษณ์เฉพาะที่แท้จริงเลย สรรพสิ่งเกิดขึ้นมาได้ ล้วนเป็นเพราะมีเหตุปัจจัยจากสิ่งอื่น หรือเพราะการอิงอาศัยกับสิ่งอื่นๆ ในรูปแบบของปฏิจจสมุปปบาทหรืออิทัปปัจจัยตา เช่น เพราะมีประตู ล้อ พวงมาลัย เครื่องยนต์ ฯลฯ มาประกอบกันจึงเกิดเป็นรูปร่างของรถยนต์ขึ้นมา ซึ่งรถยนต์ที่แท้นั้นไม่ได้มีอยู่จริง หรือแม้แต่ประตู ล้อ พวงมาลัย เครื่องยนต์ ฯลฯ ก็ไม่ได้มีความเป็น ประตู ล้อ พวงมาลัย เครื่องยนต์ ฯลฯ อยู่ด้วยเช่นกัน เพราะแต่ละสิ่งล้วนเกิดจากการประกอบกันขึ้นของแร่เหล็ก และสารทางเคมีอื่นๆ สรุปคือ สรรพสิ่งเกิดขึ้นได้เพราะต้องอาศัยอีกสิ่งหนึ่ง หรือหลายสิ่งประกอบกันเข้า เมื่อหลายๆสิ่งรวมเป็นสิ่งเดียวแล้ว เราจึงสมมุติชื่อเรียกสิ่งๆนั้นต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 19:00:19 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 18:52:50 »


ดูก่อนนาคราช เธอพิจารณาพุทธกายนี้ ว่าเป็นบ่อเกิดแห่งกุศลมงคลร้อยพันโกฏิประการ อันเป็นอลังการลักษณะทั้งปวง มีความโอภาสรุ่งเรืองอยู่ ครอบคลุมไปในมหาชนทั้งปวง แม้นท้าวมเหศวรพรหมราช(1)จำนวนหาประมาณโกฏิไม่ได้(จะมาอยู่รวมกันรัศมี) ก็ยัง(ถูกบดบังไว้)ไม่ปรากฏ อันผู้ที่ได้เพ่งพิศกายแห่งตถาคตนั้น ล้วนจะตระการตา

อีกเธอจงพิจารณามหาโพธิสัตว์ทั้งหลายนี้ ที่มีรูปกายงดงาม บริสุทธิ์ อลังการ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการบำเพ็ญกุศลธรรมแล้วจึงเกิดเป็นบุญกุศลขึ้น อีกบรรดาเทพ นาค และหมู่สัตว์ในคติแปด(2)เหล่านี้ผู้มีเดชานุภาพยิ่งใหญ่ ก็ล้วนมีเหตุจากกุศลกรรมแล้วจึงเกิดเป็นบุญกุศลขึ้นเช่นกัน

สรรพสัตว์บรรดามีในมหาสาครนี้ ที่มีรูปลักษณะหยาบช้า บ้างใหญ่โต บ้างเล็ก ก็ล้วนเกิดจากสัญญานานาประการที่ระลึกอยู่ในจิตของตนเองทั้งสิ้น แล้วกระทำอกุศลกรรมทั้งหลายทางกาย วาจา ใจ เหตุนี้จึงต้องรับวิบากผลเอง ตามแต่กรรมที่ทำทั้งสิ้น ในบัดนี้เธอพึงศึกษาบำเพ็ญอย่างนี้ แลจงยังให้สรรพสัตว์แทงตลอดซึ่งเหตุและผล แล้วประพฤติกุศลกรรมเถิด

ในข้อนี้เธอจงเห็นถูกอย่างนี้ ไม่หวั่นไหว อย่าตกสู่ความเห็นทั้งสอง คือ อุจเฉททิฏฐิ  และ สัสสตทิฏฐิ (3) อีก ในหมู่ผู้เป็นบุญเกษตร(4)ทั้งหลายก็จงยินดีที่จะให้ความเคารพและบูชา เหตุนี้พวกเธอทั้งหลาย ก็จะได้รับการเคารพและบูชาจากมนุษย์และเทวดาทั้งหลายเช่นกัน



[1] อรรถกถาว่า คือ พรหมที่อยู่รูปพรหมชั้นสูงสุด ผู้บรรลุฌานสี่ เป็นใหญ่ในภพทั้งสาม มีอำนาจและรัศมีรุ่งเรืองที่สุดในหมู่สัตว์ในไตรภูมิ

[2] อัษฐคติ หรือ คติ ๘ หรือ คณะ๘ มี ๑.เทพ ๒.นาค ๓.ยักษ์ ๔.คนธรรพ์ ๕.อสูร ๖.ครุฑ ๗.กินนร ๘.มโหราค

[3] ทิฏฐิ ๒ (ความเห็น, ความเห็นผิด - view; false view)
       ๑. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง, ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป - eternalism)
       ๒. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ, ความเห็นว่าอัตตาและโลกซึ่งจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป - annihilationism)  

[4] หมายถึง สมณะ ผู้มีศีล สมาธิ ปัญญา ในพระพุทธศาสนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 19:04:26 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลบลิ้งค์ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 19:30:07 »



ดูก่อนนาคราช พึงทราบไว้ว่าโพธิสัตว์มีธรรมอยู่ประการหนึ่ง สามารถตัดทุกข์แห่งอบายมรรคทั้งปวงได้ อันประการหนึ่งนั้นเป็นเช่นไรเล่า? ก็คือทุกทิพาราตรี ได้ตามระลึก ตรึกคิด พิจารณาอยู่ซึ่งกุศลธรรมเป็นเนืองนิตย์ จะยังให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้นทุกขณะจิต ไม่ให้อกุศลแม้แต่น้อยเข้ามาเจือปนได้ จึงจะสามารถยังให้อบายทั้งปวงขาดสิ้นลงไป กุศลธรรมจะบริบูรณ์ จะได้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายและหมู่พระอริยบุคคลอื่นๆ อยู่เสมอ

อันกุศลธรรมนั้น ก็คือ มนุษย์ เทวดา พระสาวกโพธิ พระปัจเจกโพธิ พระอนุตรสัมโพธิ ก็ล้วนอาศัยธรรมนี้เป็นมูลฐานทั้งสิ้น จึงจะสำเร็จได้ จึงได้ชื่อว่า ?กุศลธรรม?  ธรรมนี้ก็คือ ?หนทางแห่งการทำความดีสิบประการ? (1)  ก็สิบประการนั้นเป็นเช่นไรเล่า ก็คือการสามารถไกลจาก

การพล่าพลาญชีวิต
การลักขโมย
การผิดกาม
การพูดเท็จ
การพูดกลับกลอกสองลิ้น
การพูดวาจาหยาบคายชั่วร้าย
การพูดเพ้อเจ้อโปรยเสียซึ่งสารประโยชน์
ความโลภ
ความโกรธ และ
ความเห็นผิด อยู่เป็นนิจ



[1] คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ ?
wholesome course of action)
ว่าโดยข้อธรรมสมบูรณ์ (แปลตัดเอาแต่ใจความ)  ดังนี้ ?

ก. กายกรรม ๓ (การกระทำทางกาย ? bodily action)

๑. ปาณาติปาตํ ปหาย ฯเปฯ สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี โหติ
(ละการฆ่าการเบียดเบียน มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ?
to avoid the destruction of life and be anxious for the welfare of all lives)

๒. อทินฺนาทานํ ปหาย ฯเปฯ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขตํ อนาทาตา โหติ
(ละอทินนาทาน เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น ?
to avoid stealing, not violating the right to private property of others)

๓. กาเมสุมิจฺฉาจารํ ปหาย ฯเปฯ น จาริตฺตํ อาปชฺชิตา โหติ
(ละการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ ?
to avoid sexual misconduct, not transgressing sex morals)

ข. วจีกรรม ๔ (การกระทำทางวาจา ? verbal action)

๔. มุสาวาทํ ปหาย ฯเปฯ น สมฺปชานมุสา ภาสิตา โหติ
(ละการพูดเท็จ ไม่ยอมกล่าวเท็จ เพราะเหตุตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ ?
to avoid lying, not knowingly speaking a lie for the sake of any advantage)

๕. ปิสุณํ วาจํ ปหาย ฯลฯ สมคฺคกรณี วาจํ ภาสิตา โหติ
(ละการพูดคำส่อเสียด ช่วยสมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบกล่าวถ้อยคำที่สร้างสามัคคี ?
to avoid malicious speech, unite the discordant,
encourage the united and utter speech that makes for harmony)

๖. ผรุสํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ พหุชนมนาปา ตถารูปี วาจํ ภาสิตา โหติ
(ละคำหยาบพูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน ?
to avoid harsh language and speak gentle, loving, courteous, dear and agreeable words)

๗. สมฺผปฺปลาปํ ปหาย ฯเปฯ กาลวาที ภูตวาที อตฺถวาที ธมฺมวาที วินยวาที นิธานวตึ วาจํ ภาสิตา โหติ ฯเปฯ
(ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริงมีเหตุผล มีสารประโยชน์ ถูกกาละเทศะ ?
to avoid frivolous talk; to speak at the right time, in accordance with facts,
 what is useful, moderate and full of sense)

ค. มโนกรรม ๓ (การกระทำทางใจ ? mental action)

๘. อนภิชฺฌาลุ โหติ ฯเปฯ
(ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น ? to be without covetousness)

๙. อพฺยาปนฺนจิตฺโต โหติ ฯเปฯ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตูติ
(ไม่มีจิตคิดร้าย คือปรารถนาแต่ว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ ครองตนอยู่เป็นสุขเถิด ?
to be free from illwill, thinking, ?Oh, that these beings were free fron hatred and illwill,
and would lead a happy life from trouble.?)

๑๐. สมฺมาทิฏฺฐิโก โหติ ฯเปฯ สยํ อภิญฺ?า สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ
(มีความเห็นชอบ เช่นว่า ทานมีผล การบูชามีผล ผลวิบากกรรมดีกรรมชั่วมี เป็นต้น ?
to posses right view such as that gifts, donations and offerings are not fruitless
and that there are results of wholesome and unwholesome actions)

M.I.287; A.V.266, 275-278.     ม.มู.๑๒/๔๘๕/๕๒๓; องฺ.ทสก.๒๔/๑๖๕/๒๘๗; ๑๖๘-๑๘๑/๒๙๖-๓๐๐.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กรกฎาคม 2553 08:28:36 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 19:41:14 »


ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการพล่าพลาญชีวิต ย่อมได้สำเร็จธรรม
ที่ไม่เศร้าหมองสิบประการ ก็สิบประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ?

๑. ให้อภัยทาน(1)ต่อหมู่สัตว์ทั้งปวง
๒. เกิดจิตเมตตาที่ยิ่งใหญ่ต่อหมู่สัตว์ทั้งปวงอยู่เป็นนิจ
๓. ไกลจากอุปนิสัยโกรธเกรี้ยวทั้งปวงเป็นนิจ
๔. ร่างกายย่อมปราศจากโรคอยู่เป็นนิจ
๕. มีอายุขัยยืนยาว

๖. อมนุษย์ล้วนปกป้องคุ้มครอง
๗. ย่อมไม่ฝันร้าย ยามตื่นก็เป็นสุข
๘. ความอาฆาตแค้นมลายสิ้น ศัตรูจะเลิกราไปเอง
๙. ปราศจากความหวั่นเกรงอบายภูมิ
๑๐. สิ้นชีพแล้วไปอุบัติยังโลกสวรรค์

นี่คือทั้งสิบประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้
เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมมีพระพุทธชนม์ชีพอิสระตามใจ



[1] อภัยทาน ให้ความไม่มีภัย,ให้ความปลอดภัย,
ทาน การให้, สิ่งที่ให้,ให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้เพื่อประโยชน์แก่เขา,
สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น;
 
ทาน ๒ คือ
๑. อามิสทาน ให้สิ่งของ
๒. ธรรมทาน ให้ธรรม;

ทาน ๒ อีกหมวดหนึ่งคือ
๑. สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม
๒. ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 20:43:34 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 20:51:17 »


ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการลักขโมย ย่อมได้รับธรรมที่คุ้มครองศรัทธาสิบประการ  ก็สิบประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ?

๑. ทรัพย์สมบัติที่สั่งสมไว้ พระราชา โจร น้ำ ไฟและบุตรที่ไม่น่ารัก ไม่สามารถทำให้เสื่อมสิ้นได้
๒. คนเป็นอันมากรักใคร่และระลึกถึง
๓. ผู้คนไม่อาจข่มเหง
๔. (ผู้คน)สรรเสริญไปทั่วทศทิศ
๕. ไม่ต้องโศกเศร้าและไม่ต้องโดนทำร้าย

๖. มีชื่อเสียงอันดีงามแผ่ไปไกล
๗. ไม่หวั่นเกรงในสถานที่และหมู่ชน
๘. มีทรัพย์ อายุ วรรณะ พละ สุขะ พร้อมด้วยปฏิภาณไม่บกพร่อง
๙. ไม่เสื่อมจากทานจิต
๑๐.  สิ้นชีพแล้วไปอุบัติยังโลกสวรรค์

นี่คือทั้งสิบประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมบรรลุถึงมหาโพธิปัญญาที่บริสุทธิ์


ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการผิดกาม ย่อมบรรลุธรรมอันผู้มีปัญญาสรรเสริญแล้วสี่ประการ ก็สี่ประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑. อินทรีย์ทั้งปวงราบรื่นปกติ
๒. ไกลจากการทะเลาะโต้เถียง
๓. โลกให้การยกย่อง
๔. ภริยา(หรือคู่ครอง)ไม่ถูกล่วงเกิน 

นี่คือทั้งสี่ประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมมีพุทธลักษณะคือพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก(1)
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 21:00:31 »



[1] พุทธลักษณะข้อที่ ๑๐ จาก ทั้งหมด ๓๒ ข้อ คือ

๑. มีพระบาทราบเสมอกัน (พระบาท = เท้า)
๒. ลายพื้นพระบาทเป็นจักร (จักร = รูปลอยล้อรถ คือธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุลล้อนำไป สู่ที่หมาย)
๓. มีส้นพระบาทยาว (ถ้าแบ่ง ๔ ส่วน พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) (พระชงฆ์ = แข้ง)
๔. มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย)(นิ้วพระหัตถ์ = นิ้วมือ)
๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม

๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน (อัฐิ = กระดูก ดำเนิน = เดิน)
๘. พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
๙. เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับพระชานุ (พระชานุ = เข่า)
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก (พระคุยหะ = อวัยวะที่ลับ)

๑๑. มีฉวีวรรณดุจสีทอง (ฉวีวรรณ =สีผิวกาย)
๑๒. พระฉวีละเอียด (พระฉวี = ผิว)
๑๓. มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้น ๆ (พระโลมา = ขน)
๑๔. เส้นพระโลมาดำสนิทเวียนเป็นทักขิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน (ทักขิณาวัฏ = วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา)
๑๕. พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม

๑๖. มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒ , พระอังสาทั้ง ๒, กับลำพระศอ) (พระมังสะ = เนื้อ , ชิ้นเนื้อ พระอังสา = บ่า,ไหล่ พระศอ = คอ)
๑๗. มีส่วนพระสรีระกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ (สรีระ = ร่างกาย) ๑๘. พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน (พระปฤษฎางค์ = ส่วนหลัง,ข้างหลัง) ๑๙. ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุลปริมณฑลแห่งต้นไทร(พระกายสูงเท่ากับว่าของพระองค์)(วา = เท่ากับ ๔ ศอก ประมาณ 2 เมตร) ๒๐. มีลำพระศอกกลมงามเสมอตลอด

๒๑. มีเส้นประสาทสำหรับรสพระกระยาหารอันดี
๒๒.มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)(พระหนุ = คาง) ๒๓.มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) (พระทนต์ = ฟัน)
๒๔.มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
๒๕.พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง

๒๖.เขี้ยวพระทนต์ทั้ง ๔ ขาวงามบริสุทธิ์
๒๗.พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฏใต้)(พระชิวหา = ลิ้น พระนลาฎ = หน้าผาก)
๒๘.พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก
๒๙.พระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
๓๐.ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด

๓๑.มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวาเป็นทักขิณาวัฏ (อุณาโลม = ขนระหว่างคิ้ว)
๓๒.มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (พระเศียร = ศีรษะ)
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 21:05:37 »


ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการพูดเท็จ ย่อมบรรลุธรรมอันเทวดาสรรเสริญแล้วแปดประการ ก็แปดประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑. เป็นผู้มีโอษฐ์บริสุทธิ์อยู่เป็นนิจ มีกลิ่นหอมเหมือนดอกอุบล
๒. เป็นที่ยอมรับของชาวโลกทั้งปวง
๓. วาจาที่กล่าวพิสูจน์ได้ มนุษย์และเทวดาย่อมเคารพรักใคร่
๔. ใช้ปิยวาจาปลอบประโลมสรรพสัตว์(ให้เป็นสุขใจ)อยู่เป็นนิจ

๕. ได้บรรลุอัธยาศัยที่ประเสริฐ มีกรรมทั้งสาม(1)ที่บริสุทธิ์
๖. มีวาจาไม่วิบัติผิดพลาด ดวงจิตเบิกบานอยู่เป็นนิจ
๗. วาจาที่กล่าวน่านับถือ มนุษย์และเทวดาย่อมรับไปปฏิบัติตาม
๘. มีปัญญาญาณที่วิเศษ ไม่มีผู้ใดหักล้างได้

นี่คือทั้งแปดประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมบรรลุถึงสัจจวาจาของพระตถาคต


[1] คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม หรือการกระทำทางกาย วาจา ใจ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 21:11:50 »


ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการกลับกลอกสองลิ้น ย่อมบรรลุธรรมอันไม่เสื่อมสลายห้าประการ ก็ห้าประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑.     ร่างกายไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะไม่มีผู้ใดทำร้ายได้
๒.     ตระกูลไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะไม่มีผู้ใดทำลายได้
๓.     ศรัทธาไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะอนุโลมตามกิจเดิมของตน
๔.     ธรรมจริยาไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะบำเพ็ญด้วยความมั่นคง
๕.     กัลยาณมิตรไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะไม่โกหกหลอกลวง

นี่คือทั้งห้าประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมบรรลุถึงบริษัทที่ดี หมู่พาหิรมารไม่อาจทำให้เสื่อมสลาย

ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการพูดวาจาหยาบคายชั่วร้าย ย่อมบรรลุกรรมที่บริสุทธิ์แปดประการ ก็แปดประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑.     มีวาจาที่ไม่ขัดแย้ง
๒.     มีวาจาที่ล้วนแต่เป็นประโยชน์
๓.     มีวาจาที่เป็นอรรถะ
๔.     มีวาจาที่ไพเราะ

๕.     มีวาจาที่น้อมรับได้
๖.     มีวาจาที่น่าเชื่อถือ
๗.     มีวาจาที่เย้ยหยันไม่ได้
๘.     มีวาจาที่น่ารัก น่ายินดียิ่งนัก

นี่คือทั้งแปดประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมสมบูรณ์ซึ่งพรหมโฆษะ(1)ของพระตถาคต


[1] พุทธลักษณะข้อที่ ๒๘ ดูเชิงอรรถที่ ๘
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 21:18:17 »



ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการพูดเพ้อเจ้อโปรยเสียซึ่งสารประโยชน์ ย่อมบรรลุความแน่นอนสามประการ ก็สามประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑.     จะเป็นที่รักของผู้มีปัญญาอย่างแน่นอน
๒.     จะสามารถใช้ปัญญาถามตอบด้วยความสัตย์ได้อย่างแน่นอน
๓.     จะเป็นผู้ที่มีอำนาจยิ่งในหมู่มนุษย์และเทวดา ไม่ลวงหลอกอย่างแน่นอน

นี่คือทั้งสามประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมได้รับการพยากรณ์จากพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ซึ่งล้วนไม่ลวงหลอก

ดูก่อนนาคราช หากไกลจากความโลภ ย่อมสำเร็จซึ่งความอิสระห้าประการ ก็ห้าประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑.     มีกรรมทั้งสามเป็นอิสระ เหตุเพราะอินทรีย์ทั้งหลายสมบูรณ์
๒.     มีทรัพย์สิ่งของเป็นอิสระ เหตุเพราะศัตรูและโจรทั้งปวง มิอาจแย่งชิง
๓.     มีบุญวาสนาเป็นอิสระ เหตุเพราะสิ่งของมีอยู่พร้อม ตามใจต้องการ
๔.     มีราชศักดิ์เป็นอิสระ เหตุเพราะได้รับการถวายแต่สิ่งของล้ำค่า
๕.     จะได้รับสิ่งของทั้งปวง ประเสริฐกว่าทุนเดิมนับร้อยเท่า เหตุเพราะเมื่อกาลก่อนไม่ละโมบและอิจฉา

  นี่คือทั้งห้าประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมเป็นผู้เลิศพิเศษในไตรภูมิ เป็นผู้ที่ชนทั้งปวงเคารพบูชา

ดูก่อนนาคราช หากไกลจากความโกรธ ย่อมได้รับธรรมอันเป็นเครื่องเบิกบานของจิตแปดประการ ก็แปดประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑.     ไม่มีจิตคิดทำร้าย
๒.     ไม่มีจิตโกรธเคือง
๓.     ไม่มีจิตวิวาทะ
๔.     จิตอ่อนโยน ซื่อตรง

๕.     บรรลุถึงจิตเมตตาของพระอริยะ
๖.     มีจิตที่จะกระทำประโยชน์ผาสุกให้สรรพสัตว์อยู่เป็นนิจ
๗.     มีรูปกายสง่างาม หมู่ชนต่างให้ความเคารพ
๘.     เหตุเพราะมีความอดทน จึงได้ไปอุบัติที่พรหมโลก

 นี่คือทั้งแปดประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมมีจิตไม่ติดขัด อันผู้ได้ทัศนาจักไม่เบื่อหน่ายเลย
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2553 03:05:54 »



ดูก่อนนาคราช หากไกลจากความเห็นผิด ย่อมสำเร็จซึ่งกุศลสิบประการ ก็สิบประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...

๑.     ได้บรรลุถึงอัธยาศัยอันดีงามแท้จริง แลมีกัลยาณมิตรที่ดีแท้
๒.     ศรัทธาในเหตุและผลอย่างลึกซึ้ง แม้ถึงชีวิตก็ไม่ยอมทำความชั่ว
๓.     ยึดสรณะเพียงพระพุทธองค์ ไม่ยึดเทพเจ้าอื่นๆ
๔.     มีจิตซื่อตรง เป็นสัมมาทิฐิ ไกลจากบ่วงคือความสงสัยว่าเป็นมงคลหรืออัปมงคลทั้งปวง
๕.     เกิดเป็นมนุษย์และเทวดาอยู่เป็นนิจ ไม่ตกอบายภูมิ

๖.     บุญและปัญญาไม่มีประมาณ เจริญวัฒนาตลอด
๗.     ไกลจากอบายภูมิเป็นนิตย์ แล้วดำเนินในอริยมรรค
๘.     ไม่เกิดสักกายทิฏฐิ(1) เพิกเฉยในการทำบาปทั้งปวง
๙.     ตั้งอยู่ในความไม่สงสัย
๑๐.   ไม่ตกสู่ภัยทั้งปวง

นี่คือทั้งสิบประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้ว จะบรรลุพุทธธรรมทั้งปวงอย่างรวดเร็ว ได้สำเร็จความเป็นอิสระแห่งฤทธิ์



[1] สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล ? fetters; bondage)

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ ? lower fetters)

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น ? personality-view of individuality)
๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ ? doubt; uncertainty
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร ? adherence to rules and rituals)
๔. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ ? sensual lust)
๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง ? repulsion; irritation)

ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง ? higher fetters)

๖. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ ? greed for fine-material existence; attachment to realms of form)
๗. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ ? greed for immaterial existence; attachment to formless realms)
๘. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ? conceit; pride)
๙. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน ? restlessness; distraction)
๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง ? ignorance)
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2553 03:29:32 »



สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมีพุทธบรรหารกับนาคราชอีกว่า หากมีโพธิสัตว์ที่อาศัยกุศลกรรมนี้ เมื่อกาลที่บำเพ็ญมรรคธรรม แล้วสามารถไกลจากการประหัตประหารทำร้ายชีวิต ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ มีอายุขัยยาวนานไม่วิบัติ ไม่ถูกทำร้ายช่วงชิงจากศัตรูและโจรทั้งปวง

          ห่างไกลและไม่ถือเอาสิ่งของผู้อื่น ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ เป็นผู้ประเสริฐเลิศยิ่งไม่มีผู้ใดยิ่งไปกว่า สามารถเป็นผู้ประชุมไว้ซึ่งพุทธธรรมปิฎก

          ไกลจากความไม่ใช่พรหมจรรย์ ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ มีตระกูลที่ผาสุก มารดา และภริยา บุตรของตน ก็ไม่มีผู้ใดแลมองด้วยราคะจิต

          ไกลจากการพูดเท็จ  ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ ไกลจากการใส่ร้ายทั้งปวง สงเคราะห์ธำรงไว้ซึ่งพระสัทธรรม ตามปณิธานนั้นๆ สิ่งที่ทำทั้งปวงย่อมสำเร็จผล

          ไกลจากการพูดส่อเสียด ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ ตระกูลสามัคคีปรองดอง มีอัธยาศัยเดียวกัน ไร้ซึ่งวิวาทะเป็นนิจ

          ไกลจากการพูดคำหยาบชั่วร้าย ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ ในสมาคมแห่งชนทั้งปวง ก็จะน้อมโพธิสัตว์นี้เป็นที่พึ่งด้วยความยินดี จะกล่าวคำใดย่อมเป็นที่เชื่อถือ ไม่มีผู้คัดค้านได้

          ไกลจากการกล่าวเพ้อเจ้อไร้ซึ่งประโยชน์ ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติ อยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ วาจาที่กล่าวไม่ลวงหลอก ชนทั้งปวงต่างน้อมรับ สามารถในอุปายที่ชาญฉลาด ตัดขาดซึ่งกิเลสคือความสงสัยทั้งปวง

          ไกลจากจิตโลภ ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ สิ่งที่มีทั้งปวงก็สามารถสละได้ด้วยปัญญา เป็นมีผู้ศรัทธาอย่างยิ่งยวดมั่นคง แลสมบูรณ์ด้วยอำนาจใหญ่

          ไกลจากจิตโกรธ ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ จะสำเร็จซึ่งปัญญาแห่งจิตที่ไม่ข้องขัดเองอย่างรวดเร็ว มีอินทรีย์ทั้งปวงงามสง่า ผู้ที่ได้เห็นแล้วล้วนเคารพรัก

          ไกลจากจิตวิปลาส(1) ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ จะเกิดในตระกูลสัมมาทิฐิและมีศรัทธาอยู่เป็นนิจ ได้พบพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรม ได้สักการะหมู่สงฆ์ ย่อมไม่วิบัติจากมหาโพธิจิตเป็นนิจกาล

นี่คือเมื่อสมัยที่มหาบุรุษบำเพ็ญโพธิสัตวมรรค ได้ประพฤติกุศลกรรมทั้งสิบ แล้วอลังการด้วยการให้ทาน จึงได้รับมหาประโยชน์ อย่างนี้แล



[1] วิปัลลาส หรือ วิปลาส (ความรู้เห็นคลาดเคลื่อน, ความรู้เข้าใจผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง - distortion)
วิปลาส มี 3 ระดับ คือ

       1. สัญญาวิปลาส (สัญญาคลาดเคลื่อน, หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนตกใจเห็นเชือกเป็นงู - distortion of perception)
       2. จิตตวิปลาส (จิตคลาดเคลื่อน, ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนบ้าคิดเอาหญ้าเป็นอาหาร - distortion of thought)
       3. ทิฏฐิวิปลาส (ทิฏฐิคลาดเคลื่อน, ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง โดยเฉพาะเชื่อถือไปตามสัญญาวิปลาส หรือจิตตวิปลาสนั้น เช่น มีสัญญาวิปลาสเห็นเชือกเป็นงู แล้วเกิดทิฏฐิวิปลาส เชื่อหรือลงความเห็นว่าที่บริเวณนั้นมีงูชุม หรือมีจิตตวิลาสว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต้องมีผู้สร้าง จึงเกิดทิฏฐิวิปลาสว่า แผ่นดินไหวเพราะเทพเจ้าบันดาล - distortion of views)

       วิปลาส 3 ระดับนี้ ที่เป็นพื้นฐาน เป็นไปใน 4 ด้าน คือ

       1. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (to regard what is impermanent as permanent)
       2. วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (to regard what is painful as pleasant)
       3. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน (to regard what is non-self as a self)
       4.. วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม (to regard what is foul as beautiful)
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2553 03:51:59 »



ดูก่อนนาคราช ดังคำที่ยกขึ้นกล่าวนี้ว่า เมื่อประพฤติกุศลมรรคทั้งสิบ

          เพราะอลังการด้วยศีลเป็นเหตุให้สามารถก่อเกิดประโยชน์แห่งพระพุทธธรรมทั้งปวง บริบูรณ์พร้อมด้วยมหาปณิธาน
          เพราะอลังการด้วยขันติเป็นเหตุให้บรรลุถึงพุทธโฆษะ และสมบูรณ์ด้วยมงคลลักษณะทั้งปวง
          เพราะอลังการด้วยวิริยะเป็นเหตุให้สามารถทำลายมารร้าย แล้วเข้าสู่พุทธธรรมปิฎก
          เพราะอลังการด้วยสมาธิเป็นเหตุให้สามารถเกิดสติปัญญา ความละอายต่อบาป(หิริ) ความเกรงกลัวต่อบาป(โอตตัปปะ) เบาและเป็นสุข
          เพราะอลังการด้วยปัญญาเป็นเหตุให้สามารถตัดความเห็นแยกแยะที่ไม่จริงทั้งปวงได้สิ้น   

เพราะอลังการด้วยเมตตาเป็นเหตุให้ไม่ทำร้ายหมู่สัตว์
เพราะอลังการด้วยกรุณาเป็นเหตุให้สงสารหมู่สัตว์ไม่เมินเฉยอยู่เป็นนิจ
เพราะอลังการด้วยมุฑิตาเป็นเหตุให้เมื่อพบผู้ทำดี ดวงจิตไม่อิจฉาริษยา
เพราะอลังการด้วยอุเบกขาเป็นเหตุ ไม่ว่าจะคล้อยตามหรือขัดแย้ง ก็ไม่เกิดจิตรักหรือชัง

          เพราะอลังการด้วยสังคหวัตถุสี่(1)เป็นเหตุให้เพียรสงเคราะห์หมู่สัตว์ทั้งหลาย
          เพราะอลังการด้วยสติปัฐฐานเป็นเหตุให้ช่ำชองสติปัฐฐานสี่(2)
          เพราะอลังการด้วยปธาน(3)เป็นเหตุให้สามารถกำจัดอกุศลธรรมทั้งปวงได้สิ้น แล้วสำเร็จในกุศลธรรมทั้งปวง
          เพราะอลังการด้วยอิทธิบาท(4)เป็นเหตุให้สามารถยังให้กายใจเบาและเป็นสุขอยู่เป็นนิจ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2553 04:54:40 »



[1]สังคหวัตถุ ๔ (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์
- bases of sympathy; acts of doing favors; principles of service; virtues making for group integration and leadership)

๑. ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน
- giving; generosity; charity)

๒. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม
- kindly speech; convincing speech)

๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม
- useful conduct; rendering services; life of service; doing good)

๔. สมานัตตตา (ความมีตนเสมอ คือ ทำตนเสมอด้วยปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี
- even and equal treatment; equality consisting in impartiality, participation and behaving oneself properly in all circumstances)

[2] สติปัฏฐาน ๔ (ที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง
- foundations of mindfulness)

๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
- contemplation of the body; mindfulness as regards the body)

ท่านจำแนกปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ อานาปานสติ

กำหนดลมหายใจ ๑
อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ ๑
สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง ๑
ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ ๑
ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ ๑
นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย
ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น ๑

๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
- contemplation of feelings; mindfulness as regards feelings)
คือ มีสติรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
- contemplation of mind; mindfulness as regards thoughts)
คือ มีสติรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
- contemplation of mind-objects; mindfulness as regards ideas)
คือ มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ.

D.II.290.315.   ที.ม.๑๐/๒๗๓-๓๐๐/๓๒๕-๓๕๑.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กรกฎาคม 2553 08:14:13 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: แก้ขนาดตัวอักษรค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2553 05:05:06 »



[3] ปธาน ๔ (ความเพียร - effort; exertion)

๑. สังวรปธาน (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
- the effort to prevent; effort to avoid)

๒. ปหานปธาน (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
- the effort to abandon; effort to overcome)

๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี
- the effort to develop)

๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
- the effort to maintain)

ปธาน ๔ นี้ เรียกอีกอย่างว่า สัมมัปธาน ๔ (ความเพียรชอบ, ความเพียรใหญ่
 - right exertions; great or perfect efforts.)

A.II.74,16,15.    องฺ.จตุกฺก.๒๑/๖๙/๙๖; ๑๔/๒๐; ๑๓/๑๙.


[4] อิทธิบาท ๔ (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย
- path of accomplishment; basis for success)

๑. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป - will; aspiration)

๒. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย - energy; effort; exertion)

๓. จิตตะ (ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป - thoughtfulness; active thought)

๔. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น - investigation; examination; reasoning; testing)

D.III.221.Vbh.216.   ที.ปา.๑๑/๒๓๑/๒๓๓; อภิ.วิ.๓๕/๕๐๕/๒๙๒.
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2553 05:52:17 »



เพราะอลังการด้วยอินทรีย์ห้า(5)เป็นเหตุให้มีศรัทธามั่งคงลึกซึ้ง
พากเพียรไม่เกียจคร้าน ย่อมเป็นผู้ไม่หลงลืมเป็นนิจ เป็นผู้สงบ ตัดขาดกิเลสทั้งปวง.

เพราะอลังการด้วยพละเป็นเหตุให้หมู่ศัตรูสิ้นสูญ ไม่มีผู้ใดทำลายได้

เพราะอลังการด้วยโพชฌงค์(6)เป็นเหตุให้รู้แจ้งสรรพธรรม

เพราะอลังการด้วยสัมมามรรค(7)เป็นเหตุให้บรรลุปัญญาญาณที่ถูกต้องปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเป็นนิจศีล

เพราะอลังการด้วยสมถะ(8)เป็นเหตุให้สามารถชำระสังโยชน์(9)ทั้งปวง

เพราะอลังการด้วยวิปัสสนา(1)เป็นเหตุให้สามารถรู้ชัดสภาวธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง

เพราะอลังการด้วยอุปายะ(11)เป็นเหตุให้สำเร็จสมบูรณ์ในสุขของอสังขตะ(12) ได้อย่างรวดเร็ว
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2553 07:45:00 »



[5]อินทรีย์ ๕ เรียกอีกอย่างว่า พละ ๕ (ธรรมอันเป็นกำลัง ? power)

๑. สัทธา (ความเชื่อ ? confidence)
๒. วิริยะ (ความเพียร ? energy; effort)
๓. สติ (ความระลึกได้ ? mindfulness)
๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น ? concentration)
๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด ? wisdom; understanding)

ธรรม ๕ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน ? controlling faculty) ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่ง

ความไร้ศรัทธา
ความเกียจคร้าน
ความประมาท
ความฟุ้งซ่าน
และความหลงตามลำดับ

ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น
แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้  พละหมวดนี้เป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจ ให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง

D.III.239; A.III.10; Vbh.342.   ที.ปา.๑๑/๓๐๐/๒๕๒: องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๓/๑๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๔๔/๔๖๒

[6] โพชฌงค์ ๗ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ? enlightenment factors) คือ

๑. สติ (ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง ? mindfulness)
๒. ธัมมวิจยะ (ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่องสืบค้นธรรม ? truth-investigation)
๓. วิริยะ (ความเพียร ? effort; energy)
๔. ปีติ (ความอิ่มใจ ? zest)
๕. ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ ? tranquillity; calmness) ๖. สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์ ? concentration)
๗. อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง ? equanimity) 

แต่ละข้อเรียกเต็มมีสัมโพชฌงค์ต่อท้ายเป็น สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น.

[7] มรรคมีองค์ ๘  หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ ? the noble Eightfold Path); องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ ? factors or constituents of the Path)  มีดังนี้

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท ? Right View; Right Understanding)

๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป ? Right Thought)  ดู (๖๘) กุศลวิตก ๓

๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ ? Right Speech)

๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ ? Right Action)

๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ ? Right Livelihood)

๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ ? Right Effort)

๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ ? Right Mindfulness)

๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ ? Right Concentration)


องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ
 
ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล
ข้อ ๖-๗-๘ เป็น สมาธิ
ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา

มรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติ
อันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง
คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค


D.II.321; M.I.61; M,III.251; Vbh.235.     
ที.ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๘; ม.มู.๑๒/๑๔๙/๑๒๓; ม.อุ.๑๔/๗๐๔/๔๕๓; อภิ.วิ.๓๕/๕๖๙/๓๐๗.
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2553 08:10:15 »



[8] สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต,
ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส,
การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

[9] ดูเชิงอรรถ ที่ ๑๑

[10] วิปัสสนา ความเห็นแจ้งคือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

[11] โกศล ๓ (ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ ? proficiency)

๑. อายโกศล (ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ ? proficiency as to gain or progress)

๒. อปายโกศล (ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม ? proficiency as to loss or regress)

๓. อุปายโกศล (ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ? proficiency as to means and method)

D.III.220; Vbh. 325.   ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๐๗/๔๓๙.


[12] อสังขตะ ธรรมที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง,ธรรมที่ไม่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่พระนิพพาน
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2553 09:50:37 »


ดูก่อนนาคราช พึงรู้ว่ากุศลกรรมทั้งสิบนี้ สามารถยังให้

กำลังทั้งสิบ ทสพลญาณ(1)
เวสารัชชญาณ ๔(2)
อาเวณิกพุทธธรรม(3)

และพุทธธรรมทั้งปวง ล้วนแต่บริบูรณ์ เหตุนี้เธอทั้งหลายพึงพากเพียรศึกษาปฏิบัติเถิด



[1] ทสพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ ๑๐
คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ
ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง ?
 the Ten Powers of the Perfect One)

๑. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน ?
knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)

๒. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน ?
knowledge of ripening of action; knowledge of the results of karma)

๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร ?
knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies and all goals)

๔. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ?
knowledge of the world with its many and different elements)

๕. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสงบใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน ?
knowledge of the different dispositions of beings)

๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ ?
knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as regards maturity of persons)

๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย ?
knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)

๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ ?
knowledge of the remembrance of former existences)

๙. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ?
1.[จุ-ตู-ปะ-ปา-ตะ-ยาน] น. ความรู้ในจุติ และเกิดของสัตว์ทั้งหลาย
คือการเห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังตายและเกิดในภพภูมิต่างๆ ตามผลกรรม
ญาณนี้ย่อมนำให้หลุดพ้นจากความเห็นผิดต่างๆ, ทิพยจักษุญาณ ก็เรียก.
 
2.ญาณหยั่งรู้การเกิดการดับของสัตว์ (เกี่ยวกับ วิชชา ๓)

knowledge of the decease and rebirth of beings)

๑๐. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ?
อาสวักขยญาณ = ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้
จิตก็หลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มี
ญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)


M.I.69; A.V.33; Vbh.336.    ม.มู.๑๒/๑๖๖/๑๔๐; องฺ.ทสก.๒๔/๒๑/๓๕; อภิ.วิ.๓๕/๘๓๙/๔๕๔.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กรกฎาคม 2553 10:13:23 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2553 10:41:30 »



[2] เวสารัชชะ หรือ เวสารัชชญาณ ๔ (ความไม่ครั่นคร้าน, ความแกล้วกล้าอาจหาญ, พระญาณอันเป็นเหตุให้ทรงแกล้วกล้า ไม่ครั่นคร้าม
- intrepidity; self-confidences)
พระตถาคตเจ้าไม่ทรงมองเห็นว่า ใครก็ตาม จักทักท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรมในฐานะเหล่านี้ คือ
(The Perfect One sees no grounds on which anyone can with justice make the following charges;)

๑. สัมมาสัมพุทธปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้
- You who claim to be fully self-enlightened are not fully enlightened in these things.)

๒. ขีณาสวปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น
- You who claim to gave destroyed all taints have not utterly destroyed these taints.)

๓. อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง
- Those things which have been declared by you to be harmful have no power to harm him that follows them.

๔. นิยยานิกธรรมเทศนา (ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบจริง
- The Doctrine taught by you for the purpose of utter extinction of suffering
does not lead him who acts accordingly to such a goal.)

ด้วยเหตุนี้ พระองค์นี้จึงทรงถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย แกล้วกล้าไม่ครั่นคร้ามอยู่
(Since this is so, he abides in the attainment of security, of fearlessness and intrepidity.)
 
เวสารัชชะ ๔ นี้ คู่กับทศพล หรือ ตถาคตพล ๑๐ (เรียกกันทั่วๆ ไปว่า ทศพลญาณ) เป็นธรรมที่ทำให้พระตถาคต ทรงปฏิญญาฐานะแห่งผู้นำ เปล่งสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไป
(Endowed with these four kinds of intrepidity, the Perfect One claims the leader's place, roars his lion's roar in assemblies, and sets rolling the Divine Wheel.)


[3] พุทธธรรม ๑๘ ธรรมของพระพุทธเจ้า, พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า คัมภีร์มหานิทเทส ระบุจำนวนไว้ว่ามี ๖ ประการ
แต่ไม่ได้จำแนกข้อไว้ อรรถกถาโยงความให้ว่าได้แก่

๑. กายกรรมทุกอย่างของพระพุทธเจ้าเป็นไปตามพระญาณ (จะทำอะไรทำด้วยปัญญา ด้วยความรู้เข้าใจ)
๒. วจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๓. มโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต
๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต

๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน; คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาแห่งทีฆนิกาย จำแนกพุทธธรรมว่ามี ๑๘ อย่าง คือ

๑. พระตถาคตไม่ทรงมีกายทุจริต
๒. ไม่ทรงมีวจีทุจริต
๓. ไม่ทรงมีมโนทุจริต
๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต
๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต
๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน
 
๗. ทรงมีกายกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๘. ทรงมีวจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๙. ทรงมีมโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๑๐. ไม่มีความเสื่อมฉันทะ (ฉันทะไม่ลดถอย)
๑๑. ไม่มีความเสื่อมวิริยะ (ความเพียรไม่ลดถอย )
๑๒. ไม่มีความเสื่อมสติ (สติไม่ลดถอย)

๑๓. ไม่มีการเล่น
๑๔. ไม่มีการพูดพลาด
๑๕. ไม่มีการทำพลาด
๑๖. ไม่มีความผลุนผลัน
๑๗. ไม่มีพระทัยที่ไม่ขวนขวาย
๑๘. ไม่มีอกุศลจิต
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2553 11:57:02 »






ดูก่อนนาคราช อุปมามหานคร คามนิคมชนบททั้งปวง





ที่ล้วนต้องอาศัยมหาปฐพีจึงตั้งอยู่ได้ บรรดาต้นสมุนไพร ต้นไม้แลพนาสณฑ์
ก็ล้วนแต่อาศัยมหาปฐพีจึงเจริญขึ้นได้

อันทศกุศลมรรคนี้ ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้  บรรดามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
เมื่ออาศัยแล้วจึงได้ตั้งอยู่ในความรู้แจ้ง(โพธิ)แห่งพระสาวก

พระปัจเจกโพธิ จึงได้ตั้งอยู่ในโพธิสัตวจริยาทั้งปวง และสรรพพุทธธรรม
ก็รวมอยู่
ที่การอาศัยมหาปฐพีคือทศกุศลนี้ แล้วจึงสำเร็จได้เช่นกัน


เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแสดงธรรมภาษิตนี้จบลง
สาครนาคราชและมหาชนทั้งปวง บรรดาเทพ มนุษย์ อสูรทั้งหลายในโลกธาตุ
ล้วนเกิดมหาโสมนัส มีศรัทธาน้อมรับสืบไป.

จบ..






ขอบพระคุณข้อมูลจาก ... www.mahaparamita.com
 ยิ้ม  http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=802





อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น: พระสูตร เซี่ยเกี๊ยก แปลเป็นภ.ไทย ความต่าง สัญญาแห่งจิต การกระทำกรรม กฏแห่งกรรม 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ทศกุศลกรรมบถสูตร
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
時々๛कभी कभी๛ 2 2189 กระทู้ล่าสุด 27 พฤศจิกายน 2553 15:01:05
โดย 時々๛कभी कभी๛
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.456 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 07:26:59