[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 17:57:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูป, พระพุทธรูปปางต่างๆ และประวัติพระพุทธรูปองค์สำคัญ  (อ่าน 48678 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2555 14:06:54 »

.



ความเป็นมาของการสร้างสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า
ภาพ-ข้อมูล จาก "พระพุทธรูปปางต่างๆ" จัดพิมพ์เผยแพร่โดย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

ในครั้งพุทธกาล  การสร้างรูปแทนพระพุทธเจ้ายังไม่นิยมสร้าง  พุทธบริษัทจึงนับถือแต่ไตรสรณคมน์  ได้แก่ พระพุทธเจ้า  พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และพระสงฆ์สาวก อันเป็นหลักสูงสุดในพุทธศาสนา  ครั้นต่อมาเมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน  บรรดาเหล่าสาวกหามีสิ่งอื่นใดเป็นสิ่งเคารพแทน  ด้วยพระพุทธองค์ได้มีพุทธฎีกาแก่พระสงฆ์สาวกให้ยึดถือพระธรรมวินัยเป็นสิ่งแทนพระองค์  ปรากฏในมหานิพพานสูตรปริวรรตว่า “....กาลเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว  อันว่าพระปริยัติธรรมทั้งหลาย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นี้ จักเป็นครูสั่งสอนทั้งท่านปวงแทนองค์ตถาคต....”  

ในตำนานพุทธประวัติยังกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าใกล้เสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น  พระพุทธเจ้าได้มีพุทธานุญาตเหล่าพุทธบริษัทเหล่าใดที่ใคร่เห็นพระพุทธองค์ให้ปลงธรรมสังเวช ณ สังเวชนียสถานที่ ๔ แห่ง  อันประกอบด้วย
• สถานที่ประสูติ ณ ลุมพินีวัน แขวงเมืองกบิลพัสดุ์
• สถานที่ทรงตรัสรู้พระโพธิญาณ ณ โพธิพฤกษมณฑล  แขวงเมืองคยา  
• สถานที่ประทานปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
• สถานที่เสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน บริเวณต้นรังคู่ ณ แขวงเมืองกุสินารา
ดังนั้น สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง จึงเป็นเป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าโดยพุทธานุญาตเป็นปฐม  นอกจากสังเวชนียสถาน ๔ แห่งที่กล่าวมา  ยังมีสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงมหาปาฏิหาริย์ ๔ แห่ง ได้แก่ เมืองสังกัสยะ  หรือสังกัสนคร  เมืองสาวัตถี  เมืองราชคฤห์  และเมืองเวสาลี

ครั้นหลังพุทธกาลล่วงเลยมาถึงสมัยราชวงศ์กุษาณะ  ปกครองอินเดียฝ่ายเหนือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๗ กษัตริย์องค์สำคัญของราชวงศ์นี้ คือ พระเจ้ากนิษกะ (พ.ศ. ๖๒๑–๖๘๗) ทรงตั้งราชธานีที่เมืองเปษวาร์ ในแคว้นคันธาระ  อันเป็นบริเวณที่มีการนับถือพุทธศาสนาสืบมาแต่ครั้งพุทธกาล ในระยะนี้ ชาวกรีกที่เป็นพุทธศาสนิกชนอาศัยอยู่ในเมืองคันธาระ และมีความคิดที่จะสร้างพระพุทธรูปขึ้น โดยลักษณะพระพุทธรูปเมื่อแรกสร้างนั้นอนุโลมสร้างตามลักษณะมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เพื่อเป็นพุทธานุสติให้พุทธศาสนิกชนได้ระลึกถึงพระพุทธองค์  เมื่อแรกสร้างพระพุทธรูปตามมหาบุรุษลักษณะทั้ง ๓๒ ประการนั้น  ช่างในสมัยโบราณได้เลือกลักษณะเพียงบางประการในการสร้างประติมากรรมรูปเคารพ  และผสมผสานพุทธอิริยาบถตามเหตุการณ์ในพุทธประวัติ  ได้แก่ นั่ง ยืน เดิน นอน รวมถึงการสื่อความหมายสัญลักษณ์ของเหตุการณ์ในพุทธประวัติด้วยการใช้พระหัตถ์  และนิ้วพระหัตถ์  เรียกว่า “ปาง หรือ มุทรา”





มุทราของพระพุทธรูปในคตินิยมอินเดีย

อินเดียมีคตินิยมในการสร้างพระพุทธรูปในปางหรือมุทราหลัก แบ่งออกเป็น ๗ แบบ ได้แก่
๑.ปางมารวิชัย  ปางผจญมาร  หรือ ภูมิสปรศมุทรา   เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลา  พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงบนพระชานุ  นิ้วพระหัตถ์ชี้ธรณี
๒.ปางสมาธิ หรือ ธยานมุทรา  เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ  หงายพระหัตถ์ทั้งสอง  พระหัตถ์ขวาช้อนพระหัตถ์ซ้ายอยู่บนพระเพลา  แสดงพระอิริยาบถบำเพ็ญสมาธิจิต
๓.ปางปฐมเทศนา หรือ ธรรมจักรมุทรา เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิ  หรือนั่งห้อยพระบาท  พระหัตถ์ขวายกขึ้น  ทำนิ้วพระหัตถ์จีบเป็นวงกลม  แสดงสัญลักษณ์แทนธรรมจักร  พระหัตถ์ซ้ายทำท่าประคองพระหัตถ์ขวา  หมายถึง การหมุนธรรมจักร  หรืออาจวางบนพระเพลา
๔.ปางแสดงธรรม หรือ วิตรรกมุทรา เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ หรือนั่งห้อยพระบาท  พระหัตถ์ขวายกขึ้นทำนิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม  พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ถ้าเป็นพระพุทธรูปยืน พระกรซ้ายจะวางแนบพระองค์  พระหัตถ์อาจยึดชายจีวร
๕.ปางปรินพพาน หรือ ปางไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปนอนตะแคงขา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนบนเขนย  พระหัตถ์ขวารองรับพระเศียร  พระกรซ้ายทอดยาวแนบองค์  พระบาทเหยียดปลายเสมอกันทั้งสองข้าง
๖.ปางประทานอภัย หรือ อภัยมุทรา เป็นพระพุทธรูปยืนยกพระหัตถ์ป้องไปข้างหน้า จะเป็นข้างซ้าย  ข้างขวา  หรือทั้งสองข้าง  โดยหันฝ่าพระหัตถ์ออกมาแสดงท่าอภัย
๗.ปางประทานพร หรือ วรมุทรา เป็นพระพุทธรูปยืนหรือนั่ง ถ้าเป็นพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ซ้ายจะยกขึ้น หงายฝ่าพระหัตถ์ออกแสดงท่าให้พร ถ้าเป็นพระพุทธรูปนั่ง พระหัตถ์ซ้ายจะหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาหงายบนพระชานุแสดงท่าให้พร

นอกจากนี้ ในสมัยราชวงศ์ปาละ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕)  ยังพบว่ามีความนิยมสร้างพระพุทธรูปแปดปาง  หรือ อัษฏมหาปาฏิหาริย์  ประกอบด้วย รูปแสดงเหตุการณ์มหาปาฏิหาริย์แปดประการตามพุทธประวัติ  ได้แก่ ภาพประสูติ  ภาพตรัสรู้  ภาพปฐมเทศนา  ภาพปรินิพพาน  ภาพแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี  ภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ณ เมืองสังกัสสยะ  ภาพพระพุทธเจ้าโปรดช้างนาฬาคีรี  ภาพพระพุทธเจ้าทรงรับรวงผึ้งจากพระยาวานร

ต่อมาในสมัยหลัง ความนิยมในการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ เริ่มมีเพิ่มมากขึ้น โดยมุ่งให้สอดคล้องกับเรื่องราวในพุทธประวัติ  และชาดกนิทานทางพุทธศาสนา

สำหรับประเทศไทย  พุทธศาสนาและคติการสร้างรูปเคารพพระพุทธรูปเริ่มปรากฏเมื่อราวสมัยทวารวดี  อันเป็นช่วงเวลาหลังจากเกิดคติการสร้างพระพุทธรูปในอินเดียแล้วเกือบ ๑,๐๐๐ ปี  พุทธศาสนาดังกล่าวเป็นการรับผ่านศรีลังกา  อันเป็นช่วงเวลาของการปรากฏรัฐต่าง ๆ อาทิ นครศรีธรรมราช  หริภุญไชย  สุโขทัย  และล้านนา




ตามหลักฐานที่ปรากฏในประเทศไทย สันนิษฐานว่า อาจมาพร้อมกับหลักพระธรรมคำสอนของพุทธศาสนาในแต่ละสมัย  จนกลายเป็นคติ ความเชื่อที่มีความสัมพันธ์และพัฒนาการรูปแบบการสร้างรูปเคารพในรูปแบบศิลปะสมัยต่าง ๆ ได้แก่

• ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๖)  นิยมสร้างพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา  ปางสมาธิ  ปางมารวิชัย  ปางมหาปาฏิหาริย์  ปางปรินิพพาน  ปางนาคปรก  ปางเสด็จจากดาวดึงส์  ปางประทานอภัย  ปางประทานพร  ปางโปรดสัตว์

• ศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๘)  นิยมสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย  ปางสมาธิ  ปางนาคปรก  ปางประทานอภัย  ปางเสด็จจากดาวดึงส์  ปางปรินิพพาน

• ศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๘)  นิยมสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย  ปางสมาธิ  ปางเสด็จจากดาวดึงส์  ปางประทานอภัย  ปางประทานพร  ปางโปรดสัตว์  ปางนาคปรก

• ศิลปะล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๑๖–๒๑)  นิยมสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย  ปางสมาธิ  ปางอุ้ม
บาตร  ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท  ปางประทับนั่งห้อยพระบาท  ปางลีลา  ปางเปิดโลก  ปางประทับยืน  ปางถวายเนตร  ปางไสยาสน์

• ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๗–ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐)  นิยมสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย  ปางสมาธิ  ปางลีลา  ปางประทานอภัย  ปางถวายเนตร  ปางประทานพร  ปางประทับยืน  ปางไสยาสน์  และยังมีการสร้างพระพุทธรูปตามพุทธอิริยาบถ ๔ ประการ ได้แก่ การนั่ง การนอน การยืน (อาจเป็นการรับคติจากลังกา  แสดงถึงการประทับยืนในคันธกุฎี)  และการเดิน  ตามคติที่แฝงมากับการสร้างพระพุทธรูป คือ การแสดงให้เห็นถึงพระจริยวัตรอันงดงามของพระพุทธองค์

• ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๘–๒๓)  นิยมสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย  ปางสมาธิ  ปาง
ประทานอภัย  ปางป่าเลไลยก์  ปางลีลา  ปางประทับยืน

• ศิลปะรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ ๒๓–ปัจจุบัน)  นิยมสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย  ปางสมาธิ ปางประทานอภัย  ปางไสยาสน์

อาจกล่าวได้ว่า พระพุทธรูปในท่วงท่าต่างๆ ที่มีการสร้างขึ้นตามคตินิยมของกลุ่มวัฒนธรรมสมัยต่าง ๆ ซึ่งพบในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง พระพุทธรูปแสดงภูมิสปรศมุทรา หรือ ปางมารวิชัย (ปางผจญมาร)  เป็นปางที่นิยมสร้างในทุกสมัย  และใช้เป็นพระพุทธรูปประทานในพุทธสถานมากกว่าพระพุทธรูปปางอื่น  อาจเนื่องด้วยมาจากความสำคัญของเหตุการณ์อันเกี่ยวข้องกับปางดังกล่าว  รวมถึงรูปทรงของพระพุทธรูปที่มีความสอดคล้อง สมดุลกับองค์ประกอบอาคารพุทธสถานที่มีลักษณะของโถงสูง  ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่กลมกลืน




พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐)  
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร
เมื่อ ๑๗ ธันวาคม ๒๔๖๘ (ส่วนที่โป่งนูนกลางพระเศียร เรียกว่า พระอุษณีษะ หรือ พระรัศมี)
ซึ่งมีเม็ดพระศกปกคลุมเรียงเป็นระเบียบ

ปางและมุทราแห่งพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์

อาจกล่าวได้ว่าพัฒนาการของการสร้างพระพุทธรูปในไทยมีความหลากหลายอย่างมากในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.๒๓๒๕ – ปัจจุบัน)  ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากความรุ่งเรืองในอดีตของงานศิลปกรรมไทย  ในช่วงต้นของสมัยรัตนโกสินทร์  พุทธลักษณะของพระพุทธรูปเป็นการผสมผสานระหว่างลักษณะทางพุทธศิลปะสุโขทัยและอยุธยาที่ปรากฏในการสร้างพระพุทธรูป  ซึ่งทำให้พุทธลักษณะของพระพุทธรูปในช่วงเวลาดังกล่าวมีพระพักตร์สงบนิ่ง  พระเกตุมาลาและพระรัศมีรับพุทธลักษณะของพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยและอยุธยา  แต่มีขนาดความสูงมากกว่าพระเกตุมาลาและพระรัศมีที่พบในพระพุทธรูปทั้งสองแบบ

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ทรงนำคติจักรพรรดิราชามาเพื่อเสริมพระบารมี  จึงทรงมีพระราชนิยมเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ และเป็นส่วนสำคัญต่อการที่ทรงมีพระราชดำริสร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระอัยกา (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)  และพระราชบิดา (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)  ของพระองค์  เพื่อประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง  ทั้งยังทรงมีพระราชประสงค์ในการบำเพ็ญพระราชกุศลเช่นบุรพกษัตริย์ในสมัยอยุธยาทรงปฏิบัติสืบเนื่อง  คือ การสร้างพระพุทธรูปถวายเป็นพุทธบูชาในพระศาสนา  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ   ให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคัดเลือกพุทธอิริยาบถปางและมุทราต่างๆ ตามที่ปรากฏในพุทธประวัติ รวม ๔๐ ปาง อาทิ ปางทุกรกิริยา ปางรับมธุปายาส ปางลอยถาด ปางรับกำหญ้าคา ปางมารวิชัย ฯลฯ พระพุทธรูปทั้ง ๔๐ ปาง  ซึ่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงคัดเลือกนี้ เป็นปางที่ทรงผูกขึ้นจากพุทธประวัติ  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด จำนวน ๓๓ ปาง  ส่วนที่เหลือนั้นสร้างเพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  นอกจากนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสยังทรงกล่าวถึงพระพุทธรูปในปางหรือมุทราที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ในพุทธประวัติ ๗ สัปดาห์หลังจากทรงตรัสรู้ ที่เรียกว่า “สัตมหาถาน หรือสัตตมหาสถาน”

ในจำนวนปางหรือมุทราของพระพุทธรูปทั้ง ๔๐ ปางที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงคัดเลือกเพื่อช่างสร้างเป็นพระพุทธรูปนั้น ยังมีพระพุทธรูปอีกประเภทหนึ่งคือ พระพุทธรูปประจำวันเกิด  ซึ่งลักษณะปางอยู่ในกลุ่มเดียวกับพระพุทธรูปที่กล่าวมาแล้ว อาทิ วันอาทิตย์ ปางถวายเนตร   วันจันทร์ ปางห้ามสมุทร เป็นต้น



แผ่นทองคำดุนภาพพระพุทธรูป ปางมารวิชัย
ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐)
พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา
จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
จ.พระนครศรีอยุธยา

พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวดังกล่าวเป็นแบบอย่างของพุทธศิลปะอันเป็นแบบแผนของสกุลช่างกรุงเทพฯ ที่สำคัญ  ปัจจุบันพระพุทธรูปดังกล่าวประดิษฐานในหอราชกรมานุสรณ์  และหอราชพงศานุสรณ์ ทางด้านตะวันตกของพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ทรงมีพระราชนิยมที่ต่างไปจากรัชกาลก่อน พระพุทธรูปแนวสัจนิยมที่สอดคล้องกับรูปแบบศิลปะร่วมสมัย  เน้นความสมจริงในพุทธลักษณะ เป็นพระราชนิยมที่ทรงโปรด เช่น พระนิรันตราย และพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะดังกล่าวได้มีการสร้างอย่างต่อเนื่องในรัชสมัยของพระองค์ ทำให้ขนบแห่งความงามในพุทธลักษณะเชิงอุดมคติในแบบประเพณีนิยมเริ่มคลายความสำคัญไปในช่วงระยะหนึ่ง  อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปในพุทธลักษณะเชิงอุดมคติยังคงแนบแน่นอยู่ในจิตใจของพุทธศาสนิกชน  ดังนั้น จึงพบว่าพระพุทธรูปส่วนหนึ่งที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังคงพุทธลักษณะเชิงอุดมคติแบบประเพณีนิยม อาทิ พระอุษณีษะที่โป่งนูนบนพระเศียรต่อเนื่องขึ้นไปอย่างเป็นระเบียบ  จีวรเรียบบางแนบพระวรกาย ฯลฯ

พระพุทธรูปในปางหรือมุทราดังกล่าวได้มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมตามสาระของพุทธประวัติที่ปรากฏเหตุการณ์ต่างๆ  อาจกล่าวได้ว่าการสร้างพระพุทธรูป ๔๐ ปางตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นจำนวนปางของพระพุทธรูปมากที่สุดในอดีต  ก่อนที่จะคลี่คลายมาเป็นปางต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน ประมาณ ๗๐ ปาง


ปาง  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า ครั้ง หรือ เมื่อ  ดังนั้น เมื่อใช้กับพระพุทธรูปซึ่งเป็นรูปแทนพระพุทธเจ้า จึงหมายความว่า พระพุทธองค์เมื่อครั้ง....หรือเป็นพระพุทธรูปที่แสดงประวัติตอนใดตอนหนึ่งของพระพุทธองค์  ขณะที่ทรงมีสภาวะเป็นมนุษย์

มุทรา  เป็นภาษาสันสกฤต  ความหมายเมื่อใช้กับงานพุทธศิลป์ คือ การแสดงท่วงท่าพระหัตถ์  คำว่า มุทรา  ยังใช้กับท่านาฏศิลป์ของอินเดียที่แสดงความหมายด้วยท่าของมือในการร่ายรำ





พระพุทธรูปปางต่างๆ
(ปางที่ ๑-๗๐)



ปางที่ ๑  ปางประสูติ
พระอิริยาบถประทับยืนบนฐานบัว  เบื้องหลังพระเศียรมีประภามณฑล พระหัตถ์แนบองค์  เบื้องหลังเป็นพระนางสิริมหามายา (พระพุทธมารดา)  ประทับยืน  ทรงเหนี่ยวกิ่งต้นรัง รายรอบด้วยพระอินทร์ พระพรหม  หมู่เทวดา  และข้าราชบริพาร  ซึ่งตามเสด็จ

ในบางครั้ง ปางประสูติ  อาจทำเพียงรูปพระนางสิริมหามายาประทับยืน  พระหัตถ์ทรงเหนี่ยวกิ่งไม้

พุทธประวัติกล่าวถึงเมื่อพระนางสิริมหามายา (พระพุทธมารดา) ทรงพระครรภ์ใกล้จะมีพระประสูติกาลนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังนครเทวทหะ  อันเป็นปิตุคามแห่งพระองค์ ในระหว่างเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินกรุงกบิลพัสดุ์ กับนครเทวทหะ  พระนางสิริมายา ทรงประชวรพระครรภ์  ทรงเหนี่ยวกิ่งต้นรังด้วยพระหัตถ์ขวา  ทรงมีพระสูติกาลพระโพธิสัตว์กุมาร ในมหามงคลดิถีวิสาขะนักขัตฤกษ์ เพ็ญเดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี



 ลักษณะที่ ๑

 ลักษณะที่ ๒
ปางที่ ๒  ปางมหาภิเนษกรมณ์
ปางมหาภิเนษกรมณ์หรือปางอธิษฐานเพศบรรพชิต มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๒ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑  พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลา  พระหัตถ์ขวายกขึ้น  ตั้งฝ่าพระหัตถ์ตรงพระอุระ
ลักษณะที่ ๒ พระอิริยาบถประทับบนหลังอัศวราช ชื่อ กัณฐกะ  มีนายฉันนะมหาดเล็กตามเสด็จ

เมื่อพระสิทธัตถะตัดสินพระทัยเสด็จออกบรรพชา  เสด็จออกจากเมืองกบิลพัสดุ์ โดยทรงม้ากัณฐกะ  มีนายฉันนะตามเสด็จ  เมื่อถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา  จึงทรงเปลื้องเครื่องทรงขัตติยราชทั้งหมด  พระราชทานแก่นายฉันนะ และทรงตัดพระเมาลี

พุทธประวัติตอนนี้ โดยทั่วไปนิยมเขียนเป็นภาพ หรือ ปั้น หรือสลักเป็นพระสิทธัตถะทรงตัดพระเมาลีริมฝั่งแม่น้ำอโนมา*

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตรปีเถาะ




ปางที่ ๓ ปางตัดพระเมาลี
พระอิริยาบถประทับนั่งบนพระแท่น  พระหัตถ์ซ้ายทรงรวบพระเมาลี พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ตัดพระเมาลี มีนายฉันนะและม้ากัณฐกะอยู่ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งมีพระอินทร์  พระพรหม (พระฆฏิกาพรหม) และหมู่เทวดาถือบาตร ผ้าทรง และพานรองรับพระเมาลี

พุทธประวัติกล่าวถึง เมื่อพระสิทธัตถะตัดสินพระทัยเสด็จออกบรรพชา ขณะเสด็จออกจากเมืองกบิลพัสดุ์  มารได้ออกมาห้ามมิให้เสด็จออกจากเมือง แต่ด้วยทรงมีพระทัยแน่วแน่ มารจึงปลาสนาการ  หลังจากนั้น พระองค์เสด็จจากเมืองกบิลพัสดุ์  ผ่านเมืองสาวัตถี และเวสาลี บรรลุฝั่งแม่น้ำอโนมา  ทรงเปลื้องเครื่องทรงขัตติยราช  พระราชทานนายฉันนะนำกลับนครกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยม้ากัณฐกะ  จากนั้นทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ อธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต




ปางที่ ๔  ปางปัจจเวกขณ์
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายทรงประคองบาตรที่วางอยู่ที่พระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นป้องเสมอพระอุระ

พระสิทธัตถะเมื่อครองเพศบรรพชิต ทรงพิจารณาอาหารที่ทรงบิณฑบาตในบาตรแล้วเสวยภัตตาหารนั้น นับเป็นการเสวยภัตตาหารครั้งแรกนับตั้งแต่บรรพชาได้ ๘ วัน ภัตตาหารนั้นทรงบิณฑบาตจากกรุงราชคฤห์ ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ปกครองเมือง

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตรปีเถาะ




ปางที่ ๕ ปางทุกรกิริยา
ปางทุกรกิริยา หรือปางบำเพ็ญทุกรกิริยา  มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๒ ลักษณะ

ลักษณะที่ ๑ พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์สองข้างประสานพระอุระ
ลักษณะที่ ๒ พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย  พระวรกายซูบผอมจนพระอัฐิ  พระนหารู (เอ็น) ปรากฏชัด  ลักษณะพุทธศิลปะในแบบดังกล่าวเป็นแบบตะวันตก

เมื่อพระสิทธัตถะครองเพศบรรพชิต  ทรงแสวงหาวิถีทางเพื่อตรัสรู้พระโพธิญาณ  เสด็จถึงป่าอุรุเวลาริมแม่น้ำเนรัญชรา ในกรุงราชคฤห์  แคว้นมคธ  ประทับบำเพ็ญทุกรกิริยากระทำสมาธิ  โดยมีหมู่ปัญจวัคคีย์  ประกอบด้วย โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เป็นอุปฐาก

พระสิทธัตถะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างเคร่งครัดเป็นเวลา ๖ ปี จนพระวรกายซูบผอม แต่ยังไม่ทรงบรรลุพระโพธิญาณแต่อย่างใด




ปางที่ ๖ ปางทรงพระสุบิน (ปางสุบิน)
พระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา (สีหไสยา) พระเศียรหนุนพระเขนย พระกรซ้ายทอดยาวแนบพระวรกาย พระหัตถ์ขวาหนุนที่พระกรรณ

เมื่อพระสิทธัตถะทรงดำริจะเลิกอดภัตตาหาร พระปฐมสมโพธิกถา กล่าวถึงในพุทธประวัติตอนนี้ว่า ครั้งนั้นพระอินทร์ทรงพิณสามสายถวายพระสิทธัตถะ สายหนึ่งตึงเกินไปจึงขาด อีกสายหนึ่งหย่อนเกินไป เมื่อดีดจึงไม่มีเสียงดังกังวาน  ส่วนสายที่ขึงตึงพอดี มีเสียงที่ไพเราะ  จึงทรงระลึกถึงวิถีแห่งมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง)  อันจะนำไปสู่ความสำเร็จ


นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระสิทธัตถะทรงสุบินเป็นนิมิตมงคล ๕ ประการ  อันเป็นสัญลักษณ์ปริศนาธรรม หมายถึงจะทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และจะทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปสู่สรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นทุกข์ ได้แก่
     ๑.พระมหาบุรุษเจ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เลิศในโลกทั้งหลาย
     ๒.พระมหาบุรุษจะได้ทรงประกาศสัจธรรม เผยมรรคผล นิพพานแก่เทพยดาและมวลมนุษย์
     ๓.คฤหัสถ์ พราหมณ์ทั้งหลาย จะเข้ามาสู่สำนักของพระองค์เป็นอันมาก
     ๔.ชาวโลกทั้งหลาย คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เมื่อสู่สำนักพระองค์แล้ว จะรู้ทั่วถึงธรรมอันบริสุทธิ์หมดจดผ่องใสทั้งสิ้น
     ๕.ถึงแม้พระองค์จะสมบูรณ์ด้วยสักการะวรามิสที่ชาวโลกทุกทิศน้อมถวายด้วยความเลื่อมใส ก็มิได้มีพระทัยข้องอยู่ให้เป็นมลทินแม้แต่น้อย

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตรปีระกา




ปางที่ ๗  ปางรับมธุปายาส

ปางรับมธุปายาส มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๒ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑ พระอิริยาบถประทับนั่งห้อยพระบาท หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางบนพระชานุ
ลักษณะที่ ๒ พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางบนพระชานุ แสดงพระอิริยาบถรับถาดมธุปายาส

ภายหลังจากพระสิทธัตถะทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา  ในเช้าวันเพ็ญวิสาขะ ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นางสุชาดา  บุตรีของเสนคหบดีแห่งบ้านเสนานิคม เมืองอุรุเวลา หุงข้าวมธุปายาส (ข้าวสุกหุงด้วยน้ำนมโค)  จัดลงในถาดทองคำเพื่อนำไปบวงสรวงเทวดาที่ต้นนิโครธพฤกษ์ (ต้นไทร)  ครั้นเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่บังเกิดจิตศรัทธา  จึงถวายข้าวมธุปายาสถาดนั้นแก่พระโพธิสัตว์

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตรปีระกา




ปางที่ ๘  ปางเสวยมธุปายาส
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายทรงประคองถาดข้าวมธุปายาส พระหัตถ์ขวาวางบนปากถาด  แสดงพระอิริยาบถทรงหยิบปั้นข้าวมธุปายาสเสวย

เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดาแล้ว พระองค์ทรงถือถาดข้าวมธุปายาสเสด็จสู่แม่น้ำเนรัญชรา ทรงแบ่งข้าวมธุปายาสเป็น ๔๙ ส่วน แล้วปั้นเป็นก้อน ๔๙ ก้อน และเสวยข้าวนั้นจนหมด
 
พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตรปีระกา




ปางที่ ๙ ปางลอยถาด
พระอิริยาบถประทับนั่งคุกพระชานุ (เข่า) ทั้งสอง พระหัตถ์ซ้ายวางที่พระเพลาข้างซ้าย เป็นอาการค้ำพระวรกายให้ตั้งมั่น ทอดพระเนตรลงต่ำ พระหัตถ์ขวาปล่อยถาดลอยน้ำ

หลังจากที่พระโพธิสัตว์เสวยข้าวมธุปายาสแล้ว ณ บริเวณใต้ต้นโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ทรงอธิษฐานว่าหากพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอให้ถาดทองคำนั้นลอยทวนกระแสนน้ำ ปรากฏว่าถาดทองคำลอยทวนกระแสน้ำไปไกลประมาณ ๘๐ ศอก จึงจมสู่พิภพพระยากาฬนาคราช




ปางที่ ๑๐ ปางทรงรับหญ้าคา
พระอิริยาบถยืน พระกรซ้ายทอดยาวข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวาหงายยื่นออกมาข้างหน้า  แสดงพระอิริยาบถรับหญ้า  ในบางครั้งอาจมีรูปพราหมณ์ถวายหญ้าคา หรือไม่มีรูปพราหมณ์ดังกล่าวแต่มีหญ้าคาอยู่ที่พระหัตถ์

ในเวลาเย็นพระโพธิสัตว์เสด็จกลับไปประทับใต้ต้นโพธิ์ ทรงรับหญ้าคาที่พราหมณ์โสตถิยะถวาย ทรงใช้หญ้าคารองเป็นที่ประทับใต้ต้นอสัตถพฤกษ์ หรือต้นโพธิ์ตรัสรู้



ปางที่ ๑๑ ปางสมาธิ
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายช้อนกันบนพระเพลา  พระหัตถ์ขวาวางบนพระหัตถ์ซ้าย

ปางสมาธิ ในบางครั้งมีกล่าวถึงเป็นปางตรัสรู้  ซึ่งอ้างอิงในเหตุการณ์ในพุทธประวัติต่างกัน  กล่าวคือ  
• ปางสมาธิ เป็นเหตุการณ์เมื่อพระโพธิสัตว์ประทับบำเพ็ญสมาธิบนอาสนะหญ้าคาใต้ต้นโพธิ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ส่วน
• ปางตรัสรู้  กล่าวถึงเหตุการณ์ขณะทรงบำเพ็ญสมาธิใต้ต้นโพธิ์  และพระยาวัสดีมารและพลพรรค
มาทำลายขัดขวางการบำเพ็ญสมาธิ แต่ต้องพ่ายแพ้ต่อกระแสน้ำจากมวยผมของพระแม่ธรณี หลังจากมารพ่ายและปลาสนาการไปจนหมดสิ้นแล้ว พระโพธิสัตว์ทรงเจริญสมาธิในปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม  โดยทรงบรรลุญาณ ได้แก่ ความระลึกชาติของตนและคนอื่น ได้ความรู้เรื่องเกิด เรื่องตายของตนและของคนอื่น  การรู้จักทำอาสวกิเลสให้สิ้นไปด้วยรู้สัจธรรมทั้ง ๔ คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันหมายถึงทรงบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ  ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ใต้ต้นอสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ เมื่อก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี

พระพุทธรูปปางนี้นิยมสร้างเป็นพระประธานในพุทธสถาน นอกจากนี้ยังเป็นพระพุทธรูปประจำวันพฤหัสบดี






ปางที่ ๑๒  ปางมารวิชัย
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำที่พระชานุ  นิ้วพระหัตถ์ชี้พระธรณี  ในบางครั้งส่วนฐานพระพุทธรูปอาจตกแต่งด้วยประติมากรรมนูนต่ำ หรือนูนสูงรูปพระยามารพร้อมพลพรรค  และพระแม่ธรณีบีบมวยผม

พระยาวัสวดีมาร ทรงช้างคีรีเมขล์ พร้อมพลพรรค คือ บุคลาธิษฐานของกิเลสที่รุมเร้าขัดขวางพระโพธิญาณ พระโพธิสัตว์มิได้ทรงหวั่นไหวพระทัย ทรงชี้ดัชนีลงที่พื้นดินเพื่อเรียกแม่พระธรณีเป็นพยานว่า ในอดีตชาติอันนับประมาณมิได้ พระองค์ได้สั่งสมบำเพ็ญพระบารมีมากเพียงพอที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติปัจจุบัน แม่พระธรณีจึงสำแดงร่างบีบมวยผมหลั่งน้ำที่พระโพธิสัตว์เคยทรงหลั่งเมื่อบำเพ็ญพระบารมีในอดีตชาติ  กลายเป็นกระแสน้ำไหลท่วมเหล่ามารและไพร่พลปลาสนาการไป

พระพุทธรูปปางนี้ นิยมทำเป็นพระพุทธรูปประธานในพุทธสถาน และเป็นพระพุทธรูปประจำเดือน ๖



ปางที่ ๑๓ ปางถวายเนตร
พระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันอยู่ที่หน้าพระเพลา ลืมพระเนตร

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณและประทับเสวยธรรมปิติ ณ ใต้ต้นมหาโพธิ์ ครบ ๑ สัปดาห์ ครั้นถึงสัปดาห์ที่ ๒ พระพุทธเจ้าประทับยืนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นมหาโพธิ์ ทรงลืมพระเนตรโดยไม่กะพริบพระเนตร  บูชาพระมหาโพธิ์ที่พระพุทธองค์ประทับตรัสรู้ตลอดสัปดาห์ที่ ๒ สถานที่ดังกล่าวเรียกว่า อนิมิสเจดีย์

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำวันอาทิตย์



ปางที่ ๑๔ ปางจงกรมแก้ว
พระอิริยาบถประทับยืนด้วยพระบาทขวา ยกส้นพระบาทซ้าย เป็นพระอิริยาบถดำเนินจงกรม* พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันที่หน้าพระเพลา พระเนตรทอดยาวลงต่ำ

ในสัปดาห์ที่ ๓ หลังการตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ในข้อกังขาของเทพยดาบางจำพวกว่า พระพุทธองค์ตรัสรู้จริงแท้หรือไม่ พระพุทธเจ้าจึงทรงหยุดพระดำเนินระหว่างต้นนิโครธพฤกษ์ กับอนิมิสเจดีย์ ทรงกระทำปาฏิหาริย์เนรมิตรรัตนจงกรมในอากาศทางทิศเหนือแห่งพระมหาโพธิ์ และเสด็จพุทธดำเนินจงกรม ณ สถานที่ดังกล่าวเป็นเวลา ๑ สัปดาห์ สถานที่ดังกล่าวเรียกว่า รัตนจงกรมเจดีย์


ปางที่ ๑๕ ปางเรือนแก้ว
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบในซุ้มเรือนแก้ว พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้พระธรณี

ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังตรัสรู้  พระพุทธองค์เสด็จจากรัตนจงกรมเจดีย์ไปประทับในเรือนแก้ว (รัตนคฤห) ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเทพยดาเนรมิตถวาย เพื่อทรงพิจารณาพุทธธรรมในกำหนด ๗ วัน จนบังเกิดเป็นประภาวลี* สถานที่ดังกล่าว จึงมีชื่อว่า “รัตนฆรเจดีย์

พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปประจำเดือน ๗


คัดจาก : หนังสือพระพุทธรูปปางต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแพร่โดยกรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๓ พุทธศักราช ๒๕๕๒

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2558 10:41:18 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2555 16:12:11 »


ปางที่ ๑๖  ปางนาคปรก
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางบนพระเพลา มีพระยานาคแผ่พังพานเหนือพระเศียร  ขดนาคทำเป็นพุทธบังลังก์* บางครั้งมีต้นมุจลินทพฤกษ์ หรือต้นจิกประกอบอยู่

ในสัปดาห์ที่ ๖ หลังตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงเสด็จไปประทับบำเพ็ญสมาธิ ณ ใต้ต้นมุจลินทพฤกษ์ หรือต้นจิก  ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของต้นมหาโพธิ์  คราวนั้นเกิดอากาศวิปริตฝนตกท่วมท้น  พระยานาคมุจลินท์อาศัยในสระมุจลินท์ จึงขึ้นจากสระแผ่พังพานป้องกันพระพุทธองค์จากอากาศวิปริตนั้น

พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปประจำวันเสาร์




ปางที่ ๑๗  ปางฉันสมอ
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุทรงถือผลสมอ

สัปดาห์ที่ ๗ หลังตรัสรู้ พระพุทธองค์เสด็จไปประทับเสวยวิมุติสุขใต้ร่มไม้ราชายตนพฤกษ์ (ต้นเกด)  ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์  นับเป็นระยะเวลาแห่งการเสวยธรรมปิติหลังตรัสรู้เป็นเวลา ๔๙ วัน ด้วยมิได้ทรงเสวยพระกระยาหารใด  พระอินทร์จึงถวายผลสมออันเป็นทิพยโอสถจากเทวโลกแก่พระพุทธองค์  พระพุทธองค์จึงทรงรับทิพยโอสถนั้น



ปางที่ ๑๘ ปางประสานบาตร
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตรซึ่งวางบนพระเพลา ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นวางปิดปากบาตร แสดงพระอิริยาบถอธิษฐานประสานบาตร

หลังการเสวยธรรมปิติตลอด ๔๙ วัน ตปุสสะ และ ภัลลิกะ พ่อค้าสองพี่น้องซึ่งเดินทางจากอุกกลชนบท  ผ่านตำบลอุรุเวลาอันเป็นบริเวณที่พระพุทธองค์ประทับ เมื่อพ่อค้าทั้งสองเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงถวายข้าวมธุมันถะ (ข้าวกวนน้ำผึ้ง หรือข้าวคลุกน้ำผึ้ง) ซึ่งเป็นเสบียงในการเดินทาง  ในครั้งนั้น พระพุทธองค์ไม่มีบาตรที่จะรับบิณฑบาต  ครั้งนั้น ท้าวจตุโลกบาล ได้แก่ ท้าวธตรฐ  ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์  และท้าวกุเวร  หยั่งรู้ถึงพระปริวิตก จึงนำบาตรศิลามาถวาย รวม ๔ ใบ  พระพุทธองค์จึงทรงรับบาตรทั้งหมดและอธิษฐานผสานบาตรทั้งหมดรวมเข้าเป็นบาตรใบเดียว  เพื่อรักษาศรัทธาปสาทะของท้าวจตุโลกบาล ด้วยเหตุดังกล่าว บาตรพระจึงทำเป็น ๔ เสี้ยวต่อกัน



ปางที่ ๑๙  ปางรับสัตตูก้อนสัตตูผง
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรซึ่งวางอยู่บนพระเพลา  ทอดพระเนตรลงต่ำแสดงพระอิริยาบถรับสัตตูก้อน  สัตตูผงด้วยบาตร

เมื่อพระพุทธองค์ทรงประสานบาตรทั้งสี่ของท้าวจตุโลกบาลรวมเป็นบาตรใบเดียวแล้ว จึงทรงรับการถวายสัตตูก้อน สัตตูผลจากพ่อค้าสองพี่น้อง คือ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ



ปางที่ ๒๐  ปางพระเกศธาตุ
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นแสดงพระอิริยาบถลูบพระเกศา

เมื่อพระพุทธองค์เสวยภัตตาหารที่ตปุสสะและภัลลิกะถวายแล้ว  ทั้งสองคนได้ทูลปวารณาตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา และทูลขอสิ่งอันเป็นเครื่องสักการบูชาถึงพระพุทธองค์ จึงทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบพระเกศา  ได้พระเกศาธาตุ ๘ องค์ ประทานแก่พ่อค้าทั้งสอง




ปางที่ ๒๑ ปางรำพึง
พระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย แสดงพระอิริยาบถรำพึง

ครั้น ตปุสสะและภัลลิกะ ทูลลากลับไปแล้ว พระพุทธองค์ทรงรำพึงปริวิตกว่า พระธรรมที่ตรงตรัสรู้นั้นลึกซึ้งจนยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจได้  จึงทรงท้อพระทัยถึงกับจะไม่ทรงแสดงธรรมแก่มหาชน ท้าวสหัมบดีพรหมและเทพยดาจึงไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ใต้ต้นอัชปาลนิโครธ (ต้นไทร)  กราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรมโปรดชาวโลก

จึงทรงหวนพิจารณาว่าบุคคลย่อมมีปัญญาต่างกัน  อาจแบ่งออกเป็น ๔ จำพวกเหมือนบัว ๔ เหล่า ได้แก่
• บุคคลที่มีอุปนิสัย วาสนาและบารมีแก่กล้า  ได้สดับคำสั่งสอนแห่งพระพุทธองค์โดยสังเขปย่อมรู้เหตุผล และหลุดพ้นทุกข์ได้โดยพลันพวกหนึ่ง
• บุคคลที่มีอุปนิสัยได้รับคำสั่งสอนทั้งโดยสังเขป ไม่สามารถตรัสรู้ได้ ต่อเมื่อจำแนกอรรถาธิบายโดยพิสดาร จึงรู้เหตุผลและหลุดพ้นทุกข์ได้จำพวกหนึ่ง
• บุคคลที่ได้สดับคำสั่งสอนทั้งโดยสังเขปและพิสดารแล้วยังไม่สามารถตรัสรู้ได้ต้องฝึกฝนพากเพียรศึกษาต่อไป จึงรู้เหตุผลและหลุดพ้นทุกข์ได้จำพวกหนึ่ง
• บุคคลที่มีอุปนิสัยและบารมียังไม่บริบูรณ์ แม้จะได้สดับพระธรรมคำสั่งสอนทั้งโดยสังเขปและพิสดาร  แม้จะฝึกฝนและพากเพียรเล่าเรียนก็ไม่สามารถจะตรัสรู้เหตุผล และหลุดพ้นทุกข์ได้จำพวกหนึ่ง

ทรงเห็นว่าบุคคล ๓ จำพวกแรก สามารถจะล่วงรู้เหตุผลแห่งความจริง (พระธรรม) ได้ในชาติปัจจุบัน แต่บุคคลจำพวกที่ ๔ อาจจะตรัสรู้ได้ในชาติอนาคต  จึงตกลงพระทัยที่จะแสดงพระธรรมสั่งสอนชาวโลกต่อไป โดยทรงตั้งปณิธานว่า หากหลักสัจธรรมยังไม่แพร่หลายและสาวกยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมก็จักไม่นิพพาน

พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปประจำวันศุกร์



ปางที่ ๒๒  ปางปฐมเทศนา
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวายกขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์เป็นรูปวงกลมในมุทราแสดงธรรม พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา

เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับอาราธนาท้าวสหัมบดีพรหม และหมู่เทพยดาที่จะแสดงธรรมสั่งสอนชาวโลก จึงทรงดำริถึงผู้ควรสดับธรรมเทศนาแห่งพระพุทธองค์ ทรงปรารภถึงอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร พระอาจารย์ที่ทรงเคยศึกษาในสำนักของท่านในกาลก่อน  แต่พระอาจารย์ทั้งสองได้สิ้นชีพไปแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาว่า ธรรมดาอดีตพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้แล้วได้สั่งสอนสรรพสัตว์ทั้งมวล พระพุทธองค์จึงทรงรำลึกถึงปัจจวัคคีย์ ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ มหานามะ และอัสสชิ  ที่เคยอุปการะพระพุทธองค์เมื่อครั้งยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญทุกรกิริยา

จึงเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี อันเป็นที่อยู่ของปัญจวัคคีย์และประทานปฐมเทศนา ที่เรียกว่า ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำเดือน ๘



ปางที่ ๒๓ ปางประทานเอหิภิกขุอุปสมบท
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระชานุเป็นพระอิริยาบถทางรับ  พระหัตถ์ขวายกตั้ง หันฝ่าพระหัตถ์ออก งอนิ้วพระหัตถ์เล็กน้อย

หลังจากปัญจวัคคีย์เข้าถึงโลกุตรธรรมอันพระพุทธองค์ทรงแสดงแล้ว โกณฑัญญะผู้อาวุโสที่สุดในหมู่ปัญจวัคคีย์  จึงกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระพุทธองค์จึงตรัสว่าเอหิภิกขุ* การอุปสมบทของโกณฑัญญะ ถือเป็นพระสงฆ์องค์แรกของพุทธศาสนา หลังจากนั้นจึงโปรดประทานอุปสมบทปัญจวัคคีย์อีก ๔ องค์




ปางที่ ๒๔ ปางภุตตากิจ (ปางภัตกิจ)
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตรซึ่งวางอยู่บนพระเพลา พระหัตถ์ขวาหย่อนลงในบาตรแสดงพระอิริยาบถหยิบภัตตาหารเสวย

ยส  บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี  เดินทางไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แจ้งความประสงค์ขอบรรพชาเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธองค์ประทานบรรพชาให้ยส  พระยสจึงนำเสด็จพระพุทธองค์ไปสู่เคหสถานแห่งตน เพื่อรับถวายภัตตาหารจากบุพการี และอดีตภริยาของยส หลังจากนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมกถาประทานแก่ครอบครัวของพระยส

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำเดือน ๙




ปางที่ ๒๕ ปางห้ามสมุทร
พระอิริยาบถประทับยืน พระกรทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ  ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าแสดงมุทราห้าม

พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร  ปรากฏกล่าวถึงเหตุการณ์ในพุทธประวัติต่างกันเป็น ๒ เหตุการณ์  เหตุการณ์หนึ่งกล่าวถึงเมื่อพระพุทธองค์ประทับ ณ เมืองพาราณสี  เสด็จไปยังสำนักของชฎิล ๓ พี่น้องและหมู่บริวาร  ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  แขวงอุรุเวลา  ชฎิลทั้ง ๓ นี้ พี่ชายใหญ่ คือ อุรุเวลกัสสปะ  น้องชายกลาง คือ นทีกัสสปะ และน้องชายเล็กคือ คยากัสสปะ  พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ เพื่อทำลายมิจฉาทิฏฐิของชฎิลทั้งหลาย  โดยทรงห้ามฝนที่ตกหนักในบริเวณนั้น มิให้เปียกท่วมปริมณฑลที่พระพุทธองค์ประทับอยู่  ชฎิลทั้งสามและบริวารจึงยอมอ่อนน้อมขอบรรพชา จำนวน ๑,๐๐๐ คน และพระพุทธองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร หมู่ชฎิลและบริวารได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในครั้งนั้น

ส่วนอีกเหตุการณ์ กล่าวถึงขณะพระพุทธองค์ประทับ ณ นิโครธาราม ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณีใกล้กรุงกบิลพัสดุ์  ทรงห้ามหมู่พระยูรญาติวิวาทกันด้วยเรื่องแย่งน้ำ

พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตรปีฉลู และเป็นพระพุทธรูปประจำวันจันทร์




ปางที่ ๒๖  ปางชี้พระอัครสาวก
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา  พระหัตถ์ขวายกขึ้นชี้พระดัชนีออกไปข้างหน้า  แสดงมุทราทรงชี้พระอัครสาวกในที่ประชุมสงฆ์

อุดิส บุตรนางสารีพราหมณี และโกลิต บุตรนางโมคคัลลี เป็นเพื่อนสนิทมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด พยายามค้นหาสาระแห่งชีวิต ด้วยการบวชเป็นปริพาชก* แสวงหาโมกขธรรม ต่อมาได้พบกับพระอัสสชิ หนึ่งในปัญจวัคคีย์  และได้สดับพระธรรมที่พระอัสสชิแสดง บังเกิดความเลื่อมใส เมื่ออุปดิสและโกลิตได้ทราบว่าพระอิสสชิเป็นพระสาวกของพระพุทธองค์  จึงมีจิตศรัทธานำบริวารเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ณ เวฬุวัน  กรุงราชคฤห์  พระพุทธองค์ได้แสดงสัจธรรมโปรดปริพาชก และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่อุปดิส โกลิต และบริวาร ซึ่งพระพุทธองค์มีพระพุทธฎีกาตรัสเรียกนามอุปดิส บุตรนางสารีพราหมณี ว่า สารีบุตร และโกลิต บุตรนางโมคคัลลี ว่าโมคคัลลานะ ภายหลังบรรพชา พระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตรได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์  พระพุทธองค์ทรงยกย่องเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาตามลำดับ

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตร ปีจอ



ปางที่ ๒๗ ปางแสดงโอวาทปาติโมกข์
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นเสมอพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์แสดงมุทราประทานโอวาทปาติโมกข์

เมื่อพระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธฎีกาตั้งพระโมคคัลลานะ เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย และพระสารีบุตร เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาแล้ว ทรงแสดงธรรมโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางหมู่สงฆ์

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำเดือน ๓




ปางที่ ๒๘  ปางเสด็จลงเรือขนาน
ปางเสด็จลงเรือขนาน หรือปางประทับเรือ  มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๓ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑ พระอิริยาบถประทับนั่งห้อยพระบาท มีฐานบัวรองพระบาท พระหัตถ์ทั้งสองคว่ำบนพระชานุ
ลักษณะที่ ๒ พระอิริยาบถประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่น พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทอดยาวข้างพระวรกาย
ลักษณะที่ ๓ พระอิริยาบถประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่น พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ

พระพุทธรูปปางเสด็จลงเรือนขนาน มีกล่าวถึงในพุทธประวัติต่างกันเป็น ๒ เหตุการณ์ ได้แก่ เหตุการณ์เมื่อพระพุทธองค์ประทับ ณ เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์ พระเจ้าสุทโธทนะ  พระพุทธบิดาทรงสดับว่าพระราชโอรสได้บรรลุสัมโพธิญาณแล้ว และอยู่ในระหว่างการจาริกแสวงบุญเผยแพร่พระธรรมในดินแดนต่าง ๆ จึงโปรดฯ ให้หมู่อำมาตย์เดินทางไปทูลเชิญพระพุทธองค์เสด็จกลับสู่กรุงกบิลพัสดุ์  ซึ่งในแต่ละครั้งพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมจนกระทั่งเหล่าอำมาตย์เกิดความศรัทธาเลื่อมใสของบรรพชาทุกราย  พระกาฬุทายีเถระซึ่งเป็นอำมาตย์ผู้หนึ่งที่บรรพชา  ได้ทูลอาราธนาให้เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์  พระพุทธองค์จึงออกเดินทางจากกรุงราชคฤห์ เมื่อสุดแคว้นมคธมีแม่น้ำใหญ่คั่น  จึงเสด็จไปประทับบนบัลลังก์ในเรือขนานข้ามแม่น้ำไปกรุงกบิลพัสดุ์

อีกเหตุการณ์หนึ่งกล่าวถึงว่า ระหว่างที่พระพุทธองค์ประทับ ณ เวฬุวนาราม  เกิดโรคระบาดและภัยพิบัติต่าง ๆ ในเมืองไพศาลี  พระเจ้ากรุงไพศาลีจึงโปรดฯ ให้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไประงับความเดือดร้อนนั้น เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปถึงแม่น้ำคงคา ได้เสด็จประทับเรือไปยังเมืองไพศาลี




ปางที่ ๒๙  ปางห้ามพยาธิ
พระอิริยาบถประทับยืน  พระกรซ้ายทอดยาวแนบข้างพระวรกาย  พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ หงายฝ่าพระหัตถ์ออกตั้งตรงแสดงมุทราห้าม

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี ทรงระงับโรคระบาดและภัยพิบัติต่าง ๆ




ปางที่ ๓๐  ปางสำแดงอิทธิปาฏิหาริย์
ปางสำแดงอิทธิปาฏิหาริย์ หรือปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๒ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑  พระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นป้องเหนือพระอุระ พระกรขวาทอดยาวข้างพระวรกาย
ลักษณะที่ ๒ พระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นป้องเหนือพระอุระ  พระกรขวาทอดยาวข้างพระวรกาย  รอบพระวรกายมีประภาวลีเปล่งรัศมี  ซึ่งบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาท่ามกลางหมู่พระยูรญาติ




เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าสุทโธทนะ  พระพุทธบิดา  พระพุทธองค์ประทับประพุทธอาสน์ และหมู่พระสงฆ์นั่งที่เสนาสนะ ณ โครธารามวิหาร  ที่บรรดาพระประยูรญาติทรงจัดถวาย  ในหมู่พระประยูรญาติหลายพระองค์เกิดมิจฉาทิฏฐิ  ไม่เคารพในพระพุทธองค์  พระพุทธองค์จึงทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ เนรมิตรัตนจงกรมให้เกิดขึ้นกลางอากาศและเสด็จดำเนินจงกรม  ทำให้หมู่พระประยูรญาติและพระพุทธบิดามีจิตเลื่อมใสถวายนมัสการ  หลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาประทับท่ามกลางหมู่พระประยูรญาติ  ฝนโบกขรพรรษจึงตกลงมา  ฝนดังกล่าวผู้ใดปรารถนาจะให้เปียกก็เปียก  หากผู้ใดไม่ปรารถนาให้เปียก  เม็ดฝนจะกลิ้งหายจากกายเหมือนหยาดน้ำบนใบบัว


คัดจาก : หนังสือพระพุทธรูปปางต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแพร่โดยกรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๓ พุทธศักราช ๒๕๕๒
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ตุลาคม 2558 16:39:03 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2555 17:12:48 »


ปางที่ ๓๑  ปางอุ้มบาตร
พระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตร

เมื่อฝนโบกขรพรรษตกลงในท่ามกลางหมู่พระยูรญาติแล้ว  พระพุทธองค์จึงตรัสเทศนามหาเวสสันดรชาดก  ในวันรุ่งขึ้นพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์ ๒๐,๐๐๐ องค์ เสด็จบิณฑบาตในกรุงกบิลพัสดุ์ทุกหนแห่ง เพื่อประชาราษฎรได้ชื่นชมพระบารมี

พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปประจำวันพุธ (เวลากลางวัน)



ปางที่ ๓๒ ปางโปรดพุทธบิดา
พระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วพระหัตถ์ อันเป็นมุทราแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา  พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตร

เมื่อพุทธบิดาทรงทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตตามบ้านเรือนในกรุงกบิลพัสดุ์  ทรงมีพระราชดำริว่าเป็นเรื่องอัปยศ จึงรับสั่งแก่พระพุทธองค์ว่า “นี่เป็นประเพณีของกษัตริย์หรือ” พระพุทธองค์ทรงอธิบายว่าทรงปลดประเพณีกษัตริย์ออกจนหมดสิ้นแล้วและทรงตั้งอยู่ใน “ประเพณีของตถาคต” เมื่อทรงอยู่ในภาวะสมณเพศ วัตรอันควรปฏิบัติคือ การบิณฑบาต  พระพุทธบิดาเมื่อทรงสดับพระธรรมโอวาทได้บรรลุพระโสดาปัตติผล  และได้ทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จไปเสวยภัตตาหาร ณ พระราชนิเวศน์โดยพร้อมเพรียงกัน



ปางที่ ๓๓ ปางรับผลมะม่วง
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ ในฝ่าพระหัตถ์มีผลมะม่วง

พระพุทธรูปปางรับผลมะม่วง มีกล่าวถึงในพุทธประวัติต่างกันเป็น ๒ เหตุการณ์ ได้แก่เหตุการณ์เมื่อพระพุทธองค์เสด็จออกจากเมืองราชคฤห์ไปยังเมืองสาวัตถี ในเวลารุ่งเช้าเสด็จใกล้ประตูเมือง ผู้รักษาพระราชอุทยานแห่งกษัตริย์เมืองสาวัตถี คือ คัณฑะ ได้ถวายมะม่วงสุกผลหนึ่งแก่พระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทอดพระเนตรพระอานนท์  พระอานนท์จึงนำบาตรวางเหนือพระหัตถ์ และเปลื้องจีวรปูลาดถวายเป็นพุทธอาสน์  พระอานนท์กรองคั้นเนื้อมะม่วงเป็นน้ำอัมพบาน*  ถวายพระพุทธองค์เสวยอัมพบานนั้น และตรัสให้นายคัณฑะนำเมล็ดมะม่วงไปปลูก

อีกเหตุการณ์หนึ่ง กล่าวถึงว่าเมื่อพระพุทธองค์เสด็จเมืองสาวัตถี กลุ่มเดียรถีย์ประกาศว่าจะกระทำปาฏิหาริย์ข่มพุทธบารมี พระพุทธองค์จึงตรัสจะแสดงพุทธปาฏิหาริย์ปราบเหล่าเดียรถีย์ที่ใต้ต้นมะม่วง เหล่าเดียรถีย์จึงพากันถอนต้นมะม่วงเสียสิ้น เพื่อมิให้พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ตามที่มีพุทธดำรัสไว้  ครั้นเมื่อผู้รักษาพระราชอุทยานแห่งกษัตริย์เมืองสาวัตถีนำผลมะม่วงมาถวายพระพุทธองค์ หลังจากเสวยน้ำคั้นจากผลมะม่วงแล้ว พระพุทธองค์โปรดให้นำเมล็ดมะม่วงนั้นไปปลูก เกิดปาฏิหาริย์ต้นมะม่วงโตขึ้นทันทีอย่างรวดเร็ว เพื่อพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ปราบเหล่าเดียรถีย์



ปางที่ ๓๔ ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์
พระอิริยาบถประทับนั่งห้อยพระบาทบนบัลลังก์ พระบาททั้งสองมีฐานบัวรองรับ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์ในมุทราแสดงธรรม
พระพุทธรูปปางแสดงยมกปาฏิหาริย์  มีกล่าวถึงในพุทธประวัติต่างกันเป็น ๒ เหตุการณ์  ได้แก่ เหตุการณ์เมื่อนายคัณฑะนำเมล็ดมะม่วงไปปลูกตามพุทธดำรัสใกล้ประตูเมืองสาวัตถี  มะม่วงนั้นเจริญงอกงาม  เมื่อออกผล  ผลมะม่วงนั้นมีรสชาติดีเป็นที่ต้องใจผู้ลิ้มลอง  พวกเดียรถีย์จึงพากันมาโค่นต้นมะม่วงนี้  วาตวลาหกเทพบุตรจึงบันดาลให้มหาวาตพายุพัดทำลายมณฑปของเดียรถีย์  ครั้นเวลาบ่าย พระพุทธองค์จึงทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์

อีกเหตุการณ์หนึ่ง กล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์บนต้นมะม่วงที่ได้ทรงปลูกในเมืองสาวัตถี  เพื่อปราบเหล่าเดียรถีย์  โดยทรงสำแดงฤทธิ์เนรมิตพระองค์ในพระอิริยาบถนั่ง นอน ยืน เดิน ปรากฏเป็นคู่  รวมทั้งมีเปลวเพลิงและกระแสน้ำพุ่งออกจากทุกส่วนของพระวรกายพร้อมกัน โดยที่สายน้ำนั้นไม่ดับเปลวเพลิง



ปางที่ ๓๕  ปางโปรดพุทธมารดา
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์ในมุทราแสดงธรรม

หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ปราบเหล่าเดียรถีย์แล้ว เสด็จสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาเช่นเดียวกับพระอดีตพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติ

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตร ปีฉลู



ปางที่ ๓๖ ปางเปิดโลก
ปางเปิดโลก มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๒ ลักษณะ

ลักษณะที่ ๑  พระอิริยาบถประทับยืน พระกรทั้งสองทอดยาวกางออกไปข้างพระวรกาย นิ้วพระหัตถ์กางเล็กน้อย แสดงมุทราทรงเปิด
ลักษณะที่ ๒ พระอิริยาบถประทับยืน พระกรทั้งสองทอดยาวข้างพระวรกาย หงายฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองออกข้างหน้าแสดงพระอิริยาบถอันหมายถึงเปิดโลก

เมื่อพระพุทธองค์จะเสด็จลงจากดาวดึงส์ หลังจากเสด็จโปรดพระพุทธมารดาแล้ว ทรงแสดงปาฏิหาริย์เปิดโลก ทำให้ชาวโลกมนุษย์ สวรรค์ และนรก ต่างเห็นกันโดยตลอด




ปางที่ ๓๗  ปางลีลา
พระอิริยาบถก้าวพระบาทดำเนิน ยกส้นพระบาทขวา พระกรขวาอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้า

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น พระอินทร์เนรมิตบันไดสามบันไดเพื่อทรงดำเนิน ได้แก่ บันไดทองข้างซ้ายสำหรับพระอินทร์ บันไดแก้วซึ่งอยู่ตรงกลางสำหรับพุทธดำเนิน และบันไดทองข้างขวาสำหรับพระพรหม

นอกจากหมายถึงเหตุการณ์เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์แล้ว พระพุทธรูปปางลีลา อาจเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติตอนอื่น ๆ เช่น พระพุทธองค์เสด็จจาริกสั่งสอนเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางลีลาเป็นพระพุทธรูปประจำเดือน ๑๑




ปางที่ ๓๘ ปางเสด็จจากดาวดึงส์
พระอิริยาบถประทับยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นเสมอพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์ทั้งสองเป็นมุทราแสดงธรรม

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ทรงจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นมุทราแสดงธรรม

พระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์เป็นพระพุทธรูปประจำเดือน ๑๑



ปางที่ ๓๙ ปางห้ามพระแก่นจันทร์
พระอิริยาบถประทับยืน พระกรขวาทอดยาวข้างพระวรกาย พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์แสดงมุทราห้าม

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จโปรดพระพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา ๓ เดือนนั้น พระเจ้ากรุงสาวัตถีและชาวเมืองต่างรำลึกถึงพระพุทธองค์ จึงโปรดให้ช่างสลักรูปพระพุทธองค์ด้วยไม้แก่นจันทน์ประดิษฐานบนพระแท่นที่พระพุทธองค์ทรงเคยประทับ  เพื่อทรงสักการะบูชา  ครั้นเมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับลงมาถึงที่ประทับ พระพุทธปฏิมาไม้แก่นจันทน์นั้นจึงลุกขึ้นถวายบังคม  และลีลาลงจากที่ประทับ พระพุทธองค์จึงยกพระหัตถ์ห้าม พระพุทธปฏิมาไม้แก่นจันทน์จึงลีลาขึ้นประทับบนพระแท่นตามเดิม



ปางที่ ๔๐ ปางสมาธิเพชร
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิเพชร หงายฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฝ่าพระหัตถ์วางหงายซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางบนพระหัตถ์ซ้าย

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จออกโปรดสัตว์ในเวลาเช้า เสวยแล้วทรงพักกลางวัน ทรงดำรงพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิเพชร

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำวันพฤหัสบดี  และเป็นพระพุทธรูปของผู้ที่พระเกตุเสวยอายุ  นอกจากนี้ยังเป็นปางหนึ่งที่นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปประธานในพุทธสถาน



ปางที่ ๔๑  ปางประทับยืน
พระอิริยาบถประทับยืน พระกรสองข้างทอดยาวแนบพระวรกาย

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จออกจากคันธกุฎีด้วยกิจนิมนต์เสวย หรือเสด็จออกโปรดสัตว์จะเสด็จออกประทับยืน ณ บริเวณหน้ามุขคันธกุฎีก่อน เป็นพุทธจริยวัตร

พระอิริยาบถนี้ อาจเป็นท่าประทับยืนสมาธิ หรือธยานะ ที่มีกล่าวถึงในคัมภีร์ของศาสนาเชน เรียกว่า กาโยตสรคะ อันหมายถึงท่ายืนสำหรับผู้ที่ปรารถนาจะบำเพ็ญธยานะไว้ คือ ทำร่างกายทั้งสิ้นให้ตั้งตรงและเว้นโทษ ๓๒ ประการ



ปางที่ ๔๒ ปางประดิษฐานรอยพระบาท
ปางประดิษฐานรอยพระบาท มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๒ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑ พระอิริยาบถประทับยืน ทรงกดปลายพระบาท พระหัตถ์ทั้งสองแนบพระวรกาย
ลักษณะที่ ๒ พระอิริยาบถประทับยืน พระบาทซ้ายเหยียบบนหลังพระบาทขวาเป็นพระอิริยาบถกดรอยพระบาท พระหัตถ์ทั้งสองแนบที่หน้าพระเพลา ตั้งพระทัยประดิษฐานรอยพระบาทให้ปรากฏชัด



พระพุทธรูปปางประดิษฐานรอยพระบาท ปรากฏกล่าวถึงเหตุการณ์ในพุทธประวัติต่างกันเป็น ๒ เหตุการณ์ เหตุการณ์หนึ่งกล่าวถึง เมื่อพระพุทธองค์ประทับในป่าภิงสกวัน (ป่าไม้สีเสียด)  แคว้นภัคคะ  พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก ๕๐๐ องค์  ในครั้งนั้น พระยานาค ชื่อ สุมน พร้อมด้วยบริวารนาคถือต้นจำปาที่กั้นเบื้องบนพระพุทธองค์เป็นที่บังแดด เมื่อพระพุทธองค์เสด็จจากวิหารเชตวันไปสู่ประเทศกัลยาณี ในลังกาทวีป  ทรงอนุเคราะห์พระยานาค ชื่อ สุมน พร้อมด้วยบริวารนาคถือต้นจำปาที่กั้นเบื้องบนพระพุทธองค์เป็นที่บังแดด เมื่อพระพุทธองค์เสด็จจากวิหารเชตวันไปสู่ประเทศกัลยาณีในลังกาทวีป ทรงอนุเคราะห์พระยานาค ชื่อมณิอักขิกะ ซึ่งได้นิมนต์พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกฉันอาหารทิพย์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงอนุโมทนาการถวายอาหารนั้นแล้ว ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนยอดเขาสุมนกูฏ ในลังกาทวีป

ส่วนอีกเหตุการณ์หนึ่ง กล่าวถึงพระพุทธองค์ขณะประทับ ณ โฆสิตาราม นครโกสัมพี พราหมณ์สองสามีภรรยา ชื่อมาคันทิยะ มีบุตรสาวรูปงามคนหนึ่ง พราหมณ์มาคันทิยะได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ประสงค์จะยกบุตรสาวถวาย ขอให้ทรงรอ พระพุทธองค์มิได้ตรัสอย่างไร  พราหมณ์จึงแจ้งให้ภรรยาทราบและบังคับให้บุตรสาวแต่งกายมาเฝ้า  เมื่อพราหมณ์ไปแล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาและทรงอธิษฐานให้รอยพระบาทประดิษฐานอยู่เพื่อให้พราหมณ์นั้นได้เห็น ก่อนเสด็จไปประทับในที่ไกลจากนั้น เมื่อสองสามีภรรยากลับมายังบริเวณที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดจนทั้งสองบรรลุธรรม

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำเดือน ๑๐



ปางที่ ๔๓  ปางคันธารราฐ
ปางคันธารราฐ  มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๒ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑   พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาแสดงมุทรากวัก พระหัตถ์ซ้ายหงาย แสดงมุทรารับน้ำ พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบในพระราชพิธีพืชมงคล
ลักษณะที่ ๒ พระอิริยาบถประทับยืน ทรงผ้าอุทกสาฎก* พระหัตถ์ขวายกขึ้นแสดงมุทรากวัก พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอบั้นพระองค์ในพระอิริยาบถรองรับน้ำฝน พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพุทธลักษณะที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อเนื่องถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยเลียนแบบพุทธศิลปะแบบตะวันตก มีลักษณะสมจริง เรียกอีกอย่างว่าพระพุทธรูปปางขอฝน

เมื่อพระพุทธองค์ประทับ ณ เชตวัน กรุงสาวัตถีนั้น เกิดฝนแล้ง ประชาชนได้รับความลำบาก แม้สระโบกขรณีที่ใช้สำหรับพุทธบริโภคก็เหือดแห้ง พระพุทธองค์จึงประทับยืนที่ขอบสระ ยกพระหัตถ์ขวากวักเรียกฝน พระหัตถ์ซ้ายหงายเพื่อรองน้ำฝน ด้วยพุทธานุภาพฝนจึงตกลงมาบรรเทาความเดือดร้อนได้

พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปประจำเดือน ๕ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเกิดคติความเชื่อว่า พระพุทธรูปนี้เป็นพระพุทธรูปประจำวันอังคาร


* ผ้าอุทกสาฎก หมายถึง ผ้าอาบน้ำ



ปางที่ ๔๔ ปางขอฝน
พระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ขวายกขึ้นแสดงมุทรากวัก พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอบั้นพระองค์ในพระอิริยาบถรองรับน้ำฝน

พระพุทธรูปปางนี้ สร้างขึ้นตามเหตุการณ์ในพุทธประวัติเช่นเดียวกับพระพุทธรูปปางคันธารราฐที่กล่าวมาแล้ว โดยเป็นพระพุทธรูปประจำเดือน ๕ และพระพุทธรูปประจำวันอังคาร



ปางที่ ๔๕ ปางสรงน้ำฝน
พระอิริยาบถประทับยืน ทรงผ้าวัสสิกสาฎกพาดเหนือพระอังสาซ้าย พระกรซ้ายทอดยาวข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นลูบพระอุระแสดงมุทราสรงน้ำ พระพุทธรูปปางนี้สร้างขึ้นเพื่อประกอบในพระราชพิธีพืชมงคล

เมื่อพระพุทธองค์ประทับ ณ เชตวัน กรุงสาวัตถี เกิดฝนแล้ง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจึงปรารถนาจะให้ฝนตก ได้ทูลเชิญเสด็จพระพุทธองค์ออกสู่ที่แจ้ง เพื่อฝนอาจตกได้ด้วยพุทธานุภาพ  พระพุทธองค์จึงทรงอนุวัตรตามความประสงค์ ทรงวัสสิกสาฎก*  แล้วเสด็จออกไปประทับกลางแจ้ง  ด้วยพุทธานุภาพฝนจึงตกลงมาเป็นอันมาก และพระพุทธองค์ได้สรงน้ำฝน ณ เชตวันนั้น



ปางที่ ๔๖ ปางชี้อสุภ
พระอิริยาบถประทับยืน พระกรซ้ายทอดยาวข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอบั้นพระองค์ ชี้พระดัชนีแสดงมุทราชี้อสุภ

ณ กรุงราชคฤห์มีหญิงนครโสเภณีรูปงาม ชื่อสิริมา เป็นน้องสาวของหมอชีวกโกมารภัจจ์  นางได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์และได้สดับธรรมะ ทำให้นางเลิกยังชีพด้วยการหญิงนครโสเภณี ฝักใฝ่ในบุญกุศล ครั้นต่อมาเมื่อนางป่วยและสิ้นชีพ พระพุทธองค์โปรดให้ปล่อยศพนั้นไว้ ๓ วันก่อนเผา เพื่อให้หมู่ชนตระหนักถึงความไม่ยั่งยืนแห่งสังขารของสรรพสัตว์ทั้งมวล



ปางที่ ๔๗  ปางชี้มาร
พระอิริยาบถประทับยืน พระกรซ้ายทอดยาวข้างพระวรกาย พระกรขวายกขึ้น ชี้พระดัชนีขึ้นเบื้องบนแสดงมุทราชี้มาร 

เมื่อพระอรหันต์ ชื่อพระโคธิกะ ปรินิพพานลง พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จไปเยี่ยม ขณะนั้นมารคิดว่าวิญญาณของพระโคธิกะเพิ่งออกจากร่าง จึงเหาะขึ้นไปแสวงหาวิญญาณตามก้อนเมฆ  พระพุทธองค์จึงยกพระหัตถ์ชี้ขึ้นไปพร้อมกับตรัสแก่เหล่าพระสงฆ์ว่า มารใจลามกกำลังแสวงหาวิญญาณพระโคธิกะ และทรงอธิบายต่อไปว่า หาได้มีวิญญาณของพระโคธิกะอยู่ในนั้นไม่ เพราะพระโคธิกะได้ปรินิพพานแล้ว

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำเดือนยี่



ปางที่ ๔๘  ปางปฐมบัญญัติ
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์เข้าปลายพระหัตถ์ทั้งสองข้างเกือบจรดกัน  เป็นพระอิริยาบถบัญญัติพระวินัยเพื่อดำรงพระพุทธศาสนาให้ยืนนาน

ในพรรษาที่ ๑๒ หลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ได้เสด็จมาจำพรรษาอยู่ใต้ปุจิมัณฑพฤกษ์ (ต้นสะเดา)  อันเป็นรุกขพิมานของนเฬรุยักษ์ ใกล้นครเวรัญชา ซึ่งเวรัญชพราหมณ์กราบทูลอาราธนาไว้ ณ สถานที่นั้น พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทเป็นครั้งแรก

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตร ปีวอก



ปางที่ ๔๙ ปางขับพระวักกลิ
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ หันฝ่าพระหัตถ์เข้าใน  แสดงมุทราโบกพระหัตถ์ไล่

พระวักกลิ เดิมเป็นพราหมณ์อาศัยอยู่ในเมืองสาวัตถี มีจิตเลื่อมใสในพระรูปโฉมของพระพุทธองค์ จึงมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อขอบรรพชาและเฝ้าติดตามดูพระพุทธองค์อย่างไม่มีเวลาหยุดหย่อน พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า ไม่เป็นวิธีอันถูกต้อง จึงโปรดฯ ให้พระวักกลิมาเฝ้า ทรงแสดงธรรมชี้ให้เห็นว่าร่างกายเป็นของไม่ยั่งยืน ไม่ควรลุ่มหลง ธรรมต่างหากที่ยั่งยืน ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นพระองค์ หลังจากนั้น ทรงตรัสให้พระวักกลิออกไปจากที่เฝ้า

อย่างไรก็ตาม พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดพระวักกลิจนบรรลุพระอรหันต์ในเวลาต่อมา



ปางที่ ๕๐  ปางสนเข็ม
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายแสดงมุทราทรงจับเข็ม  พระหัตถ์ขวาแสดงมุทราทรงจับเส้นด้ายสนเข็ม

ครั้งที่พระพุทธองค์ประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์  ในแคว้นมคธ  พระพุทธองค์ทรงช่วยพระอนุรุธ  พระเถระองค์หนึ่งเย็บจีวร  การเย็บจีวรครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ เนื่องจากพระอนุรุธได้ผ้าบังสุกุลมา การที่พระพุทธองค์และเหล่าภิกษุร่วมกันเย็บจีวรจากผ้าบังสุกุลในครั้งนั้น เป็นเหตุอันเกี่ยวเนื่องมาเป็นการทอดผ้าป่าในปัจจุบัน

นอกจากนี้ พระพุทธรูปปางสนเข็ม อาจแสดงถึงพุทธจริยวัตรที่พระพุทธองค์ทรงเตรียมเครื่องบริขาร อันประกอบด้วย จีวร สังฆาฏิ สบง ฯลฯ

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตร ปีมะเมีย


คัดจาก : หนังสือพระพุทธรูปปางต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแพร่โดยกรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม  พิมพ์ครั้งที่ ๓ พุทธศักราช ๒๕๕๒
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ตุลาคม 2558 19:42:47 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2555 17:48:57 »


ปางที่ ๕๑  ปางประทานพร
ปางประทานพร  มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๒ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑ พระอิริยาบถประทับยืน ยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นหงายฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า  หรือทรงถือชายจีวร  พระหัตถ์ขวาทอดยาวหงายฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้าแสดงมุทราประทานพร
ลักษณะที่ ๒ พระอิริยาบถประทับนั่ง พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา  พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุแสดงมุทราประทานพร

เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ประทับ ณ เชตวัน ทรงประทานพรให้หมอชีวกโกมารภัจจ์และพระอานนท์เข้าเฝ้าเพื่อทูลถามปัญหาได้ทุกเวลา และให้นางวิสาขาถวายเครื่องอุปโภคบริโภค แก่พระสงฆ์ได้

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตร ปีมะแม




ปางที่ ๕๒  ปางโปรดช้างนาฬาคีรี
พระอิริยาบถประทับยืน พระกรซ้ายทอดยาวข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับบั้นพระองค์  ฝ่าพระหัตถ์คว่ำ  ยื่นออกมาข้างหน้า แสดงมุทราลูบตระพองช้าง

พระเทวทัตประสงค์ร้ายต่อพระพุทธองค์  ครั้งหนึ่งได้ปล่อยช้างชื่อ นาฬาคีรี  เพื่อทำร้ายพระพุทธองค์ แต่ทรงปราบช้างนั้นได้ด้วยพุทธบารมี




ปางที่ ๕๓  ปางทรมานพระยามหาชมพู (ปางโปรดพระยาชมพูบดี)
ปางทรมานพระยามหาชมพู  หรือปางโปรดพระยาชมพูบดี  มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๓ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑ พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาคว่ำวางบนพระชานุ แสดงภูมิสปรศมุทรา (ปางมารวิชัย ทรงเครื่องราชาภรณ์
ลักษณะที่ ๒ พระอิริยาบถประทับยืน  พระกรทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ  ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าแสดงมุทราห้าม  ทรงเครื่องราชาภรณ์
ลักษณะที่ ๓ พระอิริยาบถประทับยืน  พระกรซ้ายทอดยาวข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าแสดงมุทราห้าม  ทรงเครื่องราชาภรณ์

เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ประทับ ณ เวฬุวนาราม ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างอุทิศถวาย พระยามหาชมพู (พระยาชมพูบดี)  กษัตริย์ทรงบุญญาธิการ และฤทธานุภาพแห่งปัญจาลนครทรงคุกคามรุกรานดินแดนในปกครองของพระเจ้าพิมพิสาร  พระองค์จึงทรงยึดพระพุทธองค์เป็นที่พึ่ง พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพุทธบารมีว่า พระยามหาชมพูจะได้สำเร็จในพุทธศาสนา  จึงทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระราชาธิราช  ทรงเครื่องราชาภรณ์   แล้วตรัสสั่งให้พระอินทร์แปลงเป็นทูตไปเชิญพระยามหาชมพูมาเฝ้า  พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดจนกระทั่งพระยามหาชมพูละมิจฉาทิฏฐิขอบรรพชา

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตรปีกุน




ปางที่ ๕๔  ปางป่าเลไลยก์
พระอิริยาบถประทับนั่งบนโขดหิน  ห้อยพระบาททั้งสองบนฐานบัว  พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุ  แสดงมุทราทรงรับของถวาย พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุ  มีช้างปาลิไลยก์หมอบที่พื้นข้างขวา  ชูงวงยึดคนโทน้ำ และลิงถือรวงผึ้งอยู่ข้างซ้าย

ในพรรษาที่ ๑๐ เมื่อพระพุทธองค์ประทับ ณ โฆสิตาราม เมืองโกสัมพี  ในครั้งนั้นพระสงฆ์สาวกไม่สามัคคีปรองดองกัน ประพฤตินอกพระโอวาท ด้วยอำนาจมานะทิฏฐิ พระพุทธองค์จึงเสด็จจาริกแต่พระองค์เดียวไปยังป่าปาลิไลยกะ  ทรงอาศัยพระยาช้างปาลิไลยก์ ต่อมาพระยาวานรออกเที่ยวตามยอดไม้โดยลำพัง ได้พบพระยาช้างปาลิไลยก์ทำวัตรปฏิบัติถวายพระพุทธองค์ด้วยความเคารพ จึงบังเกิดกุศลจิต ครั้นพบรวงผึ้งจึงนำมาถวายพระพุทธองค์

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำวันพุธ  และเป็นพระบูชาของผู้ที่พระราหูเสวยอายุ




ปางที่ ๕๕  ปางห้ามญาติ
พระอิริยาบถประทับยืน  พระกรซ้ายทอดยาวข้างพระวรกาย  พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าแสดงมุทราห้าม

ในพรรษาที่ ๑๕  พระพุทธองค์เสด็จไปประทับ ณ นิโครธาราม  ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณีใกล้กรุงกบิลพัสดุ์  ครั้งนั้นกษัตริย์วงศ์ศากยะพระญาติฝ่ายพระบิดาในกรุงกบิลพัสดุ์  กับกษัตริย์วงศ์โกลิยะพระญาติฝ่ายพระมารดาในนครเทวทหะมีความขัดแย้งบาดหมางกัน เหตุด้วยฝนแล้ง  แย่งน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภคในแต่ละเมือง  พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยญาณวิเศษ จึงเสด็จไปเพื่อระงับเหตุบาดหมางดังกล่าว  ทรงมีพุทธวาจาตรัสถามและแสดงธรรมแก่พระยูรญาติทั้งสองฝ่าย  เมื่อพระประยูรญาติสดับพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงจึงเลิกทิฏฐิมานะยุติความขัดแย้งกัน




ปางที่ ๕๖  ปางโปรดอสุรินทราหู
พระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา (สีหไสยา)  พระกรซ้ายทอดยาวแนบพระวรกาย  พระหัตถ์ขวาประคองพระเศียรตั้งขึ้น

ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธองค์ประทับ ณ เวฬุวันมหาวิหารใกล้กรุงราชคฤห์ บังเกิดจันทรุปราคาคราวหนึ่ง และสุริยุปราคาคราวหนึ่ง ด้วยฤทธิ์ของอสุรินทราหู อุปราชของท้าวเวปจิตติสุรบดินทร์ ผู้ครงอสุรพิภพ ซึ่งคุกคามจับพระจันทร์ (จันทรุปราคา) และพระอาทิตย์ (สุริยุปราคา) ซึ่งพระพุทธองค์ต้องตรัสพระคาถาโปรดอสุรินทราหู อสุรินทราหูจึงยอมปล่อยพระจันทร์และพระอาทิตย์

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำวันอังคาร




ปางที่ ๕๗  ปางโปรดสัตว์ (ปางโปรดอาฬวกยักษ์)
ปางโปรดสัตว์ (ปางโปรดอาฬวกยักษ์)  มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๒ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑ พระอิริยาบถประทับยืน ยกพระหัตถ์ขวาจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นรูปวงกลม แสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม)  พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออกมาข้างหน้า บางครั้งมีจีวรในอุ้งพระหัตถ์
ลักษณะที่ ๒ พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระชานุ พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์แสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม)

อาฬวกยักษ์ได้รับพรจากพระอิศวรให้จับคนและสัตว์ที่พลัดเข้ามาใต้ร่มไทรอันเป็นถิ่นพำนักได้  ครั้งหนึ่งอาฬวกยักษ์จับพระเจ้าอาฬวีซึ่งทรงล่ากวางและพลัดหลงเข้าไปในถิ่นของอาฬวกยักษ์  พระเจ้าอาฬวีทรงขอชีวิตโดยแลกกับการส่งคนมาให้อาฬวกยักษ์กินวันละคน  อาฬวกยักษ์จึงยอมปล่อยพระองค์ไป  พระเจ้าอาฬวีทรงส่งคนให้อาฬวกยักษ์กินจนกระทั่งหมดเมือง  ถึงคราวที่ต้องส่งพระราชโอรสไปเป็นอาหารของอาฬวกยักษ์  พระพุทธองค์ทรงทราบความจึงเสด็จโปรดอาฬวกยักษ์  ทรงแสดงธรรมในเรื่องศรัทธา สัจจะ ความเพียร ปัญญา ฯลฯ  จนกระทั่งอาฬวกยักษ์ยอมจำนน  บรรลุถึงพระธรรมเกิดจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเรียกว่าปางโปรดสัตว์ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตร ปีชวด




ปางที่ ๕๘  ปางโปรดองคุลีมาลโจร
พระอิริยาบถประทับยืน  พระกรซ้ายทอดยาวข้างพระวรกาย  พระหัตถ์ขายกขึ้นเสมอพระอุระ  ฝ่าพระหัตถ์หันเข้า

อหิงสกะกุมาร ตามฆ่าผู้คนในแคว้นโกศล และตัดเอานิ้วมาร้อยเป็นมาลัยคล้องคอ จึงได้รับการขนานนามว่าองคุลีมาล ในครั้งนั้น พระพุทธองค์ประทับ ณ เชตวัน เสด็จออกบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี   องคุลีมาลไล่ตามพระพุทธองค์ด้วยประสงค์พระชนม์ชีพ  แต่ด้วยพุทธบารมีทำให้องคุลีมาลไม่สามารถเข้าทำร้ายพระพุทธองค์ได้  จึงบอกให้พระพุทธองค์หยุดรอ  พระพุทธองค์มีพระดำรัสตอบว่า “เราหยุดแล้ว ท่านจงหยุดสิ องคุลีมาล”  องคุลีมาลทูลถามว่า “ทรงดำเนินไป เหตุไฉนจึงตรัสว่าหยุดแล้ว”  ตรัสตอบว่า “เราหยุดฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จึงได้ชื่อว่าหยุด ท่านได้ชื่อว่ายังไม่หยุด” องคุลีมาลได้คิดบังเกิดจิตเลื่อมใส กราบทูลขอบรรพชา พระพุทธองค์จึงประทานเอหิภิกขุอุปสมบทให้

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตรปีมะโรง




ปางที่ ๔๙  ปางประทานอภัย
ปางประทานอภัย  มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๓ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑  พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นเสมอพระอุระ  ฝ่าพระหัตถ์หันออก
ลักษณะที่ ๒  พระอิริยาบถประทับยืน  ยกพระหัตถ์ทั้งสอง หันฝ่าพระหัตถ์ไปข้างหน้าเสมอพระอุระ
ลักษณะที่ ๓  พระอิริยาบถประทับยืน  ยกพระหัตถ์ข้างซ้ายหรือข้างขวา  หันฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า พระกรอีกข้างหนึ่งทอดยาวแนบพระวรกาย

พระเจ้าอชาตศัตรู มีพระนิสัยพาล ด้วยทรงได้รับการเลี้ยงดูอย่างตามพระทัยนับแต่เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงคบคิดกับพระอาจารย์ คือ พระเทวทัต กระทำปิตุฆาต ครั้นต่อมาทรงสำนึกผิด เมื่อทรงเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ตามคำกราบทูลแนะนำของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ทูลเล่าเรื่องความทุกข์ที่อยู่ในพระทัยและขอประทานอภัยโทษ  พระพุทธองค์ทรงรับทราบความผิดดังกล่าว และตรัสว่าการที่บุคคลเห็นผิด ยอมรับผิด แล้วสารภาพตามความเป็นจริง เป็นความชอบในพระธรรมวินัยของพระอริยเจ้า




ปางที่ ๖๐  ปางโปรดพกาพรหม
พระอิริยาบถประทับยืนบนเศียรพกาพรหม  ซึ่งประทับอยู่บนหลังพระโค
พระพุทธรูปปางโปรดพกาพรหม ปรากฏกล่าวถึงเหตุการณ์ในพุทธประวัติต่างกัน ๒ เหตุการณ์ เหตุการณ์หนึ่ง กล่าวถึงเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ประทับ ณ ป่าสุภวัน ทรงทราบว่าพกาพรหมมีดำริในทางที่ผิด ไม่เชื่อว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจแห่งกรรม  สมควรจักได้เรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอน  พระพุทธองค์จึงสำแดงปาฏิหาริย์เสด็จขึ้นไปยังที่ประทับของพกาพรหม ณ พรหมโลก  ตรัสสอนพกาพรหมถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่ง  แต่พกาพรหมหาได้เชื่อในพระพุทธองค์  ยังคงเชื่อในบุญญาธิการแห่งตน กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ซ่อนกาย  พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพุทธญาณ  จึงทรงสำแดงปาฏิหาริย์อันตรธานพระกายเสด็จขึ้นดำเนินจงกรมบนเศียรของพกาพรหม  โดยที่พกาพรหมไม่เห็นพระพุทธองค์  ในที่สุด พกาพรหมจึงละทิฏฐิและยอมจำนน  พระพุทธองค์จึงเทศนาสั่งสอนพกาพรหมและได้บรรลุพระโสดาปัตติผลในเวลาต่อมา

ส่วนอีกเหตุการณ์หนึ่ง กล่าวถึงพระมหิศวเทพ (พระอิศวร) ซึ่งมีโคเป็นพาหนะ ท้าประลองฤทธิ์กับพระพุทธองค์ด้วยการสำแดงอิทธิฤทธิ์ซ่อนกาย แต่พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพุทธญาณว่าพระมหิศรเทพอยู่ที่ใด  ครั้นพระพุทธองค์ทรงสำแดงปาฏิหาริย์ซ่อนพระกาย พระมหิศรเทพตามหาพระพุทธองค์ทั่วทุกจักรวาลไม่พบ จึงยอมจำนนแก่พระพุทธองค์ด้วยการกระทำสักการะแก่พระพุทธองค์  ต่อมาเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพาน  พระมหิศรเทพได้เนรมิตพระพุทธปฏิมายกขึ้นเทินเหนือเศียรอัญเชิญไปประดิษฐานในพระมหาวิหาร
พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตร ปีขาล




ปางที่ ๖๑  ปางปลงกรรมฐาน
ปางปลงกรรมฐาน (กัมมัฏฐาน)  หรือปางชักผ้าบังสุกุล 
พระอิริยาบถประทับยืน  พระหัตถ์ซ้ายทรงธารพระกร  ยื่นพระหัตถ์ขวาออกไปข้างหน้าในมุทราชักผ้าบังสุกุล

เมื่อพระพุทธองค์ประทับใกล้หมู่บ้านอุรุเวลากัสสปในกรุงราชคฤห์  เหล่าชฎิลได้ประลองพระบารมีกับพระพุทธองค์  ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จดำเนินไปชักผ้าบังสุกุลซึ่งห่อร่างนางปุณณทาสี ขณะนั้นศพอืดพอง มีบุพโพ (น้ำเหลือง น้ำหนอง) ไหลซึม หนอนไต่กินร่าง หลังจากทรงชักผ้าบังสุกุลแล้ว ทรงสลัดผ้าให้หนอนทั้งหลายหลุดจากผ้า จึงทรงถือผ้านั้นไปยังที่ประทับ ทรงชำระล้างผ้า ตากจนแห้ง และทรงพับผ้าบังสุกุลนั้น ซึ่งพระอินทร์ได้จัดหาอุปกรณ์ถวายทุกขั้นตอน เหล่าชฎิลได้ทราบเรื่องพระอินทร์มาถวายปรนนิบัติพระพุทธองค์  จึงยำเกรงในพุทธเดชานุภาพ

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำเดือนอ้าย




ปางที่ ๖๒ ปางพิจารณาชราธรรม
พระอิริยาบถประทับขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายและขวาวางคว่ำที่พระชานุทั้งสองข้าง

ในพรรษาที่ ๔๕  พระพุทธองค์ประทับ ณ บ้านเวฬุวคาม ทรงประชวรหนัก ครั้นหายประชวรทรงแสดงธรรมแก่พระอานนท์ว่า “บัดนี้เราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยเสียแล้ว ชนมายุกาลแห่งเราถึง ๘๐ ปีเข้านี่แล้ว กายแห่งตถาคตย่อมเป็นประหนึ่งเกวียนชำรุดที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่  มิใช่สัมภาระเกวียนฉะนั้น”




ปางที่ ๖๓  ปางสำแดงโอฬาริกนิมิต
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายยกป้องพระอุระ พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ

พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องอิทธิบาท ๔ แก่พระอานนท์และทรงตรัสว่า ผู้ใดเจริญอิทธิบาท ๔ ผู้นั้นจะมีชีวิตยืนยาวไปชั่วกัลป์หรือกว่านั้น พระพุทธองค์ตรัสความเดียวกันถึง ๓ ครั้ง เป็นโอฬาริกนิมิต แต่พระอานนท์หาได้เฉลียวใจที่จะทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เจริญพระชนม์ยืนนานต่อไป ครั้นได้สติจึงอาราธนาตามพระประสงค์ พระพุทธองค์ตรัสให้พระอานนท์ออกไปนั่งใต้ร่มไม้ ไม่ไกลจากพระพุทธองค์นัก




ปางที่ ๖๔  ปางห้ามมาร
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกเสมอพระอุระ หันฝ่าพระหัตถ์ออกแสดงมุทราห้าม

พระยาวัสวดีมาร  ได้มากราบทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์เสด็จละสังขารนับตั้งแต่พระพุทธองค์แรกตรัสรู้ แต่ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ไม่ทรงรับอาราธนา เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาประทับ ณ ปาวาลเจดีย์  หลังจากที่ทรงสำแดงโอราฬิกนิมิตแล้ว  พระอานนท์ได้หลีกไปจากที่เฝ้า พระยามารจึงกราบทูลอาราธนาอีกว่า ปริสสมบัติและพรหมจรรย์ก็สมบูรณ์ดังพุทธประสงค์แล้วทุกประการ  ขอให้ทรงปรินิพพาน  พระพุทธองค์ทรงรับอาราธนาโดยตรัสว่า “ดูกรท่าน  ท่านอย่าได้ทุกข์โทมนัสเลย  อีก ๓ เดือน พระพุทธองค์ก็จะปรินิพพาน”




ปางที่ ๖๕  ปางปลงพระชนม์ (ปางปลงอายุสังขาร)
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ  พระหัตถ์ขวายกขึ้นทาบพระอุระ

เมื่อพระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ว่า ทรงเจริญพระชนม์ ๘๐ พรรษาแล้ว แต่พระอานนท์ก็มิได้ทูลอาราธนาให้เจริญพระชนม์ต่อไป ครั้นพระยาวัสวดีมารมากราบทูลขอให้เสด็จปรินิพพาน จึงทรงรับว่าจะเสด็จปรินิพพานภายใน ๓ เดือน จากนั้นทรงตั้งสติสัมปชัญญะปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์




ปางที่ ๖๖ ปางนาคาวโลก
ปางนาคาวโลก  มีการทำเป็นประติมากรรมรูปเคารพ ๒ ลักษณะ
ลักษณะที่ ๑  พระอิริยาบถประทับยืน พระกรซ้ายทอดยาวข้างพระวรกาย  พระหัตถ์ขวาวางทาบพระโสณี ผินพระพักตร์ไปทางขวา  แสดงพระอิริยาบถเหลียวกลับไปทอดพระเนตรเมืองไพศาลี (เวสาลี) เป็นครั้งสุดท้าย อันเป็นพระอิริยาบถที่เสมือนการเอี้ยวตัวกลับไปมองของพระยาช้างที่เรียกว่า “นาคาวโลกนาการ”
ลักษณะที่ ๒  พระอิริยาบถประทับยืน  พระกรซ้ายทอดยาวแนบพระวรกาย  พระหัตถ์ขวายกขึ้นตั้งเสมอพระอุระ  ผินพระพักตร์ทอดพระเนตรเบื้องพระปฤษฎางค์ (ด้านหลัง)

เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแห่งพระองค์แก่พระอานนท์แล้ว  พระพุทธองค์พร้อมพระสงฆ์สาวก ๕๐๐ องค์ เสด็จไปยังเมืองไพศาลี (เวสาลี)  ประทับ ณ กุฎาคารศาลา ป่ามหาวัน  แสดงพระธรรมเทศนาโปรดแก่กษัตริย์ลิจฉวีทั้งปวง  จากนั้นจึงทรงรับนิมนต์เสด็จไปรับภัตตาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น  หลังจากทรงรับอาหารบิณฑบาตและทรงทำภัตตกิจแล้ว จึงเสด็จออกจากเมืองไพศาลี  ทรงประทับยืนนอกประตูเมือง  เยื้องพระวรกายผินพระพักตร์ทอดพระเนตรเมือง ตรัสว่า “ตถาคตจะเล็งแลเมืองเวสาลีเป็นปัจฉิมทัศนาการในคราวนี้เป็นที่สุด จะมิได้กลับมาเห็นอีกต่อไป” สถานที่แห่งนั้นจึงมีชื่อปรากฏว่า “นาคาวโลกเจดีย์”

พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปประจำเดือน ๔




ปางที่ ๖๗  ปางรับอุทกัง
พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ  พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทรงถือบาตรวางบนพระชานุ แสดงพระอิริยาบถทรงรับน้ำ

ภายหลังจากที่พระพุทธองค์ทรงทำภัตตกิจ ณ บ้านนายจุนท์ อันเป็นปัจฉิมบิณฑบาตแล้ว  พระพุทธองค์ทรงประชวรหนัก  ขณะที่ทรงพุทธดำเนินไปนครกุสินารา  ในระหว่างทาง ทรงพักใต้ร่มไม้  รับสั่งให้พระอานนท์หาน้ำมาถวาย พระอานนท์กราบทูลว่า ธารน้ำแห่งนี้ตื้นเขิน  และบัดนี้เกวียน ๕๐๐ เล่มเพิ่งผ่านไป  น้ำขึ้นไม่สมควรบริโภค  ของจงเสด็จพุทธดำเนินไปยังแม่น้ำกุกกุฎนที ที่มีน้ำใสกว่า พระพุทธองค์ดำรัสสั่งพระอานนท์ถึง ๓ ครั้ง พระอานนท์จึงนำบาตรไป  ทันใดที่พระอานนท์ก้มลงตักน้ำอันขุ่น  ก็กลายเป็นน้ำใสสะอาด เป็นมหัศจรรย์นัก   จึงนำน้ำมาถวายพระพุทธองค์  เมื่อเสวยน้ำตามพระพุทธประสงค์แล้วจึงประทับ ณ ใต้ต้นไม้นั้น

พระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำปีนักษัตร ปีมะเส็ง




ปางที่ ๖๘  ปางพยากรณ์
พระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา (สีหไสยา) ลืมพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระกรซ้ายทอดยาวแนบพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นทาบบนซีกซ้ายของพระโสณี (สะโพก)

พระพุทธรูปปางพยากรณ์ มีกล่าวถึงในพุทธประวัติต่างกันเป็น ๒ เหตุการณ์ ได้แก่ เหตุการณ์เมื่อพระพุทธองค์ตรัสพยากรณ์แก่พระอานนท์ว่า จะได้เป็นพระอรหันต์ก่อนวันพระสงฆ์ทำปฐมสังคายนา  ส่วนอีกเหตุการณ์หนึ่ง กล่าวถึงว่าการที่พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะเสด็จจากเมืองปาวาไปทรงปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา ด้วยทรงพยากรณ์ว่าที่เมืองนั้น สุภัททปริพาชก  จะเข้าเฝ้าและทูลถามปัญหา  และเมื่อพระพุทธองค์วิสัชนาจบลง สุภัททปริพาชกจะขอบรรพชาและเรียนพระกรรมฐาน จนกระทั่งบรรลุเป็นพระอรหันต์




ปางที่ ๖๙  ปางโปรดสุภัททะ
พระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา (สีหไสยา) ลืมพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระกรซ้ายทอดยาวแนบพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกตั้งพาดพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์แสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) โปรดสุภัททะ

ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา สุภัททปริพาชก เดินทางมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์  เพื่อสดับพระธรรมเทศนาเรื่องอริยมรรค ๘ เมื่อฟังจบจึงทูลขอบรรพชา พระพุทธองค์โปรดให้พระอานนท์บวชให้  ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ตรัสสอนพระกรรมฐานให้พระสุภัททะภาวนาจนบรรลุพระอรหัตผล




ปางที่ ๗๐ ปางไสยาสน์ (ปางปรินิพพาน)
พระอิริยาบถบรรทมตะแคงขวา (สีหไสยา)  หลับพระเนตร  พระเศียรหนุนพระเขนย  พระกรซ้ายทอดยาวแนบพระวรกาย  พระหัตถ์ขวาหงายวางแนบพื้นข้างพระเขนย  พระบาททั้งสองเหยียดเสมอกัน

เมื่อพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จพุทธดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญญวดี ถึงเมืองกุสินารา ณ บริเวณป่ารังของมัลละกษัตริย์แล้ว มีรับสั่งให้จุนทะเถรปูลาดอาสนะลงระหว่างต้นรังคู่หนึ่ง  บรรทมสีหไสยาหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ  เมื่อย่างสู่ราตรีกาล  สุภัททปริพาชกได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์  ทรงแสดงธรรม  สุภัททปริพาชกมีศรัทธาขอบรรพชาและบรรลุพระอรหัตผลในเวลาต่อมา  หลังจากนั้น  พระพุทธองค์ประทานปัจฉิมโอวาทแก่พระอานนท์และเหล่าพระสงฆ์สาวก  และเสด็จดับขันธปรินิพพานในคืนวันวิสาขบุรณมี เวลาใกล้รุ่ง.



จาก : หนังสือพระพุทธรูปปางต่าง ๆ  จัดพิมพ์เผยแพร่โดยกรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม  พิมพ์ครั้งที่ ๓ พุทธศักราช ๒๕๕๒
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2558 10:37:58 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 ตุลาคม 2556 16:06:59 »

.

เรียนผู้เข้าชมกระทู้นี้
เนื่องจากภาพประกอบหายจากระบบ ผู้โพสท์กำลังค้นหาหนังสือต้นฉบับ
ซึ่งจัดพิมพ์เผยแพร่โดยกรมศิลปากร เพื่อนำภาพมาลงใหม่โดยเร็ว
จึงขออภัยในเหตุขัดข้องครั้งนี้ค่ะ
kimleng ... 5 ตุลาคม 2558


พระพุทธรูปทรงตาลปัตร : พระพุทธรูปปางประทานธรรม และ ปางปฐมเทศนา


ภาพที่ ๑ พระพุทธรูปปางประทานธรรม
ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑
ชนิด โลหะผสมทองแดง ลงรักปิดทอง
หน้าตักกว้าง ๑๙.๗ เซนติเมตร ฐานสูง ๑๓.๕ เซนติเมตร  สูงรวมฐาน ๓๙ เซนติเมตร
ประวัติ  ได้ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ย้ายมาจากอยุธยาพิพิธภัณฑสถาน เมื่อ ๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๗๓
ปัจจุบันเก็บรักษา คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เก็บรักษาพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบองค์หนึ่ง พุทธลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่ง ทรงมงกุฎยอดเป็นปล้องปลายแหลมไม่มีกรรเจียกจร ทรงกุณฑลและกรองศอ ทรงครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา สังฆาฏิเป็นแถบสี่เหลี่ยมยาวจรดพระนาภี ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ ทรงกำพระหัตถ์ซ้ายและวางที่พระเพลา พระหัตถ์ขวาทรงงอนิ้ว พระหัตถ์ยกอยู่ระดับพระอุระ ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัวคว่ำบัวหงายที่คั่นกลางด้วยเส้นลวดลูกแก้วกลม รองรับด้วยฐานปัทม์ที่มีการเจาะช่องที่ท้องไม้ กึ่งกลางท้องไม้ด้านหน้าประดับรูปจักร องค์พระกับฐานหล่อติดกัน พระพุทธรูปและฐานลงรักปิดทอง  จากพุทธลักษณะสามารถกำหนดอายุได้ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑

เนื่องจาก พระพุทธรูปปางประทานธรรมองค์นี้ชำรุดที่ข้อพระกรขวาและอยู่ในระหว่างดำเนินการ ตาลปัตรโลหะขนาดเล็กที่เคยทรงในพระหัตถ์จึงหลุดออก โดยเป็นตาลปัตรขนาดกว้าง ๖ เซนติเมตร สูงพร้อมด้าม ๘ เซนติเมตร (ภาพที่ ๒) ทั้งนี้ มีหลักฐานภาพถ่ายเก่า (ภาพที่ ๓) เป็นหลักฐานว่าเดิมในพระหัตถ์พระพุทธรูปองค์นี้เคยทรงตาลปัตรอยู่จริง




ภาพ ๒ ชิ้นส่วนตาลปัตร  ของพระพุทธรูปปางประทานธรรม
ปัจจุบันเก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ภาพ ๓ ภาพถ่ายเก่าของ พระพุทธรูปปางประทานธรรม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

พระพุทธรูปทรงตาลปัตร
ปัจจุบันในศิลปะรัตนโกสินทร์ ตาลปัตรที่พระพุทธรูปทรงถือมักเป็นพัดรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ (พัดแฉก) และมีด้ามที่ยาวจนใบตาลปัตรบังพระพักตร์ของพระพุทธรูป อาทิ พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลต่างๆ หรือพระประธานในศาลาการเปรียญ วัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง กรุงเทพฯ  ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางพาดที่พระชานุหรือพระเพลา พระหัตถ์ซ้ายทรงตาลปัตรที่มีด้ามยาว

แต่ในศิลปะสมัยก่อนหน้านั้น ตาลปัตรที่พระพุทธรูปทรงถือจะมีด้ามสั้น ดังปรากฏในศิลปะสมัยลพบุรี สืบเนื่องลงมาในสมัยอยุธยา ศิลปะขอมหลังบายนทั้งในกัมพูชาและในประเทศไทย ต่างปรากฏพระพุทธรูปที่ทรงตาลปัตรด้ามสั้น ทั้งนี้ รูปทรงของตาลปัตรคงจะเปลี่ยนแปลงตามตาลปัตรที่ใช้กันอยู่จริงในเวลานั้นๆ

คติการถือตาลปัตรแสดงธรรมนั้น สันนิษฐานกันว่ารับจากการแผ่พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ของลังกา พระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาลังกาวงศ์จากเกาะลังกา อีกทั้งมีผู้นับถือและมีพระภิกษุสงฆ์อยู่แล้วในขณะที่โจว ต้ากวาน เดินทางเข้ามาในอาณาจักรขอม เมื่อพุทธศักราช ๑๘๓๙  โดยพระพุทธรูปในศิลปะขอมจะทรงตาลปัตรด้วยพระหัตถ์ซ้ายเพียงข้างเดียว พระหัตถ์ขวาวางไว้ที่พระชานุหรือพระเพลา

ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ต้น ๒๐ ดินแดนแถบนี้มีการนับถือพุทธศาสนาลังกาวงศ์อย่างแพร่หลาย จนพบพระพุทธรูปที่ทรงตาลปัตรโดยทรงกำด้ามตาลปัตรที่พระเพลาด้วยพระหัตถ์ข้างหนึ่ง และพระหัตถ์อีกข้างหนึ่งทรงจับขอบพัดที่ด้านบน ทั้งในศิลปะสุโขทัย และศิลปะอยุธยาตอนต้นโดยมีหลักฐานสำคัญที่แผ่นสลักภาพมตกัตตชาดก และกัณฑินชาดกในวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย (ภาพที่ ๕) ซึ่งมีอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และศิลาจารึกหินทรายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุอยู่ในพุทธศักราช ๑๙๒๓  พระพุทธรูปที่ทรงตาลปัตรด้ามสั้นด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้างนี้ปรากฏเรื่อยมาจนถึงอยุธยาตอนปลาย ดังตัวอย่างที่วัดโบสถ์สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ

รูปทรงของตาลปัตรในสมัยอยุธยา พระสงฆ์จะถือตาลปัตรเล่มเล็กและมีด้ามสั้นดังหลักฐานภาพลายเส้นในเอกสารต่างประเทศ หรือในจิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะแก้วสุทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี   ภาพพระเทวทัตก็มีการเหน็บพัดใบตาลขนาดเล็กที่เอวด้านหลัง ในช่วงท้ายของกรุงศรีอยุธยา ตาลปัตรมีขนาดใหญ่ขึ้น และด้ามตาลปัตรก็มีความยาวเพิ่มขึ้นด้วยจนไม่สามารถที่จะใช้พัดได้จริง พระหัตถ์ขวาของพระพุทธรูปที่ทรงตาลปัตรย่อมจะไม่สามารถจับขอบพัดด้านบนได้ จึงยักย้ายกลับมาพาดที่พระชานุขวาตามอย่างพระพุทธรูปทรงตาลปัตรในศิลปะขอม




(ซ้าย) รายละเอียดของฉากสำริด ศิลปะขอมสมัยหลังบายน สูง ๔๑.๕ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  พระพุทธรูปทรงตาลปัตรด้วยพระหัตถ์ซ้าย
พระหัตถ์ขวาวางไว้ที่พระเพลา
และ (ขวา) ลายเส้นจากแผ่นภาพหินชนวน เรื่อง กัณฑินชาดก วัดศรีชุม  สุโขทัย


http://www.sookjaipic.com/images/6655507600__3629_2.gif
เหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูป, พระพุทธรูปปางต่างๆ และประวัติพระพุทธรูปองค์สำคัญ

(ซ้าย)  ลายเส้นรูปพระสงฆ์สมัยอยุธยา จากบันทึกของนิโกลาส์ แชรแวส
ที่มา นิโกลาส์ แชรแวส, ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม
ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร

(ขวา) ภาพพระเทวทัต ในภาพพุทธประวัติ ตอนทรงทรมานช้างนาฬาคิรี
จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะแก้วสุทธาราม จังหวัดเพชรบุรี

จักร-ธรรมจักร และพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
ปาง หมายถึง เมื่อครั้งนั้น ครั้งนี้  พระพุทธรูปปาง จึงแปลได้ว่า รูปพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งนั้น และใช้เรียกพระพุทธปฏิมาซึ่งสร้างขึ้นตามพุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ สันนิษฐานว่า การเรียกพระพุทธรูปว่า ปางนั้น ปางนี้  เป็นที่นิยมตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๓ ด้วยมีการตื่นตัวในการสร้างพระพุทธรูปปฏิมามากขึ้นกว่า ๓๐ ตอน และในแต่ละตอนก็ใช้คำว่า ปาง เรียกพุทธประวัติในตอนนั้นๆ แต่นานเข้าความหมายก็เลือนไป จึงมีผู้ใช้คำว่าปางกับพระพุทธรูปที่มิได้แสดงพุทธประวัติตอนใดเลย

มีข้อสังเกตว่าพระพุทธรูปทรงตาลปัตร ในศิลปะอยุธยาหลายองค์มีการประดับรูปจักรหรือธรรมจักรที่ฐาน อาทิ พระพิมพ์เนื้อชิน ซึ่งพบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (ภาพที่ ๑๐)  หรือปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติหน้าบันทิศตะวันตกพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย  เล่าเรื่องปฐมเทศนา กำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งที่ด้านหน้าของบัลลังก์ที่ประทับประดับธรรมจักรและมีกวางมอบอยู่ ๒ ข้าง หรือพระพุทธรูปปางประทานชัยมงคล ที่พระระเบียงพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ซึ่งหล่อขยายจากพระพุทธรูปสมัยอยุธยาก็มีการประดับธรรมจักรเช่นกัน

จากตัวอย่างที่ยกมาจะเป็นว่าพระพุทธรูปทรงตาลปัตรด้ามสั้น ซึ่งตามปกติแล้วน่าที่จะหมายถึงพระพุทธรูปในอิริยาบถทรงแสดงธรรม แต่การที่พระพุทธรูปบางองค์ประดับธรรมจักรที่ฐาน จึงทำให้คิดไปได้ว่าผู้สร้างต้องการแสดงว่าคือพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาก็เป็นได้



(ซ้าย) พระชัยหลังช้าง พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
(ขวา) พระพุทธรูปปางประทานชัยมงคล
สูง ๑๗๘ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๑๐๒ เซนติเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร



ภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติปางปฐมเทศนา หน้าบันทิศตะวันตกวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย  ปัจจุบันภาพเล่าเรื่องชำรุด ตาลปัตรหลุดหักไป
แต่สามารถสังเกตเห็นบางส่วนของด้ามตาลปัตรในพระหัตถ์ซ้ายอยู่

ประติมานวิทยาของพระพุทธรูปทรงตาลปัตร ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มของพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลต่างๆ พระพุทธรูปสำหรับอัญเชิญในการเสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำศึกสงคราม  มักมีคำถามว่า เหตุใดพระชัยวัฒน์จึงต้องเป็นพระพุทธรูปทรงตาลปัตร ประเด็นนี้หากเราเชื่อว่าพระพุทธรูปทรงตาลปัตรคือพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาแล้วอาจจะให้เหตุผลได้ว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่าพระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไปหรือดำเนินไป คือการหมุนวงล้อแห่งธรรม เพื่อเผยแผ่พระศาสนา

พุทธกิจสำคัญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์คือ “ยังธรรมจักรให้เป็นไป” และธรรมจักรที่กล่าวถึงในธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้เทียบได้กับ จักรแก้ว หนึ่งในรัตนะ ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ โดยที่ จักรแก้ว มีนัยถึงอำนาจของพระเจ้าจักรพรรดิ

สถานะของพระพุทธเจ้านั้นเทียบเท่ากับพระจักรพรรดิ  เหตุเพราะพระจักรพรรดิเป็นผู้สูงเลิศประเสริฐสุดในโลกมนุษย์ฝ่ายคฤหัสถ์ เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุด เพียบพร้อมด้วยโภคสมบัติทุกประการ ทั้งตามความเชื่อว่าผู้มีลักษณะมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ ถ้าครองเพศฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  แต่ถ้าออกผนวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาเอกในโลก

ตามคติพระจักรพรรดิทรงมีรัตนะ ๗ และฤทธิ์ ๔ ประการ รัตนะประการแรกในรัตนะ ๗ ประการ คือ จักรแก้ว สิ่งแสดงถึงพระราชอำนาจที่เกิดขึ้นโดยธรรมและประกอบด้วยความชอบธรรม  ทำให้พระองค์แผ่ขยายอาณาเขตออกไปได้ทั่วผืนแผ่นดินจดขอบมหาสมุทรทั้งสี่ทิศด้วยธรรมวิธี  จึงไม่แปลกที่พระพุทธรูปที่อัญเชิญไปในการสงครามจะต้องมีความหมายและปางที่เกี่ยวเนื่องกับ ธรรมจักร หรือก็คือ จักรแก้ว ของพระเจ้าจักรพรรดินั่นเอง.



บทความ : ของชิ้นเอกในกรมศิลปากร  นิตยสารกรมศิลปากร  จัดพิมพ์เผยแพร่โดย สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2558 10:56:38 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2556 15:34:44 »

.


พระพุทธไพรีพินาศ ประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ประวัติพระพุทธไพรีพินาศ

พระพุทธไพรีพินาศเป็นพระนามของพระพุทธรูปปางประทานพร ปัจจุบันประดิษฐาน ณ เก๋งบนชั้นสองด้านทิศเหนือของพระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ประวัติการสร้างไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงว่าเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๙๑  มีผู้นำมาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ครั้งทรงผนวชและประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธรูปองค์นี้แสดงอภินิหารให้ปรากฏ อริราชศัตรูที่คิดปองร้ายพระองค์ต่างมีอันเป็นไปพ่ายแพ้ภัยตน จึงโปรดให้ถวายพระนาม พระไพรีพินาศ

พระพุทธไพรีพินาศสร้างจากศิลาขนาดย่อม หน้าตักกว้าง ๓๓ เซนติเมตร และมีความสูงถึงปลายรัศมี ๕๓ เซนติเมตร  พุทธลักษณะประทับนั่งแบบวัชรอาสน์ (ขัดสมาธิเพชร) บนปัทมาสน์ อันประกอบด้วยกลีบบัวคว่ำและกลีบบัวหงาย มีเกสรบัวประดับ ทรงแสดงวรมุทรา (ปางประทานพร) โดยหงายพระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางหงายเหนือพระชานุด้านขวา มีพระอังสากว้าง บั้นพระองค์เรียวเล็ก ครองอุตราสงค์เรียบไม่มีริ้ว ห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา โดยมีสังฆาฏิสั้นพาดบนพระอังสาซ้าย และมีขอบพระอุตราสงค์พาดผ่านพระกรซ้าย พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระนลาฏค่อนข้างกว้าง พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์อมยิ้ม พระกรรณยาวจรดพระอังสา ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอย มีเกตุมาลาขนาดใหญ่ประดับด้วยเส้นพระเกศามีรูปเปลวไฟอยู่เบื้องบน กับทั้งมีประภามณฑลอยู่เบื้องหลัง

อาจกล่าวได้ว่าพระพุทธไพรีพินาศมีรูปแบบทางศิลปกรรมคล้ายกับพระพุทธรูปในศิลปะชวา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบปาละ อีกต่อหนึ่ง

ลักษณะทางประติมานวิทยา คือการแสดงวรมุทราหรือประทานพรนั้น คงมีความหมายถึงพระธยานิพุทธเจ้าประจำทิศใต้ ตามคติความเชื่อในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ที่มีชื่อว่ารัตนสัมภวะ

สำหรับมูลเหตุแห่งการถวายพระนาม พระไพรีพินาศ เนื่องมาจากรัชกาลที่ ๔ ทรงได้พระพุทธรูปองค์นี้มาในระยะเวลาที่มีผู้ที่จ้องทำลายพระองค์ คือ กรมหลวงรักษ์รณเรศ  กล่าวคือ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังทรงผนวชประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้มีกลุ่มผู้ที่มุ่งจะทำลายพระองค์  นำโดยกรมหลวงรักษ์รณเรศ ผู้ซึ่งหมายมั่นจะขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงมีความคิดกำจัดคู่แข่งสำคัญด้วยวิธีการกลั่นแกล้งต่างๆ นานา เช่น เอาข้าวต้มร้อนๆ ใส่บาตรที่พระองค์ทรงอยู่ เพื่อให้ทรงเกิดทุกขเวทนา เป็นต้น แต่พระองค์ก็หาได้ตอบโต้ ทรงวางพระองค์อยู่ในอุเบกขาธรรมเสมอมา กระทั่งวันหนึ่ง มีผู้นำพระพุทธรูปมาถวาย พระองค์ได้นำพระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานไว้ในที่อันควร ทรงกระทำการสักการบูชาอยู่เสมอ ภายหลังจากนั้นไม่นาน กรมหลวงรักษ์รณเรศ ก็มีอันต้องประสบเหตุแพ้ภัยตนเอง ถูกถอดเป็นไพร่ เรียกหม่อมไกรสร และถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ ข้อหาคิดการกบฏ และมีสัมพันธ์กับพวกโขนละครชาย

พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงเห็นว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่ตั้งแต่พระองค์ทรงได้พระพุทธรูปองค์นี้มา ไพรีหรือศัตรูก็พินาศย่อยยับลงไปตามลำดับ จึงทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธไพรีพินาศ และเมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ทรงประกอบพระราชพิธี "ผ่องพ้นไพรี" แสดงถึงพระบารมีและบุญญาธิการที่ทรงผ่านพ้นการจ้องทำลายของเหล่าศัตรูมาด้วยดี โดยที่เหล่าศัตรูต้องพ่ายแพ้ภัยของตนเองไปในที่สุด


(* กรมหลวงรักษ์รณเรศ พระยศเดิมพระองค์เจ้าไกรสร เป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกกับเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ทรงเป็นต้นราชสกุล พึ่งบุญ)


http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/b/ba/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2.jpg/150px-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2.jpg
เหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูป, พระพุทธรูปปางต่างๆ และประวัติพระพุทธรูปองค์สำคัญ


พระนิรันตราย

"พระนิรันตราย" ซึ่งทุกวันนี้ประดิษฐาน ณ หอพระสุลาลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง เป็นพระปางสมาธิ นั่งขัดสมาธิเพชร พุทธศิลปะแบบทวารวดี หล่อด้วยทองคำเนื้อหก น้ำหนัก ๗ ตำลึง ๑๑ สลึง หน้าตัก ๓ นิ้ว สูง ๔ นิ้ว โดยองค์นอกซึ่งสร้างสวมครอบไว้อีกชั้นหนึ่ง เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองคำ นั่งขัดสมาธิเพชรเช่นเดียวกัน แต่มีแบบอย่างพุทธลักษณะและครองผ้าอย่างธรรมยุต ซึ่งเป็นแบบพระพุทธรูปสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

ตามประวัติเล่าว่า พ.ศ. ๒๓๙๙ กำนันอิน ชาวเมืองปราจีนบุรี กับนายยัง บุตรชาย ขุดพบองค์พระเนื้อทองคำบริเวณชายดงศรีมหาโพธิ ได้นำไปมอบให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา นำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันพระฤกษ์เฉลิมพระราชมณเฑียรสีตลาภิรมย์ ซึ่งก็ทรงพระกรุณาพระราชทานเงิน ๗ ชั่ง (๕๖๐ บาท) เป็นรางวัล โปรดว่าสองพ่อลูกมีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน ขุดได้พระทองคำแล้วไม่ทำลาย หรือซื้อขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว ยังมีน้ำใจนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย แล้วโปรดให้ช่างทำฐานเงินกะไหล่ทองประดิษฐานไว้ ก่อนให้อัญเชิญประดิษฐานในหอพระ พระอภิเนาว์นิเวศน์ รวมกับพระพุทธรูปสำคัญอีก ๗ องค์

พระพุทธรูปทองคำประดิษฐานในหอพระในพระอภิเนาว์นิเวศน์นานเพียงใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่ในหนังสือตำนานพระพุทธรูปสำคัญ พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บันทึกไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ในหอเสถียรธรรมปริตร รอดพ้นจากผู้ร้ายซึ่งเข้าไปขโมยพระพุทธรูปในหอนั้น จึงมีพระราชดำริว่าคลาดแคล้วถึง ๒ ครั้ง เป็นอัศจรรย์ พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า "พระนิรันตราย" โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานหล่อพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร ต้องตามพุทธลักษณะ หน้าตัก ๕ นิ้วกึ่ง สวมพระพุทธรูปนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่ง และเรียกนามรวมกันมาจนถึงทุกวันนี้ว่า "พระนิรันตราย"

ครั้นเมื่อพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย ซึ่งทรงสถาปนาขึ้น แพร่หลายและมีพระอารามมากขึ้น ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ ทรงโปรดให้ช่างหล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกับพระพุทธรูปซึ่งสวมพระนิรันตรายด้วยทองเหลืองกะไหล่ทอง เบื้องหลังมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักษรขอมจำหลักลงในวงกลีบบัวเบื้องหน้า ๙ เบื้องหลัง ๙ พระคุณนามแสดงพระพุทธคุณ ยอดเรือนแก้วมีรูปพระมหามงกุฎตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่างของฐานพระ ซึ่งเป็นที่สำหรับสรงน้ำพระ ก่อเป็นรูปศีรษะโค เป็นที่หมายพระโคตรซึ่งเป็นโคตมะ

พระพุทธรูปซึ่งทรงหล่อใหม่นี้มีจำนวน ๑๘ องค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ เพื่อพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามนั้นๆ พระราชทานนามพระพุทธรูปว่าพระนิรันตรายเช่นกัน แต่ยังมิทันได้กะไหล่ทองก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ช่างกะไหล่ทองจนแล้วเสร็จทั้ง ๑๘ องค์ พระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุตตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระราชปรารภว่า เสวยราชย์มาเท่ากับรัชกาลที่ ๒ โปรดให้ช่างหล่อพระพุทธรูปนั่งสมาธิกะไหล่ทองรวม ๑๖ องค์ ขนานนามว่า "พระนิโรคันตราย" มีรูปนาคแปลงเป็นมนุษย์ เชิญฉัตรกั้นพระรูปหนึ่ง เชิญพัดโบกรูปหนึ่ง อยู่สองข้าง ข้างละรูป ถวายพระมหานิกาย ๑๕ องค์ เก็บไว้กับพระนิรันตรายในพระบรมมหาราชวังองค์หนึ่ง


ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2564 19:12:56 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 22 ธันวาคม 2557 15:25:35 »

.



พระพุทธบุษยรัตน์

"จันทรเทวบุตรได้แก้วผลึกขาวงดงามมาจากพระอรหันต์ แล้วให้พระวิษณุกรรมทรงสร้างเป็นพระพุทธปฏิมากร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ ๔ องค์ คือ ในพระนลาฏ พระเมาลี พระอุระ และพระโอษฐ์"

มีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งที่ไม่ค่อยรู้จักกันนัก แต่มีความสำคัญเป็นที่ยิ่ง เรียกว่า "พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย" มีความงดงามและล้ำค่ามาก พุทธลักษณะเป็นแก้วผลึกสีขาวใสบริสุทธิ์ โบราณเรียก "บุษย์น้ำขาว" หรือ "เพชรน้ำค้าง" หน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว ๔ กระเบียด พระอัษฎางค์สูง ๑๒ นิ้ว ๒ กระเบียด ประทับนั่งแบบมารวิชัย

ปรากฏในตำนานว่า พบที่แขวงเมืองจำปาสัก ประเทศลาว ในถ้ำเขาส้มป่อยนายอน ข้างฝั่งแม่น้ำโขง คงจะมีผู้นำไปซ่อนเมื่อครั้งบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม เคยปรากฏเรื่องราวใน "พงศาวดารโยนก" กล่าวถึงความว่า... จันทรเทวบุตรได้แก้วผลึกขาวงดงามนี้มาจากพระอรหันต์ แล้วให้พระวิษณุกรรมทรงสร้างเป็นพระพุทธปฏิมากร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ ๔ องค์ คือ ในพระนลาฏ พระเมาลี พระอุระ และพระโอษฐ์

ต่อมา "พระแก้วผลึกขาว" ได้ตกมาอยู่ที่เมืองละโว้ จนพระนางจามเทวีเสด็จขึ้นไปสร้างนครหริภุญไชย (ลำพูน) จึงอาราธนาไปด้วย จวบจนถึงปี พ.ศ.๒๐๑๑ พระเจ้าติโลกราชจึงอัญเชิญไปประดิษฐานที่นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่นานถึง ๘๔ ปี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๙๕ พระเจ้าไชยเชษฐาขึ้นครองเชียงใหม่ก่อนที่จะเสด็จไปครองนครหลวงพระบาง จึงอาราธนา "พระแก้วผลึกขาว" และ "พระแก้วมรกต" ไปประดิษฐานยังหลวงพระบางด้วย จนเมื่อกองทัพพม่ายกมาตีลาวพระแก้วผลึกขาวก็สาบสูญไปนับตั้งแต่บัดนั้น

กาลเวลาผ่านไป มีพรานป่าไปพบและนำมาถวายเจ้าเมืองนครจำปาสัก และเมื่อกรุงรัตนโกสินทร์มีอำนาจเหนือลาว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงอาราธนามายังกรุงเทพมหานคร โดยทรงหาเนื้อแก้วผลึกสีขาวมาเจียระไนเป็นปลายพระกรรณไม่ให้เกิดรอย และโปรดให้ช่างจัดทำฐานอย่างงดงาม ด้วยทองคำลงยาราชาวดีประดับเพชรพลอย ถวายฉัตร ๙ ชั้น ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ข้างบูรพาทิศ ทรงสักการบูชาวันละ ๒ เพลา มิได้ขาด

ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงบูรณะโดยเพิ่มเพชร พลอย และถวายฉัตรเพิ่มเป็น กลาง ซ้าย และขวา แล้วถวายพระนามว่า "พระพุทธ บุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย" เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พร้อมทำพิธีฉลองสมโภช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในปี พ.ศ.๒๔๐๔ และทรงสร้างพุทธรัตนสถาน ประดิษฐานองค์พระในพระบรมมหาราชวัง ต่อมามีการเสาะหาแก้วผลึกขาวให้ช่างเจียระไนสร้าง "พระพุทธบุษยรัตน์องค์น้อย" ขึ้นอีกภายหลัง

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้อัญเชิญพระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว ได้อัญเชิญกลับมาประดิษฐานยังพระพุทธรัตนสถานอีกครั้ง

ในรัชกาลปัจจุบันได้อัญเชิญพระ พุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย กลับไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต จวบจนปัจจุบันครับผม




ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2563 14:17:54 »



ประวัติพระพุทธรูป ปางนาคาวโลก
นิพนธ์ของ พระพิมลธรรม ราชบัณฑิต (ชอบ อนุจารีมหาเถร)

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยเยื้องมาข้างหน้า ประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระองค์ตามปกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไปข้างหลัง เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลี ผิดปกติเหมือนดูอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย ....

พระพุทธรูปปางนี้มีที่มาว่า วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพาพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ เสด็จไปเมืองไพศาลี เสด็จประทับอยู่ที่กุฏาคารศาลาในป่ามหาวัน ครั้งนั้นบรรดากษัตริย์ลิจฉวีราชทั้งหมดได้ทราบข่าว การเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงโสมนัส พากันเสด็จออกไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า น้อมถวายเครื่องสักการบูชาเป็นอันมาก พระศาสดาได้ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนา โปรดมวลกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย ให้เลื่อมใสศรัทธามีความอาจหาญรื่นเริงในธรรมทั่วกัน

เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว บรรดากษัตริย์ลิจฉวีได้พร้อมกันอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระสงฆ์ทั้งหมด ให้เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ แล้วทูลลากลับ

ครั้นเช้าวันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ได้เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตของบรรดากษัตริย์ลิจฉวีในพระราชนิเวศน์ ครั้นทรงทำภัตตกิจแล้ว ทรงประทานธรรมานุศาสน์แก่กษัตริย์ลิจฉวีทั้งปวงโดยควรแก่นิสสัยแล้ว ทรงพาพระภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากพระนคร เสด็จประทับยืนอยู่หน้าประตูเมืองไพศาลี เยื้องพระกายผินพระพักตร์มาทอดพระเนตรเมืองไพศาลี ประหนึ่งว่า ทรงอาลัยเมืองไพศาลีเป็นที่สุด พร้อมกับรับสั่งว่า "อานนท์ การเห็นเมืองไพศาลีของตถาคตครั้งนี้ เป็นปัจฉิมทัศนะ " คือ การเห็นครั้งสุดท้าย แล้วเสด็จไปประทับยังกุฏาคารศาลาในป่ามหาวันอีก สถานที่เสด็จประทับยืนทอดพระเนตรโดยพระอาการแปลกจากเดิม พร้อมกับรับสั่งเป็นนิมิตรเช่นนั้น เป็นเจดียสถานอันสำคัญเรียกว่า "นาคาวโลกเจดีย์"


ที่มา : หนังสือ "ตำนานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ" นิพนธ์ของ พระพิมลธรรม ราชบัณฑิต (ชอบ อนุจารีมหาเถร)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2566 16:09:35 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2564 19:06:30 »



ปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน ปางนี้ทรงบรรทมหงายพระบาทเหยียดเสมอกัน
พระหัตถ์วางทับซ้อนกันบนพระอุระ บ้างก็ว่าทับซ้อนบนพระนาภี หลับตา

ที่มาภาพ Facebook

“คนทั่วไปเมื่อได้เห็นพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) มักจะเข้าใจว่าเป็นปางปรินิพพานเสียทั้งหมด แต่ตามพุทธประวัติมีพระพุทธไสยาสน์ทั้งหมด ๙ ปาง คือ

๑) ปางทรงพระสุบิน (ฝัน) พุทธลักษณะจะประทับนอนตะแคงขวา หนุนหมอน มือซ้ายทอดทาบไว้กับลำตัว แขนท่อนบนข้างขวาแนบพื้น งอหลังมือขวาแนบกับ แก้ม หลับตา

๒) ปางทรงพักผ่อนปกติ เป็นพระพุทธรูปนอนแบบสีหไสยาสน์ (นอนตะแคงข้างขวาและนอนอย่างมีสติ กำหนดเวลาตื่นไว้ก่อนที่จะหลับ) มีพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากคอยนวดเฟ้นอยู่ด้านหลังหลับตา จัดเป็นการพักผ่อนโดยทั่วไปของพระพุทธองค์

๓) ปางโปรดอสุรินทราหู พระพุทธรูปปางนี้มักมีขนาดใหญ่โตมาก ประทับนอนแบบสีหไสยาสน์ รักแร้ทับหมอนและมือยกขึ้นประคองศีรษะ ลืมตา

๔) ปางทรงพยากรณ์พระอานนท์ พุทธลักษณะประทับนอนตะแคงขวา หนุนหมอน ลืมตา มือซ้ายทาบบนลำตัวเบื้องซ้าย มือขวายกขึ้นวางระหว่างท้อง

๕) ปางโปรดพระสุภัททะ พุทธลักษณะจะประทับนอนตะแคงขวาหนุนหมอน ลืมตา มือซ้ายทอดทาบไปตามลำตัวเบื้องซ้าย มือขวายกตั้งขึ้น จีบนิ้วมือเสมอระหว่างไหล่ เป็นกิริยาขณะทรงแสดงธรรมโปรดสุภัททปริวาชสาวกองค์สุดท้าย ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน

๖) ปางปัจฉิมโอวาท ปางนี้จะประทับนอนแบบสีหไสยาสน์ และมีลักษณะพิเศษ คือ มือขวายกตั้งขึ้นจีบนิ้วหัวแม่มือจดข้อนิ้วมือแรกของนิ้วชี้ เสมออก ลืมตา

๗) ปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน (ปางที่ ๑) ปางนี้ประทับนอนหนุนหมอน ตะแคงขวา หลับตา มือซ้ายทอดทาบลำตัวเบื้องซ้าย มือขวาหงายอยู่ที่พื้น อันเป็นอิริยาบถตามธรรมชาติ

๘) ปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน (ปางที่ ๒) ปางนี้ทรงบรรทมหงายพระบาทเหยียดเสมอกัน พระหัตถ์วางทับซ้อนกันบนพระอุระ บ้างก็ว่าทับซ้อนบนพระนาภี หลับตา

๙) ปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน (ปางที่ ๓) ปางนี้ประทับนอนหงาย พระองค์ทอดยาว เท้าเหยียดขนาบกันทั้งสองข้าง มือวางทาบยาวขนาบลำตัว หลับตามีพระมหากัสสปะยืนถวายบังคมอยู่เบื้องพระบาท


ที่มา : ไปไหว้พระนอน : โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ - มติชนออนไลน์
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5433


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2566 16:26:01 »


พระพุทธรุปปางพิจารณาชราธรรม  
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ พบจากการเก็บกู้หลักฐานหลังจากเจดีย์วัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่
พังทลายลงมา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕ เวลาประมาณ ๑๗.๑๕ นาฬิกา
พระพุทธรูปองค์นี้นี้มีลักษณะพิเศษ คือ ไม่เคยปรากฏมาก่อนในล้านนา พระพุทธรูปปางนี้ปรากฎขึ้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   ดังนั้น จึงอาจเป็นไปได้ว่าพระพุทรูปองค์นี้มีอายุสมัยอยู่
ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์
ภาพจาก นิตยสารศิลปากร ปีที่ ๖๖ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-ก.พ.๒๕๖๖


มรดกล้ำค่าจากอาราม
พระพุทธรูปปางพิจารณาชราธรรม

ปางทรงพิจารณาชราธรรม เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางคว่ำอยู่บนพระชานุ (เข่า) ทั้งสองข้าง บางตำราเรียก ปางแสดงชราธรรม พระพุทธรูปปางนี้บางครั้งทำเป็นพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทก็มี

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพรรษาที่ ๔๕ พรรษาสุดท้ายแห่งพระชนมายุ ขณะที่พระพุทธองค์ประทับจำพรรษา ณ บ้านเวฬุวคามในพรรษา พระองค์ทรงประชวรหนักเกิดทุกขเวทนา ในที่สุดพระองค์ก็ได้ขับไล่พยาธิทุกข์ให้ระงับสงบลงไปด้วยอิทธิบาทภาวนา ครั้นหายประชวรพระองค์ได้ทรงปราศรัยเรื่องชราธรรมกับพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ บัดนี้เราชราภาพล่วงกาลผ่านวัยจนพระชนมายุล่วงเข้า ๘๐ ปีแล้ว กายของตถาคตทรุดโทรมเสมือนเกวียนชำรุดที่ต้องซ่อม ต้องมัดกระหนาบให้อยู่ด้วยไม้ไผ่ อันมิใช่สัมภาระแห่งเกวียนนั้น

ดูกรอานนท์ เมื่อใดตถาคตเข้าอนิมิตเจโตสมาธิ ตั้งจิตสงบมั่น คือ ไม่ไห้มีนิมิตใดๆ เพราะไม่ทำนิมิตทั้งหลายไว้ในใจ ดับเวทนาบางเหล่าเสียและหยุดยั้งอยู่ด้วยอนิมิตสมาธิ เมื่อนั้นกายแห่งตถาคตย่อมผ่องใส มีความผาสุกสบายตลอดกาย อานนท์เอย เพราะธรรมคือ นิมิตสมาธิธรรมนั้นมีความผาสุก ฉะนั้นท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นเกราะ มีธรรมเป็นที่พึ่งทุกอิริยาบถเถิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2566 16:29:52 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น: พระพุทธรูปปางต่าง ๆ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.993 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้