[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:30:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธศาสนา  (อ่าน 5121 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 ธันวาคม 2552 10:09:25 »

พระพุทธศาสนา

น้อมประณตคุรุผู้เมตตา

องค์พระศาสดาผู้ทรงคุณ

พระธรรมสาดส่องหล้าฟ้าอรุณ

เทิดพระคุณผู้พาทั่วฟ้าไกล
 

ฎคซ.ป.ดปล.บสง5


   
ประวัติพุทธศาสนาโดยย่อ โดยเฉพาะพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวัชรยานของทิเบต
พระพุทธเจ้าประสูติในอินเดียตอนเหนือ (ชายแดนเนปาลในปัจจุบัน) เมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว
พระองค์เป็นโอรสกษัตริย์สุโทธนะ มีพระนามว่าสิทธัตถะพระราชบิดาทรงเตรียม
โอรสไว้เพื่อสืบทอดราชสมบัติของพระองค์ ลักษณะในการประสูติและชีวิตใน
วัยเด็กนั้นมหัศจรรย์ ไม่ธรรมดา และเป็นที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นแล้วว่า
เจ้าชายพระองค์นี้ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ธรรมดาชีวิตในวัยเด็ก และวัยหนุ่ม อยู่กับ
ความสมบูรณ์พูนสุขปราศจากความกังวลใดๆทั้งสิ้น กอบกับพระองค์ทรงมี
สติปัญญาเฉลียวฉลาด มากด้วยความรู้ความสามารถชำนาญในศิลปะวิทยาการต่างๆ
สมกับการเป็นมหาจักรพรรด์ในอนาคตแต่สิ่งเหล่านั้นไม่อาจปิดบังความสงสัย
ในความเป็นแก่นสารของชีวิต ปกติในโลก "ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข"

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2552 10:12:27 »


พระองค์จึงได้หนีออกจากพระราชวังเพื่อไปศึกษาหาหนทาง ใช้ชีวิตที่มีค่า มีความหมาย
พระองค์ไปศึกษา ปฏิบัติธรรมกับนักปราชญ์ผู้ทรงความรู้ชั้นยอดในยุคนั้น ไม่ว่าเรื่องการทำสมาธิ
หรือปรัชญาต่างๆ ด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะหาแก่นแท้ของชีวิต ด้วยสติปัญญาของพระองค์
พระองค์สามารถเรียนรู้ทุกอย่างจากพระอาจารย์จนหมดสิ้นและแตกฉาน แต่ก็ยังไม่ถึงเป้าหมาย
ที่พระองค์พอพระทัย เพราะรู้สึกว่ายังขาดอะไรอยู่ บ้าง ถึงแม้ว่าพระองค์จะปฏิบัติฝึกฝนสู่
ปัญญาที่สูงขึ้นด้วยความทุกข์ยากลำบากอย่างที่สุดต่างๆ นาๆ พระองค์ก็พบว่าวิธีการเหล่านั้น
ไม่สามารถพาพระองค์หลุดจาก "ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข"  

ท้ายที่สุดพระองค์ก็ตั้งใจที่จะฝึกฝนปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความพยายามอย่างสูงสุด พระองค์ก็
สามารถบรรลุรู้แจ้ง ณ พุทธคยาสิ่งซึ่งพระองค์ท่านได้ค้นพบรู้แจ้งมีความลึกซึ้งยิ่งใหญ่มากจน
พระองค์ท่านลังเลใจที่จะสอนคนอื่นต่อ ด้วยกลัวว่าจะไม่มีคนเข้าใจได้เลย แต่ด้วยพระเมตตา อันยิ่งใหญ่
พระองค์ก็ได้ทดลองเริ่มสอน ในเวลาอันรวดเร็วก็สามารถดึงดูดผู้สนใจเข้าเป็นลูกศิษย์ติดตาม
พระองค์เพื่อเรียนรู้หนทางแห่งการรู้แจ้งเป็นจำนวนมาก และก็มีจำนวนมากเช่นกันที่ปฏิบัติจนรู้แจ้ง
บรรลุอรหันต์ผล เนื่องด้วยมีผู้คนจำนวนมากที่เข้ามาเป็นศิษย์เพื่อรับคำสอนและวิธีปฏิบัติ
จากคนจำนวนมากและมาจากสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน สติปัญญา ภูมิหลัง ที่ต่างกันทำให้พระองค์
ทรงสอนแต่ละกลุ่มแต่ละบุคคลต่างกันไปตามสภาพ ภูมิปัญญาของกลุ่มคนหรือบุคคลนั้นๆ
โดยให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาและความตั้งใจ
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2552 10:15:12 »


คำสอนของพระพุทธเจ้าในช่วงที่พระ องค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ สามารถแบ่งออกได้
เป็น 3 หมวดใหญ่ๆ     

1 กลุ่มคำสอนซึ่งถูกจารึกไปเป็นภาษาบาลี อันเป็นพื้นฐานสำคัญของ ฝ่ายเถรวาท
ซึ่งเน้น หนักทาง ด้านวินัย     

2 กลุ่มคำสอนของฝ่ายมหายาน ซึ่งถูกจารึกเป็นภาษาสันสกฤต เน้นหนักใน
ความเมตตา และห่วงใยผู้อื่น     

3 กลุ่มคำสอนตันตระ อันเป็นพื้นฐานสำคัญของวัชรยานหรือมนตรยานหรือตันตรยาน
ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ มีคุณสมบัติพิเศษและสามารถนำไปสู่การรู้แจ้งในเวลาอันสั้น
คำสอนในกลุ่มวัชรยานพระพุทธเจ้าได้สอนไว้แก่กลุ่มศิษย์ในแวดวงอันจำกัด
แต่พระองค์ท่านก็ได้มีพุทธทำนายว่า คำสอนวัชรยานจะมีการเผยแพร่ในอนาคตกาล
ซึ่งจะมีบุคคลรู้แจ้งบรรลุเกิดขึ้นในกาลข้างหน้า สั่งสอนอบรม ฉะนั้นคำสอนวัชรยาน
จึงไม่ได้มีความเป็นพุทธะน้อยกว่าคำสอนอีก 2 กลุ่ม แม้จะแพร่หลายไม่มากนักในสมัยนั้น     
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2552 20:46:28 »


หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพานไปแล้ว ความแตกต่างในการตีความคำสอน
และคิดเห็นซึ่งเกิดจากการรับคำสอนซึ่งต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย
ตามกลุ่มตามสภาพ จึงเป็นที่มาของความขัดแย้งในปรัชญาแนวความคิด
ความขัดแย้งเริ่มมากขึ้นตามเวลาจนทำให้มีนิกายต่างๆเกิด ใหม่ขึ้นมา
มีแนวทางการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ตัวอย่าง
เช่นในฝ่ายเถรวาทในยุคนั้นแบ่งเป็น18 นิกาย มหายานก็มีการแบ่งเป็น
นิกายต่างๆ แบ่งเป็น 3 สายใหญ่ และเมื่อมหายานเข้าสู่ประเทศจีนก็แบ่งเป็น
นิกายต่างๆมากมาย ในแต่ละนิกายก็มีข้อแตกต่างในเชิงปรัชญา
ซึ่งในวัชรยานก็เช่นกัน แนวปรัชญาและแนวปฏิบัติหลายอย่าง
เริ่มต้นเกิดขึ้นจากบุคคลเพียงคนเดียวเท่านั้น
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2552 20:48:44 »


ในยุคหลังต่อมาคำสอนที่แตกต่างกันเหล่านี้ได้มีการเผยแพร่ออกไปทั่วอินเดีย
และต่างประเทศที่อิทธิพลของพุทธศาสนาแพร่ไปถึงเช่นอาเซียกลาง
อาเซียตะวันออก อาเซียใต้ ไปไกลสุดถึงอินโดนีเซียบางนิกายก็สูญหายไปไม่เหลือ
บางนิกายก็เข้ารวมกับนิกายอื่นเกิดเป็นนิกาย ใหม่ขึ้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่13
การมาเยือนของศาสนาอิสลามและการเปลี่ยนแปลงในเชิงการเมือง
ในคาบสมุทรอินเดีย ทำให้พุทธธรรมมีอันต้องหายไปจากประเทศผู้ให้กำเนิด
กลับกลายเป็นประเทศอื่นๆที่ได้รับคำสอนเก็บรักษาไว้ เช่นเถรวาทเก็บรักษาไว้ในลังกา
พม่า ไทย กัมพูชา มหายานเก็บรักษาใน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ประเทศในกลุ่มอินโดจีน
วัชรยานส่วนใหญ่เก็บไว้ในประเทศทิเบตและแถบหิมาลัย ประเทศทิเบตถือว่าเป็น
โชคดี 2 ชั้น ทิเบตถือว่าเป็นหนึ่ง ในไม่กี่ประประเทศที่มีการปฏิบัติคำสอนวัชรยาน
อยู่อย่างสมบูรณ์แบบและทิเบตเป็นประเทศเดียวที่มีการเก็บรักษาคำสอนทั้งหมด
อย่างสมบูรณ์(ทั้งหมดคือทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน)
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2552 20:50:25 »


จากช่วงศตวรรษที่ 8 เป็นต้นมาคำสอนของพุทธศาสนาได้มีการเผยแพร่
และถ่ายทอดจาก อาจารย์สู่ศิษย์ในนิกายต่างๆ ผู้ปฏิบัติตามคำสอนเหล่านี้
ไม่เพียงแต่เป็นผู้มีความรู้แจ้งในเชิงวิชาการปรัชญา ยังเป็นผู้ปฏิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริง
สามารถปฏิบัติตามคำสอนอย่างถูกต้องและยังสามารถ เผยแพร่คำสอนออกไปได้
อย่างไม่ผิดพลาดนิกายใหญ่ที่เกิดขึ้น อาทิ ณิงมาปะ กากจูปะ  สักเจียปะและเกลุกปะ
พุทธศาสนาในทิเบตเริ่มต้นจากในศตวรรษที่ 8 ณิงมาปะ โดยอาจารย์ จากอินเดีย
เช่นวิมลมิตร คุรุปัทมะสมภพหรือชาวทิเบตเรียกว่ากูรูรินโปเช่ได้ถ่ายทอดสู่อาจารย์ชาวทิเบต
เช่น ลองเชนปะ จิกเมลิงปะ จัมยังเฉนเซวังโป ฯลฯ เป็นต้น สามนิกายต่อมาได้เผยแพร่
เข้าสู่ทิเบตช่วงหลังศตวรรษที่ 10 ซึ่งก็เช่นเดียวกับศาสนาพุทธในที่ต่างๆซึ่งมีการปรับตัว
ให้เข้า กับวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละประเทศ 4 นิกายในทิเบตก็เหมือนกัน
มีการปรับตัวเข้ากับสภาพประวัติศาสตร์ ภูมิประเทศและการเมือง
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2552 20:56:29 »


คำสอนในทิเบตที่เก็บรักษาไว้ถูกแบ่งออกเป็น2 กลุ่ม คือ กันจูร์ ซึ่งมีอยู่มากกว่า
100 ธรรมบท ซึ่งเป็นคำสอนดั้งเดิมจากพุทธกาล แบ่งเป็นพระวินัย
พระสูตร(เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิ) พระอภิธรรม (เกี่ยวข้องกับปรัชญา)

คำสอนอีกกลุ่ม คือคำสอนจากคำวิจารณ์หรือคำอธิบายจากอาจารย์ในยุคต่าง ๆ
กลุ่มนี้เก็บอยู่ในกลุ่มของ ตันจูร์ มีทั้งหมด 200 ธรรมบท กันจูร์กับตันจูร์
แต่เดิมแปลจากภาษาสันสกฤตเกือบทั้งหมด ขณะนี้ถูก เก็บรักษาไว้เกือบสมบูรณ์
นอกจากนี้ยังมีคำสอนของเถรวาท มหายาน และวัชรยานซึ่งเขียนขึ้น
โดยอาจารย์ชาวทิเบตเอง คำสอนที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีจำนวนมาก
ที่สามารถพบได้ในพุทธ ศาสนาแบบทิเบต สามารถสรุปอยู่ในอริยะสัจจ์
ที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ไม่นาน

ข้อแรกของอริยะสัจสี่ พูดถึงความเป็นอยู่ที่มีอยู่ในโลกไม่สามารถหลุดพ้นจาก
ความทุกข์ ไม่สามารถที่จะมีความสุขอย่างถาวรได้ ความสุขทุกอย่างที่มีอยู่
ก็อยู่ชั่วขณะเท่านั้น สุดท้ายก็ต้องหลีกทางให้กับความทุกข์ที่ต้องย่างเข้ามา
เหตุผลอธิบายอยู่ในข้อที่ 2 ของอริยะสัจสี่ ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า การกระทำทุกอย่าง
ไม่ว่าการกระทำ คำพูดหรือความคิดทุกอย่างจะให้ผล จากการกระทำเหล่านั้นในกาลข้างหน้า
ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติหน้าต่อไปซึ่งการเกิดใหม่ก็เป็นผล จากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลักษณะของการเกิดใหม่หรือชีวิตนี้ก็เป็นผลจากการกระทำ ต่างๆในชีวิตที่ผ่านมา
โดยเฉพาะในเรื่องของความตั้งใจ หรือแรงดลใจต่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง นี่คือกฎแห่งกรรม
ซึ่งจะอธิบายได้ว่า ทำไมบางคนยากจนตลอดชีวิตแม้ได้พยายามทำทุกอย่าง
เพื่อความร่ำรวย บางคนก็มีทุกสิ่งทุกอย่างพร้อม โดยที่เจ้าตัวเกือบจะไม่ต้องทำอะไรเลย
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2552 21:01:26 »


จากอริยะสัจสี่ข้อที่ 2 นี้ ก็ได้อธิบายและชี้ให้เห็นถึงพลังที่อยู่เบื้องหลังสิ่งเหล่านี้
ซึ่งเป็นอารมณ์ใน ทางลบ เช่นความโลภ โกรธ หลง หยิ่ง ริษยา อวิชชา
โดยเฉพาะอวิชชาซึ่งถือเป็นรากของสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด อวิชชาไม่ได้เกี่ยวข้องกับ
ยาเพียงอย่างเดียว ยังเป็นพื้นฐานของการมองโลก ทำให้เรายึดติดตัวเองว่าตัวเรา
และโลกภายนอกทั้งหมดเป็นแกนสารจริงๆและยั่งยืนไม่มีทาง สลาย
ไม่มีการสิ้นสุดแห่งการกระทำของเรา ทำให้เราต้องเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง
ในวัฏฏะสงสาร นี้ ถ้าเราสามารถหยุดการกระทำที่ไม่รู้อันเกิดจากการกระทำ
ของอวิชชา ถ้าเราสามารถหยุด อวิชชาได้วัฏฏะจักรแห่งการเกิดก็จะถูกทำลายลงได้

ซึ่งก็อธิบายอยู่ในอริยะสัจสี่ข้อที่ 3 ซึ่งพูด ถึงการหยุดของทุกข์การเป็นอิสระจาก
"ความเป็นอยู่ที่มีเงื่อนไข" อริยะสัจ สี่ ข้อที่ 4 ได้อธิบาย
ถึงวิธีการที่จะปฏิบัติให้สำเร็จในการหลุดพ้นได้อย่างไร ซึ่งหลักใหญ่ ๆ จะต้องมีการสะสม
การกระทำที่เป็นกุศล เช่น การให้ความเคารพถวายให้แก่พุทธะ ธรรมะ สังฆะ
ในการปฏิบัติความเมตตา สงเคราะห์ต่างๆ และอีกวิธีหนึ่งโดยการปฏิบัติสมาธิ
เพื่อที่จะสามารถขุดทำลายทิ้งอวิชชา ซึ่ง เป็นรากแห่งทุกข์ผู้ที่ปฏิบัติวิธีการนี้
เพื่อที่จะหลุดพ้นด้วยตนเองสามารถที่จะปฏิบัติจนบรรลุรู้แจ้ง สำเร็จเป็นพระอรหันต์
พระอรหันต์จึงเป็นผู้ที่สามารถชนะอารมณ์ในทางลบได้สมบูรณ์ แต่ก็ยังไม่เป็นการบรรลุ
รู้แจ้งอย่างสมบูรณ์ เฉพาะสำหรับผู้มีอุดมการและตั้งปณิธานที่จะปฏิบัติ เพื่อการรู้แจ้ง
ของผู้อื่นเท่านั้นที่จะบรรลุสู่พุทธภูมิได้ ผู้ปฏิบัติเหล่านี้ ซึ่งเดินสายมหายานยึดเอา
ความเมตตาเป็นหลักซึ่งเราเรียกว่าพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่สามารถปฏิบัติ
ตามคำสอนของวัชระยาน สามารถบรรลุรู้แจ้งในเวลาอันสั้น
บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 15:04:25 »


ในพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้จัดตั้งองค์กรพระภิกษุ ภิกษุณีขึ้น เพื่อเป็นแกนนำ
ในการเผยแพร่คำสอน แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ยกเว้นฆราวาสทั้งชาย หญิง
ที่มีจิตปฏิบัติอย่างจริงจังเรื่องนี้ สามารถเห็นได้ในทิเบตซึ่งมีคณะสงฆ์อันเข็มแข็งยิ่งใหญ่
แต่ก็มีกลุ่มฆราวาสที่ใช้ชีวิตปกติธรรมดา และได้ปฏิบัติตามคำสอนอย่างเข้มแข็ง
จนบรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก โดยที่ไม่ได้เป็นพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติและบรรลุใน
สายณิงมาปะมีทั้งที่เป็นพระสงฆ์และโยคีฆราวาส การได้เข้าสู่คณะสงฆ์เป็นสิ่งที่ดีที่สุด
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะนำไปสู่การรุ้แจ้งได้ในเชิง สมาธิ ปัญญา นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าสู่ คณะสงฆ์ได้ แต่มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติตามคำสอนอย่างจริงจัง

       อัลเบิร์ตไอสไตร์ได้กล่าวไว้ ว่า คำสอนของพุทธศาสนาสามารถปรับเข้าได้กับ
ยุคศตวรรษที่ 20 นี้ได้เป็นอย่างดีในปัจจุบัน ฟิสิกซ์สมัยใหม่ได้ข้อสรุปต่างๆตรงกับ
คำสอนที่พุทธศาสนาได้อธิบายไว้ ตั้งแต่ 2500กว่าปี ที่แล้ว ปัจจุบันในแถบเอเชีย
เนื่องจากวัตถุนิยมเฟื่องฟู ทำให้การปฏิบัติสมาธิจิตย่อหย่อนลง ตรงกันข้ามกับ
ประเทศในแถบตะวันตก ที่มีผู้หันมาศึกษาและปฏิบัติพุทธศาสนาอย่างจริงจัง 
เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาทิเบตได้ถูกคุกคามอย่างมากจากการเมืองได้มีอาจารย์
ผู้ทรงคุณวุฒิ ต่างๆได้ลี้ภัยไปยังอินเดีย อาจารย์เหล่านี้นอกจากได้รับถ่ายทอด
คำสอนอย่างสมบูรณ์มาแล้ว ยังได้ปฏิบัติจนรู้แจ้ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2552 15:08:32 โดย CANDY » บันทึกการเข้า
ไอย
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: leet


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2552 15:11:07 »


ในขณะเดียวกันก็มีชาวต่างประเทศในโลกตะวันตกมาเยือนอินเดียและได้พบอาจารย์
หรือพระลามะเหล่านั้นเกิดความสนใจเกิดความศรัทธาอย่างจริงจังและได้เชื้อเชิญ
อาจารย์เหล่านั้นไปเผยแพร่คำสอนในโลกตะวันตก ซึ่งองค์กูรูรินโปเช่ได้เคยกล่าวไว้ว่า
คำสอนของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะวัชรยานเป็นคำสอนที่มีพลังมากและให้ผลต่อ
ผู้ฝึกปฏิบัติทุกๆคนได้อย่างชัดเจน ในยุคที่ผู้คนมีอารมณ์รุนแรงในกลียุค
พุทธศาสนาวัชรยานจะทรงพลังอย่างมาก มีผลให้อารมณ์ที่รุนแรงสงบลงได้
คำสอนวัชรยานเป็นคำสอนที่มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถปรับสภาพให้เข้ากับ
ชีวิตความเป็นอยู่ทุกรูปแบบที่มนุษย์ในโลกครุ่นเคย โดยที่ไม่ทำให้คำสอนแท้ ๆ
ต้องผิดเพี้ยนไป ฉะนั้นคำสอนพุทธศาสนาวัชรยานกำลังเผยแพร่ไปทั่วโลก

     เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุกศาสนาใหญ่ๆที่มีอายุยาวนาน ได้มีการแบ่งแยก
นิกายย่อยๆทั้งสิ้น กาลเวลา ความเปลี่ยนแปรงของสังคมโลก จำนวนผู้เข้าร่วม
จำนวนมากหลากหลายภูมิภาคหลาก ความเชื่อหลากความคิดหลากความเป็นอยู่
ศาสนาทุกศาสนาในปัจจุบันได้ห่างไกลแปรเปลี่ยน ไปจากครั้งแรกกำเนิด
ศาสนาที่ไม่แปรเปลี่ยนก็ไม่เจริญไม่แพร่ขยายและต้องสูญสลายไป
พุทธศาสนาก็เช่นกันความเจริญแพร่กว้างไพศาล ทำให้พุทธศาสนาต้องแปรเปลี่ยน
ไปบ้างแต่ อย่างไรก็ตามชาวพุทธทั้งปวงแม้ต่างนิกายก็ถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน
ประกอบศาสนกิจร่วมกัน ได้ นับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน แม้บางคนจะนับถือ
สิ่งอื่นด้วย เช่นไหว้เจ้า ไหว้เทวดา หรือ ภูติผี ก็ยังคงถือเป็นชาวพุทธด้วยกัน
ตราบใดที่ยังคงยอมรับพระไตรปิฎกร่วมกันก็ไม่ถือว่าแตกแยกกัน พระพุทธองค์
ทรงตรัสไว้ว่า ผู้คนในโลกเปรียบดังเม็ดทรายในมหาคงคา ผู้รู้แจ้งเปรียบดังเม็ดทราย
ในมหาคงคาที่อยู่บนฝ่ามือ แม้แต่เม็ดทรายบนฝ่ามือก็ยังคงต่างกัน ทั้งรูปลักษณ์
ขนาดและสีสัน


อ้างอิง หนังสือ The Words of My Perfect Teacher 

หนังสือคณะสงฆ์จีนนิกาย

หนังสือของเสถียร โพธินันทะ
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
พระพุทธศาสนา ไม่เคยทะเลาะ กับ วิทยาศาสตร์
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 4 4295 กระทู้ล่าสุด 13 มิถุนายน 2553 14:23:39
โดย มดเอ๊ก
หยิบ เรื่องเก่า มา เล่าใหม่ : พระพุทธศาสนา ไม่เคยทะเลาะกับ วิทยาศาสตร์
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
หมีงงในพงหญ้า 0 2348 กระทู้ล่าสุด 24 มิถุนายน 2553 15:56:58
โดย หมีงงในพงหญ้า
มนุษย์ต่างดาว ใน พระพุทธศาสนา
เรื่องราว จากนอกโลก
มดเอ๊ก 0 2550 กระทู้ล่าสุด 26 มิถุนายน 2553 20:04:14
โดย มดเอ๊ก
จุดมุ่งหมายของ "พระพุทธศาสนา"
เกร็ดศาสนา
Kimleng 0 1749 กระทู้ล่าสุด 29 สิงหาคม 2555 11:46:27
โดย Kimleng
พุทธปณิธาน - ชั่วโมงที่ 26 - 1 - พระพุทธศาสนา - ไปสู่ประเทศจีนได้อย่างไร
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1087 กระทู้ล่าสุด 16 กรกฎาคม 2559 16:55:09
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.248 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 19 มีนาคม 2567 16:55:26