[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 กันยายน 2567 12:31:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สักการะ รอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี  (อ่าน 5919 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5664


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 กันยายน 2555 12:06:05 »

.


พระพุทธบาท มีความกว้าง ๒๑ นิ้ว ยาว ๕ ฟุต ลึก ๑๑ นิ้ว ประดิษฐานภายในพระมณฑป  
วัดพระพุทธบาท  ตำบลขุนโขลน  อำเภอพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี

พระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
อำเภอพระพุทธบาท  จังหวัดสระบุรี

ระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๕๓ – ๒๑๖๗  เจ้าเมืองสระบุรี ได้รับแจ้งจากนายพรานบุญว่า ตนได้ออกไปล่าเนื้อ (มีลักษณะคล้ายกวาง)  ในป่าใกล้เชิงเขา  ได้ยิงเนื้อตัวหนึ่งได้รับบาดเจ็บ  เนื้อตัวนั้นวิ่งหลบหนีขึ้นไปบนไหล่เขาแล้วหายเข้าไปในพงป่าไม้   เพียงครู่เดียวเนื้อตัวนั้นวิ่งออกมาจากพงไม้  และมีสภาพร่างกายเป็นปกติไม่ปรากฏร่องรอยบาดแผลจากการถูกยิง    พรานบุญเห็นดังนั้นก็เกิดความประหลาดใจ  จึงตามขึ้นไปดูยังที่ที่กวางตัวนั้นวิ่งหลบหนีหายเข้าไป  ก็พบร่องรอยปรากฏในศิลามีลักษณะคล้ายเท้าคนขนาดใหญ่   ยาวประมาณสักศอกเศษ   และในรอยคล้ายเท้าคนนั้นมีน้ำขังอยู่ด้วย  นายพรานบุญเข้าใจว่าเนื้อตัวที่ถูกตนยิงหายจากอาการบาดเจ็บ คงเพราะได้ดื่มน้ำที่ขังอยู่ในรอยเท้านั้น  จึงวักน้ำลองเอามาทาผิวของตนดู  บรรดาโรคผิวหนังคือกลาก เกลื้อน ที่พรานบุญเป็นเรื้อรังมานานนั้นก็พลันหายไปหมดสิ้น  

เจ้าเมืองสระบุรี ได้สอบสวนความจริง และออกสำรวจยังไหล่เขาแห่งนั้น  ได้พบร่องรอยคล้ายเท้าคนตามคำบอกเล่าของพรานบุญมีอยู่จริง  จึงส่งข่าวมายังกรุงศรีอยุธยา  สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จึงเสด็จพระราชดำเนินไปยัง ณ ที่แห่งนั้น  เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงทรงพระราชวิจารณ์ว่าคงเป็นรอยพระพุทธบาท  เพราะปรากฏลายลักษณะกงจักร ประกอบด้วยอัฏฐตตรุสตมหามงคล ๑๐๘ ประการ  ตรงกับเรื่องที่ชาวลังกาทวีปแจ้งข่าวมาด้วย  จึงทรงเกิดพระราชศรัทธาโสมนัสเป็นที่ยิ่ง  ทรงมีพระราชดำริว่า รอยพระพุทธบาทจัดเป็นบริโภคเจดีย์  เพราะเป็นพุทธบทวลัญช์อันเนื่องมาแต่พระพุทธองค์  ย่อมประเสริฐยิ่งกว่าอุทเทสิกะเจดีย์ เช่น พระสถูปเจดีย์  สมควรยกย่องบูชาเป็นพระมหาเจดียสถาน  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างก่อเรือนคฤหหลังน้อยครอบรอยพระพุทธบาท ณ บนแผ่นหินเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพต  หรือเขาสัจจพันธคีรี ไว้เป็นการชั่วคราวก่อน  

หลังจากเสด็จกลับราชธานีกรุงศรีอยุธยา จึงได้สถาปนาสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเป็นมหาเจดียสถาน  และโปรดให้สร้างพระมหามณฑปครอบรอยพระพุทธบาท  ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ประกอบด้วยเครื่องยอดรูปปราสาท ๗ ชั้น  มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว  มีเสาย่อมุมไม้สิบสอง  ปิดทองประดับกระจกสีโดยรอบ   ฝาผนังด้านนอกปิดทองประดับกระจกเป็นรูปเทพพนม   มีพุ่มข้าวบิณฑ์   บานประตูพระมณฑปเป็นงานศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของเมืองไทย  พื้นภายในปูด้วยเสื่อสานด้วยเงิน    ทางขึ้นพระมณฑปเป็นบันไดสามสาย  ซึ่งหมายถึง บันไดเงิน  บันไดทอง  และบันไดแก้ว  ที่ทอดลงมาจากสรวงสวรรค์  หัวนาคที่เชิงบันไดหล่อด้วยทองสำริด  ลักษณะเป็นนาค ๕ เศียร   บริเวณโดยรอบพระมณฑปมีระฆังแขวนไว้เรียงราย  สำหรับให้ผู้มานมัสการได้ตีเพื่อเป็นการแผ่ส่วนกุศลไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย  พร้อมกับโปรดเกล้าฯ  ให้เจ้าพนักงานสร้างพระอารามสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย เพื่อการดูแลรักษาและบำเพ็ญธรรมสืบไป  



ตำนานเมืองสระบุรี สระบุรี เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งมาแต่โบราณ  สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๙๒  ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ หรือพระเจ้าช้างเผือก   พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงศรีอยุธยา  การตั้งเมืองนี้ สันนิษฐานว่าพระองค์โปรดเกล้าฯ  ให้แบ่งพื้นที่เขตเมืองลพบุรีกับเมืองนครนายก บางส่วนมารวมกันตั้งขึ้นเป็นเมือง “สระบุรี”   เพื่อต้องการให้เป็นเมืองศูนย์กลางของการระดมไพร่พลไว้สู้รบกับข้าศึกในยามศึกสงคราม  

สำหรับที่มาของคำว่า “สระบุรี”  สันนิษฐานว่าตั้งอยู่ใกล้ “บึงหนองโง้ง”  ในเขตตำบลเมืองเก่า  อำเภอเสาไห้    บึงหนองโง้งเป็นแอ่งน้ำรูปเกือกม้า  เกิดจากการขุดดินมาทำอิฐเพื่อสร้างเมืองสระบุรีในอดีต เมื่อก่อตั้งเมืองขึ้นจึงได้นำเอาคำว่า “สระ” (แอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือด้วยฝีมือมนุษย์ขุดขึ้นมา)  มารวมเข้ากับคำว่า “บุรี”  มาเป็นชื่อเมือง “สระบุรี

ครั้นต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เหตุการณ์ทางด้านการเมืองผันผวน  สืบเนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมบริเวณแหลมอินโดจีน  พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ  ทั้งนี้ เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานประเทศ  และจะเป็นเส้นทางการคมนาคมไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเส้นทาง สำหรับสร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่  และโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองสระบุรี  ซึ่งแต่เดิมตั้งอยู่ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้  มาตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองสระบุรีในปัจจุบัน เพื่อก่อสร้างทางรถไฟอีกสายหนึ่ง จากทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมา





วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร   ตั้งอยู่ที่ อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี   เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร  นิกายเถรวาท (มหานิกาย)  วัดพระพุทธบาท  มีปูชนียสถานที่สำคัญคือรอยพระพุทธบาท  ค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ประดิษฐานอยู่ในมณฑปบนไหล่เขาสุวรรณบรรพต หรือเขาสัจจพันธคีรี พระมณฑปปิดทองประดับกระจกสวยงามมาก  มีบานประตูประดับมุขเป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยม  ทางขึ้นเป็นบันไดนาคสามสาย มีพระอุโบสถและวิหารรายรอบ  ศิลปแบบอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า มีพระภิกษุไทยคณะหนึ่ง เดินทางไปยังลังกาทวีป เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท พระสงฆ์ลังกากล่าวว่า ประเทศไทยก็มีรอยพระพุทธบาทอยู่แล้วที่เขาสุวรรณบรรพต จึงได้นำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมให้ทรงทราบ และได้สืบหาจนพบรอยพระพุทธบาท เพื่อเป็นที่สักการะบูชา เป็นศูนย์รวมแห่งพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ พระพุทธบาทสระบุรีเป็นพระอารามหลวง ที่พระมหากษัตริย์แทบทุกพระองค์ทรงทำนุบำรุงและเสด็จไปนมัสการตลอดมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์




ไฟตะเกียงเรียงรอบพระมณฑป         กระจ่างจบจันทร์แจ่มแอร่มผา
ดอกไม้พุ่มจุดงามอร่ามตา               จับศิลาแลเลื่อมเป็นลายลาย
พระจันทร์ส่องต้องยอดมณฑปสุก       ในหน้ามุขเงางามอร่ามฉาย
นกบินกรวดพรวดพราดประกายพราย    พลุกระจายช่อช่วงดังดวงเดือน
                                                  นิราศพระบาท....สุนทรภู่



มณฑปน้อยสวมรอยพระบาทนั้น       ล้วนสุวรรณแจ่มแจ้งแสงอร่าม
เพดานดาดลาดล้วนกระจกงาม         พระเพลิงพลามพร่างพร่างสว่างพราย
ตาข่ายแก้วปักกรองเป็นกรวยห้อย      ระย้าย้อยแวววามอร่ามฉาย
หอมควันธูปเทียนตลบอยู่อบอาย       ฟุ้งกระจายรื่นรื่นทั้งห้องทอง
                                                  นิราศพระบาท....สุนทรภู่



บันไดนาคนาคในบันไดนั้น            ดูผกผันเพียงจะเลื้อยออกโลดเล่น
ขย้ำเขี้ยวขบปากเหมือนนาคเป็น      ตาเขม้นมองมุ่งสะดุ้งกาย
                                                  นิราศพระบาท....สุนทรภู่


ใบระกาหน้าบันบนชั้นมุข           สุวรรณสุกเลื่อมแก้วประภัสสร
ดูยอดเยี่ยมเทียมยอดยุคนธร      กระจังซ้อนแซมใบระกาบัง
                                                  นิราศพระบาท....สุนทรภู่


สงัดเสียงคนดังระฆังเงียบ         เย็นยะเยียบยามนอนริมเนินผา
เมื่อยามแกนแสนทุเรศเวทนา     ต้องไสยาอยู่กลางน้ำค้างพราว
                                                  นิราศพระบาท....สุนทรภู่



ทิศประจิมริมฐานมณฑปนั้น          มีดาบสรูปปั้นยิงฟันขาว*
นุ่งหนังพยัคฆาชฎายาว               ครังเคราคราวหนวดแซมสองแก้มคาง
ขั้นบันไดจะขึ้นไปมณฑปนั้น         สิงโตตันสองตัวกระหนาบข้าง
ดูผาดเผ่นเหมือนจะเต้นไปตามทาง   พี่ชมพลางขึ้นบนบันได้พลัน**
                                                  นิราศพระบาท....สุนทรภู่




บทกลอน "นิราศพระบาท" โคลงนิราศนี้ท่านสุนทรภู่พรรณาการเดินทางขณะตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์  
พระโอรสพระองค์น้อยของกรมพระราชวังหลัง  ไปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๓๕๐      

หากลำดับเส้นทางจากท่าเรือมาพระพุทธบาทตามเส้นทางเสด็จประพาสแต่ก่อน จะผ่านระยะทางดังนี้
๑. บ่อโศก
๒. ศาลาเจ้าสามเณร
๓. หนองคนที
๔. ศาลเจ้าพ่อเขาตก
๕. พระตำหนักและสระยอ

ในกลอนนิราศของสุนทรภู่นี้  ท่านพรรณาการเดินทางถึง
๑. บ่อโศก
๒. หนองคนที
๓. ศาลาเจ้าสามเณร
๔. เขาตก  และ
๕. สระยอ




อ้างอิง: “ประวัติสุนทรภู่”  พระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ : กรมศิลปากร, ๒๕๐๖    
            * รูปพระสัจพันธดาบส  อยู่ในช่องกุฏิด้านเหนือ  เดี๋ยวนี้ปิดทองทั้งตัว  ฟันก็เป็นทองไม่ขาว
          ** สิงโตหิน ๒ ตัวเดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กันยายน 2558 17:46:51 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น: พระพุทธบาทสระบุรี 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
น้าแม๊คพาเที่ยว เขาสะแกกรัง สักการะ รอยพระพุทธบาท อันเลื่องชื่อ แห่งเมือง อุทัยธานี
สุขใจ ไปเที่ยว
หมีงงในพงหญ้า 18 17967 กระทู้ล่าสุด 01 เมษายน 2554 15:32:10
โดย หมีงงในพงหญ้า
ความเข้าใจเรื่อง "รอยพระพุทธบาท"
เกร็ดศาสนา
Kimleng 2 3821 กระทู้ล่าสุด 27 พฤศจิกายน 2555 18:07:04
โดย Bigscooler
ประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษา ปี ๒๕๕๗ ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร สระบุรี
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 7950 กระทู้ล่าสุด 25 กรกฎาคม 2557 14:27:49
โดย Kimleng
หลวงพ่อย้อย ปุญญมี วัดอัมพวัน อ.เสาไห้ จังหวัดสระบุรี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 796 กระทู้ล่าสุด 29 กรกฎาคม 2563 13:52:19
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.448 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 06 กันยายน 2567 12:05:40