[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 01:49:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมที่เกื้อกูลการทำงานและการทำความดีทุกอย่าง  (อ่าน 2113 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2553 08:03:12 »





ธรรมที่เกื้อกูลการทำงานและการทำความดีทุกอย่าง


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่าในโลกของเรานี้ มีสภาวะของธรรมและอธรรม ซึ่งสองสภาวะนี้ให้ผลที่ต่างกัน

ธรรม ย่อมอำนวยผลในทางที่ดี ทางที่เจริญ หรือทางที่ก้าวหน้า ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติย่อมมีความร่มเย็นเป็นสุข ดังนั้นธรรมจึงเป็นเครื่องส่งเสริมการพัฒนาชีวิตคน สังคม และประเทศชาติ ขณะที่อธรรมย่อมอำนวยผลในทางที่ชั่วหรือทางที่ไม่เจริญ

คำว่า "ธรรม" หมายถึงความถูกต้อง ความดีงาม หรือความเจริญ เป็นสิ่งที่เราควรปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติ เพื่อทำให้กาย วาจา และใจของมนุษย์ สะอาดและงดงาม เช่น ทำให้เกิดความเรียบร้อย ความเข้มแข็ง ความเสียสละ และความอดทน เป็นต้น

คำว่า "อุปการะ" หมายถึงการอุดหนุน การช่วยเหลือ การส่งเสริมให้มีน้ำใจโอบอ้อมอารี การสงเคราะห์ การเกื้อกูล การจุนเจือ การมีน้ำใจ และการเือื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันและกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ ซึ่งธรรมที่มีอุปการะมากมี ๒ อย่าง คือ

๑. สติ คือความระลึกได้
๒. สัมปชัญญะ คือความรู้ตัว


ธรรมสองประการนี้เป็นอุปการะที่สำคัญ และเกื้อกูลอย่างมากต่อการทำงานหรือการทำความดีทุกอย่าง

ความสามารถในการรักษาศีลและวินัยคฤหัสถ์ จะดีหรือไม่?... ขึ้นอยู่กับสติและสัมปชัญญะ ผู้ซึ่งมีธรรมสองประการนี้ย่อมเป็นคนที่รอบคอบและไม่ ประมาท เมื่อจะคิด ทำ หรือพูดสิ่งใด จะไม่มีความผิดพลาดหรือจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย

สติ หมายถึงการระลึกได้ถึงการกระทำ คำพูด และการคิด แม้ที่ล่วงมาแล้วได้ หรือ การระลึกถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึงหรือสิ่งในอนาคต เช่น เมื่อกำหนดว่าเราจะทำสิ่งหนึ่งในชั่วโมงถัดไปหรือพรุ่งนี้ เราก็สามารถนึกขึ้นได้ บทบาทของสติมีอยู่ใน ๒ กาล คืออดีตและอนาคต

สัมปชัญญะ หมายถึงความรู้ตัวว่าเรากำลังทำ พูด หรือคิดสิ่งใด ณ ปัจจุบัน เช่น ขณะ นี้เรากำลังอ่านหนังสือ เราก็รู้ตัวว่าเรากำลังอ่านหนังสือ หรือตอนนี้เรากำลังพูด เราก็รู้ตัวว่าเรากำลังพูด หรือเมื่อเรากำลังทำสิ่งที่ผิดศีล เราก็รู้ตัวว่าเรากำลังทำสิ่งที่ผิดศีล หรือขณะที่เรากำลังเล่นการพนัน เราก็รู้ตัวว่าเรากำลังเล่นการพนัน เมื่อรู้ตัวแล้วว่าเรากำลังกระทำสิ่งที่ไม่ดี เราก็สามารถเตือนตนเองได้อย่างฉับพลัน ฉะนั้น บทบาทของสัมปชัญญะย่อมมีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น

จิตกับสติ

คน เรามีจิตเป็นตัวคิดการ ซึ่งเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แต่สติเป็นคุณธรรมซึ่งกำกับจิตให้คิดไปในลู่ทางที่ถูกที่ควร จิตและสติจึงเป็นสิ่งที่แตกต่างกัน อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งเดียวกัน จิตเป็นธรรมชาติ ขณะที่สติเป็นคุณธรรม ท่านผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่าจิตเป็นเหมือนเรือ และสติเป็นเหมือนหางเสือของเรือหรือผู้คัดท้าย ถ้าเรือขาดหางเสือหรือผู้คัดท้าย เรือนั้นก็ไม่อาจเคลื่อนไปตามเส้นทางที่เราต้องการได ้ หรือเรืออาจเกยตื้นได้

เสียสติ

สติ เป็นธรรมที่เป็นอุปการะแก่การทำความดีทุกสถาน มีธรรมเกี่ยวกับสติแทรกอยู่หลายแห่ง ธรรมที่มีคำว่า "สติ" อยู่ เช่น สติปัฏฐานสี่ หรือสัมมาสติในอริยมรรค หรืออนุสสติในกรรมฐาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันว่าสติเป็นอุปการะแก่ผู้ที่ระลึกถึงการทำความ ดีทุกชั้นทุกระดับ ดังปรากฎในพุทธภาษิตว่า "สติ สัพพัตถะ ปัตถิยา" หมายถึงสติเป็นสิ่งที่ถูกต้องการในทุกแ่ห่ง

นักศึกษาอาจเคยพบคนที่ เสียสติ เช่น คนที่เป็นโรคจิต เป็นต้น จริงๆ แล้ว จิตของเขาเหล่านั้นยังคิดการต่างๆ ได้ แต่เพราะไม่มีสติที่คอยกำกับจิต ความคิดจึงเลื่อนลอยหรือใช้การไม่ได้ เราจึงเรียกเขาเหล่านั้นว่าคนที่มีสติวิปลาสหรือคนเสียสติ คนเหล่านี้อาจก่อความเสียหายหรือกระทำความผิดต่างๆ ได้ แม้แต่การฆ่าผู้บังเกิดเกล้าของเขาเอง

ศัตรูของสติ

สติ มีความสำัคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตของพวกเรา หากเราขาดสติ เราก็ไม่ต่างจากคนที่ตายทั้งเป็น ซึ่งน่าสงสารและน่าเวทนายิ่งนัก ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงพร่ำสอนให้เราระมัดระวังสติของเราเอง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย

ตามความเป็นจริง สติไม่ถูกทำให้เสียหายได้อย่างง่ายๆ เช่น เราป่วยแรมปี สติของเราก็ไม่เสียหาย หรือเราอดข้าวทั้งวัน สติของเราก็ไม่เสียหาย หรือเราทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยสายตัวแทบขาด สติของเราก็ไม่เสียหาย แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้สติเสียหายได้อย่างง่ายดาย สิ่งนั้นคือสุราหรือเหล้า พระพุทธเจ้าจึงทรงห้ามดื่มเหล้าหรือสุราเมรัย ซึ่งเป็นหนึ่งในศีล เพราะเหล้านี้เป็นศัตรูของสติ พระพุทธองค์ได้ทรงเน้นให้เห็นความสำคัญของสติว่าเป็น สิ่งที่เราควรหวงแหนและรักษา สิ่งใดก็ตามที่เป็นสิ่งเสพติดที่ใ้ห้โทษหรือทำให้ผู้เสพมัวเมา ลุ่มหลง จนเป็นเหตุให้เราไม่สามารถครองสติได้ ล้วนเป็นอันตรายต่อสติทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรละศัตรูของสติ คือน้ำเมาเสีย




Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2553 08:34:57 »





วิธีที่ช่วยทำให้เกิดสติ

๑. สำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีหลากหลายวิธีที่ถูกแนะนำ เช่น บันทึกการนัดงานในสมุดปฏิทิน ติดตั้งกระดานช่วยเตือนความจำ เป็นต้น
๒. สำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาว เราอาจปฏิบัติตามหลักกรรมฐาน คือทำสมาธิ

สิ่งที่ถูกเสนอแนะข้างบนนี้เป็นแนวทางหนึ่งในการฝึกสติ ผู้ปฏิบัติอาจหาวิธีการฝึกแบบอื่นให้สัมพันธ์กับจริต ของท่านเอง

อุปการ ธรรม คือสัมปชัญญะ ซึ่งกล่าวในเบื้องต้นแล้วว่าทำหน้าที่ในปัจจุบันเท่า นั้น มีความหมายเบื้องต้นคือการรู้ตัวว่าตนเองกำลังทำ พูด หรือคิดสิ่งใดอยู่ ซึ่งเป็นสัมปชัญญะในรูปแบบทั่วๆไป ประโยชน์ของสัมปชัญญะคือช่วยไม่ให้เผลอ ไม่ให้ประมาท ในการกระทำ อย่างไรก็ตามการกระทำที่เรารู้ตัวอาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีเสมอไป เช่น คนบางคนที่กำลังทำทุจริต เขาก็รู้ตัวว่าเขากำลังทำทุจริต แต่เขากลับตั้งใจที่จะทำให้ทุจริตนั้นแนบเนียนยิ่งขึ้น อย่างนี้ก็มี

ลักษณะที่ดีของสัมปชัญญะ

สัมปชัญญะที่ถูกตามธรรมและหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา มี ๔ ประการ คือ

๑. รู้ตัวว่าสิ่งที่เรากำลังทำนั้นเป็นประโยชน์หรือไม่?
๒. รู้ตัวว่าสิ่งที่เรากำลังทำนั้นเหมาะกับเราหรือไม่?
๓. รู้ตัวว่าสิ่งที่เรากำลังทำนั้นทำให้เกิดทุกข์หรือสุ ขอย่างไร?
๔. รู้ตัวว่าสิ่งที่เรากำลังทำนั้นเป็นสิ่งงมงายหรือไม่ ?
๕. รู้ตัวว่าสิ่งที่เรากำลังทำนั้นเลื่อนลอยหรือไร้สาระ หรือไม่?


ความ รู้ตัว ดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นองค์ประกอบของสัมปชัญญะ ซึ่งถือว่ามีอุปการะมาก เพราะเมื่อรู้ตัวแล้ว เราจะได้ปรับปรุงหรือแก้ไขการทำงานเพื่อทำให้งานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ทำให้เราไม่หลงไปทำสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ไม่หลงไปกับสิ่งที่ไม่เหมาะกับเพศภาวะของเรา ไม่หลงไปใช้วิธีการที่ผิด และไม่หลงในเรื่องที่งมงาย เป็นต้น

หาก ขาดคุณธรรมทั้งสองประการนี้ เราจะทำการงานอย่างผิดพลาดหรือเสียหาย หากเรามีทั้งสติและสัมปชัญญะ เราจะสามารถทำการงานต่างๆ ได้อย่างดีและไม่พลาดพลั้ง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ทำ พูด และคิด ด้วยสติและสัมปชัญญะเสมอ คือก่อนทำ พูด หรือคิด ให้มีสติเพื่อระลึกเสียก่อน และขณะที่กำลังทำ พูด หรือคิด ให้รู้ตัวเสมอว่ากำลังทำสิ่งใดอยู่ นอกจากนี้หากจะทำสิ่งใด ไม่ควรรีบร้อน ควรไตร่ตรอง หรือทำด้วยความสุขุม สติจึงจะเกิดขึ้นทันและได้ผลเพิ่มขึ้น โดยรวมแล้ว สตินี้คือความไม่ประมาทนั่นเอง คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดล้วนลงอยู่ในความไม่ประมาท ชีวิตของผู้ไม่ประมาท จะมีความสมบูรณ์ การดำเนินชีวิตจะไม่ผิดพลาดหรือผิดพลาดน้อยมาก

สติและสัมปชัญญะจึงได้ชื่อว่าเป็นธรรมสำหรับการส่งเสริมและพัฒนาตนเองเพื่ื่อให้มีระเบียบวินัย เพราะการมีสติ สติจะกำกับให้ระลึกได้ และการมีสัมปชัญญะ ทำให้เรารู้ตัวว่าสิ่งที่เรากำลังกระทำนั้นผิดศีลหรือไม่ เป็นอบายมุขหรือเปล่า เป็นต้น






ขอบคุณน้องเรน.... ค่ะ
Credit by : http://www.tairomdham.net/index.php/topic,295.0.html
บันทึกการเข้า
คำค้น: ธรรมในชีวิตประจำวัน เกื้อกูลการทำงาน การทำความดี การเจริญสติ สัมปชัญญะ  
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.322 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 13 กันยายน 2566 07:31:12