[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 12:37:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นิทาน คติธรรม : เรื่องของความถูกผิด (จีน)  (อ่าน 3579 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 5.0.375.99 Chrome 5.0.375.99


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2553 02:06:37 »

[ บทความต่อไปนี้ถูกโพสท์โดย อ.ฐิตา แอดมินขออนุญาตคัดลอกจากบอร์ดเก่ามาให้ทุกท่านได้ชม ]



เรื่องของความถูกผิด


จีนสมัยโบราณ ยังมีวัดพุทธศาสนาใหญ่อยู่วัดหนึ่ง มีระเบียบให้คนในวัดมาประชุมทำวัตรสวดมนต์กัน ณ ศาลาแหล่งกลาง ด้วยการตีระฆังใบใหญ่ตอนตีสี่ทุกวัน ครั้งนั้นมีพระภิกษุรูปหนึ่ง ทุกๆวัน แกจะขมีขมันอุตส่าห์ตื่นก่อนเวลาจุดไฟเดินส่องไปตามทางปูหินก่อนใครๆเพื่อจะได้จับหอยทากที่คลานอยู่ตามทางเท้า ไปปล่อยเสียให้ห่างในที่ปลอดภัย เพราะไม่อย่างนั้นถึงเวลาระฆังสัญญาณขึ้น ผู้คนเดินไปสู่ศาลากันมากมาย จะเหยียบถูกหอยทากตาย      แกทำอย่างนี้ทุกๆวันวันแล้ววันเล่า จึงมีภิกษุอื่นสังเกตเห็น เลยเกิดมีการสอบถามขึ้นในที่พร้อมหน้าว่าทุกวันนั้น ทำทำไม?

ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผมใช้ชีวิตอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อประกอบความดี สร้างบารมีเรื่อยไปนะแหละ นอกจากจะสวดมนต์ภาวนาเท่ากับคนอื่นแล้ว ผมก็หาบุญกุศลพิเศษอีกด้วยนะซิ” ภิกษุอีกรูปหนึ่งค้านขึ้นว่า “ท่านทราบไหมที่ทำอย่างนี้เหมือนกับก่อกรรมทำเข็ญ ยังบาปโทษให้เกิดแก่ชาวเรือกชาวสวน เพราะความเดือดร้อนด้วยหอยทากที่ท่านช่วยสงวนพันธุ์ไว้ให้ระบาด กระจายไปที่อื่นๆนอกวัด ทางการเขาสั่งกำจัดสัตว์แพร่โรคชนิดนี้กันหมดแล้ว จะยังเหลือก็แต่แหล่งเพาะพันธุ์ในวัดนี้แหละ คนทั้งหลายก็พลอยได้รับผลของการกระทำของท่านไปทั้งแขวงเมืองฝ่ายใต้นี้” ภิกษุอีกรูปหนึ่งพูดขึ้นว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านรูปนั้นมิได้มีเจตนาให้เป็นภัยแก่คนทั้งหลายเหล่านั้น ตรงข้ามท่านกำลังบำเพ็ญหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ ทำการปลดปล่อยสัตว์แปดหมื่นสี่พันจากวิบัติ และยังช่วยปลดปล่อยทำความปลอดภัยให้พวกเราในวัดนี้ ได้บำเพ็ญความบริสุทธิ์ ไม่ต้องไปมีเหตุต้องทำชีวิตให้ตกล่วงไปอีกด้วย”

 เมื่อไม่เป็นที่ตกลงกันได้ ทั้งหมดก็พากันไปหาหลวงพ่อโตกุซัน เจ้าอาวาส ท่านอาจารย์ผู้เฒ่านิ่งฟังการชี้แจงของแต่ละราย-แต่ละความเห็น ด้วยความกรุณาและเห็นใจเป็นที่สุด ท่านได้แต่จ้องหน้าตั้งใจฟังคนนั้นที คนนี้ที ภิกษุรูปแรกชี้แจงว่า “ผมก็มีอายุมากแล้ว มาบวชเรียนในพุทธศาสนานี้ ก็เพื่อมาทำความดี ความดีแม้จะน้อยหนึ่งแต่หมั่นประกอบกระทำทั้งกลางคืนกลางวัน ย่อมจะเต็มได้เหมือนหยาดน้ำทีละหยดๆ อาจเต็มตุ่มได้ อย่างนี้จะว่าเป็นโทษบาปได้อย่างไรครับ หลวงพ่อ?” ท่านอาจารย์พอฟังจบแล้ว ก็ตอบแสดงความชอบใจว่า “ถูก-ถูก ถูกแล้ว”

ภิกษุรูปที่สองชี้แจงว่า “ถ้าว่าโดยเตนากันแล้ว หากมีคนใดไปเหยียบหอยทางเวลาเดินไปสวดมนต์ตอนมืดๆนั่นก็มิใช่เจตนาฆ่า เมื่อไม่มีเจตนา ก็มิใช่เป็นกรรมอันใด ผลยังจะสะท้อนว่าเป็นความปลอดภัยของมหาชนเป็นอันมาก ที่วัดนี้ไม่ได้เป็นแหล่งสุดท้ายที่มีหอยทาก อันเป็นสัตว์ทำลายพืชผลและตัวเพาะโรคห่าสู่ประชาชน และยังชื่อว่าช่วยกันทำตามประกาศของข้าราชการที่ให้หัวเมืองฝ่ายเหนือใต้ กำจัดพาหะนำเชื้อชนิดนี้อีกด้วย ทั้งคนในวัดนี้ก็จะได้อยู่กันอย่างไม่มีโรคเพื่อประกอบกิจ ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์กันต่อไป เป็นผลดีทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสิ้นทั้งมวล มิใช่หรือครับ หลวงพ่อ?” ท่านอาจารย์พอฟังจบแล้ว ก็ตอบแสดงความชอบใจว่า “ถูก-ถูก ถูกแล้ว”

 ภิกษุรูปที่สามชี้แจงว่า “การบำเพ็ญธรรมให้ความปลอดภัยแก่คนส่วนใหญ่โดยมีใครคนใดคนหนึ่งเสียสละ รับเป็นภาระไปเสีย เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกๆคนเขาได้ประกอบกระทำความหลุดรอดไปตามทางของเขา ตลอดถึงสัตว์ใดๆแม้จะอยู่ในร่างที่ต่ำต้อยอยู่ธรรมชาติแห่งการตรัสรู้ก็มิได้มีน้อยหรือมากขึ้น เพียงปัญญาญาณโพลงวาบเดียว ผลกรรมใดๆแม้มากน้อยเท่าใด ย่อมถูกยกเลิกเสียหมดสิ้น ดูแต่มหาโจรใจร้าย บาปกรรมเกรอะกรังก็ยังเปลื้องกรรมอันมหันต์นั้นได้เพียงชั่วอึดใจเดียว อย่างนี้ก็มิเป็นการถูกต้องหรือครับ หลวงพ่อ?” ท่านอาจารย์พอฟังจบแล้ว ก็ตอบแสดงความชอบใจว่า “ถูก- ถูก ถูกแล้ว”

ขณะนั้น สามเณรอุปฐาก กำลังนั่งพัดอยู่ข้างหลังอาจารย์ผู้เฒ่าได้ฟังเขาชี้แจงทีละคนๆและหลวงพ่อก็ยอมรับว่าเขาแต่ละรายถูกๆๆ เณรอดทนฟังต่อไปไม่ได้ ก็เอ่ยขัดขึ้น เพื่อขอโอกาสออกความเห็น หลวงพ่อโตกุซัน ทราบดังนั้น ก็เหลียวหมุนตัวมาตั้งใจฟังสามเณรอีกรายหนึ่ง... สามเณรน้อยติงว่า “หลวงพ่อได้แต่ร้อง ถูก-ๆ-ๆ มันจะมีถูกกันไปหมดทุกฝ่ายได้อย่างไร ถ้ามีถูกอันใด อันอื่นก็ต้องผิดซิ หลวงพ่อ?” ท่านอาจารย์ผู้เฒ่าพอฟังจบ ก็ตอบแสดงความชอบใจว่า “อ๊ะ นี่เธอก็ถูก-ถูก ถูกแล้ว” นิทานก็จบ.


คติธรรม

นิทานเรื่องนี้จะสอนให้รู้ว่า การมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นเราสามารถมองได้หลายแง่มุม ตามแต่ว่าใครจะมองในแง่มุมใด ซึ่งในแต่ละแง่มุมนั้นย่อมที่จะเหตุผลที่ถูกต้องของมันอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งก็อาจจะไม่ถูกต้องถ้ามองในแง่มุมของคนอื่นก็ได้ ซึ่งภิกษุรายแรกก็มีเหตุผลในแง่ของจิตใจหรือการทำความดี ส่วนภิกษุรายที่สองก็มีเหตุผลในแง่ของผลประโยชน์หรือเศรษฐกิจ ส่วนรายที่สามก็มีเหตุผลในแง่ของการบำเพ็ญบารมีเพื่อความพ้นทุกข์ ส่วนสามเณรก็มีเหตุผลในแง่ของความแตกต่าง ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ยึดถือว่าเหตุผลของตนเองถูก และของคนอื่นผิด จึงทำให้เกิดการถกเถียงกันอย่างไม่รู้จักจบสิ้น

ซึ่งจะมีก็แต่หลวงพ่อโตกุซันเท่านั้นที่เข้าใจ แต่ก็ไม่รู้จะสอนลูกศิษย์ให้เข้าใจได้อย่างไร เพราะลูกศิษย์แต่ละคนได้ยึดถือความเห็นของตนไว้แน่นจนไม่รับฟังความเห็นของผู้อื่น หรือไม่ปล่อยวางความเห็นของตนบ้าง ซึ่งก็คงจะเหมือนสมัยนี้ที่มีการถกเถียงกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตนเอง และนำมาคัดค้านหรือทำลายความเห็นของฝ่ายตรงข้าม จึงทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นจนกลายไปเป็นการทะเลาะวิวาทกันขึ้นในที่สุด ถ้าต่างฝ่ายต่างก็มาทำใจให้ว่าง และยอมรับฟังความเห็นของฝ่ายตรงข้ามบ้าง การทะเลาะวิวาทกันหรือขัดแย้งกันก็จะไม่เกิดขึ้น สังคมเราก็คงจะน่าอยู่กว่านี้




 :) http://www.tamdee.net/main/read.php?tid-435.html

ขอบพระคุณที่มามากมายค่ะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 กรกฎาคม 2553 02:10:44 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: นิทาน คติธรมม เรื่องของความถูกผิด 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
นิทาน คติธรรม : ผู้รับ ผู้ให้ (ญี่ปุ่น)
นิทาน - ชาดก
หมีงงในพงหญ้า 0 3608 กระทู้ล่าสุด 22 กรกฎาคม 2553 02:10:03
โดย หมีงงในพงหญ้า
คติธรรม คำสอน :ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 11 19824 กระทู้ล่าสุด 10 กุมภาพันธ์ 2556 11:59:57
โดย เงาฝัน
ธรรมบันเทิง : The Jungle Book นิทาน “ธรรมะ” จากผืนป่า
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
มดเอ๊ก 0 1362 กระทู้ล่าสุด 28 มิถุนายน 2559 22:13:45
โดย มดเอ๊ก
อาจารย์ยอด : อภินิหารโป๊ยเซียน (ฉบับเต็ม) [นิทาน] Exclusive
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1588 กระทู้ล่าสุด 09 ตุลาคม 2559 15:51:26
โดย มดเอ๊ก
การทรงเจ้าเข้าผี คติธรรม พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
Kimleng 0 1102 กระทู้ล่าสุด 27 ธันวาคม 2562 12:46:54
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.304 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 01 มีนาคม 2567 16:37:06