[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 16:04:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สติปัฏฐาน ๔ พระธรรมเทศนา - พระโพธิธรรมาจารย์เถร (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)  (อ่าน 22078 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 26.0.1410.64 Chrome 26.0.1410.64


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2556 12:07:17 »

สติปัฏฐาน ๔



พระธรรมเทศนา
พระโพธิธรรมาจารย์เถร (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)
แสดง ณ. วัดป่าอุดมสมพร
เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓

ต่อไปนี้ ขอให้ทุกท่านจงสำรวมใจของเรา เพื่อให้เกิดความสงบ เพราะเราต้องการความสุข เมื่อใจสงบแล้วก็มีสุข ความสุขที่เกิดขึ้นจากความสงบนั้น เป็นความสุขที่สะอาด ความสุขที่บริสุทธิ์ และเป็นความสุขที่มั่นคงถาวร หาได้โดยไม่เดือดร้อนทั้งตัวเองและบุคคลอื่น เป็นความสุขที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้บรรลุถึง แล้วประกาศให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟังอบรมฝึกฝนให้ได้ความสุขเช่นนั้น เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ให้พากันตั้งใจฟังธรรมเพื่อให้เกิดความสงบสุข

เพราะเราทั้งหลายต้องการความสุข ให้พากันดูซิว่า ความสุขอยู่ที่ไหน ให้เราตรวจดูเสียก่อน การภาวนาไม่ต้องรีบร้อน ให้ตรวจให้มีความรู้สึกตัวของเราให้สมบูรณ์ให้รอบคอบ แล้วปลอบจิตของเราให้ดี ตั้งใจให้ดี เพราะความสุขนั้นมาในรูปลักษณะแห่งความดี ใจที่ดีนั้นต้องมีคุณธรรมประจำใจของเรา คุณธรรมที่ดีสูงสุด ก็คือพระพุทธเจ้า ถ้าพูดถึงอานุภาพแล้ว พระพุทธเจ้ามีอานุภาพ ถ้าพูดถึงความประเสริฐแล้ว พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าบรรดาสัตว์ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐสูงสุด เพราะฉะนั้นเราเอาคุณของพระองค์มาระลึกไว้ในใจ เรียกว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ แล้วพยายามระลึกถึง พุทโธ พุทโธ เราพึงทำความเข้าใจว่า พุทโธนั้นคือเป็นผู้ตื่น เมื่อเราระลึกพุทโธ แล้วเราต้องรู้ตัว ธรรมดาคนตื่นคือคนรู้ตัว คนหลับคือคนไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้น ว ีภาวนาพุทโธอย่าให้หลับ อย่าให้หลงต้องรู้ตัวอยู่เสมอ ต้องทำความรู้ตัวให้มีกำลัง คำว่ารู้ตัวนี้ รู้กว้างๆ คือตัวที่เรานั่งอยู่ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่สงบก็ตาม ให้รู้ตัวเสียก่อน เมื่อเราระลึกพุทโธ สร้างความรู้ พุทโธ รู้ตัวความรู้ ค่อยตั้งตัวได้แล้ว เราก็พยายามใช้ความเพียร ใช้ความระลึกเพื่อเป็นกำลังของจิต เพื่อให้จิตมั่น ทำงานตามความต้องการของเรา

เมื่อเราระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ความรู้นั้นย่อมแผดเผากิเลสที่ทำให้เราหลงได้ เพราะความรู้กับความหลงนั้นเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม ถ้ามีความรู้น้อย ความหลง ความพลั้ง ความเผลอก็มากขึ้น ถ้ามีความรู้ตัวมาก ความหลงก็น้อยลงไป ถ้าเรามีความรู้เต็มเปี่ยม ความหลงก็ไม่มี เพราะมันไม่มีที่อยู่ ที่เกาะ ที่อาศัย เพราะฉะนั้นเราพยายามบรรจุความรู้คือพุทโธนั้น แม้แต่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็ต้องการความรู้ ไม่ใช่ต้องการอันอื่นเพื่อกำจัดความหลง ความหลง ถ้าเราไม่ตรวจตรองพิจารณาแล้ว เราไม่เข้าใจว่าเป็นภัยอย่างสำคัญ เราผู้ต้องการความสุข สิ่งที่ก่อกวนมีกิเลสเป็นต้น มันต้องอาศัยความหลงนี้แหละเกิดขึ้น ไม่ว่าความโกรธก็ดี ไม่ว่าความโลภก็ดี หรือราคะโทสะก็ดี ต้องอาศัยความหลงเป็นพื้นฐาน หรือจะว่าเป็นสิ่งที่อาศัยเกิดขึ้นก็ว่าได้ เพราะฉะนั้นการภาวนาเพื่อความรู้ตัวนี้แหละ จึงเป็นเครื่องแผดเผาความหลงให้หมดไป เมื่อความหลงไม่มีแล้ว สิ่งที่ดีมีอยู่ในจิตใจเราก็รู้ สิ่งที่ไม่ดีมีอยู่ในจิตใจเราก็เห็น เพราะเราไม่หลง จิตใจมีความสุขเราก็รู้ จิตใจมีความทุกข์เราก็รู้


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 26.0.1410.64 Chrome 26.0.1410.64


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2556 12:07:50 »

ความสุขและทุกข์ทั้งสองอย่างนี้ เราต้องการสิ่งใด เราก็เอาสิ่งนั้นไว้ สิ่งไหนที่เราไม่ต้องการคือความทุกข์ เราไม่ต้องการ เมื่อเรารู้แล้ว เราก็พยายามศึกษาในเรื่องทุกข์ ว่ามีมูลฐานมาจากอะไร ที่ไหนความทุกข์ทางกายมีอะไรเป็นปัจจัย อาศัยอยู่ได้อย่างไร เราก็ควรศึกษา การศึกษารู้ทุกข์เป็นกิจญาณในสัจจะ คือเราจะต้องศึกษา เพราะเราไม่ต้องการทุกข์ เพื่อเราจะออกจากทุกข์ หรือต้องการพ้นจากทุกข์ ทุกข์ที่เราได้ยินได้ฟังมาในพระสูตร ท่านชี้ลงที่ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เราก็ควรรู้จักว่าชาติอยู่ไหน อะไรเป็นชาติ คำว่าชาติความเกิดนี้เป็นที่ประชุมรวมแห่งขันธ์ห้ามีอยู่ในตัวของเรานี้เอง

ขันธ์ห้าที่เราเคยยึดว่าเป็นตัวเรานั้น เราควรศึกษาว่าเป็นตัวของเราแน่นอน หรือมีรูปเป็นต้น เรามากำหนดรูป ว่ามีเราอยู่ตรงไหน เมื่อเราถามโดยสัจจะโดยธรรมแล้ว ไม่เห็นมีตัวเราอยู่ตรงไหน หรือของเราอยู่ตรงไหน สิ่งเหล่านั้นก็จะกลายเป็นสภาพกลายเป็นธรรมไป ผมก็เป็นธรรม ขนก็เป็นธรรม คำว่า “ธรรม” คือสภาวะแห่งความจริงที่มีอยู่และปรากฏอยู่ เขาเป็นอยู่อย่างนั้น ธรรมเหล่านั้นเขาไม่ได้รับรู้ว่าเขาเป็นผม เขาไม่ได้รับรู้ว่าเขาเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่เราไปสมมุติเรียกเขาแล้วก็หลงยึดหลงถือ หลงยินดียินร้าย ทุกข์จึงเกิดขึ้นเมื่อสิ่งเหล่านั้นมันเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของธรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้วมันต้องมีความคร่ำคราทรุดโทรมไปตามหลักสูตรของมันเอง

สูตรของธรรมนี้เปิดเผย มิได้ปกปิดตั้งแต่ไหนแต่ไร ตั้งแต่อดีต ใครเกิดมามีประมาณเท่าใด ความแก่ก็มีประมาณเท่านั้น ไม่มีใครจะเหลืออยู่ได้แม้แต่คนเดียว จะได้ศึกษาวิชาความรู้สูงเท่าใดก็ตาม หรือจะได้รับความนิยมชมชอบ สมมุติว่าเป็นผู้ที่มียศฐาบรรดาศักดิ์สูงอย่างไรก็ตาม ความแก่นี้มิได้เกรงกลัวอำนาจหรือความรู้ใดๆ ทั้งสิ้น จึงเรียกว่า “ธรรม” เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา มีเท่าไรก็แก่เท่านั้น เพราฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เราสมควรจะศึกษาได้ ไม่ใช่เป็นของปกปิด มีประจำตัวของเราทุกๆ คน แต่ที่เราไม่แจ้งชัดในจิตในใจนี้เพราะความหลงตัวนี้เอง คอยมาขัดขวางให้เรามัวเมาไป ไม่ได้ดูให้แจ้งชัด พอใกล้จะรู้แล้วก็ถูกส่งสิ่งอื่นมาปกปิด ก่อกวนให้จิตใจเราไม่อยู่คงที่ ให้ไปรู้เรื่องอื่นใหม่อีกอยู่เรื่อยไป จิตที่เราแก้ความหลงก็เลยทำไม่สำเร็จ

เพราะฉะนั้น เราจะต้องการความสำเร็จให้ถึงที่จุดหมายปลายทางนั้น ต้องทำให้ต่อเนื่องกันไป อย่าให้ความหลงเกิดขึ้นได้ พยายามรักษาความรู้ไว้เพื่อให้ตื่นอยู่เสมอเรียกว่า “พุทโธ” ระลึกรู้อยู่อย่างนั้น เพื่อไม่ให้หลง ถ้าหากความหลงเกิดขึ้นในเรื่องอันใด เราก็พยายามวิจัยในเรื่องนั้น เพื่อให้คลี่คลายความหลง เพื่อให้รู้ความจริงว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรหลง เพราะเมื่อเราหลงแล้ว นำทุกข์นำความมัวหมอง นำความลำบาก นำความเสียใจ นำความกระวนกระวายมาสู่ตัวของเรา เราทั้งหลายที่ได้รับทุกข์มีประมาณเท่าใด ทุกข์เหล่านั้นไม่ใช่มาจากอื่นไกล มาจากกิเลสตัวหลงที่เราไม่ได้ผูกให้เกิดความรู้ ขับไล่มันให้ออกไปเราจึงหลงแล้วหลงอีก ยึดมั่นถือมั่นสำคัญหมายต่าง ๆ นานา เป็นเหตุให้หนักอกหนักใจ เป็นเหตุให้เดือดร้อนเนื้อร้อนใจ เป็นเหตุให้มัวหมองในจิตในใจ

เพราะเหตุนั้นเราทั้งหลายจงพยายามฝึกหัดอบรมวิธีภาวนาให้รู้ เพื่อจะได้แก้ความหลง เมื่อเราบรรจุความรู้ในจิตใจของเราไม่ให้เผลอหนักเข้าๆ แล้ว จิตถึงสภาพมีกำลังความเป็นหนึ่ง ก็ได้รับความวิเวก มีความสงบเมื่อความสงบเกิดขึ้น ความสุข ความอิ่มอกอิ่มใจก็ย่อมเกิดขึ้นจากความสงบนั้น แต่ไม่ใช่การหลับ การหลับนี้ ไม่ใช่สมาธิ ไม่ใช่ภาวนา ถึงแม้ว่าจะสงบก็จริงแต่ไม่มีประโยชน์ เพราะจิตถูกกิเลสคือความหลงครอบงำไม่รู้ตัว ลืมไปหลับไป จิตไม่เอาการเอางานเอาธุระอันเรียกว่ากรรมฐาน

การภาวนานี้เป็นการงานชนิดหนึ่ง เป็นงานที่ออกจากทุกข์ ก็คือออกจากความหลง ความไม่รู้ตัวนี้เอง ให้เกิดความรู้ตัวขึ้นมา ขอให้เราท่านทั้งหลายที่เริ่มต้นภาวนานั้นอย่าอยากรู้มาก เพียงแต่รู้ตัวก็พอแล้ว รู้ตัวอย่างเดียวให้เป็นหนึ่งจริงๆ จะเป็นผู้เข้าถึงพุทโธ




บันทึกการเข้า
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 26.0.1410.64 Chrome 26.0.1410.64


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2556 12:08:03 »

ที่แท้จริง ไม่เอาอะไรหรอก เอาความรู้ตัวอยู่นี่ ไม่ให้เผลอกำหนดเหมือนกับไฟที่ติดสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่มีดับไม่มีมืด ให้ติดต่อเนื่องกัน แม้แต่ขณะหายใจเข้าออกก็ไม่มีเผลอ แต่อย่าไปข่มบังคับจนเป็นทุกข์ ในขณะที่รู้ตัวนั้น เราทำความพอใจ ทำความสบายใจ ทำความดีใจปลอบใจของเราให้มีความพยายามในอารมณ์อย่างนี้ เราจะออกจากทุกข์ได้เพราะความรู้ตัวนี้
เมื่อความรู้เต็มเปี่ยมมีกำลังแล้ว เราก็สามารถจะใช้ความรู้นั้นระลึกธรรมต่างๆ อดีตก็ตาม ปัจจุบันก็ตาม สามารถที่จะรู้ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เริ่มต้นพระองค์ก็ตั้งสติ คือความรู้อันนี้เอง ลมหายใจเข้าก็รู้ ลมหายใจออกก็รู้ ทำความรู้ตัวอยู่อย่างนี้ เมื่อความรู้ในปัจจุบันมีกำลังเต็มที่จนจิตใจสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์อันอื่นที่จะมาหลอก ที่มาดึงไปมาลากไป ทีเพียงพยายามรู้ ความรู้อย่างเดียวเท่านั้น มีกำลังเต็มที่แล้ว พระองค์จึงน้อมรับความรู้อันนั้น ถอยหลังไปที่พระองค์ได้ผ่านมาแล้ว ว่าเรามาจากไหน มาอยู่ที่นี้ พระองค์ก็สามารถใช้ความรู้ระลึกตามลำดับที่พระองค์ผ่านมา พระองค์มาอย่างไร เกิดมาอย่างไร อยู่ในครรภ์เป็นอย่างไร เพราะจิตดวงนี้แหละเป็นผู้รู้ มีลักษณะรู้อยู่แล้ว แต่ถูกอารมณ์หลงเข้าครอบงำ เราจึงไม่สามารถที่จะเข้าใจในตัวของเราว่าได้มาจากไหน อยู่อย่างไร พระองค์สามารถระลึกในชาติถอยหลังไปอีก ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง จนถึงอสงไขยชาติบ้าง เรียกว่าบุพเพนิวาสานุสติญาณ อาศัยสติที่พระองค์เจริญให้เต็มที่บริบูรณ์ เกิดความรู้ตัวเอง มีพลังอย่างเต็มที่ในจิตใจแล้ว สามารถไปใช้ระลึกที่พระองค์ท่องเที่ยวมา มีประมาณเท่าใด ความรู้ส่วนนี้ก็มีกำลังเพียงพอแล้ว สามารถที่จะรู้ได้ จนถึงอสงไขยชาติ ไม่มีที่สิ้นสุด

การระลึกชาติได้นั้นมีประโยชน์ทำให้ผู้รู้นั้น มีความสลดสังเวชในชาตินั้นๆ เคยทำชั่วอย่างนั้น ได้รับทุกข์อย่างนั้น แต่แล้วทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในตัวของเรานับชาติไม่ถ้วนนั้น ไม่ใช่เพราะความดี ล้วนแต่เป็นความชั่วที่เกิดขึ้น อาศัยความหลง เราเข้าใจผิดนึกว่าเป็นความดีแล้วกระทำ เกิดความเบื่อหน่ายในการกระทำต่อไปอีก มีประโยชน์คือทำให้พระองค์รู้ความจริงขึ้นมา สลดสังเวชเบื่อหน่าย คลายความยินดีในภพในชาติที่เกิดแล้วเกิดเล่า ไม่มีที่สิ้นสุด แล้วพระองค์สามารถกำหนดจากปัจจุบัน แล้วจะไปอย่างไรต่อไปอีก



บันทึกการเข้า
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 26.0.1410.64 Chrome 26.0.1410.64


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2556 12:08:42 »

มนุษย์ทั้งหลายทั้งปวงทั้งพระองค์เองและบุคคลผู้อื่น พระองค์ก็สามารถระลึกในปัจจุบันว่าบุคคลผู้ใดทำดีไว้ ได้ละอัตตภาพนี้แล้ว ก็ไปในทางสุคติ บุคคลผู้ใดทำชั่วไว้ ความชั่วนั้นกลายเป็นนิสสัยเป็นปัจจัย และติดตัวบุคคลผู้นั้น จะต้องไปสู่ทุคติ เพราะความไม่ดีของตนที่ตนกระทำไว้อันเป็นกรรมอันมัวหมอง

พระองค์รู้แจ้งชัดข้อเท็จจริงข้อนี้ พระองค์เกิดความเบื่อหน่ายในการเวียนว่ายตายเกิด เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตายไม่มีที่สิ้นที่สุด แต่เราไม่รู้ตัวว่าเราเคยเกิดมาแล้ว และเคยตายมาแล้วหลายภพหลายชาติ แล้วจะต้องไปเกิดอีกไม่มีที่สิ้นที่สุด เราจึงเป็นคนมัวเมา จึงเป็นคนประมาท จึงเป็นคนหลง ไม่มีความเพียร ไม่มีความพยายามเพื่อจะออกไปจากความเกิดอันนี้ มีแต่ยินดีในความเกิด มีแต่ความปรารถนาในภพในชาติของตนไม่มีที่สิ้นสุด

พระองค์มีความเบื่อหน่ายแล้วพระองค์กลับมาดูจิตในปัจจุบัน ธรรมชาติอะไรที่ทำให้เราท่องเที่ยวไม่มีที่สิ้นสุด พระองค์ก็มากำหนดที่จิตในปัจจุบัน มาเป็นอาสวะเครื่องดองในจิตในใจ อาสวะเครื่องดองนั้น คือความรักใคร่พอใจนี้ส่วนหนึ่ง ในรูปในเสียงในกลิ่นในรสที่เรามีอยู่ในจิตใจอยู่เป็นประจำ ที่พาให้เราก่อภพก่อชาติ ไม่มีที่สิ้นที่สุด เมื่อเราพอใจในสิ่งใด เราก็ยึดไว้ เกิดอุปาทานในสิ่งนั้น เมื่ออุปาทานมีในจิตใจแล้ว เราอุปาทานสิ่งใด เราก็จะต้องไปอยู่ในที่นั้น ท่องเที่ยวอยู่ในที่นั้น เพราะความอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ก็อาศัยอุปาทานเป็นปัจจัย

เหมือนกับเราทั้งหลายในชาติปัจจุบันนี้แหละ ถ้าเรายึดที่ไหนเป็นที่นอน เวลาเราต้องการนอน เราก็พาร่างอันนี้แหละไป ถึงแม้ว่าเราไปอยู่ที่อื่นก็ตาม ก็ไปปรากฏตัวอยู่ที่นั้น ถ้าเราอุปาทานในภพที่ดี เราก็ได้ไปในที่ดี ถ้ามีทุนพอจะไปได้ ถ้าหากเราอุปาทานในสิ่งที่ไม่ดี เพราะจิตน้อมไปพอใจเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ดี ก็ให้ปรากฏตัวในสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้น เราทั้งหลายมาบำเพ็ญกุศล ที่ได้มาปรากฏตัวอย่างนี้ก็เพราะจิตใจได้ระลึกนึกอุปาทานสถานที่นี้ก่อน หลังจากนั้นเราก็เตรียมสิ่งของเพื่อเป็นปัจจัย อาศัยกำลังทางร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ได้มาถึงที่ๆ เราทั้งหลายมาปรากฏก็เพราะจิตถึงก่อน อุปาทานก่อนจากนี้ไปเรายังมีภพอยู่ที่ไหน อุปาทานอยู่ที่ไหน เราก็จะต้องไปที่นั้นอีก ตามที่เราคิดไว้ ยึดไว้แล้ว ไม่ใช่เราไปแล้วจึงคิดตามหลัง คิดยึดไว้แล้วจึงไปได้ นี่แหละที่เรามาเทียบดูเห็นง่ายๆ ว่าเราอยู่ที่ไหน ไปที่นั่น ไปเกิดที่นั่น ไปอยู่ที่นั่น เมื่อระลึกถึงภพใหญ่

ที่ขันธ์ทั้งหลายแตกดับไปแล้วเรายึดที่ไหนที่เราเคยทำไว้จนเคยชิน เราระลึกถึงบุญกุศลก็ย่อมไปเกิดในสุคติ ให้มีความสุขเป็นใหญ่
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเห็นความอุปาทานอันนี้ พระองค์จึงเกิดความเบื่อหน่ายที่ต้องท่องเที่ยวอยู่ในภพวัฏฏสงสาร เพราะอาศัยความพอใจ จึงเกิดความยึดถือความรักใคร่ความพอใจ กามาสวะ ภพซึ่งเกิดจากอาศัยความอุปาทานนี้เอง มีอุปาทานเป็นภพ เป็นชาติเป็นชรา พยาธิ มรณะ เป็นอาสวะดองอยู่ในจิตใจ เมื่อเราไม่เห็นโทษเห็นภัยของความยึดถือในสิ่งใด ก็จะต้องแบกสิ่งนั้นเป็นภาระหนัก

เพราะฉะนั้น เราพยายามทำลายภพคือเรารู้จักโทษของขันธ์ มีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณแต่ละอย่างๆ นี้ ล้วนแต่เป็นภาระอันหนัก ล้วนแต่มีอยู่ในลักษณะที่ทำให้เราผู้ยึดถือไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร มีแต่ภาระอันหนักเพราะสิ่งเหล่านั้น อยู่ในลักษณะที่เรียกว่าอนิจจัง คือความไม่แน่นอน เมื่อเราผู้ยึดถือตายไป แม้จะต้องการสักเท่าไร สิ่งเหล่านั้นก็เปลี่ยนแปลงไป

บันทึกการเข้า
Compatable
นักโพสท์ระดับ 11
*

คะแนนความดี: +3/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1210


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 26.0.1410.64 Chrome 26.0.1410.64


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2556 12:09:44 »

เหมือนกับเราถือรูปขันธ์ของเรานี่แหละ เรารักเราหวงแหนอย่างยิ่ง ทำนุบำรุงทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกวันทุกเวลา มันต้องการสิ่งใดๆ เราก็หามาให้ แต่ถึงอย่างนั้น อนิจจังคือความเปลี่ยนแปลง ความไม่เที่ยง ความชราภาพ ความคร่ำคร่า ความสูญสลาย ความหมดไป มันก็หมดไปสิ้นไปทุกวัน ทุกเวลา เราจะต้องหามาบำรุงซ่อมแซมอยู่เสมอมิได้ขาด ถึงอย่างนั้นก็ยังทรุดโทรมไปตามลำดับ มีพยาธิ โรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นให้ได้รับทุกข์ทรมาน ทั้งๆ ที่เราทะนุถนอมปฏิบัติป้องกันทุกอย่างๆ ก็ยังมีการเจ็บไข้ได้ป่วย เราแก้ไขอย่างไรก็หนีไม่พ้น

เพียงแต่เจ็บไข้ได้ป่วย ถ้ามันอยู่มั่นคงถาวรอย่างนั้น ก็ยังพอทำเนา แต่ยังจะแตกสลายกันไปอีก ไม่เหลืออะไรสักอย่างเลย ที่เราเหน็ดเหนื่อยมาก็เปล่า ไม่ได้รับประโยชน์เลยในรูปขันธ์อันนี้

เมื่อพิจารณาแล้วที่เรามาอาศัยขันธ์อันนี้ ไม่ใช่ที่จะให้เกิดความสุขเหมือนกับที่เราเข้าใจ ล้วนแต่นำความมัวหมองในจิตใจของเราให้เกิดขึ้นทั้งนั้น เมื่อเรารู้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์แล้ว ความหลงในสิ่งเหล่านี้น้อยลง หรือไม่มีความหลง จิตของเราก็สงบ
ยิ่งรู้เท่าไร ยิ่งมีความสงบ มีความสงบเท่าไร ยิ่งมีความสุข มีความรู้ความสงบ จิตใจของเรายิ่งสะอาด ยิ่งบริสุทธิ์ ความสะอาดและความบริสุทธิ์นี้ ย่อมไม่มีภัยที่เกิดขึ้นจากความบริสุทธิ์อันนี้เลย

คำว่า “ภัย” มีชาติ มีชรา พยาธิ มรณะ อันเป็นทุกข์อันนี้ไม่มีอยู่ในความสะอาดและบริสุทธิ์ที่จิตใจมองเห็นโทษเห็นภัยแล้ว จิตใจเบื่อหน่ายคลายความกำหนัด คลายยินดีปล่อยสละวาง ไม่ยึดมั่นสำคัญหมาย ยังเหลือแต่ธรรมชาติผู้รู้อย่างบริสุทธิ์ผ่องใสสะอาด

สิ่งเหล่านี้ถ้าเราทั้งหลาย มีความรู้เพียงพอ มีความพยายามสะสมความรู้ตัวเรียกว่า “พุทโธ” ให้มากขึ้นมาแล้ว จะเอาความรู้นั้นไปใช้ในส่วนไหน เราก็จะได้เห็น รู้แจ้ง เห็นจริงเห็นแจ้งชัด สิ่งไหนควรทิ้งก็ทิ้ง สิ่งไหนควรเอาไว้ เราก็เอาไว้เพื่อให้เกิดประโยชน์ เมื่อกิจการงานของเราที่เราต้องทำเสร็จสิ้นแล้ว เราก็ไม่ต้องเป็นห่วงในสิ่งเหล่านั้นอีก เราก็จะได้อยู่สบาย นั่งสบาย เดินสบาย คนอื่นเขาวุ่นวาย พระพุทธเจ้าพระองค์ผู้เสร็จกิจแล้วไม่วุ่นวาย

ผู้อื่นถูกแต่ความแก่ครอบงำ มีทุกข์เดือดร้อน มีความเจ็บไข้ครอบงำ มีความตายครอบงำ เดือดร้อน ดิ้นรน วุ่นวาย มัวหมอง พระองค์ไม่วุ่นวาย พระองค์ไม่มัวหมอง พระองค์ไม่ทุกข์ใจ เพราะพระองค์ไม่ทุกข์ใจ เพราะพระองค์รู้ของจริง
เราทั้งหลายจะถึงสภาพแห่งความจริงเช่นนั้น ถึงแม้ว่าขันธ์อันนี้จะมีความแก่ปรากฏก็ตาม จะมีความเจ็บไข้ปรากฏก็ตาม จะมีความตายปรากฏก็ตาม เราก็จะได้มองดูความไข้ความตายนี้อย่างสบาย อย่างพอใจยอมให้มันเป็น เราไม่ได้แก้ไข สละได้อยู่ตลอดเวลา มันอยากตายก็ตายไป เพราะไม่ใช่เรา มันอยากเจ็บก็เป็นส่วนเจ็บ ไม่ใช่ส่วนของเราจะได้แยกออก เรียกว่าเราออกจากทุกข์ได้แล้ว สิ่งเหล่านั้นก็เป็นสิ่งนั้น ส่วนทุกข์ก็เป็นส่วนทุกข์ ส่วนแก่ก็เป็นส่วนแก่

เพราะฉะนั้น เราท่านทั้งหลาย การฝึกหัดปฏิบัติอบรมจิตใจ ให้เริ่มต้นจนเกิดความรู้ตัวเสียก่อน พยายามทำความรู้ตัวให้มาก มีสติ นั่งก็รู้ เดินก็รู้ มีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้ ถ้าหากว่าเราอบรมความรู้ให้โดยรอบแล้ว เราทั้งหลายไม่ต้องสงสัย จะต้องได้พุทโธแน่นอน พุทโธจะต้องบังเกิดขึ้นในตัวของเราแน่นอน

พุทโธก็แปลโดยตรงแล้วว่าผู้รู้ ส่วนพระพุทธเจ้านั้น พระองค์เป็นผู้บริสุทธิ์ พระองค์ได้ฝึกฝนตัวพระองค์เองอย่างถูกต้อง แต่ก่อนพระองค์ก็ยังไม่เป็นพุทโธ พระองค์มาได้จากที่พระองค์ฝึกฝนอย่างถูกต้อง แต่พระองค์เป็นพุทโธพิเศษ เรียกว่า “สัพพัญญูพุทธะ” ส่วนเราก็เป็นพุทโธ เรียกว่า “สาวกะพุทธะ” จะต้องอาศัยได้ยินได้ฟังตามแล้วมาฝึกฝนปฏิบัติตาม และเกิดความรู้ได้เหมือนพระองค์รู้ตัวได้อย่างบริสุทธิ์ เราก็จะได้อาศัยความรู้นั้นมาเป็นที่พึ่งเรียกว่ามีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

อารมณ์ที่เรารู้นั้นเรียกว่า “ธรรมารมณ์” เราจะได้เสวยความสุขอย่างที่มีอยู่ประจำจิตโดยธรรมชาติ เป็นของจริงแน่นอน พุทโธนั้นจะกลายเป็นธรรม ส่วนเราปฏิบัติให้ถึงซึ่งความบริสุทธิ์ ก็เท่ากับเราได้ถึงซึ่งพระสงฆ์ เมื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ประชุมกันเต็มกำลังแล้วในจิตของเรา จะมีอานุภาพทำให้เรามีที่พึ่งที่แท่จริง อันอุดมสูงสุด เพราะฉะนั้นเมื่อเราทั้งหลายได้ยินได้ฟัง ตั้งใจกำหนดภาวนาไปตามสักพักหนึ่ง แล้วจึงค่อยเลิกกัน.......





ที่มา ลานธรรมเสวนา หมวดสติปัฏฐาน ๔
โดยคุณ : ไก่แก้ว / 15 ก.พ. 47
บันทึกการเข้า
คำค้น: ธรรม ธรรมะ ธรรมเทศนา เทศน์ เทศนา หลวงปู่ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สติปัฏฐาน
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
sometime 0 2095 กระทู้ล่าสุด 03 กรกฎาคม 2553 09:29:34
โดย sometime
สติปัฏฐาน ๔ ปิดอบายภูมิได้เพราะอะไร?
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
phonsak 1 2435 กระทู้ล่าสุด 17 กรกฎาคม 2554 09:24:13
โดย armageddon
พระธรรมปาโมกข์รูปที่ ๙ : พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
Kimleng 0 3259 กระทู้ล่าสุด 25 เมษายน 2555 20:22:12
โดย Kimleng
ต้อง "ชอบพูด" อย่า"พูดชอบ" (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 1467 กระทู้ล่าสุด 20 ตุลาคม 2555 02:00:09
โดย เงาฝัน
เล่าเรื่อง หลวงพ่อชา ( พระธรรมเทศนา พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ )
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
มดเอ๊ก 0 1369 กระทู้ล่าสุด 01 ตุลาคม 2559 23:11:24
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.793 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 มกราคม 2567 02:22:12