[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 16:05:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขนมลา : ขนมสำคัญในประเพณีบุญสารทเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราช  (อ่าน 6095 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 พฤษภาคม 2556 08:06:17 »

.


ขนมลา
ภาพจาก : fwmail.teenee.com -

ขนมลา
ขนมในประเพณีบุญสารทเดือนสิบ

ชื่อ “ขนมลา” อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคุ้นตาบุคคลทั่วไปมากนัก เนื่องจากแปลกทั้งชื่อและรูปแบบของตัวขนม เพราะเป็นขนม พื้นบ้านเฉพาะท้องถิ่น อาจจะรู้จักกันเพียงคนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช แหล่งที่ทำขนมลากันมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียง รสชาติดี อร่อยที่สุด ปัจจุบันนี้ทำเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย คือ “ขนมลาบ้านหอยราก” อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

“บ้านหอยราก” เป็นหมู่บ้านเดียวในปัจจุบันที่ยังคงอนุรักษ์ประเพณีการทำขนมลาไว้เป็นอย่างดี

ขนมลา เกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นคนคิดทำขึ้นมาเป็นครั้งแรกไม่ปรากฏหลักฐานชัด ทราบแต่ว่าชาวปากพนังรู้จักทำขนมลาขึ้นใช้ในงานประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น จะต้องจัด หฺมฺรับ ไปทำบุญที่วัดในวันแรม ๑๔ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งเป็น “วันสารท” หัวใจสำคัญของหฺมฺรับในพิธีสารทเดือนสิบจะต้องประกอบด้วย ขนม ๕ อย่าง คือ
     ๑. ขนมลา  เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม
     ๒. ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับบุรพชนใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ
     ๓. ขนมกง (ขนมไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
     ๔. ขนมดีชำ  เป็นสัญลักษณ์แทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย
     ๕. ขนมบ้า  เป็นสัญลักษณ์แทนลูกสะบ้าสำหรับบุรพชนจะได้ใช้เล่นในวันสงกรานต์



ภาพจาก : www.ladysquare.com

ขนมลาเป็นหัวใจสำคัญอันดับหนึ่งสำหรับประเพณีบุญสารทเดือนสิบ เพราะเป็นสัญลักษณ์ใช้แทนแพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม และเป็นขนมที่ขาดไม่ได้ในการจัด หฺมฺรับ งานบุญสารทเดือนสิบ ด้วยความเชื่อของคนรุ่นหลังที่ว่าหลังจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง ได้ถึงแก่กรรมล่วงไปแล้วจะไปอยู่อีกภพหนึ่ง ซึ่งอาจจะไม่มีเสื้อผ้าใช้หรือมีใช้ไม่เพียงพอ จึงได้จัดหาสิ่งของที่คิดว่าน่าจะใช้แทนเสื้อผ้าได้ นำไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลส่งให้บุรพชนเหล่านั้น
 
ขนมลาเป็นขนมที่มีขั้นตอนการทำหลายขั้นตอน  คิดว่าไม่มีขนมชนิดใดที่มีกรรมวิธีการทำมากเท่ากับขนมลา นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงความพยายาม ความตั้งใจจริงของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ได้คิดทำขนมชนิดนี้ขึ้นมาเพื่อบุรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว


ขั้นตอนและวิธีทำขนมลา
• ส่วนผสม
ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว (ข้าวเจ้า 1 ถัง : ข้าวเหนียว 4 กิโลกรัม)   น้ำตาลทราย น้ำผึ้งเคี่ยวให้ข้น น้ำมันพืช (โบราณใช้น้ำมันมะพร้าว) ไข่ต้ม  (ใช้เฉพาะไข่แดง)  

• วิธีการทำ
ล้างข้าวเจ้า ข้าวเหนียวรวมกันให้สะอาด  แช่น้ำประมาณ ๒ ชั่วโมง แล้วหมักใบคุระไว้ในโอ่ง หรือภาชนะอื่น (เช่น กระสอบ ๒ คืน)  ใบคุระจะทำให้ข้าวเจ้า ข้าวเหนียวที่หมักไว้เปื่อยง่าย ทำให้โม่ง่ายขึ้น  เมื่อครบกำหนดจะต้องนำข้าวเจ้า ข้าวเหนียว เหล่านั้น ล้างจนสะอาดให้หมดกลิ่น นำไปโม่ให้ละเอียด นำแป้งที่โม่แล้วไปละลายกับน้ำ ใช้ผ้าขาวบางกรองแป้ง ตั้งแป้งนั้นมาใส่ถุงผ้าบางๆ หรือวางให้สะเด็ดน้ำ โดยหาของที่มีน้ำหนักมากมาทับให้แป้งแห้ง แล้วจึงนำแป้งที่แห้งแล้วใส่ลงเครื่องตีแป้งอยู่ประมาณ ๑ ชั่วโมง  พร้อมกับผสมน้ำผึ้งจากและน้ำตาลทรายคลุกเคล้าจนเข้ากันดี จึงลองเอามือจุ่มโรย (ทอด) ดู  เมื่อเห็นว่าเป็นเส้นดี และโรยไม่ขาดสายก็ใช้ได้ ลองชิมรสชาติให้เป็นที่น่าพอใจ



ภาพจาก : kanchanapisek.or.th

• วิธีโรยหรือทอด
โรย (ทอด) ด้วยกระทะขนาดใหญ่  กระทะนั้นตั้งอยู่บนไฟอ่อนๆ เอาน้ำมันผสมไข่แดงทา (ลา)  ให้ทั่วกระทะ พอกระทะร้อนได้ที่แล้วเอาแป้งที่ผสมได้รสดีใส่กะลามะพร้าวขนาดใหญ่ หรือกระป๋องที่ทำขึ้นอย่างประณีต สำหรับโรยแป้งขนมลาโดยเฉพาะ โดยเจาะรูที่ก้นเป็นรูเล็กๆ จำนวนมากแล้วนำไปโรยในกระทะ  วิธีโรยกวนวนไปวนมาให้ทั่วกระทะหลายๆ ครั้ง จนได้ขนาดใหญ่ตามต้องการ เมื่อขนมลาในกระทะสุกก็นำขึ้นจากกระทะโดยใช้ไม้ไผ่เล็กๆ บางๆ เขี่ย ยกขนมลาจากกระทะมาวางซ้อนๆ กันให้น้ำมันสะเด็ด แล้วโรยแผ่นใหม่ต่อไปอีก แต่ก่อนที่จะโรยต้องทา (ลา) น้ำมันผสมไข่แดงที่ในกระทะทุกครั้งไป  ขนมลาที่ทอดแล้วจะต้องวางตากลมให้นิ่มจึงจะนำมารับประทานและส่งขายได้

ทำไมถึงเรียกขนมชนิดนี้ว่า “ขนมลา” คิดว่าชื่อของขนมชนิดนี้น่าจะเรียกชื่อตามกรรมวิธีของการทำ เพราะทุกครั้งก่อนที่จะโรยแป้งลงในกระทะจะต้องทา (ลา) น้ำมันผสมไข่แดง เพื่อไม่ให้แป้งติดนั่นเอง  การ “ทาน้ำมัน” ภาษาถิ่นภาคใต้ เรียกว่า “ลามัน”  คนภาคใต้จึงเรียกขนมชนิดนี้สั้นๆ ว่า “ขนมลา” ก็คือการลา “ทา” น้ำมันทุกครั้งก่อนโรยแป้งลงในกระทะนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง ขนมชนิดนี้มีกรรมวิธีการทำที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก กว่าจะได้มาเป็นขนมรับประทานได้นั้น ต้องใช้เวลาในการทำหลายวัน และต้องช่วยกันหลายคน จำนวนคนเพียง ๑-๒ คนไม่สามารถทำขนมลาได้สำเร็จ  เมื่อมีการทำขนมลาขึ้นในครอบครัวก็ต้องช่วยกันทุกคน เช่น คนหนึ่งหมักแป้ง อีกคนต้องช่วยกรองแป้ง อีก ๒ คนต้องช่วยตำแป้ง และนำแป้งที่ตำแล้วไปละลายน้ำและเทน้ำใสออก นำแป้งไปห่อใช้ภาชนะที่มีน้ำหนักมากทับให้แป้งสะเด็ดน้ำ ขั้นตอนการทำดังกล่าวล้วนต้องใช้แรงงานคนภายในครอบครัวทั้งสิ้น หากคนในครอบครัวไม่พอ ก็ต้องอาศัยญาติพี่น้อง หรือเพื่อนบ้าน  ลักษณะเช่นนี้ทางภาคใต้เรียกว่า “ลา” คือ จะไม่มีใครนั่งว่างต้องช่วยกันทำตามขั้นตอนของขนมลาดังกล่าว เป็นการ “ลา” ไปทั่วทุกคนในบ้าน

ในปัจจุบัน มีการแปรรูปขนมลาหลายรูปแบบ เช่น การนำมาม้วนโรยน้ำตาลตากแดดเก็บไว้รับประทาน หรือม้วนยาวๆ จากระทะร้อนๆ เรียกว่า  “ลางู” นอกจากนี้ยังมีการแปรรูปของขนมลาออกไปได้หลายชนิด โดยเปลี่ยนแปลงการผสมแป้งข้าวเจ้ากับแป้งข้าวเหนียว มาใช้แป้งมันผสมกับแป้งข้าวเจ้าสำเร็จรูป ใช้น้ำตาลทรายเคี่ยวแทนการใช้น้ำผึ้งจาก แปรรูปออกมาเป็นขนมลาหน้าหมูหยอง ขนมลาอบตะไคร้ ขนมลารสกาแฟ ขนมลาใบเตย เป็นต้น ซึ่งแหล่งผลิตขนมลาทุกชนิดทุกประเภทที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ “หมู่บ้านประเพณีท้องถิ่น ขนมลาบ้านหอยราก” หรือ “บ้านศรีสมบูรณ์”



ภาพจาก : www.thealami.com

ข้อมูล : วารสาร "สารนครศรีธรรมราช"  จัดพิมพ์โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช  



อ่านบทความเกี่ยวกับวิธีการทำขนมลาดังกล่าวข้างต้น  มองเห็นภาพจากอดีตขึ้นมารำไร
กรรมวิธีการหมักแป้ง โม่แป้ง กรองเนื้อแป้ง นำแป้งไปโขลก  ก่อนนำมาโรยเส้น 
กรรมวิธีใกล้เคียงกันมากกับการทำขนมจีนแบบโบราณ

ต่างกันที่ขนมจีนใช้เฉพาะแป้งข้าวเจ้า และก่อนนำแป้งไปโขลกต้องปั้นเป็นก้อนกลมขนาดใหญ่
นำไปต้มในน้ำเดือดจัด ให้ผิวแป้งภายนอกสุกภายในดิบ  แล้วนำไปโขลก
...ยิ่งโขลกนานแป้งยิ่งเหนียวหนึบ!...





ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 สิงหาคม 2558 18:51:12 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.378 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มีนาคม 2567 00:47:44