[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 18:32:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 183 184 [185] 186 187 ... 1129
3681  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "ใหม่ ดาวิกา" สลัดผ้านุ่งบิกินี โพสแต่ละท่า ทำ "เต๋อ" ถึงกับร้องโอย! เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 14:28:18
"ใหม่ ดาวิกา" สลัดผ้านุ่งบิกินี โพสแต่ละท่า ทำ "เต๋อ" ถึงกับร้องโอย!
         


"ใหม่ ดาวิกา" สลัดผ้านุ่งบิกินี โพสแต่ละท่า ทำ "เต๋อ" ถึงกับร้องโอย!" width="100" height="100  คุ้มค่าสมการรอคอย "ใหม่ ดาวิกา" สลัดผ้านุ่งบิกินี โพสแต่ละท่า ทำหวานใจ "เต๋อ ฉันทวิชช์" ถึงกับร้องโอย!
         

https://www.sanook.com/news/9119494/
         
3682  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "ใบเตย อาร์สยาม" คัมแบคจัดเต็ม ขึ้นเวทีโชว์สเต็ปครั้งแรก! ผอม สวย เต้นแซ่บมาก เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 11:58:17
"ใบเตย อาร์สยาม" คัมแบคจัดเต็ม ขึ้นเวทีโชว์สเต็ปครั้งแรก! ผอม สวย เต้นแซ่บมาก
         


"ใบเตย อาร์สยาม" คัมแบคจัดเต็ม ขึ้นเวทีโชว์สเต็ปครั้งแรก! ผอม สวย เต้นแซ่บมาก" width="100" height="100  ตัวแม่มาแล้ว "ใบเตย อาร์สยาม" คัมแบคจัดเต็ม ขึ้นเวทีโชว์สเต็ป ร้อง เล่น เต้น โชว์ ครั้งแรก! งานนี้บอกเลยเจ้าของร้านปลื้มมาก
         

https://www.sanook.com/news/9119250/
         
3683  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - รัฐบาลนิการากัวสั่งห้าม Miss Universe 2023 กลับประเทศ จุดยืนการเมืองเป็นเหตุ เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 09:27:28
รัฐบาลนิการากัวสั่งห้าม Miss Universe 2023 กลับประเทศ จุดยืนการเมืองเป็นเหตุ
         


รัฐบาลนิการากัวสั่งห้าม Miss Universe 2023 กลับประเทศ จุดยืนการเมืองเป็นเหตุ" width="100" height="100  สะเทือนจักรวาล!  "เชย์นิส ปาลาซิโอส"  Miss Universe 2023 ถูกรัฐบาลนิการากัวสั่งห้ามกลับประเทศ
         

https://www.sanook.com/news/9119234/
         
3684  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - “ชวน” สอนมวย “เศรษฐา” เตือนนักการเมืองมือใหม่ต้องระวังคำพูด หลังหลุดปาก “ตั๋ว ผ เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 08:32:28
“ชวน” สอนมวย “เศรษฐา” เตือนนักการเมืองมือใหม่ต้องระวังคำพูด หลังหลุดปาก “ตั๋ว ผกก.”
         


“ชวน” สอนมวย “เศรษฐา” เตือนนักการเมืองมือใหม่ต้องระวังคำพูด หลังหลุดปาก “ตั๋ว ผกก.”" width="100" height="100  
         

https://www.sanook.com/news/9119218/
         
3685  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - โมเมนต์น้ำตาซึม เจ้าสาวใช้ภาษามือ สื่อกับพี่สาวพูดไม่ได้ ขออนุญาตที่แต่งก่อนพ เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 06:57:23
โมเมนต์น้ำตาซึม เจ้าสาวใช้ภาษามือ สื่อกับพี่สาวพูดไม่ได้ ขออนุญาตที่แต่งก่อนพี่
         


โมเมนต์น้ำตาซึม เจ้าสาวใช้ภาษามือ สื่อกับพี่สาวพูดไม่ได้ ขออนุญาตที่แต่งก่อนพี่" width="100" height="100  คลิปไวรัล งานแต่งสุดอบอุ่น พี่สาวพูดไม่ได้ เจ้าสาวใช้ภาษามือสื่อสาร ขออนุญาตที่แต่งงานก่อนพี่ และขอบคุณที่คอยดูแลมาตลอด
         

https://www.sanook.com/news/9118658/
         
3686  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - สาวไปงานแต่งแฟนเก่า รู้มูลค่าสินสอดแล้วจุกอก คบมา 7 ปี ขอน้อยกว่านี้แต่ไม่ให้ เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 04:24:32
สาวไปงานแต่งแฟนเก่า รู้มูลค่าสินสอดแล้วจุกอก คบมา 7 ปี ขอน้อยกว่านี้แต่ไม่ให้
         


สาวไปงานแต่งแฟนเก่า รู้มูลค่าสินสอดแล้วจุกอก คบมา 7 ปี ขอน้อยกว่านี้แต่ไม่ให้" width="100" height="100  สาวเลิกกับแฟนที่คบกันมา 7 ปี เพราะเรื่องสินสอดไม่ลงตัว 1 เดือนต่อมาฝ่ายชายแต่งงาน รู้มูลค่าสินสอดแล้วจุกอก ได้แต่เดินออกจากงานไปเงียบ ๆ  
         

https://www.sanook.com/news/9118506/
         
3687  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เคาะกรอบ ‘การจัดการน้ำเชิงพื้นที่’ หวัง ‘ผู้ใช้น้ำ’ เข้าถึงทรัพยากรได้อย่างเท เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 04:11:45
เคาะกรอบ ‘การจัดการน้ำเชิงพื้นที่’ หวัง ‘ผู้ใช้น้ำ’ เข้าถึงทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-11-25 12:40</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สช. จัดเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น “การส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่” ภาคีให้ฉันทมติเห็นชอบต่อกรอบทิศทางนโยบาย มุ่งสร้างส่วนร่วมระหว่างรัฐ-ท้องถิ่น-เอกชน-ประชาสังคม-องค์กรผู้ใช้น้ำ ร่วมมีบทบาทบริหารจัดการน้ำอย่างเข้มแข็งในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างความเป็นธรรม-เข้าถึงน้ำได้อย่างเท่าเทียม เตรียมนำเข้าสู่การรับรองในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 วันที่ 21-22 ธ.ค.นี้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53354495054_c718841184_o_d.jpg" /></p>
<p>เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2566 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวทีการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น “การส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่” โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาระเบียบวาระดังกล่าว พร้อมร่วมกันมีฉันทมติเห็นชอบต่อกรอบทิศทางนโยบาย (Policy Statement) ก่อนที่จะมีการนำไปรับรองและกล่าวแสดงถ้อยแถลงเพื่อร่วมขับเคลื่อนร่างมตินี้ร่วมกัน บนเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 21-22 ธ.ค. 2566</p>
<p>สำหรับกรอบทิศทางนโยบายของ “การส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่” มุ่งเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรผู้ใช้น้ำ และกลุ่มเครือข่าย โดยมีแผนบูรณาการร่วมกันของคณะกรรมการระดับต่างๆ และกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ที่สนับสนุนให้มีกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเข้มแข็งระดับพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดี สร้างหลักประกันพื้นฐาน เพื่อสิทธิในการการเข้าถึงน้ำอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ส่งเสริมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่</p>
<p>ทั้งนี้ ประเด็นการขับเคลื่อนสำคัญประกอบด้วย การหนุนเสริมกระบวนการสร้างความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ การบูรณาการและสนับสนุนพื้นที่กลางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามความต้องการของพื้นที่ การส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวมเพื่อโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของชุมชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความตระหนักรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ ทั้งการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และการส่งเสริมวิจัยและใช้ประโยชน์งานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเชิงพื้นที่ ความสำคัญของการประเมินน้ำต้นทุนในพื้นที่กับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เพื่อชุมชน ให้เกิดสมดุลตามปริมาณน้ำต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
<p>รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน ประธานคณะทำงานพัฒนาประเด็นการส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ เปิดเผยว่า ทางคณะทำงานได้ร่วมกันพัฒนาประเด็นนี้ในช่วงตลอดกว่า 4 เดือนที่ผ่านมา ผ่านการจัดเวทีประชุม หารือกลุ่มย่อย มีกระบวนการถกแถลงร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมากมาย รวมทั้งการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่ ซึ่งมีการหารือประเด็นนี้ในเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัด ที่จัดขึ้นใน 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสงคราม น่าน อุบลราชธานี เชียงใหม่ และสตูล เมื่อวันที่ 17 ต.ค.,1 พ.ย., 6 พ.ย., 8 พ.ย. และ 9 พ.ย. 2566 ตามลำดับ</p>
<p>รศ.ดร.บัญชา กล่าวว่า จากเวทีสมัชชาสุขภาพทั้ง 5 จังหวัด ได้มีทั้งหน่วยงานภาคี องค์กร เครือข่าย ที่เข้าร่วมรับฟังความเห็นอย่างครบถ้วน ทั้งส่วนราชการ ภาคประชาสังคม ท้องถิ่น ตลอดจนภาคการเมืองเข้าร่วมด้วยในบางพื้นที่ ส่วนเวทีที่จัดขึ้นในส่วนกลาง ก็ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานระดับประเทศที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฯลฯ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลเรื่องน้ำ กำกับนโยบาย ตลอดจนให้ทุน เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นอย่างกว้างขวาง จนนำมาสู่การร่างเป็นชุดข้อเสนอที่มาร่วมกันพิจารณาในวันนี้</p>
<p>ในส่วนของเวทีสมัชชาสุขภาพฯ ครั้งนี้ยังได้มีการนําเสนอ สถานการณ์และข้อเสนอนโยบายจากกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัด ทั้ง 5 จังหวัด ประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ สะท้อนถึงสภาพปัญหาข้อจำกัดในการเข้าถึงทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ไม่ว่าน้ำอุปโภค น้ำบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรกรรม โดยเฉพาะผู้ที่อยู่นอกเขตชลประทาน จึงร่วมกันมีข้อเสนอนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ 1. พัฒนาแผนแม่บทและกลไกการบริหารจัดการน้ำบนพื้นที่สูง 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสู่พื้นที่กลางในการบริหารจัดการ 3. พัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำ เพื่อโอกาสทางเศรษฐกิจของชุมชนบนพื้นที่สูง 4. ส่งเสริมการรับรู้และปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน 5. ส่งเสริมการลดใช้สารเคมีและการทิ้งขยะอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม</p>
<p>จ.น่าน สะท้อนปัญหาการเข้าถึงน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคที่มีคุณภาพ ทั้งในชุมชนเมือง ชนบท และพื้นที่สูง ขาดความมั่นคงด้านน้ำในภาคการผลิต ปัญหาน้ำท่วมและอุทกภัย ฯลฯ จึงร่วมกันพัฒนาข้อเสนอนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ 1. พัฒนาและยกระดับระบบกลไกเพื่อสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ 2.  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม 3. สร้างพื้นที่เรียนรู้ต้นแบบการจัดการน้ำ จ.น่าน 4. ส่งเสริมการจัดการน้ำแบบองค์รวม ผ่านการใช้ข้อมูล เทคโนโลยี นวัตกรรม เชื่อมประสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. Roadmap การจัดการน้ำ การอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
<p>จ.อุบลราชธานี สะท้อนถึงปัญหาสำคัญเรื่องน้ำ 3 ด้าน คือ น้ำแล้ง น้ำท่วม และน้ำเสีย จึงร่วมกันพัฒนาข้อเสนอนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ 1. พัฒนากลไกและกระบวนการจัดการเชิงบูรณาการที่เน้นการมีส่วนร่วม 2. จัดตั้ง ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพกลไกการจัดการน้ำทุกระดับ 3. พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางด้านการจัดการน้ำทุกมิติ 4. พัฒนาระบบการสื่อสารสาธารณะที่รวดเร็ว เข้าถึงได้ 5. จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมในทุกระดับ 6. ส่งเสริมการอนุรักษ์และบริหารจัดการป่าต้นน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ 7. พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการจัดการน้ำที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่</p>
<p>จ.สตูล สะท้อนถึงสถานการณ์ปัญหาจากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ที่ก่อความเสียหายกับความหลากหลายของระบบนิเวศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ รวมถึงข้อจำกัดของข้อมูล เครื่องมือในการจัดการน้ำ ฯลฯ จึงร่วมกันพัฒนาข้อเสนอนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ 1. ระดับท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ เชื่อมโยงองค์กรผู้ใช้น้ำ กลุ่มผู้ใช้น้ำ และบทบาทการตัดสินใจร่วมของทุกภาคส่วน 2. ระดับจังหวัด สร้างกลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนระดับพื้นที่ ลุ่มน้ำ จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน นำไปสู่การออกแบบการจัดการน้ำที่เหมาะสมกับสถานการณ์ 3. ระดับชาติ ปรับปรุงระบบการจัดการในระดับโครงสร้าง แก้ไขระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ เพื่อสร้างสมดุลทางนิเวศสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมตามบริบทของพื้นที่</p>
<p>จ.สมุทรสงคราม สะท้อนถึงปัญหาจากสภาพน้ำเค็ม การทิ้งน้ำเสีย การปล่อยลำคลองให้มีสภาพตื้นเขิน อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายเรื่องน้ำ ฯลฯ จึงร่วมกันมีข้อเสนอนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ 1. ระดับท้องถิ่น มีบุคลากรทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงขององค์กรผู้ใช้น้ำ มุ่งสร้างชุมชนต้นแบบการทำงาน 2. ระดับจังหวัด ส่งเสริมความรู้เรื่องกฎหมายและบทบาทหน้าที่ขององค์กรผู้ใช้น้ำให้กับท้องถิ่นและประชาชน 3. หน่วยงานอื่นๆ เช่น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ภาค 2 เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความตื่นตัวขององค์กรผู้ใช้น้ำ 4. ระดับเชิงโครงสร้างและกลไกการทำงาน เชื่อมโยงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า เป็นต้น</p>
<p>ขณะเดียวกันยังมีข้อเสนอจากภาคีเครือข่ายที่เกิดขึ้นภายในเวที ไม่ว่าจะเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วม ที่ต้องเป็นรูปธรรม และไม่ใช่เพียงพิธีกรรม การสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้ใช้น้ำ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งการเพิ่มเติมคำสำคัญอย่าง ภูมิปัญญาท้องถิ่น การไม่มีแหล่งน้ำ การบริหารจัดการน้ำระหว่างประเทศ บริการสาธารณะเรื่องน้ำ การเป็นหุ้นส่วน นิยามของพื้นที่กลาง เป็นต้น</p>
<p>ด้าน นพ.สมชาย พีระปกรณ์ ประธานคณะอนุกรรมการกำกับ สนับสนุน และเชื่องโยงกระบวนการสมัชชาสุขภาพ กล่าวว่า ภายหลังจากที่ประชุมได้มีฉันทมติในกรอบทิศทางนโยบายร่วมกันในครั้งนี้ ทางคณะทำงานจะรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอเพิ่มเติมที่ได้จากในเวที เพื่อปรับปรุงเอกสารให้ได้ความชัดเจนและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ก่อนที่จะนำไปรับรองและกล่าวถ้อยแถลงเพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมกันขับเคลื่อน “การส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่” ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปบนเวที สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 21-22 ธ.ค.นี้</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106973
 
3688  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'สวนดุสิตโพล' เผยเด็กอาชีวะตีกันเพราะการปลูกฝังค่านิยมผิดๆ เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 02:30:39
'สวนดุสิตโพล' เผยเด็กอาชีวะตีกันเพราะการปลูกฝังค่านิยมผิดๆ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-11-25 13:11</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สวนดุสิตโพลสำรวจ 1,161 คน เรื่อง "ความปลอดภัยในชีวิตของคนไทย ณ วันนี้ กรณีศึกษา เด็กอาชีวะ" ส่วนใหญ่ระบุสาเหตุเกิดจากคือการปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆ รักศักดิ์ศรี สถาบัน</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53354482228_8f035aea96_o_d.jpg" /></p>
<p>25 พ.ย. 2566 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ความปลอดภัยในชีวิตของคนไทย ณ วันนี้" กรณีศึกษา "เด็กอาชีวะ" จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,161 คน ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21-24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา จากกรณีการทะเลาะวิวาทจนถึงแก่ชีวิตของเด็กอาชีวะที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ พบว่า</p>
<p>ร้อยละ 87.83 มองว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมืออย่างจริงจัง มีมาตรการ แนวทางป้องกันที่เด็ดขาด</p>
<p>ร้อยละ 82.23 ขอให้นึกถึงผลกระทบที่จะตามมา ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นหรือสถาบันที่ศึกษาอยู่</p>
<p>ร้อยละ 62.90 น่าจะเกิดจากการลอกเลียนแบบ ขาดความยั้งคิด</p>
<p>โดยร้อยละ 85.50 มองว่า สาเหตุของการทะเลาะวิวาท คือ การปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆ รักศักดิ์ศรี สถาบัน ขณะที่ร้อยละ 74.98 มองว่า มีคนบงการอยู่เบื้องหลัง ไม่ใช่นักศึกษาเป็นองค์กรอาชญากรรม ร้อยละ 66.09 ความขัดแย้ง ความแค้นส่วนตัว</p>
<p>ขณะที่แนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ร้อยละ 74.03 ระบุ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเด็ดขาด เพิ่มโทษสูงสุด ร้อยละ 73.25 ปรับทัศนคติของนักศึกษาทั้งเก่าและใหม่ เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน ร้อยละ 91.62 มองว่า ประชาชนต้องดูแลความปลอดภัยของตนเองหลีกเลี่ยงเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง ร้อยละ 81.10 ระบุ หากอยู่ในที่เกิดเหตุต้องประเมินสถานการณ์ว่าควรหนี ซ่อนหรือสู้</p>
<p>ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 88.10 คิดว่าหน่วยงานที่ควรเข้ามาเร่งแก้ปัญหานี้คือกระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 72.20 คือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ขณะที่ประชาชนร้อยละ 80.30 ระบุมีบุตรหลานก็มองว่าไม่อยากให้เรียนต่อสายอาชีวะ โดยที่มีเพียงร้อยละ 19.66 ที่อยากให้เรียน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106974
 
3689  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - ชาวนาเฮ! “ธรรมนัส”แจ้งข่าวดี 28 พ.ย.นี้ได้รับเงินอุดหนุนไร่ละ 1 พัน เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 02:30:38
ชาวนาเฮ! “ธรรมนัส”แจ้งข่าวดี 28 พ.ย.นี้ได้รับเงินอุดหนุนไร่ละ 1 พัน
         


ชาวนาเฮ! “ธรรมนัส”แจ้งข่าวดี 28 พ.ย.นี้ได้รับเงินอุดหนุนไร่ละ 1 พัน" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;
         

https://www.sanook.com/news/9118258/
         
3690  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เปิดรายได้ตายายเก็บขยะ รู้ว่าได้เดือนละเท่าไหร่แล้วอึ้ง เยอะกว่าพนักงานออฟฟิ เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 01:54:17
เปิดรายได้ตายายเก็บขยะ รู้ว่าได้เดือนละเท่าไหร่แล้วอึ้ง เยอะกว่าพนักงานออฟฟิศอีก
         


เปิดรายได้ตายายเก็บขยะ รู้ว่าได้เดือนละเท่าไหร่แล้วอึ้ง เยอะกว่าพนักงานออฟฟิศอีก" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ส่องรายได้คุณตาคุณยายเก็บขยะที่จีน ทำชาวเน็ตตะลึงไปตาม ๆ กัน รายได้มากกว่าพนักงานออฟฟิศซะอีก
         

https://www.sanook.com/news/9118606/
         
3691  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (1) สื่อมองการชุมนุมอย่างไร การรายงานข่าวก็เป็น เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2566 01:00:05
‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (1) สื่อมองการชุมนุมอย่างไร การรายงานข่าวก็เป็นแบบนั้น
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-11-25 22:35</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : รายงาน</p>
<p>กิตติยา อรอินทร์ : ภาพปก</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>ชวน รีวิว ‘รายงานวิจัย' ที่ศึกษาการทำงานของสื่อมวลชนในการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่ 5 ครั้ง ตั้งแต่ปี 35 ถึง 64 ซึ่งเผยผลลัพธ์การรายงานข่าวการชุมนุมของสื่อมีส่วนสร้างความชอบธรรมต่อการใช้ความรุนแรง ชี้สื่อมองการชุมนุมเป็นความขัดแย้งมากกว่าเป็นสิทธิ รวมทั้งมีการแปะป้ายผู้ชุมนุมว่าเป็นผู้ร้ายหรือพระเอก </li>
<li>ขณะที่ความรุนแรงทางกายภาพ เชิงโครงสร้าง และเชิงวัฒนธรรม ทำสื่อขาดอิสระ ปิดกั้นการถกเถียงในสังคม และพบประเด็น ‘ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์’ และ ‘มาตรา 112’ ทำให้สื่อต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง</li>
</ul>
</div>
<p>คำว่า ‘สื่อเสี้ยม’ เรามักเห็นได้บ่อยในคอมเม้นต์ข่าวการเมืองบนโซเชียลมีเดียไม่ว่าจากฟากฝั่งไหน จะมากจะน้อยคำนี้กำลังสื่อว่ามีผู้เสพข่าวที่เห็นว่าการทำหน้าที่ของสื่อเป็นตัวการสร้างความแตกแยก ขัดแย้ง หรือแม้กระทั่งความรุนแรง</p>
<p>คำถามที่น่าสนใจคือจริงหรือไม่ที่การทำหน้าที่ของสื่อเป็นปัจจัยหนึ่งของความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้น คำตอบจาก ‘รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การรายงานข่าวการประท้วง: บทบาทของสื่อมวลชนไทยในการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมือง’ โดย พรรษาสิริ กุหลาบ ผู้ช่วยศาสตราจารยจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม เพื่อศึกษาการทำงานของสื่อมวลชนในการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่ 5 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2535 ถึง 2564 เผยผลลัพธ์ว่าการรายงานข่าวการชุมนุมของสื่อมีส่วนสร้างความชอบธรรมต่อการใช้ความรุนแรง</p>
<p>ทำไม? นี่เป็นสิ่งที่เราจะค่อยๆ หาคำตอบกันในรายงาน ซึ่งแบ่ง 3 ตอน โดยเริ่มจากตอนแรกดังนี้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50089086818_147947a355_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เมื่อสื่อมองการชุมนุมเป็นความขัดแย้งมากกว่าเป็นสิทธิ</span></h2>
<p>เราคงต้องเริ่มต้นกันที่ว่ามีสิ่งใดส่งผลให้แนวทางการทำข่าวการชุมนุมของสื่อออกมาอย่างที่เห็น พรรษาสิริอธิบายว่ามีอยู่ 4 ข้อ ไล่เรียงตั้งแต่ระดับความคิดจนถึงระดับอุตสาหกรรมสื่อ</p>
<p>ประการแรก วิธีการมองของสื่อหรือกรอบการอนุมาน (inferential framework) ที่มีต่อการชุมนุมก็คือมันเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้ชุมนุมกับรัฐบาล เป็นความรุนแรงเชิงกายภาพจากเหตุปะทะและการสลายการชุมนุมและเป็นการแข่งขันทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ</p>
<p>ในทางกลับกัน การทำความเข้าใจว่าการชุมนุมโดยสงบเป็นสิทธิทางการสื่อสารและสิทธิทางการเมืองของพลเมืองเป็นสิ่งที่ลางเลือน ส่งผลให้การเสนอข่าวการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากแปรเปลี่ยนเป็นเหตุการณ์แปลกประหลาดและดึงดูดความสนใจ</p>
<p>นอกจากนี้ยังดูเหมือนว่ากรอบดังกล่าวได้กลายเป็นวัฒนธรรมในการรายงานข่าวการชุมนุมไปแล้ว ทำให้สื่อมวลชนเน้นรายงานการแข่งขันระหว่างชนชั้นนำทางการเมืองและสังคม หรือรัฐบาลกับแกนนำการชุมนุมและกลุ่มการเมืองที่สนับสนุนการชุมนุม แต่ละเลยการวิเคราะห์ความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ที่ทำให้คนมาร่วมชุมนุม ละเลยการอธิบายการชุมนุมในฐานะสิทธิทางการสื่อสารและสิทธิทางการเมืองของพลเมือง ละเลยการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับแนวคิดสันติวิธีหรือปฏิบัติการที่ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงละเลยการนำปมความขัดแย้งหรือคำอธิบายที่ท้าทายความคิดหลักในสังคมมาอภิปรายถกเถียงในพื้นที่สาธารณะ</p>
<p>เป็นเหตุให้แม้สื่อมวลชนจะพยายามรายงานเหตุการณ์เฉพาะหน้าอย่างตรงไปตรงมา มีจุดยืนต่อต้านการใช้ความรุนแรงเชิงกายภาพทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุม และพยายามสร้างบทสนทนาเพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง แต่ก็ไม่สามารถคลี่ปมความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์หรือรายงานประเด็นที่่โต้แย้งต่ออำนาจนำในสังคมได้อย่างเต็มที่ หลายกรณีสื่อกลับสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ แม้สื่อจะพยายามอธิบายตนเองว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งก็ตาม</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ภูมิทัศน์สื่อไทยมีผู้เล่นมากขึ้น จากความนิยม-เข้าถึงดิจิทัล เพิ่มโอกาสช่วงการเมืองเดือด-กระจายอำนาจ</li>
<li>สื่ออิสระไทยเจอปัญหาอะไรในปี 2565 [คลิป]</li>
<li>ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.1: โฉมหน้าที่เปลี่ยนไปในสนามข่าวสาร</li>
<li>ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.2: ความอยู่รอดของอุตสาหกรรมสื่อไทย</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">การคุกคามและอุตสาหกรรมสื่อกระทบเสรีภาพการสื่อสาร</span></h2>
<p>ประการที่ 2 เมื่อมีการปิดกั้นและคุกคามสิทธิทางการสื่อสาร รวมถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง โดยเฉพาะจากฝ่ายรัฐและผู้สนับสนุนรัฐ อิสระและเสรีภาพสื่อก็จะถูกลิดรอนควบคู่ไปด้วย สื่อจึงเลือกเซ็นเซอร์ตัวเองหรือไม่พูดถึงโดยตรงแทนการวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อรัฐบาลหรืออำนาจนำ ทั้งในบางกรณีก็ถูกฝ่ายผู้ชุมนุมคุกคามเพราะเห็นว่าสื่อนั้นๆ สนับสนุนฝ่ายตรงข้ามจึงยิ่งทำให้การเสนอข่าวในพื้นที่ชุมนุมยากลำบากขึ้น ยิ่งถ้าเป็นสื่อพลเมืองด้วยแล้วก็ยิ่งเป็นที่จับตาและอาจถูกคุกคามจากรัฐเนื่องจากเห็นว่าสื่อพลเมืองอยู่ฝ่ายผู้ชุมนุม</p>
<p>ประการต่อมา การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมสื่อที่เรียกร้องความรวดเร็วและเม็ดเงินจากการโฆษณาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ทำให้การนำเสนอข่าวการชุมนุมให้น้ำหนักกับเหตุการณ์การปะทะคารมและแข่งขันทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์และการใช้ความรุนแรงเชิงกายภาพ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ขายได้คนทั่วไปสนใจ และเสี่ยงต่อการถูกแทรกแซงโดยรัฐหรือกลุ่มทุนน้อย อีกทั้งการเน้นความเร็วก็ทำให้การตรวจสอบข้อเท็จจริงและการใช้ถ้อยคำหละหลวมจนอาจสร้างความเข้าใจผิดได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงและเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ปฏิบัติงานภาคสนามหากเกิดเหตุปะทะหรือสลายการชุมนุม</p>
<p>ขณะเดียวกัน เพื่อความอยู่รอดองค์กรสื่อจำต้องลดจำนวนบุคลากร ลดอุปกรณ์จำเป็นต่างๆ ในการผลิตข่าวอย่างปลอดภัย และทำให้ขาดการทำความเข้าใจความขัดแย้งในเชิงอุดมการณ์ เหล่านี้จึงเป็นเงื่อนไขและข้อจำกัดที่เพิ่มความเสี่ยงของสื่อมวลชนทั้งในระดับผู้ปฏิบัติงานภาคสนามและระดับกองบรรณาธิการ ขณะที่การขับเคลื่อนด้านสิทธิแรงงานของคนในวงการสื่อก็ขาดความเข้มแข็งและต่อเนื่อง การเรียกร้องสิทธิแรงงานของนักข่าวจึงเต็มไปด้วยอุปสรรค</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://prachatai.com/sites/default/files/cover-picture/ena12boucaconvd.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการทำงานของสื่อมวลชนขณะเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามสกัดและสลายการชุมนุม</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สื่อแปะป้ายผู้ชุมนุมว่าเป็นผู้ร้ายหรือพระเอก</span></h2>
<p>ประการสุดท้าย ความเข้าใจต่อการชุมนุมและบทบาทของสื่อก็ผันแปรไปตามการชุมนุมที่มีเป้าหมายและองค์ประกอบของผู้ชุมนุมต่างกัน กล่าวคือในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่ผู้ชุมนุมเห็นว่าไม่มีความชอบธรรม ได้แก่ การชุมนุมในเดือนพฤษภาคม 2535 การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในช่วงปี 2549-2551 และการชุมนุมของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในช่วงปี 2556-2557 สื่อส่วนใหญ่จะแสดงจุดยืนต่อต้านรัฐบาลเช่นเดียวกับผู้ชุมนุม วิพากษ์การกระทำของภาครัฐที่ไม่ชอบธรรม การใช้กำลังสลายผู้ชุมนุม การลิดรอนและละเมิดเสรีภาพสื่อของรัฐบาล ด้วยความเชื่อว่าสื่อต้องร่วมต่อสู้กับเผด็จการและอยู่ข้างประชาชน</p>
<p>ขณะที่การชุมนุมที่มีชุดความคิดท้าทายอำนาจนำในสังคมไทย อย่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ช่วงปี 2552-2553 และการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในช่วงปี 2563-2564 ซึ่งฝ่ายรัฐใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมบ่อยครั้ง กลับพบว่าภาพตัวแทนของการชุมนุมในการรายงานของสื่อกระแสหลักมักเป็นเชิงลบและไม่ตรวจสอบการใช้ความรุนแรงของรัฐมากนัก มีเพียงสื่อทางเลือก องค์กรสื่อออนไลน์ขนาดเล็ก และสื่อพลเมืองพยายามอธิบายเหตุผลและสภาพแวดล้อมที่ผลักดันให้ประชาชนร่วมชุมนุมและเชื่อมโยงกับหลักการประชาธิปไตย ซึ่งก็ต้องแลกด้วยการตกเป็นเป้าการถูกปิดกั้นและคุกคามจากที่รัฐและมวลชนที่สนับสนุนรัฐ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เมื่อโซเชียลมีเดียมีอิทธิพลมากขึ้นในการนำเสนอข่าว อย่างการชุมนุมช่วงปี 2563-2564 มีการใช้โซเชียลมีเดียในการเคลื่อนไหวและตั้งคำถามต่อคุณค่าหลักของสังคมอย่างกว้างขวาง บวกกับความจำเป็นต้องหารายได้จากช่องทางออนไลน์ ส่งผลให้สื่อกระแสหลักนำประเด็นของสื่อทางเลือกและสื่อพลเมืองไปรายงานต่อมากขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่าสื่อออนไลน์เป็นช่องทางที่ช่วยทำให้แง่มุมอื่นๆ ของการชุมนุมถูกนำเสนอผ่านสื่อกระแสหลัก แต่ในทางกลับกัน โซเชียลมีเดียก็เป็นพื้นที่แพร่กระจายข้อมูลเท็จหรือบิดเบือนของฝ่ายต่างๆ รวมถึงการคุกคามทางออนไลน์ซึ่งสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงได้เช่นกัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สื่อต้องเตรียมตัวก่อนลงภาคสนาม</span></h2>
<p>จากการศึกษาของพรรษาสิริค้นพบว่าแนวทางการทำงานของสื่อมวลชนในการรายงานการชุมนุมมี 2 ส่วนคือขั้นตอนการเตรียมการรายงานการชุมนุมและการดำเนินงานระหว่างการชุมนุม</p>
<p>ในส่วนแรก สำนักข่าวมักจัดสรรกำลังคนส่วนหนึ่งทำงานภาคสนามเพื่อรายงานการชุมนุมอย่างต่อเนื่องและกระจายงานให้โต๊ะข่าวสายอื่นๆ หาประเด็นต่างๆ จากการชุมนุมมานำเสนอ อย่างไรก็ตาม การชุมนุมทั้ง 4 ครั้งตั้งแต่เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 การชุมนุมของพันธมิตรฯ ปี 2549 และการชุมนุมของ กปปส. ปี 2554 ที่การใช้โซเชียลมีเดียยังไม่มากเท่าเวลานี้ ทำให้การชุมนุมของนักศึกษาและเยาวชนในปี 2563 นักข่าวภาคสนามต้องรับหน้าที่ไลฟ์สดจากพื้นที่ด้วย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50618026262_9416eb534b_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการทำงานของสื่อมวลชนขณะเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าควบคุมฝูงชน</span></p>
<p>อีกสิ่งหนึ่งที่สื่อต้องก่อนลงภาคสนามคือการเตรียมการด้านความปลอดภัย ประกอบด้วยอุปกรณ์เพื่อรักษาความปลอดภัยในการรายงานภาคสนามซึ่งอุปกรณ์บางอย่างก็มีราคาค่อนข้างสูงและกลายเป็นภาระของนักข่าวเนื่องจากมีน้ำหนักมา สอง-ทักษะในการรายงานสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงและความขัดแย้ง เดิมทีเป็นลักษณะรุ่นพี่สอนรุ่นน้อง แต่หลังจากการชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่มีผู้เสียชีวิต ตั้งแต่นั้นสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจึงทำปลอกแขนแสดงสัญลักษณ์ว่าเป็นสื่อมวลชนและพิมพ์ ‘คู่มือรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง’ รวมถึงมีการฝึกอบรมภาคปฏิบัติด้วย</p>
<p>จุดนี้มีประเด็นถกเถียงว่าทางสมาคมฯ ปฏิเสธการลงทะเบียนให้ปลอกแขนแก่สื่อพลเมืองและนักศึกษาที่ฝึกผลิตสื่อโดยให้เหตุผลว่า คนกลุ่มนี้ไม่มีประสบการณ์การทำข่าวการชุมนุมและไม่เคยผ่านการอบรม ทำให้สื่ออิสระและสื่อพลเมืองรวมกันตั้งเครือข่ายสมาพันธ์สื่อไทยเพื่อประชาธิปไตยและทำปลอกแขนใส่กันเอง ซึ่งก็ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแฝงตัวมาเก็บข้อมูลหรือบางครั้งสื่อกลุ่มนี้ก็มีท่าทีเป็นผู้ชุมนุมเสียเองซึ่งสะท้อนความไม่เป็นมืออาชีพ</p>
<p>ในส่วนสุดท้ายของการเตรียมการคือการจัดระบบเครือข่ายนิรภัยในการรายงานจากพื้นที่ เช่น การสลับหมุนเวียนนักข่าว การประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้สื่อข่าวแต่ละจุด อีกเช่นกันการชุมนุมของนักศึกษาและเยาวชนปี 2563 ที่มีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และนัดหมายกันในเวลาสั้นๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน (คฝ.) มักเข้าสลายการชุมนุมส่งผลให้สำนักข่าวต้องใช้ระบบ buddy กล่าวคือนักข่าวกับช่างภาพหรือกับนักข่าวอีกคนหนึ่งลงพื้นที่ด้วยกันเพื่อคอยช่วยเหลือดูแลกัน บางองค์กรยังจัดที่พักหลบภัยใกล้พื้นที่ชุมนุมแก่นักข่าวเพื่อให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและหลบภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน บางแห่งมีการให้ค่าเสี่ยงภัยแก่นักข่าวเพื่อเป็นแรงจูงใจ</p>
<p>ประการสุดท้ายคือการวิเคราะห์ความขัดแย้งและประเมินความเสี่ยงทั้งภาพรวมและรายวัน โดยอาจดูจากรายงานการปะทะ จำนวนและปฏิกิริยาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร หรือ คฝ. ประเด็นที่ผู้ชุมนุมยกขึ้นมาปราศรัย เป็นต้น องค์กรสื่อบางแห่งยังจัดอบรมเชิงปฏิบัติให้นักข่าวนำแนวคิดการสื่อสารที่ไม่ใช้ความรุนแรง (non-violence communication) มาใช้วิเคราะห์สถานการณ์</p>
<p>ขณะที่สื่ออิสระ สื่อพลเมืองที่ไม่ได้สังกัดองค์กรการจัดการด้านความปลอดภัยและสวัสดิภาพมักเผชิญอุปสรรคมากกว่า โดยเฉพาะต้องรับมือการคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐทั้งในพื้นที่ชุมนุมและส่วนตัวเนื่องจากถูกมองว่าเป็นฝ่ายผู้ชุมนุม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">‘ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์’ และ ‘มาตรา 112’ ทำให้สื่อต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง</span></h2>
<p>ในส่วนของการดำเนินงานระหว่างรายงานการชุมนุม พรรษาสิริ พบว่านักข่าวภาคสนามจำเป็นต้องประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ โดยการเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ มีความตื่นตัวตลอดเวลา และมองหาทางหนีทีไล่ในพื้นที่ไว้เสมอหากเกิดความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้นักข่าวภาคสนามยังสร้างเครือข่ายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อประเมินสถานการณ์ร่วมกัน ทั้งยังมีข้อแนะนำว่าควรอยู่ในจุดที่สามารถมองเห็นปฏิกิริยาของผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐได้ ไม่ฝังตัวอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด</p>
<p>นอกจากส่วนของการประเมินสถานการณ์เฉพาะหน้าแล้ว ประเด็นแนวทางการรายงานข่าวก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ แน่นอนว่าในทางจรรยาบรรณของอาชีพจำเป็นต้องรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านแยกออกจากความคิดเห็น ไร้อคติ ขณะเดียวกันรัฐต้องไม่แทรกแซงการทำงานของสื่อ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50184785531_8c5c742eb4_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพอานนท์ นําภา ทนายความและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ขึ้นปราศรัยถึงบทบาทของสถาบันกษัตริย์ที่เกี่ยวกับการเมืองไทย พร้อมเปิดข้อเสนอปฏิรูปสถานบันกษัตริย์ เมื่อวันที่ 3 ส.ค.2563</span></p>
<p>แต่การชุมนุมในปี 2563 ได้ก่อให้เกิดประเด็นสำคัญว่าสื่อควรทำหน้าที่หรือไม่ อย่างไร นั่นก็คือการปราศรัยในประเด็นการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ซึ่งสื่อบางส่วนยอมรับว่าต้องเซ็นเซอร์ตัวเองเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีอาญามาตรา 112 หรือถ้าจะนำเสนอก็กองบรรณาธิการก็ต้องปรึกษากันว่าจะรายงานอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อนักข่าวและองค์กร</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความรุนแรงทางกายภาพ เชิงโครงสร้าง และเชิงวัฒนธรรม ทำสื่อขาดอิสระ ปิดกั้นการถกเถียงในสังคม</span></h2>
<p>ความขัดแย้งทางการเมืองนำไปสู่การชุมนุมจึงเลี่ยงไม่ได้ที่สื่อจะได้รับผลกระทบจากการรายงานข่าวของตน ตรงไปตรงมาที่สุดคือผลกระทบจากความรุนแรงเชิงกายภาพ เช่น ถูกลูกหลงจากการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุม ระหว่างผู้ชุมนุมแต่ละฝ่าย หรือถูกผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐคุกคามเสียเอง ถึงกระนั้น การใช้ความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐนั้นคาดการณ์ได้ยากกว่าจากฝ่ายผู้ชุมนุม โดยเฉพาะทหารที่คาดเดาได้ยากว่าจะใช้ความรุนแรงในระดับใด</p>
<p>แต่ยังมีผลกระทบอีกรูปแบบหนึ่งที่สำคัญ นั่นคือผลกระทบจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างและความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่มาจากเจ้าหน้าที่รัฐทั้งในและนอกเครื่องแบบ ซึ่งมักใช้อำนาจและกฎหมายกันสื่อออกจากพื้นที่ชุมนุม คอยถ่ายรูปสื่อในพื้นที่ชุมนุมและตามไปถึงที่พักอาศัยโดยเฉพาะกับสื่อพลเมืองเพื่อต้องการกดดันและความกลัวในการทำหน้าที่สื่อ นอกจากนี้ การประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ยังทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับการยกเว้นความรับผิดตาม พ.ร.บ.การรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นการซ้ำเติมวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดให้ฝังลึกในสังคมไทย</p>
<p>การไม่มีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งเพื่อต่อรองกับผู้บริหารและเจ้าของกิจการสื่อในการคุ้มครองสวัสดิภาพและสิทธิแรงงานของผู้ปฏิบัติงานสื่อก็นับเป็นจุดอ่อนสำคัญอีกประการหนึ่ง เพราะด้วยอุตสาหกรรมสื่อในปัจจุบัน เจ้าของสื่อให้ความสนใจต่อรายได้มากกว่าสวัสดิภาพของคนทำงาน ทั้งยังกระทบต่อเสรีภาพในการนำเสนอข่าวและเซ็นเซอร์ตัวเอง เนื่องจากองค์กรสื่อต้องการรักษาสถานภาพเดิมของตนไว้ในฐานะองค์กรธุรกิจและผู้แสดงทางการเมืองที่มีอำนาจต่อรองกับสถาบันอื่นๆ</p>
<p>เป็นผลให้การถกเถียงอภิปรายประเด็นที่เป็นความขัดแย้งในสังคมไม่เปิดกว้างพอ จึงถือเป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ปิดกั้นสื่อไม่ให้แสดงบทบาทที่ส่งเสริมสิทธิทางการสื่อสารของประชาชนได้เต็มที่</p>
<p>ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นว่ามีปัจจัยหลากหลายทั้งที่เกี่ยวกับการทำงานของสื่อโดยตรงและปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ที่แปรเป็นความรุนแรงในระดับต่างๆ ซึ่งลดโอกาสไม่ให้สื่อมวลชนทำงานได้ตามหน้าที่ที่ถูกสังคมคาดหวัง</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิ
3692  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 19-25 พ.ย. 2566 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2566 23:20:04
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 19-25 พ.ย. 2566
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-11-25 14:42</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p><strong>ครอบครัวแรงงานในอิสราเอลตอนแรกระบุเสียชีวิต ดีใจที่ถูกปล่อยตัวแต่ไม่พร้อมให้ข้อมูล</strong></p>
<p>แรงงานที่มีข่าวเสียชีวิตจากการปะทะกันในประเทศอิสราเอลชุดแรก แต่ปรากฏถูกจับเป็นตัวประกันและล่าสุดมีชื่อถูกปล่อยตัวแล้ว ทำให้ครอบครัวสุดดีใจแต่ไม่สามารถให้ข้อมูลสัมภาษณ์สื่อได้ กระทรวงต่างประเทศขอความร่วมมือมา</p>
<p>ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีนายวิชัย กาละปัตย์ อายุ 28 ปี แรงงานไทยชาวอำเภอนาเยีย จ.อุบลราชธานี ที่ไปทำงานประเทศอิสราเอล พ่อแม่และญาติต่างเข้าใจว่าเสียชีวิตไปแล้วในเหตุกาณ์บุกถล่มของกลุ่มฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุดนายวิชัยเป็นหนึ่งในแรงงานไทยที่ถูกปล่อยตัว</p>
<p>ทันทีที่มีรายชื่อและรูปภาพออกมายืนยัน ผู้สื่อข่าวได้โทรศัพท์สอบถามนายมรกต การละปัตย์ ซึ่งเป็นพี่ชายของนายวิชัย นายมรกตระบุว่า รู้ข่าวว่าน้องถูกปล่อยตัวและยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่พร้อมที่จะให้ข่าวหรือให้ข้อมูลใดใด ต้องรอให้เป็นทางการก่อน และกระทรวงการต่างประเทศ ก็ยังไม่ต้องการให้ครอบครัวให้ข่าวใดๆ</p>
<p>ส่วนแม่ที่ทราบว่าลูกชายยังมีชีวิตอยู่ ตอนนี้ เริ่มกินข้าวได้แล้ว ส่วนตนเองก็ได้โทรศัพท์คุยกับน้องชายแล้วอยู่สบายดี และไม่ขอให้ข่าวถึงรายละเอียดที่ได้พูดคุยกัน</p>
<p>ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า สำหรับนายวิชัย กาละปัตย์ แรงงานไทยชาวอำเภอนาเยีย เดินทางไปทำงานที่ประเทศอิสราเอล โดยกรมการจัดหางานส่งไปทำงานภาคการเกษตรเมื่อเดือนธันวาคม 2565 มีกำหนดสัญญาจ้างรวม 2 ปี โดยช่วงแรกที่มีข่าวคนงานไทยถูกยิงเสียชีวิต ปรากฏก็มีชื่อของนายวิชัย เป็นผู้เสียชีวิตในกลุ่มแรกที่มีข่าวออกมา แต่ปรากฏว่าถูกจับเป็นตัวประกัน ทำให้ยังมีชีวิตอยู่ สร้างความดีใจให้กับครอบครัวเป็นอย่างมาก</p>
<p>ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 25/11/2566</p>
<p><strong>รมว. แรงงาน แจงคืบหน้าเลือกตั้งกรรมการประกันสังคม</strong></p>
<p>นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แถลงข่าว “ความคืบหน้าการดำเนินการจัดการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม” โดยมี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน คณะผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ร่วมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร</p>
<p>นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานประกันสังคม ประกาศให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมชุดใหม่ในวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น. โดยเปิดระบบให้นายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม จนกระทั่งปิดระบบลงทะเบียนเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 24.00 น. มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง ฝ่ายผู้ประกันตน จำนวน 945,609 ราย ฝ่ายนายจ้าง จำนวน 4,209 ราย รวมจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 949,818 ราย และได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและสถานที่เลือกตั้ง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา โดยให้นายจ้าง ผู้ประกันตนที่ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งไว้ สามารถตรวจสอบรายชื่อทางหน้าเว็บไซต์ www.sso.go.th และที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ที่ได้ลงทะเบียนไว้</p>
<p>ซึ่งขณะนี้ยอดนายจ้าง ผู้ประกันตน ที่มีสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมฝ่ายผู้ประกันตน จำนวน 854,061 ราย ฝ่ายนายจ้าง จำนวน 3,116 ราย รวมจำนวนผู้ลงทะเบียนสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 857,177 ราย อย่างไรก็ตาม หากนายจ้าง ผู้ประกันตนไม่พบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถยื่นขอแจ้งเพิ่มชื่อ หรือถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน – 14 ธันวาคม 2566 ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ทุกวันในเวลาราชการ</p>
<p>ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคม จะประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่ายผู้ประกันตน จำนวน 247 คน ฝ่ายนายจ้าง 69 คน พร้อมหมายเลขผู้สมัครและสถานที่เลือกตั้ง ในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ทางเว็บไซต์ www.sso.go.th และที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ทั่วประเทศ สำหรับผู้สมัครที่ไม่พบรายชื่อสามารถขอเพิ่มชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ตั้งแต่วันที่ 2 – 6 ธันวาคม 2566 พร้อมประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเพิ่มเติมในวันที่ 18 ธันวาคม 2566</p>
<p>นายพิพัฒน์ รมว.แรงงาน ได้กล่าวเชิญชวนนายจ้าง ผู้ประกันตน ที่มีสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมด้วยว่า ให้ติดตามรายชื่อผู้สมัคร 7 เบอร์ที่ชอบ 7 เบอร์ที่ใช่ แล้วอย่าลืมไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 24 ธันวาคม 2566 เข้าคูหาเลือกตัวแทน เพื่อดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนและบริหารกองทุนประกันสังคมให้มีเสถียรภาพ อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของนายจ้างและผู้ประกันตนให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต</p>
<p>นายจ้าง ผู้ประกันตนสามารถสอบถามรายละเอียด และคำแนะนำในการจัดการเลือกตั้งเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม (ศอ.กต.นจ.ผปต.) โทร. 02-956-2222 ในเวลา 08.30 - 16.30 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ</p>
<p>ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 25/11/2566</p>
<p><strong>ก.แรงงาน จับมือไอแอลโอ รุกจ้างงานเยาวชนชายแดนใต้</strong></p>
<p>นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน “การจ้างงานเยาวชนในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย” (Young employment in Thailand’s southern provinces) ณ อุทยานการเรียนรู้ยะลา จังหวัดยะลา</p>
<p>โดยมีนายสุทธิพงษ์ โกศลวิริยะกิจ ผู้ตรวจราชการกรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายออคตาเวียนโต ปาซารีบู รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศประจำประเทศไทย กัมพูชา และ สปป. ลาว นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา พ.อ.วินัย จันละเอียด รอง ผบ.ฉก.ยะลา ผู้แทน ผอ.กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า นายวราวุธ ช่วยเกิด ปลัดจังหวัดยะลา นายอาคม คุ้มหมู่ แรงงานจังหวัดยะลา และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดยะลา เข้าร่วม ณ อุทยานการเรียนรู้ยะลา จังหวัดยะลา</p>
<p>นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานเล็งเห็นถึงความสำคัญของเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติที่ควรได้รับการพัฒนา และส่งเสริมให้มีบทบาททางเศรษฐกิจและสังคม โดยกระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างโลกแห่งการศึกษากับโลกแห่งการทำงาน พัฒนาเยาวชนให้มีทักษะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน สร้างเยาวชนให้เป็นผู้ใหญ่และทรัพยากรที่มีคุณภาพ นำไปสู่ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย</p>
<p>“การจ้างงานเยาวชนในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการเยาวชนคนสร้างอนาคต-ส่งเสริมความสามารถในการมีงานทำของเยาวชนในประเทศไทย ซึ่งเป็นความร่วมมือขององค์การแรงงานระหว่างระเทศ (ILO) มีเป้าหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานเยาวชนระหว่างอายุ 15-29 ปี</p>
<p>โดยส่งเสริมการพัฒนาทักษะฝีมือที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ในพื้นที่กรุงเทพฯ สงขลา ยะลา และนครราชสีมา การจัดงานในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันความรู้และแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานสำหรับเยาวชน รวมถึงโอกาสในการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะบริการจัดหางาน และแนะแนวอาชีพ”</p>
<p>ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, 24/11/2566</p>
<p><strong>รมว.ยันแรงงานไทยได้เงินเยียวยา 5 หมื่นแน่ เผยมี 10 คนแอบกลับไปอิสราเอล</strong></p>
<p>นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ที่กระทรวงแรงงาน ว่า มีแรงงานไทยกลับจากอิสราเอลแล้ว 9,500 คน และมีคนแอบกลับไปทำงานที่อิสราเอลประมาณ 10 คน จึงได้ประสานสถานเอกอัคราชทูตว่าแรงงานเหล่านี้เข้าไปทำงานในพื้นที่ไหน</p>
<p>ส่วนคนที่กลับมาแล้วได้แจ้งความประสงค์จะกลับไปทำงานเหตุการณ์สงบ ประมาณ 25% แต่ถ้าเหตุการณ์สงบแล้วจริงๆ คิดว่าน่าจะกลับไปเกิน 80% เพราะมีหนี้สิน แม้รัฐบาลกำลังจะเยียวยาคนละ 50,000 บาท และมีมาตรการพักหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย ในวงเงิน 150,000 บาท ระยะเวลา 3 ปี แต่หากไม่มีรายได้จะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน ที่จะต้องช่วยให้คนเหล่านี้มีงานทำ นอกจากอิสราเอล ยังมีเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย มีพร้อมรับแรงงานไทย</p>
<p>นายพิพัฒน์ ระบุต่อไปว่า หากสถานการณ์สู้รบมีการเปลี่ยนแปลงและแรงงานจะขอกลับไปอิสราเอล เงินเยียวยา 50,000 บาท จะยังเดินไปตามแผนจะได้ทุกคนที่กลับมา เพราะ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงนามออกมาแล้ว ผ่านสำนักงบประมาณ ผ่านนายกรัฐมนตรี ตอนนี้กลับไปอยู่ที่กระทรวงการคลังเพื่ออนุมัติเงินแล้ว ถ้าทันวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้ ก็แจ้งต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบ กระบวนการก็จบ โดยจะส่งเข้าบัญชีแรงงาน กระทรวงแรงงานไม่ได้จับต้องเงินนี้</p>
<p>ส่วนการจะกลับไปทำงานที่อิสราเอลคงไม่ใช่ปีนี้ อาจจะเป็นปีหน้าเหตุการณ์ต้องสงบเรียบร้อยจริงๆ ถึงจะกล้าส่งแรงงานกลับไป เพราะตอนนี้เราเสียหายพอสมควรแล้ว แต่หากรับเงินเยียวยาแล้วแอบกลับไปเป็นแรงงานเถื่อน หากประสบเหตุอะไรรัฐบาลอิสราเอลคงมีการดูแล แต่เงินเยียวยาจากภัยสงคราม 15,000 บาท จากกระทรวงแรงงานก็คงให้ไม่ได้</p>
<p>ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์, 24/11/2566</p>
<p><strong>ผู้ประกันตน เช็กสิทธิเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมก่อนได้แล้ว ผ่าน 2 ช่องทาง</strong></p>
<p>ตามที่สำนักงานประกันสังคม ได้กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 24 ธ.ค. 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. เป็นวันเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมชุดใหม่</p>
<p>นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย. 2566 เป็นต้นไป สำนักงานประกันสังคมได้เปิดให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ นายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 จำนวนกว่า 9 แสนคน ที่ได้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการประกันสังคม</p>
<p>โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งจากช่องทางต่าง ๆ ได้ดังนี้</p>
<p>1. ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและสถานที่เลือกตั้ง ได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th ได้ตลอด 24 ชั่วโมง</p>
<p>2. ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ด้วยตนเอง ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ที่ได้ลงทะเบียนไว้</p>
<p>ทั้งนี้ หากไม่พบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถยื่นขอแจ้งเพิ่มชื่อ หรือถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย. – 14 ธ.ค. 2566 ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ทุกวันในเวลาราชการ</p>
<p>สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม (ศอ.กต.นจ.ผปต.) โทร. 02-956-2222 ทุกวันในเวลาราชการ</p>
<p>ที่มา: ประชาติธุรกิจ, 23/11/2566</p>
<p><strong>โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ ประกาศเลิกจ้างพนักงาน หลังทนพิษเศรษฐกิจไม่ไหว ขาดทุนสะสมต่อเนื่อง ย้ำชดเชยดูแลลูกจ้างตามกฏหมาย</strong></p>
<p>22 พ.ย. 2566 นายอำนวย พิจิตรพงศ์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ จำกัด (บลกท.) ได้ออกประกาศเรื่อง การเลิกจ้างพนักงาน โดยระบุว่า เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งมีผลกระทบต่อบริษัทฯ มาโดยตลอดตามระยะเวลาที่ผ่านมาหลายปี บริษัทฯประสบปัญหาขาดทุนสะสมมาโดยตลอด อีกทั้งบริษัทฯ ได้พยายามหาทางออกเพื่อหลีกเลี่ยงการเลิกจ้างพนักงาน แต่ผลการดำเนินงานยังคงประสบภาวะขาดทุนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา</p>
<p>ดังนั้นบริษัทฯมีความจำเป็นที่ต้องเลิกจ้างพนักงานทุกท่าน ทั้งนี้พนักงาน ที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย จะมีผลตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค. 2566</p>
<p>อนึ่ง บริษัท โรงงานเหล็กกรุงเทพฯ จำกัด (บลกท.) เป็นผู้ผลิตเหล็กแท่ง (Billet) และจำหน่ายเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตชนิดข้ออ้อยและเหล็กเส้นกลม,เหล็กลวด,เหล็กเพลาดำ,เหล็กปลอกเสา,เหล็กปลอกคาน ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2507 เป็นบริษัทในเครือ ฉื่อ จิ้น ฮั้ว (ผู้ผลิตภาชนะอลูมิเนียม และเสาไฟฟ้าตราจระเข้) ตั้งอยู่เลขที่ 42 หมู่ 4 ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลบางครุ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทุนจดทะเบียนล่าสุด 4,908  ล้านบาท</p>
<p>ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ, 22/11/2566</p>
<p><strong>ก.แรงงาน ส่งข้าวสาร-อาหารแห้งช่วยลูกจ้างเมียนมาถูกลอยแพ เร่งตามนายจ้างจ่ายตามสิทธิ</strong></p>
<p>นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ น.ส.กรจิรัฏฐ์ พงจันทร์ศธร ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย น.ส.กาญจนา พูลแก้ว รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) มอบเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่แรงงานเมียนมาในแคมป์คนงานก่อสร้าง จ.ระยอง ที่ถูกนายจ้างลอยแพไม่ได้รับค่าจ้างนานกว่า 2 เดือน ณ บริเวณโถงชั้นล่าง อาคารกระทรวงแรงงาน โดยมี น.ส.อภิญญา ทาจิตต์ ตัวแทนจากศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล Stella Maris เป็นผู้รับมอบ เพื่อนำไปส่งต่อให้แก่แรงงานเมียนมา</p>
<p>น.ส.กรจิรัฏฐ์เปิดเผยว่า วันนี้ปลัดกระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้มอบเครื่องอุปโภคบริโภค อาทิ ข้าวสาร อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง น้ำดื่ม เป็นต้น ให้แก่ตัวแทนจากศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล Stella Maris เพื่อนำไปช่วยเหลือพี่น้องแรงงานชาวเมียนมาแคมป์ก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากกรณีที่ถูกนายจ้างลอยแพไม่ได้รับค่าจ้างนานกว่า 2 เดือน เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ซึ่งในส่วนของกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงแรงงานได้มีความห่วงใยความเป็นอยู่ของพี่น้องแรงงานทุกคนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย เพราะแรงงานทุกคนเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าแรงงานเหล่านั้นจะเป็นคนสัญชาติใด เมื่อได้รับความเดือดร้อนก็ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที</p>
<p>“ปัจจุบันพบว่า ยังมีลูกจ้างเมียนมาอีกประมาณ 180 คน จากเดิม 237 คน อยู่ในพื้นที่แคมป์ก่อสร้าง ณ โครงการก่อสร้างย่านนิคมอุตสาหกรรมสาย 36 จ.ระยอง และได้รับความเดือดร้อน ในวันนี้จึงได้มอบข้าวสารอาหารแห้งและสิ่งของที่จำเป็นไปเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือพี่น้องแรงงานชาวเมียนมากลุ่มนี้ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกรอบของกฎหมายโดยเร็วต่อไป” น.ส.กรจิรัฏฐ์กล่าว</p>
<p>ด้าน น.ส.กาญจนากล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของ กสร.ได้ส่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด (สคร.) ระยอง ลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งชี้แจงสิทธิหน้าที่และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แก่นายจ้างและลูกจ้างทราบ และได้ดำเนินการออกคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างนัดหมายนายจ้างเพื่อชี้แจงให้ปฏิบัติตามคำสั่งและจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน อย่างไรก็ตาม กสร.ได้กำชับให้พนักงานตรวจแรงงาน ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกรอบของกฎหมายโดยเร็ว</p>
<p>ที่มา: มติชนออนไลน์, 22/11/2566</p>
<p><strong>หลายหน่วยงาน วางแผนรวบขบวนการลักลอบค้าแรงงานบังคลาเทศ</strong></p>
<p>21 พ.ย. 2566 พ.ต.อ.ทรงวุฒิ เจริญวิชเดช ผกก.สภ.สามพราน จ.นครปฐม ได้สั่งการให้ชุดสืบสวน ประสานงานและสนธิกำลังกับ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอสามพราน เจ้าหน้าที่ กอ.รมน.จังหวัดนครปฐม เจ้าหน้าที่ ปปส. เข้าทำการจับกุม ผู้ต้องหาจำนวน 4 ราย ประกอบด้วย 1. นายยุทธพิชัย หรือเล็ก อายุ 28 ปี 2.นายนัฐธวัฒน์ หรือกั้ง อายุ 36 ปี 3.น.ส.ณัฐธิกาญจน์ หรือนิก อายุ 25 ปี 4.น.ส.ยุภาวดี หรือหนูเล็ก อายุ 39 ปี ทั้งหมดเป็นคน จ.นครปฐม</p>
<p>พร้อมด้วยของกลาง 1. ธนบัตรฉบับล่ะ 1,000 บาท จำนวน 75 ฉบับ รวมเป็นเงิน 75,000 บาท ซึ่งเป็น ธนบัตรที่นายนัฐธวัฒน์ จะนำมามอบให้กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเป็นการให้ปล่อยตัวต่างด้าวทั้ง 15 คน 2.โทรศัพท์มือถือยี่ห้อ ไอโฟน สีทอง 1 เครื่อง 3. โทรศัพท์มือถือยี่ห้อซัมซุงสีดำ 1 เครื่อง 4. รถยนต์เก๋ง ยี่ ห้อ MG รุ่น Z5 สีบรอนซ์ เงิน หมายเลขทะเบียน 4ขภ 201กรุงเทพมหานคร</p>
<p>โดยถูกแจ้งข้อกล่าวหาผู้ถูกจับกุมที่ 1- 4 ว่าร่วมกันให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการหรือประวิงการกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ขณะจับกุม ผู้ต้องหาได้รับทราบข้อกล่าวหาแล้วโดยผู้ต้องหาที่ 1,3และ4 ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ส่วนผู้ต้องหาที่ 2 ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา</p>
<p>ในการจับกุมดังกล่าว สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 พ.ย. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการจับกุมชาวบัคลาเทศ จำนวน 15 คน โดยได้แจ้งข้อกล่าวหา "เป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไมได้รับอนุญาต" ซึ่งต่อมาได้มีบุคคลคือนายยุทธพิชัย หรือเล็ก โดยขอให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมปล่อยตัวบุคคลต่างด้าวชาวบังกลาเทศทั้ง 15 คน</p>
<p>โดยนายยุทธพิชัย " โดยเสนอเงินให้กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นจำนวนเงิน 75,000 บาท และทางเจ้าหน้าที่ได้มีการขยายผลโดยการวางแผนจับกุมซึ่งได้นัดหมายส่งเงินให้กับเจ้าหน้าที่ ภายในโรงแรมสโนว์ไวท์ ห้องหมายเลข 9 ม.7 ต.ตลาดจินดา อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยเมื่อเป้าหมายขับรถยนต์เก๋งของกลางถึงจึงได้ทำการส่งมอบเงินเจ้าหน้าที่จึงได้แสดงตัวจับกุมตัว</p>
<p>จากการตรวจสอบพบนายนัฐธวัฒน์ หรือกั๋ง เป็นผู้ขับขี่รถยนต์เก๋งคันดังกล่าว และพบ น.ส.ณัฐธิ กาญจน์ หรือนิก นั่งอยู่บริเวณด้านข้างคนขับ และพบ น.ส.ยุภาวดี หรือหนูเล็ก นั่งอยู่บริเวณเบาะด้านหลังรถ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ขอทำการตรวจค้นโดยผลการตรวจค้นพบของกลางโทรศัพท์มือถือและเงินที่ทำการล่อซื้อ จำนวน 75,000 บาท</p>
<p>โดยสารภาพว่าเป็นเงินของนายยุทธพิชัย ซึ่งได้มีการสั่งการให้ ไปรับเงินจาก น.ส.ณัฐธิกาญจน์ กับ น.ส.ยุภาวดี ที่บ้านเช่า ในเมือง จ.นครปฐม โดยได้รับค่าจ้างเป็นจำนวนเงิน 500 บาท จากนั้นนายยุทธพิชัย ได้สั่งให้ตนเองไปกดเงินจำนวนเงิน 35,000 บาท โดยนายยุทธพิชัย ได้โอนเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ของตนเอง จากนั้นจึงนำเงินที่ได้มารวมกับ ที่น.ส.ณัฐธิกาญจน์ ที่กดออกมา 40,000 บาท รวมเป็นเงิน 75,000บาท และให้นำเงินดังกล่าวไปให้คน ที่อยู่ในห้องเลขที่ 9 โดยไม่ทราบว่าเป็นใครและมาถูกจับกุม ส่วนนายยุทธพิชัยได้ตามเข้ามามอบตัว ที่ สภ.สามพราน</p>
<p>ซึ่งในการสืบสวนขยายผลพบผู้ต้องหาพบผู้ต้องหามีการเชื่อมโยงกันโดยการติดต่อทางโทรศัพท์มือถือและผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ ได้ให้การว่านายยุทธพิชัย ได้ถูกนายริน หรือนายฐิตพัฒน์ หรือริน ว่าจ้างให้ดูแลบุคคลต่างด้าวทั้ง 15 คน โดยนายฐิตพัฒน์ ได้ใช้เบอร์โทรศัพท์โทรมาหา น.ส.ณัฐธิกาญจน์ โดยให้ดูแลจนกว่าจะมีคนมารับ</p>
<p>ซึ่งขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าจับกุมบุคคลต่างด้าวทั้ง 15 คน นายฐิตพัฒน์ ได้โทรติดต่อมาหาพวกตนโดยสั่งการให้ตนไปต่อรองและทำการติดสินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งตกลงกันที่จำนวนเงินดังกล่าว โดยนายฐิตพัฒน์ ได้บอกกับตนเองว่า "เดี๋ยวมีคนโอนเงินมาให้รออยู่เฉยๆ" กระทั่งมีการโอนเงินและประสานงานแบบซับซ้อนเพื่อป้องกันการติดตามของเจ้าหน้าที่ แต่ไปไม่รอดถูกรวบตัวในที่สุด และจะมีการติดตามตัว นายฐิตพัฒน์ หรือริน เพื่อมาสอบสวนขยายผลหาต้นตอขบวนการลักลอบนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาในพื้นที่ต่อไป</p>
<p>ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 21/11/2566</p>
<p><strong>แรงงานกว่า 150 คน ประท้วงหน้าโรงกลั่นน้ำมันชื่อดัง เรียกร้องค่าแรงกว่า 12 ล้านบาท วอนอยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแล</strong></p>
<p>เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 20 พฤศจิกายน ที่บริเวณหน้าบริษัทกลั่นน้ำมัน นามสมมติ เอ ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้มีกลุ่มแรงงานกว่า 150 คน ของบริษัท บี ซึ่งเป็นบริษัทซัพพลายเออร์ของบริษัทเอ มารวมตัวกันพร้อมทั้งถือป้ายประท้วง เพื่อเรียกร้องค่าแรงงานที่ค้างจ่ายมานานกว่า 6 เดือน รวมแล้วประมาณ 12 ล้านบาทเศษ ทำให้กลุ่มแรงงานดังกล่าวเดือดร้อนหนัก เพราะบางคนต้องกู้หนี้ยืมสินมาทำงาน และหวังว่าจะได้เงินจากค่าแรงเพื่อไปจ่ายหนี้สิน และนำไปเลี้ยงครอบครัว เมื่อบริษัทฯ ปฏิเสธการจ่ายเงิน และยังได้ยกเลิกสัญญาโดยไม่จ่ายค่าแรงงาน ทำให้ทุกคนเดือนร้อนอย่างหนัก จึงได้มารวมตัวเรียกร้องเงินค่าแรงงาน และเงินชดเชยในครั้งนี้</p>
<p>สืบเนื่องจากบริษัทบี ได้ประกาศเลิกจ้างแรงงาน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา และทางบริษัทฯ ได้มีการตกลงจ่ายเงินค่าแรงงาน ค่าชดเชยและเงินอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดภายวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าทางบริษัทฯ ไม่ทำตามที่ตกลงเอาไว้ จึงได้รวมตัวไปร้องเรียนที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา บริษัท ซี ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทบี ได้เดินทางไปที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี และได้มีการเจรจากับผู้แทนลูกจ้างที่ร้องเรียน โดยได้มีการตกลงจ่ายเงินให้กับลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม ถึง 15 พฤศจิกายน โดยมีเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี เป็นตัวกลางช่วยเจรจา แต่ทางบริษัทฯ ก็ไม่ยอมจ่ายเงินแต่อย่างใด</p>
<p>นายภูริณัฐ (สงวนนามสกุล) อายุ 58 ปี แกนนำกลุ่มแรงงานกล่าวว่า การรวมตัวเรียกร้องค่าแรงงาน และเงินค่าชดเชยในครั้งนี้ เนื่องจากบริษัทบี ได้ซับงานและทำงานภายในโรงกลั่นน้ำมันเอ ต่อมาได้มีการประกาศเลิกจ้าง โดยไม่มีการจ่ายค่าแรงงาน และเงินชดเชยแต่อย่างใด มีแรงงานที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งหมดกว่า 150 คน รวมเป็นเงินกว่า 12 ล้านบาท แรงงานบางคนเสียชีวิตไปแล้วก็ยังไม่ได้รับเงินอีกด้วย ส่วนสถานการณ์ของบริษัทดังกล่าวได้ส่อว่าจะมีปัญหามาตั้งแต่ต้นปี 2566 แล้ว เพราะบางเดือนจ่ายค่าแรง 10-30 เปอร์เซ็นต์ จนกระทั่งมีการประกาศเลิกจ้างแรงงาน พอไปร้องเรียนหน่วยงานของรัฐบาล ก็อ้างว่าต้องทำตามกฎหมาย ทำให้แรงงานทุกคนเจ็บใจและได้รวมตัวประท้วงดังกล่าว</p>
<p>นอกจากนี้ทางด้าน ตัวแทนของบริษัทกลั่นน้ำมัน เอ ได้ชี้แจงต่อผู้ร้องเรียนว่า ตามหลักการแล้วทางกลุ่มผู้ร้องเรียน ต้องไปร้องทุกข์ต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี เนื่องจากผิดนัดหมายในการจ่ายเงิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการตามกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ของกฎหมาย</p>
<p>ที่มา: มติชนออนไลน์, 20/11/2566</p>
<p><strong>แรงงานภาคเกษตร อายุระหว่าง 25-45 ปี สนใจทำงานเกาหลี ไม่ต้องสอบวัดระดับภาษาเกาหลี เตรียมตัวให้พร้อม</strong></p>
<p>นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการจัดส่งแรงงานภาคเกษตรตามฤดูกาลกับเมืองจินอัน จังหวัดชอลลาบุก สาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้นายจ้างทางเกาหลีใต้แจ้งความต้องการแรงงาน ทั้งนี้ จากการพูดคุยในครั้งแรก ได้มีการกำหนดให้มีการประกาศรับสมัครคนหางาน ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567</p>
<p>นายคารม เปิดเผยว่า จากการหารือกับฝ่ายอำเภอจินอัน ล่าสุดพบว่า อาจมีการเลื่อนการประกาศรับสมัครไปเป็นเดือนเมษายน 2567 ซึ่งคุณสมบัติเบื้องต้นต้องเป็นคนไทย อายุระหว่าง 25-45 ปี ประกอบอาชีพเกษตรกรหรือมีประสบการณ์งานเกษตรอย่างน้อย 1 ปี ไม่ต้องสอบวัดระดับภาษาเกาหลี</p>
<p>“ผู้ที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดงาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694” นายคารม กล่าว</p>
<p>ที่มา: สำนักข่าวไทย, 19/11/2566</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106977
 
3693  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - งดงามจับตา "น้ำตาล ชลิตา" รำถวายพญาอนันตนาคราช คอหวยแห่ส่องเลขยอดเงินกฐิน เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2566 23:16:59
งดงามจับตา "น้ำตาล ชลิตา" รำถวายพญาอนันตนาคราช คอหวยแห่ส่องเลขยอดเงินกฐิน
         


งดงามจับตา &quot;น้ำตาล ชลิตา&quot; รำถวายพญาอนันตนาคราช คอหวยแห่ส่องเลขยอดเงินกฐิน" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;"น้ำตาล ชลิตา" รำถวายพญาอนันตนาคราช วัดป่าภูจันทร์หอม จ.อุดรธานี คอหวยส่องให้ไวเลขยอดเงินกฐิน
         

https://www.sanook.com/news/9118598/
         
3694  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - แอมเนสตี้ เปิดตัว Write for Rights 2023 ย้ำพลังจากคนธรรมดาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2566 21:48:39
แอมเนสตี้ เปิดตัว Write for Rights 2023 ย้ำพลังจากคนธรรมดาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-11-25 15:32</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>แอมเนสตี้ ประเทศไทยเปิดตัวแคมเปญ ‘Write for Rights’ หรือ ‘เขียน เปลี่ยน โลก’ กิจกรรมรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนประจำปีที่ใหญ่สุดในโลก เชิญชวนคนไทยร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงไปกับคนทั่วโลกเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกละเมิดทั่วโลกผ่านการเขียนจดหมายถึงพวกเขา โดยมีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้ผู้ถูกละเมิดและครอบครัวของพวกเขารู้สึกว่ากำลังเผชิญอยู่กับการต่อสู้เพียงลำพัง นอกจากนี้ยังสามารถเขียนจดหมายถึงผู้มีอำนาจที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนและนำมาสู่ความยุติธรรม และเพื่อเป็นการสื่อสารไปทั่วโลกว่า ประชาชนทุกคนพร้อมที่จะยืนหยัดต่อสู้กับการใช้อำนาจโดยมิชอบไม่ว่าการใช้อำนาจนั้นจะเกิดที่ใดบนโลกก็ตาม โดยกิจกรรมนี้ได้จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 22 แล้ว</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53353549512_4db510acef_o_d.jpg" /></p>
<p>25 พ.ย. 2566 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดตัวแคมเปญ ‘Write for Rights’ หรือ ‘เขียน เปลี่ยน โลก’ อย่างยิ่งใหญ่ที่ลิโด้ คอนเน็คท์ กรุงเทพฯ โดยเชิญชวนศิลปินและนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม  นักกิจกรรม ครอบครัวผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ และทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ร่วมพูดคุยในหัวข้อ “Your Words Change Lives”</p>
<p>ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เผยว่า จุดเริ่มต้นของแคมเปญนี้ เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มนักกิจกรรมในโปแลนด์จัดงานเขียนจดหมายมาราธอน 24 ชั่วโมง โดยเขียนจดหมายทั้งวันทั้งคืนในนามของผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ และ 22 ปีต่อมาก็กลายเป็นการรณรงค์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของแอมเนสตี้ ที่ผู้คนจากทั่วโลกมาร่วมกันปกป้องสิทธิมนุษยชนให้กับผู้ที่เผชิญความเสี่ยง</p>
<p>“จากจดหมาย 2,326 ฉบับในปี 2544 กลายเป็น 5.3 ล้านแอคชั่นในปี 2565 รวมทั้งการเขียนจดหมาย อีเมล โพสต์ทวีต เฟซบุ๊ก ส่งไปรษณียบัตรหลายล้านครั้ง ในวันนี้ผู้สนับสนุนแคมเปญ Write for Rights ได้ใช้พลังที่จะส่งเสียงของพวกเขาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น โดยร่วมกันเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนมากกว่า 100 คน ปลดปล่อยพวกเขาจากการถูกทรมาน การล่วงละเมิด หรือจับกุมคุมขังอย่างไม่เป็นธรรม”</p>
<p>แคมเปญนี้จะเชิญชวนผู้สนับสนุนจากทั่วโลกเขียนจดหมายหลายล้านฉบับให้กับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือครอบครัวโดยตรง เพื่อให้พวกเขารับรู้ว่าไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพัง นอกจากการส่งข้อความเพื่อให้กำลังใจผู้ถูกละเมิดสิทธิแล้ว ผู้คนยังเขียนจดหมายถึงผู้มีอำนาจ เรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนและนำความยุติธรรมมาสู่ผู้ได้รับผลกระทบ การรณรงค์ของแอมเนสตี้เป็นการสื่อสารข้อความไปทั่วโลกว่า ประชาชนพร้อมจะยืนหยัดต่อสู้กับการใช้อำนาจอย่างมิชอบไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดก็ตาม</p>
<p>“ในปีนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้ผลักดันให้ประเด็นของ อัญชัญ ปรีเลิศ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ไปพร้อมกับการช่วยเหลืออีก 3 กรณีอย่างเข้มข้น ได้แก่  อันนา มาเรีย แม่ผู้ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมจากประเทศบราซิลที่ต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมให้กับลูกชายที่เสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงของตำรวจ ทูลานี มาเซโกะ ที่ถูกสังหารภายในบ้านจากการพูดความจริงและวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายต่างๆ ในประเทศเอสวาตินี ลุงพาไบและลุงพอลที่ต่อสู้เพื่อรักษาบ้านเกิดของตนที่กำลังจะจมหายไปจากน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศออสเตรเลีย”</p>
<p>อัญชัญ ปรีเลิศ หรือป้าอัญชัญอดีตข้าราชการวัยเกษียณถูกตัดสินจำคุกยาวนานเป็นประวัติการณ์มากถึง 87 ปี และลดลงเหลือ 43 ปี 6 เดือน ในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ เนื่องจากการแชร์คลิปเลียงที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองและสถาบันกษัตริย์บนโซเชียลมีเดียของเธอ ป้าอัญชัญถูกควบคุมตัวโดยพลการในปี 2558 ยุค คสช. หลังจากนั้นเธอต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ 3 ปี 9 เดือน ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในปี 2561 และถูกจับกุมอีกครั้งในปี 2564 จนถึงปัจจุบัน</p>
<p>ปัจจุบันป้าอัญชัญในวัย 68 ปียังคงอยู่อยู่ในทัณฑสถานหญิงกลาง ด้วยอายุที่มากประกอบกับโรคประจำของคนชรา ทำให้เธอจำต้องอดทนและทำจิตใจให้แข็งแรงเพื่อที่จะมีชีวิตให้ได้ในแต่ละวัน โดยป้าอัญชัญมีกำหนดพ้นโทษในวันที่ 24 กันยายน 2574 แต่เท่ากับว่าตอนนั้นเธอจะมีอายุุถึง 76 ปี เราจึงเรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีให้ยุติการดำเนินคดีและปล่อยตัวอัญชัญ ปรีเลิศโดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข พร้อมจ่ายค่าชดเชยให้กับเธอสำหรับการกักขังและควบคุมตัว</p>
<p>อันนา มาเรีย จากประเทศบราซิล เธอคือแม่ผู้สูญเสียลูกชายนามว่าเปรโดร เฮนริค จากการถูกลอบสังหารภายในบ้านโดยกลุ่มชายแปลกหน้าที่แฟนของเปรโดรผู้เป็นพยานเพียงคนเดียวระบุว่า ชายทั้งสามคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ เปรโดร เป็นนักเคลื่อนไหวและสนับสนุนความยุติธรรมทางเชื้อชาติและสิทธิมนุษยชน หลังจากที่เปรโดรเสียชีวิต ผู้เป็นแม่อันนา มาเรีย ต้องเผชิญกับการถูกข่มขู่และการล่วงละเมิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการแสวงหาความยุติธรรมให้กับลูกชายของเธอ เจ้าหน้าที่ที่ต้องสงสัยว่าสังหารเปรโดรถูกตั้งข้อหาในปี 2562 แต่เกือบ 5 ปีต่อมา พวกเขายังคงประจำการอยู่ในกองกำลังตำรวจ พร้อมกับการสืบสวนการสังหารยังไม่สิ้นสุดและการพิจารณาคดียังไม่เริ่มขึ้น</p>
<p>เราขอเรียกร้องไปยังอัยการสูงสุดให้ใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อประกันว่ามีการสอบสวนอย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และละเอียดถี่ถ้วนในคดีฆาตกรรมเปโดร เฮนริคและนำผู้รับผิดชอบเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม รวมถึงมีการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้ยังต้องใช้มาตรการที่จําเป็นทั้งหมดเพื่อประกันว่าจะมีการยุติการเลือกปฏิบัติ การข่มขู่ในกระบวนการทางตุลาการและกระบวนการยุติธรรมต่ออันนา มาเรียอีกด้วย</p>
<p>ทูลานี มาเซโกะ จากประเทศเอสวาตินี เป็นพ่อและสามีที่ทุ่มเทชีวิตของเขาให้กับผู้คนในเอสวาตินี ซึ่งเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มั่งคั่งแต่ประชาชนกว่า 60% ใช้ชีวิตอยู่ใต้เส้นแบ่งความยากจน เขาได้วิพากษ์วิจารณ์กฎหมายปราบปรามของประเทศตนเองอย่างเปิดเผย รวมถึงการใช้ความรุนแรงของรัฐที่มากเกินไปเพื่อปิดปากการชุมนุมประท้วงโดยสงบ ในวันที่ 21 มกราคม 2566 ทูลานีถูกยิงเสียชีวิตต่อหน้าทาเลเนภรรยาของเขา จนถึงปัจจุบันไม่มีใครรับผิดชอบต่อการสังหารของทูลานี</p>
<p>เราจึงเรียกร้องไปยังกษัตริย์แห่งเอสวาตินีให้มีการสืบสวนอย่างมีประสิทธิภาพต่อการสังหาร ทูลานี มาเซโกะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นำตัวผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนรับผิดชอบเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การพิจารณาคดีต้องมีความเป็นธรรมและครอบครัวของทูลานีสามารถเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพและรอบด้าน</p>
<p>ลุงพาไบและลุงพอล จากประเทศออสเตรเลีย ทั้งสองคนอาศัยอยู่ในช่องแคบทอร์เรสทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งบรรพบุรุษของพวกเขาเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในเกาะแห่งนี้มานับพันปี ปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศกำลังทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกเขา น้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นได้ทำลายสุสานบรรพรุษ พื้นที่เพาะปลูก และโครงสร้างของเกาะกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง หากยังไม่ไม่มีมาตรการที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง พวกเขารวมถึงคนในชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้มานับพันปี จะต้องถูกบังคับให้ออกจากพื้นที่ทำกินบ้านเกิดของตน</p>
<p>เราจึงเรียกร้องไปยังรัฐบาลออสเตรเลียให้มีมาตรการป้องกันจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโดยเร่งด่วนให้แก่ชุมชนซึ่งเป็นชนชาติแรก (First Nations) ในช่องแคบทอร์เรสให้ได้รับการปกป้อง โดยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างรวดเร็วตามพันธสัญญาของโลกในการจำกัดภาวะโลกร้อนให้เหลือ 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อให้สอดคล้องกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่</p>
<p>ที่ผ่านมาแคมเปญ Write for Rights มีส่วนนำข้อความจากคนทุกมุมโลกส่งเสียงไปยังรัฐบาลในประเทศต่างๆ ให้ไม่อาจเพิกเฉยต่อปัญหาสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันข้อความเหล่านั้นยังทำให้คนที่ถูกละเมิดสิทธิยังคงมีความหวังในการต่อสู้ กรณีตัวอย่างเช่น ฮาคีม อัล อาราบี นักฟุตบอลเชื้อสายบาห์เรน ที่ได้รับการปล่อยตัวหลังจากถูกทางการไทยควบคุมตัวนานกว่า 2 เดือน ตามหมายแดงของตำรวจสากล ซึ่งรัฐบาลบาห์เรนตั้งข้อหาว่าเขาทำลายทรัพย์สินสถานีตำรวจในเหตุการณ์อาหรับสปริง เมื่อเขาได้รับการปล่อยตัว รุ่งขึ้นเขาเดินทางไปถึงออสเตรเลีย และได้รับสัญชาติออสเตรเลียในเวลาต่อมา</p>
<p>รวมทั้งกรณีของ รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นักกิจกรรมจากประเทศไทย จากเด็กขี้อายและเงียบขรึมได้กลายมาเป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย เธออาจถูกจำคุกตลอดชีวิตเพียงเพราะใช้สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในโครงการ Write for Rights หรือ เขียน เปลี่ยน โลก เมื่อปี 2564</p>
<p>ในปีดังกล่าวมีผู้คนจากทั่วโลกส่งจดหมาย ทวีตข้อความ ร่วมลงชื่อและปฏิบัติการอื่นๆ รวมกว่าสามแสนครั้งเพื่อสนับสนุนเธอ ต่อมารุ้งได้รับการประกันและปล่อยตัวชั่วคราว และบอกว่า ได้อ่านจดหมายจากแคมเปญนี้ตอนออกมาจากคุกแล้ว ตอนนั้นถือเป็นช่วงที่มืดมนที่สุดในชีวิตเลยก็ว่าได้  ข้อความที่เขียนให้มานั้นส่วนใหญ่เป็นข้อความให้กำลังใจ บอกว่ายังมีคนที่อยู่เคียงข้างเรา ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในประเทศเดียวกัน ไม่ได้รู้จักกัน ไม่ได้ทำอะไรร่วมกันก็ตาม  เป็นคนแปลกหน้าที่เขียนให้กำลังใจ และบอกเราว่า ‘เราเชื่อมั่นใจตัวคุณ’ ‘เราเชื่อว่าคุณต่อสู้ได้’  และย้ำว่าเราทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว  ข้อความเหล่านั้นสร้างกำลังใจให้เราเป็นอย่างมาก ทำให้ช่วงเวลามืดมิดตรงนั้นสว่างขึ้นทันที จากการที่เราได้รับความรักจากคนแปลกหน้า</p>
<p>"อยากจะขอเชิญชวนทุกคน มาร่วมโครงการ Write for Rights  โครงการนี้มีพลังและมีความหมายมากสำหรับคนที่ถูกละเมิดสิทธิที่มีอยู่ทั่วโลก เป็นการเขียนจดหมายที่พวกเราจะส่งไปให้พวกเขา ทั้งให้กำลังใจ ความเข้มแข็ง และตอกย้ำให้พวกเขารู้ว่า สิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ สิ่งที่คุณกำลังต่อสู้อยู่นั้น มันเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว พวกเราทุกคนทั่วโลกจะร่วมส่งกำลังใจไปให้  ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่รุ้งเคยได้รับเมื่อสองปีที่แล้วจากโครงการ Write for Rights เช่นกัน"</p>
<p>ร่วม เขียน เปลี่ยน โลก ได้ที่ https://www.aith.or.th</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106978
 
3695  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เปิดใจ หนุ่มนั่งจยย. 8 กม. ไปเที่ยวงานพลุพัทยา แทบช็อกเจอเรียกค่าโดยสาร 1,600 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2566 20:45:15
เปิดใจ หนุ่มนั่งจยย. 8 กม. ไปเที่ยวงานพลุพัทยา แทบช็อกเจอเรียกค่าโดยสาร 1,600
         


เปิดใจ หนุ่มนั่งจยย. 8 กม. ไปเที่ยวงานพลุพัทยา แทบช็อกเจอเรียกค่าโดยสาร 1,600" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;แพงเกินไปไหม? หนุ่มซ้อนรถจยย.รับจ้างไปเที่ยวงานพลุพัทยา เจอเรียกค่าโดยสารมหาโหด วิ่ง 8 กม. 1,600 บาท
         

https://www.sanook.com/news/9118534/
         
3696  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - จดให้ไว เลขทะเบียนรถนายกฯ เศรษฐา ลงพื้นที่สระแก้ว คอหวยรีบซื้อก่อนหมดแผง เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2566 20:30:29
จดให้ไว เลขทะเบียนรถนายกฯ เศรษฐา ลงพื้นที่สระแก้ว คอหวยรีบซื้อก่อนหมดแผง
         


จดให้ไว เลขทะเบียนรถนายกฯ เศรษฐา ลงพื้นที่สระแก้ว คอหวยรีบซื้อก่อนหมดแผง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;คอหวยรีบเลย เลขทะเบียนรถนายกฯ เศรษฐา ใช้ลงพื้นที่ จ.สระแก้ว ลุ้นงวด 1/12/66 รีบไปหาซื้อก่อนหมดแผง
         

https://www.sanook.com/news/9118310/
         
3697  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'พิธา' ประกาศ 'ก้าวไกล' พร้อมชนะกว้าง-ชนะลึก เตรียมสู้ศึก อบจ. เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2566 20:12:47
'พิธา' ประกาศ 'ก้าวไกล' พร้อมชนะกว้าง-ชนะลึก เตรียมสู้ศึก อบจ.
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-11-25 15:57</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'พิธา' ประกาศ 'ก้าวไกล' พร้อมชนะกว้าง-ชนะลึก เตรียมสู้ศึก อบจ. ชู 3ข ขยับ-ขยาย-แข่ง ภูมิใจคะแนนเลือกตั้งอุดรธานีเพิ่มขึ้นมีนัยสำคัญ หวังเก็บชัยเลือกตั้ง อบจ.อุดรรอบนี้ ชี้ประเทศไทยต้องกระจายอำนาจ งบประมาณ-บุคลากร-ภารกิจ เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน - 'ชัยธวัช' ร่วมวงรับฟังปัญหาเกษตรกร จ.สกลนคร ขาดแคลนแหล่งน้ำทำเกษตร พบหลายโครงการจัดสรรไม่ตอบโจทย์พื้นที่-ประชาชนใช้การไม่ได้จริง</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53353581157_42d8b03e00_o_d.jpg" /></p>
<p>ทีมสื่อพรรคก้าวไกลแจ้งข่าวว่าเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินทางเยือนจังหวัดอุดรธานี ร่วมเวทีบรรยาย “ก้าวต่อไป อุดรท้องถิ่น” จัดขึ้น ณ โรงแรมสยามแกรนด์ โดยมี ณัฐพงษ์ พิพัฒน์ไชยศิริ สส.อุดรธานี เขต 1 พร้อมด้วยสมาชิกพรรคก้าวไกล จังหวัดอุดรธานี และประชาชนที่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายกว่า 400 คน</p>
<p>ช่วงต้นของการบรรยาย พิธา กล่าวว่า พรรคก้าวไกลไม่เสียกำลังใจและมีสมาธิพร้อมทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน คะแนนเลือกตั้งที่พี่น้องชาวอุดรธานีมอบให้ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่สมัยพรรคอนาคตใหม่ เริ่มต้นที่ 140,000 คะแนน จนมาถึงพรรคก้าวไกล ช่วงเลือกตั้งนายก อบจ. เมื่อปี 2563 เพิ่มเป็น 180,000 คะแนน และ 220,000 คะแนนจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เชื่อว่าเลือกตั้ง อบจ.รอบนี้ จะเก็บคะแนนเพิ่มและคว้าชัยชนะแน่นอน</p>
<p>ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ยังกล่าวถึง “3ข.” ได้แก่ “ขยับ” เนื่องจากพรรคก้าวไกลมี สส.เขต และ สส.บัญชีรายชื่อ ประธานกรรมาธิการที่ดินฯ ก็เป็นของก้าวไกล จึงพร้อมเดินหน้าผลักดันและขยับเพื่อชาวอุดรธานี ต่อมาคือ “ขยาย” พรรคต้องขยายฐานสมาชิกให้มากขึ้น ขยายอาสาสมัครและแนวร่วมให้มากขึ้น เมื่อขยายแล้วจึงพร้อม “แข่ง” โดยไม่ต้องรอถึง 4 ปีในการเลือกตั้งใหญ่ เพราะยังมีการเลือกตั้ง อบจ. ที่ต้องแข่งขันในระดับท้องถิ่น</p>
<p>พิธากล่าวถึงการเลือกตั้ง อบจ. ที่จะมาถึงว่า พรรคก้าวไกลต้องการชนะในหลายจังหวัด เพื่อขยายผลจากการเลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านมา จากข้อมูลจะพบว่ามีประมาณ 40 จังหวัดทั่วประเทศ ที่คะแนนของพรรคก้าวไกลมาเป็นอันดับ 1 แต่ยังเหลืออีก 20-30 จังหวัด ที่คะแนนพรรคมาเป็นอันดับ 2 ดังนั้นต้องเดินหน้ารณรงค์เต็มที่ โดยในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ พรรคก้าวไกลไม่ได้ส่งตัวแทนผู้สมัครลงเลือกตั้งครบทุกจังหวัด แต่อุดรธานีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่เราส่ง และตนจะเดินทางมาหาเสียงที่อุดรธานีด้วยตัวเองอย่างแน่อน มั่นใจว่าจะปักธงที่อุดรธานีได้ เนื่องจากมีคนทำงานท้องถิ่นอยู่แล้ว มี สส. พรรคก้าวไกลที่ทำงานอย่างแข็งขันและคะแนนของพรรคก็โตขึ้นโดยตลอด ภายในระยะเวลา 1 ปี ตนมั่นใจว่าจะสามารถชนะได้</p>
<h2><span style="color:#3498db;">'ชัยธวัช' ร่วมวงรับฟังปัญหาเกษตรกร จ.สกลนคร ขาดแคลนแหล่งน้ำทำเกษตร พบหลายโครงการจัดสรรไม่ตอบโจทย์พื้นที่-ประชาชนใช้การไม่ได้จริง พร้อมใช้กลไก กมธ.ติดตามงบฯ </span></h2>
<p>เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2566 ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ร่วมรับฟังปัญหาประชาชนในภาคเกษตร ที่บ้านเม่นใหญ่ ต.อากาศ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร โดยประชาชนได้ร่วมนำเสนอปัญหาแก่หัวหน้าพรรคก้าวไกลในหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องความต้องการระบบชลประทานเพื่อให้สามารถทำนาปรังได้</p>
<p>หลังการรับฟังปัญหา ชัยธวัชได้กล่าวสรุปว่าพื้นที่เชื่อมโยงระหว่างนครพนมและสกลนคร มีงบประมาณในการทำแหล่งน้ำตามงบประมาณประจำปี 2566 รวมกันสองจังหวัดถึง 1.2 พันล้านบาท เป็นของนครพนม 800 ล้านบาท สกลนคร 400 ล้านบาท ซึ่งจากการตรวจสอบของพรรคก้าวไกล พบว่าโครงการจำนวนมากถูกจัดสรรลงไปในพื้นที่ที่ไม่มีความต้องการน้ำจริง หรือลงไปในพื้นที่ที่ต้องการน้ำแต่กลับใช้งานไม่ได้จริง โดยมีโครงการที่กำลังถูกตรวจสอบจาก ป.ป.ช. ถึงประมาณ 190 โครงการ</p>
<p>วันนี้ตนตั้งใจมารับฟังปัญหาจากประชาชนเพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกันในอนาคต โดยปัญหาเฉพาะหน้าสำคัญที่สุดก็คือเรื่องน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับเกษตรกรทั้งประเทศ เนื่องจากพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศนี้ไม่มีระบบชลประทาน แม้ตามแผนของรัฐบาลเดิมจะวางไว้ว่าภายใน 15 ปีจะต้องมีโครงการชลประทานครอบคลุม 40% ของพื้นที่เพาะปลูก แต่ต่อให้ทำสำเร็จภายใน 15 ปี พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ของประเทศก็จะยังไม่มีน้ำอยู่ดี นี่คือปัญหาของวิธีการจัดการน้ำโดยส่วนกลาง ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ตอบโจทย์ประชาชน เป็นโครงการในรูปแบบเดียวกันที่เอื้อต่อการทุจริตหรือใช้การไม่ได้จริง</p>
<p>ในระยะเฉพาะหน้า พรรคก้าวไกลแม้จะเป็นฝ่ายค้าน แต่ก็จะใช้ทุกกลไกที่มีในการผลักดันแก้ปัญหาให้ประชาชนให้มากที่สุด รวบรวมนำเสนอต่อรัฐบาล ตรวจสอบฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะในการใช้งบประมาณ ซึ่งพรรคก้าวไกลเองมี สส. เป็นประธานคณะกรรมาธิการติดตามการใช้งบประมาณฯ จะทำงานผ่านกลไกนี้ รวมทั้งการใช้กรรมาธิการการจัดการน้ำ ซึ่งเป็นกรรมาธิการใหม่ ที่แม้ สส.พรรคก้าวไกลจะไม่ได้เป็นประธานแต่ก็มีสมาชิกที่จะส่งเสียงแทนประชาชนได้ ระหว่างนี้ทำอะไรได้ก็จะทำกันเต็มที่ ทีมงานพรรคก้าวไกลในพื้นที่จะทำงานอย่างต่อเนื่องกับประชาชน</p>
<p>ชัยธวัชกล่าวต่อไป ว่าปัญหาของเกษตรกรทั้งประเทศมีหัวใจอยู่ที่แหล่งน้ำ ซึ่งถ้ายังจัดการลงทุนโดยใช้วิธีเดิมๆ เอางบกองไว้ที่กระทรวงแล้วให้แต่ละที่ทำโครงการขอมา กว่าจะได้รับพิจารณาก็ใช้เวลานานมาก ขึ้นอยู่กับว่าใครวิ่งงบเก่งกว่ากัน นำมาสู่การทุจริต เอาโครงการไปลงในพื้นที่ที่ไม่ต้องการจริง หรือมีโครงการมาลงในพื้นที่ที่มีความต้องการและใช้การได้จริงแต่มีการทุจริตมาก ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ตอบโจทย์จริงๆ ซึ่งพรรคก้าวไกลเสนอว่าในอนาคตจะต้องเปลี่ยนวิธีจัดการน้ำใหม่ เอางบประมาณมาที่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเป็นคนตัดสินใจ</p>
<p>แต่ปัญหาสำหรับภาคเกษตรนั้น แก้ปัญหาเรื่องน้ำอย่างเดียวไม่จบ ต้องมีการแก้ไขทั้งระบบ ทั้งต้นทุนการผลิต ปุ๋ย ยา ทำอย่างไรให้เลิกผูกขาดกับบริษัทใหญ่ไม่กี่เจ้า การพัฒนาการผลิตด้วยการวิจัย พัฒนาสายพันธุ์ และเทคนิคการผลิตให้ดีกว่านี้ ให้ได้มากกว่าแค่ผลิตได้หลายรอบขึ้น แต่ให้ไปถึงขั้นทำเท่าเดิมหรือน้อยลงแต่ได้ผลผลิตมากขึ้น พัฒนาไปสู่การแปรรูปให้ขายได้ราคามากขึ้น</p>
<p>ชัยธวัชกล่าวต่อไป ว่าอีกปัญหาหนึ่งที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับเกษตรกรทั้งประเทศก็คือเรื่องหนี้สินครัวเรือนที่เกษตรกรเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุด พรรคก้าวไกลเสนอว่าต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้เกษตรกรครั้งใหญ่เพื่อนำไปสู่การปิดหนี้ เช่น เกษตรกรอายุเกิน 60 ปีที่จ่ายหนี้จนเกินเงินต้นแล้วควรปิดหนี้ให้ได้เลย หรือลูกหนี้ที่ยังจ่ายหนี้ไม่เกินเงินต้น ก็ต้องมีการเข้าไปสนับสนุนให้เอาที่ดินมาบริหารจัดการ ให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นเพื่อนำไปสู่การปิดหนี้</p>
<p>เช่นเดียวกับเรื่องของสวัสดิการถ้วนหน้า สำหรับทั้งผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน และเด็ก จากการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว ประชากรวัยทำงานน้อยลง ประชากรเกิดใหม่น้อยลง การมีสวัสดิการให้ผู้สูงอายุ และคนวัยทำงานในการดูแลลูก จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นในการช่วยลดภาระและส่งเสริมให้มีประชากรวัยทำงานมากขึ้น รวมทั้งการมีงบประมาณส่งเสริมคนทำงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน เพื่อให้เกิดงานที่มั่นคงและมีค่าตอบแทนอย่างเป็นมืออาชีพ</p>
<p>ชัยธวัชสรุปว่า ดังนั้น การแก้ปัญหาของเกษตรกรจะแก้แต่เรื่องน้ำอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องแก้ทั้งระบบ รวมถึงการทำให้มีทางเลือกงานนอกภาคเกษตรใหม่ๆ ในพื้นที่ อย่างที่พรรคก้าวไกลเสนอให้มีการสร้างอุตสาหกรรมจากปัญหาในชีวิตประจำวันของประชาชน เช่น การทำน้ำประปาดื่มได้ ที่จะทั้งสร้างงานในพื้นที่และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของประชาชนไปได้ด้วย รวมทั้งการกระจายอำนาจ เพื่อให้อำนาจและงบประมาณอยู่ใกล้ประชาชนให้มากที่สุด</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106979
 
3698  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เปิดทรัพย์สิน ‘ประยุทธ์-ประวิตร’ 9 ปีหลัง รปห. รวยขึ้นคนละกว่า 2 ล้าน เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2566 18:40:53
เปิดทรัพย์สิน ‘ประยุทธ์-ประวิตร’ 9 ปีหลัง รปห. รวยขึ้นคนละกว่า 2 ล้าน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-11-25 18:06</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: (ซ้าย) ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ (ขวา) ประวิตร วงษ์สุวรรณ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ป.ป.ช.เปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ 'ประยุทธ์-ประวิตร' ในรอบ 9 ปี หลังรัฐประหาร พบรวยขึ้นกว่า 2 ล้านบาท หัวหน้า พปชร.มีนาฬิกา TW Steel เรือนเดียว มูลค่า 1.5 หมื่นบาท แถมรถเพิ่ม 5 คัน มูลค่ารวม 13 ล้าน</p>
<p> </p>
<p>25 พ.ย. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (25 พ.ย.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ นราพร จันทร์โอชา ภรรยา และ พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี หลังทั้งคู่พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2566 </p>
<p>การเปิดบัญชีทรัพย์สินของประยุทธ์ และภรรยาครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงบัญชีทรัพย์สินในรอบ 9 ปี ตั้งแต่หลังทำการรัฐประหาร และเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2557 ซึ่งมีจำนวนทรัพย์สินรวมเพิ่มขึ้นกว่า 2.1 ล้านบาท</p>
<p><strong>ตาราง: เปรียบเทียบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ พลเอกประยุทธ์ และ นราพร ปี 2557 และ 2566 </strong></p>
<table border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width:100%;">
<tbody>
<tr>
<td colspan="1" rowspan="2"> </td>
<td colspan="2" rowspan="1" style="text-align: center;">2557</td>
<td colspan="2" rowspan="1" style="text-align: center;">2566</td>
</tr>
<tr>
<td style="text-align: center;">ประยุทธ์</td>
<td style="text-align: center;">นราพร</td>
<td style="text-align: center;">ประยุทธ์</td>
<td style="text-align: center;">นราพร</td>
</tr>
<tr>
<td>เงินสด</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
</tr>
<tr>
<td>เงินฝาก</td>
<td style="text-align: center;">
<p style="text-align: right;"> 58,967,022 </p>
<p>(6 บัญชี)</p>
</td>
<td style="text-align: center;">
<p style="text-align: right;">7,977,382</p>
<p>(6 บัญชี)</p>
</td>
<td style="text-align: center;">
<p style="text-align: right;">13,773,881.02</p>
<p>(7 บัญชี)</p>
</td>
<td style="text-align: center;">
<p style="text-align: right;">10,415,479.54</p>
<p>(5 บัญชี)</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td>เงินลงทุน</td>
<td style="text-align: right;">23,072,380</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: right;">64,102,742.36</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
</tr>
<tr>
<td>เงินให้กู้ยืม</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
</tr>
<tr>
<td>ที่ดิน</td>
<td style="text-align: right;">2,284,750</td>
<td style="text-align: right;">5,350,000</td>
<td style="text-align: right;">3,256,060</td>
<td style="text-align: right;">5,892,000</td>
</tr>
<tr>
<td>โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง</td>
<td style="text-align: right;">2,000,000</td>
<td style="text-align: right;">2,000,000</td>
<td style="text-align: right;">1,800,000</td>
<td style="text-align: right;">1,800,000</td>
</tr>
<tr>
<td>ยานพาหนะ</td>
<td style="text-align: center;">
<p style="text-align: right;">11,800,000</p>
<p>(จำนวน 4 คัน)</p>
</td>
<td style="text-align: center;">
<p style="text-align: right;">3,500,000</p>
<p>(จำนวน 1 คัน)</p>
</td>
<td style="text-align: center;">
<p style="text-align: right;">10,720,000</p>
<p>(จำนวน 4 คัน)</p>
</td>
<td style="text-align: center;">
<p style="text-align: right;">1,200,000</p>
<p>(จำนวน 1 คัน)</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td>สิทธิและสัมปทาน</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
</tr>
<tr>
<td>ทรัพย์สินอื่น</td>
<td style="text-align: center;">4,193,000</td>
<td style="text-align: center;">7,520,000 </td>
<td style="text-align: center;">5,011,000.00</td>
<td style="text-align: center;">12,220,000.00</td>
</tr>
<tr>
<td>รวมทรัพย์สิน</td>
<td style="text-align: center;">102,317,152</td>
<td style="text-align: center;">26,347,382 </td>
<td style="text-align: center;">98,663,683.38</td>
<td style="text-align: center;">31,527,479.54</td>
</tr>
<tr>
<td>รวมทรัพย์สินทั้งหมด</td>
<td colspan="2" rowspan="1" style="text-align: center;">128,664,535</td>
<td colspan="2" rowspan="1" style="text-align: center;">130,191,162.92</td>
</tr>
<tr>
<td>หนี้สิน</td>
<td style="text-align: center;">327,372</td>
<td style="text-align: center;">327,372</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
</tr>
<tr>
<td>สรุปทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน</td>
<td colspan="2" rowspan="1" style="text-align: center;">128,009,790</td>
<td colspan="2" rowspan="1" style="text-align: center;">130,191,162.92</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">หมายเหตุ : หน่วยเป็นบาท</span></p>
<p>จากรายการที่ดินของอดีตนายกฯ และภรรยา รวม 5 รายการ พบว่ามี 2 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านบาท ได้แก่ ที่ดินของพลเอกประยุทธ์ จากการรับมรดกที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ขนาด 20 ไร่ 87 ตารางวา (ตร.ว.) มูลค่า 3,073,060 บาท และที่ดินแบ่งกรรมสิทธิ์ของนราพร ที่เขตพญาไท กรุงเทพฯ ขนาด 1 งาน 6 ตร.ว. มูลค่า 4,876,000 บาท พร้อมยานพาหนะ 4 คันของพลเอกประยุทธ์ รวม 10.7 ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียดมูลค่าปัจจุบันและวันที่ได้มา ดังนี้</p>
<p><strong>รายชื่อรถยนต์ของประยุทธ์ </strong></p>
<ul>
<li>29 พ.ย. 2548 รถยนต์ Ford Ranger รุ่นปี 2005 มูลค่า 120,000 บาท</li>
<li>30 ก.ค. 2557 รถยนต์ Mercedes Benz S600L รุ่นปี 2011 มูลค่า 2,500,000 บาท</li>
<li>21 ก.ย. 2561 รถยนต์ Porsche Panamera รุ่นปี 2009 มูลค่า 4,500,000 บาท</li>
<li>17 ก.พ. 2566 รถยนต์ Toyota Alphard รุ่นปี 2023 มูลค่า 3,600,000 บาท</li>
</ul>
<p><strong>รายการทรัพย์สินอื่นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปี 2566</strong></p>
<table border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width:100%;">
<tbody>
<tr>
<td style="text-align: center;"><strong>รายการ</strong></td>
<td style="text-align: center;"><strong>จำนวน</strong></td>
<td style="text-align: center;"><strong>มูลค่า (บาท)</strong></td>
</tr>
<tr>
<td>แหวน-กำไลข้อมือ</td>
<td>10 วง</td>
<td style="text-align: right;">735,000</td>
</tr>
<tr>
<td>นาฬิกา</td>
<td>9 เรือน</td>
<td style="text-align: right;">3,000,000</td>
</tr>
<tr>
<td>สร้อยคอทองคำ และพระ </td>
<td>6 เส้น</td>
<td style="text-align: right;">820,000</td>
</tr>
<tr>
<td>อาวุธปืน</td>
<td>
<p>9 กระบอก</p>
</td>
<td style="text-align: right;">253,000</td>
</tr>
<tr>
<td>จักรยาน</td>
<td>2 คัน</td>
<td style="text-align: right;">203,000</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p><strong>รายการทรัพย์สินอื่นของ นราพร จันทร์โอชา ปี 2566</strong></p>
<table border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width:100%;">
<tbody>
<tr>
<td style="text-align: center;"><strong>รายการ</strong></td>
<td style="text-align: center;"><strong>จำนวน</strong></td>
<td style="text-align: center;"><strong>มูลค่า (บาท)</strong></td>
<td> </td>
</tr>
<tr>
<td>ชุดเครื่องประดับ แหวน ต่างหู และสร้อย</td>
<td>25 ชุด</td>
<td style="text-align: right;">
<p>10,820,000</p>
</td>
<td> </td>
</tr>
<tr>
<td>นาฬิกา</td>
<td>4 เรือน</td>
<td style="text-align: right;">1,400,000</td>
<td> </td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p>นอกจากรายการทรัพย์สินของประยุทธ์ และภรรยาแล้ว ยังมีการเปิดรายรับ-รายจ่ายของทั้ง 2 คน โดยพบว่าทั้งคู่มีรายได้ต่อปีรวม 3.3 ล้าน ซึ่งมาจากรายได้ประจำและรายได้จากทรัพย์สิน ดังนี้</p>
<p>รายได้ต่อปีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวม 2,849,888.78 บาท</p>
<ul>
<li>เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง 1,507,080 บาท</li>
<li>เงินบำนาญ 898,176 บาท</li>
<li>เบี้ยประชุม 300,000 บาท</li>
<li>เงินเชิดชูเกียรติกรณีได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 72,000 บาท</li>
<li>ดอกเบี้ยเงินฝาก (ปี 2565) 45,314 บาท</li>
<li>เงินปันผลจากกองทุน (ปี 2565) 27,318.02 บาท</li>
</ul>
<p>รายได้ต่อปีของ นราพร จันทร์โอชา รวม 453,351.79 บาท</p>
<ul>
<li>เงินบำนาญ 313,724 บาท (ข้าราชการบำนาญจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองประธานกรรมการบริการ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม)</li>
<li>เบี้ยประชุม 100,000 บาท</li>
<li>ดอกเบี้ยเงินฝาก (ปี 2565) 39,627.15 บาท</li>
</ul>
<p>ส่วนรายจ่ายของทั้ง 2 คนรวม 2.7 ล้านบาทต่อปี ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายทั่วไปของพลเอกประยุทธ์ 1.8 ล้านบาท และเสียภาษีเงินได้ (ปี 2565) 343,814 บาท ขณะที่นราพรมีค่าใช้จ่าย 300,000 บาท นอกจากนั้น ทั้งสองยังมีรายจ่ายเป็นเงินบริจาคอีกคนละ 1 แสนกว่าบาท ส่วนลูกสาว 2 คนของ พล.อ.ประยุทธ์นั้นบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเปิดเผยรายการทรัพย์สิน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">'ประวิตร' รถ 5 คัน มูลค่ารวม 13.6 ล้านบาท มีนาฬิกา 1 เรือน มูลค่า 1.5 หมื่นบาท </span></h2>
<p><span style="color:null;">ขณะที่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรองหัวหน้า คสช. ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด และเคยเปิดบัญชีทรัพย์สินมาแล้ว 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2551 กรณีเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีทรัพย์สินรวม 56,856,005.95 บาท อีกครั้งคือเมื่อ 9 ปีที่แล้วเช่นเดียวกับประยุทธ์ที่เข้ามามีอำนาจหลังการรัฐประหาร 2557 </span></p>
<table border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width:100%;">
<tbody>
<tr>
<td> </td>
<td style="text-align: center;">2557</td>
<td style="text-align: center;">2566</td>
</tr>
<tr>
<td>เงินสด</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
</tr>
<tr>
<td>เงินฝาก</td>
<td style="text-align: center;">
<p style="text-align: right;"> 53,197,562.62</p>
</td>
<td style="text-align: center;">
<p style="text-align: right;">43,505,397.35</p>
<p>(9 บัญชี)</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td>เงินลงทุน</td>
<td style="text-align: right;">7,076,195</td>
<td style="text-align: right;">4,879,739.75</td>
</tr>
<tr>
<td>เงินให้กู้ยืม</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
</tr>
<tr>
<td>ที่ดิน</td>
<td style="text-align: right;">17,000,000</td>
<td style="text-align: right;">17,000,000</td>
</tr>
<tr>
<td>โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง</td>
<td style="text-align: right;">10,000,000</td>
<td style="text-align: right;">10,000,000</td>
</tr>
<tr>
<td>ยานพาหนะ</td>
<td style="text-align: center;">
<p style="text-align: right;">100,000</p>
<p style="text-align: right;">(จำนวน 4 คัน)</p>
</td>
<td style="text-align: center;">
<p style="text-align: right;">13,600,000.00</p>
<p style="text-align: right;">(จำนวน 1 คัน)</p>
</td>
</tr>
<tr>
<td>สิทธิและสัมปทาน</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
</tr>
<tr>
<td>ทรัพย์สินอื่น</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: right;">229,500.00</td>
</tr>
<tr>
<td>รวมทรัพย์สิน</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: right;">89,214,637.10</td>
</tr>
<tr>
<td>รวมทรัพย์สินทั้งหมด</td>
<td rowspan="1" style="text-align: right;">87,373,757</td>
<td rowspan="1" style="text-align: right;">89,214,637.10</td>
</tr>
<tr>
<td>หนี้สิน</td>
<td style="text-align: center;">-</td>
<td style="text-align: right;">757.26</td>
</tr>
<tr>
<td>สรุปทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน</td>
<td rowspan="1" style="text-align: right;">87,373,757</td>
<td rowspan="1" style="text-align: right;">89,213,879.8</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">หมายเหตุ: หน่วยเป็นบาท</span></p>
<div class="morw-stpry">
<div class="more-story">
<ul>
<li>ยลโฉมทรัพย์สินร้อยล.! นายกฯ-7 รมต.ขอเสียสละไม่รับเงิน 3 เดือนแก้โควิด? </li>
</ul>
</div>
</div>
<p>จากรายการที่ดินของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ 3 รายการ พบว่ามีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านบาททั้งหมด ได้แก่ ที่ดิน ต. คลองสี่ อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี พื้นที่ 2 ไร่ 5 ตร.ว. มูลค่า 7,000,000 บาท ที่ดิน ต. ทรายกองดินใต้ อ. มีนบุรี กรุงเทพฯ 2 งาน 78 ตร.ว. มูลค่า 5,000,000 บาท และที่ดิน ต. ทรายกองดินใต้ อ. มีนบุรี กรุงเทพฯ 2 งาน 80 ตร.ว. มูลค่า 5,000,000 บาท</p>
<p>นอกจากนั้น ยังมียานพาหนะเพิ่มขึ้นเป็น 5 คัน มูลค่าปัจจุบันรวม 13 ล้านบาท ดังนี้</p>
<ul>
<li>25 ธ.ค. 43 รถยนต์ Volkswagen รุ่นปี BEETLE มูลค่า 100,000 บาท</li>
<li>5 ก.ค. 62 รถยนต์ LEXUS รุ่น LS 600 H มูลค่า 2,500,000 บาท</li>
<li>27 ส.ค. 63 รถยนต์ LEXUS รุ่น LS 300 H มูลค่า 4,500,000 บาท</li>
<li>28 มิ.ย. 64 รถยนต์ JAGUAR รุ่น I-PACE AWD HSE มูลค่า 4,000,000 บาท</li>
<li>6 มิ.ย. 65 รถยนต์ Mercedes Benz รุ่น V250d มูลค่า 2,500,000 บาท</li>
</ul>
<p><strong>รายการทรัพย์สินอื่นของ พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ 2566</strong></p>
<table border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="width:100%;">
<tbody>
<tr>
<td style="text-align: center;"><strong>รายการ</strong></td>
<td style="text-align: center;"><strong>จำนวน</strong></td>
<td style="text-align: center;"><strong>มูลค่า (บาท)</strong></td>
</tr>
<tr>
<td>แหวน *</td>
<td style="text-align: center;">9 วง</td>
<td style="text-align: right;">132,000</td>
</tr>
<tr>
<td>นาฬิกา TW Steel</td>
<td style="text-align: center;">1 เรือน</td>
<td style="text-align: right;">15,000</td>
</tr>
<tr>
<td>สร้อยคอทองคำพร้อมพระ </td>
<td style="text-align: center;">6 เส้น</td>
<td style="text-align: right;">820,000</td>
</tr>
<tr>
<td>อาวุธปืน</td>
<td style="text-align: center;">3 กระบอก</td>
<td style="text-align: right;">82,500</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">หมายเหตุ: มีการแจ้งมูลค่าแหวนเพียง 8 วงเท่านั้น</span></p>
<p>หากเปรียบเทียบการชี้แจงรายการทรัพย์สินของประวิตรครั้งนี้จะพบว่าประเด็น #นาฬิกายืมเพื่อน ที่ถูกจับตาเมื่อปี 2560 นั้นยังถูกทำให้เป็นเรื่องคาใจต่อสาธารณะ เนื่องจากเดิมรายการทรัพย์สินของประวิตรในปี 2557 นั้นไม่มีการให้รายละเอียดมูลค่าทรัพย์สินอื่น โดยเฉพาะนาฬิกาหรูกว่า 20 เรือน ที่ใส่ออกงานต่าง ๆ โดยเฉพาะช่วงปี 2560 และการชี้แจงรายการทรัพย์สินปี 2566 นี้ มีการให้รายละเอียดนาฬิกาเพียงเรือนเดียวซึ่งมีมูลค่าเพียง 15,000 บาท ทั้งมีการชี้แจงมูลค่าของแหวนจาก 8 ใน 9 วงเท่านั้น ทำให้ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของประวิตรจึงเป็นสร้อยคอทองคำพร้อมพระจำนวน 6 เส้น มูลค่ารวม 820,000 บาท</p>
<p>นอกจากนั้น ประวิตร ยังมีการเปิดรายรับต่อปี 2.3 ล้านบาท และไม่มีการชี้แจงรายจ่ายต่อปี ซึ่งแหล่งรายได้ของประวิตรมีทั้งรายได้ประจำและรายได้อื่นๆ ดังนี้</p>
<ul>
<li>เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ 762,540 บาท</li>
<li>เบี้ยช่วยค่าครองชีพ 146,736 บาท</li>
<li>เงินเดือนรองนายกรัฐมนตรี 893,040 บาท</li>
<li>เงินประจำตำแหน่ง 546,000 บาท</li>
</ul>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ปิยรัฐ จงเทพ เข้ายื่นหลักฐานข้อมูลนาฬิกาหรู 19 เรือนให้ ป.ป.ช. หวังตรวจสอบพล.อ.ประวิตร</li>
<li>ป.ป.ช. ชี้นาฬิกาประวิตร 'ยืมทรัพย์คงรูป' ไม่ต้องแสดงบัญชีฯ - ทนายเกิดผลฟันธงวินิจฉัยนี้เปิดช่องทุจริตง่ายขึ้น</li>
<li>กมธ.ป.ป.ช. ระบุ 'มีหลักฐานใหม่' ปมนาฬิกาหรู พล.อ.ประวิตร</li>
<li>เคาะแล้ว! สขร. ชี้ ป.ป.ช. ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ 'ประยุทธ์-วิษณุ'</li>
</ul>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106981
 
3699  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ขาวเจิดจ้า "มาย ณภศศิ" นุ่งชุดวันพีซสวยสู้แดดมาก เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2566 18:14:59
ขาวเจิดจ้า "มาย ณภศศิ" นุ่งชุดวันพีซสวยสู้แดดมาก
         


ขาวเจิดจ้า &quot;มาย ณภศศิ&quot; นุ่งชุดวันพีซสวยสู้แดดมาก" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ขาวเจิดจ้า "มาย ณภศศิ" นุ่งชุดว่ายน้ำวันพีซสวยสู้แดดมาก
         

https://www.sanook.com/news/9118414/
         
3700  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'เศรษฐา' เผยถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรหาบ่อย แต่ส่วนใหญ่จะวางสายไปไม่พูดอะไร เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2566 17:04:35
'เศรษฐา' เผยถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรหาบ่อย แต่ส่วนใหญ่จะวางสายไปไม่พูดอะไร
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-11-25 16:13</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'เศรษฐา' เผยถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรหาบ่อย แต่ส่วนใหญ่จะวางสายไปไม่พูดอะไร บางครั้งมีข้อความส่งมาว่า "เรียนท่านเศรษฐา ทวีสิน" สั่งจัดการเด็ดขาด ‘ซิมม้า-บัญชีม้า-เว็บพนันออนไลน์’ ‘รมว.ดีอี’ ลุยเดินหน้า 4 มาตรการปราบอาชญากรรมออนไลน์ เร่งประสาน กสทช. ออกประกาศ ถือครองซิมการ์ด 5 หมายเลข ต้องลงทะเบียนภายใน 30 วัน</p>
<p>25 พ.ย. 2566 สำนักข่าวไทย รายงานว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงเรื่องนักท่องเที่ยวจีนว่า เมื่อ 3-4 วัน มีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยมากขึ้น เฉลี่ยวันละกว่า 10,000 คน แต่ถือว่าต้องทำการบ้านกันต่อ ต้องบริหารจัดการอะไรที่ไม่ถูกต้องออกไป ซึ่งตรงนี้พยายามจัดการอยู่</p>
<p>เมื่อถามว่าการปล่อยให้นักท่องเที่ยวเข้ามามากจากฟรีวีซ่าอาจทำให้มีกลุ่มจีนสีเทาเข้ามาด้วยจะทำให้ไม่ปลอดภัยหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ตนได้ไปเช็กดูว่าคนที่ทำผิดกฎหมายเข้ามาก่อนฟรีวีซ่า แต่ว่าจะมาก่อน มาหลัง หรือมาระหว่างฟรีวีซ่า เราไม่ได้ให้ความสำคัญตรงนั้น เมื่อวานนี้ได้เรียกผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาประชุม เจ้าหน้าที่จากกระทรวงท่องเที่ยวฯ และตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งอีกวงประชุมหนึ่งเป็นเรื่องของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะให้มาดูแลเรื่องของคอลเซ็นเตอร์ที่มีการไปฝังตัวอยู่ตามชายแดน ต้องไปดูให้ดีๆ และมีมาตรการออกไป เชื่อว่านายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี จะให้ความสำคัญสูงสุด</p>
<p>เมื่อถามว่าตัวนายกรัฐมนตรีเคยถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรหาหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า บ่อยครับ ส่วนใหญ่จะวางสายไป ไม่ได้พูดอะไร บางครั้งมีข้อความส่งมาว่า เรียนท่านเศรษฐา ทวีสิน ว่าแบบนี้ๆ ทั้งนี้ หากมีแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรมาอยากแนะนำให้ประชาชนปฏิบัติตามที่กระทรวงดีอีแนะนำ เรื่องนี้ต้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง ที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร กระทรวงดีอี ที่ดูแล กสทช. รวมถึงผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทั้งหลาย ต้องดูเรื่องจำนวนซิม เบอร์โทรออกมาจากซิมอันเดียว แต่ออกวันละ 500 เบอร์ และเป็นเบอร์ที่แตกต่างกันไป ต้องขอร้องให้ กสทช. ดูให้ชัดเจนขึ้น เพราะว่าของแบบนี้มันชัดเจนอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าโทรเบอร์ซ้ำๆ แต่หากว่าเป็นเบอร์เดียวโทรเข้ามาก็เป็นเหตุผลที่จะระงับการใช้ ขอความกรุณาดูให้ดีด้วย ซึ่งได้มีการพูดคุยกับนายประเสริฐ และถือว่าเป็นวาระสำคัญที่พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน</p>
<p>ส่วนเรื่องเฟคนิวส์ที่จะกระทบกับนักท่องเที่ยวจะมีการขยายผลจับกุมอย่างไร นายเศรษฐา กล่าวว่า ได้มีการพูดคุยกับคณะความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ กอ.รมน. ให้หาต้นตอเรื่องนี้มาด้วย หากเป็นเรื่องเฟคนิวส์เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการบ่อนทำลายความเจริญของประเทศชาติ ตนคิดว่าเป็นธรรมดาที่จะต้องบริหารจัดการกันไป</p>
<p>เมื่อถามว่าปัญหาเรื่องข่าวปลอมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนไม่เดินทางเข้าประเทศตามเป้าหมายหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า เป็นหนึ่งในหลายปัจจัย เพราะมีเรื่องที่รัฐบาลจีนต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็นเรื่องของเศรษฐกิจด้วยที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงขึ้น จะทำให้จำนวนเงินที่มาใช้จ่ายในประเทศไทยน้อยลง ซึ่งไม่ใช่เรื่องของนักท่องเที่ยวอย่างเดียว เป็นเรื่องของการจับจ่ายใช้สอยต่อคนที่เราอยากให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อยากให้อยู่ท่องเที่ยวในประเทศนานขึ้น และไม่ให้ไปอยู่แค่เมืองหลักเพียงอย่างเดียว เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต เชียงใหม่ อยากพัฒนาศักยภาพและไปท่องเที่ยวเมืองรอง เช่น จังหวัดสระแก้ว ที่ตนมาวันนี้ ซึ่ง สส. ในพื้นที่บอกว่าสระแก้วมีสถานที่ท่องเที่ยวมาก ซึ่งเราอยากสนับสนุนให้อยู่นานขึ้น ต้องพัฒนากันอย่างยั่งยืนในหลายๆ มิติ ให้ความสำคัญกับทุกด้านที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว</p>
<h2><span style="color:#3498db;">สั่งจัดการเด็ดขาด ‘ซิมม้า-บัญชีม้า-เว็บพนันออนไลน์’ ‘รมว.ดีอี’ ลุยเดินหน้า 4 มาตรการปราบอาชญากรรมออนไลน์</span></h2>
<p>ทีมสื่อพรรคเพื่อไทยแจ้งข่าวว่านายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีข้อสั่งการมาที่กระทรวงดีอี และ สตช. ให้จัดการเรื่องซิมม้า และปราบโจรออนไลน์เด็ดขาด ตนในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จึงได้เชิญคณะกรรมการ ประชุมเพื่อหารือ และสรุปมาตรการเร่งดำเนินการการ ใน 4 เรื่องสำคัญ</p>
<p>นายประเสริฐ กล่าวว่า ในเรื่องแรกคือ กรณีการออกประกาศเพื่อให้ผู้ครอบครองหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือซิมการ์ด ตั้งแต่ 5 เลขหมายขึ้นไป ลงทะเบียนแจ้งการครอบครองกับผู้ให้บริการเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการนำซิมการ์ดไปใช้ก่ออาชญากรรมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งขณะนี้ขั้นตอนการออกประกาศอยุ่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการ กสทช. โดยที่ประชุมมีความเห็นว่า ควรดำเนินการเรื่องนี้โดยด่วน และให้มีผลให้ต้องลงทะเบียน ภายในไม่เกิน 30 วันนับแต่การออกประกาศ โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 มีผู้ครอบครองเลขหมายโทรศัพท์มือถือหรือซิมการ์ดตั้งแต่ 6-100 เลขหมาย จำนวนมากถึง 286,148 ราย และมีผู้ครอบครองเลขหมายโทรศัพท์มือถือหรือซิมการ์ดตั้งแต่ 101 เลขหมายขึ้นไปถึง 7,664 ราย</p>
<p>นายประเสริฐ กล่าวว่า ในเรื่องที่สองเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC) หรือ ศูนย์ AOC 1441 (สายด่วน 24 ชม.) วันที่ 1 – 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ประชาชนโทรเข้ามา 62,306 สาย สามารถระงับบัญชีธนาคารได้ถึง 5,329 บัญชี มีการจับกุมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 389 ราย และมีคดีใหญ่แก๊ง call center ที่มีเงินหมุนเวียน 7,000 ล้านบาทด้วย ซึ่งผลดำเนินงานที่ผ่านมาโดยรวมเป็นที่น่าพอใจ AOC สามารถช่วยเหลือประชาชนได้เป็นจำนวนมาก และสามารถอายัดบัญชี ได้เฉลี่ยเวลา 15 นาที</p>
<p>นายประเสริฐ กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) มาโดยตลอด ในการเร่งดำเนินการขยายผลการจับกุม และทลายเครือข่ายบัญชีม้า/ซิมม้า โดยสืบสวนสอบสวนในเชิงลึกถึงบัญชีในขั้นตอนต่างๆ พร้อมร่วมกับสมาคมธนาคารไทยและธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนและสร้างความมั่นใจในการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามก็ต้องแจ้งเตือนไปยังพี่น้องประชาชนขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการทำธุรกรรมออนไลน์และขอความร่วมมือไปยังภาคธนาคารให้ดำเนินการอายัดรายชื่อบัญชีม้าทั้งหมดพร้อมทั้งเพิ่มกระบวนการในการตรวจสอบการเปิดบัญชีใหม่ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ด้วย</p>
<p>รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี กล่าวว่า ในเรื่องที่สาม ในด้านสถิติการปิดกั้นเว็บไซต์ หรือ เพจ ผิดกฎหมายโดยรวม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 22 พฤศจิกายน 2566 สูงถึง 16,359 เว็บไซต์ เฉลี่ย 309 เว็บต่อวัน เพิ่มขึ้น 6 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ปิดได้เฉลี่ย 55 เว็บต่อวัน</p>
<p>สำหรับการปิดกั้นเว็บพนันออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 22 พฤศจิกายน 2566 ปิดได้ สูงถึง 3,120 เว็บไซต์ เฉลี่ย 66 เว็บต่อวัน เพิ่มขึ้น 12 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ปิดได้เฉลี่ย 5 เว็บต่อวัน</p>
<p>นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า ในเรื่องที่สี่ คือที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบแผนบูรณาการประชาสัมพันธ์ภัยอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งมี 3 เป้าหมาย ประกอบด้วย 1. ประชาชนทุกคนมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยออนไลน์ และลดพฤติกรรมเสี่ยง รวมถึงรู้วิธีการป้องกัน และการแก้ไขปัญหา 2. ประชาชนมีเครื่องมือตรวจสอบข้อเท็จจริงในการป้องกันภัยออนไลน์ 3. หน่วยงานมีความร่วมมือ และแบ่งปันทรัพยากรในการป้องกันภัยออนไลน์</p>
<p>“กระทรวงดีอี มีความมุ่งมั่นที่จะลดปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ เรามีความร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชนในการป้องกันและปราบปรามอย่างเต็มที่ รวมถึงมีการรณรงค์ สร้างการตระหนักรู้เท่าทันภัยทางออนไลน์ รวมทั้งการสร้างเครื่องมือให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง (National Fact Checking)” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกล่าว</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106980
 
หน้า:  1 ... 183 184 [185] 186 187 ... 1129
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.824 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 03 กันยายน 2566 09:51:18