[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 พฤษภาคม 2567 19:05:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 [2] 3 4 ... 96
21  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / Re: พิธีโยคะตันตระเปรตพลีอุทิศ เมื่อ: 31 ตุลาคม 2555 13:38:52


พระผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลกจึงมีพุทธดำรัสตอบว่า........................................
ประเสริฐแล้วสิ่งที่เธอกล่าวนั้นชอบแล้วหากในภายภาคเบื้องหน้า
สาธุชนทั้งหลายอันมีภิกษุ - ภิกษุณี กษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์

ข้าราชบริพารทุกชนชั้นกับทั้งสามัญชนทั้งปวงปรารถนาที่จักบำเพ็ญ
กุศลทานอุทิศแด่บุพพการีย์ชน ผู้ให้กำเนิดแล้วไซร้ในวันเพ็ญ

กลางเดือน 7 อันเป็นวันมหาปวารณาสงฆ์ เธอทั้งหลายพึงถวาย
โภชนาหารกับทั้งของบริวารทั้งปวงแด่หมู่สงฆ์ผู้มาทิศทั้ง 10
แล้วตั้งใจอุทิศส่วนแห่งบุญนั้นแด่{บุพพการีย์ชนผู้}ให้กำเนิด

กับทั้งผู้ล่วงลับทั้ง 7 ชั่วอายุให้ได้รับอานิสงค์เขาทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมจักเป็นผู้พ้นจากทุคติภพได้บังเกิดในท่ามกลางสุคติภูมิ
ได้เสวยผลบุญอย่างไม่มีที่สิ้นสุด - พุทธสาวกทั้งหลายผู้มีมนสิการ

มั่นคงอยู่ในกตัญญุตธรรมระลึกถึง คุณแห่งบุพพการีย์ชน  
มีคุณบิดา มารดา เป็นต้นในวันขึ้น 15 ค่ำของเดือน 7 ทุกปี

พึงประกอบกุศลกรรมถวาย{อุลลัมพนมตกภัต}แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้ง 10 ทิศ เพื่อแสดงซึ่งกตัญญุตาในผู้ให้กำเนิด
แลผู้มีพระคุณที่ได้บำรุงเลี้ยงดูมา

เมื่อได้สดับฟังพระธรรมของพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว
พระมหาโมคัลลานะพร้อมด้วยพุทธบริษัท 4 ต่างปิติยินดีในธรรม
และน้อมรับไปปฏิบัติโดยทั่วกัน

พระสูตรอันเป็นสัจจพจน์ที่ว่าด้วยธรรมอันเป็นกตัญญุตกตเวทิตธรรม
ต่อบุพพาการีย์ชน ก็ยุติลงด้วยประการฉะนี้..................................



22  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / Re: พิธีโยคะตันตระเปรตพลีอุทิศ เมื่อ: 31 ตุลาคม 2555 13:33:27


หากสาธุชนใดพึงได้ถวายทานดั่งนี้แล้วแด่ที่ประชุมมหาปวารณาสงฆ์
อานิสงค์อันประมาณมิได้ย่อมบังเกิดแด่บุพพการีย์ชนทั้งในปัจจุบัน
ตลอดจนถึง 7 ชั่วอายุแม้กระทั่งผู้อยู่ในคติทั้ง  6  

(สวรรค์ มนุษย์ เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน สัตว์นรก)
ท่านเหล่านั้นจักพ้นจากทุคติภูมิ ได้บังเกิด ณ สุขคติภพ
โภชนาหารกับทั้งพัสตราภรณ์อันปราณีต จักบังเกิดแด่ท่านเหล่านั้น
แม้ผู้ยังชนม์อยู่ย่อมจักเป็นผู้มั่งคั่งจักเป็นผู้มีอายุยืน


แลบัดนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพุทธบรรหารแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์
ทั้งหลายให้ดำรงจิตแห่งตนมั่นคงอยู่ในสมาธิภาวะแล้วจึง

สังวัธยายมนตร์อุทิศให้{บุพพการีย์ชน}ทั้งหลาย ครั้นแล้วหมู่สงฆ์ทั้งนั้น
พึงรับมตกภัตต่อเบื้องหน้าพุทธานุสติเจดีย์ในท่ามกลางหมู่สงฆ์

ทันใดนั้น มารดาแห่งพระมหาโมคคัลลานะก็ได้พ้นจากกัลป์แห่งเปรตภูมิ
ด้วยกุศลนั้น พระมหาโมคคัลลานะอีกทั้งพระมหาโพธิสัตว์เจ้า
ก็บังเกิดปิติในผลแห่งกุศลเป็นอันมาก

พระมหาโมคคัลลานะ ได้ประคองหัตถ์อัญชุลีต่อเบื้องพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า.................................................

บัดนี้มารดาของข้าพระองค์ ได้รับอานิสงค์อันไม่มีประมาณ ก็ด้วย
อาศัยอานุภาพแห่ง(พระรัตนตรัย)หากในกาลภายหน้าบรรดา

พุทธสาวกทั้งหลายปรารถนาจักบำเพ็ญกุศลทานอุทิศให้แก่บุพพการีย์ชน
ดังนี้บ้าง บรรพชนทั้งหลายกับผู้ล่วงลับทั้ง 7 ชั่วอายุนั้น
จักได้รับอานิสงค์ดุจเช่นนี้หรือไม่พระพุทธเจ้าข้า



23  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / พิธีโยคะตันตระเปรตพลีอุทิศ เมื่อ: 31 ตุลาคม 2555 13:28:42


ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระโพธิสัตว์เจ้าแห่ง อุลลัมพนสันนิบาต

ดังได้สดับมาดังนี้  .............
สมัยหนึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ .เชตวันมหาวิหาร
เมืองสาวัตถี พระมหาโมคคัลลานะ ผู้บรรลุซึ่งบารมี  6
มีปณิธานอันแรงกล้า ปรารถนาจักทดแทนพระคุณบุพการีย์ชน

ดั่งนี้แล้ว จึ่งได้เพ่งมองโลกด้วยอภิญญาญาณ และแจ้งว่า.......
บัดนี้ผู้เป็นมารดาแห่งตนได้ไปถืออุบัติอยู่ ณ.ท่ามกลางดวงวิญญาณ

หิวกระหายไม่มีทั้งน้ำและอาหารทั่วสรรพพางค์กาย
ปรากฏเพียงหนังหุ้มกระดูกได้รับทุกขเวทนานัก

พระโมคคัลลานะจึงนำผลาหารบรรจุเต็มบาตรเพื่อนำไปโปรด
ดวงวิญญาณของมารดาทันทีที่นางรับบาตรไป ก็ลูบคลำด้วย
มืออันอ่อนแรงมือขวากอบคำข้าวเพื่อหวังจะบริโภค

แต่ในบัดดลยังมิทันที่อาหารจะล่วงเข้าสู่ปากของนางก็กลับกลาย
เป็นถ่านเพลิงเผาไหม้ทุกคราไป ยังความสลดสังเวชแก่พระโมคคัลลานะ

เป็นที่ยิ่งด้วยเหตุนี้แล้วพระโมคคัลลานะจึงกลับไปสู่ ณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลถึงการณ์ทั้งปวงให้พระพุทธองค์ทรงทราบ

สมเด็จพระศาสดาได้มีพุทธดำรัสว่า........................................

ดูกร โมคคัลลานะ โดยเหตุที่มารดาของท่านสั่งสมซึ่งอกุศลกรรม
เป็นเนืองนิจ อาศัยกำลัง(บุญกุศล)แห่งตน(พระโมคคัลลานะ)
แต่เพียงลำพัง มิอาจบรรเทาอกุศลกรรมนั้นได้  ถึงแม้ว่าอำนาจ
แห่งความกตัญญูต่อบุพพการีย์ชนของท่านจะสะเทือนถึงสวรรค์
โลกมนุษย์ ปีศาจ มารร้าย หรือแม้แต่พรหมโลกและจตุโลกบาลก็ตาม

ยังมีแต่พลานุภาพแห่งที่ประชุมพระอริยสงฆ์สาวก ผู้มาจากทิศทั้งสิบ  
จึงสามารถปลดเปลื้องทุกข์แห่งมารดาท่านได้ บัดนี้พระตถาคตจักแสดง
ธรรมอันเป็นเครื่องปลดเปลื้อง ความขัดข้อง ความทุกข์ และอกุศลมูลทั้งหลาย

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงมีดำรัสต่อพระมหาโมคคัลลานะว่า.....................

ในวันเพ็ญ กลางเดือนเจ็ด อันเป็นวาระแห่งวันปวารณาของพระสงฆ์
ทั่วทั้งทศทิศ เพื่ออานิสงค์อันพึงจักสำเร็จแก่บุพพการีย์ชนทั่งถึง  7 ชั่วอายุ
โมคคัลลานะ ! ! เธอจงจัดเตรียมภาชนะอันบริสุทธิ์อุดมด้วยผลาหาร
ภักษาหารทั้ง 100 อย่างผลไม้ทั้ง 5 กับสิ่งสักการะบรรดามี
ประทีป - ธูปเทียน ชวาลา อันเป็นเลิศทั้งปวงถวายแด่หมู่สงฆ์
ผู้มาจากทิศทั้ง 10
24  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: อุฎฐานสูตร - สาวัชชสูตร เมื่อ: 19 สิงหาคม 2555 14:19:23




๑๑. ของภายนอก ของภายใน

การมีทรัพย์ ไร้ทรัพย์ การมีอำนาจ หรือเป็นขอทาน เป็นของภายนอก ของภายใน

จริง ๆ คือ จิตที่สะสมมา ซึ่งหลากหลาย  และละเอียดทุกขณะ เช่น ขณะที่กำลังฟัง

ธรรม ความละเอียดของความเข้าใจธรรมที่สะสมมา ก็ต้องแตกต่างกัน

๑๒. อายุบวร

บางคน มีอายุบวร(คำ “สวัสดี” ในประเทศศรีลังกา) คือ มีชีวิตอยู่ยาวนาน ก็จริง

ในเวลานี้เราก็มีอายุถึงวันนี้ แล้วที่ผ่านมาซึ่ง เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ถ้าไม่ได้มี

ความเข้าใจคุณค่าของชีวิต เกิดมาแล้วอยู่นานๆ เพื่ออะไร? เพราะฉะนั้นต้องไม่ลืม

ว่ามีชีวิตอยู่ยาวนานเพื่อเข้าใจธรรม เพราะเมื่อเข้าใจธรรมแล้ว ชีวิตที่มีอยู่ทางกาย

ทางวาจา ทางใจ ก็เป็นไปในฝ่ายกุศล และอยู่ด้วยความเข้าใจธรรม โดยที่ไม่

หลงลืมความเข้าใจจากการฟังนั้น ๆ

๑๓. คุณค่าของการเกิดเป็นมนุษย์ และการได้ฟังธรรม

ต้องเห็นคุณค่าของการได้เกิดเป็นมนุษย์ ซึ่งมีโอกาสได้ฟังธรรม พิจารณาเพิ่ม

ความเข้าใจถูกต้องในธรรม ซึ่งเป็นเรื่องลึกซึ้งในทุกคำที่ทรงแสดง เพราะฉะนั้น

ก็ต้องฟัง เพื่อที่จะสามารถเป็นกัลยาณปุถุชน คือ มีโอกาสที่ได้เข้าใจ ธรรมใน

ระหว่าง ๆ (มีโอกาสที่กุศลจะเกิดขึ้นได้บ้าง ในท่ามกลางปรกติที่เป็น อกุศล

เพราะความเข้าใจที่เกิดจากการฟัง)


<a href="http://www.fungdham.com/download/song/sec2/2buddhapower/09.wma" target="_blank">http://www.fungdham.com/download/song/sec2/2buddhapower/09.wma</a>

25  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: อุฎฐานสูตร - สาวัชชสูตร เมื่อ: 19 สิงหาคม 2555 14:18:13




๗. ผลของอกุศลกรรม

ถ้าเป็นผู้ที่เกรงกลัว ผลของอกุศลกรรม ก็ไม่ควรที่จะทำอกุศลกรรม ควรเห็น

ประโยชน์ของกุศล เห็นโทษของอกุศลในชีวิตประจำวัน เพราะอกุศลแม้เพียง

เล็กน้อยก็เป็นโทษ

๘.อกุศลแม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นโทษ

ผู้ที่ละเอียดศึกษาโทษของอกุศลจิต เห็นโทษ แม้โทษเพียงเล็กน้อย ว่าเป็นโทษ

เพราะอกุศลจิตเกิดเมื่อไร แม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นโทษ แม้ไม่ต้องล่วงกรรมบถ

ซึ่งก็ขึ้นกับว่าปัญญาสามารถเห็นโทษได้ระดับใด เพราะถ้าปัญญามีมาก ก็เห็น

โทษของอกุศลจิต แม้อกุศลจิตเพียงเล็กน้อย

๙. วัตถุประสงค์ของการฟังธรรม

เพื่อให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน

๑๐. สิ่งสำคัญที่สุด

จะเกิดเป็นผู้ยากไร้ ซึ่งต้องดำรงชีวิตด้วยความขวนขวายแต่ไม่ไร้ปัญญา หรือว่า

เกิดเป็นผู้สมบูรณ์ทรัพย์ ลาภ ยศ แต่ไร้ปัญญา สิ่งสำคัญที่สุด คือ ปัญญา ไม่ว่าจะ

มีชีวิตอยู่อย่างไร ยากไร้ หรือ เพียบพร้อม ถ้าไม่มีปัญญา ก็ต้องได้รับผลของกรรม

ไร้อะไรก็ไร้ได้ ถ้าหากไร้ปัญญา ก็สามารถเกิดในอบายภูมิได้ แม้จะสมบูรณ์

เพียบพร้อมในปัจจุบัน”

ได้รับประทานอาหารครบ ๓ เวลา แล้วมีปัญญาหรือไม่ ?


26  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: อุฎฐานสูตร - สาวัชชสูตร เมื่อ: 19 สิงหาคม 2555 14:16:45




๔. การเข้าใจโวหารของพระสูตร อุฏฐานสูตร สาวัชชสูตร

เมื่ออ่านพระสูตร เช่น อุฏฐานสูตร ว่ามีบุคคลที่ดำรงชีวิตอยู่ ด้วยความหมั่นบ้าง

ด้วยผลของกรรมบ้าง ซึ่งต่างกัน โดยความเป็นเทพบ้าง คนมั่งคั่งบ้าง คนที่ต้องหมั่น

ทำงาน หรือ สัตว์นรก เป็นต้น ไม่ใช่ว่าให้คิดอยากรู้ว่า เราเป็นบุคคลประเภทใด

นั่นไม่ใช่การเข้าใจโวหารของพระสูตร แต่ให้เห็นว่าบุคคลที่มีชีวิตอยู่ลำบากก็มี

ที่อยู่สบายก็มี ซึ่งเป็นผลของกรรม ซึ่งต้องทราบถึงเหตุที่ทำให้ผลเป็นอย่างนั้น

คือ ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมบถ หรือ อกุศลกรรมบถ สิ่งที่สำคัญ คือ ธรรมภายใน

คือ จิต ซึ่งขณะนั้นเป็นจิตอะไร คำพูด การกระทำก็เป็นไปตามจิตนั้น ซึ่งให้

ผลวิจิตรต่างกันไป

และใน สาวัชชสูตร ที่แสดงบุคคล ซึ่งมีโทษแตกต่างกัน (บุคคลมีโทษส่วนเดียว

บุคคลมีโทษมาก บุคคลมีโทษน้อย) และบุคคลไม่มีโทษ ก็แสดงให้เห็นว่า

ไม่ว่าจะเกิดลำบาก หรือว่าสบาย อกุศลนั้นก็เป็นโทษ ซึ่งยังมีบุคคลประเภท

ที่ไม่ได้อบรมเจริญปัญญาที่จะละอกุศลเลย และก็มีบุคคลที่แม้ว่าอกุศลมีมาก

เพราะไม่ใช่พระอริยบุคคล แต่ก็ยังมีวาระ ของการอบรมเจริญกุศล

คือ ความเข้าใจธรรม จนกว่าที่จะถึงการมีโทษน้อย เป็นพระโสดาบัน

พระสกทาคามี พระอนาคามี และไม่มีโทษเลย คือ เป็นพระอรหันต์

๕. บุคคลมีโทษโดยส่วนเดียว

ทรงแสดงความต่างของบุคคล ซึ่งในชีวิตของเขา เมื่อไม่มีโอกาสได้ฟังธรรม ไม่ได้

เข้าใจธรรม ไม่เห็นโทษของการมีชีวิตอยู่ด้วยอกุศล ก็ไม่ใช่กัลยาณปุถุชน ซึ่งไม่ใช่

ว่า ต้องคิดถึงทุกขณะจิต ว่ามีกุศลบ้างหรืออย่างไร แต่เมื่อประมาณแล้ว เทียบแล้ว

ก็คือ มีชีวิตอยู่ ด้วยความเป็นโทษ

๖. บุคคลมีโทษมาก

คือ บุคคลซึ่งส่วนใหญ่ วันหนึ่งๆ เป็นอกุศลที่ครอบงำ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถ้าเว้นจาก

ขณะที่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนาแล้ว ที่เหลือทั้งหมดก็เป็นอกุศล แม้ความฝัน

ก็เป็นไปกับอกุศล นี้คือ บุคคลที่มีโทษมาก ซึ่งก็คือ พวกเราเอง


27  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / อุฎฐานสูตร - สาวัชชสูตร เมื่อ: 19 สิงหาคม 2555 14:15:27




๑. สาระของการแสดงอุฏฐานสูตร และสาวัชชสูตร

สาระของการแสดงบุคคล ต่างจำพวกซึ่งดำรงชีวิตอยู่ด้วยความหมั่นบ้าง ผลกรรมบ้าง

บุคคลมีโทษมากบ้าง น้อยบ้าง หรือบุคคลไม่มีโทษ

ชีวิตที่เกิดมาแม้เป็นมนุษย์ก็มีหลากหลาย บางคนสุขสบาย บางคนไม่ขวนขวาย

ขยันทำงานก็อยู่ไม่ได้ ทั้งหมดต้องย้อนถึงเหตุ คือการสะสมของบุญกรรม ซึ่งทำให้

บุคคลแตกต่างกันไป บางบุคคลแม้ว่ายากไร้แต่เป็นผู้อบรมเจริญปัญญามาแล้ว

สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ก็มี เช่น สุปปพุทธกุฏฐิที่กว่าจะ ได้ทานข้าวต้องเก็บ

หาจากของที่ทิ้งแล้ว หรือแม้ว่าเป็นผู้ที่มีบุญมาก เช่น ท่านพระอนุรุทธะ ผู้ไม่เคย

ได้ยินคำว่าขาดแคลน เพราะผลทานในพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งก็มีชีวิตแต่ละหนึ่ง

แล้วแต่ว่าประสบพบเห็นอะไร การสะสมที่มีมา แล้ว แม้เห็นสิ่งเดียวกัน แต่ใจก็ต่าง

กัน กุศลก็ต่างระดับกัน ซึ่งมุ่งหมายถึงการแสดงความจริงแต่ละหนึ่ง แต่ละขณะ

ซึ่งต้องเป็นไปตามเหตุและผล ซึ่งเหตุย่อมนำมา ซึ่งความหลากหลาย ตามความ

วิจิตรของจิตที่สะสมมา

๒. ฐานของกรรม

ทั้งๆ ที่สิ่งที่ได้มาก็เป็นผลกรรมเช่นเดียวกัน แต่ทำไมบางคนต้องขยัน บางคน

ไม่ต้องขยัน?

โดยละเอียดแล้ว แม้แต่เห็นก็เป็นผลของกรรม ไม่ว่าจะเป็นยาจก หรือ เศรษฐี

แม้เห็นสิ่งเดียวกัน เพราะฉะนั้นกรรมที่ได้กระทำไว้แล้ว ที่จะให้ผลได้ ต้องมีฐาน

ที่ตั้ง ที่เป็นปัจจัยที่กระทำไว้แล้วสามารถให้ผลได้ โดยละเอียด คือ เห็นขณะใด

ได้ยินขณะใด ก็เป็นผลกรรม ซึ่งต้องไม่ปราศจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย

เมื่อกล่าวโดยความเป็นอยู่ของชีวิต แต่ละชีวิตก็ต่างกัน แม้จะได้ผลกรรมอย่างนี้

บางพวกต้องอาศัยความขยัน ซึ่งผลของความขยันแม้มาก อาจให้ผลเล็กน้อย

ก็เป็นได้ เพราะไม่สามารถที่จะทราบฐานของกรรม ที่ได้กระทำแล้วให้ผลมากๆ

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา

นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานทางภาษา ซึ่งไม่ใช่เพียงการแยกศัพท์ เช่น

ผู้ชำนาญทางภาษา ที่เข้าใจ ประธาน กิริยา เอกพจน์ พหูพจน์ เพราะถึงจะทราบ

อย่างนั้น แต่ถ้าไม่ได้เข้าใจจุดประสงค์แท้จริง ที่ทรงแสดงธรรม ด้วยทรงมุ่งหมาย

สิ่งใด นั่นก็ไม่ใช่นิรุตติปฏิสัมภิทา เพราะฉะนั้น นิรุตติปฏิสัมภิทา ต้องเป็นความ

เข้าใจโวหารของธรรมที่ทรงแสดง เพื่อส่องถึงสภาพธรรมที่กำลังมีอยู่จริง เช่น

การทรงแสดงเรื่องของจิต  ก็ต้องทราบด้วยว่า ขณะนี้มีจิตที่กำลังรู้อยู่ทุกขณะ

โดยไม่ขาดจิต ซึ่งไม่เที่ยง เกิดขึ้นและดับไป เป็นต้น
28  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ตลาดสด / ข้อควรปฏิบัติในการไป{วัด} เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2555 09:43:17


๑. การแต่งกายไปวัด
ควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อน ๆ ถ้ามีลายก็เป็นลายเรียบ ๆ เนื้อผ้าไม่ควรโปร่งบางจนเกินไป ไม่หรูหราจนเกินไป เสื้อผ้าไม่ควรหลวมหรือรัดรูปจนเกินไป เพื่อความสะดวกในการกราบไหว้พระและนั่งสมาธิ

สำหรับผู้หญิงควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และไม่ควรตกแต่งด้วยเครื่องประดับและเครื่องสำอาง ตลอดจนใส่น้ำหอมมากจนเกินไป ไม่ควรแต่งหน้า เขียนคิ้ว ทาปาก ทาเล็บจนเกินงาม
เหตุที่ควรปฏิบัติเช่นนี้เพราะวัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม คนไปวัดเพื่อทำบุญ ทำจิตใจให้สงบ จึงควรตัดเรื่องปรุงแต่งกิเลสเหล่านี้ออกไปเสียก่อน
๒. การนำเด็กหรือบุคคลอื่น ๆ ไปวัด

เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีแก่เด็ก เพราะทำให้เด็กได้ใกล้ชิดพระศาสนา ตั้งแต่อยู่ในวัยอันสมควร แต่มีข้อระวังคือ อย่านำเด็กอ่อนไปวัดโดยไม่จำเป็น เพราะอาจก่อให้เกิดความรำคาญ หรือในกรณีที่เด็กซุกซน อาจจะส่งเสียงดังรบกวนสมาธิของผู้อื่นที่ต้องการความสงบ

ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องนำบุคคลอื่น ๆ เช่น พนักงานขับรถหรือคนรับใช้ไปวัดด้วย ก็ควรเปิดโอกาวให้เขาได้ร่วมทำบุญด้วย และกวดขันเรื่องกิริยามารยาทและการแต่งกาย การขับรถเข้าไปในบริเวณวัด ควรระมัดระวังในเรื่องการใช้แตร การเร่งเครื่องยนต์เสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่พระกำลังสวด และการจอดรถก็ควรจอดให้เป็นระเบียบในสถานที่ที่ทางวัดได้กำหนดไว้

๓. การเตรียมอาหารไปวัด
อาหารที่เหมาะสมสำหรับการนำไปถวายพระภิกษุนั้น ควรเป็นอาหารที่เรารับประทานกันทั่วไป คือ ปรุงจากพืช ผัก หรือเนื้อสัตว์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด แต่ควรระมัดระวังอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ที่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับพระภิกษุ อันได้แก่............

เนื้อมนุษย์

เนื้อม้า

เนื้องู

เนื้อเสือโคร่ง

เนื้อเสือดาว

เนื้อช้าง

เนื้อสุนัข

เนื้อราชสีห์

เนื้อเสือเหลือง

เนื้อหมี

อย่านำอาหารที่ปรุงจากเนื้อดิบๆ เลือดดิบๆ ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ เช่น ปลาดิบ กุ้งดิบ ฯลฯ จนกว่าจะทำให้สุกด้วยไฟ นอกจากนั้น ไม่ควรนำอาหารที่ปรุงด้วยสุราที่มีสีหรือกลิ่นหรือรสปรากฏชัดไปถวายพระภิกษุสงฆ์ และอย่าฆ่าสัตว์โดยจำเพาะเจาะจงว่าจะนำเนื้อนั้นไปทำอาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์





Click To Download



ข้อควรปฏิบัติในการไปวัด..............http://poerlife.fx.gs/index.php?topic=1321.0



Spa Natural Music...........http://rompho.multiply.com/music/item/52

..............เอวัง แค่นี้ก่อน.........
29  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / วันอาสาฬหบูชา - วันเข้าพรรษา เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2555 23:21:25





เมื่อ ๒,๖๐๐ ปีก่อน ในวันเพ็ญ เดือน ๘ ณ ธัมเมกสถูป สารนาถ เมืองพาราณสี

ประเทศอินเดีย เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนา{ธัมมจักกัปวตนสูตร} มีพระอริยสงฆ์เป็น

ครั้งแรก และในวันนั้นมีพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธัมมรัตนะ และพระสังฆ

รัตนะ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก และสืบต่อยืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน

หลังจากที่ทรงตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในบริเวณพระมหา

เจดีย์พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหารแล้ว ทรงเสวยวิมุติสุข ๗ สัปดาห์

สัปดาห์ที่ 1 คงประทับอยู่ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ ทรงใช้เวลาพิจารณาปฏิ

จจสมุปปาทธรรม ทบทวนอยู่ตลอด 7 วัน พร้อมกับทรงเปล่งอุทานยามละครั้ง

ทรงอุทานในยามต้นว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่ง

อยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมว่าเกิดแต่

เหตุ

ทรงอุทานในยามกลางว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร

เพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นแห่ง

ปัจจัยทั้งหลาย (ว่าเป็นเหตุสิ้นแก่ผลทั้งหลายด้วย)

ทรงอุทานในยามสุดท้ายว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร

เพ่งอยู่ เมื่อนั้นพราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยกำจัดมืด

ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น

สัปดาห์ที่ 2 เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นโพธิ์ ห่างไป ๖๙ เมตร ประทับ

ยืนกลางแจ้ง เพ่งดูต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตร อยู่ในที่แห่งเดียวจน

ตลอด 7 วัน ที่ที่ประทับยืนนั้น ปรากฏเรียกในภายหลังว่า "อนิมิสสเจดีย์"

สัปดาห์ที่ 3 เสด็จไปประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสสเจดีย์ กับต้นมหาโพธิ์ แล้ว

ทรงจงกรมอยู่ ณ ที่ตรงนั้นตลอด 7 วัน ซึ่งต่อมาเรียกที่ตรงนั้นว่า จงกรมเจดีย์

สัปดาห์ที่ 4 เสด็จไปทางทิศเหนือของต้นมหาโพธิ์ ห่างไป ๕๐ เมตร ประทับนั่งขัด

บัลลังก์ พิจารณาพระอภิธรรม อยู่ตลอด 7 วัน ที่ประทับขัดสมาธิเพชร ต่อมาเรียกว่า

รัตนฆรเจดีย์

สัปดาห์ที่ 5 เสด็จไปทางทิศตะวันออกของต้นมหาโพธิ์ ห่างไป ๑.๖ กิโลเมตร ประทับที่

ควงไม้ไทร ชื่ออชปาลนิโครธ อยู่ตลอด 7 วัน ในระหว่างนั้น ทรงแก้ปัญหาของพราหมณ์

ผู้หนึ่ง ซึ่งทูลถามในเรื่องความเป็นพราหมณ์

สัปดาห์ที่ 6 เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นมหาโพธิ์ ห่างไป ๑.๗ กิโลเมตร

ประทับที่ควงไม้จิกเสวยวิมุตติสุข อยู่ตลอด 7 วัน ฝนตกพรำตลอดเวลา พญานาคมาวง

ขดล้อมพระองค์ และแผ่พังพานบังฝนให้ พระองค์ทรงเปล่งอุทานว่า

ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมได้สดับแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความเป็น

จริงอย่างไร ความไม่เบียดเบียน คือ ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความปราศจาก

กำหนัด คือ ความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก การนำ

อัสมิมานะ คือ ถือว่าตัวตนให้หมดได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง

สัปดาห์ที่ 7 เสด็จย้ายสถานที่ไปทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์ ห่างไป ๒.๕ กิโลเมตร

ประทับที่ควงไม้เกด ซึ่งได้นามว่า ราชายตนะ เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน มีพ่อค้า 2

คน ชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะเดินทางจากอุกกลชนบทมาถึงที่นั้น ได้เห็นพระพุทธองค์

ประทับอยู่ จึงนำข้าวสัตตุผงข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงกรังของตนเข้าไปถวาย

พระองค์ทรงรับเสวยเสร็จแล้ว พ่อค้าทั้งสองประกาศตนเป็นอุบาสก นับเป็นอุบาสกคู่

แรกในพระพุทธศาสนาที่ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่ง เพราะในเวลานั้นยังไม่มี

พระสงฆ์ ต่อมาตปุสสะตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้วได้เป็นอุบาสกอย่างเดียว     ส่วนภัลลิ

กะบวชแล้วได้เป็นพระอรหันต์ผู้มีอภิญญา ๖

ข้อความจากพุทธประวัติ เล่ม ๑  พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิร

ญาณวโรรส กล่าวว่า........................

ต่อมาเสด็จออกจากร่มไม้ราชายตนะกลับไปประทับ ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธอีก ทรง

พิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วว่า เป็นคุณอันลึก ยากที่บุคคลผู้ยินดีในกามคุณ

จะตรัสรู้ตามได้ ท้อพระหฤทัยเพื่อจะตรัสสั่งสอน แต่อาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรง

พิจารณาอีกว่า จะมีผู้รู้ถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ? ก็ทรงทราบด้วยพระปัญญาว่า บุคคลผู้มี

กิเลสน้อยเบาบางก็มี ผู้มีกิเลสหนาก็มี ผู้มีอินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มีอาการอันดีก็มี ผู้มีอาการอันชั่วก็มี เป็นผู้จะพึงสอนได้โดย

ง่ายก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยากก็มี เป็นผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี เป็นผู้ไม่สามารถจะรู้

ได้ก็มี ครั้นทรงพิจารณาด้วยพระญาณหยั่งทราบเวไนยสัตว์ ผู้จะได้รับประโยชน์จาก

พระธรรมเทศนาดั่งนั้นแล้ว ได้ทรงอธิษฐานพระหฤทัยในการแสดงธรรมสั่งสอนมหาชน

และตั้งพุทธปณิธานใคร่จะดำรงพระชนม์อยู่ จนกว่าจะได้ประกาศพระศาสนาแพร่หลาย

ประดิษฐานให้ถาวร สำเร็จประโยชน์แก่ชนนิกรทุกเหล่า

ครั้นพระองค์ทรงอธิษฐานพระหฤทัย เพื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาอย่างนั้นแล้ว

ทรงพระดำริหาคนผู้สมควรรับเทศนา ครั้งแรกทรงปรารภถึงอาฬารดาบสและอุท

ทกดาบส ที่พระองค์ได้เคยอยู่อาศัยศึกษาลัทธิของเธอในกาลก่อนว่า เธอทั้งสองเป็นผู้

ฉลาด ทั้งมีกิเลสเบาบาง สามารถจะรู้ธรรมนี้ได้ฉับพลัน แต่เธอทั้งสองสิ้นชีพเสียแล้ว มี

ความพินาศเสียจากคุณอันใหญ่ ถ้าได้ฟังธรรมนี้แล้วคงรู้ได้โดยพลันทีเดียว

ภายหลังทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ว่า มีอุปการะแก่พระองค์มาก ได้เป็นผู้อุปัฏฐาก

พระองค์เมื่อครั้งทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรงกำหนดลงว่า จะแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์

ก่อน เบื้องหน้าแต่นี้ เสด็จออกจากอชปาลนิโครธ ตามอรรถกถากล่าวว่า ในเช้าวันขึ้น

๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ทรงพระดำเนินไปเมืองพาราณสี อันเป็นนครหลวงแห่งกาสีชนบท ครั้น

ถึงตำบลเป็นระหว่างแห่งแม่น้ำคยากับแดนพระมหาโพธิต่อกัน พบอาชีวกผู้หนึ่งชื่อ “อุป

กะ” เดินสวนทางมา อุปกะเห็นพระฉวีของพระองค์ผ่องใส นึกประหลาดใจ อยากจะใคร่

ทราบว่า ใครเป็นศาสดาผู้สอนของพระองค์ จึงทูลถาม พระองค์ตรัสตอบแสดงความว่า

เป็นผู้ตรัสรู้เอง ไม่มีใครเป็นครูสั่งสอน อุปกะไม่เชื่อ สั่นศีรษะแล้วหลีกไป (ต่อมาอุปกาชี

วกได้ฟังธรรมบรรลุเป็นพระอนาคามี) พระองค์เสด็จไปโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตน

มฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี อันเป็นที่อยู่ของปัญจวัคคีย์นั้น ในเย็นวันนั้น (ปัจจุบัน

คือ เจาคันธีสถูป)

ฝ่ายปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงนัดหมายกันว่า พระสมณโค

ดมนี้มีความมักมาก คลายเพียร เวียนมาเพื่อความมักมากเสียแล้ว มาอยู่ ณ บัดนี้ ในพวก

เราผู้ใดผู้หนึ่งไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับเธอ ไม่พึงรับบาตรจีวรของเธอเลย ก็แต่ว่า

พึงตั้งอาสนะที่นั่งไว้เถิด ถ้าเธอปรารถนาก็จักนั่ง ครั้นพระองค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว เธอ

พูดกับพระองค์ด้วยโวหารอันไม่เคารพ คือ พูดออกพระนาม และใช้คำว่า{อาวุโส}

พระองค์ทรงห้ามเสียแล้ว ตรัสบอกว่า เราได้ตรัสรู้อมฤตธรรมโดยชอบเองแล้ว ท่านทั้ง

หลายคอยฟังเถิด เราจักสั่งสอน

ปัญจวัคคีย์กล่าวค้านลำเลิกเหตุในปางหลังว่า อาวุโส โคดม แม้แต่ด้วยความ

ประพฤติอย่างนั้น ท่านยังไม่บรรลุธรรมวิเศษได้ บัดนี้ ท่านมาปฏิบัติเพื่อความเป็นคนมัก

มากแล้ว เหตุไฉนท่านจะบรรลุธรรมพิเศษได้เล่า ?

พระองค์ทรงตรัสเตือนเธอให้ตามระลึกถึงความหลังว่า “ท่านทั้งหลายจำได้อยู่หรือ

วาจาเช่นนี้ เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อนแต่กาลนี้?” ปัญจวัคคีย์นึกขึ้นได้ว่า พระวาจา

เช่นนี้ ไม่เคยมีเลย จึงมีความสำคัญในอันจะฟังพระองค์ทรงแสดงธรรม

ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเตือนปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังได้แล้ว ตามอรรถกถาว่า

รุ่งขึ้นวันอาสาฬหบุรณมี พระองค์ตรัสปฐมเทศนา ประกาศความตรัสรู้ของพระองค์ มีข้อ

ความโดยย่อดังนี้

๑. พระผู้มีพระภาคทรงชี้ทางที่ผิด อันได้แก่ กามสุขัลลิกานุโยค (การประกอบตนให้

ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค (การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดที่

บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แล้วทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติสายกลาง) ได้แก่

มรรคมีองค์ ๘ ว่าพระองค์ตรัสรู้แล้ว เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

๒. ทรงแสดงอริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึง

ความดับทุกข์ โดยละเอียด

๓. ทรงแสดงว่า ทรงรู้ตัวอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ทรงรู้หน้าที่อันควรทำในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ และ

ทรงรู้ว่าได้ทรงทำหน้าที่เสร็จแล้ว จึงทรงแน่พระหฤทัยว่า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ

ญาณแล้ว (อันแสดงว่า ทรงปฏิบัติจนได้ผลด้วยพระองค์เองแล้ว)

เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม และได้ขอบวชก่อน ต่อ

มาท่านวัปปะกับท่านภัททิยะสดับพระธรรมเทศนา ได้ดวงตาเห็นธรรมและได้ขอบวช

ต่อมาท่านมหานามะกับท่านอัสสชิสดับพระธรรมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม และได้ขอ

บวช

(จากพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน โดย สุชีพ ปุญญานุภาพ หน้า ๒๑๓ –๒๑๔)

ธัมเมกสถูปที่สารนาถ ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพาน

แล้ว 200 กว่าปี จึงเป็นสักขีพยานถึงพระมหากรุณาคุณ พระปัญญาคุณ และพระบริสุทธิ

คุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมียาวนานถึง ๔ อสงไขย

แสนกัปเพื่อเกื้อกูลแก่สัตว์โลกให้ได้เห็นแสงสว่างของพระธรรมในความมืดของอวิชชา

โดยแท้จริง เป็นพยานความเป็นรัตนะของพระธรรมคำสอนที่เปลี่ยนปุถุชนผู้หนาด้วย

กิเลสให้เป็นพระอริยบุคคล พระสัทธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น

แม้จะลึกซึ้ง ลุ่มลึกและรู้ตามได้ยาก เพราะทวนกระแสชีวิตประจำวันของปุถุชน อย่างไร

ก็ตามก็ยังมีผู้ที่สะสมปัญญามาในอดีตสามารถฟังเข้าใจจนประจักษ์แจ้งลักษณะของ

สภาพธรรมตามความเป็นจริง เมื่อได้ฟังพระสัทธรรมที่พระองค์ทรงแสดงดีแล้ว บรรลุ

เป็นพระอริยบุคคลเป็นครั้งแรก พระสังฆรัตนะจึงเกิดอุบัติขึ้นในโลก และเพราะพระสังฆ

รัตนะเหล่านั้นทรงจำพระธรรมต่อเนื่องจากลำดับการเกิดขึ้นของพระธรรมรัตนะ  แสดง

ธรรมที่ได้เข้าใจและทรงจำไว้สืบต่อมาไม่ขาดสาย เพราะความเป็นรัตนะของพระอริย

สงฆ์ซึ่งได้ศึกษา สาธยายคำสอนนั้นอย่างต่อเนื่อง พระรัตนตรัยจึงคงปรากฏมาจนถึง

ทุกวันนี้

นอกจากนั้นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ยังมีความสำคัญที่ประจวบกันอีกหลายอย่างตาม

ลำดับกาลเวลาดังนี้ คือ

๑. เป็นวันที่พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตมาปฏิสนธิในครรภ์พระนางมหามายา

เทวี พระพุทธมารดา

๒. เป็นวันทรงออกมหาภิเนษกรมณ์

๓. เป็นวันทรงแสดงปฐมเทศนา เพื่อประกาศความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พร้อมทั้งพระธรรมที่ทรงตรัสรู้ดีแล้ว มีผลทำให้มีพระอริย

สงฆ์เป็นครั้งแรก และทำให้พระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระ

สังฆรัตนะ ครบทั้ง ๓ เป็นครั้งแรกในโลก

๔. เป็นวันทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ปราบผู้มีความเห็นผิดอื่นๆ (อัญญเดียรถีย์) ก่อน

เสด็จไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

บัดนี้ก็ผ่านมาถึง ๒,๖๐๐ ปีแล้ว แม้{ธัมเมกสถูป}ที่ทรงแสดงปฐมเทศนาจะเหลือเพียง

ซากปรักหักพัง แต่พระธรรมวินัยที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง

และงามในที่สุด ก็ยังอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ รอให้ผู้มีศรัทธาศึกษาจนเข้าใจ ทรงจำไว้ และ

แสดงให้ผู้สนใจได้เข้าใจ เพื่อสืบทอดอายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป ตราบ

จนความเข้าใจพระธรรมหมดไปจากใจของทุกคน เมื่อนั้นพระพุทธศาสนาก็จะอันตรธาน

ไปจากโลกนี้


THE END

<a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/20.wma" target="_blank">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/20.wma</a>
30  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ประสบการณ์ ผี ๆ / - เมื่อ: 27 มิถุนายน 2555 12:26:30
-
31  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / ถาม - ตอบ ปัญหารรมเรื่อง ทานกับอภัยทาน เมื่อ: 26 มิถุนายน 2555 16:50:23

ภาพนี้เป็นของ Sometime ถ่ายมาสงวนลิขสิทธิ์ห้ามทำซ้ำเผยแพร่ทุก ๆ กรณีผู้ฝ่าฝืนบาป ! !


ภาพจากเว็บไซต์ของพี่ อนาลายา{น้องชีปลูกปัญญา}

ถาม............. ตามหัวข้อ อยากทราบว่าทานอย่างไรมีอานิสงส์มากกว่ากันครับ ระหว่างธรรมทาน

และอภัยทานเพราะมีบางที่บอกอภัยทานมีอานิสงส์มากกว่าธรรมทาน

แต่เคยได้ยินมาว่าการให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง จึงคิดว่า ธรรมทาน น่าจะมีอานิสงส์

มากกว่าขอผู้รู้ให้ความกระจ่างแจ้งด้วย




ตอบ..............ทาน คือ การให้  อันเป็นเจตนาสละ

สิ่งใด สิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นการสละ ที่เป็นวัตถุ

รูปธรรม และเป็นการสละ ให้ สิ่งที่เป็นามธรรม มีการให้ ปัญญา ความเข้าใจ เป็นต้น

ทาน แบ่งเป็น 3 อย่างดังนี้ คือ อามิสทาน อภัยทาน และ ธรรมทาน

อามิสทาน คือ การให้วัตถุ สิ่งของ เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นที่รับ ด้วยเจตนาในการ

สละ ให้ด้วยจิตที่เป็นกุศล จึงเป้นการสละ สิ่งที่มีอยู่ เป็นวัตถุ ภายนอก

อภัยทาน{ภัย}คือ สิ่งที่นำมาซึ่งความน่ากลัว{อภัย}คือ ความไม่มีภัย ความไม่มีความ

น่ากลัว ไม่นำมาซึ่งสิ่งไม่ดี ดังนั้นอภัยทาน จึงเป็นการให้ความไม่มีภัยคือ ให้ความ

ไม่น่ากลัว ให้ความไม่มีโทษ ดังนั้น การให้อภัย{อภัยทาน}จึงเป็นการให้ที่ไม่ใช่วัตถุ

สิ่งของแต่เป็นการให้ทีเกิดจากกุศลจิตของผู้ให้ เมื่อเกิด{กุศลจิต}ที่จะงดเว้นจากบาป

มีการไม่ฆ่าเป็นต้น ขณะนั้น ก็ให้ความไม่มีภัย ให้ความไม่น่ากลัว กับสัตว์อื่นทำให้

สัตว์อื่นปลอดภัยจากการะทำของตนเอง ที่เกิดกุศลจิต กุศลขั้น มีศีล 5 เป็นต้น ที่เป็น

การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เป็นต้น ก็ชื่อว่า{อภัยทาน}

อภัยทาน อีกนัยหนึ่ง คือ ความไม่โกรธ ผู้อื่น เมื่อได้รับสิ่งที่กระทบทางตา หู - กาย

อันสมมติว่าเป็นการกระทำของผู้อื่นเมื่อไม่โกรธ ก็ให้ความไม่มีภัย กับผู้นั้นเพราะ

ภัย สิ่งที่น่ากลัว มาจากกิเลส หากไม่มีกิเลส ก็จะไม่นำมาซึ่งความน่ากลัวการกระทำ

ที่ไม่ดีไม่ได้เลย เมื่อไม่โกรธ ก็ให้อภัย คือ ไม่มีภัย กับผุ้อื่นในขณะนั้น เพราะ

ไม่มีการกระทำทางกายที่ไม่ดี ไม่มีการกระทำทางวาจาที่ไมดี่ อันมีเหตุมาจากความ

โกรธ ที่เป็นภัยอภัยทาน จึงสูงกว่า อามิสทาน เพราะ อภัยทาน เป็นการให้ ที่

สละยากกว่า เพราะ เกิดจากกุศลจิตขั้นศีล ที่งดเว้นจากบาป ไม่ใช่ เป็นการสละ

วัตถุภายนอก ที่เป็นรูปธรรม อันเป็นอามิสทาน.....................................




ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง

รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง

ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง

ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง




ข้อมูลจาก.........มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่อภิธรรมเลขที่

๑๗๔/๑ ซอยเจริญนคร ๗๘ แขวง

ดาวคะนอง เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐




เว็บไซต์ของพี่ อนาลายา.............http://www.analaya.com

Sometime Home...........ฟรีสไตล์.......http://rompho.multiply.com

<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/23.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/23.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/23.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>
32  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / ธรรมมะฉบับรู้ทกข์ เมื่อ: 26 มิถุนายน 2555 14:00:19


<a href="http://d1.scribdassets.com/ScribdViewer.swf?document_id=98184033&amp;access_key=key-nhe2eo023yjpc77dg3e&amp;page=1&amp;viewMode=list" target="_blank">http://d1.scribdassets.com/ScribdViewer.swf?document_id=98184033&amp;access_key=key-nhe2eo023yjpc77dg3e&amp;page=1&amp;viewMode=list</a>

<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae2"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva2"><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc2"></td></tr></table>

Sometime Home...................http://rompho.multiply.com

เว็บไซต์ของพี่ อนาลายา.............http://www.analaya.com
33  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / คุณค่าของความผิดพลาด เมื่อ: 18 มิถุนายน 2555 00:41:11


เมื่อแก้ไขข้อผิดพลาดสำเร็จ

ข้อผิดพลาดจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในชีวิตคุณ

ไม่มีความสำเร็จใดเกิดขึ้นจากการทำถูกต้องอย่างเดียว

ข้อเท็จจริงคือเป้าหมายยิ่งใหญ่ขนาดไหน

ก็ต้องใช้ความเพียรพยายามนานขึ้นเท่านั้น

และยิ่งต้องใช้ความเพียรพยายามนานขึ้นเท่าใด

ข้อผิดพลาดก็ยิ่งมีโอกาสเกิดมากขึ้นเท่านั้น

ปัญหาคือทุกคนเกลียดความผิดพลาด

อยากหันหน้าออกห่างหรือวิ่งหนีไปให้ไกล

เกิดอะไรผิดพลาดขึ้นมาไม่อยากมีใครรับไว้

มีแต่คนอยากโยนให้คนอื่น

ไม่ยอมดูให้ดีๆว่าตัวเราเองจะมีส่วนป้องกัน

ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีกได้อย่างไร

ข้อผิดพลาดหรือความผิดพลั้ง

เป็นสิ่งท้าทายความสามารถให้ตั้งสติทบทวน

เป็นด่านฝึกกำลังกายกำลังใจ

เป็นบทเรียนให้รอบคอบ

และเป็นอะไรต่อมิอะไรอีกหลายๆอย่าง

ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบ

หรือเป็นขั้นบันไดของคนที่เขาประสบความสำเร็จกันสูง ๆ

จึงกล่าวได้ว่าถ้าเกิดความผิดพลาดแล้วไม่อยากยอมรับ

ไม่อยากแก้ไข ความผิดพลาดนั้น

ก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในความล้มเหลวของชีวิตคุณแล้วครับ


โดย.......ดังตฤณ

Sometime Home...........http://rompho.multiply.com

<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae3"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva3"><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/17.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/17.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/17.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc3"></td></tr></table>
34  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / บัว 4 เหล่า 4 Lotus เมื่อ: 17 มิถุนายน 2555 09:50:25

ถ่ายภาพโดยSometime สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย

ภาพจากงาน 2,600 ปี พุทธยันตี ณ.มลฑลพิธีท้องสนามหลวง วันที่ 2 มิถุนายน 2555

พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถาบุคคลบัญญัติ เล่ม 3 หน้าที่ 336

อรรถกถามหาปทานสูตร

อธิบายว่าบัวบางเหล่าที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำคอยรอสัมผัสแสงอาทิตย์แล้วบานใน

วันนี้.บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำจักบานในวันพรุ่งนี้บางเหล่ายังจมอยู่ภายในน้ำ

อันน้ำเลี้ยงไว้จักบานในวันที่ ๓ แต่ว่ายังมีดอกบัวเป็นต้นที่มีโรคแม้เหล่าอื่น

ไม่ขึ้นพ้นจากน้ำแล้ว ดอกบัวเหล่าใด จักไม่บาน จักเป็นภักษาแห่งปลาและ

เต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้น ท่านไม่ควรนำขึ้นสู่บาลีได้แสดงไว้ชัดแล้ว

บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะก็เปรียบ

เหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล

ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยก

ขึ้นแสดงชื่อ{อุคฆฏิตัญญู}บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อ

โดยพิสดาร ชื่อว่า วิปจิตัญญู บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความ

พากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วยคบหา

สมาคมกับกัลยาณมิตรชื่อว่า{เนยยะ}บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น

แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่า{ปทปรมะ}

ในบทนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดู หมื่นโลกธาตุ เช่นกับ ดอกบัว

เป็นต้น ได้ทรงเห็นแล้วว่า บุคคลจำพวก อุคฆฏิตัญญู ดุจดอกบัวจะบานใน

วันนี้บุคคลจำพวก วิปจิตัญู ดุจดอกบัวจักบานในวันพรุ่งนี้ บุคคลจำพวก

{เนยยะ}ดุจดอกบัวจักบานในวันที่ ๓ บุคคลจำพวก{ปทปรมะ}ดุจดอกบัวอันเป็น

ภักษาแห่งปลาและเต่า....................




อธิบายตามความหมาย{ปทปรมะ}คือ ผู้มีบทอย่างยิ่ง หมายความว่า ไม่สามารถบรรลุ

เป็นพระอริยบุคคลได้ แม้ฟังพระธรรมมาก อบรมเพียรปฏิบัติมากก็ตายอย่างปุถุชน

ไม่ว่าจะเป็นยุคไหนก็ตาม ในยุคครั้งพุทธกาลเป็นยุคกาลสมบัติผู้ที่สะสมบุญมามาก

เมื่อได้ฟังพระธรรมไม่มาก เพียง ๑ คาถา หรือ ๑ สูตร ก็สามารถบรรลุเป็นพระอริย

บุคคล และยุคหลังต่อๆมาผู้ที่บรรลุก็ค่อย ๆ น้อยลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็ไม่มีผู้บรรลุแม้

ศึกษามากก็ตามอนึ่งยุคหลัง ๆ ยิ่งไกลครั้งพุทธกาลมากเท่าไหร่ผู้ที่มีปัญญาก็ยิ่งน้อย

ลงเรี่อย ๆ




มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่อภิธรรมเลขที่ ๑๗๔/๑ ซอยเจริญนคร ๗๘ แขวง

ดาวคะนอง เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐




ภาพถ่ายภายใน Sometime Home........http://rompho.multiply.com

<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae4"> <tr><td style="width: 800px; height: 64px" colspan="2" id="saeva4"><embed type="application/x-shockwave-flash" src="http://www.flash-mp3-player.net/medias/player_mp3_maxi.swf?mp3=http://www.crs.mahidol.ac.th/Audio/prayindia/17%20%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%91.mp3&amp;width=250&amp;showstop=1&amp;showinfo=1&amp;showvolume=1&amp;volumewidth=35&amp;sliderovercolor=ff0000&amp;buttonovercolor=ff0000" width="800px" height="64px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" autoplay="false" autostart="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.crs.mahidol.ac.th/Audio/prayindia/17%20%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%91.mp3" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.crs.mahidol.ac.th/Audio/prayindia/17%20%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%91.mp3</a></td><td class="aeva_q" id="aqc4"></td></tr></table>
35  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / การเกิดเป็นภัย เมื่อ: 16 มิถุนายน 2555 09:51:47
ถาม........เป็นภัยอย่างไร ? ขอความกรุณาขยายความ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา




ตอบ.......การเกิดดับนั้น

แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป

ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี เพราะเป็นเพียงสภาพ

ธรรมที่เกิดปรากฏแล้วก็ดับไป ขณะนี้ซึ่งมีสภาพธรรมที่เกิดดับจึงเป็นภัยคือสิ่งที่น่ากลัว

เพราะตราบใดที่มีสภาพธรรมเกิดดับสืบต่อกันไป ก็ยังมีสภาพธรรมเกิดขึ้นเป็นไปทำ

ให้วนเวียนใน(สังสารวัฏฏ์)อย่างไม่มีวันจบสิ้น เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ต่าง ๆ

มากมาย เมื่อกล่าวโดยประมวลแล้วการเกิดขึ้นและดับไป เป็นภัย แต่ถ้าไม่มีสภาพธรรม

ใด ๆ เกิดขึ้นอีกเลย นั้นเป็นการปลอดภัย ไม่มีภัยใด ๆ เลย การที่จะเห็นการเกิดดับของ

สภาพธรรมว่าเป็นภัย ก็ต้องเป็นปัญญาระดับสูง

การศึกษาธรรม เป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรม

นั้น ๆ ซึ่งต้องเข้าใจถูกว่า นามธรรมเป็นนามธรรม รูปธรรมเป็นรูปธรรม โดยไม่ปะปน

กันเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง

ไม่ยั่งยืน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ซึ่งจะขาดการฟัง การศึกษาการ

พิจารณาไตร่ตรองในเหตุในผลของธรรมไม่ได้เลยและที่สำคัญการที่ปัญญาความเข้า

ใจถูกเห็นถูก จะรู้ความจริง ก็ไม่ใช่ไปรู้สิ่งอื่น นอกจากสิ่งที่มีจริง ๆ ที่กำลังปรากฏใน

ขณะนี้จนกว่าจะค่อย ๆ รู้ความจริงของสิ่งนั้นยิ่งขึ้นไม่ใช่ไปรู้ความจริงของสิ่งที่ไม่

ปรากฏหรือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งที่มีจริง ๆ ในขณะนี้เป็นธรรมซึ่งสามารถศึกษาให้เข้าใจ

ได้เพราะมีจริง ๆ ในชีวิตประจำวัน ปัญญาจะเจริญขึ้นก็ต้องจากการสะสมความเข้าใจ

ถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย ๆ

สภาพธรรมที่เกิดดับก็เป็นภัยเพราะเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงขณะนี้ก็มีภัย คือ สภาพ

ธรรมทีเกิดดับขณะทีเกิดขึ้นเป็นภัยแล้ว เพราะจะนำมาซึ่่งสภาพธรรมต่าง ๆ เพราะยัง

จะต้องมีสภาพธรรมทีเกิดดับวนเวียนไปไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้วนเวียนไปที่จะต้องได้รับ

ทุกข์ประการต่าง ๆ เพราะมีการสืบต่อของสภาพธรรมทีเกิดดับดังนั้น แม้สภาพธรรมที่

มีในขณะนี้แม้ยังไม่ได้ทำชั่วอะไรเลย ก็เป็นภัยที่น่ากลัวแล้ว ซึ่งจะเห็นตามความเป็น

จริงอย่างนี้ได้ ก็ต้องด้วยปัญญาระดับสูง

ซึ่่งโดยความละเอียดแล้ว การเกิดดับเป็นภัยเพราะเมื่อมีการเกิดขึ้นของสภาพ

ธรรม ก็จะต้องมีการดับไปและ เพราะอาศัยการเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมก็

ย่อมนำมาซึ่งสภาพธรรมอื่น ๆ เกิดขึ้นอีก ยกตัวอย่างเช่นเพราะอาศัย{ปัญจทวารา}

วัชชนจิต  เกิดขึ้นและดับไป เป็นปัจจัยให้เกิด ทุกขกายวิญญาณ มีการเจ็บปวดที่กาย

ในนรก เป็นต้น เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีการเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรม มี ปัญจทวา

ราวัชนจิตแล้วก็จะไม่เกิด ทุกขกายวิญยาณ หรือ วิบากทางกายที่ไม่ได้เลยนี่คือการ

เกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมนำมาซึ่ง{ภัย}คือ ความทุกข์ทรมานทางกาย

อีกนัยหนึ่งเพราะอาศัย สภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป เช่น อาศัย จิตเห็นเกิดขึ้น

และดับไป ก็เป็นปัจจัยให้ผู้ที่ยังมีกิเลส เกิด ความยินดี พอใจในสิ่งที่เห็น เป็นต้นได้

หากไม่มีการเกิดขึ้น และดับไปของจิตเห็น ก็จะไม่มีการเกิดกิเลส ยินดีพอใจ ในสีงที่

ปรากฏทางตาเลยจิตได้ยิน โสตวิญญาณ เมื่อเกิดขึ้และดับไปมีเสียง เป็น

อารมณ์หากไม่มีการเกิดขึ้นของ จิตได้ยิน ก็จะไม่การยินดีพอใจในเสียงนั้นเลย

เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรม มีจิตเห็น เป็นต้น นำมาซึ่งภัยอะไร

นำมาซึ่งภัยคือ กิเลสนั่นเองดังนั้นที่กล่าวข้างต้นในความเห็นที่ 2 ไว้ว่าภัย มี

หลากหลายนัย ก็เพื่อให้เข้าใจว่า การเกิดดับนั้นเป็นภัย เพราะการเกิดดับของสภาพ

ธรรมนำมาซึงภัยประการต่าง ๆ ทั้งภัยที่ได้รับทุกข์ทรมาน และ นำมาซึ่งภัย คือ กิเลสด้วย

จะเห็นว่า การเกิดดับของสภาพธรรมเป็นภัยเพราะ นำซึ่งภัยประการต่าง ๆ

และเพราะมีภัยของกิเลส จึงมีการเกิดขึ้นของสภาพธรรม และเพราะอาศัยการเกิดขึ้น

ของสภาพธรรม ก็ทำให้ได้รับภัยต่าง ๆ

ซึ่งขณะนี้มีสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป แต่ยังไม่ไ้ดประจักษ์ตัวธรรมที่กำลัง

เกิดขึ้นและดับไป จึงไม่เห็นว่าเป็นภัยเพราะขณะนี้ ก็ยังเห็นว่าเที่ยงเห็นไม่ได้ดับ

ไปเลย หากเห็นตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงสภาพธรรมทีเ่กิดขึ้นและดับไป

ทุกขณะไม่มีอะไรเลย ย่อมเห็นว่า ขณะนี้เป็นภัย นำมาซึ่งความน่ากลัว ของสิ่งต่าง ๆ

และไม่มีสาระอะไรเลยในขณะนี้เพราะ เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป

เท่านั้นเป็นปัญญา ที่เป็นอาทีนวญาณ ที่เป็นวิปัสสนาญาณระดับสูง

ซึ่งกว่าจะเห็นการเกิดขึ้นและดับไปเป็นภัย จะต้องเริ่มจากปัญญาเริ่มต้น โดยเริ่มจาก

ความเข้าใจว่า เป็นแต่เพียงธรรมก่อน หากยังไม่รู้จักตัวธรรม ก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นภัย

ซึ่งก็จะต้องเริ่มจาการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม



บทความจากมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระอภิธรรม เลขที่ ๑๗๔/๑ ซอยเจริญนคร ๗๘ แขวง

ดาวคะนอง เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐ ท่านใดสนใจก็ไปฟังการสนทนาธรรมได้



<a href="http://www.crs.mahidol.ac.th/Audio/Chinese%20Pureland%20Chant/01_-_Praise_of_the_Lotus_Pond.mp3" target="_blank">http://www.crs.mahidol.ac.th/Audio/Chinese%20Pureland%20Chant/01_-_Praise_of_the_Lotus_Pond.mp3</a>
1
36  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเอาไว้ห้องนี้ เมื่อ: 14 มิถุนายน 2555 09:40:57

ทุกวันนี้ค่านิยมในการจัดงานศพเปลี่ยนไป บางแห่งตั้งวงเล่นไพ่ - บางแห่งตั้งวง "ก๊งเหล้า"อ้างกันต่าง ๆ นา ๆ ว่าอยู่เฝ้าศพ โดยเฉพาะงานศพตามต่างจังหวัด บางทีไม่มีเิงินก็ไปกู้หนี้ - ยืมสินมาทำงานศพเพื่อไม่ให้น้อยหน้าคนอื่น อย่างนี้เค้าเรียกว่าคน คนตายเค้าไม่รู้เรื่องอะไรด้วยเลย เพราะตายแล้ว

ตายขายคนเป็น และอีกหน่อยคนเป็นก็จะขาย(คนตาย)วนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่รู้จักจบ - จักสิ้น ลองหันมาดูการจัดงานศพ ตามหลักพระไตรปิฏกกันบ้าง คนตายแล้วไปไหนขึ้นอยู่กับ"กรรม"ของแต่ละคน"พิภพมัจจุราช"จะมาเยือนท่านในไม่ช้า เตรียมซิ้อ โลงศพ ดอกไม้จันทร์เอาไว้ก่อน


พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า...ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร มีมิตรเลวมี(เพื่อนเลว)ย่อมมีมรรยาทและมีที่เที่ยว เลว

แทนที่จะทำความดีให้แก่ผู้วายชนม์กลับเอาอบายมุขมาเสพในวัด ไม่เคารพสถานที่ ไม่เคารพผู้วายชนม์



ถาม.........พิธีศพของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร ?

ตอบ......สำหรับพิธีศพของพระพุทธเจ้านั้น พระอานันทะ{พระอานนท์}เคยถามพระองค์ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
จะจัดการพระศพของพระองค์อย่างไรพระเจ้าข้า พระองค์ทรงตรัสว่า อานันทะ เธออย่าเดือดร้อนเลย พวกกษัตริย์เขาจะจัดการเอง

พระอานันทะก็ทูลถามว่า ถ้าพวกกษัตริย์จะจัดการ จะให้จัดการอย่างไร ? พระองค์ทรงตรัสว่าจงจัดอย่างพระศพของพระเจ้า
จักรพรรดิ คือ ห่อพระศพด้วยผ้าใหม่ ซับด้วยสำลีสลับกัน ๕๐๐ ชั้น

แล้วอัญเชิญลงในรางเหล็กที่เต็มไปด้วยน้ำมัน แล้วปิดด้วยฝาเหล็ก พรมด้วยของหอม เผาบนเชิงตะกอน แล้วนำสรีระธาตุบรรจุ
ในสถูปประดิษฐานไว้ในทางใหญ่ ๔ แพร่ง ชนใดบูชาด้วยดอกไม้ของหอม หรือกราบไหว้ด้วยจิตอันเลื่อมใสในพระสถูปนั้น
จะเป็นประโยชน์ เป็นความสุขตลอดกาลนาน




<a href="http://www.youtube.com/v/on--NPy-KEs?version=3&amp;feature=player_embedded" target="_blank">http://www.youtube.com/v/on--NPy-KEs?version=3&amp;feature=player_embedded</a>



<a href="http://www.youtube.com/v/KX52y3QZilQ?version=3&amp;feature=player_detailpage" target="_blank">http://www.youtube.com/v/KX52y3QZilQ?version=3&amp;feature=player_detailpage</a>



<a href="http://www.youtube.com/v/N9pqb1Zjvyg?version=3&amp;feature=player_embedded" target="_blank">http://www.youtube.com/v/N9pqb1Zjvyg?version=3&amp;feature=player_embedded</a>


ลมหายใจของวันพรุ่งนี้

<a href="http://www.youtube.com/v/WcplgPWKfu4?version=3&amp;feature=player_embedded" target="_blank">http://www.youtube.com/v/WcplgPWKfu4?version=3&amp;feature=player_embedded</a>

บ้าน ปลายฟ้า............http://rompho.multiply.com
37  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / ถอดรหัสวันวิสาขบูชาโดย ท่านมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เมื่อ: 11 มิถุนายน 2555 09:57:53

ถ่ายภาพประกอบโดย Sometime สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย

ท่าน ว.วชิรเมธี แนะชาวพุทธถอดรหัสวันวิสาขบูชาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตจาก 3 เหตุการณ์ ประสูติ-ดำรงชีวิตมีเป้าหมายไม่ปล่อยตามยถากรรม ตรัสรู้ - พัฒนาตนเองให้ถึงสัจจธรรมเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ปรินิพพาน-ชีวิตไม่เที่ยงต้องดำรงตนไม่ประมาท
  
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี พระนักคิด นักเขียน นักเทศน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวไทย ถึงวันวิสาขบูชา
  
ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ  ตรัสรู้และปรินิพพาน ถ้าเรียนรู้เฉพาะเท่านั้นจะกลายเป็นว่าวันนี้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าล้วนๆ แต่อาตมาอยากจะแนะนำว่าเราสามารถเปลี่ยนวันของพระพุทธเจ้าให้เป็นวันของเราได้ โดยการถอดรหัสจาก 3 เหตุการณ์คือ วันประสูติ มีคติธรรมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติแล้วทรงดำเนินไป 7 ก้าว แล้วทรงชี้พระดรรชนีขึ้นบนฟ้าเปล่งวาจาประกาศปณิธานในการดำเนินชีวิตว่าเราจะเป็นยอดคนของโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายการเกิดใหม่จะไม่มีอีกแล้ว คติดังกล่าวชาวพุทธนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้คือ การที่พระพุทธเจ้าทรงประสบความสำเร็จในชีวิตได้เพราะทรงตั้งปณิธานในการดำเนินชีวิต ดังนั้น มนุษย์ทุกคนถ้าปรารถนาประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ต้องตั้งปณิธานในการดำเนินชีวิต  ไม่ใช่ปล่อยให้กิเลสพาไปหรืออยู่ไปตามยถาธรรมให้ชีวิตหมดวันต่อวัน หมดไปกับการหายใจทิ้งไปวัน ๆ
  
เราจะต้องเอาอย่างพระพุทธองค์ บอกตัวเองว่าเราเกิดมาชาตินี้จะทำอะไรบ้าง ฟันธงลงไปชัดๆ ชีวิตทั้งชีวิตในชาตินี้ก็จะชัดเจนไม่พร่ามัว แต่ถ้าเราปล่อยชีวิตไปตามยถากรรมจนแก่จนเฒ่าจนจะเข้าโลง บางทีไปถามว่าคุณทำอะไรบ้าง ปรากฏว่าความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฏ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็น่าเสียดายที่ได้โควตาเกิดมาเป็นคน ฉะนั้น เราต้องบอกตัวเองว่าชีวิตต้องดำเนินไปอย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจนเหมือนพระพุทธองค์ ถ้าตั้งเป้าหมายแล้วชีวิตเราจะไม่ใช่กอสวะ ชีวิตเราจะเหมือนเรือพอแล่นออกจากท่าก็มุ่งสู่ฝั่งอย่างมีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม พระมหาวุฒิชัย กล่าว..........................
  
พระมหาวุฒิชัย กล่าวอีกว่าวันตรัสรู้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการ สาระสำคัญคือก่อนตรัสรู้พระพุทธองค์เป็นมนุษย์เหมือนกัน
  
แต่ได้พัฒนาตัวเองจนในที่สุดเข้าถึงสัจจธรรมสูงสุดได้ ดังนั้นเราเป็นมนุษย์เหมือนกัน ก็ต้องบรรลุสัจธรรมให้ได้ เราจึงอย่ามัวแต่ชื่นชมพระพุทธองค์ แต่ต้องบอกตัวเองด้วยว่านอกจากชื่นชมแล้วเราต้องปฏิบัติให้เป็นพุทธะขึ้นมาในตัวด้วย เราทุกคนมีศักยภาพที่จะเป็นพุทธะ คือ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพราะพระพุทธองค์ทรงทำให้ดูแล้วว่ามนุษย์เช่นพระองค์ทรงทำได้ แล้วทำไมเราจะทำเช่นนั้นบ้างไม่ได้
  
ส่วนเหตุการณ์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงตรัสเตือนชาวพุทธว่า เมื่อพระองค์ได้ล่วงลับไปแล้ว พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดาของชาวพุทธ หมายความว่า เราจะต้องไม่ยึดติดถือมั่นในตัวบุคคล
  
แต่เราจะต้องอยู่กับธรรมและวินัยให้ได้ ซึ่งก็คือพระพุทธศาสนา ดังนั้น เมื่อเราเห็นพระประพฤติตนเสื่อมเสีย จะไปบอกว่าพระพุทธศาสนาเสื่อมแล้วไม่ใช่ แต่ที่เสื่อมคือคนที่เข้าในศาสนาต่างหากที่เสื่อม แต่พระธรรมวินัยยังอยู่ และก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานทรงฝากปัจฉิมโอวาทสาระสำคัญว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นมาแล้วก็แตกดับไป เพราะฉะนั้นเธอทั้งหลายจงดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท ดังนั้น ต้องอยู่ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพราะไม่มีใครรู้ว่าพรุ่งนี้ความตายจะมาถึง ถ้าเราคิดอยู่เสมอว่าวันนี้คือวันสุดท้ายของชีวิต เราจะคิดเลือกพูดเลือกทำแต่กิจกรรมที่มีสาระประโยชน์ให้มากที่สุด
  
เหล่านี้คือคติธรรมที่เราชาวพุทธจะต้องประยุกต์เอามาใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้ ย้ำอีกครั้งว่าเหตุการณ์วันประสูติ เราต้องบอกตัวเองว่าพระพุทธองค์ดำรงชีวิตอย่างมีเป้าหมายฉันใด เราก็ต้องดำรงชีวิตอย่างมีเป้าหมายฉันนั้น เหตุการณ์วันตรัสรู้เราต้องน้อมมาสู่ตัวเองว่าพระพุทธองค์บรรลุตรัสรู้สัจธรรมฉันใด เราก็ต้องมีศักยภาพบรรลุสัจธรรมฉันนั้น เพราะความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานไม่ได้ถูกผูกขาดไว้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เป็นเรื่องที่เราทุกคนเข้าถึงได้ เหตุการณ์ปรินิพพานให้เราเตือนตัวเองว่า ชีวิตนี้ไม่เที่ยง ต้องดำรงตัวเองด้วยความไม่ประมาท ใครทำได้อย่างนี้คือ เปลี่ยนวันของพระพุทธเจ้าให้เป็นวันของเราได้สำเร็จ พระมหาวุฒิชัย กล่าว
  
พระมหาวุฒิชัยกล่าวด้วยถึงการเรียนวิชาพุทธศาสนาของไทยด้วยว่า เป็นการเรียนท่องจำเพื่อสอบซึ่งเป็นความผิดพลาดของการสอนพุทธศาสนาในสถาบันการศึกษา แท้จริงแล้วต้องเรียนพุทธศาสนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงชีวิต ให้มีคุณภาพขึ้นมาจึงจะเป็นผลสัมฤทธิ์ที่แท้ของการเรียนพุทธศาสนา


Credit By.................สำนักข่าวไทย

บ้าน ปลายฟ้า สานฝัน.................http://fx.gs/linkout.php?http://rompho.multiply.com

<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae5"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva5"><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/sec2/2buddhapower/08.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/sec2/2buddhapower/08.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/sec2/2buddhapower/08.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc5"></td></tr></table>

38  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง เมื่อ: 09 มิถุนายน 2555 21:38:00


ถ้ำโม่เกาในเมืองตุนหวงทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนนับว่า เป็นคลังศิลปะทางพุทธศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและได้รับการอนุรักษ์ดีที่สุดของโลกในปัจจุบัน ถ้ำโม่เกาได้รับคัดเลือกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี 1987 คณะกรรมการมรดกโลกประเมินว่า ถ้ำโม่เกามีชื่อดังในโลก ด้วยรูปปั้นและภาพเขียนฝาผนัง แสดงถึงศิลปะทางพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องกันมาเป็น เวลาพันปี
ในเขตชานเมืองตุนหวงมณฑลกันซู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนมีภูเขาลูกหนึ่งชื่อภูเขาหมิงซา บนผาด้านตะวันออกที่มีระยะทางยาวประมาณ 2 กิโลเมตรของภูเขาลูกนี้ มีถ้ำจำนวนนับไม่ ถ้วนเรียงรายกันอยู่ 5 ชั้น  ซึ่งก็คือถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวงที่มีชื่อเสียงดังในโลก

ถ้ำโม่เกาเริ่มสร้างตั้งแต่ค.ศ.366 มีการบูรณะซ่อมแซมและขยายการก่อสร้างทุกยุคทุกสมัย จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง ก็มีถ้ำกว่า 1000 ถ้ำแล้ว ฉะนั้น ถ้ำโม่เกามีอีกชื่อหนึ่งว่า ถ้ำเชียนโฝ หรือแปลว่า ถ้ำพระพุทธรูปพันองค์

ภายในถ้ำได้สร้างพระพุทธรูปและภาพเขียนฝาผนังจำนวนมาก เนื่องจากถ้ำโม่เกาตั้งอยู่บนเส้นทางสาย ไหมที่เชื่อมตะวันออกกับตะวันตกเข้าด้วยกัน จึงได้รับผลกระทบกระเทือนจากศาสนา วัฒนธรรมและความรู้ทั้งฝ่ายตะวันออกและฝ่ายตะวันตก ความนิยมทางศิลปะอันหลากหลายทำให้ถ้ำ โม่เกากลายเป็นคลังศิลปะอันรุ่งโรจน์

จนถึงปัจจุบัน ถ้ำโม่เกายังเหลืออยู่ประมาณ 500 ถ้ำ ภาพเขียนฝาผนังประมาณ 50,000 ตารางเมตรและ รูปแกะสลักและรูปปั้นกว่า 2,000 รูปภาพเขียนฝาผนังเหล่านี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูป พระสังขจาย เทวดา นิยายพุทธศาสนาในอินเดีย จีนและเอเซียกลาง เป็นต้น นอกจากนี้ ภาพเขียนฝาผนังเหล่านี้ยังได้แสดงให้เห็นถึงชีวิตทางสังคม เสื้อผ้าอาภรณ์และเครื่องแต่งกาย รูปแบบ การก่อสร้าง ดนตรีระบำ กายกรรมและสิ่งอื่น ๆ ของชนชาติและชั้นชนต่าง ๆ ในสมัยโบราณ ฉะนั้น นักวิชาการตะวันตกจึงถือว่า ถ้ำตุนหวงเป็นหอสมุดบนฝาผนัง

โบราณวัตถุในถ้ำโม่เกาเคยประสบการทำลายและความเสียหายอย่างร้ายแรงที่สุดและน่าเสียใจที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใกล้ของจีน

เมื่อปี 1900 ผู้คนได้พบถ้ำลับ ๆ ถ้ำหนึ่งโดยบังเอิญ ถ้ำนี้ยาว 3 เมตร กว้าง 3 เมตร ข้างในเต็มไปด้วยคัมภีร์ หนังสือ เอกสาร ภาพวาดภาพปัก ภาพหรือหนังสือที่พิมพ์จากแผ่น ศิลาจารึกจำนวนประมาณกว่า 50,000 ชิ้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านต่าง ๆ ทางสังคมเกือบทุกด้าน เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การเมือง ชนชาติ การทหาร ภาษา ตัวหนังสือ ศิลปะวรรณคดี ศาสนา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่และแพทยศาสตร์เป็นต้น ทั้งของจีนและของเอเซียกลาง เอเซียใต้และยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ถึงศตวรรษที่ 11 จึงถือกันว่า เป็นหนังสือสารานุกรมยุคกลางและยุคโบราณ

หลังจากได้พบถ้ำนี้แล้ว นักผจญภัยจากประเทศต่าง ๆ ก็ทยอยกันเดินทางไปถึง ในช่วงเวลาไม่ถึง 20 ปี โบราณวัตถุในเมืองตุนหวงที่มีประมาณ 40000 ชิ้นถูกขโมยไป ซึ่งได้นำความเสียหายอย่างร้ายแรงถึงถ้ำโม่เกา เวลานี้ ที่อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย อินเดีย เยอรมัน เดนมาร์ก สวีเดน เกาหลีใต้ ฟินแลนด์ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ต่างก็มีโบราณวัตถุในเมืองตุนหวงเก็บสะสมไว้  รวม ๆ แล้ว เป็น 2 ใน 3 ของโบราณวัตถุในเมืองตุนหวงทั้งหมด

นับตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมา  มีนักวิชาการจีนจำนวนหนึ่งเริ่มศึกษาวิจัยวัฒนธรรมตุนหวง เมื่อปี 1910 หนังสือจำนวนแรกเกี่ยวกับผลวิจัยศึกษาวัฒนธรรมตุนหวงโดยเฉพาะได้พิมพ์ออกจำหน่าย ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา นักวิชาการจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็ได้ให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรม ตุนหวง ทั้งดำเนินการวิจัยศึกษามิได้ขาดเช่นกัน  ส่วนนักวิชาการจีนนั้นได้ผลสำเร็จที่มีความ สำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านนี้

รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่องานอนุรักษ์ถ้ำโม่เกามาโดยตลอด เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวจาก ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเดินทางไปชมถ้ำโม่เกามากยิ่งขึ้นทุกวัน รัฐบาลจีนจึงได้สร้างศูนย์วาง แสดงศิลปะตุนหวงตามเชิงเขาซานเวยตรงข้ามกับถ้ำโม่เกา โดยได้เลียนแบบถ้ำส่วนหนึ่งเพื่อ ให้ผู้คนเข้าชม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลจีนยังได้ลงทุน 200 ล้านหยวนเหรินหมินปี้สร้างถ้ำโม่เกาเลียนแบบแบบดิจิตอลขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ชมสามารถเกิดความรู้สึกว่าได้เข้าสู่ถ้ำจริง ๆ หากยังสามารถ มองเห็นของต่าง ๆ ภายในถ้ำอย่างชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ของต่าง ๆ ภายในถ้ำประสบความ เสียหาย ทำให้ยืดอายุวัตถุโบราณในถ้ำโม่เกาและวัฒนธรรมของด้านนี้มีความยั่งยืนต่อไป


<a href="http://www.archive.org/download/pray_music/PMs640006.MP3" target="_blank">http://www.archive.org/download/pray_music/PMs640006.MP3</a>
39  สุขใจในธรรม / ห้อง วีดีโอ / Re: พื้นที่ชีวิต - พุทธในโลกตะวันตก 6Jun12 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2555 21:33:59
รัก รัก รัก

ผมว่าคลิป ๆ นี้น่าสนใจครับ ป้า แป๋ม
40  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / ถาม - ตอบ ปัญหาธรรมเรื่อง"ความเข้าใจในธรรม" เมื่อ: 09 มิถุนายน 2555 17:26:07

ถ่ายภาพโดย Sometime สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย

ถาม..................1. ความเข้าใจธรรมมะแตกต่างหรือเหมือนกันกับความเข้าใจสภาพธรรม ?

2. ความเข้าใจธรรมมะ เป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจสภาพธรรม?

3. ความเข้าใจสภาพธรรม เป็นเหตุให้พิจารณาธรรมได้ถูกต้องตามลำดับ?

4. ความเข้าใจสภาพธรรม พิจารณาธรรมได้ตรง ถูกต้อง เป็นเหตุให้สติเกิดบ่อยๆ?

5. การระลึกถึงความคิด(ไม่ว่าจะคิดถึงสิ่งใดก็ตาม)คือนามธรรมที่กำลังเกิดหลัง

จากเห็นจะค่อยๆเร็วขึ้น เป็นสติระดับหนึ่งๆ สลับกับสติปัฏฐานจนกว่าจะคมชัดขึ้น

คลายจากความติดข้องเรื่อยๆ หากมีความเข้าใจสภาพธรรมขึ้นเรื่อยๆ แต่ละทวาร

หมายถึงเห็นแล้วคิด ก็ระลึกสภาพคิด จนคมชัดขึ้น ใกล้เคียงเห็นมากขึ้น เป็น

สภาพธรรมที่เกิดสืบต่อกัน ตามเหตุปัจจัย ?

6.ความเข้าใจสภาพธรรมเกิดขึ้นมาเอง ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมเข้าใจคงไม่เกิด

แน่นอนครับ ?




ตอบ..........ความเข้าใจธรรมมะแตกต่างหรือเหมือนกันกับความเข้าใจสภาพธรรม ?

ความเข้าใจธรรม ก็คือ ปัญญาที่เข้าใจพระธรรม เพราะฉะนั้นปัญญามีหลายระดับ หรือ

ความเข้าใจธรรมมีหลายระดับ คือ ความเข้าใจธรรมในขั้นการฟังในเรื่องธรรมส่วนต่าง ๆ

ทั้งในส่วนของพระสูตร พระอภิธรรม และพระวินัย ก็ชื่อว่า ความเข้าใจธรรม ที่เป็น

ปัญญาความเข้าใจ{ขั้นปรัยัติ}ขณะที่ฟังเข้าใจในธรรมส่วนตางๆ มีเรื่องกรรม เป็นต้น

ขณะนั้น มีความเข้าใจธรรมในขั้นการฟังและความเข้าใจธรรมในขั้นปฏิบัติ คือ มี

ปัญญาเกิดรู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา คือ เข้าใจตัวจริง

ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และความเข้าใจธรรม หรือ ปัญญาที่เข้าใจธรรมที่เป็น

พระนิพพาน และเข้าใจธรรมส่วนอื่น ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้งอันเกิดจาก ปัญญาที่เป็น

ปฏิเวธ คือการบรรลุธรรมจะเห็นว่า ความเข้าใจธรรมกินความกว้างขวาง

ทั้งความเข้าใจที่ไมใช่เฉพาะตัวธรรมเท่านั้นที่เป็นสภาพธรรมแต่รวมถึงเรื่องราวของ

ธรรมอื่น ๆ ด้วย มีเรื่องกรรม เรื่อง บารมี เรื่องกุศลประการต่าง ๆ

ส่วนความเข้าใจสภาพธรรม คือ มุ่งหมายถึงเรื่อง ตัวสภาพธรรมที่มีจริง คือ {จิต}

เจตสิก รูปและนิพพาน ที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม แต่ไม่ใช่เรื่องอื่น ๆ เช่น ไม่ใช่เรื่อง

กรรม เรื่องสมถภาวนา เป็นต้น

ซึ่งความเข้าใจสภาพธรรม หรือ ปัญญาที่เข้าใจตัวธรรม ก็มีหลายระดับอีกเช่นกัน

ปัญญาขั้นการฟัง ที่เข้าใจสภาพธรรม ที่เข้าใจขั้นการฟังว่า สภาพธรรมมีจริง เห็นมีจริง

ได้ยินมีจริง เสียง สี กลิ่น เป็นธรรม เพราะมีลักษณะให้รู้ กำลังปรากฏ แม้ยังไม่ได้

ประจักษ์ตัวธรรม แต่เป็นการเข้าใจสภาพธรรมในขั้นการฟังความเข้าใจสภาพธรรม

อีกระดับหนึ่ง คือ เข้าใจ คือ รู้ตัวจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏที่ไมใช่เพียงขั้นการ

ฟัง คือ ขณะที่{สติปัฏฐาน}เกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพที่มีในขณะนี้ ว่าเป็นแต่เพียงธรรม

ไม่ใช่เรา คือ เห็น กำลังปรากฏ สติและปัญญาเกิด รู้ตรงลักษณะที่ เห็นกำลังปรากฏว่า

เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา อันเป็นปัญญา ความเข้าใจสภาพธรรมในขั้น ปฏิบัติที่รู้ที่ตัว

จริงในสภาพธรรม ที่ไม่ใช่ขั้นการฟังและความเข้าใจสภาพธรรม อีกระดับหนึ่ง คือ

ประจักษ์ความจริงที่เป็นพระนิพพาน ขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้น ก็เป็นปัญญาความเข้าใจที่

แทงตลอดสภาพธรรม จนสามารถดับกิเลสได้นั่นเอง ที่เป็นปฏิเวธ การบรรลุธรรม

เพราะประจักษ์ตัวธรรม คือ พระนิพพาน

สรุปได้ว่า ความเข้าใจธรรมกินความกว้างขวางว่า ความเข้าใจสภาพธรรม เพราะ

ความเข้าใจธรรม เข้าใจเรื่องราวในส่วนอื่น ๆ ของพระไตรปิฎกด้วย ไม่ใช่เฉพาะความ

เข้าใจสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูปเท่านั้น


ข้อความจาก......มูลนิธิศึกษาอภิธรรม เลขที่ ๑๗๔/๑ ซอยเจริญนคร ๗๘

แขวง ดาวคะนอง เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐


บ้าน ปลายฟ้าของ Sometime...........http://rompho.multiply.com

<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae6"> <tr><td style="width: 800px; height: 64px" colspan="2" id="saeva6"><embed type="application/x-shockwave-flash" src="http://www.flash-mp3-player.net/medias/player_mp3_maxi.swf?mp3=http://www.fungdham.com/download/song/allhits/10.mp3&amp;width=250&amp;showstop=1&amp;showinfo=1&amp;showvolume=1&amp;volumewidth=35&amp;sliderovercolor=ff0000&amp;buttonovercolor=ff0000" width="800px" height="64px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" autoplay="false" autostart="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/10.mp3" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/10.mp3</a></td><td class="aeva_q" id="aqc6"></td></tr></table>
1
หน้า:  1 [2] 3 4 ... 96
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.919 วินาที กับ 27 คำสั่ง