[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 พฤษภาคม 2567 12:29:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 143 144 [145] 146 147 ... 276
2881  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / สังสารทุกข์ โดย หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2560 06:22:31

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=5WjA3TfP2bs" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=5WjA3TfP2bs</a>


สังสารทุกข์
หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
2882  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ (ปลาทูนึ่ง) สูตรพริกสด เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2560 14:30:17




ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้
(ปลาทูนึ่ง) สูตรพริกสด

ส่วนผสม
- ปลาทูนึ่ง 4 ตัว (ตัวขนาดใหญ่ เข่งละประมาณ 50 บาท)
- หัวกะทิ 100% น้ำหนักน้ำกะทิ 1 กิโลกรัม
- ตะไคร้ 2 ต้น หั่นกลาง บุบให้แตก
- ใบมะกรูด 4-5 ใบ
- กระเทียมไทย 1 หัว
- ขมิ้นยาว 1 เซนติเมตร
- พริกขี้หนูสด 30-35 เม็ด
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- ตะไคร้ 1 ช้อนโต๊ะ
- พริกไทยดำ 1/2 ช้อนโต๊ะ
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- กะปิใต้ 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลาดี


วิธีทำ
1.โขลกเครื่องน้ำยาให้ละเอียด (พริกสด พริกไทยดำ กระเทียม ตะไคร้ ขมิ้น เกลือ และกะปิ)
2.แกะเอาแต่เนื้อปลาทูโขลกรวมกับเครื่องน้ำยาให้เข้ากัน
3.เอาหางกะทิ 1 1/2 ถ้วย ตั้งไฟพอเดือดใส่ตะไคร้บุบพอแตก และใบมะกรูดฉีก ลงไปเคี่ยวสักครู่
4.ใส่เครื่องที่โขลก ลงเคี่ยวในหางกะทิ จนเนื้อปลาขึ้นฟู
5.ใส่หัวกะทิ เร่งไฟให้เดือด ปรุงรสด้วยน้ำปลาดี (อย่าเคี่ยวนานกะทิจะแตกมัน ไม่น่ารับประทาน)









เอาหางกะทิตั้งไฟ พอเดือดใส่ตะไคร้บุบ ใบมะกรูดฉีก


ใส่เนื้อปลาที่โขลกรวมกับเครื่องน้ำยา เคี่ยวให้เนื้อปลาขึ้นฟู และน้ำงวด


ใส่หัวกะทิ เร่งไฟให้แรง ปรุงรสด้วยน้ำปลาดี พอเดือดเต็มที่ยกลง
น้ำยาปักษ์ใต้ไม่ควรให้แตกมัน

2883  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: พุทธธรรมเพื่อชีวิตและสังคม เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2560 19:56:23

พระพุทธชินราช (ปางมารวิชัย) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก

พระพุทธรูปที่เราบูชากันอยู่ทุกวันนี้มีอยู่หลายปาง
คนโบราณสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ขึ้นนั้น แต่ละปางแสดงถึงอภินิหารแต่ละครั้ง
ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำ ปางมารวิชัยหมายถึงตอนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ได้ชนะมารแล้วก็ได้ตรัสรู้ เมื่อเรานึกได้อย่างนี้แล้ว หากเรามีพระพุทธรูปปางมารวิชัยไว้ในบ้าน
ในขณะที่เราบูชาพระพุทธรูปนั้นก็เท่ากับว่าเราได้เห็นอภินิหารของพระพุทธเจ้า
หรือเราได้ร่วมอยู่ในการที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอภินิหารครั้งนั้น .



พลแบก : ภาพจาก วัดใหญ่อินทาราม อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี


พลแบก : ภาพจาก วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย

ปัญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต – ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
"จิตที่มีสมาธิมั่นคงย่อมเป็นจิตที่แข็งแรงและมีพลังมาก พร้อมที่จะเป็นที่เกิดแห่งปัญญา"
ธรรมดาจิตมนุษย์ไม่สงบนิ่งคิดถึงเรื่องราวต่างๆ อยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหย่อน
แต่ถ้าปฏิบัติสมาธิให้ถูกวิธีก็จะทำให้จิตหยุดนิ่งไม่คิดฟุ้งซ่านไปต่างๆ เมื่อจิตหยุดนิ่ง
ไม่หลุกหลิกซัดส่าย จิตก็จะเริ่มพิจารณาและเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงของมัน

รูปลิงหรือกระบี่แบก จึงเป็นปริศนาธรรมในทางพุทธศาสนา
สื่อความหมายถึง "สมาธิ" หนึ่งใน "ไตรสิกขา" ทื่ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา
 

--------------------------------
*พลแบก มักหมายถึง ไพร่พล เช่น ยักษ์ ลิง อยู่ในท่าแบกฐานอาคารสิ่งก่อสร้าง
มักพบทั่วไปในงานช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น.





ภาพ : หอพระแก้ว สถานที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบันเหลือเพียงพระแท่นที่ประดิษฐาน
เพราะพระแก้วมรกตองค์ปัจจุบัน สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้อัญเชิญลงมาประทับที่กรุงเทพมหานคร
ในคราวไปตีนครเวียงจันทน์ สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  


ผู้ที่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ถือว่า "บัว" หมายถึงพระพุทธคุณ
ภาพจาก : วัดป่านานาชาติ (สาขาวัดหนองป่าพง) จังหวัดอุบลราชธานี
ปัจจุบัน พระอธิการเฮนนิ่ง เกวลี ชาวเยอรมัน เป็นเจ้าอาวาส

...คนโง่ถึงมียศ ก็กลายเป็นทาสของคนมีปัญญา
เมื่อมีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้น...

ศาสตราจารย์พิเศษ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
-------------------------

มีคนไม่มากนักที่เข้าใจในหลักธรรมของศาสนาพุทธ  เมื่อไม่เข้าใจในหลักศาสนาพุทธแล้ว
ศีลธรรมของศาสนาพุทธก็เสื่อมโทรม หรือคนเราห่างศีลธรรมลงไป




ภาพ : ภาพวาดฝีมือครูเหม เวชกร

อจิรํ วตยํ กาโย ปฐวี อธิเสสฺสติ
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญญาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครํ

ไม่นานหนอ ร่างกายนี้ จักปราศจากวิญญาณ
นอนทับถมแผ่นดิน ดุจท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า หาประโยชน์มิได้ฉะนั้น

พุทธศาสนสุภาษิต
2884  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / บวบเหลี่ยม สรรพคุณและประโยชน์ของบวบเหลี่ยม ๔๘ ข้อ เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2560 19:25:31


บวบเหลี่ยม
สรรพคุณและประโยชน์ของบวบเหลี่ยม ๔๘ ข้อ !

บวบเหลี่ยม
บวบเหลี่ยม ชื่อสามัญ Angled loofah
บวบเหลี่ยม ชื่อวิทยาศาสตร์ Luffa acutangula L.) Roxb. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)[๑],[๒]

สมุนไพรบวบเหลี่ยม มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะนอย หมักนอย เชียงใหม่), บวบหวาน แม่ฮ่องสอน), มะนอยงู มะนอยข้อง มะนอยเหลี่ยม (ภาคเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), บวบเหลี่ยม ไทย), เดเรเนอมู เดเรส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กะตอรอ (มลายู-ปัตตานี), อ๊อซีกวย จีน) เป็นต้น [๑],[๒]
ลักษณะของบวบเหลี่ยม

• ต้นบวบเหลี่ยม เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย [๖],[๗] และมีเขตการกระจายพันธุ์และนิยมบริโภคกันมากในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย จีน ฮ่องกง และอินเดีย [๔],[๔] โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยอดอ่อนนุ่ม เถาหรือลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีมือสำหรับใช้ยึดเกาะเป็นเส้นยาว บางทีแยกเป็นหลายแขนง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทนแล้ง ทนฝนได้ดี โรคและเมล็ดไม่มารบกวน พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่วไป [๑],[๒],[๓],[๑๐]

• ใบบวบเหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบทั่วไปคล้ายกับใบบวบกลมหรือบวบหอม แต่ใบนั้นจะมีรอยเว้าเข้าตื้นกว่ามาก ลักษณะของใบเป็นรูป ๕-๗ เหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบหยักเว้าตื้น ๆ หลังใบและท้องใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ก้านใบเป็นเหลี่ยม ยาวประมาณ ๔-๗ เซนติเมตร [๑],[๒],[๑๐]

• ดอกบวบเหลี่ยม ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกจะบานในช่วงเย็น โดยดอกจะเพศผู้จะออกเป็นช่อๆ โดยจะออกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีเหลือง มีกลีบดอก ๕ กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่กลีบ กลีบดอกบางและย่น โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน มีกลีบเลี้ยงหรือกลีบรองดอกเป็นสีเขียวมี ๕ กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกเป็น ๕ กลีบ ด้านนอกมีขนสั้นและอ่อนนุ่มปกคลุมอยู่ มีขน ดอกเพศผู้จะมีเกสรเพศผู้ประมาณ ๒-๓ อัน มีอับเรณูแบบ ๑ ช่อง ๑ อัน และแบบ ๒ ช่อง ๒ อัน ส่วนดอกเพศเมียมักจะออกดอกเดี่ยว ดอกเป็นสีเหลือง มีลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้ รังไข่เป็นรูปขอบขนาน ท่อรังไข่เป็นรูปทรงกระบอก ปลายแยกเป็นแฉก ๓ แฉก ภายในรังไข่มีช่อง ๓ ช่อง และมีไข่อ่อนเป็นจำนวนมาก [๑],[๒],[๑๐]

• ผลบวบเหลี่ยม ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดสั้นกว่าบวบกลม แต่ผลจะมีเหลี่ยมเป็นสันขอบคมประมาณ ๑๐ สัน ตามความยาวของผล โดยผลจะมีความยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ปลายผลโต โคนผลเรียวเล็ก เปลือกของผลหนา พอแก่จะเป็นเส้นใบเหนียว เนื้อในผลมีรสขม ภายในผลมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะแบน [๑],[๒],[๑๐]

สรรพคุณของบวบเหลี่ยม
๑.ผลเป็นยาเย็น มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ผล) [๒],[๙]
๒.ดอกมีรสชุ่ม ขมเล็กน้อย และเย็นจัด มีสรรพคุณช่วยดับร้อน คลายร้อนในร่างกายได้ดี ดอก) [๑]
๓.ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี เถา)[๑]
๔.ผล เถา และทั้งต้นของบวบเหลี่ยม สามารถใช้เข้าในตำรับยาแก้ลม บำรุงหัวใจได้อีกด้วย ทั้งต้น)[๙]
๕.หากเหงื่อออกมาก ให้ใช้ใบสดผสมกับเมนทอล นำมาตำแล้วทาหรือใช้พอก ใบ)[๑]
๖.ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายใช้กินพอประมาณ น้ำจากเถา)[๑] หรือหากมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว ให้ใช้รากต้มใส่ไข่เป็ด ๒ ฟอง แล้วนำมากิน ราก)[๑]
๗.น้ำคั้นที่ได้จากใบสด ใช้เป็นยาหยอดตาเด็ก เพื่อรักษาเยื่อตาอักเสบ ใบ)[๑]
๘.ใช้รักษาเยื่อจมูกอักเสบและเสื่อมสมรรถภาพ รักษาจมูกอักเสบจนกลายเป็นโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำกิน หรือจะใช้ดอกสดร่วมกับฮั่วเถ่าเช่าสด นำไปตำใช้เป็นยาพอกรักษาโพรงจมูกอักเสบก็ได้ ส่วนเถาก็มีสรรพคุณช่วยรักษาโพรงจมูกอักเสบได้เช่นกัน เถา,ราก,ดอก)[๑]
๙.ใช้รักษาจมูกมีหนองและมีกลิ่นเหม็น หรืออาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ให้ใช้เถาบริเวณใกล้กับรากนำไปเผาให้เป็นถ่าน แล้วบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากิน เถา)[๑]
๑๐.หากเป็นคางทูม ให้ใช้ใยผล รังบวบ) ที่เผาเป็นถ่านแล้ว ผสมกับน้ำใช้ทาบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ผลนำไปเผาให้เป็นถ่าน แล้วบดให้เป็นผงผสมกับน้ำใช้ทาบริเวณที่ปวด ผล,ใยผล)[๑]
๑๑. เมล็ดมีรสหวานมัน ใช้รักษาอาการปวดเสียวฟัน โดยให้ใช้ผลที่แก่แล้วนำไปเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดเป็นผง ใช้ทาบริเวณที่ปวด ส่วนเถาก็มีสรรพคุณแก้อาการปวดเสียวฟันเช่นกัน เถา,เมล็ด)[๑]
๑๒.ผลเป็นยาเย็น สรรพคุณเป็นยาลดไข้ ผล)[๒]
๑๓.ผลและเมล็ดมีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน ส่วนน้ำจากเถาใช้ผสมกับน้ำตาลทรายกินพอประมาณก็เป็นยาบรรเทาอาการร้อนในได้เช่นกัน (น้ำจากเถา,ผล,เมล็ด)[๑],[๒],[๙]
๑๔.น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายใช้กินพอประมาณเป็นยาแก้หวัดได้ น้ำจากเถา)[๑]
๑๕.ดอกมีรสชุ่ม เย็ดจัด และขมเล็กน้อย ใช้รักษาอาการไอ อาการเจ็บคอ และหอบ ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ ๖-๑๐ กรัม ผสมกับน้ำผึ้ง แล้วต้มจิบกินเป็นยา หรือจะใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายกินพอประมาณก็เป็นยาแก้ไอ แก้อาการเจ็บคอได้เช่นกัน (น้ำจากเถา,ดอก)[๑] หรือหากมีอาการเจ็บคอ จะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะนำรากมาแช่กับน้ำในภาชนะกระเบื้องแล้วเทเอาแต่น้ำกินก็ได้ ราก)[๑],[๙] หรือหากมีการไอ จะใช้เถาเอาไปต้มกับน้ำหรือจะใช้น้ำคั้นจากเถาสดนำมากินเป็นยาแก้ไอก็ได้ (แต่เป็นการทดลองกับหนู) เถา)[๑]
๑๖. ขั้วผลนำไปเผาไฟให้เป็นเถ้า บดให้เป็นผงละเอียดใช้เป่าคอเป็นยารักษาอาการเจ็บคอ และช่วยรักษาเด็กที่ออกหัด ช่วยทำให้ออกหัดได้เร็วขึ้น ขั้วผล)[๑]
๑๗.ผลมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ทำให้ชุipecacuanha ได้ดี แต่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เมล็ด)[๑]
๒๓.ผลมีรสชุ่มและเย็น ใช้รักษาโรคบิดถ่ายเป็นเลือด แก้อาการปวดท้องเนื่องจากกินเหล้ามาก โดยให้ใช้ผลแห้งประมาณ ๑ ผล นำไปเผาให้เป็นถ่าน บดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากินครั้งละประมาณ ๖ กรัม ผล)[๑]
๒๔.รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาระบาย ส่วนผลก็มีสรรพคุณเป็นยาระบายเช่นกัน ราก,ผล)[๒],[๙] รากและเมล็ดบวบเหลี่ยมที่มีรสขม มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย ราก,เมล็ด)[๑],[๙]
๒๕.เถาใช้เป็นยาขับพยาธิ เถา)[๑] ส่วนเมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม โดยนำเมล็ดแก่มาเคี้ยวกินตอนท้องว่าง โดยเมล็ดจะมีรสหวานมัน ถ้าเป็นเด็กให้กินครั้งละประมาณ ๓๐ม็ด หากเป็นผู้ใหญ่ให้ใช้ ๔๐-๕๐ติดต่อกัน ๒วัน หรือจะนำมาเมล็ดบดให้ละเอียดใส่แคปซูลกินวันละครั้ง เมล็ด)[๑],[๒],[๑๐]
๒๖.ผลและเมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ผลอ่อนนำไปต้มกับน้ำ โดยใส่น้ำพอท่วม แล้วต้มจนเดือด ใช้น้ำที่ได้นำมาดื่มครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น) หรือจะใช้ดอกสดเป็นยาขับปัสสาวะก็ได้ เข้าใจว่าใช้ดอกแห้งประมาณ ๖-๑๐ กรัม นำไปต้มกับน้ำกิน ส่วนใบให้ใช้ใบสด ๑ กำมือ นำมาต้มกับน้ำ ใส่น้ำพอท่วมแล้วต้มจนเดือด ใช้น้ำที่ได้ดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น ถ้าเป็นใบแห้งให้ใช้ ๕ กรัม นำมาชงกับน้ำร้อน ๑ แก้ว ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (ใบ,ดอก,ผล,เมล็ด)[๑],[๒],[๙]
๒๗.เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาขับนิ่ว เมล็ด)[๒]
๒๘.ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ใบนำมาตำพอกหรือจะบดให้เป็นผงใช้ผสมเป็นยาทาก็ได้ หรือจะใช้ดอกสดผสมกับฮั่วเถ่าเช่าสดนำไปตำพอก หรือจะใช้ใยผลหรือรังบวบนำไปเผาไฟให้เป็นเถ้า แล้วนำไปผสมกับปูนขาวที่เก็บไว้นาน ๆ และผสมกับหย่งอึ้งบดเป็นผง แล้วนำไปต้มกับดีหมู ใส่ไข่ขาวผสมน้ำมันหอม นำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น แต่หากเป็นโรคริดสีดวงทวารที่เกิดจากการดื่มเหล้ามาก ๆ ก็ให้ใช้ใยผล รังบวบ) ที่เผาเป็นถ่านแล้ว นำไปบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากินครั้งละ ๖ กรัม ใบ,ดอก,ใยผล)[๑]
๒๙.หากเลือดน้อย ประจำเดือนของสตรีมาผิดปกติ ให้ใช้ผลนำไปเผาให้เป็นถ่าน ผสมกับเหล้ากินหลังอาหารตอนที่สบายใจ ส่วนใบและเถาก็มีสรรพคุณช่วยแก้ประจำเดือนที่ผิดปกติของสตรีเช่นกัน เถา,ใบ,ผล)[๑],[๒]
๓๐.ใบใช้เป็นยารักษาสตรีที่ตกเลือด ด้วยการนำใบไปคั่วให้เป็นถ่าน แล้วบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากินครั้งละประมาณ ๖-๑๕ กรัม ใบ)[๑]
๓๑.ช่วยบำรุงม้าม เถา)[๑]
๓๒.ใบนำมาตำใช้เป็นยาพอกทาถอนพิษในคนไข้ม้ามโต ใบ)[๒]
๓๓.ช่วยแก้อาการบวมน้ำ ด้วยการใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้น้ำจากเถาผสมกับน้ำตาลทรายกินพอประมาณก็ได้ (ราก,น้ำจากเถา)[๑],[๒],[๙]
๓๔.ใบสดนำมาตำพอกแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย แก้พิษคัน ใบ)[๙]
๓๕.ช่วยรักษาบาดแผลเรื้อรัง แผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเอาแต่น้ำใช้ชะล้าง หรือจะตำพอก หรือบดให้เป็นผงละเอียดผสมเป็นยาทาก็ได้ ใบ)[๑]
๓๖.หากเป็นแผลมีหนองและมีเนื้อนูน ก็ให้ใช้ผลสด นำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับผงเบญกานี Gall จากต้น Rhus chinensis Mill. แล้วนำมาใช้ทา ผล)[๑]
๓๗.น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดบวบเหลี่ยมสามารถนำมาใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ บ้างว่าใช้แก้โรคผิวหนังได้บางชนิด และถ้าบริสุทธิ์พอก็ใช้กินได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[๑],[๒],[๑๐]
๓๘.หากผิวหนังเป็นผดผื่นคันให้ใช้ใบสดผสมกับเมนทอล นำมาตำแล้วพอกหรือใช้ทาบริเวณที่เป็น ใบ)[๑]
๓๙.ใช้รักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้าง หรือจะตำพอก หรือจะบดให้เป็นผงละเอียดผสมเป็นยาทาก็ได้ ใบ)[๑]
๔๐.หากเป็นฝีบวมแดงและมีหนอง รักษาฝีไม่มีหัว ให้ใช้ดอกสดผสมกับฮั่วเถ่าเช่าสด นำไปตำใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น ดอก)[๑]
๔๑.ช่วยรักษาแขนขาเป็นเหน็บชา เถา)[๑]
๔๒.หากมีอาการปวดเอวเรื้อรัง ให้นำเมล็ดมาคั่วจนเหลือง แล้วบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากิน และให้นำกากมาพอกบริเวณที่มีอาการปวด เมล็ด)[๑]
๔๓.ผลมีสรรพคุณช่วยขับน้ำนมของสตรีที่มีน้ำนมน้อยหลังการคลอดบุตร หรือจะใช้ใยผล รังบวบ) ที่เผาเป็นถ่านแล้ว นำมาบดให้เป็นผงผสมกับเหล้ากินก็ได้ แล้วห่มผ้าห่มให้เหงื่อออกด้วย ผล,ใยผล)[๑]

หมายเหตุ : จากหนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ของ ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ได้ระบุไว้ว่า บวบเหลี่ยมมีสรรพคุณเหมือนกับบวบกลม บวบหอม) ผู้เขียนจึงได้นำสรรพคุณของบวบกลมในหนังสือดังกล่าวมาเขียนไว้ตาม [๑] แต่อย่างไรก็ตามบวบที่นิยมนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้น จะนิยมใช้บวบกลมมากกว่า [๑]

ข้อมูลทางเภสัชวิทาของบวบเหลี่ยม
• ในเมล็ดมีสารไขมันอยู่ประมาณ ๓๗.๕% มีโปรตีนประมาณ ๓๓.๔% และประกอบไปด้วยกรดอะมิโน และเมล็ดบวบที่มีรสขมจะมีสาร Cucurbitacin B ๐.๑๒%, น้ำมันประมาณ ๑๘.๔%, กรดไขมันไม่อิ่มตัวประมาณ ๘๐.๓%, กรดไขมันอิ่มตัวประมาณ ๑๙.๓๔% unsaponified matters ๑.๕% กรดไขมันได้แก่ Oleic acid, Palmitic acid, Stearic acid, Linoleic acid, และมี Lignoceric acid อีกเล็กน้อย [๑]
• เมล็ดบวบเหลี่ยมที่มีรสขมจะมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรงเนื่องจากมีสาร Elaterin ที่ทำให้ถ่าย ส่วนรากก็มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายเช่นกัSaponins) มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจกบ คล้ายกับดิยิลลิส Digitalis) ซึ่งสามารถย่อยเม็ดเลือดแดงสุนัขและเป็นพิษต่อปลาเป็นอย่างมาก และสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์จากเมล็ดบวบ




ที่มา (ภาพ-ข้อมูล) : facebook คุณ Sornchai Thaimongkolrat
ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
2885  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: #องค์ความรู้ภาษาวัฒนธรรม เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2560 19:10:24


อานุภาพแห่งรัก

ว่ากันว่าความรู้สึกที่เรียกว่า รัก มีหลากหลายรูปแบบ แต่ต่างก็มีอิทธิพลต่อจิตใจของมนุษย์เราได้อย่างไม่น่าเชื่อ

วรรคทองบทหนึ่งที่สามารถพรรณนาอานุภาพแห่งรัก ซึ่งทำให้มนุษย์ทั้งสุขและทุกข์ได้มากมายคือวรรคทองบทต่อไปนี้

เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก
แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน
ครั้นจืดจางห่างเหินไปเนิ่นนาน
แต่น้ำตาลก็ว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล

หนังสือ “กวีวัจน์วรรณนา วรรคทองในวรรณคดีไทยพร้อมประวัติและคำอธิบาย” ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า วรรคทองบทนี้มาจากเรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งแต่งโดยสุนทรภู่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนถึงปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

เป็นคำพูดของนางละเวงที่กล่าวตอบถ้อยคำอ่อนหวานของพระอภัยมณี ซึ่งได้นางเป็นชายาแล้ว และกล่าวถ้อยคำเล้าโลมนาง นางละเวงจึงแกล้งพ้อว่า พระอภัยมณีอาจพูดคำหวานให้นางหลงใหลไปเช่นนั้นเอง หากวันใดโอรสและอนุชาของพระอภัยมณี เข้ามารับพระองค์ไปแล้ว พระอภัยมณีก็คงจะทิ้งขว้างนางอย่างไม่ไยดี

วรรคทองบทนี้มีความหมายว่า ตามธรรมดาของคนเรา เมื่อยามรักกันหวานชื่น แม้แต่น้ำผักต้มที่มีรสขมก็ยังอาจชมว่ามีรสหวานได้ แต่เมื่อความรักจืดจางก็อาจติน้ำตาลที่มีรสหวานว่ามีรสเปรี้ยวและทำหมางเมินไปได้

ความดีเด่นของวรรคทองบทนี้อยู่ที่การแสดงอานุภาพของความรักที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ สุนทรภู่ใช้ความเปรียบง่ายๆ แต่แยบคายโดยเชื่อมโยงความรักกับการรับรสชาติต่าง ๆ

ความเปรียบที่ว่านี้สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อมีความรัก ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดูสวยงามสดชื่น แม้สิ่งที่ไม่น่าพึงปรารถนา เช่น ความขม ก็ยังรู้สึกว่าเป็นสิ่งดีมีค่าขึ้นมาได้ แต่เมื่อหมดรักแล้ว สิ่งที่คนทั่วไปนิยมว่าดี เช่น ความหวาน ก็เห็นเป็นตรงกันข้ามไปได้ ความรักจึงทำให้มนุษย์มองและตัดสินสิ่งต่างๆ ตามใจปรารถนาโดยปราศจากเหตุผล.


"องค์ความรู้ภาษาวัฒนธรรม"
อารยา ถิรมงคลจิต. นสพ.เดลินิวส์

2886  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2560 19:00:53
.
             
คติ - สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย


พืชพรรณในพุทธศาสนา : ต้นโพธิ์

ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ใหญ่ ชื่อจริงในภาษาบาลีชื่อว่า อัตสัตถะ แต่ที่เรียกต้นโพธิ์เนื่องจากเป็นต้นไม้ใหญ่อันเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในขณะตรัสรู้

การจะเรียกต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น ต้องเรียกว่า ต้นศรีมหาโพธิ และก็ใช้เรียกหน่อที่เติบโตจากต้นศรีมหาโพธิเช่นเดียวกัน

คำว่า โพธ แปลว่า ความรู้ ความเข้าใจ

โพธิ์ แปลว่า ความตรัสรู้ คือความรู้ในความเป็นจริงที่เรียกว่า รู้ในอริยสัจ

พุทธหรือพุทธะ เป็นคำนาม แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้ว

คำว่า ตรัสรู้หรือความรู้ในความจริง หมายความในทางภาษาเรียกว่า รู้แจ้ง รู้ชัด

ในความหมายที่ปรากฏอยู่ในปฐมเทศนา พระพุทธเจ้าได้กล่าวแก่ปัญจวัคคีย์มีถ้อยคำบางคำที่บอกถึงความหมายของคำว่ารู้แจ้งรู้ชัด

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชา แสงสว่างได้บังเกิดแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คำว่า จักษุ ญาณ ปัญญา วิชา แสงสว่าง หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ อย่างที่สุด

ในภาษาอังกฤษน่าจะหมายถึงคำว่า ENLIGHTMENT

มีความเชื่อกันในประเทศไทยว่า ได้มีการนำหน่อศรีมหาโพธิมาปลูกและเจริญเติบโตในประเทศไทยอยู่หลายแห่ง เช่น ที่อำเภอศรีมหาโพธิ ปราจีนบุรี เป็นต้น

วัดวาอารามทางพุทธศาสนาหลายแห่งจึงมักจะปลูกหน่อศรีมหาโพธิไว้เป็นสัญลักษณ์ที่เรียกว่าบริโภคเจดีย์ เพื่อระลึกถึงสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าและหมายทางนามธรรมก็คือ ณ ที่นี้ พระพุทธศาสนาอันหมายถึงความรู้แจ้ง รู้จริง ในอริยสัจนั้น ได้หยั่งรากลง ณ ที่นี้แล้ว



ความหมายของเลข ๑๖ ยันต์โสฬสมหามงคล

หนังสือวัดพระเมรุราชิการาม พิมพ์ขึ้นเพื่อสมโภช ๕๑๓ ปี วัดหน้าพระเมรุ ได้กล่าวถึงยันต์ ทำด้วยแผ่นดินเผาติดเหนือประตูทางเข้าพระอุโบสถ ๒๑ แผ่น มี จารึกแผ่นแรก แปลความว่า "ท่านผู้เจริญ ขอให้ทานศีล เนกขิมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ อธิษฐาน เมตตา จงมาแก่ท่านทั้งหลาย ขอศัตรูของท่านคงหลีกลี้"

ส่วนแผ่นที่ ๒ ก็แปลความหมายคล้ายกันคือ "เชิญท่านผู้เจริญทั้งหลาย คือ ทาน ศีล เนกขิมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน พร้อมเมตตา อุเบกขา มา ณ ที่นี้ จงจับอาวุธขึ้น ต่อยุทธ

คาถานี้เรียกว่า คาถาอาวุธหรือคาถาอายันตุโภนโต หรือคาถาพระพุทธเจ้าปราบมาร (ลักษณะของคาถาก็คือ บารมี ๑๐ ทัศ ของพระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า)

สิ่งที่ปรากฏเป็นยันต์นั้นเรียกว่า ยันต์โสฬสมงคล ในหนังสือนี้อธิบายว่า ยันต์โสฬสมงคล เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งมงคล ๑๖ อย่าง เช่น เลข ๙ แทนโลกุตรธรรม ๙ อย่าง คือ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ เลข ๕ แทนพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ในภัทรกัลป์นี้

ตัวเลขในกรอบชั้นกลาง เรียก ตรีนิสิงเห หมายถึง เลข ๓ ตัว ๔ ชุด โดยวัตถุประสงค์คือ นำตัวเลข ๓ ตัวมารวมกันได้เท่ากับ ๑๕ โดยทุกกลุ่มจะมีเลข ๕ ที่น่าจะหมายถึงพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ เป็นแกนหลัก ส่วนชั้นใน ก็ประกอบด้วยตัวเลข ๙ ตัว เช่นเดียวกับชั้นนอก แต่จะแปลความหมายเพิ่มเติมไปอีกเล็กน้อย

ในหนังสือรอยสักสยามให้ความหมายของเลขในยันต์ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาไว้ดังนี้
เลข ๑ หมายถึงคุณแห่งนิพพาน
เลข ๓ หมายถึงคุณแห่งพระรัตนตรัย
เลข ๔ หมายถึงคุณแห่งมรรคผล ๔ หรือพรหมวิหาร ๔
เลข ๕ หมายถึงคุณแห่งศีล ๕
เลข ๘ หมายถึง คุณแห่งพระกรรมฐาน
เลข ๙ หมายถึงคุณแห่งมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
เลข ๑๐ หมายถึงคุณแห่งครูบาอาจารย์
เลข ๑๔ หมายถึงคุณพระสงฆ์เจ้า
เลข ๓๘ หมายถึงคุณพระธรรมเจ้า เป็นต้น

ในความหมายอื่น สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ ให้ความหมายที่ต่างไปจากความหมายในหนังสือวัดพระเมรุราชิการาม ก็คือ ตัวเลข ๑๖ ตัว ชั้นนอก หมายถึง ภูมิชั้นรูปพรหม ซึ่งมี ๑๖ ชั้น และหมายถึงพุทธคุณแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๖ ประการด้วย

ยันต์โสฬสมงคลนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ประดิษฐานไว้ที่ส่วนยอดของเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เพื่อ เป็นมงคลแห่งความเจริญรุ่งเรือง





ความหมายของเลข ๓

เลข ๓ ความหมายกับคุณแห่งพระรัตนตรัย ในรูปแบบของพระรัตนตรัยที่แสดงในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นรูปแก้วที่มีสัณฐานดังรูปไข่ ในพานที่มีเปลวไฟแห่งปัญญาล้อมอยู่บนแก้ว

พระรัตนตรัย หมายถึงแก้วหรือสิ่งประเสริฐ ๓ ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในความหมายของพระพุทธ หมายความถึง ผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบาน ผู้รู้ หมายถึง ผู้รู้ในธรรมชาติหรือความจริงทั้งปวง ทั้งความเป็นไปในโลกและเรื่องเหนือโลก หรือ โลกุตตรพุทธ จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ

๑) ปัจเจกพุทธ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยตนเอง แต่มิได้สั่งสอนผู้ใดให้รู้ตามได้
๒) สัมมาสัมพุทธ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยตนเอง และได้สั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ตามไปด้วย
๓) สุตตันตพุทธ หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

พระธรรม หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้าให้ประพฤติดี ประพฤติชอบ เพื่อให้ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบได้รู้ได้ตื่นได้เบิกบานด้วยความจริงทุกประการ

พระธรรมของพระพุทธเจ้าเรียกเป็นภาษามนุษย์ว่า พระไตรปิฎก ได้แก่ พระสุตตันตปิฎก หมายถึง พระธรรมคำสอน คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสบอกตรัสสอนให้เหมาะกับวิสัยและสติปัญญาของสาวก

พระวินัยปิฎก หมายถึง ข้อกำหนดในการประพฤติปฏิบัติของบุคคลในระดับต่างๆ

พระอภิธรรมปิฎก หมายถึง หมวดคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นเรื่องที่มิใช่เกี่ยวกับบุคคลหรือเหตุการณ์ใดๆ เป็นเรื่องทางทฤษฎี

พระสงฆ์ หมายถึง องค์คณะของผู้เป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระสงฆ์แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ อริยสงฆ์ หมายถึง พระสงฆ์ผู้บรรลุคุณธรรมพิเศษ ตามลำดับดังนี้ คือ
๑.พระโสดาบัน ๒.พระสกทาคามี ๓.พระอนาคามี ๔.พระอรหันต์

พระอรหันต์แบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ ๑.พระสุกขวิปัสสก พ้นจากกิเลส ๒.พระเตวิชชะ รู้การดับการเกิดของสัตว์ ๓.พระฉฬภิญญะ เป็นผู้แสดงฤทธิ์ได้ ๔.พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ แตกฉานในปัญญา หรือแตกฉานในการอธิบายธรรม ด้วยใจความของธรรมมาตั้งเป็นหัวข้อ สืบสวนไปหาเหตุผลได้ แตกฉานในภาษา รู้จักใช้ภาษาให้คนทั่วไปเข้าใจ แตกฉานในไหวพริบ

สมมติสงฆ์ หมายถึง สงฆ์ที่ยังศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย หรือประพฤติปฏิบัติเพื่อให้สิ้นทุกข์




พุทธศิลป์ในความหมายแห่งธรรม

หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว คำสอนทางพุทธศาสนาก็ขยายตัวออกไปทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียกลางอันได้แก่ ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน และบางพื้นที่ในสหภาพโซเวียตเดิม

ในช่วงราวปี พ.ศ.๕๐๐-๕๕๐ ภายหลังจากการขยายตัวของอาณาจักรกรีกโบราณ ชาวกรีกได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเอเชียกลาง ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาและความเชื่อในเทพเจ้าของกรีก การสร้างพระพุทธรูปแบบแรกจึงเกิดขึ้น

เรียกว่าพระพุทธรูปสมัยคันธาระ

ในสมัยนี้มีพระพุทธรูปปางต่างๆ อยู่ ๙ ปาง ได้แก่ ปางมารวิชัย ปางปฐมเทศนา ปางอุ้มบาตร ปางประทานพร ปางประทานอภัย ปางลีลา ปางมหาปาฏิหาริย์ และปางปรินิพพาน

ที่นิยมกันก็คือ ปางปฐมเทศนา ซึ่งจัดเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สมัยคุปตะ แบบคันธาราฐที่สวยงามมาก ในความหมายแห่งธรรมของปางปฐมเทศนา

ตามรูป เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์เบื้องขวาตั้ง พระหัตถ์เป็นวงกลม เป็นเครื่องหมายแห่งธรรมจักร พระหัตถ์ซ้ายซ้อนพระหัตถ์ขวาเป็นวงกลมซ้อนกัน อันหมายถึงธรรมจักร หรือธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นพระธรรมคำสอนครั้งแรกที่เทศนาต่อปัญจวัคคีย์ ถึงวิถีทางแห่งการพ้นทุกข์ ก็คือการที่จะไม่ประพฤติปฏิบัติตนดังนี้

๑.การแสวงหาความสุขทางกามคุณ ได้แก่ ความกำหนัด รักใคร่ ยินดี ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ที่พึงพอใจ
๒.การไม่ปฏิบัติตนให้ได้รับความทุกข์ยากลำบาก ที่ทำให้เกิดทุกข์ ทรมานแก่ตน
๓ส่วนแนวทางการประพฤติปฏิบัติให้ถึงการพ้นทุกข์ก็คือ ความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงและการปฏิบัติตามแนวทางในเรื่องของอริยสัจ ๔ ได้แก่
     ทุกข์ ความจริงของความทุกข์
     สมุทัย เหตุเกิดของทุกข์
     นิโรธ ทางแห่งการดับทุกข์
     มรรค วิถีทางแห่งการปฏิบัติให้พ้นทุกข์

หนทางแห่งการพ้นทุกข์ก็คือ การปฏิบัติตนในวิถีทางของอริยมรรค อันมีองค์ ๘ คือ ๑.ความเห็นชอบ ๒.ดำริชอบ ๓.วาจาชอบ ๔.การงานชอบ ๕.เลี้ยงชีพชอบ ๖.เพียรชอบ ๗.ระลึกชอบ ๘.ตั้งจิตชอบ  




พุทธศิลป์

หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วประมาณ ๓๐๐ ปี มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ซึ่งมีผลให้เกิดความเชื่อในทางพุทธศาสนาที่แตกกันเป็น ๒ ฝ่าย เรียกว่า มหายานกับเถรวาท

ความเชื่อที่แตกต่างกันในความเป็นพระพุทธเจ้าของทั้ง ๒ ฝ่ายก็คือ ฝ่ายมหายานเชื่อว่า พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมีมามากมายหาที่สุดมิได้ ไม่น่าที่จะปรินิพพานแล้วหมดสิ้นไป น่าจะยังคงปรากฏอยู่และเทศนาธรรมให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายอยู่ในดินแดนที่มิใช่สังสารวัฏอีกต่อไป

พระพุทธเจ้าในฝ่ายของเถรวาทเชื่อว่า เมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้วย่อมไม่ปรากฏ ณ ที่ใดอีก

นอกจากนี้ ความเป็นพระพุทธเจ้ายังมีข้อปลีกย่อยเล็กน้อยที่ขยายความเป็นพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าในฝ่ายเถรวาทก็คือ ผู้บรรลุอนุตระสัมมาสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เอง และออกเทศนาสั่งสอนธรรมะผู้อื่นให้บรรลุธรรมหรืออริยสัจ ๔ แต่ถ้าพระพุทธเจ้าองค์ใดไม่ได้ออกสั่งสอนผู้คนให้เข้าใจในพระธรรมก็เรียกว่า ปัจเจกพุทธเจ้า

ในฝ่ายของมหายานนั้นการจะเป็นพระพุทธเจ้าซึ่งบรรลุพระอนุตระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะเรียกว่า พุทธภาวะ ก็คือต้องประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ได้แก่ โพธิจิต มหากรุณา และศูนยตา

นอกจากนี้ในฝ่ายมหายาน พระพุทธเจ้ายังมีความหมายในหลักเรื่องตรีกาย หมายถึง กายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้า ได้แก่

– นิรมานกาย หมายถึง กายที่เปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพของสังขารในฐานะที่เป็นมนุษย์ พระศากยมุนีผู้ท่องเที่ยวอยู่บนโลก สั่งสอนธรรมแก่สาวกของพระองค์ และดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา

– สัมโภคกาย หมายถึง กายแห่งความบันเทิง มีลักษณะเป็นทิพยภาวะรุ่งเรืองแผ่ซ่านปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

– ธรรมกาย หมายถึง กายแท้จริงอันเป็นสภาวธรรม ในฐานะเป็นสภาพสูงสุด หลักแห่งความรู้ ความกรุณา และความสมบูรณ์

ดังนั้น ภาพของพระพุทธเจ้าของทั้ง ๒ ฝ่าย หรือพุทธศิลปในรูปของพระพุทธเจ้า จึงมีนัยยะแห่งธรรมที่แตกต่างกัน และแสดงความหมายของธรรมที่แตกต่างกัน แต่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือการสั่งสอนผู้คนให้รู้ถึงวิถีทางของการพ้นทุกข์

ความเหมือนและคล้ายกันในความเชื่อของพระพุทธเจ้าที่เป็นพุทธศิลปอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ การพระพุทธเจ้าสำคัญฝ่ายละ ๕ พระองค์ ซึ่งแม้แต่ละฝ่ายก็อ้างถึงจำนวนพระพุทธเจ้านั้นมีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วนก็ตาม

พระพุทธเจ้าสำคัญของฝ่ายมหายาน ๕ พระองค์ ปรากฏนามคือ พระไวโรจนะ พระอักโษกยะ พระอโมฆสิทธิ์ พระรัตนสัมภวะ และพระอมิตะพุทธ หรืออมิยุส

ฝ่ายของเถรวาท ๕ พระองค์ เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ๔ พระองค์ คือ พระกกุสันธะหรือกะกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสปะ และพระสมณโคดม โดยจะมีพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้องค์ต่อไปคือ พระศรีอาริยเมตไตย์

จากความแตกต่างที่เหมือนกันในความเข้าใจในความเป็นพระพุทธเจ้า ดังนั้น เมื่อจะอธิบายความเป็นพระพุทธเจ้า รูปของพระพุทธเจ้า ภาพหรือลักษณะของพระพุทธรูป ท่าทางของพระพุทธรูปที่แสดงธรรมะในความเป็นพุทธศิลป์จึงแตกต่างกัน แต่วัตถุประสงค์จะอธิบายธรรมข้อใด ศิลปินก็จะกำหนดหรือเลือกท่าทาง อุปกรณ์ เครื่องทรง เพื่อธรรมในข้อนั้น ให้ผู้ที่ดูที่เคารพพระพุทธรูปได้เข้าใจธรรมะในบทนั้น

ดังจะได้บรรยายเป็นรายละเอียดในตอนต่อไป  




ธงและสี

โดยปกติทั่วไปของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมักจะไม่เน้นความสำคัญและความหมายของสีเหมือนฝ่ายมหายาน ที่ใช้สีเป็นสัญลักษณ์ของ "ธาตุ" ที่แปลความหมายว่า สิ่งที่ทรงอยู่ตามสภาวะของมันเองตามธรรมดาของเหตุ ของปัจจัย เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ สภาวะของที่ว่าง และสภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์หรือเป็นความหมายของคุณลักษณะพิเศษเฉพาะของธยานิพุทธะหรือพระพุทธเจ้าที่เป็นสัมโพคกาย ๕ พระองค์

ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ได้มีการออกแบบธงที่เป็นเครื่องหมายของความเป็นพุทธศาสนาเป็นธง ๖ สี ที่นับเอารังสีที่เรียกว่าฉัพพรรณรังสี อันเชื่อกันว่าเป็นสีของรัศมีที่แผ่ออก จากพระกายพระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า (ซึ่งน่าจะหมายความถึงผู้ที่มีอภิญญา ๖ หรือความ รู้อันยิ่งยวด ๖ ประการ)

ความหมายของสีมีดังนี้

สีเขียว หรือน้ำเงิน หมายถึง พระกรุณาธิคุณ

สีเหลืองหมายถึง ทางสายกลาง (ที่แปลว่าการไม่บำเรอตนด้วยกามคุณหรือไม่ทำตนให้ยากลำบาก)

สีแดงหมายถึง ความสมบูรณ์พร้อมด้วยสติปัญญา

สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ของพระธรรม

สีแสด หมายถึง พระปัญญาคุณ

สีประภัสสร หมายถึง ความจริงทั้งหมดแห่งคำสอน




ธงฉัพพรรณรังสี

จากธงฉัพพรรณรังสีที่เป็นสัญลักษณ์ ที่หมายถึงคุณลักษณะพิเศษของพระพุทธเจ้าสมณโคดมพระพุทธเจ้าฝ่ายเถรวาทนั้นสีที่ เป็นความหมายของคุณพิเศษของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายานที่ปรากฏว่าพระธยานิพุทธ ๕ พระองค์ต่างก็มี สีประจำองค์ที่เป็นบุคลิกหรือคุณพิเศษดังนี้

พระไวโรจนะพุทธ เป็นประธานของพระธยานิพุทธ ๕ พระองค์ รูปกายสีขาว แทนแสงสว่างหรือปัญญาญาณหรือความรู้ที่เปรียบดั่งแสงอาทิตย์ไปทำลายความมืดบอดของอวิชชา

พระอักโษภยะพุทธ รูปกายสีน้ำเงิน อันเป็นสีของท้องฟ้ายามรุ่งอรุณหรือความสงบนิ่งไม่หวั่นไหวต่อกิเลสทั้งปวง

พระรัตนสัมภวะพุทธ รูปกายสีเหลืองหรือสีทอง ที่สะท้อนแสงแดดอันอบอุ่นของเที่ยงวัน เป็นถึงความเท่าเทียมกันที่จะรู้แจ้งของทุกสิ่งในธรรมชาติหรือหมายถึงปัญญาญาณที่ไม่มีขีดจำกัด

พระอโมฆสิทธิพุทธ รูปกายสีเขียวประกาย เป็นสีของธรรมชาติ อันสงบนิ่ง ผ่อนคลาย ปลอดภัย สื่อถึงเสรีภาพ สะท้อนถึงปัญญาญาณในลักษณะที่การคิดเพื่อตนเองหมดสิ้นลง

พระอมิตาภพุทธ รูปกายสีแดงหม่น อมิตาภะ หมายถึงแสงสว่างที่ไร้ขอบเขต และแสงธรรมอมตะ หรือปัญญาคุณคือความรอบรู้ที่ครอบคลุมไปทั่ว




ธงและตุง

ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเป็นหลัก เช่น จีน ทิเบต ภูฏาน สิกขิม เนปาล รวมถึงญี่ปุ่นบางส่วนด้วยนั้น ใช้ธงเป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาหลายรูปแบบ แล้วเรียกธงเหล่านี้ว่า ธงมนต์

ธงมนต์จะติดตั้งไว้ในพื้นที่ที่จะให้กระแสลมพัดผ่าน เพื่อให้โชคหรือความดีผ่านไปสู่ผู้คน อันทำให้ผู้คนมีความสุข

ภาพที่นำมาแสดง เป็นรูปของกลุ่มธงที่มักจะติดตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา เป็นกลุ่มธงมีสีขาวหรือสีแดงปักรวมกัน พื้นธง มักจะมีรูปม้าสีขาว มีเครื่องทรงบรรทุกสัญลักษณ์ของยาอายุวัฒนะ

คติและความเชื่อในส่วนนี้ก็คือ ธง สีขาวที่มีรูปม้าปรากฏในธงม้าเป็นสัญลักษณ์ของการติดต่อสื่อสาร ความเร็วและการเข้าถึง ม้าเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของลม ที่จะนำมาซึ่งความยั่งยืน อันเป็นโชคไปสู่ผู้คน หางม้าหรือธงที่ปลิวไสวหมายถึง ความอิสรเสรีที่กระจายไปสู่ผู้คนทั้งปวง

ส่วนกลุ่มธงแดงจะเป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาดี ในอันที่จะส่งความสุขความยั่งยืนให้แก่ผู้ที่จากไปสู่ภพอื่น (มักจะอยู่ในบริเวณที่มีการทำพิธีที่เรียกว่า ทิฆัมพรฌาปณกิจ)





ธง-ตุง

คําว่า ธง ในพจนานุกรมสถาปัตยกรรมของ ผศ.โชติ กัลยาณมิตร แปลว่า ผืนผ้าสีที่ใช้เป็นเครื่องหมายของหมู่คณะหรือบุคคล หรือใช้เพื่อหมายให้รู้ในการใดการหนึ่ง

คำว่า ตุง แปลว่า ธง ในภาษาพูดของชาวเหนือ

ธงหรือตุง ที่ใช้ในทางพุทธศาสนาเป็นสัญลักษณ์ที่ทำขึ้นด้วยความมุ่งหมายเป็นพุทธบูชา คงจะมีชื่อตามวัสดุและรูปแบบที่ใช้ เช่น ตุงกระด้าง เป็นตุงที่ทำด้วยไม้ แกะสลักเป็นรูปพญานาคเลื้อยพันกันสำหรับบูชาพระ ทำได้เฉพาะกษัตริย์เท่านั้น

ตุงไชย เป็นตุงที่ทำด้วยเชือกห้อยรอยต่อกัน มีลักษณะเป็นคติจักรวาลหรือพุทธเกษตร

ตุงห้อย เป็นตุงที่ทำด้วยผ้าต่อกันเป็นชิ้น ติดตั้งบูชาพระพุทธเจ้าในพระอุโบสถหรือวิหาร

ส่วน ตุงสามทาง มิใช่สัญลักษณ์ของการบูชาพระพุทธเจ้า หากเป็นสัญลักษณ์ของความตายบุคคลทั่วไป

ในคติฝ่ายเถรวาทในประเทศไทยนั้น ธงนอกจากจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของการบูชาพระพุทธเจ้า ยังใช้ธงในสัญลักษณ์อื่นอีก ๒ ประการ คือ ในฐานะ LANDMARK หรือจุดเด่นสะดุดตา หรือเครื่องหมายแห่งความสำคัญของพื้นที่นั้น

ในอีกสัญลักษณ์หนึ่ง ตุงห้อย หมายถึง บันไดที่เชื่อมสวรรค์กับโลกมนุษย์ โดยมีความหมายถึงบันไดที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ เมื่อขึ้นไปโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดุสิต

ในฝ่ายมหายาน เรียกธงชนิดหนึ่งว่า ธงมนต์ ซึ่งภายในธงจะมีคาถาหรือคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือบทสวดมนต์ หรือภาพของพระโพธิสัตว์หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งที่มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนิกชน นอกจากนี้ ในการติดตั้งธงมนต์ของฝ่ายมหายานโดยเฉพาะวัชรยานหรือมนตรายานนั้น

หากติดธงมนต์ที่บ้านก็เพื่อความสุขจะเกิดขึ้นจากการสะบัดของธงที่ต้องลมพัด ซึ่งจะเท่ากับเป็นการสวดมนต์ ขับไล่สิ่งชั่วร้าย และนำความสุขสมบูรณ์มาสู่บ้าน หากติดตั้งไปตามภูเขา ป่าไม้ ก็เป็นการแสดงถึงความสำคัญของพื้นที่ ลมที่พัดมนต์จะพัดเอาคาถาหรือความเมตตาของเทพในธงนั้นไปบันดาลความสุขให้กับผู้ติดตั้งธงนั้น


ที่มา : คติสัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย
โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
หนังสือพิมพ์ข่าวสด


2887  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / แกงเหลืองหน่อไม้ดองกับสันคอหมู เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2560 07:30:26



แกงเหลืองหน่อไม้ดองกับสันคอหมู

ส่วนผสม
- หน่อไม้ดอง 100 กรัม
- สันคอหมู 150 กรัม
- กระเทียมไทย 5 กลีบ
- หอมแดง 3 หัว
- ขมิ้นยาว 1 เซนติเมตร
- พริกขี้หนูสด 25 เม็ด
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- กะปิใต้ 2 ช้อนชา
- ข้าวสาร 1 ช้อนชา (ช่วยทำให้น้ำแกงข้น)
- น้ำปลาดี
- น้ำตาลปีบ


วิธีทำ
1.โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด (พริกสด กระเทียม หอมแดง ข้าวสาร ขมิ้น เกลือ และกะปิ)
2.ล้างหน่อไม้ให้สะอาด พักไว้
3.ล้างหมูให้สะอาด หั่นชิ้นพอคำ
4.ใส่น้ำสะอาด 1 ถ้วยตวงในหม้อเคลือบ ยกขึ้นตั้งไฟ พอน้ำเริ่มร้อนใส่พริกแกงเคี่ยวสักครู่
   ใส่หน่อไม้ดอง เนื้อหมู ปรุงรสด้วยน้ำปลาดี และน้ำตาลปีบเล็กน้อย (ถ้าอ่อนเปรี้ยวปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก)









2888  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: นางนพมาศ (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) และประเพณีในสมัยกรุงสุโขทัย เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2560 16:21:49


http://www.sookjaipic.com/images_upload/60349452123045_45.jpg


พิธีพิรุณศาสตร์

พระราชพิธีพิรุณศาสตร์ นี้ แต่ก่อนนี้คงมีแต่พิธีพราหมณ์อย่างเดียว ครั้นต่อมาได้เกิดพิธีสงฆ์ คือทำรวมกันขึ้น ในสมัยปัจจุบันพระราชพิธีไม่มีแล้ว เพราะอาจถือว่าเป็นพิธีไม่ค่อยน่าดู แต่อย่างไรก็ตาม บางชนบทก็ยังมีพิธีนี้อยู่ เรียกว่า ประเพณีแห่นางแมว

ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีนี้ว่า เป็นประเพณีของพราหมณ์อ่านพระเวทขอฝนจากพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหมและพระมหาพิฆเณศวร์ ตลอดจนเทวดาทั้งหลาย กล่าวไว้ดังนี้ คือ
“ครั้นถึงเดือน ๙ พราหมณาจารย์ก็พร้อมกันกระทำการพระราชพิธีพรุณศาสตร์ตั้งเกยสี่เกยที่ลานหน้าพระเทวสถานหลวง ประดับด้วยฉัตรธง อันกระทำด้วยหญ้าคา หญ้าตีนนก อ่างทองสัตโลหะสี่อ่าง อ่างหนึ่งเต็มไปด้วยเปลือกปลูกชาติสาลีมีพรรณสองคือ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว สามอ่างนั้นใส่มูลดินอันเจือด้วยโคมัย ปลูกถั่วงาอ่างหนึ่ง ปลูกม่วงพร้าวอ่างหนึ่ง ปลูกหญ้าแพรกอ่างหนึ่ง หญ้าละมานอ่างหนึ่ง ลงยันต์พรุณศาสตร์ปักกลางอ่างๆ ละคน ตั้งไว้บนนางกระดานแป้นปักตรงหน้าเกย ครั้นถึงวันกำหนดฤกษ์ หมู่พราหมณ์ทั้งหลายมีพระครูพรมพรตพิธีศรีบรมหงส์เป็นประธาน ต่างน้อมปัญจางค์บวงสรวงสังเวยพระเจ้าตั้งสัตยาธิษฐาน ขอให้ฝนตกชุกชุมทั่วทุกอาณานิคมเขตขอบขัณฑสีมา กรุงพระมหานครสุโขทัยราชธานีบุรีรัตน์ให้ชุ่มแช่ชาติสาลีอันมีพรรณต่างๆ ซึ่งเป็นของเลี้ยงชีพชนประชาชนชายหญิง สมณพราหมณาจารย์ทั่วทั้งแผ่นดินจงบริบูรณ์ด้วยเมล็ดรวง ปราศจากด้วงแมลง ด้วยอำนาจวัสสวลาหกและพรพระสยม อนึ่งโสตอันว่าลดาชาติทั้งหลายมีถั่วงาเป็นต้น ขอจงบริบูรณ์ด้วยพืชผลให้ล้นเหลือ จะได้เป็นเครื่องกระยาบวชบำบวงสรวง อนึ่งเล่าพรรณรุกชาติต่างๆ มีม่วงพร้าวเป็นต้น ขอจงบริบูรณ์ด้วยดอกดวงพวงผล จะได้เป็นอาหารแห่งหมู่มนุษยนิกรทั้งผอง ประการหนึ่งตฤณชาติต่างพรรณอันเขียวขจิตงามด้วยยอดและใบ มีหญ้าแพรก หญ้าละมานเป็นต้น สำหรับเป็นภักษาหารช้างม้า โคกระบือ ขอจงงอกงามตามชายหนองคลองน้ำไหล ด้วยอำนาจวัสสวลาหกให้บริบูรณ์ ครั้นกล่าวคำอธิษฐานแล้ว จึ่งพราหมณาจารย์ทั้งสี่ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระเวทเพทางคศาสตร์แต่งกายสยายมวยผม นุ่งอุทกสาฎกถือเอาธงปฏากสีมอดุจเมฆมืดฝน อันรายยันต์พรุณศาสตร์ตามขอบข้างละสี่คู่ ซึ่งปักบูชาไว้คนละคันโดยสัจเคารพพระครูพรมพรตพิธีเป่าสังข์ดำเนินนำหน้าหมู่พราหมณ์ทั้งหลาย ก็แห่ห้อมออกจากพระเทวสถานไปยังเกย ขึ้นสถิตยืนอยู่บนเกย เกยละคนต่างอ่านโองการประกาศแก่วัสสลาหกตามตำรับอิศวรเวทขอฝน สิ้นวาระสามดาบ โบกธงธวัชกวัดแกว่งบริกรรมอิศวรเวทขอฝน สิ้นวาระสามคาบ โบกธงธวัชกวัดแกว่งบริกรรมอิศวรเวทขอฝน ตามตำรับไตรเพท สิ้นวาระสามคาบแล้วก็ลงจากเกยคืนเข้าสู่พระเทวสถาน พราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้พระมนต์พรุณศาสตร์ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นยืนบนเกย โบกธงร่ายเวทขอฝนวันละสองเพลา คือ เช้าและเย็นถ้วนคำรบสามทิวาในวันนักขัตฤกษ์ อันว่าการพระราชพิธีพรุณศาสตร์นี้ ข้าน้อยมีอายุ ๗ ขวบปลาย ได้ตามพระศรีมโหสถผู้เป็นบิดาไปทอดทัศนาครั้งหนึ่ง จึ่งจำไว้ได้ฯ”

ถ้าจะสังเกตให้ดี จากข้อความดังกล่าว เราจะเห็นว่าพิธีในสมัยสุโขทัย ไม่มีการปั้นรูปบุรุษกับสตรีเปลือยกาย ตามแบบฉบับจริงของพิธีพิรุณศาสตร์ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ หรืออาจเป็น นางนพมาศผู้เขียนอายุยังน้อยและไม่ทราบถึงความสำคัญในการปั้นรูปเปลือยจึงไม่ได้นำมากล่าว หรืออาจนางเป็นสตรีผู้ดีพร้อมและไม่กล้าเอ่ยคำหยาบช้าเกี่ยวกับรูปปั้นเปลือย อันเป็นวิสัยของสตรีทั่วไปก็เป็นไปได้ตามข้อสันนิษฐานของผู้รายงานก็มีแต่เพียงสำหรับพระราชพิธีนี้


พิธีกวนข้าวทิพ

พิธีกวนข้าวทิพ ในสมัยปัจจุบันเรียกว่า พิธีสารทไทย ซึ่งส่วนมากเป็นวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ พิธีนี้เป็นการทำบุญในฤดูที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม เพื่อจะให้เป็นสิริมงคลในนา อีกอย่างหนึ่งเขาทำเพื่อเซ่นบุรพชน คือ บิดา ปู่ ทวด ที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อพิธีนี้ตกเข้ามาเมืองไทย ก็พลอยประพฤติตามพิธีของพราหมณ์ไปด้วย ผู้ที่เคยถือศาสนาพราหมณ์ เมื่อเคยทำบุญตามฤดูกาลให้แก่พราหมณ์ ครั้นกลับมาถือพระพุทธศาสนาเป็นเนื้อนาบุญวิเศษยิ่งกว่าพราหมณ์ เมื่อถึงกำหนดที่ตนเคยทำบุญก็ไม่ละเลยเสีย จึงได้จัดทำถวายพระสงฆ์เหมือนที่เคยทำบุญตามฤดูกาลให้แก่พราหมณ์ ครั้นกลับมาถือพระพุทธศาสนาเป็นเนื้อนาบุญวิเศษยิ่งกว่าพราหมณ์ เมื่อถึงกำหนดที่ตนเคยทำบุญก็ไม่ละเลยเสีย จึงได้จัดทำถวายพระสงฆ์เหมือนที่เคยทำกับพราหมณ์ ดังนั้น พิธีพราหมณ์จึงได้ระคนปนอยู่ในพุทธศาสนา กล่าวในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ดังนี้
“ครั้นถึงเดือน ๑๐ ถึงการพระราชพิธีภัทรบทเป็นนักขัตฤกษ์ มหาชนกระทำมธุปายาสทาน และจะเด็ดรวงข้าวสาลีเป็นปฐมเก็บเกี่ยว ชีพ่อพราหมณ์ทั้งปวงก็เริ่มการพลีกรรมสรวงสังเวยพระไพสพ ตั้งปัญจมหาสาครเต็มด้วยน้ำในพระเทวสถาน อบรมน้ำด้วยเครื่องสุคนธชาติและบุปผชาติให้มีกลิ่นหอมเป็นอันดีแล้วจึ่งเชิญพระเทวรูป ๑๖ ปางลงโสรจสรง อ่านพระเวทเผยศิวาลัย เพื่อจะให้บำบัดอุปัทวะจัญไรภัยพยาธิทุกข์โทษต่างๆ อันว่าหมู่พราหมณ์บรรดาซึ่งได้เล่าเรียนไตรเพท ย่อมถือลัทธิว่าเดือน ๑๐ เป็นปฐมครรภสาลี มหาชนจะเก็บเกี่ยวมากระทำมธุปายาสยาคูเลี้ยงพราหมณ์ เพื่อจะให้มงคลแก่ข้าวในนา อันเมล็ดรวงข้าวนี้เป็นปางพระไพสพ แม้ชาติพราหมณ์ผู้ใดยังมิได้ลอยบาปจะพึงบริโภคมธุปายาสและยาคูอันบุคคลกระทำด้วยปฐมครรภชาติสาลี ก็บังเกิดทุกข์โทษอุปัทวะจัญไรแก่ตน ทั้งปราศจากความสวัสดิมงคลแก่นรชาติทั้งหลาย เหตุดังนั้นพราหมณาจารย์ผู้รู้เพทางคศาสตร์ จึงกระทำพิธีภัทรบทลอยบาป ฝ่ายข้างพุทธศาสนาพระราชพิธีภัทรบทนี้ เป็นสมัยหมู่มหาชนกระทำมธุปยาสยาคู อังคาสพระภิกษุสงฆ์และเลี้ยงพราหมณ์ ทั้งบูชาพระรัตนตรัยพรรณผ้ากระทำเป็นธงแล้ว และอุทิศส่วนกุศลผลบุญให้แก่ญาติอันไปสู่ปรโลกเป็นปรมัตตูปชีวีเปรต และนักขัตฤกษ์พระราชพิธีภัทรบทนี้ พุทธศาสน์ไสยศาสตร์เจือกันโดยโบราณราช ครั้นถึง ณ วันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ แรมค่ำหนึ่ง หมู่พราหมณาจารย์ผู้ซึ่งจะลอยบาป มีพระศรีมโหสถบิดาข้าน้อยนี้เป็นต้น ต่างถือสังข์บ้าง กลดสัมฤทธิ์บ้าง มายังพระเทวสถานบูชาพระเป็นเจ้าแล้ว จึ่งเชิญปัญจมหานทีในขันสาครซึ่งสมมติว่าเป็นน้ำล้างบาปใส่สังข์ใส่กลด แล้วนำลงไปยังท่าน้ำพร้อมด้วยบริวารยศ แหงนหน้าดูดวงพระอาทิตย์อันส่องแสง แม้เห็นบริสุทธิ์ปราศจากเมฆหมอก จึงเอาเป็นฤกษ์ที่จะต้องลอยบาป บางคนกระทำในเพลาราตรี เอาบริสุทธิ์แห่งดวงจันทร์เป็นฤกษ์ พราหมณ์ทั้งหลายนั่งห้อยเท้าเหยียบสายน้ำไหล อ่านอิศวรอาคมสิ้นวาระสามคาบแล้ว จึงรินวารีในสังข์ในกลดลงในลำคงคา แล้วก็จุ่มกายสยายมวยผม อาบน้ำดำเกล้าชำระขัดสีกรัชกายให้ปราศจากเหงื่อไคล บริสุทธิ์สบายทั้งกายจิตเป็นอันดีแล้วจึงยืนยันฝั่งน้ำผลัดอุทกสาฏฟทั้งนุ่งห่มออกจากกาย วางเหนือแพหยวกบ้าง วางเหนือเฟือยสวะบ้าง ขอนไม้บ้าง ไสเสือกให้ลอยไปตามกระแสน้ำไหล ซ้ำร่ายพระเวทลอยบาปบอกบริสุทธิ์ต่อพระคงคา แล้วก็กลับคืนยังเคหฐานแห่งตน อันพิธีลอยบาปนี้ทำได้แต่ในสามวัน วันเป็นประถมนั้น พราหมณมหาศาลตระกูลยิ่งด้วยทรัพย์สมบัติศฤงคารบริวารยศลงลอย วันเป็นคำรบสองนั้นหมู่พราหมณาจารย์ผู้ชำนาญเพทางคศาสตร์อาคมลงลอย วันเป็นคำรบสามนั้น พราหมณ์ภิกขาจารซึ่งประพฤติวัตรปรนนิบัติต่างๆ ลอย ฝ่ายพุทธศาสตร์ราชบุรุษชาวพนักงานก็ตกแต่งโรงราชพิธีในพระราชนิเวศน์ ตั้งก้อนเส้าเตาเพลิงและภาระเครื่องใช้เบ็ดเสร็จ นายนักการละหานหลวงก็เก็บเกี่ยวครรภสาลีและรวงข้าว มาตากตำเป็นข้าวเม่าข้าวตอก ส่งต่อมนเพียรบาลวังเวรเครื่อง นายพระโคก็รีดน้ำขีรารสมาส่งตุดเดียวกัน ครั้นถึงวันรับพระราชพิธีภัทรบท คือวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เพลาเช้าเป็นวันธรรมดาฤกษ์ จึงสมเด็จพระอัครชายาทั้งสองพระองค์ทรงประดับพระบวรอินทรีย์ด้วยเครื่องขัตติยอาภรณ์ เสด็จยังโรงราชพิธีพร้อมด้วยประเทียบลูกขุน ทรงสถิตสุวรรณบัลลังก์กั้นเศวตฉัตรเจ็ดชั้น ดำรัสสั่งให้จ่าชาชาวเวรเครื่องทั้งมวล ตกแต่งมธุปายาสปรุงปนคนระเจือล้วนแต่ของโอชารส มีขัณฑสกรและน้ำผึ้ง น้ำอ้อยน้ำตาลทธินมสดเป็นต้น ใส่ลงในภาชนะซึ่งตั้งบนเตาเพลิง จึงให้สาวสำอางกวนมธุปยาสเป็นฤกษ์โดยสังเขป ชาวดุริยางค์ดนตรีก็ประโคมพิณพาทย์ฆ้องกลองเป่าเล่นการมหรสพ ระเบ็งระบำล้วนแต่นารี ครั้นกวนมธุปายาสสำเร็จแล้วก็กวนข้าวยาคู เอาถั่วงาระคนปนครรภสาลีที่แย้มยอดเจือด้วยขีรารสขัณฑสกรน้ำตาลกรวด ให้โอชารสสำเร็จเป็นอันดี ในเพลาเช้าวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เป็นประถมภัทรบทนี้ จึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าพระราชดำเนินออกวัดหน้าพระธาตุพร้อมด้วยราชสุริยวงศ์ และพระสนมกำนัลนางท้าวชาวชะแม่ โดยเสด็จทรงอังคาสพระมหาเถรานุเถระด้วยมธุปายาสยาคูขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตสำเร็จแล้ว จึงทรงบูชาพระรัตนตรัยด้วยธงพรรณพัสตร์สีต่างๆ อันชาวช่างฉลุฉลักเป็นรูปจิตรกรรมลดากรรมถวาย ทั้งสมณบริขารและคิลานเภสัชเป็นบริวารทานทั่วไปแก่พระภิกษุสามเณร แล้วก็ทรงสิโณทกอุทิศส่วนพระกุศล ส่งไปยังพระบรมญาติทั้งปลายในปรโลก อันว่านางในทั้งปวงต่างคนต่างถวายทานด้วยมธุปายาสยาคูธงปฎาก พวงบุปผามาลัย ตั้งจิตแผ่ส่วนกุศลไปให้แก่หมู่ญาติซึ่งมรณะ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในนักขัตฤกษ์พระราชพิธีภัทรบทถ้วนสามทิวาวันโดยนิยมดังกล่าวนี้แล้ว จึงโปรดให้ประชุมพราหมณาจารย์มากกว่าร้อย ณ พระเทวสถานหลวง ดำรัสสั่งชาวพนักงานให้เลี้ยงพราหมณ์ด้วยมธุปายาสยาคูต่อไปสิ้นคำรบสามวันทั้งพระราชทานคู่ผ้าสาฎกทั่วทุกตัวพราหมณ์ อันหมู่พระสนมกำนัลซึ่งถือไสยศาสตร์ด้วยนั้น ก็สักการระหมู่พราหมณ์ด้วยมธุปายาสยาคู ผ้านุ่งห่มเพื่อจะให้เป็นมงคลแต่ตัว  อนึ่งโสด มหาชนชายหญิงมีขัตติยตระกูลเป็นต้น บรรดาซึ่งเป็นสัมมาทฤษฐินับถือพระรัตนตรัยนั้น ที่มีไร่ละหานต่างก็เกี่ยวกับรวงข้าวมาตากตำกระทำเป็นมธุปายาสยาคู เจือด้วยน้ำนมสดอังคาสพระภิกขุสงฆ์เอิกเกริกไปทุกบ้านทุกเรือน บ้างก็ยกธงผ้าแพรขึ้นบูชาพระสถูปเจดีย์ บ้างก็อัญเชิญพราหมณ์มาเลี้ยงด้วยปายาส ถึงว่าชาติตระกูลพราหมณ์ ถ้าผู้ใดถือพุทธศาสน์ด้วยก็ตกแต่งมธุปายาสยาคูอังคาสพระภิกษุสงฆ์ ทั้งยกธงบูชาพระรัตนตรัยและเลี้ยงพราหมณ์ ตั้งแต่วันภัทรบทจนบรรจบสิ้นเดือน ชนประชาชายหญิงชาวพระนครทุกตระกูลกระทำกองการกุศลด้วยมธุปายาสยาคูติดต่อกันไปมิได้ขาดวันเป็นที่บันเทิงเริงรื่น ต่างคนต่างอุทิศส่วนกุศลผลบุญของตนซึ่งได้กระทำด้วยน้ำจิตโสมนัสศรัทธาไปให้แก่โบราณญาติกาทั้งหลาย อันจุติไปกำเนิดในภพต่างๆ มีปรทัตตูปชีวีเปรตนั้นเป็นต้น”

2889  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / ผัดผักเบบี้ฮ่องเต้กับปลาอินทรีย์เค็ม สูตร/วิธีทำ เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2560 07:36:59



ผัดผักเบบี้ฮ่องเต้กับปลาอินทรีย์เค็ม

ส่วนผสม
- ผักกาดเบบี้ 3 ต้น
- กระเทียมไทย 5-6 กลีบ
- พริกสด 3-5 เม็ด
- ปลาอินทรีย์เค็มทอด
- น้ำมันหอย
- น้ำตาลทราย
- ผงปรุงรส


วิธีทำ
1.ล้างผักให้สะอาด หั่น 2-3 ท่อน ใส่กระเทียมบุบ พริกสดบุบ
   น้ำมันหอย น้ำตาลทราย ผงปรุงรส และปลาอินทรีย์เค็มทอด
2.ตั้งกระทะใส่น้ำมัน พอน้ำมันร้อนจัด (สังเกตดูว่าขอบน้ำมันมีควันลอยเล็กน้อย
   ใส่เครื่องที่ผสมไว้ตามข้อ 1 ผัดด้วยไฟแรงจัด จนสุก
3.จัดใส่จานเสิร์ฟ โรยพริกไทยป่น



ผักเบบี้ฮ่องเต้ เรียกตามข้างถุงที่ซื้อจากโครงการหลวง ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
โดยทั่วไปเรารู้จักกันในชื่อ ผักกาดฮ่องเต้ หรือกวางตุ้งฮ่องเต้ ผักชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ญี่ปุ่นและเอเชียกลาง
นำเข้ามาปลูกในไทยหลายมามาแล้ว ลักษณะผัก-ก้านใบมีสีเขียวอ่อน ลักษณะแบน ส่วนโคนก้านใบจะขยายกว้างมาก หนา เนื้อกรอบ








2890  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: พระสูตรน่าสนใจ : ข้อคิดจากคอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ เมื่อ: 30 มกราคม 2560 18:42:42



กุศโลบายเพื่อความสำเร็จ
มีคนพูดว่า กุศโลบาย ก็คือการโกหกนั่นเอง แต่คำจำกัดความนี้คงจะ "แรง" ไป สำหรับคำว่า "กุศโลบาย" เพราะตามศัพท์จริงๆ แปลว่า อุบายหรือวิธีที่ฉลาด วิธีที่ฉลาดไม่จำเป็นต้องเป็นวิธีที่โกหกคดโกงเสมอไป

จริงอยู่วิธีการอาจมองเผินๆ ว่า เป็น การพูด หรือทำ "ไม่ตรง" ตามนั้นร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องดูที่เจตนาและผลที่ออกมา ว่าพูดหรือทำด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์หรือไม่ ผลที่ออกมานั้นเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือไม่

ยกตัวอย่างที่ผมชอบยกอยู่เสมอคือ มีแม่ทัพท่านหนึ่งนำกองทัพเข้าสู้รบกับข้าศึก กองทัพของตนมีกำลังน้อยกว่ากองทัพของข้าศึก เหล่าทหารหาญทั้งหลายเห็นดังนั้น ก็ขวัญไม่ค่อยจะดี แม่ทัพก็ทราบเรื่องนี้

วันหนึ่ง แม่ทัพก็พานายทหารเข้าไปไหว้พระในโบสถ์แห่งหนึ่งล้วงเหรียญขึ้นมา กล่าวอธิษฐานดังๆ ว่า ถ้ากองทัพของข้าพเจ้าจะรบชนะข้าศึก ขอให้เหรียญนี้ออกหัว ว่าแล้วก็เขย่าเหรียญในมือ โยนลงบนพื้น

เหรียญออกหัว

ท่านแม่ทัพหยิบเหรียญขึ้นมาเขย่า พลางอธิษฐานอีกเป็นครั้งที่สองแล้วโยนลง เหรียญออกหัวเช่นเดิม

ท่านทำอย่างนี้ถึงสามครั้ง เหรียญก็ออกหัวทุกครั้ง เหล่านายทหารทั้งหลายต่างก็ขวัญมาเป็นกอง ที่รู้ว่ากองทัพของตนจะชนะ เพียง ไม่กี่นาทีข่าวว่ากองทัพของตนจะรบชนะข้าศึก ก็แพร่กระจายไปทั่วกองทัพ ทหารหาญทั้งหลายต่างฮึกเหิม มีกำลังใจ ถึงคราวรบก็รบกันอย่างอุทิศ จนสามารถเอาชนะข้าศึกได้

นายทหารคนสนิทพูดกับท่านแม่ทัพในวันหนึ่งว่า พระเจ้าอวยพรให้เราชนะก็ชนะจริงๆ แม่ทัพล้วงเหรียญขึ้นมาแบให้นายทหารคนสนิทดู พร้อมกล่าวว่า

"ไม่ใช่ดอกคุณ เหรียญนี้ต่างหากที่ช่วยให้พวกเราชนะ"

ปรากฏว่าเหรียญนั้นมีแต่ "หัว" ทั้งสองด้าน ซึ่งแม่ทัพท่านทำขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อนำมาใช้ในคราวคับขัน

อย่างนี้ก็เรียกว่า "กุศโลบาย" ของแม่ทัพ จะว่าแม่ทัพท่านโกหกหรือไม่ก็แล้วแต่จะคิด แต่เจตนาของแม่ทัพเป็นกุศลต้องการให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวม

ในการดำเนินชีวิตของคนเรานั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ปัญญา อย่างน้อยก็ให้รู้จักวิธีแก้ไขปัญหาและวิธีการทำงานให้ประสบความสำเร็จ และก้าวหน้าไปด้วยดี

คนทำงานอย่างโง่ๆ ไม่ศึกษาหาความก้าวหน้าในทางความรู้และประสบการณ์ ก็คงไม่ต่างกับตาแก่กับลูกชายจูงลา

ตาแก่คนหนึ่งกับลูกชายอายุประมาณไม่เกิน ๑๐ ขวบ จูงลาผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่งชาวบ้านพูดว่า "ดูตาแก่กับลูกชายสิ มีลาอยู่ทั้งตัวจูงตั้งสองคน ทำไมไม่ขี่คนหนึ่ง อีกคนหนึ่งจูง"

ตาแก่ได้ยินดังนั้น จึงให้ลูกชายขึ้นขี่ลา ตัวเองจูงไปได้หน่อยหนึ่งมีคนพูดว่า "ดูเด็กน้อยคนนั้นสิ นั่งลาสบาย ปล่อยให้พ่ออายุมากแล้วจูง ทรมานคนแก่เปล่าๆ"

คราวนี้ตาแก่ไล่ลูกชายลงตัวเองขึ้นนั่งหลังลาให้ลูกชายจูง ผ่านอีกหมู่บ้านหนึ่ง ชาวบ้านพูดว่า "ดูอีตาแก่คนนั้นสิให้เด็กตัวเล็กๆ จูงลา ตัวเองขี่สบายใจเฉิบ เอาเปรียบเด็กเหลือเกิน"

ตาแก่รีบลงจากหลังลา คิดหนักจะทำอย่างไร จูงทั้งสองคนก็ถูกว่า ให้ลูกขี่ตนจูงก็ถูกว่า ตนขี่ให้ลูกจูงก็ถูกว่า อย่ากระนั้นเลยขึ้นขี่มันทั้งสองคนดีกว่า ว่าแล้วก็บอกให้ลูกขึ้นขี่ลาพร้อมกับตน ลาเดินหลังแอ่นด้วยความหนัก

ชาวบ้านเห็นเข้าก็ชี้ให้กันดูว่า "ดูไอ้แก่กับเด็กคนนั้นสิ ขึ้นขี่ลาจนมันหลังแอ่น ทารุณสัตว์เหลือเกินนะ"

นิทานก็เป็นเพียงนิทานอาจมิใช่เรื่องจริงก็ได้ แต่ "สาระ" ของนิทานก็มีอยู่ เรื่องนี้ต้องการชี้ว่า ปัญญาความรู้เท่านั้นจะเป็นตัวบอกว่าตาแก่ควรจะทำอย่างไรให้ถูกต้องเหมาะสม จะขี่ให้ลูกจูง หรือจะให้ลูกขี่ตัวเองจูง หรือผลัดกันขี่ ความเหมาะสมอยู่ที่ไหน อย่างไร คนมีปัญญาจะรู้เอง

เพราะฉะนั้นในการดำเนินชีวิตจึงต้องการปัญญา คอยชี้แนะแนวทาง นักสู้ชีวิตควรแสวงหาปัญญาและประสบการณ์ไว้ให้มาก อุบายที่จะนำออกใช้จะได้เป็น "กุศโลบาย" (อุบายอย่างฉลาด) มิใช่อุบายโง่ๆ แบบตาแก่



แก้ปัญหา ด้วยปัญญา
สมัยเป็นเณรน้อยเรียนนักธรรมบาลี อ่านคัมภีร์ชาดกเรื่อง "มโหสถชาดก" รู้สึกประทับใจในความเฉลียวฉลาดของเด็กน้อยโพธิสัตว์ นามว่า "มโหสถ" จนบัดนี้ก็ยังจำได้ไม่ลืม

มาถึงยุคลูกชายยังเล็กอยู่ มีการ์ตูนเณรน้อย "อิกคิวซัง" ของญี่ปุ่นออกมา เด็กๆ ติดเป็นแถว ต่างยกนิ้วให้ว่าเณรน้อยอิกคิวซังฉลาดเหลือเกิน

แต่ความฉลาดของมโหสถ เป็นการให้เหตุผลพิจารณาเรื่องราวตามเป็นจริง และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ตามควรแก่เหตุการณ์นั้นๆ วิธีการแก้ปัญหามีหลากหลายไม่ซ้ำกัน แล้วแต่ลักษณะของปัญหา ทำให้เราได้ความรู้มากขึ้น

เรื่องมโหสถนั้น ชี้ไปที่การรู้จักพิจารณาอย่างรอบคอบรอบด้าน เกิดอะไรขึ้นให้มองตามเป็นจริง สืบสาวหาต้นตอและพยายามหาทางแก้ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เป็นการฝึกปัญญาอย่างดียิ่ง  ยกตัวอย่าง เช่น ครั้งหนึ่งมีหญิงชาวบ้านอุ้มลูกเล็กเดินไปพบนางยักษิณีปลอมมาในร่างมนุษย์ ขออุ้มเด็กบ้าง พอได้เด็กจากมือแม่แล้วก็วิ่งหนี แม่เด็กร้องโวยวาย ชาวบ้านช่วยกันรุมล้อมนางยักษิณีนั้นไว้ ทั้งสองคนต่างเถียงกันว่าเด็กน้อยเป็นลูกของตน

ชาวบ้านไม่มีใครตัดสินได้ มโหสถน้อยผ่านมาพบเข้าจึงอาสาช่วยตัดสิน มโหสถถามว่า ท่านทั้งสองต่างก็อ้างว่าเป็นแม่เด็ก ท่านทั้งสองจะพิสูจน์ความจริงไหม หญิงทั้งสองตกลงให้มโหสถตัดสิน

มโหสถบอกให้หญิงทั้งสองแย่งเด็กเอาเอง คนหนึ่งจับหัวอีกคนหนึ่งจับแขนแล้วให้ดึง ถ้าใครดึงชนะก็แสดงว่าคนนั้นเป็นแม่เด็ก

ทั้งสองดึงเด็กน้อยไปมาคนละทางอยู่พักหนึ่ง เด็กน้อยร้องไห้จ้าด้วยความเจ็บปวด หญิงชาวบ้านผู้เป็นแม่เด็กปล่อยมือ ยืนร้องไห้สะอึกสะอื้นอย่างน่าสงสาร

นางยักษิณีในร่างมนุษย์แย่งได้เด็ก ยิ้มกริ่มด้วยความดีใจ ร้องบอกฝูงชนว่า เห็นไหมๆ ข้าบอกว่าเด็กน้อยคนนี้เป็นลูกของข้าก็ไม่มีใครเชื่อ

มโหสถน้อยกล่าวว่า "ข้านี่แหละ ไม่เชื่อเจ้า"

"อ้าว ท่านบอกแต่แรกแล้วมิใช่หรือว่า ใครแย่งเด็กได้คนนั้นคือแม่เด็ก ก็ข้าแย่งได้แล้วนี่ พิสูจน์เห็นแล้ว" นางยักษิณีกล่าว

มโหสถกล่าวว่า "นั่นเป็นกุศโลบายของข้า เพื่อลวงให้ "ธาตุแท้" ของแต่ละคนปรากฏออกมา บัดนี้ความจริงก็ได้ปรากฏแล้ว ผู้หญิงคนที่ปล่อยมือแล้วยืนร้องไห้อย่างน่าสงสารนั้น คือแม่ที่แท้จริงของเด็ก

มโหสถอธิบายว่า แม่ย่อมรักและสงสารลูก เมื่อเห็นลูกร้องไห้จ้าด้วยความเจ็บปวดทรมาน เพราะถูกแย่งดึงไปมา แม่อดสงสารลูกไม่ได้จึงปล่อยมือ ร้องไห้ ส่วนคนที่มิใช่แม่ไม่มีความผูกพันลึกซึ้งเช่นนั้นจึงมิได้มีแม้ความสงสาร อาจเป็นยักษ์มารที่ไหนปลอมมาก็ได้

ได้ยินดังนั้น นางยักษ์จำแลงก็สำแดงร่างจริงให้ปรากฏ จริงดังมโหสถทำนายไม่ผิดเพี้ยน

ยกเรื่องมโหสถขึ้นมากล่าวนี้เพื่อจะบอกว่า การดำเนินชีวิตนั้นต้องใช้ปัญญามิใช่น้อยจึงประสบความสำเร็จ เพียงความขยันหมั่นเพียรทำมาหากิน สร้างเนื้่อสร้างตัวอย่างเดียวหาเพียงพอไม่

ขาดปัญญาเสียแล้ว ถึงจะขยันอย่างไรก็ยากที่จะสำเร็จ หรือสำเร็จก็สำเร็จไม่เต็มที่

มีคนเห็นพระหนุ่มรูปหนึ่ง ขึ้นไปนั่งกรรม ฐานบนต้นไม้ทุกวัน ด้วยความขยันหมั่นเพียรยิ่ง หวังจะได้บรรลุธรรม อาจารย์กรรม ฐานชื่อดังรูปหนึ่งผ่านมาพบเข้า ร้องบอกว่า "ถึงคุณจะขยันนั่งบนต้นไม้จนกลายเป็นลิง ก็ไม่มีทางบรรลุดอก" พระหนุ่มก็ได้สติในความโง่เขลาของตน

ครับ ขยันอย่างเดียวไม่พอ ต้องฉลาดด้วย


ยิ้มได้เมื่อภัยมา
พระพุทธศาสนาสอนให้คนเรานึกถึงความตายอยู่เสมอ วิธีนี้เรียกว่า มรณัสสติ (สติระลึกถึงความตาย) ท่านว่าถ้าฝึกประจำจนชำนาญ ถึงขั้นมีสติระลึกรู้เรื่องความตายทุกลมหายใจเมื่อใด จิตใจจะสงบปราศจากความหวาดกลัวและมีความสุขอย่างยิ่ง

ที่คนเรามีความทุกข์กันอยู่ทุกวันนี้ สาเหตุใหญ่มาจากความกลัว กลัวจน กลัวจะลำบาก กลัวไม่มีใครรัก กลัวล้มเหลวในการทำงาน กลัวสามีทิ้ง กลัวภรรยานอกใจ กลัวสอบไม่ได้ กลัวโดนพ่อแม่ด่า ฯลฯ สารพัดกลัว จนกระทั่งกลัวแก่ กลัวเจ็บ และกลัวตาย

ด้วยความคิดอย่างนี้แหละ ทางพระพุทธศาสนาพูดให้ชัดว่าพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้ "เผชิญหน้า" กับความตาย แทนที่จะทำเป็นลืม ไม่ยอมรับรู้รับฟัง ก็กลับมา "ทำความรู้จัก" กับความตาย หันมานึกถึงมันอยู่ทุกลมหายใจ เช่น

เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่มีใครล่วงพ้นความตายไปได้

ชีวิตเราไม่แน่นอน แต่ความตายเป็นของแน่นอน

เราต้องตายแน่ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง

ความตายยุติธรรมที่สุดมาถึงทุกคน ไม่ว่ามั่งมี ยากจน ฉลาดหรือโง่เขลา เด็กหรือผู้ใหญ่ แก่หรือหนุ่ม ทุกชีวิตเกิดมาแล้วล้วนสิ้นสุดลงที่ความตาย

ความตายจะมาถึงเราวันไหน เวลาไหนก็ได้ ทุกลมหายใจเข้าออก ความตายอาจมาเยือนได้ทุกเวลา

การสอนให้ระลึกถึงความตายมีเป้าหมายที่ชัดเจนอยู่ มิใช่ให้ระลึกถึงแบบสะเปะสะปะ นั่นก็คือ

๑) ให้ระลึกถึงเพื่อให้หายกลัว การระลึกถึงความตายแล้วจะหายกลัวตายได้ จะต้องระลึกด้วยความรู้ มิใช่ระลึกด้วยความโง่ ต้องรู้ตัวเสมอว่า ความจริงเราก็ตายอยู่แล้วทุกวันขณะที่นอนหลับ นั่นแหละเราก็ตายในลักษณะหนึ่ง แล้วทำไมเวลาเรานอนจึงไม่กลัว เราเต็มใจที่จะเข้านอนทุกครั้งที่เรารู้สึกง่วง

ที่เราไม่กลัวก็เพราะเราคิดว่า การนอนคือการพักผ่อน  เช่นเดียวกัน ถ้าเราคิดว่าความตายคือการพักผ่อน ชีวิตเราร่างกายเราได้มาอยู่ในโลกจนป่านนี้ ต่อสู้กับชีวิตมาจนถึงวันนี้ก็นานพอสมควรแล้ว ถ้ามันจะถึงเวลา "พักผ่อน" ก็ให้มันเป็นไปตามธรรมดาของมัน

ระลึกถึงความตายอย่างนี้จะไม่กลัวตาย พร้อมที่จะรับความตายทุกเวลาเมื่อถึงเวลา คนเช่นนี้จะตายอย่างสงบ ไม่ทุรนทุราย ไม่หวาดกลัว

๒) ให้ระลึกถึงเพื่อเกิดความไม่ประมาท คนที่ไม่ยอมรับรู้ความจริงว่าตนจะตายในวันใดวันหนึ่ง มักจะหนีโลกแห่งความจริง พยายามหลอกตัวเองว่า เรายังไม่ตาย เราจะต้องอยู่อีกนาน บางคนก็อยู่เพื่อเงิน "กิน-กาม-เกียรติ" ทุจริตกอบโกยเอามาเพื่อสนอง ปรนเปรอตนเอง ยังกับจะอยู่ค้ำฟ้า คนอย่างนี้เรียกว่าคนประมาท

ส่วนคนที่ระลึกถึงความตายว่า ชีวิตเราไม่แน่นอน จะตายวันตายพรุ่งไม่มีใครรู้ เพราะฉะนั้น ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ควรทำประโยชน์แก่ตนเองและคนอื่นให้เต็มที่ เวลาอยู่ในโลกนี้ก็อยู่อย่างมีคุณค่าและคุณประโยชน์ ไม่ "หนักโลก" เวลาตายไปก็ฝาก คุณงามความดีไว้ให้คนเขาคิดถึง คิดถึงความตายแบบนี้ทำให้ไม่ประมาท

คนที่คิดถึงความตายอย่างนี้ไม่กลัวตาย และพร้อมที่จะตายทุกเวลา เพราะเขาได้สร้างคุณงามความดีแก่ตน และแก่เพื่อนมนุษย์เพียงพอแล้ว ถ้าเปรียบเสมือนการเดินทาง คนเช่นนี้นับว่าได้เตรียม "เสบียง" สำหรับเดินทางไว้พร้อม แพ็กกระเป๋าพร้อมแล้ว ได้เวลาก็พร้อมจะออกเดินทางได้ทันที

วันนี้เขียนคล้ายกับจะชวนผู้อ่านตายอย่างนั้นแหละ ไม่ดอกครับ ถึงผมจะชวนหรือไม่ชวนคุณ (และผม) ก็ต้องตายอยู่แล้ว ผมเพียงบอกวิธี deal กับความตายที่ถูกต้องเท่านั้น ฮั่นแน่ เดาะคำฝรั่ง เสียด้วย!


นักสู้ชีวิต ควรรู้จักวิธีแก้เซ็ง
"เซ็ง"คำนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถานให้คำจำกัดความว่า "จืด, จืดชืด, หมดรส, หมดความตื่นเต้น แถมวงเล็บไว้ด้วยว่า ใช้เรียกสิ่งที่ควรจะบริโภค หรือจัดทำในเวลาหนึ่ง แต่ทิ้งไว้นานเกินควร ความหมายทั้งหลายแหล่ที่ราชบัณฑิตฯ ท่านทิ้งไว้ไม่ตรงกับที่คนสมัยนี้ใช้สื่อสารกัน

"เซ็ง" ในความหมายของคนทั่วไปก็คือ ความเบื่อ ทำงานในตำแหน่งขี้ข้าเขามานาน ไม่มีอะไรดีขึ้น ก็พูดว่า "เซ็ง" ถ้าเซ็งมากๆ ก็เติมคำ "ฉิบหาย" ต่อท้ายเป็น "เซ็งฉิบหาย"

บวชมาหลายพรรษา เป็นพระหลวงตาอยู่นั่นแล้ว ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูหรือเจ้าคุณกับเขาสักที "อาตมารู้สึกเซ็ง" (เป็นยังงั้นไป)

หมอปัจจุบันนี้ จัดอาการเซ็งให้เป็นโรคชนิดหนึ่ง เรียกว่า "โรคเซ็ง" จะตรงกับภาษาฝรั่งว่าอย่างไรผมไม่ทราบ ท่านว่าเซ็งเป็นสภาพจิตที่ซบเซา หดหู่ เบื่อหน่าย

สมัยพุทธกาลมีผู้ที่ออกบวชในพระพุทธศาสนามากมาย บางท่านไม่ได้บวชเพราะความเบื่อโลก แต่บวชเพราะถููกญาติผูู้ใหญ่ ซึ่งเป็นพระเถระชักจูงให้บวช สภาพจิตจึงไม่พร้อมที่จะรับการฝึกอบรม บางรูปเกิดอาการที่ภาษาพระท่านว่า "อุกกัณฐิโต" ท่านแปลว่า เกิดความเบื่อหน่าย แปลตามศัพท์จริงๆ ว่า "เกิดอาการชูคอ" หมายถึง ชะเง้อชะแง้คอ มองอยู่ตลอดเวลา ว่าเราจะหลุดพ้นจากสภาพอย่างนี้เมื่อไรหนอ อะไรทำนองนี้

ก็เซ็งนั่นแหละครับ

พระรูปหนึ่งพี่ชายให้ท่องโศลกบทหนึ่ง ความยาวแค่สี่บรรทัด ท่องตั้งสามเดือนยังจำไม่ได้ ว่ากันว่าพระรูปนี้ถูกพี่ชายจับบวชไม่ค่อยเต็มใจบวชนักหรอก แถมยังสมองทึบอีกต่างหาก เมื่อท่องไม่ได้ก็ถูกพี่ชายดุด่าหาว่าโง่เง่า โศลกสั้นๆ แค่นี้ก็ยังท่องไม่ได้ เสียชื่อฉันผู้เป็นพี่ชายหมด

วันๆ ไม่ต้องทำอะไร ถูกบังคับให้ท่องข้อความซ้ำแล้วซ้ำอีก ถูกด่าซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็เลยเกิดอาการเซ็งชีวิต เซ็งหนักเข้าเลยคิดจะไปกระโดดเขาตาย

พระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณจึงเสด็จไปโปรด ตรัสถามว่า ทำไมจะต้องฆ่าตัวตาย เธอกราบทูลว่า "เซ็งชีวิตพระพุทธเจ้าข้า"

"ทำไมจึงเซ็ง"ตรัสถามด้วยพระสุรเสียงปรานี

"ถูกบังคับให้ท่องโศลกที่ยากๆ ซ้ำซาก และถูกด่าซ้ำซากพระเจ้าข้า" เธอกราบทูล

พระพุทธองค์จึงตรัสบอกว่า "เธอรู้สึกเซ็งถึงขนาดจะฆ่าตัวตายเพราะเซ็งที่ถูกด่าซ้ำซาก และถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ เธอลองเปลี่ยนมาทำอย่างอื่นดูซิ เธอจะชอบไหม"

"ทำอะไรพระเจ้าข้า"

"ทำอะไรที่มันง่ายๆ เช่น ลูบผ้าขาวเล่น" ว่าแล้วพระองค์ก็ทรงนำผ้าขาวผืนหนึ่งออกมา ทรงใช้ฝ่าพระหัตถ์ลูบคลำไปมาให้เธอดูแล้วให้เธอทำตาม ปรากฏว่าพระหนุ่มรูปนั้นยิ้มละไม แววตามีประกายแห่งความสดใส ลูบผ้าขาวไปมาอย่างพึงพอใจ

ก็มันง่ายกว่าท่องโศลกมากมายก่ายกอง นี่ครับ

เธอนั่งลูบผ้าขาวอยู่พักใหญ่ จิตใจที่ฟุ้งซ่าน รำคาญ เบื่อเซ็งก็สงบ สมาธิเกิดขึ้น ไม่ช้าไม่นานเธอก็ได้บรรลุธรรมชั้นสูง

ดูวิธีการที่พระพุทธเจ้าประทานให้พระหนุ่มผู้หน่ายชีวิตรูปนี้ทำแล้ว ทำให้ได้แง่คิดว่า วิธีแก้เซ็งอย่างหนึ่งในหลายวิธีก็คือ ให้หาสิ่งที่ตนชอบทำ

พยายามสร้างความชอบในสิ่งนั้นขึ้นมาให้ได้ แรกๆ อาจต้องฝืนใจ ใช้พลังใจมากไม่ใช่น้อย แต่นานๆ เข้าความฝืนใจก็ลดน้อยลงๆ จนกลายเป็นชอบขึ้นมาจนได้

หลังจากนั้นจะทำอะไรก็สนุกสนาน เพลิดเพลิน ไม่เบื่อไม่เซ็ง และผลสัมฤทธิ์ก็เกิดขึ้นมากมายไพศาลด้วย



สู้ด้วยความพากเพียร
มีคนนิยามความหมายของชีวิตว่า ชีวิตคือการต่อสู้ ผมขอแถมอีกนิดว่า สู้แล้วต้องให้ชนะด้วย

จริงอยู่ในสังเวียนแห่งการต่อสู้ ย่อมมีทั้งแพ้และชนะแต่นักสู้ต้องมุ่งเป้าไปที่ชัยชนะ แพ้น่ะได้ แพ้บ่อยๆ ก็ได้อีกเหมือนกัน แต่ในที่สุดเราต้องเอาชัยชนะให้ได้!

ทุกคนมีสิทธิ์สะดุดล้ม แต่ล้มแล้วนอนเป็นเรื่องน่าตำหนิ ล้มแล้วรีบลุกขึ้นเดินต่อไปสิ คนเขายกย่องสรรเสริญ

ในประเทศญี่ปุ่น เขามีธรรมเนียมอยู่อย่างหนึ่ง คือเขาจะนำ "ตุ๊กตาล้มลุก" ไปมอบให้แก่กัน ในโอกาสสำคัญๆ เช่นวันเกิด หรือปีใหม่อะไรนี่ผมก็จำไม่ถนัด แต่จำได้ว่า เขามอบตุ๊กตาล้มลุกให้กัน

ตุ๊กตานั้นเดินไปได้หน่อยแล้วก็ล้ม แล้วก็ลุกเดินต่อไป ล้มลุก ล้มลุก อยู่อย่างนี้ ดูกันเล่นสนุกๆ ก็ได้ ดูให้ดีให้เกิดปรัชญาชีวิตก็ได้

คือเป็นเครื่องเตือนใจว่า อย่ายอมหยุดหรือเลิกรา ล้มแล้วให้ลุกเดินต่อไป อย่านอนแผ่หลาอย่างคนหมดท่าในชีวิต เพราะญี่ปุ่นเขามี "ปรัชญาชีวิต" อย่างนี้ เขาจึงพัฒนาก้าวไกลไปสุดกู่ เมื่อคราวแพ้สงคราม ญี่ปุ่นย่อยยับไม่มีดี แต่ไม่กี่ปีให้หลังก็ฟื้นตัวและพัฒนาล้ำหน้าประเทศอื่นๆ เดี๋ยวนี้เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่น่ากลัวที่สุดในโลกไปแล้ว

เพราะพี่ยุ่นแกถือปรัชญา ล้มแล้วลุก ดังเช่นตุ๊กตาล้มลุกนั่นแหละครับ

การล้มแล้วลุกแล้วๆ เล่าๆ ถ้าถอดเป็นธรรมะก็ได้แก่ความพากเพียรนั่นเอง พระท่านเรียกว่า "วิริยะ" บ้าง "วิริยา-รัมภะ" บ้าง

ความพากเพียร ไม่ได้หมายถึงทำอะไรหามรุ่งหามค่ำ ไม่รู้จักพักผ่อน อย่างคนเรียนหนังสือ นั่งอ่านนั่งท่องอยู่นั่นแล้วตั้งแต่เช้ายันดึก ไม่กิน ไม่นอน อย่างนี้เขาเรียกว่า "หัก-โหม" มิใช่ความพากเพียร ขืนทำอย่างนี้ ไม่เกินสี่ห้าวันโรคประสาทกินตาย

ความพากเพียรไม่ต้องทำมาก ไม่ต้องหักโหม ทำทีละน้อยๆ แต่ทำบ่อยๆ อย่าง ต่อเนื่อง

ท่านเคยเห็นแมงมุมไหม แน่นอนทุกคนคงรู้จักมันดี แต่น้อยคนที่จะสังเกตดูมันอย่างถี่ถ้วน ลองสังเกตดูมันสิครับเวลามันถักใย มันจะไต่จากมุมนี้ไปยังมุมนั้น มันมักจะตกสู่พื้นอยู่บ่อยๆ ไต่แล้วตก ไต่แล้วตก แต่มันก็ไม่ย่อท้อ ยังคงก้มหน้าก้มตาถักใยต่อไป ผลที่สุดมันก็ได้ใยแมงมุมที่สวยงามไว้ดักเหยื่อกินตามประสงค์

คนที่พากเพียรไม่ต่างจากแมงมุมถักใย ไม่ว่าจะทำกิจการอะไร จะพากเพียรทำด้วยจิตใจแน่วแน่มั่นคง ไม่เลิกล้ม ไม่ย่อท้อจนกว่าจะบรรลุผลสำเร็จ

"คนจะล่วงพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร" พระท่านพูดไว้ไม่ผิดดอกครับ ทำอะไรล้มเหลวเพียงครั้งสองครั้ง อย่าได้ท้อแท้ ผิดหวังเลย ทำต่อไป สู้ต่อไป ถ้าหากการกระทำการต่อสู้นั้นเป็นเรื่องถูกต้อง สุจริต ชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรม

ส่วนเรื่องผิดเรื่องชั่ว ไม่ต้องพากเพียรทำมัน เพียงหลงทำครั้งเดียวก็เกินพอแล้ว



ชีวิตต้องสู้
หนังสือเล่มที่ท่านอ่านเป็นประจำอยู่นี้ ตั้งชื่อได้เหมาะสม "ชีวิตต้องสู้" คือเกิดมามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ต้องสู้ เกิดมาแล้วไม่สู้แสดงว่าตายตั้งแต่เกิด ถึงแม้ว่าจะมีลมหายใจอยู่ก็ไม่ต่างอะไรกับคนตายแล้ว

เรามีคำพังเพยหรือสุภาษิต (แล้วแต่จะเรียก) ว่า "ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยา ชูกำลัง" ศัตรูในที่นี้หมายเอา "อุปสรรค" ที่ขัดขวางความก้าวหน้านั้นเอง คงไม่หมายไปไกลถึงคนที่เป็นอริ หรือข้าศึกที่คอยตามล้างตามผลาญอะไรขนาดนั้น

การสู้ชีวิตจะสามารถเอาชนะได้ หรือประสบความสำเร็จในการต่อสู้ อย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบ ๒ อย่าง คือ

๑) ความพากเพียรพยายาม องค์ประกอบนี้สำคัญมาก ความเพียรมาจากคำว่า วิริยะ วิริยะมาจากคำว่า วีระ (ซึ่งแปลว่ากล้าหาญ) เพราะฉะนั้นคนที่พากเพียรก็คือคนกล้า กล้าสู้กล้าบุกไม่ย่อท้อ ไม่ถอดใจง่ายๆ แม้ว่าอุปสรรคจะใหญ่โตมากมายเพียงใดก็ตาม

นึกถึงนิทานชาดกเรื่อง "มหาชนก" มหาชนกเป็นพ่อค้าเดินทางไปค้าขายทางเรือกับพ่อค้าและประชาชนอีกจำนวนมาก เรือล่มกลางมหาสมุทร ผู้คนตายกันหมด เหลือแต่มหาชนกคนเดียว เกาะแผ่นกระดานแหวกว่ายอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร เวลาผ่านไป ๗ วัน มหาชนกก็ยังพยายามว่ายน้ำอยู่ จนนางมณีเมขลาปรากฏกายขึ้นถามว่า "มหาสมุทรกว้างใหญ่ไพศาล มีแต่น้ำกับฟ้า ท่านว่ายก็ตาย ไม่ว่ายก็ตาย แล้วท่านจะพยายามว่ายอยู่ทำไม" พูดง่ายๆ ว่าไม่มีทางรอดดอก ปล่อยให้จมน้ำตายเสียดีกว่า

มหาชนกกล่าวตอบ (ซึ่งถือว่านี่แหละคือ "หัวใจของนักสู้ชีวิต") ว่า "เกิดเป็นคนต้องพยายามจนถึงที่สุด" รู้อยู่ว่ามหาสมุทรกว้างไพศาลรู้ว่ามีแต่น้ำกับฟ้า แต่หน้าที่ของเราต้องพยายามจนให้รู้ดำรู้แดง ถ้าพยายามจนถึงที่สุดแล้ว ไม่ถึงฝั่งก็ให้รู้ว่าไม่ถึง และจะไม่เสียใจ เพราะได้ทำถึงที่สุดแล้ว

คนสู้ชีวิตต้องคิดอย่างนี้ครับ ไม่ใช่ว่าเห็นอะไรขวางอยู่ข้างหน้าบางทีนิดเดียว ขอ "ถอดใจ" เสียแล้ว ทั้งๆ ที่ตัวเองมีศักยภาพ มีความพร้อมทุกอย่าง ถ้าหากกล้าทำ กล้าสู้เสียอย่าง งานนั้นสำเร็จแน่นอน

วันก่อน ได้อ่านเรื่องของเด็กแขนด้วนทั้งสองข้างคนหนึ่ง (ไม่ทราบว่าจาก "ชีวิตต้องสู้" หรือจากหนังสือพิมพ์เล่มไหนอ่านมากด้วยจนจำไม่ได้) เกิดมาแขนด้วนถึงไหล่ทั้งสองข้าง ไม่เคยท้อถอยพยายามสู้ชีวิต เข้าโรงเรียน มือไม่มีจะเขียนหนังสือก็ใช้เท้าเขียนฝึกหัดเขียนด้วยเท้า จนลายมือสวยเหมือนเขียนด้วยมือ ตอนแรกๆ เพื่อนๆ ก็รังเกียจ แต่เมื่อเห็นความเข้มแข็ง ความตั้งใจจริงของแก ก็เห็นใจ และช่วยเหลือเกื้อกูลอย่างดี

เด็กคนนี้มีความฝันยาวไกลว่า จะศึกษาเล่าเรียนให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอยากออกมาทำงานช่วยเหลือสังคม

นี่คือตัวอย่างของคนสู้ชีวิต คนที่มีมือมีเท้าบริบูรณ์ ควรจะได้คิด และหันมาสู้ชีวิตบ้าง ขนาดคนเขาอวัยวะร่างกายไม่สมบูรณ์ เขายังไม่ท้อแท้ แล้วเรามีครบทุกอย่าง ยังจะอ่อนแอยอมแพ้หรือ!

๒) องค์ประกอบอันที่สอง เนื่องมาแต่องค์ประกอบแรก คือ "กำลังใจ" คนสู้ชีวิตต้องมีกำลังใจ และสร้างกำลังใจให้เข้มแข็งอยู่เสมอ เพื่อเป็นทุนในการต่อสู้ คนที่ขาดกำลังใจแม้จะแกร่ง หรือแข็งแรงขนาดไหน ก็กลายเป็นคนอ่อนแอโดยฉับพลัน คนเช่นนี้เรียกว่า "ตัวเท่าช้างใจเท่ามด"

เคยเห็นนักมวยร่างยักษ์ หมัดหนัก ถ้าต่อยเข้าจังๆ สักหมัด คนถูกต่อยรับรองสลบเหมือด นักมวยร่างยักษ์ขึ้นชกกับแชมป์โลกร่างเล็กกว่า แต่ได้ชื่อว่าเป็นมวยอันตราย มวยร่างยักษ์มัวแต่กลัว "ศักดิ์ศรี" ของแชมป์โลก ได้แต่ระวังตัวแจไม่ปล่อยหมัดสักที ทั้งที่บางครั้งสบโอกาสก็ไม่ยอมทำ ผลที่สุดถูกเขาน็อกตามระเบียบ อย่างนี้เรียกว่า กำลังใจอ่อนแอ ใจไม่สู้ ชกกี่ครั้งๆ "ช้างใจเท่ามด" เช่นนี้ ก็ไม่มีทางเอาชนะเขาได้

จำไว้เถิดครับ คนที่พากเพียรจริง มีกำลังใจเข้มแข็งมั่นคงจริง ไม่มีอะไรจะมาขวางกั้นเขาไว้ได้ อย่าว่าแต่คนเลยต่อให้เทวดาก็กีดกันไม่ได้


ต้องทำเดี๋ยวนี้
พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวเตือนใจไว้ดีมากควรที่ผู้คิด "สู้ชีวิต" จะพึงสนใจและนำเอาไปใช้ เพื่อความสำเร็จและความเจริญก้าวหน้าในการดำรงชีวิต

อ้อ! เกือบลืม พุทธภาษิตหมายถึง "คำพูด" ของพระพุทธเจ้าเอง ถ้าเป็นคำพูดออกจากปากคนอื่นเรียกว่า "ภาษิต" หรือ "สุภาษิต" เฉยๆ

พุทธภาษิตมีว่า (อ่านไม่ได้ก็ไม่ต้องอ่าน แต่ต้องเขียนไว้เพื่อ "ขลัง" ว่างั้นเถอะ)

อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกน วา

แปลว่า ไม่ควรปล่อยวันเวลาให้ล่วงไปเปล่า ไม่ว่ามากหรือน้อย ก็ควรให้ได้อะไรบ้าง

ท่านเคยเห็นคนประเภทนี้ไหม

พนักงานบริษัทบางคนมีงานต้องทำมากมายรออยู่บนโต๊ะ มัวแต่ไถลชวนเพื่อนคุยบ้าง อ่านหนังสือพิมพ์บ้าง โทรศัพท์คุยกับคนนั้นคนนี้บ้าง บ่นว่าไม่ค่อยมีเวลา กว่าจะลงมือทำงานก็หมดเวลาไปมาก

งานที่ควรทำได้มากก็ได้น้อย ที่ควรเสร็จเร็วก็เสร็จช้า หรือไม่เสร็จเลย

ข้าราชการบางคนอาศัยอยู่บ้านหลวง ควรจะเก็บเงินไว้ซื้อบ้านเป็นของตนเสียแต่ต้นมือ ก็คิดว่าเอาไว้ก่อนตอนนี้ยังมีเรื่องต้องใช้เงินมากเอาไว้เก็บเงินสร้างภายหลัง ผัดผ่อนเรื่อยมา กาลเวลาก็ล่วงไป

จวบจนเกษียณ ก็ยังไม่มีบ้านเป็นของตัว มาคิดตอนนี้ก็หมดโอกาสแล้ว เพราะค่าเงินถูกลง ที่ดินแพงขึ้น

คนสองประเภทนี้ เรียกว่าคน "ผัดวันประกันพรุ่ง" ได้แต่คิดว่าเอาไว้ก่อน พรุ่งนี้ค่อยทำ มะรืนนี้ค่อยทำ

ผัดเรื่อยไปจนติดเป็นนิสัย ผลที่สุดก็พลาดจากประโยชน์ที่พึงได้ หรือพลาดโอกาสงามๆ ในชีวิต

ผู้รู้จึงสอนว่า ถ้าคิดจะทำสิ่งใดที่ท่านพอจะทำได้ และเห็นว่าดีมีประโยชน์แก่ตัวท่าน จงรีบทำเสียแต่เดี๋ยวนี้เลยทีเดียว มัวแต่รอเมื่อนั้นเมื่อนี้ เดี๋ยวก็จะไม่มีเวลาได้ลงมือทำ

บางคนคิดอยากจะได้บ้านไว้สักหลัง เที่ยวตระเวนไปดูตามที่ต่างๆ มาทั่วเมือง ไม่ตัดสินใจสักที รอไว้ก่อนเดือนหน้าค่อยเอา พอถึงเดือนหน้าเดือนโน้นค่อยเอา มัวแต่ตัดสินใจไม่ได้สักที ราคาบ้านและที่ดินขึ้นพรวดๆ เงินแสนที่ทำอยู่ในมือไร้ค่าในบัดดล

เดี๋ยวนี้บ้านกระจอกๆ พอซุกหัวนอน ก็ปาเข้าไปตั้งล้านบาทขึ้นไปแล้ว

ท่องไว้ในใจเสมอเถิดว่า "ต้องทำเดี๋ยวนี้" โอกาสดีๆ จะได้ไม่หลุดลอยไป


จิตมั่นคงเสียอย่าง
เคยดูทีวีเมื่อหลายปีมาแล้วนานจนจำรายละเอียดไม่ได้ แต่จำ "สาระ" ได้ เป็นข่าวเกี่ยวกับคนพิการคนหนึ่ง เขาได้รับความพิการทางร่างกายเพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นอัมพาตร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องนอนแบ็บอยู่กับที่ อาศัยอยู่กับพี่สาวหรือพี่ชายผมก็จำไม่ได้

ครอบครัวพี่สาวหรือพี่ชายที่เขาอาศัยอยู่ด้วยนี้ มิได้มีฐานะมั่นคงอะไรนัก ทั้งสองสามีภรรยา เช้าขึ้นมาก็ต้องออกไปทำงานปล่อยให้เขานอนเฝ้าบ้านอยู่คนเดียว นอกจากเวลาปิดเทอม หลานๆ ซึ่งเป็นลูกของพี่จึงจะอยู่ด้วย

วันหนึ่งหลานคนเล็กอยากได้นกกระดาษมาเล่น แกนั่งพับรูปนกอย่างไรๆ ก็พับไม่เป็นนกสักที จึงวิ่งไปขอให้พ่อช่วยพับให้ พ่อบอกว่าพ่อกำลังยุ่งให้แม่ทำให้ พอไปหาแม่ แม่ก็ไล่ไปให้พี่ๆ ทำให้

พวกพี่ๆ ก็สนใจทำงานของตน ไม่สนใจน้องคนเล็ก ไม่มีใครทำให้ หนูน้อยจึงร้องไห้ขี้มูกโป่งถือกระดาษเข้ามาหาคุณอาซึ่งนอนแบ็บอยู่บนเตียง

เห็นน้ำตาหลานน้อย คุณอาผู้พิการก็เกิดสงสารจับใจ จึงบอกว่าอาจะช่วยพับให้ แล้วก็ยื่นมืออันเคลื่อนไหวไม่ค่อยจะถนัดนั้น รับกระดาษจากมือหลานมาพับรูปนก

ตามข่าวว่า มืออีกข้างหนึ่งไม่รู้สึก และเคลื่อนไหวไม่ได้แล้ว มีมือข้างเดียวเท่านั้นที่เคลื่อนไหวได้ เขาก็ใช้มือข้างนั้นพับกระดาษกับปาก คือใช้ปากคาบแล้วใช้มือข้างที่ยังใช้ได้อยู่ช่วย หลังจากปล้ำอยู่ตั้งนาน เขาก็สามารถพับกระดาษเป็นรูปนกให้หลานน้อยได้

หลานน้อยได้นกกระดาษแล้ว ก็หายงอแง วิ่งตื๋อออกไปปล่อยนกบินอยู่ข้างนอก ด้วยความร่าเริงประสาเด็ก

จากนั้นมาเขาก็ต้องพับรูปนกบ้าง เรือบินบ้างให้หลานเล่นตลอด เมื่อพับบ่อยๆ นานๆ เข้า ก็เกิด "ทักษะ" คือความชำนาญขึ้น เขาก็มานั่งคิดว่า ทุกอย่างอยู่ที่การฝึกฝนด้วยความพากเพียรอย่างต่อเนื่อง

พอดีเขาได้ทราบข่าวจากวิทยุเชิญชวนให้เขียนเรื่องสั้นประกวด เขาคิดว่า การนอนแบ็บอยู่กับที่ไม่คิดใช้สมองที่ยังใช้การได้อยู่ให้เกิดประโยชน์ มิใช่วิสัยของคนต่อสู้ชีวิต จึงตัดสินใจเขียนเรื่องสั้นส่งประกวด เขียนแล้วแก้ๆ อยู่หลายตลบกว่าจะตัดสินใจส่ง

ปรากฏว่าเรื่องสั้นเรื่องนั้น ชนะการประกวดรางวัลที่หนึ่งหรือสองอะไรนี่แหละ หลังจากนั้นเขาก็เขียนส่งไปตามนิตยสารต่างๆ ได้ค่าตอบแทนมากบ้างน้อยบ้าง จนเขาได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนคนหนึ่ง ผมก็ลืมไปแล้วว่าเขาคนนี้คือใคร และป่านนี้เขายังมีชีวิตอยู่หรือละโลกไปแล้วก็สุดจะรู้ได้ ที่นำเอาเรื่องนี้มาเขียนเล่าให้ผู้อ่านฟัง ก็เพื่อให้คติว่า ชีวิตเราเกิดมาแล้วต้องสู้จนกว่าจะสิ้นลมหายใจ

คนที่เขามีวิญญาณแห่งนักต่อสู้ แม้ร่างกายจะไม่สมประกอบเขายังประสบความสำเร็จได้ เพราะความมีจิตใจมั่นคง ต่อสู้ไปจนถึงที่สุด

เราท่านที่มีอวัยวะครบ ๓๒ประการ จะท้อถอยทำไมเล่าครับ


ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด




มีต่อ
2891  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / รัสปูติน อลัชชีจอมอิทธิพลแห่งจักรวรรดิรัสเซีย เมื่อ: 30 มกราคม 2560 16:49:56



รัสปูติน

อลัชชีจอมอิทธิพลแห่งจักรวรรดิรัสเซีย “กริกอรี เอฟิโมวิช รัสปูติน-Grigory Efimovic Rasputin” มีชีวิตรุ่งเรืองในรัชสมัยซาร์นิโคลัสที่ ๒ ราชวงศ์โรมานอฟ มีอิทธิพลสูงสุดในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อซาร์นิโคลัสที่ ๒ ทรงออกแนวหน้าบัญชากองทัพรัสเซียในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และที่สุดก็เป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญให้ราชวงศ์ล่มสลายจากการปฏิวัติประชาชน

กริกอรี รัสปูติน เกิดในหมู่บ้านชาวนาในไซบีเรียเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ค.ศ.๑๘๖๙ ประวัติเล่าว่า เขาไม่สนใจการศึกษา ตามสภาพแวดล้อมที่ผู้คนในหมู่บ้านส่วนมากเป็นผู้ไม่รู้หนังสือ เขาเป็นชาวนา ดื่มเหล้าหนัก เสเพลเรื่องผู้หญิง

มีข้อมูลจากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม บทความโดย พล อิฏฐารมณ์ เขียนไว้ว่า วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๐๑๖ ถือเป็น วันครบรอบ ๑๐๐ปี การจากไปของ กริกอรี รัสปูติน ผู้วิเศษ แห่งราชสำนักโรมานอฟ เนื่องจากเขาเสียชีวิตจากการลอบสังหาร ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๑๙๑๖

คำว่า “รัสปูติน” ในภาษารัสเซีย แปลว่า จอมตัณหา ชื่อจริงๆ คือ กริกอรี เยฟิโมวิช โนวิก (Grigory Yefimovich Novykh)

เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี เขาเข้าหานิกาย คลีสตี (Khlysty) ซึ่งเชื่อในการทรมานตัวเองและแสดงศรัทธาต่อพระเจ้าด้วยพิธีกรรมที่โน้มนำจิตเข้าสู่ภวังค์ แต่รัสปูตินไปไกลกว่านั้น เขาเสนอว่าคนจะเข้าใกล้พระเจ้าได้มากที่สุดเมื่อคนๆ นั้นรู้สึกได้ถึง “การปราศจากกิเลสตัณหาอันศักดิ์สิทธิ์” และคนที่จะเข้าถึงภาวะดังกล่าวได้ก็จะต้องผ่านการร่วมเพศแบบมาราธอนจนหมดความกระหายทางเพศไปเอง

รัสปูตินเข้าสู่ราชสำนักของรัสเซียได้ ส่วนหนึ่งเพราะราชสำนักสมัยนั้นนิยมชมชอบเรื่องไสยศาสตร์

ชื่อเสียงของรัสปูติน ที่ว่ากันว่าหากใครเพียงได้รับสัมผัสลูบไล้จากเขาก็จะทำให้หายจากการป่วยไข้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อมกุฎราชกุมารอเล็กซี รัชทายาทของซาร์นิโคลัสที่ ๒ และซารินาอเล็กซานดรา ซึ่งป่วยด้วยอาการเลือดไหลไม่หยุด อาการกำเริบขึ้นมา ด้วยความที่สมัยนั้นยังไม่มียาที่ได้ผลดี รัสปูตินจึงถูกซารินาอเล็กซานดราเรียกไปเข้าเฝ้า และได้มีโอกาสสร้างความประทับใจต่อพระพักตร์ ด้วยการทำให้รัชทายาทพ้นจากความเจ็บปวดได้สำเร็จ (ว่ากันว่าน่าจะใช้การสะกดจิต)

เขากลายเป็นที่โปรดปราน เป็นผู้มีอิทธิพลสูงต่อราชสำนักและรัฐ แม้จะมีผู้ถวายฎีการ้องเรียนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทั้งเรื่องขี้เมาและมักมากในกาม ชอบฉวยโอกาสสมสู่กับหญิงที่มาพัวพันไม่เลือกหน้า แต่ด้วยความรักต่อพระชายาและพระโอรส ซาร์นิโคลัสทรงเลือกที่จะเพิกเฉย

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซาร์นิโคลัสเสด็จไปร่วมทัพในแนวหน้าในปี ๑๙๑๕ ซารินาอเล็กซานดราเป็นผู้สำเร็จราชการ แต่พระนางมอบหมายให้รัสปูตินในฐานะที่ปรึกษาเป็นผู้ดูแลกิจการของรัฐแทน

รัสปูตินซึ่งเป็นที่เกลียดชังของทั้งสมาชิกราชวงศ์และชนชั้นสูงหลายรายอยู่ก่อนแล้วและเคยถูกลอบสังหารมาแล้วหลายครั้ง การที่ได้โอกาสเข้ามาก้าวก่ายกิจการบ้านเมืองโดยตรง จึงยิ่งทำให้ความเกลียดชังต่อตัวเขาหนักหนายิ่งขึ้น

เจ้าชายเฟลิกซ์ ยูซูปอฟ (Felix Yussoupov) พระสวามี ในพระนัดดาของพระเจ้าซาร์ ทรงเป็นผู้นำการวางแผนลอบสังหารรัสปูตินด้วยพระองค์เอง เพื่อยุติความฉาวโฉ่ของราชสำนัก

พระองค์เชิญรัสปูตินมาเฝ้าในคืนวันที่ ๓๐ ธันวาคม ทรงต้อนรับด้วยเค้กและไวน์ใส่ยาพิษ รัสปูตินเพลิดเพลินกับอาหารและไวน์ โดยที่พิษไม่ได้ทำให้เขาเจ็บป่วยประการใด เจ้าชาย เฟลิกซ์ จึงคว้าปืนยิงเข้าใส่ รัสปูตินกรีดร้องและดิ้นรนด้วยความเจ็บปวด แต่ยังไม่ยอมทิ้งชีวิต เขาพยายามเข้าทำร้ายเจ้าชายเฟลิกซ์ ก่อนที่หลายคนซึ่งซุ่มอยู่ที่ชั้นบนจะวิ่งลงมา หนึ่งในผู้วางแผน ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นวลาดิเมียร์ พูริชเควิช (Vladimir Purishkevich) ผู้นำฝ่ายขวาของรัฐสภารัสเซีย กระหน่ำยิงเข้าใส่รัสปูตินหลายนัด และนัดหนึ่งเข้าที่ศีรษะพอดี

ดร.สตานิลัส ลาโซเวิร์ต (Dr.Stanislaus Lazovert) หมอ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมแผนการได้เข้าไปดูร่างของรัสปูตินที่ล้มกองอยู่ และประกาศว่าเขาเสียชีวิตแล้ว

จากนั้นพวกเขาได้ห่อร่างของรัสปูติน พาไปยังแม่น้ำเนวาที่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง เอาร่างที่ห่อไว้ของรัสปูตินยัดลงไปในโพรงน้ำแข็ง

เมื่อภายหลังมีการค้นพบห่อร่างของเขา ปรากฏว่าเขาน่าจะยังมีชีวิต ขณะที่ถูกโยนลงน้ำและพยายามดิ้นรนให้พ้นจากใต้ผืนน้ำแข็ง แต่ไม่สำเร็จ จึงจมน้ำตาย


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
2892  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / วิเวก - ธุดงค์ - จาริก เมื่อ: 30 มกราคม 2560 16:42:41


ภาพ : ป่าศักดิ์สิทธิ์ "คำชะโนด" อ.บ้านดุง จ.อุบลราชธานี
วิเวก

ท่านพุทธทาสภิกขุ เคยอธิบายเรื่องวิเวกไว้ว่า วิเวกเป็นสิ่งที่ควรรู้จัก และควรมี คำว่า วิเวก นี้ ดูจะเป็นที่รังเกียจของคนทั่วไป บางคนคิดว่าเป็นคำครึคระ สำหรับพวกอยู่ป่า ฤๅษี ชีไพร ถ้าเคยเข้าใจอย่างนั้น ให้มาศึกษาใหม่ จะมีประโยชน์อย่างมาก มันมีความลับซ่อนอยู่ แล้วคนก็ไม่รู้จัก ไม่ต้องการ

ให้เข้าใจคำว่า วิเวก เป็นตัวหนังสือก่อน ภาษาบาลี วิเวก แปลว่า เดี่ยว ไม่มีอะไรรบกวน แต่ภาษาไทยมีแต่จะเปลี่ยนความหมาย เป็นวิเวกวังเวง เป็นไม่ต้องการ ไม่น่าจะพอใจ คนธรรมดาก็ไม่ชอบวิเวก เพราะเขาไม่อยากอยู่คนเดียว อย่างน้อยก็มีเด็กๆ เพื่อน คนหลายๆ คน อบอุ่น นั่นไม่เป็นไร แต่ความหมายวิเวกมันลึกกว่านั้นมาก มันจำเป็นต้องมีด้วยซ้ำไป ถ้าไม่มีเสียบ้าง มันอาจจะตาย ก็ลองคิดดูว่า เดี่ยว และไม่มีอะไรมารบกวน มันจะสบายไหม

วิเวกแบ่งเป็น ๓ ชนิด หนึ่งคือทางกาย กายที่ไม่มีอะไรมา รบกวน สองคือทางจิต จิตที่ไม่มีอะไรมารบกวน และสาม อุปธิวิเวก ไม่มีอะไรมายึดมั่น ถือมั่น หอบหรือถือหนักอะไร เอาไว้ เปลี่ยนความคิดมาสนใจ พอใจ เรื่องวิเวกบ้างก็ได้

วิเวกทางกาย คือ กายที่ไม่มีใครมารบกวน แต่ในความจริง มันอยากมีอะไรมารบกวน มายุ่งด้วย จะยิ่งดี แต่ก็มีบางเวลาที่ไม่อยากให้มีใครมายุ่ง อยากมีอิสระ อยู่คนเดียว ไม่มีวัตถุ ไม่มีบุคคลมารบกวน สงบสงัด แต่ไปเข้าใจว่า สงัดคือน่าเบื่อ เป็นอย่างนั้นอีก เคยนึกชอบไหม เคยบ้างไหมบางเวลาอยากอยู่เดี่ยว

วิเวกทางจิต จิตที่ไม่มีอะไรมารบกวน คงจะสังเกตเห็นได้ว่า สิ่งที่รบกวนจิตมันมีมากมาย จิตมันคิดนึกปรุงแต่ง ยกตัวอย่างจำนวนหนึ่งเป็นเครื่องสังเกต ศึกษา ทดสอบ ก็ได้ เช่น ถ้าความรักมารบกวน มันก็นอนไม่หลับ ไฟมันลนหัวใจเสมอ หรือความโกรธ เป็นไฟชนิดหนึ่ง ทุกคนโกรธมาแล้วทั้งนั้น บางคนไม่อยากโกรธ มันก็โกรธ มันอดไม่ได้ ความเกลียด เกลียดใครไว้ เกลียดภาพอะไรไว้ สิ่งเหล่านั้นมารบกวน ความกลัว ก็กลัวต่างๆ นานา กลัวคน กลัวตาย กลัวจะสูญเสียสิ่งที่ไม่อยากให้สูญเสีย มีร้อยแปดอย่าง ความตื่นเต้น มันได้ยิน ได้เห็นอะไร มันก็ตื่นเต้น มันถึงกับนอนไม่หลับได้เหมือนกัน ความวิตกกังวลถึงเรื่องที่มีอยู่ในอดีต มันฝังแน่น ไม่ลืม ในอนาคต คิดถึงเรื่องที่จะเป็นไปได้

ความอาลัยอาวรณ์ คงจะรู้จักกันดี ความอิจฉาริษยา อันนี้หนักสุด ใครมีคนนั้นบาปหนา หาความสงบสุขยาก ความหวง หรือที่เข้มข้นคือความหึง มันรบกวนอย่างยิ่ง ความยกตนข่มท่าน เหล่านี้รู้จักกันดี ความระแวง กลัวทุกคนไม่ชอบเรา กลั่นแกล้งเรา มันก็นึกอยู่คนเดียว โดยที่ฝ่ายนู้นเขาไม่รู้เรื่องก็มี คลุ้มคลั่งอยู่ คนเดียว มันรบกวนจิต แล้วจะเป็นวิเวกได้อย่างไร มันจะสงบ เย็น มีเสรีภาพได้อย่างไร

อุปธิวิเวก แปลว่าสิ่งที่ยึดถือเอาไว้ แต่เป็นเรื่องทางจิตใจ หอบหิ้วเอาไว้ กอดรัดเอาไว้ เทิดทูนเอาไว้ เป็นเรื่องวัตถุ สังขาร ร่างกาย กามารมณ์ ตัวกูร้ายกาจที่สุด คนโง่ชอบนักหนา บรมโง่ อย่างนี้เรียกว่าไม่วิเวก คิดดู ถ้าถือก้อนหินเอาไว้ จิตมันจะสบายได้อย่างไร ที่จัดไว้อันหลังสุด เพราะมันร้ายกาจกว่าสองอันแรก รบกวนทางกายไม่เท่าไร รบกวนทางจิตก็ไม่เท่าไร แต่อุปธิวิเวกรบกวนตลอดเวลา ทุกวินาที เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง แต่ก็ไม่ค่อยรู้กันมากนัก ไม่ปรารถนาที่จะวิเวก วิเวกมันในหน้าที่ มันเกี่ยวข้องกับคนทั่วไปธรรมดาสามัญ วิเวกเมื่อใดมันก็เป็นสุขภาพทางจิตใจเมื่อนั้น ไม่มีอะไรมารบกวนกาย สุขภาพกายก็ดี ไม่มีอะไรมารบกวนจิต สุขภาพจิตก็ดี

พระอรหันต์ไม่มีสิ่งรบกวน ที่เรียกว่าวิเวก อาจจะมีของไปรบกวน คนไปรบกวน สัตว์ไปรบกวน แต่ก็เหมือนไม่รบกวน ทางจิตก็ไม่มีนิวรณ์ไปรบกวน ทางอุปธิ ก็ปล่อยวางหมดแล้ว พระอรหันต์ท่านก็มีวิเวกครบสมบูรณ์

นี่ก็เป็นเครื่องเปรียบเทียบ สำหรับให้เรารู้จักพระอรหันต์โดยถูกต้อง และเราก็ไม่ต้องอวดดีว่าจะเป็นพระอรหันต์กันเดี๋ยวนี้ ฉะนั้นควรเอาอย่างท่าน เพื่อสุขภาพอนามัย ที่จริงมันก็มีอยู่ ตามสมควร แต่คนโง่มันมองไม่เห็น ถ้าไม่มีวิเวกเลย มันตายไปนานแล้ว มันเป็นบ้า เวลาที่ไม่มีอะไรรบกวนมันพอมี แม้แต่คนกิเลสหนา มันยังพอมี แม้นาทีเดียวก็ถือว่ามี แต่คนไม่สังเกต เห็น ไม่สนใจ ไปหาสิ่งมารบกวนอีก หาสิ่งที่มาช่วยประโลมใจ ไม่ให้ว่าง มีธรรมะเป็นเครื่องประโลมใจ มันก็ดี มีกามารมณ์เป็น เครื่องประโลมใจ มันก็วินาศ


ธุดงค์ - จาริก

ธุดงค์ มาจากภาษาบาลีว่า ธุตงฺค เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่บังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ไม่สะสม เพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมาก เหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไป มิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียง ถ้าทำเพื่อลาภเพื่อชื่อเสียง ต้องอาบัติทุกกฎ

โดยรูปศัพท์ ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส, องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หรือการสมาทานเพื่อเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอันอันตรายต่อสัมมาปฏิบัติ เป็นศัพท์เฉพาะที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท โดยพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธุดงค์ลักษณะต่างๆ ไว้หลายพระสูตร เมื่อรวมแล้วได้ทั้งหมด ๑๓ ข้อ ทรงอนุญาตไว้ให้แก่พระสงฆ์สำหรับเลือกนำไปปฏิบัติ เพื่อมุ่งให้เป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมของพระสงฆ์ที่ตั้งใจสมาทานความเพียรเพื่อมุ่งขัดเกลาทางจิตเพื่อกำจัดกิเลส ธุดงค์เป็นเพียงวัตร หรือแนวทางการประพฤติ ไม่ใช่ศีลของพระสงฆ์ พระสงฆ์จึงเลือกปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ

ในเมืองไทย มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับธุดงค์อยู่มาก ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าการธุดงค์คือการที่พระสงฆ์ห่มจีวรสีเศร้าหมอง สะพายบาตร แบกกลด แล้วเดินจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ค่ำที่ไหนก็ปักกลดนอนที่นั่น ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเช่นนี้เนื่องจากคนไทยเอาเรื่องการจาริก การท่องออกไปเพื่อโปรดสัตว์ ผสมกับธุดงค์ คือการปฏิบัติขัดเกลากิเลสเพื่อความมักน้อย สันโดษ จนแยกออกจากกันไม่ได้ระหว่างการจาริกกับธุดงควัตร

การจาริกสมัยพุทธกาล คือการที่พระสงฆ์เดินทางท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก ค่ำที่ไหนก็ปักกลดนอนที่นั่น เป็นการจาริกตามปกติของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา มีจุดประสงค์หลักเพื่อโปรดสัตว์ แต่การจาริกเช่นนี้ ต้องมีกำหนดระยะเวลา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตเฉพาะ ๘ เดือน นอกฤดูฝนเท่านั้น

ธุดงควัตร อันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสที่พระพุทธองค์ตรัสไว้มี ๑๓ อย่าง ได้แก่

๑.ปังสุกูลิกังคะ ถือการใช้ผ้าบังสุกุล ไม่ใช้ผ้าสำเร็จรูปที่มีผู้ถวาย
๒.เตจีวริกังคะ ถือการใช้เพียงผ้าไตรจีวร พระภิกษุผู้ถือธุดงค์ข้อนี้จะใช้เพียงผ้าไตรจีวร ๓ ที่อธิษฐานเท่านั้น
๓.ปิณฑปาติกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ ไม่รับกิจนิมนต์ ฉันอาหารจากบิณฑบาตเพียงอย่างเดียว
๔.สปทานจาริ กังคะ ถือการบิณฑบาตไปตามลำดับบ้าน ไม่ข้ามไปบ้านนั้นบ้านนี้
๕.เอกาสนิกังคะ ถือการฉันมื้อเดียว บางครั้งเรียกว่าฉันบนอาสนะเดียว คือนั่งแล้วก็จะฉันไปจนอิ่ม เมื่อลุกแล้วจะไม่ฉันอีกเลยในวันนั้น
๖.ปัตตปิณฑิกังคะ ถือการฉันเฉพาะในบาตร ไม่ฉันในสำรับที่เขาจัดถวาย
๗.ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือการลงมือฉันแล้วไม่รับเพิ่มอีก
๘.อารัญญิกังคะ ถือการอยู่ป่า
๙.รุกขมูลิกังคะ ถือการอยู่โคนต้นไม้
๑๐.อัพโภกาสิกังคะ ถือการอยู่กลางแจ้ง
๑๑.โสสานิกังคะ ถือการอยู่ป่าช้า
๑๒.ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่แต่ในที่ที่เขาจัดให้
๑๓.เนสัชชิกังคะ ถือการนั่งไม่นอน ทั้งนี้ ธุดงค์นั้นไม่ใช่กิจจำเป็น ตามแต่พระภิกษุรูปใดจะสมัครใจถือปฏิบัติเท่านั้น

ส่วนคำว่า จาริก เป็นศัพท์ในพระไตรปิฎก หมายความถึงการเดินทางไปเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศัพท์นี้ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในประเทศไทยโดยมีความหมายเดียวกับในพระไตรปิฎก เช่น จาริกธุดงค์, โครงการธรรมจาริก เป็นต้น ปัจจุบันการจาริกขยายความหมายไปถึงการเดินทางเพื่อไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสังเวชนียสถานด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คำว่า จาริกแสวงบุญ

ลักษณะของการจาริกตามนัยพระไตรปิฎก การจาริกมีองค์ ๔ เป็นบาทพระคาถา ว่า ไม่ไปด้วยพาหนะ ๑ ถ้าจำเป็นอาจสามารถขึ้นเรือโดยประสงค์ข้ามฟากได้(โดยไม่ประสงค์ล่องตามลำน้ำ) ๑ ไม่ไปด้วยฤทธิ์ ๑ ไปด้วยกำลังแห่งปลีแข้ง(คือเดินเอา) ๑ ประสงค์ให้ถือเพื่อใช้ในการเผยแผ่ มักถือร่วมกับธุดงค์เพื่อประกาศพรหมจรรย์ เพราะการจาริกไปย่อมพบเจอเข้าถึงผู้คนมากกว่า เช่น ถ้านั่งรถไปก็จะไม่ค่อยพบผู้คน หรือญาติโยมไม่กล้าเข้ามาพูดคุย อาจทอดทิ้งคนที่อาจอยากสนทนาด้วย

และเพื่อให้ผู้พบมีจิตศรัทธาจากการประพฤติธรรมหรือการเผยแผ่ด้วยการไม่พูดสอน แต่ทำให้ดู ดังคำพุทธพจน์ที่ให้แก่พระภิกษุสงฆ์กลุ่มแรก (๖๐ รูป) ในการส่งไปประกาศพระศาสนาว่า “จรถ ภิกขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย ธมมํ ภิกขเว เทเสถ” แปลว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป จงแสดงซึ่งธรรม(ประกาศพรหมจรรย์) เพื่อประโยชน์ อนุเคราะห์ เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก”


เรื่อง :  หนังสือพิมพ์ข่าาวสด
2893  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก (ปาราชิก ๔ สิกขาบท) เมื่อ: 30 มกราคม 2560 16:27:14

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท
ปาจิตตีย์ ๙๒ มี ๙ วรรค วรรคละ ๑๐ สิกขาบท ยกเว้น สหธรรมิกวรรค
มี ๑๒ สิกขาบท ว่าด้วย
มุสาวาทวรรคที่ ๑


มุสาวาทวรรคที่ ๑ ภูตคามวรรคที่ ๒ โอวาทวรรคที่ ๓
โภชนวรรคที่ ๔ อเจลกวรรคที่ ๕ สุราปานวรรคที่ ๖
สัปปาณวรรคที่ ๗ สหธรรมิกวรรคที่ ๘ รตนวรรคที่ ๙
ปาจิตตีย์ แปลตามตัวอักษรว่า การละเมิดอันยังกุศลให้ตก,
เป็นชื่ออาบัติจำพวกหนึ่ง จัดไว้ในจำพวกอาบัติเบา เรียก ลหุกาบัติ พ้นได้ด้วยการแสดง


ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรควรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑
(พระวินัยข้อที่ ๕๐)
ภิกษุพูดปด ต้องปาจิตตีย์

พระหัตถกศากยบุตรเป็นคนพูดสับปลับ ท่านเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น ท่านกล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน พวกเดียรถีย์พากันเพ่งโทษติเตียน... ภิกษุทั้งหลายสอบถาม พระหัตถกะตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าพวกเดียถีย์เหล่านี้ เราต้องเอาชนะด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เราไม่ควรให้ความชนะเกิดแก่พวกนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษติเตียน กราบทูลให้ทรงทราบ... พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียน แล้วบัญญัติว่า “เป็นปาจิตตีย์ในเพราะสัมปชานมุสาวาท”

อรรถาธิบาย
-ที่ชื่อว่า สัมปชานมุสาวาท ได้แก่ วาจา เสียงที่เปล่งถ้อยคำเป็นแนวทาง เจตนาที่ให้ผู้อื่นเข้าใจทางวาจาของบุคคลผู้จงใจจะพูดให้คลาดเคลื่อนจากความจริง ได้แก่ คำพูดของอนารยชน ๘ อย่าง คือ ไม่เห็น พูดว่าข้าพเจ้าเห็น ๑ ไม่ได้ยิน  พูดว่าข้าพเจ้าได้ยิน ๑ ไม่ทราบ พูดว่าข้าพเจ้าทราบ ๑ ไม่รู้ พูดว่าข้าพเจ้ารู้ ๑ เห็น พูดว่าข้าพเจ้าไม่เห็น ๑ ได้ยิน พูดว่าข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ๑ ทราบ พูดว่าข้าพเจ้าไม่ทราบ ๑ รู้ พูดว่าข้าพเจ้าไม่รู้ ๑
-ที่ชื่อว่า ไม่เห็น คือ ไม่เห็นด้วยตา, ไม่ได้ยิน คือ คือ ไม่ได้ยินด้วยหู, ไม่ทราบ คือ ไม่ได้สูดดมด้วยจมูก ไม่ได้ลิ้มด้วยลิ้น ไม่ได้สัมผัสด้วยกาย, ไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยใจ
-ที่ชื่อว่า เห็น คือ เห็นด้วยตา, ได้ยิน คือ ได้ยินด้วยหู, ทราบ คือ ได้สูดดมด้วยจมูก ได้ลิ้มด้วยลิ้น ได้สัมผัสด้วยกาย, รู้ คือ รู้ด้วยใจ

อาบัติ
๑.อาการของการกล่าวเท็จ ๓ เบื้องต้น เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ ๑ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ๑ ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว เป็นปาจิตตีย์
๒.อาการ ๔ เบื้องต้นรู้ว่า จักกล่าวเท็จ ๑ กำลังกล่าวรู้ว่ากล่าวเท็จ ๑ ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ๑ อำพรางการกล่าวเท็จนั้น (ว่าไม่ได้พูดเป็นต้น) ๑ เป็นปาจิตตีย์
(อธิบาย...ภิกษุผู้กล่าวเท็จ ย่อมรู้ว่าในขณะที่กล่าวนั้น ตนเองมีความเห็นอยู่ในใจจริงๆ ว่าเรื่องเท็จ. มีความพอใจ ชอบใจ, สภาพความเป็นจริง (ที่เป็นความเท็จ), เมื่อใคร่จะกล่าวเท็จ ในกาลนั้นเขาต้องทิ้งหรือปิดบังความเห็น (ที่เป็นเรื่องเท็จ) นั้น และกล่าวทำให้เป็นเท็จ

อนาบัติ
๑.ภิกษุพูดพลั้ง ๑  พูดพลาด ๑ (ชื่อว่าพูดพลั้งเพราะพูดเร็วไป ชื่อว่าพูดพลาดเพราะตั้งใจจักพูดคำหนึ่ง แต่กลับพูดไปอีกคำหนึ่ง) วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนุตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๒/๒๐-๒๕
๑.คำว่า หตฺถโก เป็นชื่อของพระเถระนั้น ท่านเป็นบุตรของพวกเจ้าศากยะ ออกบวชในครั้งที่คนของศากยะตระกูลแปดหมื่นคนพากันออกบวช ท่านเป็นหนึ่งในแปดหมื่นคนนั้น
-ท่านนัดหมายพวกเดียรถีย์ว่า จักทำการโต้วาทะกัน ณ ที่โน้น ในเวลาก่อนภัตเป็นต้น แล้วท่านก็ไปก่อนนัดหมายบ้าง หลังนัดหมายบ้าง แล้วกล่าวว่า จงดูเอาเถิดผู้เจริญ เดียรถีย์ไม่มาแล้ว แพ้แล้ว ดังนี้แล้ว หลีกไปเสีย
๒.บทว่า สมฺปชานมุสาวาเท ได้แก่ ในเพราะการพูดเท็จทั้งที่รู้แล้วและกำลังรู้
บทว่า วิสํวาทนปุเรกฺขารสฺส ได้แก่ ผู้พูดทำจิตที่คิดว่าจะพูดให้คลาดเคลื่อนไว้เป็นเบื้องหน้า
-โวหาร (คำพูด) ของเหล่าชนผู้ไม่ใช่พระอริยเจ้า คือ เหล่าพาลปุถุชน ชื่อว่า อนริยโวหาร (อนารยชน)
๓.พูดพลั้ง คือ ภิกษุไม่ได้ไตร่ตรอง ไม่ได้ใคร่ครวญ พูดโดยเร็วถึงสิ่งที่ไม่เห็นว่า ข้าพเจ้าเห็น เป็นต้น
-พูดพลาด คือ เมื่อตนควรจะกล่าวคำว่า จีวรํ (จีวร) ไพล่ไปกล่าวว่า จีรํ (นาน) ดังนี้เป็นต้น เพราะความเป็นผู้อ่อนความคิด เพราะเป็นผู้เซอะ
-แต่ภิกษุใด ผู้อันสามเณรเรียนถามว่า “ท่านขอรับ เห็นอุปัชฌาย์ของกระผมบ้างไหม?” เธอกระทำการล้อเลียนสามเณร กล่าวว่า “อุปัชฌาย์ของเธอคงจักเทียมเกวียนบรรทุกฟืนไปแล้วกระมัง” หรือเมื่อสามเณรได้ยินเสียงสุนัขจิ้งจอกแล้วถามว่า “นี้เสียงอะไร ขอรับ?” ภิกษุกล่าวว่า “เสียงของคนผู้ช่วยกันยกล้อที่ติดหล่มของมารดาเธอ ผู้กำลังไปด้วยยาน” คำกล่าวเช่นนี้ไม่ใช่เพราะพลั้ง ไม่ใช่เพราะพลาด ย่อมต้องอาบัติ
๔.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ คือ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑  เป็นสจิตตกะ, โลกวัชชะ,  กายกรรม วจีกรรม  อกุศลจิต (โลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต)



ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๒
(พระวินัยข้อที่ ๕๑)
ภิกษุด่าภิกษุอื่นด้วยวาจาหยาบคาย ต้องปาจิตตีย์

พระฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ใช้วาจากล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือ ด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปะบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย ต่างพากันติเตียน แล้วกราบทูลให้ทรงทราบ... ทรงเล่าเรื่องโคนันทิวิสาลให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า โคนันทิวิสาลกล่าวกับพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของว่า ท่านจงไปพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ ว่า โคถึกของข้าพเจ้า ลากเกวียน ๑๐๐ เล่ม ที่ผูกเนื่องกันไปได้ พราหมณ์นั้นได้ทำตามที่โคบอกแล้ว เมื่อผูกเกวียนแล้วพราหมณ์ได้กล่าวว่า จงฉุดไป เจ้าโคโกง จงลากไปเจ้าโคโกง ครั้งนั้นโคถึกนันทิวิสาลได้ยืนอยู่ที่เดิม พราหมณ์นั้นแพ้พนันแล้ว

ต่อมาโคถึกนันทิวิสาลถามพราหมณ์ว่าเหตุใดจึงซบเซา  พราหมณ์ : ก็เพราะเจ้าทำให้เราต้องแพ้เสียพนันไป ๑,๐๐๐ กษาปณ์ ละซิ เจ้าตัวดี  โคนันทิวิสาลจึงบอกให้พราหมณ์ไปพนันใหม่ด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของเราจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่ม ที่ผูกเนื่องกันไปได้ แต่ท่านอย่าเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่า “โกง”

พราหมณ์นั้นได้พนันกับเศรษฐีแล้ว พูดกับโคถึกว่า “เข็นฉุดไปเถิด พ่อรูปงาม เชิญลากไปเถิด พ่อรูปงาม” พราหมณ์ได้ชนะพนันแล้ว จากนั้นทรงตำหนิการกระทำของพระฉัพพัคคีย์ และบัญญัติว่า “เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท”

อรรถาธิบาย
-ที่ชื่อว่า โอมสวาท ได้แก่ คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ชาติ ๑  ชื่อ ๑  โคตร ๑  การงาน ๑  ศิลปะ ๑  โรค ๑  รูปพรรณ ๑  กิเลส ๑  อาบัติ ๑  คำด่า ๑
-ด่าเรื่องชาติ เช่น คนชาติจัณฑาล, ชื่อ เช่น อวกณฺณกา (ชื่อของพวกทาส) หรือชื่อที่คนเขาเย้ยหยันอื่นๆ,  โคตร เช่น ตระกูลภารทวาชะ หรือวงศ์สกุลที่คนเขาเย้ยหยัน, การงาน เช่น กรรมกร, ศิลปะ เช่น วิชาการช่างหม้อ, โรค เช่น โรคเรื้อน, รูปพรรณ เช่น ดำ สูง ต่ำ,  กิเลส เช่น คนโลภ คนหลง.  อาบัติ เช่น สังฆาทิเสส,  คำด่า เช่น อูฐ แพะ โค ลา สัตว์นรก เหล่านี้เป็นคำด่าที่เลว, ส่วนคำด่าที่ดี เช่น คนชาติกษัตริย์,  พุทธะ ธัมมะ สังฆะ โคตมะโคตร, บัณฑิต นักปราชญ์ หรือคนฉลาด เป็นต้น

อาบัติ
๑.อุปสัมบัน (พระภิกษุ) ปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาท ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แล้วพูดกับอุปสัมบัน (พระภิกษุ) นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๒.อุปสัมบันพูดเปรยแก่อุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎทุกๆ คำพูด (เช่นพูดเปรยอ้อมๆ ว่า ภิกษุบางคนเป็นคนชาติจัณฑาล บางคนต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือพวกเราไม่ใช่คนดำเกินไป เป็นต้น)
๓.อุปสัมบันพูดล้ออุปสัมบัน ต้องอาบัติทุพภาสิตทุกๆ คำพูด (ไม่ปรารถนาจะด่า ไม่ปรารถนาจะสบประมาท ไม่ปรารถนาจะทำให้อัปยศ แต่มีความประสงค์จะล้อเล่น เช่น ท่านทำงานเหมือนพวกกรรมกรใช้แรงงานเลยนะ)
๔.อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาท ปรารถนาจะทำให้อัปยศ (ให้เจ็บใจอับอาย) แล้วพูดกับอนุปสัมบัน (ผู้ที่มิใช่ภิกษุ) ต้องอาบัติทุกกฎทุกๆ คำพูด
๕.อุปสัมบันพูดล้อแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุพภาษิตทุกๆ คำพูด (เช่นพูดว่า ทานของท่านจะทำให้คนทั่วโลกอิ่ม เป็นต้น)

อนาบัติ
ภิกษุมุ่งอรรถ ๑  มุ่งธรรม ๑  มุ่งสั่งสอน ๑  วิกลจริต ๑  มีจิตฟุ้งซ่าน ๑  กระสับกระส่ายเพราะเวทนากล้า ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย. มหาวิ.๒/๑๒๘-๑๓๑
๑.โคถึกนั้นมีเขายาวใหญ่ เพราะเหตุนั้นเจ้าของจึงตั้งชื่อว่า นันทิวิสาล, สมัยนั้นพระโพธิสัตว์เกิดเป็นโคถึกชื่อนันทิวิสาล พราหมณ์เลี้ยงดูอย่างดีเหลือเกินด้วยอาหาร มียาคูและข้าวสวยเป็นต้น โคถึกนั้นต้องการจะอนุเคราะห์พราหมณ์ จึงกล่าวคำว่า เชิญท่านไปเถิด ดังนี้เป็นต้น
-ทรงชี้ให้เห็นว่า แม้โคถึกซึ่งเกิดจากอเหตุกปฏิสนธิ ก็ย่อมไม่ชอบคำกล่าวเสียดแทงของผู้อื่น
-โคถึกนั้นได้ลากเกวียนไปตลอดชั่ว ๑๐๐ เล่มเกวียน เพื่อให้เกวียนเล่มหลังจอดในที่เกวียนเล่มหน้าจอดอยู่
-คำด่า ทรงจำแนกมีอยู่ ๒ คำ คือ คำด่าที่เลว ๑ คำด่าที่ดี ๑
๒.ภิกษุเมื่อกล่าวให้เลวด้วยถ้อยคำอันเลว ถึงจะกล่าวคำจริงก็ตาม ถึงอย่างนั้น เธอก็ต้องปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด เพราะเป็นผู้ประสงค์จะกล่าวเสียดแทง, และเมื่อกล่าวให้เป็นคนเลวด้วยคำที่ดี แม้จะกล่าวคำไม่จริงก็ตาม (เช่นเขาไม่ได้เป็นกษัตริย์ ด่าว่าเป็นกษัตริย์) ถึงอย่างนั้นก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้ เพราะเป็นผู้ประสงค์จะกล่าวเสียดสี ไม่ใช่ด้วยสิกขาบทก่อน (มุสาวาท)
ฝ่ายภิกษุใดกล่าวคำ (ที่จริง) เป็นต้นว่า เจ้าเป็นจัณฑาลก็ดี เจ้าเป็นพราหมณ์ดี เจ้าเป็นจัณฑาลชั่ว เจ้าเป็นพราหมณ์ชั่ว ดังนี้ แม้ภิกษุนี้พระวินัยธรก็พึงปรับด้วยอาบัตินี้เหมือนกัน (เพราะประสงค์กล่าวเสียดแทง)
๓.ในสิกขาบทนี้ เว้นภิกษุเสีย สัตว์อื่นทั้งหมดมีนางภิกษุณีเป็นต้น พึงทราบว่าตั้งอยู่ในฐานะอนุปสัมบัน
๔.ภิกษุผู้กล่าวอรรถ (เนื้อความ, ใจความ) พระบาลี ชื่อว่า อัตถปุเรกขาระ (ผู้มุ่งอรรถ), ผู้บอกสอนพระบาลีชื่อว่า ธัมมปุเรกขาระ (ผู้มุ่งธรรม), ผู้ตั้งอยู่ในการพร่ำสอนกล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า ถึงบัดนี้ เจ้าเป็นคนจัณฑาล, เจ้าก็อย่าทำบาป อย่าได้เป็นคนมืดมามืดไปเป็นเบื้องหน้า ดังนี้ชื่อว่า อนุสาสนีปุเรกขาระ (ผู้มุ่งสอน)
๕.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ คือ เกิดทางกายกับจิต ๑  ทางวาจากับจิต ๑  ทางกายวาจากับจิต ๑  เป็นสจิตตกะ เป็นโลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต (โทสมูลจิต)
-แต่ในอาบัติทุพภาสิตมีสมุฏฐานเดียว คือ เกิดทางวาจากับจิต, เป็นสจิตตกะ, อกุศลจิต (โลภมูลจิตและโมหมูลจิต)
๖.มุสาวาท และโอมสวาทสิกขาบท ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ แปลสิกขาบท “สมฺปชานมุสาวาเท ปาจิตฺติยํ” ว่า “เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะสัมปชามุสาวาท” และ “โอมสวาเท ปาจิตฺติยํ” ว่า “เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท
การแปลทับศัพท์เช่นนี้เป็นการง่ายสำหรับบุคคลผู้แปล แต่ยากสำหรับผู้ศึกษาค้นคว้าในอันที่จะทำความเข้าใจ ควรแปลให้เข้าใจง่ายว่า ”เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะพูดเท็จทั้งที่รู้อยู่” และ “เป็นปาจิตตีย์ในเพราะพูดเสียดแทง” (นานาวินิจฉัย/๙๘)


ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๓
(พระวินัยข้อที่ ๕๒)
ภิกษุพูดส่อเสียดภิกษุ ต้องปาจิตตีย์

      พระฉัพพัคคีย์เก็บเอาคำส่อเสียดของภิกษุผู้มีความบาดหมาง เกิดทะเลาะวิวาทกัน เมื่อฟังความแล้วเก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ ฟังคำจากฝ่ายโน้นแล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ด้วยเหตุนี้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงมากขึ้น

       ภิกษุทั้งหลายพากันติเตียน แล้วกราบทูล... พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิแล้วมีพระบัญญัติว่า “เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะส่อเสียดภิกษุ

อรรถาธิบาย
       -ที่ชื่อว่า ส่อเสียด อธิบายว่า วัตถุสำหรับเก็บมาส่อเสียด มีได้ด้วยอาการ ๒ คือ ของคนผู้ต้องการจะให้เขาชอบ ๑ ของคนผู้ประสงค์จะให้เขาแตกกัน ๑
       ภิกษุเก็บเอาวัตถุสำหรับส่อเสียดมากล่าวโดยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ชาติ ๑ ชื่อ ๑ โคตร ๑ การงาน ๑ ศิลปะ ๑ โรค ๑ รูปพรรณ ๑ กิเลส ๑ อาบัติ ๑ คำด่า ๑

อาบัติ
       ๑.อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว (ปรารถนาจะให้เขาชอบตน หรือปรารถนาจะให้เขาแตกกัน) เก็บเอาคำส่อเสียด (คำต่อว่า) ไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้พูดเหน็บแนมท่านว่าเป็นชาติคนจัณฑาล ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
       ๒.อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่าภิกษุบางคนเป็นชาติคนจัณฑาล ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฎทุกๆ คำพูด
       ๓.อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๔.อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอนุปสัมบันแล้ว เก็บเอาไปบอกแก่อุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๕.อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอนุปสัมบันแล้ว เก็บเอาไปบอกแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ

อนาบัติ
       ภิกษุไม่ต้องการจะให้เขาชอบ ๑  ไม่ประสงค์จะให้เขาแตกกัน ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินย.มหาวิ.๒/๑๕๓-๑๕๔
       ๑.บทว่า ภณฺฑนชาตานํ  ได้แก่ ผู้เกิดความบาดหมางกันแล้ว, ส่วนเบื้องต้นแห่งความทะเลาะกันชื่อว่า ภัณฑนะ (ความบาดหมาง), การล่วงละเมิดทางกายและวาจาให้ถึงอาบัติ ชื่อว่า กลหะ (การทะเลาะ), การกล่าวขัดแย้งกัน ชื่อว่า วิวาทะ, พวกภิกษุผู้ถึงความวิวาทกันนั้น ชื่อว่า วิวาทาปันนะ
          -บทว่า เปสุญฺญํ ได้แก่ ซึ่งวาจาส่อเสียด อธิบายว่า วาจาทำให้สูญเสียความเป็นที่รักกัน, บทว่า ภิกฺขุเปสุญฺเญ ได้แก่ ในเพราะคำส่อเสียดภิกษุทั้งหลาย อธิบายว่า ในเพราะคำส่อเสียดที่ภิกษุฟังจากภิกษุ แล้วนำเข้าไปบอกแก่ภิกษุ
       ๒.ชนทั้งหลายแม้พระทั่งภิกษุณี ชื่อว่า อนุปสัมบัน
       ๓.สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑  วาจากับจิต ๑  กายวาจากับจิต ๑  เป็นสจิตตกะ เป็นโลกวัชชะ,  กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต (โลภมูลจิต, โทสมูลจิต, โมหมูลจิต)



ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๔
(พระวินัยข้อที่ ๕๓)
ภิกษุสอนธรรมแก่อนุปสัมบัน ถ้าว่าพร้อมกัน ต้องปาจิตตีย์

     พระฉัพพัคคีย์ให้เหล่าอุบาสกกล่าวธรรมโดยบท พวกอุบาสกจึงไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ไม่ประพฤติให้ถูกอัธยาศัยในหมู่ภิกษุอยู่ ภิกษุทั้งหลายติเตียน แล้วกราบทูล... ทรงมีพระบัญญัติว่า “อนึ่ง ภิกษุใดยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบท เป็นปาจิตตีย์

อรรถาธิบาย
       -ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน
       -ที่ชื่อว่า โดยบท ได้แก่ บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ
       -ที่ชื่อว่า บท คือ ขึ้นต้นพร้อมกัน ให้จบลงพร้อมกัน
       -ที่ชื่อว่า อนุบท คือ ขึ้นต้นต่างกัน ให้จบลงพร้อมกัน
       -ที่ชื่อว่า อนุอักขระ คือ ภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ  อนุปสัมบันกล่าวพร้อมกันว่า รู ดังนี้ แล้วหยุด
       -ที่ชื่อว่า อนุพยัญชนะ คือ ภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ อนุปสัมบันเปล่งเสียงรับว่า เวทนา อนิจจา
       -บทว่า อนุบทก็ดี อนุอักขระก็ดี อนุพยัญชนะก็ดี ทั้งหมดนั้นชื่อว่า ธรรมโดยบท
      -ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ บาลีที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต เทวตาภาษิต ซึ่งประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม
       - ให้กล่าว คือ ให้กล่าวโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ บท ให้กล่าวโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ อักขระ

อาบัติ
       ๑.อนุปสัมบัน ภิกษุรู้ว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๒.อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย (ว่าเป็นหรือไม่เป็นหนอ) ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๓.อนุปสัมบัน ภิกษุคิดว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
       ๔.อุปสัมบัน ภิกษุคิดว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้กล่าว...ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๕.อุปสัมบัน ภิกษุรู้ว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าว... ต้องอาบัติทุกกฎ
       ๖.อุปสัมบัน ภิกษุรู้ว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าว... ไม่ต้องอาบัติ

อนาบัติ
       ภิกษุให้สวดพร้อมกัน ๑  ท่องพร้อมกัน ๑  อนุปสัมบันผู้กล่าวอยู่ สวดอยู่ ซึ่งคัมภีร์ที่คล่องแคล่วโดยมาก ๑  วิกลจริต ๑  อาทิกัมมิกะ ๑

สมนฺตปาสาทิกาอรรถกถา วินยะ. มหาวิ.๒/๑๕๘-๑๖๓
       ๑.บทว่า อปฺปติสสา  ได้แก่ ไม่ยำเกรง อธิบายว่า เมื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ดูก่อน อุบาสกทั้งหลาย แม้ถ้อยคำก็ไม่อยากฟัง คือ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ประพฤติอ่อนน้อม เหมือนอย่างที่พวกอุบาสกควรประพฤติต่อภิกษุ
       ๒.คำว่า ปทโส ธมมํ วาเจยฺย  ความว่า ให้กล่าวธรรมเป็นบทๆ รวมกัน (กับอนุปสัมบัน) อธิบายว่า ให้กล่าวธรรมเป็นส่วนๆ ก็เพราะบทที่มีชื่อว่าเป็นส่วนๆ (โกฏฐาส) นั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ
         บท หมายเอาคาถาบาทหนึ่ง, อนุบท หมายเอาบาทที่สอง, อนุอักขระ หมายเอาอักขระตัวหนึ่ง (หมายเอาอักขระแต่ละตัว), อนุพยัญชนะ หมายเอาพยัญชนะตัวท้ายคล้ายกับพยัญชนะตัวต้น ผู้ศึกษาพึงทราบความต่างกัน ดังนี้คือ อักขระตัวชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า อนุอักขระ, ประชุมอักขระ ชื่อว่า อนุพยัญชนะ, ประชุมอักขระและอนุพยัญชนะ ชื่อว่า บท และบทแรก ชื่อว่าบทเหมือนกัน, บทที่สองชื่อว่า อนุบท
       ๓.เมื่อภิกษุให้กล่าวธรรมเนื่องด้วยคาถา เริ่มบทแต่ละบทนี้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา พร้อมกันกับอนุปสัมบัน แล้วให้จบลงพร้อมกัน ภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้พึงปรับอาบัติปาจิตตีย์หลายตัวตามจำนวนบท
       -เมื่อพระเถระกล่าวว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ดังนี้  สามเณรกล่าวบทนั้นไม่ทัน จึงกล่าวบทที่สองพร้อมกันว่า มโนเสฏฺฐา มโนมยา.  ภิกษุและสามเณรทั้งสองรูปนี้ ชื่อว่าขึ้นต้นต่างกัน ให้จบลงพร้อมกัน ภิกษุให้กล่าวอย่างนี้ พึงปรับอาบัติปาจิตตีย์หลายตัวตามจำนวนอนุบท
       -ภิกษุสอนสามเณรว่า เธอจงว่า รูปํ อนิจฺจํ กล่าวพร้อมกันเพียงรูปอักษรเท่านั้น แล้วหยุดอยู่ แม้ภิกษุให้กล่าวอย่างนี้ ก็พึงปรับปาจิตตีย์หลายตัวตามจำนวนอนุอักขระ, และคาถาประพันธ์ บัณฑิตก็ย่อมได้นับเช่นนี้เหมือนกันแท้ทีเดียว
       -สามเณรให้บอกสูตรนี้ว่า รูปํ ภิกฺขเว อนิจฺจํ เวทนา อนิจฺจา เป็นต้น พระเถระบอกว่า รูปํ อนิจฺจํ ดังนี้  สามเณรเปล่งวาจากล่าวว่า เวทนา อนิจจา พร้อมกับ รูปํ อนิจฺจํ ของพระเถระนั้น เพราะความที่เธอมีปัญญาว่องไว ภิกษุผู้ให้กล่าวอย่างนี้ พระวินัยธรพึงปรับปาจิตตีย์หลายตัวตามจำนวนอนุพยัญชนะ, ส่วนความสังเขปในบทเหล่านี้มีดังนี้ว่า บรรดา “บท” เป็นต้นนี้ ภิกษุกล่าวบทใดๆ พร้อมกัน ย่อมต้องอาบัติด้วยบทนั้นๆ
       ๔.”ภาษิต ๔ อย่าง”
      -วินัยปิฎกทั้งสิ้น อภิธรรมปิฎก ธรรมบท จริยปิฎก อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ และพระสูตรทั้งหลาย มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น ชื่อว่า พุทธภาษิต
       -ธรรมที่พวกสาวกผู้นับเนื่องในบริษัท ๔ ภาษิตไว้มี อนังคณสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร อนุมานสูตร จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น ชื่อว่า สาวกภาษิต
       -ธรรมที่พวกปริพาชกภายนอกกล่าวไว้ มีอาทิอย่างนี้คือ ปริพาชกวรรคทั้งหมด คำปุจฉาของพราหมณ์ ๑๖ คน ผู้เป็นอันเตวาสกของพราหมณ์ ชื่อว่า พาวรี ชื่อว่า อิสิภาษิต
      -ธรรมที่พวกเทวดากล่าวไว้ มีเทวตาสังยุตต์ เทวปุตตสังยุตต์ มารสังยุตต์ พรหมสังยุตต์ และสักกสังยุตต์ เป็นต้น ชื่อว่า เทวตาภาษิต
       ภาษิตทั้ง ๔ ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม (ธรรมที่อาศัยอรรถกถา ชื่อว่า อรรถ, ธรรมที่อาศัยพระบาลี ชื่อว่าธรรม) ด้วยบทว่า “ประกอบด้วยอรรถ และประกอบด้วยธรรมนี้” พระอุบาลีเถระกล่าวหมายถึงธรรมที่อาศัยนิพพานซึ่งปราศจากวัฏฏะนั่นเอง, ภิกษุให้กล่าวย่อมเป็นอาบัติเหมือนกัน
       -เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ให้กล่าวธรรมที่ขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๓ คราว (สังคายนาครั้งที่ ๑-๓) โดยบทเหมือนกัน, ไม่เป็นอาบัติแม้ในคำที่อาศัยพระนิพพาน ซึ่งท่านรจนาโดยผูกเป็นคาถาโศลกไว้เป็นต้น ด้วยอำนาจภาษาต่างๆ
       -แม้ในพระสูตรที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่สังคีติ ๓ คราว เช่น กุลุมพสูตร ราโชวาทสูตร ติกขินทริยสูตร จตุปริวัตตสูตร และนันโทปนันทสูตร ก็เป็นอาบัติเหมือนกัน, ถึงการทรมานพญานาคชื่อว่า อปลาละ อาจารย์ก็กล่าวว่าเป็นอาบัติ แต่ในมหาปัจจรีท่านว่าไม่เป็น
       -ในปฏิภาณส่วนตัวของพระเถระ ในเมณฑกมิลินฑปัญหา ไม่เป็นอาบัติ, แต่เป็นอาบัติในถ้อยคำที่พระเถระนำมากล่าว เพื่อให้พระราชามิลินฑ์ยินยอม
       -อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ธรรมชื่อว่า สีลูปเทส ซึ่งพระสารีบุตรกล่าวไว้ เป็นอาบัติเหมือนกัน, ยังมีปกรณ์แม้อื่น เช่น มัคคกถา อารัมมณกถา วุฑฒิกรันฑกญาณวัตถุ และอสุภกถา เป็นต้น ในปกรณ์เหล่านี้ ท่านจำแนกโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ไว้, ในธุดงคปัญหาท่านจำแนกปฏิปทาไว้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเป็นอาบัติในปกรณ์เหล่านั้น
       -แต่ในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวอนาบัติไว้ในจำพวกราโชวาทสูตร ติกขินทริยสูตร จตุปริวัตตสูตร นันโทปนันทสูตร กุลุมพสูตร (ทั้งหมดเป็นพระสูตรของฝ่ายมหายาน) นั้นแล ซึ่งไม่ขึ้นสู่สังคีติ (การสังคายนา) แล้วกำหนดอรรถไว้ดังนี้ว่า บรรดาคำในสูตรเหล่านั้น เฉพาะคำที่ท่านนำมาจากพุทธพจน์กล่าวไว้เท่านั้น เป็นวัตถุแห่งอาบัติ นอกจากนี้หาเป็นไม่
       ๕.อุปสัมบันกับอนุปสัมบันนั่งแล้ว ขอให้อาจารย์สวด อาจารย์คิดว่าเราจะสวดแก่อุปสัมบันและอนุปสัมบันทั้งสองผู้นั่งแล้ว จึงสวดพร้อมกันกับเธอเหล่านั้น เป็นอาบัติแก่อาจารย์ เป็นอนาบัติแก่ภิกษุผู้เรียนเอาพร้อมกับอนุปสัมบัน, แม้อุปสัมบันกับอนุปสัมบันทั้งสองยืนเรียนอยู่ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน
       -ภิกษุหนุ่มนั่ง สามเณรยืน ไม่เป็นอาบัติแก่อาจารย์ผู้บอก ด้วยคิดว่าเราจะกล่าวแก่ภิกษุผู้นั่ง, ถ้าภิกษุหนุ่มยืน สามเณรนั่ง ก็ไม่เป็นอาบัติแก่อาจารย์ผู้กล่าวอยู่ ด้วยคิดว่าเราจะกล่าวแก่ภิกษุผู้ยืน
       -ถ้าสามเณรรูปหนึ่งนั่งอยู่ระหว่างภิกษุมากรูป เป็นอจิตตกาบัติแก่อาจารย์ผู้ให้กล่าวธรรมโดยบท ในเฉพาะสามเณรนั่งอยู่ด้วย
       -ถ้าสามเณรยืนหรือนั่งละอุปจารเสีย เพราะสามเณรไม่นับเนื่องอยู่ในพวกภิกษุที่อาจารย์ให้กล่าว (ธรรมโดยบท) เธอจึงถึงการนับว่า เรียนเอาคัมภีร์เล็ดลอดออกไปโดยทิศหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นอาบัติแก่อาจารย์
       ๖.อุปสัมบันเมื่อกระทำการสาธยายร่วมกันกับอนุปสัมบัน สวดพร้อมกันกับอนุปสัมบันนั้นแล ไม่เป็นอาบัติ แม้ภิกษุเรียนอุเทศในสำนักแห่งอนุปสัมบัน สวดร่วมกับอนุปสัมบันนั้นก็ไม่เป็นอาบัติ เพราะว่าแม้อุปสัมบันนี้ก็ถึงอันนับว่ากระทำสาธยายพร้อมกันแท้
       -ถ้าในคาถาเดียวกัน บาทหนึ่งๆ ยังจำไม่ได้ ที่เหลือจำได้ นี้ชื่อว่าคัมภีร์ที่คล่องแคล่วโดยมาก, แม้ในพระสูตรผู้ศึกษาก็พึงทราบโดยนัยนี้, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ทักให้คัณฐะ (คัมภีร์) นั้นค้างอยู่ จึงสวดพร้อมกัน
       ๗.สิกขาบทนี้มีธรรมโดยบทเป็นสมุฏฐาน เกิดทางวาจา ๑  วาจากับจิต ๑  เป็นอจิตตกะ เป็นปัณณัตติวัชชะ วจีกรรม มีจิต ๓ (อกุศลจิต (โลภมูลจิต), กุศลจิต, กิริยาจิต)
       ๘.ในพระไตรปิฎกฯ เล่มเดียวกัน แปลสิกขาบท “โย ปน ภิกฺขุ อนุปสมฺปนฺนํ ปทโส ธมฺมํ วาเจยฺย ปาจิตฺติย” ว่า “อนึ่ง ภิกษุใดยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบท เป็นปาจิตตีย์” แปลเช่นนี้นอกจากจะไม่เข้าใจแล้ว ยังทำให้สงสัยได้อีกด้วยว่า เมื่อไม่กล่าวโดยบทแล้ว จะให้กล่าวทีละอักษรหรืออย่างไร
       บทว่า “ปทโส” ในสิกขาบทนี้ไม่ควรแปลว่า “โดยบท” เพราะโส ปัจจัยในที่นี้ไม่ได้ลงใจอรรถตติยาวิภัตติ แต่ลงในอรรถวิจฉา (คำซ้ำ) ลง ทุติยาวิภัตติ หลัง ปทโส แต่ลงแล้วลบไป  ฉะนั้น ปทโส จึงเท่ากับ ปทํ ปทํ (ทุกๆ บท) นั่นเอง
       “ปท” ศัพท์ในบทว่า “ปทโส” นี้มีอรรถเป็นโกฏฐาส (ส่วน) ดังที่อรรถกถาพรรณนาไว้ว่า “ปทโส ธมฺมํ วาเจยฺยาติ เอกโต ปทํ ปทํ ธมฺมํ วาเจยฺย โกฏฺฐาสํ โกฏฺฐาสํ วาเจยฺยาติ อตฺโถ
       คำว่า “ปทโส ธมฺมํ วาเจยฺยํ” หมายความว่า ให้กล่าว (สวด) ธรรมทุกๆ บท คือ ทุกๆ ส่วนพร้อมกัน (กับตน)

ปทศัพท์ มีอรรถ ๙ อย่าง คือ

ปทํ ฐาเน ปริตฺตาเณ       นิพฺพานมฺหิ จ การเณ
สทฺเท วตฺถุมฺหิ โกฏฺฐาเส     ปาเท ตลฺลญฺฉเน มตํ.
     
      พึงทราบว่า บทว่า ปท มีอรรถ ๙ อย่าง คือ ฐาน ที่ตั้ง, ปริตฺตาณ ป้องกัน, นิพฺพาน พระนิพพาน, การณ เหตุ, สทฺท เสียง, วตฺถุ พัสดุ, โกฏฺฐาส ส่วน, ปาท เท้า, ตลฺลญฺฉน รอยเท้า
       ปท ศัพท์ในสิกขาบทนี้หมายเอาอรรถ “โกฏฺฐาส” เท่านั้น  ฉะนั้น จึงควรแปลว่า “อนึ่ง ภิกษุใด ยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมทุกๆ บทพร้อมกัน (กับตน) เป็นอาบัติปาจิตตีย์
       โดยมาก ในครั้งโบราณสอนธรรมกันด้วยปาก แล้วให้ลูกศิษย์ว่าตามจนกว่าจะจำได้ ในกรณีนี้ ถ้าภิกษุใดให้ลูกศิษย์เป็นอนุปสัมบันว่าตามไปพร้อมกันกับตน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่สมัยนี้เรียนกันด้วยตัวหนังสือ จึงไม่เป็นอาบัติเพราะสิกขาบทนี้ (นานาวินิจฉัย/๙๘-๙)



คัดจาก คัดจาก พระวินัย ๒๒๗ พุทธบัญญัติจากพระไตรปิฎก,
           ธรรมสภา และ สถาบันบันลือธรรม จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา
           (ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)

2894  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: รวมภาพเก่าหาดูยาก : ภาพเก่าเล่าเรื่อง เมื่อ: 27 มกราคม 2560 16:04:32


สิบโทโทน บินดี นายสิบนักบินคนแรกของสยาม (๑)

เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๓ ชาวเบลเยียมขับเครื่องบินแบบอ็องรีฟาร์มัง มาลงที่สนามราชกรีฑาสโมสร หรือสนามม้าสระปทุมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สยาม ต่อมาในหลวง ร.๖ โปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือกนายทหารบก ๓ นาย คือ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร และ ร้อยโททิพย์ เกตุทัต ไปเรียนวิชาการบินในประเทศฝรั่งเศส นายทหารบกทั้ง ๓ ท่านนี้ออกเดินทางใน ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๔ และในเวลาเดียวกันกระทรวงกลาโหมก็สั่งซื้อเครื่องบินแบบนิเออปอร์ต (Nieuport) ปีกชั้นเดียว ๔ เครื่อง เครื่องแบบเบร์เกต์ (Brequet) ปีก ๒ ชั้น ๓ เครื่อง รวม ๗ เครื่อง และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) บริจาคเงินซื้ออีก ๑ เครื่อง รวมเป็น ๘ เครื่อง เมื่อสำเร็จการฝึกจากโรงเรียนการบินของฝรั่งเศส นายทหารนักบินทั้ง ๓ กลับมาถึงกรุงเทพฯ

๑๓ มกราคม ๒๔๕๖ ในหลวง ร.๖ เสด็จไปที่สนามบินในสนามม้าสระปทุม โปรดเกล้าฯ ให้นักบิน ๓ ท่านนี้บินถวายตัวโดยใช้เครื่องบินที่กลาโหมสั่งซื้อมา อันเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนักกลาโหมออกคำสั่งให้ย้ายสนามบินออกไปอยู่ทุ่งดอนเมือง ต่อมา ๘ มีนาคม ๒๔๕๗ การก่อสร้างอาคารโรงบินเสร็จ นักบินทั้ง ๓ ท่านขับเครื่องบินจากสนามม้าสระปทุมไปลงที่ดอนเมือง และ ๒๗ มีนาคม ๒๔๕๗ กลาโหมมีคำสั่งจัดตั้ง “กองบินทหารบก”

กองบินทหารบกเริ่มภารกิจฝึกนักบิน โดยรุ่นแรกคัดเลือกมาจากหน่วยทหารในกองทัพบก เพื่อเข้าฝึกบินชั้นประถม มีนายทหารที่ผ่านการทดสอบ ๘ นาย คือ ร.ท.เจริญ, ร.ต.เหม ยศธร, ร.ต.นพ เพ็ญกูล, ร.ต.ปลื้ม สุคนธสาร, ร.ต.สวาสดิ์, ร.ต.หนอม, ร.ต.ปิ่น มหาสมิติ และ ร.ต.จ่าง นิตินันท์ หากแต่มีนายทหารที่สำเร็จการศึกษาเพียง ๕ นาย

กองบินทหารบกยังขอโอนพลทหารจำนวน ๖๒ นาย ที่มีความรู้ ประสบการณ์งานช่างจากกองพลทหารบกที่ ๑ และกองพลทหารบกที่ ๒ เพื่อมาเป็นช่างเครื่องบินในขั้นตอนตั้งหน่วยใหม่




ย้อนไปปลายปี พ.ศ.๒๔๕๔ นายโทน ใยบัวเทศ ชาวนนทบุรี สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายสิบทหารบก เป็นสิบตรี เงินเดือน ๓๐ บาท เกิดนึกเบื่องานประจำ ประสงค์จะมีวิชาชีพติดตัวไปทำมาหากิน ต้องการไปหาความรู้ในกรมอากาศยาน ใฝ่ฝันอยากทำงานเกี่ยวกับเหล็ก เพื่อจะกลับไปตีเหล็กทำมีดขายตอนเกษียณราชการ

สิบตรีโทนรวบรวมความกล้าพร้อมเพื่อนอีก ๓ คน ชักชวนกันไปกราบพระยาเฉลิมอากาศ เพื่อขอย้ายไปเป็นช่างที่กรมอากาศยาน ที่สระปทุม (สนามม้าสระปทุม)

เจ้ากรมอากาศยานเมตตารับฟังนายสิบชั้นผู้น้อยด้วยความเมตตา แต่ลังเลใจพอสมควร เพราะทหารบกทั้ง ๔ คน ไม่เคยมีพื้นฐานงานทางช่างมาก่อน กรมอากาศยานจะรับเฉพาะคนที่ผ่านงานช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างเครื่องยนต์ มาก่อนเท่านั้น ประการสำคัญจะมีเบี้ยเลี้ยงเพียงเดือนละ ๗ บาท ๕๐ สตางค์เท่านั้น

นายสิบตรีทหารราบทั้ง ๔ คน ตกตะลึงกับจำนวนเบี้ยเลี้ยงที่ลดลงเมื่อเทียบกับเบี้ยเลี้ยงที่หน่วยเดิม ๓ คนกราบลาเจ้ากรมอากาศยาน

เหมือนชะตาฟ้าลิขิต สิบตรีโทนกัดฟันตอบรับ ตกลงกับท่านเจ้ากรม ขอย้ายมาทำงานกรมอากาศยานแต่ผู้เดียว



สิบตรีโทนย้ายเข้าไปกรมอากาศยาน ในขณะที่กลาโหมเพิ่งออกคำสั่งให้เคลื่อนย้ายกรมอากาศยานออกไปอยู่แถวดอนเมืองพอดี งานหลักที่หมู่โทนต้องทำคือคุมทหารปรับพื้นที่ท้องนา และทำรั้วทุ่งดอนเมือง ที่จะเป็นสนามบินแห่งแรกของสยาม

นายสิบชาวนนทบุรีคนนี้ทำงานกลางแจ้งอยู่ ๖ เดือน คุมพลทหารทำรั้วสนามบิน ไปผูกปิ่นโตกับร้านข้าวแกงเดือนละ ๗ บาท เหลือเงินไว้ซื้อใบจากและยาตั้งเดือนละ ๕๐ สตางค์ อดทนกับความยากลำบากทั้งปวงโดยไม่ปริปาก และไม่เคยติดต่อกับพ่อแม่ ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าจะกลับไปกราบบุพการีเมื่อลืมตาอ้าปากได้เท่านั้น

สวรรค์มีตา นับเป็นโชคดีของสิบตรีโทน เจ้าคุณเฉลิมอากาศเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีคุณธรรม เห็นความดีงาม ความซื่อสัตย์ของสิบตรีโทน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง จึงเมตตาให้สิบตรีโทนเข้าเรียนเป็นช่างเครื่องบิน พร้อมกับนายทหารสัญญาบัตร โดยมีพันตรีทะยานพิฆาต และพันโทพระยาเวหาสยานศิลปะสิทธิ์ เป็นครูประจำหลักสูตร

ความฝันที่จะมีความรู้ติดตัวออกไปเป็นช่างตีเหล็กของผู้หมู่โทน เริ่มใกล้ความจริงแล้ว และได้รับการเลื่อนยศเป็นสิบโท

กรมพระกำแพงเพ็ชรฯ เจ้าคุณเฉลิมฯ เจ้าคุณเวหาสฯ และเจ้าคุณทะยานฯ มาเป็นคณะกรรมการสอบไล่เมื่อกำลังพลจบหลักสูตรช่างเครื่องบินนาน ๖ เดือน ปรากฏว่าสิบโทโทน สอบไล่ได้เป็นลำดับที่ ๒ ในขณะที่นายทหารอีกหลายนายถูกลงโทษ

เจ้าคุณเฉลิมอากาศฯปรับเงินเดือนของสิบโทโทนขึ้นมาเป็น ๕ ตำลึงเกือบเท่ากับเงินเดือนตอนเป็นสิบโททหารราบ

สิบโทโทนมุ่งมั่นทำงานช่างเครื่องบินด้วยความรัก ต่อมากระทรวงกลาโหมออกคำสั่งให้นายทหารสัญญาบัตรที่เรียนจบหลักสูตรช่างเครื่องบิน ๕ นายคือ ร.ท.นพ เพ็ญกุล, ร.ท.ปลื้ม คชสาร, ร.ต.จ่าง นิตินนท์, ร.ท.เหม ยศธร และ ร.ต.ปิ่น มหาสมิติ เข้าไปเรียนในโรงเรียนการบิน เจ้าคุณเฉลิมอากาศท่านมีเมตตาให้โอกาสนายสิบที่มีคะแนนการศึกษาดีเยี่ยมคือสิบโทโทนเข้าร่วมฝึกเป็นนักบินในหลักสูตรนี้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ปกติที่นายสิบจะมาเรียนร่วมกับนายทหารสัญญาบัตร

กองบินทหารบกใช้เครื่องบินฝึกเพียง ๒ ลำ คือ แบบเบร์เกต์ (Brequet) ๕๐ แรงม้า และเครื่องแบบนิเออปอร์ต (Nieuport) ปีกชั้นเดียว อีก ๑ เครื่องผลัดกันขึ้นบิน ศิษย์การบินทั้ง ๖ นาย ช่วยกันเติมน้ำมัน เช็ดคราบน้ำมัน บินไปซ่อมไป ในการฝึกช่วงแรกครูจะให้นักบินฝึกบังคับเครื่องบินวิ่งไป-กลับบนทางวิ่งเท่านั้น เจ้าคุณทะยานพิฆาตจะตรวจสอบว่า ถ้าใครเร่งเครื่องเต็มที่ให้หางขนานกับพื้นดินได้อย่างนุ่มนวล ราบรื่นจึงจะอนุญาตให้บินขึ้นสู่อากาศ

ทุกครั้งที่จะอนุญาตให้ศิษย์การบินคนใดนำเครื่องบินขึ้นสู่อากาศได้ จะเป็นความตื่นเต้นของกำลังพลและครอบครัวที่จะต้องมาคอยดูกันแน่น สิบโทโทนบันทึกปูมชีวิตด้วยความน้อยใจว่า ตัวเองเป็นนายสิบเลยไม่ค่อยมีโอกาสได้ฝึกบินตามตาราง เพราะเกรงใจนายทหารสัญญาบัตรอีก ๕ นายที่ฝึกอยู่ด้วยกัน

เช้าวันหนึ่ง เจ้าคุณทะยานพิฆาตขอนำเครื่องนิเออปอร์ตขึ้นบินเองเพื่อทดสอบ เมื่อบินลงมาแล้วท่านสั่งให้สิบโทโทนขึ้นบินทดสอบฝีมือ โดยสั่งให้บินขึ้นสูง ๒๐๐ เมตร เลี้ยวซ้ายและนำเครื่องลง ผลปรากฏว่าสิบโทโทนบินตามสั่งได้อย่างนุ่มนวล และท่านออกปากต่อหน้ากำลังพลทุกคนที่ยืนดูว่าโทนบินได้ดีราวกับนักบินที่บินมาแล้ว ๑๐๐ ชั่วโมง

เจ้าคุณเฉลิมอากาศถอดเครื่องหมายปีกนกจากอินธนูของท่านส่งให้สิบโทโทน “หวังว่าโทนคงเป็นนักบินที่ดีคนหนึ่งของกองทัพ ฉันหวังเป็นอย่างมากว่า เอ็งจะเป็นผู้นำนายสิบทั้งหลายในเรื่องการบิน”

เจ้าคุณกล่าวให้พรอันเป็นมงคลชีวิตแก่สิบโทโทน

การกล่าวชมฝีมือการบินของสิบโทโทนของเจ้าคุณ ต่อหน้ากำลังพลทั้งหลาย เป็นนัยแอบแฝง เพื่อส่งสัญญาณให้ทุกคนทราบว่า เรื่องฝีมือการบินนั้น นายสิบก็บินได้ถ้ามีความตั้งใจฝึกฝน อดทนและไม่กลัวตาย (ในขณะนั้นมีกระแสความไม่พอใจที่ให้นายสิบมาเรียนบินพร้อมกับนายทหารสัญญาบัตร : ผู้เขียน )

สิบโทโทนเจียมเนื้อเจียมตัว จนผ่านการฝึกทั้งภาคอากาศและภาคพื้นดิน ในที่สุด กลาโหมอนุมัติให้เข้าเป็นศิษย์การบินมัธยมหมายเลข ๖ ได้เครื่องหมายปีกนกติดอินธนู ได้เงินเพิ่มอีกเดือนละ ๒๐ บาท รวมเป็นเงินเดือนทั้งสิ้น ๔๐ บาท

สิบโทโทนพร้อมที่จะกลับบ้านไปกราบพ่อแม่ ตามที่สัญญาไว้กับตัวเอง หายจากบ้านไป ๒ ปี เด็กหนุ่มคนนี้กลายเป็นศิษย์การบินของกองทัพไปแล้ว ญาติพี่น้องปลื้มใจสุดขีดแต่ก็แฝงด้วยความห่วงใย

โทนกลับไปฝึกบินต่อ โดยต้องทดสอบการบินเป็นรูปสามเหลี่ยม จากดอนเมืองไปนครปฐม แล้วบินต่อไปอยุธยา และบินกลับดอนเมือง ในระยะความสูง ๘๐๐ เมตร โดยมีเครื่องวัดความสูงแขวนคอไปด้วย สิบโทโทนสำเร็จการศึกษาบรรจุเป็นนักบินกองทัพบก

ผู้เขียนต้องกราบขอโทษท่านผู้อ่านที่จะต้องเปิดเผยวีรกรรมของสิบโทโทน ใยบัวเทศ ในตอนต่อไป ซึ่งบุคคลผู้นี้เป็นเสืออากาศที่ไปสำแดงฝีมือในฝรั่งเศส ที่คนไทยควรรู้จักอย่างยิ่งครับ





สิบโท โทน บินดี ไปแสดงฝีมือการบินในท้องฟ้าฝรั่งเศส (๒)

ความเดิมจากตอนที่แล้ว สิบตรี โทน ใยบัวเทศ นายสิบทหารราบ ผู้ใฝ่ฝันจะมีความรู้เป็นช่างตีเหล็กเพียงเพื่อจะไปทำมีดขายตอนแก่ ได้รับความเมตตาจากเจ้าคุณเฉลิมอากาศให้เข้าเรียนเป็นช่างเครื่องบิน ตอนจบสอบไล่ได้ที่ ๒ และท่านสนับสนุนให้สิบโท โทน เข้าไปฝึกต่อเป็น ศิษย์การบิน เพื่อเป็นนักบินรุ่นแรกของสยามประเทศ

นายทหารสัญญาบัตร ๕ นายและนายสิบ ๓ นายสำเร็จการฝึกเป็นนักบินกองทัพบกเป็นรุ่นแรกในประวัติศาสตร์สยาม ๔ เดือนต่อมา ไปบินถวายตัวต่อในหลวง ร.๖ ที่สนามบิน (สนามม้าสระปทุม) ซึ่งประกอบด้วย ร.ท.ปลื้ม สุคนธสาร ร.ต.นพ เพ็ญกูล ร.ต.ปิ่น มหาสมิติ ร.ต.จ่าง นิตินันท์ ร.ต.เหม ยศธร ส.ท.โทน บินดี ส.ท.เปลื้อง คล้ายเนตร และ ส.ท.เล็ก ทองจรัส

เมื่อในหลวง ร.๖ เสด็จพระราชดำเนินตรวจแถว เจ้าคุณเฉลิมอากาศตามเสด็จฯ แนะนำ ยศและชื่อนักบิน สิบโท โทน คือ ๑ ในบรรดานักบินรุ่นแรกที่ได้ถวายตัว นับเป็นมงคลชีวิตหาที่สุดมิได้ ที่ชะตาชีวิตให้เขามีบุญได้ถวายตัวต่อในหลวงในฐานะนักบิน

โชคชะตาช่างเกื้อกูลต่อชะตาชีวิตของนักบินสยาม ๘ คนแรก เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ ระเบิดขึ้นในยุโรปเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๗ ในหลวง ร.๖ เคยทรงใช้ชีวิตศึกษาในอังกฤษนาน ๙ ปี พระองค์เฝ้าติดตามสถานการณ์สงคราม เพราะตั้งพระทัยจะใช้จังหวะนี้ส่งทหารจากสยามไปร่วมรบ เพื่อจะขอบอกเลิกสัญญาทั้งหลายกับประเทศตะวันตก สยามวางตัวเป็นกลางเฝ้าดูสถานการณ์ราว ๓ ปี

เมื่อสถานการณ์เริ่มกระจ่างจนกระทั่ง ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐ รัฐบาลสยามประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมัน

ในหลวง ร.๖ รับสั่งให้กลาโหมเปิดรับทหารอาสาสมัครที่จะไปร่วมสงครามในยุโรป มีการจัดหน่วยทหารขนส่ง หน่วยบิน และหน่วยพยาบาล

กองทหารอาสาสมัครของสยามที่ผ่านการคัดกรองแล้วจำนวน ๑,๒๘๔ นาย ฝึกยิงปืน ขับรถ ขับเครื่องบินอยู่แถวทุ่งดอนเมือง

กลางดึก ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ กองทหารอาสาขึ้นรถไฟจากดอนเมืองเข้ามากรุงเทพฯ ทำพิธีที่หน้ากระทรวงกลาโหม กราบอำลาพระแก้วมรกต แล้วเดินทางไปท่าราชวรดิฐ ลงเรือราชนาวีไทย ๓ ลำ มุ่งหน้าไปเกาะสีชัง ทหารหนุ่มจากสยามทั้งหมดย้ายไปลงเรือชื่อ “มิเตา” ของฝรั่งเศส มุ่งหน้าไปสิงคโปร์-โคลัมโบ-เอเดน-ปอร์ทเสด ไปขึ้นฝั่งที่เมืองมาร์แซลล์ของฝรั่งเศส

หน่วยบินจากสยามพักคอย จัดระเบียบอยู่ ๑๕ วัน หลังจากนั้นได้รับคำสั่งให้ไปเข้าฝึกบินปรับมาตรฐานในหน่วยบินของฝรั่งเศสที่ตำบลเอ็กซ์ ห่างจากชายฝั่งทะเลราว ๑๕ กม. ใช้เวลาฝึกกับครูการบินฝรั่งเศสราว ๑ เดือนร่วมกับศิษย์การบินของญี่ปุ่น โปรตุเกส นักบินจากสยามทั้งหมดสำเร็จตามหลักสูตรการบินของฝรั่งเศส

นักบินหนุ่มจากสยาม รวม ๘ นายและเพื่อนต่างชาติ ถูกส่งไปฝึกบินรบต่อที่โรงเรียนบินผาดโผนที่เมืองโป (Pau) บริเวณชายแดนฝรั่งเศส-สเปน

นายกิมหิน นักเรียนไทยที่ไปเรียนทางด้านศาสนาอยู่ที่ฝรั่งเศสถูกส่งมาเป็นล่ามประจำคณะของนักบินสยาม ที่นี่ฝึกบินด้วยเครื่องแบบนิเออร์ปอร์ต ๘๐ แรงม้า และเมื่อผ่านเกณฑ์ ครูฝึกจึงเริ่มให้บินผาดโผนด้วยการควงสว่าน (Spin Turn)

ผู้เขียนได้พูดคุยกับนายทหารนักบินในปัจจุบัน ได้ความรู้ว่า เครื่องบินในยุคนั้น มีเพียงเครื่องวัดความสูง ไม่มีอุปกรณ์ เครื่องมือที่จะช่วยนักบินตรวจสอบหรือเตือนภัย ต้องใช้สมาธิและความบ้าบิ่น เป็นหลัก

การบินแบบควงสว่านที่ครูการบินฝรั่งเศสให้ฝึก คือ การท้ามฤตยู ล้อเล่นกับความตาย ที่นักบินรบจะต้องปฏิบัติให้ได้





เช้าวันนั้น สิบโท โทน ก้าวออกไปหน้าแถว รับคำท้าครูฝึกนักบินฝรั่งเศส เพื่อขอ “ควงสว่าน” โดยเครื่องนิเออร์ปอร์ท ๑๓ ตารางเมตร ๘๐ แรงม้า เป็นคนแรก พร้อมกับหันมาพูดกับ ร.ท. ประเสริฐ ว่าหากพลาดพลั้งเสียชีวิต ให้นำกระดูกกลับเมืองไทยด้วย

สิบโท โทน นำเครื่องแบบนิเออร์ปอร์ตขึ้นสูงได้ ๒,๐๐๐ เมตร แล้ว ผ่อนกำลังเครื่องยนต์จนหมด ถีบขวาให้เครื่องบินพลิกคว่ำลง

นิเออร์ปอร์ทปักหัวหมุนเป็นเกลียวสว่านลงพื้นดินเหมือนใบไม้ร่วง เมื่อได้ระยะพอสมควร ครูฝึกสั่งให้โทน แก้อาการควงสว่าน เครื่องหยุดหมุนและเงยขึ้นตามเดิม สิบโทน ขนหัวลุก หัวใจสูบฉีดเลือดแรงปรี๊ดทั่วสรรพางกาย และนำเครื่องลงสู่พื้นได้อย่างปลอดภัย

เด็กหนุ่มจากนนทบุรี ฝันจะเป็นแค่ช่างตีเหล็ก กลายมาเป็นนักบินสยามคนแรกที่ไปบินผาดโผนในฝรั่งเศสสำเร็จ บรรดาทีมนักบินของสยามที่เฝ้าเอาใจช่วย ต่างกรูกันเข้าไปยินดีกับสิบโทโทน ซึ่งยังอกสั่นขวัญแขวน ใจเต้นระทึก พูดไม่ออก

“เราต้องทำตามที่ครูสอนทุกประการ ต้องกล้าเสี่ยงตาย ขณะที่ถีบขวาให้เครื่องบินพลิกคว่ำลง ถ้าลังเลใจกลัวตายอาจเป็นอันตรายได้ หรืออาจจะควงไม่สวย ลองกัดฟันยอมตายจริงๆ ไม่ปอดลอยแล้ว มันไม่ยากเย็นอะไรเลย “สิบโท โทน ระบายความดีใจอย่างออกหน้าออกตา หลังจาก “ควงสว่าน” บนท้องฟ้าเมืองน้ำหอมสำเร็จ

ผ่านไปหลายวัน ในที่สุดนักบินสยามทั้ง ๘ นายก็ผ่านหลักสูตรทั้งหมด บางคนก็ทำได้สวยงาม บางคนก็ทุลักทุเล บางคนบินขึ้นไปแล้วไม่ยอมควงลงมา

นักบินด้วยกันเอง จะทราบดีว่า คนบางคนเกิดมามีพรสวรรค์ที่จะบังคับเครื่องบินได้อย่างห้าวหาญและสวยงามในทุกลีลา ที่ฝรั่งจะใช้คำชมว่า Born to Fly สิบโท โทน คือ ๑ ในคนจำพวกนั้นที่โชคชะตานำพาเขามาไกลสุดขอบฟ้าตามที่ลูกผู้ชายเคยฝันไว้

หลักสูตรต่อไปคือ ฝึกการยิงจากอากาศ ยาน ที่โรงเรียนการใช้อาวุธตำบลบิสกาโร (Biscarrotte) นาน ๔๐ วัน เมื่อจบหลักสูตรแล้วนักบินสยามทั้ง ๘ นายได้รับอนุมัติให้เข้าไปพักผ่อนในมหานครปารีส กิน ดื่ม เที่ยวอย่างจุใจนาน ๑๕ วัน แล้วเก็บของย้ายไปฐานทัพอากาศเมือง นังซี (Nancy) เพื่อเตรียมเข้าสู่สนามรบ

นักมวยต้องชก นักบินรบจะต้องฝึกฝนการบิน ร.อ.ปูร์ปอง ผู้บังคับฝูงบินชาวฝรั่งเศสที่มีบุคลิกภาพบ้าบิ่น โลดโผน มักจะท้าทาย ทดสอบนักบินในฝูงให้ห้าวหาญไม่เว้นแต่ละวัน โดยเฉพาะการบินลอดสายไฟฟ้าตามถนนที่ สิบโท โทน ก็บ้าดีเดือด ไม่ยอมให้ฝรั่งดูแคลน

ในเวลาต่อมา ฝูงบินนี้ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนย้ายไปอยู่ที่เมืองเดรสนัก ในดินแดนเยอรมันซึ่งสัมพันธมิตรยึดครองไว้ได้ นักบินรบร้อนวิชาทั้งหลายดีใจสุดขีดที่จะได้ออกไปทำศึกในอากาศ หลังจากรอมานาน

เมื่อเดินทางไปถึง นักบินจากสยามได้ไปรายงานตัวกับจอมพล ฟ้อช (Field Marshal Foch) แม่ทัพใหญ่ฝ่ายสัมพันธมิตร

วันรุ่งขึ้นนักบินได้รับคำสั่งให้ไปรับกระสุนคนละ ๔๐๐ นัดแล้วบรรจุสำหรับปืนกลอากาศ ร.อ.ปูร์ปองสั่งขึ้นเครื่องแล้วส่งสัญญาณให้บินขึ้นตามไป โดยที่ไม่มีใครทราบว่าจะไปที่ไหน ทำอะไร โดยแบ่งเป็นหมู่ละ ๙ เครื่อง ๒ หมู่

บินไปสักพัก นักบินมองเห็นสะพานคอนกรีตยาวประมาณ ๗๐๐ เมตร ข้ามแม่น้ำไรน์อยู่ตรงหน้า ตัวสะพานกว้าง ๓๐ เมตร ใต้สะพานมีช่องตอม่อ ๑๒ ช่อง ผู้นำฝูงนำบินเป็นวงกลมแล้วจิกหัวลงต่ำให้สัญญาณซ้ำ “ตามข้าพเจ้า” ผู้บังคับฝูงเล่นเสียวนำเครื่องบินมุดลอดใต้สะพานช่องที่ ๖

ลูกหมู่ทั้งหลายที่ไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อน แต่ต้องทำตามคำสั่ง ต้องแสดงฝีมือบินลอดใต้สะพานเสี่ยงตายตามกันไป ทุกลำปลอดภัย บินวนอยู่พักใหญ่ นึกว่าจะบินกลับ ผู้ฝูงจอมเพี้ยนพาลูกหมู่บินลอดใต้สะพานซ้ำอีกเป็นรอบที่ ๒ เพื่อตอกย้ำความมั่นใจ ความห้าวหาญ

กลับถึงสนามบิน นักบินทุกคนลงจากเครื่องด้วยสีหน้าบึ้งตึงด้วยความเครียด ไม่มีใครพูดเล่นหยอกล้อ บางคนถอดหมวกเอามาเตะเล่นเพื่อระบายความกดดัน นักบินทุกคนเดือดดาลที่ผู้นำฝูง สติเฟื่องพาไปร้องท้ายมบาลเรียกหาความตาย

ตำนานชีวิตของนักบิน ๘ นายของสยามในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ยังมีสีสันที่ห้าวหาญ น่าภาคภูมิใจ ดีใจ และเศร้าใจ ที่ลูกหลานเหลน ต้องระลึกถึง โปรดติดตามตอนต่อไปครับ


ภาพเก่าเล่าตำนาน : สิบโทโทน บินดี นายสิบนักบินคนแรกของสยาม (๑), (๒) โดยพลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก, หนังสือพิมพ์มติชน




สิบโท โทน บินดี วีรบุรุษนักบินผู้อาภัพ (อวสาน)

๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๑ เยอรมันประกาศยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๑ นักบินรบจากสยาม ๘ นายที่ฝึกบินรบจนกล้าแกร่งในฝรั่งเศสถูกยกเลิกภารกิจ ถ้าเปรียบเหมือนนักมวย คือขึ้นเวทีไปแล้ว แต่ไม่ได้ชก กำลังทหารอาสาสมัครจากสยามบางส่วนได้รับคำสั่งให้เดินทางกลับมาตุภูมิ

กลุ่มชาติพันธมิตรที่ชนะสงครามโลกครั้งที่ ๑ ตระหนักถึง “ความเป็นหุ้นส่วนของสยาม” จึงให้เกียรติกองทหารสยามไปเดินสวนสนามพร้อมธงไชยเฉลิมพลใน ๓ เมืองหลวง คือ ปารีส ลอนดอน และบรัสเซล

ถือว่าเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ ลูก-หลาน-เหลนของทหารอาสาอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง ลองไปค้นหาภาพดูนะครับ

ระหว่างรอเดินทางกลับสยาม รัฐบาลสยามสั่งซื้อเครื่องบิน ๑๒ ลำ รวมทั้งเครื่องอะไหล่ เครื่องยนต์ โดยมอบให้ ร้อยโทชิด มัธยมจันทร์ เป็นผู้ประสานงาน จ่าโทนรับหน้าที่เป็น “นักบินลองเครื่อง” คือจำต้องนำเครื่องบินที่ประกอบขึ้นเสร็จใหม่ๆ ขึ้นบิน เพื่อทดสอบความสมบูรณ์ นี่ก็เป็นภารกิจที่เสี่ยงตาย ที่บรรดานักบินทราบกันดี

รัฐบาลสยามสั่งซื้อ เครื่องบินสปัด ใช้เครื่องยนต์ซุยซ่า ๒๒๐ แรงม้า เครื่องบินนิเออร์ปอร์ต ๑๓ ตารางเมตร และ ๑๕ ตารางเมตร เมื่อทดสอบผ่านแล้ว ร.ท.ชิตจะลงนามให้ทางการฝรั่งเศสถอดประกอบเครื่องบินและเครื่องยนต์ใส่หีบลงเรือกลับมาเมืองไทย

ตามสุภาษิต “ไปลา มาไหว้” นักบินรบของสยามไปอำลาจอมพล ฟ้อชรถไฟขบวนพิเศษนำทหารผ่านศึกของสยามออกจากปารีสไปเมืองมาแซลล์ ลงเรือเดินสมุทรใช้เวลา ๓๑ วันกลับถึงเกาะสีชัง กองทัพเรือสยามนำทหารผ่านศึกทั้งหมดมาขึ้นที่ราชวรดิษฐ มีพิธีต้อนรับมโหฬาร นักรบไทยที่ไปสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทั้งหมดเข้าไปทำพิธีในกระทรวงกลาโหม แล้วแยกย้ายกันกลับภูมิลำเนา

ตามข้อมูลของทางราชการระบุว่า ทหารอาสาของสยามในหน่วยบิน บรรดาช่างเครื่องทั้งหมดได้รับการฝึกจากฝรั่งเศส กลายเป็นช่างเครื่องบินจบจากนอกไปโดยปริยาย

หลังจากลาพักผ่อน ๑ เดือน จ่าโทน บินดี กลับไปทำงานที่ดอนเมือง ทำหน้าที่ประกอบเครื่องบินที่สั่งซื้อมาจากฝรั่งเศส

ผู้เขียนไปพบเรื่องที่ประหลาดนึกไม่ถึง และต้องนำมาเผยแพร่ต่อลูกหลานครับ

ในยุคสมัยนั้น หาคนที่จะสมัครเป็นนักบินยากมาก ทางราชการจึงมีนโยบายให้ใช้เครื่องบินโชว์ต่อประชาชน เพื่อให้คนสนใจกิจการบิน นายทหารและนายสิบที่เพิ่งกลับมาจากยุโรป จึงใช้การขึ้นบินจากสนามดอนเมืองในราวบ่าย ๔ โมงของทุกวัน เพื่อรอให้ขบวนรถไฟขบวนกรุงเทพฯ-พิษณุโลก มาผ่านช่วงดอนเมือง จ่าโทนและเพื่อนนายสิบจะนำเครื่องลงต่ำ บินขนานไปกับขบวนรถไฟ ตีลังกาบินท่าพลิกแพลงในอากาศ ให้ผู้โดยสารบนรถไฟส่งเสียงกรี๊ด

ผู้โดยสารบนรถไฟ เห็นเครื่องบินครั้งแรกในชีวิตจะตื่นตาตื่นใจ โบกไม้โบกมือกับนักบินจอมทะเล้น บ้างก็โบกผ้าส่งเสียงกันไปมาเอิ๊กอ๊าก สร้างมิตรไมตรีต่อกัน นักบินนายสิบทั้ง ๓ จ่าเปลื้อง จ่าเล็ก และจ่าโทน ปฏิบัติเช่นนี้แทบทุกวัน ชาวสยามเริ่มรู้จักเครื่องบิน เริ่มรู้ว่าคนไทยนี่แหละเหาะได้จริง ขับเครื่องบินตีลังกาได้ด้วย

อยู่มาวันหนึ่ง…จ่าเปลื้องต้องไปแสดงบินควงสว่านให้ทูตอเมริกันชม ขณะปักหัวลงมาเครื่องขัดข้องแก้ไขไม่ทัน โหม่งโลกแหลกละเอียด จ่าเปลื้องตายคาที่

ส่วนจ่าเล็กขณะฝึกศิษย์การบินในช่วงปล่อยเดี่ยว เครื่องบินจ่าเล็กโดนปีกของเครื่องบินลูกศิษย์กระแทกอย่างแรงขณะจะร่อนลง เครื่องของจ่าเล็กตกตายคาที่อีกเช่นกัน คงเหลือเพียงจ่าโทน

๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๒ สยามริเริ่มใช้อากาศยานบินส่งถุงเมล์ใส่จดหมาย จ่าโทนได้รับมอบภารกิจ ๑ ลำและของ ร.อ.ชิด รวดเร็วอีก ๑ ลำ ในการบินระหว่างกรุงเทพฯ – จันทบุรี เครื่องจ่าโทนไปขัดข้องต้องร่อนลงในทุ่งนาห่างสนามบิน ๒๐ กม. ชาวบ้านไปเรียกตำรวจให้มาคุมตัว กว่าจะรู้ว่าใครเป็นใครเกือบซวย แต่ก็จบลงแบบพระเอกหนังไทย คือ ชาวบ้านเอาเหล้ายาปลาปิ้งมาเลี้ยงกันเอิกเกริก ติดต่อช่างมาซ่อมเครื่องบินให้เรียบร้อย จ่าโทน ฯ ขอให้ชาวบ้านถากถางทุ่งนาพอเป็นทางวิ่งขึ้นได้ จ่าโทนนำเครื่องบินขึ้นไปส่งถุงเมล์ที่สนามบินพลอยแหวน จันทบุรี

วันต่อมา จ่าโทน และ ร.อ.ชิด รวดเร็ว นำเครื่องบินโชว์แบบเสียวจี๊ดโดนใจ ชาวเมืองจันท์รวบรวมเงินใส่ถุงให้ทหารนักบินคนเก่งเอาไปให้ทางราชการซื้อเครื่องบินเป็นเงิน ๙,๒๕๐.๗๒ บาท

จ่าโทนได้รับคำสั่งให้บินไปโชว์ที่โคราช ปรากฏว่ามีแถวทหารพร้อมวงดุริยางค์มาบรรเลงเพลงต้อนรับประชาชนแน่นขนัด

ดับเครื่องยนต์แล้ว ประชาชนจำนวนมหาศาลกรูกันเข้ามาขอจับมือ จ่าโทนพักหายเหนื่อยแล้ว ผู้บัญชาการทหารโคราช สั่งให้จ่าโทนขึ้นบินโชว์พี่น้องชาวอีสานที่รอคอยมาแสนนาน

จ่าโทนนำเครื่องนิเออร์ปอร์ตแหวกอากาศทะยานขึ้นบนฟ้า ชาวโคราชตะโกนเชียร์ก้องสนาม จ่าโทนบ้ายอ บินแสดงลวดลาย เหาะเหินเดินอากาศ หกคะเมนตีลังกาแบบ “ตายไม่ว่า ต้องการชื่อเสียง” ทำเอากองเชียร์ตีกลองยาว ฟ้อนรำ ไชโยโห่ฮิ้วกันสนั่นทุ่งโคราช

นักบินสยามบินได้จริงเหมือนพญาอินทรีเสร็จแล้ว เมื่อกลับลงมา ยังได้รับการขอร้องให้กล่าวโฆษณากิจการการบินของสยามให้กับประชาชน จ่าโทนกล่าวเสียงดังว่า

“ทหารสยามได้ไปร่วมในสงครามและฝึกบินจากฝรั่งเศส ฝรั่งบินได้อย่างไร จ่าโทนทำได้ทุกอย่าง หรืออาจจะทำได้ดีกว่าฝรั่ง ไม่ต้องกลัวฝรั่ง ตายเป็นตาย” จ่าโทนตะโกนสุดเสียงบอกชาวสยามที่ปรบมือเชียร์พระเอกตัวจริง เย็นวันนั้นเจ้าคุณรามผู้บัญชาการกองพลโคราชจัดเลี้ยงนักบินเอิกเกริก วันรุ่งขึ้นจ่าโทนบินกลับดอนเมือง

กิจการการบินของกองทัพเจริญขึ้นมาก สร้างฐานทัพอากาศแห่งที่ ๒ ในประจวบคีรีขันธ์ ใช้นักโทษไปหักล้างถางพง ปรับพื้นที่ จ่าโทนได้รับการเลื่อนยศเป็น “นายดาบ” แล้วได้รับคำสั่งให้ไปเป็นครูฝึกการยิงปืนบนอากาศและพื้นดิน และเป็นผู้ฝูงซ่อมเครื่องบิน

ในเวลานั้น กองอากาศยานที่ดอนเมืองประสบความสำเร็จในการสร้างเครื่องบินขึ้นเอง (ยกเว้นเครื่องยนต์ ) ใช้ไม้ทำใบพัด โลหะทุกชิ้นผลิต-เชื่อมต่อขึ้นเอง วัสดุที่นำมาขึงทำเป็นปีก ทำเองได้หมด ข้อบกพร่องทั้งปวงจะพบเมื่อนักบินนำเครื่องขึ้นบินไปแล้ว

“นักบินลองเครื่อง” มีชีวิตสุ่มเสี่ยงที่สุด จ่าโทนเดนตายประสบเหตุแทบเอาชีวิตไม่รอดนับครั้งไม่ถ้วน เช่น กรณีใบพัดแตกในอากาศ โลหะที่เชื่อมไว้หลุดออกจากกัน มีการสูญเสียนักบินจากการลองเครื่อง และข้อบกพร่องหลายราย ทำไป-เรียนรู้ไป-บินไป นับเป็นชีวิตและผลงานของบรรพบุรุษไทยในยุคบุกเบิกการบินที่น่าสรรเสริญ

๒๑ ธันวาคม ๒๔๖๔ จอมพลจอฟฟร์ (Joffre) ของฝรั่งเศสเดินทางมาสยามประเทศเพื่อขอบคุณรัฐบาลที่ส่งทหารไปช่วยทำศึก ในหลวง ร.๖
ทรงให้การต้อนรับ มีพิธีมอบเหรียญให้กับทหารผ่านศึกจ่าโทน คือ ๑ ในจำนวนนั้นครับ

ฝีมือการบินและจิตใจที่กล้าแกร่ง ทำให้โทนได้รับการเลื่อนยศเป็น ร้อยตรี ที่ยังใช้ชีวิต ใช้ลมหายใจไปกับการบิน จนกระทั่งเติบโตได้ยศ ร้อยเอก และในหลวง ร.๖ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสันทัดยนตกรรม ต่อมาได้รับคำสั่งให้ย้ายไปประจำที่ฐานบิน โคกกะเทียม ลพบุรีเพื่อสร้างสนามบินขึ้นใหม่ในพื้นที่ ๔ พันไร่

หมวดโทนคุมชาวบ้านราว ๗๐๐ คน หักล้างถางพงในพื้นที่ใช้เวลา ๔ เดือน ด้วยงบประมาณ ๙ หมื่นบาท นับเป็นความภาคภูมิใจของนายทหารท่านนี้ยิ่งนัก

บ้านเมืองในยุคสมัยนั้นมีกลิ่นไอของความขัดแย้งคุกรุ่น



๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎร นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ทำการยึดอำนาจพลโทพระยาเฉลิมอากาศ นักบินหมายเลข ๑ ของสยามประเทศ บุพการีทหารอากาศ เจ้ากรมอากาศยาน ถูกปลดออกจากตำแหน่ง ในวัยเพียง ๔๕ ปี กลายเป็น “นายทหารนอกราชการ” รับพระราชทานบำนาญตั้งแต่ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๕

๑๓-๑๗ ตุลาคม ๒๔๗๖ เกิดกรณี กบฏบวรเดช ทหารจากโคราชและภาคอีสานเคลื่อนทัพเข้ากรุงเทพฯ ต้องการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงรัฐบาล หลังจากเหตุการณ์สงบ ร้อยเอกหลวงสันทัดยนตกรรม หรือ ร้อยเอกโทน บินดี ได้รับคำสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งท่านเองเป็นลูกผู้ชายพอที่จะไม่ขอกล่าวถึงในบันทึก คงมีแต่ความเจ็บปวดสุดชีวิต

ร้อยเอกโทน บินดี หรือ ร้อยเอก หลวงสันทัดยนตกรรม นักบินสยามผู้สำเร็จการบินผาดแผลงเป็นคนแรกในฝรั่งเศสระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ สร้างเกียรติภูมิแก่ประเทศชาติ ได้รับการยอมรับจากเพื่อนนักบิน ถูกปลดออกจากราชการ หลังจากนั้นไม่มีใครทราบเรื่องราวชีวิตของท่านอีก

มีข้อมูลว่า ท่านเสียชีวิตเมื่อ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ ที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง หากท่านผู้ใดทราบข้อมูลชีวิตของวีรบุรุษนักบินท่านนี้หลังจากถูกปลดออกจากราชการ กรุณาแจ้งให้ผู้เขียนทราบด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง

ขอบคุณข้อมูลจาก โทน บินดี จ้าวอากาศคนแรกของเมืองไทย โดย สมบูรณ์ วิริยศิริ


ภาพเก่าเล่าตำนาน สิบโท โทน บินดี วีรบุรุษนักบินผู้อาภัพ (อวสาน) โดยพลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก, หนังสือพิมพ์มติชน

2895  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: รวมภาพเก่าหาดูยาก : ภาพเก่าเล่าเรื่อง เมื่อ: 27 มกราคม 2560 14:32:05



Gladiator สู้กันดุเดือด เลือดท่วมสนาม ตามใจคนดู

คนที่ถูกเรียกว่า กลาดิเอเตอร์ (Gladiator) คือ พวกทาสที่ชีวิตบัดซบไร้ค่า ทาสในยุคโรมัน เป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าเยี่ยงสัตว์ พวกมันจะต้องมาประลองฝีมือดาบ มาต่อสู้กันด้วยอาวุธทุกชนิดจนแพ้-ชนะ หรือต้องตายในเวที ให้ชาวโรมันจ้องดูเพื่อความบันเทิง หรือการนำนักโทษที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิดมาเป็นคู่ต่อสู้กัน สู้กับสัตว์ร้ายในสนามกีฬา เพื่อความสุขสันต์หรรษา ทั้งในงานมงคลและอวมงคล ตำนานโหดของกลาดิเอเตอร์ในอดีตเคยถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โกยเงินมหาศาลทั่วโลกมาแล้ว

พวกโรมันรับอารยธรรมการต่อสู้นี้มาจากชนเผ่าอิทรัสคัน ต่อมาปรับปรุง เสริมเขี้ยวเล็บให้การแสดงของกลาดิเอเตอร์มีความดุดัน มันส์มากยิ่งขึ้น มีการจำแนกทาสนักสู้ออกเป็นประเภทต่างๆ เหมือนแบ่งประเภทนักมวยตามน้ำหนัก นักสู้เหล่านี้มิได้เป็นทาสที่โดนล่ามโซ่ทุกคน บางคนเป็นประชาชนที่ก่ออาชญากรรมมาก่อน บางคนก็เป็นนักเผชิญโชคเดนตายอิสระที่หิวเงินรางวัล บางคนมีภูมิหลังเป็นนักรบ อดีตทหารนักสู้บางคนก็มีอันจะกิน หรือเป็นบุคคลชั้นสูงที่ต้องการพิสูจน์ความกล้าหาญให้ผู้คนนับถือ

การต่อสู้ประลองฝีมือแบบอยู่หรือตายในยุคจักรวรรดิโรมัน มีคนนับหมื่นส่งเสียงช่วยเชียร์ ช่วยสาปแช่ง ส่งสัญญาณให้ไว้ชีวิต หรือให้ฆ่าทิ้งในสนาม

เรื่องของนักสู้ กลาดิเอเตอร์ ถูกเล่าขานต่อกันมาว่า ในงานศพของคนชั้นสูงในจักรวรรดิโรมัน เจ้าภาพจะจัดให้มีการแสดงชุดเล็กๆ เพื่อเป็นการเคารพต่อผู้ตาย โดยจะนำทาสหรือนักโทษมาต่อสู้กันโดยเชื่อว่าเลือดที่ปรากฏจะเป็นการทำให้วิญญาณของผู้ตายมีความบริสุทธิ์ ต่อมาการแสดงขยายวงกว้างออกไป ในสมัย จูเลียส ซีซาร์ มีการนำนักสู้นับร้อยมาต่อสู้กันในงานศพของบิดาและลูกสาวของตน ประชาชนทั้งหลายชื่นชอบและกลายมาเป็นความบันเทิงที่จัดให้มีอย่างต่อเนื่องที่เป็นธุรกิจทำเงินจั๋งหนับและยังครองใจประชาชนได้อีกด้วย



กลาดิเอเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นทาสมีเจ้าของ และเชลยสงครามโทษประหารชีวิต จักรพรรดิจะนำมาต่อสู้กันเอง โดยบางแมตช์มีกลาดิเอเตอร์คนหนึ่งถืออาวุธ ไปต่อสู้กับอีกคนที่ไม่มีอาวุธ และหลายเกมที่จบลง ฝ่ายที่พ่ายแพ้จะถูกคู่ต่อสู้สังหารทิ้ง จากนั้นฝ่ายผู้ชนะก็จะต้องไปต่อสู้กับกลาดิเอเตอร์คนต่อไป สู้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าไม่เหลือคู่ต่อสู้อีก จึงจะได้ชื่อว่านักสู้ยอดฝีมือเพียงคนเดียว รางวัลที่ได้อาจจะเป็นอิสรภาพจากนายทาส

ผู้เขียนไปค้นข้อมูลจาก history.com ถอดความมาได้ว่า การต่อสู้ในสังเวียนที่มีคนดูคอยเชียร์กระหึ่มนั้นไม่จำเป็นต้องต่อสู้จนตายเสมอไป กลาดิเอเตอร์จะสู้กันโดยมีกฎกติกาชัดเจน แน่นอนที่สุดจะต้องเป็นการเดิมพันชีวิตของชาย ๒ คน มีบ่อยครั้งที่การต่อสู้ไม่ดุเดือดเลือดพล่านพอ คนดูเบื่อหน่ายโห่ไล่ กรรมการก็จะไล่นักสู้ออกจากสนามไป

แต่ถ้าสู้กันด้วยหอก ดาบ แหลนหลาวไปพักใหญ่แบบดุเดือดเลือดพุ่ง ทำคนดูสนุกถึงพริกถึงขิงแล้วกินกันไม่ลง ในกรณีนี้กรรมการอาจจะยุติการต่อสู้ ชูมือกลาดิเอเตอร์ทั้งสองให้ได้รับการยกย่องจากคนดูก็เคยปรากฏในประวัติศาสตร์มาแล้ว นักสู้เหล่านี้ถ้ามีสังกัดมีเจ้านายดูแล มีที่พัก มีสถานที่ฝึกซ้อมอาวุธ กลาดิเอเตอร์คนนั้นจะมีต้นทุนค่าตัวสูงมาก นักสู้ที่แข็งแรงที่สุดจะมีอายุราว ๒๐ ต้นๆ และจะมีอายุสั้น

ความสะใจ ขนาดออกัสซั่มของคนดูชาวโรมันจะมาถึงต่อเมื่อนักสู้บาดเจ็บหรือโยนอาวุธทิ้งเพื่อยอมแพ้ ตามกฎกติกาของโรมันจะให้ผู้เป็นใหญ่ในโคลอสเซียม เป็นผู้ตัดสินว่าจะให้อยู่หรือตาย แต่ในทางปฏิบัติก็จะให้คนดูนับหมื่นตะโกนส่งเสียง “ฆ่ามัน” หรือ “ปล่อยมันไป” หรืออาจใช้ชูหัวแม่มือชี้ขึ้นแปลว่า “ปล่อยไป” และหัวแม่มือชี้ลงดินแปลว่า “จัดการได้” คนดูบางคนก็ใช้การโบกผ้าเช็ดหน้าเพื่อขอชีวิต

หากคนดู ร้องตะโกน “ฆ่ามัน” นักสู้จะใช้ดาบแทงลงไปที่หัวใจของคู่ต่อสู้ ถือเป็นอันจบการต่อสู้

เมื่อมีการต่อสู้ของกลาดิเอเตอร์ ก็ต้องมี โคลอสเซียม เป็นสนามประลองนองเลือด




โคลอสเซียม (Colosseum หรือ Coliseum) ก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ.๗๒ ในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียน (Vespasian) กษัตริย์ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฟลาเวียน (Flavian) เรียกกันว่า Flavian Amphitheatre เป็นอาคารสนามกีฬารูปวงกลมรี (Oval) สถานที่ก่อสร้างเป็นบริเวณที่ลุ่มระหว่าง ๔ เนินเขาเดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของพระราชวังของจักรพรรดิเนโร (Nero) ต่อมาจักรพรรดิเนโรได้สิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ.๖๘ เกิดการชิงพระราชบัลลังก์อยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งจักรพรรดิเวสปาเซียนทรงได้รับชัยชนะและขึ้นครองราชย์พระองค์มีความประสงค์จะเรียกความนิยมจากชาวโรมัน จึงสั่งรื้อพระราชวังเดิมของจักรพรรดิเนโรออก แล้วสร้างเป็นสนามกีฬาเรียกว่า โคลอสเซียม เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมการแสดงและการแข่งขันกีฬาทุกประเภทในยุคนั้น

โคลอสเซียมเป็นสิ่งก่อสร้างอัจฉริยะด้านการออกแบบสามารถบรรจุผู้ชมได้ราว ๕๐,๐๐๐ คน ใช้เวลาก่อสร้างราว ๑๐ ปีเป็นสนามกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยุคโบราณ อย่างที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน คนดูเข้าและออกจากสนามกีฬาแห่งนี้ได้แบบคล่องตัว กระจายกันเข้า-ออกได้อย่างรวดเร็ว มีห้องใต้ดินขนาดใหญ่สำหรับขังหรือนำนักสู้หรือสัตว์ร้ายโผล่ขึ้นมาจากใต้สนาม ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ทำเงินมหาศาลของอิตาลี

มาจนถึงปัจจุบัน โคลอสเซียมมีอายุเกือบ ๒,๐๐๐ ปีแล้ว

นักสู้สนามนองเลือดที่ประสบความสำเร็จ ปราบเรียบ จะเป็นฮีโร่ของชาวโรมัน เวลาไปไหนมาไหนจะมีคนต้อนรับชื่นชม โดยเฉพาะสาวโรมันที่ใฝ่ฝันจะนำกิ๊บติดผม เครื่องประดับที่เป็นอัญมณีของเธอไปจุ่ม ไปแตะที่หยดเลือดของกลาดิเอเตอร์ผู้ชนะ แล้วกลัดติดกับผมของเธอ เพื่อเป็นการยกย่อง

จะว่าไปแล้ว กลาดิเตอร์ในสมัยโรมันคงมีสถานะในสังคมเฉกเช่นนักกีฬาอาชีพในโลกยุคปัจจุบัน เก่ง หล่อ สวย และร่ำรวย ที่ห้องนอนในโรงแรมที่นักกีฬาขวัญใจคนเก่งเข้าพักและเมื่อออกไปแล้ว ยังมีสาวๆ ขอเข้าไปเกลือกกลิ้ง เปลือยกายเพื่อสูดดมคราบกลิ่นกายของคนเก่งในดวงใจ

เพื่อให้การต่อสู้ของกลาดิเอเตอร์มีสีสันเขย่าเร้าใจ ชาวโรมันแบ่งการต่อสู้ออกเป็นประเภท เช่น แบบที่ให้นักสู้ใส่หมวกที่ปิดสนิทสู้กันด้วยอาวุธ มองไม่เห็นแล้วสู้กัน หรือจะให้สู้กับสัตว์ร้าย เช่น เสือ สิงโต ซึ่งกลาดิเอเตอร์พวกนี้ก็จะสวมเกราะเพียงเล็กน้อย หรือประเภททาสนักสู้อาวุธหนัก โดยนักสู้จะสวมหมวกเหล็กใบใหญ่แบบทหารหรือโรมันในมือถือโล่ และที่มันหยดอีกประเภท คือ การต่อสู้โดยกลาดิเอเตอร์ทั้งคู่จะใช้ตาข่าย และหอกแหลมสามง่ามสู้กันแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน

ที่ฮิตกรี๊ดสลบคือ ทาสกลาดิเอเตอร์นักสู้ ที่สู้กันบนหลังม้า โดยกลาดิเอเตอร์ ๒ คนจะขี่ม้าเข้ามาในสนามคนละมุมแล้วสู้ด้วยอาวุธยาว สั้น บนหลังม้า และที่โดนใจแบบนั่งไม่ติดคือ การต่อสู้ของทาสที่รบกันบนรถม้าแบบภาพยนตร์เรื่องเบนเฮอร์ (Ben Hur)

การต่อสู้ของกลาดิเอเตอร์เป็นสิ่งที่ชาวโรมันชื่นชอบ คลั่งไคล้จนทำให้มีปรากฏสนามประลองนองเลือดแทบทั่วมณฑลในจักรวรรดิโรมัน

ในเวลาต่อมาจึงมีการเปลี่ยนเกมกติกาใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อความสนุกเร้าใจมากกว่าเดิม เมื่อพระจักรพรรดิโรมันได้อนุญาตให้คนธรรมดาหรือทาส ที่อยากได้ยศถาบรรดาศักดิ์และอิสรภาพในสังคม ได้ประลองต่อสู้กับทหารยอดฝีมือของพระองค์

ความบันเทิง รื่นเริงใจอีกประเภทที่ชาวโรมันโปรดปราน คือ การล่าสัตว์เป็นเกมส์กีฬา โคลอสเซียมเคยถูกใช้เป็นสถานที่เพื่อให้ประลองฝีมือความเก่งของคนในการล่าสัตว์ที่ดุร้ายต่อหน้าคนดู

ความบันเทิงอีกหนึ่งรูปแบบ ที่พลาดไม่ได้สำหรับชาวโรมัน คือ การนำอาชญากรที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดเข้าไปสู้กับสัตว์ร้าย เช่น เสือ สิงโต หมาป่า ที่กำลังหิวโหย และแมตช์ที่ร้อนแรงสุดพิเศษสำหรับชาวโรมันคือ การนำนักโทษจำนวนมากเข้าไปในสนามแล้วให้ต่อสู้กันเองจนเสียชีวิตทั้งหมด

ตามบันทึกในอดีตระบุว่าจักรพรรดิโรมันทราบดีว่าการครองใจประชาชนโรมันที่ได้ผลที่สุด คือการจัดให้มีการต่อสู้ของ กลาดิเอเตอร์ในโคลอสเซียมและต้องไปชมร่วมกับประชาชนเพื่อช่วยตัดสิน แต่กระนั้นยังมีจักรพรรดิโรมัน ๓ พระองค์เคยลงไปต่อสู้ในสังเวียนเลือดด้วย คือคาลิกูลา ติตัส และเฮเดรียน และที่ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ดังทะลุโลก คือ จักรพรรดิคอมโมดุส (Commodus) ที่เคยลงไปสู้กับเสือต่อหน้าประชาชน แถมยังนึกสนุกเคยลงไปประลองกับนักสู้ในสนามแห่งนี้ด้วยตัวเอง

กลาดิเอเตอร์ ชื่อดังเป็นภาพยนตร์ครองใจคนดูทั่วโลก ชื่อ สปาร์ตาคัส รูปหล่อ กล้ามใหญ่ ใจเด็ดเป็นหนึ่งในตำนานของกลาดิเอเตอร์ด้วยครับ

มีสนามกีฬาสำหรับกลาดิเอเตอร์ในยุคจักรวรรดิโรมัน ๑๘๖ สนาม คาดว่ามีกลาดิเอเตอร์เสียชีวิตในการแสดงเพื่อความบันเทิงในยุคนั้นราว ๕ หมื่นคน

นี่คือตำนานความบันเทิงของมนุษย์ที่หาได้ในจักรวรรดิโรมันเมื่อราว ๒ พันปีที่แล้วครับ


ภาพเก่าเล่าตำนาน : Gladiator สู้กันดุเดือด เลือดท่วมสนาม ตามใจคนดู : โดย พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก, หนังสือพิมพ์มติชน





สุดหรรษา… หาเรื่องใส่ตัว…ลงไปวิ่งให้วัวขวิด

ชีวิตของชาวสเปน ดูเหมือนจะคลุกเคล้านัวเนียเป็นคู่รักคู่แค้นกับวัวกระทิงมาทุกภพทุกชาติ วัวกระทิงทั้งหลายที่เกิดในสเปนก็ไม่รู้ว่าไปทำกรรมอะไรไว้ในชาติปางก่อนที่จะต้องมาชดใช้กรรม สร้างเวรวิ่งไล่ขวิดกับชาวสเปนและต้องโดนสังหารแบบไม่รู้จบ

ชาวโลกรู้จักสเปนในนามของ เมืองกระทิงดุ เทศกาลวิ่งหนีวัวกระทิง (Running of the Bulls) ที่เมืองปัมโปลนา (Pamplona) ต่อเนื่องด้วยการสู้วัวกระทิงในสนามกีฬา เป็นการแสดง เป็นกีฬา เป็นประเพณี เป็นเทศกาลที่เรียกแขกจากทั่วโลกให้มาเยือน เป็นเทศกาลที่เชิดหน้าชูตาประเทศสเปนยิ่งนัก

ภาพเก่า..เล่าตำนาน ตอนนี้ขอนำเสนอตำนานความสะใจไร้กังวลของชีวิตชาวสเปน ในเทศกาลวิ่งหนีวัวกระทิง ที่สนุกแบบหลุดโลกและอันตรายถึงชีวิต

ผู้เขียนขออารัมภบทถึงวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชาวสเปนที่น่ารักสักเล็กน้อยนะครับ

ในศตวรรษที่ ๑๖ ถึง ศตวรรษที่ ๑๘ สเปนเป็นประเทศมหาอำนาจที่เกรียงไกรหนึ่งเดียวในยุโรป สเปนมีกองเรือรบขนาดมหึมา สเปนเป็นชนชาติที่ออกเรือสำรวจโลกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีเรือสินค้าที่เดินทางไปได้เกือบรอบโลก เคยแล่นเรือมาถึงอยุธยาติดต่อค้าขายในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปี พ.ศ.๒๐๓๕ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวสเปน ยอดนักสำรวจของโลกแล่นเรือไปพบทวีปอเมริกา ยึดเอาดินแดนในทวีปอเมริกา ในเอเชียสเปนยึดครองฟิลิปปินส์ เป็นเจ้าอาณานิคมที่ไม่เป็นสองรองใคร จักรพรรดิสเปนเรืองอำนาจอยู่ราว ๓๐๐ ปี

ชาวสเปนถูกจัดอันดับว่าเป็นชนชาติที่มีความโรแมนติกระดับต้นๆ เป็นนักรัก เป็นชนชาติที่มีหน้าตาผสมผสานลักษณะชาวไอบีเรียกับฝรั่งยุโรปและแขกอาหรับรวมไว้ด้วยกัน ผมสีน้ำตาล ใบหน้าคมเข้ม นัยน์ตาวาวหวาน ผู้ชายหล่อหนักมาก ผู้หญิงสวยบาดใจ ภาษาสเปนฟังแล้วเสนาะหู สาวๆ สเปนมีลีลาการเต้นรำส่ายสะโพกได้ร้อนแรงสุดเซ็กซี่ที่เรียกว่าระบำฟลามิงโก

ชาวสเปนใช้ชีวิตสนุกสนาน ชอบเฮฮาปาร์ตี้ ไม่รีบร้อน ชอบพูด ชอบคุย ชอบใช้ชีวิตนอกบ้าน กิน ดื่ม เที่ยว เล่น ร้องรำทำเพลง เล่นดนตรีเก่ง จะเริ่มทำงานระหว่าง   ๑๐.๐๐-๑๔.๐๐ น. แล้วทานกลางวันแบบกลัวอิ่ม เริ่มทำงานอีกครั้ง ๑๖.๐๐-๒๐.๐๐ น. ทานอาหารค่ำราว ๒๑.๐๐ น.

ท่านที่เคยไปเที่ยว เคยไปทำงาน หรือไปเรียนหนังสือในสเปน คงทราบดีนะครับ

ขอนำท่านผู้อ่านที่เคารพกลับมาที่เทศกาลวิ่งหนีวัวกระทิง





ในช่วงศตวรรษที่ ๑๓ โบราณกาลนานมาแล้วในเมืองปัมโปลนา (Pamplona) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสเปน เกษตรกรส่วนหนึ่งดำรงชีพโดยการต้อนฝูงวัวไปที่โรงฆ่าสัตว์ในเมือง การต้อนวัวกระทิงมาเป็นฝูงในระยะทางไกล จะต้องมีเทคนิคพิเศษ มีลูกล่อ ลูกชน ลงแส้ หลอกล่อ แต่วิธีการที่ได้ผลที่สุดคือ การที่คนวิ่งไปอยู่หน้าฝูงวัวกระทิง ยั่วให้มันโกรธและวิ่งไล่ตามมาเพื่อเร่งรัดให้วัวไปถึงที่หมายโดยเร็ว มันเป็นความสนุกของเด็กๆ ในชนบทที่หาได้ไม่ยากนัก

ต่อมาการต้อนฝูงวัวโดยการให้คนวิ่งไปล่อข้างหน้า กลายเป็นการแข่งขันกันว่าฝูงวัวของใครจะไปถึงที่หมายได้เร็วกว่ากัน เป็นความสุขใจจากการทำงาน เรียกเสียงเฮฮาจากผู้คน ประการสำคัญ มันคือการโชว์ความกล้า และต้องการพิสูจน์ว่า ข้าคือพระเอกตัวจริงไม่กลัวกระทิงเว้ย

เมื่อการยั่วกระทิงให้โกรธ แต่วัวทำอันตรายไม่ได้ ขวิดไม่โดนตัวเป็นความสนุกและท้าทาย กิจกรรมเล่นกับวัวที่กำลังมีโมหะจริตขาดสติเลยพัฒนาการไปเป็นกีฬายอดฮิต และต้องมีคนเชียร์ ชาวสเปนเพิ่มสีสันความหวาดเสียวเข้าไป โดยให้คนล่อวัวแต่งตัวชุดสีขาวแต้มสีแดงอย่างหล่อที่เรียกว่า มาทาดอร์ (Matador)

ศตวรรษที่ ๑๘ คนสเปนหลงใหลกีฬาสู้วัวกระทิงจนกระทั่ง นายฟรานซิสโก โรเมโร (Francisco Romero) เปิดโรงเรียนสอนเด็กหนุ่มที่ต้องการมีอาชีพเป็นมาทาดอร์ที่จะต้องมีลีลาล่อวัวแบบ อ่อนช้อย เร้าใจ ปลอดภัย ในสังเวียนสู้วัว

การวิ่งล่อกระทิงเพื่อความสนุกของชาวสเปนถือกำเนิดครั้งแรก ที่เมืองปัมโปลนา ในปี พ.ศ.๒๔๖๗ ในปีนั้นมีคนตายจากวัวขวิดถึง ๑๔ คน เลยเป็นประเพณีที่ต้องมาจัดในระหว่าง ๖-๑๔ กรกฎาคมของทุกปี และเพื่อรำลึกถึงสาธุคุณ เฟอร์มิน (Saint Fermin)

เออร์เนสท์ เฮมมิงเวย์ (Ernest Hemmingway) นักเขียน นักประพันธ์ระดับโลกได้มาพบเห็นประเพณีการวิ่งล่อวัวกระทิงและนำไปเขียนเป็นนวนิยายเรื่อง The Sun Also Rise เผยแพร่ในปี พ.ศ.๒๔๖๙

เทศกาลวิ่งหนีวัวกระทิงเลยดังระเบิด ตั้งแต่นั้นมาเลยทำให้สังคมโลกหันมาสนใจมาท่องเที่ยว มาขอร่วมเสี่ยงชีวิตกับเทศกาลนี้ในสเปน

กติกาง่ายๆ คือ ๘ โมงเช้าผู้เข้าร่วมความเสียวสยองนับร้อยจะต้องไปคอยที่หน้าคอกวัว แต่งกายด้วยชุดสีขาว และพันผ้าพันคอสีแดง เจ้าหน้าที่จะปล่อยวัวกระทิง ๖ ตัวจากคอกวัวให้วิ่งไปตามถนนในเมืองซึ่งเป็นเส้นทางแคบๆ ระยะทางราว ๘๕๐ เมตร เหล่าผู้กล้าทั้งหลายจะต้องวิ่งไปข้างหน้าฝูงวัวกระทิงกันอย่างอลหม่านเพื่อเอาชีวิตรอด ในช่วงนี้จะใช้เวลาราว ๒ นาที ๓๐ วินาที วัวแต่ละตัวหนักประมาณครึ่งตัน มีเขาแข็งแรงคมกริบ วิ่งปรี่ออกมาจากคอกปานพายุหมุน เสียงกีบที่เท้าวัวทั้งฝูงจะกระทบพื้นถนนเป็นเสียงกึกก้องปานสายฟ้าฟาดระคนกับเสียงกรีดร้องของคนวิ่งและคนดู เมื่อไปสุดถนนแล้วฝูงวัวนี้จะถูกต้อนเข้าสู่สนามสู้วัวกระทิงของเมือง จะมีมาทาดอร์ (Matador) รูปหล่อยืนโบกผ้าแดงและดาบรอต่อสู้กับวัวกระทิงและพวกมันต้องถูกฆ่าตายภายในสนามสู้แห่งนี้ในช่วงบ่าย

สารอะดรีนาลีน (Adrenaline) จะหลั่งออกมาแล้วสูบฉีดไปทั่วร่างของผู้วิ่งอยู่หน้าวัว และจะยิ่งหวีดหวิวเมื่อใครคนนั้นวิ่งอยู่หน้ากระทิงในระยะประชิด มีเขาวัวที่แหลมคมจ่อในระยะเผาขน วัวกระทิงไม่เคยเลือกปฏิบัติกับใคร ขวิดโดนตรงไหนต้องได้เลือด

ความระห่ำของคนที่ยอมเสี่ยงตาย เป็นที่ยอมรับกันของทุกฝ่าย มีการจัดเทศกาลนี้ต่อเนื่องกันมานานตั้งแต่อดีตยาวนานราว ๔๐๐ ปี ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตระหว่างการวิ่งหนีวัว ส่วนใหญ่จะขาพันกัน สะดุด ชนกันเอง บ้างถูกวัวเหยียบ หรือถูกกระทิงขวิดล้มแล้วลากไปขวิดต่อด้วยความมันเขี้ยวมันเขา ผู้กล้าบ้าบิ่นเหล่านี้ไม่ได้มีแค่ชาวสเปนเท่านั้น แต่เป็นนักท่องเที่ยวผจญภัยจากรอบโลกมาขอเสี่ยง

เมืองปัมโปลนา มีประชากรราว ๒๐๐,๐๐๐ คน ในแต่ละปีมีผู้คนจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศมาร่วมวิ่ง มาชม มาเชียร์ ทำเงินรายได้จากนักท่องเที่ยวมหาศาลทุกปี

การบาดเจ็บโดยมากจะเกิดขึ้นจากโดนเขากระทิงแทงเข้าที่ลำตัว ทั้งนี้ จะมีทีมแพทย์คอยช่วยชีวิตคู่ขนานกันไปในระหว่างความมันสุดขีด ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของความสมัครใจของคนกล้า ที่ต้องการความเสียวซ่านทั่วสรรพางค์กาย

ความบันเทิงไร้ขีดจำกัดจากการวิ่งหนีวัวดุ มีข้อกำหนดแบบหลวมๆ เช่น ผู้ที่เข้าร่วมจะต้องมีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ห้ามถือของในมือเพราะจะไม่สะดวกในการวิ่ง จะต้องสวมเสื้อผ้าที่เหมาะสม ห้ามวิ่งตามหลังวัวกระทิง หรือกระทำการใดๆ ให้วัวกระทิงหยุดวิ่ง

นี่คือกติกาที่ชาวสเปนกำหนดขึ้นมากันเอง เล่นกันเอง เจ็บ ตายกันเอง โดยไม่มีใครบังคับ สนุกกันมายาวนานราว ๔๐๐ ปี ทุกๆ ปีจะมีคนตายคนเจ็บจำนวนมาก แต่ก็หยุดไม่ได้เพราะหัวใจมันเรียกร้อง


ภาพเก่า…เล่าตำนาน : สุดหรรษา… หาเรื่องใส่ตัว…ลงไปวิ่งให้วัวขวิด : โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก, หนังสือพิมพ์มติชน
2896  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / มีคำตอบกับคำถามคาใจ "ทำไมไข่จึงดำ" - ข้าวหมูแดง ซอยแปลงนาม ถนนเยาวราช กทม. เมื่อ: 26 มกราคม 2560 16:14:24

ขอบอกก่อน ไปเยาวราชแต่ละครั้ง อย่าลืมเตรียมเงินไปจับจ่ายสินค้านานาชนิด
ที่เห็นแล้วอาจถูกตาต้องใจอยากซื้อติดไม้่ติดมือกลับบ้าน ที่สำคัญแถวนั้นหาที่จอดรถยนต์ยาก จะให้ดีนั่งแท็กซี่
หรือไม่ก็โหนรถเมล์สะดวกที่สุด นานๆ จะได้ไปแถวน้้นสักครั้ง ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมในการเดิน
และเตรียมท้องให้พร้อมสำหรับกิน เห็นแล้วอดกินไม่ได้สักที


มีของอร่อยแถวย่านเยาวราชมาแนะนำ ไม่ได้ค่าโฆษณา ไม่รู้จักเจ้าของร้าน
แต่มีโอกาสต้องแวะไปทานประจำค่ะ...ข้าวหมูแดงซอยแปลงนาม

--------------------------

ข้าวหมูแดง ของอร่อยในซอยแปลงนามซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างถนนเยาวราชกับถนนเจริญกรุง
ชื่อร้าน “เซี้ยเหล่ายี่ห้อ” หรือเรียกกันติดปาก ว่า “ร้านแปลงนาม” ตามชื่อซอยนั่นเอง

ร้านนี้เป็นร้านเล็กๆ ขายอยู่ตรงนี้มาหลายสิบปีแล้ว มีข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ ตำรับดั้งเดิมที่บรรพบุรุษมอบให้ลูกหลาน
ขายสืบทอดมานานกว่า 60 ปี รายการอาหารมีให้เลือกหลากหลาย เช่น ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ ซุปเกี๊ยวน้ำกุ้งฮ่องกง

เอกลักษณ์ของข้าวหมูแดงร้านนี้คือ “ไข่พะโล้ยาจีน” ที่ต้มพะโล้จนเข้มข้นเข้าเนื้อแล้วจึงใส่สมุนไพรจีน
และที่เห็นแปลกมากคือไข่แดงยังเหนียวเป็นยางมะตูมแม้จะเคี่ยวจนผิวนอกของไข่ออกสีดำเข้มแล้วก็ตาม

น้ำราดข้าวหมูแดง สูตรเด็ดของทางร้าน เข้มข้นรสชาติไม่หวานจัด ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว
กับกุนเชียงย่างจนหนังกรอบ ซึ่งออกรสหวานนำ ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้ามาอย่างยาวนาน




จานนี้ราคา 50 บาท ซึ่งนับว่าไม่แพงในกรุงเทพมหานคร
ยังมีอีกร้านอร่อยที่ทานประจำ คือ ร้านข้าวหมูกรอบ-ข้าวหมูแดง ร้านสนทศ
ตั้งอยู่ในซอยโชคชัยร่วมมิตร ถนนสุขุมวิท
ที่นั่นราคาโหดหน่อย จานละ 90 บาท อร่อยเลิศพอกัน






มาหาคำตอบ กับคำถามคาใจ "ทำไมไข่จึงดำ"
คำตอบอยู่ที่ แผ่นกระดาษติดอยู่ที่ตู้กระจกของร้าน ว่า




เพราะเป็นไข่พะโล้ยาจีน ต้มเครื่องพะโล้เข้มข้นจนเข้าเนื้อ ใส่สมุนไพรจีน
เทียนข้าวเปลือก หรือภาษาจีนเรียกว่า วุ่ยถึง
 สรรพคุณทางยา บำรุงเลือด แก้ลม และท้องอืด
ลูกกระวาน ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
ขับเสมหะ แก้อาการท้องเดิน จุกเสียดแน่น
ใบกระวาน ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงเลือด บำรุงธาตุ











2897  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / เมื่อเราบวช เมื่อ: 26 มกราคม 2560 14:53:46



เมื่อเราบวช
นิพนธ์ ของ พระชลธารมุนี อนุจารีเถระ
พระคณาจารย์เอก สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา

นมตฺถุ รตนตฺตยสฺส
อารัมภ์พจน

ทุกๆ ท่านที่ได้เคยเหยียบย่างเข้ามาภายในบริเวณ “อาณาจักรผ้าเหลือง” แห่งกาสาวพัสตร์สังคม ส่วนมากเข้าใจว่า ดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลแห่งกาสาวพัสตร์นั้น ไม่มีอะไรใหม่ ไม่มีอะไรน่าดูน่าชมมากนัก เพราะสิ่งพึงทัศนาน่าชม ล้วนเป็นเรื่องนอกกำแพงวัดทั้งสิ้น คงไม่ใช่ภายในกำแพงซึ่งแสนจะเก่าขรุขระนั้นเป็นแน่!

ดังนั้น จึงเป็นการผิดหวังเป็นอันมาก ที่ผู้เข้ามาสู่พระศาสนาด้วยความประมาท ไม่รู้ตัว หรือจะเป็นเพราะสำคัญตัวน้อยไปก็ตาม จนแทบกล่าวได้ว่า การเข้ามาสู่พระศาสนา ก็คือการเข้ามาเพื่อแสวงบุญ บุญคืออะไร? บุญอยู่ที่ไหน? เป็นเรื่องซึ่งต้องคลำกันไปอีกนาน ขอโทษที่อาจต้องกล่าวเลยไปว่า”เข้ามาสู่พระศาสนาแล้ว แม้สักนิดเดียวที่จะรู้ว่า ศาสนาคืออะไร? เราก็จะพบแต่ภาพที่ทำเสียงแหบเครือหายไปในลำคอ น่าสลดใจเพียงไร? ถ้าหากท่านจะได้พบภาพในกลุ่มพุทธศาสนิกเช่นนั้น และเพราะเหตุที่เรามองศาสนาแต่เพียงผิวเผิน มองศาสนาด้วยความห่างไกล จึงต่างพากันเห็นศาสนาเป็นดินแดนแห่งความลึกลับ เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยของขลัง และศักดิ์สิทธิ์ ที่สุดก็พากันผิดหวังในศาสนาทั้งสิ้น

นั่น! เป็นเปลือก นั่น! เป็นกระพี้ และทั้งมิใช่เปลือกและกระพี้ของพระพุทธศาสนาด้วย ขอให้ท่านได้ใช้วิจารณญาณให้ซึ้งด้วยดวงใจอันสะอาดเถิด ท่านจะพบสิ่งที่ซ่อนเร้นล้นด้วยค่ายิ่งนัก สิ่งนั้นคือ “พระธรรม” คำสอนซึ่งให้ความเย็นใจ ที่กล่าวนี้ มิใช่เราจะชวนท่านให้ลงเหวอันลึก ถ้าท่านศรัทธาสมัครใจ ท่านเท่านั้นจะทราบเอง และทราบอย่างที่ท่านไม่เคยคาดคิด ท่านผู้อ่านการบวชแล้วก็ดี ท่านผู้กำลังบวชอยู่ก็ดี หรือท่านผู้ยังมิได้บวชอยู่ก็ดี และทั้งท่านผู้ไม่มีโอกาสจะบวชก็ดี ขอเชิญสดับตามอัธยาศัย

บวชนาค
ท่านผู้แสวงบุญทั้งหลาย

บัดนี้ โอกาสได้เปิดให้ทุกท่านมาพบกับข้าพเจ้า มิใช่โดยบังเอิญ แต่หากมาพบกันด้วยความตั้งใจ เพราะเมื่อท่านกับข้าพเจ้ามาร่วมทางเดินกันแล้ว ก็เป็นโอกาสจะได้พบกันง่ายดาย เช่นเดียวกับน้ำ แม้จะต่างลำธารกัน แต่เมื่อไหลลงสู่ลำคลองเดียวกันแล้ว ทั้งน้ำใหม่น้ำเก่าก็เข้ากันได้ สนิทสนมกลมกลืนกัน ดังนั้นเมื่อทุกท่านตั้งใจทิ้งบ้านเรือน สละความสุขความรื่นเริงทุกอย่างที่เป็นของคฤหัสถ์นิยมกันอยู่ เข้ามาแสวงบุญในพระธรรมวินัยนี้ด้วยน้ำใจอันงาม ด้วยกำลังใจอันเข้มแข็ง ชื่อว่ารักจะมาเป็นพระ เป็นญาติ เป็นพี่น้องในพระศาสนาด้วยกัน เพื่อรักษาไว้ซึ่งพุทธวงศ์ สืบเชื้อสายของพระพุทธเจ้าไว้ เพื่อเป็นที่ประจักษ์ว่า “เมืองไทยเป็นนครแห่งกาสาวพัสตร์ เป็นอาณาจักรผ้าเหลือง” ดำรงมั่นไว้ซึ่งพระศาสนา ให้สถิตสถาพรรุ่งเรือง เป็นมรดกตกทอดๆ ไปชั่วกาลนาน ข้าพเจ้ามีความยินดีต่อทุกท่าน และขอรับรองทุกท่านโดยธรรม ด้วยน้ำใสใจจริง ดังนั้นก่อนอื่นข้าพเจ้าขอปวารณาต่อทุกท่านไว้ว่า หากท่านองค์ใดประสงค์จะศึกษาหาความรู้ใดๆ จากข้าพเจ้าแล้ว ก็นิมนต์เถิด อย่าพักต้องเกรงใจเลย ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่านด้วยธรรมที่ประสงค์เสมอ

อนึ่ง เพื่อมิให้โอกาสที่ทุกท่านได้พบกับข้าพเจ้า ต้องเปล่าประโยชน์ไป ข้าพเจ้าจึงขอมอบธรรมสมบัติของพระศาสนา เฉพาะแก่ดวงใจอันงามของทุกท่าน เพื่อให้ทุกท่านได้ซาบซึ้งถึงคุณค่าของพระสัทธรรมว่า จะควรแก่การเทิดทูนเพียงใด ดังนั้น เพื่อประสิทธิภาพแก่ทุกท่าน จะได้พรรณนาสาระของเรื่องที่เห็นควรรู้ควรทำตามสมควรแก่เวลา

สำหรับวันนี้เป็นวันแรก จึงใคร่จะพูดถึงเรื่อง “บวชนาค” ก่อน ด้วยเป็นเรื่องแรกและเป็นเรื่องแปลกในชีวิตของท่าน ที่ผ่านเข้ามาหาความอบอุ่นจากกาสาวพัสตร์ในพระธรรมวินัยนี้

ท่านทั้งหลาย ก่อนอื่นขอตั้งปัญหาขึ้นว่า อย่างไรจึงเรียกว่า บวชนาค เพื่อที่จะให้ความข้อนี้กระจ่างสมควรจะพูดถึงนาคก่อน นาคได้แก่คนเช่นไร? และเหตุใดจึงเรียกว่า นาค? เห็นจะตอบกันได้มากคนว่า คนที่จะบวชพระเมื่อโกนหัว โกนคิ้วแล้ว เรียกกันว่านาค รู้กันทั่วไป ทั้งมีคำพูดที่เกี่ยวข้องกับนาค ยืนยันหลายอย่าง เช่นคำว่า เสื้อนาค ทำขวัญนาค แห่นาค จูงนาค ให้ผ้านาค ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแสดงว่า คนที่จะบวชพระเรียกกันว่า นาค

ความจริง นาค ไม่ใช่สักว่าคนโกนผมในเวลาจะบวชเท่านั้น นาคควรจะเป็นชื่อของคนตั้งแต่แรกเข้ามาฝากตัวบวชกะเจ้าอาวาสหรือพระอุปัชฌายะ ความจริงตามประสงค์ของชื่อนี้ และโดยจำกัดความของศัพท์นี้ นาค แปลว่า คนไม่มาสู่ความชั่ว หรือ คนไม่ไปหาความชั่วอีก ดังนั้น บางท่านจึงแปลว่า ผู้ไม่ทำความชั่วต่อไป ความก็ลงรอยกัน ถือเอาความว่า ผู้ที่จะเข้ามาบวชนิยมเรียกว่านาค คือเป็นผู้เห็นโทษ เห็นภัยของการเที่ยวซุกซนเตร็ดเตร่ในทางอบาย ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตระกูล เสียเวลาเปลืองชีวิต เปลืองทรัพย์ที่ต้องจับจ่ายโดยไม่จำเป็น ไม่ได้ประโยชน์คุ้มค่าทรัพย์ที่จ่ายไป การทำเช่นนี้ชื่อว่าไม่รักตัว ไม่รักษาชื่อเสียง ไม่รักษาตระกูล เพราะเป็นการเปิดช่องให้อันตรายมาสู่ตัวและตระกูลโดยเร็ว อาจได้รับอันตรายอย่างน่าเสียใจ โดยตัวหรือตระกูลไม่ทันได้นึกฝัน ทั้งนี้เกิดแต่ความประพฤติตามใจตัวเป็นรากฐาน เมื่อไม่มีการเหนี่ยวรั้งใจ ความประพฤติจึงดีได้ยาก เพราะใจของเรามีปรกติเอียงไปในเรื่องง่ายๆ เมื่อเรื่องง่ายๆ แล้วจะเป็นเรื่องดี จะเป็นเรื่องประณีตไม่ได้ เมื่อเป็นเรื่องไม่ดี ความประพฤติเรื่องไม่ดีทุกเรื่องล้วนแต่เป็นเครื่องกดตัวให้ทรามลง ตรงข้ามกับเรื่องที่ดีทุกเรื่องล้วนเป็นเครื่องยกตัวให้เจริญขึ้น แม้จะยากก็มีคุณที่โลกนิยม ซึ่งความจริงแม้เราเองผู้ประพฤติดี หวนนึกดูแล้วก็แช่มชื่นใจ ภูมิใจตนเอง

คนที่รู้ไม่ดีและไม่สังวรปาก มักจะพล่อยง่ายๆ ว่า “คนดีๆ ทำไมไปบวชเสีย” ฟังแล้วชวนให้คนบางคนคิดเสมือนว่า คนดีเขาไม่บวชกัน ส่วนคนที่บวชนั้นล้วนแต่คนไม่ดี ดูเถอะ! เป็นไปได้ แต่ถ้าเราได้ยินและมีโอกาสสมควรจะบอกให้เขาเข้าใจเสียใหม่ว่า “คนไม่ดีพระท่านไม่บวชให้” และจงจำไว้ว่า “พระสงฆ์จะยอมให้แต่เฉพาะคนดีเท่านั้นบวช”

แต่คำว่าคนดีที่พระศาสนาประสงค์ให้บวชนั้น หมายเอาคนที่เลิกการประพฤติชั่ว เริ่มตั้งตัวเป็นคนดี เป็นอย่างต่ำสมกับคำว่า ไปบวชนาค คือไปบวชคนดี คนที่เลิกประพฤติชั่วแล้ว




นาคแปลงตัวมาบวช

ในคัมภีร์มหาวรรคแห่งพระวินัยปิฎก ท่านเล่าเรื่องพญานาคแปลงตัวมาบวชไว้ว่า พญานาคตนหนึ่งอยู่ในพิภพนาค เป็นนาคมีฤทธิ์ มีความเลื่อมใส มีศรัทธาอยากบวช ได้ขึ้นมาแปลงตัวเป็นมนุษย์ แล้วไปขอบวชในสำนักพระสงฆ์ พระสงฆ์ไม่ทราบว่านาคก็ให้บวช เมื่อบวชเป็นพระแล้วพักอยู่ในวิหาร อยู่กับเพื่อนพระด้วยกัน ปรกติพระตื่นนอนแต่เวลาใกล้รุ่ง ออกไปเดินจงกรมบ้าง สาธยายมนต์บ้าง ยังภายนอกวิหาร ส่วนพระที่แปลงมาบวชง่วงนอน เห็นพระออกไปหมดแล้วก็เอนกายเพื่อระงับความง่วง แต่แล้วก็หลับไป พอหลับแล้วร่างกายของพระองค์นั้นก็พลันกลับร่างเป็นพญานาคดังเดิม ด้วยเป็นธรรมดาของพญานาคเมื่อแปลงเพศ เวลานอนหลับจะกลายร่างเป็นพญานาคทันที พอสักครู่หนึ่ง เพื่อนพระที่ออกไปเดินจงกรมกลับเข้ามา ผลักประตูเข้าไปพบพญานาคนอนขดอยู่เต็มวิหาร ก็ร้องออกมาสุดเสียงด้วยความตกใจ พวกพระก็พากันมาถามว่าร้องทำไม มีเรื่องอะไรหรือ? ท่านตอบว่า งู! ขอรับ งูใหญ่นอนขดอยู่ในวิหาร

ฝ่ายพญานาคที่แปลงมาบวชนั้นตกใจตื่น รู้สึกตัวเห็นร่างของตนเป็นพญานาค ก็รีบกลายร่างเป็นพระตามเดิมแล้วขึ้นนั่งบนเตียง ครั้นพระเปิดประตูเข้าไปก็ไม่เห็นมีงู จึงถามพระองค์นั้นว่า ท่านเป็นใคร? ธรรมดาพระไม่พูดโกหกกัน ต้องพูดกันจริงๆ ดังนั้นท่านก็ตอบว่าเป็นนาค พวกพระจึงพูดว่า “เป็นนาคจะบวชเป็นพระได้หรือ?” ว่าแล้วก็พาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า นาคเป็นอภัพสัตว์  จะบวชเป็นพระไม่สมควร ด้วยว่าสมณธรรมอันอุดมด้วยคุณเบื้องสูง จะเกิดแก่สัตว์ไม่ได้ ถึงจะมีความเลื่อมใส พยายามบำเพ็ญสมณธรรมเพียงใดก็ตาม จะบรรลุมรรคผลไม่ได้เลย ดังนั้นจึงไม่ควรบวช พญานาคได้สดับแล้วเสียใจ ร้องไห้สะอึกสะอื้นแล้วก็ลาไป พวกภิกษุจึงได้ทูลถามต่อไปว่า หากจะมีนาคจำแลงตัวมาบวชอีกจะรู้ได้อย่างไร? พระองค์ตรัสบอกว่า ธรรมดาว่านาคแม้จะแปลงร่างเป็นมนุษย์ แต่ก็มีเหตุสองประการที่จะให้รู้ว่าแปลงมา ประการที่ ๑ คราวนอนหลับก็ต้องเปลี่ยนเป็นนาคทันที  ประการที่ ๒ คราวร่วมสังวาสต้องกลายเป็นนาคทันที ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้ หากจะมีพญานาคแปลงมาบวชอีก ก็จักรู้ได้ในเวลาเขาหลับ ไม่ให้อยู่ในสมณเพศต่อไป

เรื่องนาคแปลงเป็นมนุษย์มาบวช ท่านกล่าวไว้ดังนี้ ยกมาเล่าให้ฟัง เพียงแต่ให้รู้ว่า นาคแปลงตัวมาบวชเท่านั้น ต่อมามีคนเล่าเสริมอีกว่า พญานาคเสียใจบวชไม่ได้ เมื่อจะลาจากไปได้กล่าวว่า แม้ข้าพเจ้าจะบวชไม่ได้ ก็ได้โปรดกรุณารับฝากชื่อไว้ด้วย ต่อไปผู้ใดจะบวชให้เรียกผู้นั้นว่านาค พระก็รับคำ เพราะเหตุนี้ คนจะบวชจึงพากันเรียกว่า “นาค” สืบมาจนทุกวันนี้

ดูเถอะ! พระสงฆ์ไม่ยอมให้นาคบวช คือจะยอมบวชให้แต่มนุษย์เท่านั้น ไม่ยอมบวชให้นาค แต่เรากลับเรียกว่า บวชนาค ที่ถูกควรจะเรียกว่า บวชคน หรือ บวชมนุษย์ ฉะนั้น เวลาเราบวช พระคู่สวดจึงถามเราว่า มนุสฺโสสิ แปลว่า ท่านเป็นมนุษย์หรือ? ถ้าเราตอบว่า เป็นนาคหรือเป็นครุฑ ท่านจะไม่ยอมให้บวชเลย เราต้องตอบว่า อาม ภนฺเต ขอรับกระผม คือมนุษย์ เป็นคน ทั้งต้องเป็นชายด้วย

แต่แล้วทำไมเราจึงเรียกว่าบวชนาค คำว่านาคนั้นเป็นชื่อของงูใหญ่อย่างหนึ่ง บางท่านว่านาคนั้นเป็นชื่อของงูหงอน เห็นทีจะว่ากันตามรูปพญานาคที่เขาเขียนไว้กระมัง คำว่า นาค เป็นชื่อของคนอย่างหนึ่ง ศัพท์เรียกว่านาคนี้ เรียกได้หลายอย่าง สำหรับนาคที่เป็นงูนั้นข้าพเจ้าจะไม่กล่าวถึง เพราะบวชไม่ได้ จึงขอพูดเฉพาะนาคที่เป็นคน คนที่จะเป็นนาคหมายถึงคนที่จะบวช ทำไมคนที่บวชจึงเรียกว่า นาค  ศัพท์ว่านาคนั้น ตามศัพท์แปลว่า ไม่มาสู่ความประพฤติชั่ว ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น เป็นคุณบทของคนดี เมื่อเข้าใจความหมายของนาคดังนี้แล้ว ก็เป็นทางให้เห็นชัดว่า พระจะบวชให้ก็เฉพาะคนที่เป็นนาคเท่านั้น คนใดที่ยังทำความชั่วอยู่ก็ยังเป็นนาคไม่ได้ พระไม่บวชให้ เพราะนาคแปลว่า ไม่กระทำความชั่วอีกต่อไป ถ้ายังขืนทำความชั่วต่อไปอีก พระก็จะไม่ยอมให้บวช ดังนั้นจึงขอกล่าวซ้ำอีกว่า พระจะบวชให้แก่นาค คือคนที่ไม่ทำความชั่วอีก เราจึงเรียกว่าบวชนาค บวชคนดี คนที่พระอุปัชฌายะรับรองแล้วว่า เขาจะเป็นคนดีในพระศาสนาต่อไป

เพราะฉะนั้น เราควรรู้สึกภูมิใจว่า เราได้เคยเป็นนาค ได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนาค นับว่าเป็นคนมีค่าควรที่พระสงฆ์จะรับเข้าหมู่ของท่าน แสดงว่าเราเป็นคนบริสุทธิ์ ไม่ทำความชั่วใดๆ ต่อไปก็จะเป็นคนดีอย่างนั้นอีกเสมอ พระสงฆ์จึงได้บวชให้ โดยเห็นว่าเราเป็นนาคและจะตั้งหน้าทำความดีสืบไป

ดังนั้น มารดา บิดา ผู้อุ้มท้องเลี้ยงดูลูกมา จึงพยายามให้ลูกบวช เพื่อจะให้ลูกได้เป็นนาค มารดาบิดาจะดีใจ เมื่อเห็นลูกเห็นนาค เมื่อลูกรักจะทำความดีมารดาบิดาจะได้เป็นแม่นาค พ่อนาค เป็นแม่เป็นพ่อของคนดี ที่พระสงฆ์ยินดีจะให้บวช ดังนั้นเราต้องพยายามตั้งใจรักษาตัวว่า จะไม่ทำความชั่ว นี้เป็นอานิสงส์ของการบวชนาคประการหนึ่ง

เมื่อถึงวันบวชนาค บางรายยังหาคนมาทำขวัญนาคอีก และคนทำขวัญนั้น ต้องหาคนคารมดี มีเสียงไพเราะด้วยฯ การทำขวัญเป็นพิธีอย่างหนึ่ง ให้ญาติได้รวมกันกล่าวคำขวัญบำรุงใจนาคให้สดชื่น ให้นาคเห็นอานิสงส์ที่ตัวมาเป็นนาค ให้นาครู้สึกว่า ตัวได้ทำกิจอันสำคัญในชีวิตครั้งนี้ครั้งหนึ่ง ในท่ามกลางหมู่ญาติหลายๆ คน ได้ปรากฏแก่พี่น้องญาติมิตร มีบิดามารดาเป็นต้น ว่านาคจะทำความดีแก่ตัวและแก่ตระกูล การทำขวัญเป็นพิธีกรรมเครื่องเจริญจิตใจ และเพื่อให้การทำขวัญนั้นเป็นความสวัสดิมงคลแก่นาค เขาจึงตั้งบายศรีประกอบเข้าในพิธีทำขวัญด้วย



ภาพจาก : kiddevil11.files.wordpress.com

บายศรี

คำว่า บายศรี บางทีพวกท่านจะไม่รู้จักดี อาจเห็นต้นบายศรี เป็นตัวบายศรีก็ได้ ที่เขาเรียกว่าบายศรี ๓ ชั้น ๕ ชั้น หรือบายศรีเงิน บายศรีทอง บายศรีแก้ว ล้วนแต่เป็นต้นบายศรีทั้งสิ้น คือบายศรีเงินนั้น พานเงินรองซ้อนๆ กันตั้งเป็นต้นขึ้น ๓ ชั้นก็ซ้อนกัน ๓ ลูก  ๕ ชั้นก็ซ้อนกัน ๕ ลูก เรียกว่าบายศรีเงิน ถึงบายศรีทอง บายศรีแก้ว ก็ทำนองนี้แหละ ใช้พานทอง พานแก้ว ซ้อนกันตั้งเป็นต้นบายศรี แต่ใช้ใบตองบ้าง ใบโกศลบ้าง ตั้งตกแต่งให้งามตามชั้นทุกชั้น บางแห่งก็ใช้กระดาษสี กระดาษทอง ทำเอาตามนิยม เหล่านี้ เรียกว่าต้นบายศรี หรือชั้นบายศรี ไม่ใช่ตัวบายศรี

แต่บายศรีจริงๆ นั้น คืออะไร? เรื่องนี้เราจะต้องรู้ จะต้องเข้าใจความหมาย บาย แปลว่า ข้าว แต่มุ่งเอาข้าวสุก ศรี แปลว่า ศิริมงคล มิ่งขวัญ ท่านพรรณนาไว้ว่า มนุษย์มีข้าวเป็นศรี เป็นมงคล เป็นมิ่งขวัญ ไม่มีมงคลใด มิ่งขวัญอันใดดีกว่าเลย เพราะเงินทอง ถ้าหิวขึ้นมาแล้วใส่ปากก็ไม่หายหิว เว้นข้าวแล้วชีวิตดับ แม้จะเป็นอยู่ก็ลำบาก ดังนั้นข้าวจึงเป็นมิ่งขวัญ เป็นมงคลที่ผู้รู้ยกย่อง เหตุนั้นการทำขวัญจึงตั้งต้นบายศรี ตัวบายศรีจึงเอาข้าวสุก นิยมใช้ข้าวปากหม้อ ตกแต่งให้งาม ยกขึ้นตั้งไว้บนยอดบายศรี ถ้าขาดแล้วจะเป็นบายศรีไม่ได้ สำหรับต้นบายศรีนั้น ส่วนมากที่นิยมทำกันตามชนบทเป็นไม้ ๓ ชั้น ทุกชั้นเสร็จด้วยใบตอง ใบโกศล หรือกระดาษเหมือนกัน ซ้ำแถมไข่จืดต้มปอกเปลือก ๑ ฟอง ปักไว้ที่ข้าวสุกด้วย เป็นข้าวไข่ ดูก็งามดี

ส่วนพิธีนอกนั้น ล้วนเป็นเครื่องเจริญจิตใจดังกล่าวแล้ว เรื่องข้าวเป็นจุดสำคัญในงานมงคล ตั้งต้นแต่เลี้ยงดูกัน เลี้ยงแล้วเป็นมงคลจริงๆ ดูหน้าตาสดชื่น ถ้าไม่เลี้ยงปล่อยให้อด หิว ตาลายเป็นวุ่นวาย เสียงที่พูดก็ฟังไม่เพราะแน่ และจะหนักไปในทางอัปรีย์ทีเดียว ดังที่กล่าวกันว่า “โมโหหิวข้าวนั้นร้ายพอดู”

ข้าวนั้นในบาลีเรียก ธัญญะ แปลว่า มิ่งขวัญที่ควรสงวน ความจริงก็เป็นของที่น่ารักษา น่าสงวนจริงๆ ประเทศเรา ธัญญะเป็นชื่อหัวเมืองชั้นนอกจังหวัดหนึ่ง คือจังหวัดธัญญะ จังหวัดนี้มีข้าวอุดมฯ สมัยที่พระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีพระที่นั่งองค์หนึ่ง เรียกว่าพระที่นั่งดุสิตธัญญะมหาปราสาท ถือว่าธัญญะเป็นคำขวัญ เป็นคำมงคล จึงยกขึ้นเป็นนามพระที่นั่ง

ปรกติข้าวดีย่อมเกิดแต่เนื้อนาดี คนมีข้าวดี คนสมบูรณ์ ไม่อดอยาก จัดว่ามีบุญอย่างหนึ่ง ดังนั้นชาวนาจึงต้องการนาที่ดี ด้วยประสงค์จะให้ข้าวดี เพราะข้าวดีราคาแพงขายง่าย

พระสงฆ์เรา ท่านผู้รู้ว่า เป็นนาบุญของโลก คือของคนที่ต้องการด้วยบุญ เพราะฉะนั้น พระสงฆ์ที่โลกเคารพนับถือบูชา จึงเป็นผู้ที่มีกาย วาจา ใจ อบรมดีแล้ว คือมีความประพฤติสะอาด บริสุทธิ์ เหมือนเนื้อนาที่ไม่รกด้วยต้นหญ้า ที่เป็นศัตรูต้นข้าว จึงเป็นนาดี มีข้าวงาม เป็นที่ประสงค์ของคนทั่วไป สมกับที่เป็นพระ เพราะความจริงเดิมก็มิได้ถูกบังคับหรือรับจ้างผู้ใดมาบวช ทั้งก่อนแต่จะบวชก็ได้ประพฤติตนเป็นคนดีพอสมควร จนได้รับรองว่าเป็นนาค คือเป็นคนบริสุทธิ์ เป็นคนดี ดีพอที่จะบวชได้
2898  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: พุทธธรรมเพื่อชีวิตและสังคม เมื่อ: 26 มกราคม 2560 09:00:55

อย่างเราๆ นับถือศาสนาพุทธ เพราะเหตุว่าพ่อแม่ปู่ย่าตายายนับถือกันมา
ก็เลยนับถือต่อจนเป็นประเพณี สักแต่ว่าเกิดมาในศาสนาพุทธ แล้วก็นับถือศาสนาพุทธไปจนตาย
เห็นพระพุทธรูปก็กราบ เห็นพระก็ยกมือไหว้ ทำบุญสุนทานกันเป็นประเพณีเรื่อยๆ ไป
โดยไม่คำนึงถึงการนับถือศาสนาพุทธนั้นหมายความว่าอย่างไรกันแน่
...นี่เป็นเรื่องน่าคิดอย่างยิ่ง...

ที่มา : "พระพุทธศาสนากับคึกฤทธิ์"
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียน
------------------------------------
ภาพประกอบ : "มหาบพิตร นี่คือองคุลิมาล"
วาดประกอบการคัดลอกวรรณกรรมเรื่อง "กามนิต-วาสิฏฐี"
เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๘




เรามองศาสนาแต่เพียงผิวเผิน มองศาสนาด้วยความห่างไกล
จึงต่างพากันเห็นศาสนาเป็นดินแดนแห่งความลึกลับ
เต็มไปด้วยของขลังและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่ง นั่น! เป็นเปลือก เป็นกระพี้
และทั้งมิใช่เปลือกและกระพี้ของพระพุทธศาสนาด้วย หากเราใช้
วิจารณญาณให้ซึ้งด้วยดวงจิตอันสะอาด เราจะพบสิ่งซึ่งซ่อนเร้น
ล้นด้วยค่ายิ่งนัก สิ่งนั้นคือ “พระธรรม” คำสอนที่ให้ความเย็นใจ.


เจ้าคุณพระราชสุธี “เมื่อเราบวช” พิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕




ภาพ : ตักบาตรเช้า ที่นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

การทำบุญ หรือใส่บาตร หรือบริจาคทาน ...เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ง่ายๆ นี้ เรียกว่า “บุญกิริยา“
เป็นการอบรมศาสนาพุทธให้แก่เด็กได้เกิดความคิด ความสนใจ ว่า “บุญ“ นั้นคืออะไร?
2899  สุขใจในธรรม / ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม / ขอเชิญเที่ยวงานตรุษจีนนครสวรรค์ 21 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2560 เมื่อ: 25 มกราคม 2560 12:25:19


ภาพจากงานตรุษจีน นครสวรรค์
ค่ำคืนวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐

งานปีนี้ย่นย่อลงไปมาก เพราะอยู่ในช่วงการไว้อาลัยการสวรรค์คต
ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


















ตัวจริงค่ะ "kimleng"  ยืนหันหลังเสื้อสีน้ำตาล คือนาย Mckaforce (ตัวอย่างกะช้าง)










2900  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / ผัดกระเพราเห็ดถอบ สูตร/วิธีทำ เมื่อ: 23 มกราคม 2560 16:43:59
.



ผัดกระเพราเห็ดถอบ

ส่วนผสม
- หมูสับ 100 กรัม
- เห็ดถอบหั่นเป็นแว่น 1/2 ถ้วย
- กระเทียมไทย 1/2 หัว
- พริกสด 10-15 เม็ด
- ใบกระเพราเด็ดแต่ใบ 1/2 ถ้วย
- น้ำมันหอย
- ซีอิ๊วขาว
- ซีอิ้วดำหวาน
- น้ำตาลทราย


วิธีทำ
1.โขลกกระเทียม พริกสด ให้ละเอียด
2.ตั้งกระทะใส่น้ำมันเล็กน้อย ใส่เครื่องที่โขลก ผัดให้หอม
3.ใส่หมูสับ ผัดให้เข้ากัน ใส่ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำหวาน น้ำตาลทรายเล็กน้อย
5.จัดใส่จานเสิร์ฟ โรยพริกไทยป่น









เคล็ดลับ: การเก็บรักษาเห็ดถอบให้สดรสชาติดี เมื่อซื้อมาจำนวนมากและต้องการแบ่งไว้ปรุงอาหารในวันหน้า
-ทำความสะอาดเห็ดถอบโดยแช่น้ำให้ดินหลุดออกให้หมด ล้างให้สะอาดใส่ตะแกรงพักให้สะเด็ดน้ำ
-ต้มน้ำให้เดือด ใส่เกลือเล็กน้อย ใส่เห็ดถอบต้มให้สุก ใช้ตะแกรงโปร่งตักเห็ดใส่ถุงพลาสติก
พอเย็นมัดปากถุงให้แน่น เก็บไว้ในช่องเย็นได้นานนับเดือน

หน้า:  1 ... 143 144 [145] 146 147 ... 276
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.822 วินาที กับ 22 คำสั่ง