[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 01:30:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฝันเห็นเสือ (จาก “การเห็นทางธรรมสามระดับ” ของเตชุง ริมโปเช)  (อ่าน 2847 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2553 17:09:40 »




ฝันเห็นเสือ


เราต้องเข้าใจก่อนว่าสรรพสิ่งทั้งมวลเป็นเพียงภาพฉายของจิต เมื่อเราตรวจสอบลงไป เราก็จะพบว่าสรรพสิ่งที่ดูเหมือนว่าอยู่ภายนอกและเป็นจริง ล้วนแล้วแต่เป็นเหมือนกับความฝัน เป็นเพียงภาพฉายของจิตและไม่เป็นจริงในตัวเอง จากนั้นเราก็ก้าวต่อไปยังขั้นตอนของการตรวจสอบธรรมชาติของจิตนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ขั้นตอนแรกนี้จึงได้ชื่อว่า “การรับรู้ว่าสิ่งต่างๆเป็นเพียงจิต” (snang ba sems su grub pa “snang ba” แปลว่า “ภาพ” “สิ่งปรากฏ” ส่วน “sems” แปลว่า “จิต”)

สำหรับเราแล้วการทำความเข้าใจความคิดนี้ด้วยตัวอย่างอาจจะง่ายขึ้น เมื่อพระอาจารย์ชาวอินเดียอตีศะเดินทางไปยังทิเบตเพื่อสอนธรรมะ ท่านก็ใคร่ครวญว่าจะสอนธรรมะให้แก่ชาวทิเบตอย่างไรดี เนื่องจากชาวทิเบตไม่คุ้นเคยกับคัมภีร์ทางธรรมของอินเดีย ท่านอยากจะสอนคำสอนเรื่องจิตรมาตรหรือคำสอนที่บอกว่ามีแต่จิตเท่านั้น ท่านจึงไต่ถามว่าชาวทิเบตรู้จักนักเล่นมายากลบ้างหรือไม่ และก็ได้คำตอบว่าไม่รู้จัก

ในประเทศอินเดียนั้นมีนักเล่นมายากลที่พบเห็นได้ทั่วไป เดินทางจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง เพื่อแสดงมายากลต่างๆ พระอาจารย์ในพระพุทธศาสนาในอินเดียต่างก็ใช้ตัวอย่างของนักเล่นมายากลนี้ เนื่องจากชาวพุทธมักอ้างตัวอย่างที่พบเห็นได้ทั่วไปในแต่ละท้องที่มาสนับสนุนประเด็นที่ต้องการจะสอน การสอนธรรมะให้แก่ชาวบ้านในอินเดียว่าสิ่งต่างๆล้วนแล้วแต่เป็นของว่าง และภาพปรากฏของสิ่งเหล่านี้ไม่มีความจริงในตัวเอง พระอาจารย์มักจะอ้างการเล่นกลของนักมายากลเหล่านี้ เพื่อแสดงว่าสรรพสิ่งล้วนแต่เหมือนกับมายากล เมื่อนักเล่นมายากลแสดงให้เราเห็นว่าเกิดมีมายาที่เราเห็นเป็นจริงเป็นจังอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันมิได้เป็นเช่นนั้น เช่นมายากลที่แสดงว่ามีผู้หญิงที่ถูกเลื่อยออกเป็นสองท่อน ฯลฯ ภาพที่เราเห็นไม่ใช่ความจริง แต่เป็นเพียงการเข้าใจผิดของจิตที่ทำให้เราคิดไปว่ามันเป็นจริง ชาวอินเดียก็จะสามารถเข้าใจประเด็นนี้ได้โดยง่ายโดยเปรียบกับตัวอย่างเช่นนี้

ดังนั้นเมื่อพระอาจารย์อตีศะรู้ว่าชาวทิเบตไม่มีนักมายากลที่ท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆ ก็ถามว่าชาวทิเบตรู้จักฝันหรือเปล่า เมื่อท่านทราบว่าชาวทิเบตก็ฝันเหมือนกัน ท่านก็ตกลงจะเปรียบเทียบกับความฝัน ทุกคนที่เคยฝันจะเข้าใจว่าในขณะที่ฝันอยู่นั้น เรารู้ตัวอยู่ว่ามีสิ่งต่างๆอยู่มากมายที่ดูราวกับเป็นจริง ความดูเหมือนจริงนี้มีมากจนกระทั่งว่าเรามีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยอารมณ์ต่างๆราวกับว่ามันเป็นจริงจริงๆ ราวกับว่าภาพที่เราเห็นในความฝันนั้นดำรงอยู่ภายนอกตัวเรา และดูราวกับว่าตัวเรานั้นขึ้นอยู่กับภาพในฝันที่เราเห็นอยู่นั้นเอง เช่นเราฝันเห็นเสือวิ่งมาหาเรา เราก็ตอบสนองด้วยความกลัวและความปรารถนาจะหนี แต่เมื่อเราตื่นขึ้น เราก็รู้ว่าเพียงแค่ฝันไป และเสือนั้นก็ไม่เคยมีอยู่จริง เสือนั้นเป็นเพียงภาพฉายของจิตในฝันเท่านั้น ปฏิกิริยาของเราต่อภาพในความฝันนั้นเป็นความผิดพลาด จิตไม่ได้รับรู้ว่าจริงๆแล้วเป็นเพียงแค่ความฝัน คือเป็นเพียงภาพของเสือที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาเองในความฝัน

ผู้ที่ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานจะต้องเรียนรู้ที่จะมองสรรพสิ่งทั้งมวลในขณะที่ตื่นอยู่ ว่าเป็นเหมือนกับภาพฉายของจิตที่เห็นในความฝัน แม้ว่าภาพปรากฏในขณะที่ตื่นอยู่จะดูเป็นจริงเป็นจังในสายตาของผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติสมาธิ หรือผู้ที่ยังไม่ตรัสรู้ แต่ในสายตาของผู้ปฏิบัติสมาธิแล้วทั้งหมดไม่ต่างอะไรจากภาพในฝัน ผู้ปฏิบัติธรรมจะรับรู้ภาพเหล่านี้ว่าเป็นเพียงการที่จิตแสดงตัวออกมาแล้วก็เข้าไปยังขั้นตอนต่อไป ดังนั้นเราจึงรับรู้จิตว่าเป็นต้นกำเนิดของประสบการณ์ของทุกสิ่งทุกอย่างในขณะที่รู้สำนึก แล้วก็เข้าใจความสำคัญของการรับรู้ธรรมชาติที่แท้จริงของจิต

(จาก “การเห็นทางธรรมสามระดับ” ของเตชุง ริมโปเช)

http://soraj.wordpress.com/2009/03/22/%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b8%ad/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2553 18:47:58 »


ผมชอบท่อนนี้จัง

อ้างถึง

พระอาจารย์มักจะอ้างการเล่นกลของนักมายากลเหล่านี้
เพื่อแสดงว่าสรรพสิ่งล้วนแต่เหมือนกับมายากล เมื่อนักเล่นมายากลแสดงให้เราเห็นว่าเกิดมีมายาที่เราเห็น
เป็นจริงเป็นจังอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันมิได้เป็นเช่นนั้น
เช่นมายากลที่แสดงว่ามีผู้หญิงที่ถูกเลื่อยออกเป็นสองท่อน ฯลฯ ภาพที่เราเห็นไม่ใช่ความจริง
แต่เป็นเพียงการเข้าใจผิดของจิตที่ทำให้เราคิดไปว่ามันเป็นจริง
ชาวอินเดียก็จะสามารถเข้าใจประเด็นนี้ได้โดยง่ายโดยเปรียบกับตัวอย่างเช่นนี้


ชอบการอุปมาอุปมัย มันเห็นภาพดีถ้าเทียบแบบนี้

อีกอย่างมายากลเป็นตัวเปรียบเทียบที่ดีกับเรื่องมายา

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
การละวางจากตัวตน โดย ท่านกุงกา ซังโป ริมโปเช
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2169 กระทู้ล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2553 18:50:10
โดย หมีงงในพงหญ้า
พระมหาสิทธะวิรูปะ Mahasiddha Virupa ใน หนังสือ การเห็นทางธรรมสามระดับ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 2176 กระทู้ล่าสุด 12 มีนาคม 2556 01:54:30
โดย มดเอ๊ก
ปาฐกถาธรรม ศิลปะแห่งการอยู่และการตาย โดย ท่านโซเกียล ริมโปเช
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 1857 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2559 21:38:00
โดย มดเอ๊ก
พิธีมนตราภิเษกเพื่อให้มีอายุยืนยาว(พระอาจารย์ลาตรี เคนโปเกเช ญีมาทรักปา ริมโปเช)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 961 กระทู้ล่าสุด 26 มิถุนายน 2559 00:49:27
โดย มดเอ๊ก
ตรวจสอบว่ากำลังเดินถูกทางหรือไม่ จาก“การรับรู้ทางธรรมสามระดับ” ของเตชุง ริมโปเช
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 879 กระทู้ล่าสุด 08 กรกฎาคม 2559 04:37:18
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.247 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2566 19:26:04