[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 06:16:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำราพิชัยสงครามของซุนวู  (อ่าน 2021 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2319


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 27 กันยายน 2558 07:40:06 »

.



ตำราพิชัยสงครามของซุนวู

ตำราพิชัยสงคราม เป็นคำที่ใช้เรียกหนังสือหรือเอกสารที่รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีการรบ อาทิ การรุก การตั้งรับ การแปรขบวนทัพ การใช้อุบายทำลายข้าศึก เป็นต้น หนังสือจำพวกนี้ในบางที่จะใส่เนื้อหาที่เป็นความเชื่อด้านโหราศาสตร์เข้าประกอบ เช่น การดูฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพ การทำพิธีข่มขวัญข้าศึกและบำรุงขวัญฝ่ายตน ฯลฯ โดยรูปแบบเนื้อหาอาจเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้

สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำจำกัดความศัพท์ตำราพิชัยสงคราม ว่าเป็นตำราว่าด้วยวิธีการเอาชนะข้าศึกในสงครามซึ่งนักปราชญ์ทางทหารสมัยโบราณได้แต่งขึ้นจากประสบการณ์และจากการทดลอง เพื่อให้แม่ทัพนายกองใช้ศึกษา และเป็นคู่มืออำนวยการรบให้หน่วยทหารมีชัยชนะแก่ข้าศึก

ตำราพิชัยสงครามที่นับว่ามีชื่อเสียงระดับโลก คือตำราพิชัยสงครามของซุนวู (ภาษาจีน ซุนจื่อปิงฝ่า, ภาษาอังกฤษ The Art of War, ความหมายตามอักษร ยุทธศิลป์) ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อราว 600 ปีก่อนคริสตกาล อันอยู่ในช่วงยุครณรัฐของจีน โดย ซุนวู นักยุทธศาสตร์คนสำคัญในยุคจ้านกว๋อ เนื้อหามี 13 บท แต่ละบทเน้นถึงแต่ละแง่มุมของการสงครามเป็นตำรายุทธศาสตร์การทหารเล่มหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนับได้ว่าเป็นตำราเล่มแรกและเล่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเชิงยุทธศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อแนวคิดทางการทหาร กลยุทธ์ทางธุรกิจ และแนวคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก

ซุนวูถือเป็นบุคคลแรกที่ตระหนักในความสำคัญของตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งจากเงื่อนไขเชิงรุกในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความคิดเชิงรับของฝ่ายคู่แข่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เขาสอนว่ายุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงการวางแผนกำหนดสิ่งที่จะลงมือทำเท่านั้น แต่ยังต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสถานการณ์ต่างๆ ด้วย
 
ตำราพิชัยสงครามเล่มนี้แปลเป็นภาษาตะวันตกครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1782 แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสโดยบาทหลวงฌอง โชแซฟต์ มารี อามีโอต์ (Jean Joseph Marie Amiot) นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายเยซูอิต ปัจจุบันนี้นอกจากการประยุกต์ใช้ในด้านการทหาร หลักการในตำราพิชัยสงครามของซุนวูยังถูกนำมาปรับใช้ในกลยุทธ์เชิงธุรกิจและด้านการจัดการ

ตำราพิชัยสงครามแบ่งเนื้อหาออกเป็น 13 บรรพ ดังนี้ 1.การประเมิน 2.การวางแผน 3.ยุทธศาสตร์การรบรุก 4.ท่าที 5.กำลังพล 6.ความอ่อนแอ-เข้มแข็ง 7.การดำเนินกลยุทธ์ 8.สิ่งผันแปร 9 ประการ 9.การเดินทัพ 10.ภูมิประเทศ 11.พื้นที่ต่างกัน 9 อย่าง 12.การโจมตีด้วยไฟ 13.การใช้สายลับ

ตัวอย่างเนื้อหา "รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง" ซุนวูกล่าวว่า ถ้ารู้จักวางแผนที่จะรบชนะทุกร้อยครั้ง เหมือนสิงโต คราวใดที่ไม่สามารถจะล่าเหยื่อได้จะไม่ออกล่า ในสงคราม เมื่อรู้กำลังของกองทัพของเราเอง รู้ความสามารถของแม่ทัพ รู้ความสามารถของกองทหารของฝ่ายเรา โอกาสรบชนะมีครึ่งหนึ่ง เมื่อใดก็ตามที่เรียนรู้กองกำลังของข้าศึก เรียนรู้ความสามารถของแม่ทัพข้าศึก และรู้ความสามารถของกองทหารของข้าศึก โอกาสรบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งก็ไม่ไปไหนไกล แต่เมื่อใดก็ตามที่ออกรบ แม่ทัพไม่รู้กำลังของตัวเอง ไม่รู้กำลังของกองทหารตัวเอง ไม่ว่าจะออกรบกี่ครั้ง ต้องแพ้ย่อยยับกลับมาทุกครั้ง

"จงสู้รบให้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ" คือ ไฟ-เมื่อยามบุกจงบุกให้เหมือนไฟ รุกกระหน่ำให้โหมหนักไปเรื่อยๆ จนทุกอย่างมอดไหม้, ภูเขา-เมื่อยามตั้งรับจงนิ่งสงบอย่างหุบเขา ไม่ให้ศัตรูจับได้ว่าเราซ่อนตัวอยู่ที่ไหน, ลม-เมื่อยามเคลื่อนทัพจงเคลื่อนให้เหมือนสายลม รวดเร็วโดยไม่ทิ้งร่องรอย

ซุนวู หรือซุนอู่ หรือซุนจื่อ นามนี้แปลว่า ปราชญ์แซ่ซุน  เจ้าตำราพิชัยสงครามเล่มสำคัญของโลก




รูปปั้นซุนวู ผู้แต่ง "ตำราพิชัยสงครามของซุนวู"
(ตั้งอยู่ที่เมืองยุริฮิมะ จังหวัดทตโตะริ ประเทศญี่ปุ่น)


ประวัติของซุนวู
ซุนวู หรือ ซุนอู่ หรือ ซุนจื่อ (Sun Tzu) แปลว่า ปราชญ์แซ่ซุน เป็นผู้เขียน "ตำราพิชัยสงครามของซุนวู" (ซุนจื่อปิงฝ่า) ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหารที่มีอิทธิพลมาก และปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำรามีผู้ประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจและการเมือง

ข้อมูลที่มีหลงเหลืออยู่เกี่ยวกับชีวประวัติของซุนวูคือชีวประวัติที่เขียนขึ้นในช่วง 2 ศตวรรษก่อนคริสตกาล โดย ซือหม่าเชียน นักเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์บรรยายถึงซุนวูว่า เป็นแม่ทัพที่อาศัยอยู่ในรัฐอู๋ ในช่วงประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล ยุคเดียวกันกับ ขงจื๊อ นักปรัชญาจีนผู้ยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตามชีวประวัตินี้ขัดแย้งกับหลักฐานอื่นๆ ของยุคนั้น รวมทั้งลักษณะการเขียนและเนื้อหาของตำราพิชัยสงครามของซุนวู ที่บ่งชี้ว่าไม่น่าจะเป็นงานที่เขียนขึ้นในช่วง 400-320 ปีก่อนคริสตกาล

ตำราพิชัยสงครามของซุนวูได้ทิ้งเบาะแสเป็นนัยๆ ถึงชีวิตของซุนวู เช่น รถม้าใช้ในการสงครามที่อธิบายโดยซุนวู มีการใช้เพียงแค่ในช่วงเวลาสั้นๆ ช่วงยุค 400 ปีก่อนคริสตกาล ดังนั้นจึงถือว่าบางส่วนของงานเขียนนี้ก็อยู่ในช่วงเวลานั้น คาดว่าซุนวูมีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ทั้งนี้ ตำราพิชัยสงครามของซุนวูได้ถูกกล่าวถึงหลายคราในนิยายเรื่อง สามก๊ก

ขณะที่ใน เลียดก๊ก ซุนวู เป็นสหายกับ อู๋จื่อซี เขาชักชวนซุนวูให้มารับราชการในแคว้นอู๋ ทำหน้าที่ฝึกทหารให้แก่ อู๋อ๋องเหอหลี อ๋องแห่งแคว้นอู๋ ซุนวูได้เสนอแผนพิชัยสงคราม 13 บรรพ แต่ อู๋อ๋องเหอหลียังไม่เชื่อ ซุนวูจึงขอฝึกนางสนมของอู๋อ๋องเหอหลี ในการฝึก มีนางสนม 2 นางเอาแต่หัวเราะเล่นสนุกสนาน ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของซุนวู ซุนวูจึงสั่งประหารสนม 2 นางนั้นทันที เพื่อให้เห็นถึงความเอาจริง

ท้ายที่สุด อู๋อ๋องเหอหลีเชื่อมั่นในตัวซุนวูและตำราพิชัยสงครามอย่างเต็มที่ ก่อนคริสต์ศักราช 507 ปี อู๋อ๋องเหอหลีแต่งตั้งให้ซุนวูเป็นแม่ทัพ อู๋จื่อซีและป๋อผีเป็นรองแม่ทัพยกพลหนึ่งแสนไปตีแคว้นฉู่ สามารถตีแคว้นฉู่ที่ใหญ่กว่าเข้มแข็งกว่าได้สำเร็จ แต่ต่อมาสถานการณ์พลิกผันเพราะ ฉู่เจาอ๋อง อ๋องแคว้นฉู่ หลบหนีไปเสียก่อน เยว่อ๋องยุ่นฉาง อ๋องแห่งแคว้นเยว่ ฉวยโอกาสที่แคว้นอู๋ว่างเปล่ายกทัพมาตีแคว้นอู๋ อู๋อ๋องเหอหลีจึงรีบยกทัพกลับทันที และผูกใจเจ็บคิดจะล้างแค้นเย่ว อ๋องยุ่นฉางตลอดไป

ก่อนคริสต์ศักราช 497 ปี เย่วอ๋องยุ่นฉางถึงแก่กรรม โกวเจี้ยนผู้บุตรขึ้นครองแคว้นแทน อู๋อ๋องเหอหลีคิดฉวยโอกาสไปตี ซุนวูและอู๋จื่อซีคัดค้าน แต่อู๋อ๋องเหอหลีไม่ฟัง ยกทัพสามหมื่นไปตีแคว้นเยว่ ผลคือทั้งคู่ปะทะกันที่จุ้ยหลี่ ในที่สุดอู๋อ๋องเหอหลีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ตนเองถูกอาวุธจนบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่กรรมระหว่างเดินทางกลับแคว้นอู๋

อู๋อ๋องฟูซาขึ้นครองแคว้นสืบต่อจาก อู๋อ๋องเหอหลีผู้บิดา อู๋อ๋องฟูซาแรกทีเดียวดำเนินการอย่างเข้มแข็งหมายจะล้างแค้นให้บิดาให้ได้ แต่ความประพฤติกลับเหลวไหล หลงแต่สุราและนารีจากแผนนางงามไซซี จนในที่สุดต้องฆ่าตัวตายเมื่อก่อนคริสต์ศักราช 485 ปี ส่วนของซุนวูเมื่อได้รู้ถึงนิสัยที่แท้จริงของอู๋อ๋องฟูซา คิดว่า ต่อไปภายภาคหน้าแคว้นอู๋ต้องล่มสลายแน่ จึงลาออกจากราชการในก่อนคริสต์ศักราช 495 ปี

"รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" คนส่วนใหญ่อาจเคยได้ยินวลีนี้และว่าเป็นคำสอนของซุนวู แต่แท้จริงเป็นการรวมคำพูด 2 ประโยคที่ซุนวูพูดไว้ คือ "การชนะร้อยทั้งร้อยมิใช่วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลย จึงถือว่าเป็นวิธีอันวิเศษยิ่ง" กับ "หากรู้เขารู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงตัวเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่ หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธนั้นแล" ฉะนั้นคำสอน "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" จึงไม่มีปรากฏในตำราพิชัยสงครามแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม มีบางกระแสระบุว่า งานเขียนของซุนวู ที่จริงแล้วเขียนขึ้นโดยนักปรัชญาจีนไร้นาม และซุนวูอาจไม่มีบุคคลจริงในประวัติศาสตร์



nachart@yahoo.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.312 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 19:04:08