[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 21:24:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 5 6 [7] 8 9 10   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระเครื่อง  (อ่าน 237171 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #120 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2562 16:31:47 »



พระร่วงกรุถ้ำมหาเถร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงยืนศิลปะแบบลพบุรีโดยส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงแทบทุกกรุ แต่ก็มีพระร่วงอยู่กรุหนึ่งที่เป็นเนื้อชินเงิน และเป็นพระกรุที่อยู่ในจังหวัดลพบุรี คือพระร่วงกรุถ้ำมหาเถร ซึ่งปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นหรือพูดถึงกันนัก แต่ผู้ที่ชื่นชอบพระกรุพระเก่าก็ยังคงนึกถึงกันอยู่ และพระแท้ๆ ก็หายากครับ

ในจังหวัดลพบุรีมีกรุพระเก่าแก่ที่พบอยู่หลายกรุ โดยพระส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระที่มีศิลปะแบบลพบุรีหรือแบบขอม ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 800 ปีขึ้นไป พระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากๆ ก็คงไม่พ้นพระร่วงยืนหลังลายผ้า กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และพระหูยาน เนื้อชินเงิน แต่ก็มีพระร่วงยืนอยู่กรุหนึ่งที่เป็นเนื้อชินเงิน คือพระร่วงกรุถ้ำมหาเถร ถ้ำมหาเถรอยู่ที่ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมือง ซึ่งอยู่บริเวณเทือกเขาเอราวัณ ถ้ำมหาเถรเป็นถ้ำไม่ใหญ่โตอะไรนัก ลักษณะเป็นถ้ำเปิดมีแสงลอดเข้าไปได้ เมื่อประมาณปีพ.ศ.2515 ได้มีคนเข้าไปสำรวจและขุดค้นดู ปรากฏว่าพบไหบรรจุพระอยู่ 2 ไห ภาพในไหพบพระร่วงยืนเนื้อชินเงิน และพระอื่นๆ อยู่บ้างเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นพระร่วงยืน ซึ่งแยกได้เป็น 2 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ส่วนใหญ่จะเป็นพระพิมพ์ใหญ่ เนื้อชินเงินของพระร่วงกรุถ้ำมหาเถรคล้ายๆ กับพระหูยานกรุใหม่ ผิวของพระค่อนข้างสมบูรณ์มีผิวปรอทจับขาวทั่วทั้งองค์ เนื่องจากกรุของพระอยู่ในที่สูงไม่ถูกน้ำท่วมขัง พระส่วนใหญ่จึงสมบูรณ์มีผิวปรอทจับขาวทั้งองค์ ด้านหลังของพระร่วงกรุถ้ำมหาเถรจะมีทั้งหลังลายผ้าและหลังกาบหมาก พระร่วงกรุถ้ำมหาเถรนี้บางองค์ก็จะพบรอยระเบิดแตกปริตามขอบๆ บ้าง และในที่อื่นๆ บ้าง ซึ่งแสดงถึงการมีอายุกาล ส่วนใหญ่พระจะมีสภาพสมบูรณ์ ศิลปะขององค์พระก็เป็นแบบศิลปะลพบุรียุคปลาย พุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระร่วงยืนหลังลายผ้าของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

ในระยะที่พระแตกกรุใหม่ๆ ยังไม่ค่อยมีคนเช่าหาเท่าไรนัก สนนราคาก็ยังถูกอยู่ แต่ต่อมาเมื่อมีเซียนพระเข้าไปเช่าไว้เกือบหมด จึงทำให้พระเหลือน้อยและค่อยๆ มีความนิยมสูงขึ้น ใครที่หาพระร่วงหลังลายผ้าของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุไม่ได้ก็จะมาหาของกรุถ้ำมหาเถรใช้แทน พุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกันกับพระร่วงหลังลายผ้า ปัจจุบันเป็นพระที่ค่อนข้างหายาก ของปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้ว ต้องพิจารณาให้ดีหรือเช่าหาจากผู้ที่ไว้วางใจได้

พระร่วงยืนกรุถ้ำมหาเถรถึงแม้จะเป็นพระขนาดเขื่อง แต่ก็ทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และศิลปะโบราณคดี อีกทั้งทางด้านพุทธคุณก็เป็นเยี่ยม สนนราคาในปัจจุบันก็ค่อนข้างสูงอยู่พอสมควร และหายากเช่นกัน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงยืนกรุถ้ำมหาเถร ลพบุรี พิมพ์ใหญ่ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีเมตตาธรรมสูง มีผู้เคารพนับถือมาก พระกริ่งของท่านก็เป็นที่รู้จักกันมากและเริ่มจะหายากแล้ว คือพระกริ่งปรโม

หลวงปู่เริ่มเกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2448 ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โยมบิดาชื่อมิ่ง โยมมารดาชื่อเลี่ยม พออายุครบ 20 ปีหลวงพ่อเริ่มท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดแหลมฉบัง โดยมีพระครูสุนทรธรรมรส (หลวงปู่ศรี) วัดอ่างศิลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จั๊ว วัดอ่างศิลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ลำดวน วัดอ่างศิลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปรโม" เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดจุกกะเฌอ ซึ่งมีพระอาจารย์ขันธ์เป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อเริ่มท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติโดยเคร่งครัด จริยาวัตรงดงาม จนชาวบ้านเคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน หลวงปู่เริ่มท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านได้เคยเรียนวิชากับหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก แต่ก่อนที่หลวงพ่ออ่ำจะสอนวิชาให้นั้นท่านจะมัดมือไพล่หลังไว้กับตอไม้ที่ริมป่าช้า วัดหนองกระบอก โดยให้คาถา 4 ตัว ให้ภาวนาจนเชือกหลุด หลวงปู่เริ่มท่านทำได้ หลวงพ่ออ่ำท่านจึงรับเป็นศิษย์ โดยได้เรียนวิชาฝนแสนห่า และสีผึ้งเจ็ดจันทร์ ซึ่งเป็นวิชาเมตตามหานิยมชั้นสูง นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษากับพระอาจารย์เก่งๆ อีกหลายรูป เช่น เรียนวิชาทำปลัดขิกและหนังหน้าผากเสือ กับหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เรียนวิชาหนังหน้าผากเสือ กับหลวงพ่อสาย วัดหนองเกตุน้อย ชลบุรี เรียนวิชาทำผง 12 นักษัตร จากหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ และได้ศึกษากับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป เช่น หลวงพ่ออ๋อง วัดหนองรี ชลบุรี หลวงพ่อผุย วัดหน้าพระธาตุ พนัสนิคม ท่านเจ้าคุณศรี วัดอ่างศิลา และได้เรียนวิปัสสนากรรมฐาน วิชาสร้าง พระปิดตา วิชาโหราศาสตร์ กับสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทัย) วัดสระเกศ ด้วย

หลังจากหลวงปู่เริ่มท่านอุปสมบทได้ 6 พรรษาหลวงพ่อขันธ์ก็มรณภาพ ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ในปี พ.ศ.2481 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน ในปี พ.ศ.2485 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีพ.ศ.2487 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะตำบลบึงหนองขาม พ.ศ.2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ปี พ.ศ.2519 เป็นเจ้าคณะอำเภอศรีราชา หลวงปู่เริ่มท่านมรณภาพในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2538 สิริอายุได้ 91 ปี พรรษาที่ 71

หลวงปู่เริ่มท่านได้เคยสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ และสีผึ้งเจ็ดจันทร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่หายากในปัจจุบัน เรื่องสีผึ้งเจ็ดจันทร์นี้สร้างยากมาก นอกจากนี้ท่านได้สร้างเหรียญพระปิดตา และพระกริ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือพระกริ่ง-พระชัย ปรโม ที่สร้างในปี พ.ศ.2527 พุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดครับ ปัจจุบันเริ่มหายากแล้ว

วันนี้ผมนำรูปพระปิดตาเนื้อผง รุ่นแรก ของหลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระนางกำแพงเพชร

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนางกำแพง ซึ่งเป็นพระที่มีจำนวนมากหน่อยในตระกูลพระกรุกำแพงเพชร มีมากมายหลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งในฝั่งทุ่งเศรษฐี (นครชุม) เองและฝั่งตัวจังหวัด มีอยู่หลายพิมพ์เป็นที่นิยมทุกพิมพ์ทุกกรุครับ

พระนางกำแพงเป็นพระอีกแบบหนึ่งที่ถูกขุดพบในบริเวณทุ่งเศรษฐีและทางฝั่งจังหวัด มีพบอยู่หลายกรุ ที่เรียกกันว่า "พระนางกำแพง" ก็เนื่องมาจากว่าเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัยและส่วนมากมีการตัดขอบรูปทรงสามเหลี่ยมแบบพระนางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลก พระในลักษณะนี้โดยส่วนใหญ่ในสังคมผู้นิยมพระเครื่องก็มักจะเรียกกันว่าพระนางพญา และต่อท้ายด้วยชื่อกรุหรือจังหวัดนั้นๆ ส่วนพระนางกำแพง แต่เดิมก็อาจจะเรียกกันว่า "พระนางพญากำแพงเพชร" แต่เนื่องจากชื่อยาวเกินไป จึงมักเรียกกันสั้นๆ ว่า "พระนางกำแพง" ก็เป็นที่เข้าใจกัน

พระนางกำแพงถูกขุดพบที่กรุวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดช้างลอบ และวัดอื่นๆ อีกเกือบทุกกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พระที่พบมีทั้งพระเนื้อดินเผา เนื้อชินเงิน เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง (พบน้อยมาก) และพระเนื้อว่าน ทั้งว่านหน้าเงิน ว่านหน้าทอง และเนื้อว่านธรรมดา พระนางกำแพงที่พบก็มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระนางกำแพงทรงสามเหลี่ยม พระนางกำแพงที่มีปีกจะแยกออกเป็นพระนางกลีบบัว พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น นางกำแพงเม็ดมะเคล็ด พระนางกำแพงตราตาราง เป็นต้น พระที่มีรูปทรงสามเหลี่ยมก็จะเรียกกันว่า "พระนางกำแพง"

ส่วนชื่อพิมพ์อื่นๆ ก็จะเรียกกันตามกรอบพิมพ์ทรง หรือตามรายละเอียดอื่นๆ เป็นต้น พระนางกำแพงจะมีทั้งพิมพ์ลึกและพิมพ์ตื้น พระนางกำแพงจะนิยมพระเนื้อดินมากกว่าเนื้ออื่นๆ เนื้อดินของพระในตระกูลกำแพงเพชรนั้นจะมีเอกลักษณ์ที่เป็นพระเนื้อหนึกนุ่ม มีผิวบางๆ ถ้าเป็นพระที่ยังไม่ผ่านการสัมผัสจะมีฝ้านวลกรุจับบางๆ อยู่ตามผิวทั่วๆ ไป ถ้าเป็นพระที่ถูกใช้สัมผัสเหงื่อไคล จะมีเนื้อที่เป็นมันหนึกนุ่มมาก เป็นที่ยอมรับกันว่าพระเนื้อดินเผาตระกูลกำแพงเพชรเป็นพระที่มีเนื้อหนึกนุ่มมาก

พระนางกำแพง เป็นพระที่ถูกพบมากที่สุดของพระเครื่องตระกูลกำแพงเพชร จึงทำให้สนนราคานั้นถูกกว่าอื่นๆ ในตระกูลเดียวกัน แต่พุทธศิลปะนั้นก็เป็นเลิศ เป็นศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งถูกแยกออกทางวิชาการเป็นหมวดหนึ่งของศิลปะสุโขทัย พระพักตร์ของพระสกุลช่างนี้ จะมีขมับกว้างเด่นชัดและค่อยๆ เรียวลงมาถึงคาง แบบรูปไข่ เป็นเอกลักษณ์ของพระสกุลช่างนี้ ลำพระองค์จะมีหัวไหล่กว้าง อกเอวคอด สะโอดสะองอ้อนแอ้น งดงามมาก ศิลปะแบบนี้มีอยู่แต่ในกำแพงเพชรเท่านั้น

พระนางกำแพงในสมัยก่อนถึงจะมีจำนวนมากเท่าไรก็ตาม แต่ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกันครับ โดยเฉพาะพระที่สวยๆ สมบูรณ์นั้นก็หายาก เนื่องจากรายละเอียดของพระพักตร์ เช่น คิ้ว ตา ปาก จมูก หู เป็นเส้นเรียวเล็กมาก และคุณสมบัติที่เป็นเนื้อดินละเอียด และหนึกนุ่ม จึงทำให้พระส่วนใหญ่นั้นสึกหรอไปตามกาลเวลา จะหาพระที่มีหน้าตาสวยสมบูรณ์นั้นยากมาก

พุทธคุณของพระนางกำแพงก็เฉกเช่นเดียวกับพระในตระกูลกำแพงอื่นๆ ไม่ผิดเพี้ยน เด่นทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์ เจริญก้าวหน้า คุ้มครองป้องกันภัยต่างๆ พระนางกำแพงจึงเป็นพระที่น่าสนใจอย่างมากๆ อีกทั้งสนนราคาก็ยังย่อมเยากว่าพระอื่นๆ ในตระกูลเดียวกันอีกด้วยครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระนางกำแพงกรุวัดพิกุล ที่สวยมากองค์หนึ่งมีหน้าตาติดพิมพ์ชัดเจนจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในอดีตจังหวัดสมุทรปราการ ฝั่งอำเภอพระประแดง มีพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังในวิทยาคมมากรูปหนึ่ง คือหลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ วัตถุมงคลของท่าน มีพระปิดตาเนื้อตะกั่ว และเหรียญรูปท่าน มีประสบการณ์มาก ปัจจุบันหายากไม่ค่อยพบเห็นกันเลยครับ

หลวงพ่อเที่ยงเกิดที่บ้านบางฝ้าย ตำบลบางหัวเสือ อำเภอพระประแดง เมื่อปี พ.ศ.2410 โยมบิดาชื่อคล้าย โยมมารดาชื่อมอญ ในวัยเด็กบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอธิการบัว วัดบางหัวเสือ

ต่อมาเมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทที่วัดบางหัวเสือ โดยมีพระอธิการบัว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพิน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่ออ้น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัดบางหัวเสือ ได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิทยาคมจากพระอธิการบัว และพระอาจารย์พิน ต่อมาพระอธิการบัวมรณภาพ หลวงพ่อพินเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อเที่ยงก็ศึกษาวิทยาคมต่อกับหลวงพ่อพิน

กระทั่งหลวงพ่อพินมรณภาพในปี พ.ศ.2452 ชาวบ้านต่างอาราธนาหลวงพ่อเที่ยงขึ้นเป็นเจ้าอาวาส แต่ท่านไม่ยอมรับตำแหน่ง เนื่องจากต้องการปฏิบัติธรรมอย่างเงียบๆ และขอให้หลวงพ่ออยู่ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงพ่อพิน หลวงพ่ออยู่อาวุโสกว่าหลวงพ่อเที่ยง 2 ปี หลวงพ่อเที่ยงขอเป็นพระลูกวัดธรรมดา ในครั้งแรกหลวงพ่ออยู่ก็ไม่ยอมรับเช่นกัน แต่หลวงพ่อเที่ยง ขอให้หลวงพ่ออยู่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส

ทั้งหลวงพ่ออยู่และหลวงพ่อเที่ยง ชาวบ้านบางหัวเสือล้วนเคารพนับถือมาก และท่านทั้งสองก็เป็นสหธรรมิกกันมาตั้งแต่บวชใหม่ๆ ชาวบ้านในอำเภอพระประแดงต่างก็เคารพนับถือหลวงพ่อเที่ยงมาก มีเรื่องทุกข์ร้อนอะไรต่างก็มาขอให้หลวงพ่อช่วยเหลือ เจ็บไข้ได้ป่วยหลวงพ่อเที่ยงก็ช่วยรักษาให้หายได้ทุกราย เครื่องรางของขลังลูกศิษย์ต่างก็มาขอให้หลวงพ่อเที่ยงช่วยทำให้ มีพระปิดตาเนื้อตะกั่วด้านหน้าเป็นรูปพระปิดตา ด้านหลังเป็นองค์พระ และหลวงพ่อเที่ยงก็จะจารให้อีกที มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย

ต่อมาในปี พ.ศ.2470 ลูกศิษย์และ ชาวบ้านก็ขออนุญาตหลวงพ่อเที่ยงจัดงานบุญอายุ ครบ 60 ปีของหลวงพ่อเที่ยง และขออนุญาตสร้างเหรียญรูปท่านครึ่งองค์ ด้านหลังเรียบ ส่วนใหญ่ที่ด้านหลังจะนำไปให้หลวงพ่อเที่ยงจารอักขระ เหรียญรุ่นนี้ ถือเป็นเหรียญรุ่นแรก และรุ่นเดียวที่สร้างทันหลวงพ่อเที่ยง ปัจจุบันหาชมยากครับ คนพระประแดงต่างก็หวงแหนมาก

เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อเที่ยง เป็นเหรียญปั๊ม หูเชื่อม เท่าที่พบมีเนื้อเงินสร้างจำนวนน้อย และเนื้อทองแดง ที่ด้านหน้าของเหรียญจะมีอักษรเขียนว่า "ที่รฤกในงานทำบุญอายุครบ 60 ปี พระอาจารย์เที่ยง วัดบางหัวเสือ" และมี พ.ศ. ระบุ ๒๔๗๐ เหรียญหลวงพ่อเที่ยง เป็นเหรียญที่หายากเหรียญหนึ่ง นานๆ จะพบเห็นสักทีครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ เนื้อเงิน ของคุณเพชร ท่าพระจันทร์ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญมังกรเมตตา หลวงปู่แขม วัดจันทราวาส

พระครูสุวรรณธรรมาการ หรือ หลวงปู่เเขม จารุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดจันทราวาส อ.โคกโพธิ์ไชย จ.ขอนแก่น พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 87 ปี พรรษา 67

เกิดที่บ้านแก้งคร้อ ต.แก้งคร้อ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ในขณะนั้น นามเดิม นายเเขม ตาปราบ เกิดวันที่ 10 ก.ย.2475

พ.ศ.2496 เข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดสระทอง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ โดยมีพระอธิการฟั่น จันทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้ไปจำพรรษาปฏิบัติธรรมที่วัดโพธิ์กลาง ต.กุดเค้า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น มุมานะศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นโท-เอก ตามลำดับ

นอกจากนี้ ยังได้เดินทางเข้ามาศึกษาที่วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ โดยมี พระมหาโชดก ญาณสิทธิ อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นอาจารย์สอน

ทั้งยังให้ความสนใจฝากตัวศึกษา วิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป อาทิ หลวงปู่จูม จ.ชัยภูมิ, หลวงปู่หล่ม พรหมโชโต วัดทุ่งสว่าง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เป็นต้น

วัตรปฏิบัติธุดงควัตร โดยจะเริ่มออกธุดงค์มาตั้งแต่ปี 2499 ส่วนมากท่าน จะเดินจาก จ.ขอนแก่น ไปตามป่าเขาในเขต จ.ชัยภูมิ จ.นครราชสีมา จนถึงปี 2518 เมื่ออายุมากขึ้นและมีตำแหน่งทางปกครองจึงไม่ค่อยมีเวลาอีก

ต่อมา จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดจันทราวาส ตราบจนปัจจุบัน

ลำดับสมณศักดิ์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสุวรรณธรรมาการ

ได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ เเต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอมัญจาคีรี และเป็นเจ้าคณะอำเภอโคกโพธิ์ไชย เป็นพระสังฆาธิการรูปเดียวในจังหวัดขอนแก่นที่ได้รับการเเต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอถึงสองอำเภอ

เนื่องจากในปี 2562 หลวงปู่แขม สิริอายุ 88 ปี ทางคณะศิษยานุศิษย์รวมทั้งญาติโยมที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา นำโดย "อรุณ คนสร้างบุญ"ขออนุญาตหลวงปู่แขม จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญมังกรเมตตา"

เพื่อหารายได้สมทบทุนก่อสร้างเมรุให้แล้วเสร็จ

ลักษณะเป็นเหรียญ มีหู ไม่เจาะห่วง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ห่มจีวรคลุม ใต้รูปเหมือนเขียนว่า หลวงปู่แขม จารุวณฺโณ ที่บริเวณขอบเหรียญทั้งซ้ายและขวาจะมีรูปมังกรข้างละ 1 ตัว บริเวณหางพันกัน เหนือหัวมังกรจะเป็นกงล้อธรรมจักร

ด้านหลัง บริเวณกลางเหรียญจะเป็นอักขระยันต์นะโมพุทธายะ พุทธคุณเด่นรอบด้าน ใต้อักขระยันต์เขียนตัวเลข ๒๕๖๒ เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง และจากด้านขวาของเหรียญลงมาด้านล่างวนขึ้นไปทางด้านซ้ายมีตัวอักษรเขียนคำว่า วัดจันทราวาส อ.โคกโพธิ์ไชย จ.ขอนแก่น

จัดสร้างรวมหลายเนื้อ อาทิ เนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนสั่งจอง เนื้อเงินหน้ากากทองคำ 9 เหรียญ เนื้อนวะลงยาคละสี 39 เหรียญ เนื้อเงิน 88 เหรียญ เนื้อสามกษัตริย์ 111 เนื้อนวะเต็มสูตร 111 เนื้อทองแดงผิวไฟ 1,499 เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ 1,499 เหรียญ เนื้อเงินหลังเรียบ 30 เหรียญ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในวัดจันทราวาสในวันที่ 10 ก.ย.2562 โดยหลวงปู่แขมนั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว
  ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งพระประธาน วัดตรีทศเทพฯ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดตรีทศเทพวรวิหาร กทม. มีพระกริ่งสำคัญที่มีชื่อว่า "พระกริ่งพระประธาน" หรือที่นักนิยมพระเครื่องมักเรียกว่า "พระกริ่งวัดตรีฯ" พระกริ่งรุ่นนี้มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระกริ่ง 7 รอบของวัดบวรฯ ความเป็นมาเป็นอย่างไร เรามาศึกษากันดีกว่าครับ

วัดตรีทศเทพวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์-ต้นราชสกุลสุประดิษฐ์ ณ อยุธยา) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างขึ้นใกล้วังของพระองค์ หลังจากทรงกำหนดและเริ่มงานเพียงเล็กน้อยก็สิ้นพระชนม์เสียก่อนในปี พ.ศ.2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ (พระองค์เจ้านพวงศ์-ต้นราชสกุลนพวงศ์ ณ อยุธยา) พระราชโอรส ซึ่งเป็นพระโสธรเชษฐานุชาดำเนินการก่อสร้างต่อ แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ก็มาสิ้นพระชนม์อีกพระองค์หนึ่ง ในปี พ.ศ.2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กองก่อสร้างจนแล้วเสร็จ

ทรงสร้างพระพุทธปฏิมาประธานถวายในพระอุโบสถ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร 2 พระองค์ เพื่ออุทิศฉลองพระองค์กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร และกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ พระราชโอรสประดิษฐานไว้สองข้างพระพุทธปฏิมาประธาน พระราชทานวิสุงคามสีมา สถาปนาเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานนามว่า "วัดตรีทศเทพวรวิหาร" หมายถึงวัดที่เทพ 3 องค์สร้างขึ้น

ต่อมาในปี พ.ศ.2491 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) จึงโปรดให้จัดสร้างพระกริ่งพระประธาน สำหรับงานผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพฯ จัดให้มีการเทหล่อ 2 วาระ โดยทำพิธีหล่อที่บริเวณพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2491 เป็นวาระแรก วาระที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2491 พระกริ่งที่หล่อเป็นแบบพระประธานในโบสถ์ปางมารวิชัย มีหม้อน้ำมนต์ที่พระหัตถ์ซ้าย จึงเรียกว่า "พระกริ่งพระประธาน" ฐานมีบัวด้านหน้า 9 กลีบ ด้านหลังมีบัว 2 กลีบ เทหล่อแบบเทตัน แล้วเจาะรูใต้ฐาน ขนาดประมาณเท่าแท่งดินสอ บรรจุเม็ดกริ่ง อุดด้วยทองชนวนเนื้อเดียวกัน แล้วแต่งตะไบจนแทบมองไม่เห็นรูบรรจุเม็ดกริ่ง วรรณะออกเหลืองอมขาวเล็กน้อย

พัทธสีมาวัดตรีทศเทพฯ ได้ประกอบพิธีผูกเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2492 ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระสังฆราชฯ พระกริ่งรุ่นนี้โปรดให้ประกอบพิธีสวดมนต์บริกรรมที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2492 พระกริ่งพระประธานนี้ ผู้นิยมพระเครื่องมักจะเรียกกันว่า "พระกริ่งวัดตรีฯ" พระกริ่งรุ่นนี้จะมีพุทธลักษณะ คล้ายกับพระกริ่ง 7 รอบ ปี พ.ศ.2499 ของวัดบวรฯ แตกต่างกันที่พระหัตถ์ของพระกริ่ง 7 รอบจะไม่มีหม้อน้ำมนต์ และที่บัวด้านหลังของพระกริ่ง 7 รอบจะมีตัวเลข ๗ ปรากฏอยู่

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งพระประธาน หรือพระกริ่ง วัดตรีฯ มาให้ชมกันทั้งด้านหน้าหลังและก้นครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม

สวัสดีครับผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเทพสังวรวิมล (หลวงพ่อเจียง) วัดเจริญสุขารามวรวิหาร อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม พระอาจารย์ผู้สร้างพระแก้วมรกตจำลองขนาดห้อยคอ ที่ทำมาจากแก้ว รุ่นแรกสั่งทำมาจากประเทศอิตาลี เราท่านอาจจะเคยเห็นแต่บางทีไม่ทราบว่าเป็นของวัดใดสร้าง หลวงพ่อเจียงท่านเป็นพระสงฆ์ที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก มาฟังประวัติของท่านกันครับ

หลวงพ่อเจียงเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2425 ที่บ้านคลองกระจ่า ต.ตาหลวง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี วัยเด็กบิดามารดานำไปฝากเรียนหนังสือที่วัดเจริญสุขาราม กับหลวงพ่ออาจ ในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกว่าวัดกลางคลองบ้าง เรียกวัดต้นชมพู่บ้าง ต่อมาเมื่อทางการมาสร้างประตูน้ำบางนกแขวกชาวบ้านเรียกว่า วัดประตูน้ำบางนกแขวก

หลวงพ่อเจียงในช่วงวัยเด็กก็ได้ช่วยบิดามารดาทำสวน ค้าขาย จนกระทั่งอายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดเจริญสุขารามฯ โดยมีพระครูปรีชาวิหารกิจ (ช่วง) วัดโชทายิการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการอาจ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเชย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า วณฺณสโร เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม พระธรรม จนแตกฉาน นอกจากนั้นหลวงพ่อเจียงยังสนใจทางวิปัสสนาธุระ และแพทย์แผนโบราณ จึงได้ศึกษาจากพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวดของท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญชื่อดังในยุคนั้น นอกจากนี้ยังเดินทางมาศึกษาวิทยาคมจากหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี หลวงพ่อเจียงช่วยหลวงพ่ออาจบูรณวัดจนเจริญรุ่งเรือง

ต่อมาในปีพ.ศ.2453 พระอธิการอาจ มรณภาพ ทางการและคณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเจริญสุขาราม ท่านก็ได้พัฒนาวัดเป็นการใหญ่ พ.ศ.2469 ได้เป็นพระครูปลัดของพระเทพกวี เจ้าคณะมณฑลราชบุรี พ.ศ.2470 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูอัตตโกศล และเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2480 ได้รับเลื่อนเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ.2490 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระสุเมธีสมุทรเขตต์ พ.ศ.2503 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระราชสมุทรเมธี พ.ศ.2506 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระเทพสังวรวิมล หลวงพ่อเจียงมรณภาพในปี พ.ศ.2514 สิริอายุได้ 89 ปี

หลวงพ่อเจียงเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีลูกศิษย์มากมาย สร้างโบสถ์และโรงเรียนเมธีชุณหะวัณ โดยมีจอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นกำลังสำคัญ หลวงพ่อเจียงสร้างวัดเจริญสุขาราม จนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้และได้รับเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เป็น วัดที่ 3 ของจังหวัดสมุทรสงคราม

หลวงพ่อเจียงได้สร้างวัตถุมงคลไว้แจกจ่ายแก่ศิษย์และชาวบ้านหลายอย่าง เช่น ตะกรุด เหรียญรุ่นต่างๆ เหรียญรุ่นแรกนั้นสนนราคาหลักหมื่นครับ นอกจากนี้ยังมีพระแก้วมรกตจำลอง ซึ่งพระแก้วนี้ลูกศิษย์ของท่านที่อยู่ต่างประเทศได้จัดสร้างถวาย โดยรุ่นแรกสั่งทำจากประเทศอิตาลี ประมาณปี พ.ศ.2490-91 ประมาณ 300 องค์ เป็นพระทำจากแก้ว สีเขียวมรกต หลวงพ่อท่านก็กรุณาปลุกเสกให้ ต่อมาเมื่อพระหมดไปแล้วก็ยังมีผู้ที่อยากได้อยู่ ลูกศิษย์จึงได้สั่งทำอีกเป็นรุ่นที่ 2 ในปี พ.ศ.2493 โดยสั่งทำจากประเทศญี่ปุ่น ครั้งนี้มีหลายสี พระทั้งสองรุ่นจะแตกต่างกัน ที่สังเกตง่ายๆ คือดูที่มือประสานกันของพระ รุ่นแรกมือจะติดกัน ส่วนรุ่นที่ 2 มือจะมีร่องระหว่างมือทั้งสอง พระทั้งสองรุ่นสั่งทำด้วยฝีมือประณีต เนื้อแก้วจะไม่มีฟองอากาศ ปัจจุบันมีของที่ทำปลอมมาก แต่ส่วนมากของปลอมจะมีฟองอากาศ

ในวันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหลวงพ่อโต รุ่นแรก ปี พ.ศ.2470 สร้างเป็นที่ระลึกในการฉลองโรงเรียนสุขวัฒนาทาน วัดเจริญสุขาราม มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ราชบุรี

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูสาธิตสุตการ หรือหลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวโพธารามเคารพนับถือมาก ท่านได้อนุญาตให้สร้างเหรียญรูปท่านไว้รุ่นหนึ่งปัจจุบันหายากพอสมควร นับว่าเป็นเหรียญเก่าของจังหวัดราชบุรีเหรียญหนึ่งครับ

หลวงพ่อคงเกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 ตำบลโตนด อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อนายอินทร์ โยมมารดาชื่อขำ เมื่อวัยเด็กบิดาได้นำไปฝากเรียนและบวชเณร กับพระอาจารย์เมฆ วัดมณีโชติ จนถึง อายุ 18 ปีจึงได้ลาสิกขาไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ต่อมาเมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทที่วัดท่าหลวงพล ในปี พ.ศ.2425 โดยมีพระอาจารย์อ่วม เจ้าอาวาสวัดท่าหลวงพล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอินทโมลี เจ้าอาวาสวัดสนามชัย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เมฆ เจ้าอาวาสวัดมณีโชติ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อบวชแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัดท่าหลวงพล และศึกษาพระธรรมวินัยและพุทธาคมกับหลวงพ่ออ่วม เจ้าอาวาสวัดท่าหลวงพล ซึ่งท่านเป็นพระเกจิที่มีวิทยาคมเข้มขลัง และมีวาจาสิทธิ์ เคยมีโจรมาขโมยวัวที่วัด หลวงพ่ออ่วมตามไปเจอและบอกให้หยุดก่อน โจรพวกนั้นก็ขยับเขยื้อนไม่ได้เลยหยุดอยู่กับที่จนถึงเช้า จนหลวงพ่ออ่วมไปบอกว่าให้ไปได้ พวกโจรจึงขยับตัวได้ เรื่องนี้คนโพธารามรู้กันดีและเล่าสืบต่อกันมา หลวงพ่อคงก็ได้ศึกษาวิทยาคมจากหลวงพ่ออ่วม จนกระทั่งปี พ.ศ.2433 หลวงพ่ออ่วมจึงมรณภาพ

ต่อมาในปี พ.ศ.2435 หลวงพ่อคงก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าหลวงพล ท่านก็ได้พัฒนาวัดท่าหลวงพลจนเจริญรุ่งเรือง มีโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม และบูรณะวัดจนเจริญรุ่งเรืองมาถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อคงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระปลัดและพระอุปัชฌาย์ตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2481 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูสาธิตสุตการ

ในปีนี้เองคณะศิษย์และชาวบ้านได้ขออนุญาตหลวงพ่อคงจัดงานฉลองสมณศักดิ์ และขอสร้างเหรียญรูปท่านครึ่งองค์เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานนี้ หลวงพ่อคงก็อนุญาตให้จัดงานได้ เหรียญรุ่นนี้สร้างเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่หูเชื่อม มีอยู่ 2 เนื้อ คือ เนื้อทองแดง และเนื้อเงิน ปัจจุบันค่อนข้างหายากครับ สนนราคาหลักหมื่น เหรียญรุ่นนี้ถือเป็นเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของหลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2482 หลวงพ่อคงจึงได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 77 ปี พรรษาที่ 57

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ตุลาคม 2562 12:55:56 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #121 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2562 13:16:14 »


หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดบางพังเป็นวัดเก่าแก่ โดยชาวบ้านสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา เหตุที่ชื่อวัดบางพังก็เนื่องจากวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกน้ำกัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดบางพัง" ชื่อเป็นทางการว่า "วัดศรีรัตนาราม" เจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือหลวงพ่อแฉ่ง

หลวงพ่อแฉ่งเกิดที่ปากเกร็ด เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2428 โยมบิดาชื่อสิน โยมมารดาชื่อขลิบ ตอนเด็กๆ ท่านเป็นคนที่มีลักษณะผิวพรรณงาม บิดาจึงตั้งชื่อว่า แฉ่ง ในปี พ.ศ.2443 บิดา-มารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสลักเหนือ 1 พรรษา ก็สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำงานเป็นหัวแรงสำคัญของครอบครัว ท่านเป็นคนขยัน รักสงบไม่ค่อยสุงสิงกับใคร ต่อมามีเหตุให้ท่านต้องไปอยู่ทางภาคเหนือ แล้วก็อุปสมบทที่วัดทางภาคเหนือ หนีความวุ่นวายจากโลกภายนอก พอบวชแล้วท่านก็ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนเรียนพุทธาคมจากพระอาจารย์อีกหลายองค์ จากนั้นท่านก็ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ในป่าเขาลำเนาไพร แถบภาคเหนือ ภาคอีสาน เลยเข้าไปถึงประเทศลาว เขมร พม่า ท่านธุดงค์นานถึง 15 ปี จึงย้อนกลับมาภูมิลำเนาเดิม ที่บ้านวัดสลักเหนือ มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางพัง ชาวบ้านในแถบนั้นจำท่านแทบไม่ได้

วัดบางพังขณะนั้นมีพระอธิการเจริญเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งอยู่ในวัยชรามาก บริหารงานภายในวัดไม่ไหว เสนาสนะต่างชำรุดมาก จึงเป็นภาระของหลวงพ่อแฉ่งรับภาระบูรณปฏิสังขรณ์อย่างแข็งขัน ร่วมกับชาวบ้านในแถบนั้น จนวัดเจริญขึ้น ด้วยชาวบ้านศรัทธาในตัวหลวงพ่อแฉ่ง ครั้นหลวงพ่อเจริญมรณภาพทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงพ่อแฉ่งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน เป็นที่ยินดีของชาวบ้าน เนื่องจากท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเสมอมา วิชาอาคมต่างๆ ที่ท่านได้ร่ำเรียนมาจากการออกธุดงค์ ได้นำมาช่วยชาวบ้านที่ถูกของ ถูกคุณไสยต่างๆ ทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณท่านก็มีความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง ช่วยรักษาโรคให้ชาวบ้านหายไปทุกราย น้ำมนต์ของท่านก็ขลังนัก ดื่ม อาบ พรม เป็นสิริมงคลรักษาโรคภัยได้

สำหรับวัตถุมงคลหลวงพ่อแฉ่งก็ได้สร้างไว้มาก เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เชือกคาดเอว พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ บาตรน้ำมนต์ ฯลฯ วัตถุมงคลของหลวงพ่อแฉ่งมีประสบการณ์ในครั้งสงครามอินโดจีนมาแล้วจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก และในพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ๆ หลวงพ่อแฉ่งได้รับนิมนต์ให้ร่วมพิธีทุกครั้ง หลวงพ่อแฉ่งมรณภาพในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2500 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52

ในวันนี้ผมได้นำพระรูปเหมือนหล่อโบราณของหลวงพ่อแฉ่งมาให้ชมกันครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญพระธาตุโพนสวรรค์ รุ่นฉลองพุทธชยันตี

พระธาตุโพนสวรรค์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดประชาสามัคคีธรรม บนเนื้อที่ 22 ไร่ ริมถนนทางหลวงหมายเลข 2088 สายโพนสวรรค์-กุสุมาลย์ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม มีพระครูสุตสุทธิธรรม เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระธาตุองค์นี้ สร้างขึ้นตามดำริพระครูสุตสุทธิธรรม ที่ต้องการสร้างพระธาตุประจำอำเภอ ไว้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้

เริ่มลงมือวางศิลาฤกษ์และก่อสร้าง เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2553 มีนายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมขณะนั้น เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

หลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังวัดป่าศรีประไพวนาราม ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ เป็นองค์อุปถัมภ์ในการก่อสร้าง และญาติโยมลูกศิษย์ที่ศรัทธา จัดสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่หลายรุ่น เพื่อนำรายได้สมทบสร้างพระธาตุดังกล่าว

เป็นเจดีย์สูง 56 เมตร ฐานกว้างด้านละ 12 เมตร สูง 6 ชั้น ภายในพระพุทธจอมมณีศรีสุวรรณ ทรงเครื่องสุโขทัย เป็นพระประธาน

สิ้นงบสร้างไปแล้ว 25 ล้านบาท ตั้งงบไว้ 30 ล้าน อยู่ระหว่างตกแต่งภายใน และเตรียมเททองยอดฉัตรทองคำน้ำหนัก 99 บาท มีผู้บริจาคทองคำแล้ว 69 บาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2563

ในปี พ.ศ.2555 พระครูสุตสุทธิธรรม ได้ขออนุญาตหลวงปู่ประไพ จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญพระธาตุโพนสวรรค์ รุ่นฉลองพุทธชยันตี

เพื่อนำรายได้สมทบสร้างพระธาตุโพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

จัดสร้างประกอบด้วยเนื้อ 3 กษัตริย์ 1,000 เหรียญ, เนื้อกะไหล่ทอง 1,555 เหรียญ, เนื้อรมดำ 2,555 เหรียญ, เนื้อทองเหลือง 2,555 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ รูปทรงคล้ายเสมา มีหูเชื่อม ใต้หูเชื่อมสลักอักขระธรรม ในวงรอบสี่เหลี่ยม ประกบด้วยจุดไข่ปลาในกรอบสี่เหลี่ยม รอบขอบเหรียญมีลวดลายกนกที่อ่อนช้อยสวยงาม

ตรงกลางเหรียญ มีรูปเหมือนพระพุทธเจ้าเต็มองค์ ในท่านั่งขัดสมาธิในซุ้มใบโพธิ์ บนฐานดอกบัว ด้านข้างตั้งแต่เหนือเข่าซ้ายถึงใบหู สลักตัวหนังสือคำว่า รุ่นฉลองพุทธชยันตี มีอักขระธรรม 2 ตัว บริเวณเหนือข้อศอกถึงใบหู ด้านขวาสลักตัวหนังสือคำว่า ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ มีอักขระธรรม 2 ตัวประกบเช่นกับแนวซ้าย

ด้านหลัง มีเส้นสันขอบนูนหนา ใต้หูห่วงสลักตัวหนังสือคำว่า พระธาตุโพนสวรรค์ ตรงกลางเหรียญ มีรูปเหมือนพระธาตุโพนสวรรค์ ในเปลวรัศมีแฉก บริเวณฐานมีรุกขเทวดาในท่าพนมมือไหว้ ด้านล่างสุดสลัก ๕ พ.ย.๒๕๕๕

เหรียญรุ่นนี้ มีหลวงปู่ประไพ อัคคธัมโม และหลวงปู่สนธิ์ เขมิโย พระเกจิชื่อดังวัดอรัญญานาโพธิ์ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ทำพิธีปลุกเสก มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน

เป็นอีกเหรียญที่มีประสบการณ์ และค่อนข้างพบเห็นได้ยาก
    ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งจักรพรรดิมหาเศรษฐี ญาครูท่านอ่อนสี

หลวงปู่อัญญาถ่านอ่อนสี หรือ ญาครูท่านอ่อนสี วัดบ้านด่าน เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว พระสงฆ์วัตรปฏิบัติดี ปัจจุบันสิริอายุ 116 ปี พรรษา 95

แม้อยู่ในช่วงปัจฉิมวัย แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติศาสนกิจ ยังรับกิจนิมนต์เป็นปกติ

นามเดิม นายอ่อนสี แก้วพิทัก เกิดเมื่อปี พ.ศ.2446 ชาติภูมิท่านเป็นคนไทย เกิดที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อสมัยยังเด็กครอบครัวย้ายข้ามไปอยู่เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต ประเทศ สปป.ลาว

อายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดในเมืองไชพูทอง พ.ศ.2466 ไปจำพรรษาอยู่วัดบ้านด่าน ศึกษาพระธรรมวินัยรวม ทั้งร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงปู่คำ เจ้าอาวาสวัด ซึ่งท่านสืบสายธรรมจากสายสมเด็จลุนแห่งเมืองนครจำปาสัก จนแตกฉาน

เป็นพระที่ญาติโยม 2 ฝั่งโขงไทย-สปป.ลาว ให้ความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระอริยะ สองฝั่งโขง

นอกจากจะเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาคมที่เข้มขลัง ท่านยังเป็นพระนักพัฒนามีวัดหลายแห่งทั้งใน สปป.ลาวและในฝั่งประเทศไทย ที่ท่านให้การอุปถัมภ์ อาทิ วัดบ้านขอนแก่น ต.นาอุดม อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร หากเมื่อท่านข้ามมาฝั่งไทย ท่านจะมาพำนักอยู่วัดแห่งนี้เป็นประจำ

วัดบ้านด่าน เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว เป็นวัดชนบทที่ยังขาดแคลนถาวรวัตถุ โดยเฉพาะศาลาที่พักสงฆ์ ยังไม่มี

คณะญาติโยมและคณะศิษย์ฝั่งไทย "ทีมงานสมเจริญพระเครื่อง" นำโดย "นวนปาง บุญรักษ์" มีจิตศรัทธาขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล "พระกริ่งจักรพรรดิ มหาเศรษฐี" เพื่อมอบให้ผู้ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนก่อสร้าง

วัตถุมงคลพระกริ่งจักรพรรดิมหาเศรษฐี พุทธศิลป์คล้ายกับพระกริ่งที่มีการจัดสร้างจากวัดทั่วไป เป็นรูปองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าปางมารวิชัย ประทับนั่งบนบัลลังก์ดอกบัว บริเวณบัลลังก์ด้านหลังมีตัวอักษรเขียนว่า "หลวงปู่อ่อนสี" และที่ใต้ฐานพระทุกองค์จะฝังตะกรุดเงินตะกรุดทองรวมทั้งตอกโค้ดหมายเลขเรียงลำดับจำนวนการสร้าง

สำหรับจำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทองคำ สร้างตามสั่งจอง เนื้อเงินก้นทองคำ 19 องค์ เนื้อเงินอุดมวลสารตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 116 องค์ เนื้อนวะโบราณอุดมวลสารตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 299 องค์ เนื้อเหล็กน้ำพี้อุดมวลสารตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 599 องค์ เนื้อสำริดอุดมวลสารตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 599 องค์ เนื้อทองแดงผิวรุ้งอุดมวลสารตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในวัดบ้านด่าน เมืองไชพูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว วันที่ 10 ส.ค.2562 พระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่อัญญาครูท่านอ่อนสี, หลวงปู่ถิน จันทธัมโม วัดดอนสาย จ.ยโสธร, หลวงปู่ สี อภิรโส วัดบ้านขอนแก่น จ.มุกดาหาร เป็นต้น 
   ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งหนองแส

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งที่สร้างมาจากภายนอกประเทศไทย โดยเฉพาะที่เป็นพระกริ่งรุ่นเก่าแก่ เรามักจะเรียกรวมๆ กันว่า "พระกริ่งนอก" และเป็นที่นิยมเล่นหากันมานานแล้ว พระกริ่งหนองแสก็เป็นพระกริ่งแบบหนึ่งที่นิยมเล่นหากันมานานแล้ว

พระกริ่งหนองแสว่ากันว่ามีต้นกำเนิดที่ "หนองแส" หรือ "เมืองแส" แห่งอาณาจักรน่านเจ้า เมื่อครั้งอดีตสันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงของราชวงศ์หนองแสหลวง ซึ่งในระยะนั้นอาณาจักรน่านเจ้าเจริญรุ่งเรืองและแข็งแกร่ง ตรงกับสมัยพระเจ้าพีล่อโก๊ะ หรือขุนบรม ประมาณปี พ.ศ.1272-1290 ได้ปกครองอยู่ และได้มีสัมพันธไมตรีกับจีนและทิเบต มีการติดต่อค้าขายซึ่งกันและกัน

พระกริ่งหนองแสนี้ มีการพบที่หนองแสเองก่อนมานานแล้ว และต่อมาก็พบที่เขาพนมบาเก็งในประเทศกัมพูชาด้วย ซึ่งในขณะนั้นทางอาณาจักรน่านเจ้าก็มีสัมพันธไมตรีกับขอมเช่นกัน จึงอาจจะมีการนำพระกริ่งหนองแสมาบรรจุไว้ที่เขาพนมบาเก็งด้วย

พระกริ่งหนองแสนั้นจัดอยู่ในประเภทพระกริ่ง แต่องค์พระกริ่งหนองแสเองไม่พบที่มีการบรรจุเม็ดกริ่งเลย พระกริ่งหนองแสที่พบมีทั้งที่เป็นแบบก้นตัน และมีทั้งที่เป็นแบบก้นกลวงอย่างพระบูชา พุทธลักษณะที่เอกลักษณ์ของพระกริ่งหนองแสก็คือองค์พระจะเอนลู่ไปทางด้านหลังมาก ไม่เหมือนกับพระกริ่งใดๆ และจากการเอนไปทางด้านหลังมากนี่เองฐานบัวของพระกริ่งหนองแสจึงมีขนาดเขื่องกว่าลำพระองค์ เพื่อถ่วงน้ำหนักไม่ให้องค์พระล้มเวลาตั้ง นับว่าเป็นความชาญฉลาดของช่างที่ออกแบบสร้างหุ่นพระกริ่งหนองแส พระกริ่งหนองแสนี้ถ้าเราสังเกตศิลปะของพระกริ่งแล้ว จะเห็นว่าได้รับอิทธิพลศิลปะของทิเบตเข้ามาผสมผสาน เช่นฐานบัวทำเป็นแบบเม็ดไข่ปลาเรียงรายสองชั้น ซึ่งเป็นศิลปะแบบทิเบต สำหรับพระศกตอนบนทำเป็นแบบรัดเกล้าตามแบบฉบับลัทธิมหายาน ซึ่งขอมนิยมทำมาก ต่างจากพระกริ่งแบบอื่นๆ พระเนตรหลุบต่ำ คิ้วไม่ชี้ขึ้นแบบพระกริ่งจีน

เนื้อของพระกริ่งหนองแส ทำด้วยทองสัมฤทธิ์แก่ทอง เนื้อในกระแสออกเหลืองแบบทองดอกบวบ ผิวกลับสีน้ำตาลแก่เช่นเดียวกับพระกริ่งใหญ่ พระกริ่งหนองแสมีพบมากที่สุดที่หนองแสนี่แหละ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกพระนามของพระกริ่งแบบนี้

พระกริ่งหนองแสพุทธคุณเป็นเลิศในทุกๆ ทาง เช่นเดียวกับพระกริ่งใหญ่ และกริ่งบาเก็ง ปัจจุบันพระกริ่งหนองแสหาได้ยากยิ่ง และเป็นพระกริ่งนอกยอดนิยมอีกพิมพ์หนึ่งเช่นกันครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกริ่งหนองแสองค์สวยสมบูรณ์มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #122 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2562 16:30:20 »


เหรียญหล่อพระพุทธหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง เหรียญหล่อรูปเหมือนของท่านเป็นที่รู้จักกันดี และเป็นที่นิยมมากสนนราคาก็สูงมากเช่นกัน เหรียญหล่อรุ่นแรกนั้นหายากมากๆ ใครมีต่างก็หวงแหน พุทธคุณเข้มขลัง มีประสบการณ์มากมาย

หลวงพ่อไปล่เกิดที่บางบอนใต้ อำเภอบางขุนเทียน เมื่อปี พ.ศ.2403 ในวัยเด็กบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับหลวงพ่อทัต วัดสิงห์

ต่อมาเมื่อเป็นวัยรุ่นท่านก็มีพรรคพวกเพื่อนฝูงมากก็เป็นอย่างชายวัยรุ่นทั่วไป และในย่านบางบอนใต้ในสมัยนั้นก็มีนักเลงคนจริงมากมาย มักมีเรื่องตีรันฟันแทงกันบ่อยครั้ง ส่วนหลวงพ่อไปล่เป็นคนจริงใจพรรคพวกยกให้เป็นหัวหน้า บิดามารดาก็เป็นห่วงจึงอยากให้หลวงพ่อไปล่บวชก่อนสักหนึ่งพรรษา จึงได้ขอให้หลวงพ่อไปล่บวช ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดสิงห์

เมื่ออายุได้ 23 ปี โดยมีหลวงพ่อทัต เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อดิษฐ์ วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วหลวงพ่อไปล่ก็มาอยู่จำพรรษา ที่วัดกำแพง ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนา พร้อมทั้งวิทยาคมกับหลวงพ่อทัต หลวงพ่อไปล่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ขยันหมั่นเพียรท่องบทสวดมนต์จนคล่องแคล่ว พอผ่านมาหนึ่งพรรษาปรากฏว่าหลวงพ่อไปล่ก็ยังไม่สึก และยังจำพรรษาอยู่ที่วัดกำแพงต่อมาไม่มีทีท่าว่าจะสึกหาลาเพศ

นอกจากนี้หลวงพ่อไปล่ยังได้ศึกษาวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูปเช่นพระอาจารย์คง พระธุดงค์ผู้มีวิทยาคมขลัง หลวงพ่อพ่วง วัดกก ซึ่งเก่งทางด้านเมตตามหานิยม หลวงพ่อเก้ายอด วัดบางปลา สมุทรสาคร เรียนวิชาผูกหุ่นพยนต์ และกำบังกาย พระอาจารย์ดิษฐ์ เด่นทางด้านคงกระพันชาตรี ขนาดเอามีดโกนปาดง่ามนิ้วยังไม่เข้า หลวงพ่อไปล่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมมาจนหมดสิ้น และทดลองทำจนเห็นผล

ต่อมาหลวงพ่อดิษฐ์มรณภาพ ชาวบ้านก็ได้ขอให้หลวงพ่อไปล่เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ หลวงพ่อไปล่ทนการขอร้องของชาวบ้านไม่ได้จึงรับเป็นเจ้าอาวาสวัดกำแพง

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ก็มีคนมาบวชกับท่านมากมายด้วยความศรัทธาในตัวหลวงพ่อไปล่ ท่านจึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย เป็นที่เคารพรักของชาวบ้านเป็นอย่างมาก พอถึงปี พ.ศ.2478 คณะศิษย์ร่วมกันบำเพ็ญกุศลฉลองอายุให้ท่าน และในงานนี้ก็ได้ขออนุญาตหลวงพ่อไปล่สร้างเหรียญหล่อรูปท่าน มีรูปทรงคล้ายจอบ จึงมักเรียกกันง่ายๆ ว่าเหรียญจอบ

ในพิธีก็เกิดปาฏิหาริย์สายสิญจน์ห้อยมาถูกเทียนชัยจี้อยู่ตลอดจนเสร็จพิธีก็ไม่ไหม้ไฟ ในพิธีนี้หลวงพ่อไปล่ปลุกเสกเดี่ยว เหรียญรุ่นนี้เมื่อมีผู้นำไปห้อยคอก็เกิดประสบการณ์มากมาย ใครที่เคยมีเรื่องตีรันฟันแทงก็ไม่เคยมีใครเลือดตกยางออกเลย ต่างก็โจษจันกันมากว่าเหนียวจริงๆ ปืนผาหน้าไม้ต่างก็ยิงไม่ออกยิงไม่เข้า เลื่องลือกันมากในสมัยนั้น

นอกจากเหรียญรุ่นแรกแล้วก็ยังมีเหรียญหล่ออีกรุ่นหนึ่ง สร้างเป็นรูปพระพุทธประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว สร้างขึ้นเพื่อแจกในงานทำบุญล้างป่าช้าของวัดกำแพง ใครที่ไม่มีเหรียญหล่อรุ่นแรกก็ใช้เหรียญหล่อพระพุทธรุ่นนี้แทน และก็มีประสบการณ์มากมาย พุทธคุณเฉกเช่นเดียวกับเหรียญรุ่นแรก และนิยมกันมากเช่นกัน แต่สนนราคาถูกกว่าเหรียญหล่อรุ่นแรกมาก

ในปัจจุบันเหรียญหล่อพระพุทธนี้ก็หายากเช่นกัน ราคาอยู่ที่หลักแสนต้นๆ แต่ของแท้ก็หายากนะครับ และวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อพระพุทธหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพงมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระหูยาน ลพบุรี

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระหูยานลพบุรีเป็นพระเนื้อชินที่ได้รับความนิยมกันมากมาแต่โบราณ พิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากก็ต้องยกให้พระหูยานพิมพ์ใหญ่บัวชั้นเดียว ที่เมื่อก่อนจะเรียกกันว่าพิมพ์หน้ายักษ์

พระหูยานเป็นพระที่มีการพบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี พระกรุนี้มีการลักลอบขุดตั้งแต่ในปี พ.ศ.2430 มีการพบพระบูชาและพระเครื่องเป็นจำนวนมาก พระเครื่องที่ได้รับความนิยมมากก็คือพระร่วงยืนหลังลายผ้า และพระหูยาน ในส่วนของพระหูยานมีการพบอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก พระพิมพ์ใหญ่ได้รับความนิยมมากที่สุด ที่ในสมัยก่อนเรียกว่า พิมพ์หน้ายักษ์ เนื่องจากหน้าของพระดูดุกว่าพระพิมพ์อื่นๆ พระกรุเก่าที่พบจะมีผิวออกดำ แบบที่เรียกกันว่าสนิมตีนกา มีรอยระเบิดบ้างตามองค์พระ ที่สวยสมบูรณ์มีน้อย ส่วนพระพิมพ์กลางและพิมพ์เล็กก็นิยมเช่นกัน แต่สนนราคามีน้อยกว่าพิมพ์ใหญ่

ต่อมาในปี พ.ศ.2508 ได้มีการขุดพบพระหูยานขึ้นมาอีก แต่พระของกรุที่พบในครั้งนี้ผิวของพระจะมีคราบปรอทจับขาวเกือบทั้งองค์ สภาพขององค์พระก็จะสมบูรณ์กว่าพระกรุเก่า และเรียกหากันว่าเป็นพระกรุใหม่ เนื่องจากมีการขุดพบในภายหลัง พระทั้ง 2 กรุเป็นพระพิมพ์เดียวกันทุกประการ และมีทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลางและพิมพ์เล็กเช่นกัน สนนราคาในการเล่นหาในสมัยนั้นพระกรุใหม่สนนราคาก็จะย่อมเยากว่าพระกรุเก่า แต่ในปัจจุบันก็จะขึ้นอยู่กับความสวยสมบูรณ์เป็นหลัก

พระหูยานนั้นได้รับความนิยมมากในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน เรื่องที่คนในสมัยก่อนรับรู้กันมากก็เรื่องของผู้ใหญ่บ้านของลพบุรีที่ลงพาดหัวข่าวในสมัยนั้นว่าถูกยิงแต่ยิงไม่เข้า เรื่องก็ประมาณว่าผู้ใหญ่บ้านถูกคนร้าย 3-4 คนลอบดักยิงจนตกน้ำตกท่า หลังจากที่คนร้ายนึกว่าผู้ใหญ่บ้านตายแล้วก็หลบหนีไป มีพลเมืองดีเข้าไปช่วยผู้ใหญ่บ้านปรากฏว่าที่หน้าอกของผู้ใหญ่มีรอยไหม้ช้ำเป็นวงแดงๆ อยู่หลายแห่ง แต่ไม่ได้เข้าเนื้อเลย เสื้อที่ใส่ก็ขาดเป็นรูๆ เท่านั้น มีคนขอดูพระที่ห้อยคอก็เป็นพระหูยานพิมพ์กลางกรุใหม่อยู่เพียงองค์เดียว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ลงข่าวหนังสือพิมพ์ในสมัยก่อน

อีกเรื่องก็มีนายตรวจรถ บ.ข.ส.อยู่ที่นครสวรรค์ กำลังขี่รถจักรยานกลับบ้าน ก็ถูกคนร้ายลอบยิงด้วยปืน 11 ม.ม. ถึง 4 นัด กระสุนเข้าหน้าอกอย่างจังทั้ง 4 นัด กระเด็นตกรถลงไปอยู่ข้างทาง ปรากฏว่ากระสุนทั้ง 4 นัดก็ไม่เข้าเนื้อเช่นกัน ในคอเป็นพระหูยานกรุเก่าพิมพ์ใหญ่ เรื่องราวต่างๆ เรื่องความอยู่ยงคงกระพันของพระหูยานเป็นที่เล่าขานกันมากมาแต่โบราณ จึงเป็นที่เสาะหากันมาตั้งแต่แตกกรุใหม่ๆ แล้ว

พระหูยาน ลพบุรี จึงเป็นที่นิยมเสาะหาและมีราคามาตั้งแต่โบราณ การปลอมแปลงก็มีมานานมาก แต่ฝีมือก็ยังไม่ดีนัก ยังพอดูออกถ้าได้เคยเห็นของจริง แต่ในสมัยปัจจุบันมีการปลอมด้วยฝีมือที่ดีมาก เวลาจะเช่าหาก็ต้องจดจำพิมพ์ เนื้อหาให้ดี พิจารณาดีๆ อย่าประมาท ไม่อย่างนั้นมีโอกาสโดนของฝีมือได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยานลพบุรี พิมพ์ใหญ่กรุเก่าองค์สวยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญพญาเต่าโภคทรัพย์ หลวงปู่สี

หลวงปู่สี อภิรโส เจ้าอาวาสวัดบ้านขอนแก่น อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร พระเกจิชื่อดัง

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แม่ทัพธรรมอีสาน, หลวงปู่สิม พุทธจาโร ทั้งยังร่วมเดินธุดงค์กับหลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) จ.มุกดาหาร, หลวงปู่ลือ สุขปุญโญ วัดป่านาทามวนาวาส อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร

ปัจจุบันสิริอายุ 103 ปี พรรษา 74

เกิดในสกุลดีดวงพันธ์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 8 ธ.ค.2459 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง โยมมารดาชื่อ นางบุญ

วัยเยาว์หลังเรียนจบชั้น ป.4 ทำนาช่วยเหลือครอบครัว มีโอกาสติดตามมารดาเข้าวัดทำบุญบ่อยครั้ง

พ.ศ.2488 ขณะมีอายุ 29 ปี อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดป่าศิลาวิเวก อ.เมือง จ.มุกดาหาร โดยมีหลวงปู่คำเป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่จำพรรษากับศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก่อนเดินธุดงค์ไปร่ำเรียนด้านพุทธาคมกับสมเด็จลุน ในฝั่งลาว ที่วัดพระบาทโพนฉัน และพระครูขี้หอม เถระฝั่งลาวผู้เคยมาบูรณะองค์พระธาตุพนมนานหลายปีจนช่ำชอง

กระทั่งกลับมาจำพรรษาที่มาตุภูมิบ้านเกิดวัดศิลาวิเวกได้ระยะหนึ่ง ญาติโยมจึงนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านขอนแก่น อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร จวบจนปัจจุบัน

เดือนเม.ย.2562 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญพญาเต่าเรือนรุ่นแรก มหาโภคทรัพย์ เพื่อนำรายได้สร้างอุโบสถ และเสนาสนะในวัด

เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทองคำ 29 เหรียญ, เนื้อเงินลงยา 39 เหรียญ, เนื้อเงิน 99 เหรียญ, เนื้อนวะ 99 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้าลงยาธงชาติ 199 เหรียญ, เนื้อสัตตะ 499 เหรียญ, เนื้อทองแดงผิวไฟ 1,499 เหรียญ และเนื้อทองแดงสันปู 1,499 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเรือนเต่า หูเชื่อม มีอักขระอยู่บนหัวเต่า ตัวเหรียญนูน มีเส้นลายขอบบาง 2 ชั้น ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหน้าตรงหลวงปู่เต็มองค์ในท่านั่งขัดสมาธิ มีอักขระยันต์บนอังสะ ใต้เหรียญสลักเลขไทย ๙ นัมเบอร์ของเหรียญ ถัดลงมาสลักคำว่า รุ่นแรก ประกบด้วยยันต์ตัวนะ บรรทัดล่างสุดสลักคำว่า วัดบ้านขอนแก่น ขอบเหรียญขอบด้านซ้ายสลัก คำว่า หลวงปู่สี อภิรโส ด้านขวาสลักคำว่า จ.มุกดาหาร ๒๕๖๒

ด้านหลังเหรียญแบนราบ มีเส้นสันนูนหนารอบขอบเหรียญตามส่วนโค้งเว้า ตรงกลางเหรียญมีอักขระยันต์มงกุฎ เป็นยันต์ป้องกันภัยและยันต์มหานิยม ใต้ยันต์สลักคำว่า มหาโภคทรัพย์ และมีอักขระยันต์ 4 ตัวกำกับที่เท้า 4 แห่งด้วย เหรียญทุกเนื้อตอกโค้ดเหมือนกันหมด แต่สลับแค่ตำแหน่ง

พิธีพุทธาภิเษกในต้นเดือน ส.ค.2562 โดยอาราธนานิมนต์พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ จ.มุกดาหาร มาทำพิธี
  ข่าวสดออนไลน์



พระรอดกรุวัดมหาวัน

พระรอดกรุวัดมหาวัน ลำพูน เป็นพระเครื่องที่อยู่ในชุดเบญจภาคี และมีอายุเก่าแก่ที่สุดในพระชุดนี้ มีบางท่านกำหนดอายุของพระรอดไว้แตกต่างกัน ซึ่งเรื่องของโบราณคดีนั้นละเอียดอ่อนมาก ต้องศึกษาอย่างละเอียด ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ พงศาวดารและศิลปะ เราคงจะไม่พูดถึงเรื่องนี้มากนัก เพราะถึงอย่างไรพระรอดกรุนี้ก็มีอายุมากที่สุดในพระชุดเบญจภาคีอยู่ดี

เรามาพูดถึงกำเนิดของเมืองหริภุญชัยที่พบพระรอดและวัดที่พบพระรอดกันดีกว่า ซึ่งผมจะไม่พูดถึงปี พ.ศ. เนื่องจากอาจจะมีความขัดแย้งกันอยู่ เอาเฉพาะเรื่องราวจากพงศาวดารโยนก ชินกาลมาลินี และจามเทวีวงศ์ ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า มีฤๅษีอยู่ 5 ตน ที่มีความเกี่ยวพันกับเมืองนี้ คือ

1.สุเทวฤๅษี พำนักอยู่ ณ อุฉุบรรพต คือดอยอ้อม หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "ดอยสุเทพ" ตามชื่อพระฤๅษี

2.สุกกทันตฤๅษี อยู่ที่ดอยธัมมิก เมืองละโว้ คือเขาสมอคอน

3.สุพรหมฤๅษี พำนักอยู่ที่สุภบรรพต (ดอยงาม) ริมฝั่งน้ำวังกะนที คือแม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง

4.สุมณนารทะฤๅษี พระฤๅษีตนนี้นับว่าสำคัญที่สุด พำนักอยู่ที่ดอยอินทนนท์

5.อนุสิษฏฤๅษี พำนักอยู่ที่เขาหลวง สวรรคโลก

พระฤๅษี 4 ตนแรกได้ปรึกษาหารือกันว่าจะสร้างเมืองเมืองหนึ่งขึ้นมา โดยให้ไปขอผังเมืองจากอนุสิษฏฤๅษี ซึ่งอนุสิษฏฤๅษีก็ได้ส่งกาบหอย ซึ่งมีลักษณะเป็นวงรูปไข่ (เมืองที่มีอายุการสร้างก่อนสมัยขอมจะเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคนี้นั้นจะมีสัณฐานเช่นนี้ เช่น เมืองในสมัยอาณาจักรทวารวดี เป็นต้น เนื่องจากขอมเป็นชาติแรกในสุวรรณภูมิที่ออกแบบผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม) พระฤๅษีจึงตกลงกันว่าจะสร้างผังเมืองตามนั้น โดยพระสุเทวฤๅษีได้ปักไม้เท้าลงให้เป็นศูนย์กลางของพระนคร อยู่ตรงคณะสะดือเมือง ของวัดพระบรมธาตุฯ และก็สร้างเมืองตามรูปแบบ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเมืองลำพูนเก่า หรือเมืองหริภุญชัยนั้นมีรูปทรงสัณฐานเป็นรูปไข่แบบนี้

เมื่อสร้างหริภุญชัยนครเสร็จแล้ว เหล่าฤๅษีจึงให้ควิยะบุรุษไปเป็นทูตทูลขอพระนางจามเทวี พระราชธิดาพระเจ้ากรุงละวะปุระ (เมืองละโว้ หรือลพบุรี ซึ่งในสมัยนั้นเป็นเมืองก่อนที่ขอมจะมีอำนาจปกครอง) มาครองเมือง ซึ่งพระฤๅษีทั้ง 4 ตนได้ปรึกษากันดีแล้ว เห็นว่าพระนางจามเทวีเป็นกุลสตรีอันประเสริฐ เจริญด้วยศีลและปรีชาฉลาด พระเจ้ากรุงละวะปุระทรงถามความสมัครพระทัยของพระราชธิดา ซึ่งพระองค์ก็ทรงสนองพระราชโองการ ขณะนั้นพระนางทรงพระครรภ์ได้ 3 เดือน

พระนางจามเทวีเสด็จออกจากกรุงละวะปุระโดยพระนางทูลขอพระราชทานพระไตรปิฎก สมณชีพราหมณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ โหราจารย์ แพทย์ สถาปัตยกร วิศวกร นักประติมากรรม และเศรษฐีวาณิช อย่างละ 500 พร้อมด้วยเครื่องราชูปโภค บริวารหมู่โยธาพลากร พร้อมด้วยพาหนะครบถ้วน เสด็จขึ้นไปตามลำน้ำปิง ผ่านเมืองต่างๆ เช่น เมืองบางประบาง (ปากบาง) เมืองคันธิกะ (ชัยนาท) เมืองปุรัฏธะ (นครสวรรค์) เมืองบุราณะ (ท่าเฉลียง) บ้านตาก (ตาก) จามเหงา (สามเงา) และดอยเต่า เป็นต้น ทรงใช้เวลาเดินทางถึงเกือบ 7 เดือน ครั้งเมื่อสุเทวฤๅษีทราบข่าวพระนางเสด็จมาถึง ก็ป่าวร้องชาวเมืองออกมารับเสด็จพระนางเข้าพระนคร พระนางทรงกระทำพระราชพิธีราชาภิเษกได้ 7 วันก็ทรงประสูติพระราชโอรสฝาแฝด

เมื่อพระนางจามเทวีได้มาครองเมืองหริภุญชัยแล้ว ก็ทรงสร้างจตุรพุทธปราการขึ้น ซึ่งตรงนี้แหละจะมีความเกี่ยวพันกับพระเครื่องสกุลลำพูนที่เรานิยมเล่นหากัน คือ

อาพัทธาราม (วัดพระคง) เป็นพุทธปราการประจำฝ่ายทิศเหนือ ณ วัดแห่งนี้ที่พบพระเครื่องที่โด่งดังและรู้จักกันดี คือพระคง ฯลฯ

อรัญญิกรัมมการาม (วัดดอนแก้ว) เป็นพุทธปราการปกป้องฝ่ายทิศตะวันออก และพระเครื่องที่พบและเป็นที่รู้จักกันดีคือ พระบัง หรือพระบาง ฯลฯ

มหาสัตตาราม (วัดประตูลี้) เป็นพุทธปราการอารักขาทางฝ่ายทิศใต้ของพระนคร พระเครื่องที่พบและโดดเด่นก็คือ พระเลี่ยง ฯลฯ

มหาวนาราม (วัดมหาวัน) เป็นพุทธปราการอารักขาทางฝ่ายทิศตะวันออก พบพระเครื่องที่สำคัญของเรื่อง ก็คือ พระรอด ฯลฯ

ที่กล่าวอารัมภบทมานั้นก็เพื่อที่จะให้ท่านได้ทราบเรื่องราวความเป็นมาของหริภุญชัยนคร และวัดที่เกี่ยวข้องกับพระรอดที่เราจะพูดถึงกัน ก็อย่างที่กล่าวไว้แต่แรกว่าถึงอย่างไรก็ตามพระรอดก็เป็นพระที่มีอายุมากที่สุดของพระชุดเบญจภาคี เอาล่ะมาพูดกันถึงพระรอดกันซะที

ราวปี พ.ศ.2435 พบว่าพระเจดีย์ที่อยู่ในวัดมหาวันได้ปรักหักพังจนเหลือแต่ซาก มีสภาพเป็นกองอิฐและศิลาแลง กองระเกะระกะ พระเจดีย์องค์นี้พังลงมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ ทั้งปราศจากผู้สนใจ ต่อมาเจ้าเหมพินธุไพจิตรได้ดำริให้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยการสร้างสวมครอบองค์เดิม และเศษซากที่ปรักหักพังที่กองทับถมกันอยู่นั้นได้จัดการให้โกยเอาไปถมหนองน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างหอสมุดของวัด การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ได้พบพระรอดเป็นจำนวนมาก ภายในซากกรุเจดีย์ ส่วนหนึ่งมีผู้นำไปสักการบูชา และอีกส่วนหนึ่งยังปะปนกับซากกรุเก่าและดินทรายจมลงไปในหนองน้ำ

ต่อมาในสมัยเจ้าหลวงอินทยงยศ ประมาณปี พ.ศ.2451 เจ้าหลวงเห็นว่ามีต้นโพธิ์ขึ้นแทรกบริเวณฐานพระเจดีย์ และมีรากชอนลึกลงไปในองค์พระเจดีย์ ทำให้มีรอยร้าวชำรุด จึงให้รื้อฐานรอบนอกพระเจดีย์ออกเสียและปฏิสังขรณ์ใหม่ การกระทำครั้งนี้ได้พบพระรอดเป็นจำนวนหนึ่งกระเช้า จึงได้นำมาแจกจ่ายบรรดาวงศ์เจ้าลำพูน

ครั้นเมื่อมีการพบพระรอดทั้งสองครั้ง ทำให้มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสในคุณวิเศษของพระรอด จากประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา จึงได้พากันมาขุดหาพระรอดกันภายในอุปจารของวัด ครั้งแรกกระทำกันเฉพาะบริเวณที่เคยเป็นแอ่งน้ำ ก็ได้พระรอดมาเป็นอันมาก ภายหลังต่อๆ มาการขุดได้ขยายขอบเขตออกไปทั่วอุปจารของพระอาราม ทั้งได้กระทำกันติดต่อมานานปี จนกระทั่งกลายเป็นประเพณีย่อยๆ ประจำปี จะมีการขุดหาพระรอดกันในฤดูแล้ง ในระยะหลังๆ พระรอดงวดลงทุกที จึงได้มีการแบ่งพื้นที่ขุดกันเป็นตารางเมตร และขุดหาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปีแล้วปีเล่า ได้มีการขุดดินในลานวัดไปใส่ตะแกรงร่อนหากันอย่างละเอียด จนอุปจารวัดเป็นหลุมเป็นบ่อไปหมด ทางวัดจึงไม่อนุญาตให้กระทำต่อไปอีก ดังนั้น การขุดหาพระรอดจึงได้เลิกรากันไป

ต่อมาในปี พ.ศ.2497 ทางวัดได้ปฏิสังขรณ์พระวิหาร เมื่อ 9 ก.พ. พ.ศ.2497 ได้ขยับพระวิหารให้ยาวออกไปทางด้านทิศตะวันออกจนชิดพระเจดีย์ ได้พบพระรอดจำนวนหนึ่งประมาณ 7 องค์ และพระอื่นๆ อีกเล็กน้อย ในปี พ.ศ.2498 ได้มีการปฏิสังขรณ์กุฏิเจ้าอาวาส ในการขุดลงรากฐานด้านหน้ากุฏิ ได้พบพระรอดเป็นจำนวนประมาณ 200 องค์เศษ

พระรอดกรุวัดมหาวันเป็นพระเครื่องที่ถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคี ที่พบในวัดมหาวัน สามารถแยกได้เป็น 5 พิมพ์ทรง คือ

1.พระรอดพิมพ์ใหญ่ ซึ่งจะมีขนาดขององค์พระใหญ่กว่าทุกๆ พิมพ์ และมีฐานของพระนับได้ 4 ชั้น ต่างจากทุกพิมพ์ที่พบ และที่ใต้ฐานจะมีเนื้อเกินต่อลงมา ซึ่งพระรอดพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์ตื้น จะมีเนื้อเกินใต้ฐานเป็นแบบนี้ ที่องค์พระเราจะเห็นเส้นพิมพ์แตกที่ข้างหูซ้ายขององค์พระ (ขวามือเรา) แตกวิ่งลงมาเป็นทางยาวมาจรดขอบผนัง และจะมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นพิมพ์แตกจากใต้แขนซ้ายขององค์พระ วิ่งลงมาถึงฝ่าเท้า และที่ใต้หน้าแข้งซ้ายขององค์พระก็มีเส้นน้ำตกวิ่งลงมาจรดฐานชั้นบน นอกจากนี้ใต้ฐานชั้นบนก็จะมีเส้นพิมพ์แตก (เส้นน้ำตก) อีกสามเส้นวิ่งลงมาที่ฐานชั้นที่สาม

2.พระรอดพิมพ์กลาง จะคล้ายกับพระรอดพิมพ์ใหญ่ แต่ฐานของพระจะมีแค่สามชั้น ฐานเกินใต้ฐานพระจะมีเช่นกันเหมือนกับพิมพ์ใหญ่ เส้นพิมพ์แตกข้างหูซ้ายจะไม่มี จุดสังเกตที่เห็นได้ชัดว่าเป็นพระพิมพ์กลางคือ ในซอกแขนขวาขององค์พระ (ซ้ายมือเราใกล้ๆ รักแร้) จะมีเนื้อเกินให้เห็นอยู่ครับ

3.พระรอดพิมพ์เล็ก พระพิมพ์นี้จะมีฐานสามชั้น และจะไม่มีฐานเกินที่ใต้ฐานพระ ฐานชั้นล่างสุดมักจะพิมพ์ไม่ติด เห็นเป็นสัญลักษณ์เพียงขอบมุมฐานทั้งสองด้าน เป็นรูปคล้ายสามเหลี่ยมแนวนอน ที่บริเวณคอจะเห็นเส้นพิมพ์แตกคล้ายเป็นเส้นเอ็นคอที่ด้านซ้ายขององค์พระ และมีเส้นพิมพ์แตกที่ใต้แขนซ้ายขององค์พระมาจรดฝ่าเท้า

4.พระรอดพิมพ์ตื้น พระรอดพิมพ์นี้มีฐานสามชั้น และมีฐานเนื้อเกินที่ใต้ฐาน พระพิมพ์นี้จะเห็นได้ชัดว่าตามซอกแขน ซอกระหว่างหน้าตักและร่องระหว่างฐาน จะตื้นกว่าพระรอดพิมพ์อื่นๆ ยกเว้นบริเวณพระเศียรกับผนังโพธิ์จะลึกเช่นเดียวกับพิมพ์อื่นๆ

5.พระรอดพิมพ์ต้อ เป็นพระรอดที่มีเส้นฐานสามชั้นเช่นเดียวกัน แต่ไม่มีเนื้อฐานเกินที่ใต้ฐานเช่นเดียวกับพระพิมพ์เล็ก องค์พระจะดูอ้วนและต้อกว่าพระพิมพ์อื่นๆ จึงเรียกกันว่า "พิมพ์ต้อ" พระเศียรค่อนข้างเขื่อง

พระรอดกรุวัดมหาวัน ที่เป็นพระชุดเบญจภาคีก็มีเพียง 5 พิมพ์ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงปู่ทองสุข สุทธิจิตโต

หลวงปู่ทองสุข สุทธิจิตโต เจ้าอาวาสวัดโนนสะแบง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา แต่ละวันจึงมีญาติโยมจากทั่วสารทิศเดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรม และประพรมน้ำพระพุทธมนต์

ปัจจุบัน สิริอายุ 91 ปี พรรษา 62

เกิดปี พ.ศ.2471 ที่ ต.บ้านธาตุ อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ครอบครัวท่านประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

อายุ 29 ปี พ.ศ.2500 เข้าพิธีอุปสมบท ที่อุโบสถวัดกกโก ต.กกโก อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมีพระอาจารย์ปล้อง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ จ.ลพบุรี ในยุคนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระธรรมวินัย พร้อมฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมอยู่กับพระอาจารย์ปล้อง จากนั้นได้ออกเดินธุดงควัตรไปตามป่าเขาในแถบภาคอีสาน และข้ามไปยังประเทศ สปป.ลาว จำพรรษาอยู่ภูเขาควาย 1 พรรษา

ต่อมาได้ข้ามมาฝั่งไทย จำพรรษาในถ้ำพื้นที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี นานถึง 7 ปี

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาตามป่าเขาอีกหลายแห่ง สุดท้ายน้องชายท่านเห็นว่าย่างเข้าวัยชรา จึงได้นิมนต์ให้มาจำพรรษาที่วัดโนนสะเเบง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ตั้งเเต่ปี พ.ศ.2547 หลวงปู่ก็รับนิมนต์มาจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่วัดแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

ต่อมาร่วมกับญาติโยมพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง

สำหรับเหรียญวัตถุมงคลหลวงปู่ทองสุข ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก สร้างปี 2557 สร้างแจกให้คณะผ้าป่าสามัคคีที่มาทอดถวายสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ จำนวนการสร้าง 2,000 เหรียญ เนื้อทองเหลืองอย่างเดียว

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ที่พื้นเหรียญมีอักขระยันต์ 9 ตัว พุทธคุณเด่นรอบ ล่างสุดเขียนว่า หลวงพ่อทองสุข สุทฺธิจิตโต อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ

ด้านหลัง เป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัย ถัดลงมามีตัวอักษรเขียนว่า รุ่น ๑ พุทธเมตตาองค์ ๓ กันทรลักษ์ ๒๕๕๗ เป็นปี พ.ศ.ที่จัดสร้าง ล่างสุดเขียนคำว่า หลวงพ่อพระโตโคตะมะ วัดโนนสะแบง

เสกเดี่ยวในกุฏิท่านนานหลายเดือน จึงมั่นใจได้ในความเข้มขลัง  
  ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหล่อ ร.ศ.238 รุ่นแรก หลวงปู่แสง

พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ปัจจุบัน ยังดำรงชีวิตในวัย 108 ปี พรรษา 89

เป็นศิษย์สืบสายธรรม หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิก หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

อุปสมบทที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาวิทยาคม อักขระเลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

หลายปีต่อมา เมื่อกลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านโนนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม บ้านเกิด ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูอุดมรังสี" และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส รวมทั้งเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง

นอกจากจะเป็นผู้มีพุทธาคมแล้วยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญการวิปัสสนากัมมัฏฐาน ศึกษาแนวทางปฏิบัติจากพระป่ากัมมัฏฐานสาย หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม

นอกจากนี้ ยังเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม โดยเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ท่านทั้งสองจะไปมาหาสู่กันตลอด

สำหรับวัตถุมงคลจัดสร้างออกมาหลายรุ่น ทุกรุ่นล้วนได้รับความสนใจ

ในเดือน เม.ย.2561 ที่ผ่านมา ลูกศิษย์ที่เลื่อมใสในจริยาวัตร "เอ้ พัทยา" ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญหล่อ ร.ศ.238 รุ่นแรก วัตถุประสงค์เพื่อหารายได้สมทบเข้ากองทุนรักษาธาตุขันธ์และยามอาพาธในวัย 108 ปี

เหรียญรุ่นนี้ จัดสร้างประกอบด้วย เนื้อทองคำหลังเรียบ 5 เหรียญ, เนื้อทองคำ 19 เหรียญ, เนื้อเงิน 299 เหรียญ, เนื้อน้ำพี้เทดินไทย 299 เหรียญ, เนื้อเหล็กเปียก 399 เหรียญ, เนื้อน้ำพี้ 499 เหรียญ, เนื้อนวะ 599 เหรียญ, เนื้อกิมบ่เชียง (นำฤกษ์) 699 เหรียญ, เนื้อทองทิพย์ 1,599 เหรียญ, เนื้อสัมฤทธิ์ 1,999 เหรียญ, เนื้อทองแดงเถื่อน 3,999 เหรียญ, ช่อเงิน 19 ช่อ, ช่อสัมฤทธิ์ 89 ช่อ และเนื้อชนวนแจกในพิธี 999 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง รอบขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ ในท่านั่งขัดสมาธิห้อย ลูกประคำบนอาสนะ ด้านล่างของเหรียญสลักอักขระ 4 ตัว อ่านว่า นะ มะ พะ ทะ หมายถึงธาตุทั้ง 4

ด้านหลังเหรียญ แบนเรียบ ใต้หูห่วงสลักคำว่า แจก ถัดลงมาบรรทัดแรกถึงบรรทัดที่ 4 สลักตัวหนังสือคำว่า ที่ระฤก ร.ศ.238 หลวงปู่แสง อายุ ๑๐๘ ปี บรรทัดสุดท้ายสลักตัวเลขไทย ๔๐๐ นับเบอร์ของเหรียญแจก

เหรียญรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกไปแล้ว เมื่อวันที่ 27 ก.ค.2562 ที่ผ่านมา หลวงปู่แสง นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ที่อุโบสถวัดโพธิ์ชัย อ.นาแก จ.นครพนม

เป็นอีกเหรียญน่าสนใจ
  ข่าวสดออนไลน์



พระลีลากรุวัดส่องคบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดชัยนาทเป็นเมืองเก่า และเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีกรุพระเครื่องอยู่หลายกรุเช่นกัน แต่เราๆ ท่านๆ มักจะคุ้นเคยอยู่กับกรุวัดท้ายย่านเท่านั้น เนื่องจากมีพระเครื่องดังๆ อยู่หลายอย่างเช่น พระลีลาสรรค์ยืน พระสรรค์นั่ง และพระปิดตาเนื้อแร่ของกรุนี้ ความจริงจังหวัดชัยนาททั้งฝั่งจังหวัดและที่เมืองสรรคบุรีนั้นมีวัดเก่าแก่และกรุพระมากมายหลายกรุ เช่น กรุวัดส่องคบ กรุวิหารพระ กรุวัดมหาธาตุ กรุทางพระ กรุท่าฉนวน เป็นต้น

ในวันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระกรุวัดส่องคบ ซึ่งพระกรุนี้ได้พบพระลีลาที่มีศิลปะสวยงามมากกรุหนึ่งครับ วัดส่องคบเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พ.ศ.1916) การพบพระเครื่องนั้นมีการพบด้วยกันหลายครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ.2494 ได้มีการขุดค้นองค์พระเจดีย์ และพบหลักฐานสำคัญคือ พบลานเงินจารึกประมาณ 10 แผ่น และได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2495

จารึกที่แปลออกมาแล้วมีข้อความตอนหนึ่งความว่า "แต่พระเสด็จเจ้านิพพานได้ 1916 ปี เจ้าสัทธรรมมหาเถรศาสนาว่า มหาอุบาสก อุบาสิกา เพ่าใจ พ่อยี่ตัดผะ และแม่สร้อยมีใจศรัทธาก่อพระเจดีย์ อันตนหนึ่งได้ 5 วา 2 ศอก และแผ่ประเพณีมิให้หมองในคลองธรรมนี้แล แต่เครื่องประจุพระทอง 20 พระเงิน 1 ตน พระดีบุก 161 เงินทองผ้าผ่อนมีค่ากว่าไว้ได้ 3 แสน 5 หมื่น 5 พันแล แต่กระทำบุญ กุฏิ วิหาร ศาลา เสาธง ปรากฏเช่าหนังสือแต่เครื่องทั้งหลายนี้คิดเป็นมูลค่าได้ 5 แสน 5 พัน"

จารึกอีกแผ่นหนึ่งที่พบ เป็นจารึกปี 1956 แสดงว่ามีการบูรณปฏิสังขรณ์ในเวลาต่อมาอีก มีข้อความในจารึกแผ่นนี้ว่า "จึงเจ้าเถรศรี เทพศิริมานนท์เจ้าเมือง แม่นางสร้อยทอง ย่าออกศรี แม่อามและแม่น้อยผู้เป็นลูก พ่อวัวลูกเขย จึงมาประจุพระธาตุ 2 องค์ พระทอง 2 พระเงิน 2 แท่งเงิน 1 พระพิมพ์ 117 แหวนอันหนึ่ง ผ้าสนอบลายหนึ่ง 1 เสื้อ 1 สไบ 1 เช็ดหน้าอันหนึ่ง ผสมค่าทั้งหลาย 210000 คนครอกหนึ่ง" จารึกปี 1956 อีกแผ่นหนึ่งมีความว่า "จึงเจ้าศรีเทพศิริมานนท์ ปู่สิงหล เจ้าเมือง แม่นางสร้อย ย่าออกศรี ย่าพระ ย่าแม้น แม่เอาว์ แม่สาขา พ่อสาน้อยผู้เป็นลูก แม่วัง ปู่ยี่ พ่อไส แม่เพ็ง จึงชาวเจ้าทั้งหลายสโมธา มาก่อพระบรรจุธาตุ 2 พระทอง 2 พระเงิน 12 พระดีบุก 220 แต่พระ 262 แล"

แสดงให้เห็นได้ว่าพระเครื่องของกรุนี้มีการสร้างบรรจุไว้หลายวาระด้วยกัน ในการขุดพบนั้นมีการพบพระเครื่องด้วยกันหลายพิมพ์และหลายเนื้อ นอกจากนี้ยังพบพระแผงแบบสมัยลพบุรีก็มีขึ้นมาจากกรุนี้ด้วย แต่การขุดค้นนั้นมีการขุดด้วยกันหลายครั้ง จึงไม่สามารถทราบว่ามีพระพิมพ์ใดๆ ได้ครบทุกพิมพ์ แต่เท่าที่ได้พบเห็นกันนั้นก็พอจะรวบรวมได้ดังนี้ พระลีลา พระหูยาน พระซุ้มหน้าบรรณ (มีทั้งเนื้อชินและเนื้อดิน) พระสรรค์นั่งเนื้อชินเงิน พระสรรค์นั่งแขนอ่อนซุ้มไข่ปลา พระซุ้มโพธิ์ เป็นต้น

ครับพระกรุวัดส่องคบนี้เป็นพระกรุที่น่าสนใจอีกกรุหนึ่งของจังหวัดชัยนาท แต่พระเครื่องของกรุนี้อาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนัก และไม่ค่อยมีใครได้เขียนถึง จึงทำให้ข้อมูลมีน้อย และในวันนี้ผมจึงได้นำรูปพระลีลาจากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย ซึ่งงดงามทางด้านศิลปะมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ตุลาคม 2562 16:34:52 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #123 เมื่อ: 18 ตุลาคม 2562 16:36:42 »


พระสมเด็จปิลันทน์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ผู้นิยมพระเครื่องส่วนใหญ่ใครๆ ก็คงมีความปรารถนาที่จะมี พระสมเด็จที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ด้วยความศรัทธาในองค์เจ้าประคุณสมเด็จฯ แต่พระสมเด็จแท้ๆ ไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ กรุวัดบางขุนพรหม หรือของวัดเกษไชโยนั้นหายากมาก อีกทั้งสนนราคาก็สูงมาก เช่น ถ้าองค์ที่สมบูรณ์ไม่หักซ่อม ถึงแม้ว่าจะสึกๆ ก็ยังมีมูลค่าเป็นล้านบาทขึ้นไปทุกองค์ ยิ่งสวยๆ ก็ยิ่งมากล้าน แล้วเราๆ ท่านๆ ที่มีทรัพย์ไม่มากจะมีโอกาสได้ห้อยบูชาไหม อย่าคิดว่าจะได้ฟลุกๆ ถูกๆ เลิกคิดได้เลยครับ โอกาสที่จะถูกหลอกลวงร้อยเปอร์เซ็นต์เลยครับ

มีเพื่อนๆ ผมสอบถามมาหลายคนว่าจะห้อยพระอะไรแทนได้บ้าง โดยส่วนตัวผมเองก็ตอบได้ว่าผมศรัทธาในพระสมเด็จปิลันทน์ และห้อยแทนได้เลยครับ เพราะอะไร เราก็มีมาดูว่า พระสมเด็จปิลันทน์นั้นมีความเป็นมาของการสร้างอย่างไร พระสมเด็จปิลันทน์เป็นพระที่พระพุฒาจารย์ (หม่อมเจ้าทัด) ท่านได้สร้างไว้เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพุทธุปบาทปิลันทน์ ท่านบวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดระฆังฯ และบวชพระที่วัดระฆังฯ อยู่กับเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จนเจ้าประคุณสมเด็จฯ มรณภาพ อยู่ใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาตลอดมีส่วนช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จ ด้วยในปี พ.ศ.2411 ท่านก็ได้สร้างพระเนื้อผงผสมใบลานเผา โดยท่านได้ปรึกษาและขอให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ช่วยสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ขอผงพุทธคุณของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเป็นส่วนผสม พิมพ์ของพระสมเด็จปิลันทน์นั้นมีอยู่มากมายหลายพิมพ์เมื่อสร้างเสร็จเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้ร่วมปลุกเสกด้วย พระบางส่วนได้มีการแจกไปเมื่อปลุกเสกเสร็จ และส่วนที่เหลือได้ถูกเก็บรักษาไว้

ต่อมาเมื่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มรณภาพในปี พ.ศ.2415 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ก็ได้นำพระทั้งหมดบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ที่วัดระฆังฯ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ต่อมาในปี พ.ศ.2471 ได้มีคนร้ายเข้าไปลักลอบขุดองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระสมเด็จปิลันทน์ได้พระไปจำนวนหนึ่ง ทางวัดจึงได้เปิดกรุพบพระที่อยู่ในกรุเป็นจำนวนมาก มีมากมายหลายพิมพ์ มีทั้งพิมพ์ยืน พระสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จฯ พระปิดตา และอื่นๆ พระเกือบทั้งหมดเป็นพระเนื้อผงผสมใบลาน มีเนื้อสีอกเทาๆ อมดำ ที่เป็นเนื้อสีขาวแบบพระเนื้อผงขาวก็มีบ้างแต่น้อยมากส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์แบบสี่เหลี่ยม หลังจากนั้นก็นำพระมาเก็บรักษาไว้และแจกจ่ายให้แก่ผู้ที่มาขอพระ พระสมเด็จปิลันทน์ที่มีการแจกก่อนที่จะบรรจุกรุก็มีตามที่กล่าวมาแล้วจะไม่มีคราบไขเนื้อจัดแต่ก็มีจำนวนพระน้อย พระส่วนใหญ่จะถูกบรรจุอยู่ในกรุผิวของพระจะมีคราบไขขาวจับอยู่แน่นมากน้อยแล้วแต่องค์พระ

พระสมเด็จปิลันทน์คนในสมัยก่อนจะเรียกว่า พระสองสมเด็จฯ เนื่องจากรู้ว่าสร้างในสมัยที่เจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ยังมีชีวิตอยู่ และมีส่วนผสมของผงพุทธคุณของเจ้าคุณสมเด็จฯ ด้วย ต่อมาก็เรียกกันง่ายๆ ว่าพระสมเด็จปิลันทน์ เพื่อให้รู้และให้เป็นเกียรติแก่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ซึ่งขณะที่สร้างดำรงสมณศักดิ์ที่พระพุทธุปบาทปิลันทน์

พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์นิยม เช่น พิมพ์ซุ้มประตู พิมพ์ครอบแก้วใหญ่ พิมพ์พระปิดตา พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์สมเด็จบางพิมพ์จะมีสนนราคาสูงมาก อยู่ที่หลักแสน แต่พระบางพิมพ์ที่มีจำนวนพระมาก สนนราคาก็ถูกลงมา เช่น พิมพ์ครอบแก้วเล็ก และพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์กรอบกระจก หรือพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์กลางครอบแก้ว เป็นต้น สนนราคายังอยู่ที่หลักหมื่นแล้วแต่ความสวยสมบูรณ์

ครับก็นับว่ายังพอเช่าหาได้ในราคาที่ไม่สูงนักในบางพิมพ์ และยังได้บูชาพระที่มีผงพุทธคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และปลุกเสกโดยสองสมเด็จฯ อีกด้วย โดยส่วนตัวผมว่าน่าห้อยบูชามาก และพุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกับพระสมเด็จฯ เด่นทางเมตตามหานิยมแคล้วคลาด ปกป้องคุ้มครองป้องกันภัยครับ

ในการเช่าหาในปัจจุบันก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ เนื่องมีการปลอมแปลงกันมานานแล้ว ยิ่งพระปลอมในสมัยปัจจุบันนั้นทำได้ใกล้เคียงมาก จะเช่าหาก็เช่าจากผู้ที่ไว้ใจได้หรือผู้ที่มีความชำนาญและมีการรับประกันจะปลอดภัยกว่าครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ปรกโพธิ์กรอบกระจก และพระสมเด็จปรกโพธิ์กลางครอบแก้วมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระหูยานที่เรารู้จักกันมากก็คือ พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี แต่พระหูยานยังมีการพบในกรุวัดต่างๆ อีกหลายวัด หลายจังหวัด เช่น พระหูยานที่พบในกรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ถูกพบในคราวเปิดกรุอย่างเป็นทางการด้วยครับ

วัดราชบูรณะที่พระนครศรีอยุธยานั้น เป็นวัดที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โปรดให้สถาปนาขึ้น เพื่อถวายพระเพลิงพระศพเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา เมื่อปีมะโรง พ.ศ.1976 นั้น ทำให้เราทราบอายุของพระที่บรรจุอยู่ในกรุพระปรางค์ได้เป็นอย่างดีว่ามีอายุกี่ปี ซึ่งก็คือเป็นพระที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยายุคต้นๆ ครับ

กรุวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยานั้นได้ถูกลักลอบขุดมาก่อนที่ทางการจะเข้ามาเปิดอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2500 กรมศิลปากรจึงได้เปิดกรุ ในการขุดค้นต้องใช้เวลานานเกือบหนึ่งปีเลยทีเดียวครับ เนื่องจากภายในกรุนั้นบรรจุเครื่องราชูปโภค และพระบูชา พระเครื่องมากมายนัก มีห้องบรรจุสิ่งของต่างๆ ถึง 7 ห้อง พบพระเครื่องเป็นร้อยๆ พิมพ์ จำนวนพระเครื่องนั้นว่ากันว่าเป็นหลายหมื่นองค์หรือถึงแสนองค์ทีเดียว พระเครื่องที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันมากก็คือ พระยอดขุนพล พระใบขนุน พระแผงพิมพ์ทวารวดี พระพิมพ์นารายณ์ทรงปืน พระปรุหนัง พระเชยคางข้างเม็ด พระกำแพงฝักดาบ และยังมีพระที่สร้างล้อพิมพ์จากที่ต่างๆ อีกหลายพิมพ์ เช่น พระหูยาน เป็นต้น

พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะนี้เป็นพระที่สร้างโดยสกุลช่างอยุธยา โดยสร้างล้อพิมพ์ของพระหูยาน ลพบุรี พิมพ์ของพระถ้าดูเผินๆ ก็คล้ายกับพระหูยาน ลพบุรีมาก แต่ความจริงแล้วมีข้อแตกต่างกันอยู่หลายจุด เช่น พระพักตร์ของพระหูยาน กรุวัดราชบูรณะนั้นจะไม่เคร่งขรึมเท่ากับพระหูยาน ลพบุรี และที่พระเกศของพระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ ปลายพระเกศจะเป็นแบบผมเวียน แต่พระหูยานของลพบุรีจะเป็นแบบเกศฝาละมี นอกนั้นก็จะดูคล้ายกันมาก

ส่วนด้านหลังของพระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ จะมีทั้งแบบหลังผ้า และแบบหลังตัน เนื้อพระหูยาน กรุวัดราชบูรณะจะเป็นเนื้อชินเงิน ผิวปรอทขาวทั้งองค์ พระส่วนใหญ่จะมีสภาพสมบูรณ์ ผิวปรอทจับขาวทั้งองค์ แต่ที่ผิวปรอทหลุดไปก็มีบ้างแต่น้อย ที่ชำรุดมีรอยระเบิดก็มีบ้างครับ พระหูยานที่พบที่กรุวัดราชบูรณะนี้ยังพบบ้างที่กรุวัดมหาธาตุ แต่ก็พบน้อยมาก ส่วนใหญ่ผิวจะออกคล้ำๆ กว่าของกรุวัดราชบูรณะ พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะมีขนาดฐานกว้างประมาณ 3 ซ.ม. สูงประมาณ 5 ซ.ม.

พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด มีผู้ที่มีประสบการณ์ต่างๆ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระหูยานของลพบุรีเลย สนนราคาเล่นหาจะหย่อนกว่าพระหูยาน ลพบุรี อยู่มากสักหน่อยครับ แต่ปัจจุบันก็หาพบยากแล้ว ไม่ค่อยเจอในสนามพระเลยมาหลายปีแล้วครับ โดยเฉพาะพระสวยสมบูรณ์ๆ ก็ยิ่งหายากมาก ส่วนในเรื่องของปลอมลอกเลียนแบบนั้นมีกันมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณากันดีๆ ครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญเฮงทวีโชค หลวงปู่เฮง

หลวงปู่เฮง ปภาโส เจ้าอาวาสวัดบ้านด่านช่องจอม (วัดพัฒนาธรรมาราม) บ้านด่านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่มีอายุและพรรษามากอีกรูป

ปัจจุบัน สิริอายุ 92 ปี พรรษา 72

เกิดเมื่อปี พ.ศ.2470 บิดา-มารดาเป็นชาวกัมพูชา อพยพมาอยู่บ้านปราสาท ต.ตาอ็อง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

อายุ 21 ปี ถูกเกณฑ์ทหารไปรับใช้ชาติอยู่ 2 ปี หลังปลดประจำการ ออกมาทำงานหาเลี้ยงชีพ ในปี  พ.ศ.2495 ย้ายไปอยู่ จ.จันทบุรี มีโอกาสพบกับหลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง จึงขอบวช

หลวงพ่อคง ถ่ายทอดวิทยาคม อักขระเลขยันต์ ภาษาขอม เขียนผงลบผง สักยันต์ และคาถาต่างๆ มากมายโดยเฉพาะคาถาคงกระพันชาตรี ย่นระยะทาง โดยมุ่งมั่นศึกษาจนมีความชำนาญกระทั่งหลวงพ่อคงไว้ใจให้เขียนยันต์ อักขระแทน และเข้าร่วมปลุกเสกด้วย

พ.ศ.2532 หลวงพ่อคงมรณภาพ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส แต่อยู่ได้เพียง 6 พรรษา ก็ขอลาออกและธุดงค์ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกลับมาบ้านเกิดอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านด่านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ จนถึงปัจจุบัน

ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านด่านช่องจอม ตราบจนปัจจุบัน

สำหรับวัตถุมงคลสร้างออกมาหลายรุ่น แต่ละรุ่นล้วนได้รับความสนใจ แต่ที่กระแสกำลังมาแรงอีกรุ่นหนึ่ง คือ "รุ่นเฮงทวีโชค"

ในปี พ.ศ.2562 วัดบ้านด่านช่องจอม และคณะศิษยานุศิษย์ ร่วมใจจัดสร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยสมทบทุนพัฒนาเสนาสนะ

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ประยุกต์ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ ล่างสุดเขียนว่า "หลวงปู่เฮง ปภาโส"

ด้านหลัง ที่ด้านขวาของเหรียญเขียนว่า วัดบ้านด่านช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ บริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน บริเวณใต้อักขระยันต์ เขียนว่า ๙๒ ปี พ.ศ.๒๕๖๒ เฮงทวีโชค

วัตถุมงคลรุ่นนี้หลวงปู่เฮง อธิษฐานจิตเดี่ยวนานนับเดือน

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทองคำ 19 เหรียญ เนื้อทองคำลงยาพื้นแดงขอบเขียว 9 เหรียญ เนื้อเงินหน้ากากทองคำพื้นลงยาสีเขียวขอบแดง 29 เหรียญ เนื้อเงินลงยาจีวรเหลืองพื้นลงยาสีแดงขอบเขียว 99 เหรียญ นอกจากนี้ ยังมีเนื้อชนวน นวโลหะ ปลอกลูกปืน เป็นต้น

ติดต่อได้ที่ วัดบ้านด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
  ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งตั๊กแตน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อหลายวันก่อนได้สนทนากับกลุ่มผู้นิยมพระกริ่ง ได้พูดคุยกันถึงพระกริ่งนอก (หมายถึงพระกริ่งรุ่นเก่าที่สร้างจากนอกประเทศไทย) ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร สร้างในยุคไหน

พระกริ่งนอกที่นิยมกันมากก็คือพระกริ่งจีนใหญ่ หรือที่เรียกว่าพระกริ่งใหญ่ พระกริ่งหนองแส พระกริ่งบาเก็ง พระกริ่ง พัชรีตีอ๋อง และพระกริ่งตั๊กแตน พระกริ่งต่างๆ ก็มีการบันทึกตามการบอกเล่าของ ผู้หลักผู้ใหญ่รุ่นเก่าๆ บอกต่อกันมา ทีนี้ ก็มาถึงพระกริ่งตั๊กแตนว่า มีอายุการสร้างตั้งแต่เมื่อไหร่ และสร้างที่ไหนกันแน่ พระกริ่งตั๊กแตนตามที่มีการบอกเล่าสืบต่อกันมาว่าสร้างในเขมร ก็หลายร้อยปีมาแล้ว และได้รับความนิยมกันมาช้านานตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย และยอมรับกันว่าเด่น ทางด้านมหาอุดอยู่ยงคงกระพันชาตรี แต่ก็ยังมีข้อกังขาของผู้ชำนาญการด้านพระกริ่งว่า น่าจะสร้างประเทศไทยในยุครัตนโกสินทร์นี่แหละ หนึ่งในกลุ่มที่สนทนาก็หันมาถามความเห็นของผม ซึ่งเขารู้ว่าผมห้อยพระกริ่งตั๊กแตนอยู่ องค์หนึ่ง

ผมเองก็ตอบตามความจริงว่าไม่ทราบเหมือนกัน พระกริ่งรุ่นเก่าๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็นพระกริ่งใหญ่หรือพระกริ่งอื่นๆ ก็ได้รับการบอกเล่ามาทั้งสิ้น ยังไม่ได้มีการพบเอกสารบันทึกจากประเทศต้นกำเนิดเลย หรือพบพระกริ่งต่างๆ ในประเทศต้นกำเนิดเลย แม้แต่พระกริ่งตั๊กแตนเองก็ตาม สิ่งที่เรานำมาเป็นการสันนิษฐานนั้นก็มาจากคำบอกเล่าจากผู้อาวุโสรุ่นเก่าๆ บอกต่อกันมาทั้งสิ้น พระกริ่งนอกอื่นๆ พุทธศิลปะบ่งบอกว่าเป็นศิลปะแบบจีนเห็นได้ชัด แต่พระกริ่งตั๊กแตนศิลปะก็ไม่บ่งบอกชัดว่าเป็นศิลปะแบบใดแน่ และไม่เหมือนพระกริ่งแบบใดเลย

ในปัจจุบันมีการสืบค้นประวัติต่างๆ ของพระกริ่งนอกกันมากขึ้น แต่ก็มีข้อกังขาอยู่ที่พระกริ่งตั๊กแตน เนื่องจากมีการพบพระกริ่งตั๊กแตนที่มีเนื้อหาหรือลักษณะที่คิดว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างมาในยุครัตนโกสินทร์เท่านั้น พระกริ่งนอก ส่วนใหญ่จะเป็นการบรรจุกริ่งที่ใต้ฐาน โดยสร้างกลวงที่ใต้ฐาน แล้วบรรจุเม็ดกริ่งและปิดก้นด้วยแผ่นโลหะอีกทีหนึ่ง ไม่ก็เป็นพระกริ่งตันไม่ได้บรรจุกริ่งก็มี แต่ก็มีรูปลักษณะแบบพระกริ่งจึงรวมเข้าเป็นพระกริ่งนอกทั้งสิ้น แต่พระกริ่งตั๊กแตนนั้นเป็นพระกริ่งที่มีการบรรจุกริ่งแบบกริ่งในตัวที่เป็นแบบพระกริ่งที่นิยมสร้างของวัดสุทัศน์ ก็เลยมีความคิดว่าน่าจะเป็นพระกริ่งที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์หรือเปล่า ก็มาหาเหตุผลกันดูว่าความน่าจะเป็นนั้นเป็นอย่างไร แต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เนื่องจากไม่มีการพบบันทึกที่เป็นลายลักษณ์ อักษรในสมัยการสร้างได้เลยว่าเป็นของวัดไหน พระเกจิอาจารย์ท่านใดสร้าง

การศึกษาพระเครื่องนั้นต้องหาเหตุหาผลถึงความเป็นไปได้ หรือหาประวัติความเป็นมาของพระนั้นๆ พระกริ่งตั๊กแตนมีความเป็นมาอย่างไรแน่ ในส่วนตัว ผมเองชอบพระเครื่องมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ และชอบๆ ไปฟังผู้หลักผู้ใหญ่พูดคุยถึงเรื่องพระเครื่องและพุทธคุณต่างๆ อยู่เสมอ เนื่องจากสนุกดี มีพระอยู่ชนิดหนึ่งที่ได้รับฟังจากผู้เฒ่าผู้แก่ รุ่นปู่ย่าตายาย แม้กระทั่งคุณตาหรือคุณพ่อผมเองก็ได้ รับฟังว่า พระกริ่งตั๊กแตนนั้นเป็นสุดยอดกฤตยาคม อยู่ยงคงกระพันชาตรีมากชนิดหนึ่ง และคำบอกเล่าก็เหมือนๆ กันหมดว่า เป็นพระที่สร้างในเขมรเป็นพระยุคเก่าแก่ นิยมกันมากในสมัยโบราณบอกเล่ากันต่อๆ มา และก็เชื่อถือกันมาแบบนั้นตลอดมา แต่จนมาถึงปัจจุบันก็ยังค้นหาหลักฐานที่เป็นเอกสารบันทึกจากต้นกำเนิดไม่ได้ แถมในเขมรเองปัจจุบันก็ยังหาหลักฐาน หรือพระกริ่งตั๊กแตนที่เชื่อถือได้ว่าเป็นพระยุคเก่าๆ แท้ๆ ไม่ได้ ก็เลยมีปัญหาในหลักฐานที่ชัดเจนได้ แต่ในสมัยโบราณนั้นก็เป็นพระกริ่งที่นิยมกันมากและมีมูลค่าราคาสูง สอบถามคุณตาท่านหนึ่งท่านก็ว่าได้รับการบอกเล่ามาตั้งแต่ปู่ย่าตายายมาก็ว่าเป็นพระกริ่งเขมรแบบนี้ มานานแล้ว

พระกริ่งตั๊กแตนเป็นพระกริ่งที่นิยมกันมานมนานแล้ว และแน่นอนที่จะมีการทำปลอมมานานแล้วเช่นกัน และก็มีพระกริ่งที่สร้างตามแบบพระกริ่งตั๊กแตนด้วยเช่นกัน ก็มีอยู่หลายวัดหลายพระเกจิอาจารย์ ลักษณะก็มีแบบต่างๆ เนื้อหาก็อ่อนแก่ต่างกันไป แต่พระกริ่งตั๊กแตนที่นิยมและเป็นที่ยอมรับนั้นเนื้อหาผิวพระจะกลับดำ ที่ใต้ฐานจะเป็นตัวขมวดกลมๆ คล้ายเลขหนึ่งไทย บรรจุกริ่งในตัว เนื้อหาเข้มข้น ศิลปะไม่สวยงามนัก ตาเจาะลึกลงไป พระศกเม็ดกลมๆ ฐานส่วนใหญ่มีบัวแบบบัวเม็ดมักเรียกว่าบัวตุ่ม แบบบัวขีดคล้ายฟันปลา และบัวม้วนขมวดเป็นวงกลมๆ เรียกว่าบัวฟองมัน

รูปแบบของพระกริ่งตั๊กแตนยุคเก่านั้นไม่มีแม่พิมพ์จะปั้นเป็นองค์ๆ ขนาดก็ไม่เท่ากัน การแสดงพระหัตถ์ก็แตกต่างกันไปไม่ซ้ำแบบกันเลย ถือดอกบัวบ้าง ถือสังข์บ้าง ถือหม้อน้ำมนต์บ้าง ปางสมาธิบ้าง ปางมารวิชัยบ้าง สะดุ้งกลับบ้าง แล้วแต่องค์จะไม่มีที่ซ้ำกันเลย แต่ที่มีทุกองค์ก็คือจะมีสร้อยประคำห้อยคอทุกองค์ พระที่นิยมจะเรียกกันว่าพระยุคต้น เนื้อหาเข้มข้น ผิวกลับดำ คนในสมัยก่อนหวงแหนกันมาก พระแท้ๆ ก็หายากมากเช่นกัน จำนวนพระก็ไม่น่าจะมีมากนัก

ครับบางครั้งประวัติความเป็นมาของพระเก่าๆ ลึกๆ ก็ยังคลุมเครือ แต่ก็ได้รับความนิยมเชื่อถือสืบต่อกันมา และก็ยังมีพระเครื่องอีกหลายอย่างที่เข้าข่ายนี้ แต่ก็ยอมรับกันว่าเก่าแก่ และมีประสบการณ์บอกเล่าสืบต่อกันมา

วันนี้ผมนำรูปพระกริ่งตั๊กแตนยุคต้น ที่นิยมมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญย้อนยุค หลวงพ่อสนธิ์ วัดปราสาท

วัดปราสาท ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2310

เป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เสด็จฯ มาตั้งพลับพลาที่ประทับ เพื่อขุดคลองลัดจากวัดท้ายเมือง ถึงปากคลองบางกรวย หน้าวัดเขมาภิรตาราม และเป็นสถานที่ระดมพล (ค่ายทหาร) เพื่อเตรียมทัพไปรบกับพม่าที่กรุงศรีอยุธยา

สำหรับ หลวงพ่อสนธิ์ ธัมมสโร (อิ่มบุญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดปราสาท พระเกจิชื่อดัง เกิดเมื่อวันที่ 28 เม.ย.2434 เป็นชาวนนทบุรีโดยกำเนิด

ช่วงวัยเรียน บิดามารดานำไปฝากเรียนหนังสือ ที่สำนักเรียนวัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร โดยมี พระนันทวิริยะ (โพธิ์ ติสสทัสโส) เป็นเจ้าอาวาส มอบหมายให้พระภิกษุผู้มีหน้าที่สอนหนังสือภาษาไทยให้ช่วยสอน

เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 21 เม.ย.2454 เวลา 05.00 น. ที่วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร โดยมี พระนันทวิริยะ (โพธิ์ ติสสทัสโส) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการชื่น วัดปราสาท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระปลัดเล็ก วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร เป็นพระ อนุสาวนาจารย์ ต่อมาวัดปราสาทว่างเจ้าอาวาส พระนันทวิริยะสมัยนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี จึงมีบัญชาแต่งตั้งให้หลวงพ่อสนธิ์ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปราสาท เมื่อวันที่ 27 พ.ย.2472

ขณะนั้นท่านอายุประมาณ 38 ปี

เมื่อมารับตำแหน่งที่วัดปราสาทท่านบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัดปราสาท สร้างกุฏิ หอสวดมนต์ อุโบสถและกำแพงแก้ว สร้างโรงเรียนวัดปราสาท พ.ศ.2516 สร้างเมรุเตาเผาศพ

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 14 เม.ย.2518 เวลา 17.00 น. สิริอายุ 85 ปี

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันศาลาการเปรียญและเสนาสนะภายในวัดปราสาทได้ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอย่างมาก

พระมหานที ธัมมธีโร เจ้าอาวาสวัดปราสาท และคณะกรรมการวัดดำริให้จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญย้อนยุคและรูปเหมือนหลวงพ่อสนธิ์ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว เพื่อให้คณะศิษยานุศิษย์ได้บูชา และร่วมทำบุญบูรณะศาลาการเปรียญ

เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2562 วัดปราสาทจัดพิธีเสกชนวนมวลสารเก่าของหลวงพ่อสนธิ์ โดยมีพระนันทวิริยา ภรณ์ (หลวงพ่ออ่าง) วัดใหญ่สว่างอารมณ์ จ.นนทบุรี นั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว

และเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา วัดจัดพิธีเททองหล่อนำฤกษ์ ได้รับเมตตาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปัญโญ) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก, กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานในพิธีเททองหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อสนธิ์

ในวาระพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคลเหรียญย้อนยุค จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 8 ก.ย.2562 เวลา 17.00 น. จุดเทียนชัยมงคล โดยมีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศ อาทิ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธิ์ เขมังกโร) เจ้าอาวาสวัดยานนาวา เป็นประธานจุดเทียนชัยมงคล สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (เจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยาราม ประธานดับเทียนชัยมงคล

ลักษณะเป็นเหรียญสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหูเชื่อม

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อสนธิ์เต็มองค์หันหน้าตรง นั่งขัดสมาธิ ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า "หลวงพ่อสนธิ์ ธมฺมสโร วัดปราสาท ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี"

ด้านหลังเหรียญ เป็นอักขระยันต์ ใต้ยันต์เขียนคำว่า "พ.ศ.๒๕๖๒"

เหรียญดังกล่าวจัดสร้างเป็นหลายเนื้อด้วยกัน อาทิ เนื้อทองคำ, เนื้อเงินลงยาสีแดง หน้ากากทองคำ เป็นต้น  
  ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งคลองตะเคียน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นพระกริ่งแบบหนึ่งที่ไม่เหมือนใครเลยในตระกูลพระกริ่ง เนื่องจากเป็นพระกริ่งชนิดเดียวที่เป็นเนื้อดินเผา และเป็นพระกริ่งเก่าแก่ตั้งแต่ในสมัยอยุธยายุคปลาย พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน ขนาดหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ยังออกปากชมว่าเหนียวจริง

พระกริ่งคลองตะเคียน แน่นอนว่าสถานที่กำเนิดพระและที่พบพระก็คือบริเวณตำบลคลองตะเคียน ตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่บอกเล่าสืบต่อกันมาว่ามีผู้พบพระกริ่งคลองตะเคียนอยู่ตามทุ่งนาบ้านคลองตะเคียน สถานที่พบพระเป็นโคกดินเล็กๆ มีเศษอิฐปะปนอยู่บริเวณนั้น สันนิษฐานว่าคงจะเป็นวัดเล็กๆ ซึ่งร้างและเสื่อมสภาพไปตั้งแต่ครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 และไม่เหลือสภาพความเป็นวัดหรือสถาปัตยกรรมใดๆ เลย จึงไม่มีใครทราบว่าวัดนี้แต่เดิมนั้นชื่อวัดอะไร จึงเรียกพระที่พบตามสถานที่พบพระว่าพระคลองตะเคียน ซึ่งพระที่พบก็มีลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผา ที่เป็นแบบบรรจุเม็ดกริ่งอยู่ข้างใน และพระปิดตาเนื้อดินเผาเช่นกัน เอกลักษณ์ของพระกรุนี้ก็คือ จะมีการจารอักขระขอมไว้ทุกองค์ สีของพระส่วนใหญ่จะเป็นสีดำสนิทเป็นมันเงา แต่ที่เป็นสีเทาๆ แบบเนื้อผ่าน สีออกเหลืองบ้างหรือสีออกแดงก็มีบ้าง แต่ไม่มากนัก

พุทธคุณนั้นบอกเล่ากันต่อๆ มาว่าเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ท่านเคยบอกแก่ลูกศิษย์ว่าเชื่อใจได้ พระกริ่งคลองตะเคียนในสมัยก่อนคนอยุธยานั้นเชื่อถือมาก พระที่พบก็มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์นิยม พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก พิมพ์เล็ก พิมพ์สองหน้า เป็นต้น นอกจากนี้พระที่พบในบริเวณเดียวกันก็คือพระปิดตาที่มักเรียกว่าพระปิดตาพิชัย พุทธคุณเฉกเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันสนนราคาสวยๆ ก็สูงอยู่พอสมควรครับ และนอกจากนี้ก็ยังมีการย้ายวัดกันก็มาก เช่นว่าเป็นของวัดประดู่บ้าง วัดโคกจินดาบ้าง ก็ว่ากันไป

ในสมัยก่อนผมเองได้เคยไปกับรองศาสตราจารย์สัมพันธ์ เลขะพันธ์ โดยขับรถให้ท่าน เพื่อไปศึกษาโบราณสถานในอยุธยา พอดีท่านก็เป็นชาวอยุธยาและมีญาติของท่านอยู่ที่คลองตะเคียนได้พาไปดูบริเวณที่พบพระ และยืนยันว่าพระคลองตะเคียนพบในบริเวณนี้ มาสันนิษฐานกันดูว่าถ้าพระกริ่งคลองตะเคียนพบที่วัดอื่นที่ยังคงสภาพเป็นวัดโบราณอยู่ก็คงจะตั้งชื่อตามชื่อของวัดไปแล้ว คงไม่ตั้งชื่อตามชื่อตำบลหรือหมู่บ้านเช่นนี้แน่ ผมเองก็ไม่ไปโต้แย้งใครที่ว่าพบที่วัดโน้นวัดนี้ แต่ตามที่คนเก่าคนแก่และคนในท้องถิ่นว่ากันมาแบบนี้แต่โบราณ อีกทั้งเหตุผลอีกหลายๆ อย่างก็คงพอจะเชื่อได้ว่าพบพระในที่โคกดินในตำบลคลองตะเคียน

ครับพระกริ่งคลองตะเคียนก็เป็นพระอีกอย่างหนึ่งที่ก็ยังหาความชัดเจนของชื่อวัดที่เป็นต้นกำเนิดของพระไม่ได้ เนื่องจากสถานที่พบพระนั้นไม่หลงเหลือสภาพความเป็นวัดไปแล้ว ในสมัยก่อนพบเพียงเศษอิฐโบราณกระจายอยู่ในบริเวณนั้น จึงได้แต่เพียงสันนิษฐานว่าคงเป็นวัดเล็กๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพในครั้งเสียกรุงครั้งที่สอง แต่ก็ยอมรับกันว่าเป็นพระเก่าแก่ประมาณปลายกรุงศรีอยุธยา และพุทธคุณนั้นเชื่อถือได้ ปัจจุบันนั้นหาพระแท้ๆ ยากเหมือนกัน ของปลอมเลียนแบบนั้นมีมานานแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีพระที่สร้างในยุคหลังเลียนแบบพิมพ์ของพระกริ่งคลองตะเคียนอยู่บ้างเหมือนกัน

ปัจจุบันพระกริ่งคลองตะเคียนพิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยกสวยๆ ก็อยู่ที่หลักแสนต้นๆ ครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งคลองตะเคียน จากหนังสืออมตะพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้นหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดสมุทรสงครามนี้พระเกจิอาจารย์ที่อาวุโสมากที่สุด ก็คือหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่โด่งดังมาก และเป็นที่รักเคารพของชาวแม่กลอง

หลวงพ่อแก้วเกิดเมื่อปี พ.ศ.2393 ที่ ต.บางแค อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อกัน โยมมารดาชื่อเนียม ท่านได้บวชตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นสามเณร ที่วัดบางแคใหญ่ อ.อัมพวา พออายุได้ 20 ปีท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดบางแคใหญ่ โดยมีหลวงพ่อเพ็ง เจ้าอาวาสวัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า "พรหมสโร" และได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดแห่งนี้

หลวงพ่อแก้วได้เรียนวิทยาคมมาจากบิดาของท่าน ซึ่งเป็นอดีตทหารของวังหน้าและท่านมีวิชาอาคมขลังมาก สามารถเสกดอกจำปีให้กลายเป็นแมลงภู่และบินไปหาญาติมิตรที่รู้จักกันได้ แล้วตกลงมากลายเป็นดอกจำปีอย่างเดิม นอกจากนี้ท่านก็ยังมีวิชาคงกระพันชาตรีเป็นเลิศอีกด้วย วิชาต่างๆ เหล่านี้หลวงพ่อแก้วได้เรียนมาจากบิดาของท่าน นอกจากนี้หลวงพ่อแก้วท่านก็ได้เรียนคันถธุระและวิปัสสนาธุระกับหลวงพ่อเพ็งพระอุปัชฌาย์ของท่าน และหลวงพ่อเพ็งก็ยังเก่งในด้านพุทธาคมอีกด้วย ต่อมาหลวงพ่อแก้วได้เดินทางมาอยู่ที่เพชรบุรีเพื่อเรียนวิปัสสนาธุระและพุทธาคมที่วัดเขาตะเคราอีก และมาเรียนเพิ่มเติมกับพระอาจารย์เกตุ พระพี่ชายของท่าน ที่วัดทองนพคุณเพชรบุรี ท่านอยู่จำพรรษาที่เพชรบุรีนานมากจนบางท่านเข้าใจว่าท่านเป็นคนเพชรบุรี

ต่อมาในปี พ.ศ.2424 เจ้าอาวาสวัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม ได้ว่างลง ประชาชนชาวสมุทรสงครามจึงได้ขึ้นไปนิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ท่านจึงได้เดินทางมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม พร้อมด้วยหลวงพ่อบ่าย และพระอีก 3 รูป ท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดช่องลมอยู่ได้ 6 ปี พอปี พ.ศ.2430 ท่านก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ โดยให้หลวงพ่อบ่ายเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมสืบแทน พอท่านมาอยู่ที่วัดพวงมาลัยแล้วท่านก็ได้ก่อสร้างกุฏิ ศาลาต่างๆ เพิ่มเติมอีกหลายหลัง สร้างศาลาท่าน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังสร้างวัดขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น วัดเขา อีโก้ และวัดสาธุชนาราม เป็นต้น ชาวแม่กลองเคารพนับถือในตัวท่านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อแก้วมรณภาพ ในปี พ.ศ.2462 สิริอายุได้ 69 ปี พรรษาที่ 49

หลวงพ่อแก้วได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น ตะกรุดใบลานบางปืน เหรียญปั๊ม และเหรียญหล่อหลายรุ่น นอกจากนี้ก็ยังมีพระเนื้อผงอีกด้วย วัตถุมงคลของหลวงพ่อแก้วนั้นเป็นที่นิยมกันมาก และหวงแหนกันมาก สนนราคาค่อนข้างสูงครับ อย่างเหรียญรุ่นแรกที่เป็นเหรียญพระพุทธและเหรียญรูปท่านที่สร้างในปี พ.ศ.2459 นั้นสนนราคาสวยๆ หลักแสนครับ นอกจากนี้ยังมีเหรียญหลวงหล่อ พิมพ์เศียรโล้น และพิมพ์เศียรแหลม ที่สร้างในปี พ.ศ.2460 เป็นที่นิยมมาก มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เป็นเหรียญหล่อเหรียญหนึ่งที่หายาก คนแม่กลองหวงแหนกันมากครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อพิมพ์เศียรโล้นมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ตุลาคม 2562 16:39:16 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #124 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2562 16:37:30 »


พระกริ่งรุ่นแรกเจ้าคุณศรี (ประหยัด) วัดสุทัศน์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกริ่งรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์ รุ่นหนึ่งที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันนัก แต่ก็เป็นพระกริ่งที่ดีมีคุณค่ามากองค์หนึ่งครับ พระกริ่งรุ่นนี้ก็คือพระกริ่งพิมพ์บัวสามชั้น ท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) ซึ่งเป็นพระกริ่งที่น่าสนใจ สนนราคาไม่สูงครับ

พระกริ่งวัดสุทัศน์ที่เราส่วนมากรู้จักกันก็คือพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และพระกริ่งของท่านคุณศรี (สนธิ์) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากทุกรุ่น สนนราคาก็สูงมากตามครับ แต่ในยุคสมัยนั้นก็ยังมีท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) อีกองค์หนึ่งที่ท่านได้สร้างพระกริ่งของสายวัดสุทัศน์ แต่ท่านก็สร้างไว้ไม่มากรุ่นนักครับ

ท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) ท่านก็เป็นลูกศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เช่นกันและได้รับการถ่ายทอดการสร้างพระกริ่งจากสมเด็จพระสังฆราช (แพ) อีกทั้งท่านก็ยังได้มีส่วนช่วยในการจัดพิธีการสร้างพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ด้วย และท่านก็เป็นผู้มีฝีมือในการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์

การสร้างพระกริ่งรุ่นแรกของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) สร้างในปี พ.ศ.2486 และได้นำเข้าพิธีเดียวกับพระกริ่ง ปี พ.ศ.2486 ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) อันมีท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) เป็นเจ้าพิธี พระกริ่งชุดนี้นับว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) กล่าวคือองค์พระกริ่งก็จะมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระกริ่งของสายวัดสุทัศน์ทั่วๆ ไป แต่ที่ฐานบัวจะมีความแตกต่างออกไป โดยที่ฐานบัวนั้นจะทำเป็นกลีบบัวซ้อนกันสามชั้น

ลักษณะของกลีบบัวจะทำเป็นแบบกลีบบัวจริงประกอบด้วยบัวคว่ำบัวหงาย ซ้อนกันสองชั้น ส่วนในชั้นล่างสุดเป็นกลีบบัวหงายอีกชั้นหนึ่ง และเป็นกลีบบัวรอบองค์พระสังเกตได้ง่าย เมื่อพบเห็นก็จะบอกได้เลยว่าเป็นพระกริ่งของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) ครับ

พระกริ่งของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) นั้นสร้างด้วยเนื้อนวโลหะ เนื้อในวรรณะเหลือง ทำนองเนื้อขันลงหิน ผิวนอกออกสีน้ำตาลอมดำ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านทรงประทานชนวนพระกริ่ง 79 เพื่อเป็นส่วนผสมในการสร้างในครั้งนี้แก่เจ้าคุณศรี (ประหยัด) ด้วย

พระกริ่งรุ่นนี้สร้างแบบกริ่งใน บรรจุเม็ดกริ่งสองรู ที่บริเวณฐานบัวชั้นบนด้านหลังองค์พระ แล้วอุดด้วยทองชนวน ส่วนมากจะเห็นรอยตะไบที่ลบรอยการอุด จึงทำให้มองเห็นว่าบัวทั้งสองด้านนี้ถูกตะไบลบไปเสีย เป็นจุดสังเกตของพระกริ่งรุ่นนี้ครับ พระส่วนมากมักไม่ได้มีการแต่งหลังจากการหล่อ แต่ก็มีพระรุ่นนี้บางองค์ที่ท่านเจ้าของนำไปให้ช่างแต่งให้สวยงามมาแต่ในสมัยนั้น

พระกริ่งของท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด) รุ่นนี้ถือว่าเป็นพระกริ่งรุ่นแรกของท่าน และเป็นพระกริ่งที่เข้าพิธีในปี พ.ศ.2486 ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) จึงนับว่าเป็นพระกริ่งที่มีคุณค่ามากรุ่นหนึ่งของวัดสุทัศน์ แถมมีส่วนผสมของชนวนพระกริ่งปี 79 ด้วยครับ แต่สนนราคาก็ยังถูกกว่าพระกริ่งรุ่นอื่นๆ ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงปู่ทา พ.ศ.2514

หลวงปู่ทา พุทธสโร หรือ พระราชศีลโสภิต อดีตเจ้าอาวาสวัดอภิสิทธิ์ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม เป็นพระนักพัฒนา ที่มีความรอบรู้ด้านวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอีสาน

ตลอดชีวิตของท่านมุ่งมั่นอยู่กับการค้นคว้าคัมภีร์โบราณและวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นคุณูปการต่อชนรุ่นหลัง

หลวงปู่ทา เกิดเมื่อปี พ.ศ.2437 ณ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดใต้นางใย โดยมีพระครูโยคีอุทัยทิศ เป็นประอุปัชฌาย์

ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชศีลโสภิต

หลวงปู่ทา มรณภาพด้วยโรคชรา ในปี พ.ศ.2525 สิริอายุ 89 ปี พรรษา 68

อย่างไรก็ตาม แม้หลวงปู่ทา จะเป็นพระนักปราชญ์ แต่ในห้วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ได้จัดสร้างวัตถุมงคลออกมาหลายรุ่น แต่ที่ได้รับความนิยมเป็นสุดยอดปรารถนาของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์และนักสะสมนิยมพระเครื่อง คือ เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ทา รุ่นแรก สร้างในปี 2514

เหรียญรุ่นนี้ จัดสร้างในวาระที่หลวงปู่ทา ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ทั้งนี้ คณะศิษยานุศิษย์และญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาในหลวงปู่ มีความประสงค์จัดสร้างเหรียญวัตถุมงคล เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญนี้ จึงได้ร่วมกันจัดสร้างและมอบให้ญาติโยมที่มาร่วมงานฉลองสมณศักดิ์

จำนวนการสร้างไม่เกิน 3,000 เหรียญ เป็นเนื้อกะไหล่ทองอย่างเดียว ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง เป็นเหรียญยกขอบ

ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัย นั่งบนอาสนะ ที่ใต้อาสนะด้านล่างมีอักขระเขียนว่า "โพ พุทธ ธะโล พิ อิ" เป็นยันต์หัวใจพระพุทธเจ้าเด่นในทุกด้าน

ด้านหลังเหรียญ ยกขอบ บริเวณด้านขวามีอักษรเขียนว่า "๕ ธ.ค." ด้านซ้ายของเหรียญเขียนว่า "๒๕๑๔" เป็นวันเดือนปีที่หลวงปู่ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ทาครึ่งองค์ หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า "พระราชศีลโสภิต"

สำหรับเหรียญรุ่นดังกล่าว หลวงปู่ทา ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเดี่ยวภายในอุโบสถนานแรมปี ด้วยความที่หลวงปู่มีพลังจิตที่แก่กล้า ทำให้พุทธคุณเข้มขลังโดดเด่นรอบด้าน

ผู้ที่มีเหรียญนี้ไว้ในครอบครอง ต่างมีประสบการณ์อัศจรรย์มากมาย ส่งผลให้เหรียญรุ่นนี้ได้รับความนิยม กระแสเริ่มแรง ด้วยศิษยานุศิษย์ผู้เลื่อมใสศรัทธาและนักนิยมสะสมวัตถุมงคล ต่างเริ่มเช่าหาเก็บกันไว้ ทำให้เหรียญเริ่มหายากขึ้น

แต่เป็นเหรียญที่ราคาเช่าหายังไม่สูงเท่าใดนัก เหรียญสวยอยู่หลักพันต้น สวยน้อยราคาอยู่หลักร้อยกลาง

ผู้ที่สนใจยังพอหาเช่าได้ตามศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคาม
  ข่าวสดออนไลน์



พระร่วงคืบ ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุเนื้อชินเงินประเภทหนึ่งที่เรียกกันว่าพระร่วงคืบ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ชื่อนี้อาจจะฟังดูไม่คุ้นหูเท่าไหร่ เนื่องจากจำนวนของพระมีไม่มากนัก และขนาดขององค์พระซึ่งมีขนาดเขื่องมาก ส่วนมากนิยมทำฐานซุ้มเพื่อนำไปไว้บูชาที่บ้าน

พระร่วงคืบ ถูกลักลอบขุดได้ที่บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ซึ่งมีพระปรางค์อยู่มากมาย มีทั้งสร้างไว้ในยุคขอม และมีการสร้างเรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยา มีพระปรางค์องค์หนึ่ง เป็นทรงกลีบมะเฟือง รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบอยุธยายุคต้น และเป็นที่บรรจุพระเครื่องที่เรียกว่าพระร่วงคืบ ในปี พ.ศ.2502 มีกลุ่มผู้ลักลอบเข้ามาขุดเพื่อหาสมบัติและพระเครื่องพระบูชา ก็ได้พระไปจำนวนมาก ทั้งพระบูชาและพระเครื่อง พระเครื่องได้แก่พระร่วงคืบ พระใบขี้เหล็ก พระคาบศร พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มกระรอกกระแต เป็นต้น ว่ากันว่าขุดได้พระเครื่องจำนวนมากมาย บรรทุกรถสามล้อถีบไปเต็มคันรถ และค่อยๆ นำออกมาขายในตลาดลพบุรี

พระร่วงคืบเป็นพระพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18 ซ.ม. กว้างประมาณ 6 ซ.ม. พุทธลักษณะเป็นพระประทับยืนปางประทานพร ในซุ้มเรือนแก้ว ปลายพระบาทถ่างออกด้านข้าง หันส้นเท้าเข้าหากัน ซึ่งนับว่าดูแปลกตา ฐานเป็นกลีบบัวคว่ำบัวหงายสองชั้น พุทธลักษณะเป็นศิลปะแบบอู่ทอง 2 หรือต้นกรุงศรีอยุธยา พระพักตร์ศิลปะคล้ายกับหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง พระที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน มีคราบปรอทจับผิวพระ บางองค์พบว่ามีปิดทองมาแต่ในกรุ สาเหตุที่เรียกว่าพระร่วงคืบ อาจจะเพราะว่ามีขนาดใหญ่และมีความสูงประมาณคืบ คนรุ่นเก่าจึงเรียกว่า “พระร่วงคืบ” ทำนองเดียวกับการเรียกพระกำแพงศอก กำแพงคืบ ทำนองนั้นครับ

พระร่วงคืบจะพบเป็นพระเนื้อชินเงินผิวปรอทเป็นส่วนใหญ่ มีบางองค์ที่มีผิวดำแบบสนิมตีนกาและสนิมเกล็ดกระดี่บ้าง พระร่วงคืบนอกจากพบที่ลพบุรีแล้ว ยังพบที่สุโขทัย สุพรรณบุรีและอยุธยาด้วย แต่ก็มีจำนวนไม่มากนักครับ ส่วนมากมักทำฐานไม้ประกอบซุ้ม ไว้ตั้งบูชาที่บ้าน ว่ากันว่าพุทธคุณนั้นบูชาไว้ก็จะดีทางด้านโชคลาภ ร่มเย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้าครับ

ปัจจุบันก็หายากครับ ไม่ค่อยได้พบเห็นนัก และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระร่วงคืบจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันด้วยครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อพริ้ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์ (พริ้ง) วัดบางปะกอก เป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าองค์หนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก แม้แต่ พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ท่านยังเคารพนับถือหลวงพ่อพริ้งมาก ถึงกับให้พระโอรสมาบวชเป็นสามเณรถึง 3 องค์ เนื่องจากหลวงพ่อพริ้งเป็นพระที่เคร่งครัดในทางปฏิบัติ และเข้มขลังในพุทธาคมมากนั่นเอง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวบ้านต่างก็มาหลบภัยอยู่ที่วัดของหลวงพ่อเป็นจำนวนมากจนแน่นขนัดไปหมด

หลวงพ่อพริ้งเกิดที่กทม. เมื่อปี พ.ศ.2413 โยมบิดาชื่อเอี่ยม โยมมารดาชื่อ สุ่น ท่านเริ่มบวชเป็นสามเณรที่วัดพลับ จนกระทั่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพลับ ในปี พ.ศ.2433 หลวงพ่อพริ้งศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมมาตั้งแต่สมัยยังเป็นสามเณร สำนักใดมีชื่อเสียงในขณะนั้นท่านก็จะไปศึกษา และออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และเมื่อพบกับพระเกจิอาจารย์ดังๆ ท่านก็จะฝากตัวเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิชาต่างๆ จนปฏิบัติได้จริง แล้วท่านก็ออกธุดงค์ไปเรื่อยๆ

หลวงพ่อพริ้งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาและไม่ว่าจะมีพิธีสำคัญๆ ที่ใดก็ตามจะต้องมีการนิมนต์หลวงพ่อพริ้งอยู่ด้วยเสมอ เช่น พิธีพุทธาภิเษก เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร ปี พ.ศ.2485 หรืองานหล่อพระรูปของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ที่วัดราชบพิธ หลวงพ่อก็จะได้รับนิมนต์ด้วย

หลวงพ่อพริ้งยึดถือวิปัสสนากรรมฐานเป็นกิจวัตร จนมีฌานสมาบัติสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ได้ล่วงหน้า จนเป็นที่ประจักษ์แก่ลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้านเคารพนับถือหลวงพ่อมาก หลวงพ่อพริ้งได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ลูกอมเนื้อผง และพระเครื่องเนื้อผงผสมใบลานสีเทาๆ ไว้หลายพิมพ์ ทุกพิมพ์ได้รับความนิยมเช่าหาทั้งสิ้น สำหรับเหรียญรุ่นแรกของท่านนั้น คณะศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงพ่อพริ้งจัดสร้างในปี พ.ศ.2483 เพื่อแจกแก่ศิษย์ไว้คุ้มกันภัย ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อพริ้ง ด้านหลังเป็นรูปพระพุทธ เหรียญรุ่นนี้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากในคราวสงครามอินโดจีน

หลวงพ่อพริ้งมรณภาพใน วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2490 สิริอายุได้ 78 พรรษาที่ 56 แม้ว่าในปัจจุบันนี้หลวงพ่อพริ้งได้มรณภาพไปแล้วเป็นเวลาหลายปีก็ตาม ก็ยังมีผู้คนไปกราบไหว้รูปหล่อของท่าน ที่วัดบางปะกอกเป็นประจำมิได้ขาด ไปขอพร ขอน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์บ้าง และก็น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่ไปกราบไหว้ขอพรต่างๆ ล้วนประสบผลสำเร็จแทบทุกคน

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อพริ้ง จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่ายพระคณาจารย์แดนสยามมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งจักรพรรดิมหาเศรษฐี

หลวงปู่อ่อนสี เจ้าอาวาสวัดแสนสำราญ เมืองไชยภูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว พระเกจิที่มีปฏิปทาสูงส่ง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวลาว รวมทั้งชาว จ.อุบลราชธานี และชาว จ.มุกดาหาร

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่ลุน หรือหลวงปู่สำเร็จลุน บรมครูผู้วิเศษ แห่งนครจำปาสัก ประเทศลาว ในยุคนั้น และหลวงปู่คำ อดีตเจ้าอาวาสวัดแสนสำราญ สปป.ลาว

ปัจจุบัน อายุ 116 ปี พรรษา 89

มีนามเดิมว่า อ่อนสี แก้วพิทัก เป็นชาว จ.อุบลราชธานี โดยกำเนิด เกิดปีเถาะ เมื่อวันที่ 4 เม.ย.2446

ขณะมีอายุ 27 ปี อุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดธาตุโพน บ้านโพน เมืองไชยภูทอง แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว พระญาถ่านหง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปลง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาท่องมนต์จำศีล ศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งยังร่ำเรียนมนต์ตำราคาถาและวิทยาคมจากหลวงปู่คำ ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่สำเร็จลุน

ในวัยไม้ใกล้ฝั่ง แม้หลวงปู่สายตาพร่ามัว หูตึงไม่ได้ยินต้องตะโกน เดินได้แต่ไม่คล่องตัว และรับกิจนิมนต์เป็นบางครั้ง

ในเดือน มิ.ย. ลูกศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธาฝั่งไทย "นวนปาง บุญรักษ์" ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างพระกริ่งจักรพรรดิ รุ่นมหาเศรษฐี (รุ่นสุดท้าย) หลวงปู่อ่อนสี ก่อนปิดการสร้างวัตถุมงคล

เพื่อนำรายได้ สมทบทุนสร้างศาลาอเนกประสงค์

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ประกอบด้วยเนื้อทองคำ 19 องค์, เนื้อเงินอุดมวลสารลุ้นตะกรุดเงินและตะกรุดทอง 116 องค์, เนื้อนวะโบราณอุดมวลสารลุ้นตะกรุดเงินและตะกรุดทอง 299 องค์, เนื้อเหล็กน้ำพี้อุดมวลสารลุ้นตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 599 องค์, เนื้อสำริดอุดมวลสารลุ้นตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 599 องค์, เนื้อชนวนอุดมวลสารลุ้นตะกรุดเงินและตะกรุดทองคำ 999 องค์ และเนื้อทองแดงผิวรุ้งอุดมวลสารลุ้นตะกรุดเงินและตะกรุดทอง 999 องค์

ด้านหน้า มีพุทธลักษณะคล้ายพระกริ่งตำหรับวัดสุทัศนวนาราม ที่อ่อนช้อยงดงาม พุทธศิลป์ล้านช้าง มีความกว้าง 1.9 เซนติเมตร สูง 3.5 เซนติเมตร

ด้านหลัง ใต้ก้นองค์พระสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงปู่อ่อนสี ที่ก้นอุดด้วยมวลสาร ของหลวงปู่หมุน จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่ อ่อนสี และหลวงปู่สอ ขันติโก วัดโพธิ์ศรี จ.นครพนม

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่วัดคอนสาย ต.สามัคคี อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร เมื่อวันที่ 10 ส.ค.2562 ที่ผ่านมา มีหลวงปู่ถิน จันทธัมโม วัย 101 ปี วัดคอนสาย จ.ยโสธร, หลวงปู่สี อภิรโส วัดขอนแก่น จ.มุกดาหาร, หลวงปู่ขาน อินทปัญโญ วัดหนองอ้อ จ.มุกดาหาร, หลวงปู่คำวงษ์ วัดภูหินขัน จ.มุกดาหาร และหลวงปู่อ่อนสี นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสก  
  ข่าวสดออนไลน์



เหรียญนั่งพานหลวงปู่แสง

พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ปัจจุบัน ยังดำรงชีวิตในวัย 108 ปี พรรษา 89

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

อุปสมบท ที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาวิทยาคม อักขระเลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

หลายปีต่อมา เมื่อกลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัยบ้านเกิด ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูอุดมรังสี" และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส รวมทั้งเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลืองด้วย

นอกจากจะเด่นด้านพุทธาคมแล้วยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญการวิปัสสนากัมมัฏฐาน ศึกษาแนวทางปฏิบัติจากพระป่ากัมมัฏฐานสายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม

เมื่อครั้งหลวงปู่คำพันธ์ยังมีชีวิตอยู่ ท่านทั้งสองจะไปมาหาสู่กันตลอด

สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่แสง มีการจัดสร้างออกมาหลายรุ่น ทุกรุ่นล้วนได้รับความสนใจ

ในช่วงเดือน ม.ค.2562 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา "แบ๊งค์ เรวดี" ขออนุญาตหลวงปู่แสง จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญนั่งพาน หลวงปู่แสง รุ่นแสงพันล้าน

เพื่อหารายได้สมทบทุนรักษาธาตุขันธ์และในยามอาพาธวัย 108 ปี

ประกอบด้วย เนื้อทองคำฝังเพชรแท้ 9 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาหน้ากากทองคำ ขอบทองคำ 59 เหรียญ, เนื้อลงยา 199 เหรียญ, เนื้อนวะหน้ากากเงิน ขอบเงินลงยาฝังพลอย, เนื้อ 3 เค (ทอง เงิน นาก) ฝังพลอย, เนื้อทองขาว หน้ากากทองทิพย์ ขอบทองคำ, เนื้อมหาชนวนฝังพลอย ชนิดละ 399 เหรียญ, เนื้อทองขาว เนื้อทองทิพย์เนื้อทองแดงรมดำมันปูผิวรุ้ง เนื้อทองแดงผิวกลับไฟ ชนิดละ 1,999 เหรียญ

ด้านหน้า เป็นรูปทรงนั่งพาน รอบขอบเหรียญมีลวดลายหางนกยูงที่ขนาบข้างหลวงปู่ อ่อนช้อยสวยงาม ด้านบนสุดมีพระพุทธนั่งบนแท่นบัว ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่นั่งท่าขัดสมาธิบนพานเต็มองค์ มีวงรอบคล้ายเสมาธรรมจักร มีจุดไข่ปลาล้อมรอบ มีตัวหนังสือสลักคำว่า หลวงปู่แสง จนฺทวํโส ด้านล่างสุดสลักคำว่า แสงพันล้าน

ด้านหลัง รอบขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนาตามส่วนเว้าโค้ง ใต้รอบขอบเหรียญส่วนบน สลักยันต์พระคาถานกยูงทอง ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาจารย์หลวงปู่แสง อ่านว่า นะโม วิมุตานัง นะโม วิมุติยา ถัดลงมามียันต์มหาโภคทรัพย์ ขนาบด้วยนกสาลิกา 2 ตัวประกบ บรรทัดต่อมามียันต์ดอกบัว เสน่ห์โชคลาภ เปรียญหลวงปู่เป็นผู้หยั่งรู้ ผู้เบิกบาน บรรทัดถัดมามียันต์ปทุมชาติ ประกบด้วยอุณาโลมปิดหัวท้าย บรรทัดล่างสุด สลักคำว่า วัดโพธิ์ชัย อ.นาแก จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๖๒

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ที่อุโบสถวัดโพธิ์ชัย ในวันที่ 31 ส.ค. มีหลวงปู่แสง นั่งอธิษฐานจิต  
  ข่าวสดออนไลน์



หลวงพ่อผึ่ง วัดสว่างอารมณ์ราษฎร์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระผงพุทธคุณอีกองค์หนึ่ง คือพระของหลวงพ่อผึ่ง วัดสว่างอารมณ์ราษฎร์ หลวงพ่อผึ่งได้สร้างพระเนื้อผงไว้อยู่หลายพิมพ์ ซึ่งเป็นพระที่น่าสนใจมากองค์หนึ่ง แถมปัจจุบันยังพอหาได้ไม่ยากนัก และสนนราคาก็ไม่แพงนักด้วยครับ

หลวงพ่อผึ่งเกิดที่บ้านไผ่หมู่ ต.ต้นตาล อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2426 โยมบิดาชื่อหร่าย โยมมารดาชื่อปุย อาชีพชาวนา ฐานะครอบครัวค่อนข้างยากจน ต่อมาบิดามารดาได้แยกทางกัน หลวงพ่อผึ่ง อยู่กับมารดา จึงต้องช่วยทำนาตั้งแต่เด็ก มารดาของหลวงพ่อผึ่งต้องการให้หลวงพ่อผึ่งอ่านออกเขียนได้จึงนำไปฝากเรียนกับหลวงพ่อแสง วัดคลองมะดัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านนัก

หลวงพ่อผึ่งเป็นคนขยันหมั่นเพียร เล่าเรียนหนังสือไทยและขอม สามารถอ่านเขียนได้คล่องแคล่วแตกฉานตลอดจน บทสวดมนต์ ต่อมาเมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.2488 จึงได้อุปสมบทที่วัดสองพี่น้อง โดยมีพระปลัดบุญยัง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเหนี่ยง อินทโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อโหน่ง อินทสุวัณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงพ่อผึ่งบวชได้หนึ่งพรรษา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำฯ ซึ่งเป็นคนสองพี่น้องก็มาบวชที่วัดสองพี่น้อง จำพรรษาอยู่กุฏิเดียวกันกับหลวงพ่อผึ่งและหลวงพ่อหอม ท่านทั้งสามองค์สนิทสนมกันมาก ออกธุดงค์ด้วยกัน และใฝ่เรียนวิปัสสนากรรมฐาน ได้เดินทางไปศึกษาวิชาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อปลื้ม สำนักวัดเขาใหญ่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เมื่อศึกษาแล้วก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องตามเดิม ส่วนหลวงพ่อสด มาจำพรรษาอยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญ

ต่อมาหลวงพ่อผึ่งมาอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์ ต.บ้านกุ่ม อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2462 มีขบวนแห่มาอย่างครึกครื้น หลวงพ่อโหน่ง หลวงพ่อสดและหลวงพ่อหอมก็มาส่งด้วย ท่านมาถึงก็เริ่มก่อสร้างวัดสว่างอารมณ์ทันทีด้วยการขอแรงชาวบ้าน ช่วยกันขุดคูรอบวัด ปลูกมะพร้าวบนคันคูขุดดินถมเป็นเนินเพื่อสร้างอุโบสถ หลวงพ่อผึ่งจะแจกพระผงของท่านให้แก่ญาติโยมที่มาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัด

หลวงพ่อผึ่งได้สร้างผงวิเศษขึ้นมานานแล้ว ท่านได้เขียนยันต์ด้วยดินสอพองในกระดานชนวนเสร็จแล้วลบเก็บผงไว้ ท่านเขียนเป็นเวลาหลายปี เก็บไว้หลายปี๊บ ในปี พ.ศ.2493 หลวงพ่อสดยังมาขอผงวิเศษของหลวงพ่อผึ่งไปผสมสร้างพระของท่านเลย ในการสร้างพระของหลวงพ่อผึ่งจะใช้สายสิญจน์ 108 เส้น วงรอบบริเวณที่จะทำพระ ผู้ที่จะทำพิมพ์พระจะต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดและถือศีลจึงจะเข้าร่วมพิมพ์พระของท่านได้

เมื่อสร้างพระเสร็จแล้วท่านก็ได้นำพระทั้งหมด เข้าไว้ในพระอุโบสถ ให้พระสวดมนต์เช้าเย็นและ กลางคืน เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นท่านก็นำมา ปลุกเสกเดี่ยวอีกจนครบไตรมาส

พระที่ท่านสร้างมีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ประภามณฑล พิมพ์เชียงแสน พิมพ์อกร่อง พิมพ์ 7 ชั้น พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ชินราช เป็นต้น ในวันนี้ก็นำพระเนื้อผงของหลวงพ่อผึ่ง วัดสว่างอารมณ์ฯ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



หลวงปู่รอด วัดบางนํ้าวน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในอดีต วัตถุมงคลของท่านก็ได้รับความนิยมกันมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนโดยทั่วไป

หลวงปู่รอด เป็นชาวปทุมธานี มีเชื้อสายรามัญ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 โยมบิดาชื่อทองดี โยมมารดาชื่อเกษร เมื่อตอนที่ท่านเด็กๆ ท่านมีร่างกายอ่อนแอขี้โรค บิดา-มารดา จึงได้นำท่านไปถวายเป็นบุตรบุญธรรมของ พระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน ซึ่งท่านเป็นพระเถระที่มีเชื้อสายรามัญ และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวรามัญในสมัยนั้น หลังจากที่บิดา-มารดาของหลวงปู่รอดได้ยกท่านให้แก่พระอุปัชฌาย์แคแล้ว ปรากฏว่าหลวงปู่รอดก็เป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย หายจากโรคภัยนานา พระอุปัชฌาย์แคจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "รอด" ตั้งแต่บัดนั้นมา พอท่านอายุได้ 12 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร อยู่ศึกษาเล่าเรียนกับพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน กระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบางน้ำวน โดยมีพระอุปัชฌาย์แค เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "พุทธสณฺโฑ"

เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ และศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์แค หลวงปู่รอดเป็นพระที่รักสงบมุ่งปฏิบัติอย่างเคร่งครัด วิชาที่ท่านเรียนกับพระอุปัชฌาย์แคก็คือ เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี วิชาทำธงไม่ให้ฝนตก และป้องกันฟ้าผ่า วิชาเสกของหนักให้เป็นเบาดั่งปุยนุ่น ฯลฯ นอกจากท่านจะเรียนวิทยาคมแล้ว ท่านก็ยังเรียนวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย จนเป็น ที่ไว้ใจของพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่พระอุปัชฌาย์แค มรณภาพ ท่านก็ได้รับการนิมนต์จากชาวบ้านขอให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาต่อท่านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงมาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ นอกจากจะพัฒนาวัดของท่านแล้ว ท่านยังช่วยเหลือวัดอื่นๆ อีกด้วย

เรื่องของการศึกษาท่านก็ได้จัดให้มีการสอนพระปริยัติธรรม และสร้างโรงเรียนประชาบาลให้เด็กๆ ในแถบนั้นได้ศึกษาเล่าเรียนชื่อ "โรงเรียนรอดพิทยาคม" ในปี พ.ศ.2439 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน ปี พ.ศ.2447 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบางโทรัด ปี พ.ศ.2452 ได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2488 ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูชั้นประทวน และเป็นกรรมการศึกษา หลวงปู่รอดมรณภาพในปี พ.ศ.2488 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62

หลวงปู่รอดเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิทยาคมมาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดโทน เหรียญหล่อเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด เหรียญหล่อพิมพ์พนมมือ เหรียญปั๊มพิมพ์เสมาอัลปาก้า เป็นต้น และในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อ พิมพ์สามเหลี่ยมพนมมือมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระรอดกรุหนองมนต์

สวัสดีครับท่าน ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องขนาดเล็กที่พบในจังหวัดลพบุรีชนิดหนึ่งที่ได้รับการตั้งชื่อว่าพระรอด และตามด้วยชื่อกรุ คือกรุวัดหนองมนต์ และเรียกกันสั้นๆ ว่า พระรอดหนองมนต์ ก็จะรู้กันดีว่าเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง องค์เล็กๆ พุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาดมีประสบการณ์รอดตายมามาก จนมีชื่อเสียงโด่งดัง

พระรอด วัดหนองมนต์ ประวัติพระเกจิอาจารย์ที่สร้างนั้นไม่ปรากฏชัดเจน ทราบแต่ว่าเมื่อตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งเดินทางมาจากจังหวัดพิจิตร ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองมนต์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี และได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองมนต์ ครั้งที่ท่านเดินทางมาจากจังหวัดพิจิตรนั้น ท่านก็ได้นำพระเครื่องเนื้อตะกั่วติดตัวมาด้วยเป็นจำนวนมาก เป็นพระเครื่องเนื้อตะกั่วขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าท่านได้สร้างไว้ก่อนหน้าที่จะเดินทางมาอยู่ที่วัดหนองมนต์ และท่านคงปลุกเสกเอง พอท่านมาเป็นสมภารวัดหนองมนต์ท่านก็ได้สร้างพระเจดีย์ไว้ 2 องค์ สูงประมาณ 3 วา ตรงบริเวณด้านหน้าโบสถ์ และท่านก็ได้นำพระทั้งหมดบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ ส่วนในเรื่องประวัติของพระเกจิอาจารย์รูปนี้ไม่ได้มีผู้บันทึกไว้ มีเพียงแต่การบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น หลังจากที่ท่านมรณภาพแล้วก็ไม่ได้มีใครสนใจพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์เลย

จวบจนกระทั่งปี พ.ศ.2490 ได้มีคนร้ายลักลอบเข้ามาขุดหาสมบัติที่องค์พระเจดีย์ทั้งสอง คงคาดว่าจะมีทรัพย์สมบัติหรือมีพระทองคำ พระเงินบ้าง แต่ปรากฏว่าเปล่า หามีไม่ คงมีเพียงพระตะกั่วองค์เล็กๆ เท่านั้น คนร้ายก็ไม่ได้สนใจ ทิ้งพระเครื่องดังกล่าวไว้กองอยู่กับพื้น เมื่อถึงตอนเช้ามีเด็กวัดไปพบเข้าและนำมาเล่นกัน ทางวัดเห็นเข้าจึงได้รวบรวมมาเก็บไว้ที่กุฏิ และก็จากคำบอกเล่าทำให้ทราบว่าเป็นพระที่หลวงพ่อที่มาจากพิจิตรอดีตเจ้าอาวาสสร้างไว้เท่านั้น

หลังจากนั้นอีก 2-3 ปีก็มีคนไปขอพระนี้จากที่วัด พระท่านก็แจกจ่ายชาวบ้านไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้มีคนสนใจนัก เนื่องจากองค์พระก็ไม่ได้สวยงามอย่างไร พอย่างเข้าปี พ.ศ. 2500 ก็เกิดเหตุที่ทำให้ผู้คนเข้าไปที่วัดเพื่อขอเช่ากันอย่างมากมาย เรื่องที่ทำให้ดังเป็นพลุแตกเนื่องมาจากทหารพลร่มของลพบุรีซึ่งได้แสดงการโดดร่มกันทุกปี และในปีนี้เกิดอุบัติเหตุ มีนายทหารท่านหนึ่งโดดร่มลงมาแล้วร่มไม่กาง แต่กลับไม่เสียชีวิตหรือกระดูกหักแต่อย่างใด ไม่เป็นอะไรเลย ปรากฏว่าในคอห้อยพระรอด วัดหนองมนต์ อยู่องค์เดียวที่ได้รับแจ้งจากทางวัด

หลังจากข่าวนี้แพร่สะพัดออกไปต่างคนต่างก็เข้าไปยังวัดหนองมนต์เพื่อขอเช่าพระรอดกรุนี้กันอย่างแน่นขนัด ทางวัดก็เปิดให้เช่าองค์ละ 25 บาทเท่านั้น หลังจากนั้นก็มีทหารอากาศท่านหนึ่งถูกฟ้าผ่าจนสลบไป หลังจากมีผู้พบและนำส่งโรงพยาบาล พอฟื้นขึ้นมาก็ไม่เป็นอะไรเลย สายสร้อยที่ใส่อยู่ไหม้ละลายเสียหายทั้งเส้น ในสายสร้อยมีพระรอด วัดหนองมนต์อยู่ด้วย นอกจากนี้ก็มีอีกรายต่อสู้กับคนร้ายก็ไม่ได้รับอันตราย ต่อมาก็มีคนนำพระรอดหนองมนต์ไปผูกคอไก่แล้วลองยิงดูกลับยิงไม่ออก เท่านั้นแหละพระรอดหนองมนต์ก็หมดจากวัดอย่างรวดเร็ว

พระรอด วัดหนองมนต์นี้เป็นพระเนื้อตะกั่ว และมีสนิมแดงขึ้นอยู่ประปราย เป็นพระที่มีขนาดเล็ก พิมพ์ไม่ค่อยชัดเจนนัก และมีคนที่ใส่พระรอดหนองมนต์รอดตายอย่างเหลือเชื่อ จึงได้เรียกขานกันว่าพระรอด วัดหนองมนต์ ปัจจุบันพระแท้ๆ ก็หายากแล้ว ของปลอมมีระบาดกันมาก สนนราคาก็ยังไม่แพงมากนักครับ แต่ก็หาแท้ๆ ยากอย่างที่บอกครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระรอด วัดหนองมนต์ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 พฤศจิกายน 2562 16:39:43 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #125 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2562 16:40:20 »


พระแก้วมรกต หลวงปู่บุดดา
หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร วัดป่าใต้พัฒนาราม ต.โนนหมากเค็ง อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว พระเกจิคณาจารย์ อายุมากถึงหนึ่งร้อยกว่าปี มีวัตรปฏิบัติที่งดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา

เป็นพระที่เรียบง่าย ใจดี ใจเย็น ยิ้มแย้มแจ่มใสกับทุกคน ต้อนรับทุกคนด้วยความเสมอภาค พูดคุยอย่างเป็นกันเอง

ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ฉันอาหารแบบบ้านๆ น้ำพริก ผักต้ม ผักสด มักน้อย ชอบชีวิตสันโดษ เช้าออกบิณฑบาต ลงทำวัตรเจริญพระพุทธมนต์อย่างเคร่งครัด

สืบเนื่องจากเป็นพระสหธรรมิกกันกับหลวงปู่โสฬส ยโสธโร วัดโคกอู่ทอง อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี พระเกจิคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเมืองปราจีนบุรี โตมาด้วยกัน เล่ากันว่า ท่านมีแม่นมคนเดียวกัน เรียนหนังสือมาด้วยกัน บวชเรียนในพระอุปัชฌาย์เดียวกัน ศึกษาเล่าเรียนสรรพวิชาการต่างๆ ในสำนักเดียวกัน จึงมีความน่าสนใจในการศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจวิถีธรรม ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมา

ปัจจุบัน หลวงปู่บุดดามีอายุ 108 ปี พรรษา 28 ซึ่งมีสุขภาพกาย สุขภาพใจ สมบูรณ์แข็งแรง อารมณ์ดี จิตแจ่มใส

พัฒนาสำนักสงฆ์แห่งนี้จนเจริญรุ่งเรืองและได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัดอย่างถูกต้อง เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2550 ประชุมชาวบ้านและคณะกรรมการวัด ประสงค์สร้างอุโบสถ มีมติเห็นพร้อม โดยใช้แบบของกรมศิลปากร เป็นโบสถ์มหาอุด ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2559 และตอกเสาเข็มในวันที่ 6 มิ.ย.2559 ดำเนินการก่อสร้างมาจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก

คณะศิษยานุศิษย์ นำโดย "กบ พันทิพย์งามวงศ์วาน" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล พระแก้วมรกต หาปัจจัยสมทบทุนก่อสร้างอุโบสถให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์

วัตถุมงคลรุ่นนี้เป็นลักษณะลอยองค์ มีขนาดความสูง 3.5 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร เหมาะสำหรับห้อยคอ พุทธศิลป์เป็นรูปพระพุทธทรงเครื่องปางสมาธิประทับนั่งบนบัลลังก์ ด้านหน้าบัลลังก์เขียนว่า พระแก้วมรกต

ส่วนบัลลังก์ด้านหลัง มีตัวอักษรเขียนคำว่า ปญญาธโร

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่บุดดาเสกเดี่ยว ในโบสถ์ วัดป่าใต้พัฒนาราม จ.สระแก้ว

จัดสร้างเป็นเนื้อต่างๆ อาทิ เนื้อทองคำก้นอุดผง จีวร เกศา หลวงปู่บุดดา 1 องค์ เนื้อเงินก้นทองคำ 2 องค์ เนื้อเงินก้นอุดผงฝากริ่งทองคำ 5 องค์ เนื้อเงินก้นอุดผง ใส่เกศาหลวงปู่บุดดา 19 องค์ เนื้อนวะฝาอุดกริ่งทองคำ 5 องค์ นวะก้นอุดผงข้าวก้นบาตร 19 องค์ นวะ 59 องค์ เนื้อ 2 เค ฐานนาคองค์ทอง 168 องค์ เนื้อ 2 เคฐานทององค์เงิน 168 องค์ เป็นต้น
  ข่าวสดออนไลน์




พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธรูปปางลีลาเป็นพระเครื่องที่มีศิลปะของสุโขทัยที่งดงามมาก และได้รับการยกย่องว่าเป็นพุทธศิลปะที่งดงามของโลก ในส่วนที่สร้างเป็นแบบพระเครื่องนั้นก็มีมากมายหลายกรุหลายจังหวัดและหลายยุคสมัย พระเครื่องปางลีลาที่สวยงามและได้รับความนิยมมาก ก็ต้องยกให้พระปางลีลาของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งก็มีอยู่หลายกรุและหลายเนื้อ เช่น พระเนื้อดินเผา พระเนื้อชิน เป็นต้น

ในกระบวนพระเนื้อชินที่เป็นพระปางลีลาของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น พระที่มีความหายาก และงดงามทางด้านศิลปะแบบสุโขทัยชนิดหนึ่งก็คือ พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ด สาเหตุที่ได้รับชื่อนี้ก็คือ องค์พระประทับยืนอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วและที่ด้านข้างของซุ้มเรือนแก้วทำเป็นเม็ดไข่ปลาโดยรอบ จึงเรียกกันว่าข้างเม็ด

ส่วนพุทธลักษณะขององค์พระเป็นพระปางลีลายกมือด้านซ้ายขององค์พระขึ้นเสมออก และปลายมือยกขึ้นสูงเสมอคางและอยู่ข้างๆ คาง เสมือนกับกำลังเชยคางอยู่ จึงเรียกกันตามพุทธลักษณะดังกล่าวที่เห็นว่า "พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ด" มองดูพุทธศิลปะโดยรวมสวยงามพลิ้วไหวเหมือนกำลังเดินไปข้างหน้า อ่อนช้อยงดงามมาก พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ด มีการพบที่กรุวัดบรมธาตุ วัดอาวาสน้อย และที่วัดศรีอริยาบถ ส่วนมากที่พบเป็นพระเนื้อชินเงิน มีบางท่านว่าพบพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงบ้างแต่ก็น้อยมาก

พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ดจำนวนพระที่พบมีจำนวนไม่มากนัก สันนิษฐานว่าพระอาจจะชำรุดเสียหายไปเสียตั้งแต่อยู่ในกรุ จึงพบพระที่สมบูรณ์น้อยมาก พระที่พบสามารถแยกได้เป็นพระพิมพ์ใหญ่ พระพิมพ์กลาง และพระพิมพ์เล็ก

พระพิมพ์กลางจะมีจำนวนมากที่สุด ซึ่งเป็นพระที่เราพบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพระพิมพ์ใหญ่นั้นหายากมากครับ พระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ดสนนราคานั้นก็สูงมาตั้งแต่ในสมัยก่อนแล้ว เนื่องจากพุทธศิลปะสวยงามและมีจำนวนน้อยหายาก ส่วนในด้านพุทธคุณนั้นก็เฉกเช่นเดียวกับพระเมืองกำแพงเพชร เด่นทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ เจริญก้าวหน้าทางการงาน และแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง

ปัจจุบันพระลีลาเชยคางข้างเม็ดนั้นหาแท้ๆ ยากมากครับ ของปลอมมีระบาดกันมานานแล้ว เนื่องจากเป็นพระที่นิยมและมีราคาสูงนานแล้ว แต่ของปลอมก็ยังทำไม่ได้เหมือนนัก เนื้อหาก็ทำให้เก่าเป็นธรรมชาติไม่ได้ พระสวยๆ นั้นสนนราคาสูงมากในปัจจุบัน ขนาดของพระก็กำลังเหมาะที่จะเลี่ยมทำตลับห้อยคอ แต่เวลาจะเช่าหาก็ควรจะพิจารณาให้รอบคอบ ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาผู้ชำนาญการที่ไว้ใจได้จะดีกว่าครับ ปัจจุบันต้องยอมรับว่าของปลอมทำได้ดีใกล้เคียงมากครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระกำแพงลีลาเชยคางข้างเม็ดทั้งพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์กลาง จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานเส้นด้าย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม เป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้สำหรับบรรจุกรุในองค์พระเจดีย์ประธานของวัดบางขุนพรหม ตามบันทึกกล่าวว่า เสมียนตราด้วง ผู้เป็นต้นสกุลธนโกเศศได้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้นใหม่ และได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นในปี พ.ศ.2411 เสมียนตราด้วงก็ได้อาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพื่อทำพิธีสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหมขึ้นเพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์ประธาน

พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมจึงได้เริ่มสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2411 เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2413 จึงบรรจุในองค์พระเจดีย์ประธาน และจัดงานสมโภชพระเจดีย์ พระสมเด็จที่สร้างในครั้งนี้มีจำนวนที่สร้างมากมายแต่ก็ไม่ได้บันทึกไว้ว่ามีจำนวนกี่องค์ การสร้างในครั้งนี้มีเจ้ากรมช่างสิบหมู่นำช่างแกะแม่พิมพ์มาช่วยร่วมแกะแม่พิมพ์ด้วยหลายคน เนื่องจากจะสร้างพระจำนวนมากจึงต้องแกะแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นหลายแม่พิมพ์ โดยบางพิมพ์ก็อาจจะใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังฯ มาร่วมพิมพ์ด้วย แม่พิมพ์ของพระสมเด็จบางขุนพรหมจึงมีแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นจากแม่พิมพ์ของวัดระฆังฯ อยู่หลายพิมพ์ พิมพ์ของพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมเท่าที่พบ มี พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์ฐานเส้นด้าย พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์อกครุฑ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ปรกโพธิ์ (พบน้อย) และพิมพ์ไสยาสน์ (พบน้อยมาก) เป็นต้น

พระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้ายเป็นพระสมเด็จพิมพ์หนึ่งที่มีเฉพาะของกรุวัดบางขุนพรหม ซึ่งเป็นแม่พิมพ์ที่แกะขึ้นใหม่เฉพาะของวัดบางขุนพรหม พระพิมพ์นี้เป็นพระที่มีแม่พิมพ์มากที่สุดของพระสมเด็จ ซึ่งสามารถแยกแยะออกได้อยู่หลายแม่พิมพ์ มีความแตกต่างในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แต่โดยพุทธลักษณะส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน เอกลักษณ์ของพระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้ายกรุวัดบางขุนพรหมคือ องค์พระจะมีลักษณะผึ่งผายแบบพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ เส้นสายต่างๆ จะบางเล็กคม โดยเฉพาะเส้นฐานสามชั้นนั้น เป็นเส้นเรียวๆ บางๆ เท่านั้น ไม่ปรากฏแบบฐานสิงห์ จึงมักจะเรียกพระพิมพ์นี้ตามเส้นฐานที่คมเรียวบางว่า "พิมพ์ฐานเส้นด้าย" มาแต่โบราณ

พระสมเด็จ พิมพ์ฐานเส้นด้าย กรุวัดบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ที่นิยมมากพิมพ์หนึ่ง จนมีคำกล่าวในสมัยก่อนว่า "ใหญ่ ได้ ดี" ซึ่ง ก็หมายถึงพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้าย และพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ เป็นคำพ้องเสียงให้มีความหมายในทางมงคล คือใหญ่ เป็นใหญ่เป็นโตเจริญรุ่งเรือง ด้ายพ้องเสียงเป็นได้ คือทำอะไรก็มีแต่ได้ค้าขายได้กำไร ดีก็คือดีทำอะไรก็ดีเจริญรุ่งเรือง

พระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้ายในปัจจุบันก็เรียกกันเพียงสั้นๆ ว่า "พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย" ก็จะรู้กันว่าเป็นพระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานเส้นด้าย ปัจจุบันหายากมากที่เป็นพระแท้ๆ ความจริงพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้หาแท้ๆ ยากทุกพิมพ์ทุกวัด ไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ หรือกรุวัดบางขุนพรหม องค์สมบูรณ์ไม่หักชำรุดก็ต้องล้านขึ้น และหาพระแท้ๆ ยากมากครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานเส้นด้ายองค์สวยๆ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระเปิม ลำพูน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องสกุลลำพูนชนิดหนึ่งที่เป็นพระสำคัญประจำกรุวัดสี่มุมเมืองของหริภุญชัยนครก็คือ พระเปิม แห่งวัดดอนแก้ว ในปัจจุบันถ้าพูดถึงพระกรุวัดดอนแก้วก็จะนึกถึงแต่พระบาง กรุวัดดอนแก้ว แต่ในกรุนี้ก็พบพระอีกหลายพิมพ์ รวมทั้งพระเปิม ด้วย ในสมัยก่อนคนลำพูนนิยมห้อยคอกันมาก เนื่องจากพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด สมัยก่อนก็ถักลวดทองแดงหรือดีหน่อยก็เลี่ยมจับขอบห้อยคอกันเลย ปัจจุบันจึงหาพระเปิมที่สวยๆ ไม่สึกยากครับ

ในสมัยเมื่อพระนางจามเทวีเสด็จขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย พระองค์ทรงสร้างวัดสำคัญประจำทิศทั้งสี่ของเมือง เป็นจตุรพุทธปราการพระอารามสำคัญทั้ง 4 ประจำ จตรุทิศแห่งพระนคร เพื่อปกป้องคุ้มครองพระนครให้พัฒนาสถาพร ปราศจากภัยพิบัติ ดังนี้

อาพัทธาราม (วัดพระคง) เป็นพุทธปราการประจำฝ่ายทิศเหนือ พระกรุสำคัญที่พบ คือ พระคงและพระบาง

อรัญญิกรัมมการาม (วัดดอนแก้ว) เป็นพุทธปราการปกป้องฝ่ายทิศตะวันออก พบพระกรุที่สำคัญคือพระเปิมและพระบาง ฯลฯ

มหาสัตตาราม (วัดประตูลี้) เป็นพุทธปราการคุ้มครองด้านทิศใต้ พบกรุที่สำคัญคือพระเลี่ยง ฯลฯ

มหาวนาราม (วัดมหาวัน) เป็นพุทธปราการอารักขาทางฝ่ายทิศตะวันตก พบพระกรุที่สำคัญคือพระรอด

พระอารามทั้งสี่นี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดสี่มุมเมือง"

พระเปิมเป็นพระที่ขุดพบที่วัดดอนแก้ว วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของแม่น้ำกวง ต้องข้ามลำน้ำที่สะพานท่าสีห์พิทักษ์ ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูเมืองด้านตะวันออก (ประตูท่าขุนนาง) ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และเป็นที่ตั้งของร.ร.เทศบาลเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิขัดเพชร ซึ่งชำรุดหักพัง อีกทั้งที่วัดแห่งนี้ยังพบศิลาจารึกภาษามอญอีก 2 หลัก

การขุดหาพระเครื่องวัดดอนแก้วนี้มีการขุดค้นกันมานานแล้ว ในครั้งแรกๆ ก็ไม่อาจสืบหาหลักฐานได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวขุดหาพระเครื่องกันทั่วทุกแห่งหน ก็ได้มีการขุดหาพระที่วัดดอนแก้วด้วย การขุดครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระเจดีย์เก่า ได้พระเป็นจำนวนมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด และพระกล้วย ตลอดจนพระแผงต่างๆ หลายพันองค์ ถึงกับต้องใช้ตะกร้าหาบ การขุดดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือน ต่อมาคณะกรรมการจังหวัดต้องประกาศห้ามจึงได้เลิกขุดกันไป

ในสมัยนั้นการพบพระเปิม ซึ่งชาวบ้านที่ขุดพบก็ได้ตั้งชื่อเรียกเอาตามลักษณะที่พบ คือคำว่า "เปิม" เป็นคำเมืองเดิม มีความหมายว่า แป้น ป้าน หรืออวบใหญ่ การตั้งชื่อในสมัยนั้นชาวบ้านจะเรียกตามลักษณะที่พบ เช่น พระรอด คำว่ารอดหมายถึงเล็ก พระเลี่ยง ก็คือเลี่ยม หมายถึงแหลม ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นเลี่ยง พระคง คำว่าคงหมายถึงหนา มั่นคง แข็งแรง พระบาง มีลักษณะคล้ายพระคง แต่องค์พระบอบบางกว่า จึงเรียกว่าพระบาง เป็นต้น

พระเปิมเป็นพระกรุเก่าแก่ มีพุทธคุณดีครบทุกด้านครับ เด่นทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในสังคมวงการพระเครื่องนั้นนิยมพระเปิมเช่นกัน และปัจจุบันเป็นพระที่หาพระแท้ๆ ยากพอสมควรครับ และผมได้นำรูปพระเปิม จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระแท้ย่อมมีมูลค่ารองรับ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มีคนที่รู้จักกันสอบถามมาหลายๆ ท่านว่า พระที่เขามีอยู่นั้นแท้หรือไม่ เพราะนำพระไปขายแล้วไม่มีใครซื้อ และบอกว่าไม่แท้ แต่พอเข้าไปค้นดูในกูเกิ้ล ก็มีอยู่หลายแหล่งที่มา และหลายความเห็นไม่เหมือนกัน บ้างว่าแบบนี้แท้ บ้างก็ว่าแบบนี้ไม่แท้ เอาไงดีจะเชื่ออันไหนได้

ครับปัจจุบันข้อมูลข่าวสารมีมากมาย และสามารถค้นหาได้ทางอินเตอร์เน็ต ต่างจากในสมัยก่อนมาก ซึ่งเมื่อสัก 40-50 ปีก่อนนั้น หนังสือที่เกี่ยวกับพระเครื่องก็มีน้อย รูปถ่ายก็ยังไม่เป็นภาพสี หรือถ้ามีก็น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นภาพขาวดำ ในส่วนของข้อมูลส่วนใหญ่จะค่อนข้างดีเนื่องจากผู้เขียนมักจะสืบค้นกันจริงๆ ไปถึงสถานที่จริง ค้นข้อมูลมากมายแล้วจึงนำมาเขียน ต่างจากในปัจจุบันนิตยสารพระเครื่องนั้นมีมากมายและยังมีอยู่ในสื่ออินเตอร์เน็ตอีกมากมายค้นหาได้สะดวก และมีผู้เขียนให้ความรู้ก็มาก อีกทั้งพร้อมรูปภาพประกอบ แต่ก็นั่นแหละครับ มีขาวก็ย่อมมีดำเสมอ สื่อในอินเตอร์เน็ตนั้นใครก็เขียนได้ ข้อมูลถูกต้องหรือไม่ก็ต้องใช้วิจารณญาณวิเคราะห์ดูด้วย เท่าที่ลองเข้าไปติดตามดูก็มีทั้งที่ดีๆ และข้อมูลผิดพลาดปะปนกันอยู่

สำหรับผู้ที่พอมีความรู้เรื่องพระเครื่องอยู่บ้างมาก่อนก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ผู้ที่เพิ่งเข้ามาศึกษาก็น่าจะสับสนอยู่บ้าง พระเครื่องบางชนิดข้อมูลในอินเตอร์เน็ตนั้นตรงกันข้ามกันเลยก็มี ก็น่าเป็นห่วงอยู่เหมือนกันครับ มีอยู่ครั้งหนึ่ง คนรู้จักกับผมได้นำตะกรุดมาให้ดู ผมก็ตอบไปว่าไม่รู้ที่นะ เพราะผมเองก็รู้เป็นบางอย่างเท่านั้น

เขาก็บอกว่าไม่ใช่ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วรึ ผมก็บอกว่าแบบนี้ยังไม่เคยเห็นนะ เขาก็บอกต่ออีกว่า คนรู้จักเขาให้มา แล้วบอกว่าเป็นของพ่อเขา ได้มากับมือเลย ตอนนั้นไปช่วยหลวงปู่บุญถักเชือกหุ้มตะกรุดด้วย ผมเลยถามว่า พ่อของคนนั้นอายุเท่าไหร่ เขาก็บอกว่าอายุ 86 แล้ว ผมก็เลยบอกว่าหลวงปู่บุญมรณภาพมีนาคม พ.ศ.2478 ปีนี้ 2562 เข้า 84 ปีแล้ว ก็แสดงว่าพ่อของเพื่อนคุณคงจะไปช่วยกันถักตอนอายุ 2 ขวบ เลยนะ เขาก็ยังไม่ละความพยายาม บอกต่อว่า ค้นดูในอินเตอร์เน็ตก็มียืนยันได้เหมือนกันเลย ผมก็เลยยอมแพ้แล้วแต่จะเชื่อก็แล้วกันนะ

ยังมีอีกเรื่องนึงเป็นพระสมเด็จฯ ก็คนรู้จักกันอีกแหละ แต่ก็ไม่ใช่คนในสังคมพระเครื่อง พูดง่ายๆ ก็คือไม่ใช่เซียนพระ เอาพระสมเด็จฯ มาให้ผมดู เขาก็บอกว่าได้มาจากพระที่วัดระฆังฯ บอกว่าเป็นพระสมเด็จฯ พิมพ์ใหญ่ ก็เอามาให้ผมดูและถามว่าแท้มั้ย (ความจริงก็จะมาขายผมนั่นแหละ) ผมก็ว่าไม่รู้วัดอะไรเหมือนกัน เขาก็บอกว่าก็สมเด็จวัดระฆังฯ ไง ได้มาจากพระที่วัดระฆังฯ ท่านบอกอีกว่าเก่าแก่เป็นร้อยปีแล้วนะ ตอนที่เขาได้มาก็ 40 กว่าปีมาแล้ว ผมก็เลยบอกว่าไม่รู้เหมือนกัน เขาก็บอกให้ดูเนื้อหาอีกทีมีมวลสารเยอะนะ อ้างสารพัดจะอ้าง เหมือนรูปในอินเตอร์เน็ตเลยนะ มีคนนั้นคนนี้บอกว่าดี เก็บให้ดีๆ นะหายาก ผมก็ยอมอีกเช่นกัน เขาก็เลยบอกว่าอยากจะขาย

ผมก็เลยบอกเขาไปว่า เอาไปขายกับคนนั้นเลย ผมไม่มีตังค์พอจะซื้อได้ ก็ยังไม่จบ กลับบอกว่าคนคนนั้นเขาไม่สนิท (คือจะขายกับผมให้ได้) ผมก็เลยบอกว่าเอาไปขายเถอะ เขาเป็นเซียนพระ เขาซื้ออยู่แล้ว ยังๆ ไม่จบเขายังถามอีกว่าราคาเท่าไร ผมก็บอกว่าไม่รู้อยากได้เท่าไรก็บอกเขาไป ต่อรองพอใจก็ซื้อ-ขายกันไปจบ ครั้นผมจะบอกว่าเก๊ เขาก็คงไม่เชื่อต้องเถียงกันไม่จบ บอกว่าไม่มีเงินซื้อเลยง่ายดี แต่ก็ยังไม่จบง่ายๆ คือเขาจะให้ผมซื้อให้ได้

เรื่องข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ตก็ยังมีอีกเยอะที่ไม่ตรงกัน และมีการโต้แย้งถกเถียงกัน เป็นเรื่องเป็นราวด่าทอกันบ้าง การเสพสื่อนั้นคงต้องใช้วิจารณญาณในการเชื่อเรื่องราว นั้นๆ ด้วย และพระเครื่องนั้นก็มีมาก มายหลายแบบ หลายความเชื่อ ในปัจจุบันต่างฝ่ายต่างก็สร้างสังคมของตัวเองเป็นกลุ่มๆ แต่เรื่องที่พิสูจน์ได้ง่ายๆ ก็คือ พระแท้ๆ ที่เขานิยมกันนั้น ขายได้แน่ในสถานที่ที่เขาตั้งเป็นศูนย์ หรือที่เรียกกันว่าในสนามพระ พระแท้ย่อมมีมูลค่ารองรับเสมอ ถ้าบอกว่าแท้แล้วขายไม่ได้ก็ต้องคิดเอาเองครับว่าใช่หรือไม่ ใช้เหตุผลมาพิจารณาก็คงพอจะรู้ได้ครับ ถ้าไม่ดื้อรั้นจนเกินไป พระสมเด็จฯ ไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ หรือบางขุนพรหม ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ ถ้าแท้ทุกพิมพ์ และพระไม่หักหรือชำรุด ต่อให้สึกไปบ้างก็ต้องล้านขึ้นครับ แต่ถ้าเขาไม่ซื้อก็น่าจะพอเดาได้นะครับ

มีคนรู้จักผมหลายๆ คนคิดว่าผมเป็นเซียนพระ มีอาชีพซื้อ-ขายพระ ก็ต้องบอกตามความเป็นจริงว่าผมเองไม่ใช่เซียนพระ และไม่เคยมีอาชีพซื้อ-ขายพระเลย ผมบอกเสมอว่าผมดูพระไม่เป็น เพียงแต่ซื้อพระเป็นเท่านั้น อ้าวแล้วซื้อพระเป็นน่ะเป็นอย่างไร ก็ซื้อแต่พระแท้ๆ ที่เซียนเขายอมรับสิครับ ซื้อกับเซียนพระที่มีชื่อเสียงดีๆ และรับผิดชอบครับ และก่อนจะซื้อพระอะไรก็ศึกษาเสียหน่อยว่าพระแท้ๆ แบบนี้เขาดูอะไรประกอบ และมีมูลค่ารองรับหรือไม่ เท่าไหร่ แล้วจึงค่อยไปหาซื้อ ส่วนใหญ่ก็จบดี เก็บไว้ระยะหนึ่ง พอเวลาจะใช้เงินก็เอาไปขายให้กับเซียนคนไหนก็ได้เขาก็ซื้อ แถมบางครั้งก็มีมูลค่าเพิ่มอีกด้วยครับ วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จฯ กรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์เกศบัวตูม สวยๆ ดูง่ายแบบสากลนิยมมีมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #126 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2562 12:54:59 »


พระปิดตามหายันต์หลังอุณาโลม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ พัทลุง ล้วนเข้มขลังขมังเวทวิทยาคมมาก พระเกจิอาจารย์หลายๆ รูปของสายใต้มักจะมาจากสำนัก วัดเขาอ้อเป็นส่วนใหญ่ พระอาจารย์เอียดก็เป็นพระเกจิฯ รูปหนึ่งที่ศึกษามาจากสำนักวัดเขาอ้อ ท่านได้สร้างพระปิดตาที่เข้มขลังในด้านพุทธคุณไว้ให้แก่ศิษย์และต่างก็หวงแหนกันมากครับ

พระอาจารย์เอียดเกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2425 ที่บ้านดอนนูด ต.ชะมวง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โยมบิดาชื่อรอด โยมมารดาชื่อพัด นามสกุลทองโอ๋ ต่อมาบิดาได้ถึงแก่กรรม มารดาจึงได้นำท่านไปฝากเป็นศิษย์ท่านอาจารย์ทองเฒ่า สำนักเขาอ้อ และต่อมาในปี พ.ศ.2447 ท่านอาจารย์เอียดจึงได้อุปสมบท โดยมีพระอาจารย์ทองเป็นพระอุปัชฌาย์ และอยู่จำพรรษากับพระอาจารย์ทองเฒ่า พระอาจารย์เอียดขยันหมั่นเพียรในการศึกษาวิทยาการต่างๆ ท่านอาจารย์ทองเฒ่าจึงถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ของสำนักเขาอ้อให้จนหมดสิ้น จนเป็นที่ยอมรับและเชื่อใจแก่พระอาจารย์ทองเฒ่ามาก กระทั่งเคยออกปากท่ามกลางศิษย์วัดเขาอ้อว่า “ท่านเอียดเขาเป็นหนุ่มเป็นแน่นพลังจิตเข้มแข็งดีเหลือเกิน ทำได้ขลังมากนัก” และทั้งปรากฏว่าในครั้งต่อๆ มาท่านยังได้มอบหมายให้พระอาจารย์เอียดประกอบพิธีกรรมสำคัญแทนท่านหลายครั้ง

ต่อมาในปี พ.ศ.2460 ท่านอาจารย์ทองเฒ่าได้มอบหมายให้พระอาจารย์เอียดไปเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา เนื่องจากขณะนั้นไม่มีผู้ใดจะเหมาะสมไปกว่าอาจารย์เอียด อีกทั้งวัดดอนศาลาก็มีความสำคัญอยู่ไม่น้อย ซึ่งกล่าวได้ว่าวัดดอนศาลาเป็นวัดสาขาวัดหนึ่งของสำนักเขาอ้อเลยก็ว่าได้ ครั้นเมื่อท่านอาจารย์เอียดได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาแล้ว ท่านอาจารย์เอียดก็ได้ดูแลทำนุบำรุงวัดด้วยดีตลอดมา ทั้งดูแลเอาใจใส่อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรให้ตั้งมั่นใน พระธรรมวินัย รวมถึงได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ทั้งก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้น เพื่อที่ให้เป็นที่ศึกษาของลูกหลานชาวบ้านในแถบนั้นได้มีที่ศึกษาเล่าเรียน พระอาจารย์เอียดเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านเป็นอย่างมาก

พระอาจารย์เอียดได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์ หลังจากที่ท่านอาจารย์ทองเฒ่ามรณภาพไปแล้ว ท่านก็ได้เริ่มสร้าง ประมาณปี พ.ศ.2470 แต่ที่เป็นพิธีใหญ่และรู้จักกันมากก็คือพิธีสร้างพระมหาว่านขาว-ดำ ในปี พ.ศ.2483 ซึ่งในครั้งนี้ก็ได้มีการสร้างพระปิดตาแบบต่างๆ มีทั้งเนื้อโลหะและเนื้อตะกั่ว พระปิดตาเนื้อโลหะที่ได้รับความนิยมมีด้วยกันทั้งหมด 4 พิมพ์ คือ พระปิดตาพิมพ์สองหน้า พระปิดตาพิมพ์หน้าเดียวหลังเรียบ พระปิดตาพิมพ์หลังยันต์ใบพัด และพระปิดตาพิมพ์หลังยันต์นะอุณาโลม เนื้อโลหะมีทั้งเนื้อเหลืองและเนื้อออกแดง สร้างแบบหล่อโบราณเบ้าประกบ พุทธคุณเข้มขลังในทางมหาอุดคงกระพัน และแคล้วคลาดครับ

ในวันนี้ก็ได้นำพระปิดตามหายันต์หลังอุณาโลม จากพระเครื่องล้ำค่าเมืองใต้มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




เหรียญตอก 1 หลวงปู่แสง
พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถวัดบ้านแก้ง ต.เขมราฐ มีพระครูบริหารเกษมรัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์

มุ่งศึกษาพระปริยัติธรรม จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาด้านวิทยาคม อักขระ เลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ

หลังเดินธุดงค์ไปหลายจังหวัด กลับมาสู่มาตุภูมิจำพรรษาที่วัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่พระครูอุดมรังสี

ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบมา และยังเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลืองในห้วงเวลานั้น

นอกจากนี้ท่านยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โดยท่านทั้งสองยังเคยไปมาหาสู่กันตลอด

ปัจจุบัน ยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 108 ปี พรรษา 89

เมื่อเดือน ม.ค.2562 คณะลูกศิษย์ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญรุ่นตอก 1 หลวงปู่แสง เพื่อจัดหารายได้เป็นกองทุนรักษาธาตุขันธ์หลวงปู่ในวัย 108 ปี

เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 11 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทองคำ 39 เหรียญ, เนื้อนวะหน้าทองคำ 59 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาแดง 69 เหรียญ, เนื้อเงิน 199 เหรียญ, เนื้อนวะเต็มสูตร 399 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้า 599 เหรียญ, เนื้อทองทิพย์ 1,599 เหรียญ, เนื้อทองแดง 3,999 เหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญเป็นเหรียญรูปไข่ หูเชื่อม ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน ตรงกลางเหรียญมีรูปหลวงปู่หน้าตรงครึ่งองค์ห้อยลูกประคำ บริเวณมุมซ้ายของ อังสะสลักตัวเลขอารบิกเลข 1

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมสลักคำว่า หลวงปู่แสง จนฺทวํโส ถัดลงมาตอกโค้ดเป็นภาษาขอม ตัว ส ถัดลงมาอักขระยันต์ 5 บรรทัด ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัว หลวงปู่ บรรทัดต่อมาสลักคำว่า อายุ 108 ปี บรรทัดสุดท้ายครึ่งองค์รอบขอบเหรียญสลักคำว่า วัดโพธิ์ชัย ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ที่อุโบสถวัดโพธิ์ชัย เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2562 มีหลวงปู่แสงนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว 
    ข่าวสดออนไลน์



พระนางพญาเสน่ห์จันทร์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องบางองค์มีชื่อไพเราะและเป็นมงคลมาก เช่น ที่พูดถึงในวันนี้คือพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นพระกรุที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พระนางพญาเสน่ห์จันทร์เป็นพระที่มีพุทธลักษณะสวยงามแบบศิลปะสุโขทัย ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากแล้วครับ

พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ได้ถูกขุดพบโดยบังเอิญ เนื่องจากกรมศิลปากรได้ขุดแต่ง บูรณะโบราณสถานในจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2496 เรื่อยมา จนถึงปลายปี พ.ศ.2502 เมื่อขุดแต่งบริเวณฐานของพระองค์พระเจดีย์ วัดต้นจันทร์หรือวัดราวต้นจันทร์ ก็พบพระเครื่องนางพญาเสน่ห์จันทร์ และพบอีกที่วัดตาเถรขึงหนัง หรือวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม ซึ่งทั้ง 2 วัดมีอาณาเขตติดต่อกัน

ทั้ง 2 วัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ก่อนที่จะมีการพบพระนางพญาเสน่ห์จันทร์นั้น ในปี พ.ศ.2499 ทางกรมศิลปากรได้ขุดพบหลักศิลาจารึกหลักหนึ่ง ฝังจมดินอยู่บริเวณวัด ตาเถรขึงหนัง ศิลาจารึกหลักนี้เป็นหินชนวนสีเขียวชำรุดหักครึ่ง โดยเหลือแต่เพียงท่อนบนเท่านั้น ส่วนท่อนล่างหาไม่พบ จารึกเป็นภาษามคธและภาษาไทย ข้อความที่ศิลาจารึกก็พอแปลความสรุปได้ว่า วัดนี้ในสมัยสุโขทัย มีนามว่า "วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม สร้างเมื่อ พ.ศ.1943 ตรงกับสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไทย) และพระราชชนนีศรีธรรมราชมารดา เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้น โดยโปรดให้ไปอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิตติ ซึ่งเป็นพระสังฆราชจากเมืองกำแพงเพชร เพื่อเป็นประธานในการสร้าง พระอาวาสอาสน์อันดีมีชื่อ "ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม" ตามนามพระสังฆราชพระองค์นั้น

การขุดพบพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ในครั้งนั้นพบที่วัดต้นจันทร์ก่อน ขณะที่ทางการขุดลงไปในองค์พระเจดีย์และเปิดกรุที่บรรจุพระเครื่องต่างก็พากันตะลึงงัน เนื่องจากคนที่ลงไปในกรุเล่าว่า รู้สึกเหมือนตกอยู่ ในภวังค์ รู้สึกชุ่มชื่นอย่างประหลาด เพราะภายในกรุ่นไปด้วยกลิ่นแป้งร่ำกระแจะจันทร์ จึงอาจสันนิษฐานว่าสมัยนั้นเมื่อสร้างเสร็จแล้วนำมาบรรจุกรุ พระนางพญาเสน่ห์จันทร์คงถูกประพรมด้วยของหอมนานาชนิดไว้อย่างมากมาย เหตุนี้จึงมีกลิ่นหอมอบอวลดังกล่าว คงจะมาจากเรื่องราวของการเปิดกรุที่มีกลิ่นหอม ทางการจึงตั้งชื่อว่านางพญาเสน่ห์จันทร์ ต่อมาก็มีการเปิดกรุเจดีย์ของวัดตาเถรขึงหนังอีกต่อมา ก็ยังพบพระนางพญาเสน่ห์จันทร์บรรจุอยู่ในกรุนี้ด้วยปะปนกับพระเครื่องชนิดอื่นๆ มากมาย ภายในกรุแบ่งออกเป็นห้องๆ มี 8 ห้อง มีพระเครื่องนางพญาเสน่ห์จันทร์เป็นพื้น

พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ของทั้งสองกรุนั้นมีพุทธลักษณะคล้ายกันมาก ที่สังเกตง่ายๆ ก็คือของกรุวัดต้นจันทร์จะมีเส้นคลายเส้นจีวร อยู่ที่ใต้แขนด้านซ้ายมือขององค์พระ ยาวตั้งแต่ข้อมือซ้ายยาวขนานกับท่อนแขนเลยข้อศอกซ้ายเล็กน้อย ส่วนพระของกรุวัดตาเถรขึงหนังจะไม่มีเส้นนี้ พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อละเอียดแต่ตัวเนื้อจะไม่ค่อยแน่นสักเท่าไร พระทั้งสองกรุจะปรากฏคราบกรุเป็นฝ้าบางๆ สีนวลจับอยู่เกือบทั้งองค์พระ โดยเฉพาะตามซอกแขน คราบกรุนี้จะจับฝังแน่นกับผิวของพระ

ในปี พ.ศ.2503 ทางกรมศิลปากรได้นำพระนางพญาเสน่ห์จันทร์มาให้ประชาชนเช่าบูชา เนื่องจากพระที่พบมีจำนวนมากทั้งสองกรุ และเพื่อนำเงินไปเป็นปัจจัยในการบูรณะโบราณสถานต่อไป ในครั้งแรกสนนราคาที่ทางการเปิดให้นั้นราคาองค์ละ 30-40 บาทเท่านั้น ก็มีประชาชนไปเช่าบูชากันมากจนพระเริ่มเหลือน้อยลง จนในปี พ.ศ.2509 ราคาเช่าอยู่ที่ 400-500 บาท เมื่อพระหมดไปจากกรม ราคาก็ขยับขึ้นลงตามลำดับ พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ของทั้งสองกรุได้รับความนิยมทั้งสองกรุ แต่ด้วยจำนวนของวัดตาเถรขึงหนังมีมากกว่า จึงทำให้คนรู้จักกันมากกว่า จึงได้รับความนิยมสูงกว่าเล็กน้อย

เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้ที่ได้บูชาไป กล่าวว่ามีพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และด้วยพุทธศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์และงดงาม อีกทั้งพุทธคุณที่ปรากฏ จึงทำให้พระนางพญาเสน่ห์จันทร์หาได้ยากแล้วในปัจจุบัน สนนราคาค่อนข้างสูง และของปลอมเลียนแบบก็มีมากตามมาเช่นกันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ กรุวัดตาเถรขึงหนัง (วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม) จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระผงกระดูกผี วัดโพธิ์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระผงวัดโพธิ์ท่าเตียน หรือที่คนในยุคเก่าๆ จะเรียกว่า "พระผงกระดูกผี วัดโพธิ์" ในปัจจุบันอาจจะลืมเลือนกันไปบ้าง ไม่ค่อยได้มีใครพูดถึง แต่ความเป็นจริงเป็นพระที่ดังมากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นที่กล่าวขวัญกันมาอีกนาน จากอภินิหารต่างๆ ของพระวัดโพธิ์นี้ แต่ประวัติความเป็นมาและพระเกจิอาจารย์ผู้สร้างน้อยคนที่จะรู้

พระผงอัฐิวัดโพธิ์ท่าเตียน สร้างขึ้นเมื่อตอนสงครามอินโดจีนต่อกับสงครามโลกครั้งที่สอง ในครั้งนั้นวัดต่างๆ ก็สร้างวัตถุมงคลเพื่อให้แก่ทางการเพื่อแจกจ่ายให้กับทหารตำรวจและประชาชนเพื่อเป็นขวัญกำลังใจและปกป้องคุ้มครองภัย วัดโพธิ์ก็เป็นวัดหนึ่งที่สร้างวัตถุมงคลในครั้งนั้น พระผงอัฐิ วัดโพธิ์ฯ สร้างโดยพระอาจารย์หนู ซึ่งท่านเป็นพระที่เดินทางมาจากจังหวัดสุรินทร์ ท่านเป็นพระที่มีอาคมแก่กล้า และเชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณ ท่านจะเลี้ยงว่านต่างๆ ไว้มากมาย ในสมัยนั้นจะมีผู้คนไปให้พระอาจารย์หนูช่วยปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัย และไปขอให้ท่านช่วยรดน้ำมนต์ให้ อีกทั้งไปขอวัตถุมงคลต่างๆ จากท่านมากมาย

ประมาณปี พ.ศ.2485 ท่านพระอาจารย์หนูเห็นว่าประเทศไทยเดือดร้อน เนื่องจากฝ่ายพันธมิตรมาทิ้งระเบิดใส่ฐานทัพญี่ปุ่นในประเทศไทยหลายครั้ง สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว ประชาชนก็ได้รับผลกระทบไปด้วย มีประชาชนบาดเจ็บและเสียชีวิตจากลูกหลงหลายราย ท่านจึงได้สร้างพระเครื่องขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนนำไปคุ้มครองป้องกันตัว พระอาจารย์หนูเป็นพระที่มีวิชาอาคมมาก ท่านได้สร้างพระเครื่องขึ้นโดยผิดแปลกแตกต่างไปจากทั่วๆ ไป โดยท่านได้นำเอาเถ้ากระดูกของคนตายมาเป็นส่วนผสมเนื้อในการสร้างพระเครื่องของท่าน ซึ่งผู้สร้างจะต้องมีวิชาอาคมแก่กล้ามากๆ เนื่องจากจะมีแรงอาถรรพ์อยู่ในตัว โดยพระอาจารย์หนูจะเก็บรวบรวมผงเถ้าอัฐิจากเชิงตะกอน โดยพระอาจารย์หนูจะทำพิธีพลีกรรมก่อนทุกครั้งตามวิชาที่ท่านเรียนมา นอกจากนี้ ท่านยังได้นำว่านโพงมาบดผสมเข้าไปด้วย ส่วนว่านโพงนี้ชาวบ้านจะเรียกกันว่าว่าน "กระสือ" เชื่อว่ามีอาถรรพ์มากมักขึ้นอยู่ในป่าลึก หากมีสัตว์พลัดหลงเข้าไปในบริเวณดงว่านชนิดนี้ จะถูกดูดกินเลือดจนตาย คนที่มีวิชาอาคมมักจะนำว่านชนิดนี้มาเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน

การที่พระอาจารย์หนูได้นำวัตถุอาถรรพ์ที่ดูๆ แล้วน่ากลัวมาสร้างพระนั้น ท่านก็ได้มีการพลีกรรมต่างๆ อย่างถูกต้องตามตำรา สำหรับผู้ที่ใช้พระเครื่องของท่านกลับได้แต่ผลดี และได้ผลในด้านคุ้มครองป้องกันตัว แม้แต่มีอยู่ในบ้านขโมยเข้ามายังสติฟั่นเฟือนไปเลย อานุภาพคล้ายๆ กับประเภทเครื่องรางของขลังต่างๆ พระเครื่องของท่านนั้นเฮี้ยนมาก เห็นผลกันทุกราย เรื่องเล่ามากมายจากผู้ใหญ่เขาคุยกันหรือเล่าให้ฟัง มีทั้งที่ผู้ที่ห้อยคออยู่ไปไหนมาไหนตอนกลางคืนจะมีคนเห็นมีคนเดินมาด้วยหลายคน เช่น คนขี่รถสามล้อขี่รถออกหาเงินก็ไม่มีใครเรียก กลับไปเรียกคันหลัง เนื่องจากเขาเห็นมีคนนั่งอยู่ในรถแล้ว มีอยู่เรื่องหนึ่งชายหนุ่มคนหนึ่งห้อยพระผงกระดูกผีติดตัว ไปจีบสาวสวยต่างบาง และสาวผู้นี้ก็มีหนุ่มหมายปองอยู่หลายคน รวมทั้งหนุ่มๆ เจ้าถิ่นด้วย แต่สาวเจ้าก็ดูจะชอบหนุ่มต่างถิ่นคนนี้ ทำให้พวกเจ้าถิ่นไม่พอใจ วันหนึ่งจึงดักจะทำร้าย บ้านของสาวเจ้าก็อยู่เข้าไปในซอยลึกหลังวัด และทางก็ค่อนข้างเปลี่ยวในเวลากลางคืน พวกของเจ้าถิ่นก็มาซุ่มคอยดักทำร้ายในเวลากลางคืนที่เจ้าหนุ่มต่างถิ่นเดินกลับออกมา ปรากฏว่าพวกที่มาดักทำร้ายนั้นไม่กล้าทำอะไร ได้แต่แอบซุ่มอยู่อย่างนั้น เพราะว่าเจ้าหนุ่มต่างถิ่นเดินกันมาหลายคน และคนที่มาด้วยท่าทางหน้าตาดูดุดันทุกคน ทั้งๆ ที่หนุ่มต่างถิ่นมาคนเดียวแท้ๆ เรื่องมารู้กันภายหลังจากที่หนุ่มต่างถิ่นแต่งงานกับสาวสวยไปแล้ว และต่อมาได้มาเป็นเพื่อนกับพวกเจ้าถิ่น จึงได้พูดคุยกันและรับสารภาพว่าในวันนั้นเคยจะซุ่มดักทำร้าย และถามว่าวันนั้นไปยกพวกมาจากไหนเยอะแยะ ทั้งๆ ที่เห็นว่าตอนนั้นมาคนเดียว หนุ่มต่างถิ่นก็งงๆ อยู่และตอบตามความจริงว่ามาคนเดียวจริงๆ แต่พวกเจ้าถิ่นก็ไม่ค่อยเชื่อเพราะเห็นกับตา ทุกคนว่ามากันเยอะแยะไปหมด เรื่องนี้ก็สรุปว่าเป็นอาถรรพ์ของ พระผงกระดูกผี ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ก็เล่าสืบต่อกันมามากมาย ผมเองตอนเด็กๆ ก็อยากได้เหมือนกัน แต่ก็กลัวผีอยู่ด้วยเหมือนกัน จึงไม่กล้าหามาห้อยคอครับ ในปัจจุบันนี้พระผงกระดูกผีค่อนข้างหาของแท้ๆ ยากนะครับ ของปลอมก็มีทำกันเยอะ ถ้าท่านผู้ใดมีพระผงกระดูกผีของแท้ไว้ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้าของเถ้ากระดูกบ้าง จะได้โชคลาภสมปรารถนาครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระผงกระดูกผี พิมพ์ปิดตามาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระลีลากรุวังหิน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธรูปปางลีลาเป็นศิลปะในพระพุทธรูปที่กำเนิดขึ้นเป็นแห่งแรกในสมัยกรุงสุโขทัย และเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงามที่สุด มีการ ทำเป็นแบบพระพิมพ์หรือพระเครื่องอยู่ก็หลายวัด หลายกรุ หลายจังหวัด ล้วนมีศิลปะที่สวยงามทั้งสิ้น

พระกรุที่ทำเป็นพระปางลีลาก็มีอยู่หลายกรุเช่นกัน พระลีลากรุวังหินเป็นพระเครื่องปางลีลาที่มีศิลปะสวยงามมากแบบหนึ่ง พบที่วัดวังหิน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก พระกรุนี้พบพระลีลาเนื้อชินเงิน แยกได้เป็น 3 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก พุทธลักษณะคล้ายๆ กัน ผิดกันเพียงแค่มีขนาดใหญ่เล็กต่างกันเท่านั้น พระพิมพ์เล็กจะมีจำนวนมากกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่าพิมพ์อื่น พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืนปางลีลาหันหน้าไปทางซ้ายมือเรา ยกพระหัตถ์ขวาขององค์พระเสมอไหล่ เส้นขอบสบงปรากฏชัด จีวรห่มแนบเนื้อ มีชายจีวรเป็นริ้วลงมาข้างองค์พระเสมอถึงข้อเท้า ศิลปะอ่อนช้อยงดงาม

พระกรุนี้แตกกรุมานานมาก ไม่ต่ำกว่า 90 ปีแล้ว จำนวนพระที่สมบูรณ์ก็พบไม่มากนัก ในสมัยก่อนจึงหวงแหนกันมาก และไม่ค่อยแพร่หลายออกมาจากท้องถิ่น ในปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน พุทธคุณเด่นทางด้านเจริญก้าวหน้า เมตตา แคล้วคลาด พระลีลาที่มีศิลปะสวยงามแบบสุโขทัยก็ต้องยกให้พระลีลากรุวังหินเป็นกรุหนึ่งที่มีศิลปะสวยงามมาก อีกทั้งพุทธคุณก็ยอดเยี่ยม เพียงแต่ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ จนน่าเสียดายที่จะไม่ค่อยได้พูดถึงกัน

พระกรุพระเก่านอกจากจะเป็นพระเครื่องที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแล้ว ศิลปะในยุคสมัยต่างๆ ก็บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในแต่ละยุคด้วย ความงดงามที่ช่างผู้แกะแม่พิมพ์บรรจงสอดใส่ไว้ในองค์พระนั้น ถ้าเราใช้แว่นขยายส่องดูก็จะพบว่ามีความสวยงามตามยุคสมัยอยู่ในองค์พระด้วย ถ้าเราศึกษาศิลปะยุคสมัยควบคู่ไปกับการสะสมพระ และเราพิจารณาดูศิลปะในพระแต่ละยุค เราก็จะได้เห็นความงดงามและสิ่งต่างๆ ที่ช่างได้บรรจงใส่ไว้ในองค์พระ ถ้าเช่าพระกรุพระเก่ามาหนึ่งองค์แล้วเราศึกษาศิลปะยุคสมัยไปด้วยก็จะได้ความรู้ความเพลิดเพลินไปด้วยเป็นของแถม และเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ก็จะได้ตามมาด้วย ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถพิจารณาพระชนิดนั้นๆ ได้ไปด้วยครับ

พระลีลากรุวังหินก็เป็นทั้งพระเครื่องที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจ ช่วยปกป้องคุ้มครอง อีกทั้งมีศิลปะที่งดงามของศิลปะสุโขทัย เมื่อมองดูก็รู้สึกสบายใจสวยงาม จึงเป็นพระเครื่องแบบหนึ่งที่น่าสะสมและศึกษา แต่ก็เป็นพระที่หายากแบบหนึ่งครับ นอกจากนี้ ก็มีพระปลอมเลียนแบบมานานแล้วเช่นกัน เนื่องจากเป็นพระที่นิยมกันมาแต่โบราณแล้ว ดังนั้นเวลาจะเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดีๆ และเช่าหาจากผู้ที่เชื่อถือได้จะดีกว่าครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระลีลากรุวังหิน พิมพ์เล็ก จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



ร่องรอยการสร้างของพระเครื่อง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หัวข้อเรื่องร่องรอยการสร้างพระเครื่อง ครับเรื่องนี้สำคัญมากสำหรับการชี้ชัดว่าเป็น พระแท้หรือไม่อย่างไรข้อหนึ่งเลย ท่านอาจจะงงว่ามันคืออะไรและอย่างไรจึงสำคัญในการชี้วัดความแท้หรือไม่แท้ของพระเครื่อง

ครับการพิจารณาพระเครื่องว่าแท้หรือไม่นั้นก็มีสิ่งที่หลายๆ ท่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังเสมอกับคำว่า "จุดตำหนิ" บางท่านอาจจะเข้าใจว่ามีเพียงแต่จุดรายละเอียดของแม่พิมพ์เท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วนอกจากลักษณะรายละเอียดของแม่พิมพ์แล้ว ก็ยังมีรายละเอียดของธรรมชาติ การผลิตหรือการสร้าง พระเครื่องนั้นๆ ด้วย

จุดตำหนิก็คือร่องรอยการผลิตอย่างหนึ่ง เช่น ลักษณะหน้าตาของแม่พิมพ์ มีจุดมีขีดใดๆ บ้างที่เกิดความผิดพลาดจากการแกะแม่พิมพ์ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องรู้ก่อนเป็นอันดับแรก และก็คือร่องรอยการผลิตแบบหนึ่ง นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนอื่นๆ อีก เช่น ตัวแม่พิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์พระมีลักษณะเป็นอย่างไร และเมื่อนำมาใช้พิมพ์พระจะเกิดร่องรอยอะไรบ้าง

กรรมวิธีการสร้างก็มีร่องรอยทิ้งไว้ให้เห็นอีก เช่น ขอบข้างธรรมชาติของด้านหลัง แม้แต่เนื้อหาของพระก็เป็นร่องรอยการผลิตทั้งสิ้น กรรมวิธีการสร้างพระในแต่ละยุค และที่สำคัญที่สุดก็คือกรรมวิธีการสร้างของพระรุ่นนั้นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นร่องรอยการผลิตเฉพาะรุ่นนั้นๆ แม้แต่ว่าจะเป็นพระที่สร้างของวัดเดียวกัน โรงงานเดียวกันแต่คนละรุ่นกันก็จะปรากฏร่องรอยไม่เหมือนกัน

เรื่องร่องรอยการผลิตนั้นไม่ว่าจะเป็น สินค้าใดๆ ก็ตาม ยี่ห้อเดียวกันโรงงานเดียวกัน แต่ต่างรุ่นกันก็ยังมีร่องรอยการผลิตที่ไม่เหมือนกัน พระเครื่องก็เช่นกันครับ ผมจะยกตัวอย่างเช่นเหรียญ เอาเหรียญหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติรุ่นแรกก็แล้วกัน ร่องรอยการผลิตนั้นทิ้งบางสิ่งบางอย่างให้เราเห็น เช่น แม่พิมพ์ด้านหน้าเป็นคลื่นไม่เรียบ ด้านหลังตัวยันต์มีตำหนิเนื้อเกินที่ตัวยันต์เป็นรูปคล้ายตะขอที่ปลายยันต์ จึงเรียกว่าพิมพ์ขอเบ็ด ขอบด้านข้างเป็นแบบขอบกระบอก

ต่อมาเหรียญรุ่นนี้หมดไป ทางวัดก็ให้โรงงานทำขึ้นใหม่อีก โดยใช้แม่พิมพ์เดิม แต่แม่พิมพ์เดิมใช้ได้แต่แม่พิมพ์ด้านหน้า จึงต้องแกะแม่พิมพ์ด้านหลังใหม่ ทีนี้แม่พิมพ์ด้านหน้าเมื่อจะนำมาปั๊มใหม่ก็ต้องล้างสนิมบนแม่พิมพ์เสียก่อน ร่องรอยที่ปรากฏบนเนื้องานก็จะสังเกตเห็นได้เพียงด้านหน้า โดยไม่ต้องไปพลิกด้านหลังดูก็จะรู้ว่าเป็นเหรียญรุ่นหลังก็คือ เมื่อแม่พิมพ์ที่เป็นสนิมมาปั๊มใหม่ เมื่อล้างสนิมออกก็จะเป็นร่องรอยสนิมเป็นหลุมเป็นบ่อเล็กๆ

เมื่อนำมาปั๊มใหม่ก็จะเห็นว่ารอยที่เป็นหลุมเล็กๆ นั้นก็จะนูนขึ้นมา ลักษณะเป็นเม็ดผด ที่ในสังคมพระเครื่องมักจะเรียกว่า "พิมพ์ขี้กลาก" เนื่องจากลักษณะเม็ดผดมองคล้ายๆ กับเม็ดผดของขี้กลาก นอกนั้นด้านหลังก็จะไม่เหมือนเพราะแกะแม่พิมพ์ใหม่ ขอบข้างก็เป็นคนละแบบเพราะทำขอบข้างใหม่ นี่ก็เป็นตัวอย่างว่า แม้จะเป็นโรงงานเดียวกัน แม่พิมพ์ตัวเดิมก็จะไม่เหมือนกัน และจะทิ้งร่องรอยการผลิตไว้ให้เห็นได้

ตัวอย่างที่ 2 เอาเป็นพระสมเด็จที่ เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างก็แล้วกันนะครับ พระสมเด็จทั้งของวัดระฆังฯ และวัดบางขุนพรหมก็เป็นพระสมเด็จที่เจ้าประคุณฯ สมเด็จสร้างทั้งสิ้น เวลาก็ใกล้เคียงกัน ห่างกันไม่กี่ปี พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมหลายๆ ท่านก็ทราบอยู่แล้วว่าพระวัดบางขุนพรหมนั้นบรรจุกรุ แล้วพระบางส่วนที่ไม่บรรจุกรุมีไหม ก็ต้องตอบว่ามี

เนื่องจากแจกก่อนบรรจุกรุไปบางส่วนแต่ก็น้อยมาก และอีกส่วนก็คือพระที่เรียกว่าพระกรุเก่า ซึ่งจากบันทึกก็มีบอกไว้ว่า หลังจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นได้หนึ่งปี ก็มีการแอบตกพระออกมาจากกรุแล้ว และก็แอบตกออกมาเรื่อยๆ ดังนั้นก็มีพระจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ปรากฏคราบกรุ หรือมีบ้างแต่น้อยมาก คราบกรุของบางขุนพรหมที่เห็นได้ชัดก็คือพระที่ขึ้นจากกรุหลังปี พ.ศ.2485 ทำไมและเหตุผลอะไรจึงทำให้มีคราบกรุหรือขี้กรุเยอะหลังปี พ.ศ.2485 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ วัดบางขุนพรหมก็ถูกน้ำท่วมสูงเช่นกัน และน้ำก็ท่วมกรุด้วย พระที่อยู่ในกรุก็ถูกแช่น้ำอยู่นาน เนื้อปูนขาวเมื่อถูกแช่น้ำเป็นเวลานานก็เกิดปฏิกิริยาเปื่อยยุ่ย และเกิดคราบกรุพอกพูนโดยเฉพาะพระที่ถูกแช่น้ำ ที่อยู่พ้นน้ำหน่อยก็ยังดี แต่ความชื้นก็ยังมีทำให้เกิดคราบกรุได้

เอาล่ะเรามาพูดกันต่อในพระกรุบางขุนพรหมที่มีพิมพ์เดียวกับของวัดระฆังฯ และเป็นพระกรุเก่าที่ไม่มีคราบกรุ เนื้อหาก็หนึกนุ่มแบบพระสมเด็จวัดระฆังฯ สำหรับพระพิมพ์ที่แตกต่างจากของพระวัดระฆังฯ หรือมีคราบกรุก็ไม่มีปัญหา แต่พระที่มีพิมพ์แบบของวัดระฆังฯ ล่ะ แถมไม่มีขี้กรุอีก ในสมัยก่อนก็มีคำว่า "พระสองคลอง" หมายความถึงพระที่สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่วัดระฆังฯ แต่นำมาบรรจุร่วมด้วย ครับก็อาจจะเป็นไปได้ในข้อสันนิษฐานนี้

แต่ก็มีพระบางองค์ชี้แยกออกได้เลยว่าเป็นพระที่สร้างในครั้งที่สร้างของวัดบางขุนพรหม เนื่องจากธรรมชาติการผลิตที่ทิ้งร่องรอยไว้นั้นมีเอกลักษณ์เหมือนๆ กัน ในแต่ละครั้งที่สร้าง เช่น พระสมเด็จฯ วัดบางขุนพรหมทุกพิมพ์ จะมีร่องรอยให้เห็นว่าด้านหน้าจะมีการเซาะร่องขอบแม่พิมพ์ยกขึ้นเห็นได้ชัด แม้ว่าองค์พระจะสึกหรอไปบ้างก็ยังทิ้งร่องรอยให้เห็นไม่ว่าด้านใดก็ด้านหนึ่ง ส่วนของวัดระฆังฯ นั้นไม่มี เป็นเพียงร่องรอยของขอบธรรมดาทิ้งไว้เท่านั้น ไม่ขึ้นเป็นสันแบบของวัดบางขุนพรหม ในสมัยก่อนจึงมีการบอกว่า วัดระฆังฯ ตัดหลังไปหน้า บางขุนพรหมตัดหน้าไปหลังอะไรทำนองนี้ สิ่งเหล่านี้ก็คือร่องรอยการผลิตที่ใช้สังเกตแยกวัดได้ ต่อมาดูที่ด้านหลังของพระทั้งสองวัด ก็แตกต่างกันอย่างมีเอกลักษณ์ให้เห็น ในสมัยที่พี่ลิใหญ่ ผู้ใหญ่ของสังคมพระเครื่องตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้รับการยกย่องว่าเชี่ยวชาญในด้านพระเครื่อง โดยเฉพาะพระสมเด็จฯ ท่านดูแต่ด้านหลังอย่างเดียวก็บอกได้ว่าเป็นของวัดระฆังฯ หรือวัดบางขุนพรหม แท้หรือไม่ และบางครั้งท่านก็ยังบอกอีกว่าพิมพ์อะไร ที่เพียงเห็นแต่ด้านหลังของพระเท่านั้น และไม่เคยพลาดเลย ทำให้หลายๆ คนสงสัยกันมาก และมีการทดสอบกับท่านหลายครั้งก็ไม่เคยผิดพลาด

หลายๆ คนก็อยากจะรู้แต่ท่านก็สอนให้เป็นบางคนเท่านั้น ท่านสังเกตจากร่องรอยการผลิตที่ทิ้งไว้ในการสร้างพระแต่ละครั้ง ซึ่งก็เป็นข้อยุติชี้ขาดได้เลย เรื่องธรรมชาติด้านหลังของพระทั้งสองแบบ ผมก็ได้รับถ่ายทอดมาและพิสูจน์ดูก็เป็นจริงตามที่ท่านบอก แต่ขอยังไม่พูดถึงนะครับ เพราะที่พูดมานี้ก็เพื่อที่จะบอกว่าร่องรอยการผลิตนั้นสำคัญมากในการพิจารณาพระว่าแท้หรือไม่แท้อย่างไร

พระทุกชนิดทุกๆ แบบมีร่องรอยการผลิตทั้งสิ้นและพวกปลอมพระยังทำไม่ได้ และไม่มีทางทำได้ แม้พยายามทำอย่างไรก็ไม่ได้ ทำได้ก็เพียงใกล้เคียงเท่านั้น เพราะสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติของการผลิตในแต่ละครั้งเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิด แต่เกิดขึ้นเองครับ

สิ่งเหล่านี้ทำไมพวกเซียนเขาดูรู้ได้ ก็เพราะเขาศึกษาร่องรอยการผลิตมาครับว่าแต่ละรุ่น แต่ละพระนั้นมีร่องรอยการผลิตอย่างไร และศึกษาเป็นรุ่นๆ ไป แบบเรื่องขอบเหรียญนั่นแหละครับ คนไม่รู้ก็คือคนไม่รู้ บางครั้งก็เถียงไปแบบไม่รู้ข้างๆ คูๆ ไป ทุกอย่างย่อมมีเหตุผลอธิบายได้เป็นวิทยาศาสตร์ครับ

วันนี้เอาเท่านี้ก่อนนะครับ และวันนี้ ผมได้นำรูปพระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ทั้งของวัดระฆังฯ และของวัดบางขุนพรหม ด้านหน้าและด้านหลัง มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #127 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2562 12:59:33 »


พระเลี่ยง กรุวัดประตูลี้

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสกุลลำพูนมีพระเครื่องอยู่หลายแบบ พระกรุที่เด่นๆ ก็จะเป็นพระกรุของ วัดประจำทิศทั้ง 4 ของเมืองหริภุญชัย ที่พระนางจามเทวีได้ทรงสร้างไว้ ได้แก่ วัดมหาวัน วัดพระคงฤๅษี วัดประตูลี้ และวัดดอนแก้ว พระกรุของวัดทั้ง 4 มีพระเด่นของแต่ละกรุเช่นกัน คือวัดมหาวันก็จะ เป็นพระรอด พระกรุวัดประตูลี้ก็จะเป็นพระเลี่ยง พระกรุวัดพระคงฤๅษีก็จะเป็นพระคง พระกรุวัดดอนแก้วก็จะเป็นพระบาง เป็นต้น

พระเครื่องกรุวัดประตูลี้เท่าที่มีบันทึกระบุว่ามีการขุดพบพระเครื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2417 โดยเจ้าหลวงดิเรกรัตนไพโรจน์ (ดาวเรือง) เจ้าหลวงลำพูนองค์ที่ 8 ได้ปฏิสังขรณ์พระอารามแห่งนี้ และได้พบพระเครื่องชนิดต่างๆ เช่น พระเลี่ยง พระเลี่ยงหลวง พระลือ พระสาม และพระสิบสอง เป็นต้น ต่อมาในปี พ.ศ.2484 ก็มีการขุดหาพระเครื่องที่วัดประตูลี้อีกใน ยุคของเจ้าหลวงจักรคํา ขจรศักดิ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาของสงครามอินโดจีนและได้ พระเครื่องของกรุนี้เป็นจำนวนมาก พระที่พบได้แก่ พระเลี่ยง พระเลี่ยงหลวง พระลือ พระสาม และพระสิบสอง พระแปด เป็นต้น การขุดหาพระเครื่องครั้ง ต่อมาก็คือปี พ.ศ.2499 เป็นการขุดพบ โดยบังเอิญ โดยสามเณรอินตา และนายคำแก้วตา ได้ขุดถอนต้นมะพร้าวซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของพระอาราม ได้ขุดพบโถโบราณเนื้อดินเผาใบหนึ่ง ลักษณะคล้ายตะเกียงหลอดมีฐาน เป็นชั้นๆ ภายในโถมีพระเลี่ยงหลวงบรรจุอยู่

ในบรรดาพระเครื่องที่ขุดได้ที่วัดประตูลี้ พระที่มีขนาดเล็ก และมีจำนวนมากที่สุดก็คือพระเลี่ยง ในครั้งที่พบพระในตอนแรกก็จะเรียกพระเลี่ยงว่า “พระเลี่ยม” ซึ่งเป็นคำเมืองเดิม ที่หมายความว่าแหลมเรียว เนื่องจากรูปทรงของพระเลี่ยงเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมปลายแหลมเรียว การตั้งชื่อพระในสมัยที่ขุดได้นั้นก็ตั้งกันง่ายๆ ตามรูปลักษณ์ที่เห็น แต่ต่อมาก็ได้เรียกเพี้ยนหรือเพื่อให้ได้เป็นนามมงคลก็ไม่ทราบได้ จึงกลายมาเป็นเลี่ยงและสอดคล้องกับพุทธคุณที่เด่นทางด้านแคล้วคลาดที่ว่า เลี่ยงลี้พ้นภัยพาล อะไรทำนองนี้ และพระเลี่ยงก็มีพุทธคุณเด่น ทางด้านแคล้วคลาดด้วยครับ

พระเครื่องของกรุนี้ที่เด่นอีกชนิดหนึ่ง ก็คือพระลือ แต่ก็มีขนาดเขื่องกว่าพระเลี่ยง นอกจากนั้นก็จะเป็นพระขนาดค่อนข้างใหญ่ เช่น พระเลี่ยงหลวง (คำว่าหลวงหมายถึงใหญ่) พระสาม พระแปด พระสิบสอง เป็นต้น พระเลี่ยงเป็นพระที่จำนวนการ พบมากกว่าพระชนิดอื่นๆ และมีขนาดกำลังพอเหมาะที่จะห้อย แขวนคอ จึงได้รับความนิยมมากกว่าพระเครื่องแบบอื่นๆ ในกรุเดียวกัน

ปัจจุบันพระเลี่ยง กรุวัดประตูลี้นั้นหาแท้ๆ ยาก ของปลอมเลียนแบบมีมากมายหลากหลายฝีมือ เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ หน่อย นอกจากนี้ก็ยังมีพระเลี่ยงที่มาจาก กรุอื่นๆ อีกหลายกรุ แต่แบบพิมพ์ก็จะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ที่นิยมมากที่สุด ก็จะเป็นพระเลี่ยงของกรุวัดประตูลี้ครับ เนื้อหาของพระเลี่ยง กรุวัดประตูลี้ ก็เป็นแบบเดียวกับพระสกุลลำพูน จะมีเนื้อ ค่อนข้างหนึกนุ่ม มีกรวดทรายผสมอยู่ แต่ก็ค่อนข้างละเอียด สนนราคาในปัจจุบันพระเลี่ยงกรุนี้ค่อนข้างสูงมากพอสมควร

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเลี่ยง กรุวัดประตูลี้ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระแท้ตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับขายได้แน่

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อวันก่อนมีคนรู้จักโทร.มาหาและขอคำปรึกษาเรื่องพระเครื่องก็คือพระสมเด็จฯ เขานำมาให้ผมดู 2 องค์ องค์แรกก็ทำแบบพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯ องค์ที่ 2 เป็นแบบพระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้าย บางขุนพรหม แล้วเขาก็บอกว่าช่วงนี้ต้องการเงินจึงอยากจะสอบถามว่า พระทั้งสององค์แท้หรือไม่ ราคาเท่าไหร่เผื่อจะได้ขาย

ผมก็พิจารณาตามที่ผมพอรู้จึงตอบเขาอย่างเกรงใจไปว่า พระองค์แรกไม่ทราบว่าเป็นของวัดไหน เขาจึงบอกว่าพระสมเด็จ วัดระฆังฯไง เขาได้มา 40 ปีแล้ว พระที่ วัดระฆังฯให้มาและบอกว่า อายุเป็นร้อยปีแล้วผมเองก็งง ตกลงเขาจะถามหรือจะให้ผมยอมรับพระเขาแล้วก็เช่าไว้แน่ องค์ที่ 2 ผมก็เลยบอกว่าเป็นพิมพ์ฐานเส้นด้าย บางขุนพรหม เขาก็ถามราคาพระทั้ง 2 องค์ ผมก็เลยบอกว่า พระทั้ง 2 องค์ยังผิด พิมพ์อยู่นะ ผมคงยังไม่ซื้อไว้ เขาก็บอกว่า พระองค์ที่ 2 ที่ผมว่าพิมพ์ยังผิดอยู่นั้น ความจริงคือพระกรุของวัดคณิกาผล (วัดใหม่ยายแฟง) พระสมเด็จนี้ท่านเจ้าอาวาสได้เปิดกรุเพื่อนำมาหาปัจจัยสร้างบำรุงวัด ในตอนนั้นเขาไปทำข่าวก็ได้รับมาจากเจ้าอาวาสหนึ่งองค์ คือองค์นี้ เขายังเล่าประวัติของวัดนี้ และตอนสร้างวัดเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระสมเด็จฯ บรรจุไว้ด้วย

ผมเองก็งงนึกในใจว่าก็รู้ประวัติอยู่แล้วมาถามทำไม? เขาก็บอกว่าอยากจะขาย และมีคนที่ดูแล้วว่าดี นอกจากพระทั้ง 2 องค์ ก็ยังมีพระเนื้อดินของกรุวัดชนะและอื่นๆ บางองค์ก็แท้ตามมาตรฐาน ผมก็บอกไปว่าแท้ เขาก็ถามราคา ผมก็บอกว่าหลักพันบ้างหลักหมื่นบ้าง ปรากฏว่าพระเหล่านั้นเขายังไม่ขาย บอกว่าได้ราคาน้อยไม่พอใช้ สรุปก็คือเขาอยากได้เงินหลักล้าน และก็ยังแย้งเรื่องพระวัดใหม่ ยายแฟงอีก ผมก็บอกว่าเรื่องประวัติวัดใหม่ยายแฟงค้นหาดูก็มีบันทึกไว้ แต่ไม่มีเรื่องการสร้างพระของเจ้าประคุณสมเด็จฯ เขาก็ว่ามีประวัติที่วัด ผมก็เลยไม่โต้แย้งต่อ แต่เขาก็ ยังไม่เลิกอยากจะให้ตีราคาพระสมเด็จฯ ทั้งสององค์ ผมก็บอกว่าผมเองไม่ได้เล่นหาพระประเภทนี้ ใครที่บอกว่าดีก็ให้ไปขายให้กับเขาก็จบ ส่วนผมเองคงไม่ซื้อ

สรุปเรื่องนี้เขาจงใจที่จะนำพระมาขายให้ผมคนเดียว และจะให้ซื้อให้ได้ เหนื่อยครับสำหรับเรื่องเหล่านี้ ผมเจอแบบนี้บ่อยๆ เหมือนกัน บอกความจริงก็ไม่เชื่อแถมยังโกรธอีกด้วย ให้ไปขายคนอื่นก็ไม่ไป ผมบอกแล้วว่าผมดูพระไม่เป็น แค่ซื้อพระเป็นเท่านั้น และจะซื้อก็ซื้อเฉพาะพระที่ชอบเท่านั้น จะแท้ไม่แท้อย่างไรก็แล้วแต่ถ้าไม่ชอบก็คงไม่ซื้อ ถ้าพระที่ชอบแต่ไม่มีเงินซื้อก็ยังพอที่จะแนะนำคนที่จะซื้อให้ได้ แต่นี่จะให้ผมช่วยซื้อให้ได้ แถมจะเอาเงินเป็นล้านอีกด้วย

พระสมเด็จพิมพ์ฐานเส้นด้าย ถ้าเป็นของกรุวัดบางขุนพรหมถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับ พระแบบนี้ไปที่ไหนก็มีแต่คนขอเช่าหรือซื้อทั้งนั้นไม่ต้องห่วง แม้จะหักชำรุดก็ยังมีคนขอเช่า แต่ก็ต้องถูกต้องตามมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับก็แล้วกัน พระอะไรก็ตามแต่ถ้าไม่ถูกต้องตามมาตรฐานที่มูลค่ารองรับ ก็คงจะขายไม่ได้ครับ ไม่ว่าจะเก็บมานานแค่ไหน หรือมีประวัติความเป็นมา ที่เชื่ออย่างไรก็ตามก็ขายไม่ได้ ดังนั้นเรื่องความแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับนั้นมีความสำคัญ และเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ครับ ส่วนที่ตัวเองว่าดีถูกต้องก็ต้องยอมรับความคิดเห็นของสังคมด้วย ถ้าคิดว่าดีก็เก็บไว้ไม่มีใครว่าอะไร แต่พอเดือดร้อนจะนำมาขายเปลี่ยนเป็นเงินก็ต้องว่ากันตามมาตรฐานของสังคมด้วยครับ ไม่ใช่เขาไม่ซื้อก็มาว่า "แท้แต่ของพวกมัน ของคนอื่นเก๊หมด" ผมได้ยินคำนี้บ่อยๆ ก็หาแบบที่เขาซื้อสิ ดูซิว่าจะขายได้ไหม พระสมเด็จฯไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ หรือวัดบางขุนพรหม ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านสร้างไว้ถ้าแท้ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับ เงินล้านได้แน่ๆ ครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์ฐานเส้นด้าย องค์สวยๆ สมบูรณ์มาให้ชมกันอีกองค์ พระแบบนี้ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีคุณค่ารองรับ และหลายล้านแน่ครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระสมเด็จหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร กทม.

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ภูศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต พรหมรังสี) และได้สร้างพระรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบ พระสมเด็จไว้ที่วัดอินทรวิหาร และได้รับความนิยมสูง เชื่อกันว่าหลวงปู่ภูได้เก็บผงวิเศษ 5 ประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้ แล้วนำมาเป็นส่วนผสมในการสร้าง พระของท่านด้วย

พระครูธรรมานุกูล (ภู จันทสโร) เกิดที่ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในปีพ.ศ.2373 เมื่ออายุได้ 9 ขวบ บิดามารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าคอย และได้เรียนหนังสือที่สำนักวัดท่าแค จนอายุได้ 21 ปี พ.ศ.2394 จึงได้อุปสมบทที่วัดท่าคอย ได้รับฉายาว่า "จันทสโร" หลังจากนั้นท่านก็ได้ออกธุดงค์กับพระพี่ชายเพื่อบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน และอยู่จำพรรษาตามสถานที่ต่างๆ โดยลำดับ ต่อมาได้ธุดงค์มาจนถึงกรุงเทพฯ เข้ามาจำพรรษาที่วัด สระเกศ วัดสามปลื้ม วัดม่วงแค วัดท้ายตลาด ตามลำดับ ท้ายที่สุดหลวงปู่ภูก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหมนอก ในขณะนั้น)

ระหว่างที่หลวงปู่ภูมาจำพรรษาอยู่กรุงเทพฯ นั้นท่านก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ และได้ศึกษาวิปัสสนาธุระกับเจ้าประคุณ สมเด็จฯ และถือว่า เป็นศิษย์ใกล้ชิดกับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ มากรูปหนึ่ง และเคยได้ออกธุดงค์ร่วมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ หลายแห่ง ในการสร้างองค์หลวงพ่อโต วัดอินทร์ (พระศรี อาริยเมตไตรย) ท่านก็มีส่วนช่วยสร้าง หลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ มรณภาพแล้ว หลวงปู่ภูก็ได้เป็นธุระในการสร้างต่อจวบจนกระทั่งหลวงปู่ภูมรณภาพ

หลวงปู่ภูดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอินทร์ในปีพ.ศ.2432 และในปีพ.ศ.2435 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูธรรมา นุกูล" เป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารจนถึงปีพ.ศ.2476 สิริอายุได้ 103 ปี พรรษาที่ 82

หลวงปู่ภูได้สร้างพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จ ในปี พ.ศ.2463 เพื่อแจกแก่ผู้ที่ได้สมทบทุนในการสร้างองค์พระหลวงพ่อโต (พระศรีอาริยเมตไตรย) ต่อให้เสร็จ ซึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ได้เพียงครึ่งองค์ ในขณะนั้นหลวงปู่ภูมีอายุได้ 90 ปี พระที่หลวงปู่ภูสร้างไว้มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์แซยิด พิมพ์แปดชั้น พิมพ์สามชั้น เป็นต้น

พระสมเด็จของหลวงปู่ภูที่ได้รับความนิยมสูงสุด และมีมูลค่าสูงก็คือ พิมพ์แซยิด แขนหักศอก และพิมพ์แซยิด แขนกลม สภาพสวยๆ สมบูรณ์ ราคาหลักแสนครับ ส่วนพิมพ์อื่นๆ ก็ลดหลั่นกันลงมา

หลวงปู่ภูเป็นศิษย์ใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ รูปหนึ่ง และเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทร์บ่อยๆ โดยเฉพาะครั้งที่มาสร้างพระสมเด็จ บางขุนพรหม ดังนั้น จึงเชื่อว่าหลวงปู่ภูมีผงวิเศษ 5 ประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ เก็บรักษาไว้ และนำมาเป็นส่วนผสมในการสร้างพระของท่านด้วยครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จ หลวงปู่ภู พิมพ์แซยิด แขนหักศอก วัดอินทรวิหาร มาให้ชมกันด้วยครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งนะโภคทรัพย์ วัดสุทัศน์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องพระกริ่งของวัดสุทัศน์ รุ่นนะโภคทรัพย์ ซึ่งเป็นพระกริ่งที่สร้างในปี พ.ศ.2482 และเท่าที่ทราบมีอยู่สองแบบ คือแบบที่มีบัวรอบฐาน และแบบที่มีการปาดบัวหลังออก มีความเป็นมาอย่างไร

พระกริ่งนะโภคทรัพย์ คือพระกริ่งที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงอนุญาตให้สร้างขึ้น เนื่องจากในปลายปี พ.ศ.2481 พระอาจารย์แสวง สำนักวัดสระเกศ พระชัยปัญญา อธิบดีศาลอาญา พระราชอากร อธิบดีกรมสรรพากร ในขณะนั้น ได้ร่วมกันดำริที่จะสร้างพระกริ่งขึ้น เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชน จึงได้ร่วมกันนำความกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช เพื่อขอคำปรึกษา และทูลเชิญไปเป็นประธานสร้างพระกริ่งที่วัดสระเกศ สมเด็จพระสังฆราชตรัสถามว่า "จะทำพิธีที่วัดสุทัศน์ไม่เหมาะกว่าหรือ?" คณะกรรมการเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่สมเด็จพระสังฆราชทรงเปิดโอกาส จึงทูลขออนุญาต ซึ่งก็ทรงเมตตาอนุญาต และรับสั่งให้อาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร ไปตามท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ช่วยรับภาระเป็นแม่งานดำเนินการต่อไป

พิธีหล่อพระกริ่งได้กำหนดวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2482 ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์ สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในงาน และทรงเมตตาเททองให้ด้วยพระองค์เอง พระกริ่งนะโภคทรัพย์นี้สร้างจำนวน 400 องค์ ช่างที่ออกแบบแม่พิมพ์เป็นช่างของอาจารย์แสวง เดิมทีเป็นแบบบัวรอบฐาน รวม 10 คู่ด้วยกัน และที่ใต้ฐานมีอักขระเป็นตัวนะโภคทรัพย์ ครั้นเมื่อเทหล่อเป็นองค์แล้วสมเด็จพระสังฆราชได้ทรงพิจารณาดูจึงตรัสว่า ให้เก็บเอาไว้ก่อนเพื่อรอเข้าพิธีอีกครั้งหนึ่ง จึงค่อยเอาออกให้ประชาชนบูชาต่อไป พระอาจารย์แสวง พระชัยปัญญา ก็เห็นชอบด้วย จึงทูลลากลับไป

ต่อมามีพระจำนวนหนึ่งไม่มากนักที่พระอาจารย์แสวงนำไปปลุกเสกที่วัดคลองด่าน แล้วนำออกมาให้ประชาชนเช่าบูชาก่อน พระที่เหลืออยู่ที่วัดสุทัศน์สมเด็จพระสังฆราชทรงสั่งให้ช่างนำไปปาดลบบัวหลังออกเสีย 3 คู่ คงเหลือไว้ 7 คู่ เพื่อคงเอกลักษณ์ของพระกริ่งวัดสุทัศน์ไว้ เมื่อช่างประจำวัดได้ลบเอาบัวหลังออกแล้วเนื้อพระตรงฐานด้านหลังจะดูสดใหม่ ไม่กลมกลืนกับเนื้อเดิม ดังนั้น จึงเอาพระกริ่งนะโภคทรัพย์ทั้งหมดไปชุบน้ำยา ให้ดูเนื้อกลมกลืนกัน และสมเด็จพระสังฆราชได้ให้นำพระกริ่งรุ่นนี้เข้าพิธีวันเพ็ญเดือน 12 ของปลายปี พ.ศ.2482 อีกครั้งหนึ่ง

เนื้อพระกริ่งนะโภคทรัพย์จะเหมือนกับเนื้อพระกริ่งหน้าอินเดีย คือมีเนื้อเหลืองนวลแกมขาว พระกริ่งนะโภคทรัพย์ที่ออกที่วัดสุทัศน์จะแตกต่างจากพระกริ่งนะโภคทรัพย์ที่ออกที่วัดคลองด่านตรงที่บัวด้านหลังครับ ถ้าออกที่วัดสุทัศน์จะมีการปาดบัวหลังออก 3 คู่ ส่วนที่ออกที่วัดคลองด่านจะเป็นบัวรอบฐาน ในการสะสมเล่นหาจะนิยมพระกริ่งนะโภคทรัพย์ที่ออกจากวัดสุทัศน์มากกว่าที่ออกจากวัดคลองด่านครับ การเช่าหาก็ต้องสังเกตให้ดีว่าพระกริ่งนะโภคทรัพย์ของวัดคลองด่านนำมาปาดบัวหลังใหม่ เพื่อให้ค่านิยมมากขึ้นหรือเปล่านะครับ ก็ต้องศึกษาดูให้ดีครับ รอยปาดใหม่ก็จะพอสังเกตได้ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งนะโภคทรัพย์ วัดสุทัศน์ มาให้ชมกันทั้งด้านหน้า หลัง กันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญพระอาจารย์โหพัฒน์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญของจังหวัดกาญจนบุรี ที่ด้านหน้าเป็นรูปพระสงฆ์ที่เขียนว่า อาจารย์โหพัฒน์ ด้านหลังเป็นยันต์ภาษาจีน คือเหรียญของพระอาจารย์ โหพัฒน์ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว ต.ท่าเรือ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี เหรียญนี้เป็นเหรียญเก่าเหรียญหนึ่งของกาญจนบุรีครับ

พระอาจารย์โหพัฒน์ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2447 ที่ต.วังขนาย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ท่านเดิมชื่อ ชุ้นหยี เซี่ยงฉิน โยมบิดาชื่อ จ้ำ โยมมารดาชื่อ เต็กหมา เมื่อท่านอายุได้ 11 ขวบ ท่านก็ได้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดถาวรวราราม (เค่งซิ่วหยี่) และเมื่ออายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบท ที่วัดถาวรวราราม โดยมีหลวงพ่อเทียมเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "โหพัฒน์" ต่อมาท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดมงคลสมาคม ถนนแปลงนาม เขตสัมพันธวงศ์ กทม. ซึ่งขณะนั้นมีพระครูคณะบับสมณาจารย์ (เหมิกโงน) เป็นเจ้าอาวาสอยู่ เมื่อท่านเจ้าอาวาสมรณภาพ พระอาจารย์โหพัฒน์จึงย้ายไปอยู่วัดอุทัยบำรุง เขตสัมพันธวงศ์

ในปี พ.ศ.2487 ท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำเขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ระยะหนึ่ง จากนั้นได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดคณะสงฆ์จีน ที่จังหวัดยะลา และได้กลับมาอยู่ที่โรงเจเข่งซิ่ว ตั๊ว อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ในระยะนี้ท่านก็ได้ไปมาหาสู่กับท่านอาจารย์ ย้ากเหมิง ที่วัดถ้ำเขาน้อย เสมอ ซึ่งทั้งสองมีความสนิทสนมกัน ในปี พ.ศ.2489 พระอาจารย์โหพัฒน์ได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดถ้ำเขาน้อยอีกครั้ง และได้พบกับพระอาจารย์เหงียบเส็ง แซ่โจว พระสงฆ์จีนที่มาพักอยู่ที่วัดถ้ำเขาน้อย และได้ศึกษาการเจริญสมาธิกับพระอาจารย์เหงียบเส็ง จนสามารถรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ได้ ครั้งหนึ่งมีพระสงฆ์เดินทางธุดงค์มาจากเพชรบุรี และมาได้พบกับพระอาจารย์โหพัฒน์ จึงได้พูดคุยและเล่าเรื่องที่จะบูรณะซ่อมแซมวัดที่เพชรบุรี ท่านอาจารย์โหพัฒน์ครั้งได้นั่งหลับตา แล้วได้พูดถึงวัดของพระธุดงค์รูปนั้น ว่าลักษณะของวัดเป็นอย่างไร หันหน้าไปทางไหน ดังตาเห็น จนพระธุดงค์รูปนั้นเลื่อมใสในตัวพระอาจารย์โหพัฒน์มาก

ต่อมาพระอาจารย์โหพัฒน์ได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่โรงเจเข่งซิ่วตั๊วตามเดิม ท่านได้ปรับปรุงโรงเจจนเจริญรุ่งเรือง ท่านได้ช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนป่วยไข้ทุกคนที่ไปหาให้ท่านช่วย ท่านจะรักษาด้วยสมุนไพรบ้าง น้ำมนต์บ้าง จนหายดีทุกราย ชาวบ้านต่างเคารพเลื่อมใสท่านมาก พระอาจารย์โหพัฒน์มีเมตตาธรรมสูง สั่งสอนชาวบ้านให้อยู่ในศีลในธรรม และท่านก็ไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านอยู่เสมอ

เมื่อท่านอาจารย์โหพัฒน์มรณภาพแล้ว ได้มีการเก็บศพของท่านไว้ 3 ปี เมื่อถึงกำหนดที่จะฌาปนกิจจึงได้ทำพิธีเปิดโลงออกมา ปรากฏว่าร่างของท่านไม่เน่าเปื่อย มองดูเหมือนกับยังมีชีวิตอยู่ ชาวบ้านและลูกศิษย์จึงได้ทำพิธีอัญเชิญองค์ท่านขึ้นประดิษฐาน ณ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว เพื่อเป็นที่สักการบูชาของสาธุชนสืบไป ท่านผู้อ่านผ่านไปทางเมืองกาญจนบุรีก็สามารถแวะเข้าไปสักการะท่านได้ที่โรงเจท่าเรือ (โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว) ทุกวันครับ

มีการสร้างเหรียญรูปท่านเมื่อปี พ.ศ.2497 เป็นรุ่นแรก มีเนื้อเงินลงยา เนื้อทองคำ และเนื้อทองแดง ด้านหน้าเป็นรูปท่านครึ่งองค์ และด้านหลังเป็นยันต์จีนครับ และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญของท่าน เนื้อเงินลงยามาให้ชม ปัจจุบันเหรียญรุ่นแรกนี้หายากครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระอู่ทองตระกวน กรุเขาพนมเพลิง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุเนื้อชินแบบหนึ่งที่น่าสนใจ และเป็นศิลปะในยุคสุโขทัยแบบหนึ่ง ที่นักโบราณคดีจัดเป็นศิลปะสุโขทัยหมวดเบ็ดเตล็ดหรือหมวดวัดตระกวน และพระอู่ทองตระกวนก็เป็นพระเครื่องที่ถูกขุดพบปะปนอยู่ในกรุเขาพนมเพลิงด้วย ปัจจุบันก็ไม่ค่อยพบเห็นกันนัก

ในจังหวัดสุโขทัยขุด พบศิลปะแบบสุโขทัยมากที่สุด ถือเป็นต้นกำเนิดของศิลปะแบบนี้ และเป็นศิลปะที่สวยงามมากของไทย นักโบราณคดีจัดแยกหมวดหมู่ของศิลปะสุโขทัยไว้เป็นหมวดๆ คือ

1. หมวดใหญ่ซึ่งมีอยู่ทั่วไป เป็นลักษณะของศิลปะสุโขทัยโดยเฉพาะ พระรัศมีเป็นเปลวขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ ฐานหน้ากระดานเกลี้ยง

2. หมวดกำแพงเพชร มีลักษณะดวงพระพักตร์ตอนบนกว้าง พระหนุเสี้ยม พบน้อย ส่วนมากพบในจังหวัดกำแพงเพชร

3. หมวดพระพุทธชินราช พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระองค์ค่อนข้างอวบ นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่มีปลายเสมอกัน หมวดนี้เชื่อกันว่าเริ่มสร้างครั้งแผ่นดินพระเจ้าลิไท ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20

4. หมวดเบ็ดเตล็ด หรือหมวดตระกวน หมวดนี้เป็นหมวดพระพุทธรูปแบบสุโขทัย ที่มีศิลปะแบบเชียงแสนลังกาเข้ามาปะปนอยู่มาก บางองค์มีลักษณะชายสังฆาฏิหรือจีวรสั้น พระนลาฏ (หน้าผาก) แคบ ที่เรียกว่าแบบวัดตระกวน เนื่องจากได้พบพระพุทธรูปสุโขทัยแบบนี้ที่วัดตระกวนเมืองสุโขทัยเก่าเป็นครั้งแรก พระพุทธรูปปูนปั้นที่ค้นพบที่พระเจดีย์ทางทิศตะวันออกและในพระปรางค์วัดพระพายหลวง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ในสมัยสุโขทัย ก็อยู่ในศิลปะหมวดนี้

กรุเขาพนมเพลิงเป็นกรุที่มีพระเครื่องพระบูชาบรรจุไว้เป็นจำนวนมาก และพระเครื่องที่พบอยู่ในกรุก็มีจำนวนมาก มีมากมายหลายพิมพ์ มีพระเครื่องที่สร้างล้อแบบของกรุต่างๆ ในเมืองสุโขทัยด้วย พระเครื่องที่พบส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชิน และพระเครื่องแบบหนึ่งที่สร้างแบบศิลปะสุโขทัยหมวดตระกวน จึงมีการนำรูปแบบของศิลปะมาตั้งชื่อของพระเครื่องคือ "พระอู่ทองตระกวน" พระที่พบมีทั้งแบบพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กแต่โดยรวม มีรูปแบบศิลปะเหมือนกัน คือมีพระนลาฏแคบ องค์พระอวบอ้วน พระพักตร์ค่อนข้างกลม จึงเข้ากับแบบศิลปะหมวดตระกวนพระอู่ทองตระกวนเป็นพระพิมพ์หนึ่งที่นิยมมากของกรุนี้

พุทธคุณของพระกรุนี้เด่นทางด้านแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน พระอู่ทองตระกวนมีขนาดองค์พระสูงประมาณ 5.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 3.2 ซ.ม. ปัจจุบันค่อนข้างหายากครับ ของปลอมเลียนแบบนั้นมีแน่ ก็เป็นพระนิยมมีคนเสาะหาก็ย่อมมีของปลอมเป็นธรรมดาครับ เวลาเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ หน่อยครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระอู่ทองตระกวน พิมพ์ใหญ่ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 พฤศจิกายน 2562 13:01:24 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #128 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2562 13:08:54 »


พระลีลาไก่เขี่ย วัดสุดสวาท

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุวัดสุดสวาท จ.พิษณุโลก เป็นพระเครื่องกรุหนึ่งที่มีการพบจำนวนน้อยมาก จนทำให้ไม่ค่อยได้มีการพูดถึงกันนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวโบราณสถานของวัดนี้ก็ปรักหักพังไปจนแทบไม่มีอะไรหลงเหลือให้เห็น เหลือเพียงเนินดินที่เป็นส่วนฐานขององค์พระเจดีย์เท่านั้น เมื่อก่อนก็ไม่มีใครสนใจเนินดินนี้เลย จนกระทั่งมีการพบพระเครื่องที่ขึ้นมาจากกรุนี้ แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก เข้าใจว่าด้วยการเสื่อมสภาพลงไปของตัวองค์พระเจดีย์มานมนานมากแล้ว จึงทำให้พระเครื่องที่บรรจุในกรุนี้กระจัดกระจายไปและเสื่อมสภาพจนหลงเหลืออยู่จำนวนไม่มากนัก ในปัจจุบันกรมศิลปากรได้บูรณะให้พอเห็นเป็นรูปร่างของฐานพระเจดีย์ และมีป้ายปักไว้เขียนว่า "วัดสุดสวาท" เท่านั้น

วัดสุดสวาท วัดนี้เป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก วัดนี้ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง การบูรณะจนกลายสภาพเหลือเพียงเนินดิน ร่องรอยแห่งซากเจดีย์เก่า สันนิษฐานว่าเป็นวัดเล็กๆ วัดหนึ่งที่มีอายุการสร้างใกล้เคียงกับวัดนางพญา วัดนี้ถ้าไม่มีผู้พบพระเครื่องของกรุนี้ผู้คนก็อาจลืมเลือนกันไปอย่างน่าเสียดาย

เนินดินที่เป็นกรุพระนั้นในสมัยก่อนยังมีไก่เถื่อนอาศัยคุ้ยเขี่ยหาอาหารตรงบริเวณนั้น และเกิดมีผู้ไปพบพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เป็นพระลีลา ศิลปะสวยงามมาก จึงเรียกกันว่า "พระลีลาไก่เขี่ย" ต่อมา ประมาณปี พ.ศ.2465 จึงมีผู้คนไปขุดหาพระเครื่องกัน พระที่พบมีทั้งพระบูชาและพระเครื่อง พระบูชาเป็นพระศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น เช่น พระยืนปางห้ามสมุทร พระนั่งปางสมาธิ และปางมารวิชัย พระเครื่องก็มีพระลีลา พระนางพญา ซึ่งพระทั้งหมดพบประมาณ 400 องค์ พระนางพญาพบทั้งที่เป็นพระพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ที่เป็นพิมพ์ใหญ่ก็มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระนางพญาพิมพ์เข่าตรง กรุวัดนางฯ แต่องค์พระและกรอบพิมพ์จะชะลูดกว่า พระพิมพ์กลางก็จะคล้ายกับพระพิมพ์สังฆาฏิ บางท่านเรียกว่าพิมพ์หูห่าง ส่วนพิมพ์เล็กในสมัยก่อนก็เรียกเป็นพิมพ์เทวดาก็มี พระนางพญาที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อค่อนข้างละเอียด หนึกนุ่ม พระที่พบมีทั้งสีแดงหม้อใหม่สีเหลืองใบตองแห้งและสีสวาด

หลังจากพระแตกออกจากกรุแล้วก็หายวับไปในเวลาไม่นานนัก ผู้ที่นำไปบูชาติดตัวมักจะเล่าขานกันว่าในด้านเมตตามหานิยมนั้นเป็นเลิศ สมดังชื่อของวัด คือ "วัดสุดสวาท" ซึ่งเป็นชื่อที่ไพเราะน่ารัก ส่วนพระลีลาก็เป็นพระเนื้อชินตะกั่วเป็นส่วนใหญ่ ที่เป็นเนื้อชินเงินก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย พุทธลักษณะอ่อนช้อยงดงาม การตัดกรอบเข้ารูปตามองค์พระ ในส่วนของพระเครื่องเนื้อชิน ปางลีลานั้น ศิลปะเป็นแบบสุโขทัยซึ่ง พุทธลักษณะการเยื้องย่างที่อ่อนช้อยงดงามมาก ซึ่งก็แปลกจากพระนางพญาซึ่งเป็นศิลปะแบบอยุธยา จึงทำให้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างต่างวาระกัน ซึ่งวัดสุดสวาทอาจจะสร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยตอนปลายก็เป็นได้ และมีการสร้างพระเครื่องบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้และได้สร้างพระบรรจุไว้ด้วยเช่นกัน จึงได้มีการพบพระศิลปะที่แตกต่างกัน ในส่วนของพระลีลาวัดสุดสวาทนั้น พระที่พบเป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงนั้นจะมีผิวสนิมแดงที่งดงามมาก สนิมจับทั่วทั้งองค์พระ งดงามทั้งสีสนิมและพุทธลีลา แต่ก็หาชมพระแท้ๆ ยากยิ่งครับ โดยเฉพาะพระลีลาเนื้อชินสนิมแดง

ปัจจุบันหาดูได้ยากมากทุกพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นพระนางพญา หรือพระลีลา ของวัดสุดสวาท ในส่วนตัวผมนั้นชอบพระเครื่องของกรุนี้มาก ไม่ว่าจะเป็นพระลีลาหรือพระนางพญาครับ ทั้งศิลปะและเนื้อหาสวยซึ้งมาก อีกทั้งนามวัดก็ไพเราะน่าฟังครับ "สุดสวาท"

ครับวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปางลีลา เนื้อชินสนิมแดง องค์สวย ของกรุวัดสุดสวาทมาให้ชมกัน
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อตะกั่ว

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่โด่งดัง เด่นทางด้านเมตตามหานิยมและเป็นที่แสวงหากันมาก ก็ต้องยกให้พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี แต่พระปิดตาของหลวงพ่อแก้วแท้ๆ ก็หายากมากๆ เคยมีคนกล่าวว่าหาพระปิดตาหลวงพ่อแก้วหาพระสมเด็จง่ายกว่า ครับก็เป็นความจริงตามที่กล่าว

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ โดยเฉพาะพระเนื้อผงคลุกรักนั้นหาพระแท้ๆ ยากจริงๆ เนื่องจากจำนวนพระคงจะมีไม่มากนัก เท่าที่บอกเล่าต่อๆ กันมานั้น กรรมวิธีการสร้างยากมากทั้งเนื้อหามวลสารผงพุทธคุณและว่านมงคลต่างๆ อีกทั้งกาลเวลาการสร้างนั้นก็สร้างมาเป็นร้อยปีมาแล้ว ชาวบ้านที่ได้ครอบครองพระไว้ก็หวงแหน ส่วนมากก็จะเป็นมรดกตกทอดกันมา ปัจจุบันมูลค่าสูงมากครับ

พระปิดตาของหลวงพ่อแก้วนอกจากจะเป็นพระเนื้อผงคลุกรักแล้ว ก็ยังมีพระปิดตาที่เป็นเนื้อตะกั่วอีกด้วย สร้างเป็นแบบครึ่งซีก องค์จะเล็กกว่าพระปิดตาพิมพ์ใหญ่และพิมพ์กลาง ขนาดใกล้เคียงกับพระปิดตาพิมพ์เล็กที่เป็นเนื้อผงคลุกรัก

เท่าที่เคยสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในแถบชลบุรี ได้บอกเล่าต่อกันมาว่า ในครั้งแรกๆ หลวงพ่อแก้วก็สร้างพระปิดตาเป็นเนื้อผงคลุกรัก แล้วมีเหตุที่ว่ามีคนเอาพระปิดตาของหลวงพ่อแก้วไปขูดผงใส่น้ำให้หญิงสาวกินแล้วเกิดหลงรักชายหนุ่มคนนั้น และมีคนไปฟ้องหลวงพ่อ หลวงพ่อแก้วก็แช่งไว้ว่าถ้าใครนำพระของท่านไปขูดให้ผู้หญิงกินแล้วไม่รับเลี้ยงดูเป็นภรรยาก็ให้เกิดวิบัติ

หลังจากนั้นหลวงพ่อจะให้พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักกับใครก็จะพิจารณาให้เป็นคนๆ ไป อีกสาเหตุหนึ่งคือ ลูกศิษย์ของท่านบางคนก็ทำอาชีพประมง เมื่อนำพระเนื้อผงคลุกรักไปแขวนแล้วต้องลงน้ำทำอาชีพเป็นประจำองค์พระก็เกิดชำรุดได้ง่าย จึงไปขอหลวงพ่อใหม่และขอให้ทำเป็นเนื้อตะกั่วจะได้คงทนลงน้ำลงท่าได้ หลวงพ่อจึงได้ทำเป็นพระเนื้อตะกั่วขึ้นมาอีกเนื้อหนึ่ง

ครับก็เป็นเรื่องที่ผู้เฒ่าผู้แก่ของเมืองชลเล่าสืบต่อกันมา ในสมัยก่อนก็มีเรื่องเล่าว่าแถวๆหน้าเก๋งซึ่งก็เป็นตลาดขายอาหารในตอนกลางคืน และก็เป็นที่ชุมนุมของคนในแถบนั้นรวมไปถึงพวกลูกเรือตังเกหรือชาวประมงด้วย ซึ่งบางวันก็กินเหล้ากันเมามายและมีเรื่องกระทบกระทั่งกันเป็นประจำ มีอยู่ครั้งหนึ่งเกิดวิวาทกันแล้วมีผู้ที่ถูกแทงไม่เข้า อาวุธที่แทงเป็นกระดูกหางปลากระเบนซึ่งเป็นกระดูกที่แหลมคมมาก

ในสมัยก่อนพวกตังเกนิยมนำมาถักด้ามพกเป็นอาวุธ แต่ผู้ที่ถูกแทงโดนไปหลายทีแต่กลับแทงไม่เข้าเลย มีคนสงสัยว่าห้อยพระอะไรถึงหนังดีนัก ก็พบว่าในคอมีพระปิดตาถักด้วยลวดเป็นพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อตะกั่วเพียงองค์เดียวเท่านั้น ครับก็เป็นเรื่องที่มีการบอกเล่าสืบต่อกันมา

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อตะกั่วในปัจจุบันก็หาแท้ๆ ยากนะครับ สนนราคาแม้จะย่อมเยากว่าพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ราคาสูงอยู่ครับ และหาแท้ๆ ยากมากเช่นกัน ในส่วนของปลอมเลียนแบบนั้นมีมากมาย และก็มีมานานแล้วเช่นกัน อีกทั้งยังมีพระที่สร้างในยุคหลังรูปแบบคล้ายๆ กันก็มีครับ ในการเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อตะกั่ว ที่แท้ดูง่ายมาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหายห่วง หลวงปู่สิงห์
หลวงปู่สิงห์ คัมภีโร หรือ พระครูสิริสุขวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดศรีสุข และเจ้าคณะตำบลศรีสุข เขต 1 อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมแห่งมหาสารคาม

ปัจจุบันสิริอายุ 94 ปี พรรษา 74

วัตถุมงคลจัดสร้างออกมาหลายรุ่น เช่น เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก สิงห์-เสาร์ ในปี พ.ศ.2521 เหรียญรูปเหมือน สิงห์-เสาร์ รุ่น 2 ล็อกเกตรุ่นสร้างถนน เหรียญรุ่นเจริญพร รุ่นสร้างศาลาวัดน้ำเที่ยง เป็นต้น

ปรากฏได้รับความนิยมในพื้นที่อย่างมาก ทุกรุ่นที่สร้างออกมาบรรดาคณะศิษย์ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา พากันตามเก็บหมด

ย้อนหลังไปในปี พ.ศ.2539 เนื่องในวาระที่หลวงปู่สิงห์ สิริอายุ 70 ปี พรรษา 50

วัดศรีสุข พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ และผู้เลื่อมใสศรัทธา รวมทั้งชาวบ้านศรีสุข จัดงานมุทิตาสักการะขึ้น รวมทั้งมีการจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนขึ้น เพื่อมอบให้ผู้ที่มาร่วมงาน และบริจาคปัจจัยสมทบทุนพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัด

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ไม่มีหูห่วง นักสะสมจึงเรียกว่า "รุ่นหายห่วง"

ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่สิงห์ เต็มองค์นั่งในท่าวิปัสสนากรรมฐาน ด้านขวาของเหรียญขึ้นไปด้านบนวนลงไปด้านซ้าย เขียนคำว่า วัดศรีสุข บ้านศรีสุข อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เสาร์ห้ามหาบารมี ๓๙ ที่ใต้รูปเหมือนหลวงปู่ มีตัวเลข ๑ และล่างสุดมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงพ่อสิงห์ คมฺภีโร

ด้านหลังบริเวณขอบและพื้นเหรียญเป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน นอกจากนี้ มีตัวอักษรเขียนไว้ที่พื้นเหรียญ 4 ด้าน อ่านว่า ปลอดภัยแคล้วคลาด โชคลาภมหาศาล ค้าขายได้กำไร มหาลาภมหาเมตตา เนื้อทองแดง 1,000 เหรียญ เนื้อเงิน 70 เหรียญ

รุ่นนี้ หลวงปู่สิงห์ประกอบพิธีปลุกเสกเดี่ยวในวันเสาร์ที่ 5 แล้วเก็บไว้ จากนั้นนำออกมาแจกจ่ายให้ญาติโยมที่มาร่วมงานมุทิตาสักการะและที่บริจาคทำบุญพัฒนาวัด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติ่มได้ตามศูนย์พระเครื่องในเมืองมหาสารคาม หรือใน เฟซบุ๊ก กลุ่ม "บารมีหลวงปู่สิงห์ คัมภีโร วัดบ้านศรีสุข จ.มหาสารคาม"
   ข่าวสดออนไลน์



เกร็ดตำนานเก่าแก่วัดธรรมศาลา

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องเกร็ดหรือตำนานเก่าแก่ของวัดธรรมศาลา จังหวัดนครปฐม ซึ่งเราๆ ท่านๆ ก็คงจะรู้จักวัดธรรมศาลากันดีแล้ว เนื่องจากวัดแห่งนี้มีอดีตท่าน เจ้าอาวาสที่โด่งดังมาก คือหลวงพ่อน้อย ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดนครปฐม และมีผู้เคารพศรัทธาในตัวท่านมาก แต่สถานที่ตั้งวัดธรรมศาลานี้ยังไม่ค่อยมีใครทราบเรื่องตำนานเก่าแก่กันมากนัก เรามาศึกษากันว่ามีความเป็นมาอย่างไรครับ

วัดธรรมศาลาตั้งอยู่ที่ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ทางด้านหน้าวัดมีคลองธรรมศาลา ชื่อเดิมเรียกว่า "คลองกรุงศรี" ทางด้านหลังวัดมีคลองกง ซึ่งอ้อมวัดมาบรรจบกับคลองธรรมศาลา วัดแห่งนี้ไม่ปรากฏประวัติดั้งเดิมว่ามีมาแต่สมัยใด วัดในปัจจุบันเป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่เดิมนั้นมีศาลาเก่าแก่สำหรับชาวบ้านประกอบงานบุญอยู่ศาลาหนึ่ง บริเวณใกล้เคียงกับศาลานี้มีโคกดินและเศษอิฐหักพัง ดูจะเป็นโบราณสถานเก่าแก่ ด้านหน้าเป็นโพรงลึกคล้ายปากถ้ำ ในสมัยก่อนนั้นคนเฒ่าคนแก่เล่าว่าสามารถเข้าไปข้างในได้ลึกถึง 20 วา แต่ปัจจุบันโพรงนี้ตื้นมาก เพราะการปรักหักพัง บริเวณเหนือโคกมีต้นโพธิ์ใหญ่ขึ้นอยู่ และบริเวณเนินคล้ายมีวิหารเก่าตั้งอยู่ ในสมัยก่อนสัก 30 ปีในอาณาบริเวณนี้เมื่อขุดลงไปจะเจอซากอิฐโบราณ และพบเศษปูนปั้น รูปเทวดาหรือพระพุทธรูป แต่ก็ชำรุดจนไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นรูปอะไรแน่ เพียงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสมัยทวารวดี

ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าให้ฟังว่า มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า ถ้ำและโคกแห่งนี้มีมาแต่สมัยพระยากง เป็นปากอุโมงค์สำหรับการสัญจรติดต่อไปที่โคกพระ (วัดโคกพระเจดีย์) ซึ่งห่างไปประมาณ 4 ก.ม. ไปทางทิศใต้ และอุโมงค์นี้จะเจาะต่อไปอีก 8 ก.ม. ไปขึ้นที่วิหารหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ กล่าวกันว่าเมื่อพระยากงมีความสำคัญจะนัดหมายชุมนุมกันในถ้ำ จนเรียกกันว่า "ถ้ำมาปรึกษา" ต่อมาเพี้ยนเป็น "ธรรมศาลา" โดยพระยากงอาศัยเส้นทางตามอุโมงค์ในการเสด็จพระราชดำเนินในระหว่างสถานที่สำคัญทั้งสามแห่ง นอกจากนั้นได้ขุดคลองล้อมรอบไว้เพื่อกั้นทางเข้าถ้ำ ตามคตินิยมโบราณ ซึ่งคลองนี้เรียกว่า "คลองกง" ส่วนคลองที่มาบรรจบนั้นก็คือคลองกรุงศรี คลองนี้ชาวบ้านเข้าใจว่าเดิมคือ "คลองกรุงศรีวิชัย"

ตามตำนานเล่าต่อมาว่า ภายในถ้ำมีศาลาฤๅษี มีเครื่องใช้สอยอยู่เป็นจำนวนมาก ในสมัยโบราณนั้นเมื่อมีใครจะจัดงานก็จะไปนำสิ่งของเหล่านี้มาใช้ แล้วก็นำมาคืน แต่มาภายหลังมีคนใจบาปนำข้าวของไปแล้วไม่นำมาคืน จึงเกิดอาเพศทำให้ถ้ำพังทลายลงมา จนไม่อาจจะเข้าไปได้อีก จากตำนานเก่าแก่ที่เกี่ยวพันกับพระยากง และซากเศษอิฐโบราณก็น่าจะเป็นโบราณสถานสมัยทวารวดี ได้ทราบต่อมาว่า ในปัจจุบันกรมศิลปากรได้ไปสำรวจขุดแต่งแล้ว พบว่าเป็นเจดีย์ในสมัยทวารวดีจริงๆ และพบเศษปูนปั้น ข้าวของเครื่องใช้ ซึ่งเป็นสมัยทวารวดีจริงๆ ในปัจจุบันก็สามารถเข้ามาเที่ยวชมโบราณสถานที่ขุดพบ พร้อมทั้งปากอุโมงค์ที่ได้กล่าวไว้ในตำนานได้ และนอกจากนี้จะได้มากราบสักการะรูปเหมือนหลวงพ่อน้อย เพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วยครับ

เรื่องตำนานโบราณต่างๆ นั้น ก็มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง ที่เราน่าศึกษา อาจจะเป็นประวัติที่ให้เราค้นหาเรื่องราวในอดีตต่างๆ ได้ครับ และที่เล่ามานี้ก็เป็นเกร็ดส่วนหนึ่งของโบราณสถานวัดธรรมศาลา

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญหล่อพิมพ์หน้าเสือ รุ่นแรก ของหลวงพ่อน้อย มาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหล่อหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับเหรียญหล่อเก่าแก่เหรียญหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีประสบการณ์ต่างๆ มากและก็หายากในปัจจุบัน คือเหรียญหล่อของหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว อำเภอเมืองสุพรรณบุรีครับ

หลวงพ่อปลื้ม ประวัติของท่านไม่ได้มีการบันทึกไว้ แต่ก็มีการบอกเล่ากันต่อๆ มาว่า เกิดในราว พ.ศ.2391 บ้านโพธิ์พระยา โยมบิดาชื่อคุ้ม เป็นชาวกรุงเทพฯ มารดาไม่ทราบชื่อ อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2411 โดยมีหลวงพ่อม่วง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแก้วเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ส่วนพระอนุสาวนาจารย์นั้นไม่ทราบชื่อ

การศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจากพระอาจารย์รูปใดไม่มีใครทราบ สืบทราบได้แต่เพียงว่า ท่านเคร่งครัดในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาก หลวงพ่อปลื้มมีเมตตาต่อชาวบ้านและศิษยานุศิษย์ทุกคน ใครจะอาราธนาไปสวดมนต์ที่ไหนๆ ไม่ว่าใกล้หรือไกลท่านจะไม่ปฏิเสธ การเดินทางในสมัยนั้นไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ ทางและยานพาหนะไม่มี การเดินทางต้องใช้การเดินเท่านั้นทางเดินก็ลำบาก แต่ท่านไม่ได้คำนึง ระยะหลังชราภาพลงมากเดินไม่ไหว แต่ด้วยความศรัทธาของชาวบ้านก็ยังมานิมนต์ท่าน โดยเจ้าภาพส่งแคร่มาแบก ท่านก็ไปไม่เคยขัด ท่านจึงเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านทั้งไกลและใกล้ตลอดมา

การพัฒนาวัดนั้นท่านได้พัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์วัดพร้าวจนเจริญรุ่งเรือง มีเสนาสนะทุกชนิด สร้างมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทถึง 2 องค์ อนุรักษ์พระพุทธรูปหินทรายศิลปะอู่ทองปลายไว้เป็นอย่างดีในวิหารเล็กรวมทั้งแม่ธรณี บีบมวยผม ศิลปะรัตนโกสินทร์ กับเสมาหินทรายแดงคู่สมัยอยุธยา ที่อัดใบลานสมัยโบราณและหอไตรกลางสระ

หลวงพ่อปลื้มได้สร้างเหรียญหล่อโบราณไว้หนึ่งรุ่น โดยคณะศิษย์ขออนุญาตจัดสร้างรูปเหมือนของท่านไว้เป็นที่ระลึก และหล่อเหรียญรูปท่านในงานเดียวกัน เป็นเหรียญรูปนั่งเต็มองค์มีอักขระล้อมรอบด้านข้างเหรียญ ด้านล่างของเหรียญ มีรูปแพะปรากฏอยู่ สันนิษฐานว่าเป็นปีเกิดของท่านและที่ตัวเหรียญมิได้ระบุปี พ.ศ.ไว้ จากการสอบถามคุณลุงแก้ว ซึ่งเคยบวชกับหลวงพ่อปลื้ม ได้ความว่า ลุงแก้วบวชในปี พ.ศ.2469 ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญพอดี ลุงแก้วเล่าให้ฟังว่า พิธีสร้างรูปเหมือนและเหรียญหล่อนั้น เป็นงานใหญ่มาก บริเวณพิธีวงรอบด้วยสายสิญจน์ เมื่อหล่อหลอมโลหะแล้ว นำเอาโลหะนั้นมาหล่อรูปเหมือนของท่าน พร้อมๆ กับเททองลงในแม่พิมพ์เหรียญด้วย หลังจากหล่อเหรียญเสร็จแล้ว จึงตบแต่งด้านข้างด้วยตะไบ ดังนั้นเหรียญจึงมีรอยตะไบทุกเหรียญ หลังจากนั้นหลวงพ่อปลื้มก็ได้ปลุกเสกเหรียญแบบปลุกเสกเดี่ยวจนดีแล้วจึงนำไปแจกจ่ายแก่ศิษย์และชาวบ้านที่มาขอเหรียญจากท่าน

เหรียญหลวงพ่อปลื้มที่ชาวบ้านได้รับแจกไปนั้น ต่อมาได้มีประสบการณ์ต่างๆ มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอยู่ยงคงกระพัน เนื่องจากมีอยู่หลายรายที่ถูกยิงแต่กระสุนด้านหมด บางคนก็ได้รับประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดกันก็มากราย ปัจจุบันเหรียญหลวงพ่อปลื้มค่อนข้างหายากแล้วครับ

ในวันนี้ผมจึงได้นำรูปเหรียญหล่อของหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว สุพรรณบุรีมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตา กรุวัดท้ายย่าน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราคุยกันถึงพระปิดตาเนื้อโลหะยอดนิยมกันอีกสักอย่างหนึ่ง พระปิดตาเนื้อโลหะชนิดนี้มีความแปลกจากพระปิดตาอื่นๆ เนื่องจากเป็นพระ ปิดตาที่พบอยู่ในกรุ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา นั่นก็คือพระปิดตากรุวัดท้ายย่าน ในส่วนที่เป็นเนื้อนั้นก็เป็นเนื้อโลหะผสมที่มีแร่พลวงเป็นส่วนผสมด้วย พระปิดตาวัดท้ายย่านนี้เป็นที่นิยมกันมาแต่อดีตครับ

จังหวัดชัยนาทในแถบเมืองสรรคบุรี เคยเป็นเมืองหน้าด่านมาหลายยุคหลายสมัย จึงมีวัดวาอารามปรากฏอยู่มาก วัดท้ายย่านก็เป็นวัดหนึ่งที่มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง วัดท้ายย่านนั้นในปัจจุบันกลายเป็นวัดร้างที่เหลือแต่ซากโบราณสถานซึ่งยังพอมีหลงเหลืออยู่ วัดนี้แต่เดิมชาวบ้านมักเรียกว่า "วัดทัพย่าน" และเลื่องลือในเรื่องของพระเครื่องซึ่งพบพระเครื่องอยู่หลายชนิด ที่เด่นๆ ก็คือพระสรรค์ยืน พระสรรค์นั่งไหล่ยก พระหูยาน และพระปิดตา เป็นต้น

พระปิดตาที่พบในกรุวัดท้ายย่านนี้เท่าที่พบมีพิมพ์ชีโบ พิมพ์กบ และพิมพ์เขียด พิมพ์ชีโบมีขนาดองค์พระค่อนข้างเขื่อง และมีด้านบนเศียรมีลักษณะคล้ายสวมหมวกชีโบ จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ พิมพ์กบมีขนาดย่อมลงมาเล็กน้อย องค์พระลักษณะล่ำสันอ้วนป้อม คล้ายตัวกบ คนในสมัยก่อนจึงเรียกกันว่าพิมพ์กบ ส่วนพิมพ์เขียดเป็นพระที่ขนาดเล็ก ลักษณะเรียวๆ เมื่อมีพิมพ์กบแล้วพระพิมพ์เล็กที่มีลักษณะเรียวๆ คล้ายตัวเขียดจึงเรียกกันมาว่าเป็นพิมพ์เขียด พระที่พบส่วนใหญ่เนื้อพระจะเป็นโลหะผสม คุณสมบัติแข็งแต่เปราะ ถ้าทำตกหล่นมักแตกหักได้ง่าย สันนิษฐานว่ามีส่วนผสมของแร่พลวงผสมอยู่ เนื้อในจะมีรูพรุน เนื่องจากการหลอมในสมัยนั้นโลหะยังไม่หลอมละลายเข้ากันได้ไม่ดีนัก มีสีผิวออกขาวๆ พื้นผิวของพระปิดตากรุวัดท้ายย่านเนื้อแร่พลวงนี้จะมีริ้วรอยเหี่ยวย่นเหมือนหนังคนแก่ ปรากฏอยู่ทั่วไปตามองค์พระ ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระกรุนี้ ในส่วนที่พบเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ก็มีพบบ้าง แต่พบจำนวนน้อยมาก

พระปิดตากรุวัดท้ายย่านเท่าที่พบจะเป็นพระที่เทหล่อ มีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง คล้ายกับพระลอยองค์ ที่ด้านหลังจะปรากฏมีแขนโยงลงมาถึงก้น บางพิมพ์จะมีอักขระคล้ายเลขหนึ่งไทยปรากฏอยู่ด้วย

พุทธคุณเด่นดังมาตั้งแต่อดีต คนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ยกย่องว่าดีทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด และมีผู้ได้รับประสบการณ์ต่างๆ ทางด้านนี้กันมาในอดีต ในสมัยก่อนนั้นมีการเล่ากันต่อมาว่า ได้มีการทดลองเอาพระใส่ปากปลาช่อนแล้วลองฟันดู ปรากฏว่าไม่เข้าเนื้อปลาเลย แต่ก็อย่าทดลองกันเลยนะครับ บาปกรรมเปล่าๆ เพียงแต่เป็นการเล่าขานกันมาเท่านั้นครับ

ปัจจุบันพระปิดตากรุวัดท้ายย่านนั้นหาพบพระแท้ๆ นั้นยากครับ ของปลอมเลียนแบบนั้นมีกันมานานแล้ว เนื่องจากนิยมกันมาแต่อดีต สนนราคาก็สูงทีเดียวครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระปิดตากรุวัดท้ายย่านมาให้ชมกันครบทุกพิมพ์ครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #129 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2562 15:32:03 »


มาตรฐานราคาพระเครื่องพระบูชามีหรือไม่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน มูลค่าของพระเครื่องนั้นมีมาตรฐานหรือไม่ ถ้าตอบตามความจริงนั้นก็คือ พระเครื่องที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับนั้นก็มีครับ ส่วนพระที่นอกมาตรฐานก็คงไม่มีครับ ช่วงนี้ก็มีการพูดถึงเรื่องมูลค่าของพระเครื่องกัน ผมก็เลยขอกล่าวถึงสักเล็กน้อย แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองนะครับ

ในสังคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชานั้นให้มูลค่ากับพระเครื่องที่เป็นพระนิยมกันอยู่หลายชนิด ปัญหาอยู่ที่พระอะไรมีมูลค่ารองรับเท่าไร และพระแบบไหนบ้างที่มีมูลค่ารองรับ ก่อนอื่นก็ต้องอธิบายถึงคำว่า "มาตรฐานสากลกับมูลค่ารองรับ" เสียก่อน การที่สังคมพระเครื่องจะให้มูลค่ากับพระชนิดใดนั้น ก็ต้องเป็นพระเครื่องที่มีผู้คนนิยมและเสาะหาและมีการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนกันเป็นมาตรฐาน ในส่วนของเรื่องมูลค่าก็ขึ้นอยู่กับความต้องการในขณะเวลานั้นๆ อย่างเช่นพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ผู้ที่อยากมีไว้ครอบครองมีจำนวนมาก จำนวนพระแท้ๆ มีน้อยและหายาก แต่มีผู้ต้องการมากกว่า จึงมีผู้ที่ยอมที่จะเช่าหาหรือซื้อในราคาสูงเป็นหลักล้านบาท เป็นต้น

ในแหล่งที่มีการเล่นหาซื้อ-ขายกันก็จะมีผู้รับเช่าหาหรือรับซื้ออยู่ ซึ่งราคาก็จะมีการรับซื้อที่สูงตามความนิยมและความต้องการของตลาด ซึ่งก็จะแยกตามพิมพ์และความต้องการของตลาดด้วยเช่นกัน และตามสภาพความสวยสมบูรณ์ขององค์พระเป็นสำคัญ ซึ่งก็จะมีราคาแตกต่างกันไป แล้วใครเป็นผู้ตั้งราคา ในเรื่องนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด และถือเอาราคาที่มีการซื้อ-ขายกันจริง ในสังคมพระเครื่องครั้งล่าสุด จะถือเป็นราคาในขณะนั้นๆ การกำหนดราคาซื้อ-ขายพระเครื่องก็คล้ายๆ กับการซื้อ-ขายรถยนต์มือสอง กล่าวคือรถยนต์รุ่นเดียวกัน สีเดียวกัน ซื้อมาวันเดียวกัน แต่สภาพการใช้ การบำรุงรักษาต่างกัน พอนำมาขายเต็นท์รถราคาก็ต่างกันไปตามสภาพ ราคาผู้ซื้อหรือพ่อค้าเป็นผู้กำหนด ผู้ขายตั้งไว้เท่าไรก็ตาม แต่ไม่มีคนซื้อก็ขายไม่ได้

ทีนี้มาพูดกันถึงมาตรฐานสากลคืออะไร พระเครื่องก็มีสังคมของผู้นิยมพระเครื่องฯ และก็มีศูนย์กลางการเล่นหาและซื้อ-ขาย จุดใหญ่ๆ ก็จะเรียกกันว่าสนามพระ หรือในปัจจุบันจะเรียกกันว่า "ศูนย์พระ" เช่น ศูนย์ท่าพระจันทร์ ศูนย์พระพันธุ์ทิพย์ เป็นต้น จะเรียกอะไรก็ตามก็หมายถึงจุดศูนย์รวมพระเครื่องพระบูชา หรือตลาดพระเครื่องพระบูชา ก็เหมือนตลาดกลางอะไรทำนองนั้น

พระเครื่องที่จะขายได้ก็ต้องเข้าหลักเกณฑ์ของการเล่นหา เช่น พระแบบนี้ต้องมีรูปแบบพิมพ์ เนื้อหา ลักษณะของร่องรอยการผลิตเป็นแบบนี้ ที่เรียกกันรวมๆ ว่า จุดตำหนิที่ถูกต้องตามมาตรฐานของสังคมเท่านั้น ก็จะมีมูลค่ารองรับ คือสามารถขายได้เท่านั้นเท่านี้ คนขายกับคนซื้อก็จะตกลงกัน ถ้าตกลงกันได้ก็จะขายได้ แต่ถ้าพระเครื่ององค์นั้นๆ เช่น พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แต่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่เขากำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นราคาเท่าไร ก็ไม่สามารถขายได้ เพราะเขาไม่ซื้อ และไม่มีใครซื้อ แบบนี้ก็คือไม่มีมูลค่ารองรับ

มูลค่ารองรับก็คือ มีคนพร้อมที่จะซื้อในราคานั้นๆ และมีอยู่หลายคนในสังคม ส่วนสนนราคาที่ผู้จะขายหรือครอบครองไว้จะตั้งเอาไว้เท่าไรก็ไม่ผิด ไม่ว่าพระเครื่องนั้นๆ จะถูกต้องตามมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับหรือไม่ก็ตาม หรือเป็นพระที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่มูลค่ารองรับ แต่สนนราคาสูงโอเวอร์จนเกินไปก็ไม่มีผู้ที่จะรับซื้อ ถ้าเป็นแบบนี้ก็ไม่ใช่มูลค่ารองรับ มูลค่ารองรับก็คือในสังคมหรือมีคนที่จะ ยอมซื้อในราคานี้จริงๆ จึงจะถือว่าเป็นมูลค่ารองรับ

พูดไปพูดมาก็ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านจะงงหรือไม่ และถ้าอยากทราบว่าพระที่เราครอบครองไว้จะถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ และมูลค่ารองรับจะเป็นเท่าไร ก็สามารถทดสอบได้ในตลาดกลาง หรือที่ศูนย์รวมพระเครื่องพระบูชา ก็ค้นหาสนนราคาพระที่แบบเดียวกันหรือใกล้เคียงกันเสียก่อน แล้วนำไปตีราคาขายในศูนย์พระ โดยตีราคาให้สูงๆ เกินๆ ไว้ ถ้าเขาขอซื้อต่อรองราคาก็แสดงว่าพระของเราถูกต้องตามมาตรฐานสากล และราคาที่เขาต่อรองก็คือมูลค่ารองรับ ทดลองสอบถามดูหลายๆ ร้านก็พอจะนำมาประเมินราคามูลค่ารองรับได้แล้วครับ เพราะราคาที่เขาต่อรองจะไม่ต่างกันมากนัก พอจะเอามาเป็นหลักเกณฑ์ได้ในขณะนั้นๆ ราคามูลค่าของพระเครื่องจะขึ้นและลงตามกาลเวลา บางครั้งขึ้นไปมากหรือลงราคามากเช่นกัน ขึ้นอยู่กับความนิยมและความต้องการเวลานั้น

ในส่วนที่อยากจะรู้เพียงถูกต้องตามมาตรฐานสากลหรือไม่ก็นำพระนั้นๆ ไปขอตรวจสอบออกใบรับรองความถูกต้องได้ตามสถานที่ที่เขารับออกใบรับรอง บางสถาบันก็รับประเมินราคาด้วยก็ว่ากันไป สนใจชอบแบบไหนก็เลือกแบบนั้นครับ

วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับหลายๆ ล้านบาท มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระร่วงกรุน้ำ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสุโขทัยเดิมเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ดังนั้นจึงมีวัดวาอารามมากมาย รวมทั้งเมืองลูกหลวง เมืองหน้าด่านต่างๆ แสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรและศาสนา ในจังหวัดสุโขทัยจึงพบพระกรุต่างๆ มากมาย

พระเครื่องที่มีชื่อเสียงของสุโขทัยก็มีมากหลากหลายชนิด มีพระร่วงนั่งอยู่แบบหนึ่งที่ปัจจุบันแทบไม่ได้พบเห็นกันเลย จนทำให้ลืมเลือนกันไป คือพระร่วงนั่งกรุน้ำ ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเป็นพระเครื่องที่ได้รับการกล่าวขวัญกันมากถึงเรื่องพุทธคุณที่โดดเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อนเล่าขานเรื่องราวประสบการณ์ให้ฟังว่าเป็นที่เชื่อถือไว้ใจได้ แต่ก็เป็นพระที่หายากมาแต่ในสมัยก่อน เนื่องจากพระกรุนี้ชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงมีพระที่สมบูรณ์ขึ้นมาจากกรุน้อยมาก

พระร่วงนั่งกรุน้ำ มีการพบมานานมาก จากการบอกเล่าประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว มีผู้เข้าไปขุดกรุพระหาสมบัติ ได้ลักลอบเข้าขุดในบริเวณวัดมหาธาตุสุโขทัย ซึ่งมีวัดและเจดีย์มากมาย สถานที่พบไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าตรงบริเวณใดแน่ แต่จากคำบอกเล่าและสังเกตดูพระเครื่องที่พบนั้นสอดคล้องกับคำบอกเล่า และก็เป็นที่มาของชื่อเรียกคำว่า "กรุน้ำ" คณะผู้ที่เข้าไปลักลอบขุดบอกเพียงว่าไปขุดบริเวณวัดมหาธาตุ ใกล้ๆ กับริมน้ำ และพบกรุพระ ก็ได้ขุดเข้าไปจนพบพระ แต่เมื่อถึงกรุพระนั้น ปรากฏว่ามีน้ำท่วมกรุพระอยู่ประมาณ 70% ของกรุ ก็ได้พระมาจำนวนหนึ่งเป็นพระเนื้อชิน เงิน ลักษณะเป็นพระร่วงนั่งปางสมาธิ มีอยู่หลายพิมพ์ แต่พระส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมขัง จึงทำให้องค์พระชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ มีพระที่สมบูรณ์น้อยมาก จากการบอกเล่าของผู้ที่เข้าไปขุดกรุนั้นบอกว่า ในกรุจะมีพระอะไรอีกหรือไม่นั้นไม่ทราบ เพราะขุดลงไปได้ไม่ลึกนักก็ต้องเลิกขุดเพราะน้ำท่วมขังจนไม่สามารถขุดต่อได้ และพระส่วนใหญ่ก็ชำรุดผุพังเสียเป็นส่วนใหญ่จึงเลิกขุดต่อ

พระร่วงกรุน้ำที่พบจึงมีแต่พระร่วงนั่งปางสมาธิเท่านั้น พระกรุนี้ที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงิน พุทธลักษณะคล้ายกันทุกพิมพ์ ผิดกันที่ขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย ขนาดองค์พระเป็นพระขนาดย่อม ใหญ่กว่าพระเชตุพนไม่มากนัก สูงประมาณ 2.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 1.7 ซ.ม. ขนาดกำลังเลี่ยมห้อยคอครับ พระที่พบจะมีสนิมเกาะกินอยู่ตามองค์พระ บ้างก็มีผิวพระระเบิดเสียเป็นส่วนใหญ่ หาพระสมบูรณ์ยากมาก เพราะตัวกรุถูกน้ำท่วมขัง

พระร่วงนั่งกรุน้ำ สุโขทัย ทางด้านพุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาด ในสมัยก่อนเป็นที่หวงแหนกันมาก เนื่องจากหาพระสมบูรณ์ยากมาก ปัจจุบันพระร่วงนั่งกรุน้ำแทบจะไม่เคยพบเห็นกันเลย ขนาดรูปพระก็ยังหายากครับ เป็นอีกหนึ่งพระเครื่องที่มีประสบ การณ์มากและหายากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงนั่งกรุน้ำ สุโขทัย จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ (หน้า 24)
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระสมเด็จ พิมพ์อกครุฑ วัดบางขุนพรหม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างบรรจุไว้ที่วัดบางขุนพรหม มีพระสมเด็จอยู่พิมพ์หนึ่งซึ่งมีศิลปะขององค์พระแปลกแยก จากกลุ่มพระอื่นๆ คือพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ ทำไมผมจึงกล่าวเช่นนั้น เดี๋ยวเราจะมาคุยกัน

พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ ในสมัยก่อนนั้นอาจจะมีการเรียกชื่อแตกต่างจากปัจจุบัน คือในสมัยก่อนจะเรียกว่า "พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร" ทำไมจึงเรียกเช่นนั้น เรามาดูศิลปะขององค์พระ ในส่วนพระเศียรของ องค์พระจะนูนเด่นและดูกลมโตคล้ายบาตรของพระสงฆ์ หน้าอกขององค์พระนูนเด่นล่ำสัน คล้ายอกของครุฑ องค์พระอวบล่ำ องค์ประกอบของพระพักตร์เช่น พระกรรณ (หู) กางหนามองดูคล้ายกับสวมชฎา

ประกอบกับพระเกศที่หนาสั้น ในส่วนนี้พระพิมพ์อกครุฑแม่พิมพ์กลางจะเห็นได้ชัดว่าแม่พิมพ์อื่นๆ และแม่พิมพ์กลางก็จะเป็นแม่พิมพ์ที่พบมากที่สุดกว่าแม่พิมพ์อื่นๆ ถ้ามองโดยรวมแล้ว พระสมเด็จพิมพ์นี้มองดูคล้ายๆ กับครุฑ จึงเป็นมูลเหตุที่ตั้งชื่อกันเพื่อแยกพิมพ์ของพระแต่ละกลุ่มตามที่เห็นเด่นชัดว่า "อกครุฑเศียรบาตร" ต่อมาก็เรียกกันให้สั้นๆ ว่า "พิมพ์อกครุฑ" พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑนั้น นอกจากพระพักตร์จะกลมโตนูน ลำพระองค์จะล่ำ หน้าตักของพระก็หนา ฐานแต่ละชั้นเป็นแท่งตันหนาทั้ง 3 ชั้น ที่ไม่เหมือนกับพระพิมพ์อื่นๆ ของพระในตระกูลพระสมเด็จ อีกอย่างก็คือเส้นฐานของซุ้มเรือนแก้ว เราจะเห็นว่าพระกลุ่มนี้ไม่มีเส้นฐานซุ้มเรือนแก้ว แต่พระสมเด็จพิมพ์อื่นๆ จะมีเส้นฐานซุ้มเรือนแก้วทุกพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ หรือบางขุนพรหม ศิลปะโดยรวมของพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑนั้น ก็ดูจะแตกต่างจากกลุ่มพระสมเด็จพิมพ์อื่นๆ ทุกพิมพ์

พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ เท่าที่พบและถือเป็นมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับของสังคมพระเครื่อง มีอยู่ 3 พิมพ์คือ พิมพ์อกครุฑใหญ่ พิมพ์อกครุฑกลาง และพิมพ์อกครุฑเล็ก พิมพ์อกครุฑเล็กจะพบน้อยมาก เท่าที่พบเห็นส่วนมากจะเป็นพิมพ์อกครุฑใหญ่ และพิมพ์อกครุฑกลางเสียเป็นส่วนใหญ่ และพิมพ์ที่พบเห็นมากที่สุดก็จะเป็นพิมพ์อกครุฑกลาง

พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑนั้นมีเรื่องเล่าขานกันมากมายหลายเรื่อง เช่นเรื่องพระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ ที่ว่ากันว่าเป็นพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร เป็นต้น ก็เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อๆ กันมา ในส่วนนี้ผมคงจะไม่ไปกล่าวถึง คงจะขอกล่าวถึงพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑของกรุวัดบางขุนพรหม ที่เป็นที่ยอมรับว่ามีมูลค่ารองรับเป็นมาตรฐานสากลของสังคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาเท่านั้น และพระพิมพ์นี้ตอนที่เปิดกรุอย่างเป็นทางการก็พบพระพิมพ์นี้อยู่กรุด้วย พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑของวัดบางขุนพรหมเท่าที่พบในสังคมพระเครื่องก็มีทั้งที่เป็นพระกรุเก่าคือไม่มีขี้กรุเนื้อจัด และพระกรุใหม่ที่มีขี้กรุจับอยู่บนผิวขององค์พระ และก็อาจจะเป็นไปได้ว่าพระของวัดบางขุนพรหมก่อนบรรจุกรุนั้นก็อาจจะมีพระบางส่วนที่แจกจ่ายไปก่อนที่บรรจุในกรุก็เป็นไปได้

พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ เท่าที่เขาแยกพิมพ์ไว้ โดยให้ชื่อตามขนาดขององค์พระ แม่พิมพ์ที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่าแม่พิมพ์อื่นก็ตั้งชื่อว่าพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์ที่มีขนาดย่อมลงมาหน่อยก็เรียกว่าพิมพ์กลาง และแม่พิมพ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นพิมพ์เล็ก ในสมัยก่อนพระพิมพ์เล็กก็มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพิมพ์ว่าวจุฬา เนื่องจากวงแขนขององค์พระกางออกมองดูมีลักษณะคล้ายว่าวจุฬา แต่ปัจจุบันก็เรียกแค่พิมพ์เล็กเท่านั้น ศิลปะของพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑทั้ง 3 แม่พิมพ์ มีลักษณะแตกต่างจากพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้ทุกพิมพ์อย่างที่บอกมาตั้งแต่ต้น และทั้ง 3 แม่พิมพ์นี้มีลักษณะศิลปะไปในทางเดียวกัน จึงสันนิษฐานได้ว่าช่างผู้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑทั้ง 3 แม่พิมพ์นี้น่าจะเป็นคนคนเดียวกัน ศิลปะจึงออกมาในทางเดียวกัน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ ทั้ง 3 แม่พิมพ์มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระร่วงหลังรางปืน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระร่วงหลังรางปืน ในสังคมพระเครื่องก็จะหมายถึงพระร่วงของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นพระร่วงยืนเนื้อชินตะกั่วเนื้อชินสนิมแดง ซึ่งเป็นพระเนื้อชินยอดนิยมที่หายากสนนราคาสูง ส่วนพระร่วงยืนที่มีลักษณะคล้ายๆ กันก็จะมีชื่อเรียกคำต่อท้ายแตกต่างกันไป เช่น พระร่วงหลังลายผ้า ลพบุรี หรือพระร่วงกรุหนองแจง ฯลฯ เป็นต้น

ครับพระร่วงหลังรางปืนเป็นพระร่วงยืนเนื้อตะกั่วสนิมแดงที่หายากที่สุด เนื่องจากในตอนที่ถูกพบขึ้นจากกรุนั้นมีจำนวนพระที่สมบูรณ์น้อยมาก นอกนั้นจะเป็นพระที่ชำรุดแตกหักเสียเป็นส่วนใหญ่ การเสาะแสวงหาจึงหายาก และได้รับความนิยมสูง ด้วยประสบการณ์จากการใช้ห้อยคอของ ผู้ที่มีไว้ก็จะมีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดสูง อีกทั้งในด้านความเจริญก้าวหน้าก็ยอดเยี่ยม

พระร่วงหลังรางปืนเป็นพระที่มีศิลปะขอม พุทธลักษณะเป็นพุทธรูปยืนปางประทานพร ภายในซุ้มเรือนแก้วแบบศิลปะขอม เนื้อของพระเป็นชินตะกั่วสนิมแดงเกือบทั้งองค์ มีไขขาวคลุมทับอีกชั้นหนึ่ง เหตุที่มีชื่อเรียกว่าพระร่วงหลังรางปืนก็เนื่องจากในตอนที่พบพระนั้น ด้านหลังของพระร่วงหลังรางปืนจะมีร่องรางที่ด้านหลังขององค์พระทุกองค์ ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของพระร่วงยืนกรุนี้ ซึ่งแตกต่างจากพระร่วงยืนศิลปะขอมเมืองลพบุรีที่แตกกรุมาก่อน ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กัน แต่ของเมืองลพบุรีด้านหลังจะมีลักษณะเป็นลายผ้า ก็เลยตั้งชื่อตามลักษณะด้านหลังขององค์พระตามที่เห็นเป็นร่องราง ในสมัยแรกๆ ก็เรียกพระร่วงกรุนี้ว่า "พระร่วงหลังร่อง" ส่วนคำว่าปืนอาจจะมีต่อท้ายในภายหลังจากพุทธคุณที่เด่นทางด้านอยู่คง ยิงไม่ออกอะไรทำนองนั้น จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกของพระร่วงหลังรางปืน

พระร่วงหลังรางปืนก็มีร่องรอยของการผลิตให้เห็นอย่างชัดเจนคือด้านหลังที่เป็นร่อง และร่องด้านหลังก็เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง เท่าที่พบเห็นส่วนมากก็จะมีร่องรางเป็น 2 แบบ และทุกองค์จะเป็นแบบนี้ ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง จึงทำให้พอสันนิษฐานได้ว่าที่ด้านหลังเป็นลักษณะแบบนี้คงเป็นเพราะแบบพิมพ์ด้านหลัง ทำให้รู้ได้ว่าพระร่วงหลังรางปืนเป็นพระที่มีแม่พิมพ์ด้านหลังแบบประกบ ไม่ได้เป็นแบบพิมพ์ที่มีแต่ด้านหน้าเพียงชิ้นเดียว

นอกจากนี้ที่ด้านใต้ฐานของพระยังปรากฏร่องรอยของการผลิตอีก ทำให้รู้ได้อีกว่าเป็นพระที่เทเนื้อโลหะจากด้านล่างใต้ฐานลงไปในแม่พิมพ์ ซึ่งก็จะยังพอเห็นร่องรอยนี้อยู่ในพระแท้ๆ

ครับร่องรอยการผลิตนั้นสำคัญมากในการพิสูจน์ทราบว่าองค์พระนั้นๆ แท้หรือไม่อย่างหนึ่ง ซึ่งในการที่จะรู้ว่าพระองค์นั้นๆ แท้หรือไม่ก็ต้องใช้เหตุผลหลายๆ อย่างมาประกอบกันว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร ไม่ใช่จะพิจารณาแบบมั่วๆ กันไปเท่านั้น และยิ่งในปัจจุบันการปลอมแปลงพระเครื่องมีการพัฒนาในการทำปลอมดีขึ้น จึงต้องใช้เหตุผลหลายๆ อย่างมาประกอบกัน ไม่ใช่ฟังนิยายที่คนขายโม้เล่าให้ฟังโดยไร้เหตุผล การพิจารณาพระเครื่องของสังคมที่เล่นหาโดย มีมูลค่ารองรับนั้น เขามีเหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์มารองรับ และสามารถอธิบายได้ เพราะพระบางองค์มีมูลค่าสูงมาก จะใช้หูฟังนิยายอย่างเดียวไม่ได้โดยเด็ดขาด ต้องใช้เหตุผลที่เชื่อถือได้และพิสูจน์ได้เท่านั้นครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงหลังรางปืน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย ที่มีด้านหลังทั้ง 2 แบบ จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์




แม้แต่ในการผ่าฟืนของชาวบ้านธรรมดา เมื่อผ่าฟืนสำเร็จ มันก็มีความหมายแห่งศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในการผ่าฟืน" สารธรรม มงคล ท่านพุทธทาสภิกขุ สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี "หลวงปู่ยิ้ม จันทโชติ" หรือหลวงพ่อเฒ่ายิ้ม พระเถราจารย์ชื่อดัง อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังล้วนเป็นที่นิยมสะสม โดยเฉพาะพระปิดตา สร้างจากผงวิเศษที่ทำเอง โดยใช้เวลารวบรวมมวล สารถึง 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2439-2441 ส่วนผสมต้องตรงตามสูตรการสร้างพระปิดตาแบบโบราณอย่างเคร่งครัด ซึ่งโดยส่วนใหญ่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ ผงอิทธิเจ ปถมัง มหาราช ตรีนิสิงเห ว่าน 108 ดอกไม้บูชาพระ ไคลโบสถ์ ฯลฯ จากนั้นปลุกเสกจนถึงปี พ.ศ.2445 จึงนำออกมามอบให้ มีทั้งเนื้อเหลือง เนื้อขาว เนื้อผงเทา เนื้อผงคลุกรัก เนื้อผงธูป เนื้อขี้เป็ด เนื้อตะกั่ว ฯลฯ ทั้งแบบจุ่มรักและคลุกรัก เนื้อนิยม คือ เนื้อเหลือง ลักษณะเป็นพระปิดตาแบบลอยองค์ องค์พระประทับนั่ง ปางสมาธิราบ พระหัตถ์ปิดพระเนตร มี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่, พิมพ์สังกัจจายน์ และพิมพ์แข้งซ้อน พิมพ์ใหญ่ ยังแบ่งเป็น พิมพ์ใหญ่ชะลูด และพิมพ์ใหญ่ต้อ ซึ่งต่างกันเพียงพิมพ์ใหญ่ต้อ จะมีความสูงน้อยกว่าและดูต้อกว่า พิมพ์ใหญ่ชะลูด นับเป็นพิมพ์ยอดนิยม ทุกพิมพ์มีพุทธคุณเด่นรอบด้านเป็นที่ประจักษ์ "หลวงพ่อทอง" วัดวรนาถบรรพต (เขากบ) ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ วัตถุมงคลได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" ที่เรียกกันว่า "เหรียญหลวงพ่อทอง รุ่นหลังเงา" ลักษณะเป็นเหรียญ ปั๊มกลมรูปไข่ เนื้อทองแดง บริเวณขอบโดยรอบทั้งด้านหน้าและด้านหลังยกเป็นเส้นลวดนูน 2 ชั้น ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อทองครึ่งองค์ หันหน้าตรง ห่มจีวร พาดสังฆาฏิ คาดผ้ารัดอกที่เรียกว่า ห่มเต็ม มีอักษรจารึกว่า "หลวงพ่อ วัดกบ" ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปพระเจดีย์องค์ใหญ่วัดเขากบ กลางองค์เจดีย์เป็นยันต์ตัวเฑาะว์ขัดสมาธิ ยอดเป็นอุณาโลม พื้นเหรียญด้านหลังมีรูปหลวงพ่อทองแกะเป็นลายเส้นบางๆ เห็นเป็นเงาจางๆ จึงเรียกว่า รุ่นหลังเงา "หลวงพ่อพร้า อัตตสันโต" เจ้าอาวาสวัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เจ้าของสมญานาม "หลวงพ่อพร้า เจ้าตำรับน้ำมนต์บาทเดียว" อนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล "รูปหล่อบูชา หลวงพ่อพร้า "น้ำมนต์บาทเดียว" ขนาดบูชา หน้าตักกว้าง 5.9 นิ้ว รายได้สมทบทุนสร้างมณฑป วัดโคกดอกไม้ หลวงพ่อพร้าเสกเดี่ยวตลอดพรรษา พระบูชา รูปหล่อเหมือน "หลวงพ่อพร้า น้ำมนต์บาทเดียว" จัดสร้างด้วยเนื้อทองเหลือง ลักษณะเป็นรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อพร้านั่งพนมมือทำน้ำมนต์บนอาสนะ ด้านหน้ามีบาตรน้ำมนต์ มีเทียนน้ำมนต์วางพาดบนบาตร ที่บาตรมีอักขระขอม "นะ โม พุท ธา ยะ" ใต้ฐานอุดผงมวลสารและแผ่นยันต์ ที่อาสนะ ด้านหลัง มีอักษรไทย "หลวงพ่อพร้า น้ำมนต์บาทเดียว วัดโคกดอกไม้ ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ๒๕๖๑"

"หลวงปู่แย้ม ฐานยุตโต" หรือ "พระครูประยุตนวการ" อดีตพระเกจิอาจารย์อาวุโสนครปฐม วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม เหรียญรุ่นแรก สร้างเมื่อปี พ.ศ.2516 ที่ระลึกงานทำบุญฉลองอายุครบ 5 รอบ (60 ปี) ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาส งานนี้คณะลูกศิษย์ร่วมกันจัดสร้างถวาย แต่ไม่กล้าขออนุญาต จึงไปขออนุญาตหลวงพ่อเต๋ เจ้าอาวาสวัดสามง่ามแทน นับได้ว่าได้รับการปลุกเสกจากทั้งหลวงพ่อเต๋และ หลวงปู่แย้ม สองพระเกจิชื่อดัง เหรียญ รุ่นแรกหลวงปู่แย้ม ปี 16 ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ หูในตัว ยกขอบหน้า-หลัง ด้านหน้าเหรียญ มีขอบเส้นลวดอีกชั้นหนึ่ง ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่แย้มห่มคลุมจีวรหันข้างไปทางขวา ด้านล่างมีอักษรไทยว่า "พระอาจารย์แย้ม ฐานยุตฺโต" ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์พุทธะสังมิ ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัวของท่าน มีข้อความว่า "ทำบุญฉลองครบอายุ ๕ รอบ รองเจ้าอาวาส วัดสามง่าม นครปฐม" และมีการตอกโค้ดตัว "ย" ทุกเหรียญ เหรียญรุ่นแรกนี้สร้างเป็นเนื้อเงิน นวโลหะ และทองแดง มีจำนวนไม่เกิน 2,500 เหรียญ เป็นเหรียญยอดนิยมที่เสาะแสวงหา
  อริยะ เผดียงธรรม ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่ง วัดชนะสงคราม พ.ศ.2484

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของวัดชนะสงคราม สนนราคาก็ไม่สูงและยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนัก แต่พิธีการสร้างและพุทธาภิเษก นั้นยอดเยี่ยมมาก เจตนาการสร้างก็ดีด้วย

วัดชนะสงครามนั้นเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมมีชื่อว่าวัดกลางนา และชื่อวัดตองปุ ตามลำดับ ต่อมาเมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้ากรมพระราชวังบวรสุรสีหนาท ได้ออกทำศึกสงครามกับพม่า และได้มาประชุมพลที่วัดแห่งนี้และได้รับชัยชนะกลับมาถึงสองครั้งสองครา คือครั้งสงครามเก้าทัพและสงครามท่าดินแดง

หลังจากกลับจากศึกแล้วท่านจึงได้สถาปนาวัดชนะสงครามขึ้นใหม่ทั้งวัด และเมื่อเสร็จสิ้นแล้วได้ถวายเป็นราชพลีแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์จึงพระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดชนะสงคราม" อันหมายถึงการได้รับชัยชนะจากศึกสงคราม

สำหรับการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นั้นก็เนื่องมาจากประเทศไทย ได้ส่งทหารเข้ารบในสงครามอินโดจีน ทางการได้ส่งทหารอาสาเข้ารบเป็นจำนวนมาก วัดวาอารามต่างๆ ก็ได้สร้างวัตถุมงคลเพื่อแจกจ่ายให้กับทหารไว้บูชาติดตัว ทางวัดชนะสงครามโดยท่านเจ้าอาวาสพระสุเมธมุนี (ลับ) จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อแจกทหารอาสาส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเพื่อให้ประชาชนบูชาเพื่อเตรียมรับภัยสงครามที่กำลังลามมายังประเทศไทย

การสร้างพระกริ่งพระชัยวัฒน์ครั้งนี้ได้ประกอบพิธีกันในลานหน้าพระอุโบสถวัดชนะสงคราม และมีหลวงภูมินาถสนิท เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และหลวงภูมิฯ ได้บันทึกไว้ว่า รายนามพระเถระที่ลงแผ่นทองในพิธีหล่อมีดังนี้

พระสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณสุเมธมุนี (ลับ) วัดชนะฯ ท่านเจ้าคุณอ่ำ วัดวงฆ้อง ท่านเจ้าคุณพระญาณไตรโลก (ฉาย) วัดพนัญเชิง หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ ท่านเจ้าคุณวิเชียรโมลี วัดบรมธาตุกำแพงเพชร ท่านเจ้าคุณธรรมธีรคุณ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ท่านพระครูวิจิตรธรรมบาล หลวงพ่อชม วัดประดู่ทรงธรรม หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อทัต วัดห้วยหินระยอง

พระครูคณานุยุตวิจิตร พัทลุง หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์ ท่านพระครูปลัดมา วัดเลียบ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู หลวงพ่อบุญชู วัดโปรดเกษ ท่านเจ้าคุณชิต วัดมหาธาตุเพชรบุรี หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน

หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน หลวงพ่อดาบเพชร วัดชนะฯ หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ หลวงพ่อใย วัดระนาม พระอาจารย์พูน วัดหัวลำโพง พระอาจารย์สา วัดเทพธิดาราม พระอาจารย์ปลั่ง วัดราชนัดดา พระอาจารย์ขั้ว วัดมะปรางหวาน พระอาจารย์จันทร์ วัดสำราญ พระอาจารย์นอ วัดใหม่โพธิ์เอน พระอาจารย์นวม วัดขวาง พระอาจารย์น้อย วัดศีรษะทอง ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิสมโภชน์ วัดพระเชตุพน พระอาจารย์ทองดี วัดท่าเกวียน

นอกจากนี้หลวงภูมิฯ ยังได้บันทึกไว้ว่า ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ท่านยังได้เป็นประธานในพิธีกรรมตลอดการเททอง และพุทธาภิเษก และหลวงภูมิฯ ยังได้นำชนวนมงคลจากพิธีที่วัดราชบพิธ และวัดสุทัศน์มาผสมอีกจำนวนหนึ่งด้วย จากบันทึกบอกกล่าวถึงพิธีหลอมโลหะนั้น ได้มีตะกรุดและแผ่นทองที่ไม่หลอมละลายจำนวนมาก ต้องนิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมในพิธีร่วมกันเพ่งกระแสจิตจึงจะละลายลงในที่สุด นับเป็นปรากฏการณ์อันประหลาดมหัศจรรย์อย่างยิ่ง

ต่อมาในเดือนมกราคมปี พ.ศ.2484 จึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษก ตลอดสามวันสามคืน มีหลวงพ่อจง หลวงพ่อจาด หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อจันทร์เป็นประธานนั่งปรกสลับกับพระเถระรูปอื่นๆ จากทั่วประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมลงแผ่นทองมาก่อนหน้านั้นแล้ว

ครับพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของวัดชนะสงครามที่สร้างในครั้งนี้จึงเป็นพระที่น่าใช้บูชามาก ตามความเห็นของผมนะครับ เนื่องจากแผ่นชนวนลงอักขระจากพระคณาจารย์ที่โด่งดังในยุคนั้นครบถ้วน และพิธีพุทธาภิเษกก็ยอดเยี่ยมตามที่มีบันทึกของท่านหลวงภูมิฯ อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่สูงและยังพอหาบูชาได้ไม่ยากนักครับ

ผมได้นำรูปพระกริ่ง วัดชนะสงคราม ทั้งด้านหน้า ด้านหลังและก้นมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 พฤศจิกายน 2562 15:33:44 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #130 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2562 15:38:15 »


พระขุนแผน วัดพระรูป

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในสมัยก่อนพวกหนุ่มๆ ก็จะนิยมพระขุนแผนกันมาก คงอินกับวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผนนั่นแหละครับ แหมก็ตัวพระเอกของเรื่องก็ตัวขุนแผนน่ะทั้งเก่ง ทั้งมีเสน่ห์ ใครเห็นใครรักใครเห็นใครหลง หญิงเห็นหญิงรัก ชายเห็นชายนิยม มีภรรยาหลายคน อีกทั้งเวทมนตร์คาถาก็สุดยอด อยู่ยงคงกระพันชาตรี เสกได้สารพัดนี่ครับ พวกชายหนุ่มก็มักจะชอบเสาะแสวงหาพระขุนแผนมาห้อยคอ เผื่อจะได้มีเสน่ห์แบบเดียวกับขุนแผนในวรรณคดี

ในสมัยก่อนนั้นถ้าพูดถึงพระขุนแผนก็จะนึกถึงพระขุนแผนกรุวัดพระรูป ที่เรียกว่าพระขุนแผนไข่ผ่า หรือพระขุนแผนแตงกวาผ่า โบราณเขาตั้งชื่อพระแบบนี้ก็คงจะเห็นองค์พระที่ฐานบัวนั้นมีลักษณะมองดูคล้ายๆ กับรูปเด็กนอนอยู่ และที่ด้านขวามือเราเห็นกลีบบัวเป็นเส้นสองเส้นคล้ายๆ กับขาของเด็กยกขึ้น ก็เลยนึกถึงกุมารทอง ก็นึกเลยไปถึงขุนแผนซะเลย เหตุนี้กระมังจึงตั้งชื่อกัน ในสมัยนั้นว่าพระขุนแผน อีกอย่างพุทธคุณของพระขุนแผนวัดพระรูปก็เด่นทางด้านเมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาดอีกด้วย จึงเป็นที่นิยมกันมาก

ในสมัยก่อนพวกทำพระปลอมก็ยังทำรูปพระขุนแผนแบบของวัดพระรูป ที่ใต้ฐานก็จะทำเป็นรูปเด็กกุมารทองนอนอยู่ด้านล่าง เร่ขายตามตลาดหรือเล่นกลหลอกขายพระขุนแผนกันอยู่ สมัยนี้ไม่มีแล้ว พวกทำพระปลอม เขาเก่งขึ้นทำได้ใกล้เคียงทีเดียว

พระขุนแผนกรุวัดพระรูปเป็นพระที่พบในบริเวณวัดพระรูป แต่มิได้พบในองค์พระเจดีย์ พบเรี่ยราดอยู่ตามพื้นดินในบริเวณวัดพระรูป สอบถามคนเฒ่าคนแก่ในสมัยก่อนบอกว่าประมาณปี พ.ศ.2446 เมื่อก่อนนั้น วัดพระรูปรกร้างเป็นป่าปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่มีฝูงลิง มาอาศัยอยู่มาก และมีเจดีย์อยู่หลายองค์ ต่อมาก่อนที่กรมศิลปากรจะมาบูรณะซ่อมแซมเจดีย์ต่างๆ ก็ปรักหักพังทลาย ลงมาจนเหลืออยู่องค์เดียวตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน พระกรุวัดพระรูปก็คงจะอยู่ในองค์พระเจดีย์ที่พังทลายลงมาองค์ใดองค์หนึ่ง พระเครื่องของกรุนี้จึงกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามพื้นดิน ในสมัยก่อนก็ไม่ค่อยมีผู้ใดสนใจนัก ใครอยากได้ก็ไปเก็บเอา ซึ่งก็มีจำนวนมากมาย และมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระขุนแผน พระขุนไกร พระยุ่งหรือพระกุมารทอง พระพลายงาม และพระพันวษา เป็นต้น ก็ตั้งชื่อกันตามวรรณคดี ขุนช้าง-ขุนแผน พระเครื่องทั้งหมดที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด เนื้อพระจะมีกรวดทรายผสมอยู่ในเนื้อพระ เนื้อหนึกแกร่ง พระกรุนี้ด้านหลังจะเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง คือ ด้านหลังจะอูมนูน

พระขุนแผนไข่ผ่า ด้วยความที่ด้านหลัง อูมนูน รูปทรงกรอบขององค์พระมองดูคล้ายๆ กับไข่ไก่ผ่าซีก จึงเรียกกันว่าพระขุนแผนไข่ผ่า ส่วนอีกพิมพ์หนึ่ง องค์พระเป็นพิมพ์เดียวกัน แต่รูปทรงกรอบนอกออกจะยาวรีมีด้านข้างแคบกว่าพิมพ์ไข่ผ่า มองดูคล้ายๆ กับแตงกวาผ่าซีก เลยเรียกกันว่า พิมพ์แตงกวาผ่าซีก แต่ละพระจะมีแม่พิมพ์เดียวกัน ผิดกันเฉพาะรูปทรง กรอบด้านนอกเท่านั้น เพราะทั้ง 2 พิมพ์ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยาก พระปลอมมีมากมายและมีหลากหลายฝีมือ ที่ทำได้ดีใกล้เคียงก็มี แต่ถ้าเราศึกษาพิมพ์ให้ดีก็พอจะแยกแยะได้ จุดรายละเอียดแม่พิมพ์จะมีเอกลักษณ์อยู่หลายจุด โดยเฉพาะเนื้อหาความเก่าและคราบกรุที่ทำปลอมได้ยาก แต่ก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ เช่าหาจากผู้ที่เชื่อถือได้ก็จะปลอดภัยกว่าครับ เนื่องจากปัจจุบันสนนราคาก็ค่อนข้างสูงอยู่ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระขุนแผน พิมพ์ไข่ผ่าซีก กรุวัดพระรูป จากหนังสืออมตะ พระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตาหลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า ชลบุรี

สวัสดีครับท่าน ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาสายเมืองชลเป็นพระที่นิยมกันมาก ตั้งแต่พระปิดตาของหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พระปิดตาหลวงปู่ภู่ วัดนอก พระปิดตาหลวงพ่อโต วัดเนิน พระปิดตาหลวงพ่อเจียม วัดกำแพง และพระปิดตาหลวงพ่อครีพ วัดสมถะ ถือเป็น 5 สุดยอดพระปิดตาผงคลุกรักของเมืองชล ในปัจจุบันก็หายากมากและมีสนนราคาสูงมาก พระปิดตาสายเมืองชลที่มีอาวุโสรองลงมา เช่น พระปิดตาหลวงปู่ศรี วัดอ่างศิลา พระปิดตาหลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า พระปิดตาหลวงพ่อเหมือน วัดกำแพง ปัจจุบันก็มีราคาสูง และหาแท้ๆ ยากเช่นกันครับ

พระปิดตา วัดป่า เป็นคำเรียกกันง่ายๆ แต่ก็พอเข้าใจกันในหมู่นักนิยมสะสมพระเครื่องว่าเป็นพระปิดตาของหลวงพ่อเฮี้ยง วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) ชลบุรี หลวงพ่อ เฮี้ยงเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดป่า และเป็นอดีตเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี มรณภาพในปี พ.ศ.2511 ในสมัยที่ท่านยังเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอยู่นั้นท่านได้สร้างพระเครื่องไว้หลายอย่าง และในปี พ.ศ.2495 ท่านได้ดำริที่จะสร้างพระปิดตาขึ้น ท่านได้รวบรวมพระเนื้อผงเก่าๆ ที่หักชำรุดและมีคนมาถวายไว้ อีกทั้งท่านยังได้ขอผงพุทธคุณของหลวงพ่อแก้วที่ทางวัดเครือวัลย์เก็บรักษาไว้มาบางส่วน ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเจียม จากวัดกำแพง ผงพุทธคุณของหลวงพ่อโต จากวัดเนินสุธาวาส ผงพุทธคุณของหลวงปู่ภู่ จากวัดนอก ผงพุทธคุณเหล่านี้ทางวัดแต่ละวัดได้เก็บรักษาไว้และนำมาถวายให้หลวงพ่อเฮี้ยงนำมาผสมสร้างพระ

พระปิดตาหลวงพ่อเฮี้ยงที่นิยมมากที่สุดก็เป็นพระปิดตาที่สร้างในปี พ.ศ.2495 พิมพ์ที่สร้างพระปิดตาในปีนั้น มีพิมพ์หกเหลี่ยมหลังตะแกรง พิมพ์เม็ดบัว พิมพ์สะดือเล็ก พิมพ์หลังอิติ เป็นต้น นอกจากนี้หลวงพ่อเฮี้ยงก็ยังสร้างพระปิดตาและพระอื่นๆ อีกหลายแบบ และหลายปีต่อมา จนหลวงพ่อมรณภาพ พระเครื่องที่หลวงพ่อเฮี้ยงสร้างไว้นิยมทุกพิมพ์และทุกรุ่น แต่ที่นิยมมากที่สุดก็จะเป็นพระปิดตาที่สร้างในปี พ.ศ.2495 ค่านิยมสูงมาก ปัจจุบันก็หายาก

พุทธคุณของพระปิดตาหลวงพ่อเฮี้ยง ก็เด่นทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด มีประสบการณ์มากมาย พระปิดตาปี 2495 ของหลวงพ่อเฮี้ยงปัจจุบันก็มีการปลอมกันมากให้เห็นอยู่ เวลาจะเช่าหา ก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ เนื่องจากปัจจุบันสนนราคาถึงหลักแสนทีเดียวครับ พวกนักทำพระปลอมก็ไม่ยอมพลาดโอกาสทำปลอมกันตามระเบียบครับ ส่วนพระในรุ่นอื่นๆ ของหลวงพ่อเฮี้ยงก็ราคารองๆ กันลงมา และก็มีพุทธคุณดีเหมือนๆ กันครับ เรื่องค่านิยมและมูลค่ารองรับก็ว่ากันไปตามความนิยมของสังคม ส่วนเรื่องพุทธคุณนั้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาของหลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า ชลบุรี พิมพ์หกเหลี่ยมหลังตะแกรง และพระปิดตาพิมพ์สะดือเล็ก จากนิตยสารพระท่าพระจันทร์ มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระหูยาน ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน อาณาจักรลพบุรีเคยเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในอดีต สมัยที่ขอมมีอำนาจ อยู่ในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปกครองดินแดนแถบนี้ได้สร้างโบราณสถานทั้งแบบศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ พร้อมทั้งประติมากรรมและพระพิมพ์ไว้มากมาย หนึ่งในพระพิมพ์ที่มีความสำคัญและนิยมกันมาก และถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของลพบุรีเลยก็ว่าได้ก็คือ "พระหูยาน" กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

พระหูยานได้มีการขุดพบกันมานานแล้ว เท่าที่มีการบันทึกบอกเล่าไว้ก็คือ ในปี พ.ศ.2450 ครั้งสมัยพระยากำจัดเป็นเจ้าเมืองลพบุรี ได้มีเจ้าหน้าที่ของเรือนจำเป็นผู้บงการโดยใช้นักโทษเป็นผู้ขุด ณ บริเวณพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ การขุดในครั้งนั้นได้พระพุทธรูปบูชาและพระเครื่องสกุลลพบุรีออกมามากมาย เช่น พระร่วง พระหูยาน พระหลวงพ่อจุก พระหลวงพ่อแขก พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มกระรอกกระแต พระสาม พระเขมรคางคน พระเขมรผมเวียน ฯลฯ พระที่ขุดพบในครั้งนั้นจะเรียกกันว่าพระกรุเก่า ผิวของพระที่ได้มาในครั้งนั้นมักจะมีผิวเป็นสีคล้ำๆ ออกดำ ต่อมามีการลักลอบขุดกันอีกหลายครั้ง เช่น ในปี พ.ศ.2485 แต่ในครั้งหลังๆ ก็ไม่ค่อยได้พระกันมากนัก ต่อมามีการขุดพบครั้งใหญ่อีกครั้งในปี พ.ศ.2508 ซึ่งเป็นการพบครั้งใหญ่ พบพระเครื่องเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะพระหูยาน พระที่พบในครั้งนี้มีผิวปรอทจับขาวทั่วทั้งองค์พระ พระที่พบในครั้งนี้จึงเรียกกันว่า "พระกรุใหม่" นอกจากนี้ก็ยังมีการพบพระหูยานอีกหลายกรุในลพบุรี เช่น พบที่กรุวัดปืน กรุ คอปะ เป็นต้น ซึ่งพิมพ์จะแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย พระหูยานที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนั้นจะมีพบเป็นพิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก และพิมพ์รัศมี เป็นต้น ส่วนพิมพ์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือพิมพ์ใหญ่

พระพุทธศิลปะของพระหูยาน เป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ อยู่บนอาสนะบัวเล็บช้าง 5 กลีบ ตอนบนเป็นเกสรบัวลักษณะเป็นเส้นขีดๆ สั้นๆ 15 ขีด ใต้บัวเล็บช้างลงไปเป็นฐานหน้ากระดาน พระพักตร์ของพระหูยาน พิจารณาอาการอันสงบนิ่งประกอบกับการสำแดงออกแห่งอาการแย้มพระโอษฐ์อย่างล้ำลึก ประณีตเยือกเย็นขององค์พระปฏิมาแล้ว ในความหมายของ "หสิตุปาทะ" คือการยิ้มของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตามแบบอย่างศิลปะขอมที่เรียกกันว่า "ยิ้มแบบบายน" อันเป็นที่ฉงนฉงายในความสำเร็จแห่งพุทธศิลปะบายนอันนี้ ซึ่งอยู่ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งเราสามารถเปรียบเทียบกับประติมากรรมชิ้นใหญ่ที่ปราสาทนครธม ที่เป็นรูปพรหมพักตร์เหนือตัวปราสาท จะมีพุทธลักษณะแบบเดียวกัน จึงทำให้สามารถกำหนดยุคสมัยของพระหูยานลพบุรีได้ครับ

สาเหตุที่มาของชื่อเรียกนั้นก็มาจากพระกรรณ (หู) ของพระหูยานนั้นมีใบพระกรรณทั้ง 2 ข้างยาวลงมาจรดพระอังสา (ไหล่) อันเป็นลักษณะเด่นชัด จึงเรียกขานกันมาแต่เดิมว่า "พระหูยาน" ส่วนในคำว่าลพบุรีนั้นก็เป็นที่มาของเมืองที่พบครับ เนื้อหาของพระหูยานลพบุรีที่พบมีอยู่เนื้อเดียวคือเนื้อชินเงิน ด้านหลังมีทั้งแบบที่เป็นแอ่งและหลังตัน ส่วนใหญ่จะปรากฏลายผ้าหยาบๆ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยาน ลพบุรี พิมพ์ใหญ่ กรุใหม่องค์สวย มาให้ชมครั
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตา หลวงปู่เหรียญ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี พระเกจิอาจารย์ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่ยิ้ม และเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงปู่ยิ้ม หลวงปู่เหรียญได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ปัจจุบันก็เริ่มหายากแล้วเช่นกันครับ

หลวงปู่เหรียญเป็นคนแถวหนองบัวนี่เอง เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2419 โยมบิดาชื่อโศ โยมมารดาชื่อแย้ม พออายุได้ 7 ขวบ บิดาได้นำมาฝากเรียนหนังสือกับพระอุปัชฌาย์ยิ้ม วัดหนองบัว หลวงปู่เหรียญเป็นคนสนใจในการเล่าเรียน และอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและขอม ต่อมาเมื่ออายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดหนองบัว เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2440 โดยมีพระอุปัชฌาย์ยิ้ม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิงดีคุณาจารย์ วัดเหนือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อยู่ วัดหนองบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "สุวรรณโชติ" เมื่อบวชแล้วก็ศึกษาพระธรรมวินัยและตำราต่างๆ จนแตกฉาน อีกทั้งยังได้ปฏิบัติรับใช้ใกล้ชิดกับหลวงปู่ยิ้มผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ถึง 15 พรรษา ซึ่งหลวงปู่ยิ้มก็ได้ให้ท่านลงตะกรุดบ้าง ลงผ้ายันต์บ้าง ทำเลขยันต์ต่างๆ บ้าง ปลุกเสกทำน้ำมนต์บ้าง ซึ่งหลวงปู่ยิ้มได้ถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ ให้หลวงปู่เหรียญจนหมดสิ้น

ในด้านการธุดงควัตรนั้นหลวงปู่เหรียญก็ได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ มากมาย และได้แลกเปลี่ยนวิชาอาคมต่างๆ กับพระอาจารย์ที่ได้ธุดงค์มาเจอกันในป่า ท่านได้ธุดงค์ไปหลายที่ทั้ง ในเขตไทยและพม่า จะธุดงค์ครั้งละเป็นเวลานานๆ แล้วจึงกลับมาที่วัดหนองบัว จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2455 หลวงปู่ยิ้มก็มรณภาพ ชาวบ้านอาราธนาท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ก่อนที่หลวงปู่ยิ้มจะมรณภาพนั้นท่านก็ได้มอบตำรับตำราความรู้ต่างๆ ให้แก่หลวงปู่เหรียญจนหมดสิ้น เช่น วิชามหา อุตม์ วิชามหานิยม วิชาทำธงกันสายฟ้า วิชาเชือกคาดเอว วิชาย่นระยะทาง ตลอดจน วิชาแพทย์แผนโบราณและตัวยาสมุนไพรต่างๆ

ในด้านการพัฒนาวัดนั้นได้สร้างถาวรวัตถุไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ได้ส่งเสริมเป็นพิเศษ สมณศักดิ์ที่ท่านได้รับมีดังนี้ ในปี พ.ศ.2460 ได้รับตราตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวง พ.ศ.2461 เป็นพระครูวิศิษย์สมาจารย์ พ.ศ.2472 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2490 เป็นเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก พ.ศ.2496 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนา ธุระ ราชทินนาม "พระโสภณสมาจารย์" หลวงปู่เหรียญมรณภาพในปี พ.ศ.2503 ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 84 ปี พรรษาที่ 63

ในด้านวัตถุมงคลท่านได้สร้างไว้หลายอย่างเช่น พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ พระท่ากระดานเนื้อตะกั่ว พระปิดตาเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ เหรียญรูปหลวงปู่ยิ้มและหลวงปู่เหรียญ แหวนเงินลงถมสิงห์งาแกะ ตะกรุดลูกอม ลูกอมกระดาษสา ตะกรุดโทน เชือกคาดเอว รูปถ่าย ขันน้ำมนต์ไม้ส้มป่อย เป็นต้น พระเครื่องของท่านบางอย่างเริ่ม หายากและนิยมกันมาก

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตารุ่นแรก ปี พ.ศ.2481 ของหลวงปู่เหรียญมาให้ ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระสมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรติ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระเก่าแก่ของจังหวัดนนทบุรี เป็นชนิดเนื้อผงพุทธคุณ มีอยู่หลายพิมพ์ทรง และเป็นที่นิยมของสังคมผู้นิยมพระเครื่อง ปัจจุบันก็หาพระแท้ๆ ยากเหมือนกัน ในด้านพุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางด้านเมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ต.บางศรีเมือง อ.เมือง จ.นนทบุรี อยู่คนละฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยากับศาลากลางหลังเก่า วัดแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่พระชนนีนาถ สมเด็จพระศรีสุราลัยพระพันปีหลวง เดิมอุปาจารของวัดเป็นเคหสถานของพระยานนทบุรี ซึ่งเป็นพระชนกนาถของพระพันปีหลวง

พระเครื่องวัดเฉลิมพระเกียรติได้ถูกลักลอบขุดพบในประมาณปี พ.ศ.2484 มีคนร้ายเข้าไปลักลอบขุดที่องค์พระเจดีย์ใหญ่ ได้พระไปจำนวนหนึ่ง เจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงได้นำพระที่เหลือไปเก็บรักษาไว้ และได้แจกจ่ายในเวลาต่อมา พระเครื่องวัดเฉลิมพระเกียรติมีอยู่หลายพิมพ์ที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จก็มีอยู่หลายพิมพ์ พิมพ์กลีบบัว พิมพ์ชินราช และพิมพ์แบบพระคง เป็นต้น พระทั้งหมดเป็นพระแบบเนื้อผงสีขาวอมเหลือง พระพิมพ์แบบพระสมเด็จก็มี พิมพ์ยันต์ห้า พิมพ์สามชั้น พิมพ์ยันต์วา พิมพ์ห้าชั้น พิมพ์ข้างอุ พิมพ์เจ็ดชั้น เป็นต้น ทุกพิมพ์ของพระวัดเฉลิมพระเกียรตินิยมทุกพิมพ์ สนนราคาก็ลดหลั่นกันไป

พระเครื่องของวัดเฉลิมพระเกียรตินั้นไม่มีบันทึกว่าสร้างในปี พ.ศ.ใด และอยู่ในยุคของเจ้าอาวาสรูปใด มีแต่เพียงการบอกเล่ากันต่อๆ มา และสันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างในยุคของพระเทพโมลีแก้วเป็น เจ้าอาวาส พระเทพโมลีแก้วเป็นเจ้าอาวาสวัดเฉลิมพระเกียรติในปี พ.ศ.2431 จนถึงปี พ.ศ.2443 พิจารณาพระวัดเฉลิมพระเกียรติจากความเก่าก็ดูจะสอดคล้องกัน จึงน่าจะเป็นไปได้ว่าน่าจะสร้างในช่วงที่พระเทพโมลีแก้วเป็นเจ้าอาวาสและน่าจะสร้างเป็นพิธีใหญ่ เนื่องจากจำนวนของพระ และศิลปะการแกะแม่พิมพ์ก็น่าจะเป็นช่างผู้มีฝีมือ มีแม่พิมพ์อยู่หลายแบบ อีกอย่างหนึ่งเป็นพระที่บรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ใหญ่ของวัดหลวง ก็เป็นไปได้ว่าต้องเป็นพิธีใหญ่และในวาระพิเศษวาระได้วาระหนึ่ง

พระเครื่องวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระเครื่องยอดนิยมของสังคมพระเครื่อง สนนราคาเช่าหาในปัจจุบันหลักหมื่นถึงแสนเลยทีเดียวครับ และก็หาพระแท้ๆ ยาก ของปลอมก็มีทำตามมาอย่างไม่ต้องสงสัย เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ครับ เรื่องพระปลอมนั้นเหมือนยาดำแทรกมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นพระอะไรขอให้มีราคานิยมเช่าหาเป็นต้องทำมาหลอกหลอนทุกทีไปครับ ส่วนฝีมือพระปลอมก็ว่ากันไป มีทั้งฝีมือดีและฝีมือห่างๆ เวลาจะเช่าหาพระก็ควรศึกษาดูสักหน่อย อย่าคิดหาของฟลุกราคาถูกๆ

ถ้าเรายังดูพระไม่เป็นก็หาคนที่ไว้ใจได้เป็นพี่เลี้ยงหรือเช่าหาจากคนที่น่าเชื่อถือได้ในสังคมหน่อยก็พอจะปลอดภัยได้ ถ้าราคาถูกกว่าที่น่าเป็นจริงก็ต้องระวังไว้ก่อน แต่ถ้าดูเองเป็นก็ไม่มีปัญหา

พระวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระเครื่องที่น่าสนใจ เป็นพระเก่าแก่ พุทธคุณดีมีประสบการณ์ หาพระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือวัดบางขุนพรหมไม่ได้ก็ห้อยพระสมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรติได้ครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระสมเด็จวัดเฉลิมพระเกียรติ จากนิตยสารพระท่าพระจันทร์ มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตามหาอุด

สวัสดีครับท่าน ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตามหาอุดหรือพระปิดทวาร ในสมัยก่อนเชื่อกันว่าเป็นพระที่อยู่ยงคงกระพัน เป็นรูปพระเครื่องที่มีมือปิดหน้าคือปิดตา ปิดปาก ปิดจมูก มืออีกคู่หนึ่งปิดหู มีมืออีกคู่หนึ่งปิดท้อง และอีกคู่หนึ่งปิดทวาร บางคนก็เรียกว่าพระปิดทวารทั้งเก้าก็มี คติความคิดในสมัยก่อนก็คือใช้ทางคุ้มครองอยู่ยงคงกระพัน การสร้างพระปิดตาหรือพระปิดทวารนั้นมีการสร้างมานมนานหลายร้อยปีมาแล้ว เช่นพระปิดตา ของกรุวัดท้ายย่าน พระปิดตาพิชัย เป็นต้น

ความจริงการปิดทวารทั้งเก้านั้นเป็นการสอนเตือนใจ หมายถึงการปิดกั้นกิเลสทั้งหลายทั้งปวง โบราณจารย์ท่านทำเป็นปริศนาธรรมสั่งสอนไว้ในรูปพระเครื่อง ให้มีความอดกลั้นต่อกิเลสทั้งปวง งดเว้นข่มใจ ไม่โกรธ ไม่เกลียด สองมือปิดตาไม่มองเห็นสิ่งในสิ่งชั่วไม่เห็นในทรัพย์ศฤงคาร ปิดปาก เพื่อเตือนให้พึงสำรวมวาจาใจ ปากนำมาซึ่งทุกข์และสุข มากต่อมากต้องเสียคนเพราะปาก ปากที่พูดไม่เข้าหูคน ปากก่อให้เกิดทั้งมิตรและศัตรู ปิดหูเสียบ้าง ไม่รู้ไม่ได้ยินต่อคำสรรเสริญไม่ฟังต่อคำส่อเสียด ปิดท้องไม่โลภหลงพึงมีพึงพอต่อสินทรัพย์ ปิดทวาร ความไม่มักมากในกามารมณ์ ข่มใจลงเสียบ้างความผ่องใสย่อมบังเกิดในดวงจิต ผ่องใสจากความขุ่นมัว ชีวิตก็จะมีแต่ความสุข

พระปิดทวารหรือปิดตามหาอุดที่มีศิลปะสวยงามและในสมัยวัยรุ่นผมอยากได้มาก ก็คือพระปิดตามหาอุดของหลวงพ่อทับ วัดทอง เนื่องจากมีศิลปะสวยงาม และฟังเรื่องเล่าต่างๆ ของความขลังจากผู้เฒ่าผู้แก่ มาในสมัยนั้นแล้วก็อยากได้มาห้อยคอมาก แต่ก็ไม่มีโอกาส เนื่องจากเป็นพระยอดนิยมและเจ้าของก็หวงมาก สนนราคาก็สูงมากตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน พระมหาอุดวัดทองนั้นมีอยู่หลายพิมพ์ หลายเนื้อ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ ส่วนพิมพ์ที่เห็นส่วนมากจะเป็นพระพิมพ์เศียรโตหรือพิมพ์เศียรบาตร พระพิมพ์ยันต์น่อง พิมพ์บายศรี พระพิมพ์ตุ๊กตา พิมพ์ที่เป็นพิเศษหน่อยก็พิมพ์เศียรแหลมนั่งบัว

พระปิดตามหาอุดของวัดทองนี้เท่าที่ศึกษาดู องค์พระจะมีหลายขนาด แต่ก็จะมีหุ่นเทียนที่เป็นตัวองค์พระคล้ายๆ กันอยู่ในแต่ละพิมพ์ แต่ในส่วนของยันต์นั้นจะมีการฟั่นเทียนเป็นเส้นคล้ายเส้นลวด แล้วนำมาวางเป็นตัวยันต์ตามที่หลวงพ่อกำหนดลงบนหุ่นเทียนองค์พระ ดังนั้นจะเห็นว่าตัวยันต์ของพระวัดทอง ถึงแม้ว่าตัวยันต์จะเป็นอักขระเดียวกัน แต่ก็จะไม่เหมือนกันแบบที่ออกมาจากแม่พิมพ์ เป็นการวางยันต์ในแต่ละองค์

พระปิดตาวัดทองมีศิลปะที่สวยงามมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระปิดตามหาอุดเนื้อโลหะที่มีศิลปะอันงดงามที่สุด อีกทั้งความเข้มขลังของหลวงพ่อทับที่ปลุกเสกพระปิดตามหาอุดบรรจุลงไป ก็ทำให้คนที่ใช้แล้วมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ครับก็แน่นอนอย่างหนึ่งที่คนเห็นกันง่ายๆ ก็คือทางด้านอยู่ยงคงกระพัน เพราะในสมัยก่อนพอมีคนถูกฟันไม่เข้าก็จะเป็นที่โจษขานกันว่ามีพระอะไรดีจึงฟันไม่เข้าอะไรทำนองนั้น ก็เป็นที่นำมาเล่าขานบอกต่อกัน ความจริงพระวัดทองก็มีพุทธดีทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดด้วย ถ้าเราปฏิบัติตามที่พระเกจิอาจารย์ท่านได้สั่งสอนไว้คือ ปิดหู ปิดตา ปิดปาก ปิดทวารเสียบ้างก็จะมีความสุขความเจริญแก่เราได้ครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปพระปิดตา หลวงพ่อทับวัดทอง พิมพ์ยันต์น่องมาให้ชมทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ (
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระหลวงปู่ทวดรุ่นเลขใต้ฐาน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระหลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐาน ปี พ.ศ.2505 หรือรุ่น "เบตง" เป็นพระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดแบบลอยองค์ที่นิยมมากที่สุดในพระหลวงปู่ทวดของวัดช้างให้ ปัจจุบันสนนราคาสูงมาก และหาแท้ๆ ยากครับ

พระรูปหล่อหลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐาน (เบตง) ปี พ.ศ.2505 พระรุ่นนี้จัดสร้างโดยท่านสวัสดิ์ โชติพานิช ในสมัยที่ท่านได้ไปรับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษา ที่ อ.เบตง จ.ยะลา กับนายชะลอ เชาว์ดี นายด่านศุลกากร ที่ อ.เบตง จ.ยะลา ร่วมกับคณะกรรมการของวัดพุทธาธิวาส อ.เบตง จ.ยะลา ได้ร่วมกันจัดสร้างพระหลวงปู่ทวดขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่มีการสร้างพระวิหาร เพื่อประดิษฐานรูปหล่อองค์หลวงปู่ทวด เมื่อปี พ.ศ.2505 ณ วัดพุทธาธิวาส ซึ่งเป็นวัดทางพระพุทธศาสนาแห่งเดียวของเบตง ดินแดนใต้สุดของประเทศไทย

พระรูปหล่อที่สร้างในครั้งนี้ ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช ได้ไปขออนุญาตต่อท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี และรูปแบบในการสร้างคือ ได้นำแบบของรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ปี พ.ศ.2495 โดยมีช่างหรัส พัฒนางกูร ผู้ซึ่งเป็นช่างหล่อพระกริ่งหลายรุ่นของวัดสุทัศน์ รับทำรูปหล่อหลวงปู่ทวดรุ่นนี้

พระรูปหล่อหลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐาน ประกอบพิธีเททองหลอมเนื้อโลหะ โดยมีพระราชสังวราภิมณฑ์ หรือหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นประธานในการนั่งปรกคุมแผ่นธาตุ ซึ่งหมายถึง แผ่นพระยันต์ต่างๆ ที่นำมาหล่อหลอมรวมกัน ฤกษ์ยามการประกอบพิธีกรรมทุกขั้นตอน กำหนดโดยท่านอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เมื่อเทหล่อเป็นองค์พระ หลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐานเรียบร้อยแล้ว จึงได้นิมนต์ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ มาบรรจุผง เนื้อว่านหลวงปู่ทวด รุ่นแรก เข้าไปในองค์พระ แล้วจึงอุดที่ใต้ฐานอีกทีหนึ่ง และตอกเลขประจำองค์พระกำกับไว้ จากนั้นจึงได้นำพระทั้งหมดลงไปทำพิธีปลุกเสกที่วัดช้างให้

จำนวนพระที่สร้างทั้งหมดประมาณหนึ่งพันองค์ และได้นำมาตอกหมายเลขเรียงกันตั้งแต่เลข 1 ถึงเลข 999 จำนวนพระที่หล่อเกินนั้นเนื่องจากทำไว้เผื่อมีพระที่ชำรุดจากการเทหล่อ ในส่วนเกินนี้ จะไม่มีการตอกหมายเลข สรุปว่าพระหลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐาน (เบตง) ปี พ.ศ.2505 จะมีจำนวนที่แน่นอน คือ 999 องค์เท่านั้น และมีอยู่เนื้อเดียวเท่านั้นครับ

เนื้อของพระจะออกเป็นนวโลหะกลับดำ แต่กระแสเนื้อในนั้นออกสีมันเทศ จุดสำคัญที่สุดของพระรุ่นนี้อยู่ที่ตัวเลขอารบิก ซึ่งติดอยู่ที่ก้นขององค์พระนั้น มีอยู่ชุดเดียวเท่านั้น และมีอยู่ 9 ตัวเท่านั้น เนื่องจากตัวเลข 6 กับเลข 9 ใช้ตัวเดียวกัน ช่างได้ใช้ตอกสลับหัวกัน ดังนั้น เมื่อตัวตอกเลขมีชุดเดียวก็สามารถใช้เป็นเสมือนตัวโค้ดได้เป็นอย่างดี แต่ละตัวเลขจะเป็นเอกลักษณ์หรือเป็นจุดตำหนิในการพิจารณาได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถบอกได้เลยว่าเป็นพระแท้หรือปลอม

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระหลวงปู่ทวด รุ่นเลขใต้ฐาน (เบตง) ปี พ.ศ.2505 เนื้อนวโลหะ มาให้ชมทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง และใต้ฐานที่ตอกตัวเลขกำกับองค์พระมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระสรรค์คางเครา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดชัยนาท เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีโบราณสถานและมีกรุพระมากเช่นกัน กรุพระที่มีชื่อเสียงมากส่วนใหญ่นั้นจะพบในเขตอำเภอสรรคบุรี ซึ่งเป็นอำเภอเดียวที่มีวัดเก่าแก่มากที่สุดของจังหวัดชัยนาท เข้าใจว่าเมืองเก่านั้นอาจจะตั้งอยู่ที่ฝั่งเมืองสรรค์ก็เป็นได้

พระกรุเมืองสรรค์นั้นมีมากมายและที่มีชื่อเสียงมากก็คือ พระสรรค์ยืน พระสรรค์นั่ง พระปิดตาเนื้อแร่พลวงของกรุ วัดท้ายย่าน อันมีชื่อเสียงโด่งดัง ถ้าจะกล่าวถึงพระกรุเนื้อดินเผาของเมืองสรรค์ ก็ต้องนึกถึง พระสรรค์นั่ง และ พระสรรค์ยืน ซึ่งพระสรรค์นั่งนั้นที่โด่งดังและเป็นที่หวงแหนกันมากก็ต้องพิมพ์พระสรรค์นั่งไหล่ยก เพราะมีประสบการณ์ทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี นอกจากนี้พระสรรค์ยืนหรือพระลีลาเมืองสรรค์นั้นก็มีประสบ การณ์ทางด้านนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และที่หวงแหนกันมาก สำหรับพระลีลาเมืองสรรค์นั้นก็ต้องยกให้พิมพ์คางเคราซึ่งพบน้อย เคยโด่งดังมากในอดีต ปัจจุบันแทบไม่ค่อยได้เห็นกันเลยครับ พระลีลาเมืองสรรค์พิมพ์คางเคราในสมัยก่อนจะเรียกกันสั้นๆ ว่าพระสรรค์คางเครา ก็จะเข้าใจกันว่าหมายถึงพระลีลาเมืองสรรค์พิมพ์คางเครา ซึ่งหายากมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพระมีน้อยหายากมาตั้งแต่ตอนที่พระแตกกรุแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีประสบการณ์ทางด้าน อยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาดมาก ใครมีก็หวงแหนกันมาก

สำหรับพระลีลาเมืองสรรค์นั้นมีที่พบทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อดินเผา พิมพ์ที่พบก็มีทั้งพิมพ์ลีลา พิมพ์ลีลาข้างเม็ด และพิมพ์ลีลาคางเครา กรุพระที่พบก็มีอยู่หลายกรุ เช่น กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดท้ายย่าน กรุวัดส่องคบ เป็นต้น ส่วนพระเนื้อดินเผานั้นของกรุวัดท้ายย่านจะมีภาษีกว่า เนื่องจากพระที่พบในกรุนี้จะมีเนื้อดินที่ละเอียดหนึกนุ่มกว่าทุกกรุ จึงเป็นที่นิยมกันมากกว่าครับ

พระลีลาเมืองสรรค์พิมพ์คางเครา ที่เรียกชื่อกันแบบนี้ก็เนื่องมาจากพระพิมพ์นี้ พระหัตถ์ของพระจะยื่นยาวมาจรดกับคางของพระ จึงทำให้มองดูคล้ายกับมีเครายาวลงมาครับ ซึ่งก็อาจจะเป็นการแกะแม่พิมพ์พระของช่างพลาดไป หรือแม่พิมพ์แตกเป็นตำหนิก็เป็นได้ แต่ก็ทำให้จำนวนของพระมีน้อยกว่าพิมพ์อื่นๆ และพระพิมพ์นี้ก็เป็นพิมพ์ที่มีประสบการณ์มากจึงเป็นที่นิยมกันมากครับ

พระสรรค์นั่ง และพระลีลาเมืองสรรค์นั้น เท่าที่ดูจากศิลปะแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยายุคต้นๆ ศิลปะอาจจะไม่ค่อยงดงามนัก แต่ก็ยอดเยี่ยมทางด้านพุทธคุณ ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับมาตั้งแต่ในอดีต ในปัจจุบันทั้งพระสรรค์นั่งและพระลีลาเมืองสรรค์แท้ๆ ก็หายากแล้ว ยิ่งเป็นพิมพ์ที่นิยมหน่อยก็ยิ่งหายากมากยิ่งขึ้น และมีราคาสูงเช่นพระสรรค์นั่งไหล่ยก และพระลีลาเมืองสรรค์ยิ่งเป็นพิมพ์คางเคราก็ยิ่งมีราคาสูงขึ้นไปอีก ของปลอมมีกันมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระลีลาเมืองสรรค์พิมพ์คางเครากรุวัดมหาธาตุ เนื้อดิน จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #131 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2562 15:43:18 »



พระสมเด็จฯเสร็จทุกราย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จฯ ในที่นี้จะหมายถึงพระสมเด็จฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ วลีที่ว่า "พระสมเด็จฯ เสร็จทุกราย" เป็นวลีที่มีมานานพอสมควรแล้วก็เพราะอะไร ก็เนื่องมาจากผู้ศรัทธาในองค์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ต่างก็อยากจะได้ไว้บูชา แต่พระสมเด็จฯ แท้ๆ นั้นมีสร้างไว้จำนวนหนึ่งเท่านั้น และสร้างไว้เมื่อร้อยกว่าปีก่อนแล้ว จำนวนพระสมเด็จฯ แท้ๆ ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ศรัทธา มูลค่าของพระสมเด็จฯ จึงมีมูลค่าสูงมากๆ แล้วก็มีคนทำปลอมกันมากที่สุด และมีทำปลอมกันมาเป็นร้อยปีมาแล้ว หลากหลายฝีมือ มีทั้งที่ทำไม่เหมือนเลย มีทั้งที่ทำนอกตำรา และทำได้ค่อนข้างใกล้เคียง

ทำไมพระสมเด็จฯ ต้องเสร็จทุกราย ก็เนื่องมาจากคนที่เสาะหาพระสมเด็จฯ นั้น ส่วนใหญ่ก็จะหาพระแบบไม่เคยศึกษาหรือมีความรู้ว่าพระสมเด็จฯ ของวัดระฆังฯ หรือของวัดบางขุนพรหมที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้นั้นมีกี่พิมพ์และมีแม่พิมพ์เป็นอย่างไรบ้าง เนื้อหามวลสารที่นำมาสร้างพระนั้นเป็นอย่างไร กรรมวิธีการสร้างนั้นเป็นอย่างไร หรือศึกษามาแบบผิดๆ พอเวลาจะหาเช่าก็คิดเอาเองว่าตัวเองนั้นมีความรู้ดูเป็น และหาพระแบบที่ราคาถูกๆ กว่ามูลค่าความเป็นจริงมากๆ บางคนก็หวังจะได้แบบถูกๆ เพื่อนำมาขายให้ได้ กำไรเยอะๆ แบบถูกลอตเตอรี่ ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะเป็นแบบวลีที่ว่าร้อยทั้งร้อยพอนำพระที่คิดว่าเป็นพระสมเด็จฯ ไปเช็กหรือไปขายต่อก็จะกลายเป็นพระเก๊ตลอดไป จึงกลายเป็นว่าการนำพระสมเด็จฯ มาเช็กว่าแท้หรือไม่ เก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์จะพบว่า ไม่แท้

นอกจากพระสมเด็จฯ ที่ทำปลอมตามแบบพระแท้แล้ว ก็ยังมีจำพวกพระนอกตำรา คือสร้างรูปแบบขึ้นมาเอง แล้วสร้างนิทานตามมาว่าเป็นแบบนั้นแบบนี้ คือสร้างตำนานเก๊ขึ้นมาเองเพื่อรองรับกับพระที่ตนสร้างไว้เพื่อหลอกขายอีกต่างหาก พระแบบนี้ก็มีการทำมานานแล้วเช่นกัน ประเภทที่มีด้านหลังเขียนอักษรข้อความต่างๆ ไว้ ระบุปี พ.ศ.บ้าง มีตราประทับบ้าง ประเภทฝังเพชรฝังพลอยบ้าง ฝังอะไรต่างๆ บ้าง อะไรทำนองนี้ ประเภทนี้เป็นประเภทพระอุปโลกน์ทั้งสิ้น ไม่มีบันทึกที่เป็นจริงไว้เลย ที่แน่ๆ ไม่มีมูลค่ารองรับ คือนำไปขายที่ไหนก็ไม่มีใครซื้อ พิสูจน์ง่ายๆ พระสมเด็จฯ ทั้ง 2 วัดทั้งวัดระฆังฯ และบางขุนพรหม ถ้าแท้ไม่หักไม่ซ่อมมูลค่ารองรับอยู่ที่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป นำไปขายได้เลยที่ศูนย์พระมาตรฐานทั่วไป มีคนรับซื้อแน่นอนครับ ราคาจะเป็นเท่าไรกี่ล้านก็ขึ้นอยู่กับความสวยสมบูรณ์ขององค์พระ และต่อรองราคากันจนเป็นที่พอใจทั้ง 2 ฝ่าย แต่ถ้าเป็นพระปลอม พระเก๊ พระนอกตำรา ก็ไม่มีใครรับซื้อแน่นอนครับ พระสมเด็จฯ ใครๆ ก็อยากได้ และก็รู้กันโดยทั่วไปว่ามูลค่าราคานั้นเป็นหลักล้าน แล้วทำไมเขาไม่ขอซื้อหรือต่อรองราคาเลย ความจริงก็น่าจะพอเข้าใจได้นะครับว่าก็มันไม่แท้ไงครับ

พระสมเด็จฯ แท้ๆ นั้นมีไหม ก็ตอบได้ว่ามีแน่นอนครับ แต่สนนราคามูลค่านั้น สูงมากๆ ประการสำคัญก่อนที่จะเช่าหานั้นก็ควรจะต้องศึกษาหาความรู้พระสมเด็จฯ แท้ๆ เสียหน่อย หารูปพระแท้ๆ ดูบ้าง เช่าหาจากผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ มีชื่อเสียงเรื่องความซื่อสัตย์ รับผิดชอบเกี่ยวกับพระที่เขาให้เช่า เรื่องการศึกษาจากตำราหรือรูปพระสมเด็จฯ นั้นก็มีความสำคัญ ในปัจจุบันมีการทำหนังสือเกี่ยวกับพระสมเด็จฯ แบบมั่วๆ ก็เยอะ เพื่อมารองรับการหลอกขายของเขาเองก็มาก ทำเป็นหนังสือปกแข็งสี่สีอย่างดี แต่เนื้อหามั่วมาก นำรูปพระปลอมมาลงไว้ หนังสือบางเล่มก็ค่อนข้างดี แต่ก็มีพระปลอมปนอยู่ก็มี เรื่องการศึกษาจากตำรานั้นก็ต้องเลือกก่อนว่าตำรานั้นถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับหรือไม่ ปัจจุบันก็น่าหนักใจแทนครับสำหรับผู้ที่กำลังจะเข้ามาศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เพราะก็ไม่รู้ว่าหนังสือหรือตำราเล่มไหนดีถูกต้อง ถ้าศึกษาผิดก็จะหาทางกลับยากครับ ในสมัยก่อนเขาเรียกว่า "เข้าป่า" หมายถึงหลงป่าหาทางกลับไม่เจอครับ

ในสมัยก่อนที่ผมเริ่มศึกษาใหม่ๆ ก็เข้ารกเข้าพงไปเยอะ กว่าจะหาทางกลับได้ก็แทบแย่เหมือนกัน โชคดีที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยนั้นท่านเมตตาแนะนำสั่งสอน และนำพระแท้ๆ มาให้ดูให้ศึกษาจึงหาทางกลับมาได้ครับ

ในสมัยนั้นรูปพระหายากไม่ค่อยมีใครถ่ายไว้ แต่ก็โชคดีที่พระแท้ๆ นั้นผู้หลักผู้ใหญ่ท่านยังเมตตานำมาให้ดูให้ศึกษาได้ ปัจจุบันรูปถ่ายพระเครื่องมีมากมาย แต่ก็กลับกันรูปพระองค์ไหนแท้องค์ไหนเก๊ ก็เป็นอีกปัญหาอีกหนึ่ง ถ้าผิดก็ออกทะเลได้ครับ พูดมาถึงตรงนี้ก็จะถูกถามว่า แล้วหนังสือเล่มไหนที่มีรูปพระแท้ๆ แนะนำบ้างล่ะ ครับถ้าจะให้ผมแนะนำก็จะบอกว่า หนังสือสุดยอดพระเบญจภาคี ของกิติ ธรรมจรัส แต่เป็นหนังสือที่ออกมานานแล้ว พิมพ์ครั้งแรกนั้นหมดไปนานแล้ว แต่ได้ยินว่ามีการพิมพ์ครั้งที่ 2 ลองหาซื้อมาดูรูปได้ครับ ในนั้นมีรูปพระเบญจภาคี เป็นภาพสี่สี ขนาดเต็มหน้า ทั้งด้านหน้าพระและด้านหลัง แท้ๆ ทุกองค์ครับ ลองหามาศึกษาได้ครับ

นอกจากนี้ก็ยังมีหนังสือพระยอดนิยม ของประจำ อู่อรุณ อีกเล่มหนึ่ง น่าจะจัดพิมพ์อยู่หลายครั้งแล้ว และน่าจะพอหาซื้อได้ไม่ยากนัก หนังสือของประจำ อู่อรุณ นั้นจะมีพระเบญจภาคีและพระยอดนิยมอยู่หลายอย่าง ลองหาซื้อดูครับ ถ้าจะหารูปชัดๆ ใหญ่ๆ ก็ต้องหนังสือสุดยอดพระเบญจภาคี ของกิติ ธรรมจรัส เน้นแต่พระเบญจภาคีอย่างเดียวครับ

การจะเช่าหาพระเครื่องไม่ว่าจะเป็นพระอะไรก็ควรจะต้องศึกษาเสียหน่อยก่อนที่จะเช่าครับ ยิ่งเป็นพระที่มีมูลค่าสูงๆ นั้นก็ยิ่งต้องศึกษาดูเสียหน่อยครับ หาคนที่มีความรู้จริงและเชื่อถือได้เป็นพี่เลี้ยงและขอความรู้จากเขาก็คงพอจะปลอดภัยได้ครับ จะได้ไม่เป็นตามวลีที่ว่า "พระสมเด็จฯ เสร็จทุกราย" ครับ

ในวันนี้ผมขอนำรูปหน้าปกหนังสือทั้ง 2 เล่ม คือหนังสือสุดยอดพระเบญจภาคี ของกิติ ธรรมจรัส และหนังสือพระยอดนิยม ของประจำ อู่อรุณ ทั้ง 2 เล่ม มาให้ดูครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระกรุวัดหัวเมืองนครสวรรค์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครสวรรค์เป็นชุมชนเก่าแก่มาแต่โบราณนับเป็นพันปีมาแล้ว ในพุทธศตวรรษที่ 13-16 ดินแดนแถบนี้ก็ได้รับอารยธรรมจากอินเดียตั้งแต่สมัยทวารวดีเป็นต้นมา ดังนั้นจึงเคยมีการค้นพบเมืองโบราณต่างๆ อยู่หลายเมือง เช่นเมือง จันเสน เมืองดงแม่นางเมือง หรือบ้านโคกไม้เดน ก็มีร่องรอยคล้ายเมืองโบราณที่พบในภาคอีสาน จากศิลาจารึกซึ่งค้นพบที่ดงแม่นางเมือง แปลความว่า เป็นดินแดนที่ชื่อ "ธานยบุรี" จากการขุดพบศิลาจารึกที่ดงแม่นางเมืองนั้น ยังขุดพบพระพุทธรูปสำริด และพระพุทธรูปหินทราย ศิลปะขอมแบบลพบุรีอีกมากมาย

นครสวรรค์เคยมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อเช่น เมืองพระบาง เนื่องจากเคยเป็นเมืองที่พักระหว่างทางของพระพุทธรูปสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงอัญเชิญมาจากประเทศลาว และภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้นำกลับไปคืน หรือชื่อเมืองชอนตะวัน ซึ่งเรียกตามลักษณะของเมืองที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เมืองสี่แคว เรียกตามการมาบรรจบกันของแม่น้ำสี่สาย เมืองปากน้ำโพ ที่มาจากคำว่าปากน้ำโผล่ คือตัวเมืองตั้งอยู่ ณ สถานที่ของแม่น้ำใหญ่ที่ไหลมาบรรจบกันในปี พ.ศ.2438 นครสวรรค์เป็นหนึ่งในสี่มณฑลแรกที่ตั้งขึ้น โดยมีอาณาเขตเมืองนครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ชัยนาท อุทัยธานี พยุหะคีรี มโนรมย์ และสรรคบุรี กระทั่งสมัยรัชกาลที่ 7 มีการออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการปี พ.ศ.2476 จึงได้ยุบเลิกมณฑล นครสวรรค์จึงมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่นั้นมา

ในปี พ.ศ.2510 ได้มีการขุดพบพระเครื่องที่วัดหัวเมือง เขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ พระที่แตกกรุออกมานั้นมีอยู่ด้วยกันสองแบบ คือเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ซึ่งเชื่อกันว่า "พระนางพญา กรุวัดหัวเมือง" และพระพิมพ์แบบพระซุ้มนครโกษา ก็เรียกกันว่า "พระซุ้มนครโกษา กรุวัดหัวเมือง" พระทั้งหมดที่พบ จะเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งสิ้น จำนวนที่พบก็ไม่มากนัก และไม่มีใครได้จดบันทึกเรื่องจำนวนไว้ จึงไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนของพระที่พบ จากศิลปะของพระเครื่องกรุวัดหัวเมืองนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา

พระเครื่องกรุวัดหัวเมืองนี้ เมื่อขึ้นมาจากกรุใหม่ๆ นั้น จะมีสนิมไขขาวปกคลุมอยู่เกือบทั้งองค์ เมื่อนำมาล้างเอาคราบสนิมไขขาวออกบ้างนั้นก็จะพบว่าเนื้อในมีสนิมแดง สวยงาม สีออกแดงเข้มอมม่วง ตอนพระแตกกรุใหม่ๆ นั้นสนนราคาก็ยังไม่แพงนัก แต่ต่อมาพระได้เข้ามาสู่ส่วนกลางในกทม. พระของกรุนี้ก็ได้หมดไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นพระที่มีสีสนิมแดงสวยงาม และมีขนาดเล็กเหมาะแก่การนำไปเลี่ยมห้อยคอ ว่ากันว่าพุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีครับ

ในปัจจุบันก็ไม่ค่อยได้พบเห็นพระของกรุนี้กันนักครับ และก็เช่นเคยครับ ผมจึงได้นำรูปพระเครื่องของกรุนี้มาให้ท่านผู้อ่านได้ชมกันหลายๆ สภาพ ทั้งที่ยังไม่ได้ล้างเอาสนิมไขขาวออกและพระที่ล้างสนิมไขขาวออกบ้างแล้วครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระร่วงกรุสองพี่น้อง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รัก ทุกท่าน ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีเนินดินอยู่เนินหนึ่งชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า "เนินวิหาร" สถานที่แห่งนี้อาจจะเป็นวิหารโบราณเก่าแก่มาก่อนก็เป็นได้ แต่ปรักหักพังไปเหลือแต่เนินดินเท่านั้น และที่เนินดินแห่งนี้มีจอมปลวกใหญ่อยู่จอมหนึ่ง ใครๆ ก็ไม่กล้าเข้าไปขุดค้น เนื่องจากเกรงกลัวเพราะมีคนโบราณทักไว้

ต่อมาในปี พ.ศ.2513 นายอำเภอสองพี่น้องได้ส่งรถไปเกรดดิน ตามเส้นทางบนถนนโบราณ เพื่อทำถนนไปยังปากคลองบางสาม และรถแทรกเตอร์ได้ไปเกรดดินจอมปลวก และพบพระพุทธรูปปางนาคปรกชำรุดหนึ่งองค์ และมีพระร่วงกระจัดกระจายอยู่ไม่มากนัก ชาวบ้านก็ได้เข้าไปคุ้ยเขี่ยหาพระกัน ได้ไปคนละองค์สององค์ พอวันรุ่งขึ้น นายถึก เจ้าของที่ดิน จึงลองขุดดู และพบแผ่นอิฐโบราณ พองัดขึ้นมาก็พบทรายและพบไหที่มีพระบรรจุอยู่ เป็นพระพุทธรูป 3 องค์ เนื้อสำริด ปางนาคปรก นอกนั้นเป็นพระเครื่องปางประทานพร เนื้อชินตะกั่วสนิมแดงจำนวนหลายองค์ ประมาณสักหนึ่งพันองค์ได้ และยังพบพระอีกไหหนึ่ง อยู่ห่างจากที่เดิมเมตรกว่าๆ มีพระอยู่ประมาณ 400 องค์ เป็นพระที่เป็นแบบเดียวกัน

พระเครื่องทั้งหมดที่พบเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งสิ้น พิมพ์ที่พบเป็นพระร่วงยืนประทานพร และสามารถแยกได้เป็นสองพิมพ์ คือพิมพ์หนึ่งที่พระบาทไม่มีรอยพิมพ์แตก และอีกพิมพ์หนึ่งมีรอยพิมพ์แตกที่พระบาท พุทธลักษณะทั้งสองพิมพ์นั้นคล้ายกันมาก จุดสังเกตคือที่พระบาทของพระเท่านั้น พระจากกรุนี้เมื่อขึ้นจากกรุใหม่ๆ จะมีไขขาวจับอยู่ที่ผิวพระมาก เมื่อล้างไขขาวออกก็จะเห็นผิวสนิมแดงเข้มสวยงาม บางองค์ออกสีน้ำตาลเข้มอมแดง บางองค์ออกดำอมม่วง บางองค์จะมีสีสนิมแดงจัด สนิมแบบนี้จะพบน้อยกว่าอย่างอื่น

พุทธลักษณะของพระร่วงกรุนี้สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างในยุคอู่ทองล้อลพบุรี ขอบซุ้มจะเป็นลักษณะคล้ายเกลียวเชือก ศิลปะก็คล้ายกับพระร่วงกรุ โรงสี พระร่วงกรุนี้ในการพบตอนแรกๆ นั้นก็เรียกกันว่า "พระร่วง กรุโคกวิหาร" แต่ต่อมาการเรียกก็เปลี่ยนไป เป็น "พระร่วง กรุสองพี่น้อง" ตามชื่ออำเภอ ที่พบพระ ปัจจุบันสถานที่พบพระถูกไถราบเรียบเป็นที่นาไปเรียบร้อยแบบเดียว กับกรุอื่นๆ มีเพียงศาลเจ้าที่เจ้าทางสำหรับกราบไหว้ ที่ท่านเจ้าของที่ดินได้สร้างไว้เป็นอนุสรณ์เท่านั้น ที่จะทำให้ทราบว่า แต่เดิมเคยเป็นโคกพระที่พบพระร่วง กรุสองพี่น้องครับ

ปัจจุบันพระร่วง กรุสองพี่น้อง ก็ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก เนื่องจากกระจัดกระจายกันไปยังผู้นิยมสะสมพระเครื่องในจังหวัดสุพรรณฯ และที่อื่นๆ บ้าง ว่ากันว่าพุทธคุณนั้นเด่นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพัน สนนราคาในปัจจุบันก็สูงอยู่พอสมควรครับ

ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระร่วง กรุสองพี่น้อง เนื้อชินสนิมแดง มาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



รูปหล่อหลวงพ่อเสาร์

"พระครูสังฆรักษ์เสาร์ ธัมมโชโต" หรือ หลวงปู่เสาร์ ธัมมโชโต" เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี บ้านโคกศรี ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 101 ปี พรรษา 34

นามเดิม นายเสาร์ ศิริพล เกิดเมื่อวันที่ 3 ม.ค.2462 ที่บ้านหนองแวง ต.แวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

หลังจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ชั้น ป.4 จากโรงเรียนในหมู่บ้านแล้ว ออกมาช่วยงานครอบครัวด้วยความขยัน ขันแข็ง

จนถึงปี พ.ศ.2528 เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถวัดใต้แวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีพระครูชัยสิทธิคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ (ปัจจุบัน ดำรงสมณศักดิ์พระเทพสารคามมุนี เจ้าอาวาสวัดอภิสิทธิ์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม)

จากนั้นออกจาริกแสวงหาโมกขธรรม ไปตามป่าเขาหลายแห่งในภาคอีสาน โดยเฉพาะเทือกเขาภูพาน

หลายปีผ่านไป จึงกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านหนองแวง บ้านเกิด

ต่อมาวัดโพธิ์ศรี บ้านโคกศรี ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดว่างลง คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านมาอยู่จำพรรษา และให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสตราบจนปัจจุบัน

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสังฆรักษ์เสาร์ ธัมมโชโต ในฐานานุกรม พระเทพสารคามมุนี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม

สำหรับวัดโพธิ์ศรี บ้านโคกศรี แห่งนี้เป็นวัดที่อยู่ในชนบทยังขาดแคลนหลายอย่าง คณะศิษยานุศิษย์ นำโดย "อ๊อด ศิลาอาสน์" จึงได้ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลรูปหล่อหลวงปู่เสาร์ รุ่นแรก

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ออกแบบได้สวยงาม เป็นรูปเหมือนหลวงปู่เสาร์ห่มจีวรเฉียงนั่งในท่ากัมมัฏฐานบนฐานเขียง ด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า "หลวงปู่เสาร์" ใต้ฐานอุดทองคำ เงิน และผงพระกรุนาดูน พร้อมตอกโค้ดและหมายเลขเรียงลำดับจำนวนการสร้างกำกับ

จำนวนการสร้างน้อย ประกอบด้วย เนื้อเงินก้นอุดทองคำ 19 องค์ เนื้อเงิน 56 องค์ เนื้อนวะก้นอุดเงิน 111 องค์ เนื้อเหล็กน้ำพี้ 100 องค์ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดขึ้นภายในอุโบสถวัดบ้านกุดแคน ต.หนองโน อ.เมือง จ.มหาสารคาม วันเสาร์ที่ 5 ต.ค.2562 โดยมีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิทยาคมนั่งปรกอธิษฐานจิต ประกอบด้วย หลวงปู่เสาร์ วัดโพธิ์ศรี, หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง จ.มหาสารคาม, หลวงปู่พา สุนทโร วัดฮ่องแฮ จ.ร้อยเอ็ด เป็นต้น
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเครื่องรุ่นเก่าๆ ซึ่งในปัจจุบันไม่ค่อยได้พบเห็นกัน นับวันแทบจะไม่ได้มีใครพูดถึง แต่พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่านั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทำให้เรารู้ถึงประวัติความเป็นมาในอดีต พระเครื่องที่ผมจะพูดถึงในวันนี้คือพระร่วงยืนเปิดโลกซุ้มประตู วัดมหาธาตุ เพชรบูรณ์ครับ

วัดมหาธาตุ เป็นวัดคู่เมืองเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ ต.ในเมือง ห่างที่ว่าการอำเภอเมืองประมาณ 200 เมตร มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ ส่วนยอด พระเจดีย์หักพังไปแล้ว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ก่อนปี พ.ศ.2483 วัดมหาธาตุมีสภาพเกือบเป็นวัดร้าง เสนาสนะมีเพียงกุฏิสงฆ์ 1 หลัง กับศาลาการเปรียญเก่าที่ใช้การเกือบไม่ได้ 1 หลัง พระอุโบสถก็เหลือแต่ฝาผนังอิฐเท่านั้น จนต้นปี พ.ศ.2483 พระเพชรบูรณ์คณาวสัย (แพ) สมัยพระครูวินัยธรได้มาเป็นเจ้าอาวาส ได้จัดการก่อสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มเติม สร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง พระอุโบสถ 1 หลัง และตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมสอนทั้งแผนกธรรมและบาลี ส่วนเขตวิสุงคามสีมาของวัดนั้นเดิมคงจะมีอยู่ตามแนวเขต ใบเสมาสลักด้วยหินทรายโบราณซึ่งยังมีอยู่ทั้ง 8 ใบ จนถึงปี พ.ศ.2496 จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ และได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.2497

ต่อมาในปี พ.ศ.2510 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมบูรณะพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หลังพระอุโบสถ ได้ขุดพบกรุ ซึ่งมีเสาศิลาแลงขนาดกว้างประมาณ 70 ซ.ม. สูง 60 ซ.ม. ซ้อนกันอยู่ 2 ก้อน และมีไหแบบสุโขทัย ขนาดเล็กและใหญ่ตั้งอยู่ล้อมรอบเสาศิลาแลงหลายใบ ภายในไหบรรจุทั้งพระพุทธรูป และพระเครื่องเนื้อชินเงินเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบเครื่องถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์เหม็ง และรูปปั้นคน รูปสัตว์ต่างๆ มีโถสังคโลก ตลับทองคำจำนวนหนึ่ง ที่สำคัญได้พบลานทองจารึกอักษรไทยโบราณม้วนอยู่ในท้องหมูสัมฤทธิ์ 1 แผ่น และอยู่ในไหอีก 2 แผ่น รวมเป็น 3 แผ่น จากการสำรวจพระที่ขุดพบ ปรากฏว่าได้พระพุทธรูป 900 องค์ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา แต่ล้อแบบศิลปะสกุลช่างสมัยต่างๆ ก่อนหน้าเป็นส่วนมาก ในส่วนที่เป็นพระเครื่องส่วนมากเป็นพระเนื้อชินเงิน ที่เป็นเนื้อดินเผาก็มีบ้างแต่ไม่มากนัก เมื่อคัดแยกประเภทแล้ว ได้พระเครื่องแบบต่างๆ กว่า 30 แบบ เช่น พระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู พระร่มโพธิ์ พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าเงิน พระซุ้มอรัญญิก พระซุ้มเรือนแก้ว พระท่ามะปราง พระฝักดาบ พระนางพญาเพชรบูรณ์ และพระนาคปรกพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น พระเครื่องที่พบทั้งหมดกรมศิลปากรได้นำมาออกให้ประชาชนเช่าบูชา โดยกำหนดราคาแตกต่างกันไป ปรากฏว่าพระร่วงเปิดโลกซุ้มประตูเป็นพิมพ์ที่กรมกำหนด ราคาเช่าไว้สูงกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

พระร่วงพิมพ์นี้นับว่าสวยงาม พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืนพระหัตถ์ทอดลงมาข้างลำพระองค์ พระบาทแยกออกหันพระปราษณี (ส้นเท้า) เข้าหากัน ประทับอยู่ในซุ้มประตู ต้นเสาลายก้างปลา ด้านบนซุ้มประดับลายกระหนกเครือนาคคู่ มีลายกระจังตาอ้อยอยู่ยอดบนสุด นับว่าเป็นศิลปะสกุลช่าง อยุธยาที่สละสลวยงดงามมาก สังเกตดูจากสถาปัตยกรรมขององค์พระเจดีย์เป็นแบบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัย สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงสุโขทัยยุคปลาย แต่พระพุทธรูปและพระเครื่องที่พบนั้นกลับพบเป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยายุคต้น จึงทำให้สันนิษฐานต่อได้ว่าคงมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู เนื้อพระเป็นเนื้อชินเงิน บางองค์มีสนิมขุมและรอยระเบิดบางแห่ง คราบดินกรุฝังตัวอยู่ตามผิวทั่วๆ ไป ทางด้านพุทธคุณมีพร้อม ทั้งส่งเสริมอำนาจบารมี ความเจริญก้าวหน้า เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปองค์พระเจดีย์ และรูปพระร่วงเปิดโลกซุ้มประตู มาให้ชมกันครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



เหรียญเต่ามังกรรวยทันใจ หลวงปู่ถนอม

หลวงปู่ถนอม จันทวโร หรือ พระครูโพธาภิวัฒน์ รองเจ้าคณะอำเภอโพนสวรรค์ และเจ้าอาวาสวัดขามเตี้ยใหญ่ ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พระป่าที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตร ปฏิบัติดี เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา

เป็นศิษย์สืบสายธรรมของหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ศิษย์เอกหลวงปู่ศรีทัตถ์ ญาณสัมปันโน เกจิผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทน พระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และพระบาทโพนฉัน สปป.ลาว

ดำรงชีวิตอยู่ในวัย 79 ปี พรรษา 59

มีนามเดิมว่า ถนอม นนทศรี เกิดวันจันทร์ที่ 1 มี.ค.2438 ปีมะโรง ที่บ้านขามเตี้ยใหญ่ ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

ขณะอายุ 18 ปีบวชเณรที่อุโบสถวัดโพธิ์ศรี บ.ขามเตี้ยใหญ่ ต.ขามเตี้ยใหญ่ อ.ท่าอุเทน (ในขณะนั้น)

พ.ศ.2503 เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีหลวงปู่สนธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูโสตถิรธรรมคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ที เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพระปริยัติธรรมที่สำนักวัดศรีทอง ต.โพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จบนักธรรมชั้นเอก ร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงปู่สนธิ์ ผู้เป็นอาจารย์นาน 7 ปี จนช่ำชอง

ธุดงค์ไปในภาคเหนือของลาว ศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายน์ อักษรธรรม ขอม และลาว ก่อนเดินธุดงค์ต่อฝึกกัมมัฏฐานภูเขาควาย ฝั่งลาว พ.ศ.2538 หยุดธุดงค์กลับสู่วัดมาตุภูมิจนปัจจุบัน

เดือน มี.ค.2562 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญพญาเต่ามังกร รุ่นรวยทันใจ หลวงปู่ถนอม

วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้สมทบบำรุงเสนาสนะภายในวัดให้แล้วเสร็จ

วัตถุมงคลจัดสร้างเป็นหลายเนื้อด้วยกัน มีเนื้อทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทองคำเต็มแผ่น 19 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาลายธงชาติ 168 เหรียญ, เนื้อแร่เหล็กเปียกพระธาตุหน้ากากทองทิพย์หลังจารยันต์ 80 เหรียญ, เนื้อสัมฤทธิ์ชุม 3K (งานพรีเมียมจิวเวลรี่) 333 เหรียญ, และชุดกรรมการ 333 เหรียญ

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปเต่า ส่วนหัวเป็นหัวมังกร เท้าเต่าทั้ง 4 ข้างสลักตัวหนังสือข้างละ 1 ตัวอ่านว่า นะ มะ พะ ทะ ใต้หัวมังกรสลักยันต์อุณาโลม ด้านข้างใบหูด้านซ้ายสลักยันต์เต่าต้นตำรับหลวงปู่หลิว วัดไร่แตง ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ใน ท่านั่งขัดสมาธิ บนแท่นฐานพญานาค 2 เศียรขดหาง ด้านล่างสลักคำว่า รวยทันใจ

ด้านหลังเหรียญ แบนราบ หัวเต่าสลักอักขระยันต์ นะฤๅชา เท้าเต่า 4 ข้างสลักอักขระข้างละ 1 ตัวอ่านว่า นะ มะ พะ ทะ ตรงกลางเหรียญสลักอักขระ 2 บรรทัดซึ่งเป็นอักขระประจำตัวหลวงปู่ซึ่งใช้ทำเหรียญรุ่นแรก ถัดจากอักขระสลักตัวหนังสือ 4 บรรทัด อ่านว่า หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๖๒ หางเต่าสลักยันต์ อุ

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกหน้าองค์พญาศรีสัตตนาคราช ริมฝั่งแม่น้ำโขง วันที่ 23 พ.ย.2562 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป มีหลวงปู่ถนอม นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสก
    ข่าวสดออนไลน์



พระพิจิตรข้างเม็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุวัดเขาพนมเพลิง เป็นพระกรุใหญ่กรุหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย เนื่องจากได้พบพระเครื่องเป็นจำนวนมาก และก็มีพระเครื่องที่มีชื่อเสียงหลายๆ พิมพ์ บางพิมพ์ก็หายากมากในปัจจุบัน และมีสนนราคาสูงมาก เช่น พระศาสดา พระพุทธชินสีห์ พระลีลาบัวสองชั้น พระตะกวน เป็นต้น

ครับกรุวัดเขาพนมเพลิงนั้น ถูกกลุ่มคนเข้าไปลักลอบขุดในปี พ.ศ.2507 ประมาณปลายๆ ปี ซึ่งกรุนี้ถูกหมายตาจากนักขุดกรุ เนื่องจากในสมัยนั้นยังคงเป็นป่าต้นไม้ขึ้นปกคลุม และอยู่ห่างไกลสายตาผู้คน ตัวองค์พระเจดีย์ก็ยังสมบูรณ์ไม่เคยถูกเจาะมาก่อน คนกลุ่มนี้วางแผนไว้เป็นอย่างดี เมื่อได้เวลาตามนัดหมายก็เข้าไปขุดในเวลากลางคืน เจาะผนังเจดีย์ตรงที่มีรอยชำรุดอยู่ก่อนหน้า และเข้าไปจนถึงกรุบรรจุพระ ก็พบพระเครื่องจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชิน มีเนื้อดินเผาบ้างเล็กน้อย ทุกคนตกตะลึงกับจำนวนพระเครื่องที่มีมากมายเนื่องจากยังไม่เคยมีคนมาขุดก่อนหน้าเลย มีพระพุทธรูปอยู่ประมาณร้อยกว่าองค์ และพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ เป็นร้อยพิมพ์ เช่น พระพิมพ์ตะกวน พระศาสดา พระพุทธชินสีห์ พระร่วงนั่งหลังตัน (แบบพระร่วงนั่งหลังลิ่ม แต่ด้านหลังตัน) พระลีลาบังสองชั้น พระร่วงเปิดโลกทิ้งดิ่ง พระเชตุพน พระซุ้มเรือนแก้ว พระเชตุพนบัวสองชั้น พระพิจิตรข้างเม็ดเป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระแผงผสมอยู่บ้าง พระส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชินเงิน ผิวปรอทขาว อาจจะเป็นเพราะพระถูกบรรจุอยู่ในเจดีย์ที่สร้างไว้ยอดเขา จึงไม่ถูกความชื้นมากนัก ผิวของพระจึงยังคงความสมบูรณ์ เป็นคราบปรอทจับขาวเกือบทั้งองค์

พอตอนเช้าพระทั้งหมดก็ถูกลำเลียงลงมา และเข้าสู่สังคมพระเครื่องในกรุงเทพฯ ราวต้นปี พ.ศ.2508 ซึ่งช่วงนั้นสนามพระอยู่ในบริเวณวัดมหาธาตุฯ กทม. จำนวนพระเครื่องเข้าใจน่าจะเป็นจำนวนหลายหมื่นองค์ทีเดียว ที่เข้ามาในส่วนกลาง และก็แพร่หลายไปทั่ว เกือบทุกแผงจะมีพระเครื่องของกรุเขาพนมเพลิง สนนราคาก็ยังไม่สูง เนื่องจากมีปริมาณมาก ต่อมาพระเริ่มค่อยๆ หายไปจากสนามพระ และก็เริ่มมีราคาสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะพิมพ์ที่มีจำนวนน้อยก็แพงขึ้นมาก

มีพระอยู่พิมพ์หนึ่งที่มีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ก็คือพระพิจิตรข้างเม็ด ซึ่งเป็นพระขนาดเล็กลักษณะแบบพระของเมืองพิจิตร พระพิมพ์นี้จึงเรียกขานกันว่า พระพิจิตรข้างเม็ดกรุเขาพนมเพลิง ซึ่งเป็นพระเนื้อชินเงินผิวปรอท และจับขาวเกือบทั้งองค์ มีบางองค์ที่มีผิวดำก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน และมีรอยระเบิดเป็นแห่งๆ สังเกตดูจะแบ่งออกได้เป็นพิมพ์ชะลูด พิมพ์ต้อ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก เนื่องจากจำนวนพระมีจำนวนมาก จึงทำให้สนนราคายังไม่สูงมากนัก และยังพอหาชมได้ไม่ยากนักครับ

พระพิจิตรข้างเม็ดของกรุวัดเขาพนมเพลิง มีขนาดเล็กน่ารักเหมาะแก่การนำไปเลี่ยมห้อยคอ ห้อยได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง พุทธคุณก็ยอดเยี่ยม ดีทั้งคงกระพันและแคล้วคลาดครับ

วันนี้ผมก็นำรูปพระพิจิตรข้างเม็ดกรุวัดเขาพนมเพลิง สุโขทัย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ 
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์

ne.12-11
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #132 เมื่อ: 02 ธันวาคม 2562 14:50:23 »


พระนาคปรกพะงั่ว กรุวัดมหาธาตุ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนาคปรกพะงั่ว กรุวัดมหาธาตุอยุธยา เป็นพระนาคปรกเนื้อชินเงินศิลปะขอมแบบบายน ครับก็ดูแปลกใจอยู่ไม่มากก็น้อยที่วัดมหาธาตุนั้นสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่พระของกรุนี้มีพระเครื่องที่เป็นศิลปะขอมบายนปะปนอยู่

พระนาคปรกพะงั่ว กรุวัดมหาธาตุ แตกออกจากกรุก่อนที่จะมีการบูรณะอย่างเป็นทางการประมาณ 1 ปี คือในปีพ.ศ.2499 ได้มีคนร้ายได้ลักลอบแอบเข้าไปขุดเจดีย์ วัดมหาธาตุอยุธยา และได้พระเครื่องพระพุทธรูป กับสิ่งของมีค่าไปมิใช่น้อย หลังจากนั้นทางการจึงได้เข้าไปควบคุมและเปิดกรุอย่างเป็นทางการพร้อมกับได้บูรณะไปในตัวด้วย

พระเครื่องที่พบในกรุเจดีย์วัดมหาธาตุ ที่พบนั้นประกอบด้วยพระหลายอย่าง ทั้งพระแผงปางปาฏิหาริย์พิมพ์ต่างๆ แล้ว ยังพบพระอู่ทองคางเครา พระนาคปรก พระซุ้มเรือนแก้ว พระปรุหนัง พระซุ้มนครโกษา พระซุ้มคอระฆังและอื่นๆ เป็นต้น พระเครื่องที่ขึ้นจากกรุนี้ที่เป็นเนื้อชินเงิน นั้นจะพบมีอยู่สองลักษณะคือ พระที่เป็นแบบศิลปะอยุธยา มักจะมีผิวปรอทพระจะค่อนข้างบาง ลักษณะเป็นแบบพระอยุธยาทั่วๆ ไป แต่พระเครื่องที่เป็นศิลปะแบบขอมจะเป็นพระเนื้อชินผิวสนิมดำ และมักจะมีความหนา เช่น ปรกพะงั่วและพระอู่ทองคางเครา เป็นต้น

สาเหตุที่เรียกกันว่าพระกรุพะงั่ว ก็เนื่องมาจากในปีพ.ศ.1917 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุแห่งนี้ เมื่อพบพระเครื่อง นักนิยมสะสมพระในสมัยนั้นจึงเรียกกันว่า "กรุพะงั่ว" โดยเฉพาะพระนาคปรกก็มักจะเรียกกันว่า "ปรกพะงั่ว" บ้าง "นาคปรกกรุพะงั่วบ้าง" ก็เรียกกันต่อๆ มาจนทุกวันนี้

ทีนี้เรามาพิจารณาศิลปะของพระนาคปรกพะงั่วกัน จะเห็นได้ว่าตัวพังพานนาคปรกนั้น เศียรนาคแต่ละตัว เป็นเศียรนาคศิลปะขอมบายน องค์พระไม่ว่าจะเป็นพระพักตร์ เครื่องทรง ลำพระองค์ ล้วนเป็นศิลปะขอมแบบบายนทั้งสิ้น และคงไม่ใช่พระที่สร้างล้อแบบในสมัยอยุธยา

อีกทั้งเนื้อหาของพระก็ดูมีอายุเก่ากว่าพระเครื่องที่บรรจุอยู่ในกรุเดียวกันอีกหลายๆ แบบ สนิมจะเป็นสนิมแบบเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา แทบทั้งสิ้น ไม่ปรากฏคราบผิวปรอทเลย บางองค์เกิดรอยแตกปริอยู่ทั่วองค์ พระปรกพะงั่วนี้ พบพระที่สวยสมบูรณ์น้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีรอยระเบิดร้าวปริ องค์งามๆ จึงค่อนข้างหายากครับ

พระปรกพะงั่วนี้สันนิษฐานว่าขุนหลวงพะงั่วคงจะนำมาจากกรุอื่น แล้วนำมาบรรจุรวมไว้กับพระอื่นๆ ในเจดีย์วัดมหาธาตุเสียมากกว่า จากศิลปะและเนื้อหาขององค์พระน่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยลพบุรี ศิลปะขอมแบบบายน พระปรกพะงั่วที่พบในเจดีย์วัดมหาธาตุ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ปัจจุบันหายาก ยิ่งในองค์สวยสมบูรณ์ยิ่งหายากมากครับ

พระปรกพะงั่วถึงแม้ว่าจะเป็นพระที่มีขนาดค่อนข้างเขื่องสักหน่อย แต่ทรงด้วยคุณค่าทั้งทางด้านศิลปะและพุทธคุณ จากคำบอกเล่าต่อกันมาว่าเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด ปกป้องคุ้มครองอยู่เย็นเป็นสุขครับ สนนราคาปัจจุบันก็ ค่อนข้างสูงครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปรกพะงั่ว จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



ล็อกเกตหลวงปู่บุญ ปริปุณณสีโล  

หลวงปู่บุญ ปริปุณณสีโล แห่งวัด ปอแดง หมู่ 4 ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา พระเถราจารย์ชื่อดังที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่ก้อน จิตตสาโร วัดห้วยสระแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตในวัย 84 ปี พรรษา 48

มีนามเดิมว่า บุญ แก้วกิ่ง เกิดเมื่อวันที่ 19 มี.ค.2478 ปีกุน เป็นชาวบ้านปอแดง หมู่ 4 ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

วัยเยาว์เป็นคนที่มีจิตใจมุ่งใฝ่ธรรมะ หลังเรียนจบชั้น ป.4 ก่อนเป็นทหาร 2 ปี จึงเบื่อหน่ายทางโลก

อุปสมบทเมื่อวันที่ 27 มี.ค.2514 ที่วัด ห้วยสระแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา มีพระครูสาทรคณารักษ์ หรือหลวงปู่ก้อน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลสุขวัฒน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุทธิสีลคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ศึกษาพระปริยัติธรรม จากพระอาจารย์วิชัย อดีตเจ้าอาวาสวัดปอแดง ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาจากหลวงปู่ก้อน ผู้เป็นอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านเป็นศิษย์เอกหลวงปู่โต คังคปัญโญ ผู้สืบสายวิทยาคมจากสมเด็จลุน แห่งประเทศลาว

ต่อมาธุดงค์ไปศึกษากัมมัฏฐานกับหลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง ก่อนจะเดินธุดงค์ไปภูเขาควาย สปป.ลาว และหลายจังหวัดในภาคอีสาน เหนือ และตะวันออก เรื่อยไปจนถึงประเทศพม่า

ศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิหลายรูป อาทิ หลวงพ่ออาสภะมหาเถโร พลวงพ่อวิชัย นิรามโยช และหลวงพ่อเต๋ คงทอง เป็นต้น

ออกธุดงค์ยาวนาน 20 ปี กระทั่งกลับสู่มาตุภูมิที่วัดปอแดง (วัดศิรีอรัญรุกขาวาส) จนเป็นวัดฝึกปฏิบัติธรรมและสวนนิพพานชื่อดัง สืบเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน

ในเดือน พ.ย.2562 หลวงปู่บุญ มีดำริจัดสร้างล็อกเกตหลวงปู่บุญ รุ่นมัชฌิมา เพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์ที่อาพาธ และเป็นทุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน

ล็อกเกตรุ่นนี้มีหลายแบบด้วยกัน อาทิ ชุดกรรมการ 1 (สีน้ำเงิน) เบอร์ 1 และเบอร์ 7 (แถมฟรีฉากทองเบอร์) 7 สร้าง 84 องค์, ชุดกรรมการ 2 (สีแดง) เบอร์ 1 และเบอร์ 7 (แถมฟรีฉากทองเบอร์ 7) จำนวน 84 องค์, ฉากทองเบอร์ 1 อุดผงไม้ตะเคียนฝั่งพลอยและตะกรุดเงิน จำนวน 300 องค์, ฉากแดง ฉากน้ำเงินและฉากซีเปีย เบอร์ 1 เลี่ยมสแตนเลส หลังยันต์ สีละ 400 องค์, ฉากแดง ฉากน้ำเงินและฉากซีเปียเบอร์ 7 เลี่ยมสแตนเลสหลังยันต์ สีละ 500 องค์

ด้านหน้าล็อกเกต เป็นรูปไข่ ด้านบนมีตัวหนังสือคำว่า มัชฌิมา หมายถึงเป็นกลาง ขอบล็อกเกตสองข้างมีพญานาค 2 ตนชูคอ ตรงกลางมีรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ในท่านั่งขัดสมาธิ ที่อังสะมียันต์ นะ มหาเถระโต ด้านล่างเขียนคำว่า หลวงปู่บุญ

ด้านหลังล็อกเกต เฉพาะชุดกรรมการชุดที่ 1 (สีน้ำเงิน) และชุดกรรมการชุดที่ 2 (สีแดง) ฝังพลอย พระนาคปรก 7 รอบ 84 ปี ตะกรุดเงินตะกรุดทอง ส่วนเบอร์ 7 ฝังเกศา จีวรหลวงปู่ และอุดผงไม้ตะเคียน

เตรียมนำเข้าพิธีเพื่อให้หลวงปู่บุญนั่งอธิษฐานจิต ในวันที่ 11 ธ.ค.2562
  ข่าวสดออนไลน์



เครื่องรางทองคำเศรษฐี หลวงปู่ทองคำ

หลวงปู่ทองคำ โสรวโร อาศรมป่าช้าแคนทะเล ต.สระบัว อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิที่มีวัตรปฏิบัติสมถะเรียบง่าย เสมอต้นเสมอปลาย ได้รับความเคารพเลื่อมใส

ปัจจุบันสิริอายุ 93 พรรษา 31

นามเดิม ทองคำ แกชวดดง เกิดเมื่อปี พ.ศ.2469 ที่บ้านแคนทะเล ต.สระบัว อ.สตึก จ.บุรีรัมย์

อายุ 14 ปี เข้าพิธีบรรพชา ที่วัดบ้านยางสีสุราช จ.มหาสารคาม มุมานะศึกษาพระธรรมวินัยสอบได้นักธรรมชั้นโท พร้อมกับฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาไสยเวทกับอดีตพระเกจิอาจารย์หลายท่านในยุคนั้น แต่ในช่วงที่เรียนนักธรรมชั้นเอก เกิดอาพาธหนัก จึงลาสิกขาออกมารักษาตัวที่บ้าน

ในปี พ.ศ.2532 เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดเทพทราวาส ต.แคนดง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ (ปัจจุบัน ขึ้นอำเภอแคนดง) โดยมีพระครูอรุณปัญญาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ด้วยความที่ท่านมีอุปนิสัยชมชอบความสันโดษ จึงไปจำพรรษาในป่าช้าประจำหมู่บ้าน หลวงปู่ปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิ เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติเป็นอย่างมาก ก่อนตัดสินใจออกเดินธุดงค์จาริกไปทั่วประเทศ

ต่อมา ในปี พ.ศ.2557 อาพาธหนัก ลูกหลานญาติโยมเกิดความเป็นห่วง จึงได้สร้างอาศรมป่าช้าแคนทะเล ให้หลวงปู่ที่ท้ายหมู่บ้าน ท่านรับนิมนต์จำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

เนื่องจากอยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิตมักเกิดอาพาธ "พระครูปลัดสุรินทร์ ภัททมุนี" ซึ่งให้ความเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ทองคำ จึงมีโครงการที่จะหาปัจจัยสมทบทุน เพื่อเป็นกองทุนการกุศลและกองทุนรักษาธาตุขันธ์ รวมทั้งช่วยเหลือพระสงฆ์ที่อาพาธ จึงจัดสร้างวัตถุมงคล "เครื่องรางทองคำเศรษฐี" เพื่อมอบให้กับพุทธศาสนิกชนที่ร่วมทำบุญ

วัตถุมงคลรุ่นนี้ จำลองจากเงินตำลึงจีน ในสมัยโบราณที่เรียกว่า "หยวนเป่า" หรือ "ง้วนป้อ" ลักษณะเป็นแท่งเงินปลายโค้งสูงทั้งสองข้าง มีรูปร่างคล้ายเรือ ด้านข้างมีอักขระยันต์ พร้อมตัวอักษรเขียนคำว่า ทองคำเศรษฐี ส่วนอีกด้าน เขียนคำว่า มีความสุขและให้ร่ำรวย ใต้ฐานบรรจุอุดผงพุทธคุณ ผงว่านสายเมตตา สายโภคทรัพย์ และลงอักขระยันต์คาถาหัวใจมหาเศรษฐี

สำหรับวัฒนธรรมจีน หยวนเป่า เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งร่ำรวย จึงนับว่าเครื่องรางทองคำเศรษฐี รุ่นนี้ เป็นสุดยอดวัตถุมงคลแห่งยุค มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน อาทิ โชคลาภ แคล้วคลาด ค้าขาย หนุนดวง หนุนชีวิต จากร้ายให้กลายเป็นดี เป็นต้น

จำนวนสร้าง อาทิ นำฤกษ์เนื้อเงินอุดผงพรายกุมารฝังตระกรุดทองคำสร้าง 80 ก้อน นำฤกษ์เนื้อแร่เหล็กไหลอุดผงพรายกุมารฝังตะกรุดทองคำ สร้าง 149 ก้อน เนื้อเหล็กน้ำพี้ชุบทอง 3 กษัตริย์อุดผงพรายกุมาร-พลอยมหาลาภ 199 ก้อน เป็นต้น

พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 30 ธ.ค.2562 ที่วัดสุทธาวาสวิปัสสนา พระเกจิร่วมพิธี อาทิ หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย จ.พระนครศรี อยุธยา อธิษฐานจิตนำฤกษ์ หลวงปู่ทองคำ โสรวโร จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่ปัน จ.นครปฐม, หลวงปู่บุญมา จ.ปราจีนบุรี, หลวงปู่หลักชัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
  ข่าวสดออนไลน์



พระขุนแผนหลวงปู่แสน รุ่น 111 ปี

หลวงปู่แสน ปสันโน" วัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ "เทพเจ้าแห่งเขาภูฝ้าย ใกล้ชายแดนเขมร" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีสานใต้

ระหว่างบวชเณร ศึกษา เล่าเรียนหนังสือกับหลวงพ่อมุม วัดประสาทเยอใต้ จนเรียนจบ ป.4 จากนั้นเรียนตำราวิทยาคมต่อ ทั้งอักษรธรรม บาลี และภาษาขอม

อายุครบ 21 ปี อุปสมบทและศึกษาวิชากับหลวงพ่อมุมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งอายุ 24 ปี มีเหตุจำเป็นต้องลาสิกขา

เมื่อหมดภาระทางบ้าน กลับสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง โดยไปจำพรรษาที่บ้านกุดเสล่า อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ออกธุดงค์ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก เป็นนิจ อยู่อย่างสมถะ ไม่มักมาก ไม่ยึดติด เป็นพระนักปฏิบัติที่ชาวบ้านกุดเสล่าเคารพ ศรัทธาอย่างมาก

จากนั้นย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์โนนไทย (วัดกูไทยสามัคคี ปัจจุบัน) อยู่ถึง 3 ปี เห็นสภาพวัดบ้านหนองจิก ที่จะกลายเป็นวัดร้าง จึงย้ายจากสำนักสงฆ์โนนไทย ไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิก และทำนุบำรุงวัดจนมีพระมารับช่วงต่อ จึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดบ้านโพง

จนอายุ 97 ปี ลูกหลานเป็นห่วงสุขภาพ จึงได้พาชาวบ้านไปนิมนต์กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิก จนถึงทุกวันนี้

ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง หลวงปู่แสน ละสังขารอย่างสงบ เมื่อเวลา 22.24 น. คืนวันที่ 25 ก.ค.2562 ที่กุฏิภายในวัดบ้านหนองจิก อายุ 112 ปี

ในเดือน เม.ย.2562 คณะศิษย์ "ทีมงานแสนยานุภาพ" จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นพระขุนแผนหลวงปู่แสน รุ่นฉลองอายุวัฒนมงคล 111 ปี

เพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถและศาลาการเปรียญให้แล้วเสร็จ

วัตถุมงคลจัดสร้างเป็นเนื้อครูนำฤกษ์ฝังตะกรุดทองคำ 3 ดอกหลังเรียบจาร 19 องค์, เนื้อไม้รักซ่อนแกะ เนื้อก้นครกโรยแร่เจ้าน้ำเงินฝังตะกรุด 3 กษัตริย์ ชนิดละ 199 องค์, เนื้ออธิษฐานมงคลครอบหน้ากาก 3 กษัตริย์ลงยาแดง น้ำเงิน ชนิดละ 250 องค์, เนื้อครูนำฤกษ์ฝังตะกรุดทองคำ 1 ดอก ตะกรุดเงิน 2 ดอก 111 องค์

รวมทั้งมีชุดของขวัญเนื้ออธิษฐานมงคล ครอบหน้ากากทองทิพย์ลงยาธงชาติ ลงยาแดง น้ำเงิน เขียว 500 องค์, เนื้อนพเก้า 3,000 องค์ และลุ้นเนื้อ (ลุ้นฝังตะกรุดทองคำ 500 องค์) 9,000 องค์

ด้านหน้า คล้ายพระขุนแผนหลวงปู่ทิม ด้านบนมีซุ้มเรือนแก้ว ด้านซ้ายและขวาเหนือซุ้มสลักยันต์คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า ตรงกลางมีพระพุทธในท่านั่งขัดสมาธิ ใบหน้าสลักยันต์นะเศรษฐี หน้าอกมีรูปหัวใจซ้อน 2 วงสลักคาถานะอกแตก เสาซุ้มเรือนแก้วซ้ายสลักอักขระอ่านว่า นะ ชา ลี ติ เสาด้านขวาสลักคำว่า นา สัง สิโม ล่างสุดสลักคาถาอุดกระบอกปืนหลวงปู่ทิม

ด้านหลัง ปลายยอดสลักยันต์นะ หลง ตรงกลางมียันต์พระลักษณ์หน้าทอง ล้อมคาถาพระพุทธเจ้าหัวใจทศชาติ ถัดมามีคาถาพรหมสี่หน้า มีนกสาลิกา 2 ตัวอยู่กลาง ด้านล่างสุดสลักตัวหนังสือ 3 บรรทัดอ่านว่า แสนยานุภาพ หลวงปู่แสน ปสนฺโน อายุ ๑๑๑ ปี วัดบ้านหนองจิก

ปลุกเสก 12 วาระ มีพระเกจิชื่อดัง อาทิ หลวงพ่อคำนวณ ปริสุทโธ วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสาคร, หลวงพ่อสุรศักดิ์ อติสักโข วัดประดู่ จ.สมุทรสงคราม นั่งอธิษฐานจิต
  ข่าวสดออนไลน์



รูปหล่อโบราณ หลวงปู่ทองสุข

หลวงปู่ทองสุข สุทธิจิตโต เจ้าอาวาสวัดโนนสะแบง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิที่ได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธา แต่ละวันมีผู้เดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรม และประพรมน้ำพระพุทธมนต์

ปัจจุบัน สิริอายุ 91 ปี พรรษา 62

เกิดปี พ.ศ.2471 ที่ ต.บ้านธาตุ อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ครอบครัวท่านประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

อายุครบเกณฑ์ทหาร ไปรับใช้ชาติอยู่ 2 ปี หลังปลดประจำการ ออกมาทำงานหาเลี้ยงครอบครัว

อายุ 29 ปี พ.ศ.2500 เข้าพิธีอุปสมบท ที่อุโบสถวัดกกโก ต.กกโก อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมีพระอาจารย์ปล้อง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของ จ.ลพบุรี ในยุคนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์

มุมานะศึกษาพระธรรมวินัย พร้อมฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิทยาคมอยู่กับพระอาจารย์ปล้อง จากนั้นได้ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาในแถบภาคอีสาน และข้ามไปยังประเทศ สปป.ลาว จำพรรษาอยู่ภูเขาควาย 1 พรรษา

ต่อมาได้ข้ามมาฝั่งไทย จำพรรษาในถ้ำพื้นที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี นานถึง 7 ปี

ออกธุดงค์ไปจำพรรษาตามป่าเขาอีกหลายแห่ง สุดท้ายน้องชายท่านเห็นว่าท่านย่างเข้าวัยชรา จึงได้นิมนต์ให้มาจำพรรษาที่วัดโนนสะเเบง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ตั้งเเต่ปี พ.ศ.2547 จนตราบจนปัจจุบัน

ร่วมกับญาติโยมพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรือง สร้างศาลาการเปรียญ กุฏิ ตลอดจนเสนาสนะต่างๆ

เนื่องจากอยู่ในช่วงปัจฉิมวัย อายุมากถึง 93 ปี เกิดอาพาธบ่อยครั้ง คณะศิษยานุศิษย์ โดยทีมงาน "เด็กสร้างบุญ" จึงมีโครงการที่จะจัดหาปัจจัยเพื่อเป็นกองทุนรักษาธาตุขันธ์ รวมทั้งบูรณะเสนาสนะภายในวัด

จึงได้ขออนุญาตจัดสร้าง "รูปหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ทองสุข รุ่นรวยทันใจ" เพื่อมอบให้ญาติโยมที่ร่วมบริจาคทำบุญ

วัตถุมงคลรูปหล่อรูปเหมือนรุ่นนี้ ใช้กรรมวิธีการสร้างแบบโบราณ สร้างเป็นรูปเหมือนนั่งกัมมัฏฐานบนฐานเขียง บริเวณฐานด้านหน้ามีตัวอักษร เขียนคำว่า หลวงปู่ทองสุข ส่วนฐานด้านหลังเขียนคำว่า สุทฺธิจิตโต ๙๓

จำนวนการสร้างน้อยมาก อาทิ เนื้อทองคำ สร้าง 9 องค์ เนื้อเงิน 93 องค์ เนื้อนวะเทดินไทย 199 องค์ เนื้อเหล็กน้ำพี้ 299 องค์ เนื้อทองแดงโบราณ 1,999 องค์ และชุดกรรมการนำฤกษ์สร้าง 29 ชุด เป็นต้น

วัตถุมงคลรุ่นนี้ เสกเดี่ยวในกุฏินานนับเดือน
  ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหลวงพ่อสำเร็จ รุ่นแรก

หลวงพ่อธานี อธิฉันโท เจ้าอาวาส วัดหนองศาลา ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม พระสุปฏิปันโน ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงพ่อฉาว เกสโร เทพเจ้าแห่งแม่นางกวัก วัดสว่างชาติประชาบำรุง จ.นครปฐม

ปัจจุบัน สิริอายุ 62 ปี พรรษา 23

มีนามเดิมว่า ธานี รอดน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 พ.ย.2500 พื้นเพเป็นชาว ต.ทุ่งกระพังโหม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม บิดา-มารดา ชื่อ นายชูศักดิ์ และนางละออง รอดน้อย เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน

ในวัยหนุ่มเคยเป็นตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ด้วยความเบื่อหน่ายทางโลก จึงแสวงหาหนทางเข้าสู่ธรรมะ จึงไปปรึกษาหลวงพ่อฉาว เกสโร เพื่อเข้าสู่ร่ม กาสาวพัสตร์

ขณะอายุ 39 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดสว่างประชาบำรุง จ.นครปฐม มีพระครูโอภาสประชานุกูล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสนธยา ฐิตปณีโย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระเอกลักษณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

อุปัฏฐากรับใช้หลวงพ่อฉาว เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิทยาคม ทั้งด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด

จากนั้นจึงออกธุดงค์ในป่าน้ำตกอีซู เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ ป่าเมืองกาญจน์ จ.กาญจนบุรี (ในอดีต) ขณะนั้นท่านพบว่ามีสัตว์ป่า อาทิ ลิง ค่าง บ่าง ชะนี และกระต่ายป่า ถูกนายพรานล่าเป็นเกมกีฬา ท่านจึงพิจารณาถึงสัจธรรมว่ามีเกิดก็มีดับ

ในเดือน พ.ย. คณะลูกศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญหลวงพ่อสำเร็จ รุ่นแรก

เพื่อจัดหารายได้สมทบทุนสร้างวิหารครอบพระพุทธชินราช หน้าตักกว้าง 9 เมตร ให้แล้วเสร็จ

จัดสร้างด้วยกันหลายเนื้อ มีเนื้อทองคำ (ตามจำนวนจอง) เนื้อเงินลงยาแดง 65 เหรียญ, เนื้อนวะ 99 เหรียญ, เนื้อทองทิพย์ 299 เหรียญ, เนื้อทองแดงผิวไฟ และเนื้อทองแดงรมรุ้ง ชนิดละ 999 เหรียญ

ด้านหน้า เป็นเหรียญรูปทรงเหลี่ยมคล้ายเหรียญ 25 พุทธศตวรรษ ตรงกลางมีรูปเหมือนหลวงพ่อสำเร็จ ปางเปิดโลกประทับยืนบนแท่นฐาน ด้านล่างสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงพ่อสำเร็จ

ด้านหลังเหรียญ ด้านบนสุดมีตัวหนังสือคำว่า ที่ระลึก ถัดลงมามีอักขระยันต์ตัว นะ ใต้อักขระมีจุดไข่ปลา 4 จุด ถัดลงมาสลักตัวเลขไทย ๑ บรรทัดล่างสุดอ่านว่า วัดหนองศาลา จ.นครปฐม ๒๕๖๒

จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก เวลา 13.19 น. ในวันที่ 5 ธ.ค. ที่วัดหนองศาลา มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อาทิ หลวงปู่ปั่น วัดหนองกระทุ่ม, หลวงพ่อเวียน วัดหนองหนองพงนก จ.นครปฐม, หลวงปู่ลอง วัดวิเวกวายุพัด จ.พระนครศรีอยุธยา นั่งอธิษฐานจิต เป็นต้น

วันที่ 1 ม.ค. 2563 จะมีพิธีหล่อพระปูนปางเปิดโลกหลวงพ่อสำเร็จ สูง 4.99 เมตร
  ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ธันวาคม 2562 14:54:11 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #133 เมื่อ: 10 มกราคม 2563 15:52:06 »



ศัพท์สังคมพระ "ตากลับ"

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้มาคุยกันเรื่องสัพเพเหระกันบ้าง เรื่องที่จะพูดถึงก็คือ คำว่า "ตากลับ"ในสมัยก่อนที่ผมเริ่มศึกษาเรื่องพระใหม่ๆ ก็ได้ยินคำคำนี้ และก็ยังไม่เข้าใจลึกซึ่งว่าคืออะไร ต่อมาจึงได้เข้าใจว่าคำว่าตากลับก็คือ พิจารณาพระแท้เป็นพระเก๊ และก็พิจารณาพระเก๊เป็นพระแท้ ก็คือดูกลับกันกับคนอื่นเขา อันมีสาเหตุจากหลายๆ อย่าง

ตากลับโดยส่วนใหญ่จะหมายถึงคนที่เคยดูพระเป็นเล่นพระได้ แต่ต่อมาเมื่อมีอายุมากขึ้นหรือแกนั่นแหละ สายตาก็เริ่มเสื่อมลง ความจำก็เสื่อมลง และพระเก๊ในยุคหลังๆ ก็ได้ทำดีขึ้นมาก จึงทำให้ดูพระผิดไปจากความจริง แต่ต้องให้เป็นเหมือนกันทุกคน บางคนอายุมากแต่สายตาและความจำยังดีก็ไม่ตากลับ แต่บางคนอายุยังแก่ไม่มากก็อาจจะเป็นได้ครับ เรื่องนี้ถ้าเกิดขึ้นกับตัวเองก็จะรู้ได้ว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความเสื่อมไปตามกาลเวลา

ในสมัยก่อนผมเคยเห็นผู้ใหญ่บางท่าน ซึ่งท่านก็เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญคนหนึ่ง ต่อมาเมื่อท่านเริ่มมีอายุมากขึ้นท่านก็เริ่มวางมือ ไม่ค่อยพิจารณาพระเครื่อง ท่านเคยบอกผมว่า พออายุมากขึ้น ร่างกายเราก็เริ่มเสื่อมถอยลง ก็ต้องรู้ว่าควรจะวางมือลงเสีย ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นพวกตากลับ คือพิจารณาผิดพลาดบ่อยๆ ผมเองในตอนนั้นก็ยังไม่เข้าใจลึกซึ้งนัก พอมาถึงทุกวันนี้ก็รู้และเข้าใจมากขึ้น เมื่อตัวเราเองเริ่มมีความเสื่อมเช่นสายตาก็เริ่มด้อยความสามารถลง ความจำก็เริ่มเสื่อมมากขึ้น ก็ต้องยอมรับ และเริ่มเข้าสู่ระยะตากลับเข้าอีกคนหนึ่งปัจจุบันก็เริ่มดูพระไม่ได้วิเคราะห์ไม่ออก และปัจจุบันการพัฒนาของกระบวนการทำพระปลอมก็ดีขึ้นมากๆ

ประเภทที่ทำปลอมชั้นดีนั้นใกล้เคียงมากๆ เพราะตัวเราเริ่มหมดสภาพลงเรื่อยๆ ก็เริ่มพิจารณาอะไรไม่ได้เสียแล้ว ทั้งๆ ที่พระบางอย่างเคยดูได้พิจารณาได้ ก็เริ่มชักไม่แน่ใจเสียแล้ว และต้องยอมรับการเป็นไปของธรรมชาติว่าทุกอย่างย่อมเสื่อมไปเป็นธรรมดา

ผมเองในปัจจุบันก็บางครั้งดูพระผิดพลาดทั้งๆ ที่เคยดูไว้ด้วยตัวเอง แต่ปัจจุบันก็ตัดสินใจผิดพลาดและยิ่งตัวเองไม่ใช่เซียนพระด้วยแล้วก็ยิ่งผิดพลาดมากขึ้นตามลำดับ ในปัจจุบันการเล่นหาสะสมก็เปลี่ยนไปหลายๆ อย่างต้องยอมรับว่าตัวเองนั้นตกยุคไปแล้ว และก็นึกถึงคำที่ผู้ใหญ่เคยสั่งสอนไว้ เมื่อถึงเวลาก็ต้องถอยออกมาวางมือลง ซึ่งก็เป็นทุกวงการไม่ว่าในเรื่องอะไร เมื่อถึงเวลาก็ต้องยอมรับว่าตัวเองนั้นความสามารถลดลง ก็ต้องให้คนในยุคต่อๆ มาเขาว่ากันไปตัวเราก็ถอยออกมาดูห่างๆ น่าจะดีกว่า

ครับก็คุยกันเรื่องการพิจารณาพระเครื่องนั้น ก็มีผิดพลาดกันได้ ปัจจัยหนึ่งก็คือความเสื่อมของตัวเราเอง และก็มีคำศัพท์ที่ว่า "ตากลับ" ก็ยกตัวอย่างของตัวเองว่าก็เข้าข่ายตากลับแล้วเช่นกัน และยอมรับว่าก็คงต้องวางมือในที่สุด ก็คุยเล่นๆ ไปเรื่อยๆ นะครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกระหนก องค์สวยองค์ดังในอดีตมาให้ชมครับ
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



เหรียญเศรษฐีมังกรคู่ หลวงปู่สำลี

หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต เจ้าอาวาสวัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย พระเถระที่มีวัตรปฏิบัติดี สืบสายธรรมจากหลวงปู่หลุย จันทสาโร อดีตพระอาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ปัจจุบัน สิริอายุ 84 ปี พรรษา 50

มีนามเดิมว่า สำลี เพ็งผล เกิดเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2479 เป็นบุตรของนายบุญ และนางอินทร์ เพ็งผล ที่ ต.กุดจอก อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

ต่อมาครอบครัวย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่จังหวัดเลย

ช่วงวัยเด็ก นอกจากจะช่วยครอบครัวทำไร่ทำนา ยังมีจิตใจโน้มเอียงเข้าหาพระพุทธศาสนา หากมีเวลาว่าง ครอบครัวจะพาไปทำบุญรับฟังธรรมและฝึกปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย เป็นประจำ

กระทั่ง หลวงปู่หลุย เห็นความตั้งใจในการปฏิบัติธรรม ในปี พ.ศ.2513 จึงได้พาไปอุปสมบทที่พระอุโบสถวัดเลยหลง โดยมีพระราชคุณาธาร หรือ หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ เป็นพระอุปัชฌาย์

จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจศึกษาพระธรรมวินัยอยู่กับหลวงปู่หลุย ที่วัดถ้ำผาบิ้ง พร้อมกับศึกษาสรรพวิชาต่างๆ จากหลวงปู่หลุย

ต่อมาในปี พ.ศ.2515 หลวงปู่หลุย ดำริให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย

จึงย้ายมาจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่วัดแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน

สำหรับวัดถ้ำคูหาวารี เป็นถ้ำที่อดีตพระเถระฝ่ายธรรมยุตหลายรูป อาทิ หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นต้น เคยบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่

เพื่อตอบบุญแทนคุณครูอาจารย์ หลวงปู่สำลี จึงมีโครงการจัดสร้าง "เจดีย์จันทสาโรนุสรณ์" ที่วัดถ้ำคูหาวารี เพื่อน้อมรำลึกถึงครูอาจารย์ หลวงปู่หลุย จันทสาโร พระอริยสงฆ์แห่งวัดถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย แต่ยังขาดปัจจัยเป็นจำนวนมาก

จึงจัดสร้างเหรียญเศรษฐีมังกรคู่ เพื่อนำรายได้สมทบทุนก่อสร้าง

วัตถุมงคลรุ่นนี้ออกแบบได้สวยงามมาก เป็นเหรียญมีหู ไม่เจาะห่วง ด้านหน้าเป็น รูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ ห่มจีวรเฉียง ที่ใต้รูปเหมือนเขียนว่า หลวงปู่สำลี ที่บริเวณขอบเหรียญทั้งซ้ายและขวาจะมีรูปมังกรข้างละ 1 ตัว บริเวณหางพันกัน เหนือหัวมังกรจะเป็นกงล้อธรรมจักร

ส่วนด้านหลัง เป็นภาพอัฐบริขารและอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน จากด้านขวาของเหรียญลงด้านล่างวนไปด้านซ้าย เขียนคำว่า วัดถ้ำคูหาวารี บ้านซำนกจิบ ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย พ.ศ.๒๕๖๐

เนื้อทองคำ 9 เหรียญ เนื้อเงิน 99 เหรียญ เนื้อนวะหน้ากากเงิน 199 เหรียญ เนื้อทองขาวหน้ากากทองทิพย์ 299 เหรียญ เนื้อทองแดงผิวไฟ 599 เหรียญ เนื้อทองแดงมันปู 399 เหรียญ และชุดกรรมการ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก หลวงปู่สำลี อธิษฐานจิตเดี่ยว จัดเป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นของหลวงปู่สำลี ที่เจตนาการจัดสร้างดี กระแสความต้องการเช่าหาในพื้นที่แรงขึ้นเรื่อยๆ

ติดต่อได้ที่วัดถ้ำคูหาวารี ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย
ข่าวสดออนไลน์



พระเทริดขนนก วัดป่าเลไลยก์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จ.สุพรรณบุรี มีวัดเก่าแก่อยู่มากมาย และก็มีพระเครื่องที่แตกกรุออกมาหลายกรุ กรุที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักก็เยอะ อย่างพระกรุของวัดป่าเลไลยก์ ก็ไม่ค่อยได้เห็นกันนักครับ แม้แต่รูปก็หายาก เรามาคุยถึงวัดป่าเลไลยก์และพระกรุที่ขุดพบกันสักหน่อยนะครับ

วัดป่าเลไลยก์ ตั้งอยู่ที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร วัดนี้สร้างตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด โบราณวัตถุที่สำคัญของวัดก็คือ องค์พระปางปาลิไลยกะ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลวงพ่อโต" ซึ่งมีพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแล โปรดให้บูรณะวัดป่าเลไลยก์ เมื่อปี พ.ศ.1724 ซึ่งแสดงว่าองค์พระมีการสร้างขึ้นมาก่อนหน้านี้ มีข้อสันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประทับนั่งห้อยพระบาทอยู่กลางแจ้ง พระกรทั้งสองข้างหักชำรุดไปตามกาลเวลา

ภายหลังได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์กันอยู่หลายครั้ง ซึ่งก็อาจจะทำใหม่เป็นปางป่าเลไลยก์ ตามที่นิยมกันในสมัยต่อมา ถ้าเป็นตามที่สันนิษฐานกันไว้ พระพุทธรูปองค์นี้ก็น่าจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างกันในสมัยทวารวดีก็เป็นได้ เท่าที่พอมีหลักฐานก็น่าจะมีการบูรณะกันมาถึง 3 ครั้ง จึงเห็นกันในปัจจุบันว่า พระพักตร์เป็นแบบศิลปะอยุธยา เขตอุปจารของวัดป่าเลไลยก์กว้างขวางมาก วัดดอนกระต่ายก็อยู่ในเขตอุปจารของวัดป่าเลไลยก์ด้วย วิหารเก่าพังทลายร้างไปแล้ว มีคนเคยขุดพบพระขุนแผนเรือนแก้ว และที่เจดีย์หน้าวิหารวัดป่าเลไลยก์ ก็ขุดพบพระเครื่องสมัยลพบุรี เรียกว่า พระเทริดขนนก "ปัจจุบันองค์พระเจดีย์ก็ยังอยู่ คาดว่าจะได้รับการบูรณะเรื่อยมา

ที่ด้านหลังพระอุโบสถวัดป่าเลไลยก์ มีวิหารเก่าอยู่หลังหนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เรียกกันว่า "โบสถ์มอญ" พระประธานหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตกเช่นกัน มีผู้เคยขุดพบพระเครื่องเรียกกันว่า "พระมอญสำลี" พระเครื่องที่ขุดพบนั้น พระเทริดขนนกเป็นพระเครื่องศิลปะลพบุรี แต่พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว และพระมอญสำลี น่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา แสดงว่าวัดแห่งนี้มีพระสงฆ์อยู่สืบต่อกันมา และมีการบูรณปฏิสังขรณ์กันอยู่หลายยุค

พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว เป็นพระเนื้อชินเงิน ผิวดำ บางองค์มีการปิดทองมาแต่ในกรุ

พระเทริดขนนก เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง มีไขขาวปกคลุม ทรงเทริดแบบขนนก เป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ด้านหลังจะเป็นแอ่งเว้า และมีความบางไม่หนา เป็นที่นิยมกว่าพิมพ์อื่น

พระมอญสำลี เป็นพระเนื้อชินเงิน ผิวปรอทจับขาว คล้ายผิวพระกรุชุมนุมสงฆ์

พระเทริดขนนกกรุวัดป่าเลไลยก์ สันนิษฐานว่ามีจำนวนไม่มากนัก น่าจะพบไม่เกินร้อยองค์ และเป็นพระที่นิยมมากที่สุดของกรุนี้ สัณฐานสูงประมาณ 4 ซ.ม. กว้างประมาณ 3 ซ.ม. พุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพันชาตรี ปัจจุบันพระกรุวัดป่าเลไลยก์ไม่ค่อยได้พบเห็นกันครับ เนื่องจากจำนวนการพบพระคงจะไม่มาก เท่าที่ค้นดู ก็พอจะมีรูปพระเทริดขนนกที่อยู่กับนักสะสมบางท่านเท่านั้น

ในวันนี้จึงได้นำรูปพระเทริดขนนก ของกรุวัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี จากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



พระพุทธชินราชหลวงปู่เผือก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อเอ่ยถึงหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว และพระเครื่องของท่านล้วนแต่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายรุ่น เช่น พระผงขุดสระใหญ่และเล็ก เหรียญพระพุทธชินราช รูปหล่อ หลวงพ่อผงสมเด็จฯ เป็นต้น

หลวงปู่เผือก เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2412 ที่บ้านคลองสำโรง ต.บางพลี โยมบิดาชื่อ ทองสุข โยมมารดา ชื่อไข่ พออายุ 13 ปี บิดา มารดาพาไปฝากกับ พระอาจารย์อิ่ม อินทสโร วัดกิ่งแก้ว เพื่อศึกษาเล่าเรียน พออายุได้ 21 ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดกิ่งแก้ว โดยมีพระอาจารย์ทอง อุทยญาโณ วัดราชโยธา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อิ่มวัดกิ่งแก้วเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปญญธโร"เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยและปฏิบัติโดยเคร่งครัด เมื่อพระอาจารย์อิ่มมรณภาพ หลวงปู่เผือกก็ได้รับเลือกจากคณะสงฆ์และชาวบ้านให้เป็นผู้ดูแลวัดแทนพระอาจารย์อิ่ม

ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2442 ก็ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสวัดกิ่งแก้ว ปี พ.ศ.2443 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลราชเทวะ พ.ศ.2446 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ฐานานุกรมของพระครูสุนทรสมุทร (จ้อย) เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ วัดกลางวรวิหาร และในปีนี้เองท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูกรุณาวิหารี ปี พ.ศ.2487 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการสงฆ์องค์การสาธารณูปการ ใน อ.บางพลี ปี พ.ศ.2496 หลวงปู่เริ่มอาพาธ และหลวงปู่เผือกก็ได้มรณภาพในปี พ.ศ.2501 อายุได้ 89 ปี พรรษาที่ 69

หลวงปู่เผือกเป็นศิษย์ของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา และหลวงปู่เผือกท่านก็เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ พิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ๆ หลวงปู่เผือกจะได้รับการนิมนต์ด้วยทุกครั้ง โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามก็ได้รับนิมนต์ทุกครั้ง ในวันนี้เราก็จะมาคุยถึงพระพุทธชินราช ของหลวงปู่เผือก ซึ่งท่านได้สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.2485 โดยในพิธีครั้งนั้นหลวงปู่เผือกได้นิมนต์ ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) แห่งวัดสุทัศน์ ไปเป็นประธานเททองหล่อพระให้ด้วย พระกริ่งพุทธชินราชของหลวงปู่เผือกที่สร้างในครั้งนี้มีจำนวนไม่มากนัก เนื้อใช้ทองเหลืองผสมด้วยเงินก้อนโบราณ สีจึงออกมาทางขาวอมเหลือง พระกริ่งพุทธชินราชของหลวงปู่เผือกสร้างเป็นรูปพระพุทธชินราชมีตราอกเลา (รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด) อยู่ที่ฐานองค์พระจะบางกว่าของพุทธสมาคม ส่วนที่ก้นก็ได้ประจุเม็ดกริ่งไว้ด้วย พระพุทธคุณของพระกริ่งพิมพ์นี้นอกจากจะดีด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด นอกจากนี้ยังใช้ทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้อีกทางหนึ่งด้วยครับ

ปัจจุบันก็หายากพอสมควรครับ และในวันนี้ก็ได้นำรูปพระพุทธชินราชหลวงปู่เผือกให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



เหรียญตอก 1 รุ่นกูให้มึงรวย หลวงพ่อสมหมาย

พระครูกมลสิทธิคุณ หรือ พระอาจารย์สมหมาย ขันติโก เจ้าอาวาสวัดคำโพธิ์ หมู่ 8 ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี พระเถระที่สาธุชนให้ความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบัน สิริอายุ 60 ปี พรรษา 36

เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงพ่อบุญเรือง สารโท หรือ พระราชปริยัตยากร วัดพิชโสดาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

มีนามเดิมว่า สมหมาย โพธิ์แสง เกิดเมื่อวันที่ 27 ก.ค.2502 ตรงกับปีกุน เป็นชาว อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น อาชีพชาวไร่ชาวนา เรียนจบชั้น ป.4

อายุ 14 ปี เข้าพิธีบรรพชาวัดบ้านเกิดใน อ.มัญจาคีรี เรียนจบนักธรรมเอกขณะอายุ 17 ปี ต่อมาจึงลาสิกขามาช่วยครอบครัวทำไร่ ทำนา

พ.ศ.2521 ครอบครัวมาอาศัยที่ บ.โนนธาตุ อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร หลังบิดาเสียชีวิต พ.ศ.2525 บุพการีจึงขอให้บวช 1 พรรษา อุปสมบทเมื่อวันที่ 26 พ.ค.2526 มีหลวงพ่อสอน เป็นพระอุปัชฌาย์

ร่ำเรียนวิชาจิตตภาวนากับหลวงพ่อบุญเรือง หรือพระราชปริยัติยากรก่อนเดินธุดงค์ไปหลายจังหวัดในภาคอีสาน

ร่ำเรียนวิชานรลักษณ์ อักขระเลขยันต์จากอาจารย์รูปหนึ่งแห่งชายแดนเขมร จ.ศรีสะเกษ วิชาหนุนดวงกับหลวงพ่อผินะ ปิยธโร วัดสนมลาว อ.หนองแค จ.สระบุรี ศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และตำรามหาอุด กรุพระธาตุพนม กับหลวงพ่อจันทร์ วัดหอก่อง จ.ยโสธร

พ.ศ.2541 เจ้าอาวาสวัดคำโพธิ์มรณภาพ จึงได้รับอาราธนานิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้สืบมาถึงปัจจุบัน

เมื่อเดือน ต.ค. คณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา ได้ขออนุญาตหลวงพ่อ จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญตอก 1 รุ่นกูให้มึงรวย เพื่อจัดหารายได้สร้างกุฏิหลังใหม่ หลังถูกเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 14 ต.ค.

ที่จัดสร้าง มีเนื้อเงินหน้าทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาแดง 9 เหรียญ, เนื้อนวะหน้ากากเงิน 19 เหรียญ, เนื้อนวะหน้ากากปลอกลูกปืน 29 เหรียญ, เนื้อนวะลงยาน้ำเงิน 39 เหรียญ, เนื้อตะกั่วหลังเรียบแช่น้ำมนต์จารมือ 59 เหรียญ, เนื้อทองแดงหน้ากากลูกปืน เนื้อทองแดงทิพย์หน้ากากทองแดง ชนิดละ 299 เหรียญ, เนื้อทองแดงผิวรุ้ง 399 เหรียญ และเนื้อทองแดงผิวไฟ 399 เหรียญ (สร้างถวาย)

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปทรงไข่ หูเชื่อม ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงพ่อสมหมายครึ่งองค์ ที่บริเวณอังสะตอกเลข 1

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงพ่อสมหมาย ขันติโก ตรงกลางเหรียญมียันต์พญาหงส์ทอง ซึ่ง "อ.พรพยัคฆ์ ลายเมฆ" ลูกศิษย์หลวงพ่อเขียนผูกยันต์ขึ้นมาใหม่ และเป็นยันต์ประจำตัวหลวงพ่อ ครึ่งรอบวงกลมส่วนล่างจากซ้ายวนไปขวาสลักตัวหนังสือคำว่า วัดคำโพธิ์ อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 4 ม.ค.2563 โดยมีหลวงพ่อสมหมาย และพระเกจิคณาจารย์หลายรูปนั่งอธิษฐานจิต
ข่าวสดออนไลน์



หลวงปู่ทวด วัดตานีนรสโมสร  

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ทวดเป็นพระที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก

พระเครื่องที่สร้างเป็นรูปหลวงปู่ทวดนั้น ไม่ว่าจะเป็นของวัดใด ด้วยบารมีของหลวงปู่ทวดจะคุ้มครองป้องกันภัยให้แคล้วคลาดปลอดภัยแก่ผู้ที่มีพระเครื่องหลวงปู่ทวดบูชาทั้งสิ้น เป็นสุดยอดแห่งพระเครื่องนิรันตราย

พระหลวงปู่ทวดที่นิยมกันมากที่สุด เป็นพระเครื่องของวัดช้างให้ ที่พระอาจารย์ทิมเป็นผู้ปลุกเสก แต่ปัจจุบันค่านิยมมีมูลค่าสูงมาก และหายาก พระหลวงปู่ทวดของวัดอื่นๆ ที่สนนราคายังไม่สูงก็มีอยู่หลายวัด แต่อาจจะไม่ค่อยทราบว่าพระอาจารย์ทิม มีส่วนร่วมปลุกเสกด้วยเช่นกัน วันนี้ผมขอแนะนำพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกของวัดตานีนรสโมสร ซึ่งเป็นพระที่สร้างโดยท่านเจ้าคุณพระปริยัติวรากร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2505 เป็นพระเนื้อว่าน จำนวนการสร้างประมาณ 10,000 องค์ ส่วนผสมที่สำคัญคือว่าน 108 นำมาจากภูเขาวัดทรายขาว และดินกากยายักษ์ ลักษณะเนื้อพระมีสีน้ำตาลอมดำ และสีดำ มีความแห้ง บางองค์ก็มีคราบว่านปกคลุมมากบ้างน้อยบ้าง พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นที่วัดตานีนรสโมสร มีพระคณาจารย์เข้าร่วมพิธีมากมาย รวมทั้งพระอาจารย์ทิมแห่งวัดช้างให้ด้วย

พระหลวงปู่ทวดที่สร้าง ในครั้งนี้ มีด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ รูปทรงห้าเหลี่ยม มีทั้งหลังเรียบและหลังพระศรีอริยเมตไตร พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก ทำแบบคล้ายๆ หลวงปู่ทวดของวัดช้างให้ ด้านหลังมีทั้งหลังเรียบและหลังพระ พระหลวงปู่ทวด วัดตานีนรสโมสร รุ่นแรกจะทำลูกแก้ว วางไว้บนฝ่ามือของหลวงปู่ทวด

พระหลวงปู่ทวด วัดตานีนรสโมสร ยังสร้างครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2506 เป็นพระ เนื้อชินอีกครั้งหนึ่ง โดยท่านเจ้าอาวาสได้เดินทางไปที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในขณะที่มีการเปิดกรุวัดราชบูรณะ ท่านได้ไปชมถึงกรุพระและพบว่ามีเศษของชินเงินที่เกิดจากพระชำรุดวางกองอยู่มากมาย จึงได้ติดต่อขอซื้อ โดยการชั่งกิโลและนำมาเก็บไว้ที่วัด จนกระทั่งทางวัดช้างให้สร้างพระหลวงปู่ทวดหลังเตารีด

ท่านจึงคิดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดหลังเตารีดเนื้อชินขึ้น โดยใช้เนื้อชินเงินเก่าล้วนๆ เทเป็นองค์พระแบบหลังเตารีดพิมพ์ใหญ่ ของวัดช้างให้ จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1,000 องค์ และได้นำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษก ในงานตั้งศาลหลักเมืองของจังหวัดยะลา ซึ่งมีคณาจารย์ที่สำคัญเข้าร่วมพิธี ครั้งนั้น คือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม ท่านเจ้าคุณจากกลันตัน มาเลเซีย

พระหลวงปู่ทวด ของวัดตานีนรสโมสร ทั้งเนื้อว่านและเนื้อชิน เป็นพระชุด หลวงปู่ทวดที่มีประสบการณ์ มีคุณค่าควรแก่การบูชาอีกวัดหนึ่ง อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่สูงนัก พอจับต้องได้ถึงครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ รุ่นแรก หลังพระ มาให้ชมครับ  
 ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมืองแปดริ้ว พระเกจิอาจารย์ที่อาวุโสมากและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ ผู้สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักอันลือลั่น สุดยอดแห่งพระปิดตาเมตตามหานิยมและหายากมากในปัจจุบัน ประวัติของหลวงปู่จีนและประวัติวัดไม่มี ผู้ใดได้บันทึกไว้ เพียงมีการบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น การสืบค้นจึงทำได้ยากมาก ต้องสอบถามและเก็บข้อมูลจากหลายๆ ที่ และประมวลไว้ ตามที่ได้สืบค้นพอจะจับเค้าโครงได้ก็มีดังนี้

วัดท่าลาดเหนือ ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อกันมาว่า วัดท่าลาดเหนือนี้สร้างโดยพระยาเขมรที่อพยพมาจากพระตะบองได้เป็นผู้สร้างไว้ ตั้งแต่เมื่อประมาณปี พ.ศ.2395 เมื่อสร้างวัดเสร็จได้ประมาณปีเศษๆ ก็ได้มีพระธุดงค์ผ่านมาด้วยกัน 3 องค์ ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติแล้วก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงได้นิมนต์ทั้ง 3 องค์ ให้อยู่จำพรรษาที่วัดท่าลาด ต่อมาอีกระยะหนึ่งพระอีก 2 องค์จึงได้ออกธุดงค์ต่อ

พระที่อยู่จำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสของวัดนี้ก็คือหลวงปู่จีน ส่วนประวัติความเป็นมาของท่านในสมัยนั้นไม่มีผู้ใดบันทึกไว้เลย เพียงแต่เล่าสืบต่อกันมาจากผู้ที่เกิดทันได้พบหลวงปู่จีนเท่านั้น จากการสืบค้นดูสันนิษฐานว่าท่านคงเกิดในราวปี พ.ศ.2357 และมาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาดเหนือในราวปี พ.ศ.2497 หลวงปู่จีนเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง มีความรู้ในด้านวิปัสสนาธุระเป็นอย่างดี ได้สั่งสอนอบรมลูกศิษย์ พระเณรอยู่เสมอๆ และหลวงปู่จีนยังเก่งกล้าในด้านพุทธาคม อีกทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณก็เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ท่านได้ช่วยเหลือชาวบ้านในแถบนั้นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และชาวบ้านที่ได้รับความ เดือดร้อนในทุกๆ ด้านก็ได้ช่วยปัดเป่าให้ทุเลาหายได้ทุกรายไป จึงเป็นที่เคารพนับถือและศรัทธามากในย่านนั้น และกิตติคุณของท่านก็ล่วงรู้กันไปทั่วทั้งแปดริ้วและจังหวัดใกล้เคียง จึงทำให้มีลูกศิษย์ลูกหามากมายต่างหลั่งไหลไปสู่วัดท่าลาดเหนือไม่ขาดสาย หลวงปู่จีน เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาดเหนือสืบจนถึงราว ปี พ.ศ.2440 โดยประมาณ และมรณภาพที่วัดท่าลาดเหนือ สิริอายุได้ราว 83 ปี

ส่วนพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่ได้สร้างไว้ สันนิษฐานว่าได้สร้างไว้ในราวปี พ.ศ.2430 โดยสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณผสมว่านวิเศษต่างๆ และนำมาคลุกรักเพื่อเป็นตัวประสาน นำมากดแม่พิมพ์พระปิดตา ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์แข้งหมอน พิมพ์เม็ดกระบก พิมพ์กลีบบัวใหญ่ พิมพ์กลีบบัวเล็ก พิมพ์เม็ดบัว พิมพ์ไม้ค้ำเกวียน เป็นต้น พระปิดตาของท่านส่วนใหญ่ด้านหลังมักจะอูมเป็นแบบหลังเบี้ยหรือหลังประทุนแทบทุกองค์ และพระของท่านส่วนใหญ่จะมีการลงรักทับไว้อีกชั้นหนึ่ง สันนิษฐานว่าคงจะมีการสร้างด้วยกันหลายครั้ง จำนวนครั้งละไม่มากนัก เนื่องจากกรรมวิธีการสร้างนั้นทำได้ยากมาก จึงทำให้ในปัจจุบันหาพระปิดตาของท่านแท้ๆ ยากครับ สนนราคาก็สูงมากตามไปด้วย

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่จีนนับเป็นต้นกำเนิดพระปิดตาผงคลุกรักของเมืองแปดริ้วเลยทีเดียว เนื่องจากลูกศิษย์ลูกหาของท่านก็ได้สร้างพระปิดตาตามแบบองค์อาจารย์อีกหลายรูปด้วยกันครับ วันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ พิมพ์แข้งหมอนซึ่งเป็นพิมพ์ที่นิยมที่สุดมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



เล่นพระดูง่ายสบายใจ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เล่นพระดูง่ายหมายถึงอะไร สำหรับผู้ที่เข้ามาศึกษาใหม่อาจจะไม่เข้าใจ ผมขอขยายคำจำกัดความเรื่องนี้หน่อยนะครับ พระดูง่ายสำหรับในสังคมพระเครื่องก็คือพระประเภทใดก็ตามที่มีรายละเอียดพิมพ์ถูกต้องตามมาตรฐาน เนื้อหาถูกต้อง สำหรับคนที่พอดูพระเป็นบ้าง ก็สามารถบอกได้ว่าเป็นพระแท้ด้วยตาเปล่า พระแบบนี้แหละที่เขาว่าเป็นพระดูง่าย อ้าวแล้วก็แสดงว่ามีพระที่ดูยากด้วยใช่หรือเปล่า ครับพระที่ดูยากก็มีครับ

พระดูง่ายก็อย่างที่บอกเห็นปุ๊บก็แท้เลย เรื่องนี้สำหรับผู้ที่พอมีความรู้เรื่องพระนั้นๆ ก็สามารถบอกได้เลยว่าแท้ แต่สำหรับพระที่ดูยากก็หมายถึงพระแท้ แต่มองดูทีแรกก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าแท้หรือไม่ ต้องพิจารณากันละเอียดอีกทีหนึ่งด้วยแว่นขยาย แล้วจึงประเมินอีกที ประเภทนี้เป็นพระที่ผู้มีความรู้ ความชำนาญจริงๆ เท่านั้นที่จะตัดสินได้ ว่าแท้หรือไม่ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ก็เนื่องมาจากพระเครื่องที่ดูยากนั้นมีมูลเหตุปัจจัยมาเปลี่ยนแปลงภายหลัง เช่น พระที่มีชำรุดอุดซ่อมและได้รับการซ่อมมาแล้ว แต่ช่างที่ซ่อมอาจจะซ่อมไว้ผิดพิมพ์หรือโป้พอกไว้เยอะในกรณีนี้จึงทำให้กลายเป็นพระดูยาก หรือพระที่มีการนำไปตกแต่งเสริมความงามมา เช่นพระที่สึกจนพิมพ์ตื้น ก็นำไปเซาะพิมพ์ให้ดูลึกขึ้นจากเดิม หรือพระที่ผิวถูกล้างผิดวิธีหรือทำอะไรให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนดูผิดเพี้ยนไปจากเดิมมาก หรือมีมูลเหตุปัจจัยอื่นๆ มาทำให้สภาพพระเปลี่ยนไปจากเดิมก็อาจจะทำให้กลายเป็นพระดูยากก็มีครับ พระประเภทดูยากนี้เวลาจะออกตัวต่อหรือให้เช่าต่อก็จะขายยาก นอกจากขายให้กับผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเท่านั้น และพระแบบนี้สนนราคามูลค่าก็จะลดน้อยกว่าพระที่ดูง่ายในชนิดเดียวกัน เพราะกำกวมไม่ชัดเจนครับ

ดังนั้น พระที่ดูง่ายจึงเป็นพระที่น่าเช่าหามาเก็บหรือบูชา เนื่องจากบางเวลาที่เราอาจจะมีความจำเป็นที่จะออกตัวให้เช่าต่อก็จะง่ายขึ้น อีกอย่างหนึ่งก็จะทำให้เสียงสวดน้อยลง สวดก็เป็นศัพท์อีกคำหนึ่งของสังคมพระเครื่อง หมายถึงการกล่าวหาว่าพระของเรานั้นจะจากแท้กลายเป็นเก๊ไปเลย เพราะพระของเรานั้นดูยาก คนที่ไม่มีความชำนาญพอก็อาจจะดูเป็นพระเก๊ไปเลยก็มีครับ ผมจึงบอกว่า เล่นพระดูง่ายสบายใจดีกว่าเล่นพระดูยากครับ

มูลค่าพระแบบเดียวกันรุ่นเดียวกัน พระที่ดูยากจะมีราคาถูกกว่าพระดูง่ายแน่นอน ถ้าเราไม่ใช่เซียนพระอย่าเห็นแก่ราคาถูกเลือกพระดูยากไว้ เวลาจะออกตัวก็จะออกยากกว่าพระดูง่าย พระจะสวยไม่สวยก็ขอแบบดูง่ายไว้ก่อนครับ แต่ถ้าพอจ่ายไหวก็หาสวยๆ ไปเลย พระสวยเวลาออกตัวก็จะออกตัวง่าย ได้ราคากว่าพระสภาพทั่วไปครับ ก็ต้องเลือกเอาว่าเราจะเลือกแบบดูง่ายหรือดูยาก ถ้าเลือกแบบดูยากก็ต้องมีใจหนักแน่นหน่อย ถ้ามั่นใจว่าแท้แล้วก็ต้องหนักแน่นทนต่อเสียงสวดหน่อยก็โอเคครับ

สำหรับส่วนตัวผมนั้นเลือกแบบพระดูง่าย สวยไม่สวยก็ว่ากันทีหลังแล้วแต่โอกาส บางทีสภาพสึกๆ แต่ดูง่ายผมก็เช่าครับ การเช่าหาสะสมพระเครื่องนั้นก็เลือก เอาตามแบบที่เราชอบครับ วันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม แบบดูง่ายๆ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มกราคม 2563 15:54:39 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #134 เมื่อ: 10 มกราคม 2563 15:57:25 »


ความเชื่อเรื่องพระสมเด็จวัดระฆังฯ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จวัดระฆังฯ ตามที่จั่วหัวไว้ในที่นี้หมายถึงพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ในปัจจุบันก็มีการพูดถึงในโซเชี่ยลมีเดียว่ามีการศึกษาหาข้อมูลมาโต้แย้งความเชื่อเดิมๆ ที่ว่ามีอยู่ 4 พิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม พิมพ์เกศบัวตูมนั้น ความจริงมีมากกว่านั้น โดยกล่าวอ้างถึงประวัติต่างๆ ที่ได้ค้นคว้าศึกษามา ซึ่งไม่ตรงกับความเชื่อเดิมๆ

ผมเองก็เป็นผู้ที่นิยมศึกษาและสะสมพระเครื่องคนหนึ่ง ก็ศึกษามาจากหลายๆ ตำรา ซึ่งก็มีมาตั้งแต่โบราณ และก็ได้ติดตามศึกษาตำราและเรื่องราวใหม่ๆ อยู่เสมอ เนื่องจากวิชาประวัติศาสตร์นั้นเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาและเราเองก็เกิดไม่ทัน ประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็เช่นกัน คนที่มีชีวิตอยู่ปัจจุบันก็ไม่มีใครเกิดทันในช่วงชีวิตของเจ้าประคุณสมเด็จฯ กันสักคน และก็แน่นอนว่าไม่มีใครที่ยังมีชีวิตอยู่ได้เห็นหรืออยู่ในเหตุการณ์การสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ กันสักคน ก็ได้แต่เพียงศึกษาจากการจดบันทึกและ คำบอกเล่าของคนรุ่นเก่าๆ ที่เกิดทันในยุคนั้น และบันทึกเรื่องราวต่างๆ เอาไว้ ซึ่งก็มีอยู่หลายบันทึก ซึ่งบางอันบางข้อบางตอนก็ตรงกัน และก็มีที่แตกต่างไม่เหมือนกันเลยก็มี ยิ่งในปัจจุบันก็มีเรื่องราวการสร้างพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มากมาย ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ปัจจุบันการสื่อสารทางโซเชี่ยลมีเดียเป็นที่นิยมแพร่หลาย และก็มีการเผยแพร่กันมาก โดยเฉพาะเรื่องประวัติการสร้างพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็มีมากมาย เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง และแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็มี โดยมีกลุ่มต่างๆ ได้อ้างว่าศึกษาค้นคว้ามาและมีหลักฐานยืนยัน ก็ว่ากันไป เราผู้ศึกษาเรื่องราวของพระเครื่องก็จำเป็นที่จะต้องติดตามศึกษาเรื่องราวต่างๆ ก็ต้องวิเคราะห์ว่าเรื่องไหนน่าเชื่อถือได้บ้าง เพื่อที่จะนำมาเป็นความเชื่อส่วนบุคคลของตัวเอง การเล่นหาพระเครื่องในปัจจุบันก็มีเป็นกลุ่มๆ ซึ่งบางกลุ่มก็มีความเชื่อที่ต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เรื่องการเห็นต่างก็ไม่แปลกอะไร และก็ย่อมมีสิทธิ์ที่จะมีความเห็นต่างได้ และคนที่เลือกจะเชื่อแบบไหนอย่างไรก็ย่อมเป็นสิทธิของคนคนนั้น ก็ต้องเลือกเชื่อกันเองครับ

ในส่วนตัวผมที่ได้ศึกษามาและเชื่อตามที่มีบันทึกการบอกเล่าของท่านเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง จันทโชติ) เนื่องจากท่านก็อยู่รับใช้ เจ้าประคุณสมเด็จฯ มาตั้งแต่ยังบวชเป็นเณรในปี พ.ศ.2399 ในขณะนั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพกวี และอยู่รับใช้เจ้าประคุณสมเด็จฯ มาโดยตลอด จนท่านมีอายุครบบวชและได้อุปสมบทที่วัดระฆังฯ ในปี พ.ศ.2407 โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ และอีก 3 เดือนต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์

ต่อมาในปี พ.ศ.2409 ตามที่เจ้าคุณธรรมถาวรเล่า คือในปีนั้นเอง เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้เริ่มสร้างพระ โดยมีเรื่องราวต่างๆ ระบุว่าใครเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ ทำอย่างไรไว้ค่อนข้างละเอียด ซึ่งในขณะที่ท่านเจ้าคุณธรรมถาวรเล่าและมีการจดบันทึกนั้นท่านก็ยังมีสุขภาพดี และมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ จึงน่าเชื่อถือได้ดี เปรียบเทียบกับตำราอื่นๆ ก็มีตรงกันบ้าง ไม่ตรงบ้าง แต่เท่าที่ศึกษาดูจากหลายๆ ตำราแล้ว การจดบันทึกคำบอกเล่าของท่านเจ้าคุณธรรมถาวรน่าเชื่อมากที่สุด

ทีนี้ก็มาศึกษาดูเรื่องของแบบพิมพ์ของพระสมเด็จ ของวัดระฆังฯ เท่าที่ศึกษาจากคนรุ่นเก่าๆ ที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่อง ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้ศึกษาสืบต่อกันมาจาก รุ่นสู่รุ่นอีกทีหนึ่ง ก็มีความเห็นตรงกันว่า พระสมเด็จของวัดระฆังฯ มีอยู่ 4 พิมพ์ ซึ่งก็แยกเป็นหมวดของพิมพ์พระว่ามีอยู่ 4 หมวด

หมายความว่าแต่ละพิมพ์ก็เป็นหมวดหนึ่ง สามารถแยกตัวแม่พิมพ์ออกมาได้อีก เช่น พระพิมพ์ใหญ่สามารถแยกแม่พิมพ์ออกมาหลายแม่พิมพ์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ของรายละเอียดในแต่ละหมวดจะมีหลักเกณฑ์ที่ เหมือนๆ กัน แต่แตกต่างกันบางอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถแยกได้ออกเป็นแม่พิมพ์ต่างๆ พิมพ์ทรงเจดีย์ก็เช่นกัน ก็แยกตัวแม่พิมพ์ออกได้อีก พิมพ์ฐานแซมเช่นกัน นอกจากพิมพ์เกศบัวตูมของวัดระฆังฯ เท่าที่เชื่อถือได้ และมีมูลค่ารองรับเชื่อว่ามีแม่พิมพ์เดียว ส่วนเนื้อหาหรือองค์ประกอบต่างๆ ก็มีมาตรฐานกำหนดตามที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องได้กำหนดและถ่ายทอดส่งต่อกันมาแบบนี้ ที่สำคัญคือมูลค่ารองรับพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้าง และเชื่อถือกันมาตลอดก็เป็นแบบนี้ ซึ่งมูลค่ารองรับตามมาตรฐานนี้จะมีมูลค่าเป็นล้านบาท

ในส่วนที่มีความคิดเห็นแตกต่างไป อย่างอื่นก็ว่ากันไป ก็ต้องเลือกเชื่อและยอมรับกันเองว่าจะเลือกเชื่อหรือยึดถือแบบไหน ย่อมเป็นสิทธิส่วนบุคคลครับ แต่ถ้าจะนำมาขายในส่วนกลางก็ต้องถูกต้องตามมาตรฐานของส่วนกลาง แต่ถ้าเป็นแบบอื่นแล้วเขาไม่ยอมรับหรือไม่รับซื้อก็ต้องยอมรับอีกเช่นกันนะครับว่าก็เป็นสิทธิของเขาเช่นกัน ไม่ต้องมาต่อว่าหรือขัดเคืองอันใดจริงไหมครับ ถ้าจะขายก็ต้องไปขายให้กับผู้ที่มีความเห็นและเชื่อแบบเดียวกันก็จบได้ครับ

ครับ ก็คุยกันไปเรื่อยๆ ตามประสาคนชอบพระเครื่องเหมือนๆ กันนะครับ และวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์เกศบัวตูม องค์สวย ถูกต้องตามมาตรฐานมูลค่ารองรับมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตาไม้แกะ หลวงพ่อชอบ

หลวงพ่อชอบ โชติธัมโม หรือ พ่อท่านชอบ เจ้าอาวาสวัดจำปาวนาราม ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราชพระเกจิอาจารย์ดังแดนใต้ที่มีพุทธาคมสูง

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 91 ปี

มีนามเดิมว่า ชอบ ไชยฤทธิ์ เกิดเมื่อ วันอังคารที่ 14 ส.ค.2471 ปีมะโรง พื้นเพเดิมเป็นชาว ต.ชะมาย อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช บิดา-มารดาชื่อ นายชุ่ม และนางศีล ไชยฤทธิ์ เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องร่วมอุทร 8 คน

ในวัยเยาว์ขณะอายุ 13 ปี ย้ายไปอยู่ที่ อ.ถ้ำใหญ่ ได้ 1 ปี จึงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังเรียนจบชั้น ป.4 ทำไร่ทำนาช่วยครอบครัว

กระทั่งอายุ 27 ปี ตัดขาดทางโลกเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดถ้ำใหญ่ อ.ถ้ำใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช

ศึกษาอักขระเลขยันต์และด้านวิทยาคม จากอาจารย์รังสรรค์ ซึ่งเป็นหลานเขยของพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ก่อนมีความจำเป็นต้องลาสิกขา

อายุ 72 ปี อุปสมบทอีกครั้ง เมื่อวันที่ 20 มี.ค.2543 ที่อุโบสถวัดนากุล อ.ท่าศาลา มีพระครูประโชติธรรมาวุธ (พ่อท่านยม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระจำเลื่อง สุจิตโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุนทรบุญทัต เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ภายหลังจากอุปสมบท ร่ำเรียนจนสอบได้นักธรรมตรี และจำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาเลื่อน 3 ปี ก่อนย้ายไปสำนักสงฆ์ควนตอ อ.บางขัน พ.ศ.2551 จึงรับนิมนต์มาจำพรรษาและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสนับแต่ พ.ศ.2553 สืบมา

ในเดือน ก.พ.2561 คณะศิษยานุศิษย์ ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นพระปิดตาไม้แกะมงคล รุ่นแรก เพื่อสมทบทุนบูรณะเสนาสนะ

พระปิดตารุ่นนี้ที่จัดสร้างทั้งหมด 9 เนื้อ เนื้อละ 99 องค์ รวมทั้งสิ้น 891 องค์ มีความสูง 2.2 ซ.ม.

พระปิดตาที่จัดสร้างขึ้นนี้ เป็นพิมพ์นิยมคู่บ้านคู่เมือง โดยนำไม้มงคล 9 ชนิดที่หายาก มีไม้กำจัด กันภัย แก้วป่า จันทน์หอม ขนุน แก่นเหมื่อย แก่นจันทน์แดง พิกุล และไม้กันเกรา ยืนต้นตายพรายตามตำราโบราณนำมาจัดสร้าง มีพิธีบวงสรวงรุกขเทวดานางไม้ ที่เชื่อว่าสิงสถิตอยู่

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 2 วาระ วาระแรก พิธีพลีมวลสารนำฤกษ์เบิกชัยมงคล เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2561 วาระที่ 2 พุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 18 ก.ย.2561  
ข่าวสดออนไลน์



หลวงปู่ทวด วัดพะโคะ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในปัจจุบันมีพระเครื่องที่แคล้วคลาดปลอดภัยผมว่าดีที่สุด เนื่องจากไม่เจอกับภยันตรายใดๆ น่าจะดีสุด และพระเครื่องที่รับรู้กันโดยทั่วไปก็คือพระเครื่องหลวงปู่ทวด ซึ่งประสบการณ์ต่างๆ นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระหลวงปู่ทวดรุ่นใดหรือวัดไหน ต่างก็มีประสบการณ์ด้านแคล้วคลาดปลอดภัยทั้งสิ้น ถ้าเราหาพระหลวงปู่ทวดวัดช้างให้รุ่นเก่าๆ ไม่ได้ก็รุ่นใหม่ๆ หรือของวัดไหนก็ได้ ขอให้มีศรัทธาระลึกถึงหลวงปู่ทวดก็จะได้ผลคุ้มครองเช่นกันครับ

วันนี้ผมขอแนะนำพระหลวงปู่ทวดรุ่นเก่า แต่หาได้ไม่ยากนัก และสนนราคาก็ไม่สูงนัก คือพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกของวัดพะโคะ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นพระเก่าสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 แต่สนนราคาไม่สูงแค่หลักพันต้นๆ เท่านั้น พระหลวงปู่ทวดวัดพะโคะรุ่นแรกดำเนินการสร้างโดยท่านอาจารย์เขียว วัดพะโคะ ในการสร้างครั้งนี้มีทั้งแบบพระบูชารูปเหมือนหลวงปู่ทวด และพระเครื่องเนื้อว่าน ในส่วนของพระเครื่องมีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ นอกจากนี้ก็ยังมีพิมพ์กรรมการเล็กและใหญ่ ส่วนผสมสำคัญของพระเครื่องชุดนี้ก็คือ ว่าน 108 น้ำผึ้งรวง กล้วยน้ำว้า น้ำมันตั้งอิ้ว ผงพุทธคุณ ข้าวเหนียวดำ ในการกดพิมพ์

ครั้งแรกใช้คนที่มีชื่อเป็นมงคล คือ นายนำ นายชัย นายคง กดพิมพ์นำฤกษ์ ในส่วนที่จะตำส่วนผสมต่างๆ พร้อมทั้งคนกดพิมพ์ ต้องอาบน้ำ รับศีล และนุ่งขาวห่มขาว นับว่าพิถีพิถันในการสร้างสูงมาก

ในส่วนของการทำพิธีพุทธาภิเษก ได้มอบให้ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธี ทั้งพิธีพราหมณ์และพิธีพุทธ โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์จัดทำพิธีอย่างใหญ่ และครบถ้วนตามแบบโบราณ นับว่าเป็นพระเครื่องหลวงปู่ทวดที่น่าบูชามาก ที่สำคัญคือวัดพะโคะเป็นวัดที่หลวงปู่ทวดเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ในสมัยที่ยังดำรงชีพอยู่ และลูกแก้ววิเศษของหลวงปู่ทวดก็เก็บรักษาอยู่ที่วัดพะโคะ แห่งนี้

เอกลักษณ์ของพระเครื่องของหลวงปู่ทวดวัดพะโคะ ทุกพิมพ์จะเป็นรูปหลวงปู่ทวด นั่งสมาธิ ในมือจะมีลูกแก้วอยู่ในมือ ที่ฐานจะเป็นอักษรไทยตัว "พ ค" ย่อมาจากคำว่า พะโคะ ส่วนด้านหลังจะเป็นรูปเจดีย์และมีรอยเท้าอยู่ด้านล่าง ซึ่งหมายถึงหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระเครื่องหลวงปู่ทวดรุ่นแรกวัดพะโคะจะเป็นพระเนื้อผงผสมว่านเนื้อเดียว พระส่วนใหญ่ผิวจะมีคราบน้ำว่านปกคลุมอยู่ บางองค์ที่ไม่มีคราบว่านน้ำก็มีบ้างเหมือนกัน องค์ไหนไม่มีคราบน้ำว่านจะมีผิวสีดำ

ในสมัยก่อนไม่พบที่ทำปลอม แต่ปัจจุบันนี้ก็มีการทำปลอมกันแล้ว เวลาเช่าหาก็พิจารณาให้ดีๆ แต่ของปลอมก็จะยังทำไม่เหมือนเท่าไรนัก ถ้าเคยเห็นของจริงก็จะพิจารณาได้ไม่ยากนักครับ พระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกวัดพะโคะเป็นพระเครื่องที่น่าสนใจ สนนราคาก็ไม่สูง และยังพอหาได้ไม่ยากนัก หาหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ไม่ได้ก็หาหลวงปู่ทวดรุ่นแรกวัดพะโคะบูชาได้ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศาสดา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา เป็นพระพุทธรูปสำคัญของไทย ที่สร้างในสมัยสุโขทัยและเป็นที่ยอมรับ กันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามมากทั้ง 3 องค์ ในส่วนพระเครื่องที่มีการตั้งชื่อตาม พระพุทธรูปสำคัญนี้ก็มีเช่นกันซึ่งพระเครื่องทั้ง 3 แบบนี้ ได้ขุดพบครั้งแรกที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก และมีความงดงามทางด้านศิลปะของสุโขทัย จึงตั้งชื่อตามพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

พระพุทธชินราชในส่วนของพระเครื่องที่ขุดพบในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก จะเรียกกันว่า พระพุทธชินราชใบเสมา เนื่องจากเป็นพระที่ขุดพบในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พุทธลักษณะประทับนั่งอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว พุทธศิลปะงดงาม และทรงกรอบของพระมีลักษณะคล้ายใบเสมา จึงเรียกชื่อกันว่าพระพุทธชินราช และต่อท้ายด้วยใบเสมาตามทรงกรอบของพิมพ์ และแยกแยะออกได้ว่าเป็นของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก เนื่องจากชื่อพระเครื่องที่มีชื่อว่าพระพุทธชินราชนั้นก็มีอยู่อีกหลายกรุ แต่ถ้าบอกว่าพระพุทธชินราชใบเสมาก็รู้กันทันทีว่าหมายถึงพระของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระกรุนี้ถูกค้นพบประมาณปี พ.ศ.2440 เมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาส และมีประชาชนนำทูลเกล้าฯ ถวาย

พระพุทธชินราชใบเสมาเท่าที่พบสามารถแยกได้เป็นพระพิมพ์ใหญ่ฐานสูง พระพิมพ์ใหญ่ฐานเตี้ย พระพิมพ์กลางฐานสูงและฐานเตี้ย และพระพิมพ์เล็กฐานสูงและฐานเตี้ย เนื้อพระที่พบส่วนมากจะเป็นเนื้อชินเงิน พบเป็นพระเนื้อดินเผาบ้าง และพระเนื้อสัมฤทธิ์แต่ก็พบน้อยมาก พระพุทธชินราชใบเสมาจัดอยู่ในเบญจภาคีชุดพระยอดขุนพล ปัจจุบันหายากและสนนราคาสูง

พระพุทธชินสีห์ เป็นพระที่ถูกค้นพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เช่นกัน พุทธลักษณะเป็นพระประทับนั่งภายในซุ้มเรือนแก้ว เช่นเดียวกัน แต่เป็นคนละพิมพ์กันกับพระพุทธชินราชใบเสมา และเป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกัน ในสมัยนั้นจึงตั้งชื่อตามพระพุทธรูปสำคัญว่าเป็นพระพุทธชินสีห์ เท่าที่พบมีแบบพิมพ์รัศมีตรงและรัศมีแฉก เนื้อพระเท่าที่พบจะเป็นเนื้อชินเงินที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ก็มีพบบ้าง พระพุทธชินสีห์เป็นพระที่พบจำนวนน้อยกว่าพระพุทธชินราชใบเสมา และหายากมากจึงอาจจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก พระเครื่องที่ได้รับชื่อพระพุทธชินสีห์ ก็ยังมีอีกกรุหนึ่งของกรุวัดเขาพนมเพลิงสุโขทัย แต่ก็เป็นคนละพิมพ์กัน

พระในตับเดียวกันที่พบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ก็คือพระศาสดา พระพิมพ์นี้ไม่ปรากฏซุ้มเรือนแก้ว แต่ก็เป็นพระที่มีศิลปะในยุคเดียวกัน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นพร้อมๆ กัน แต่พระศาสดานั้นเท่าที่พบมีจำนวนน้อยมากๆ แทบจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันเลย จึงจะไม่ค่อยได้รู้จักกันนัก พระศาสดาเท่าที่พบจะเป็นเนื้อชินเงิน พระศาสดาของอีกกรุหนึ่งก็คือของกรุวัดเขาพนมเพลิงสุโขทัย แต่ก็เป็นคนละพิมพ์กัน แต่ตั้งชื่อแบบเดียวกัน

พระทั้ง 3 แบบนี้ปัจจุบันหายากมาก ของปลอมก็มีอยู่เยอะพอสมควร เวลาจะเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีๆ ครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพุทธชินราชใบเสมาพิมพ์ใหญ่ พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา ของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



เหรียญหล่อหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดนาโคก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสมุทรสาครมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ปางห้ามสมุทร ที่ชาวสมุทรสาครเคารพนับถือกันมาก วันนี้เรามาคุยกันถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดสมุทรสาครกับเหรียญหล่อรุ่นแรกของท่านกันดีกว่านะครับ

หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรของวัดนาโคก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีประชาชนมากราบไหว้และปิดทอง หรือบนบานศาลกล่าวกันทุกวัน และในทุกๆ ปี จะมีการจัดงานประจำปี ซึ่งมีผู้คนทั่วสารทิศมาร่วมงานด้วยความเลื่อมใสศรัทธา น้ำมนต์ของวัดนี้ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก มีผู้คนมาขอพรและขอน้ำมนต์กันทุกวัน

ประวัติของหลวงพ่อสัมฤทธิ์นี้ มีตำนานกล่าวไว้ว่า ในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ชาวบ้านแถบนาโคกมีอาชีพทำนาเกลือกันเป็นส่วนใหญ่ และมีการนำเกลือไปแลกกับสินค้าอื่นๆ โดยการล่องเรือไปขายในจังหวัดต่างๆ ที่ขึ้นมาทางเหนือก็มี ต่อมาได้มีชายสองคนได้นำเกลือจากนาโคกขึ้นขายที่ทางเหนือและซื้อข้าวกลับมาขายที่นาโคก ตอนที่กำลังล่องเรือกลับ ระหว่างทางได้จอดเรือแวะพักที่พระนครศรีอยุธยา แล้วเดินเข้าไปในป่าเพื่อหาฟืนมาหุงหาอาหาร เมื่อเดินลึกเข้าไปก็พบวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์อยู่สององค์ขนาดไม่ใหญ่นัก องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย อีกองค์เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางห้ามสมุทร ทรงเทริดสมัยอยุธยา

เมื่อเห็นดังนั้นทั้งสองคนจึงเข้าไปกราบพระพุทธรูปทั้งสององค์ จากนั้นก็พากันหาฟืนต่อแล้วก็เดินกลับเรือ แต่เดินเท่าไรก็วนเวียนอยู่อย่างนั้นหาทางกลับไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในวัดร้างแห่งนั้น ทั้งสองคนจึงปรึกษากันว่าอาจจะเป็นเพราะพระพุทธรูปทั้งสององค์ก็เป็นได้ จึงเดินไปกราบที่พระพุทธรูปแล้วก็คิดว่าถ้าหากนำพระพุทธรูปทั้งสององค์กลับมาด้วยอาจจะกลับเรือได้ หลังจากนั้นทั้งสองคนจึงได้ขอพรจากพระพุทธรูปทั้งสององค์แล้วต่างคนก็อุ้มพระพุทธรูปทั้งสององค์กลับมาที่เรือด้วย และได้นำพระพุทธรูปทั้งสององค์มาประดิษฐานที่วัดนาโคก โดยท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้นได้นำพระพุทธรูปทั้งสององค์ไปประดิษฐานที่หอไตร จนเวลาผ่านไปหลายปี จนลืมไปว่ามีพระพุทธรูปสององค์อยู่ที่หอไตร

อยู่มาวันหนึ่งทางหมู่บ้านนาโคกได้มีการแก้บนศาลเจ้าแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดนาโคก และมีการจัดมหรสพ ทั้งลิเก ละคร ซึ่งจัดใหญ่กว่าทุกครั้ง ทำให้สถานที่ไม่เพียงพอ เจ้าภาพจึงได้ไปขออนุญาตเข้าไปใช้พื้นที่จัดในวัดนาโคก ครั้นถึงเวลาแสดงลิเกและละคร ได้เกิดปาฏิหาริย์คือพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรซึ่งประดิษฐานบนหอไตรได้เสด็จลงมาอยู่ข้างล่างโดยมิได้มีใครนำลงมา ต่างก็ตกตะลึงกัน และคณะลิเกและคณะละครต่างก็เกิดอาการจุกเสียดจนไม่สามารถแสดงได้ คนเฒ่าคนแก่ที่เห็นเหตุการณ์ต่างก็คิดได้ว่าพระพุทธรูปที่เสด็จลงมาคงเป็นเพราะปาฏิหาริย์ของพระพุทธรูป จึงได้บอกให้นำธูปเทียนมาบูชากล่าวขอขมาลาโทษเสีย จากนั้นคณะลิเกและละครต่างก็หายจุกเสียดเป็นอัศจรรย์

หลังจากวันนั้นชาวบ้านนาโคกและใกล้เคียงต่างก็มากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ บ้างก็มาขอพร บ้างก็มาบนบานศาลกล่าว และต่างก็สมประสงค์ทุกรายไป เป็นที่โจษขานกันต่อมาในความศักดิ์สิทธิ์ และชาวบ้านก็ขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" เนื่องจากว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์และเมื่อมาขอพรแล้วจะสัมฤทธิผลทุกประการครับ

ในปี พ.ศ.2460 ได้มีการจำลองรูปพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรองค์นี้ขึ้น ด้วยการทำเป็นแบบเหรียญหล่อโบราณ ปัจจุบันเหรียญนี้หาชมได้ยาก ชาวบ้านในแถบนั้นหวงแหนกันมากครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่อสัมฤทธิ์รุ่นแรกปี พ.ศ.2460 มาให้ชมกันครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



พระสมเด็จ พิมพ์สังฆาฏิ กรุวัดบางขุนพรหม

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสมเด็จของวัดบางขุนพรหมเป็นพระที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้อีกวัดหนึ่ง ซึ่งสร้างไว้เพื่อบรรจุในองค์พระเจดีย์ใหญ่ของวัดบางขุนพรหม จึงเป็นพระสมเด็จฯ อีกวัดหนึ่งที่มีหลักฐานในการสร้างแน่นอน และเป็นที่นิยมมีมูลค่ารองรับอีกวัดหนึ่งนอกจากวัดระฆังฯ

พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมสร้างขึ้นมาตามรูปแบบของพระวัดระฆังฯ เป็นเนื้อผงรูปแบบสี่เหลี่ยม มีแบบพิมพ์ของวัดระฆังฯ และแบบพิมพ์ที่สร้างขึ้นใหม่อีกหลายพิมพ์ และมีแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นอีกหลายแม่พิมพ์เพื่อสร้างพระให้ได้จำนวนมาก พระสมเด็จทั้งของวัดระฆังฯ และของวัดบางขุนพรหม เมื่อพิมพ์พระเสร็จแล้วก็จะมีการตัดขอบอีกครั้งหนึ่ง ในส่วนของพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมนั้นเส้นกรอบแม่พิมพ์จะดูชัดเจนกว่าของพระวัดระฆังฯ สันนิษฐานว่าตั้งใจทำให้ชัดขึ้นจะได้ตัดขอบได้สะดวกตามเส้นกรอบแม่พิมพ์ เนื่องจากพระสมเด็จของวัดบางขุนพรหมนั้นสร้างจำนวนมาก และมีช่วงเวลาที่จะทำให้เสร็จก่อนวันสมโภชองค์พระเจดีย์ประธานที่สร้างขึ้นใหม่

เส้นกรอบแม่พิมพ์ของพระวัดบางขุนพรหมเท่าที่สังเกตดูสันนิษฐานว่าจงใจเซาะให้ลึกลงไปในตัวแม่พิมพ์ เพื่อเมื่อเวลากดพิมพ์พระแล้วจะเห็นเป็นเส้นนูนขึ้นมาชัดเจน สำหรับเป็นที่กำหนดจุดในการตัดขอบให้เห็นง่ายขึ้น เพื่อความรวดเร็วในการตัดขอบพระ ในสมัยก่อนครูบาอาจารย์ท่านบอกไว้ว่า พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมขอบปลิ้นไปด้านหน้า พระวัดระฆังฯ ไม่มีขอบปลิ้นมาด้านหน้า สังเกตดูก็จริงดังท่านว่าไว้ และมาวิเคราะห์หาเหตุผลก็พอจะสันนิษฐานได้ว่าเหตุผลก็คงจะเป็นเช่นนั้น

พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใดก็จะสังเกตเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์นูนขึ้นมาทุกพิมพ์ มากน้อยแล้วแต่พิมพ์ บางองค์ใช้สึกไปบ้างก็อาจจะไม่เห็นทั้ง 4 ด้าน แต่ก็ยังพอสังเกตเห็นได้ ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิก็เป็นพิมพ์หนึ่งที่จะเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์ชัดเจนกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ทั้งหมด และก็เป็นทุกแม่พิมพ์ของพระพิมพ์สังฆาฏิ

พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ กรุวัดบางขุนพรหม มีแม่พิมพ์อยู่หลายแม่พิมพ์ แต่ก็จัดอยู่ในกลุ่มแม่พิมพ์สังฆาฏิ พระพิมพ์นี้จะเห็นเส้นสายที่แสดงเป็นผ้าสังฆาฏิได้ชัดเจน จะเห็นว่าทุกแม่พิมพ์จะเห็นเส้นที่พาดจากไหล่ซ้ายขององค์พระพาดลงมาถึงมือที่ประสานบนหน้าตัก จึงจัดให้อยู่ในกลุ่มพิมพ์สังฆาฏิ ในสมัยก่อนจะแยกแม่พิมพ์ออกมาเป็นพิเศษหน่อยคือ พิมพ์สังฆาฏิหูช้าง ที่เรียกอย่างนี้ก็เนื่องมาจากพระแม่พิมพ์นี้จะมีใบหูที่ใหญ่ชัดเจน ลักษณะคล้ายกับหูของช้าง จึงเรียกกันมาอย่างนั้น ส่วนแม่พิมพ์อื่นๆ ก็เรียกรวมกันเป็นพิมพ์สังฆาฏิเฉยๆ ส่วนในสมัยปัจจุบัน เปลี่ยนการเรียกพิมพ์สังฆาฏิหูช้างมาเป็นพิมพ์สังฆาฏิมีหู และแม่พิมพ์อื่นๆ ก็เรียกพิมพ์สังฆาฏิไม่มีหู

ทีนี้เรามาดูเส้นกรอบแม่พิมพ์ของพระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิกัน เส้นกรอบแม่พิมพ์ของพระพิมพ์นี้นั้น ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์สังฆาฏิมีหูหรือพิมพ์สังฆาฏิไม่มีหูก็จะเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์ยกสูงขึ้นมาชัดเจน และเห็นชัดกว่าพระทุกพิมพ์ในกระบวนพระวัดบางขุนพรหม ไม่ว่าจะตัดขอบชิดแค่ไหนก็จะต้องเหลือให้เห็น ไม่ว่าด้านใดก็ด้านหนึ่ง ในพระองค์สวยๆ สมบูรณ์อาจจะเห็นได้ทั้ง 4 ด้านเลย

วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ ทั้งแม่พิมพ์มีหู และแม่พิมพ์ไม่มีหูองค์สวยๆ มาให้ชม ลองสังเกตเส้นกรอบแม่พิมพ์ดูนะครับว่าเป็นอย่างที่ผมพูดไว้หรือไม่ครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตาวัดระฆังฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ขึ้นหัวข้อว่าพระปิดตาวัดระฆังฯ หลายๆ ท่านก็คงจะงงกับประโยคนี้นะครับ ความจริงนั้นพระปิดตาวัดระฆังฯ มีจริงๆ ครับ แต่เป็นพระที่พระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด) เป็นผู้สร้างไว้ พระของท่านส่วนใหญ่จะเรียกรวมๆ ว่าพระสมเด็จปิลันทน์ ซึ่งก็สร้างอยู่หลายพิมพ์รวมทั้งพิมพ์พระปิดตาด้วย เอกลักษณ์ของพระที่ท่านสร้างไว้ก็คือเป็นพระเนื้อผงผสมใบลานเผา เนื้อของพระก็จะออกเป็นสีเทาๆ ดำๆ พระส่วนใหญ่เมื่อถูกบรรจุกรุและผ่านกาลเวลามาจนปัจจุบันก็จะเกิดคราบไขขาวจับอยู่บนผิวองค์พระ จะมากน้อยก็แล้วแต่องค์ครับ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) เป็นเจ้าวังหลังและเป็นพระอนุชาของพระหม่อมเจ้า พยอม เสนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบางหว้าน้อย (วัดอัมรินทร์โฆษิต) ท่านทรงอุปสมบทเป็นนาคหลวง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ประทับอยู่ที่วัดระฆังฯ และศึกษาพระบาลีพระปริยัติธรรมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตรงจนได้เปรียญ 7 ประโยค ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงสมณศักดิ์ที่หม่อมเจ้าพุทธุปบาทปิลันทน์ ในรัชกาลที่ 4 อันเป็นสมณศักดิ์ที่ทรงพระราชทานถวายเฉพาะแด่พระเถระที่เป็นพระราชวงศ์เท่านั้น และทรงสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นพระราชาคณะที่หม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ แล้วโปรดเกล้าให้ไปคลองวัดพระเชตุพนฯ

หม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด) ท่านได้ทรงเจริญรอยตามเจ้าประคุณสมเด็จฯ อาจารย์ของพระองค์ท่าน ในด้านเป็นพระเกจิอาจารย์นั้นท่านก็ทรงสร้างพระเครื่องนับตั้งแต่ทรงช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จเป็นต้นมา และได้ทรงสร้างพระเครื่องของท่านขึ้นมาบ้างในปี พ.ศ.2411 ภายหลังจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างแล้วได้ 2 ปี แต่ก็มิได้สร้างโดยลำพังพระองค์เดียว หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษทั้งห้าของเจ้าประคุณฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร

ดังนั้นพระเครื่องชนิดนี้ คนรุ่นเก่าที่ทราบประวัติการสร้างจึงมักนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักสะสมพระเครื่องทั่วไปมักนิยมเรียกนามสั้นๆ ว่า "พระสมเด็จปิลันทน์" เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) สิ้นแล้ว ท่านจึงบรรจุพระเครื่องเหล่านั้นไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นพระอาจารย์

พระเจดีย์ที่บรรจุพระสมเด็จปิลันทน์ถูกลักเจาะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2471 โดยมีคนร้ายได้พระไปเป็นส่วนน้อย และทางวัดได้ซ่อมอุดช่องที่ถูกเจาะเสีย และต่อมาเมื่อก่อนหน้าปีที่เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนเล็กน้อย กรุนี้ก็ถูกลักเจาะอีกเป็นครั้งที่ 2 ภายในองค์พระเจดีย์แบ่งออกเป็น 4 ห้อง แต่ละห้องมีโอ่งมอญขนาดใหญ่ บรรจุพระสมเด็จปิลันทน์ไว้ห้องละใบ เมื่อแตกกรุออกมามีคนนำพระมาให้ท่านเจ้าประคุณถาวร (ช่วง) ท่านเห็นก็จำได้ว่าเป็นพระของหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัก) สมัยยังทรงเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ได้ทรงสร้างไว้ ครั้นเกิดศึกอินโดจีนขึ้น ทางวัดระฆังฯ จึงได้บรรจุพระเครื่องเหล่านี้ลงในถุงผ้าดิบ ส่งมอบให้กระทรวงกลาโหมเพื่อแจกทหารออกศึกตามที่ราชการได้ร้องขอมา

พระเครื่องของกรุนี้ มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ทรง เนื้อหาโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นพระเนื้อผงผสมใบลาน แต่ก็มีบ้างที่เป็นเนื้อผงสีขาวแต่พบน้อยมาก พระสมเด็จปิลันทน์เป็นที่นิยมทุกพิมพ์ ส่วนในเรื่องสนนราคานั้นก็ลดหลั่นกันตามพิมพ์ที่นิยมมากน้อย พิมพ์ที่ค่านิยมสูงๆ ก็มีอยู่หลายพิมพ์ ราคาก็อยู่ที่หลักแสนถึงหลักหลายๆ แสน ส่วนพิมพ์ที่นิยมรองลงมาก็ยังพอจับต้องได้อยู่หลักหมื่น

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จปิลันทน์พิมพ์ที่หายากคือพิมพ์พระปิดตา ซึ่งหายากมากและสนนราคาสูงมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มกราคม 2563 15:59:20 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #135 เมื่อ: 10 มกราคม 2563 16:00:56 »



วัดหนังล้วงนอก วัดทองล้วงใน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระมหาอุตม์หรือมหาอุด เป็นพระเครื่องที่สร้างรูปแบบเป็นพระที่มีมือหลายๆ มือ ปิดหน้า ปิดหู ปิดท้อง และปิดทวารหนักเบา บางคนก็เรียกว่าพระปิดทวารทั้งเก้าก็มี เชื่อกันว่าเป็นพระประเภทที่คุ้มครองให้ยิงไม่ออกฟันไม่เข้า คืออยู่ยงคงกระพันชาตรี พระประเภทนี้มักจะทำด้วยเนื้อโลหะ มีทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่

พระปิดทวารที่เป็นเนื้อโลหะและเป็นที่นิยมกันมากๆ ก็คือพระปิดทวารของหลวงพ่อทับ วัดทอง พระของหลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง พระหลวงปู่จัน วัดโมลี พระหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ ซึ่งถือว่าเป็นพระอันดับยอดนิยมสูงหายากมาก และสนนราคาสูง พระของหลวงปู่จัน วัดโมลี และพระของหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้นั้นแยกออกมาได้ง่ายเนื่องจากเนื้อโลหะของหลวงปู่จันเป็นเนื้อแร่เหล็ก ที่เรียกกันว่าแร่บางไผ่ ส่วนพระของหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้นั้นเป็นพระเนื้อเมฆพัด ก็แตกต่างกันเห็นได้ชัด ส่วนพระของวัดหนังและของวัดทองนั้น เป็นพระเนื้อโลหะผสมแบบเนื้อสัมฤทธิ์ที่ดูคล้ายๆ กัน รูปแบบเป็นลักษณะยันต์ยุ่งคล้ายๆ กัน

ในสมัยก่อนรูปพระเครื่องก็ไม่ค่อยมีให้ดู แม้แต่หนังสือพระเครื่องก็แทบจะไม่ค่อยมีกันเลย คนโบราณเขาก็สอนให้ดูและแยกแยะพระของทั้ง 2 วัดที่สังเกตง่ายๆ ก็คือ ให้ดูที่องค์พระถ้ามือคู่ที่ลงไปปิดทวารด้านล่าง ของวัดหนังจะล้วงอ้อมลงผ่านหน้าตักด้านนอกลงมาปิดทวาร ส่วนของวัดทองจะมองไม่เห็น แต่สังเกตดูที่ด้านล่างของพระจะเห็นเป็นมือคู่หนึ่งที่โผล่มาจากหน้าตักมาปิดทวารไว้ ก็คือใช้มือล้วงผ่านหน้าตักด้านในลงมาโผล่ที่ด้านล่างปิดทวารไว้ จึงเป็นคำกล่าวให้คล้องจองและจำง่ายว่า "วัดหนังล้วงนอก วัดทองล้วงใน"

ครับพระมหาอุตม์ของทั้ง 2 วัด ทั้งวัดหนังและวัดทอง แบบปิดตายันต์ยุ่งนี้ อายุการสร้างออกมาในเวลาไล่เลี่ยกัน และความนิยมก็พอๆ กันครับ ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมาก สนนราคาในสภาพสมบูรณ์ก็ว่ากันเป็นล้านแล้วครับ ในเรื่องของพุทธคุณนั้นมีประสบการณ์ของคนรุ่นเก่าๆ เล่าขานสืบต่อกันมามากมาย ส่วนใหญ่ก็เกี่ยวกับเรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรี ยิงไม่ออกฟันไม่เข้าอะไรประมาณนั้นครับ และมีการเสาะ กันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายแล้ว แต่ก็หาพระแท้ๆ ยากมานานแล้วครับ ในสมัยก่อนรูปภาพพระที่จะมีให้ดูก็ไม่มี คนรุ่นเก่าเขาก็เลยสอนบอกต่อกันเพื่อให้แยกพระวัดหนังกับพระวัดทองออกมา และเพื่อให้สังเกตง่ายๆ จึงมีคำกล่าวที่ว่ามานี้ครับ

วันนี้ก็มาคุยกันถึงเรื่องเก่าๆ คำกล่าวเก่าๆ ที่เขาเคยพูดกันไว้ นึกถึงเรื่องราวเก่าๆ กันบ้างนะครับ สำหรับพระปิดทวารของทั้งวัดทองและวัดหนังมีการทำปลอมมานมนานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ควรจะพิจารณาให้ดีๆ หรือเช่าหาจากคนที่เชื่อถือได้นะครับ เนื่องจากสนนราคาสูงผิดพลาดแล้วจะคืนกันลำบากครับ เช่าหาแพงหน่อยแต่สบายใจดีกว่าครับ ของดีก็ต้องว่ากันตามราคา ไม่มีหรอกครับที่พระแพงๆ จะมาขายให้เราถูกๆ กว่าความเป็นจริง ถ้าเราดูพระไม่เป็นก็เช่าจากผู้ที่เขาชำนาญการจะดีกว่าครับ ราคาจะสูงสักหน่อยแต่ก็ได้ของแท้สบายใจครับ

วันนี้ผมนำรูปพระปิดทวารทั้งของวัดหนังและวัดทองมาให้ชม ลองแยกดูนะครับว่ารูปไหนวัดหนัง รูปไหนวัดทองครับ 
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระในตระกูลกำแพงเพชรเป็นพระที่นิยมทุกกรุ และที่นิยมมากๆ ก็จะเป็นพระประเภทเนื้อดินเผา และยกย่องว่าเป็นพระเนื้อดินที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่มมากที่สุด พุทธคุณก็เด่นทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ พระเนื้อดินที่เป็นยอดนิยมก็จะเป็นพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน เป็นต้น นอกนั้นก็นิยมในพระตระกูลนางกำแพงซึ่งก็มีอยู่หลายพิมพ์หลายกรุหลายวัด

พระนางกำแพง ก็มี พระนางกําแพงเม็ดมะลื่น พระนางกำแพงกลีบบัว พระนางกำแพงกลีบบัวตัด พระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ด พระนางกำแพงฐานตาราง เป็นต้นพระนางกำแพงความจริงก็มีทั้งที่เป็นพระเนื้อดินเผา และพระเนื้อชินเงิน ส่วนพระนางกำแพงเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงนั้นมีพบน้อยมากแต่ก็มีพบเช่นกันครับ ส่วนที่นิยมกันมากก็น่าจะเป็นพระเนื้อดินเผา ซึ่งมีพบมากกว่าเนื้ออื่นๆ และเป็นที่รู้จักกันมากกว่าเนื้ออื่นๆ

พระนางกำแพงมีพบอยู่หลายวัดหลายกรุ ทั้งที่ฝั่งนครชุมในบริเวณทุ่งเศรษฐี และนอกทุ่งเศรษฐีเช่นในเมืองเก่าไตรตรึงษ์ ซึ่งตั้งอยู่ลงมาทางด้านใต้ทุ่งเศรษฐี ที่ท่าดื้อ และก็ยังพบที่ทางฝั่งจังหวัดก็มีพบอยู่หลายกรุหลายวัด พระนางกำแพงทุกกรุทุกวัดเป็นที่นิยมทั้งสิ้น

พระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ด ก็เป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่ขุดพบทางฝั่งจังหวัดในบริเวณเมืองเก่า กําแพงเพชร ซึ่งก็มีโบราณสถานวัดเก่าแก่มากมาย และก็เป็นพระกรุที่มีชื่อเสียงหลายกรุ พระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ดก็เป็นพระนางกำแพงอีกชนิดหนึ่งที่นิยมกัน และเป็นพระที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองคือเนื้อพระจะแกร่งและส่วนมากก็จะเป็นสีดำสนิท มีคราบกรุ ขาวๆ จับอยู่ที่ผิวของพระโดยเฉพาะตามซอกลึกต่างๆ คราบขาวนี้จะจับแน่นมาก ล้างเท่าไรก็ออกไม่หมด ส่วนเนื้อที่แกร่งนั้นถ้าถูกใช้สัมผัสมาบ้างก็จะดำเป็นเงาสวยงาม ผิวพระจะไม่เรียบตึง ด้านหลังจะอูมๆ เท่าที่พบจะมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์เกศใหญ่และพิมพ์เกศเรียว พิมพ์เกศใหญ่จะเห็นเกศใหญ่หนา องค์พระจะอวบกว่าพิมพ์เกศเล็ก ส่วนพิมพ์เกศเรียวพระเกศก็จะเรียวบางกว่า องค์พระก็จะไม่อวบล่ำเท่าพิมพ์เกศใหญ่

พระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ดนั้นเท่าที่สอบถามคนรุ่นเก่าดูถึงที่มาของชื่อก็บอกว่า รูปทรงขององค์พระนั้นมีรูปร่างคล้ายเม็ดมะเคล็ดจึงตั้งชื่อกันตามนั้น ก็เรียกกันต่อๆ มาจนเป็นที่รู้จักในนามนี้ ทีนี้มาว่ากันถึงเรื่องของกรุของพระนางเม็ดมะเคล็ด ในสมัยก่อนก็ว่ากันว่าขุดพบที่กรุวัดช้างลอบ ต่อมาก็มีบอกว่าพบที่กรุวัดป่ามืดก็มี และวัดโน้นวัดนี้อีก ในสมัยก่อนผมจำได้พระนางกำแพงถ้ามีผิวสีดำก็จะถูกยัดไปเป็นกรุวัดป่ามืดหมด จะเป็นเพราะชื่อวัดป่ามืดเลยคิดไปถึงสีดำหรือการเปล่าจนทำให้ชวนคิด พระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ดก็มีพบที่ทางฝั่งตัวจังหวัดแน่ๆ แต่จะเป็นวัดใดแน่ ได้ศึกษาหาหลักฐานของกรมศิลปากรก็พบว่า มีวัดในเขตอรัญวาสีของฝั่งจังหวัดที่ขึ้นทะเบียนไว้มีชื่อวัดมะเคล็ด และเป็นวัดที่ใหญ่ด้วย ภายในบริเวณวัดมีต้นมะเคล็ดขึ้นอยู่มาก แล้วก็เป็นวัดเดียวที่มีต้นมะเคล็ดขึ้นอยู่มาก จึงทำให้ชวนคิดได้อีกว่า หรือพระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ดจะถูกขุดขึ้นจากวัดมะเคล็ดแห่งนี้กันแน่ ครับก็ต้องค้นคว้ากันอีกต่อไป เนื่องจากความจริงพระกรุของกำแพงเพชรนี้ โดยเฉพาะพระเครื่องก็ไม่ค่อยจะมีการบันทึกเรื่องการขุดพบที่ไหนแน่ๆ เพราะในสมัยนั้น เป็นการแอบลักลอบขุดกันทั้งสิ้น ยิ่งพระนางกําแพงเพชรก็มีการขุดแทบทุกกรุ ในสมัยโบราณก็ไม่มีราคาค่างวดอะไรเป็นพระที่แจกแถมกันเพราะมีจำนวนมากมาย ในสมัยที่การขุดพระกันมากๆ ก็เอากันแต่พระบูชาเป็นหลัก เนื่องจากขายได้ราคากว่า และมีมากมายหลายกรุ ส่วนพระเครื่องนั้นเป็นของแถม เมื่อเอาไปมากพอแล้วก็สาดทิ้งๆ ไว้ทั่วบริเวณ และวัดโบราณก็มีอาณาบริเวณติดๆ กัน พระเครื่องก็กระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ ในสมัยโบราณนั้นไม่ได้มีราคาค่างวดเท่าไร จึงไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าไรนัก ไม่เหมือนสมัยปัจจุบันคงไม่มีใครทิ้งๆ ขว้างๆ แล้วล่ะ

ก็พูดถึงพระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ดมาพอสมควรแล้ว ก็ฝากเรื่องกรุว่าตกลงมาจากกรุไหนกันแน่เพราะมีวัดมะเคล็ดในหลักฐานของกรมศิลปากรด้วยน่าคิดนะครับ วันนี้ผมก็นำรูปพระนางกําแพงเม็ดมะเคล็ดจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



พระนารายณ์ทรงปืน

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นโบราณสถานซึ่งสร้างมายาวนาน สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ราว พ.ศ.1500 -1800 และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมดัดแปลงกันเรื่อยมา เท่าที่มีหลักฐานยืนยันก็พอทราบได้ว่า มีการบูรณะในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น ดังที่เห็นและพบศิลปะในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีหลายยุคหลายสมัย

พระปรางค์ประทานของโบราณสถานแห่งนี้ รากฐานเดิมเป็นศิลาแลง ศิลปะแบบขอมแต่ได้มีการบูรณะดัดแปลงต่อมาในยุคอยุธยา พระเครื่องที่พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้ ส่วนมากจะเป็นพระเครื่องชนิดเนื้อชินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง มีพบพระเนื้อสัมฤทธิ์และพระเนื้อดินเผาอยู่บ้าง พระเครื่องที่สำคัญและมีชื่อเสียงของกรุนี้ ก็มีพระร่วงยืนหลังลายผ้าเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระหูยานเนื้อชินเงิน พระนาคปรก พระร่วงนั่งพิมพ์ต่างๆ พระซุ้มนครโกษา และพระแผงต่างๆ มากมาย พระเครื่องโด่งดังและมีชื่อเสียงมากก็คือพระร่วงยืนหลังลายผ้า และพระหูยาน ซึ่งเป็นพระยอดนิยม

พระเครื่องส่วนใหญ่ที่พบของกรุนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระศิลปะลพบุรีและทำตามแบบศาสนาพุทธมหายาน อย่างพระแผงต่างๆ จะเห็นเป็นพระสามองค์อยู่ในแผงเดียวกันนั้นก็ทำตามคติมหายานทั้งสิ้น ที่เห็นได้ชัดก็คือพระนารายณ์ทรงปืน ที่มีพระนาคปรกประทับนั่งอยู่ตรงกลางเป็นองค์พระประธานและรูปสี่กร ซึ่งเป็นรูปของพระอวโลกิเตศวร และมีรูปของสตรีอยู่อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ในคติพุทธศาสนามหายาน ที่เผยแพร่เข้ามาพร้อมกับศิลปะขอมแบบบายน ที่เผยแพร่เข้ามาพร้อมกับศิลปะขอมแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอม ซึ่งมีอิทธิพลในภูมิภาคแห่งนี้ในสมัยนั้น

พระนารายณ์ทรงปืนที่ได้ชื่อเรียกแบบนี้ ก็เรียกขานกันมานมนานแล้วตั้งแต่มีการแตกกรุ และผู้ที่ได้พบเห็นก็นึกว่ารูปพระอวโลกิเตศวร ที่มีสี่กรนั้นเป็นองค์พระนารายณ์ ในส่วนที่เห็นพระกรต่างทรงถือสิ่งของอยู่นั้น พระบางองค์ก็เห็นไม่ชัดว่าถืออะไรแน่ และเห็นเป็นรูปยาวๆ ก็นึกเอาเองว่าน่าจะเป็นคันศร ซึ่งความเป็นจริงทรงถือดอกบัวและมีก้านยาวลงมา ยิ่งซ้ำร้ายบางคนเห็นเป็นปืนยาวเอาก็มี ก็เลยทึกทักเรียกกันว่าพระนารายณ์ทรงปืนเอาเสียเลย และก็เรียกกันแบบนี้มายาวนานแล้ว ก็เลยกลายมาเป็นชื่อเรียกตามกันมาว่าเป็นพระนารายณ์ทรงปืน แถมพุทธคุณของพระพิมพ์นี้ยังเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีอีก มีผู้ที่บูชาพระนารายณ์ทรงปืนแล้วถูกยิงไม่ออก ยิงไม่เข้า จึงเชื่อถือกันมาแบบนี้ครับ

พระนารายณ์ทรงปืนเป็นพระเครื่องขนาดเขื่องหรือจะเรียกว่าเป็นพระแผงก็ได้ ในสมัยก่อนคนนิยมกันมาก มักจะนำมาถักลวดห้อยคอกัน พระที่พบส่วนมากจะเป็นเนื้อชินเงิน และชินตะกั่วสนิมแดง ที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์นั้นพบน้อยมาก นอกจากพระนารายณ์ทรงปืนจะพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี แล้วก็ยังพบที่กรุอื่นๆ ของลพบุรี และในจังหวัดอื่นๆ ก็เคยพบ ล้วนแล้วจะเป็นพระขนาดเขื่องและมีรูปแบบคล้ายๆ กัน จึงเรียกตามๆ กันว่า พระนารายณ์ทรงปืนเช่นกัน

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนารายณ์ทรงปืน เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ 
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์



พระผงเจ้าคุณทิพยโกษา

 สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระผงท่านเจ้าคุณทิพยโกษา เป็นพระเก่าที่มีพิธีกรรมการสร้างดี เนื้อหาดี เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ซึ่งเข้าร่วมทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์ พร้อมกับพระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ)

พระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) รับราชการในกรมท่า (กระทรวงต่างประเทศ ในปัจจุบัน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2429 จนกระทั่งกราบทูลลาออกจากราชการ เนื่องจากมีอายุมาก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2468 ท่านเจ้าคุณเป็นญาติห่างๆ กับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และสนิทสนมกัน นอกจากนี้ยังสนิทสนมกับสมเด็จพระสังฆราช อยู่ วัดสระเกศ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ) วัดระฆังฯ และท่านอาจารย์พา วัดระฆังฯ รวมทั้งพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายรูป

ท่านเจ้าคุณทิพย์ได้เก็บรวบรวมดอกไม้บูชาพระ แล้วนำมาตากแห้ง รวบรวมผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงพุทธคุณ รวมทั้งว่าน 108 ชนิดไว้ แล้วได้ปรึกษาสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ถึงเรื่องการนำมาสร้างพระ หลังจากนั้นจึงแกะแม่พิมพ์ด้วยหินสบู่ ท่านเจ้าคุณเชี่ยวชาญทางด้านฤกษ์ยามและโหราศาสตร์อยู่แล้ว จึงได้ดูฤกษ์ยามแล้ว นุ่งขาวห่มขาว กดพิมพ์พระในระหว่างฤกษ์ พอหมดฤกษ์ก็หยุด โดยมีนายอั๋น นายชุ่ม เป็นลูกมือ

ส่วนการพุทธาภิเษกนั้น ท่านเจ้าคุณทิพย์ได้ทูลขออนุญาตสมเด็จพระสังฆราช (แพ) นำพระทั้งหมดเข้าร่วมพิธีใหญ่ประจำปีในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์ได้เข้าร่วมพิธีพร้อมกับพระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง ประมาณปี พ.ศ.2460 ของวัดสุทัศน์

พระที่สร้างในครั้งนั้นท่านเจ้าคุณได้นำไปบรรจุเจดีย์ต่างๆ และส่วนหนึ่งได้แจกจ่ายให้แก่ลูกๆ หลานๆ ญาติมิตรที่รู้จักกันตามอัธยาศัย

พระที่สร้างในคราวนี้มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น รูปลอยองค์แบบพระกริ่ง เฉพาะ พระเนื้อผงแบบพระกริ่งจะลงรักปิดทอง นอกจากนี้ก็มีพระพิมพ์กลีบบัว พระพิมพ์เล็บมือ เป็นต้น พระบางองค์ก็มีปิดทอง เนื้อพระผงท่านเจ้าคุณทิพย์ มีทั้งที่เป็นเนื้อออกสีเขียว และสีออกน้ำตาล

พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์นั้นพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ บางท่านอาจจะมีอยู่ที่บ้านแต่ไม่ทราบว่าเป็นพระอะไรก็เป็นได้นะครับ ถ้าพบก็เลี่ยมห้อยคอได้เลยครับ พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์เป็นพระดี พิธีดี เนื้อหามวลสารดี และเป็นพระเก่าครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระเนื้อผงลอยองค์แบบพระกริ่ง และพระเนื้อผงเจ้าคุณทิพยโกษามาให้ชมครับ 
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์  ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #136 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2563 14:21:19 »

.




เหรียญหอมเงินฯ หลวงพ่อหอม

พระครูธรรมไตรสังวรกิจ หรือ หลวงพ่อหอม รตินธโร เจ้าคณะตำบลกุสุมาลย์ (ธ) แห่งวัดป่าบ้านอีกุด ต.กุสุมาลย์ อ.เมือง จ.สกลนคร พระเกจิสายป่าวิปัสสนากัมมัฏฐาน

เป็นศิษย์สืบสายธรรม หลวงปู่คำดี ปัญโญภาโส หรือ พระราชมงคลนายก อดีตเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร (ธ) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แม่ทัพธรรมภาคอีสาน

เป็นพระสายป่าที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตรที่งดงาม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นที่เคารพศรัทธา

เกิดเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2503 ที่บ้าน อีกุด ต.โพธิ์ไพศาล อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร มีนามเดิมว่า ผจญ ใบแสน

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บรรพาชาเมื่อปี พ.ศ.2522 ที่วัดป่าสันติวาส (ปัจจุบันวัดป่าสันติกุสุมาลย์)

เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อ พ.ศ.2524 ขณะมีอายุ 21 ปี ที่พัทธสีมาวัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม โดยมีพระราชสุทธาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลปัญโญภาส (หลวงปู่คำดี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 59 ปี พรรษา 20

หลังจากท่านสร้างวัดไตรคามวาสี มีเนื้อที่ป่ากว่า 100 ไร่ ร่มรื่นมีสิงสาราสัตว์ไว้หลบภัย ล่าสุดท่านย้ายมาจำพรรษาที่วัดป่าบ้านอีกุด ถิ่นมาตุภูมิแล้ว

เดือน ธ.ค. 2562 คณะศิษย์ นำโดย "เฮียเติง" และ "กุลชา กุลชา" ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญรุ่นหอมเงินหอมทอง

ในวาระครบรอบอายุวัฒนมงคล 5 รอบ 60 ปี ในวันที่ 1 มี.ค. 2563 รายได้จัดซื้อที่ดินปรับธรณีสงฆ์ รองรับเสนาสนะและถาวรวัตถุวัดแห่งใหม่

ประกอบด้วย เนื้อทองคำ, เนื้อเงินหน้าทองคำ, เนื้อเงินลงยา, เนื้อเงินบริสุทธิ์, เนื้อนวะหน้ากากเงิน, เนื้ออัลปาก้าลงยา, เนื้อทองทิพย์ลงยา, เนื้อทองแดงผิวรุ้ง และเนื้อมหาชนวน มีรายการเซอร์ไพรส์สมนาคุณ ตอกโค้ดหมายเลขกำกับทุกองค์

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญกลม หูเชื่อม ใต้หูเชื่อมมีกงจักร รอบขอบเหรียญมีเส้นสันนูน ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงพ่อหอมหน้าตรงครึ่งองค์ ด้านหลังมีโบลายกนกนาค สลักตัวหนังสืออ่านว่า หลวงพ่อหอม รตินธโร

ด้านหลังเหรียญ ขอบเหรียญมีเส้นสันนูนหนา ใต้หูเชื่อมสลักอักขระยันต์อ่านว่า นะ ชา ลี ติ เป็นคาถาพระสีวลี มีเลข ๙ ยันต์คั่นกลาง เชือกมัดถุงเงินถุงทอง

ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนถุงเงินถุงทอง ในถุงมียันต์ประจำตัวหลวงพ่อ บริเวณขดถุงซ้ายขวาสลักตัวหนังสืออ่านว่า หอมเงิน หอมทอง ใต้ตัวหนังสือมียันต์สองชุดเป็นกลยันต์โบราณที่หลวงพ่อเมตตามอบให้ ขอบเหรียญครึ่งวงกลมวนจากซ้ายไปขวา สลักตัวหนังสือคำว่า วัดป่าบ้านอีกุด อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ๒๕๖๓ มี ดอกจันปิดหัวท้าย

เหรียญรุ่นนี้ได้รับการวาดแบบโดย ครูเอ เป็นรูปแบบที่สวยงามลงตัว เปิดจองในเดือน ก.พ.2563 เตรียมประกอบพิธีพุทธาภิเษก ในเดือน มี.ค. 2563  
  ข่าวสดออนไลน์



พระเทริดขนนก-ลพบุรี

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเทริดขนนกเป็นพระร่วงชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและรู้จักกันมาก ก็คือพระที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี ที่นิยมมากที่สุดก็คือเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ปัจจุบันหายาก สนนราคาสูง

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่โบราณ และกรุพระเครื่องถือเป็นเอกของจังหวัดลพบุรี พระเครื่องพระบูชาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะขอมแบบบายน มีพระเครื่องที่โด่งดังยอดนิยมอยู่หลายชนิด เช่นพระร่วงหลังลายผ้า พระหูยาน พระนาคปรก และพระชนิดต่างๆ มากมายหลากหลายพิมพ์ล้วนเป็นที่นิยมทั้งสิ้น พระของกรุนี้เนื้อที่นิยมมากจะเป็นพระเนื้อชินเงินและพระชินตะกั่วสนิมแดง ในกรุนี้ก็มีพระที่เป็นเนื้อดินเผาอยู่บ้างแต่นิยมรองๆ ลงมา นอกจากพระเครื่องแล้วก็ยังมีพระแผงขนาดใหญ่อีกหลายพิมพ์ แต่พระทุกชนิดปัจจุบันก็หายากทุกพิมพ์ครับ

พระของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิมพ์หนึ่งคือพระเทริดขนนก เป็นพระทรงเครื่องปางประทับนั่ง บนกลีบบัว 3 กลีบ สวมหมวกทรงเทริดเป็นกลีบบัวแบบมหายาน ที่เรามักเรียกว่าเทริดขนนก ต่อมาจึงเป็นชื่อเรียกองค์พระ พุทธลักษณะองค์พระแบบเดียวกับพระยอดขุนพล ที่แตกต่างคือ องค์พระตัดชิด ไม่มีซุ้มเรือนแก้ว องค์พระแบบนี้ถ้ามีซุ้มเรือนแก้วเราก็จะเรียกว่าพระยอดขุนพล พระเทริดขนนกเป็นพระที่พบจำนวนน้อยหายาก เท่าที่พบมีทั้งที่เป็นแบบเนื้อชินสนิมแดง เนื้อชินเงิน เนื้อดินเผาว่ากันว่าพบแบบเนื้อสัมฤทธิ์ด้วยแต่ก็พบน้อยมาก

พระเทริดขนนกที่เป็นพระเนื้อชินสนิมแดงจะเป็นเนื้อที่นิยมมากที่สุดของพระพิมพ์นี้ สีสนิมจะแดงเข้มจัดมาก และแดงทั้งองค์สวยงาม ผิวมีไขขาวปกคลุม บางองค์ที่นำมาล้างเอาไขขาวออกบ้างตามส่วนที่นูนและเหลือไขขาวในส่วนที่ลึกลงไปจะสวยงามมาก แต่พระแท้ๆ ก็หายากครับ เวลาจะเช่าหาก็ต้องระมัดระวังให้มากๆ เนื่องจากของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว ควรหาที่ปรึกษาดีๆ หน่อยครับ

นอกจากพระเทริดขนนกพิมพ์ที่พบเห็นกันมากหน่อยแล้ว พระในกรุนี้ยังพบพระเทริดขนนกอีกพิมพ์หนึ่ง แต่มีขนาดเขื่องหน่อย พบจำนวนน้อยมากๆ ศิลปะกลับเป็นแบบศรีวิชัย ซึ่งเป็นพระที่มีศิลปะเก่าแก่กว่าศิลปะขอมบายน สวยงามมาก เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างมาก่อนพระส่วนใหญ่ที่พบในกรุเดียวกัน แต่ก็พบจำนวนน้อยมาก ว่ากันว่าพบไม่เกิน 10 องค์เท่านั้น และมักจะเรียกหากันว่า "พระเทริดขนนกศรีวิชัย" แต่ก็พบอยู่ในกรุเดียวกัน

พระเทริดขนนก ลพบุรีเป็นพระที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ปัจจุบันหายาก สนนราคาสูง ของปลอมเลียนแบบมีหลากหลายฝีมือ เวลาเช่าหาก็ควรพิจารณาให้ดีๆ ก่อนจะจ่ายเงินครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเทริดขนนก กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีทั้ง 2 พิมพ์จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตาเนื้อผง หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่เริ่มเป็นพระเกจิอาจารย์ที่คนศรีราชา และชาวชลบุรีเคารพนับถือมาก วัตถุมงคลของท่านปัจจุบันก็หายากทุกอย่าง พุทธคุณโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด

หลวงปู่เริ่มเกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2448 ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โยมบิดาชื่อมิ่ง โยมมารดาชื่อเลี่ยม พออายุครบ 20 ปี หลวงปู่เริ่มก็ได้อุปสมบทที่วัดแหลมฉบังโดยมีพระครูสุนทรธรรมรส (หลวงปู่ศรี) วัดอ่างศิลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จั๊ว วัดอ่างศิลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ลำดวน วัดอ่างศิลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปรโม" เมื่ออุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดจุกกะเฌอ ซึ่งมีพระอาจารย์ขันธ์เป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อเริ่มได้ศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติโดยเคร่งครัดจริยาวัตรงดงาม จนชาวบ้านเคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน หลวงปู่เริ่มเคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านได้เคยเรียนวิชากับหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก แต่ก่อนที่หลวงพ่ออ่ำจะสอนวิชาให้นั้น ท่านจะมัดมือไพล่หลัง ไว้กับตอไม้ที่ริมป่าช้า วัดหนองกระบอก โดยให้คาถา 4 ตัว ให้ภาวนาจนเชือกหลุด หลวงปู่เริ่มทำได้หลวงพ่ออ่ำ จึงรับเป็นศิษย์ โดยได้เรียนวิชา ฝนแสนห่า และสีผึ้งเจ็ดจันทร์ ซึ่งเป็นวิชาเมตตามหานิยมชั้นสูง นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษากับพระอาจารย์เก่งๆ อีกหลายรูปเช่นเรียนวิชาทำปลัดขิกหนังหน้าผากเสือ กับหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เรียนวิชาหนังหน้าผากเสือหลวงพ่อสาย วัดหนองเกตุน้อย ชลบุรี เรียนวิชาทำผง 12 นักษัตรจากหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ และได้ศึกษากับพระเกจิอาจารย์อีกหลายรูป เช่น หลวงพ่ออ๋อง วัดหนองรี ชลบุรี หลวงพ่อผุย วัดหน้าพระธาตุ พนัสนิคม ท่านเจ้าคุณศรี วัดอ่างศิลา และเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐาน วิชาสร้างพระปิดตา วิชาโหราศาสตร์กับสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทัย) วัดสระเกศด้วย

หลังจากหลวงปู่เริ่มอุปสมบทได้ 6 พรรษาหลวงพ่อขันธ์ก็มรณภาพ ชาวบ้านจึงนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ในปีพ.ศ.2481 ท่านก็ได้เริ่มแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวนในปี พ.ศ.2485 ก็ได้รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์ปี พ.ศ.2487 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบึงหนองขาม พ.ศ.2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรปี พ.ศ.2519 เป็นเจ้าคณะอำเภอศรีราชา หลวงปู่เริ่มมรณภาพในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2538 สิริอายุได้ 91 ปี พรรษาที่ 71

หลวงปู่เริ่มท่านได้เคยสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ และสีผึ้งเจ็ดจันทร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่หายากในปัจจุบัน เรื่องสีผึ้งเจ็ดจันทร์นี้สร้างยากมาก โอกาสหน้าจะมาเล่าให้ฟังครับ นอกจากนี้ท่านได้สร้างเหรียญ พระปิดตา และพระกริ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือพระกริ่ง-พระชัย ปรโมที่สร้างในปี พ.ศ.2527 พุทธคุณเด่นทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดครับ วันนี้ผมได้นำรูป พระปิดตาเนื้อผงรุ่นแรกมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



ห้อยพระอะไรแคล้วคลาดปลอดภัย

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ช่วงนี้มีเหตุการณ์และข่าวเรื่องความไม่ปลอดภัยในชีวิตอยู่เกือบทุกวัน ไม่ว่าจะสถานการณ์โลกเรื่องภัยสงครามหรือเหตุการณ์ต่างๆ ในบ้านเราก็ตาม มีเหตุการณ์ปล้น ทำร้ายต่อชีวิตและร่างกาย ถูกลูกหลงจากเหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆ รวมทั้งอุบัติเหตุต่างๆ อยู่ทุกวัน สำหรับผู้ที่ศรัทธาในพระเครื่องก็น่าจะหาพระเครื่องที่แคล้วคลาดปลอดภัยมาห้อยป้องกันเหตุร้ายต่างๆ

ครับเรื่องเหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆ นั้นเราไม่สามารถที่จะรู้ก่อนได้เลย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะระวังตัวดีแค่ไหนก็ตาม ถ้าบังเอิญเราไปอยู่ในสถานที่นั้นหรืออยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ เหตุร้ายก็อาจจะเกิดกับเราเมื่อไหร่ก็ได้ แล้วเราจะทำอย่างไร ถ้าเรามีศรัทธาในพระเครื่องก็อาจจะหาพระเครื่องที่ช่วยคุ้มครองป้องกันภัยมาห้อยคอ

สำหรับพระเครื่องที่มีพุทธคุณในเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัยก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี พุทธคุณของพระเครื่องที่มีการกล่าวขวัญกันก็มีด้วยกันหลายอย่างเช่น อยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาดปลอดภัย สำหรับส่วนตัวผมนั้นขอเลือกที่แคล้วคลาดปลอดภัยเพราะเราจะได้ไม่ไปเจอกับเหตุการณ์ต่างๆ ผมเชื่อถือในองค์หลวงปู่ทวด ซึ่งเป็นพระที่ผมเองได้รับจากคุณพ่อ ให้มาห้อยคอตั้งแต่ยังเรียนหนังสืออยู่ เป็นเหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่น 2 ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ สร้างปี พ.ศ.2502 ซึ่งผมก็ใส่ติดตัวไว้ตลอดและเก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้ และในสมัยนั้นก็ได้รับฟังเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับพุทธคุณของหลวงปู่ทวดเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัยอยู่หลายเรื่อง ทั้งเรื่องเกี่ยวกับแคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่างๆ ทั้งเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัยจากการถูกประทุษร้ายต่างๆ ก็รอดปลอดภัยได้อย่างไม่น่าเชื่อ เรื่องหนึ่งที่ผมได้ฟังในสมัยก่อนคือ เรื่องรถโดยสารที่ตกเขาทางภาคใต้ ปรากฏว่า ผู้โดยสารเสียชีวิตทั้งหมดเหลืออยู่หนึ่งคนที่รอดชีวิต และไม่ได้รับบาดเจ็บอะไรมากนัก ปรากฏว่าเขาห้อยพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้อยู่เพียงองค์เดียว มีการลงข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ครั้งนั้นเป็นข่าวดังมาก และก็มีข่าวเรื่องการแคล้วคลาดของผู้ที่ห้อยพระหลวงปู่ทวดอยู่เสมอๆ ทำให้มีผู้ศรัทธาในองค์หลวงปู่ทวดกันทั่วประเทศ และมีการสร้างพระหลวงปู่ทวดกัน หลายวัด

ครับส่วนตัวผมนั้นเชื่อถือในองค์หลวงปู่ทวดมากในเรื่องช่วยคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย และมีประสบการณ์ด้วยตัวเองอยู่หลายครั้ง พระหลวงปู่ทวดไม่ว่าจะเป็นรุ่นใด พิมพ์ไหน วัดใด รุ่นเก่ารุ่นใหม่ ผมเชื่อว่าหลวงปู่ท่านช่วยปกป้องคุ้มครองได้ทั้งสิ้น ขอให้เราเพียงเป็นคนดีไม่ทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่นหรือสังคม มีศรัทธาในองค์หลวงปู่ทวด ท่านก็จะช่วยปกป้องคุ้มครองเราให้พ้นภัยได้ครับ

วันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงปู่ทวดรุ่น 2 วัดช้างให้ ที่สร้างในปี พ.ศ.2502 เนื้อทองแดง หรือบางท่านเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่าเหรียญไข่ปลาใหญ่ เท่าที่เห็นมีอยู่ 4 พิมพ์คือ พิมพ์สระไอไม้มลาย พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์สายฝน และพิมพ์หน้าหนุ่ม สำหรับรูปเหรียญไข่ปลารุ่น 2 ที่นำมาให้ชมคือ พิมพ์ไข่ปลาใหญ่หน้าแก่ครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญมะละกอหลวงปู่สิงห์

หลวงปู่สิงห์ พรหมโชโต หรือ พระครูสุทธิพรหมโชโต อดีตรองเจ้าคณะตำบลศรีสงคราม และเจ้าอาวาสวัดศรีวิชัย บ้านหนองบาท้าว หมู่ 2 ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม พระเกจิแห่งลุ่มน้ำสงคราม

ปัจจุบัน ยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 96 ปี พรรษา 70

เป็นศิษย์สืบสายธรรมของหลวงปู่ศรีทัตถ์ ญาณสัมปันโน พระเกจิที่ลือลั่นด้านวิทยาคม ผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทน จ.นครพนม พระพุทธบาทบัวบก จ.อุดรธานี และพระธาตุโพนฉัน ใน สปป.ลาว

อีกทั้งยังเป็นศิษย์เอกหลวงปู่ญาคูสุ หรือพระครูพิทักษ์อุดมพร ศิษย์ผู้น้องหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย แห่งวัดท่าดอกแก้วเหนือ อ.ท่าอุเทน ศิษย์เอกหลวงปู่สีทัตถ์

มีนามเดิมว่า สิงห์ ภูเม็ด เกิดเมื่อวันพุธที่ 9 ก.ค.2467 พื้นเพเป็นชาวบ้าน บ้านหนองบาท้าว หมู่ 2 ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

หลังจบชั้น ป.4 ขณะอายุ 10 ขวบ บิดามารดานำตัวไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ญาคูสุ เจ้าอาวาสวัดวิชัย รูปที่ 2 ขณะนั้นยังไม่บรรพชา แต่ให้ห่มผ้าขาวทำวัตรสวดมนต์ทุกวัน

ต่อมาหลวงปู่ศรีทัตถ์ จึงนำตัวไปบวชเณรที่วัดพระธาตุโพนฉัน ฝั่งลาว หลังออกพรรษาจึงกลับสู่มาตุภูมิ

บวชเณรนาน 16 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดวิชัย มีหลวงปู่ญาคูสุ เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังอุปสมบท ออกธุดงค์ตามป่าช้ากับหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม พระเกจิชื่อดังของเมืองไทย ฝึกวิชากัมมัฏฐาน ฝึกจิตคาถา

หลังพระอุปัชฌาย์มรณภาพ จึงกลับมาร่วมงานศพ ชาวบ้านจึงอาราธนานิมนต์กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ พัฒนาเสนาสนะเจริญรุ่งเรืองสืบมา

ในเดือน พ.ย.2562 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา "ครูเก่ง คุ้มบารมี" ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญหันข้างพิมพ์มะละกอ หลวงปู่สิงห์ รุ่นมหาบารมี 8 รอบ

เพื่อจัดหารายได้สมทบสร้างเจดีย์บูรพาจารย์

จัดสร้างมีเนื้อเงินหน้ากากทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาแดง 29 เหรียญ, เนื้อเงิน 69 เหรียญ, เนื้อนวะ 96 เหรียญ, เนื้อเหล็กน้ำพี้ 299 เหรียญ, เนื้อสามกษัตริย์ 368 เหรียญ, เนื้อชนวนมวลสารพันปี 1,234 เหรียญ, เนื้อทองทิพย์ 1,699 เหรียญ (ลุ้นเซอร์ไพรส์ลงยา, หน้ากาก, โค้ดสิงห์) และเนื้อทองแดงคละผิว มีเนื้อมันปู, ไฟอัคนี, รมดำ 1,999 เหรียญ (ลุ้นเซอร์ไพรส์ลงยา, หน้ากาก,โค้ดสิงห์)

ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปทรงคล้ายพิมพ์จงอางศึกแผ่แม่เบี้ย และคล้ายมะละกอ หูตัน ขอบเหรียญตามส่วนโค้งมีเส้นสันนูน ใต้หูตันสลักตัวหนังสือคำว่า หลวงปู่สิงห์ พรหมโชโต ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์หันหน้าข้างซ้ายคล้องลูกประคำ ด้านล่างสลักไล่เรียงลายกนก

ด้านหลังเหรียญ ใต้หูตันสลักอักขระธรรม 3 บรรทัด อ่านว่า พุทธัง อาราธนานัง ธัมมัง อาราธนานัง สังฆัง อาราธนานัง ซึ่งเป็นคำอาราธนาคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ถัดลงมาเป็นเครื่องอัฐบริขาร ประกอบด้วยกาน้ำ ร่ม บาตร ถัดมาสลักตัวหนังสือ 2 บรรทัดอ่านว่า มหาบารมี 8 รอบ วัดวิชัย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ๒๕๖๒

วัตถุมงคลรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่อุโบสถไม้วัดวิชัย ในปลายเดือน ม.ค.2563 มีหลวงปู่สิงห์ นั่งปรกอธิษฐานจิตเสกเดี่ยว
  ข่าวสดออนไลน์



พระกริ่งบดินทร์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดชัยชนะสงคราม กทม. หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดตึก วัดนี้อยู่ใกล้ๆ คลองถม เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ราวปี พ.ศ.2391 และที่วัดแห่งนี้ได้มีการสร้างพระกริ่งขึ้น เรียกว่า "พระกริ่งบดินทร์"

วัดชัยชนะสงคราม (วัดตึก) ที่ตั้งเดิมเป็นของเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) ต้นสกุล สิงหเสนี สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในสมัยนั้น หลังจากเป็นแม่ทัพไปรบกับญวนและเขมรมีชัยกลับมาแล้ว ท่านเกิดศรัทธาแรงกล้าประสงค์ที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญสถาพรสืบไป จึงยกบ้านของท่านถวายสร้างเป็นวัด โดยสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ เพิ่มเติมจนสมบูรณ์ แล้วให้นามว่า "วัดชัยชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการศึกครั้งนั้น วัดชัยชนะสงครามเป็นวัดราษฎร์อยู่จนถึงปี พ.ศ.2421 ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ

ด้วยเหตุที่เรือนเดิมของท่านเป็นอาคารตึก ชาวบ้านทั่วไปจึงพากันเรียกจนติดปากว่า "วัดตึก" มาจนทุกวันนี้ หลังจากนั้นท่านก็ได้อุปถัมภ์บำรุงวัดนี้เรื่อยมาจนถึงอสัญกรรม และผู้สืบสกุลก็รับช่วงทำนุบำรุงต่อมาจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2503 พระครูชัยโศภณ เจ้าอาวาส เห็นว่าพระอุโบสถเดิมสร้างมา 111 ปีแล้ว วัสดุก่อสร้างเริ่มเสื่อมคุณภาพชำรุดทรุดโทรมลงเป็นลำดับ ยากแก่การจะบูรณปฏิสังขรณ์ ทั้งมีส่วนที่คับแคบไม่เหมาะแก่การประกอบสังฆกรรมและบำเพ็ญศาสนกิจ จึงได้ปรึกษาคุณหญิงเจือ นครเสนี (สิงหเสนี) และคุณหญิงมีความปีติและศรัทธาแรงกล้า ที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาและเชิดชูเกียรติประวัติแห่งท่านผู้เป็นต้นสกุล จึงได้ถวายปวารณาอุทิศเงินจำนวน 300,000 บาท สำหรับเป็นทุนประเดิมในการก่อสร้างและขยายอุโบสถใหม่

ในส่วนของพระประธานองค์เดิมมีขนาดเล็ก หม่อมสวัสดิวัตน์ ได้บริจาคเงิน 35,000 บาท ให้เป็นทุนร่วมกับคณะกรรมการ และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้จัดการหล่อขึ้นใหม่ และประกอบพิธีหล่อขึ้นเมื่อ วันที่ 13-14 ธันวาคม พ.ศ.2502 คณะกรรมการได้ถวายพระนามว่า "พระพุทธชัยสิงห์มุนินทรธรรมบดินทร์โลกนารถเทวนรชาติอภิปูชนีย์" และได้อัญเชิญประดิษฐานไว้บนแท่น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ปิดทองในคราวนั้นด้วย

ในคราวเททองหล่อพระประธาน ทางคณะกรรมการได้จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นแบบพระกริ่งขึ้น เรียกว่า "พระกริ่งบดินทร์" เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์ทำบุญในการสร้างพระอุโบสถและหล่อพระประธาน จำนวนการสร้างประมาณ 2,000 องค์ แบ่งออกได้เป็นพิมพ์ฐานสูงและพิมพ์เตี้ย พิธีพุทธาภิเษกคราวเดียวกับการเททองพระประธาน โดยนิมนต์พระเถระและ พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมร่วมปลุกเสกหลายรูป เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่) วัดสระเกศ พระธรรมวโรดม (ปุ่น) วัดพระเชตุพนฯ พระเทพสิทธินายก (นาค) วัดระฆังฯ พระครูทักษินานุกิจ (เงิน) วัดดอนยายหอม พระครูวรเวทย์มุนี (เมี้ยน) วัดพระเชตุพนฯ พระครูวินัยธร (เฟื้อง) วัดสัมพันธวงศ์ พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิราชาวาส และพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน เป็นต้น

พระกริ่งบดินทร์ มีประสบการณ์มาก ชาวบ้านแถบวัดตึกทราบดี ครั้งหนึ่งเมื่อตอนที่พระกริ่งบดินทร์ออกใหม่ๆ ตำรวจจราจรตรงสี่แยกวัดตึก ถูกรถบรรทุก 6 ล้อเบรกแตกชน จนกระเด็นกลิ้งฟาดพื้นจนสลบ แต่ตำรวจท่านนั้นกลับไม่บาดเจ็บเลย เพียงเสื้อกางเกงขาด สอบถามได้ความว่า ห้อยพระกริ่งบดินทร์เพียงองค์เดียว ปรากฏว่าชาวบ้านแถวนั้นเที่ยวหาพระกริ่งบดินทร์กันเป็นแถว

พระกริ่งบดินทร์ปัจจุบัน สนนราคาก็ยังไม่สูงครับ อาจจะเป็นเพราะไม่ค่อยมีผู้รู้ประวัตินักก็เป็นได้ครับ แต่ก็ใช่ว่าจะหาง่ายนะครับ ของปลอมเลียนแบบก็มีมานานแล้ว

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งบดินทร์ มาให้ชมกันด้วยครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระหูยานกรุวัดปืน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกรุของจังหวัดลพบุรีมีอยู่หลายอย่างที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ประเภทเนื้อที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเนื้อชิน ซึ่งมีทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ที่นิยมมากที่สุดก็น่าจะเป็นพระร่วงยืนหลังลายผ้า พระหูยาน ถ้าพูดถึงพระเครื่องของลพบุรีก็จะนึกถึงกันเป็นอันดับแรกๆ

พระหูยานเป็นพระเนื้อชินเงินที่จะอยู่ในพระเบญจภาคีชุดพระยอดขุนพล พระหูยานที่รู้จักกันมากที่สุดก็จะเป็นพระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิมพ์ใหญ่ ซึ่งจะรู้จักกันมากที่สุด และเป็นพิมพ์ที่นิยมที่สุดของพระหูยานกรุนี้ นอกจากพระหูยานพิมพ์ใหญ่แล้ว ความจริงก็ยังมีพระหูยานบัวสองชั้น ซึ่งพบน้อยมากจนไม่ค่อยมีคนพูดถึงนัก พระหูยานพิมพ์ซุ้มรัศมีแฉก พระพิมพ์นี้ก็พบน้อยมากเช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังมีพระหูยานพิมพ์กลาง และพระหูยานพิมพ์เล็กอีกด้วย แต่ก็นิยมรองๆ กันมา

พระหูยานลพบุรีนั้นนอกจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุแล้วก็ยังมีของกลุ่มอื่นๆ ในจังหวัดลพบุรีอีกเช่น กรุวัดปืน และของกรุวัดอินทราราม ซึ่งก็มีแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันไป พระหูยานของกรุวัดปืนก็เป็นกรุที่น่าสนใจ แต่ก็พบพระน้อยหาแท้ๆ ยาก กรุวัดปืนเป็นกรุที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ที่รู้จักกันมากหน่อยก็จะเป็นพระนาคปรกกรุวัดปืน พระหลวงปู่พ่อแขกกรุวัดปืน นอกจากนี้ก็ยังมีพระหูยานกรุวัดปืนอยู่ด้วย พระของกรุวัดปืนหายากทุกพิมพ์ เนื่องจากพระที่ขุดพบนั้นมีจำนวนไม่มากนัก พุทธคุณก็เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน ในสมัยก่อนเสาะหากันมากและต่างก็หวงแหนกันมาก

พระหูยานกรุวัดปืนเป็นพระที่หายากของกรุนี้ ซึ่งขุดพบจำนวนน้อยมาก พระส่วนใหญ่อาจจะผุพังไปเสียแต่ในกรุแล้ว คนที่ไม่ได้ชื่นชอบพระกรุเนื้อชินบางท่านอาจจะไม่รู้ว่ามีพระหูยานของกรุวัดปืนด้วย และส่วนมากก็จะนึกพระหูยานพิมพ์ใหญ่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้นที่คนโบราณมักจะเรียกชื่อว่าพระหูยานหน้ายักษ์ พระหูยานพิมพ์อื่นๆ จึงไม่ค่อยได้พูดถึงกัน ในส่วนตัวผมว่าพระหูยานกรุวัดปืนนั้นหายาก ยิ่งถ้าเป็นพิมพ์ใหญ่ยิ่งหายากมาก แม้แต่รูปก็แทบจะไม่ได้เห็นกันเลยครับ

พระหูยานกรุวัดปืนเท่าที่ขุดพบมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ในตอนที่ขุดพบว่าส่วนใหญ่ชำรุดผุพังเสียหายเสียเกือบหมด ส่วนพระพิมพ์เล็กจะพบมากกว่า แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก พระหูยานกรุวัดปืนที่พบเห็นวนเวียนอยู่ในสังคมพระเครื่องก็จะเป็นพระพิมพ์เล็ก แต่ก็นานๆ หลายๆ ปีจะมีมาสักองค์ คนที่มีก็เก็บเงียบกันหมด สนนราคาก็ยังเป็นรองพระหูยานของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ถ้าพูดถึงแม่พิมพ์ของพระของวัดปืนก็จะมีเอกลักษณ์แม่พิมพ์เป็นของตัวเอง พระพิมพ์เล็กที่พบเห็นมากกว่าพระพิมพ์ใหญ่ จะมีรายละเอียดแม่พิมพ์ที่เด่นชัดก็คือ ที่ฐานชั้นล่างของพระจะเห็นว่ามีเส้นแม่พิมพ์แตกซ้อนเป็นแนวยาวตลอดของเส้นฐาน และที่คอด้านซ้ายขององค์พระจะมีเส้นแม่พิมพ์แตกเป็นขีดลงมาสองเส้น ซึ่งเป็นจุดที่มองเห็นได้ง่ายที่สุด สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และก็เป็นจุดสังเกตแยกกรุได้เป็นอย่างดี พระกรุวัดปืนนี้เป็นพระเนื้อชินเงินผิวสนิมตีนกาออกสีดำๆ คล้ำๆ

วันนี้ผมได้นำรูปพระหูยานกรุวัดปืนพิมพ์เล็กจากหนังสืออมตพระกรุล้ำค่าของไทยมาให้ชม 2 องค์ ลองเปรียบเทียบร่องรอยการผลิตดูครับว่าจะเห็นว่าพระทั้ง 2 องค์มีเหมือนกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกันครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  

บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #137 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2563 14:23:58 »

.



แว่นขยาย 10 เท่า เอามาใช้พิสูจน์ พระแท้-ไม่แท้ได้อย่างไร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องการพิสูจน์ว่าพระนั้นๆ แท้หรือไม่ ก็มีข้อถกเถียงกันในสังคมพอสมควร ต่างฝ่ายต่างก็หาเหตุผลมาโต้แย้งกัน ยกตัวอย่างพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) สร้างไว้ที่วัดระฆังฯ หรือวัดบางขุนพรหม ก็มีข้อถกเถียงกันมาก อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นพระเครื่องที่มีผู้นิยมกันมาก มีสนนราคาสูงเป็นล้านบาท

ครับในเมื่อพระสมเด็จฯ มีค่านิยมสูง ก็ย่อมมีผู้ที่อยากจะมีพระสมเด็จฯ แท้ๆ ในครอบครอง ด้วยเหตุผลนานาประการ ไม่ว่าด้วยความศรัทธาหรือด้วยมูลค่าในพระสมเด็จฯ ต่างก็อยากให้พระที่ตนครอบครองนั้นแท้มีมูลค่ารองรับ แต่ในความเป็นจริงนั้นอาจจะไม่ใช่อย่างที่เราคาดหวัง พระของเรากลับไม่แท้ซะงั้น ถ้าแท้ก็ดีใจขายได้ แต่ถ้าไม่แท้ก็ผิดหวังขายไม่ได้ ก็เกิดมีกลุ่มที่มองมุมกลับหาเหตุผลโต้แย้งว่า พระที่เซียนไม่ซื้อหรือตีว่าเก๊นั้นอาจจะแท้ก็ได้ หาทฤษฎีต่างๆ มารองรับ อ้างสารพัด เช่นหาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่างๆ มาพิสูจน์ ใช้แว่นกำลังขยายเป็นพันเท่ามาส่องพิสูจน์ ก็ว่ากันไป และก็สรุปเหตุผลอ้างอิงมารองรับว่าพระองค์นี้แท้นะ แบบนี้แท้ เซียนพระไม่รู้จริงเลยตีเก๊ในปัจจุบันก็มีกลุ่มต่างๆ มากมาย เอาเฉพาะพระสมเด็จฯ ก็มีอยู่หลายกลุ่ม ต่างก็หาเหตุผลมารับรองพระของกลุ่มตนเอง ว่าแท้ ว่าใช้แบบโน้นแบบนี้ มีแม่พิมพ์ มีเอกสารต่างๆ ก็ว่ากันไปมากมายหลายแบบ

เอาล่ะทีนี้ มาดูเหล่าบรรดาเซียนพระที่เขารับซื้อองค์ละเป็นล้านๆ บ้าง ทำไมใช้แค่แว่นขยายมีกำลังขยายเพียง 10X เท่านั้นก็กล้าที่จะจ่ายเงินเป็นล้าน มีมาตรฐานการพิสูจน์อย่างไร ถึงกล้าจ่ายเงินเป็นล้านบาทได้ น่าคิดนะครับ เซียนพวกนี้มั่วหรือเปล่า? เงินเป็นล้านนะครับไม่ใช่หาง่ายๆ เขาจะกล้าจ่ายเงินออกไปโดยไม่มั่นใจหรือ ไม่มีหลักการในการพิจารณาพิสูจน์ความแท้-ไม่แท้หรือ? ผมว่าไม่น่าใช่นะ เขาต้องมีหลักในการพิสูจน์จนแน่ใจและมั่นใจในการจ่ายเงินเป็นล้านนะ เงินไม่ใช่น้อยๆ เรื่องการขายพระได้เงินเป็นล้านนั้น สำหรับคนที่เคยนำพระไปขายและขายได้ที่ไม่ใช่พวกเซียนเป็นคนนอกที่มีพระในครอบครอง แล้วนำไปขายได้เขาจะรู้ดีว่าเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่ละครแหกตา มันเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นจริง

ผมเองในสมัยที่เริ่มศึกษาพระเครื่องก็สงสัยเหมือนกัน และก็หาเหตุผลมาโต้แย้งอยู่นานหลายปี จนมาได้รับความรู้จากผู้ใหญ่ในสังคมพระเครื่องหลายท่านช่วยสอนแนะนำให้ จนได้รับความรู้ที่พอจะเข้าใจและแยกแยะพอได้ ก็ยอมรับเหตุผลในการพิสูจน์ที่มีมูลค่ารองรับ จนได้มีโอกาสพิสูจน์ความจริง ก่อนอื่นผมขอออกตัวก่อนว่าผมเองไม่ใช่เซียนพระ พอได้รับความรู้มาจากผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมพระฯ ก็ต้องพิสูจน์ความจริงและความรู้ที่ได้รับมา ก็ออกหาพระมาขายในสนามพระ (คำเรียกศูนย์พระเครื่องในสมัยก่อน) และก็ขายได้จริง ทั้งๆ ที่ผมเองก็ไม่ใช่เซียนพระ และพระก็หาเช่ามาจากตามบ้านคนธรรมดานี่แหละครับ แล้วก็ใช้แว่นขยายขนาด 10X ในการพิสูจน์ ตามหลักที่ได้รับความรู้มาก็ประสบความสำเร็จ

อ้าวแล้วทำไมต้องใช้แว่นขยายขนาดกำลังขยาย 10X เท่าที่ศึกษาดูเกือบทุกท่านที่เป็นเซียนพระก็ใช้กำลังขยายประมาณนี้ อาจจะมีแตกต่างบ้างก็เพียงยี่ห้อของแว่นขยายเท่านั้น แล้วทำไมไม่ใช้กำลังขยายให้มากกว่านี้ น่าจะดีกว่า ขยายได้มากกว่า ผมเองก็เคยทดลองและมีคำถามแบบนี้เช่นกัน และทดลองใช้ดูแล้วแต่ก็ต้องกลับมาใช้กล้องขยายแค่ 10X เท่าเดิม เหตุผลที่เขาใช้แว่นขยายนั้นไม่ใช่เพราะว่าต้องการขยายให้ได้ มากๆ เพื่อจะดูเม็ดมวลสารอะไร เป็นแร่หรือวัตถุอะไรใดๆ เลย ไม่เช่นนั้นก็คงจะต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กันเลยนะ หลักในการพิสูจน์ว่าใช่หรือไม่นั้น เขาพิสูจน์ว่าพระองค์นั้นๆ ผลิตออกในจากแม่พิมพ์อันเดียวกันหรือเปล่าเท่านั้น ร่องรอยการผลิตมีธรรมชาติการผลิตแบบเดียวกันหรือเปล่า เนื้อหาวัสดุที่นำมาใช้ในการสร้างนั้นเป็นประเภทเดียวกันหรือเปล่า ธรรมชาติความเก่าตามอายุขัยของพระนั้นๆ ถูกต้องใกล้เคียงกันหรือไม่ ก็เท่านั้น (รายละเอียดปลีกย่อยนั้นจะไม่ขอกล่าว) ดังนั้นการที่ใช้แว่นขยายกําลังสูงๆ ไม่มีประโยชน์อะไรเลย จะใช้เครื่องใดๆ ก็ต้องใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่จะใช้ด้วยจึงจะใช้งานได้ดีที่สุด ไม่อย่างนั้นก็คงใช้ขวานมาเหลาดินสอก็คงจะดีกว่ามีดอันเล็กๆ นะ สรุปว่าแว่นขยายกำลัง 10 เท่า เหมาะสมเพียงพอแล้วครับ แล้วที่ว่านำเอาเครื่องมือพิสูจน์อายุมาพิสูจน์ความเก่าก็ว่าไป เครื่องมือพิสูจน์อายุวัสดุนั้นในปัจจุบันก็แค่ใกล้เคียง คลาดเคลื่อนประมาณ 200-400 ปี และจะเอาระบุอายุวัสดุเป็นปีเลยนั้นใช่หรือ?

ครับที่เถียงกันว่าแท้-เก๊ ส่วนใหญ่ก็เพื่อมูลค่ารองรับทั้งสิ้น ก็ง่ายๆ เลย พิสูจน์แบบใดก็ได้ ถ้าแบบเซียนใช้แว่นขยายสิบเท่า ถ้าผลเขาบอกว่าแท้ก็ขายได้รับเงินกลับบ้าน ส่วนที่จะใช้เครื่องมือใดๆ พิสูจน์นั้นแล้วรับรองว่าแท้ ก็ขายเขาเลยดูสิว่าเขาจะรับซื้อหรือไม่ มีมูลค่าเป็นล้านจริงไหม? นี่ผมหมายถึงพระสมเด็จฯนะครับ ก็ลองดูครับพิสูจน์ง่ายมากครับว่าใครจริงใครเท็จ ผมคงไม่ชี้นะครับว่าแบบไหนถูกแบบไหนผิด ทดสอบเองได้เลยครับง่ายนิดเดียวครับ เลือกที่จะเชื่อเลือกที่จะคิดเองได้ครับ

มีอีกนิดครับ บางท่านว่ามาตรฐานสากลนิยมนั้นมีมาตรฐานจริงหรือ? มาตรฐานสากลนิยมก็หมายถึงถูกตามที่สังคมกำหนด และมีมูลค่ารองรับครับ แล้วมีมาตรฐานจริงหรือ ก็ต้องบอกว่ามีครับ และมีเหตุผลที่สามารถพิสูจน์ได้เป็นวิทยาศาสตร์ด้วย เพียงแต่เราเข้าถึงหรือไม่ ถ้าต้องการศึกษาจริงๆ และไม่ยึดตัวตนมากนัก มีความจริงใจที่จะศึกษา เขาก็พอจะถ่ายทอดความรู้ให้ได้ครับ และเป็นเหตุเป็นผลที่พิสูจน์ได้ไม่ยากด้วย สามารถศึกษาได้ทุกคน เพียงแต่เขาจะสอนให้หรือเปล่าก็ต้องดูที่ตัวเราด้วยว่าเรามีความจริงใจพอหรือเปล่า เศรษฐีที่เขาเช่าพระองค์ละหลายๆ ล้าน เขาก็คงไม่โง่นะครับ ไม่เช่นนั้นเขาก็คงประกอบอาชีพให้ที่มั่นคงและมีเงินพอที่จะเช่าหาพระองค์แพงๆ ได้ครับ

เอาล่ะครับวันนี้ผมนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และมีมูลค่ารองรับ หลายๆ ล้านมาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญหล่อหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่ง ที่มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าอันมีชื่อเสียง โด่งดังมากตั้งแต่อดีต และในวันนี้เราจะมาคุยกันถึงหลวงพ่อที่ชาวบ้านในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตมักเรียกท่านว่า "หลวงพ่อเสือ" ครับท่านก็คือพระครูอุตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตก ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าแก่ของนครปฐม ที่น่าค้นคว้าประวัติของท่านมาก เนื่องจากท่านเกิดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 จึงได้พบประวัติของท่านคลาดเคลื่อนไปบ้างก็มี การสืบค้นประวัติของท่านจากการบันทึกจากปากคำของศิษยานุศิษย์ของท่าน ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคต่อๆ มาอีกหลายรูป เช่น หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง พระครูพรหมวิสุทธิ์ (วงศ์) วัดทุ่งผักกูด พระอุปัชฌาย์เต๋ วัดสามง่าม เป็นต้น และค้นหลักฐานรูปถ่ายคู่กับ พัดยศ ระบุ ร.ศ.127 (พ.ศ.2452) ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป ก็พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้

หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ท่านเป็นชาวโพธาราม จังหวัดราชบุรี บางกระแสว่าโยมบิดาของท่านมีเชื้อสายมาจากทางเวียงจันทน์ จากการนับอายุจากปีที่ท่านมรณภาพก็พอสันนิษฐานได้ว่าท่านเกิดปี พ.ศ.2366 เมื่อท่านมีอายุ ได้ 6 ปี โยมบิดา มารดาได้นำท่านไปฝากเรียนหนังสือที่วัดโพธาราม จนอ่านออกเขียนได้ และพอท่านอายุได้ 15 ปี พ.ศ.2381 ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดโพธาราม โดยมีหลวงพ่อทาน เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น

จนกระทั่งท่านมีอายุครบบวช ปี พ.ศ.2386 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดบ้านฆ้อง (วัดฆ้อง) อ.โพธาราม ซึ่งในสมัยนั้นเป็นสำนักปฏิบัติธรรมและสอนวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ท่านก็ได้ อยู่จำพรรษาและศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมต่างๆ จาก พระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์มอญรูปหนึ่ง ซึ่งมีวิทยาคมกล้าแข็งมาก หลวงพ่อทาท่านเป็นผู้ที่ขยันใฝ่ศึกษาหาความรู้และปฏิบัติอย่างจริงจัง จึงเป็นที่รักใคร่ของพระอาจารย์ทั้งสองและถ่ายทอดวิชาให้ทั้งหมด ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดฆ้องอยู่หลายปี จนศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจนเชี่ยวชาญแล้วท่านจึงได้กราบขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ เพื่อออกธุดงค์ไปยังป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาวิเวกและปฏิบัติกรรมฐานต่อไป ท่านออกธุดงค์ไปกราบพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก และย้อนกลับ มากราบรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี อีกทั้งธุดงค์เข้าไปยังนครวัด นครธม ย้อนกลับมาเข้าประเทศพม่าถึงชเวดากอง ท่านธุดงค์ตามป่าเขาดงดิบอยู่หลายปี พบพระเกจิอาจารย์ในป่าที่มีจิตกล้าแข็งท่านก็ได้ศึกษาพุทธาคมด้วย จนถึงประมาณปี พ.ศ.2417 ท่านได้ธุดงค์มาถึงตำบลพะเนียงแตก (ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นตำบลมาบแค) ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้ 51 ปี ท่านได้พบสถานที่เป็นป่ารกชัฏนอกเมือง ท่านเห็นว่าเป็นที่วิเวก เหมาะแก่การเจริญภาวนาธรรม ท่านจึงได้ ปักกลดพักแรม และได้ทราบต่อมาว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นวัดที่ เจริญรุ่งเรืองมาก่อน แต่กลับมาเป็นวัดร้างรกเรื้อ ชาวบ้านได้มาพบท่านปักกลดพักจำวัดอยู่ที่นี่ จึงพากันขอนิมนต์หลวงพ่อทาจำพรรษาอยู่ที่วัดร้างแห่งนี้ ท่านก็อยู่จำพรรษาและได้พัฒนาวัดขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2430 พร้อมทั้งเสนาสนะต่างๆ และพระอุโบสถ นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างวัดอื่นๆ ในแถบนั้นอีกพร้อมๆ กัน คือ วัดบางหลวง วัดดอนเตาอิฐ และ วัดสองห้อง เป็นต้น หลวงพ่อทาท่านเป็น พระสงฆ์ที่ชาวบ้านรักและเคารพนับถือมาก ท่านอบรมสั่งสอนชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีพระ เณรมาบวชอยู่ที่วัดพะเนียงแตกมากมาย ท่านดำริจะสร้างอะไรก็มีชาวบ้านและศิษยานุศิษย์พร้อมใจกันร่วมสร้างให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หลวงพ่อทามีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีลูกศิษย์ไปทั่วทั้งในจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท เพชรบุรี ราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียงอีกมาก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงทราบถึงเกียรติคุณดังกล่าว จึงมีรับสั่งโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ อยู่เสมอๆ ดังจะเห็นได้ว่าพระราชพิธีหลวงต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้นิมนต์หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกเสมอ เช่นพิธี หลวงการพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยา ปวเรศวริยาลงกรณ์ ท่านก็ได้รับนิมนต์ด้วย และรับ ถวายพัด เนื่องในพิธีหลวงการพระศพดังกล่าว ซึ่งปรากฏรูปถ่ายของหลวงพ่อทาในปี พ.ศ.2452 พัดที่อยู่ทาง ด้านขวาของท่านเป็นพัดยศพุดตานปักลายใบเทศ รักร้อย และทางด้านซ้ายของท่านเป็นพัดรองการ พระศพ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเถระ 4 รูป เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์และเฉลิมพระเกียรติองค์พระปฐมเจดีย์ ประจําทิศทั้ง 4 คือ

1.พระครูอุตรการบดี ประจำทิศเหนือ พระเถระคือหลวงพ่อทา ได้รับการแต่งตั้งเป็นรูปแรกของตำแหน่งนี้

2.พระครูทักษิณานุกิจ ประจำทิศใต้ พระเถระคือหลวงพ่อเงิน วัดสรรเพชร

3.พระครูปริมานุรักษ์ ประจำทิศตะวันออก พระเถระคือ หลวงพ่อคต วัดใหม่

4.พระครูปัจฉิมทิศบริหาร ประจำทิศตะวันตก พระเถระคือ หลวงพ่อนาค วัดห้วยจระเข้

หลวงพ่อทาเป็นที่รักเคารพของประชาชนมาก และเป็นที่เกรงขามของบรรดานักเลงหัวไม้ทั้งหลาย ดังจะเห็นได้ว่างานวัดพะเนียงแตกในสมัยหลวงพ่อทานั้น ท่านไม่เคยขอให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือทางตำรวจมารักษาความสงบเลย และในสมัยนั้นในงานวัดทุกวัดก็จะเป็นการรวมพวกนักเลงหัวไม้ต่างถิ่นที่เข้ามาเที่ยวในงานวัดทุกวัด และมักจะมีเรื่องตีรันฟันแทงกันอยู่เนืองนิจ แต่ที่วัดพะเนียงแตกกลับไม่มีใครกล้าจะมีเรื่องในเขตวัดเลย หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เล่าให้ฟังว่า พวกนักเลงตำบลตาก้องกับตำบลพะเนียงแตกต่างก็ไม่ถูกกันเจอกันที่ไหนก็มักจะต้องมีเรื่องกันทุกที แต่ที่ในงานวัดพะเนียงแตกกลับไม่กล้าตีกัน เนื่องจากหลวงพ่อทาจะถือ ไม้พลองตรวจตราทั่วงาน เป็นที่ยำเกรงแก่พวกหัวไม้ ทั้งหลาย ขนาดคนเมาเอะอะพอเห็นหลวงพ่อเดินมาก็แทบจะหายเมาเลยทีเดียว ทุกคนต่างเคารพยำเกรง หลวงพ่อทามาก จนมักเรียกท่านว่า "หลวงพ่อเสือ" หลวงพ่อทาท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อปี พ.ศ.2462 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 76

วัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น ตะกรุด พระปิดตา ทั้งเนื้อสัมฤทธิ์และเนื้อเมฆพัด มีหลายแบบ ทั้งเกลอเดี่ยวและสามเกลอ เป็นต้น อีกทั้งเหรียญหล่อรุ่นแรกและรุ่นสอง ทุกอย่างล้วนเป็นที่นิยมทั้งสิ้นครับ

ในวันนี้ผมได้นำเหรียญหล่อรุ่นแรก ของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  


พระเครื่อง เล่นหาสะสมศรัทธาหรือพาณิชย์

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน การเล่นหาสะสมพระเครื่องนั้นมีมานานแล้ว เหตุผลในการเล่นหาสะสมก็แล้วแต่บุคคล มีทั้งที่เล่นหาสะสมด้วยความศรัทธาในองค์พระนั้นๆ เช่นศรัทธาในพระเกจิอาจารย์ที่สร้างหรือปลุกเสกพระเครื่องนั้นๆ สะสมเพราะเชื่อในพุทธคุณขององค์พระเพื่อให้ช่วยคุ้มครองหรือช่วยให้มีโชคลาภโภคทรัพย์ เล่นหาสะสมเพื่อการพาณิชย์คือซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้ผลกำไร เป็นต้น

ครับก็แล้วแต่เหตุผลของบุคคลนั้นๆ แต่การเล่นหาสะสมที่เป็นมาตรฐานก็มักจะอ้างอิงถึงมาตรฐานราคาอยู่ด้วยเสมอ เนื่องจากพระเครื่องนั้นมีมูลค่าราคามาเกี่ยวข้องนานมาแล้ว ก็อยากได้พระนั้นๆ มาครอบครอง แต่เจ้าของเขาหวงก็ต้องหาของมาแลกเปลี่ยนจนเขาพอใจ สิ่งที่ง่ายในการแลกเปลี่ยนที่สุดก็คือเงิน ซึ่งสามารถตีค่าราคาได้ง่ายที่สุด จะเท่าไรก็ว่ากันไป และก็อย่างที่บอกการเล่นหาสะสมนั้นก็มีประเภทที่ทำเป็นอาชีพแบบพาณิชย์คือ เป็นการเล่นหาซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนเป็นอาชีพ ก็เท่ากับเป็นตัวกลางในการเล่นหาสะสม คนที่นิยมสะสมศรัทธาอย่างเดียวไม่ได้เล่นหาเป็นอาชีพก็ต้องไปเสาะหากับผู้ที่เป็นตัวกลางในการเล่นหาสะสม ก็คือพ่อค้าหรือที่มักเรียกกันในสายอาชีพนี้ว่า "เซียนพระ"

เซียนพระทั้งหลายก็มักจะมีสถานที่ชุมนุมพบปะกันเป็นประจำ ก็เรียกกันว่า "สนามพระ" ในสมัยก่อน ต่อมาก็พัฒนามาอยู่ตามห้างสรรพสินค้า ก็เรียกกันใหม่ว่า "ศูนย์พระเครื่อง" ตามยุคสมัย ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คือสถานที่ชุมนุมกันของบรรดาเหล่าเซียนพระทั้งหลาย คนที่ชื่นชอบเล่นหาสะสมหรือคิดจะหาพระเครื่องที่เราสนใจหรือชอบก็ต้องไปที่ศูนย์พระต่างๆ เนื่องจากเป็นแหล่งที่รวมของการสะสมพระเครื่องชนิดต่างๆ เหล่าบรรดาเซียนพระทั้งหลายเขาก็จะมีการเล่นหาสะสมมีความเชี่ยวชาญเป็นประเภทๆ ไป ไม่มีใครจะเชี่ยวชาญไปซะทั้งหมด เพราะมีมากมายหลายชนิดจำกันไม่หมด ทีนี้แหล่าบรรดาเซียนทั้งหลายก็ย่อมมีอยู่หลายเกรดหลายชั้น เชี่ยวชาญมากน้อยแตกต่างกันไป นอกจากนี้ก็ยังมีเซียนเก๊หรือเก่งไม่จริง รู้ไม่จริงก็มีปะปนกันไป ก็เป็นธรรมดาของแหล่งชุมชนต่างๆ ก็มักจะเป็นเช่นนี้

เอาล่ะมาพูดกันถึงการเล่นหาสะสมกับพาณิชย์ เรื่องนี้จึงแยกกันไม่ออก อะไรก็ตามที่มีมูลค่าราคาก็ย่อมจะหนีไม่พ้นเรื่องการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยน พระเครื่องนั้นมีมูลค่าราคาหรือไม่ ก็ดูแค่การแสดงบัญชีทรัพย์สินของ นักการเมือง ป.ป.ช.ยังระบุว่าต้องแสดงบัญชีพระเครื่องด้วย ก็เห็นกันชัดๆ ว่าพระเครื่องนั้นมีมูลค่าราคา การเล่นหาสะสมจึงมักอ้างอิงมาตรฐานมูลค่าราคาเสมอ หมายความว่า พระเครื่องที่พิสูจน์ว่าแท้หรือไม่ ก็ต้องใช้มาตรฐานมูลค่าราคารองรับ แล้วใครเป็นผู้ตรวจสอบหรือรับรองในความใช่หรือไม่ของพระเครื่องนั้นๆ ก็คงไม่พ้นพวกเซียนครับ เพราะคนเหล่านี้เป็นผู้ที่มีอาชีพรับซื้อ-ขายโดยตรง ย่อมมีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพของเขา โดยเฉพาะพระยอดนิยมที่มีสนนราคาสูงๆ แล้วพอนำไปขายในศูนย์พระเครื่องกลับไม่มีใครสนใจขอซื้อเลย หรือไม่ยอมรับซื้อเลย ก็แสดงว่าพระองค์นั้นๆ ไม่มีมูลค่ารองรับก็น่าจะไม่ใช่พระที่เป็นมาตรฐานครับ

การเล่นหาสะสมจะด้วยศรัทธาหรือเพื่อความชอบก็ตาม ล้วนหลีกหนีมูลค่ารองรับไปไม่พ้น จะบอกว่าพระแท้ แต่คนอื่นบอกไม่แท้เขาไม่รับซื้อ แล้วว่าคนที่ไม่แท้นั้นเกิดทันหรือ ถ้าแบบนี้ก็ไม่จบแน่ แต่ถ้าเราคิดว่าพระของเราแท้แล้วเก็บไว้ศรัทธาของเราเองนั้นไม่มีปัญหาไม่มีอะไรผิด เพื่อนๆ ผมก็มีที่เล่นหาสะสมมาพร้อมๆ กัน แต่ความเชื่อของเขาไปผิดทาง ใครบอกใครเตือนก็ไม่ฟัง พอแก่ตัวก็คิดว่าจะนำพระที่สะสมไว้ไปขาย เพื่อนำเงินมาไว้ใช้สอยในยามแก่ตัว แต่กลับขายไม่ได้ ไม่มีใครรับซื้อ ก็หมายความว่าไม่มีมูลค่ารองรับ ต่อมาก็นำมาให้ผมช่วยซื้อช่วยขาย ผมเองก็ไม่รับก็เคืองผมอยู่พอสมควร และก็คงต้องกล้ำกลืนเก็บไว้ต่อไป ก็อย่างที่บอกครับการเล่นหาสะสมก็ควรจะอิงกับมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับ เพราะคนส่วนใหญ่เขาเชื่อว่าพระแบบนี้แท้ใช่ เราอยู่ในสังคมก็คงต้องใช้มาตรฐานตามนั้น ที่ว่าแท้มีมูลค่ารองรับครับ แต่ถ้าชอบแบบแท้อยู่คนเดียวก็ต้องเก็บไว้คนเดียวตามรูปแบบที่เราเชื่อครับ ไม่ต้องไปว่าใครโทษใครครับ

วันนี้ผมขอนำรูปพระนางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลก พิมพ์เขาโค้ง สวยๆ ถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่มีมูลค่ารองรับ เป็นหลักล้านมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



แท้มาตรฐานสากลมีมูลค่ารองรับ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน แท้ตามมาตรฐานสากล มีมูลค่ารองรับ เป็นอย่างไร ปัญหาเรื่องพระแท้กับพระปลอมนั้นความจริงก็มีมานานแล้วตั้งแต่ในสมัยก่อน แต่โดยส่วนใหญ่ก็จะพูดกันในวงแคบๆ เพราะพระแท้นั้นก็เป็นที่ยอมรับของคนที่เล่นหาและรับซื้อ ก็คือมีมูลค่ารองรับในกลุ่มสังคมของผู้ที่เล่นหาสะสมและรับซื้อรับเช่าหา ก็คือกลุ่มที่มักเรียกกันว่าเซียนพระ คนเหล่านี้ก็มักจะรวมตัวกันอยู่ในสถานที่ที่เรียกกันว่าสนามพระในสมัยก่อน ปัจจุบันอาจจะเรียกกันว่าศูนย์พระเครื่องอะไรทำนองนั้น ก็มีอยู่หลายแห่ง

ในปัจจุบันมีการให้เช่าพระเป็นอาชีพกันอย่างมากมาย ทั้งในรูปแบบออนไลน์ และในรูปแบบต่างๆ หลากหลายรูปแบบตามสังคมสมัยใหม่ ทีนี้ปัญหาเรื่องพระแท้กับพระไม่แท้หรือพระปลอมก็มีมากขึ้นตามมา มีการคืนพระแล้วไม่ยอมรับคืนเมื่อผู้ที่ซื้อไปนำไปเช็กดูจากที่ต่างๆ แล้วผลออกมาว่าส่วนใหญ่เขาว่าไม่แท้หรือไม่อยู่ในมาตรฐานในการซื้อ-ขาย ก็เป็นเรื่องเป็นราวกันไป แล้วปัญหานี้จะทำอย่างไร พิสูจน์กันอย่างไรว่าใช้มาตรฐานไหนชี้วัดว่าพระองค์นี้แท้หรือไม่อย่างไร นี่ก็เป็นปัญหาอีก เพราะต่างฝ่ายต่างก็ยกเอาเหตุผลต่างๆ ของตนเองมารองรับว่าเหตุผลของตนเองนั้นถูกต้อง เถียงกันไม่จบ

ถ้าผู้ซื้อซื้อพระไปแล้วไม่สบายใจนำมาคืน และคืนกันไปก็จบง่าย แต่ถ้าผู้ขายไม่ยอมคืนและไม่ยอมรับก็จบยาก เถียงกันไม่จบ ส่วนใหญ่เนื่องจากสนนราคาที่ขายไปนั้นมีมูลค่าสูง บางทีเป็นหลักล้าน ก็จะคืนยาก แล้วต่างฝ่ายต่างก็หาเหตุผลมาอ้างกันแต่ก็หาจุดจบไม่ได้ อีกฝ่ายอาจจะอ้างถึงรายละเอียดพิมพ์ เนื้อหามวลสารอะไรต่างๆ แต่ต่างฝ่ายก็อ้างไม่ตรงกันแล้วจะเอาอะไรมาเป็นข้อตัดสินชี้ขาด ฝ่ายหนึ่งเสียเงินเช่าหามาแล้ว แต่มีข้อสงสัยเพราะนำพระไปสอบถามดูหรือไปตรวจเช็กแล้วผลออกมาว่าไม่ใช่พระแท้ตามที่ตนคาดหวังตามที่เช่าหามา อีกฝ่ายหนึ่งผู้ขายได้เงินไปแล้วก็ ไม่ยอมรับคืน บ่ายเบี่ยงว่าพระของเขาแท้

ปัญหาพระเครื่องโดยเฉพาะพระยอดนิยมต่างๆ นั้น ที่ว่าแท้และมีมาตรฐานนั้นแท้อย่างไร เอามาตรฐานไหนมารองรับ และมีมาตรฐานจริงหรือไม่ ความจริงตั้งแต่ไหนแต่ไรมานั้นความหมายของคำว่าแท้-ไม่แท้นั้น เขาก็ยึดมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับ ใช่พระเครื่องที่เป็นที่นิยมนั้นมีการเล่นหาสะสมและมีสนนราคามูลค่ารองรับในการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนมานานนมแล้ว และก็มีกลุ่มที่เล่นหาสะสมที่รับเช่าหรือรับซื้ออยู่ก่อนปี พ.ศ.2500 เสียอีก สำหรับในกรุงเทพฯ เท่าที่ชุมนุมรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนก็มีตั้งแต่สมัยที่มีการชุมนุมกันอยู่ที่ใต้ถุนศาลท้องสนามหลวงก่อนปี พ.ศ.2500 และย้ายไปอยู่ในวัดมหาธาตุสนามหลวง แล้วก็ย้ายไปที่วัดราชนัดดา และตลาดท่าพระจันทร์

จนในปัจจุบันก็อยู่ตามศูนย์การค้าต่างๆ ตามลำดับ กลุ่มผู้ที่รับเช่ารับซื้อพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆ ก็มักจะเรียกกันว่าเซียนพระ เพราะเขามีความเชี่ยวชาญและรับเช่าหาเป็นอาชีพ เขาก็จะมีความรู้ความชำนาญว่าพระแบบไหนเป็นอย่างไร แล้วก็กำหนดมาตรฐานของพวกเขาเอง โดยเห็นพ้องต้องกันตามนั้น และถ้าพระเครื่ององค์นั้นๆ ถูกต้องตามที่เขากำหนดเขาก็จะรับซื้อ โดยมีมูลค่าตามที่เขาตั้งขึ้น ในด้านราคานั้นก็จะถูกกำหนดมาจากความต้องการของตลาด ก็คือมีผู้สนใจถามซื้อกันมากน้อยอย่างไร ถ้าเป็นที่นิยมถามหาเช่าซื้อกันมากและมีแรงซื้อสูงสนนราคาก็จะสูงขึ้นตามความต้องการของตลาด ก็เป็นเช่นเดียวกันกับสินค้าอื่นๆ ทั่วไป ซึ่งเป็นไปตามหลักความจริงของกลไกตลาดซื้อ-ขาย ถ้าไม่มีคนถามหาเช่าซื้อราคาก็ไม่สูง หรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ แต่ถ้ามีความต้องการของตลาดมาก แต่ผู้ที่รับซื้อเป็นคนกลาง ไม่กล้าเช่าซื้อในราคาสูงตามกลไกตลาด ก็มีคนอื่นมาแย่งซื้อไปขายต่อแน่นอน เพราะมันหมายถึงรายได้ผลกำไรในส่วนต่างนั้น

ครับทีนี้มาว่ากันที่มาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับ ที่เขาว่าแท้-ไม่แท้ แท้ก็คือมีมูลค่ารองรับในการซื้อ-ขาย แต่ถ้าไม่แท้ก็คือไม่มีมูลค่าราคารองรับในการซื้อ-ขาย มาตรฐานในการพิสูจน์ก็จะง่ายไม่ยาก พิสูจน์ดูว่ามีมูลค่าในการซื้อ-ขายหรือไม่เท่านั้นก็จบ ส่วนหลักการในการพิสูจน์ของพวกเซียนว่าแท้หรือไม่นั้นเขาก็มีของเขาแน่นอน เพราะเขาเอาเงินจำนวนมากมารับเช่าซื้อหาโดยไม่มีใครมารับผิดชอบให้ ต้องรับผิดชอบตัวเอง ถ้าดูผิดก็เสียเงินไปฟรีๆ ดังนั้น เขาก็ต้องมีหลักการในการพิสูจน์ของเขาแน่ และต้องเป็นที่ยอมรับต้องกันในสังคมของเขาด้วย ไม่ใช่แท้แต่ตัวคนเดียว ในกรณีที่ถามว่ามีมาตรฐานอย่างไร โดยละเอียดนั้นเขาก็คงไม่มาอธิบายหรือสอนให้หรอก นอกเสียจากว่าเขาจะยินดีหรือพอใจที่จะสอนให้เท่านั้น

สรุปคำว่าแท้-ไม่แท้ในสังคมพระเครื่องก็หมายความถึงมาตรฐานมูลค่ารองรับในสังคมพระเครื่อง สามารถซื้อ-ขายและเป็นที่ยอมรับในสังคมพระเครื่อง พระเครื่องที่เขาไม่ซื้อก็เนื่องจากไม่มีมูลค่ารองรับ ไม่ถูกต้องตามรูปแบบของสังคมของเขาก็เท่านั้น ไม่ต้องมาเถียงกันว่าแบบไหนถูกแบบไหนผิด ก็เขาไม่ซื้อก็เป็นเรื่องของเขา เราว่าของเราแท้ก็เก็บไว้ไม่ต้องไปโมโหโกรธาอะไรกับเขา ถ้าเราขายออกไปและว่าพระของเราแท้ถูกต้อง เมื่อขายออกไปก็คือมีมูลค่าตามที่เราขายออกไปแล้วทันที ก็ต้องรับรองในมูลค่านั้นๆ ไปเองก็จบ ไม่ต้องไปถกเถียงกันให้เสียเวลาเปล่าๆ นอกจากว่าจะมีผลประโยชน์แอบแฝงได้เสียกันแล้วไม่ยอมรับก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ

วันนี้ผมได้นำรูปพระรอด กรุวัดมหาวัน ลำพูน พิมพ์ตื้น เนื้อเขียว องค์สวยๆ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล มีมูลค่ารองรับ มาให้ชมกันครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



ท่านเจ้าคุณผล วัดหนังฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เจ้าคุณผล วัดหนังราชวรวิหาร เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังฯ และต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนังฯ สืบต่อจาก ท่านเจ้าคุณวิเชียรกวี เจ้าคุณผลบวชอยู่กับหลวงปู่เอี่ยม และได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมต่อจากหลวงปู่เอี่ยมจนเข้มขลัง และท่านได้สร้างวัตถุมงคลแจกให้แก่ศิษย์หลายอย่าง และวัตถุมงคลของท่านก็มีประสบการณ์มากมาย ปัจจุบันก็เริ่มหา ของแท้ยากแล้วครับ

ท่านเจ้าคุณผลเกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2437 ที่บ้านโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โยมบิดาชื่อแก้ว โยมมารดาชื่อยืน นามสกุลแก้วเพชร ในเยาว์วัยเรียนหนังสือที่วัดในตัวเมืองจังหวัดสมุทรสาครนั่นเองครับ ได้ศึกษา จนอ่านออกเขียนได้ ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม ต่อมาครอบครัวของท่านก็ได้ย้ายมาทำสวนอยู่ที่บางขุนเทียนใกล้กับวัดหนังฯ ในสมัยก่อนบางขุนเทียนเต็มไปด้วยสวนผลไม้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็มีอาชีพทำสวน ซึ่งมีทั้งสวนผลไม้ หมากพลู สวนมะพร้าว และสวนส้ม ท่านก็ได้ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพจนกระทั่งอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทที่วัดหนังฯ โดยมีพระครูภาวนาโกศลเถระ (หลวงปู่เอี่ยม) เป็นพระอุปัชฌาย์ และก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดหนังฯ ตลอดมา

ท่านเจ้าคุณผลได้ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐาน พร้อมทั้งวิทยาคมต่างๆ จากหลวงปู่เอี่ยมมาตลอด นอกจากนี้ยัง ได้ขออนุญาตหลวงปู่เอี่ยมออกธุดงค์ไปที่ต่างๆ อยู่เสมอ และหลังจากหลวงปู่เอี่ยมมรณภาพแล้ว ท่านเจ้าคุณวิเชียรกวีก็เป็นเจ้าอาวาส สืบแทน จนถึงปี พ.ศ.2503 ท่านเจ้าคุณวิเชียรก็มรณภาพอีก เจ้าคุณผลจึงได้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามาก มีผู้ถูก คุณไสยต่างๆ หรือเจ็บไข้ได้ป่วยต่างก็พากันมาให้รักษามากมาย ทั้งในด้านการสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ท่านก็ได้สร้างไว้หลายอย่าง ซึ่งมีทั้งพระปิดตาพิมพ์ต่างๆ ทั้งเนื้อตะกั่ว และเนื้อผงหัวบานเย็นก็มี พระชัยวัฒน์เนื้อโลหะผสมก็มี เหรียญรูปท่านซึ่งทำแบบ รูปทรงแบบเหรียญหลวงปู่เอี่ยมก็นิยมกันมาก นอกจากนี้ยังได้สร้างหมากทุยไว้ด้วย ปัจจุบันบางคนเล่นเป็นของหลวงปู่เอี่ยมไปแล้วก็มี พระเครื่องและของขลังที่ท่าน สร้างไว้มีพุทธคุณยอดเยี่ยม มีผู้คนเคยมีประสบการณ์ต่างๆ มาแล้วมากมายครับ ยิ่งด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีนั้นยอดเยี่ยม ขนาดบางคนถูกรุมตีจนสลบแต่ไม่เคยมี ใครมีแผลแตกเลยสักคนเดียว

ปัจจุบันพระเครื่องของท่านนั้นเริ่มหายากแล้ว ยิ่งหมากทุยแล้วแทบหาไม่ได้เลย เนื่องจากทำยากจึงทำให้มีจำนวนน้อยครับ แถมบางคนก็อย่างที่บอกตีเป็นของ หลวงปู่เอี่ยมเอาเสียเลยก็มีท่านเจ้าคุณผลมรณภาพเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 สิริอายุได้ 75 ปี พรรษาที่ 54

ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกและพระปิดตาของท่านมาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #138 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2563 14:27:45 »

.


เหรียญพระครูเหมสารคุณ

"พระครูเหมสารคุณ" หรือ "หลวงปู่ทองดี เตชธัมโม" เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมป่าช้าบ้านศาลาบ้านศาลา ต.โนนแดง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม พระเกจิที่มีวัตรปฏิบัติสมถะเรียบง่าย ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา

ปัจจุบันสิริอายุ 99 ปี พรรษา 27

นามเดิม ทองดี ทำดี เกิดเมื่อวันที่ 6 ส.ค.2464 ที่บ้านศาลา ต.โนนแดง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม

อายุ 17 ปี บรรพชาที่วัดในหมู่บ้าน พร้อมศึกษาวิทยาคมและวิปัสสนากัมมัฏฐาน กับญาครูแป พรหมสโร เจ้าอาวาส

เข้าพิธีอุปสมบท พ.ศ.2495 ที่พัทธสีมาวัดบ้านหนองขาม ต.ดอนงัว อ.บรบือ จ.มหาสารคาม โดยมีเจ้าอธิการพรมมีพรหมสโร เป็นพระอุปัชฌาย์

จากนั้นเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดเชตุดรวนาราม หรือสำนักเรียนวัดบ้านแดงน้อย ต.เมืองพะไล อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ

ด้วยความจำเป็นบางอย่างภายในครอบครัว จึงลาสิกขามาช่วยหาเลี้ยงครอบครัว

หลังจากใช้ชีวิตฆราวาสมาจนถึงปี พ.ศ.2536 เกิดความเบื่อหน่ายทางโลก ตัดสินใจเข้าพิธีอุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบ้านหัวขัว ต.โนนราษี อ.บรบือ จ.มหาสารคาม โดยมีพระครูประภัสร์วรคุณ วัดบ้านหัวขัว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นจำพรรษาที่วัดบ้านศาลา ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านศาลา

พ.ศ.2540 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ในราชทินนามที่ "พระครูเหมสารคุณ"

นำพาญาติโยมพัฒนาวัดบ้านศาลา จนเจริญรุ่งเรืองถาวรวัตถุมีครบหมด

พ.ศ.2553 ปลีกตัวเข้ามาจำพรรษาที่ป่าช้าด้านตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นป่าช้าเก่า มีความสงบร่มรื่นเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม ท่านจึงตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมป่าช้าบ้านศาลา เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จัดให้มีการปฏิบัติธรรมประจำปี ตามโอกาสในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และตามโครงการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

เนื่องจากมีอายุถึง 99 ปีแล้ว คณะศิษย์ นำโดย "อ๊อด ศิลาอาสน์" เห็นว่ามีอายุมาก ได้หารือกันเพื่อจัดหาปัจจัยตั้งเป็นกองทุนรักษาธาตุขันธ์ จึงจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือน รุ่นแรก

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงคล้ายเสมา มีหูไม่เจาะรู ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ด้านหลังเป็นอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้านใต้อักขระยันต์มีตัวอักษร เขียนคำว่า รุ่นแรก พระครูเหมสารคุณ (ทองดี) สำนักปฏิบัติธรรมป่าช้าบ้านศาลาบ้านศาลา อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ที่พื้นเหรียญตอกหมายเลขเรียงลำดับการสร้าง

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อนวะหน้ากากทองคำ 19 เหรียญ เนื้อเงินลงยา 32 เหรียญ เนื้อตะกั่ว 38 เหรียญ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นรวม 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ที่วัดบ้านกุดแคน จ.มหาสารคาม ครั้งที่ 2 ที่วัดบ้านหนองแดง จ.มหาสารคาม มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมพิธีจำนวนมาก และครั้งที่ 3 หลวงปู่ทองดี ปลุกเสกเดี่ยว ในคืนวันจันทร์พระจันทร์เต็มดวง
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์



พระนางพญาอกนูนเล็ก

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระเครื่องยอดนิยม และถูกจัดให้อยู่ในพระชุดเบญจภาคี ปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากมาก มีสนนราคาสูง พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางด้านเมตตามหานิยม พระนางพญาที่พบในกรุวัดนางพญานั้นมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ ได้รับความนิยมทุกพิมพ์ มูลค่ารองรับก็ลดหลั่นกันตามแต่ละพิมพ์ แต่ทุกพิมพ์ก็ยังมีมูลค่าสูงทุกพิมพ์

พระนางพญา กรุวัดนางพญา มีการถูกขุดพบโดยบังเอิญประมาณปี พ.ศ.2444 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทางจังหวัดได้จัดเตรียมการรับเสด็จที่บริเวณวัดนางพญา โดยการจัดสร้างปะรำพิธีรับเสด็จ พอคนงานขุดหลุมเพื่อปักเสาปะรำก็ได้พบพระเครื่องเนื้อดินเผาเป็นจำนวนมาก คือพระนางพญา ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสจึงได้นำไปเก็บรักษาไว้ เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาจึงได้นำพระส่วนหนึ่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

พระนางพญาที่ถูกขุดพบในครั้งนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ รูปทรงของพระทั้งหมดจะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม มีขนาดเล็กใหญ่ลดหลั่นกันลงไป ในสมัยก่อนจะแยกเป็นพระพิมพ์ใหญ่ ซึ่งก็มีขนาดเขื่องกว่าพระพิมพ์อื่นๆ เช่นพระนางพญาพิมพ์เป็นเข่าโค้ง พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ พระเหล่านี้จัดเป็นพระพิมพ์ใหญ่ พระที่มีขนาดย่อมลงมาหน่อยก็จะจัดเป็นพระพิมพ์กลาง คือพระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ ส่วนพระที่มีขนาดเล็กลงมาอีกก็คือ พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก และพระนางพญาพิมพ์เทวดา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพระพิมพ์อื่นๆ พระนางพญาพิมพ์เทวดา ในสมัยแรกๆ ก็เรียกกันว่าพระนางพญาพิมพ์อกแฟบ อันเนื่องมาจากพระพิมพ์เล็กด้วยกันมีพิมพ์อกนูนเล็ก ซึ่งมีลักษณะอกนูนเด่น ส่วนพระนางพญาพิมพ์เทวดามีอกที่ไม่นูนเด่นอย่างพระนางพญาอกนูนเล็ก ก็เลยเรียกเอาแบบง่ายๆ ว่าเป็นพิมพ์อกแฟบ แต่ต่อมาในหมู่นักเล่นหาสะสมเห็นว่าชื่อพิมพ์ดูไม่ไพเราะ จึงตั้งชื่อให้ใหม่เป็นพระนางพญาพิมพ์เทวดาที่ดูจะเหมาะสมกว่า

พระนางพญาอกนูนเล็ก ที่ตั้งชื่อนี้ก็เนื่องจากเอกลักษณ์ขององค์พระนั้นมีอกที่นูนเด่นแบบเดียวกับพระนางพญาอกนูนใหญ่ แต่พระนางพญาอกนูนใหญ่มีขนาดองค์พระใหญ่กว่า พระพิมพ์นี้ก็เลยเป็นชื่อพระนางพญาอกนูนเล็ก พระนางพญาอกนูนเล็กเป็นพระที่มีการตัดขอบค่อนข้างชิดองค์พระ รูปทรงจึงเป็นแบบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ค่อนข้างเรียว ขนาดขององค์พระมีขนาดเล็กกะทัดรัดน่ารัก เลี่ยมห้อยคอผู้หญิงจะสวยงาม พระนางพญาอกนูนเล็กสนนราคาย่อมเยากว่าพระนางพญาพิมพ์ใหญ่ต่างๆ แต่ก็ยังมีมูลค่าสูงอยู่เช่นกัน และก็หาแท้ๆ ยากด้วยเช่นกัน ของปลอมเลียนแบบนั้น มีมากมายหลายยุคมาแล้ว เนื่องจากเป็นพระที่นิยมและหายากมีสนนราคาสูง

พระนางพญาอกนูนเล็กเป็นพระนางพญาในตระกูลพระนางพญา กรุวัดนางพญาอีกพิมพ์หนึ่งที่หายากเช่นกัน พุทธคุณก็เฉกเช่นเดียวกันกับพระนางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลกทุกพิมพ์ครับ

ในวันนี้ผมนำรูปพระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก กรุวัดนางพญา องค์สวยที่มีมูลค่ารองรับถูกต้องตามมาตรฐานสากลมาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญหลวงปู่อิ่ม วัดศีลขันธาราม

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดศีลขันธาราม จังหวัดอ่างทอง ผู้สร้างวัดแห่งนี้มีความสัมพันธ์กับวัดเทพศิรินทร์ กทม. และมีเหรียญของวัดศีลขันธ์ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) อธิษฐานจิตอีกด้วย เหรียญนั้นก็คือเหรียญของพระครูขันตยาคม (หลวงปู่อิ่ม) ที่สร้างในปี พ.ศ.2472 เป็นเหรียญที่น่าสนใจเหรียญหนึ่ง สนนราคาก็ไม่สูงนัก แต่หายากครับ

พระครูขันตยาคม (อิ่ม) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2389 ที่บ้านคลองมะขาม ตำบลหัวลิง ปัจจุบันเป็นตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ท่านเป็นบุตรของคุณทวดอ่ำ และคุณทวดอำแดงขอม เมื่อตอนวัยเด็กได้เรียนหนังสืออยู่ที่วัดจุฬามณี บ้านคลองหงส์ อยู่กับหลวงลุงของท่านซึ่งเป็น เจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ จนอ่านออกเขียนได้ทั้งภาษาไทยและขอม แถมด้วยวิชาคงกระพัน และวิทยาคมต่างๆ จากหลวงลุงของท่าน พอ อายุได้ 16 ปีท่านมักจะถือกระบองเป็นอาวุธประจำกาย ท่านไม่ทำร้ายใคร เพียงแต่ชอบท้าพวกนักเลงหัวไม้เอากันพอเลือดออกเป็นยางบอนแล้วเลิกรากัน พอรู้แพ้รู้ชนะ มีคน ร่ำลือและเชื่อถือในฝีมือไปหลายคุ้งน้ำ หลวงลุงของท่านก็อดเป็นห่วงไม่ได้ ในปี พ.ศ.2405 จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเสีย และจำพรรษาอยู่ที่วัดจุฬามณี ท่านก็ได้ช่วยหลวงลุงของท่านตีเหล็กทำเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ท่านเป็นผู้ขยันและหมั่นเพียร มีเมตตากรุณาสูง ชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากอยู่เสมอ จนสามเณรอิ่มเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านกันทั้งบาง

ต่อมาเมื่อท่านมีอายุครบบวช หลวงลุงของท่านรู้จักมักคุ้นกับท่านเจ้าอาวาสวัดเขมาภิรตาราม นนทบุรี จึงนำท่านมาฝากเล่าเรียนบาลีและพระปริยัติต่อ และอุปสมบทที่วัดแห่งนี้ พระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์คู่สวดนั้นสืบค้นประวัติไม่ได้ว่าเป็นใคร หลวงปู่อิ่ม อยู่จำพรรษาและศึกษาอยู่ที่วัดเขมาฯ อยู่ระยะหนึ่งจึงได้ย้ายเข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดกันมายุตาราม กทม. และได้สนิทสนมกับท่านเจ้าคุณพระอมราภิรักขิต (เจริญ) ญาณวโร ต่อมาหลวงปู่อิ่มจึงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูขันตยาคม ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้อีกหลายพรรษา จนในปี พ.ศ.2441 วัดเทพศิรินทราวาสได้ว่างเจ้าอาวาสลง ท่านเจ้าคุณอมราภิรักขิต (เจริญ) จึงได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส และในปีนั้นเองท่านเจ้าคุณอมราภิรักขิต (เจริญ) ได้อาราธนาหลวงปู่อิ่มให้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพศิรินทร์ และกาลต่อมาท่านเจ้าคุณอมราภิรักขิต (เจริญ) ท่านก็ได้พระราชทานสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) หลวงปู่อิ่มจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพศิรินทร์ได้ 6 พรรษา ญาติโยมของหลวงปู่จึงอาราธนาหลวงปู่ให้ย้ายกลับมาสู่ภูมิลำเนาเดิม ท่านจึงได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์เกรียบ ฝั่งตรงข้ามกับบ้านญาติโยมของท่าน หลังจากนั้นท่านก็คิดว่าจะสร้างวัดธรรมยุตขึ้น ณ ฝั่งที่ญาติโยมของท่านอาศัยอยู่ ได้ออกบิณฑบาตแถวบ้านห้วยลิง และได้แวะ ณ ที่แห่งหนึ่ง เป็นดงสะแก บรรยากาศดี มี กระต่ายป่าวิ่งลัดเลาะอยู่ ท่านเดินเรื่อยมาก็เห็นว่าร่มรื่นภายใต้ต้นยางกับต้นตาล ท่านจึงปูผ้านั่งฉันเช้า เศษอาหารที่เหลือท่านก็ได้เอากองไว้ เจ้ากระต่ายก็มากิน และมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งเข้ามาสนทนากับหลวงปู่อิ่ม ท่านจึงบอกความประสงค์ที่จะสร้างวัดให้ญาติโยมทราบ ต่อมาอีกไม่นานปรากฏว่ามีญาติโยมมาถวายที่ดินหลายแปลง กราบนมัสการหลวงปู่และช่วยกันสร้างเพิงพักให้ท่าน ท่านก็เลยพำนักอยู่ ณ ที่ตรงนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2446 เป็นต้นมา พวกชาวบ้านก็ได้ร่วมมือกันสร้างวัด บ้างก็รื้อเรือนมาถวายให้สร้างกุฏิให้พระเณรได้อยู่จำพรรษา นำลูกหลานมาบวช ท่านก็พาไปบวชที่วัดเทพศิรินทร์ อีก 3 ปีต่อมาก็กลายเป็นวัด ชาวบ้านมักเรียกขานกันว่าวัดดอนกระต่ายบ้าง เนื่องจากมีกระต่ายป่าชุกชุม บ้างก็เรียกวัดสลักแกง บ้างก็เรียกวัดศีลขันธ์ เพราะเป็นที่อยู่ของผู้ทรงศีลและไปคล้องกับนามของหลวงปู่ คือ พระครูขันตยาคม ความศรัทธาในหลวงปู่ทวีขึ้นโดยลำดับ มีพระภิกษุสามเณรมากขึ้น และในปี พ.ศ.2449 วัดแห่งนี้ก็ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา นามว่าวัดศีลขันธาราม

หลวงปู่อิ่มท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2469 สิริอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 60 ประชุมเพลิงในปี พ.ศ.2470 และในปี พ.ศ.2472 ได้มีการบรรจุอัฐิหลวงปู่อิ่มและมีงานยกช่อฟ้า ชาวบ้านและคณะศิษย์จึงได้ จัดสร้างเหรียญที่ระลึกในงานนี้ด้วย และเหรียญนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ท่านได้กรุณาอธิษฐานจิตด้วยครับ เหรียญนี้จึงถือได้ว่าเป็นเหรียญเก่าและเป็นเหรียญรูปหลวงปู่อิ่มรุ่นแรก และเป็นเหรียญที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิษฐานจิต

ครับในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญรุ่นแรก ปี พ.ศ.2472 ของหลวงปู่อิ่ม มาให้ชมกันครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระกำแพง ซุ้มกอดำ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระยอดนิยมที่ถูกจัดอยู่ในพระเครื่องชุดเบญจภาคี สนนราคาค่านิยมสูงมาก เชื่อกันว่าพุทธคุณเด่นทางด้านโชคลาภโภคทรัพย์ เมตตา และแคล้วคลาด เรื่องโภคทรัพย์ทำมาค้าขายนั้นเชื่อกันว่ามีไว้จะช่วยให้ทำมาค้าขายได้เจริญรุ่งเรืองจนมีการพูดเป็นคำขวัญว่า "มีกูไว้ไม่จน"

พระกำแพงซุ้มกอเป็นพระที่ถูกขุดพบในบริเวณทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องที่พบในบริเวณทุ่งเศรษฐีนี้เชื่อกันว่าพุทธคุณเด่นทางด้านโชคลาภ โภคทรัพย์ทั้งสิ้น พระที่มีชื่อเสียงโด่งดังและนิยมกันมากก็มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงซุ้มกอ เป็นต้น พระกำแพงซุ้มกอที่ถูกขุดพบก็มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกระหนก พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระกำแพงพิมพ์ขนมเปี๊ยะ และพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ ไม่มีลายกระหนก พระส่วนใหญ่จะมีเนื้อเป็นแบบเนื้อดินเผา ที่พบเป็นเนื้อชินเงิน เนื้อว่านบ้าง แต่ก็พบน้อยมาก ที่นิยมส่วนใหญ่จะเนื้อดินเผา ซึ่งเป็นเนื้อดินละเอียดหนึกนุ่ม พระทุกพิมพ์มีมูลค่าสนนราคาสูงทุกพิมพ์ เนื่องจากหาพระแท้ๆ ยากมาก

สำหรับพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีลายกระหนก ในสังคมพระเครื่องมักเรียกกันว่า พระกำแพงซุ้มกอดำ เนื่องจากพระกำแพงซุ้มกอที่เป็นแบบไม่มีลายกระหนก เป็นพระเนื้อดินเผาที่ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะมีสีเป็นสีดำ ที่เป็นเนื้อสีน้ำตาลไหม้ก็มีบ้าง แต่พบน้อยมาก จึงมักเรียกกันว่าพระกำแพงซุ้มกอดำก็จะเข้าใจกันในหมู่ผู้นิยมพระเครื่องว่าเป็นพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกระหนก พระกำแพงซุ้มกอดำนี้มีพิมพ์ใหญ่เพียงพิมพ์เดียว ไม่มีพิมพ์กลางหรือพิมพ์เล็ก

พระกำแพงซุ้มกอที่เรียกกันอย่างนี้ก็เรียกกันตามรูปทรงขององค์พระที่มีขอบขององค์พระเป็นรูปทรงโค้งๆ คล้ายกับตัวอักษรตัวกอไก่ ก็ตั้งชื่อกันง่ายๆ ตามรูปลักษณ์ที่เห็น ส่วนชื่อพิมพ์ต่างๆ ก็ว่ากันไปตามขนาดและตามรูปลักษณ์อื่นๆ ส่วนคำว่ากำแพงก็ว่ากันตามจังหวัดที่ขุดพบ

พระกำแพงซุ้มกอดำเป็นพระที่เป็นพิมพ์ใหญ่ มีขนาดพอๆ กับพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีลายกระหนก ความนิยมเล่นหาก็เป็นรองพระกำแพง พิมพ์ใหญ่ มีลายกระหนกเล็กน้อย ความหายากก็หายากครับ พระแท้ๆ นั้นหายากมาก ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว หลากหลายฝีมือ ก็ว่ากันไป เพราะเป็นพระยอดนิยมมานมนานแล้ว มีมูลค่ารองรับ ถ้าเป็นพระแท้ๆ ก็มีผู้ยินดีจะเช่าหากันมาก สามารถนำมาขายแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราได้ตลอด สนนราคาก็สูงมาก ยิ่งสวยๆ ก็ยิ่งแพง

ครับพระแท้ๆ ที่สังคมวงการพระเครื่องให้การยอมรับนั้นจะสามารถซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนได้ตลอด เพราะมีมาตรฐานมูลค่ารองรับ ที่ผมพูดเรื่องมูลค่ารองรับบ่อยๆ นั้นเป็นเรื่องสำคัญของการเล่นหาสะสม เพราะเป็นมาตรฐานในการพิสูจน์ว่าใช่หรือไม่ โดยมีมูลค่าราคารองรับ ถ้าเป็นพระแท้ๆ ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมวงการพระเครื่อง ก็ย่อมมีมูลค่ารองรับเสมอ โดยเฉพาะพระที่เป็นพระนิยมของสังคม ยิ่งนิยมมากราคาก็ยิ่งสูงตามความนิยม

ส่วนพระที่ไม่ได้มาตรฐานสังคม ยอมรับก็ย่อมไม่มีมูลค่าราคารองรับ พูดแบบบ้านๆ ก็คือไม่มีใครรับซื้อ ถ้าเราจะเล่นหาตามสังคมส่วนใหญ่ก็ต้องเล่นหาตามแบบมาตรฐานที่สังคมเขายอมรับกัน แต่ถ้าไม่สนใจจะเล่นหาตามที่ตนคิดก็ไม่มีใครว่าอะไรครับ เก็บไว้คนเดียว อย่านำไปขาย ถ้านำไปขายแล้วเขาไม่รับซื้อ ก็อย่าไปกล่าวโทษหรือว่าคนอื่นเขาว่า "เกิดทันหรือ? จึงรู้ดีแท้ไม่แท้ ใช่ไม่ใช่" คำคำนี้ผมได้ยินบ่อยๆ ถ้าเราเชื่อว่าไดโนเสาร์มีจริงก็คงไม่ต้องไปเกิดทันในยุคนั้นนะครับ ก็ฝากไว้เป็นข้อคิดพิจารณาครับ

วันนี้ผมนำรูปพระกำแพงซุ้มกอดำที่มูลค่ารองรับถูกต้องตามมาตรฐานสากลสังคมยอมรับ มาให้ชมครับ  
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



พระกริ่งสุจิตโต วัดบวรฯ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งสุจิตโต หรือที่ในสังคมพระเครื่องมักจะเรียกกันว่า พระกริ่งบัวรอบ วัดบวรฯ เป็นพระกริ่งที่หายากมาก และเป็นพระกริ่งที่สร้างเป็นครั้งแรกของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 6 รอบ

พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นโอรสหม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์และหม่อมเอม ประสูติเมื่อ พ.ศ.2415 มีพระนามเดิมว่าหม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ ผนวชเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ.2430 พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตโต) วัดบรมนิวาศเป็นพระอุปัชฌาย์ ผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ.2435 พระพรหมมุนี (แพง กิตติสาโร) วัดมกุฏฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ทรงดำรงสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้

ปี พ.ศ.2439 เป็นพระญาณวราภรณ์

ปี พ.ศ.2446 เป็นพระญาณวราภรณ์ ตำแหน่งพระราชาคณะชั้นพิเศษ

ปี พ.ศ.2455 เลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามเดิม

ปี พ.ศ.2464 เลื่อนเป็นพระราชาคณะสมณศักดิ์เสมอตำแหน่งพระธรรมพิเศษ ในราชทินนามเดิม

ปี พ.ศ.2471 เลื่อนเป็นพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์

ปี พ.ศ.2488 ทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม

ปี พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกอบพระราชพิธีภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสถาปนาสมณศักดิ์และฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระสังฆราชพระอุปัธยาจารย์เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และถวายพัดแฉกมหาสมณุตมาภิเษก

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงปฏิบัติพระกรณียที่สำคัญๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการพระศาสนาและประเทศชาติหลายประการ พระกรณียสำคัญประการหนึ่งก็คือ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เมื่อคราวทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ยังทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระราชวงศ์ผู้ใหญ่อีกหลายพระองค์ มีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิจ เป็นต้น

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร 38 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.2501 พระชนมายุ 84 พรรษา

ในปี พ.ศ.2487 สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภานุพันธุ์ยุคล ได้ทรงจัดหล่อพระกริ่งขึ้นที่หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวรวิหาร ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2487 ตั้งพิธีสวดพุทธาภิเษกในพระอุโบสถ เวลา 9.08 น. สมเด็จทรงจุดเทียนชัยแล้วสวดมนต์ จบแล้วมีการสวดภาณวาร พุทธาภิเษกต่อเวลา 13.51 น. พระกริ่งที่หล่อคราวนี้เป็นครั้งแรกในสมัยที่ทรงครองวัด ทรงมีพระประสงค์ให้เรียกว่า "พระกริ่งสุจิตโต" ตามพระนามฉายาของสมเด็จฯ แต่ในสังคมพระเครื่องก็มักจะเรียกกันติดปากว่า "พระกริ่งบัวรอบ วัดบวร" เนื่องจากพุทธลักษณะของพระกริ่งรุ่นนี้ มีฐานเป็นกลีบบัวรอบฐานพระ การบรรจุเม็ดกริ่ง โดยการคว้านก้นเป็นโพรง บรรจุเม็ดกริ่ง แล้วปะกันด้วยแผ่นทองแดงบัดกรีด้วยตะกั่ว ก้นมักเป็นแอ่งบุ๋มตรงกลาง จำนวนการสร้างประมาณ 300 องค์

พระกริ่งสุจิตโต เป็นพระกริ่งที่หายาก เนื่องจากจำนวนการสร้างน้อย และเป็นที่หวงแหน ปัจจุบันสนนราคาค่อนข้างสูงครับ

ในวันนี้ผมได้นำพระกริ่งสุจิตโตจากหนังสือทำเนียบพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ โดยคุณมอนต์ จันทนากร มาให้ชมครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  



เหรียญมนต์พระกาฬ หลวงพ่อฟู

พระมงคลสุทธิคุณ หรือ หลวงพ่อฟู อติภัทโท เจ้าอาวาสวัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา พระเกจิที่ได้รับสืบทอดพุทธาคมจากครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อาทิ หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อบุญมา วัดอุทยานที จ.ชลบุรี, หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี, หลวงปู่เริ่ม ปรโม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นต้น

ปัจจุบัน สิริอายุ 97 ปี พรรษา 77

เกิดในสกุล ดวงดารา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 ธ.ค.2465 ที่บ้านบางสมัคร

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2485 โดยมีพระครูพิบูลย์คณารักษ์ (หลวงพ่อดิ่ง) วัดบางวัว เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาด้านคันถธุระที่วัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2487 จำพรรษาที่วัดอุทยานที จ.ชลบุรี เพื่อเรียนนักธรรมชั้นเอก

กระทั่งปี พ.ศ.2492 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค พ.ศ.2501 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอู่ตะเภา จ.ชลบุรี และตำแหน่งเจ้าคณะตำบลหนองไม้แดง จ.ชลบุรี

พ.ศ.2503 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2505 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา ว่างเว้นลง ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางสมัครจวบจนปัจจุบัน

พัฒนาวัดจนเป็นวัดที่ใหญ่โตและกว้างขวาง มีพระอุโบสถ ที่ใหญ่ที่สุดในเขต อ.บางปะกง พ.ศ.2543 ได้รับรางวัลเสมาธรรมจักรทองคำ สาขาเผยแผ่พระพุทธศาสนา

สืบทอดพุทธาคมจากครูบาอาจารย์ที่โด่งดังหลายรูป เช่น หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ที่เมตตาและถ่ายทอดวิชาให้ทั้งหมด

นอกจากนี้ หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี เป็นพระอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่หลวงพ่อฟูให้ความเคารพเป็นอย่างมาก

สืบเนื่องจากวัดจุกกะเฌอ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี มีโครงการก่อสร้างราวบันไดพญานาคหน้าอุโบสถ แต่ยังขาดปัจจัยดำเนินการอยู่จำนวนมาก ผู้มีจิตศรัทธา นำโดย นายอธิพัชร์ กนิษฐบุณยวินิจ จึงขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นมนต์พระกาฬ สมณาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนสร้างราวบันไดพญานาค

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อฟู ห่มจีวรเฉียงนั่งเต็มองค์ในท่ากัมมัฏฐาน ด้านล่างมีตัวอักษรเขียนว่า หลวงพ่อฟู อติภทฺโท และมีอักขระยันต์ จากด้านล่างวนขึ้นไปถึงใต้ห่วง พุทธคุณเด่นรอบด้าน

ด้านหลัง บริเวณใต้ห่วงเขียนว่า มนต์พระกาฬ บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปหนุมาน มีแปดกร ด้านล่างสุดเขียนว่า ๙๘ เป็นตัวเลขอายุหลวงพ่อฟู จากด้านขวาของเหรียญลงไปด้านล่างเขียนว่า วัดบางสมัคร จ.ฉะเชิงเทรา

จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทองคำลงยา เนื้อเงินบริสุทธิ์ เนื้อนวโลหะ เนื้อตะกั่ว เนื้ออัลปาก้า เนื้อชนวน เป็นต้น และชุดนำฤกษ์ รับพระ 5 องค์ สร้าง 29 ชุด ประกอบด้วย เนื้อเงิน อัลปาก้า ทองแดงผิวไฟ ทองแดงผิวรุ้ง ชุดของขวัญ รับพระ 5 องค์ และรายการลุ้นโชค ลุ้นเนื้อ เป็นต้น

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยหลวงพ่อฟู อธิษฐานจิตเดี่ยวที่วัดในเดือนเมษายน 2563 นี้
  ข่าวสดออนไลน์



พระปิดตาหลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูไพศาลธรรมวาที หรือ หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด พระเกจิอาจารย์ ที่ชาวอำเภอสามพรานเคารพนับถือมาก วัตถุมงคลหลายอย่างที่หลวงพ่อสร้างไว้ ล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย พุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านมหาอุดและแคล้วคลาด

พระครูไพศาลธรรมวาที หรือ หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด อ.สามพราน จ.นครปฐม เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2415 โยมบิดาชื่อมั่ง โยมมารดาชื่อเมือง อุปสมบทในปีพ.ศ.2435 โดยมีพระครูปริมานุรักษ์ วัดสุขประดิษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อรุ่ง วัดหอมเกร็ดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อแจ่ม วัดทรงคนอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปุญญัสสะ" หลวงพ่อห้อยได้เรียนวิทยาการต่างๆ จากพระอาจารย์ทั้งสามองค์นี้ นอกจากนี้หลวงพ่อห้อย ยังได้เรียนกับสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ตอนที่สมเด็จพระสังฆราชฯ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกษาจารย์ อีกด้วย

หลังจากที่หลวงพ่อห้อยบวชได้ประมาณ 3 พรรษา หลวงพ่อรุ่ง เจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ดก็มรณภาพ วัดหอมเกร็ดจึงว่างเจ้าอาวาส คณะศิษย์และมัคนายกวัดได้นิมนต์หลวงพ่อห้อยผู้เป็นศิษย์ เป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ด และก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ด วัดหอมเกร็ดนั้นแต่เดิมชื่อว่า "วัดหอมกรุ่น" ต่อมาหลวงพ่อห้อยได้พิจารณาเห็นว่า วัดหอมกรุ่นอยู่ไกลแหล่งน้ำ การคมนาคมไม่สะดวก และสภาพวัดทรุดโทรมมากท่านจึงปรึกษามัคนายกวัดในที่สุดจึงได้ย้ายวัดมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 500 เมตร

หลังจากที่ได้ย้ายวัดมาอยู่ริมแม่น้ำแล้ว หลวงพ่อห้อยก็ได้ร่วมสร้างพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ท่านได้สร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ท่านสนใจในเรื่องการศึกษาของเด็กชาวบ้านในแถบนั้นในปี พ.ศ.2462 จึงได้ให้เปิดศาลาการเปรียญสอนหนังสือให้แก่เด็กๆ โดยมีนายเทพ นาคนาเกร็ด เป็นครูใหญ่คนแรก และต่อมาในปี พ.ศ.2465 จึงได้สร้างอาคารเรียนขึ้น เป็นโรงเรียนชื่อว่า "ห้อยศึกษาลัย" จากผลงานและความสามารถของหลวงพ่อห้อย จึงได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูไพศาลธรรมวาที ต่อมาในปี พ.ศ.2481 หลวงพ่อห้อยก็ได้ขยายโรงเรียนขึ้นโดยการร่วมมือกับชาวบ้านและทางการจนเป็นโรงเรียนมาตรฐานชื่อว่า "โรงเรียนไพศาลประชานุกูล" หลวงพ่อห้อยท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2483 สิริอายุได้ 68 ปี พรรษาที่ 48

ในสมัยที่หลวงพ่อห้อยยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระปิดตามหาอุด เหรียญหล่อพระปิดตา พระว่าน และในปี พ.ศ.2465 คณะศิษย์ได้จัดงานฉลองสมณศักดิ์และสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้น ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้ราคาสูงมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตามาให้ชมกันครับ
  ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กุมภาพันธ์ 2563 14:29:17 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2303


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #139 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2563 14:30:08 »

.


พระปิดตาพระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สำนักวัดเขาอ้อ เมืองพัทลุงนั้นมีพระอาจารย์ที่เข้มขลังสืบทอดวิชาต่อๆ กันมาโดยตลอด วันนี้จึงขอนำเรื่องของพระอาจารย์ปาล และพระปิดตาของท่านมาเล่าสู่กันฟังครับ

พระอาจารย์ปาล เป็นลูกศิษย์ที่เรียนวิชาสายเขาอ้อรุ่นหลังพระอาจารย์เอียด และพระอาจารย์นำ ท่านได้เรียนวิชากับพระอาจารย์ทองเฒ่าไว้มากทีเดียว พิธีกรรมที่สำคัญๆ ของสำนักเขาอ้ออย่างเช่น พิธีอาบว่านแช่ยา พิธีป้อนน้ำมันงาหรือพิธีหุงข้าวเหนียวดำ ซึ่งจัดขึ้นในสมัยพระอาจารย์ทองเฒ่านั้น ก็มีพระอาจารย์ปาลคอยช่วยเหลือในการประกอบพิธีด้วยทุกครั้ง แล้วหลังจากที่พระอาจารย์ทองเฒ่ามรณภาพ พระอาจารย์ปาลท่านก็เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

พระอาจารย์ปาลนอกจากว่าท่านจะมีวิชาความรู้ ความเชี่ยวชาญในวิทยาคมของสายเขาอ้อแล้ว พลังจิตของท่านก็กล้าแข็งมากแววตาเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง สามารถกำหนดจิตให้เป็นสมาธิด้วยความรวดเร็วภายในอึดใจเดียว ที่กุฏิของท่าน ก่อนที่จะขึ้นกุฏิจะมีอ่างน้ำล้างเท้า และมีผ้าเช็ดเท้าเก่าๆ อยู่ผืนหนึ่งที่เอาไว้เช็ดเท้าก่อนขึ้นกุฏิ ท่านเคยฉีกผ้าเช็ดเท้านั้นมาริ้วหนึ่ง แล้วให้ลูกศิษย์นำไปลองเผาดู พอจุดไฟแช็กเผาอยู่นานจนร้อนมือ แต่ผ้าเช็ดเท้าหาได้ไหม้ไฟไม่ ยังความอัศจรรย์แก่ลูกศิษย์มาก และครั้งหนึ่งมีคนมาลองดี ท่านก็เอาผ้าจีวรของท่านไปแขวนไว้ที่ราวตากผ้า แล้วให้คนคนนั้นทดลองยิงดู ปรากฏว่ายิงจนหมดโม่ แต่ลูกปืนไม่ถูกผ้าจีวรของท่านเลย ลูกปืนตกอยู่ที่หน้าผ้าจีวรของท่านทุกนัด ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น หากวัดต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายของสำนักเขาอ้อ จัดพิธีกรรมคราวใดก็จะต้องนิมนต์ท่านอาจารย์ปาลไปร่วมพิธีทุกครั้ง

วัตถุมงคลที่พระอาจารย์ปาลสร้างไว้มีอยู่หลายอย่างเช่นตะกรุด ซึ่งมีชาวบ้านมาขอให้ท่านทำให้เสมอๆ ส่วนมากจะเด่นทางด้านคงกระพันชาตรี แต่ท่านมักจะพิจารณาทำให้เป็นรายๆ ไป และกำชับเสมอว่าคนที่เอาตะกรุดของท่านไป ห้ามมิให้ประพฤติผิดลูกผิด เมียชาวบ้านเป็นเด็ดขาด ส่วนพระปิดตาของท่านนั้น เริ่มสร้างตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2490 เป็นต้นมา การสร้างพระปิดตาของพระอาจารย์ปาลก็เหมือนกับการสร้างพระปิดตาของพระอาจารย์ทองเฒ่าและพระอาจารย์เอียด คือ เมื่อมีเวลาว่างและมีวัสดุพร้อม ท่านก็จะสร้างขึ้นทีละไม่มากนัก แล้วปลุกเสกแจกชาวบ้านไปเรื่อยๆ พอหมดแล้วมีเวลาว่างท่านก็จะสร้างขึ้นใหม่ พระปิดตาของพระอาจารย์ปาลนั้นท่านจะปลุกเสกเดี่ยว และการที่ท่านสร้างมาเรื่อยๆ นี้เอง จึงทำให้มีพระพิมพ์ต่างๆ อยู่หลายพิมพ์ แต่เนื้อหาและเอกลักษณ์ของพิมพ์ทรงก็บ่งบอกได้ว่าเป็นพระปิดตาสายเขาอ้อ พระปิดตาพระอาจารย์ปาลสามารถแยกแยะออกจากพระปิดตาของพระอาจารย์ทองเฒ่าและพระอาจารย์เอียดได้คือ พระปิดตาของ พระอาจารย์ปาลท่านจะมีพิมพ์ทรงป้อมๆ กว่า และเนื้อโลหะมักจะออกไปทางเนื้อขันลงหิน และทองผสม พุทธคุณเน้นหนักไปทางด้านอยู่ยงและแคล้วคลาดครับ

ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาพิมพ์ มหาอุดของพระอาจารย์ปาลมาให้ชมครับ
   ชมรมพระเครื่อง  แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์  
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 ... 5 6 [7] 8 9 10   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.351 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 07:18:08