[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 15:24:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รอบโลก "คนดัง"  (อ่าน 7815 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 กันยายน 2559 17:33:56 »

.





หวงเฟยหง
ปรมาจารย์กังฟูที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีน

"หวงเฟยหง" ในสำเนียงจีนกลาง หรือ "หว่องเฟฮง" ในสำเนียงกวางตุ้ง เป็นปรมาจารย์กังฟูที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีน มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีจากภาพยนตร์กำลังภายใน ในฐานะที่เป็นวีรบุรุษต่อสู้เพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีชาวจีนจากการคุกคามของชาวตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม และญี่ปุ่น เช่นเดียวกับ หงซีกวน และ ฮั่วหยวนเจี๋ย เขาเกิดเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ค.ศ.๑๘๔๗ ตรงกับปีที่ ๒๕ ในรัชสมัยฮ่องเต้เต้ากวงแห่งราชวงศ์ชิง (บ้างว่าเกิดเมื่อปี ค.ศ.๑๘๕๖ ตรงกับปีที่ ๖ ในรัชสมัยฮ่องเต้เสียนเฟิง) ที่หมู่บ้านหลูเจ้า ใกล้ภูเขาสีเฉียว เมืองฝอซาน มณฑลกวางตุ้ง เป็นบุตรของหวงฉีอิง ผู้นอกจากจะเป็นแพทย์แผนโบราณที่ได้รับการยกย่องนับถือ ยังเป็นปรมาจารย์กังฟู และเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม "๑๐ พยัคฆ์กวางตุ้ง" ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง

อย่างไรก็ตาม อาจารย์คนแรกที่ถ่ายทอดวิทยายุทธ์กำลังภายในให้หวงเฟยหงกลับมิใช่บิดา แต่เป็นลู่อาไฉ ผู้เป็นสหายร่วมสำนักเส้าหลินกับวีรบุรุษกังฟู หงซีกวน ลู่อาไฉถ่ายทอดวิชามวย "หงฉวน" ที่มีกระบวนท่ามีชื่ออย่าง "หมัดพยัคฆ์ดำ-กระเรียนขาว" ให้เขา และนอกจากได้ลู่อาไฉเป็นอาจารย์ ในวัยเยาว์ หวงเฟยหงยังได้ร่ำเรียนวิชาหงฉวนจากหลำฟกซิง รวมถึงการสั่งสอนเพิ่มเติมจากหวงฉีอิง ผู้เป็นบิดา ส่วนอาวุธที่เขาถนัดและเชี่ยวชาญที่สุดคือกระบองไม้ไผ่ หรือไม้พลอง กับสามง่าม

วัยเด็กครอบครัวของหวงเฟยหงฐานะยากจน ต้องตระเวนรอนแรมไปเปิดการแสดงวิชาฝีมือและขายยาตามท้องถนน ช่วงชีวิตวัยเยาว์ของเขาจึงเป็นระยะเวลาของการฝึกฝนวิชาต่อสู้ป้องกันตัว พร้อมไปกับการศึกษาสืบทอดวิชาแพทย์จากบิดา

ผ่านมาถึงยุคสร้างชื่อ หวงเฟยหงสร้างวีรกรรมลือลั่น ๒ ครั้ง ในช่วงเวลาที่เขาเปิดโรงเรียนสอนกังฟูทั้งที่ยังเป็นแค่วัยรุ่นคนหนึ่ง เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นเมื่อเขาอายุ ๑๖ ปี ชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่ง คิดกิจกรรมสร้างความบันเทิงให้ตัวเอง โดยฝึกฝนสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ดจนดุร้ายกระหายเลือด จากนั้นเปิดเวทีท้าประลองให้ชาวจีนสู้กับสุนัข ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลมูลค่าสูง แต่หากพลาดพลั้งบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็ถือเป็นคราวเคราะห์ ไม่มีผู้ใดรับผิดชอบ รายการนี้เป็นเรื่องโจษจันเกรียวกราว ผู้คนจำนวนมากเข้าประลอง ซึ่งล้วนแต่พ่ายแพ้ โชคดีก็แค่บาดเจ็บ แต่จำนวนไม่น้อยต้องตายอย่างไร้ค่า หวงเฟยหงจึงเข้าประลองเพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีจีน เขาชนะอย่างง่ายดายด้วยกระบวนท่า "ฝ่าเท้าไร้เงา" ไม้ตายประจำตัว

เหตุการณ์ที่ ๒ คือ เมื่อครั้งที่ท่าเรือฮ่องกงเพิ่งเปิดทำการ หวงเฟยหงในวัย ๒๑ ปี ไม่อาจทนเห็นชาวบ้านผู้ไร้หนทางต่อสู้ถูกพวกอันธพาลรุมรังแก เขายื่นมือเข้าขัดขวางด้วยการใช้กระบองไม้ไผ่เป็นอาวุธบุกเดี่ยวสู้กับฝ่ายตรงข้ามจำนวนหลายสิบคน กลายเป็นศึกตะลุมบอนอันลือลั่น (บริเวณที่เกิดเหตุดังกล่าว ปัจจุบันคือสวนสาธารณะที่ถนนฮอลลีวู้ด บนเกาะฮ่องกง) ผลการต่อสู้เขาอัดนักเลงบาดเจ็บไปหลายคน แต่ขณะเดียวกันตัวเขาเองก็ไม่อาจอยู่ในฮ่องกงได้อีกต่อไป ต้องเดินทางกลับกวางเจา

ช่วงชีวิตของหวงเฟยหงที่รู้จักแพร่หลายมากที่สุด ผ่านการบอกเล่าของภาพยนตร์จำนวนหลายเรื่อง คือชีวิตช่วงวัยประมาณ ๓๐ ปี เขาเป็นปรมาจารย์กังฟู และเป็นเจ้าของร้านขายยาและสถานพยาบาลเป่าจือหลิน ที่กลายเป็นตำนานคู่กับชื่อหวงเฟยหง ด้วยเหตุที่ให้การรักษาผู้เจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสำหรับผู้ยากไร้ บ่อยครั้งเป็นการเยียวยาพยาบาลโดยไม่คิดเงิน วิชาแพทย์ของหวงเฟยหงได้รับการยกย่องไม่น้อยหน้าวิชาการต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็นการต่อกระดูก ตำรับยาเฉพาะประจำตระกูล หรือการรักษาโดยวิธีการฝังเข็ม




ถึงช่วงปี ค.ศ.๑๘๘๘ ครั้งเขาเป็นแพทย์ เปิดร้านขายยาและสถานพยาบาลเป่าจือหลิน วันหนึ่ง นายพลหลิวหยงฟู่ ผู้บัญชาการกองธงดำ ประสบอุบัติเหตุขาหัก ได้รับการรักษาโดยหวงเฟยหงจนกระทั่งหายดี เป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพอันแน่นแฟ้นระหว่างบุคคลทั้งสอง หลิวหยงฟู่ชักชวนเขาเข้าเป็นหมอประจำกองทัพ ทั้งให้ฝึกวิชาต่อสู้ป้องกันตัวให้เหล่าทหารด้วย และต่อมาทั้งคู่ก็ได้เข้าร่วมสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นที่บุกรุกรานเกาะไต้หวัน

หวงเฟยหงผ่านการแต่งงานทั้งหมด ๔ ครั้ง มีลูก ๑๐ คน ภรรยา ๓ คนแรก เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เขาโทษตนเองว่าเป็นต้นเหตุแห่งเคราะห์ร้ายของคนที่ตนรักและตัดสินใจว่าจะไม่แต่งงานอีก แต่แล้วในปี ค.ศ.๑๙๐๓ เขาได้พบกับสาวน้อยวัย ๑๖ ชื่อ มอกไกวหลาน (หรือ ม่อกุ้ยหลาน) ต่างตกหลุมรักซึ่งกันและกันจนนำไปสู่การแต่งงานในที่สุด

บั้นปลายชีวิตหวงเฟยหง เกิดเหตุการณ์สะเทือนจิตใจเขาอย่างรุนแรง เดือนมีนาคม ๑๙๒๔ เกิดเหตุจลาจลในย่านการค้าของกวางเจา ห้างร้านจำนวนมากถูกทำลายเสียหายยับเยิน รวมทั้งร้านเป่าจือหลินที่ถูกเผาวอด และก่อนหน้านั้น หว่องฮอนซัม บุตรชายคนโตของหวงเฟยหง เสียชีวิตในการทะเลาะวิวาทกับแก๊งค้ายาเสพติด (ข้อมูลบางแหล่งแย้งต่างกันมาก แต่ที่น่าจะถูกต้องที่สุดคือ เหตุดังกล่าวเกิดใน ค.ศ.๑๘๙๐) การสูญเสียบุตรชาย ทำให้หวงเฟยหงประกาศไม่ถ่ายทอดวิชาฝีมือให้แก่ลูกหลานของตน จะสอนให้เฉพาะลูกศิษย์เท่านั้น

หวงเฟยหงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ค.ศ.๑๙๒๔ สิริอายุได้ ๗๖ ปี หลังจากนั้น มอกไกวหลานพร้อมด้วยลูกศิษย์ ๒ คน คือ หลินจี้หลง และ ตั่งเซาขิ่ง พากันอพยพไปยังฮ่องกง ตลอดชีวิตหวงเฟยหงมีลูกศิษย์ ๑๘ คน (ตั่งเซาขิ่งเป็นคนเดียวที่เป็นผู้หญิง) ว่ากันว่าคนที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาในทุกด้าน ทั้งวิชากำลังภายใน วิชาแพทย์ และการเชิดสิงโต คือ เหลิงฟุน แต่โชคร้ายที่ศิษย์เอกรายนี้เสียชีวิตตั้งแต่อายุเพียง๒๐ ต้นๆ ส่วนศิษย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดคือ หลินซื่อหลง

ต่อมาหลินซื่อหลงได้เปิดสำนักขึ้นที่ฮ่องกงและเขียนตำราหมัดมวยที่สำคัญหลายเล่ม รวมทั้งเป็นผู้มีบทบาทในการถ่ายทอดเผยแพร่วีรกรรมของอาจารย์

หลังจากหวงเฟยหงเสียชีวิต เรื่องราวของเขาก็ได้รับการนำมาถ่ายทอดเป็นนวนิยายตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับ และเป็นที่นิยมในวงกว้าง มีการแต่งเติมสีสันเพิ่มจินตนาการต่างๆ มากมาย จนกระทั่งเรื่องราวของหวงเฟยหงกลายเป็นตำนานพิสดารในวัฒนธรรมร่วมสมัย

กระทั่ง ค.ศ.๑๙๔๙ เรื่องราวเกี่ยวกับหวงเฟยหงได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรก ในชื่อ Huang Fei-hong zhuan: Bian feng mie zhu โดยมี กวานตั๊กฮิง ผูกขาดรับบทเป็นหวงเฟยหงถึง ๗๗ เรื่อง (กินเนสส์บุ๊กบันทึกไว้ว่า เขาเป็นนักแสดงที่รับบทเป็นตัวละครเดิมมากที่สุดในโลก) ถึงขั้นว่าในชีวิตจริงมีผู้คนจำนวนมากเรียกขานเขาว่า อาจารย์หวง

จนถึงปัจจุบัน เรื่องราวของหวงเฟยหงถูกสร้างเป็นภาพยนตร์และซีรีส์มาแล้วนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาพยนตร์ชุด Once Upon a Time in China ที่มีอยู่ด้วยกันถึง ๖ ภาค ตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๙๑-๑๙๙๗ นักแสดงผู้รับบทหวงเฟยหงคือ หลี่เหลียนเจี๋ย และ จ้าวเหวินจั๋ว เป็นนักแสดงผู้รับบทหวงเหยฟงในภาคที่ ๔ และภาคที่ ๕ และในแบบซีรีส์
  หนังสือพิมพ์ข่าวสด








ร้อยตรี ยอด สังข์รุ่งเรือง
ทหารผ่านศึกสงครามโลก ๑

ภาพที่ปรากฏแก่สายตาท่านผู้อ่านขณะนี้ คือ อนุสาวรีย์ขนาดกะทัดรัด อยู่บริเวณหน้าโรงละครแห่งชาติ และภาพถัดมา คือ ร้อยตรี ยอด สังข์รุ่งเรือง ทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ ๑ คนสุดท้ายของไทยที่เสียชีวิตลงเมื่อ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๖ ครับ ไม่ต้องเล่าย้อนประวัติศาสตร์ให้เสียเวลาครับ…สรุปว่าฝรั่งในยุโรปแข่งกันเป็นใหญ่ แค้นฝังหุ่นกันมานาน แบ่งเป็น ๒ พวกชัดเจน เกิดการลอบสังหารบุคคลสำคัญของออสเตรีย จนเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่สงครามระเบิดขึ้น วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๕๗ ตรงกับรัชสมัยในหลวง ร.๖ ในช่วงแรกสยามประกาศวางตัวเป็นกลางไม่สนับสนุนฝ่ายใด

๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐ หลังจากทางการสยามเฝ้ามองสถานการณ์ในยุโรปที่เค้ารบกันมาราว ๓ ปี รัฐบาลจึงตัดสินใจประกาศสงครามกับเยอรมัน กระทรวงกลาโหมประกาศรับสมัครชายหนุ่มเพื่อไปทำสงครามในยุโรป มีคนมาสมัคร ๑,๓๘๕ คน คัดแล้วเหลือ ๑,๒๘๔ คน

นายทหารหนุ่ม ๓ ท่านจากสยามที่ไปฝึกเป็นนักบินรบมาจากฝรั่งเศสคือ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนี สุรรณประทีป) ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) และร้อยโททิพย์ เกตุทัต ผู้มีความคุ้นเคยกับกองทัพฝรั่งเศสเป็นอย่างดี จึงทำหน้าที่เป็นมันสมองวางแผนการส่งกองทหารไปร่วมรบในฝรั่งเศส

พลตรีพระยาพิไชยชาญฤทธิ์ (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ผู้บัญชาการกองพลที่ ๔ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นหัวหน้าทูตทหารออกเดินทางเป็นส่วนล่วงหน้าไปฝรั่งเศสเพื่อเตรียมการเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๐ ส่วนนายทหารชั้นรองลงไป มีพันโทพระทรงสุรเดช พันโทหม่อมเจ้าฉัตรมงคล พันตรีหม่อมเจ้าอมรทัต เป็นผู้ช่วยหัวหน้าทูตทหาร

มีนายทหารประสานงานอีก ๘ นาย คือ ร้อยเอกสาย บุณณะภุม ร้อยโทเมี้ยน โรหิตเศรนี ร้อยตรี ม.ร.ว.ตัน สนิทวงศ์ ร้อยตรีกมล โชติกเสถียร ร้อยตรีเภา เพียรเลิศ ร้อยตรีภักดิ์ เกษสำลี ร้อยตรีชั้น ช่วงสุคนธ์ และร้อยตรีวัลย์

กองทหารอาสาจากสยามที่ผ่านการฝึกเบื้องต้นแล้ว (กำลังส่วนใหญ่) ออกเดินทางด้วยเรือจากท่าราชวรดิษฐ์เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๖๑ โดยเรือศรีสมุทรและเรือกล้าทะเลลำเลียงทหารอาสาไปส่งที่เกาะสีชัง เรือเดินสมุทรชื่อเอ็มไพร์ของฝรั่งเศสลำเลียงทหารกล้าออกจากน่านน้ำสยาม เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๖๑ ใช้เวลาเดินทาง ๔๑ วัน ถึงเมืองมาแซลล์ จากนั้นกองทหารจากสยามแยกย้ายกันไปคนละทิศคนละทาง

ทหารอาสาที่เป็นหน่วยบินทหารบกจากสยามยังไม่พร้อมบินรบ กองทัพอากาศฝรั่งเศสจับฝึกให้ใหม่ แยกเป็นนักบินฝึกทิ้งระเบิดไปที่ เมืองเลอโครตัว (Le Crotoy) ฝึกบินลาดตระเวนไปที่เมืองชับแปลลาแรนน์ (Chapelle – La – Reine) ฝึกบินทำการรบไปที่เมืองปิออกซ์ (Piox) และฝึกพลปืนประจำเครื่องบินที่เมือง บิสคารอส (Biscarosse)

โรงเรียนการบินกองทัพฝรั่งเศสฝึกและทดสอบเด็กหนุ่มจากสยาม ผลปรากฏว่าผ่านเกณฑ์เป็นนักบิน ๙๕ นาย พอฝึกจบหลักสูตรได้ ๑ สัปดาห์ กำลังจะออกทำการรบซะหน่อย เยอรมันดันยอมแพ้สงคราม

ส่วนทหารเหล่าขนส่งและทหารเสนารักษ์ของสยามถูกส่งไปในสนามรบทางตะวันตกของฝรั่งเศสทันทีโดยไม่ต้องฝึกไม่ต้องหัด ถือว่าเป็นมืออาชีพ ทหารเสนารักษ์จากสยามได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธภูมิอาค์กอนน์ (Argonne) และชองปาญญ์ (Champagne) ที่กำลังสู้รบและสูญเสียอย่างหนัก สงครามโลกครั้งที่ ๑ รบราฆ่าฟันกันในยุโรปนาน

๔ ปี เมื่อสงครามยุติลงเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๑ คาดว่ามีคนตายไปราว ๔๐ ล้านคน ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่ชนะสงครามรวมทั้งทหารเหล่าขนส่งและและหน่วยบินของสยาม ได้รับเกียรติไปเดินสวนสนามเท่ระเบิดที่ปารีส ลอนดอน และบรัสเซลล์ (สวนสนามฉลองชัยชนะใน ๓ เมือง) พร้อมธงชัยเฉลิมพล หลังเสร็จพิธีอวดธงไทยใน ๓ ประเทศ กองทหารอาสาจากสยามเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒ ในหลวง ร.๖ เสด็จมาต้อนรับกำลังพล

ทหารเสนารักษ์จากสยามต้องถอนตัวออกจากฝรั่งเศสเดินทางกลับมาตุภูมิเป็นหน่วยสุดท้าย ฝรั่งเรียกว่า First In – Last Out สงครามยุติลงแล้ว แต่ทหารที่บาดเจ็บที่ต้องดูแลต่ออีกจำนวนมหาศาล เป็นที่น่าเสียดายที่ทหารเสนารักษ์หมวดนี้เลยไม่ได้ไปเดินสวนสนามฉลองชัยชนะลอดใต้ประตูชัยในกรุงปารีส

ข้อมูลที่ได้เพิ่มเติมอีกประการหนึ่งจากต่างประเทศคือ หมวดทหารเสนารักษ์จากสยาม แต่ไม่ทราบจำนวนและไม่มีรายละเอียด น่าภูมิใจนะครับ

พันเอกพระเฉลิมอากาศ (สุนี สุวรรณประทีป) นายทหารที่สำเร็จหลักสูตรการบินจากฝรั่งเศสเป็น ผบ.กองทหารอาสา กองทหารที่ส่งไปร่วมรบในครั้งนี้ แบ่งเป็น ๒ กอง และ ๑ หมวดพยาบาล คือ

๑.กองบินทหารบก (ปัจจุบัน คือกองทัพอากาศ) มี พ.ต.หลวงทยานพิฆาต (ทิพย์ เกตุทัต) เป็น ผบ.กองบิน

๒.กองทหารบกรถยนต์ (ปัจจุบัน คือกรมการขนส่งทหารบก) มี ร.อ.หลวงรามฤทธิรงค์ (ต๋อย หัสดิเสวี) เป็น ผบ.กองบิน

๓.หมวดพยาบาล มี ร.ต.ชุ่ม จิตต์เมตตา เป็น ผบ.หมวด

ในกองบินใหญ่แต่ละกอง มีนายทหาร นายสิบ และพลทหาร นักบิน ช่างเครื่องยนต์ แพทย์และพลพยาบาล ประมาณ ๑๓๕ คน รวมทั้ง ๓ กองบินใหญ่ มีกำลังพลประมาณกว่า ๕๐๐ คน

กองทหารบกรถยนต์ (เหล่าทหารขนส่ง) มีกำลังพลทั้งหมดประมาณ ๘๕๐ คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ๘ กอง แต่ละกองมีนายทหาร นายสิบ และพลทหาร ประมาณ ๑๐๐ คน

รายชื่อของทหารอาสายังคงเก็บรักษาไว้ในสมุดขนาดมหึมาในห้องสมุด กระทรวงกลาโหมครับ (ตามภาพ) และหนึ่งในนั้นทหารอาสาคือ พลทหาร ยอด สังข์รุ่งเรือง

ย้อนอดีตกลับไปครั้งเมื่อกระทรวงกลาโหมประกาศรับทหารอาสาไปร่วมรบ เด็กหนุ่มชื่อนาย ยอด สังข์รุ่งเรือง อายุประมาณ ๒๐ ปี จากจังหวัดพิษณุโลก เป็นคนหนึ่งที่เข้ามาสมัครไปรบในยุโรป พลทหาร ยอด ได้รับคัดเลือกให้ไปทำงานในกองบินทหารบก เมื่อขึ้นบกที่ฝรั่งเศส พลทหาร ยอด ถูกส่งไปทำงานในตำแหน่งช่างเครื่องของหน่วยบินฝรั่งเศส ที่เมืองยีงกีร์รัง และต่อมาย้ายไปที่เมืองอาร์วอย ปฏิบัติงานอยู่ ๑ ปี สงครามจึงยุติลง

วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒ เรือเดินสมุทรกลับถึงสยาม กำลังพลทุกนายรวมทั้งพลทหาร ยอดฯ ได้มีโอกาสเข้ารับพระราชทานเหรียญสมรภูมิจากพระหัตถ์ของในหลวง ร.๖ จากนั้นปลดประจำการเป็นทหารกองหนุน พลทหาร ยอด สร้างเนื้อสร้างตัวใน ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ทำนาด้วยความขยัน มานะ อุตสาหะ จนได้รับเลือกเป็นชาวนาดีเด่นและได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๒ ต.ท่าโพธิ์ ต่อมาอีก ๓ ปีได้รับตำแหน่งเป็นกำนัน ต.ท่าโพธิ์ และได้รับเลือกเป็นกำนันดีเด่น ปฏิบัติงานจนอายุครบ ๗๐ ปี จึงได้ลาออกจากกำนัน

สงครามโลกครั้งที่ ๑ ยุติลงไปแล้ว ๘๐ ปี รัฐบาลฝรั่งเศสติดตามตรวจสอบหาทหารจากทุกประเทศที่เคยเข้าไปร่วมรบช่วยฝรั่งเศสกู้ชาติ เพื่อขอมอบอิสริยาภรณ์ ทางราชการไทยตรวจสอบแล้วพบว่ามีทหารผ่านศึกสงครามโลกที่ ๑ ชื่อ ยอด สังข์รุ่งเรือง เหลืออยู่ที่ จ.พิษณุโลกเพียงคนเดียว

ฯพณฯ เจอร์ราด โคสต (Gerard Coste) เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เป็นผู้แทนของ ฯพณฯ ฌากส์ ชีรัก ปธน.ฝรั่งเศส ได้เดินทางไปมอบเครื่องอิสริยาภรณ์เลจิย็องด็อนเนอร์ (de la Legion d’ honneur) ระดับชั้นอัศวิน (Chevalier) ของรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งมอบให้แก่นักรบสมัยสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกประเทศ เพื่อตอบแทนความดีงาม พลทหาร ยอด สังข์รุ่งเรือง เป็นทหารไทยเพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีอายุครบ ๑๐๐ ปีพอดีในพุทธศักราช ๒๕๔๒

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศร้อยตรี แก่ พลทหาร ยอด สังข์รุ่งเรือง เป็นกรณีพิเศษ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ โดยพิธีในค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พิษณุโลก

ร้อยตรี ยอด สังข์รุ่งเรือง เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๖ เมื่ออายุ ๑๐๔ ปี

พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก - มติชนออนไลน์



Gordon Ramsay

กอร์ดอน แรมเซย์- เชฟรวยสุดในโลก

เหลือเชื่อไหมล่ะ!! เชฟปากจัดอารมณ์ร้ายอย่าง “กอร์ดอน เจมส์ แรมเซย์” มีรายได้รวยอู้ฟู่เท่ากับศิลปินดังระดับโลก “บียอนเซ่ โนวส์” ปี ๒๐๑๖ ทั้งคู่ได้รับการจัดอันดับจากฟอร์บส์ให้เป็นคนดังอันดับที่ ๓๔ จาก ๑๐๐ ของโลกที่มีรายได้สูงสุด โดยหาเงินเข้ากระเป๋าเป็นกอบเป็นกำถึง ๕๔ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ทั้งคู่ไม่มีอะไรเหมือนกันสักอย่าง ยกเว้นสิ่งเดียวคือความขยันและมุ่งมั่นทำงานหนักเพื่อถีบตัวเองสู่ความสำเร็จ “บียอนเซ่” เคยให้สัมภาษณ์กับฟอร์บส์ว่า ในอุตสาหกรรมเพลง ฉันยังไม่เคยเจอใครทำงานหนักเท่าฉันสักคน!! นางไม่ได้โม้เกินจริง เพราะเป็นเจ้าแม่โปรเจกต์เบอร์ต้นๆ แถมเดินสายทัวร์คอนเสิร์ตไม่หยุดหย่อน เฉพาะอัลบั้มล่าสุด “Lemonade” นางจัดคอนเสิร์ตไปแล้ว ๑๙ โชว์ โดยแต่ละโชว์ทำเงินไม่ต่ำกว่า ๓.๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งขยันทั้งอึดขนาดนี้จะไม่ให้รวยยังไงไหว นี่ไม่นับรวมค่าตัวถ่ายโฆษณาแบรนด์ดังระดับโลก เช่น ลอรีอัล, เป๊ปซี่ และ Topshop

ในฐานะเชฟคนเดียวที่ติดโผ ๑ ใน ๑๐๐ คนดังของโลกที่มีรายได้สูงสุดในปี ๒๐๐๖  “กอร์ดอน แรมเซย์” สร้างความมั่งคั่งให้ตัวเอง เพราะไม่ได้ก้มหน้าก้มตาอยู่ในครัวอย่างเดียว แต่ยังโลดแล่นออกมาทำรายการทีวีของตัวเองจนฮิตฮอตเรตติ้งกระฉูด กวาดรายได้เข้ากระเป๋ามหาศาล เชฟขั้นเทพได้เงินเดือนจากการถ่ายรายการเอพิโสดละ ๔๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ ปีหนึ่งถ่าย ๕๑ ตอน บวกลบคูณหารมีเงินเข้ากระเป๋าปีละเหนาะๆ ๒๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผลจากความดังของรายการ Hell’s Kitchen, The F Word, Ramsay’s Kitchen Nightmares, Master Chef, Master Chef Junior และ Hotel Hell ยังต่อยอดทำมาหากินได้อีกสารพัด ไหนจะพรีเซ็นเตอร์โฆษณา, ทำตำราอาหาร, ออกผลิตภัณฑ์เครื่องครัว และขายไลเซนส์ร้านอาหาร “เรสเตอรองต์ กอร์ดอน แรมเซย์” ที่ครองมิชลินสตาร์ถึง ๑๖ ดวง เจ้าพ่อโปรเจกต์ยังไม่หยุดแค่นี้ เพิ่งออกเกมบนมือถือชื่อว่า “Gordon Ramsay Dash” ดูดเงินจากสาวกหลายล้านคน

กว่าจะมีวันนี้ ชีวิตของ “แรมเซย์” ต้องปากกัดตีนถีบอย่างหนัก เขาเกิดในสกอตแลนด์ เติบโตมาในครอบครัวบ้านแตก ที่มีแต่ความสิ้นหวัง พ่อของเขาติดเหล้าหนัก ชอบอาละวาดทุบตีลูกเมีย แม่เป็นพยาบาล ส่วนพี่สาวและน้องชายก็ติดเฮโรอีนตั้งแต่วัยรุ่น พออายุ ๑๖ เขาเก็บข้าวของออกจากบ้านเพื่อไปแสวงหาอนาคต

ก่อนจะค้นพบตัวเองว่าอยากเป็นเชฟอาชีพ “แรมเซย์” ใฝ่ฝันอยากเป็นนักฟุตบอล เขาได้รับเลือกร่วมทีมเยาวชนของวอร์วิคเชียร์และมีโอกาสเข้าฝึกซ้อมคัดตัวกับสโมสรฟุตบอลแรงเยอร์สของสกอตแลนด์ แต่ก็ถูกดับฝันตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะบาดเจ็บสาหัสที่เข่า จนสุดท้ายต้องออกวิ่งไล่หาความฝันใหม่อีกครั้ง

ตอนอายุ ๑๙ ปี “แรมเซย์” ตัดสินใจสมัครเข้าเรียนการบริหารจัดการโรงแรม ที่วิทยาลัยนอร์ท ออกซ์ฟอร์ดเชียร์ เทคนิเคิล คอลเลจ โดยได้รับทุนจากสโมสรโรตารี่ เขาเริ่มต้นอาชีพเชฟด้วยการเป็นผู้ช่วยเชฟที่โรงแรมวร็อกซ์ตัน เฮาส์ โฮเต็ล แต่ดันไปแอบกิ๊กกับเจ้าของโรงแรม เลยถูกไล่ออก ต้องเก็บกระเป๋าหนีมาตั้งหลักใหม่ที่กรุงลอนดอน เขาทำงานกับร้านอาหารหลายระดับ จนมีโอกาสลืมตาอ้าปากเมื่อได้ทำงานกับเชฟขาโหด “มาร์โค ปิแอร์ ไวท์” ที่ร้านดัง “Harveys” เขาเก็บเกี่ยวประสบการณ์อยู่ ๒ ปีเศษ ก็เอือมระอากับความโมโหร้ายของเจ้านาย เลยเบนเข็มไปหางานทำในปารีส โดยวาดฝันว่าจะพัฒนาฝีมือแบบก้าวกระโดด โอกาสสำคัญในชีวิตมาถึงเมื่อเขาได้ทำงานกับเชฟมิชลินสตาร์ของฝรั่งเศสหลายคน หนึ่งในนั้นที่เขายกย่องเป็นครูคือ “กาย ซาวอย”

ทักษะการทำอาหารชั้นสูงแบบฝรั่งเศส ทำให้ “แรมเซย์” กลายเป็นเชฟหนุ่มเนื้อหอมฉุย ทันทีที่กลับมาลอนดอน เขาได้รับข้อเสนอจาก “มาร์โค ปิแอร์ ไวท์” ให้ร่วมหุ้นเปิดร้านอาหารแห่งใหม่ชื่อ “Aubergine” แต่ด้วยความฝันที่อยากเป็นเถ้าแก่ ภายหลัง “แรมเซย์” ขอถอนหุ้นออกมาเปิดร้านอาหารของตัวเองคือ “Restaurant Gordon Ramsay”  เพียงเวลาสั้นๆ เขาก็สร้างสถิติเป็นเชฟสกอตแลนด์คนแรกของโลกที่ได้มิชลิน ๓ ดาว

เส้นทางความสำเร็จและรวยระเบิดของ “แรมเซย์” เปิดอ้าซ่าส์ ในปี ๒๐๐๔ เมื่อเขาสยายปีกมาเป็นเจ้าพ่อรายการทีวี มีซีรีส์ดังเรตติ้งกระฉูดถึง ๒ รายการคือ Ramsay’s Kitchen Nightmares ออกอากาศทางช่อง ๔ และ Hell’s Kitchen  ออนแอร์ทาง ITV1 ดังระเบิดขนาดที่สถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์มาซื้อลิขสิทธิ์เพื่อไปทำในฝั่งอเมริกา

จากหนุ่มบ้านแตกโตมากับความรุนแรงในครอบครัว จนมีนิสัยก้าวร้าวขี้โมโหติดตัว ทุกวันนี้เขาคือต้นแบบของคนสู้ชีวิตที่ไม่ยอมแพ้ชะตากรรม.
......มิสแซฟไฟร์



Warren Buffett
วอร์เรน บัฟเฟตต์ – นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่

วอร์เรน บัฟเฟตต์ คือต้นแบบของนักลงทุนวีไอพีทั้งโลก และตัวอย่างความสำเร็จที่นักลงทุนต่างใฝ่ฝันอยากเดินตามรอย “เทพพยากรณ์แห่งโอมาฮา”

ชีวิตของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีแง่มุมให้เขียนถึงมากมายไม่รู้จบ ไม่ว่าจะในแง่ของปรัชญาการลงทุน หรือรูปแบบการใช้ชีวิตที่ประหยัดมัธยัสถ์ และความเป็นเศรษฐีนักบุญ แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่นักลงทุนทั้งโลกพยายามเสาะแสวงหาคือ การเจาะลึกเพื่อเรียนรู้เคล็ดวิชาการลงทุนในแบบของบัฟเฟตต์ ซึ่งถูกเก็บงำเป็นความลับสุดยอดเฉพาะคนในครอบครัว

เมื่อหลายปีก่อน ศาสตร์แห่งบัฟเฟตต์ที่เก็บงำมานานถูกนำมาเปิดเผยต่อสาธารณชนครั้งแรก โดยอดีตลูกสะใภ้ “แมรี่ บัฟเฟตต์” ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวที่มีโอกาสร่วมวงฟังหลักการลงทุนจากคุณป๋าบัฟเฟตต์อย่างใกล้ชิด ภายใต้เงื่อนไขที่กำชับแล้วกำชับอีกว่า ห้ามนำเรื่องราวของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ออกไปเผยแพร่เด็ดขาด

“แมรี่” กล้าจับปากกาเขียนถึงคุณพ่อสามีคนดัง ก็เมื่อพ้นจากสภาพคนในครอบครัวไปแล้วตั้งแต่ปี ๑๙๙๓ ปรัชญาการลงทุนสำคัญของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ที่เธอค้นพบ มีอยู่ ๒ อย่างคือ ความโง่เขลาและความมีวินัย ความโง่เขลาในที่นี้หมายถึงความโง่เขลาของคนอื่น คนธรรมดาทั่วไปมักมีจิตใจอ่อนไหวไปตามกระแสแตกตื่นของฝูงชน ทำให้ตกเป็นเหยื่อความแปรปรวนทางอารมณ์ได้ง่าย ความตื่นตระหนกของแมงเม่านี่เองที่เป็นพลังขับเคลื่อนตลาดหุ้นให้วิ่งขึ้นลง ขณะเดียวกันก็สร้างกำไรมหาศาลให้นักลงทุนที่มีวินัยสูงอย่างคุณป๋าบัฟเฟตต์

อีกหนึ่งหัวใจสำคัญของศาสตร์แห่งบัฟเฟตต์คือ การลงทุนด้วยมุมมองของการร่วมทำธุรกิจ คิดเสมือนว่าเราเป็นหุ้นส่วนจริงๆ คุณป๋าพูดเสมอว่าจะลงทุนก็ต่อเมื่อดูเข้าท่าสำหรับการร่วมธุรกิจเท่านั้น ป๋าจะลงทุนระยะยาวในบริษัทใดๆ ก็ต่อเมื่อสามารถคาดการณ์ถึงผลกำไรในอนาคตของบริษัทนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งบริษัทที่จะเข้าข่ายนี้มักดำเนินธุรกิจที่มีศักยภาพดีเยี่ยมอยู่แล้ว ทำให้สร้างกระแสเงินสดได้มาก สามารถนำไปใช้เพื่อลงทุนในธุรกิจใหม่ หรือขยายธุรกิจเดิมให้มีกำไรงอกงามยิ่งขึ้น

แล้วจะดูยังไงว่าเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพดีเยี่ยม “บัฟเฟตต์” แนะนำลูกหลานว่า ให้สังเกตจากสถิติอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นที่สูงอย่างต่อเนื่อง ผลกำไรที่แข็งแกร่งและความเป็นธุรกิจสินค้าผูกขาด คุณป๋าจะชอบหุ้นที่มีลักษณะผูกขาดทางธุรกิจมากเป็นพิเศษ การมองหาธุรกิจชั้นเลิศในความคิดของป๋า จะต้องเป็นผู้ผลิตสินค้าที่ใช้แล้วหมดไป มีตราสินค้าที่แข็งแกร่ง เป็นที่ต้องการของตลาด ธุรกิจสื่อสารมวลชนที่ผู้ผลิตต้องใช้บริการต่อเนื่อง เพื่อจูงใจผู้บริโภค และธุรกิจให้บริการที่ผู้บริโภคต้องใช้บริการอยู่เป็นประจำ

ถึงแม้คุณป๋าไม่เคยสนใจว่า ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์จะมีแนวโน้มอย่างไร และไม่เคยใช้เครื่องมือการคาดการณ์แนวโน้มตลาดของนักวิเคราะห์ ไม่เคยดูกราฟราคาหุ้น และมักย้ำเสมอว่า ให้ความสำคัญแต่เพียงความเป็นไปของธุรกิจที่สนใจเข้าไปลงทุน แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว คุณป๋าก็เหมือนนักสะสมผู้ช่ำชองที่มีมาตรฐานของราคาที่ยินดีจ่ายเพื่อความคุ้มค่า เพราะราคาที่จ่ายซื้อหุ้นจะเป็นตัวกำหนดอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในอนาคต ยิ่งซื้อหุ้นได้ราคาต่ำเท่าไหร่ ก็มีโอกาสได้รับอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นเท่านั้น

ประเภทบ้าของถูกไปเหมาเข่งหุ้นถูกๆ มากองไว้เต็มพอร์ต นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่บอกเลยว่า มันคือเศษขยะที่ไม่มีคุณค่าพอต่อการเสียเวลาฟูมฟัก แบบนี้ไม่เข้าข่ายฉลาด
......มิสแซฟไฟร์
 


Brigitte Macron & Emmanuel Macron
บริจิตต์ มาครอง

สร้างประเด็นฮอตให้ฮือฮา เมื่อฝรั่งเศสมีสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคนใหม่อายุมากถึง ๖๔ ปี ไม่ได้แก่หง่อมจนทำลายสถิติโลกเพียงอย่างเดียว แต่ “บริจิตต์ มาครอง” ยังสร้าง “ตำนานกินเด็ก” ให้สาวแก่ทั้งโลกมีความหวัง เพราะนางแก่กว่าประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศส “เอ็มมานูเอล มาครอง” ถึง ๒๕ ปี เรียกว่าเป็นแม่ลูกกันได้สบายๆ

เรื่องราวรักต่างวัยของคนคู่นี้ได้รับความสนใจจากสื่อทั่วโลกมากกว่านโยบายบริหารประเทศซะอีก โดยประธานาธิบดีอายุน้อยที่สุด วัย ๓๙ ปี ของฝรั่งเศส แอบหลงรักครูมัธยมของตัวเองตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี หลังสบตาปิ๊งกับครูคนสวยในคลาสการละคร จนเกิดดราม่ารักต้องห้าม ถูกพ่อแม่ของฝ่ายชายกีดกันอยู่นาน แต่สุดท้ายฝ่ายหญิงก็ตัดสินใจหย่าจากสามี ทิ้งลูกทั้ง ๓ คน เพื่อมาอยู่กินกับลูกศิษย์วัยเอ๊าะ ถ้าเป็นประเทศอื่นก็คงโดนสับเละไปแล้ว และกดดันไม่ให้ขึ้นมาเสนอหน้าในทำเนียบรัฐบาล แต่สำหรับฝรั่งเศส ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนของนักรัก เรื่องราวรักต้องห้ามทำนองนี้กลับกลายเป็นของโรแมนติกยั่วใจ

ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอลเชิดชูยกย่องเมียแก่มาก ถึงกับประกาศว่า ถ้าไม่มีบริจิตต์ผมก็คงมาถึงจุดนี้ไม่ได้ เพราะเธอคือแรงบันดาลใจ และเป็นกุนซือคนสำคัญ ที่ผลักดันให้ผมลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ผมยอมรับว่าครอบครัวเราอาจไม่ใช่ครอบครัวปกติเหมือนคนอื่น แต่ครอบครัวเราก็ไม่เคยขาดความรัก

ตั้งแต่อดีตมา ในประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสไม่เคยขาดสีสันจากเหล่าสุภาพสตรี ดังข้ามศตวรรษก็ต้อง “พระนางมารีอังตัวเนตต์” พระมเหสีสุดรักของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ มีชื่อในประวัติศาสตร์ว่าเป็นตัวการร้ายทำให้ราชวงศ์ฝรั่งเศสล่มสลาย เพราะผลาญเงินภาษีของประชาชนใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ส่งผลให้รัฐบาลต้องขูดรีดประชาชนหนักขึ้น จนนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ยิ่งประชาชนอดอยากยากแค้นเท่าไหร่ พระนางก็ยิ่งเป็นที่เกลียดชังทวีคูณเท่านั้น ครั้งหนึ่งมีผู้กราบทูลว่า ขณะนี้ประชาชนไม่มีขนมปังจะกินแล้ว พระนางกลับตอบอย่างไร้เดียงสาว่า ก็ให้พวกเขากินเค้กแทนสิ

อีกหนึ่งสุภาพสตรีที่มีความสำคัญยิ่งกับประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสคือ “โจเซฟีน” หญิงสาวที่ “จักรพรรดินโปเลียน” รักมากที่สุด เธอแต่งงานตั้งแต่อายุน้อย เพราะต้องหาเงินจุนเจือครอบครัว แต่สามีถูกประหารชีวิตในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส หลังจากนั้นก็ตกเป็นเมียน้อยของผู้นำปฏิวัติฝรั่งเศส ก่อนจะโดนทอดทิ้งไม่ไยดี กระทั่งมาพบรักกับ “นโปเลียน” วีรบุรุษสงครามของแดนน้ำหอม และมีวาสนาดีได้เป็นถึงจักรพรรดินี กระนั้น แม่ม่ายลูกสองอย่าง “โจเซฟีน” ถูกบีบให้หย่าขาดจากนโปเลียน เพราะไม่สามารถปั๊มทายาทให้ราชวงศ์โบนาปาร์ต การตัดสินใจดังกล่าวทำให้นโปเลียนเศร้าโศกเสียใจมาก แม้จะมีพระชายาองค์ใหม่ที่ให้กำเนิดพระโอรสได้ แต่นโปเลียนก็ยังแอบไปมาหาสู่โจเซฟีนเสมอ จนวาระสุดท้ายของนาง

ในแวดวงการเมืองของฝรั่งเศสยุคใหม่ก็มีสุภาพสตรีใจเด็ดอย่าง “อองรีแอตต์ กายโลซ์” ภริยาไฮโซของนายกรัฐมนตรีโฌแซฟ กายโลซ์ ที่ยอมเป็นฆาตกรเพื่อปกป้องสามีสุดที่รัก เหตุการณ์สะเทือนขวัญดังกล่าวเกิดขึ้นในปี ๑๙๑๔ เมื่อสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งบุกเดี่ยวกราดยิงบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์เลอ ฟิกาโร เพื่อแก้แค้นแทนสามีที่โดนขุดคุ้ยหาเรื่องโจมตีทางการเมือง สร้างตำนานลือลั่นเฟิร์สต์เลดี้คนเดียวในประวัติศาสตร์โลกที่เป็นฆาตกร

ฝรั่งเศสยังเป็นประเทศแรกในโลกที่มีสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งเคยแก้ผ้าถ่ายรูปโป๊โชว์เนื้อหนังมังสา เธอคือเฟิร์สต์เลดี้ไฟแรงสูง “คาร์ลา บรูนี ซาร์โกซี” ภริยาสุดแซ่บของประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ที่สร้างวีรกรรมรักร้อนๆ ไว้เพียบตามประสาสาวไฟแรงสูง ขนาดแต่งงานมีลูกด้วยกันแล้ว คาร์ลายังบ่นดังๆว่า เซ็กซ์เสื่อมตั้งแต่สามีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เพราะงานยุ่งจนไม่มีเวลาส่งการบ้าน ไม่ร้อนแรงเหมือนสมัยแอบกินกัน
......มิสแซฟไฟร์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 กรกฎาคม 2561 10:35:51 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2561 16:14:33 »



ส่องชีวิตสุดเว่อร์วัยรุ่นพันล้าน ยิ่งเกิดมารวยยิ่งไร้สาระ?!

เกิดเป็นกุมารเศรษฐีจะทำตัวไร้สาระยังไงก็ได้ เพราะถึงจะปาร์ตี้ข้ามวันข้ามคืน ไม่ทำงานทำการอะไร พ่อแม่ก็มีเงินให้ใช้ไม่ขาดมือ พาไปส่องชีวิตสุดเว่อร์ของ ๕ เศรษฐีพันล้านอายุน้อยที่สุดในโลก เพื่อให้ยาจกอย่างพวกเราตาร้อนกัน

แต่ละบิลเลียนแนร์ที่ติดทำเนียบเศรษฐีพันล้านของโลก อายุไม่เกิน ๒๗ ปี มีทั้งที่คาบช้อนทองมาเกิด ใช้ชีวิตไม่เป็นแก่นสาร และคนที่สร้างเนื้อสร้างตัวด้วยมันสมองตัวเองจนได้ดี

เปิดตัวกันแบบสวยและรวยมาก ด้วยพี่น้องตระกูลแอนเดอร์เซน “แคทธารินา” และ “อเล็กซานดร้า” ทายาทของ “โยฮัน แอนเดอร์เซน” นักอุตสาหกรรมและนักลงทุนผู้มั่งคั่งของนอร์เวย์ สืบทอดเชื้อสายมาจากตระกูลเศรษฐีและนักการเมืองเก่าแก่แดนไวกิ้ง เมื่อ ๑๐ ปีก่อน ทั้งคู่ได้ลิ้มลองสถานภาพความเป็นเศรษฐีโลกครั้งแรก หลังพ่อโอนหุ้นทั้งหมดของ “Ferd” กลุ่มธุรกิจโฮลดิ้งคอมปานีใหญ่ที่สุดในนอร์เวย์ ส่งผลให้พี่น้องคู่นี้มีสินทรัพย์ในครอบครองคนละไม่ต่ำกว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจากการจัดอันดับของฟอร์บส์ปีล่าสุด ไฮโซคนน้องมีสินทรัพย์ ๑,๒๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นแท่นเป็นเศรษฐีพันล้านอายุน้อยที่สุดในโลก ด้วยวัย ๒๑ ปี ขณะที่ไฮโซคนพี่ได้อันดับสอง บิลเลียนแนร์อายุน้อยสุดในโลก มีสินทรัพย์ ๑,๑๕๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ

วัยรุ่นพันล้านอันดับสามของโลกมีชื่อว่า “กุสตาฟ แมกนาร์ วิทซอว์” เป็นทายาทเจ้าของธุรกิจเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนรายใหญ่ที่สุดของโลกสัญชาตินอร์เวย์ “Salmar” เขารวยขึ้นในชั่ว ข้ามคืนเมื่อพ่อยกหุ้น ๔๗% ของกิจการให้ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนและก็เพราะคาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด กุสตาฟจึงใช้ชีวิตเต็มที่แบบไม่แตะเบรกเขาชอบสูบซิการ์ ดื่มไวน์แพงๆ และเล่นกอล์ฟ ชอบแต่งแบรนด์เนมหัวจดเท้าไปดูแฟชั่น แถมคลั่งการสักและปาร์ตี้

รวยตั้งแต่อายุน้อยๆเป็นเบอร์ ๔ ของโลก แต่ใช้ชีวิตอย่างมีแก่นสารก็มีตัวอย่าง เขาคือ “จอห์น คอลลิสัน” วัยรุ่นพันล้านชาวไอริช ที่สร้างเนื้อสร้างตัวด้วยลำแข้งตัวเอง โดยร่วมกับพี่ชายก่อตั้ง “Stripe” บริษัทฟินเทคให้บริการด้านธุรกรรมการเงินทางอินเตอร์เน็ต เมื่อปี ๒๐๑๐ ปัจจุบันพี่น้องคู่นี้มีสินทรัพย์ในครอบครอง

คนละ ๑,๑๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้รับการสนับสนุนเงินทุนพัฒนาธุรกิจจากแคปิตอลจี, กูเกิล และเจเนอรัล คะตะลิสต์ พาร์ทเนอร์ส เช่นเดียวกับคนดังในวงการไฮเทคส่วนใหญ่ “จอห์น” ดร็อปเรียนจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดกลางคัน เพื่อมาบุกเบิกธุรกิจ Stripe ซึ่งเขาก็ตัดสินใจถูกจริงๆ เพราะอายุแค่ ๒๗ ปี ก็มีเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวไว้บินร่อนไปมาระหว่างอังกฤษกับอเมริกา รายนี้เป็นตัวอย่างของวัยรุ่นพันล้านที่ฉลาดใช้ชีวิตอย่างมีจุดหมาย

เบอร์ห้าของโลกทั้งหล่อทั้งมีกึ๋น แอบเชียร์มานาน จะเป็นใครไม่ได้นอกจาก “อีวาน สปีเกล” ซีอีโอหนุ่มชาวมะกัน เขาคือผู้ก่อตั้งแอพพลิเคชั่นยอดนิยมแห่งยุค “Snapchat” เริ่มต้นพัฒนาธุรกิจตั้งแต่ยังไม่จบจากสแตนฟอร์ด และใช้เวลาไม่ถึง ๕ ปี จากโมเดลธุรกิจที่รายงานหน้าชั้นเรียน ก็กลายเป็นบริษัทมูลค่าสูงถึง ๑๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หนุ่มคนนี้ขึ้นทำเนียบบิลเลียนแนร์ครั้งแรกเมื่อปี ๒๐๑๔ ขณะที่ปัจจุบันเขามีสินทรัพย์ในครอบครองกว่า ๓,๕๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลายเป็นเศรษฐีพันล้านอายุน้อยที่มั่งคั่งที่มั่งคั่งที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลกไปแล้ว แถมยังเท่สุดๆเพราะเพิ่งแต่งงานกับซุปเปอร์โมเดลระดับโลก “มิแรนด้า เคอร์” เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐ ผ่านมา ความฟุ่มเฟือยอย่างเดียวในชีวิตของเขาคือ การซื้อรถเฟอร์รารี่สีแดง และบ้านหลังละ ๑๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นของขวัญให้ตัวเอง.
…..มิสแซฟไฟร์




รี ซอล-จู  ภริยาผู้นำเกาหลีเหนือ

เบื้องหลังความสำเร็จของผู้นำโลก ล้วนแต่มีผู้หญิงเป็นแรงสนับสนุนสำคัญ โดยเฉพาะผู้นำประเทศชั้นนำของโลก แต่ละคนก้าวสู่ความเป็นหนึ่งได้ ก็เพราะแรงผลักดันของสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งที่อยู่ข้างกาย ตรงกันข้ามหลังบ้านที่เหยาะแหยะเลอะเทอะก็อาจเป็นตัวฉุดรั้งทำลายภาพลักษณ์ผู้นำ

ตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้ หนึ่งในเฟิร์สต์เลดี้ที่ได้รับความสนใจจากสื่อทั่วโลกคือ “รี ซอล-จู” ภริยาของผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือ “คิม จอง-อึน” เธอเป็นอดีตนักร้องประสานเสียงคณะประชาชนเกาหลี ปัจจุบันอายุ ๒๘ ปี มีบุตรสามคน ตามรายงานข่าวของสื่อเกาหลีใต้ระบุว่า มาดามแต่งงานกับผู้นำคิมตั้งแต่อายุ ๒๐ ต้นๆ เธอแต่งตัวสวยทันสมัย ไม่เหมือนสาวเกาหลีเหนือเฉิ่มเชยทั่วไป แถมมีบุคลิกยิ้มแย้มแจ่มใส ช่วยล้างภาพความโหดเหี้ยมใจดำของผู้นำ สูงสุดเกาหลีเหนือได้มากทีเดียว

กระนั้น ถ้าล้วงลึกเข้าไปในดินแดนปริศนาลึกลับดำมืดของเกาหลีเหนือ ซึ่งโดดเดี่ยวตัวเองจากนานาชาติ ประชาชนโสมแดงจำนวนมากกลับไม่ชอบหน้าสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งคนปัจจุบัน เพราะไม่พอใจที่เห็น “คุณนายคิม” ใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือยติดแบรนด์เนม ในขณะที่คนเกาหลียังอดอยากยากจน โดยแบรนด์โปรดของมาดามคิมก็มีตั้งแต่ชาแนล ไปจนถึงดิออร์ ยังมีกระแสวิจารณ์จากคนเกาหลีเหนือด้วยว่า มาดามคิมทำตัวไม่เหมาะสมจะเป็นภริยาผู้นำ เพราะมักนุ่งกระโปรงสั้นออกงาน แถมไม่ทำการทำงานอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ คนละเรื่องกับอดีตเฟิร์สต์เลดี้ มารดาของผู้นำคนปัจจุบัน ที่ใส่เครื่องแบบทหารหญิงทุกครั้ง เมื่อต้องเคียงข้างสามีปรากฏกายต่อสาธารณชน

ความอึมครึมเป็นเรื่องปกติของเกาหลีเหนือ แม้แต่ประวัติความเป็นมาของ “มาดามคิม” ก็คลุมเครือไม่ชัดเจน อายุของมาดามถูกฟรีซไว้ที่ ๒๘ มาหลายปีแล้ว เช่นเดียวกับจำนวนบุตรที่เดี๋ยวเพิ่มเดี๋ยวหด ล่าสุด คอนเฟิร์มจากหน่วยข่าวกรอง เกาหลีใต้ว่า มาดามมีลูก ๓ คน คาดว่าสองคนโตเป็นผู้หญิง ส่วนคนสุดท้องที่เพิ่งคลอดยังไม่รู้ชัดว่าเป็นเพศชายหรือหญิง

พื้นเพของ “มาดามคิม” ระบุกันว่าเกิดในครอบครัวชนชั้นสูง พ่อเป็นอาจารย์ และแม่เป็นหมอ เคยไปร่ำเรียนร้องเพลงถึงประเทศจีน ก่อนจะกลับมารับใช้แผ่นดินเกิด ส่วนทั้งคู่จะพบรักกันยังไงบอกชัดๆ ไม่ได้ เพราะบางกระแสระบุว่าคู่นี้แต่งงานกันเมื่อปี ๒๐๐๙ และมีลูกทันทีในปีถัดมา ขณะที่ข่าวบางกระแสรายงานว่า ทั้งคู่สบตาปิ๊งกันครั้งแรกในงานคอนเสิร์ตดนตรีคลาสสิกเมื่อปี ๒๐๑๐

ข่าวลือกับเกาหลีเหนือเป็นของคู่กัน โดยเฉพาะทุกครั้งที่มาดามคิมหายหน้าหายตาไปจากวงสังคม ไม่ปรากฏตัวผ่านสื่อ ก็มักเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เซ็งแซ่ จากที่เคยออกงานถี่ๆ มีภาพข่าวเผยแพร่ไปทั่ว และมักอยู่ข้างผู้นำคิมทุกครั้งที่มีการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงในงานสำคัญๆ ของชาติบ้านเมือง แต่ช่วงระยะ ๒-๓ ปีมานี้ มาดามคิมเริ่มหายหน้าหายตาไปจากสื่อบ่อยขึ้นเรื่อยๆ โดยปรากฏตัวให้เห็นเพียงปีละครั้งสองครั้ง ปีนี้ก็เพิ่งเห็นออกงานกับสามีครั้งเดียว ไปร่วมงานฉลองความสำเร็จการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่ ๖ ซึ่งจัดขึ้นอย่างหรูหราฟู่ฟ่าในโรงละครแห่งหนึ่ง ปลุกให้เกิดกระแสข่าวลือว่าบัลลังก์ของฮูหยินใหญ่อาจกำลังสั่นคลอน เพราะไม่สามารถให้กำเนิดลูกชายไว้สืบสกุล

เห็นหงิมๆ แบบนี้ แต่สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของเกาหลีเหนือ ก็เคยสวมวิญญาณเมียหลวงลวงสังหารมาแล้ว โดยเมื่อหลายปีก่อนเดลี่เมล์รายงานว่า เธออาจเป็นผู้อยู่เบื้องหลังคำสั่งยิงเป้าประหารชีวิตนักร้องชื่อดังแฟนเก่าของผู้นำเกาหลีเหนือ “ฮยุน ซองวุล” พร้อมนักแสดงและคนวงการบันเทิงอีก ๑๑ ราย เนื่องจากจับได้ว่าเป็นกิ๊กกับสามีมานาน โดยข้อหาที่ยัดเยียดให้คือเผยแพร่คลิปลับส่วนตัว ละเมิดกฎหมายสื่อลามกอนาจาร

แม้จะมีผู้หญิงอยู่เยอะ ซุกกิ๊กไว้มากมาย แต่ “รี ซอล-จู” ก็เป็นฮูหยินหนึ่งเดียวที่ได้รับการยกย่องออกหน้าออกตาทางสังคมจนถึงขณะนี้ ถ้าปั๊มลูกชายไว้สืบสกุลสำเร็จ ใครหน้าไหนก็มาแย่งตำแหน่งเมียหลวงไปไม่ได้.
…..มิสแซฟไฟร์



ภาพจาก : เว็บไซต์ .isanook.com

จง ชิงโหว
จากภารโรงสู่มหาเศรษฐีโลก

เขียนถึงเศรษฐียุคใหม่ที่รวยลัดรวยเร็วมาเยอะ ทำให้นึกถึงเจ้าสัวยุคเก่า ที่ต้องปากกัดตีนถีบวิ่งสู้ฟัด กว่าจะมีโอกาสนับเงินล้าน เชิดหน้าชูตาเป็นมหาเศรษฐี

หนึ่งในเจ้าสัวยุคเก่าของแดนมังกร ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกต้องยกให้ “จง ชิงโหว” เจ้าสัวผู้ก่อตั้ง “หังโจว วาฮาฮา กรุ๊ป” บริษัทผลิตเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่อันดับต้นๆของจีน “เจ้าสัวจง” ได้รับการจัดอันดับจากฟอร์บส์ให้รวยสุดเป็นอันดับ ๑๖๐ ของโลก ด้วยสินทรัพย์ในครอบครองกว่า ๙,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สื่อท้องถิ่นยกให้เป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของจีนแผ่นดินใหญ่ และรวยสุดอันดับที่ ๓๕ ของโลก โดยเคลมว่ามีสินทรัพย์จริงมากกว่า ๒ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ปีนี้ “เจ้าสัวจง” อายุครบ ๖ รอบ แต่ยังเตะปี๊บดังไปสามบ้านแปดบ้าน และไม่มีวี่แววจะวางมือธุรกิจ มีเพียงลูกสาวคนเดียว “เคลลี่ จง” เข้ามาช่วยงานพ่อ โดยมอบหมายให้เป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของกลุ่มธุรกิจ กว่าจะตั้งเนื้อตั้งตัวได้ “เจ้าสัวจง” ก็ผมหงอกแล้ว เขาเริ่มสร้างตัวจากศูนย์จริงๆ หรือเรียกว่าติดลบด้วยซ้ำเพราะเกิดในครอบครัวยากแค้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ต้องอดมื้อกินมื้อ ไม่เคยมีโอกาสเรียนหนังสือ วิ่งสู้ฟัดทำงานแลกค่าแรงถูกๆในเหมืองเกลือ พอโตหน่อยก็มาเป็นภารโรงในโรงเรียนละแวกใกล้บ้าน เก็บหอมรอมริบจนมีเงินทุนก้อนเล็กๆ เปิดร้านขายน้ำขายขนมในโรงเรียนตอนอายุ ๔๑ ปี

“ผมไต่เต้าขึ้นมาจากจุดต่ำสุดของสังคม ก่อนหน้านี้ไม่มีแม้กระทั่งค่าอาหารและเสื้อผ้า” เขาเคยให้สัมภาษณ์ถึงชีวิตลำเค็ญในวัยเด็ก แต่ด้วยความขยันอดทนมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้โชคชะตา ทำให้เด็กชายขอบจนๆจากเมืองซู่เชียน มณฑลเจียงซู ลืมตาอ้าปากได้ และได้รับโอกาสสำคัญเป็นผู้จัดจำหน่ายนมและเครื่องดื่ม

เมื่อฟ้าเปิดเขาก็มองเห็นช่องทางสร้างฐานะ จึงไปหยิบยืมเงินครูวัยเกษียณมา ๑๔๐,๐๐๐ หยวน เป็นทุนก้อนแรกเปิดบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายนมบรรจุขวดของตนเอง โดย “เจ้าสัวจง” ตั้งชื่อแบรนด์ว่า “วาฮาฮา” หมายถึงเสียงหัวเราะของเด็กๆ สินค้าที่สร้างชื่อให้เขาในช่วงแรกคือ นมช่วยย่อยอาหาร วางตลาดปี ๑๙๘๘ ได้รับเสียงตอบรับคึกคักจากพ่อแม่ที่เผชิญปัญหาลูกหลานกินขนมมากเกินไปจนท้องอืดและกินข้าวกินปลาไม่ลง

สื่อจีนยกย่อง “เจ้าสัวจง” เพราะเป็นคนบ้างาน เด็ดเดี่ยวชัดเจน ตัดสินใจเร็ว และไม่ฟังเสียงใคร เมื่อรัฐบาลจีนเปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาร่วมทุนได้ เขาจึงไม่รีรอจะจับมือเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัทนมยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศส “Groupe Danone” ลงทุนร่วมกันถึง ๗๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้แบรนด์วาฮาฮามีกำลังผลิตมากเป็นที่หนึ่งของภูมิภาค เขายังสยายปีกไปกว้านซื้อโรงงานผลิตอาหารเพื่อเสริมเขี้ยวเล็บ นอกจากจะดังเรื่องนมแล้ว ธุรกิจของเขาแตกไลน์ออกไปเยอะสู่การผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด, น้ำแร่, น้ำอัดลม, น้ำชา, อาหารกระป๋อง, น้ำผักผลไม้, โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป, เสื้อผ้าเด็ก, ยาสีฟัน และแชมพู เรียกว่าสินค้าอุปโภคบริโภคแทบทุกชนิดในจีนอยู่ในกำมือของวาฮาฮา กรุ๊ป โดยสินค้าโกยรายได้มหาศาลคือ น้ำอัดลมยี่ห้อฟิวเจอร์ โคล่า ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจวาฮาฮา เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของจีน และใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก รองแค่โคคา-โคล่า, เป๊ปซี่ และแคดเบอร์รี่ โดยวาฮาฮา กรุ๊ป มีสาขาทั่วประเทศ ๑๖๐ สาขา ผลิตสินค้าป้อนตลาดจีนกว่า ๑๕๐ ชนิด

จากคนขายน้ำอัดลมจนๆในโรงเรียน เขาผงาดขึ้นเป็นมหาเศรษฐีโลก เข้าไปนั่งอยู่ในสภาประชาชนจีนและสภาที่ปรึกษาการเมืองอันทรงอิทธิพล เพราะถือคติไม่มีอะไรดีไปกว่าการทำงานหนัก!! เขาก็เหมือนเจ้าสัวยุคเสื่อผืนหมอนใบจำนวนมาก ถึงแม้จะรวยเป็นพันล้าน แต่ก็ใช้ชีวิตสมถะติดดิน เขายังใส่เสื้อแจ็กเกตตัวเก่าแทนสูทแพงๆ เพราะเชื่อเสมอว่า ตราบใดที่คนทั่วไปไม่สามารถบอกได้ว่าเสื้อผ้าที่เขาใส่ราคาพันหยวน หรือร้อยหยวน แล้วเขาจะเสียเงินซื้อของแพงๆ ทำไมให้โง่

ก็เพราะสุขภาพซื้อไม่ได้ เขาจึงปฏิเสธการกินอาหารเหลา แต่ชอบกินผักกับเต้าหู้ ชอบที่สุดคือลงไปกินอาหารในโรงอาหารร่วมกับพนักงานทั่วไป เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า การออกกำลังกายอย่างเดียวของเขาคือการออกสำรวจตลาด และงานอดิเรกก็มีแค่สูบบุหรี่กับดื่มชา เรื่องฟุ้งเฟ้อเรอเหม็นเปรี้ยวไม่มีทางได้กินเงินเจ้าสัว.

มิสแซฟไฟร์ - นสพ.ไทยรัฐ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 พฤศจิกายน 2561 09:43:39 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2561 13:32:27 »



สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
๑๕ ก.พ.๒๔๘๑ น้อมรำลึกทูลกระหม่อมหญิงแหม่ม เจ้าฟ้าหญิงผู้นำสมัย

ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมฟ้าหญิง" แต่บ้างก็ออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมหญิงแหม่ม" มีพระพักตร์คล้ายกับชาวตะวันตก และโปรดฉลองพระองค์อย่างสตรีตะวันตก

วันนี้ของ ๘๐ ก่อน คือวันที่ชาวไทยโศกสลด เมื่อต้องสูญเสียเจ้าฟ้าหญิงผู้นำสมัย นายพันเอกหญิง สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ไปด้วยโรคพระวักกะพิการเรื้อรัง ยังความโศกเศร้าแก่คนไทยทั้งประเทศ

วันนี้ในอดีตจึงขอร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์อีกครั้ง สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ประสูติเมื่อวันที่  ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๔๒๗ เป็นพระราชธิดาลำดับที่ ๔๓ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
 
และยังเป็นพระขนิษฐาร่วมพระมารดาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มกุฎราชกุมารพระองค์แรกของสยาม และเป็นเชษฐภคินีของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เมื่อพระชนม์ครบหนึ่งเดือน ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ พระราชบิดา พระราชทานพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี” หากชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมฟ้าหญิง"

แต่บ้างก็ออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมหญิงแหม่ม" เนื่องจากทรงไว้พระเกศายาวประบ่าตั้งแต่ทรงพระเยาว์ กับมีพระพักตร์คล้ายกับชาวตะวันตก และโปรดฉลองพระองค์อย่างสตรีตะวันตก เรียกได้ว่าทรงนำสมัยมาตั้งแต่วัยเยาว์




เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ฉลองพระองค์อย่างชาวตะวันตั้งแต่ทรงพระเยาว์




(จากซ้ายไปขวา) เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร,
สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา และกรมหลวงสงขลานครินทร์ พระอนุชา


แต่เนื่องจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงสูญเสียพระราชธิดาทั้งสองพระองค์ใน พ.ศ.๒๔๓๐ พระองค์ทรงปรารภจะมีพระราชธิดา จึงทรงขอประทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี (ขณะพระชนมายุเพียง ๔ ชันษา) จากสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีให้เป็นพระราชธิดาในปลายปี พ.ศ.๒๔๓๑ โดยมีนางจันทร์ ชูโต เป็นพระพี่เลี้ยง

พระองค์จึงเรียกสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถว่า "เสด็จแม่" และเรียกสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีว่า "สมเด็จป้า"

ช่วงปี ๒๔๓๖ ทรงได้รับการศึกษาจากโรงเรียนราชกุมารีที่ตั้งอยู่ในพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย ร้ำเรียนการวิชามากมาย ขณะเดียวกันก็ยังได้รับการกวดขันจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถอย่างสมัยใหม่ ทั้งการศึกษา, การแต่งกาย, แนวคิด และการปฏิบัติพระองค์

จนทูลกระหม่อมหญิงแหม่ม มีพระชนม์ ๑๒ พระชันษา พระราชบิดาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์ พระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี

ต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ พระองค์ได้การสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ นรินทรเทพยกุมารี กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร

ในรัชกาลนี้ พระองค์ได้รับพระราชทานพระยศทางทหาร ซึ่งล้นเกล้ารัชการลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ พระราชทานตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่สอง มีพระยศเป็นนายพันเอก ซึ่งเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์เองก็เคยรับสั่งกับเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิตว่า เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ให้จัดงานแบบทหารด้วย โดยรับสั่งว่า "ฉันเป็นทหาร"

อย่างไรก็ดีในทางหนึ่ง สิ่งที่พระองค์ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษ พระองค์โปรดปรานฉลองพระองค์กระโปรง และตัดพระเกศาอย่างชาวตะวันตก ทั้งยังทรงเป็นผู้ริเริ่มการนุ่งผ้าถุงเป็นพระองค์แรก โดยการดัดแปลงผ้าซิ่นธรรมดาให้เป็นผ้าถุงสำเร็จเพื่อความสะดวกสบายในการนุ่ง

นอกจากนี้ พระองค์ถือเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งที่ทรงนำสมัยในเรื่องการแต่งกาย ฉลองพระองค์ของเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ถือเป็นฉลองพระองค์เจ้านายที่ทันสมัยและเก๋ไก๋ที่สุดในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ครั้งหนึ่ง พระพี่เลี้ยงหวน หงสกุล ได้บันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ความว่า "...ท่านโปรดทรงหนังสือฝรั่ง ทรงรับแมคคาซีนนอก แม้แต่แบบเสื้อก็สั่งนอก แม่ (พระพี่เลี้ยงหวน) ก็เป็นผู้เย็บให้ทรงคนเดียว บางครั้งก็ทรงเลือกแบบเอง แล้วให้ฝรั่งห้างยอนแซมสันตัด แต่เป็นชื่อของแม่ และวัดตัวแม่เอง ไม่ต้องลอง นำไปถวายก็ทรงพอดีเลย ถ้าเป็นเสื้อแม่ ฝรั่งเรียกราคาตัวละ ๘๐ บาท ถ้าเป็นฉลองพระองค์เขาก็เรียกราคาแพงกว่านั้น ต่อมาเมื่อเย็บได้เก่งแล้ว ภายหลังก็ไม่ต้องจ้างฝรั่งเย็บ"

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ก็ทรงกล่าวถึงพระองค์ใน เกิดวังปารุสก์ ความว่า "...ทูลหม่อมอาหญิงท่านทั้งงามทั้งเก๋ ข้าพเจ้าชอบไปเฝ้าท่านบ่อย ๆ... "

พระองค์ไม่โปรดเครื่องประดับชิ้นใหญ่ แม้จะทรงมีเครื่องประดับจำนวนมากก็ตาม แต่โปรดเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ ที่เหมาะสมกับฉลองพระองค์ในแต่ละชุด ซึ่งเด็กๆ ในพระอุปถัมภ์ พระองค์ก็ไม่ทรงปล่อยให้เชย หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศกุลทรงเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า เมื่อโรงเรียนราชินีมีงานออกร้านขายของนั้น โปรดให้หม่อมเจ้าพิไลยเลขามาช่วยขายของให้เจ้านายต่างประเทศ รับสั่งให้ถอดเครื่องเพชรที่แต่งอยู่ออกให้หมด เหลือเพียงจี้เพชรอย่างเดียว แล้วตรัสว่า "เด็กฝรั่งเขาไม่แต่งเพชรมากๆ "

รวมทั้งนางข้าหลวงของพระองค์ถูกกล่าวถึงว่า "...ไม่มีข้าหลวงตำหนักใดจะสวยเก๋ทันสมัยเท่าข้าหลวงของสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์..."

พระราชกรณีกิจที่สำคัญสำหรับประเทศไทย สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเล็งเห็นความสำคัญกับการศึกษาของสตรีไทย เช่น ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของโรงเรียนราชินี การก่อสร้างโรงเรียนราชินีบน และทรงจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ (ต่อมาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์) เป็นต้น

และท้ายที่สุดในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชร์บุรีราชสิรินธร จนถึงรัชกาลปัจจุบัน

ช่างน่าเศร้าใจที่เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ทรงมีพระโรคประจำพระองค์ คือ พระวักกะพิการเรื้อรัง (ไตพิการเรื้อรัง) เคยเสด็จไปทรงรับการผ่าตัดที่ต่างประเทศถึง ๒ ครั้ง และพระอาการของพระองค์กลับกำเริบขึ้น จนวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๑ มีพระอาการหนักมากจนน่าวิตก

ที่สุด พระองค์สิ้นพระชนม์ที่วังคันธวาส ถนนวิทยุ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๑ เวลา ๒๓.๑๕ นาฬิกา ด้วยพระอาการสงบ ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพารตลอดจนผู้ใกล้ชิด นับเป็นพระราชธิดาองค์สุดท้ายของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีที่สิ้นพระชนม์

ในการนี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี เสด็จไปงานพระราชทานเพลิงพระศพด้วยพระองค์เอง ซึ่งก่อนหน้านี้สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ ไม่เคยเสด็จไปงานพระราชทานเพลิงพระศพพระราชโอรสธิดาพระองค์ใด เนื่องจากคติโบราณที่ห้ามบิดามารดาเผาศพบุตร มิฉะนั้นต้องเผาอีก

กระทั่ง พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ณ ท้องสนามหลวง
ขอขอบคุณเว็บไซต์ คมชัดลึก - (ที่มาของเรื่อง)




เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ในวัยทำงาน

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

“พวกเรา นักกีฬา ใจกล้าหาญ เชี่ยวชาญ ชิงชัย ไม่ย่นย่อ คราวชนะ รุกใหญ่ ไม่รีรอ คราวแพ้ ก็ไม่ท้อ กัดฟันทน” (สร้อย) อึม อึม อึม อึม กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลศ ทำคนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล"

คนไทยรู้จักเพลงนี้ดี คือ “เพลงกราวกีฬา” แต่จะมีกี่คนที่จำได้ว่าเพลงนี้ ผู้ประพันธ์คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี  ในนามปากกาว่า “ครูเทพ” เพื่อจูงใจให้นักกีฬารู้จักการแพ้ชนะและรู้จักการให้อภัย

วันครูที่ผ่านมา หลายคนอาจนึกถึงครูเทพผู้ที่เป็นเหมือนครูของครูผู้นี้ หากแต่ในวันนี้เมื่อ ๗๕ ปีก่อน คือวันที่ท่านได้ลาโลกไปด้วยอาการหัวใจวาย รวมอายุได้ ๖๗ ปี  จึงขอรำลึกถึงเรื่องราวของท่านอีกครั้ง

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เกิดเมื่อวันที่ ๑ ม.ค.๒๔๑๙ ที่บ้านหลังศาลหัวเม็ด ตำบลสะพานหัน กรุงเทพฯ  นามเดิม สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นบุตรคนที่ ๑๘ ในจำนวนพี่น้อง ๓๒ คน ของพระยาไชยสุรินทร์ (เจียม เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงเกษตรและพระคลังในสมัยรัชการที่ ๕ แต่เป็นบุตรคนโตของมารดาชื่อยู่

ชีวิตพลิกผัน เพราะเมื่ออายุได้ ๘ ปี บิดาถึงแก่กรรม ส่งผลให้ฐานะครอบครัวตกต่ำลง  มารดาจึงหารายได้ทางเย็บปักถึกร้อย ขณะที่ท่านเองก็ช่วยมารดาเย็บรังกระดุมอีกแรง

เมื่ออายุ ๑๒ ปี ได้เรียนหนังสือด้วยวิธีต่อหนังสือที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข  สอบได้ประโยคหนึ่ง ในปี พ.ศ.๒๔๓๑ แล้วเรียนที่โรงเรียนพระดำหนักสวนกุหลาบสอบไล่ได้ประโยคสอง  ต่อมาสอบไล่ได้ชั้น ๕ ภาษาอังกฤษตามหลักสูตรหลวง  ปี พ.ศ.๒๔๓๒ เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนผึกหัดอาจารย์ ปี พ.ศ.๒๔๓๕ จนได้รับประกาศนียบัตรครูสอบไล่ได้ที่ ๑ ของผู้สำเร็จวิชาครูรุ่นแรก ได้รับพระราขทานรางวัล เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๗

ทางกระทรวงธรรมการได้คัดเลือกส่งไปศึกษาเพิ่มเติมที่ประเทศอังกฤษ  จนได้รับรางวัลประกาศนียบัตรวิชาครูของอังกฤษ จากโรงเรียนฝึกหัดครูเบอโรโรค ที่ตำบลไวสลเวิฟ ใกล้กับกรุงลอนดอน เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑

จากนั้นท่าน เข้ารับราชการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๕ ในกระทรวงธรรมการ เป็นนักเรียนสอบในโรงเรียนตัวอย่าง จนได้เป็นครูผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครู เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๗ เมื่อกลับมาจากประเทศอังกฤษก็ได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ โดยได้บรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐

อย่างไรก็ดี ท่านยังมีความสามารถในด้านการงานประพันธ์ โดยนอกจากบรรดาแบบเรียนที่ท่านออกแบบแล้วเช่น – แบบเรียนอนุบาล, แบบเรียนวิชาครู, ตรรกวิทยา, เรขาคณิต, พีชคณิต, แบบสอนอ่านธรรมจริยา, สุขาภิบาลสำหรับครอบครัว, สมบัติผู้ดี

ท่านยังมีงานประพันธ์อีกมากมาย โดยครั้งแรก เมื่ออยู่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โดยออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์เขียนด้วยลายมือ  คือหนังสือ  “สัปดาหะการ”

ขณะเมื่อเป็นนักเรียนฝึกหัดอาจารย์ ได้ออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ชื่อ “วิทยาจารย์” โดยเป็นทั้งบรรณาธิการและทำทุกอย่างด้วยตัวเอง และจัดตั้งสามัคยาจารย์สมาคมหนังสือ  “วิทยาจารย์”  ได้โอนเป็นของสามัคยายาจารย์สมาคมและเจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน

นอกจากนี้ หลังจากที่กลับมาจากประเทศอังกฤษ ได้ร่วมกับ น.ม.ส.แม่วัน และเพื่อนๆ ออกหนังสือรายเดือนชื่อ “ลักวิทยา” เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือนฉบับแรกที่เน้นสารบันเทิง โดยนำวิทยาการจากต่างประเทศมาเผยแพร่ ทำได้เพียง ๒ ปีเศษ  ต้องเลิกเพราะผู้จัดทำไม่สามารถปลีกเวลามาดูแลได้

๑ ก.พ.๒๔๘๖ รำลึก "ครูเทพ"




นายกองโท เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ภาพจาก vajiravudh.ac.th
 
แต่ต่อมาก็มีหนังสือพิมพ์ “ทวีปัญญา” มีพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มและเป็นบรรณาธิการ ชาวคณะ  “ลักวิทยา”  แม้จะอยู่ได้ไม่นานนัก แต่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้เขียนเรื่องประโลมโลก ส่วนบทประพันธ์ได้เขียนไว้ด้วยเหมือนกันโดยใช้นามปากกา “เขียวหวาน” ผลงานใน “ลักวิทยา” และ “ทวีปัญญา” มีความสำคัญต่อวรรณกรรมไทยปัจจุบัน เช่น เรื่องสั้น  “คุณย่าเพิ้ง” ได้รับยกย่องว่าเป็นเร่องสั้นไทยยุคบุกเบิกที่ดีที่สุด ในขณะที่รับราชการและเมื่พันราชการออกมาแล้วก็ยังได้เขียนบทประพันธ์ต่างๆ ไว้มากมาย  นามปากกาที่รู้จักกันทั่งไปคือ “ครูเทพ”  รวมทั้งยังเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกร้อยกรองไทยปัจจุบันคนสำคัญ

อนึ่ง ความสามารถทางด้านการประพันธ์ ซึ่งถือว่าท่านเป็นคนสำคัญท่านหนึ่งของประเทศไทย หากแบ่งเป็นความเรียงร้อยแก้วและบทร้อยกรอง อาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้

๑.แบบเรียน มีตั้งแต่แบบเรียนอนุบาล แบบเรียนวิชาครู ตรรกวิทยา เรขาคณิต พีชคณิต แบบสอนอ่านธรรมจริยา สุขาภิบาลสำหรับครอบครัว สมบัติผู้ดี และอื่นๆ อีกมาก
๒.โคลง –กลอน แต่งไว้เป็นจำนวนมาก และไดรับการรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ “โคลงกลอนของครูเทพ”
๓.บทความ ว่าด้วยการศึกษา จรรยา การสมาคม เศรษฐกิจและการเมือง และปรัชญา โดยใช้นามปากกาว่า “ครูเทพ” บ้าง “เขียวหวาน” บ้าง
๔.ละครพูด แต่งขึ้นรวม ๔ เรื่อง ได้แก่ บ๋อยใหม่ แม่ศรีครัว หมั้นไว้ และตาเงาะ  
…..ที่มา - เว็บไซต์คมชัดลึก



ศพของซีอุยถูกเก็บรักษาไว้ที่โรงพยาบาลศิริราช โดยยังคงถูกเรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "พิพิธภัณฑ์ซีอุย"
ภาพจาก : img.tnews.co.th

ซีอุย แซ่อึ้ง"มนุษย์กินคน

“อย่าดื้อ อย่าซน ระวัง” ซีอุย “จะมากินตับ”คำขู่พ่อแม่กรอกหูลูกยุคเจนเอ๊กซ์ เขาเป็นมนุษย์กินคน ฆาตกรต่อเนื่อง เป็นคดีประวัติศาสตร์โด่งดังสร้างสความสยดสยองให้คนไทย

"ซีอุย"สร้างความสยดสยองให้สังคมไทยเมื่อ ๕๐ ปีก่อน ด้วยการฆ่าโหดถึง ๗ ศพ ในระยะเวลาต่อเนื่อง ๕ ปี คือระหว่างปี ๒๔๙๗ ถึงปี ๒๕๐๑ ซึ่งถูกจับขณะกำลังพยายามเผาทำลายศพรายสุดท้ายที่จังหวัดระยอง ทำให้มีการสืบสวนขยายผลย้อนหลังไปถึงพฤติกรรมโหด ในลักษณะเดียวกันอีก ๖ ราย ผลสุดท้ายคดีจบลงที่ศาลอุทธรณ์ ด้วยโทษประหารชีวิต

ซีอุย มีชื่อจริงว่าหลีอุย แซ่อึ้ง  แต่คนไทยเรียกเพี้ยนเป็นซีอุย เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๐ ที่เมืองซัวเถาโดยเป็นลูกคนที่ ๓ จากจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๑๒ คน ของนายฮุนฮ้อกับนางไป๋ติ้ง แซ่อึ้ง ในครอบครัวยากจนที่ทำการเกษตร เมื่อยังเป็นเด็กและเป็นวัยรุ่นซีอุยมีส่วนสูง ๑๕๐ เซนติเมตรเท่านั้น จึงมักถูกรังแกอยู่เสมอ จนกระทั่งมีนักบวชรูปหนึ่งได้ให้คำแนะนำว่า ถ้าอยากจะมีร่างกายแข็งแรงต้องกินเนื้อหรืออวัยวะมนุษย์คำสอนนี้ได้ฝังอยู่ในใจซีอุยมาเสมอ

ซีอุยวัย ๑๘ ปีถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ประจำอยู่หน่วยรบทหารราบที่ ๘ ในขณะที่จีนและญี่ปุ่นทำสงครามกันอยู่ ซีอุยถูกส่งไปรบในสมรภูมิพม่าแนวสนามรบตามรอยต่อตะเข็บชายแดนของจีน เป็นเวลาถึงหนึ่งปีเต็มที่ซีอุยต้องเผชิญกับความลำบากและเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายตลอดอาหารก็ขาดแคลน ขณะที่เพื่อนทหารก็ทยอยตายไปเรื่อยๆ

ว่ากันว่า จากการสู้รบ ซีอุยจึงได้ลิ้มรสชาติเนื้อมนุษย์เป็นครั้งแรก เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ซีอุยถูกปลดจากการเป็นทหาร ด้วยความแร้งแค้นยากจน ซีอุยถูกเพื่อนๆ ชักชวนให้เข้ามาหางานทำในประเทศไทย โดยหลบหนีเข้าเมืองมาด้วยการเป็นกรรมกรรับจ้างในเรือขนส่งสินค้าชื่อ “โคคิด” เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๔๘๙ ด้วยการหลบซ่อนมาเป็นเวลา ๓ สัปดาห์เต็ม ขึ้นฝั่งที่ท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ซีอุย ต้องหลบซ่อนตัวในโรงแรมห้องแถวเล็กๆ แห่งหนึ่ง ต่อมาได้เดินทางไปยังอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อไปหาญาติ ที่นั่น ซีอุยทำงานด้วยการรับจ้างทำสวนผักและรับจ้างทั่วไปเป็นเวลานานถึง ๘ ปีเต็ม ก่อนที่ซีอุยจะก่ออาชญากรรม

ตามคำบอกเล่า ซีอุยได้จับเด็กมาผ่าเอาตับมากินโดยเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ โดยได้ฆ่าเด็ก ๓ รายแรก ที่อำเภอทับสะแกจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ก่อนที่จะหลบหนีไปโดยรถไฟและก่อเหตุอีกที่งานฉลองตรุษจีนที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐมเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ สุดท้ายถูกจับได้หลังจากคดีฆาตกรรมในจังหวัดระยองซึ่งถูกพบ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ ซึ่งมีเพียงเหยื่อรายแรกและเป็นรายเดียวเท่านั้นที่รอดชีวิตมาได้ เป็นเด็กผู้หญิงอายุ ๘ ขวบ

วันนี้ในอดีต ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๑ เผยโฉมหน้ามนุษย์กินคน นายซีอุย แซ่อึ้ง ในหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย หลังถูกจับได้ที่จังหวัดระยอง  ซีอุยยอมรับสารภาพว่าเป็นคนลงมือ ๗ คดี และจิตแพทย์ลงความเห็นว่า ซีอุยไม่ได้เป็นบ้า เขาถูกพิพากษาให้ประหารชีวิต เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๒  ที่เรือนจำบางขวาง กรุงเทพมหานคร

ย้อนรอย คำสารภาพของซีอุยปรากฏอยู่ในบันทึกเท่าที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ ๓ ฉบับ คือ คำให้การวันที่ ๓๐ มกราคม, ๓๑ มกราคม และ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑ สำเนาทั้งหมดนี้มีอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อัยการไทย และปรากฏเป็นคำสัมภาษณ์ของหนังสือพิมพ์รายวันในสมัยนั้นตีพิมพ์กันต่อเนื่องหลายฉบับ

ตามตำนานซีอุยได้เล่าถึงเหตุการณ์ในคดีสุดท้ายก่อนถูกจับ ไว้ในบันทึกคำให้การวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๐๑ ว่า วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๐๑ เวลาประมาณบ่าย ๓-๔ โมงเย็น ขณะที่ซีอุยกำลังรดน้ำผักอยู่ในสวนของนายอิ๊ดเจี๊ยก ตำบลเนินพระ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เด็กชายสมบุญ บุณยกาญจน์ เดินมาขอซื้อผักกับซีอุย ๑ บาท ซีอุยจึงออกอุบายให้ไปจับนกในสวนยางพารา ซึ่งเด็กชายสมบุญก็ยินยอมไปแต่โดยดี

ซีอุยพาเด็กเดินผ่านบ้าน แล้วแวะหยิบมีดด้ามเขาควายสำหรับตัดผัก ซึ่งเสียบไว้กับข้างฝาติดไปด้วย ทั้งคู่เดินเข้าไปในสวนยางพารา ห่างจากบ้านไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๔๐ ก้าว เด็กชายสมบุญเริ่มมีอาการขัดขืนไม่ยอมไป ซีอุยจึงใช้มือทั้งสองโอบเด็ก อุ้มไปอีกราว ๔๐ ก้าว จึงปล่อยให้ยืน

ขณะนั้นเด็กชายสมบุญไม่ร้องหรือดิ้นรนขัดขืน ซีอุยจึงใช้มือกดหัว ให้ล้มนอนหงาย แล้วจึงใช้มือซ้ายปิดปากและจมูก แล้วใช้มีดแทงคอใต้ลูกกระเดือกจนหลอดลมขาดสิ้นใจตาย ซีอุยจึงเริ่มใช้มีดผ่าท้องตั้งแต่สะดือจนถึงหลอดลม แล้วตัดเอาหัวใจกับตับออกมากองไว้บนใบไม้ จากนั้นก็เคลื่อนย้ายศพเด็กมาซ่อนไว้ก่อน ส่วนหัวใจกับตับนั้น นำกลับมาล้างที่บ้าน ใส่กะละมังไว้ในตู้กับข้าว เพื่อจะเก็บไว้กิน

รอจนกระทั่งมืด ซีอุยจึงอุ้มศพเด็กมาวาง หาเศษไม้มาสุม เพื่อจะเผาทำลายหลักฐาน ระหว่างนี้เองที่นายนาวา บุณยกาญจน์ พ่อของเด็กชายสมบุญ ซึ่งออกมาตามหาลูกชายที่หายไปตั้งแต่ตอนบ่าย จนมาถึงที่เกิดเหตุ นายนาวาฉายไฟพบซีอุยกำลังเอากิ่งไม้แห้งทิ้งลงบนกองไม้ จึงแลเห็นศพของเด็กชายสมบุญอยู่ใต้กองไม้นั้นนั่นเอง นายนาวา กับนายเสงี่ยม ม่วงแสง จึงช่วยกันจับซีอุยมัด แล้วให้คนมาแจ้งความ

คำให้การระบุว่าระหว่างการจับกุม ไม่มีการต่อสู้ขัดขืน ซึ่งตรงกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น“ข้าฯ ไม่ได้ต่อสู้ และไม่มีอาวุธอะไร และมีดที่ข้าฯ ทำร้ายเด็ก ข้าฯ เอาไว้บนฝาตุ่มในบ้าน”(คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ : พยานโจทย์ติดตามมาแบบทันท่วงที จำเลยก็ยังชักมีดออก ทำกิริยาจะต่อสู้ จึงถูกตี และจับมัดไว้ได้)

เมื่อเจ้าหน้าที่มาถึงที่เกิดเหตุ ก็พบศพมีสภาพถูกแทงที่คอ และรอยผ่าตั้งแต่สะดือแหวะอกขึ้นมาถึงคอ จากนั้นจึงพากันไปค้นบ้านของซีอุย พบหัวใจกับตับสดๆ ใส่กะละมังเก็บไว้ในตู้กับข้าว

การดำเนินการจับกุมเป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่มีการขัดขืน ซีอุยให้การว่าวางมีดไว้บนฝาตุ่มบ้าน เมื่อซีอุยถูกจับในลักษณะคาหนังคาเขา พร้อมพยานวัตถุ การดำเนินการสืบสวนคดี “มนุษย์กินคน” จึงเริ่มต้นตั้งแต่บัดนั้น

ที่น่าสังเกตก็คือการสอบปากคำและข่าวในหนังสือพิมพ์ มุ่งประเด็นที่จะ “สรุป” ให้ซีอุยเป็นผู้ต้องหาในทุกคดีก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการทางศาล ทั้งที่คำให้การและคำสัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ที่ปรากฏนั้นมี “จุดสำคัญ” ที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงอย่างเห็นได้ชัด

เหนืออื่นใด ก็มีความเชื่อของคนร่วมสมัยในพื้นที่เกิดเหตุ รวมถึงคนทั่วไปบางส่วนที่เชื่อว่า ซีอุยมิได้เป็นฆาตกรตัวจริง แต่ฆาตกรตัวจริงเป็นลูกชายของบุคคลที่มีอิทธิพลสูงในท้องที่ ที่ซีอุยรับสารภาพไปอาจเป็นไปได้ว่าถูกเจ้าหน้าที่เกลี้ยกล่อมว่าให้รับสารภาพไปแล้วจะได้รับการลดหย่อนโทษ เนื่องจากซีอุยไม่มีญาติมิตรที่ให้การช่วยเหลือได้ รวมถึงการไม่เจนจัดในการสื่อสารภาษาไทย

ซีอุยถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๐๒ ต่อมาวันที่ ๒๗ กันยายน ปีเดียวกัน ทางมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ศิริราช) ได้ทำเรื่องขอซีอุยมาทำการศึกษา เพื่อหาเหตุแห่งความวิปริตผิดมนุษย์ โดยเก็บไว้ที่ตึกกายวิภาคร่างของซีอุยเป็นอาจารย์ใหญ่ให้กับนักศึกษาแพทย์ สอนศีลธรรมให้กับสังคม แต่กาลเวลาไม่เคยเอ่ยถึงความยุติธรรมแม้ซักครั้ง

ปัจจุบันร่างของซีอุยยังคงอยู่ภายในโรงพยาบาลศิริราช ที่พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ อาคารอดุลเดชวิกรม หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “พิพิธภัณฑ์ซีอุย”
…..ที่มา - เว็บไซต์คมชัดลึก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 กรกฎาคม 2561 10:37:39 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 06 มีนาคม 2561 13:31:34 »




พระนางเธโอโดรา (Theodora)

พระนางเธโอโดรา ได้ชื่อว่าเป็นสตรีที่ทรงอำนาจที่สุดตั้งแต่จักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นต้นมา จนกระทั่งสิ้นสุดจักรวรรดิ พระนางน่าสนใจสักแค่ไหนและจักรวรรดิที่พระนางเป็นพระจักรพรรดินีนั้นเป็นฉันใด

จักรวรรดิไบแซนไทน์เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก เป็นจักรวรรดิที่พระเจ้าคอนสแตนติน พระจักรพรรดิโรมันแห่งกรุงโรม ตั้งขึ้นในทิศตะวันออก ปัจจุบันคือกรุงอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี (Türkiye) โดยสถาปนาเมืองหลวงว่ากรุงคอนสแตนติโนเปิล ตามพระนามของพระองค์ และเรียกชื่อจักรวรรดิโรมันตะวันออกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)

เหตุที่พระเจ้าคอนสแตนตินต้องมาสร้างจักรวรรดิโรมันตะวันออก เพราะเหตุว่าพระองค์ทรงนับถือคริสต์ศาสนา และไม่ต้องการทำพิธีลัทธิเพเกินบูชาเทพเจ้า อันเป็นศาสนาแบบโรมันโบราณซึ่งพระองค์เห็นว่าป่าเถื่อน ข้าราชบริพารซึ่งเปลี่ยนมานับถือคริสต์ศาสนาตามอย่างพระองค์จึงพากันมาสร้างเมืองหลวงใหม่อยู่กับพระองค์ เกิดเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ขึ้นมา แยกตัวต่างหากจากกรุงโรมของจักรวรรดิโรมันตะวันตกโดยเด็ดขาด

จักรวรรดิไบแซนไทน์สืบทอดมายาวนานจึงถึงรัชสมัยพระจักรพรรดิทรงพระนามว่าจัสติเนียน  จักรพรรดิองค์ที่ ๒ แห่ง ราชวงศ์ยุสตินิอานุส พระจักรพรรดิมีพระสติปัญญาและความเข้มแข็ง รบเก่ง พระองค์โปรดสิ่งแปลกใหม่และการผจญภัย  พระองค์เกิดความโปรดปรานสาวน้อย “เธโอโดรา” ธิดาคนเลี้ยงหมีที่สนามกีฬากรุงคอนสแตนติโนเปิล  ความงามที่อยู่ใกล้กับความน่ากลัวช่างดึงดูดใจอย่างประหลาด  สาวน้อยได้กลายเป็นนักแสดงละคร ใช้ชีวิตระเริงท่ามกลางนักท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ หนังสือบางเล่มกล่าวหาด้วยซ้ำว่านางตั้งครรภ์และคลอดลูกนอกสมรส แต่บางเล่มกล่าวว่านางมีอาชีพเป็นช่างทอหูก แล้วนางได้เข้านับถือศาสนานิกายลึกลับนิกายหนึ่ง

เมื่อพระจักรพรรดิจัสติเนียนได้พบกับนางนั้น นางมีความสวยงามเจิดจ้า ตาคมหวานกระชากหัวใจชายให้หลุดลอย โดยไม่ต้องบอกเล่าเก้าสิบกับผู้ใด พระจักรพรรดิจัสติเนียนพระราชทานเลื่อนชั้นวรรณะให้นางเป็นบุคคลชั้นสูง แล้วรับนางเป็นพระสนม เธโอโดราเป็นคนฉลาด ฉลาดในการเจรจาและมีจิตใจที่แข็งแกร่ง ถูกพระทัยพระจักรพรรดิเป็นที่สุด ในไม่ช้าพระองค์ทรงลืมนางสนมกำนัลอื่นๆทั้งหมด แล้วประทับอยู่กับพระสนมเธโอโดราแต่ผู้เดียว  ห้องธรรมดาที่นางเข้าพำนักในครั้งแรกก็เปลี่ยนแปลงกลายเป็นตำหนักใหญ่ จะเป็นรองก็แต่พระตำหนักที่ประทับขององค์จักรพรรดิเท่านั้น  พระสนมเธโอโดราได้เป็นคู่คิดคู่ปรึกษาราชการและมีส่วนร่วมในการทำราชการของพระจักรพรรดิเกือบทุกเรื่อง พระจักรพรรดิไม่สามารถขาดพระนางได้แม้แต่วันเดียว เวลาเสด็จไปศึกสงคราม นางก็ตามเสด็จด้วย เวลาพระจักรพรรดิจะพ่ายแพ้นางก็ปลุกปลอบถวายกำลังพระทัย  เธโอโดราเป็นผู้ที่คิดเร็ว ทำเร็ว ได้ถวายงานราชการจนพระจักรพรรดิจัสติเนียนทรงยกนางขึ้นสู่ตำแหน่งจักรพรรดินี ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ไม่ปรากฏบ่อยครั้งนัก  ในยามจำเป็นเธโอโดราสามารถทำการแทนพระจักรพรรดิอย่างเป็นผลดีด้วย  พระนางมีความสามารถเจรจารับทูตได้อย่างเหมาะสมและทรงพระอักษรติดต่อกับบรรดาประมุขชาติต่างๆ ที่ติดต่อกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ จนหลายคนคิดว่าพระนางคือองค์จักรพรรดิจัสติเนียน



จักรพรรดิจัสติเนียนที่ ๑

เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้พระจักรพรรดิทรงเห็นคุณค่าของพระนางมากคือเมื่อครั้งเกิดกบฏไนกา ในเดือนมกราคม ค.ศ.๕๓๒ ซึ่งกลุ่มการเมืองสองกลุ่มในกรุงคอนสแตนติโนเปิลที่เรียกกันว่ากลุ่มสีน้ำเงินและกลุ่มสีเขียวกลับรวมกันติดและจ้องจะรุกรานรัฐบาลของพระจักรพรรดิจัสติเนียน แล้วจะตั้งจักรพรรดิองค์ใหม่แทนจักรพรรดิจัสติเนียนที่จะถูกถอดถอน บรรดาขุนนางน้อยใหญ่ให้คำปรึกษาพระจักรพรรดิให้ทรงหนี แต่จักรพรรดินีเธโอโดรากลับทูลให้พระองค์คิดสู้ แล้วนายพลเบลิซาริอุสซึ่งยังจงรักภักดีจึงตีโอบให้พวกกบฏไปจนมุมในสนามกีฬา แล้วแล่เนื้อพวกกบฏเป็นชิ้นๆ  พระจักรพรรดิจัสติเนียนทรงตระหนักดีว่าถึงแม้ว่าเธโอโดราไม่สามารถเสด็จไปแล่เนื้อพวกกบฏได้ แต่กำลังใจที่จะต่อสู้และสติปัญญาที่จะคิดการต่อสู้นั้น นางเป็นยิ่งกว่าทหารคนใดทั้งสิ้น

พระจักรพรรดินีเธโอโดรามีพระราชสมภพในราว ค.ศ.๔๙๗ สวรรคตในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ค.ศ.๕๔๘  ส่วนพระจักรพรรดิจัสติเนียนนั้นครองราชย์ ใน ค.ศ.๕๒๗-๕๖๕ นับว่าพระนางสวรรคตก่อนพระจักรพรรดิ  แต่พระจักรพรรดิก็มิได้ตั้งใครเป็นจักรพรรดินีอีก

ตลอดเวลาที่ดำรงพระชนม์อยู่จักรพรรดินีเธโอโดราเป็นหนึ่งในบรรดาราชินีรุ่นแรกๆ ที่สนพระทัยในสิทธิของสตรี พระองค์ออกกฎหมายห้ามการค้าสตรีและเด็กหญิงไปในการค้าประเวณี ทรงแก้กฎหมายในการหย่าร้างให้สตรีมีส่วนได้ทรัพย์สมบัติเพิ่มมากขึ้น  

พระจักรพรรดินีแตกต่างจากพระจักรพรรดิจัสติเนียนอยู่ในเรื่องสำคัญคือเรื่องศาสนา  พระจักรพรรดินับถือศาสนาคริสต์ แต่พระจักรพรรดินีนับถือนิกายลี้ลับที่มีชื่อเรียกว่าโมโนฟีซิทส์  แต่พระจักรพรรดิก็พระราชทานสิทธิในการนับถือศาสนาแบบพระนางได้โดยไม่ลงโทษทัณฑ์

ในสมัยโบราณมีสตรีเพียงไม่กี่คนที่ศิลปินได้วาดหรือหล่อรูปไว้ แต่จักรพรรดินีเธโอโดรามีรูปทำด้วยโมเสกที่เห็นเด่นชัดมากอยู่ในโบสถ์ซานวิตาเล ที่เมืองราเวนนา ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิตาลี  พระจักพรรดินีสวรรคตในวัยไม่มากนัก เพียง ๕๑ ปี ด้วยโรคมะเร็งหรือโรคแผลเรื้อรัง พระจักรพรรดิจัสติเนียนโศกเศร้าพระทัยยิ่งนัก และไม่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ออกกฎหมายสำคัญอีกสักกี่มากน้อยจนสิ้นรัชกาลใน ค.ศ.๕๖๕





พระนางแคทเธอรีนมหาราช แห่งรัสเซีย  
จักรพรรดินีนาถที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและครองราชย์ยาวนานที่สุดของรัสเซีย

พระนางแคทเธอรีนมหาราชแห่งรัสเซีย (Catherine II of Russia) ประสูติเมื่อ ๒ พฤษภาคม ค.ศ.๑๗๒๙ ที่เมืองสเตททิน ปรัสเซีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศโปแลนด์) สวรรคตเมื่อ ๑๗ พฤศจิกายน ค.ศ.๑๗๙๖ พระชนมายุ ๗๖ พรรษา พระองค์มีเชื้อสายเยอรมัน พระราชบิดาของพระนางแคทเธอรีนมีพระนามว่า คริสเตียน เอากุสต์ ฟอน อันฮัลท์-เซอรป์ (เจ้าชายแห่งอันฮัลท์-เซิร์บสท์) ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ที่ปกครองอันฮัลท์  เป็นเจ้าเยอรมันองค์หนึ่งซึ่งไม่เป็นที่รู้จักเท่าไร   ส่วนพระราชมารดาของพระองค์เกี่ยวข้องกับราชวงศ์โฮลสไตน์

เมื่อพระองค์รุ่นสาว ชนมายุได้ ๑๔ ชันษา ทรงได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าสาวของดยุคแห่งโฮลสไตน์-กอตทรอป ผู้เป็นหลานปู่ของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช และเป็นรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์รัสเซีย

ใน ค.ศ.๑๗๔๔ พระนางได้เดินทางเข้ารัสเซีย ได้รับการสถาปนาเป็นแกนด์ดัชเชส แคทเธอรีน อเล็กเซเยฟนา ได้อภิเษกกับพระคู่หมั้น การแต่งงานครั้งนี้นับว่าล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะสองพระองค์เข้ากันไม่ได้เลย และแคทเธอรีนก็ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในการแต่งงานที่ผิดฝาผิดตัวเป็นเวลาถึง ๑๘ ปี จนกว่าพระสวามีจะสวรรคต

ประเทศรัสเซียในระยะที่แคทเธอรีนอภิเษกเข้ามาเป็นสะใภ้นั้น มีซารินาเอลิซาเบธ ราชธิดาของพระเจ้าปีเตอร์มหาราชเป็นพระราชินีผู้ครองราชย์  ซารินาเอลิซาเบธเป็นผู้มีความสามารถในการปกครอง พระองค์โปรดความหรูหราของราชสำนักแบบยุโรปตะวันตก ดังนั้น พระองค์จึงเป็นตัวอย่างอันดีที่พระนางแคทเธอรีนตั้งพระทัยไว้ว่าจะกระทำตาม

ความจริง พระนางแคทเธอรีนไม่ได้มีความมักใหญ่ใฝ่สูง ถ้าพระสวามีเป็นปกติเหมือนคนทั้งหลายพระองค์ก็คงไม่มีบทบาทอะไร คงเลี้ยงดูพระโอรสและดูแลการในพระราชวังอย่างพระราชินีธรรมดา แต่ปรากฏว่าพระสวามีเป็นผู้มีอาการทางประสาท ชอบโต้แย้งโดยไม่มีสาเหตุ เป็นคนดื้อรั้น ติดน้ำจัณฑ์ เป็นโรคไร้สมรรถภาพ และที่ร้ายที่สุด คือหลงใหลเคารพบูชาพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ ๒ แห่งปรัสเซีย ผู้เป็นมหาศัตรูของพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธของรัสเซียเอง

ส่วนพระนางแคทเธอรีนทรงมีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการปรับพระองค์ตามที่สมควร และมีความรักชาติรัสเซียอย่างแท้จริง แต่พระองค์ถูกพระสวามีดูหมิ่น และมองพระองค์อย่างไม่ไว้วางพระราชหฤทัย  ดังนั้น พระองค์จึงไม่เกี่ยวข้องกับผู้คนในวังสักเท่าไร แต่ใช้เวลาที่มีอยู่มากในการอ่านหนังสือที่จะเป็นประโยชน์ทุกเรื่องที่พระองค์หาอ่านได้ หนังสือเกี่ยวกับทหารและการสงคราม หนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจ หนังสือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หนังสือเกี่ยวกับภูมิประเทศและประชากรของรัสเซีย ฯลฯ  จัดว่าพระองค์เตรียมพระองค์พร้อม หากต้องทำหน้าที่ผู้ปกครองประเทศเมื่อไร พระองค์ก็จะไม่เป็นผู้ประหม่าขัดเขิน เมื่อมีอายุมากขึ้น พระนางก็ยิ่งมีบุคลิกดีขึ้น มีเสน่ห์ในการเจรจา และมีเรี่ยวแรงพละกำลังอย่างมากมายราวกับว่าพระนางเป็นนายทหารคนหนึ่ง พระนางมีโอรสธิดา ๓ องค์ แต่พระองค์ก็รับสั่งเป็นนัยๆ อย่างหัวเราะๆ ว่า พระโอรสธิดาทุกพระองค์ไม่ใช่โอรสธิดาของพระสวามีของพระองค์ พระองค์มีชู้รักหลายคน แต่พระองค์ไม่ได้ถือเป็นเรื่องใหญ่โต ในตอนที่พระองค์เจริญวัยเต็มที่นี้ สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของพระองค์คือการได้สวมมงกุฎปกครองประเทศ

ในวันที่ ๕ มกราคม ค.ศ.๑๗๖๒ ซารินา เอลิซาเบธ สวรรคตในขณะที่รัสเซียกำลังร่วมมือกับออสเตรียและฝรั่งเศสรบกับปรัสเซีย แกรนด์ดยุคปีเตอร์ พระรัชทายาทได้ขึ้นเป็นพระเจ้าซาร์  ซาร์ปีเตอร์พระองค์นี้รักและฝักใฝ่ปรัสเซียอยู่แล้วจึงเลิกทำสงครามกับปรัสเซียและทำสัญญาสันติภาพกับพระเจ้าเฟรดเดอริคที่ ๒ แห่งปรัสเซีย  ดังนั้น จึงทำให้พระองค์ทรงทำอะไรก็เป็นเรื่องเสื่อมเกียรติแก่พระองค์เองในสายตาของคนรัสเซียทั้งนั้น  และพระองค์ยังเตรียมการที่จะถอดพระนางแคทเธอรีนของพระองค์ด้วย  พระนางแคทเธอรีนจึงเตรียมต่อสู้ พระนางทำได้ง่ายเพราะทหารฝักใฝ่ข้างพระนางทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทหารทั้งหลายแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งมีชู้รักของพระนางแคทเธอรีนชื่อ กริกอรี ออร์ลอฟ ประจำอยู่ราชสำนักในมอสโกและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กก็เข้าข้างพระนาง พวกคนชั้นสูงและขุนนางที่มีการศึกษาก็เข้าข้างพระนาง เพราะพวกเขาคิดว่าพระนางเป็นผู้มีการศึกษาสูงและเป็นผู้มีหัวคิดก้าวหน้า  ดังนั้น ในวันที่ ๙ กรกฎาคม ค.ศ.๑๗๖๒ พระนางจึงนำเหล่าทหารเข้ากรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประกาศพระองค์เป็นจักรพรรดินีในมหาวิหารแห่งคาซาน พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ ๓ สละราชสมบัติ และถูกพรรคพวกของพระนางกระทำฆาตกรรมในอีกแปดวันต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ.๑๗๖๒ พระนางได้เข้าพิธีสวมมงกุฎอย่างยิ่งใหญ่ที่กรุงมอสโก รัชกาลของพระจักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ ๒ เริ่มต้น และจะเป็นรัชกาลที่ยืนยาวถึง ๓๔ ปี

พระจักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ ๒ มีนิสัยเป็นนักปกครองมาตั้งแต่ต้น พระองค์มีความมุ่งหวังจะให้ประเทศรัสเซียเจริญรุดหน้าเท่าเทียมประเทศทางตะวันตกเช่นประเทศฝรั่งเศส พระองค์หวังจะให้ประเทศสงบเรียบร้อยและข้าราชการปกครองด้วยความยุติธรรม แต่พระองค์ช่างมีความคิดและแผนการมากมาย ยากที่จะทำได้หมดสิ้น

พระองค์แก้ปัญหาเกี่ยวกับโปแลนด์ด้วยการส่งชู้รักคนหนึ่งของพระองค์ไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินของโปแลนด์ ทำให้มั่นใจได้ว่าโปแลนด์จะไม่มาตีตลบหลังพระองค์ ต่อมาใน ค.ศ.๑๗๗๐ รัสเซียได้รบกับจักรวรรดิออตโตมาน (เตอรกี) ซึ่งเป็นศัตรูกับรัสเซียมานานแล้ว การรบชนะในการยุทธ์ทางเรือที่เซสเม ใน ค.ศ.๑๗๗๐ ทำให้ทหารรัสเซียเกิดความรักและความภาคภูมิใจในชาติยิ่งขึ้น

แต่ทว่าในปีต่อมาก็เกิดเรื่องไม่ดีซึ่งทำให้เราเห็นว่าการเป็นผู้ปกครองประเทศเป็นเรื่องยุ่งยากเพียงไร เริ่มต้นก็คือเกิดกาฬโรคระบาดในมอสโก ต่อมาใน ค.ศ.๑๗๗๓ ก็เกิดกบฏของทหารคอสแสคชื่อยาเมลยัน ปูกาชอฟ ซึ่งอ้างตัวว่าวิญญาณของซาร์ปีเตอร์ที่ ๓ ที่ล่วงลับมาเข้าสิงเป็นกบฏครั้งใหญ่มาก แต่ก็พ่ายแพ้ทหารของจักรพรรดินี สรุปได้ว่าในเรื่องการรบรับขับสู้กองทหารของพระนางไม่แพ้ใคร แต่เรื่องที่พระองค์ทำไม่สำเร็จคือเรื่องข้าที่ติดที่ดินให้เป็นไท แต่พระองค์ก็ทำไม่ได้ เพราะเจ้าของที่ดินขัดขวางอย่างเต็มที่ รัสเซียจึงมีข้าติดที่ดินเรื่อยมาจนถึงสมัยปฏิวัติครั้งใหญ่ ค.ศ.๑๙๑๗ เมื่อพระจักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ ๒ สวรรคตไปแล้ว

ใน ค.ศ.๑๗๗๔ พระจักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ ๒ พบคู่ปรับที่มีสติปัญญาพอฟัดพอเหวี่ยงกับพระองค์ ผู้ที่ทำให้พระองค์รักเขาตลอดพระชนมชีพ ชายผู้นี้คือ เจ้าชายกริกอรี โปเตมกิน (Grigory Potemkin) ซึ่งเป็นทหารที่มีฝีไม้ลายมือเป็นที่ประจักษ์และผู้ทำให้พระองค์ชนะศึกเตอรกี  เจ้าชายโปเตมกินสามารถให้คำแนะนำพระองค์เกือบทุกเรื่อง และถ้าพูดถึงเรื่องโลกและชีวิตแล้วเขามีประสบการณ์มากกว่าพระองค์มาก พระจักรพรรดินีแคทเธอรีนรักเขาอย่างยกย่องให้เกียรติทุกอย่าง ไม่ทำเหมือนกับเขาเป็นหนุ่มๆ พวกนั้นของพระองค์  พระจักรพรรดินีแอบทำพิธีแต่งงานกับเขาอย่างลับๆ และอยู่กินกับเขาเหมือนสามีภรรยาธรรมดา  การเล่นไพ่เสียเกมต่างๆ หลังอาหารก็เล่นที่โต๊ะเดียวกัน หากห่างกันไปแม้ไม่นานวันก็ต้องเขียนจดหมายถึงกันอย่างหวานชื่น  เจ้าชายโปเตมกินก็มีชื่อเรียกอย่างพิเศษจำเพาะที่มีแต่เขาคนเดียวเรียกพระองค์ พระจักรพรรดินีกับโปเตมกินได้รักกันยี่สิบกว่าปี ตลอดเวลานี้โปเตมกินได้เป็นคู่คิดคู่ปรึกษาของพระองค์ตลอดเวลา ใน ค.ศ.๑๗๘๗ โปเตมกินได้จัดการเดินทางแผ่อานุภาพทางเรือให้พระนางเสด็จไปในเรือที่ประดับตกแต่งงดงามอย่างมีค่าเหมือนกับกระบวนเรือของพระนางคลีโอพัตรา ราชินีแห่งอียิปต์ในสมัยโบราณ

ชีวิตในตอนท้ายพระจักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ ๒ ต้องอกสั่นขวัญแขวนกับข่าวการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศส และการที่พระเจ้าหลุยส์ที่๑๖ กับพระนางมารีอังตัวแน็ตต์ถูกกิโยติน และการที่มีข่าวปฏิวัติที่โน่นที่นี่เริ่มขึ้นตลอดเวลา  พระองค์ทรงทราบดีว่าหมดสมัยที่พระองค์จะสู้รบตบมือกับนักปฏิวัติสมัยใหม่ และพระองค์ก็เสียพระทัยว่าพระองค์ไม่มีพระรัชทายาที่เข้มแข็งพอจะฝากบ้านฝากเมืองได้
 

“นิตยสารสกุลไทย – ๑ เมษายน ๒๕๕๔”



https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c5/Liliuokalani%2C_photograph_by_Prince%2C_of_Washington.jpg/800px-Liliuokalani%2C_photograph_by_Prince%2C_of_Washington.jpg
รอบโลก "คนดัง"

สมเด็จพระราชินีนาถลีลีอัวกาลานีแห่งราชอาณาจักรฮาวาย
พระราชินีองค์เดียวและองค์สุดท้ายของประเทศฮาวาย

สมเด็จพระราชินีนาถลีลีอัวกาลานีแห่งราชอาณาจักรฮาวาย (Queen Liliuokalani of Hawaii) มีพระนามเดิมว่า เจ้าหญิงเดีย ลิลิอู โลโลกู วาลาเนีย เวเวฮิ คามาคาเอฮา อา คาปาอาเคอา เมื่อทรงได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์มีพระนามว่า เจ้าหญิงลีลีอัวกาลานี หลังจากทรงอภิเษกสมรสมีพระนามว่า ลิเดีย เค โดมินิส มีพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ค.ศ.๑๘๓๘ (พ.ศ.๒๓๘๑) ที่ฮอโนลูลู ประเทศฮาวาย ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นประเทศเอกราช มิได้ถูกสหรัฐอเมริกายึดครอง  

พระราชมารดาของพระนางชื่อเจ้าหญิงอานาเลอา เกโอโฮกาโลเล เป็นผู้มีอิทธิพลในราชสำนักฮาวาย เพราะว่านางเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้ากาเมฮาฮาที่ ๓

สมเด็จพระราชินีนาถลิลิอัวกาลานี เป็นพระราชินีองค์เดียวและองค์สุดท้ายของประเทศฮาวาย ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าคาลาคาอัว พระเชษฐาของพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๔  สมเด็จพระราชินีเสียพระทัยมากที่ในรัชกาลของพระเชษฐา ราชบัลลังก์ฮาวายเสียพระราชอำนาจไปมากจากการติดต่อกับสหรัฐอเมริกา พระองค์ยืนยันที่จะไม่ต่อสนธิสัญญา Reciprocity Treaty ซึ่งเป็นสนธิสัญญาทางการค้าที่ให้สิทธิสหรัฐอเมริกาใช้เมืองท่าเพิร์ลฮาเบอร์ ท่าทีของพระราชินีองค์ใหม่นี้ทำให้พ่อค้าชาวต่างประเทศไม่พอใจและพยายามขัดขวางพระราชอำนาจ

แซนฟอร์ด แบลลาร์ด โดล หัวหน้าของพรรคมิชชันนารี ศัตรูของพระบรมวงศานุวงศ์ฮาวาย ได้ขอให้สมเด็จพระราชินีสละราชสมบัติ และประกาศว่าพระราชินีลงราชราชบัลลังก์แล้ว และจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล เขาทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีฮาวาย จนกระทั่งในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๓๖ กองกำลังนาวิกโยธินและกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้บุกยึดกรุงโฮโนลูลู ล้มล้างราชอาณาจักรฮาวาย และผนวกเกาะฮาวายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา สมเด็จพระราชินีนาถจึงยอมลงพระปรมาภิไธยในหนังสือสละสิทธิ์ในราชสมบัติ แล้วพระองค์ก็ไม่เสด็จออกในที่สาธารณะ ทรงเขียนบันทึกในความทรงจำของพระองค์ชื่อเรื่องฮาวายโดยพระราชินีฮาวาย (Hawaii’s Story by Hawaii’s Queen)

สมเด็จพระราชินีนาถลิลิอัวกาลานี เป็นคนพื้นเมืองที่มิได้หูป่าตาเถื่อน ทรงได้รับการศึกษาสูงอย่างที่ดีที่สุดที่จะหาได้ในฮาวายสมัยนั้น พระอาจารย์ของพระองค์เป็นมิชชันนารี พระองค์เรียนได้ดีทั้งวิชาสามัญและวิชาดนตรี คงมีใครไม่กี่คนที่ทราบว่าเพลงอโลฮา โอเอ (Aloha Oe) ที่มีชื่อเสียงเสียง พระองค์เป็นผู้ประพันธ์  ในบั้นปลายพระชนม์ชีพพระองค์ทรงอาศัยอยู่ที่พระราชวังวอชินตัน โฮโนลูลู รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ตราบจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๐ ด้วยภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมอง พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ถูกบริจาคให้ “กองทุนสมเด็จพระราชินีนาถลีลีอัวกาลานีเพื่อเด็กกำพร้าและยากจน” ซึ่งกองทุนยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน





เออเชนีเดอมองติโค
(Eugénie de Montijo)
สมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส พระองค์สุดท้าย

พระนางเออเชนี (Eugénie) เดิมมีนามเต็มว่า เออเชนี มาเรีย เดอ มองติโจ เดอ กุ๊ซมาน (Eugénie de Montijo de Guzmén) ประสูติในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๖๙ ที่แคว้นเกรนาดา ประเทศสเปน พระองค์เป็นชาวสเปนโดยกำเนิด เป็นบุตรีของคาร์เปียโน เดอ พาลาฟอก ยี ปอร์โตคาเรโร เคานท์แห่งมองติโจ กับมาเรีย มานูเอลา เคิร์กเพทริค เคานท์เตสแห่งมองติโจ  บิดามารดาเป็นผู้ดีมีตระกูลชาวสเปน ผู้จงรักภักดีกับฝรั่งเศส

พระนางได้ศึกษาในกรุงปารีส ในแบบคาทอลิก ณ สำนักชี บาซิลิกาแห่งซาแคร์ โคอูล (Sacré Cœur) ที่ล้ำสมัยในสมัยนั้น ที่นั่นพระนางได้พบและผูกสมัครรักใคร่กับจักรพรรดิในอนาคต ชื่อ หลุยส์ นโปเลียน (Louis Napoléon) ผู้เป็นหลานชายของพระเจ้านโปเลียนที่ ๑

เมื่อจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ สละราชสมบัติในวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๓๕๗  นโปเลียน ฟร็องซัว ชาร์ล โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต พระราชโอรสของพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ ๒ ซึ่งไม่ได้ทรงปกครองฝรั่งเศสในทางปฏิบัติแต่อย่างใด แต่ก็ถือว่าทรงเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศสในนาม และเป็นเพียงการครองราชย์ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ  เมื่อโอรสองค์เดียวของพระเจ้านโปเลียนที่ ๑ สิ้นพระชนม์  หลุยส์ นโปเลียน จึงมองว่าตนเองควรเป็นผู้สืบสายตระกูลของพระเจ้านโปเลียนที่ ๑ ต่อไป

หลุยส์ นโปเลียน เป็นบุคคลแรกและคนเดียวที่ประชาชนเลือกตั้งโดยตรงให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เขาอยู่ในตำแหน่งระหว่าง พ.ศ.๒๓๙๑-๒๓๙๕ แต่รัฐธรรมนูญมิให้ดำรงตำแหน่งซ้ำ เขาจึงได้ยึดอำนาจรัฐบาลของตนเองแล้วสถาปนาตนขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ (Napoleon III)  

หลุยส์ นโปเลียน เป็นชายหนุ่มที่มีอนาคตดีที่สุดในบรรดาบุรุษที่มาติดพันกุลสตรีที่ชื่อเออเชนี เออเชนีจึงรับรักและเดินทางจากสเปนมาฝรั่งเศสใน ปี พ.ศ.๒๓๙๑ ทั้งสองได้สมรสกันในวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๓๙๖ เมื่อ หลุยส์ นโปเลียนได้ตั้งตัวเองเป็นพระจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓

จักรพรรดิเออเชนีเป็นผู้ที่มีความสวยงามมาก จิตรกรที่มีชื่อเสียงต่างแย่งกันวาดภาพเหมือนของพระองค์ ในวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๓๙๙ พระนางประสูติพระโอรส ได้ขนานนามตามพระเจ้านโปเลียนมหาราชผู้เป็นต้นราชวงศ์ว่า เจ้าชายนโปเลียน เออแชน หลุยส์ โบนาปาร์ต (Napoleon Eugene Louis Bonaparte) ทั้งพระจักรพรรดิและพระจักรพรรดินีทรงมีความหวังเต็มเปี่ยมถึงอนาคตอันเรืองรองของพระราชกุมารแห่งฝรั่งเศส (Prince impérial de France) ว่าจะเป็นพระรัชทายาทสืบสายราชวงศ์โบนาปาร์ตต่อไป

เพื่อให้ราชวงศ์โบนาปาร์ตเป็นที่ยอมรับในบรรดาชาวฝรั่งเศส พระจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ และพระจักรพรรดินีเออเชนีจึงทรงแสดงพระองค์ให้เด่นทางการเมืองยิ่งขึ้น ทรงรับเชิญไปพูดในที่ต่างๆ และทรงเขียนบทความไปลงหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับนโยบายของพระองค์ที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมฝรั่งเศสเจริญรุ่งเรือง เพื่อให้ประชาชนมีความผาสุก ทรงเปิดพระราชวังรับรองราชอาคันตุกะทั้งชาวต่างประเทศและชาวฝรั่งเศสเองบ่อยครั้ง

พระจักรพรรดินีเออเชนีทรงสนทนาเรื่องการต่างประเทศได้อย่างเฉลียวฉลาด ทรงได้รับความไว้วางพระทัยให้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินหลายครั้ง ในด้านการศาสนา พระจักรพรรดินีทรงเป็นคาทอลิกที่เคร่งครัด

พระจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ เสด็จไปทำสงครามหลายครั้ง ในระยะแรกประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เช่น การรบที่ซอลเฟอริโน ในปี พ.ศ.๒๔๐๒ แต่การสงครามในสมัยของพระเจ้านโปเลียนที่ ๓ นั้น ต้องดำเนินการทางการทูตควบคู่ไปตลอดเวลา ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตารบอย่างสมัยพระจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑  เพราะรัชสมัยของพระองค์ประจวบเหมาะกับเวลาที่นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่ชาวอิตาลีและเยอรมันกำลังดำเนินการทางการเมืองอยู่เช่นเดียวกัน คือที่ อิตาลี เคานท์คาวัวร์ รวมแคว้นเล็กแคว้นน้อยที่แตกแยกกันเป็นประเทศชาติได้สำเร็จ และทางเยอรมัน พระองค์ต้องพบกับคู่ปรับที่คร่ำหวอดทางการเมือง เช่น ออตโต ฟอน บิสมาร์ค ผู้กำลังพยายามทำให้ประเทศเยอรมนีเป็นปึกแผ่นมั่นคง  พระองค์จึงมีศัตรูทางการเมืองมากทั้งภายในและภายนอกประเทศ  นอกจากนี้ พระจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ ยังมีพระโรคภายในพระวรกายรุมเร้า คือโรคนิ่วในไต ซึ่งทำให้พระองค์ทรงเจ็บปวดทรมานมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๙๙ และไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้  ในการสงครามครั้งสุดท้ายที่เซดาน (Sedan) ที่พระองค์รบกับปรัสเซีย (เยอรมนี) พระองค์ประชวรแทบเสด็จสวรรคตกลางสนามรบ จนต้องยอมพ่ายแพ้แก่เยอรมนีในวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๑๓

พระองค์ถูกยึดอำนาจ ประเทศฝรั่งเศสกลับไปเป็นประเทศสาธารณรัฐอีกครั้งหนึ่ง พระจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ และครอบครัวได้เสด็จลี้ภัยไปอังกฤษ ได้ตั้งรกรากที่คริสเลเฮิร์ท เคนต์  

พระจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ สวรรคตในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๖ ที่มณฑลเค้นท์ ในประเทศอังกฤษ  หลังจากพระสวามีสวรรคต ในทุกที่ที่พระจักรพรรดินีเออเชนีเสด็จไปประทับอยู่ ทรงรักษาพระเกียรติยศของพระองค์ไว้อย่างดียิ่ง ทรงมีความหวังว่าวันหนึ่งพระโอรสจะได้กลับไปครองประเทศฝรั่งเศสอีก แต่เมื่อพระโอรสสิ้นพระชนม์ในวัยเพียง ๒๓ พรรษาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๒ พระนางเออเชนีจึงหมดความหวัง จึงทรงอยู่อย่างสงบเงียบอย่างเจ้านายสตรีที่ห่างราชบัลลังก์

พระนางเออเชนีทรงมีพระชันษายืนถึง ๙๔ พรรษา ทรงพระประชวรสวรรคตที่บ้านเกิดเมืองนอนของพระองค์ คือที่ กรุงแมดริด ประเทศสเปน เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๓

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 กรกฎาคม 2561 10:38:20 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 22 มีนาคม 2561 15:39:59 »


พระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร
วาดโดยวินเทอร์ฮอลเทอร์

'สมเด็จย่าแห่งยุโรป' (Grandmother of Europe)
สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ครองสหราชอาณาจักร ในช่วงระหว่าง ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๘๐ – ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๔ พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๖๒ ณ พระราชวังเค็นซิงตัน, ลอนดอน เป็นพระราชธิดาในเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์  (Duke of Kent) พระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ ๓ (King George III) แห่งสหราชอาณาจักร กับพระนางชาร์ลอตต์แห่งเมคเลินบวร์ค-ชเตรลิทซ์ (Charlotte von Mecklenburg-Strelitz)

พระเจ้าจอร์จที่ ๓ นั้น ทรงมีโอรสหลายองค์ แต่เจ้าฟ้าราชกุมารแห่งพระเจ้าจอร์จ ทิวงคตในเวลาไล่เลี่ยกันหมดทุกองค์ ราชบัลลังก์อังกฤษจึงตกเป็นของเจ้าหญิงวิคตอเรีย

เจ้าหญิงวิคตอเรียได้รับราชสมบัติอังกฤษในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๓๘๐

ในอดีตนั้น ประเทศอังกฤษเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ซึ่งประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์ รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน  ตำแหน่งของเจ้าหญิงวิคตอเรียเมื่อราชาภิเษก จึงเรียกว่า Queen of the United Kingdom of Great Britain and Ireland and Empress of India

วัยเยาว์ : เจ้าหญิงวิคตอเรียได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้มงวดจากพระมารดา พระนางถูกจำกัดอิสรภาพอยู่มาก กล่าวกันว่าในทุกครั้งที่ต้องเดินออกมาจากห้องนอน จะต้องมีคนจับมือไปจนถึงที่หมาย ห้องนอนจะต้องมีคนคอยเฝ้าอยู่ตลอดเวลา  พระราชมารดากับพระนางจึงเป็นเหมือนขมิ้นกับปูน  เมื่อขึ้นครองราชย์นั้น พระราชินีนาถวิคตอเรียรับสั่งให้จัดหมู่ห้องสำหรับพระราชทานพระราชมารดาที่พระราชวังบัคกิ้งแฮม โดยให้จัดให้ไกลที่สุดจากที่ประทับของพระองค์  ที่พระราชินีนาถไม่โปรดพระราชมารดาก็เพราะเรื่องที่บังคับพระองค์ต่างๆ นานา และที่สำคัญที่สุดคือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในเชิงชู้สาวกับ เซอร์จอห์น คอนรอย ซึ่งเป็นข้าราชบริพารในราชสำนัก  

ดัชเชสแห่งเค้นท์ พระราชมารดาเสียพระทัย และเคยว่าถ้าลูกมีครอบครัวมีลูกมีเต้าแล้วลูกก็จะรู้สึกเหมือนพระราชมารดา  แต่พระสมเด็จพระราชินีนาถเป็นคนรักเดียวใจเดียว จึงมิทรงรู้สึกอะไรเหมือนพระราชมารดา  เมื่ออภิเษกสมรสกับพระสวามี คือเจ้าชายอัลเบิร์ต (Prince Consort Albert of Saxe-Coburg-Gotha) พระโอรสพระองค์ที่สองของแอนสท์ที่ ๑ ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา และเจ้าหญิงหลุยส์แห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทินบูร์ก นั้น พระองค์ก็ทรงทำตามเหตุผลข้อเดียวเท่านั้น คือ ความรัก ทรงพบกับเจ้าชายอัลเบิร์ต พระโอรสองค์ที่ ๒ ของพระบิดา ซึ่งเป็นเจ้าเยอรมันที่มีดินแดนไม่ใหญ่โตนัก  การเป็นโอรสองค์ที่ ๒ ตามกฎหมายของประเทศฝรั่งทั้งหลาย ซึ่งสืบเค้ามาจากสมัยกลาง ถือว่าโอรสองค์ที่ ๒ และ ๓ ๔... ต่อไปย่อมไม่ได้มรดกของพระราชบิดามากนัก ที่ดินจะต้องตกเป็นของโอรสองค์โต  โอรสองค์ที่ ๒ และ ๓ ๔ ..... จะได้ก็แต่ของที่พระราชบิดามอบให้  ดังนั้น เจ้าชายอัลเบิร์ตจึงไม่ใช่เจ้าชายผู้ร่ำรวยหรือมีอำนาจ หากแต่ว่าเมื่อพระราชินีนาถวิคตอเรียทอดพระเนตรเห็นเจ้าชายหนุ่มน้อยผู้มีพระพักตร์งาม พระวรกายสูงสง่า พระเกศาสีทองและเป็นเงาวับ ผู้เสด็จมาเยี่ยมเยียนพระองค์นั้น พระองค์ก็ไม่มีพระหทัยจะมอบชายอื่นอีกเลย



พระนางวิกตอเรียในวันครองราชสมบัติ








ดังนั้น ก่อนที่เจ้าชายจะทูลลากลับบ้านเมืองที่แคว้น (Saxe-Coburg-Gotha) พระราชินีนาถวิคตอเรียก็ทรงตัดพระทัยข่มความอายที่ผู้หญิงที่เป็นพระราชินีนาถ ในฐานะพระประมุขเท่านั้นจะต้องทำ นั่นคือทรงกล่าวสู่ขอเจ้าชายอัลเบิร์ตอภิเษกสมรสด้วยพระสุรเสียงสั่น เจ้าชายทรงเข้าใจเรื่องทั้งหลายอยู่แล้ว จึงไม่ปล่อยให้พระราชินีนาถทรงอุทธัจต่อไป   การอภิเษกสมรสของทั้งสองได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และทรงมีพระจริยวัตรปฏิบัติต่อกันอย่างหวานชื่นตลอดพระชนมชีพของเจ้าชาย ทั้งพระราชินีและเจ้าชายมีโอรสธิดาร่วมกันเก้าพระองค์ ทรงมีพระนัดดาหลายสิบพระองค์ แต่ละองค์แยกย้ายกันไปอภิเษกสมรสกับราชวงศ์ต่างๆ สายพระโลหิตสืบทอดมาเป็นเชื้อพระวงศ์ทั่วยุโรป จนพระนางได้รับสมญานามว่า "สมเด็จย่าแห่งยุโรป" หรือ (Grandmother of Europe) และที่โดดเด่นมากคือพระนัดดาที่ต่อมาทรงเป็นจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ ๒ แห่งเยอรมนี

ในยุคสมัยของพระนางเจ้าวิคตอเรีย อังกฤษขยายอาณานิคมไปได้กว้างไกล เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการวางรากฐานบริษัทสัญชาติอังกฤษในที่ต่างๆ ทำให้เกิดการแผ่ขยายอำนาจของอังกฤษในรูปของการตั้งบริษัทสัญชาติอังกฤษเพื่อทำการค้า สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก งานที่ทำชื่อเสียงให้รัชกาลของพระราชินีนาถวิคตอเรีย ได้แก่ งานจัดแสดงสินค้านานาชาติครั้งแรก การสร้างหอประชุมใหญ่สำหรับพระนคร การสร้างพิพิธภัณฑสถานสำหรับจัดแสดงวัตถุจากทุกมุมโลกที่อยู่ในเครือจักรภพของอังกฤษ พระราชภารกิจของพระราชินีนาถลุล่วงไปได้ด้วยดีก็เพราะมีเจ้าชายพระสวามีอยู่เบื้องหลัง พระราชินีนาถวิคตอเรียเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติตั้งแต่พระชนมายุยังน้อย เพียง ๑๘ พรรษา ทั้งมิได้ทรงเรียนวิชาการเมืองการปกครองมาจากผู้ใด การหวังพึ่งพวกมุขมนตรีและนักการเมืองก็พึ่งได้แต่เพียงระดับหนึ่ง แต่ผู้ที่ปรารถนาดีต่อพระองค์ตลอดเวลาก็คือเจ้าชายอัลเบิร์ตผู้เป็นพระสวามีนั่นเอง  เจ้าชายอัลเบิร์ตผู้มีพระสิริโฉมงดงามเหมือนเทวรูป แต่กลับเป็นผู้มีอุปนิสัยเอาการเอางาน เป็นผู้ที่ช่างคิดช่างตรอง และมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล โดยไม่มีเรื่องอิสตรีมายุ่งเกี่ยวแม้แต่น้อย พระราชินีนาถวิคตอเรียจึงได้ทรงเรียนงานจากเจ้าชาย จวบจนเมื่อเจ้าชายอัลเบิร์ตสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคไทฟอยด์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๔ พระชนม์ได้ ๔๑ ปี  สร้างความโทมนัสอย่างแสนสาหัสให้กับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียซึ่งได้ทรงตกอยู่ในสภาพการไว้ทุกข์กึ่งถาวรและฉลองพระองค์เป็นสีดำตลอดพระชนม์ชีพที่เหลือ ทรงมีชีวิตอย่างเรียบง่ายในพระราชวังในชนบท มีข้าราชบริพารที่จงรักภักดีและสุนัขเป็นคู่พระทัย พระองค์ทรงหลีกเลี่ยงการปรากฏองค์ในที่สาธารณะและไม่ค่อยเสด็จเข้ากรุงลอนดอนในอีกหลายปีต่อมา การหลบพระองค์จากสาธารณชนทำให้มีพระนามเรียกเล่น ๆ ว่า "แม่หม้ายแห่งวินด์เซอร์"  

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จสวรรคต ณ ตำหนักออสบอร์น บนเกาะไอล์ออฟไวต์ ในช่องแคบอังกฤษ  ด้วยอาการเส้นพระโลหิตแตกในสมองเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๔ สิริพระชนมพรรษา ๘๑ พรรษา ครองสิริราชสมบัติได้ ๖๓ ปีเศษ  


อ้างอิง : - majorcineplex.com
         - board.postjung.com
         - th.wikipedia.org

         - ราชินีในความทรงจำ นิตยสาร สกุลไทย



สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ ๑ แห่งอังกฤษ
ภาพโดย แอนโตนิส มอร์ ค.ศ.๑๕๕๔

พระราชินีนาถแมรี่ที่ ๑ แห่งอังกฤษ  

พระราชินีนาถแมรี่ที่ ๑ มีพระราชประวัติเกี่ยวพันกับพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๑  โดยพระราชินาถแมรี่ที่ ๑ ทรงครองราชย์ก่อน เพราะเป็นพระพี่นางของพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๑  ความจริงแล้วในประเทศอังกฤษ ในบรรดาพระราชินีนาถ ผู้ครองราชย์ด้วยพระองค์เองมิได้ตามพระสวามีนั้น พระราชินีนาถแมรี่ที่ ๑ ทรงนับว่าเป็นพระองค์แรก โดยทรงครองราชย์ระหว่าง ค.ศ.๑๕๕๓-๑๕๕๘ สวรรคตไว เพราะมีพระสุขภาพไม่ดีนัก

พระราชสมัญญาที่ติดพระองค์ ใครๆ ก็รู้จักทั่วไปคือ Bloody Mary หรือแมรี่มือเปื้อนเลือด หรือแมรี่กระหายเลือด  เพราะพระองค์ต้องการสนับสนุนพวกคาทอลิกขึ้นในประเทศอังกฤษอีก หลังจากที่ประเทศอังกฤษได้กลายเป็นประเทศโปรเตสแตนต์แล้วตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระราชบิดา คือ พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ในสมัยของพระนางเจ้าแมรี่ที่ ๑ การไล่ล่าฆ่าฟันระหว่างคาทอลิกกับโปรเตสแตนต์เป็นไปอย่างรุนแรกมาก คฤหาสน์บางแห่งก็ทำเป็นมีฝาผนังสองชั้น พวกพระคาทอลิกซึ่งแอบอยู่ในหลืบฝาจะได้ออกมาทำพิธีให้ศาสนิกซึ่งอยู่ในคฤหาสน์ อีกฝ่ายหนึ่งคือพวกโปรเตสแตนต์ก็ต้องซ่อนตัวอีกเช่นกัน ผู้คนฆ่าฟันกันด้วยเรื่องถือคนละศาสนาจนเดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า ข้างพระนางเจ้าแมรี่ที่ ๑ ก็มิได้ทำพระองค์เป็นกลางให้สมกับที่เป็นผู้เป็นใหญ่ แต่เข้ากับพวกคาทอลิกเรื่อยไป ขุนนางที่ทรงเรียกหามาใช้สอยก็โปรดแต่ขุนนางที่เป็นคาทอลิก

พระราชินีนาถแมรี่ที่ ๑ เป็นพระราชธิดาองค์แรกของพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ (ทรงมีราชินี ๖ องค์ ) พระราชินีนาถแมรี่ที่ ๑ เป็นราชธิดาของพระมเหสีองค์แรก คือเจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งอรากอน  เนื่องจากทรงสูงศักดิ์มาก ทางฝ่ายพระราชมารดาซึ่งเป็นเจ้าหญิงสเปน  พระราชบิดาและพระราชมารดาจึงพยายามจะหาคู่ให้เจ้าหญิงดีๆ เพื่อจะได้ให้พระเขยขวัญที่เหมาะสมกับพระยศศักดิ์ พระองค์ไม่สวยงามนัก แต่รักการเรียนและทรงฉลาดเฉียบแหลม  พระราชมารดาทรงดูแลการศึกษาเองและมีผู้ช่วยสอนเป็นหญิงมีตระกูลระดับดยุค

เจ้าหญิงเริ่มโชคไม่ดีตั้งแต่ตอนได้หมั้นกับพระจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Roman Emperor) คือพระเจ้าชาร์ลที่ ๕ ซึ่งเวลานั้นเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๑ แห่งสเปนด้วย น่าคิดว่าพระคู่หมั้นคงไม่ได้รักไม่ได้ถนอมเจ้าหญิงเลย เพราะบงการให้เจ้าหญิงเดินทางไปเฝ้าถึงสเปน และให้เอาสินสอดจำนวนมากไปด้วย เมื่อทางฝ่ายเจ้าหญิงไม่ปฏิบัติตาม พระองค์ก็ตีห่างจากเจ้าหญิงโดยไปหาพระคู่หมั้นใหม่

เจ้าหญิงแมรี่ได้รับเป็นรัชทายาทบัลลังก์อังกฤษตั้งแต่ ค.ศ.๑๕๒๕ และกำลังจะมองหาคู่อภิเษกใหม่ ชีวิตของพระองค์ก็ดูเหมือนถล่มทลายลงเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อสมเด็จพระราชบิดาทรงเลิกร้างกับสมเด็จพระราชมารดา โดยพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ทรงอ้างว่า พระนางแคทเธอรีนแห่งอรากอนเคยแต่งงานกับเจ้าชายที่เป็นพระเชษฐาของพระองค์มาก่อน เมื่อมาแต่งงานกับพระองค์จึงถือว่าทรงทำผิดกฎทางสายเลือด (Incest) พระองค์จึงขอหย่าโดยส่งคำร้องไปที่พระสันตะปาปา คำขอหย่านี้ได้รับการตอบรับจากนักกฎหมายในประเทศอังกฤษ แต่พระสันตะปาปาไม่พระราชทานพระอนุญาต ใน ค.ศ.๑๕๓๔ พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ จึงตัดสัมพันธ์กับกรุงโรม และทรงตั้ง The Church of England ขึ้นในประเทศอังกฤษ เรื่องนี้กระทบกระเทือนเจ้าหญิงแมรี่มาก เพราะถ้าบิดา มารดา ทำผิดกฎเกี่ยวกับสายเลือด (Incest) สิ่งที่เกิดขึ้นแก่ลูกก็คือกลายเป็นลูกนอกสมรส   พระนางแอนน์ โบลีน (Anne Boleyn) พระราชินีใหม่ของพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ประสูติพระราชธิดาทรงพระนามว่า เอลิซาเบธ (เจ้าหญิงน้อยๆ องค์นี้ต่อมาคือพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๑)  พระนางแอนน์ โบลีน ทรงร้ายสุดสุดกับเจ้าหญิงแมรี่ มีการห้ามเรียกพระองค์ว่าเจ้าหญิง ห้ามเฝ้าพระราชบิดาและพระราชมารดา และบังคับให้เจ้าหญิงทำตนเป็นนางกำนัลของเจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งเพิ่งเกิดใหม่ เจ้าหญิงแมรี่ไม่มีโอกาสได้พบพระราชมารดาอีกเลย ถึงแม้ว่าทรงแอบเขียนจดหมายถึงกันอย่างลับๆ

พระนางแอนน์ โบลีน ทรงเกลียดชังเจ้าหญิงแมรี่อย่างมากมาย แต่เจ้าหญิงได้รับมรดกความกล้าหาญมาจากพระราชมารดา และความดื้อรั้นจากพระราชบิดา ทำให้พระองค์ไม่ยอมรับว่าทรงเป็นลูกนอกสมรส และไม่ยอมไปบวชชีเมื่อถูกบังคับ

ต่อมา พระนางแอนน์ โบลีน ผู้ผยองทำให้พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ กริ้ว และทรงสั่งให้บั่นพระศอนาง  พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ทรงหันมาทอดพระเนตรพระราชธิดาองค์โตอีกครั้ง แล้วทรงมีข้อเสนอว่าพระองค์จะยกโทษให้เจ้าหญิงแมรี่ ถ้าเจ้าหญิงจะยอมรับว่าพระราชาเป็นหัวหน้าของ The Church of England และถ้าเจ้าหญิงจะยอมรับว่าพระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์ทรงมีความสัมพันธ์กันแบบปีนกฎเกี่ยวกับสายเลือด (Incest)   ในตอนแรกเจ้าหญิงปฏิเสธ แต่แล้วก็ทรงยอมตามคำขอของพระราชบิดา เมื่อพระจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ ๕ ทรงขอร้องอีกพระองค์หนึ่ง  ต่อมาเจ้าหญิงแมรี่ก็ทรงเสียใจการตัดสินพระทัยเรื่องนี้ เงาแห่งความเป็นลูกนอกสมรสติดตรึงแน่นกับพระองค์แทบจะแกะไม่ออก เจ้าชายที่มาติดพันพระองค์ แล้วก็หายพระพักตร์ไปองค์แล้วองค์เล่า จัดว่าพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ทรงก่อกรรมทำเข็ญไว้กับพระราชธิดาองค์โตไม่ใช่น้อย แต่พระองค์ก็หันมาทำดี แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหญิงแมรี่ทรงเป็นแม่ทูนหัว (Godmother) ของเจ้าชายเอ็ดวาร์ด พระโอรสองค์ใหม่ซึ่งประสูติจากพระราชินี ลำดับที่ ๓ คือ เลดี้เจน ซีเมอร์ (Jane Seymour)

เมื่อทรงเจริญพระชันษาเต็มที่ เจ้าหญิงแมรี่จัดว่าเป็นเจ้าหญิงองค์สำคัญนับทั้งในอังกฤษและบนภาคพื้นทวีปยุโรป แต่ถึงในวัยสาวเจ้าหญิงแมรี่ก็ทรงมีพระรูปโฉมอย่างธรรมดา แต่ทรงมีเสียงเพราะ และรับสั่งได้หลายภาษา ต่อมาเมื่อพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ทรงมีพระราชินีลำดับที่ ๔ คือ แคทเธอรีน โฮวาร์ด (Catherine Howard) พระองค์ทรงเรียกพระราชธิดาองค์โตกลับเข้าราชสำนัก และโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ในลำดับของการสืบสันตติวงศ์โดยให้ลำดับต่อจากเจ้าชายเอ็ดวาร์ด  ฝ่ายเจ้าชายเอ็ดวาร์ดทรงครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ใน ค.ศ.๑๕๔๗ พระองค์พระชนมายุน้อยเกินไปและเชื่อแต่การยุยงของขุนนางที่ต้องการให้พระองค์ออกหน้าในการสนับสนุนพวกโปรเตสแตนต์ พระองค์ให้เลิกการสวดมนต์ด้วยภาษาละตินและให้สวดด้วยภาษาอังกฤษแทน แต่เจ้าหญิงแมรี่ก็ทรงให้สวดในภาษาละตินต่อไปในโบสถ์ส่วนพระองค์ การขัดแย้งกับพระเจ้าเอ็ดวาร์ดครั้งนี้ทำให้เจ้าหญิงแมรี่ทรงหวั่นๆ ว่าพระศอจะถูกคมขวานหรือไม่ โชคยังดีที่พระเจ้าเอ็ดวาร์ดสวรรคตไว ถึงคราวที่เจ้าหญิงทรงได้ราชสมบัติ เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ ๑  ในเวลานั้นพระองค์ทรงมีพระชันษาได้ ๓๗ ปี และทรงมีพระบุคลิกกล้าหาญและตรงไปตรงมาคล้ายสมเด็จพระราชบิดา

น่าเสียดายที่พระนางเจ้าแมรี่ไม่ทรงมีแนวนโยบายทางการเมืองที่เฉียบแหลม พระองค์ไม่ได้รับความฉลาดทางการปกครองจากพระราชบิดาที่ทรงเป็นไม้เบื่อไม้เบากันเสมอ พระราชมารดาก็ไม่ทรงได้พบกัน ในที่สุดนโยบายของพระองค์ก็เป็นความเชิดชูคาทอลิก พระองค์ทรงหวังที่จะนำประชากรอังกฤษของพระองค์กลับเป็นคาทอลิกใหม่ ทรงนับถือพระสันตะปาปาที่กรุงโรม และพระองค์ทรงหวังจะได้อภิเษกกับกษัตริย์คาทอลิกแห่งสเปน คือ พระเจ้าฟิลิปที่ ๒ ผู้อ่อนชันษากว่าพระองค์ถึง ๑๑ ปี ข้าราชบริพารคนใดกราบทูลห้ามปรามพระองค์ก็ไม่ทรงฟัง พระองค์อภิเษกกับพระเจ้าฟิลิปที่ ๒ จนได้ และทรงทำพระองค์เป็นกษัตริย์คาทอลิกที่ดีอยู่ถึง ๓ ปี  ใน ค.ศ.๑๕๕๔ จึงเกิดกบฎของพวกโปรเตสแตนต์ พระนางเจ้าแมรี่ทรงกล่าวปลุกใจคนอังกฤษอย่างกล้าหาญให้รักชาติและช่วยพระองค์ปราบพวกกบฏ ปรากฏว่าการปราบกบฏคราวนี้ มีพวกโปรเตสแตนท์ถูกฆ่าและเผาไฟถึง ๓๐๐ คน นี่เองเป็นที่มาของพระสมัญญาว่าพระองค์เป็น Bloody Mary

ในเรื่องส่วนพระองค์ พระราชินีนาถแมรี่ทรงตกพระโอรสธิดาหลายครั้ง พระองค์สวรรคตในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายาน ค.ศ.๑๕๕๘ แล้วทุกสิ่งที่พระองค์พยายามสร้างหรือเชิดชูก็กลายเป็นภัสมธุลีไปหมด แล้วพระขนิษฐาต่างมารดาคือเจ้าหญิงเอลิซาเบธก็ได้เป็นพระราชินีนาถองค์ต่อไป
 ... นิตยสารสกุลไทย รายสัปดาห์


พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กับองค์รัชทายาท
ภาพจาก : th.wikipedia.org

พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส (Louis XIV de France)
พระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป

พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ (Louis XIV de France-หลุยส์ กาโตร์ซ เดอ ฟร็องซ์) หรือหลุยส์มหาราช (Louis le Grand-หลุยส์ เลอ กร็องด์) หรือสุริยกษัตริยาธิราช (le Roi Soleil-เลอ รัว-โซเลย) ประสูติเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ค.ศ.๑๖๓๘ (พ.ศ.๒๑๘๑) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส และพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งนาวาร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสเปน) เป็นพระราชบุตรของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๓ (Louis XIII) กับราชินีอานน์แห่งออสเตรีย

ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุเพียง ๕ พรรษา สืบราชวงศ์บูร์บง ทั้งทรงมีเชื้อสายราชวงศ์กาเปเตียง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ค.ศ.๑๖๔๓ และทรงครองราชย์นานถึง ๗๒ ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระองค์เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางการปกครองแบบรวมอำนาจทั้งแผ่นดินไว้ที่กษัตริย์

พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มีพระนามเดิมว่า หลุยส์-ดิเยอดองเน (Louis-Dieudonne) ครั้งประทับอยู่ที่พระราชวังแซงต์-แฌร์แม็ง-ออง-เลย์ (๕ พฤศจิกายน ค.ศ.๑๖๓๘) พระนามต่อมาคือ หลุยส์ เลอ กร็องด์ เริ่มใช้วันที่ ๑๔ เมษายน ค.ศ.๑๖๔๓ และพระนาม เลอ รัว-โซเลย ประกาศเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ค.ศ.๑๗๑๕ หลังสวรรคต

พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ไม่กี่เดือนก่อนวันครบพระชนมายุ ๕ พรรษา โดยสมัยนั้นคือช่วง ค.ศ.๑๖๔๘-๑๖๕๒ เกิดกบฏฟรองด์ (Fronde) ต่อต้านอำนาจของกษัตริย์และที่ปรึกษา มีสเปนหนุนหลัง แต่ที่สุดฝรั่งเศสก็ปราบปรามลงได้ และเมื่อหัวหน้าคณะรัฐมนตรี คาร์ดินาล มาซาแร็ง (le Cardinal Mazarin) ผู้บุกเบิกแนวคิดเทวสิทธิราชย์ (กษัตริย์มีสิทธิ์ขาด) พระอาจารย์สอนวิชาการเป็นกษัตริย์ของพระองค์ เสียชีวิตในปี ๑๖๖๑ ก็ไม่ทรงตั้งใครแทนที่ ทรงประกาศว่า จะบริหารประเทศด้วยพระองค์เอง โดยรอให้คณะรัฐมนตรี ๒ คณะ ครบวาระในปี ๑๖๙๑

การบริหารราชการแผ่นดินของพระองค์ได้สร้างอำนาจรัฐภายใต้การควบคุมเบ็ดเสร็จของวังหลวง ทรงลดทอนบารมีของพวกศักดินา ชนชั้นสูง และอัศวินเชี่ยวชาญการรบ ให้มารับใช้พระองค์เช่นเดียวกับสมาชิกในราชสำนักและข้าราชบริพารทั่วไป เป็นการรวบอำนาจมารวมศูนย์ ทำให้พวกเขากลายเป็นชนชั้นสูงที่ต้องใช้สติปัญญามากขึ้น และทรงประสบความสำเร็จในการกล่อมเหล่าขุนนางมาเป็นพวก วิธีการดังกล่าวทำให้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สืบต่อระบบกษัตริย์ยาวนานก่อนถึงการปฏิวัติฝรั่งเศส

ทั้งนี้ การใช้พระราชอำนาจอันเด็ดขาดของพระองค์ ทำให้ความวุ่นวายต่างๆ หมดสิ้นไปจากฝรั่งเศส (ชั่วระยะหนึ่ง) อาทิ การก่อกบฏของขุนนาง การประท้วงของสภา การจลาจลของชาวนิกายโปรเตสแตนต์ และชาวนา ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาของฝรั่งเศสมานานแล้ว

พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระนางมาเรีย เทเรสแห่งสเปน พระธิดาของพระเจ้าฟิลิปที่ ๔ แห่งสเปน กับพระนางเอลิซาเบธ แห่งฝรั่งเศส ทรงมีพระโอรสธิดารวม ๕ พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์ เลอ กรองด์ โดแฟง หรือ หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส มกุฎราชกุมาร, เจ้าหญิงมารี-เทเรส, เจ้าหญิงอานน์- เอลิซาเบธ, เจ้าชายหลุยส์แห่งฝรั่งเศส และเจ้าหญิงมารี-อานน์   

พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ มีพระสนมมากมาย ในจำนวนนั้น รวมถึงหลุยส์ เดอ ลา วาลลิแยร์, อองเจลลิก เดอ ฟงตองจ์, มาดาม เดอ มงต์เตสปอง และ มาดาม เดอ มังเตอนง (ผู้ซึ่งพระองค์ได้ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับๆ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของราชินี ในปี พ.ศ.๒๒๒๗) ในวัยรุ่น พระองค์ได้ทรงรู้จักกับหลานสาวของพระคาร์ดินัลมาซารัง ชื่อมารี มองซีนี ความรักแบบเพื่อนของทั้งสองถูกขัดขวางโดยพระคาร์ดินัล ผู้ประสงค์ให้พระองค์อภิเษกสมรสกับราชนิกูลของประเทศสเปนเพื่อผลประโยชน์ของฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี พระเจ้าหลุยส์ยังทรงมีสัมพันธ์เป็นเวลายาวนานอีกกับเด็กสาวพนักงานซักรีดของพระราชวังลูฟ ด้วยความเจ้าชู้ของพระองค์ ต่อมาภายหลังได้มีรับสั่งให้สร้างบันไดลับไว้มากมายในพระราชวังแวร์ซายเพื่อจะได้สเด็จไปหาพระสนมของพระองค์ได้สะดวก ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้พวกเคร่งศาสนากลุ่มหนึ่งไม่พอใจ โบสซูเอต์ กับ มาดาม เดอ มังเตอนง จึงพยายามชักชวนให้พระองค์หันกลับมาสู่ความทรงคุณธรรมอีกครั้ง

พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ สวรรคตเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ค.ศ.๑๗๑๕ ด้วยโรคติดเชื้อจากแผลกดทับ ทรงประกาศก่อนสิ้นพระทัยว่า “ข้าจะไปแล้ว แต่รัฐของข้าจะคงอยู่ตลอดไป” รัชสมัยของพระองค์กินเวลา ๗๒ ปี กับ ๑๐๐ วัน พระศพถูกฝังไว้ที่บาซิลิก ซังต์ เดอนี หลุมพระศพนี้ถูกบุกรุกทำลายในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส (๑๗๘๙)

พระราชปนัดดา (เหลนทวด) หลุยส์ ดยุกแห่งอ็องฌู ผู้มีพระชนม์เพียง ๕ ชันษา ครองราชย์สืบต่อ โดยในรัชสมัยของพระองค์ ทรงมีรัชทายาทที่จะสืบต่อราชบัลลังก์ได้ถึง ๓ พระองค์ ได้แก่ พระราชโอรส หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, พระโอรสของโดแฟ็งใหญ่ คือ หลุยส์ โดแฟ็งน้อย และพระโอรสองค์โตในโดแฟ็งน้อย ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ แต่ด้วยพระชนมายุทรงยืนยาวมาก พระโอรสและนัดดาทั้งหมดสิ้นพระชนม์ไปก่อน เหลือเพียงเหลน คือ ดยุกแห่งอ็องฌู ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๕ แห่งฝรั่งเศส
 
รัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ โดดเด่นด้วยการรังสรรค์วัฒนธรรมชั้นสูงของฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศสกลายเป็นภาษาของคนชั้นสูง และภาษาทางการทูตในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ และคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ทั้งทรงทำให้ประเทศเกรียงไกรและแผ่ขยายอาณาเขตไปเป็นอันมาก

ลืมไม่ได้ ทรงให้สร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครอง โดยให้สร้างขึ้นที่ชนบทเมืองแวร์ซายส์ ปรับจากเดิมซึ่งเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ ไว้ประทับในยามออกล่าสัตว์ในสมัยพระราชบิดา เป็นพระราชวังโอ่อ่าอลังการ ใช้เงินภาษีอากรของราษฎรชาวฝรั่งเศสทั้งหมด ๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ฟรังก์ คนงาน ๓๐,๐๐๐ คน และเวลาสร้าง ๓๐ ปี จึงแล้วเสร็จนับจาก ค.ศ.๑๖๖๑ ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงาม

ภายในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ เป็นต้น รวมทั้งสิ้น ๗๐๐ ห้อง ประดับตระการตาด้วยประติมากรรมแกะสลัก ๑๕,๐๓๔ ชิ้น และจิตรกรรม ๖,๑๒๓ ภาพ อีกส่วนที่สำคัญคือสวนสวยงาม พระราชวังแวร์ซายส์ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๓ เมื่อปี ๑๙๗๙

อย่างไรก็ดี การตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลาทำให้รัฐต้องขาดดุล และต้องเก็บภาษีอากรจากชาวไร่ชาวนาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

อเล็กซิส เดอ ทอกเกอวิลล์
นักประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสได้แสดงความเห็นว่า การที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เปลี่ยนพวกชนชั้นสูงให้กลายเป็นข้าราชบริพารธรรมดา รวมทั้งยังเข้าพวกกับผู้ดีใหม่ที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้แต่ไม่ให้มีอำนาจทางการเมือง มีส่วนผลักดันให้เกิดความไม่มั่นคงในเสถียรภาพทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในเวลาต่อมา และเป็นชนวนก่อให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสในที่สุด

สำหรับแผ่นดินสยาม พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงครองราชย์ตรงกับช่วงระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จเจ้าฟ้าไชย สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) และสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ (พระเจ้าท้ายสระ) แห่งกรุงศรีอยุธยา



พระราชวังแวร์ซายส์ (Château de Versailles) พระราชวังที่สวยงามและยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก
ภาพจาก : mashkanta.biz
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 กรกฎาคม 2561 10:46:55 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2561 16:37:16 »


พระนางเอเลนอร์แห่งอากีแตน
Eleanor of Aquitaine
Eleanor of Aquitaine, Queen of France and Queen of England

พระนางเอเลนอร์แห่งอากีแตน (Eleanor of Aquitaine) เป็นพระราชินีประเทศฝรั่งเศส ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ จึงออกเสียงพระนามและชื่อแคว้นของพระนางอย่างภาษาฝรั่งเศส ชื่อแคว้นของพระนางในภาษาฝรั่งเศส บางครั้งก็ออกเสียงว่ากุแยน (Guyenne) แต่ชื่อหลังนี้ปัจจุบันไม่ใคร่พบที่ใช้แล้ว

พระนางเอเลนอร์แห่งอากีแตน ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายหลุยส์ พระรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ต่อมาพระรัชทายาทได้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา แล้วทรงพระนามว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๗ (ในระหว่าง ค.ศ.๑๑๓๗-๑๑๕๒) ต่อมาทรงหย่าร้างกันแล้วพระนางได้อภิเษกสมรสใหม่กับพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๒ แห่งประเทศอังกฤษ (ระหว่าง ค.ศ.๑๑๕๒-๑๒๐๔) ต่อมา พระนางเอเลนอร์ได้เป็นพระราชชนนีของกษัตริย์แห่งประเทศอังกฤษสองพระองค์คือ พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ (Richard I the Lion-Heart) และพระเจ้าจอห์นผู้ไร้แผ่นดิน (John Lackland) นักประวัติศาสตร์บางท่านคิดว่าพระนางเอเลนอร์ทรงเป็นสตรีผู้มีอิทธิพลที่สุดในศตวรรษที่ ๑๒

อิทธิพลของพระนางเอเลนอร์ส่วนหนึ่งมาจากการที่พระองค์ทรงมีที่ดินขนาดมหาศาล ในศตวรรษที่ ๑๒ ที่ดินถือเป็นสิ่งที่ทำให้เจ้า (Suzerain) มีข้า (Vassals) เป็นจำนวนมาก การที่มีที่ดินและมีข้าจำนวนมากทำให้มีทรัพย์สมบัติมาก และสามารถเกณฑ์แรงข้าไปรบในสงครามที่เจ้าทำกับเจ้าอื่นๆ เมื่อได้ชัยชนะก็ทำให้เจ้ายิ่งมีอิทธิพลยิ่งขึ้น

ที่ดินขนาดกว้างใหญ่ไพศาลที่พระนางเอเลนอร์ทรงมีนั้น เป็นพระราชมรดกของพระราชบิดาที่ทรงพระนามว่าวิลเลียมที่ ๑๐ พระราชบิดาทรงมีพระยศเป็นดยุคแห่งอากีแตน และทรงเป็นเคานต์แห่งปัวติเอร์ส์ (Duke of Aquitaine and Count of Poitiers) ที่ดินของพระราชบิดาของพระนางเอเลนอร์ในที่ต่างๆ รวมกันแล้วนับว่ากว้างใหญ่กว่าที่ดินในพระราชสมบัติของกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสในเวลานั้นเสียอีก เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ พระนางเอเลนอร์ได้รับมรดกที่ดินนั้นๆ ใน ค.ศ.๑๑๓๗ แล้ว ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๗ แห่งประเทศฝรั่งเศสดังกล่าวแล้ว พระนางเอเลนอร์ทรงดำรงตำแหน่งพระราชินีแห่งประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลา ๑๕ ปี ในเวลา ๑๕ ปีนั้น พระนางทรงมีโอกาสทำกิจกรรมหลายอย่างที่สตรีในสมัยของพระองค์ไม่มีโอกาส เช่น พระนางได้ตามเสด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ ๗ ไปในสงครามครูเสดครั้งที่ ๒ (the Second Crusade) ในระหว่าง ค.ศ.๑๑๔๗ ถึง ๑๑๔๙

เรื่องของสงครามครูเสดนี้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ดังที่มีผู้ดัดแปลงเอาไปเขียนเป็นหนังสือการ์ตูนที่เยาวชนสมัยนี้ได้อ่าน เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อฝรั่งหลายชาติรวมกันเป็นกองทัพไปรบกับแขกคือกองทัพของกษัตริย์คริสเตียนหลายกองทัพ ร่วมมือกันไปตีเอากรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเวลานั้นกษัตริย์ที่นับถือศาสนาอิสลามยึดครองไว้ พวกคริสเตียนเห็นว่าบริเวณกรุงเยรูซาเล็มเป็นสถานที่ประสูติของพระเยซูคริสต์เจ้า ไม่สมควรที่พวกอิสลามจะยึดครอง ในสงครามครูเสดครั้งที่ ๑ เมื่อ ๕๐ ปีก่อนหน้านั้น กองทัพคริสเตียนได้ยึดครองราชอาณาจักรละตินแห่งเยรูซาเล็ม แล้วพวกตุรกีซึ่งนับถือศาสนาอิสลามมาโจมตี

ในระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ ๒ นี้ กองทัพของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๗ ได้ไปพักที่เมืองอันติออค (Antioch) ซึ่งเป็นเมืองของพระเจ้าอาของพระนางเอเลนอร์ พระเจ้าอาองค์นี้มีพระนามว่าเรมองด์แห่งปัวติเอร์ (Reymond of Poitiers)

ธรรมเนียมของเจ้านายฝ่ายสตรีในสมัยนั้นมักเป็นขวัญกำลังใจของอัศวิน หรือถ้าจะคิดอย่างไทยจะเรียกว่าแม่ย่านางประจำใจของอัศวินก็ได้ แต่เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับกามารมณ์

ก่อนออกรบอัศวินจะมาทำวันทยาวุธแม่ย่านางในท่ามกลางสนามสำหรับประลองยุทธ์ และแม่ย่านางมักจะประทานของที่ไม่มีราคามากแต่มีค่าทางจิตใจ เช่น แพรพันพระศอ หรือดอกไม้ โดยโยนลงไปจากอัฒจันทร์ที่นั่งดูอัศวินอยู่ อัศวินจะรับสิ่งของนั้น นำไปจุมพิต ทำท่าทางยินดี แล้วเอาสอดไว้ในเกราะบังอกของตน แม่ย่านางไม่จำเป็นต้องรักกับอัศวิน และอัศวินก็ไม่จำเป็นต้องคิดในทางชู้สาวกับแม่ย่านาง การทำความเคารพและการโยนผ้าแพรหรือดอกไม้ ถือเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย นี่เป็นธรรมเนียมที่สตรีสูงศักดิ์และอัศวินในสมัยนั้นย่อมรู้

ในการสงครามครูเสดครั้งที่ ๒ นี้ เมื่อกองทัพครูเสด เข้าไปพักในเมืองอันติออค กิจกรรมทำนองการให้เกียรติระหว่างสตรีสูงศักดิ์ (แม่ย่านาง) กับอัศวินคงเกิดขึ้น

พระนางเอเลนอร์เมื่อยังไม่ทรงมีพระชนมายุมาก เป็นผู้ทรงสิริโฉมโสภาค พระจริตกิริยาจับตาจับใจชวนมองไม่รู้เบื่อ เป็นที่สนิทเสน่หาของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๗ ยิ่งนัก พระเจ้าหลุยส์คงจะทรงหึงหวงจนนักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ การสะเทือนอารมณ์ที่เมืองอันติออคเป็นการเริ่มต้นการร้างราระหว่างสองพระองค์ เมื่อกลับมาถึงประเทศฝรั่งเศสแล้วทรงพยายามคืนดีกัน แต่ชีวิตคู่หลังสงครามครูเสดก็ต้องอับปางลง สองพระองค์ทรงหย่าร้างกันในเดือนมีนาคม ค.ศ.๑๑๕๒

ตามกฏเกณฑ์ของสังคมสมัยกลางในยุโรปที่เรียกว่าสมัยฟิวดัล (Feudal) พระนางเอเลนอร์ได้ที่ดินในแคว้นอากีแตนกลับคืนเป็นของพระองค์ เพราะเป็นพระราชมรดกจากพระบิดาของพระองค์

หลังจากการหย่าร้างกันเพียงสองเดือน พระนางเอเลนอร์ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายเฮนรี แห่งราชวงศ์พลันตาเจเนต (Plantagenet) ซึ่งมียศศักดิ์อัครฐานเสมอกับพระนางเหมือนกัน คือเจ้าชายเฮนรีพลันตาเจเนต เป็นเคานต์แห่งอ็องจู (Anjou) ซึ่งเป็นแคว้นที่อุดมสมบูรณ์ มีทั้งพืชผลการเกษตรและเป็นที่ผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียง ยิ่งไปกว่านั้นเจ้าชายเฮนรีพลันตาเจเนต ยังเป็นดยุคแห่งนอร์มองดี (Normandy) ด้วย

สองปีหลังการอภิเษกสมรส เจ้าชายเฮนรีพลันตาเจเนต ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ ๒ แห่งประเทศอังกฤษ ที่ดินในพระคลังมหาสมบัติของพระเจ้าเฮนรีที่ ๒ จึงมีทั้งในประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส คือมีที่แคว้นนอร์มองดีในประเทศฝรั่งเศสด้วย

ในคราวที่อภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๗ แห่งฝรั่งเศส พระราชินีเอเลนอร์ทรงมีพระราชธิดา ๒ องค์ ในครั้งที่อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฮนรีที่ ๒ นั้น พระองค์ทรงมีพระราชโอรส ๕ องค์ พระราชธิดา ๓ องค์ ดูจากจำนวนพระโอรสและพระธิดาแล้ว ไม่น่าสงสัยเลยว่า ทำไมพระนางเอเลนอร์จึงทรงมีอิทธิพลมากนัก เพราะพระโอรสก็แยกย้ายกันไปเป็นพระราชินีและดัชเชสในดินแดนต่างๆ ส่วนมากพระโอรสธิดามักปรึกษาหารือกับพระองค์ พระองค์จึงได้รับสมัญญานามว่า “คุณยายและคุณย่า แห่งทวีปยุโรป” (Grand Mother of Europe)

พระโอรสและพระธิดาของพระนางเอเลนอร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีมี เช่น พระโอรสองค์ที่ ๓ คือ เจ้าชายริชาร์ด ซึ่งต่อมาได้ครองราชบัลลังก์อังกฤษ และได้รับพระสมัญญานามว่า พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ (Richard I the Lion-Heart) องค์ผู้นำในสงครามครูเสดครั้งต่อมา

อีกพระองค์หนึ่งคือ เจ้าชายจอฟฟรีย์ ผู้ได้รับพระราชมรดกจากพระราชมารดา คือได้เป็นดยุคแห่งอากีแตน

ส่วนโอรสองค์สุดท้าย คือพระองค์ที่ ๕ ประสูติมาทีหลังเมื่อพระเชษฐาได้รับดินแดนต่างๆ ไปหมดแล้ว พระองค์จึงมีพระสมัญญานามว่า พระเจ้าจอห์นผู้ไร้แผ่นดิน (John Lackland ภาษาฝรั่งเศสใช้ว่า Jean Sans Terre)

ส่วนพระราชธิดามีพระนามว่า มาธิลดา (Matilda) อภิเษกกับดยุคแห่งแซกโซนีและบาวาเรีย (Duke of Saxony and Bavaria) ดินแดนนี้ในปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี พระราชธิดาองค์ที่ ๒ พระนามว่าเอเลนอร์เหมือนพระชนนี ได้อภิเษกกับพระเจ้าอังฟองโซที่ ๘ แห่งคาสตีล์ (Alfonso VIII, King of Castile) ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศสเปน พระราชธิดาอีกพระองค์หนึ่ง พระนามว่าโจน (Joan) อภิเษกสองครั้ง ครั้งแรกกับพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ ๒ แห่งซิซิลี (Sicily) และครั้งที่ ๒ กับเคานต์เรม็องที่ ๖ แห่งแคว้นตูลูส (Raymond VI, Count of Toulouse) ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศฝรั่งเศส

ระยะเวลาที่พระนางเอเลนอร์คงมีความสุขที่สุด คงจะเป็นในตอนที่ทรงเป็นราชินีแห่งประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงเป็นคู่คิดคู่ปรึกษาของพระเจ้าเฮนรีที่ ๒ ทรงมีความสามารถในการปกครองและยังทรงปกครองดินแดนของพระองค์เองในประเทศฝรั่งเศสเป็นอย่างดีด้วย  ราชสำนักของพระองค์ที่ปัวติเอร์ส์ มีชื่อเสียงในการส่งเสริมศิลปะวิทยาการ เป็นศูนย์กลางแห่งการแต่งกวีนิพนธ์ เป็นที่เรียนขนบธรรมเนียมประเพณีการฝึกกิริยามารยาทในราชสำนัก

ในตอนปลายพระชนมชีพ ทรงประสบเรื่องสะเทือนพระทัยหลายเรื่อง พระโอรสกระด้างกระเดื่องกับพระราชบิดา พระนางเอเลนอร์ทรงเข้าข้างพระโอรส เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ ๒ สวรรคต พระนางเป็นพระหัตถ์ที่สำคัญที่ผลักดินให้พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ได้เข้าพิธีราชาภิเษก และทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อพระเจ้าริชาร์ดเสด็จไปสงครามครูเสด

พระนางเอเลนอร์ พระชนมายุยืนมาก ทรงพระชันษาเลยแปดสิบปี ทรงเบื่อหน่ายกิจกรรมการเมืองและเสด็จเข้าจำศีลภาวนาที่วัดฟรองเตอโวล์ท์ (Frontevrault) ในแคว้นอ็องจู ทรงเป็นที่รักและนับถือของบรรดาแม่ชีที่ฟรองเตอโวล์ท์  เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ค.ศ.๑๒๐๔
 




พระรูปปั้น พระนางอิซาเบลที่เมืองกรานาดา

พระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ ๑ แห่งประเทศสเปน

พระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ ๑ แห่งราชวงศ์ตรัสตามารา ประเทศสเปน  เป็นพระราชินีอีกพระองค์หนึ่งที่ทรงมีพระราชประวัติที่น่าสนใจ ควรคู่แก่ความทรงจำ กล่าวคือการราชาภิเษกสมรสของพระองค์กับพระสวามี คือ พระเจ้าเฟร์นันโดที่ ๒ แห่งอารากอน (Aragon) ได้มีผลเป็นประการสำคัญคือทั้งสองได้เป็นขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในการยึดดินแดนสเปนกลับคืนมาจากชาวมัวร์และได้กระทำการรวมดินแดนสเปนเข้าเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันได้เป็นครั้งแรก เป็นเหตุให้ประเทศสเปนเจริญขึ้นเป็นประเทศสมัยใหม่ ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่เจริญเป็นมหาอำนาจของยุโรป และมีการดำเนินงานที่นำสมัย เช่น การบุกเบิกเส้นทางเดินเรือไปโลกใหม่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นนักเดินเรือคนหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนเรื่องทุนรอนในการเดินเรือจากพระนาง

พระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ ๑ แห่งสเปน มีพระราชสมภพเป็นเจ้าหญิงแห่งแคว้นคาสตีล (Castile) พระองค์เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าจอห์นที่ ๒ แห่งคาสตีล กับพระราชมารดาทรงพระนามว่า อิซาเบลลาแห่งโปรตุเกส ประสูติเมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๑๙๙๔ ทรงมีพระราชสมัญญาว่า อิซาเบลลา ผู้เป็นคาทอลิก พระนางจัดได้ว่าเป็นนักปกครองที่ได้รับการกล่าวชื่อในประวัติศาสตร์ พระนางได้ทำให้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเจริญอย่างมากในสเปน แสดงให้เห็นความเคร่งครัดในการนับถือศาสนาของพระองค์ พระองค์ทรงมีพระเชษฐาและพระอนุชา  พระเชษฐาได้ครองราชย์เป็นพระเจ้าเอนริเก ๔ พระอนุชาชื่ออัลฟอนโซ ซึ่งสิ้นพระชนม์ด้วยพระชันษาเพียง ๑๔ ชันษา   

เมื่อพระเจ้าฆวนที่ 2 แห่งกัสติยา พระบิดา เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.๑๙๙๗ พระเจ้าเอนริเกที่ ๔ แห่งกัสติยา พระเชษฐาต่างพระมารดา ได้ขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์ได้เนรเทศพระนางและพระอนุชาไปที่เมืองเซโกเบียและเนรเทศพระมารดาของพระนางอิซาเบลคือ สมเด็จพระราชินีอิซาเบลไปที่เมืองอาเรบาโล  เจ้าหญิงอิซาเบลลาทรงมีชีวิตที่เงียบสงบกับพระมารดาและพระศาสนาในวัยเยาว์  แต่พอพระชนมายุได้ ๑๓ ปี พระองค์และพระอนุชาได้ถูกเรียกตัวมาที่พระราชสำนักเพื่อให้อยู่ใต้การคุมพระองค์เข้มงวดขึ้น พระองค์แสดงความฉลาดเฉลียวให้ปรากฏจนพระเชษฐาต่างพระมารดาคือพระเจ้าเอนริเกที่ ๔ รับพระองค์เป็นรัชทายาทใน พ.ศ.๒๐๑๑ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๗ ปี  ความตายของพระอนุชาอัลฟอนโซ ทำให้เจ้าหญิงอิซาเบลลาได้เป็นพระรัชทายาทแห่งแคว้นคาสตีล แล้วด้วยเหตุที่ทรงอยู่ในวัยเหมาะสมสำหรับการอภิเษก บรรดาเจ้าใหญ่นายโตในคาบสมุทรไอบีเรียจึงชิงกันจะหาคู่ให้เจ้าหญิง  เลือกให้ได้ผลประโยชน์กับผู้จัดหามากที่สุด มีเจ้าชายผู้เสนอองค์เข้ามาให้ทรงเลือกถึง ๔ พระองค์ มีพระเจ้าอัลฟอนโซที่ ๕ แห่งประเทศโปรตุเกสองค์หนึ่ง องค์นี้เป็นผู้ท้าชิงที่สำคัญมาก เพราะว่าพระเชษฐาคือพระเจ้าเอนริเกที่ ๔ เป็นผู้หนุนหลัง  แต่เจ้าหญิงอิซาเบลลาทรงเลือกพระเจ้าพระเจ้าเฟร์นันโด รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อารากอน  ส่วนผู้ท้าชิงชาวฝรั่งเศสนั้นเจ้าหญิงทรงไม่สนพระทัย  แล้วเจ้าหญิงอิซาเบลลาก็เสด็จไปเข้าพิธีราชาภิเษกกับพระเจ้าเฟร์นันโดแห่งอารากอน ในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๐๑๒ ที่พระราชวังเมืองบายาโดลิคที่อยู่ห่างไกล  เรื่องนี้พระเจ้าเอนริเกที่ ๔ ทรงกริ้วมาก และพยายามจะกลับคำที่เคยทรงรับเจ้าหญิงอิซาเบลลาเป็นรัชทายาท  รับสั่งตรงๆ ว่า เพราะเจ้าหญิงเสด็จไปอภิเษกกับพระเจ้าเฟร์นันโดโดยไม่รอคำพระราชทานอนุญาต

ถ้าพระเจ้าเอนริเกที่ ๔ ทรงมีพระชนม์ยืนยาวเราก็ไม่ทราบว่าพระชะตากรรมของเจ้าหญิงอิซาเบลลาจะเป็นเช่นไร แต่พระเจ้าเอนริเกที่ ๔ สวรรคตเสียไว คณะผู้เกลียดชังชาวอารากอนก็เลยต้องล้มเลิกการดำเนินการ เจ้าหญิงอิซาเบลลาทรงได้ครองราชย์เป็นพระราชินีอิซาเบลลาแห่งคาสตีล ใน พ.ศ.๒๐๑๗ และต่อมาได้เป็นพระราชินีแห่งอารากอน ใน พ.ศ.๒๐๒๒ จัดว่าครองบัลลังก์อารากอนคู่กับพระสวามี ตามที่มีผู้เขียนพระฉายาลักษณ์ขณะทรงครองบัลลังก์พร้อมกันสองพระองค์ไว้




เมื่อพระเชษฐาคือพระเจ้าเอนริเกที่ ๔ สวรรคตนั้น เจ้าหญิงอิซาเบลลาประทับอยู่นอกพระนคร แต่พระองค์มีขุนนางที่มีความสามารถและจงรักภักดี ชาวคาสตีลคอยป้องกันพระองค์ และนายพลเรือเอนริเกซ์ซึ่งสนิทสนมกับพระมารดาของพระเจ้าเฟร์นันโด ก็เข้าข้างพระองค์ ข้างฝ่ายปรปักษ์เสนอพระนามของเจ้าหญิงโจอันเป็นคู่แข่ง เจ้าหญิงโจอันมีผู้สนับสนุนที่สำคัญ ทั้งที่เป็นพระและขุนนาง และมาร์เกส์เดอวิลเลนา พระเจ้าอัลฟอนโซที่ ๕ แห่งโปรตุเกสที่เคยเสนอสาส์นรักก็พลอยสนับสนุนเจ้าหญิงโจอันด้วย พระเจ้าอัลฟอนโซที่ ๕ รีบยกกองทัพมาโจมตีแคว้นคาสตีล แล้วก็รีบประกาศหมั้นกับเจ้าหญิงโจอัน  ดังนั้น ระยะสี่ปีแรกที่พระนางอิซาเบลลาได้ครองบัลลังก์คาสตีล แว่นแคว้นของพระองค์จึงเต็มไปด้วยศึกสงคราม ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๐๒๒ พระเจ้าอัลฟอนโซที่ ๕ แพ้อย่างเด็ดขาด ราชบัลลังก์คาสตีลและอารากอนจึงปกครองโดยพระราชาและพระราชินีหนุ่มสาวที่เป็นทองแผ่นเดียวกัน

สเปนกลายเป็นประเทศหนึ่งเดียว แต่พระราชาและพระราชินีก็ต้องใช้กุศโลบาย ความอดทน และความมานะพยายามอย่างมากที่จะทำให้วงการเมือง การปกครองของประเทศเป็นประเทศที่เป็นหนึ่งเดียวได้จริงๆ พระเจ้าเฟร์นันโดที่ ๒ ใน พ.ศ.๒๐๑๘ ได้ทรงทำพระราชพินัยกรรมยกให้พระนางอิซาเบลลาเป็นพระรัชทายาทของพระองค์ในดินแดนอารากอน และทรงกล่าวด้วยว่าถ้าทำเช่นนั้นชาวอารากอนจะได้รับประโยชน์มาก นอกจากพระราชภาระในการรวมประเทศแล้ว พระราชาและพระราชินีอิซาเบลลายังมีพระราชภาระขับไล่อาณาจักรมุสลิมซึ่งตอนนั้นยังตั้งมั่นอยู่ที่กรานาดา (Granada) สงครามกับพวกมุสลิมผลาญเงินในพระคลังของคาสตีลไปไม่น้อย ในเรื่องสงครามกับมุสลิมนี้สมควรยกย่องพระนางอิซาเบลลาในแง่ที่พระองค์ทรงเป็นธุระเอาใจใส่การจัดการพัสดุ และการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม พระองค์กับพระสวามีทรงตั้งกองบัญชาการการรบที่ซานตา เฟ (Santa Fe) และประทับบัญชาการอยู่ที่ซานตา เฟ จนกระทั่งแคว้นกรานาดายอมแพ้

ขณะที่ประทับอยู่ที่ซานตา เฟ  คริสโตเฟอร์โคลัมบัส (Christopher Columbus) ได้ไปเฝ้าพระองค์ ทูลขอความสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการที่จะพากองเรือไปสำรวจหาโลกใหม่ น่าสรรเสริญการมีสายพระเนตรกว้างไกลที่ทำให้พระองค์พระราชทานทุนทรัพย์ให้ตามที่โคลัมบัสขอพระราชทาน หนังสือบางเล่มกล่าวว่าพระองค์เชื่อในอนาคตของการเดินทางไปโลกใหม่มากจนถึงทรงขายเครื่องเพชรเอาเงินให้โคลัมบัส แต่บางเล่มก็ว่าไม่ถึงอย่างนั้น พระราชทานเงินทองที่มีอยู่เฉยๆ เมื่อพบโลกใหม่ ผลประโยชน์ที่ได้จึงผูกกับราชสมบัติของคาสตีลด้วย

เราคงต้องกล่าวว่าพระราชินีนาถอิซาเบลลาทรงมีความคิดอย่างคนสมัยใหม่หลายประการ เช่น พระองค์โปรดเรื่องการจัดการศึกษา พระองค์เองทรงมีพระชนมายุ ๓๐ พรรษาแล้ว เมื่อพระองค์ลงทุนเรียนภาษาละติน แล้วพระองค์ก็เรียนสำเร็จด้วย  พระองค์ไม่โปรดการเหยียดเพื่อนมนุษย์ด้วยการลงเป็นทาส เมื่อโคลัมบัสขนชาวอินเดียนแดงจากโลกใหม่มาเป็นทาส พระองค์ก็รับสั่งให้ปล่อยทาสเสียให้หมด  สำหรับข้าราชสำนักและผู้ใกล้ชิดมีผู้ที่มองพระองค์เป็นเทพธิดา เพราะมีพระเนตรสีฟ้า พระเกศาสีอ่อน ทรงเครื่องเพชรและฉลองพระองค์อย่างวิจิตร ในขณะเดียวกันก็ทรงเอาใจใส่เรื่องของโบสถ์ สำหรับบางคนพระองค์จึงเหมือนเทพธิดาเสด็จมาเยือนโลก

ชาวคาทอลิกบางคนจากต่างประเทศได้ประกาศให้พระนางอิซาเบลเป็นนักบุญ ด้วยเหตุผลที่ว่าพระนางอิซาเบลได้ทำการปกป้องศาสนาคริสต์ให้คงอยู่ คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้ยกย่องพระนางเป็น ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า (Servant of God)

พระนางอิซาเบลได้มีการปรากฏชื่อครั้งแรกบนเหรียญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเหรียญแห่งการระลึกถึงการครบรอบ ๔๐๐ ปีการเดินทางของโคลัมบัสครั้งแรก และในปีเดียวกันพระนางได้เป็นสตรีคนแรกที่ได้ขึ้นบนแสตมป์ของอเมริกาซึ่งอยู่ในชุด Columbian Issue ที่จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองแด่โคลัมบัสเช่นกัน ภาพพระนางได้ปรากฏในสเปนที่ 15-cent Columbian บนมูลค่า 1 $ และในภาพเต็มซึ่งด้านข้างคือโคลัมบัสและบนมูลค่าอื่น ๆ อีกมากมาย

พระราชินีนาถอิซาเบลลาเสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๐๔๗ (พระชนม ๕๓ พรรษา)


ที่มา : -
- ราชินีในความทรงจำ โดย สุริยา รัตนกุล : นิตยสารสกุลไทย ฉ.๒๙๖๕ วันที่ ๑๖ ส.ค.๕๔
- วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กันยายน 2563 15:40:49 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 13 ธันวาคม 2561 14:57:53 »



พระนางแคทเธอรีนหลังอภิเษกได้ ๑๕ ปี

พระนางแคทเธอรีนแห่งอรากอน
(Catherine or Katherine of Aragon)

พระนางแคทเธอรีนแห่งอรากอน (Catherine or Katherine of Aragon) เป็นพระราชธิดาองค์สุดท้องของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ ๒ แห่งอรากอน และสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ ๑ แห่งคาสตีล ในขณะที่พระชนกชนนีทรงเป็นพระราชาและราชินีที่โชคดีที่สุดคู่หนึ่ง แต่พระนางแคทเธอรีนแห่งอรากอนทรงเป็นคนที่ชะตาร้ายที่สุดองค์หนึ่ง ทรงเป็นผู้ถูกกระทำจากพระสวามีอย่างที่เราไม่ค่อยเคยได้ยินนักว่าใครถูกกระทำขนาดนั้น

เจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งอรากอนประสูติเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ค.ศ.๑๔๘๕ ที่ประเทศสเปน  พระราชบิดาเห็นสมควรให้พระองค์เป็นโซ่ทองคล้องใจกษัตริย์อังกฤษซึ่งเพิ่งตั้งราชวงศ์ทิวเดอร์ (Tudor) ได้ใหม่ๆ สเปนกับอังกฤษในระยะนั้นมีความคิดตรงกันอยู่อย่างหนึ่ง คือต่างก็ไม่ไว้ใจกษัตริย์ฝรั่งเศส ดังนั้น เรื่องจึงเป็นว่าพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ ๒ เองก็อยากได้พระรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษมาเป็นพระชามาดา (พระราชบุตรเขย) ทางฝ่ายพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๗ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ทิวเดอร์ก็อยากได้เจ้าหญิงสเปนมาเป็นพระสุนิสา (สะใภ้) เมื่อวัตถุประสงค์ของทั้งสองฝ่ายตรงกัน ราชทูตของประเทศทั้งสองจึงถูกส่งไปจัดการธุระเรื่องการทรงหมั้น เรือของราชทูตแล่นไปแล่นมาระหว่างอังกฤษกับสเปนอย่างขวักไขว่ แต่ละครั้งก็นำรายละเอียดเรื่องสินสอดและคำขอร้องของแต่ละฝ่ายไปแจ้งกับอีกฝ่ายหนึ่ง น่าประหลาดใจว่าราชทูตเดินทางได้จนเรือเกือบจะกางใบไม่ทัน แต่ไม่มีใครคิดว่าจะให้ว่าที่เจ้าบ่าวกับว่าที่เจ้าสาวได้พบเห็นกันเพื่อช่วยการตัดสินพระทัยของแต่ละพระองค์ การที่เจ้าหญิงแคทเธอรีนไม่เสด็จไปอังกฤษนั้นพอเข้าใจได้ เพราะทรงเป็นสตีแรกรุ่น แต่การที่เจ้าชายอาเธอร์โอรสองค์โตของพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๗ ไม่เสด็จไปทอดพระเนตรพระคู่หมั้นบ้างเลยนั้นก็ดูเป็นเรื่องแปลกๆ



แรกรุ่นดรุณี




ก่อนการอภิเษกสมรส

ในที่สุดตามธรรมเนียมของเวลานั้นฝ่ายหญิงต้องไปสู่สถานที่อยู่ของฝ่ายชาย เจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งอรากอนจึงต้องเสด็จออกจากสเปน ใน ค.ศ.๑๕๐๑ เพื่อมาเข้าพิธีอภิเษกกับเจ้าชายอาเธอร์ พระคู่หมั้นดังที่ทราบแล้ว การอภิเษกครั้งนี้เป็นไปตามธรรมดาและเจ้าหญิงแคทเธอรีนได้กลายเป็น “เจ้าสาว” จริงๆ หรือไม่นั้นเรารู้ไม่ได้ แต่ในระยะหลังพระราชินีแคทเธอรีนได้ปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าพระองค์เข้าอภิเษกแต่ในนามเท่านั้น และไม่เคยตกเป็นพระชายาของเจ้าชายอาเธอร์

อย่างไรก็ตาม เจ้าหญิงแคทเธอรีนได้ทำพิธีอภิเษกจริงๆ (ไม่ใช่อภิเษกโดยการใช้ตัวแทน) กับพระรัชทายาทอาเธอร์ ในวันที่ ๑๔ เดือนพฤศจิกายน อภิเษกได้ไม่กี่เดือนเจ้าชายอาเธอร์ก็สิ้นพระชนม์ ในวันที่ ๒ เมษายน ค.ศ.๑๕๐๒ พระอนุชาคือเจ้าชายเฮนรี่โอรสองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๗ จึงได้รับรัชทายาทตำแหน่ง Prince of Wales ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ค.ศ.๑๕๐๔ แล้วต่อมาใน ค.ศ.๑๕๐๙ เจ้าชายเฮนรี่ก็ได้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาเมื่อพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๗ สวรรคตเมื่อ ๒๒ เมษายน ค.ศ.๑๕๐๙

พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ พระองค์นี้ทรงทำสิ่งแปลกๆ หลายเรื่องที่พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษองค์อื่นไม่ทรงมีโอกาสทำ เช่น ทรงตัดสัมพันธ์กับคริสจักรโรมันคาทองลิกที่กรุงโรมได้อย่างเลือดเย็น เมื่อพระสันตะปาปาปฏิเสธไม่ยอมตามพระทัยให้ทรงหย่ากับพระมเหสี ทรงตั้งศาสนนิกายใหม่ขึ้นในประเทศอังกฤษเรียกว่า นิกายแองกลิกัน (Anglican Church) ซึ่งมีพระองค์เองเป็นประมุขของนิกาย ยิ่งกว่านั้นเมื่อทรงหย่ากับพระมเหสีองค์ที่ ๑ แล้ว ยังทรงแต่งงานใหม่อีก ๕ ครั้ง และมีมเหสีสององค์ที่รับสั่งให้ประหารเสียด้วย คงไม่มีเรื่องราวชีวิตของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดแปลกพิสดารเท่าเรื่องราวของพระองค์ แต่พระองค์ก็ทรงฉลาดเฉียบแหลมในการดำเนินกุศโลบายต่างๆ และในขณะที่พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงความดีอีกหลายองค์ต้องเข้าที่ลำบากทนทุกข์ทรมาน แต่พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ แห่งราชวงศ์ทิวเดอร์ ผู้ตามพระทัยพระองค์เองอย่างสุดสุด กลับครองราชย์สมบัติอย่างอยู่เย็นเป็นสุข ขุนนางใหญ่น้อยมิมีใครกระด้างกระเดื่อง พากันกลัวพระองค์ราวกับหนูกลัวแมว จนพระชนมายุมากก็ประชวรสวรรคตไปเองโดยไม่มีใครกล้าทำร้าย

ตั้งแต่พระเชษฐาอาเธอร์สิ้นพระชนม์ เจ้าชายเฮนรี่พระโอรสองค์รองได้รับรัชทายาทเป็น Prince of Wales แทน แล้วพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๗ ก็โปรดเกล้าฯ ให้ทรงหมั้นกับเจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งอรากอนแทนที่ จนเมื่อพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๗ สวรรคต Prince of Wales จึงได้ราชสมบัติเป็นพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ได้อภิเษกกับเจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งอรากอนตามที่ทรงหมั้นไว้โดยไม่เกี่ยงงอน เมื่อราชาภิเษกนั้น (๒๔ มิถุนายน ๑๕๐๙) พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ทรงมีพระชนมายุได้ ๑๘ พระชันษา และพระราชินีแคทเธอรีนแห่งอรากอนมีพระชนมายุได้ ๒๔ พระชันษา ด้วยเหตุที่พระราชินีทรงมีพระราชสมภพปลายปี (๑๖ ธันวาคม ๑๔๘๕) จึงดูราวกับทรงมีพระชันษามากกว่าพระราชาอยู่ถึง ๖ ปี แต่ความจริงก็เพียง ๕ ปีกว่าๆ เท่านั้น  ที่น่าสนใจก็เมื่อจะเข้าพิธีอภิเษก พระเจ้าเฮนรี่ไม่ได้ปฏิเสธหรือแสดงการต่อต้านอะไรกับการอภิเษกครั้งนี้ ความจริงตอนนั้นพระราชบิดาก็สวรรคตแล้ว ถ้าพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ จะปฏิเสธไม่ยอมอภิเษกสมรส ก็จะไม่มีผู้ใดมาบังคับพระองค์ได้ แต่เท่าที่เกิดจริงนั้นพระองค์เข้าพิธีอภิเษกกับเจ้าหญิงแคทเธอรีนแห่งอรากอนอย่างเต็มพระทัย และมีพิธีสวมมงกุฎด้วย ทำให้พระนางแคทเธอรีนเป็นพระราชินีเต็มตามตำแหน่ง การอภิเษกสมรสของพระองค์เป็นเรื่องที่รู้กันทั่วไปทั่วทวีปยุโรป พระสันตะปาปาที่กรุงโรมก็ยังทรงรับรู้ด้วย

พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ และพระนางแคทเธอรีนทรงอยู่กันด้วยความผาสุกเป็นเวลา ๑๕ ปี  ตลอด ๑๕ ปีนั้น พระนางแคทเธอรีนทรงครรภ์แล้วพระโอรสธิดาก็ตกเสีย ครั้งแรกทรงครรภ์ใน ค.ศ.๑๕๑๐ แล้ว พระราชธิดาองค์แรกก็มิได้มีพระชนอยู่ ครั้งที่ ๒ ใน ค.ศ.๑๕๑๑ ประสูติพระราชโอรสซึ่งพระราชาทรงมีความหวังมาก แต่ทารกมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๕๒ วัน ก็ดับสูญ พระนางแคทเธอรีนทรงครรภ์อีกหลายครั้ง ทุกครั้งผู้ที่ควรจะมีกำเนิดเป็นเจ้าฟ้าก็ตกเสียทุกครั้ง เว้นอยู่ครั้งเดียวที่พระราชธิดาอยู่จนโตได้รับราชสมบัติจากพระราชบิดาเป็นพระราชินีนาถแมรี่ที่ ๑

ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีกว่าๆ และการที่ทรงครรภ์หลายครั้งทำให้พระราชินีนาถแคทเธอรีนเปลี่ยนจากสาวหน้ากระจุ๋มกระจิ๋มกลายเป็นสตรีมีอายุที่มีร่างอ้วนใหญ่ พระปรางค์อ้วนใหญ่อวบท้วน พระเจ้าเฮนรี่ซึ่งไม่โปรดอะไรที่พระองค์ต้องทน จึงขอหย่าจากพระราชินี โดยอ้างว่าพระนางเคยอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอาเธอร์พระเชษฐา มิไยพระนางจะปฏิเสธเป็นการอภิเษกสมรสแต่เพียงในนาม พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ก็ไม่ทรงฟัง แล้วพระองค์ยังส่งทูตไปเฝ้าพระสันตะปาปาที่กรุงโรม แล้วขอให้ศาสนจักรประกาศว่าการอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระนางแคทเธอรีนเป็นโมฆะ เพราะเป็นการผิดกฎเรื่องไปร่วมสมรสกับคนที่เป็นเครือญาติ (Incest) เมื่อพระสันตะปาปาปฏิเสธไม่ยอมตัดสินตามใจพระองค์ พระองค์ก็ทรงแยกสังฆมณฑลอังกฤษออกจากนิกายโรมันคาทอลิก   พระองค์ตั้งนิกายใหม่ที่พระองค์เป็นผู้นำเอง คือนิกาย Anglican Church หรือ The Church of England

แล้วพระราชาเฮนรี่ที่ ๘ ก็ทรงมีมเหสีใหม่เป็นคนสามัญที่มีรูปลักษณ์สวยสดแต่ใจร้ายนักหนา คือ พระนางแอนน์ โบลีน (Anne Boleyn)

ถ้าเราจะพยายามเข้าใจพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ก็คงจะต้องคิดว่าพระองค์ใช้พระมเหสีเปลืองนัก เพราะทรงมีความต้องการจะได้พระรัชทายาทที่เป็นชาย จึงทำให้พระมเหสีทรงครรภ์แล้วตกเสียซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อทรงเลิกกับพระนางแคทเธอรีนแล้วก็โปรดให้นางประทับอยู่พระราชวังในชนบทอย่างเงียบๆ จนพระนางตรอมพระทัยสวรรคตเอง ใน ค.ศ.๑๕๓๖    


ที่มา นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๙๖๘ - ๖ ก.ย.๕๕




พระราชินีนาถแมรี่แห่งราชวงศ์สจ๊วต
Mary Stuart หรือ Mary Stewart

พระราชินีนาถแมรี่แห่งราชวงศ์สจ๊วต ทรงเป็นพระราชินีอีกพระองค์หนึ่งที่มีพระราชประวัติเกี่ยวพันกับพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๑ พระราชินีนาถแมรี่แห่งราชวงศ์สจ๊วต (Mary Stuart หรือ Mary Stewart) นับว่าร่วมสมัยกับพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๑ ทีเดียว ประสูติในวันที่ ๘ ธันวาคม ค.ศ.๑๕๔๒ ที่พระราชวังในสก๊อตแลนด์ พระองค์เป็นพระราชบุตรีองค์เดียวของพระเจ้าเจมส์ที่ ๕ แห่งสก๊อตแลนด์ พระราชมารดาเป็นเจ้าหญิงฝรั่งเศส คือ พระนางแมรี่แห่งกีซ (Guise) พระราชินีนาถแมรี่ สจ๊วต นี่จะเรียกว่าโชคดีหรือโชคร้ายไม่แน่นัก เพราะพระองค์ได้รับสมบัติใหญ่ตั้งแต่พระชันษาได้ ๖ วัน นั่นคือ สมเด็จพระราชบิดาสวรรคตตั้งแต่ตอนนั้นและพระองค์ได้ครองราชย์เป็นพระราชินีนาถ ถึงแม้ว่าพระญาติชั้นผู้ใหญ่คือพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ คอยจะจับพระองค์อยู่ แต่พระราชมารดาได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน และพระราชินีแมรี่แห่งชาวสก๊อตได้พ้นภัยในวัยเด็กไปได้

พระนางแมรี่แห่งกีซจะทรงมีพระกุศโลบายอย่างใดเกี่ยวกับพระราชธิดาไม่มีผู้ใดเดาได้ ที่เห็นชัดเจนคือทรงเลี้ยงพระราชธิดาให้เป็นเจ้าหญิงฝรั่งเศสมากกว่าที่จะเป็นเจ้าหญิงแห่งชาวสก๊อต เมื่อพระราชธิดาทรงเจริญวัยขึ้นเพียงเล็กน้อยคือ ๕ พระชันษา ก็ทรงส่งพระราชธิดาให้ไปถวายตัวอยู่ในราชสำนักฝรั่งเศส ซึ่งเวลานั้นพระเจ้าอองรีที่ ๒ และพระนางแคเธอลีน เดอ เมดิซี กำลังครองราชย์อยู่ เจ้าฟ้าหญิงพระองค์น้อย คือ เจ้าหญิงแมรี่ของเราได้เป็นพระสหายกับบรรดาเจ้าฟ้าโอรสธิดาของพระเจ้าอองรีที่ ๒ และเกิดมีสัมพันธภาพที่ลึกซึ้งกับพระรัชทายาทฟรานซิสพระโอรสองค์โตของพระเจ้าอองรีที่๒ และได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟรานซิส ใน ค.ศ.๑๕๕๘ การแต่งงานครั้งนี้อาจเป็นผลงานทางการเมืองของพระราชมารดาที่ต้องการจะผูกพันประเทศฝรั่งเศสเข้ากับสก๊อตแลนด์ และในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ง่ายเพราะเจ้าหญิงแมรี่นั้นสวยงามอย่างยิ่ง ถ้ามองจากสายตาของคนร่วมสมัยกับพระองค์ก็ต้องนับว่าพระองค์สวยงามที่สุด เจ้าหญิงแมรี่ทรงมีพระวรกายระเหิดระหง เวลาทรงเต้นรำซึ่งเป็นสิ่งที่มีบ่อยในราชสำนักฝรั่งเศสแล้วก็ดูสง่างามเป็นที่สุด พระองค์ทรงมีพระเกศาสีแดงปนทอง และพระเนตรสีอำพันอันอบอุ่น พระองค์โปรดดนตรีและการแต่งบทกวี  สรุปได้ว่าฝ่ายฝรั่งเศสไม่เสียใจเลยที่ได้พระสุนิสาเป็นพระราชินีนาถที่จะครองราชย์ในสก๊อตแลนด์

ชีวิตที่เหมือนฝันและโรยด้วยดอกกุหลาบกับพระจ้าฟรานซิสหนุ่มน้อยดำเนินไปเพียงแค่ ๒ ปี พระเจ้าฟรานซิสก็สวรรคตอย่างรวดเร็วเมื่อพระราชินีแมรี่ทรงมีพระชนมพรรษาได้เพียง ๑๘ พระชันษา เมื่อไม่มีอะไรจะทำต่อไปในราชสำนักฝรั่งเศส พระราชินีแมรี่ก็ทรงระลึกได้ว่าอันที่จริงพระองค์ทรงเป็นพระราชินีนาถแห่งชาวสก๊อตและราชวงศ์ของพระองค์นั้นคือราชวงศ์สจ๊วตไม่ใช่ราชวงศ์แห่งประเทศฝรั่งเศส





พระราชินีนาถแมรี่แห่งชาวสก๊อตทรงเดินทางกลับสู่สก๊อตแลนด์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.๑๕๖๑ แต่พระองค์ก็พบว่าทรงจากบ้านเมืองไปนานเกินไป เมื่อเสด็จกลับมานั้น ทรงพบว่าทุกอย่างดูแปลกตาไปหมด ทั้งผู้คนและศาสนาที่คนพากันนับถือ ทรงพบว่าคนเปลี่ยนไปนับถือนิกายโปรเตสแตนต์กันเป็นจำนวนมาก พระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ ๑ ก็ทรงปฏิเสธที่จะต้อนรับพระองค์เป็นรัชทายาท ทั้งที่พระองค์เป็นพระญาติอันสนิท แต่อย่างไรก็ตาม นโยบายปรองดองกับพวกโปรเตสแตนต์ในระยะนี้ก็ทำให้พระองค์พอจะอยู่กับพวกขุนนางชาวสก๊อตไปได้ แล้วการที่พระองค์เป็นพระราชินีนาถสาวสวยก็ทำให้เป็นที่ชอบใจของขุนนางบางคน เหตุการณ์ต้นรัชกาลจึงนับว่าสงบดีพอใช้

แต่ทว่าเมื่อพระราชินีนาถแมรี่ตัดสินพระทัยที่จะอภิเษกสมรสครั้งที่ ๒ กับลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ ชื่อ เฮนรี่ สจ๊วต เอิร์ลแห่งดาร์นลีย์ ก็ดูเหมือนข่าวร้ายพากันระดมมาทำร้ายพระองค์ พระองค์ทรงเลือกเจ้าบ่าวในคราวนี้ด้วยความรักอย่างแท้จริง เพราะเอิร์ลแห่งดาร์นลีย์มีรูปโฉมสง่างามมาก แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครเห็นด้วยกับพระองค์  พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๑ ไม่ต้องการให้แต่งงานครั้งนี้ เพราะเอิร์ลแห่งดาร์นลีย์มีเชื้อสายราชวงศ์ทิวดอร์ พระราชินีนาถเอลิซาเบธกลัวว่าเลือดทิวดอร์จะไปประสมกันเข้มข้นแล้วทำให้พระราชินีนาถแมรี่ทรงเรียกร้องสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ เพราะพระราชินีนาถแมรี่เองก็มีเลือดทิวดอร์อยู่แล้ว ข้างฝ่ายพี่ชายคนละแม่ของพระองค์ซึ่งไม่ชอบตระกูลของเอิร์ลแห่งดาร์นลีย์อยู่แล้วก็เป็นกบฎตรงๆ เลยทีเดียว

พระราชินีนาถกับเอิร์ลแห่งดาร์นลีย์อยู่กันไม่ได้นาน พระราชินีนาถก็ทั้งเกลียดทั้งกลัวทั้งดูถูกเอิร์ลแห่งดาร์นลีย์ เพราะพระองค์พบว่าเขาเป็นคนที่อ่อนแอทั้งโหดร้าย ลักษณะนิสัยไม่ได้สวยสมใบหน้าเลยสักน้อย ถึงแม้มีโอรสด้วยกันหนึ่งพระองค์ ก็คิดจะหย่า ไม่ช้าก็เกิดกรณีเอิร์ลแห่งดาร์นลีย์ซึ่งกำลังนอนป่วยอยู่ บ้านของเขาก็ถูกระเบิด เอิร์ลแห่งดาร์นลีย์จะหนีลูกระเบิดออกมาก็ไม่ได้ เพราะเขาถูกฆ่ารัดคอ การที่มีเรื่องเช่นนี้แล้วจับมือใครดมไม่ได้ ทำให้คนมองพระราชินีนาถแมรี่ด้วยสายตาที่ไม่สู้ดีนัก ประกอบกับพระองค์ทรงวางแผนที่จะแต่งงานใหม่อีกกับ เจมส์ เฮปเบอร์น เอิร์ลแห่งบอธเวลล์ แต่ขุนนางสก๊อตแลนด์ไม่ยอมรับเอิร์ลแห่งบอธเวลล์ผู้นี้ และพระราชินีนาถแมรี่ก็ถูกบังคับให้เลิกรากับบอธเวลล์ ใน ค.ศ.๑๕๖๗ แล้วพระราชินีนาถแมรี่ก็ถูกจำขังอยู่บนเกาะเล็กๆ และถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ผู้ที่ได้เป็นกษัตริย์แทนคือพระโอรสที่เกิดจากเอิร์ลแห่งดาร์นลีย์ ทรงพระนามว่าเจมส์

ไม่ทราบใครเป็นผู้ให้ความคิดพระราชินีนาถแมรี่ให้ไปพึ่งพาพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๑ แห่งอังกฤษ  พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๑ ทรงเชี่ยวชาญเกมการเมืองยิ่งนัก ทรงหาข้ออ้างต่างๆ นานาที่จะจำขังพระราชินีนาถแมรี่ได้ถึง ๑๘ ปี  ระหว่างที่ถูกคุมขังอยู่ที่ปราสาทต่างๆ ในอังกฤษพระราชินีนาถแมรี่ทรงหางานอดิเรกเล็กๆ น้อยๆ ทำ เช่น การเย็บปักถักร้อย เลี้ยงสัตว์เล็กๆ เช่น สุนัข และนกที่ร้องเพลง   พระองค์สนพระทัยศาสนามาก พวกคาทอลิกก็ยังอยากให้พระองค์เป็นหัวหน้าก่อการกบฏ  พระราชินีนาถเอลิซาเบธจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องกำจัดพระองค์เสีย มิฉะนั้นราชบัลลังก์อังกฤษก็จะไม่ปลอดภัย พระองค์จึงถูกประหารในห้องประชุมใหญ่ของปราสาทโฟเธอลิงเกย์เมื่อมีพระชนมายุได้ ๔๔ พระชันษา แต่ต่อมาพระบรมศพได้ถูกย้ายไปมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ ๑ พระโอรสได้ครองบัลลังก์อังกฤษ

ชีวิตที่ระหกระเหินของพระราชินีนาถแมรี่ แห่งชาวสก๊อต จึงให้บทเรียนว่าการเป็นผู้อยู่ในตำแหน่งอันสูงไม่ใช่เรื่องโชคดีเสมอไป พระราชินีนาถแมรี่ไม่ได้ทำผิดอะไรมาก เพียงแต่พระองค์ชอบชีวิตที่โรแมนติคและชายหนุ่มหล่อไว้ให้พระองค์ควงออกเต้นรำ  พระองค์ก็ถึงตายได้ เพราะทรงลืมคิดว่าหน้าที่สำคัญที่สุดของพระราชินีคือการคิด และการทำตามเหตุผล


ที่มา นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๙๖๗ – ๓๐ ส.ค.๕๕


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กันยายน 2563 15:37:31 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 07 มกราคม 2562 16:27:25 »



พระนางเอลิซาเบธ พระราชมารดา
(Queen Elizabeth the Queen Mother)

พระนางเอลิซาเบธ พระราชมารดา (Queen Elizabeth the Queen Mother) เป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ ๒ พระนางมีพระราชสมภพในตระกูลขุนนาง ทรงมีพระนามเต็มว่า เลดี้เอลิซาเบธ แอนเจลา มาร์เกอริต โบวส์ ไลออน (Lady Elizabeth Angela Marguerite Bowes Lyon) ทรงเป็นธิดาคนที่ ๙ ของลอร์ดและเลดี้กลามส์ (Lord and Lady Glamis) มีพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ค.ศ.๑๙๐๐ คือเป็นระยะปลายรัชกาลของสมเด็จพระราชินาถวิคตอเรีย ควรนับว่าพระนางเอลิซาเบธ พระราชมารดา ทรงเป็นคนของศตวรรษที่ ๒๐ อย่างแท้จริง เพราะปีประสูติกาลคือต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ และทรงมีพระชนม์อยู่ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ สวรรคตเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ค.ศ.๒๐๐๒ มีพระชนมายุยืนยาวกว่าใครๆ ในพระราชวงศ์

เนื่องจากเลดี้เอลิซาเบธเป็นลูกคนที่ ๙ และเป็นธิดาคนที่ ๔ ของบิดา มารดา ซึ่งเป็นตระกูลขุนนางทั้งสองฝ่าย เธอจึงมีชีวิตอย่างแสนสุขสนุกสบาย ไม่มีใครกำหนดบทบาทชีวิตให้ เธอเติบโตที่ปราสาทกลามส์ (Glamis) ของตระกูลซึ่งมีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี เป็นปราสาทที่สวยงามใหญ่โต มีบันไดใหญ่กว้างและประดับประดาไปด้วยรูปของบรรพบุรุษ แต่ก็มีต้นโอ๊กใหญ่อยู่ในสวนเคียงข้างบ่อน้ำพุ ซึ่งเป็นที่ที่เลดี้เอลิซาเบธได้เล่นซ่อนหากับพี่น้อง ในฤดูที่อากาศไม่ดีเธอก็มีคฤหาสน์ใหญ่โตอยู่ในเมือง ชีวิตเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าที่จะมีได้ในสมัยนั้น เธอและน้องชายชื่อเดวิดซึ่งอายุอ่อนกว่าปีหนึ่งมีครูมาสอนให้ที่บ้านในวิชาต่างๆ เช่น ภาษา ดนตรี ประวัติศาสตร์  เธอเป็นเด็กฉลาดหัวไว เรียนได้เร็วแม้ในวิชาที่ยากเช่นวิชาคำนวณ เธอกับน้องชายเต้นรำได้อย่างสวยงาม เมื่อโตขึ้นเธอก็เป็นเด็กที่ผู้ใหญ่มักจำได้และเอ็นดูมาก เพราะดวงตาโตของเธอมีแววสนุกร่าเริงอยู่เสมอ เธอไม่กลัวคนแปลกหน้า และมักหาเรื่องมาสนทนากับแขกได้อยู่เรื่อยๆ เมื่อโตขึ้นเธอช่วยมารดารับแขกได้ดี และคฤหาสน์ของเธอนั้นมักมีอาคันตุกะตระกูลสูงทั้งหญิงและชายมาพักค้างแรมอยู่เสมอ บ้านของเธอมีอุปกรณ์สำหรับให้ความสะดวกกับแขกที่มาพัก มีรถยนต์หลายคัน แม้เป็นระยะแรกที่มีรถเกิดขึ้นในทวีปยุโรปก็ตาม มีม้าอารมณ์ดีสำหรับให้ผู้ใหญ่และเด็กขี่อยู่หลายตัว และงานเลี้ยงน้ำชากับการปิกนิกที่มีมักจะมีอยู่ที่ปราสาทของบรรพบุรุษเธอก็เป็นที่กล่าวขวัญในวงสมาคม ตระกูลของเธอนั้นก็เป็นเจ้าบ้านหญิงที่ใจดีและฉลาดอย่างยิ่ง  เลดี้เอลิซาเบธซึมซับอารมณ์ที่ดี ยิ้มง่าย และช่างสนทนามาจากมารดา คนที่เข้ามาใกล้เธอจะได้รับแต่ความเบิกบานใจเสมอ คนที่ประหม่ากระดากอาย เมื่อเข้าใกล้เธอก็ค่อยทุเลาความระวังตัวลง

เลดี้เอลิซาเบธ โบวส์ ไลออน เชื้อสายขุนนางชาวสก๊อตผู้นี้มีชีวิตที่มีความสุข ราวกับไม่รู้ว่ามีความทุกข์อยู่ในโลกนี้ จนกระทั่งเธอมีอายุเข้าวัยรุ่นสาว โลกอันงามสงบของสมัยวิคตอเรียนและสมัยเอดวาร์เดียนก็หายวับไปราวกับเป็นฟองสบู่ เพราะประเทศอังกฤษถูกลากเข้าสู่สงครามใหญ่ซึ่งกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ ๑ สงครามที่มนุษย์ชาติต่างๆ ที่ไม่รู้จักหน้าค่าตากัน ไม่รู้เรื่องราวของกันและกัน ต้องถูกดึงให้มาฆ่าฟันกัน บ้างก็ฆ่ากันด้วยปืนใหญ่ บ้างก็ขุดสนามเพลาะและฆ่ากันตายในสนามเพลาะ และแถมยังมีการฆ่าฟันในอากาศยานอีกเป็นครั้งแรก เลดี้เอลิซาเบธได้รับรู้เรื่องสงครามอันร้ายกาจนี้ตั้งแต่เธอมีอายุได้๑๔ ปี ปราสาทกลามส์ของต้นตระกูลเธอเป็นที่ต้อนรับทหารเจ็บป่วยที่เข้ามาพักฟื้น เลดี้เอลิซาเบธอายุน้อยเกินกว่าที่จะได้รับการอบรมให้ทำหน้าที่พยาบาล แต่เธอก็ทำหน้าที่ของเจ้าของบ้าน คือเป็นฝ่ายต้อนรับและคอยให้กำลังใจทหารที่เจ็บป่วย เธอมีความสามารถทำให้ทหารที่ขี้อายรู้สึกสบายขึ้น เธอต้องพบเห็นคนตายจำนวนไม่น้อย และพี่ชายแท้ๆ ของเธอถูกอาวุธเสียชีวิตในสงครามบนดินแดนฝรั่งเศส สงครามโลกเป็นเวลา ๔ ปี ตั้งแต่ ค.ศ.๑๙๑๔-๑๙๑๘ ทำให้สาวน้อยเอลิซาเบธผู้รู้จักแต่ความสุขสำราญ ต้องกลายเป็นกุลสตรีสาวที่ช่างคิดและมีความรู้สึกรับผิดชอบในหน้าที่จนเกินอายุ แต่ภายนอกคนก็ยังเห็นเธอมีรอยยิ้มที่สวยงามราวกับว่าเธอไม่เคยพบกับความเจ็บไข้และความตาย สงครามโลกทำให้เธอเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความเมตตากรุณาและมีความเห็นอกเห็นใจคนที่ตกทุกข์ได้ยาก หรือคนที่มีฐานะทางสังคมต่ำ

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลงแล้ว งานรื่นเริงและงานสังคมต่างๆ ที่ต้องระงับไว้ในยามสงครามเริ่มมีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เลดี้เอลิซาเบธได้เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีในงานออกมหาสมาคมครั้งแรกที่เธอเป็น Debutante (เป็นคำเรียกสาวรุ่นแรกออกสมาคม) ปรากฏว่าเธอเป็นผู้ที่มีหนุ่มมีตระกูลมานิยมชมชอบมาก มีเชื้อพระวงศ์ต่างประเทศและบุตรขุนนางใหญ่มาขอใกล้ชิดเธอเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้มีชายหนุ่มตระกูลสูงคนหนึ่งที่หลงรักเธออย่างฝังใจ เรียกว่า รักอย่างไถ่ถอนไม่ได้ ชายหนุ่มคนนั้นคือเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต (Prince Albert) โอรสองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าจอร์จที่ ๕ และพระราชินีแมรี

ความเป็นโอรสองค์ที่ ๒ ทำให้เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ตทรงอยู่ในฉายาของพระเชษฐาตลอดเวลา พระเชษฐาหรือเจ้าฟ้ารัชทายาท (Prince of Wales) ซึ่งมีพระนามลำลองเรียกกันในราชตระกูลว่า David เป็นผู้ที่โก้เก๋ในการออกสมาคม ทรงเป็นผู้นำในกิจการต่างๆ อยู่เสมอ  ส่วนเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ตถึงแม้ว่าจะมีพระพักตร์หล่อเหลาและมีร่างสูงใหญ่แต่ก็ประชวรพระโรคติดอ่าง ทรงเขินอายอย่างมากเวลาพบกับคนแปลกหน้าและพยายามจะหลบไม่ยอมออกสมาคมอยู่เสมอ จะโปรดตรัสก็แต่เฉพาะกับคนสนิทเท่านั้น  ทั้งนี้เป็นเพราะทรงได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้มงวด และพระบิดามารดาไม่โปรดการแสดงอารมณ์ เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ตได้พบกับเลดี้เอลิซาเบธในงานเต้นรำแห่งหนึ่ง และหลงรักท่าทีสบายๆ ของหญิงสาวที่พูดกับพระองค์อย่างเป็นมิตร และไม่มีอาการเขินอายหรือพยายามใกล้ชิดกับพระองค์อย่างหญิงสาวทั่วไปที่พยายามเอาใจเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ตจึงหลงรักเธอในทันทีเพราะอยู่ใกล้เธอแล้วพระองค์ท่านสบายพระทัย ความเครียดหรืออาการติดอ่างค่อยหายไปเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับเธอ พระองค์จึงตั้งใจว่าชาตินี้จะไม่ยอมแต่งงานกับใครนอกจากเลดี้เอลิซาเบธ โบว์ ไลออน คนนี้เท่านั้น  แต่เมื่อพระองค์สารภาพรัก เลดี้เอลิซาเบธกลับตกใจกลัวชีวิตที่จะต้องเป็นสะใภ้หลวง อยู่กับกฎเกณฑ์ของราชสำนัก และเธอคิดว่าจะไม่ได้มีชีวิตสบายๆ อย่างที่เคยมาตลอดตั้งแต่เป็นเด็ก เธอได้ปฏิเสธเจ้าฟ้าชายหลายครั้ง แต่เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ตก็ทรงพยายามตลอดเวลา ๕ ปี  พระเจ้าจอร์จที่ ๕  และพระราชินีก็ทรงพยายามเอาใจเลดี้เอลิซาเบธด้วย เพราะทรงทราบว่าเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ตหากพลาดไปจากหญิงที่พระองค์รักคนนี้ ก็อาจจะเสียพระทัยจนเสียคน

ในที่สุดเลดี้เอลิซาเบธเห็นใจในความจริงใจของเจ้าฟ้าและยอมเข้าพิธีอภิเษกอย่างหรูหรา ใน ค.ศ.๑๙๒๓ เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ตสบายพระทัยขึ้น จนยอมไปเรียนวิธีพูดและค่อยๆ หายจากอาการติดอ่าง คู่อภิเษกได้มีราชธิดาสององค์คือ เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นองค์โต ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ ส่วนเจ้าหญิงองค์เล็กคือ เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตโรส  ขณะที่ครอบครัวของพระโอรสองค์ที่ ๒ คือเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต ซึ่งได้รับตำแหน่งดยุค ออฟ ยอร์ค (Duke of York) กับเลดี้เอลิซาเบธซึ่งได้เป็นดัชเชสออฟ ยอร์ค กำลังมีความสุข ทางฝ่ายเจ้าฟ้ารัชทายาท Prince of Wales กลับไปชอบกับหญิงที่แต่งงานแล้ว หญิงคนแรกชื่อฟรีดา (Freda) ทางการพระราชวังไม่ยอมให้เจ้าฟ้ารัชทายาทอภิเษกกับหญิงที่หย่าร้างมา ต่อมาเจ้าฟ้ารัชทายาทได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๘ แต่ก็ยืนยันที่จะอภิเษกกับหญิงที่หย่าร้างมาแล้วคนที่สองที่ชื่อ Mrs. Simpson ให้ได้  ครั้นทางพระราชวังขัดข้อง พระเจ้า Edward ที่ ๘ ก็สละราชสมบัติไปแต่งงานกับหญิงที่พระองค์เลือกมากกว่าราชบัลลังก์

พระโอรสองค์ที่ ๒ คือ Duke of York จึงต้องเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้าจอร์จที่ ๖ (King George Vl) พระมเหสีจึงเลื่อนจาก Duchess of York ขึ้นเป็น Queen Elizabeth ระยะนั้นพอดีกับเวลาที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ คือเยอรมนีกำลังจะรุกรานเกาะอังกฤษ แต่พระเจ้าจอร์จที่ ๖ กับพระราชินีเอลิซาเบธก็ประทับอยู่ในกรุงลอนดอน เพื่อพระราชทานกำลังใจให้คนอังกฤษ ราษฎรอังกฤษจึงรักพระราชาองค์ใหม่กับพระราชินีมากว่าไม่ทรงทอดทิ้งหน้าที่และไม่ทอดทิ้งประเทศ โดยเฉพาะพระราชินีเอลิซาเบธทรงได้รับความรักจากราษฎรมาก เพราะพวกเขารู้อยู่ว่าทรงเป็นขวัญและกำลังพระทัยของพระเจ้าจอร์จที่ ๖

พระเจ้าจอร์จที่ ๖ สวรรคตภายหลังสงครามโลก เจ้าฟ้าหญิงองค์โตจึงได้รับราชสมบัติเป็นพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ ส่วนพระราชินีเดิมจึงได้ตำแหน่งเป็นพระนางเอลิซาเบธ พระราชมารดา

   พระราชมารดาทรงมีพระพลานามัยดีเลิศ ทรงทำงานในหน้าที่ของพระองค์อย่างขยันขันแข็ง ทรงรับเป็นประธานองค์การกุศลมากกว่าร้อยองค์การ ทรงทำพระองค์ใกล้ชิดกับราษฎร จึงทรงเป็นเจ้านายที่ราษฎรรักเป็นพิเศษ พระองค์ไม่โปรดแต่งพระองค์ด้วยสีดำหรือสีทึมๆ แบบปารีส แต่มักทรงฉลองพระองค์สีสดใสทุกสี เช่น ชมพู ฟ้าอ่อน เหลือง เขียวอ่อน และไม่ทรงเครื่องเพชรมากมาย เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ร้อยพรรษา ประเทศอังกฤษได้จัดเฉลิมฉลองให้พระองค์อย่างเต็มที่ และพระองค์ก็ทรงฉลองพระองค์สีชมพูสดใสมาทรงพระสรวลรับเสียงไชโยของราษฎร พระนางเอลิซาเบธ พระราชมารดา ทรงเป็นกุหลาบอังกฤษที่ราษฎรรักและเทิดทูนมาก

ที่มา ราชืนีในความทรงจำ นิตยสารสกุลไทย
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 15 มกราคม 2562 15:47:31 »





พระนางแคทเธอรีน พาร์
(Catherine Parr)

พระนางแคทเธอรีน พาร์ (Catherine Parr ) น่าจะเป็นสตรีที่นับได้ว่าฉลาดที่สุดคนหนึ่งในราชสำนักของพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ถ้าจะเทียบกับพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ ๑ พระลูกเลี้ยงที่พระองค์ทรงสนิทเสน่หา เราก็ไม่ทราบว่าใครฉลาดมากกว่ากัน ทั้งสองพระองค์ทรงรู้จักการควรไม่ควร และทรงทำแต่สิ่งที่ควร ทั้งสองพระองค์ทรงชนะในทางของพระองค์ แต่เนื่องจากสองพระองค์ทรงอยู่ในฐานะที่ผิดกัน พระนางแคทเธอรีน พาร์ ทรงเป็นมเหสีองค์สุดท้ายของพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ แต่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๑ ทรงเป็นพระราชินีผู้ครองราชย์องค์ที่ ๔ ของราชวงศ์ทิวเดอร์ ดังนั้น พระนิสัยและพระกรณียกิจจึงผิดกัน แต่ก็น่าจะกล่าวได้ว่าทรงมีพระสติปัญญาเฉียบแหลมมากด้วยกันทั้งคู่ และทรงเอาพระองค์รอด อริราชศัตรูทำร้ายพระองค์ไม่ได้

แคทเธอรีน พาร์ เกิดในตระกูลขุนนางที่เป็นที่โปรดปรานของราชสำนักมาหลายรัชกาล บิดาของเธอชื่อ เซอร์โทมัส พาร์  มารดามาจากตระกูลที่ร่ำรวย ชื่อ โมด กรีน  มารดาของแคทเธอรีนเป็นสตรีที่ฉลาดมาก เธอรู้จักสังคมที่เธออยู่อย่างดียิ่งและเธอก็ทำตัวให้เข้ากับสังคม เธอรู้ว่าในสมัยของเธอ ทางที่สตรีจะได้ดีก็คือแต่งงานให้ดีที่สุด ซึ่งหมายความว่า หากแต่งงานกับคนรวยที่เขาจะยกย่องเชิดชูบุตรสาวของเธออย่างแท้จริง แคทเธอรีน พาร์ จึงได้แต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุ ๑๗ ปี กับ เซอร์เอ็ดวาร์ด เบิร์ก ใน ค.ศ.๑๕๒๙ แต่ เซอร์เอ็ดวาร์ด เบิร์ก ป่วยถึงแก่กรรม ใน ค.ศ.๑๕๓๓ แคทเธอรีนจึงกลายเป็นแม่ม่ายเมื่ออายุ ๒๑ ปี และกลายเป็นลูกกำพร้า ด้วยเพราะมารดาก็เพิ่งถึงแก่กรรมได้ ๒ ปี ส่วนบิดาถึงแก่กรรมนานแล้ว

แคทเธอรีนไม่ได้ลำบากทุกข์ยากแต่อย่างใด เพราะครอบครัวของเธอมีตระกูลและได้รับความอุปถัมภ์ค้ำชูจากราชสำนัก ในเวลาเพียงไม่กี่เดือนเธอก็ได้แต่งงานอีกกับ จอห์น เนวิลล์ ลอร์ดลาติเมอร์  ลอร์ดลาติเมอร์แก่กว่าแคทเธอรีน ๒๐ ปี และเป็นม่ายมาสองครั้งแล้ว มีลูกติดสองคนชายและหญิง เมื่อแต่งงานเข้ามาเป็นเลดี้ลาติเมอร์ เท่ากับแคทเธอรีนแต่งกับขุนนางที่มียศศักดิ์อัครฐาน มีบ้านใหญ่ทั้งในชนบทและในลอนดอน แคทเธอรีนได้ดูแลทรัพย์สมบัติให้สามีอย่างดีตามที่เธอได้รับการอบรมมา และเธอก็เข้ากับลูกเลี้ยงได้ดี โดยเฉพาะกับมาร์กาเร็ตลูกสาวคนเล็ก เธอใจดีกับลูกเลี้ยงมากและจัดหาเสื้อผ้าที่สวยงามให้มาร์กาเร็ตแต่ง ชีวิตน่าจะดำเนินไปอย่างดีมีความสุขพอสมควร แต่มีเรื่องกบฏเกิดขึ้นในภาคเหนือ ชื่อกบฏ Pilgrimage of Grace ลอร์ดลาติเมอร์ถูกกล่าวหาว่าเข้าไปพัวพันด้วย ถึงแม้ไม่ได้ถูกจับลงโทษ แต่ความกลุ้มใจก็ทำให้ถึงแก่กรรมอย่างรวดเร็ว  แคทเธอรีน พาร์ เป็นม่ายคราวนี้มีอายุเพียง ๓๑ ปี เธอยังสาว ยังสวย ยังไม่เคยอุ้มท้องคลอดบุตร สะเอวของเธอยังเล็กแทบเอามือกำรอบ และเธอก็มีชายหนุ่มมาติดพันหลายคน

คราวนี้แคทเธอรีนตั้งใจจะไม่ฟังแม่สื่อแม่ชัก ไม่อยากฟังว่าใครจะเป็นผู้เหมาะสมที่เธอจะเลือกในหนที่ ๓ เธอต้องการให้การแต่งงานครั้งนี้เป็นการแต่งเพราะความรักที่แท้จริง คนที่เธอกำลังสบตาด้วยคราวนี้ไม่ใช่คนเลว เขาเป็นถึงน้องชายของอดีตพระราชินีเจน ซีเมอร์  เซอร์โทมัส ซีเมอร์ ชายหนุ่มหน้าเก๋ ผู้ทำอะไรต่ออะไรเก่ง และเป็นที่ชื่นชอบของคนในราชสำนัก ตัวเธอเองตอนนี้ก็เป็นผู้ใหญ่แล้ว ทรัพย์สินก็กองนองเนือง หวังว่าจะไม่มีญาติผู้ใหญ่สายไหนจะมาขัดขวางไม่ให้เธอแต่งงานกับ เซอร์โทมัส ซีเมอร์

แคทเธอรีนหารู้ไม่ว่าจะมีผู้ยิ่งใหญ่มาขัดขวางทางหัวใจของเธอและเธอก็ต้องยินดีทำตามเขาด้วย นั่นคือพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ทรงมองแคทเธอรีนมาตั้ง ๔ เดือน ภายหลังจากที่ลอดร์ลาติเมอร์ถึงแก่กรรม พระองค์พอพระทัยในหน้าตา สติปัญญา กิริยามารยาท การวางตัวของแคทเธอรีนทุกอย่าง แล้ววันหนึ่งก็รับสั่งขอแต่งงานกับเธออย่างพระพักตร์เฉยๆ  แคทเธอรีนอึกอักๆ แล้วก็คิดว่าไม่มีใครที่ได้รับเกียรติอย่างนี้แล้วจะปฏิเสธ เรื่องก็เลยจบลงอย่างรวดเร็ว พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ก็ไม่ต้องกริ้ว และแคทเธอรีนก็ไม่ต้องหาถ้อยคำมาอธิบายคำปฏิเสธ ตกลงว่าในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ.๑๕๔๓ แคทเธอรีนตกลงรับพระมหากรุณาของพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘

แต่ขณะเดียวกัน ความที่เป็นผู้เคร่งศาสนาเธอก็คิดว่าการที่จะได้เป็นพระราชินีอาจเป็นโอกาสให้เธอปฏิรูปศาสนาคริสต์ให้ออกจากร่มเงาของคาทอลิกยิ่งขึ้น ความคิดข้อหลังนี้พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ไม่ทรงทราบ หากทรงทราบอาจไม่โปรดนางก็ได้ เพราะพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ไม่โปรดสตรีที่คิดหัวข้อใหญ่โตอย่างบุรุษเพศ

พระนางแคทเธอรีนได้เสกสมรสไม่นาน แต่พระนางก็พยายามทำให้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับพระองค์เป็นสิ่งที่ถูกต้องและดูดีสมฐานะพระราชินีที่สุด ฉลองพระองค์ทุกองค์ได้รับการตกแต่งอย่างโก้หรูด้วยผ้าสีทอง มีการปักและมีลูกไม้ โดยมากโปรดสีแดงเลือดนก สีม่วง และสีทอง สีดำก็โปรดเหมือนกัน ทุกอย่างเต็มไปด้วยสิ่งที่ให้พระองค์ดูเด่น  พระองค์สนพระทัยแม้สิ่งเล็กน้อย เช่น ลายเซ็นพระนามก็โปรดเติมด้วยตัวอักษร KP ซึ่งหมายถึงนามและนามสกุลของพระองค์เอง  การดำรงชีวิตของพระองค์เป็นปกติเท่าที่จะหาความสุขได้ โปรดพระธิดาเลี้ยงลูกติดของพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ คือ เจ้าหญิงแมรี่และเจ้าหญิงเอลิซาเบธ  พระธิดาเลี้ยงช่วยให้พระองค์รู้สึกสดชื่น เพราะได้สนทนากับคนอายุน้อย ส่วนพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ นั้น พระองค์ต้องระวังกุมสติอยู่ตลอดจะได้ไม่พลาดและถูกกริ้ว พระองค์ทำดีจนพระราชาไว้พระทัยและแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการในเวลาที่พระราชาต้องเสด็จไปสงครามที่ประเทศฝรั่งเศส

การทำราชการครั้งนั้นพระองค์ได้รับการยกย่องชมเชยมาก แต่แล้วพระองค์ก็พลาดครั้งหนึ่งที่พระองค์โปรดการสนทนาเรื่องศาสนาแล้วถกเถียงกับคู่สนทนาอย่างเป็นจริงเป็นจัง  พระราชาไม่โปรดสตรีที่พูดจาด้วยถ้อยคำใหญ่โตราวกับเป็นบุรุษเพศ ครั้นซักถามก็ได้ความว่า นอกจากโปรดการสนทนาเรื่องศาสนาแล้ว พระราชินีแคทเธอรีนยังเขียนหนังสือเรื่องเกี่ยวกับศาสนาไว้อีกสองเล่ม  พระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ ก็กริ้วปังใหญ่ จนพระราชินีกลัว ต้องกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ พระราชาคงไม่โปรดสตรีที่มีปากมีเสียงมีความคิดเป็นของตนเอง จึงยังไม่พระราชทานอภัยโทษง่ายๆ พระราชินีแคทเธอรีนต้องทรงกันแสงอ้อนวอนพร้อมทั้งสัญญาว่าจะไม่ทำอีก พระราชาจึงยอมพระราชทานอภัย  อย่างไรก็ดี พระราชินีแคทเธอรีนมีความสุขชั่วระยะสั้นแสนสั้น เพราะพระราชาเฮนรี่ที่ ๘ เสด็จสวรรคตใน ค.ศ.๑๕๔๘

เจ้าฟ้าชายเอ็ดวาร์ดพระโอรสองค์เดียวกับพระนางเจน ซีเมอร์ ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ  พระราชินีแคทเธอรีนจึงต้องออกจากการเป็นราชินี และสามารถแต่งกับ เซอร์โทมัส ซีเมอร์ ได้หลังที่รอกันมานาน แต่ แคทเธอรีน พาร์ ก็ไม่มีโอกาสมีความสุขนาน เธอตั้งครรภ์และคลอดบุตรหญิงชื่อแมรี่ แล้วหลังจากการคลอดได้ไม่กี่วันเธอก็สิ้นชีวิต

วงจรชีวิตของสตรีสมัยนั้นจึงมีอยู่ว่า หาแต่งงานให้ได้ดีที่สุดและเร็วที่สุด แล้วก็รีบมีทายาทเพื่อความมั่นคงของชีวิต แต่ระวังโรคที่เป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของสตรีนั่นคือความตาย เนื่องในการคลอดบุตร ดังที่พระราชินีในเรื่องได้ประสบ  
  สกุลไทย ฉ.๒๙๗๓ - ๑๑/๑๐/๕๔






พระนางเนเฟอร์ติติ
(Netertiti)

พระนางเนเฟอร์ติติ (Nefertiti) หรือบางแห่งเขียนว่าโนเฟรเตเต Nofretete) ชื่อของพระนางอาจแปลได้โว่า โฉมงามผู้มาสู่ และยังพ้องกับคำเรียกเครื่องประดับชนิดหนึ่งที่เป็นลูกปัดทองคำรูปยาวรี ดังที่เราเห็นรูปปั้นของเธอสวมใส่อยู่เสมอ ลูกปัดชนิดนี้เรียกว่า ลูกปัด"เนเฟอร์" ไม่มีใครทราบว่าบิดามารดาของเนเฟอร์ติติเป็นใคร แต่มีผู้เห็นพ้องต้องกันว่าเธออาจเป็นธิดาของเอย์ ผู้ที่ได้เป็นฟาโรห์ในเวลาต่อมา กับมเหสีที่มีชื่อว่าเทย์ อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าเนเฟอร์ติติแท้จริงคือเจ้าหญิงทาดูคีปา ธิดาของกษัตริย์ทัชรัตตาแห่งมีทานนี ในม้วนคัมภีร์โบราณมีการกล่าวถึงชื่อนีเมรีธิน เป็นอีกชื่อหนึ่งของพระนาง แต่ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ

พระนางเนเฟอร์ติติเป็นพระราชินีอิยิปต์เมื่อประมาณ ๓,๔๐๐ ปีมาแล้ว พระองค์เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอักเคนาตน (Akhenaton) ผู้ครองราชย์เมื่อราวปี ๑๓๕๓-๑๓๓๖ ก่อนคริสตกาล พระองค์เป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมพระเจ้าอักเคนาตนในการเอาใจออกห่างจากศาสนาเก่า และหันมานับถือศาสนาใหม่ซึ่งมีเทพเจ้าอาตน (Aton) เป็นเทพเจ้าองค์เดียว พระองค์นับถือศาสนามีเทพเจ้าองค์เดียวนี้อย่างเที่ยงแท้ แม้ในยามที่พระเจ้าอักเคนาตนจำเป็นต้องหันกลับไปรอมชอมกับพวกขุนนางและพระที่นับถือศาสนาแบบมีเทพเจ้าหลายองค์เพื่อความอยู่รอด

ความจริงเรื่องราวของทั้งสองพระองค์น่าสนใจ ฟาโรห์อักเคนาตนเดิมไม่ได้ทรงพระนามอย่างนี้ อักเคนาตนแปลว่า “ผู้เป็นประโยชน์แก่เทพเจ้าอาตน” ฟาโรห์ทรงใช้พระนามนี้เมื่อพระองค์เปลี่ยนไปยึดถือเทพเจ้าองค์ใหม่ เทพเจ้าอาตนเป็นเทพเจ้าใหม่ที่คนอียิปต์เพิ่งรู้จักเมื่อราวสักสองชั่วคนก่อนรัชกาลของพระเจ้าอักเคนาตน และเป็นเทพเจ้าที่แปลกประหลาดเพราะไม่มีรูปร่างเป็นตัวตน ผิดกับเทพเจ้าเก่าๆ ที่เคยนับถือกันมาว่ามีรูปร่างเหมือนมนุษย์ หรือไม่ก็มีพระเศียรเป็นรูปสัตว์บางชนิด แต่เทพเจ้าอาตนเป็นรังสีของดวงอาทิตย์จึงปรากฏตนเป็นแต่เพียงรังสีแสงสว่าง การนับถือเทพเจ้าองค์ใหม่ทำให้ฟาโรห์ซึ่งเดิมทรงพระนามว่าอาเมนโฮเตปที่ ๔ (ซึ่งแปลว่าเทพเจ้าอามนพอพระทัยหรือโปรดปราน) ทำการเปลี่ยนพระนามของพระองค์เสีย และพลอยเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ อย่างแทบจะถอนรากถอนโคน วิหารที่สร้างสำหรับบูชาเทพเจ้าอามน (Amon) ที่เมืองธีบิสนั้นสร้างอย่างใหญ่โต ใช้หินก้อนใหญ่ๆ หนาตึกตัก รูปคนและเทพเจ้าที่ปรากฏในวิหารก็แกะสลักจากหินก้อนใหญ่ แต่เทพเจ้าอาตน (Aton) นั้นเป็นรังสีของดวงอาทิตย์ เชื่อกันว่าเป็นผู้ให้ชีวิตแก่มนุษย์และปกปักรักษามนุษย์ จึงไม่ต้องทำเป็นรูปเทพเจ้าไว้ในห้องวิหาร เมื่อไม่ต้องมีห้องวิหารที่ปิดมิดชิด สถาปัตยกรรมที่พระเจ้าอักเคนาตนสร้างถวายเทพเจ้าองค์ใหม่ของพระองค์จึงโปร่งโล่งโถง กำแพงที่มีอยู่บ้างก็บางลงและเตี้ยลง ทุกอย่างเข้ากันได้ดีกับพระรูปพระโฉมของฟาโรห์อักเคนาตนที่มีพระวรกายผอมบางแทบจะปลิวลม พระศอเล็กบาง พระพักตร์ซูบผอมจนแหลมเสี้ยม ดูเหมือนเป็นคนไข้ที่ป่วยหนัก พระเจ้าอักเคนาตนไม่แข็งแรง ไม่มีกำลังพระวรกาย จึงไม่โปรดการเสด็จออกรบหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งเช่นการล่าสัตว์ เมื่อพระองค์ประทับนิ่งและครุ่นคิดอยู่แต่ในพระราชวัง แนวความคิดของพระองค์จึงเป็นไปในเรื่องเกี่ยวแก่จิตใจคือแนวปรัชญาและศาสนา ผู้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของศาสนาคิดว่าฟาโรห์อักเคนาตนทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์แรกที่นับถือศาสนาแบบเอกเทวนิยม (มีพระเจ้าองค์เดียว) อย่างจริงจัง

ส่วนพระนางเนเฟอร์ติติพระมเหสีของฟาโรห์อักเคนาตนนั้นนับถือเลื่อมใสในศาสนาแบบเอกเทวนิยมอย่างแท้จริง พระนางจะเป็นเชื้อสายอียิปต์แท้หรือพระนางมีเลือดประสมราชวงศ์จากทวีปเอเชียเช่นเป็นพระราชวงศ์แห่งราชอาณาจักรมิตานนี (Mitanni) ไม่มีผู้ทราบแน่นอน ทราบแต่ว่าพระนางเป็นพระอัครมเหสีผู้เป็นคู่บารมีเคียงข้างพระเจ้าอักเคนาตน โดยพบพระรูปเคียงคู่กันอยู่ในแทบทุกที่ พระนางมีพระราชธิดา ๖ องค์ กับพระเจ้าอักเคนาตน แต่ไม่มีพระโอรส พระนางเป็นผู้มีพระรูปพระโฉมงดงามมาก รูปสลักแกะจากหินปูนแล้วทาสีเป็นพระเศียรของพระนางที่นำมาลงไว้นี้ เป็นรูปสตรีอียิปต์ที่นิยมกันว่างามที่สุด ตอนนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งชาติเยอรมนีในนครเบอร์ลิน

พระนางเกิดก่อนสมัยของพระนางคลีโอพัตราที่มีเชื้อสายกรีก ซึ่งก็งามเหมือนกัน แต่งามอย่างฝรั่ง ส่วนพระนางเนเฟอร์ติตินั้นงามอย่างชาวอียิปต์

นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าพระนางเนเฟอร์ติติในภายหลังคงไม่ได้ประทับอยู่ในพระราชวังหลวงที่เมืองอามาร์นา (Amarna) เพราะขุดพบทรัพย์สมบัติที่มีจารึกว่าเป็นของพระนางได้ที่ทางทิศเหนือของเมืองอามาร์นาซึ่งแสดงว่าพระนางคงไปประทับและสวรรคต ณ ที่นั้น ส่วนเหตุผลอาจจะเป็นได้ว่าพระนางคงผิดใจกับฟาโรห์อักเคนาตนในตอนหลัง จะด้วยเรื่องอะไรนั้น เกี่ยวกับเรื่องศาสนาหรือไม่ ไม่มีผู้เขียนบรรยายเรื่องราวไว้ คนทั้งหลายรู้จักพระนางเนเฟอร์ติติแต่ในแง่มุมที่ว่าพระองค์เป็นสตรีอียิปต์ที่งามที่สุด.




พระนางฮัตเชปสุต Hatshepsut
สตรีผู้ตั้งตนเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวในประวัติศาสตร์

พระนางฮัตเชปสุต Hatshepsut เป็นพระราชินีในประเทศอียิปต์โบราณเมื่อประมาณ ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว เรื่องราวของพระนางน่าสนใจมาก จึงนำเรื่องของพระนางมาบันทึกไว้ด้วย

พระนางฮัตเชปสุตเป็นราชธิดาของฟาโรห์ทัตโมส (Thutmose) ที่ ๑ กับพระนางอาฮโมส (Ahmose) พระมารดาของพระองค์สืบสายตรงลงมาจากพระราชินีผู้เป็นใหญ่ในพระราชวังและมีอิทธิพลมาก พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับลูกร่วมบิดาเดียวกันกับพระองค์คือ พระเจ้าทัตโมสที่ ๒

พระเชษฐาของพระองค์ ๒ องค์ ซึ่งน่าจะได้สืบทอดราชบัลลังก์จากพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ พระองค์กับพระสวามีของพระองค์จึงได้สืบทอดราชสมบัติต่อมา พระสวามีได้เป็นพระเจ้าทัตโมสที่ ๒ ตั้งแต่พระเจ้าทัตโมสที่ ๑ สวรรคตนราวปีก่อนคริสต์ศักราช ๑๕๑๒ (1512 BC) นักประวัติศาสตร์คาดว่า พระสวามีคือพระเจ้าทัตโมสที่ ๒ คงครองราชย์ได้ประมาณ ๓-๔ ปีเท่านั้นก็สวรรคต พระราชินีหัตเชปสุตจึงได้รวบรวมกำลังทหารและข้าราชการตั้งคณะรัฐบาลของพระองค์เอง โดยพระองค์อ้างว่าพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระเจ้าทัตโมสที่ ๓ ซึ่งยังเป็นเด็กอยู่ พระเจ้าทัตโมสที่ ๓ เป็นโอรสของพระเจ้าทัตโมสที่ ๒ กับนางสนม ไม่มีกำลังที่จะขัดขวางพระนางหัตเชปสุต พระนางจึงให้พระเจ้าทัตโมสที่ ๓ ไปบวชอยู่ในวิหารของเทพเจ้าอามน (Amon)

พระนางฮัตเชปสุตพอพระทัยที่จะเป็นผู้สำเร็จราชการอยู่ไม่นานนักก็เสด็จขึ้นครองราชย์บัลลังก์เป็นฟาโรห์ เฉลิมพระนามอย่างฟาโรห์ และทรงใช้เครื่องแต่งพระองค์และเครื่องยศทุกอย่างดังที่ฟาโรห์ทรงใช้ เช่นพระองค์ทรงสวมพระทาฐิกะ (เครา) ปลอมซึ่งฟาโรห์เท่านั้นจะสวมได้ พระองค์ประสบความสำเร็จในการทำรัฐประหารลูกเลี้ยงในคราวนั้น เพราะข้าราชการผู้ใหญ่เข้าเป็นฝ่ายพระองค์ ด้วยความภักดีในสายตระกูลฝ่ายมารดาของพระองค์และนับถือในความเฉลียวฉลาดว่าราชการงานเมืองเป็นของพระองค์ด้วย

พระนางหัตเชปสุตทรงมีนโยบายในการบริหารประเทศแตกต่างจากฟาโรห์องค์ที่แล้วๆ มา พระองค์ทรงเน้นเรื่องการค้ากับต่างประเทศ พระองค์ได้ส่งกองเรือเลียบชายฝั่งแอฟริกาลงใต้ไปจนถึงสุดปลายของทะเลแดง นำสินค้ามีค่ามาสู่ประเทศอียิปต์ ได้แก่ ทองคำ ไม้มะเกลือ หนังสัตว์ ลิงบาบูน และต้นไม้มีค่าต่างๆ ทรงให้นำต้นไม้เหล่านั้นปลูกประดับวิหารที่พระองค์ให้สร้างขึ้น ชื่อดายร อับ-บาฮรี (Dayr al-Bahri) กิตติศัพท์ความเรืองอานุภาพของพระองค์ทำให้ประเทศต่างๆ ในเอเชีย นูเบีย และลิเบียส่งราชบรรณาการมาถวาย

พระนางหัตเชปสุตทรงนับถือเลื่อมใสในเทพเจ้าที่ปกปักรักษาประเทศ คือ เทพเจ้าอามน-เร (Amon-Re) พระองค์มีนโยบายให้มีการก่อสร้างสถานที่ต่างๆ วิหาร ปิระมิด และสถานที่ราชการ พระองค์ให้จารึกประกาศเกียรติยศของพระนางว่าพระนางทรงเป็นผู้พื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ต่างๆ ที่ชาวฮิกโซส (Hyksos) คือชาติโบราณจากทวีปเอเชียได้เข้าไปทำลายประเทศอียิปต์ และในราวปี 1630 BC ได้ปกครองประเทศอียิปต์อยู่ชั่วขณะหนึ่ง คือได้เป็นราชวงศ์ที่ ๑๕ และราชวงศ์ที่ ๑๖ นับเป็นเวลาได้ ๑๐๘ ปี พระนางหัตเชปสุตทรงประนามกษัตริย์ฮิกโซสว่ามาทำลายวัตถุสถานของประเทศอียิปต์ หากแต่ว่าประเทศอียิปต์ยังโชคดีที่มีพระนางเป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์

พระนางหัตเชปสุตให้ตกแต่งมหาวิหารที่คาร์นัค (Karnak) ที่เมืองธีบีส (Thebes) เสียใหม่ด้วยการนำเสาใหญ่มีลวดลายแกะสลัก ๔ ต้น ที่เรียกว่าเสาโอเบลิซ (Obelisks) สูงถึง ๓๐ เมตร เข้าไปไว้ในท้องพระโรงที่พระราชบิดาทรงสร้างไว้ แล้วทรงสร้างวิหารน้อยที่สวยงามมาก พระองค์โปรดให้สร้างมหาวิหารอีกแห่งหนึ่งในประเทศอียิปต์ตอนกลาง เป็นมหาวิหารที่สลักจากภูเขาหินทั้งก้อน เป็นที่รู้จักกันดีในสมัยนั้นและมีชื่อในภาษากรีกว่า สเปโอส อาร์เทมิโดส (Speos Artemidos) อยู่ที่เมืองเบนิ-ฮาซัน (Beni-Hasan)

งานก่อสร้างชิ้นเอกในรัชกาลของพระนางหัตเชปสุต คือที่ดายร อัล-บาฮรี สถานที่นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ฝังพระศพของพระองค์เองและพระราชบิดา (พระเจ้าทัตโมสที่ ๑) ที่ผนังของสถานที่นี้แกะสลักหินเป็นภาพสลักนูนต่ำ แสดงเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยของพระนางหัตเชปสุต นอกจากที่ดายร อัล-บาฮรี แล้ว พระนางยังให้ทำที่ฝังพระศพในหุบเขาแห่งฟาโรห์ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เป็นฟาโรห์เท่านั้นจึงจะมีสิทธิทำได้ ห้องที่ฝังพระศพของพระองค์ในหุบเขาแห่งฟาโรห์นั้น ทรงกะการไว้ว่าจะให้ตรงกับวิหารแห่งพระศพของพระองค์ นอกจากนี้พระนางหัตเชปสุตยังทรงต้องการจะนำมัมมี่พระศพของพระราชบิดามาไว้ในที่ฝังพระศพเดียวกันกับพระองค์ด้วย การที่ทรงคิดทำอะไรเกี่ยวข้องกับพระราชบิดาเป็นอันมากก็เพราะว่าพระนางทรงต้องการแสดงองค์ว่าเป็นรัชทายาทที่แท้จริงของพระเจ้าทัตโมสที่๑ และทรงสืบสายตรงลงมาจากเทพเจ้าอามน-เร (Amon-Re) ซึ่งพระองค์กล่าวอ้างว่าเป็นพระบิดาที่แท้จริงของพระองค์

พระนางฮัตเชปสุตเป็นผู้ที่มักใหญ่ใฝ่สูงมาก คงจะทรงเป็นเจ้านายฝ่ายสตรีคนแรกๆ ของโลกที่ทวงสิทธิสตรีอย่างแข็งขัน ทรงทำอะไรได้อย่างบุรุษเพศแทบทุกอย่าง ทรงบัญชาการการรบก็เป็น ทรงยิงธนูก็แม่น และทรงสวมพระทาฐิกะปลอมอย่างฟาโรห์ชายออกว่าราชการอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตาม ถึงคนเราจะไม่แพ้อะไรอื่น แต่ก็แพ้อายุของตนเอง พระองค์ทรงพระชราลง ขุนนางที่เข้าด้วยกับพระองค์ในตอนรัชกาลก็แก่เฒ่าลง การรบก็ไม่เฉียบฉานดังแต่ก่อน แต่พระเจ้าทัตโมสที่ ๓ (พระโอรสเลี้ยง) ทรงเจริญวัยขึ้น เสด็จออกมาจากวิหารแห่งเทพเจ้าอามนนที่เคยถูกกักบริเวณไว้ แล้วพระเจ้าทัตโมสที่ ๓ ก็ทรงเป็นแม่ทัพเอาราชสมบัติคืนจากพระนางหัตเชปสุต พระนางหัตเชปสุตจะประชวรสวรรคตเองหรือถูกพระเจ้าทัตโมสที่ ๓ จับฆ่านั้นไม่มีใครบันทึกเรื่องราวไว้

เรื่องราวของพระองค์นับว่าน่าสนใจมาก นอกจากพระองค์แล้วไม่ปรากฏว่ามีเจ้านายสตรีองค์ใดตั้งตนเองเป็นฟาโรห์อีก เมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว สิ่งทั้งหลายที่เป็นเครื่องชวนระลึกถึงพระองค์ ก็ถูกทำลายไปเสียมากต่อมาก ปิระมิดของพระองค์ก็ถูกปิระมิดอื่นสร้างขึ้นมาบังไว้ และพระนามของพระองค์ที่สลักไว้บนหินในที่ต่างๆ ก็ถูกต่อยทิ้ง แต่ด้วยเหตุที่เป็นหินจึงยังคงเหลือร่องรอยให้อ่านได้บ้าง เราจึงได้รู้เรื่องราวของฟาโรห์หญิงองค์เดียวของประเทศอียิปต์ และได้ทราบว่าคนในสมัยโบราณก็มีความรู้สึกนึกคิดไม่ผิดกับคนในสมัยต่อมาสักเท่าไร
  ราชินีในความทรงจำ นิตยสารสกุลไทย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กรกฎาคม 2562 15:20:26 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2562 15:16:08 »



พระนางจินกู (Jingu)

พระนางจินกู (Jingu) เป็นจักรพรรดินีองค์หนึ่งในสมัยโบราณตามตำนานของญี่ปุ่น พระองค์เป็นมเหสีของพระจักรพรรดิชูอัย (Chuai) ซึ่งเป้นพระจักรพรรดิ ลำดับที่ ๑๔ และเป็นพระชนนีของพระจักรพรรดิโอจิน (Ojin) ซึ่งเป็นพระจักรพรรดิ ลำดับที่ ๑๕ พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้พิชิตดินแดนเกาหลี นักวิชาการกล่าวว่าบางทีพระองค์อาจจะไม่ได้รับยกย่องว่าเป็นบุคคลที่มีตัวตนในประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง แต่พระองค์ปรากฏพระองค์ว่าเป็นรูปจำลองของหัวหน้านักรบสตรีผู้สู้รบอย่างเข้มแข็งคล้ายกับพระจักรพรรดินีฮิมิโกะในสมัยเริ่มประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

เมื่อพระนางจินกูได้เป็นมเหสีของพระจักรพรรดิชูอัยนั้น หนังสือที่เล่าเรื่องราวของญี่ปุ่นชื่อหนังสือนิฮองกิได้ลงบันทึกไว้ว่า พระองค์ได้มีชีวิตอยู่ในราว ค.ศ.๑๖๙ + อีก ๒๖๙ แต่นั่นดูเหมือนจะเป็นการนำพระองค์ไปวางไว้ในระยะเวลาที่เก่าแก่เกินความจริง พระองค์น่าจะมีพระชนม์อยู่ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๔ มากกว่า เพราะเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ ๔ ดูจะสอดคล้องกับพระราชประวัติของพระองค์มากกว่า นักวิชาการมีความคิดว่าผู้รวบรวมหนังสือโกจิกิ (Kojiki) และหนังสือนิฮองกิ (Nihongi) ทราบดีว่าเคยมีผู้นำสตรีในสมัยโบราณที่ชื่อฮิมิโกะ แล้วนำคุณสมบัติของพระนางฮิมิโกะมาใส่ไว้ในเรื่องพระนางจินกูด้วย เพราะเป็นคุณสมบัติที่เด่นมากของผู้นำสตรีในสมัยโบราณ

การนับเวลาตามปฏิทินของจีนในสมัยโบราณ นับว่า ๑ รอบใหญ่ เท่ากับ ๖๐ ปี คือนับรอบปีนักษัตรรวม ๕ ครั้ง  ดังนั้น ถ้าคิดว่าเวลาในสมัยของพระนางจินกูเกิดทีหลังที่กล่าวไว้ในหนังสือนิฮองกิ ๒ รอบใหญ่ คือ ๑๒๐ ปี นั่นก็จะทำให้สมัยของพระนางจินกูเท่ากับ ค.ศ.๑๖๙ จนถึง ๒๖๙-๑๒๐ ปี จึงเท่ากับระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์พอดี นั่นคือเรื่องเมื่อญี่ปุ่นยกทัพเข้าตีเกาหลีและได้เกาหลีใน ค.ศ.๓๙๑ และญี่ปุ่นก็ได้มีอิทธิพลอยู่บนคาบสมุทรเกาหลีต่อไปอีกประมาณ ๒๕๐ ปี โดยมีจุดศูนย์กลางการดำเนินการของญี่ปุ่นอยู่ที่มิมานา (Mimana) ซึ่งอยู่ทางใต้สุดของปลายแหลมคาบสมุทรเกาลีอยู่จน ค.ศ.๕๖๒

ตามที่หนังสือนิฮองกิเล่าไว้ พระนางจินกูได้รับคำทำนายหรือคำสั่งจากเทพเจ้าเป็นระยะๆ สมัยของพระนางจินกูก็เหมือนกับสมัยของพระนางฮิมิโกะ คือพระมหากษัตริย์และราชบัลลังก์ได้รับความนับถือจากประชาชนว่าเป็นสถาบันศักดิ์สิทธิ์ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประทับอยู่ปกปักรักษา กษัตริย์หรือจักรพรรดิจะต้องเป็นผู้ที่รู้ใจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์และทำตามที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต้องการ

หนังสือโกจิกิเขียนไว้ว่า คืนหนึ่งพระจักรพรรดิชูอัยพระสวามีและพระจักรพรรดินีจินกูกับอัครมหาเสนาบดีชื่อ ทาเกอชิ สุกุเนะ ได้ให้สร้างลานอันบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในพระอุทยานของพระจักรพรรดิเพื่อจะให้เป็นที่สำหรับรับคำบัญชาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระจักรพรรดิชูอัยทรงลงมือเป่าขลุ่ยเพื่อเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยพระองค์เอง อัครมหาเสนาบดีก็กล่าวคำขอคำสั่งจากสวรรค์ ส่วนพระจักรพรรดินีจินกูทรงถูกสิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าทรง แล้วพระจักรพรรดินีก็กล่าวคำทำนายออกมา ซึ่งอัครมหาเสนาบดีเป็นผู้แปลให้เป็นภาษาญี่ปุ่นที่ใช้กันอยู่ในเวลานั้น อัครมหาเสนาบดีแปลคำกล่าวของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า “มีประเทศหนึ่งอยู่ทางตะวันตก ประเทศนี้ร่ำรวยมาก มีทั้งทอง เงิน และสิ่งของที่มีค่าอย่างอื่น เราจะให้ประเทศนี้แก่เจ้า”

พระจักรพรรดิชูอัยเป็นผู้ที่เชื่อยาก จึงไม่เชื่อคำทำนายของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ตรัสว่า “ไม่มีประเทศอะไรอยู่ทางตะวันตกหรอก ท่านคงจะพูดเท็จให้ข้าพเจ้าฟังกระมัง” ในเมื่อพระจักรพรรดิชูอัยกล่าวคำไม่ดีให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ก็สวรรคตไปในทันดี โดยพระจักรพรรดินีไม่ทันได้เตรียมการอะไรทั้งนั้น พระจักรพรรดินีจินกูจึงคิดว่า ถ้าปล่อยให้ข่าวการสวรรคตของพระจักรพรรดิแพร่หลายไปในหมู่ประชาชน ก็อาจจะเกิดการจลาจลขึ้นได้  ดังนั้น พระจักรพรรดินีจินกูจึงเสด็จขึ้นครองราชย์เสียเอง โดยมี อัครมหาเสนาบดี ทาเกอชิ สุกุเนะ เข้าช่วย คนทั้งสองจัดการทำพิธีบูชาเพื่อให้ม่านหมอกแห่งเวทมนต์จางหายไป แล้วพระจักรพรรดินีจินกูจึงทำพิธีขอคำทำนายจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง

คำทำนายก็คงเป็นอย่างเดิม คือมีคำตอบว่ามีประเทศที่มั่งคั่งสมบูรณ์อยู่ทางทิศตะวันตก คราวนี้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เปิดเผยพระองค์เองว่าพระองค์คือเทพเจ้าอะมาเตระสุผู้เป็นเทพนารีแห่งดวงอาทิตย์ เทพเจ้าอะมาเตระสุตรัสว่าดินแดนทางทิศตะวันตกนี้ ต่อไปผู้ปกครองจะได้แก่พระโอรสของพระจักรพรรดิผู้ปฏิสนธิในเดือนสิงหาคม และขณะนี้กำลังอยู่ในพระครรภ์ของพระจักรพรรดินีจินกู

แล้วเทพนารีแห่งดวงอาทิตย์อะมาเตระสุจึงตรัสบอกวิธีเดินทางไปยังประเทศทางทิศตะวันตกแก่พระจักรพรรดินีและอัครมหาเสนาบดี แล้วจึงตรัสบอกวิธีแสดงความเคารพต่อเทพเจ้าซึ่งเป็นเจ้าแห่งสวรรค์และเจ้าแห่งโลกมนุษย์ เทพแห่งภูเขา เทพแห่งแม่น้ำ และเทพแห่งมหาสมุทร พระจักรพรรดินีจินกูจึงทำตามคำตรัสของเทพเจ้าอะมาเตระสุ จัดการรวบรวมกำลังทหาร จัดหาเรือ แล้วพระจักรพรรดินีจินกูจึงบัญชาการกองเรือเอง โดยแต่งพระองค์เป็นชายและทำท่าทางอย่างชาย ทรงพากองเรือตัดข้ามมหาสมุทรไป ได้ลมส่งจากเทพเจ้าอะมาเตระสุผู้ประทานพรให้และบรรลุถึงประเทศชื่อซิลลาในเวลาไม่ช้านาน

พระเจ้าแผ่นดินแห่งซิลลาได้ทราบเรื่องว่ามีดินแดนศักดิ์สิทธิ์อยู่ทางตะวันออกได้ยอมอ่อนน้อมต่อพระจักรพรรดิจินกูโดยไม่สู้รบ ในขณะนั้นพระกุมารในพระครรภ์ของพระจักรพรรดินีกำลังจะประสูติ พระจักรพรรดินีจินกูจึงทรงหยิบก้อนหินแบนๆ มาก้อนหนึ่ง แล้วทรงผูกก้อนปินนั้นติดกับฉลองพระองค์เพื่อเลื่อนเวลาประสูติออกไป เมื่อเสด็จกลับถึงประเทศญี่ปุ่นแล้ว พระองค์จึงประสูติพระกุมาร เมื่อพระองค์เสด็จถึงชายฝั่งของเกาะกิวชูทางตอนเหนือ การพิชิตเกาหลีครั้งนี้เป็นผลงานของพระจักรพรรดินีจินกูผู้มีอำนาจลึกลับ และมีพระพักตร์และพระวรกายคล้ายแม่มดที่ได้เคยเป็นราชินีปกครองประเทศญี่ปุ่นในสมัยก่อนหน้านั้นขึ้นไป

พระจักรพรรดินีจินกูเป็นนักรบผู้พิชิตได้ดินแดนเกาหลี และเป็นพระราชมารดาของพระจักรพรรดิผู้ครองประเทศญี่ปุ่นต่อมา พระองค์ได้ประคับประคองปกปักรักษาพระโอรสให้พ้นภัยจากพระเชษฐาต่างมารดาและพระโอรสก็ได้เป็นพระจักรพรรดิองค์ต่อมาคือเป็นพระจักรพรรดิโอจินดังกล่าวแล้วในตอนต้น

เรื่องราวที่กล่าวไว้ในหนังสือโกจิกิยังย้ำเน้นเรื่องคุณสมบัติเหมือนแม่มดของพระจักรพรรดินีจินกู โดยกล่าวว่าในปีหนึ่งเดือนเมษายนพระจักรพรรดินีจินกู เสด็จไปเสวยพระกระยาหารบนพื้นหญ้าริมฝั่งแม่น้ำเพื่อสำราญพระอิริยาบถ แล้วพระองค์ก็ดึงด้ายเส้นหนึ่งออกมาจากฉลองพระองค์ท่อนล่าง แล้วพระองค์ทรงบ่วงเบ็ดด้วยเส้นด้ายนั้น แล้วเอาเมล็ดข้าวสุกเป็นเหยื่อ พระองค์สามารถตกปลาเทร้าต์ด้วยเบ็ดพิเศษนั้นได้ หนังสือโกจิกิกล่าวว่าสตรีชาวบ้านในแถบริมแม่น้ำนั้นยังคงตกปลาเทร้าต์ในเดือนเมษายนด้วยเบ็ดที่ทำจากเส้นด้ายข้าวสุกนั้นอยู่   
 

ราชินีในความทรงจำ นิตยสารสกุลไทย
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 20 สิงหาคม 2562 14:54:15 »


พระนางลิเวีย ดรูซิลลา

พระนางลิเวีย ดรูซิลลา (Livia Drusilla)

พระนางลิเวีย ดรูซิลลา (Livia Drusilla) เป็นมเหสีของพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันองค์แรก ถ้าเราไม่เรียกพระองค์ว่าเป็นราชินีก็ไม่ทราบจะเรียกว่าเป็นอะไร ธรรมดาภรรยาของจักรพรรดิเราก็ต้องเรียกว่าจักรพรรดินี แต่พระจักรพรรดิไม่ได้ตั้งพระนางให้เป็นจักรพรรดินีแล้วพระองค์ก็ไม่ทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็นจักรพรรดิด้วย คนที่เรียนเรื่องพระจักรพรรดิองค์นี้จึงต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าเวลาไหนพระองค์เองเรียกตำแหน่งของพระองค์เองว่ากระไร
พระนางลิเวีย ดรูซิลลา (Livia Drusilla) เป็นมเหสีของพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันองค์แรก

ถ้าเราไม่เรียกพระองค์ว่าเป็นราชินีก็ไม่ทราบจะเรียกว่าเป็นอะไร ธรรมดาภรรยาของจักรพรรดิเราก็ต้องเรียกว่าจักรพรรดินี แต่พระจักรพรรดิไม่ได้ตั้งพระนางให้เป็นจักรพรรดินี แล้วพระองค์ก็ไม่ทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็นจักรพรรดิด้วย คนที่เรียนเรื่องพระจักรพรรดิองค์นี้จึงต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าเวลาไหนพระองค์เองเรียกตำแหน่งของพระองค์เองว่ากระไร ทำไมเรื่องชื่อแค่นี้จะต้องทำให้เรื่องมันซับซ้อนด้วย เหตุผลมีอยู่ ถ้าเราพยายามปอกหัวหอมออกทีละชั้นเพื่อหาดูว่า ความจริงของเรื่องนี้เป็นอย่างไร แล้วเราก็จะเข้าใจปมจิตวิทยาของพระจักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมันได้ว่าพระองค์ทำให้เรื่องตำแหน่งของพระองค์เป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนเพราะเหตุใด
 
พระจักรพรรดิองค์แรกของจักรพรรดิโรมันทรงมีพระนามเดิมเมื่อยังเป็นคนสามัญอยู่ว่า ออคตาเวียน (Octavian) พระองค์มีศักดิ์เป็นหลานชายของ จูลิอุส ซีซาร์ (Julius Caesar) ก็ซีซาร์คนที่เล่นรักกับ พระนางคลีโอพัตราน่ะแหละ  อาณาจักรโรมันสมัยที่ซีซาร์ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ ไม่มีพระเจ้าแผ่นดิน ไม่มีเจ้านาย แต่มีการแบ่งแยกคนในสาธารณรัฐนี้ออกเป็นคนชั้นสูง (Patricians) กับคนสามัญ (Plebeans) คนชั้นสูงมีอำนาจมาก มีเงินมีทองมาก ดูเผินๆก็เหมือนเป็นเจ้านาย แต่ประชาชนโรมันรังเกียจการมีพระเจ้าแผ่นดิน เพราะติดการเกลียดชังมาตั้งแต่ครั้งที่พระเจ้าแผ่นดินชาวอีทรัสกัน (Etruscan) เคยปกครองกรุงโรมอย่างกดขี่คนโรมัน ดังนั้นถึงแม้เมื่อได้รวมพลังกันขับไล่กษัตริย์ชาวอีทรัสกันหนีจากไปแล้ว แต่ผู้นำชาวโรมันก็ไม่มีใครกล้าตั้งตนเองเป็นกษัตริย์

ในสมัยต่อมา จูลิอุส ซีซาร์ เป็นผู้ที่รบเก่งมากได้พิชิตดินแดนของชาวกอล (ซึ่งต่อมาคือชาวฝรั่งเศส) ได้ทางด้านตะวันตกและยังได้อาณาจักรอียิปต์ทางด้านตะวันออก ซีซาร์เป็นผู้ที่ฉลาดเฉียบแหลม แล้วยังมั่งมีเงินทอง มีอิทธิพลมากจากการที่ตีได้ดินแดนต่างๆ จึงมีสมัครพรรคพวกมาก น่าที่ซีซาร์จะพยายามตั้งตัวเป็นกษัตริย์หรือเป็นจักรพรรดิได้ ซีซาร์จึงพยายามไต่เต้าที่จะเป็นใหญ่ ได้ทำการชิมลางโดยตั้งตนเองเป็นผู้เผด็จการ (Dictator) เมื่อเห็นรัฐสภาไม่ว่ากระไร ก็พยายามไต่เต้าต่อไปโดยตั้งตนเองเป็นผู้เผด็จการตลอดชีพ ไม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง สิ่งนี้ก็คือการตั้งตนเองเป็นกษัตริย์หรือเป็นจักรพรรดินั่นเอง เพียงแต่ไม่ระบุตำแหน่งออกมาโดยตรงเท่านั้น  คราวนี้วุฒิสมาชิกไม่ยอม วุฒิสมาชิกหลายคนรวมกันแล้วราว ๓๐ คน ได้ทำการสังหาร จูลิอุส ซีซาร์ โดยการแทงข้างหลังในห้องรัฐสภานั่นเอง เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องที่โด่งดังมาก เพราะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ส่วนออคตาเวียนเป็นหลานชายแท้ๆของ จูลิอุส ซีซาร์ เป็นผู้รับมรดกของซีซาร์ถึงสามในสี่ตามพินัยกรรมของซีซาร์เอง  เมื่อเกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญนั้น ออคตาเวียนเพิ่งมีอายุได้ ๑๙ ปี เหตุการณ์จึงฝังใจของออคตาเวียนยากที่จะลืมได้ ออคตาเวียนเองก็เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง อยากจะเป็นใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน แต่ออคตาเวียนได้บทเรียนจากความตายของซีซาร์ ออคตาเวียนจึงไม่กล้าตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิ เขาพยายามทำความดีและทำผลงานของเขาออกแสดงทีละน้อยให้คนโรมันเห็นว่าเขาเป็นคนที่ชาวโรมันสมควรยกย่องให้เป็นผู้นำ

ที่สุดแล้วเขารบชนะศึกอียิปต์ ซึ่งมี พระนางคลีโอพัตรา กับ มาร์ค อันโตนี เป็นผู้นำอย่างขาวสะอาด กองทัพเรือของอียิปต์แตกอย่างไม่เป็นท่าในการยุทธที่อักติอุม (Actium) ในปี ๒๗ ก่อนคริสต์ศักราช ระหว่างนี้คนโรมันก็เห็นความดีความเก่งของออคตาเวียน และสมัครพรรคพวกของออคตาเวียนก็ตั้งตำแหน่งต่างๆ ที่เป็นตำแหน่งที่ไม่เคยมีอยู่ให้แก่ออคตาเวียนและเขยิบสูงขึ้นเรื่อยๆ เขาได้รับตำแหน่งเป็นกงสุล (Consul) แล้วต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นอิมเพเรเตอร์ (Imperator ซึ่งหมายความว่าเป็นจักรพรรดิในทางทหาร) แล้วต่อมาก็ได้ตำแหน่งปริ๊นเซป (Princeps ซึ่งหมายความว่าเป็นวุฒิสมาชิกผู้มีอาวุโสที่สุด)

ต่อมาเมื่อชนะศึกอียิปต์แล้ววุฒิสภา ก็มอบตำแหน่งออกุสตุส (Augustus ซึ่งแปลว่าเป็นที่นับถือแก่เขา) ออคตาเวียนรักตำแหน่งนี้มากและเขาใช้ตำแหน่งนี้ในการลงนามมากกว่าตำแหน่งอื่น ตั้งแต่ปี ๒๗ ก่อนคริสต์ศักราชก็ไม่มีใครเรียกเขาว่าออคตาเวียนอันเป็นชื่อตัวอีกเลย คงเรียกว่าออกุสตุสในแทบทุกที่

กล่าวโดยสรุปก็คือถึงแม้ว่าออกุสตุสจะฉลาดและมีความยับยั้งชั่งใจมากจนไม่ยอมเรียกตัวเองว่าเป็นจักรพรรดิ (Emperor) แต่ในความจริงแล้วเขาคือจักรพรรดิของชาวโรมัน และนักประวัติศาสตร์ก็เริ่มนับปีแรกของการมีจักรวรรดิโรมัน ในปี ๒๗ ก่อนคริสต์ศักราช และเราก็ควรจะนับว่า พระนางลิเวีย ดรูซิลลา ซึ่งเป็นภรรยาของออกุสตุสว่าเป็นราชินี หรือเป็นจักรพรรดินีคนแรกของจักรวรรดิโรมันนั่นเอง

ลิเวีย ดรูซิลลา มีกำเนิดเป็นชนชั้นสูง (Patrician) บิดาชื่อ มาร์คุส ลิวิอุส ดรูซุส โคลดิอานุส (Marcus Livius Drusus Claudianus) บิดาเป็นบุตรเลี้ยงของกงสุลแห่งกรุงโรม ในปี ๙๑ ก่อนคริสตกาล ลิเวียได้รับการศึกษาอย่างดีและมีความสวยงามอย่างยิ่ง เป็นความงามแบบคลาสสิคเหมือนกับรูปสลักจากหินอ่อน เครื่องหน้าได้สัดส่วนที่นิยมกันว่างามในสมัย และเป็นผู้มีจริตกิริยาเป็นสง่าราวกับว่าเกิดมาเพื่อจะเป็นใหญ่  ลิเวียได้แต่งงานกับสามีคนแรกที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเธอคนที่ชื่อ ไทเบอริอุส โคลดิอุส เนโร (Tiberius Claudius Nero) และในปี ๔๒ ก่อนคริสต์ศักราช ได้มีบุตรชายคนแรกให้ชื่อตามบิดาว่า ไทเบอริอุส  ในปี ๓๘ ก่อนคริสต์ศักราช เธอกำลังตั้งครรภ์บุตรชายคนที่ ๒ แต่ออคตาเวียนซึ่งขณะนั้นมีเงิน มีอำนาจมาก เพราะได้มรดกจากซีซาร์ดังกล่าวแล้ว ได้หลงรักลิเวียซึ่งเป็นภรรยาของคนอื่นอย่างหัวปักหัวปำ ซึ่งผิดกับนิสัยปกติของเขา ออคตาเวียนเป็นคนสุขุมรอบคอบ ช่างคิดช่างตรอง จะทำอะไรสักอย่างก็คิดแล้วคิดอีก แต่ความรักที่เขามีต่อลิเวียนี้เหมือนไฟไหม้ป่า เป็นครั้งเดียวในชีวิตที่เขาตกหลุมรักถึงอย่างนี้  เขาได้บังคับสามีของลิเวียให้หย่าขาดจากภรรยา และบังคับให้ลิเวียมาแต่งงานกับเขา ออคตาเวียนเป็นคนหนุ่มที่กำลังชาตาขึ้นสูง มีวาสนาบารมี สามีของลิเวียจึงต้องยอมหย่า ลิเวียจึงได้แต่งงานเป็นภรรยาของออคตาเวียน ในไม่ช้าออคตาเวียนก็ได้เป็นกงสุล เป็นอิมเพเรเตอร์ เป็นปริ๊นเซป แล้วได้เป็นออกุสตุส ซึ่งหมายความว่าเขาได้เป็นจักรพรรดิคนแรกของชาวโรมัน

ตลอดเวลาที่ออคตาเวียนได้ขยับตำแหน่งสูงขึ้นๆ จนถึงเป็นจักรพรรดิ เราไม่ทราบว่าลิเวียใช้ตำแหน่งเป็นอะไรแน่ แต่จะตำแหน่งอะไรก็ดูเหมือนไม่มีความสำคัญ ในเมื่อลิเวียเป็นภรรยาคนเดียวของพระจักรพรรดิ เป็นคนที่พระจักรพรรดิรักที่สุด มีอิทธิพลเหนือความคิดของพระจักรพรรดิอย่างมาก ออกรับแขกคู่กับพระจักรพรรดิอยู่เสมอ แต่ลิเวียไม่มีบุตรกับพระจักรพรรดิ จึงพยายามเชิดชูบุตรของตนเองกับสามีเก่าให้สืบราชสมบัติ พระจักรพรรดิก็ไม่มีบุตรคนอื่นอีก จึงรับเลี้ยงเด็กน้อยไทเบอริอุส ลูกติดภรรยาให้เป็นลูกบุญธรรมอย่างเต็มพระทัย

เพื่อแผ้วถางทางให้บุตรของตนได้เป็นจักรพรรดิองค์ที่ ๒ นักประวัติศาสตร์คาดเดาว่าลิเวียต้องหาทางกำจัดคนอื่นให้พ้นทางหลายคนด้วยกัน ในที่สุดพระจักรพรรดิออกุสตุสสวรรคตก่อนลิเวียในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ค.ศ.๑๔ ลิเวียอยู่ต่อมาอย่างสตรีที่มีศักดิ์สูงที่สุดในแผ่นดิน เป็นพระมารดาของพระจักรพรรดิองค์ที่ ๒ คือจักรพรรดิไทเบอริอุส พระนางลิเวียทรงเรียกตำแหน่งของพระองค์ว่า จูเลีย ออกุสตา (Julia Augusta) คือชื่อจูเลียเป็นชื่อของผู้หญิงผู้มีศักดิ์ในสังคมโรมันสมัยนั้น ส่วนออกุสตาเป็นคำเพศหญิงของคำว่า ออกุสตุส ต่อมาในรัชกาลของหลานของพระองค์คือจักรพรรดิโคลดิอุส พระจักรพรรดิได้แต่งตั้งให้พระองค์เป็นเทพเจ้า (Deified) ตั้งรูปหินอ่อนไว้ในวิหารให้คนบูชาอย่างเทพเจ้าองค์หนึ่ง.


ราชินีในความทรงจำ นิตยสารสกุลไทย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 สิงหาคม 2562 14:58:24 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2562 10:51:13 »





ตวนกู ซารา ซาลิม

ตวนกู ซารา ซาลิม อิสตรีผู้เลอโฉม พระอัครมเหสีในสุลต่าน นัซริน มูวิซซุดดิน ซะฮ์ แห่งมาเลเซีย และสุลต่านแห่รัฐเประ

ตวนกู ซารา ซาลิม พระนามเดิม ซารา ซาลิม เดวิดสัน  (Zara Salim Davidson)

พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ณ เมืองอีโปะฮ์ รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย เป็นบุตรคนเล็กจากทั้งหมดสี่คนของดาโต๊ะซาลิม เดวิดสัน (นามเดิม วิลเลียม สแตนลีย์ วอล์กเกอร์ "บิล" เดวิดสัน) ทนายความชาวอังกฤษ กับดาตินชารีฟะฮ์ อาซาลียะฮ์ ไซยิด โอมาร์ ชาฮาบูดิน เชื้อพระวงศ์เกอดะฮ์ พระองค์เป็นพระภาคิไนยของตุนกู อับดุล ระฮ์มัน นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย และเป็นเหลนของคุณหญิงเนื่อง ฤทธิสงครามรามภักดี เชื้อสายไทย-มอญ ในสายพระราชชนนี  พระองค์เป็นลูกครึ่งมาเลเซีย-อังกฤษสืบจากพระราชชนก และมีเชื้อสายแห่งราชวงศ์เกอดะฮ์

สตรีผู้นี้มีพระประวัติที่น่าสนใจมาก แห่งมาเลเซีย ทรงสนพระทัย ด้านภาษาต่างประเทศและกีฬา ทั้งสควอซ เทนนิส และว่ายน้ำ  หลังทรงสำเร็จการศึกษาระดับเอจากวิทยาลัยไพรม์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ พระองค์ได้ศึกษาต่อด้านวิศวกรรมเคมี ณ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม สหราชอาณาจักร จนสำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ ๑ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๘ และได้รับรางวัลนักศึกษาดีเด่นในช่วงปีสุดท้าย จากนั้นทรงเข้าทำงานที่บริษัทอุตสาหกรรมเคมีเปโตรนาสของมาเลเซีย ปัจจุบันทรงเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของบริษัทน้ำมันและแก๊สในกุรงกัวลาลัมเปอร์

ตวนกู ซารา ซาลิม อภิเษกสมรสกับสุลต่านนัซริน ชะฮ์ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ณ พระราชวังอิสกันดารียะฮ์ เมืองกัวลากังซาร์ รัฐเปรัก วันรุ่งขึ้นจึงมีพระราชพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ แล้วจึงโปรดเกล้าฯ สถาปนาซารา ซาลิม เดวิดสัน ขึ้นเป็นเจ้าหญิงพระชายาในมกุฎราชกุมาร (ราจามูดา) เป็นต้นไป ทั้งสองมีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกันสองพระองค์ คือ ราจา อัซลัน มุซซัฟฟาร์ ชาห์ (๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑) และ ราจา นาซีรา ซาฟียา (๒ สิงหาคม ๒๕๕๔)

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ หลังสุลต่านอัซลัน ชาห์ แห่งเปรัก เสด็จสวรรคต สุลต่านนัซริน ชะฮ์ พระราชโอรสจึงเสวยราชสมบัติสืบมา จึงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าหญิงซารา พระชายาฯ ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินี (รายาประไหมสุหรี) แห่งเปรักมาตั้งแต่นั้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ตุลาคม 2562 10:59:31 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2562 13:44:51 »


เหรียญทองโซลิดัสในรัชสมัยของจักรพรรดินีไอรีนซึ่งบันทึกถึงคำว่า BASILISSH, Basilisse
จาก วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

พระนางไอรีน (Irene)
แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์

ใครบ้างจะคิดว่าการนับถือหรือไม่นับถือรูปเคารพในศาสนาจะเป็นเรื่องที่คนบางยุคบางสมัยถือว่าสำคัญมากจนสามารถเป็นเหตุให้ผู้มีความคิดต่างฝ่ายกันถึงกับต้องจัดกองทัพมารบราฆ่าฟันกัน หรือบางครั้งคนก็อ้างเรื่องนี้เป็นสาเหตุให้แย่งราชสมบัติกัน เรื่องของพระนางไอรีน (Irene) แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ แสดงให้เราเห็นว่าการนับถือรูปเคารพในศาสนาเป็นเรื่องใหญ่มากทีเดียวในสมัยนั้น พระนางเลือกข้างถูกและได้เป็นจักรพรรดินีแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ เมื่อสวรรคตก็ได้รับการประกาศว่าพระองค์เป็นนักบุญ (Saint) องค์หนึ่ง ซึ่งมีวันเฉลิมฉลองในวันที่ ๙ สิงหาคม ของทุกปี

พระนางไอรีนทรงมีพระราชสมภพที่กรุงเอเธนส์ เมื่อราว ค.ศ.๗๕๒ ในตระกูลสูง ได้เสกสมรสกับพระจักรพรรดิเลโอที่ ๔ (Leo Ⅳ) ต่อมาพระจักรพรรดิเลโอที่ ๔ เสด็จสวรรคตใน ค.ศ.๗๘๐ โอรสของพระนางกับพระจักรพรรดิเลโอพระชนมายุเพิ่ง ๑๐ พรรษาได้ครองราชย์ ต่อมาเป็นพระจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ ๖ (Constantin Ⅵ) พระนางไอรีนซึ่งเป็นสมเด็จพระพันปีพระราชมารดาได้ครองราชย์ร่วมด้วย คือเป็นพระจักรพรรดิร่วม (Co-Emperor) ทรงทำหน้าที่คุ้มครองป้องกันพระจักรพรรดิอายุเยาว์อย่างเต็มที่ เพราะขณะนั้นในราชสำนักและในระบบราชการคนแบ่งออกเป็นสองฝ่าย

ฝ่ายพระจักรพรรดิเป็นผู้นับถือรูปเคารพ อีกฝ่ายหนึ่งมีหัวหน้าเป็นพระโอรสอีกองค์หนึ่งของพระจักรพรรดิเลโอที่ ๔ เกิดกับพระชายาองค์ก่อน พระโอรสองค์สำคัญองค์นี้มีอายุแก่กว่าพระจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ ๖ ทรงพระนามว่า นิเซโฟรุส (Nicephorus) เป็นผู้ต้องการราชบัลลังก์อีกเช่นกัน

เจ้าชายนิเซโฟรุสมีสมัครพรรคพวกเป็นกลุ่มที่ไม่ต้องการกราบไหว้นับถือรูปเคารพ คนพวกนี้รวมกันเป็นคณะไอคอนโนคลาสต์ เพราะไอคอน (Icon) แปลว่ารูปเคารพ และคลาสต์ (Clasts) แปลว่าทำลาย พวกไอคอนโนคลาสต์เป็นไม้เบื่อไม้เมาอย่างแรงกับพวกที่นับถือรูปเคารพ รสนิยมในทางศิลปะของชาวโรมันซึ่งเป็นชาติทหารเก่านั้นนิยมความงามแบบเรียบง่าย มีสง่า ก่อสร้างด้วยหินอ่อน และไม่มีเครื่องประดับตกแต่งรุงรัง

ส่วนในจักรวรรดิโรมันตะวันออกนั้นรสนิยมทางศิลปะเริ่มต้นด้วยการที่พระจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ ๑ พระราชทานทรัพย์สินเงินทองที่พระองค์ตีได้จากเมืองต่างๆ เข้าเป็นศาสนบูชา พระจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ ๑ ทรงรบเก่งมาก ทรัพย์สมบัติที่พระองค์หาได้ก็มีมาก รวมทั้งทรัพย์สมบัติที่พระองค์ให้ริบมาจากโบสถ์วิหารในศาสนาดั้งเดิม ดังนั้น จะเห็นได้ว่าตั้งแต่เริ่มต้นการก่อตั้งจักรวรรดิโรมันตะวันออก ก็มีการประดับตกแต่งศาสนสถานและศาสนวัตถุด้วยแก้วแหวนเงินทองเพชรนิลจินดา การใช้โลหะมีค่า เช่น ทอง และเงินใช้ประดับอย่างไม่ต้องนับ จิตใจของศาสนิกในจักรวรรดิโรมันตะวันออกกลายไปเป็นเคารพและหลงใหลได้ปลื้มกับโลหะมีค่าและเพชรนิลจินดา จนเกือบจะลืมเลือนพระเจ้าและพระบุตร  (คือพระเยซู) ไป

วัตถุสำหรับเคารพ (Icon) ที่เคยมีแต่ภาพประดับฝาผนังเป็นภาพเหตุการณ์ในศาสนา และสิ่งของอื่นไม่มาก อย่างเช่น ถ้วย และพานสำหรับใส่ของศักดิ์สิทธิ์ ก็ขยายตัวออกเป็นเรื่องเป็นราวเป็นตุเป็นตะ มีการเที่ยวหาผ้าที่เคยห่อพระศพพระเยซู มีการตามหาชิ้นส่วนของไม้กางเขนที่เคยตรึงพระเยซู อีกทั้งตะปูซึ่งนัยว่าเคยใช้ตอกพระหัตถ์ พระบาท ของพระเยซู บ้างก็ตระเวนหาชิ้นส่วนของมงกุฎหนามที่พระเยซูเคยทรง บางพวกก็หาสิ่งของเกี่ยวกับแม่พระ (พระแม่มารี) และมีการทำรูปแม่พระและพระสาวกด้วย วัสดุมีค่า เช่น งาช้างประดับด้วยไข่มุก และอัญมณีต่างๆ ฯลฯ ประชาชนพากันกลุ้มรุมให้ความสนใจแต่เรื่องวัตถุ จนแทบจะลืมพระเจ้าและคำสอนของพระองค์กันไปเลย

มีนักศาสนาและพระจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันตะวันออกบางองค์มองเห็น ภัยร้ายของการหลงใหลวัตถุ ว่าจะเป็นการกลบความสำคัญของศาสนาที่แท้จริง จึงต่อต้านลัทธิการนิยมรูปเคารพ พวกที่ต่อต้านนี้เรียกว่าคณะไอคอนโนคลาสต์ การต่อต้านอย่างรุนแรงเกิดในระหว่าง ค.ศ.๗๒๕-๘๔๓ มีพระจักรพรรดิองค์หนึ่งเข้าด้วย และทรงห้ามการเคารพบูชารูปเคารพต่างๆ ใน ค.ศ.๗๓๐ นับเป็นชัยชนะของพวกต่อต้าน แต่พวกที่ยังต้องการเคารพบูชารูปเคารพก็ทำการต่อสู้ทั้งบนดินและใต้ดิน ต่อมาประเด็นเรื่องควรเคารพบูชารูปเคารพหรือไม่ถูกนำไปเกี่ยวโยงกับเรื่องทางการเมือง ดังเช่นความพยายามของพวกต่อต้านรูปเคารพที่จะนำเจ้าชายนิเซโฟรุส พระเชษฐาต่างมารดาของพระจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ ๖ มาครองบัลลังก์แทนพระจักรพรรดิ ประเด็นทางศาสนากลายเป็นประเด็นทางการเมือง ความจริงคณะของเจ้าชายนิเซโฟรุสต้องการจะทำรัฐประหารมากกว่าเรื่องต้องการจะทำลายรูปเคารพ

พระจักรพรรดินีไอรีนทรงต่อต้านพวกไอคอนโนคลาสต์อย่างชาญฉลาด ทหารฝ่ายของพระองค์บดขยี้ทหารฝ่ายไอคอนโนคลาสต์ ใน ค.ศ.๗๘๐ เป็นผลสำเร็จ แล้วพระองค์ประกาศให้นับถือรูปเคารพได้ตามเดิม แล้วพระองค์ทรงจัดการให้พระที่เป็นพรรคพวกของพระองค์รูปหนึ่งชื่อทาราสิอุส (Tarasius) ได้รับเลือกเป็นพระสังฆราชแห่งกรุงคอนสแตนนิโนเปิล แล้วพระองค์จัดให้มีการประชุมทางศาสนาเพื่อพิจารณาประเด็นเรื่องการเคารพบูชารูปเคารพ ใน ค.ศ.๗๘๖ แล้วจัดการประชุมทางศาสนาครั้งใหญ่ The Seventh Ecumenical Council การประชุมใหญ่รวมกันทุกนิกายที่เมืองนีเซีย (Nicaea) ซึ่งนับถือกันว่าเป็นเมืองที่สำคัญเพราะได้เคยเป็นสถานที่จัดประชุมใหญ่ทุกนิกายเป็นครั้งแรกเมื่อนานมาแล้ว ในการประชุม ค.ศ.๗๘๗ นี้ นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic) ก็มาร่วมประชุมกับนิกายออทอดอกซ์ตะวันออก (Eastern Orthodox) ด้วย ที่ประชุมตกลงให้รักษาการเคารพบูชารูปเคารพไว้ นับว่าพระจักรพรรดินีไอรีนทรงชนะศัตรูทางการเมืองของพระองค์ จักรวรรดิโรมันตะวันออกจึงยังรักษาการเคารพบูชารูปเคารพไว้ได้

พระจักรพรรดินีไอรีนทรงชนะศึกนอกบ้าน แต่พระองค์ก็ต้องทรงยอมพระโอรสของพระองค์เอง เมื่อพระจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ ๖ ทรงเจริญวัยขึ้น ไม่ทรงต้องการให้พระราชมารดามามีพระหัตถ์วุ่นวายทางการเมืองอีก พระโอรสจึงพยายามยึดอำนาจในพระราชวัง แต่พระราชมารดาก็ปราบได้

หลังจากชนะพระโอรสแล้ว พระนางไอรีนได้ครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิ (Emperor พระองค์ไม่ใช้คำว่าจักรพรรดินี Empress) อีกเป็นเวลา ๕ ปี มีสิ่งที่น่าสนใจในตอนนี้ คือพระองค์ได้ติดต่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับ พระเจ้าชาร์เลอมาญ (Charlemagne) ซึ่งเป็นพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Roman Empire) ซึ่งตั้งขึ้นมาแทนที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ล่มสลายไปแล้ว การเชื่อมสัมพันธไมตรีเป็นไปอย่างดียิ่ง ใน  ค.ศ.๘๐๒ เคยมีแผนการว่าจะมีการอภิเษก พระจักรพรรดิทั้งสององค์เข้าด้วยกัน แต่แผนนี้ได้ล้มเลิกไป แล้วดวงพระชาตาของพระนางไอรีนก็เข้าที่ตกอับ พระองค์ถูกข้าราชการและนายทหารปฏิบัติ เจ้าชายนิเซโฟรุสซึ่งรับตำแหน่งเสนาบดีคลังอยู่ได้ราชสมบัติต่อ พระนางไอรีนถูกเนรเทศไปอยู่บนเกาะปรินกิโป (Prinkipo) แล้วต่อไปได้ถูกเนรเทศไปเกาะเลสโบส (Lesbos) แล้วสวรรคต ณ ที่นั้น ใน ค.ศ.๘๐๓


ชื่อคอลัมน์: ราชินีในความทรงจำ ตีพิมพ์ในนิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2562 12:02:23 »




เจ้าหญิง ของ Karl Marx

Karl Marx เจ้าพ่อทฤษฎีคอมมิวนิสต์มีชื่อเสียงดังข้ามศตวรรษในฐานะผู้ริเริ่มมีความคิดที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อโลกอย่างมหาศาล แต่ภรรยายอดหญิงของเขาไม่มีคนรู้จักมากนัก ทั้งๆที่เธอมีชีวิตที่น่าสนใจไม่น้อย

Karl Marx เป็นนักปรัชญา นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์ นักเศรษฐศาสตร์ และนักปฏิวัติสังคม เกิดในปรัสเซียในครอบครัวชั้นกลาง มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.๑๘๑๘-๑๘๘๓ เรียนหนังสือที่ University of Bonn และจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Berlin and Jena เขาใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในลอนดอนในขณะที่พัฒนาความคิดและทฤษฎีร่วมกับเพื่อนนักวิชาการคือ Friedrich Engels

ภรรยาของ Marx ชื่อ Johanna Bertha Julie Jenny von Westphalen มีเชื้อสายเจ้าตระกูล Trier ใน Kingdom of Prussia พ่อของเธอชื่อ Baron Ludwig von Westphalen ซึ่งเป็นลูกหลานของเจ้านาย Prussia และเจ้านายวงศ์ Scottish House of Argyll

คนเรียกเธอสั้นๆว่า Jenny ผู้มีความงดงามเป็นที่เลื่องลือ คู่กับความเฉลียวฉลาด นับแต่เป็นสาวเธอมีชายหนุ่มผู้มีฐานะและครอบครัวคล้ายคลึงกันมาขอแต่งงานมากมาย แต่เธอปฏิเสธหมด เพราะหัวใจได้มอบให้ "เด็กข้างบ้าน" หน้าตาชนิดหาความหล่อไม่ได้ ที่มีอายุอ่อนกว่า ๔ ปี เรียบร้อยแล้ว

เธอเชื่อมั่นในสมองอันเป็นเลิศและความมุ่งมั่นในเป้าหมายของชีวิตตลอดจนวาทะอันตรึงใจของเขา ถึงแม้เขาจะมีฐานะแตกต่างจากเธอมากมาย บรรพบุรุษของ Marx เป็นพระยิว (Rabbis) สืบทอดกันมาหลายชั่วคน ยกเว้นพ่อของเขาที่เปลี่ยนศาสนาเป็น Lutheranism เพราะความจำเป็น

สุภาษิตฝรั่งเศสในเรื่องความรักที่ว่า "The heart has its reason that reason knows nothing of." นั้น ตรงกับกรณีของ Jenny อย่างยิ่ง พ่อแม่เธอห้ามปรามและกีดกัน แต่ทั้งสองแอบหมั้นกันลับๆในปี ๑๘๓๖ ก่อนที่ Marx จะจากไปเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัย Berlin and Jena

อีก ๗ ปีต่อมา Marx ก็กลับมาหา Jenny ที่รอคอยเขาอย่างซื่อสัตย์และพร้อมที่จะแต่งงานกัน เพราะ Baron ผู้พ่อเสียชีวิตไปแล้ว แม่นั้นเห็นใจความรักของเธอจึงยินยอมให้แต่งงานในขณะเธอมีอายุ ๒๙ ปี พร้อมกับให้เงินก้อนใหญ่พร้อมของมีค่า ซึ่งสิ่งนี้แหละที่ช่วยชีวิตทั้งสองไว้ได้มาก

Marx นั้นมีความสุขอย่างยิ่งที่ "เจ้าหญิง" เลือกเขา และประการสำคัญเขาปฏิวัติให้คนเห็นได้สำเร็จเป็นครั้งแรกด้วยการแต่งงานข้ามชนชั้น Jenny เข้าใจดีว่าเธอมิได้แต่งงานกับ ดร.หนุ่มอายุ ๒๕ ปีเท่านั้น หากแต่งกับอุดมการณ์ของเขาซึ่งเธอก็เลื่อมใสด้วย

งานแต่งงานของทั้งสองจัดขึ้นเป็นงานเล็กๆ เนื่องจากครอบครัวฝ่ายหญิงรวมหัวกันไม่มา ยกเว้นแม่และน้องชายของเธอ Jenny ฝันถึงการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยของสามี และเป็นแม่บ้านที่มีความสุข โดยมิได้ตระหนักว่าอุดมการณ์และความเชื่อที่สามีและเธอมีนั้นทำให้มันเป็นไปไม่ได้

Marx ทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์และเขียนบทความปลุกเร้าสังคมให้คนยากจนลุกขึ้นมาขับไล่เจ้าและขุนนางที่ร่ำรวย ปฏิกิริยาที่เขาได้รับก็คือหางานทำไม่ได้ ทั้งสองจึงเริ่มชีวิตของความยากจนจนกระทั่งพบเพื่อนมหาเศรษฐีร่วมอุดมการณ์คือ Friedrich Engel ที่ช่วยอุปถัมภ์เขาเป็นเวลายาวนาน

Marx และ Jenny ขณะท้องลูกคนแรก ต้องหนีการไล่ล่าของกษัตริย์ Prussia ที่สั่งให้จับเขาด้วยข้อหาปลุกปั่นล้มล้าง ทั้งสองหนีจากปารีสไปเยอรมนี และปรัสเซีย และจบลงที่ลอนดอน ซึ่งระหว่างนี้ทั้งสองมีลูกด้วยกัน ๓ คน ท่ามกลางความยากจน

Jenny ยืนอยู่ข้างสามีเธอเสมอ ไม่เคยคิดที่จะทอดทิ้งเพื่อกลับไปอยู่กับแม่และครอบครัว มีผู้พบเห็นชีวิตของทั้งสองและบรรยายไว้ว่าทั้งสองอยู่ในบ้านที่เปรียบเสมือนสลัม ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ดีๆ สักชิ้น ของเล่นเด็ก ตะกร้าเย็บผ้า ถ้วยน้ำวางอยู่เกลื่อนกลาดบ้าน เก้าอี้มีอยู่ตัวหนึ่งก็มี ๓ ขา

ไม่ทราบว่า Marx ตั้งใจมีชีวิตอยู่อย่างนี้หรือไม่เพื่อแสดงให้คนเห็นว่าตนเองไม่มีสมบัติพัสถานแต่อย่างใด Jenny ก็ไม่เดือดร้อนและดูจะพอใจสภาพที่เป็นอยู่ ถึงแม้จะเอาเครื่องเงินของครอบครัวซึ่งเป็นสมบัติที่แม่มอบให้ไปจำนำอยู่บ่อยๆก็ตาม

Jenny มีชีวิตที่มีความสุขกับ Marx และครั้งหนึ่งขณะที่กำลังท้องเธอเดินทางไปทั่วยุโรปเพื่อหาทุนสนับสนุนการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ และในระหว่างที่เธอไม่อยู่ก็ฝากการดูแลสามีและลูกไว้กับแม่บ้านที่จ้างมาคือ Helene Demuth โอกาสนี้ทำให้เกิดเรื่องขึ้น กล่าวคือ Mark ทำสาวคนนี้ท้องและต้องปิดบังกลัว Jenny รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลัวคนอื่นจะเห็นว่าเขาหาประโยชน์จากผู้ใช้แรงงานดังที่เขาโจมตีคนอื่นไว้ อีกทั้งศัตรูของเขาจะชอบอย่างยิ่ง ทางออกก็คือ Engel ยอมรับเองว่าเป็นผลงานของเขาและมอบให้เป็นลูกบุญธรรมของครอบครัวผู้ใช้แรงงานหนึ่งไป ความลับนี้ Jenny ไม่รู้และคนในสมัยต่อมาก็พยายามกลบเกลื่อนเรื่องนี้ว่าไม่เป็นความจริง

เด็กชายคนนี้เป็นลูกคนเดียวของ Marx ที่ได้เห็นการปฏิวัติรัสเซีย ซึ่งพ่อของเขาเป็นสถาปนิก ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะความยากจนและชะตากรรมทำให้ลูก ๖ คน ของทั้งสองเสียชีวิตทั้งหมด ส่วนใหญ่ตายด้วยโรคอันเนื่องมาจากความอ่อนแอของร่างกายที่ขาดสารอาหารตอนท้องและตอนวัยเด็ก รวมทั้งขาดการดูแลที่ดีของแพทย์ด้วย

ลูกสาว ๒ คนแรกตายตอนเป็นทารก คนที่สามเป็นชายตายตอนอายุ ๘ ขวบ ด้วยวัณโรค Marx ซึมเศร้ากับการจากไปของลูกคนนี้ถึง ๒ ปี การจากไปของลูกคนนี้ทำให้ทั้งสองใกล้ชิดและรักกันมากยิ่งขึ้น แต่ถึงจะรักกันมากอย่างไร ในที่สุด Jenny ก็จากไปในวัย ๖๗ ปี ในปี ๑๘๘๑ ด้วยโรคมะเร็งตับ และอีก ๒ ปีต่อมา ลูกคนที่สี่ซึ่งเป็นชายก็จากไปอีกด้วยโรคมะเร็ง

Marx ในภาวะสุดเศร้าและร่างกายอ่อนแอจากการทำงานหนัก การดื่มและสูบบุหรี่อย่างไม่ลดละก็จากไปในที่สุดในปี ๑๘๘๓ ในวัย ๖๕ ปี ส่วนลูกสาว ๒ คนที่เหลือ ก็มีปัญหาชีวิต เนื่องจากได้คู่ที่นำความทุกข์มาให้ ทั้งสองจึงตัดสินใจจากไปพร้อมกันด้วยการใช้ไซยาไนด์ ส่วนคนเล็กสุดก็จบชีวิตตนเองด้วยไซยาไนด์อีกเช่นกัน เมื่อพบว่าสามีโกงเงินของเธอและแอบแต่งงานกับดาราสาว

Jenny มีความรัก Marx เป็นที่สุดอย่างไม่หวั่นไหวในเรื่องใดๆ และเชื่อมั่นในอุดมการณ์ร่วมกัน เธอมีชีวิตที่เสียสละเพื่อความรักและดูจะถูกลืมโดยชาวโลกผู้เลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์

 
ชื่อคอลัมน์: "เจ้าหญิง" ของ Karl Marx ตีพิมพ์ในนิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 08 กันยายน 2563 19:39:23 »


"Chasing Fireflies in the Sumida River" ภาพเขียนบนผ้าไหม ผลงานของ TEISAI HOKUBA
(ภาพจากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม)

พระนางฮิมิโกะ

ในตอนเริ่มต้นประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นนั้น สตรีมีความสำคัญมาก มีราชินีญี่ปุ่นหลายพระองค์ที่เป็นผู้นำในการปกครองประเทศและเป็นผู้นำศาสนาด้วย

พระนางฮิมิโกะ (Himiko) หรือที่หนังสือบางเล่มเขียนว่า พิมิโกะ (Pimiko) เป็นพระราชินีพระองค์แรกที่เป็นทั้งพระราชินีนาถปกครองประเทศญี่ปุ่นและเป็นแม่มดจอมเวทมนต์คาถา ว่ากันว่าคาถาของพระนางนั้นศักดิ์สิทธิ์นัก ป้องกันประเทศไทย และพระนางเป็นผู้สร้างมหาวิหารแห่งอิเส (Ise) เป็นคนแรก มหาวิหารหรือศาลแห่งอิเสแห่งนี้ต่อมามีผู้มาบูรณปฏิสังขรณ์อีกหลายท่านจนยืนยงคงอยู่แม้จนทุกวันนี้

ตามตำนานปรัมปราของญี่ปุ่นพระราชินีฮิมิโกะ เป็นราชธิดาของพระจักรพรรดิซุยนิน (Suinin) ซึ่งครองราชย์ราวๆ ศตวรรษที่ ๑ ดินแดนของพระจักรพรรดิองค์นี้คือดินแดนยามาไต (Yamatai) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าแว่นแคว้นวะ (Wa) ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาสามสิบแว่นแคว้นซึ่งรวมกันเป็นหมู่เกาะญี่ปุ่นในตอนนั้น หนังสือปูมพงศาวดารของจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นระยะหลัง (The History of the Latter Han Dynasty) จดไว้ว่าแว่นแคว้นวะ ในราว ค.ศ.๑๔๗-๑๘๙ เป็นเวลา ๔๒ ปี เกิดความไม่สงบและขาดเจ้าผู้ครอง บรรดาผู้นำของแคว้นจึงประชุมกันและตกลงเลือกสตรีขึ้นเป็นราชินีปกครองแคว้นยามาไต ราชินีองค์นั้นคือราชินีฮิมิโกะ เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์เหตุการณ์ในแว่นแคว้นยามาไตก็สงบลง พระราชินีฮิมิโกะทรงปกครองด้วยวิธีที่แปลกประหลาด ที่เข้าใจกันไม่ได้ในสมัยปัจจุบันนี้ เพราะพระองค์ปกครองด้วยวิธีเก็บตัวอยู่ในพระราชวัง ไม่ยอมพบใคร และพระองค์มีวิธีตัดสินพระทัยด้วยการรับคำทำนาย (Oracles) จากเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วพระองค์ก็ถ่ายทอดทุกสิ่งที่พระองค์ต้องการติดต่อกับคนด้วยการผ่านทางอนุชาของพระองค์ อนุชาของพระองค์นี้เป็นผู้ชายคนเดียวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเฝ้าพระองค์ได้

หนังสือปูมพงศาวดารของจีนในสมัยราชวงศ์เหว่ย (The History of the Kingdom of Wei) ได้กล่าวถึงพระราชินีญี่ปุ่นฮิมิโกะไว้ว่า พระนางสนพระทัยเรื่องเวทย์มนต์คาถาและเรื่องลี้ลับของพ่อมดหมอผี และพระองค์ก็ปฏิบัติการอย่างแม่มดกระทำด้วย เช่น เข้าสิงหรือสะกดบุคคลต่างๆ พระองค์ดำรงตนเป็นราชินีโสดแม้ว่าจะมีพระชนมายุมากแล้ว อนุชาของพระองค์ที่มีอยู่คนเดียวเป็นผู้ช่วยพระองค์ในการปกครองประเทศ คนที่เคยเห็นพระพักตร์ของพระราชินีฮิมิโกะนั้นได้เห็นเมื่อพระองค์ยังไม่เป็นผู้ปกครองประเทศ พอพระองค์เป็นราชินีแล้วพระองค์แทบจะไม่พบใครเลย พระองค์มีนางสนมกำนัลแวดล้อมพระองค์อยู่ถึงพันคน แต่พระองค์ไว้ใจให้อนุชาเท่านั้นที่จะเชิญพระกระยาหารให้พระองค์ได้ พระราชินีฮิมิโกะประทับในพระราชวังมีค่ายประตูหอรบล้อมรอบ และมีทหารองครักษ์คอยพิทักษ์รักษาอย่างแข็งขัน

เมื่อพระราชินีฮิมิโกะสวรรคต ข้าราชบริพารได้พูนดินเป็นภูเขาสูงมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณร้อยก้าว แล้วข้าราชบริพารทั้งหญิงและชายอย่างละร้อยคนได้ยอมตายตามเสด็จไปใต้เนินดินนั้น แล้วมีพระราชาองค์หนึ่งได้เสด็จมาครองบัลลังก์ แต่ประชาชนไม่ยอมรับพระราชา จึงเกิดจลาจลในแคว้นยามาไต ผู้คนลอบฆ่าฟันกันจนไม่รู้ว่าใครฆ่าใคร ปรากฏว่ามีคนตายในการจลาจลครั้งนี้ถึงพันคน ต่อมาประชาชนได้ยอมรับเด็กสาวอายุสิบสามคนหนึ่งชื่ออิโหยะ (Iyo) เป็นพระราชินีอิโหยะ เป็นพระญาติคนหนึ่งของพระราชินีฮิมิโกะ อิโหยะมีคุณสมบัติแบบเดียวกับพระราชินีฮิมิโกะ คือเป็นแม่มดหมดผีชอบเล่นคาถาอาคม แต่ปรากฏว่าประชาชนยอมรับได้ แสดงว่าในสมัยนั้นนิยมสตรีเป็นผู้ปกครองและเป็นผู้นำศาสนาแบบเล่นคาถาอาคมซึ่งผิดกบประเทศญี่ปุ่นในสมัยต่อมาอย่างสิ้นเชิง เพราะในสมยต่อมานิยมผู้นำที่เป็นบุรุษและเป็นทหาร เรื่องคาถาอาคมพักไว้ที

ท่านผู้อ่านบางท่านคงคิดว่าเรื่องของพระนางฮิมิโกะเป็นเรื่องแปลก และตัวของพระนางเองนั้นเป็นคนแปลกๆ หรืออย่างไร น่าคิดว่าคนคนละสมัยย่อมเข้าใจกันได้โดยยาก ความจริงพระนางฮิมิโกะไม่ใช่คนแปลกประหลาด ในคริสต์ศตวรรษที่ ๒ และที่ ๓ ยังมีราชินีที่เป็นผู้นำศาสนาด้วยแบบพระนางฮิมิโกะอีกหลายองค์ และประเทศญี่ปุ่นยังคงมีราชินีที่ครองราชสมบัติคั่นระหว่างการมีพระราชาเป็นบุรุษอยู่หลายพระองค์ การมีราชินีเช่นนี้ยังมีเรื่อยมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๘ จึงได้เปลี่ยนไปเป็นมีพระจักรพรรดิที่เป็นชายล้วน พระนามของพระจักรพรรดินีที่ครองราชย์ตามลำพังพระองค์ไม่มีพระจักรพรรดิ มีเช่น

- พระจักรพรรดินีซุยโกะ (Suiko) ครองราชย์ ค.ศ.๕๙๒-๖๒๘
- พระจักรพรรดินีโกเกียวกุ (Kogyoku) ครองราชย์ ค.ศ.๖๔๒-๖๔๔ ผู้แต่งบทสวดมนต์สำหรับเรียกฝนแล้วเทพเจ้าโปรดประทานฝนให้ ต่อมาเปลี่ยนพระนามเป็นพระจักรดินีซายเม (Saimei) ครองราชย์ ค.ศ.๖๕๕-๖๖๑
- พระจักรพรรดินีจิโต (Jito) ครองราชย์ ค.ศ.๖๘๖-๖๙๗
- พระจักรพรรดินีเกนเม (Genmei) ครองราชย์ ค.ศ.๗๐๗-๗๑๕
- พระจักรพรรดินีเกนโซ (Gensho) ครองราชย์ ค.ศ.๗๑๕-๗๒๔ หนังสือนิฮอนกิ (Nihongi) อันมีชื่อเสียงได้รวบรวมขึ้นในรัชกาลนี้
- พระจักรพรรดินีโกเกน (Koken) ครองราชย์ ค.ศ.๗๔๙-๗๕๘ องค์นี้ทรงเป็นราชธิดาของพระจักรพรรดิโชมู (Shomu) ผู้ทรงเลื่อมใสในศาสนาพุทธ พระจักรพรรดินีโกเกนต่อมาได้เปลี่ยนพระนามเป็นพระจักรพรรดินีโชโตกุ (Shotoku) ครองราชย์ ค.ศ.๗๖๔-๗๗๐

พระจักรพรรดินีที่กล่าวพระนามมาเป็นตัวอย่างนี้มักจะมีพระคุณสมบัติในแง่เป็นคนทรงที่สามารถสื่อสารกับเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์   อย่างไรก็ตามในสมัยอีกหนึ่งพันปีต่อมามีเชื้อพระวงศ์ที่เป็นสตรีอีกสององค์ในสมัยโตกุกาวะ (Tokukawa) ที่ได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดินีคือพระจักรพรรดินีเมโช (Meisho) ครองราชย์ ค.ศ.๑๖๒๙-๑๖๔๓ และจักรพรรดินีโกสะกุรามาชิ (Gosakuramachi) ครองราชย์ ค.ศ.๑๗๖๒-๑๗๗๐ แต่ทว่าพระจักรพรรดินีสองพระองค์หลังนี้ได้ขึ้นครองราชย์เพราะมีสายสัมพันธ์กับตระกูลโตกุกาวะ ไม่ใช่เพราะทั้งสองพระองค์มีคาถาอาคมหรืออำนาจลึกลับที่เหนือจริง เพราะศาสนาแบบที่เน้นการติดต่อกับภูตผีปีศาจพ้นสมัยไปแล้ว



ที่มา :
พระนางฮิมิโกะ
ราชินีในความทรงจำ
สุริยา รัตนกุล
นิตยสารสกุลไทย
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 15 กันยายน 2563 20:27:19 »




รัตนา ซารี เดวี ซูการ์โน

หากนึกถึงสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของเอเชีย ชื่อแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึงคงจะหนีไม่พ้น อิเมลดา มาร์กอส แห่งฟิลิปปินส์ หรือ รอสมาห์ มานซอร์ แห่งมาเลเซีย ที่ขึ้นชื่อเรื่องการโกงชาติด้วยกันทั้งคู่ ทว่ายังมีสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งเอเชียอีกคน ที่มีชีวิตจัดจ้าน เต็มไปด้วยสีสัน ไม่มีเรื่องอื้อฉาวจากการคอร์รัปชัน ทว่ากลับขึ้นชื่อเรื่องความงามและวีรกรรมชวนตะลึงอย่าง รัตนา ซารี เดวี ซูการ์โน สตรีที่ถูกขนานนามว่าเป็น ‘ซินเดอเรลล่าแห่งเอเชีย’  

ก่อนจะกลายเป็น รัตนา ซารี เดวี ซูการ์โน เธอมีชื่อว่า เนโมโตะ นาโอโกะ (Nemoto Naoko) เป็นเด็กสาวที่สนใจด้านศิลปะการแสดง ฝันอยากเป็นนักร้องโอเปร่าหรือนักเขียนชื่อดัง ทว่าพ่อของเธอเสียตั้งแต่ตอนเด็กๆ ฝันที่อยากเป็นนักเขียนต้องพับเก็บไปก่อน เธอต้องช่วยแม่หาเลี้ยงตัวเองและน้องชาย พอได้ร่วมแสดงละครเวทีของโรงเรียน จึงเบนเข็มจากนักเขียนมามองงานในวงการบันเทิงที่ดูจะทำเงินมากกว่า

“เรายากจน แต่ก็บ่นอะไรไม่ได้”

บ้านของนาโอโกะอยู่เขตมินาโตะในนครโตเกียว หลังจากเรียนเสร็จนาโอโกะทำงานพิเศษเป็นพนักงานต้อนรับอยู่ที่คลับหรูย่านกินซ่าใกล้กับโรงแรมอิมพีเรียล ช่วงที่เธอทำงานพิเศษ ซูการ์โน (Soekarno) ประธานาธิบดีคนแรกแห่งอินโดนีเซียมาเยือนญี่ปุ่นเมื่อปี ๑๙๕๙ คงไม่มีใครคาดคิดว่า ณ คลับเล็กๆ ในกินซ่าที่ซูการ์โนไปนั่งดื่ม เขาจะพบกับเด็กสาวที่ตัวเองไม่อาจละสายตาได้เลย

แรกพบเมื่อประธานาธิบดีซูการ์โนเจอกับนาโอโกะ เธออายุเพียง ๑๙ ปี ขณะที่ผู้นำอินโดนีเซียมีอายุย่างเข้า ๕๘ ปี อย่างที่บอกว่าเขาชอบพอสาวงามชาวญี่ปุ่นคนนี้เอามากๆ นาโอโกะเป็นผู้หญิงสวย ตากลมโต โครงหน้าชัด จมูกโด่งเป็นสันล้อกับริมฝีปากบางเป็นรูปกระจับ ประกอบกับกิริยามารยาทแบบสาวญี่ปุ่นที่เขาไม่ได้พบเจอบ่อยนัก ทำให้ประธานาธิบดีเทียวไล้เทียวขื่อตามจีบนาโอโกะนานเป็นปี ชวนเธอดื่มชา คุยเรื่องประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และมักหยอดคำหวานก่อนบินกลับไปทำงาน

ในที่สุดประธานาธิบดีซูการ์โนขอเธอแต่งงานด้วยประโยคชวนให้ใจอ่อน “ได้โปรดมาเป็นแรงบันดาลใจและความเบิกบานในชีวิตผมจะได้ไหม ?” จนสุดท้ายนาโอโกะยอมตกลงปลงใจบินไปใช้ชีวิตที่อินโดนีเซียและแต่งงานกับประธานาธิบดี

นาโอโกะนับเป็นภรรยาคนที่ ๕ (นับรวมทั้งภรรยาที่หย่าแล้วและยังไม่ได้หย่า) ของผู้นำอินโดนีเซีย จากเด็กสาวชาวโตเกียวแปรเปลี่ยนเป็นสตรีหมายเลขหนึ่ง สามีของเธอตั้งชื่อแบบชาวอินโดว่า รัตนา ซารี เดวี ซูการ์โน (Ratna Sari Dewi Sukarno) ที่มีความหมายว่า ‘เทพีผู้เป็นดั่งเนื้อแท้ของมณี’

แม้ชีวิตอาจโรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่การปรับตัวช่วงแรกเริ่มไม่ง่ายอย่างที่คิด ต้องเรียนภาษาชวาและมลายู เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างเพื่อปรับตัวให้เร็วที่สุด ถึงจะยากแต่สามีคอยให้กำลังใจเสมอ บางวันก่อนออกไปทำงานเขาทิ้งโน้ตไว้ ‘ถึงต้องไปประชุมกับคณะรัฐมนตรี แต่หัวใจของผมอยู่ที่คุณเสมอ’ หรือบางวันก็เขียนโน้ตว่า ‘ความรักของผมที่มีให้คุณยาวกว่าผมของคุณมากเลยทีเดียว’ (ตอนนั้นเธอไว้ผมยาวเลยเอว) โดยนางเดวีบอกว่าเธอยังเก็บโน้ตมากกว่า ๕๐๐ แผ่นของสามีไว้ตลอด

การย้ายมาอยู่บนแผ่นดินอินโดนีเซียของเธอได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์มากมาย บางส่วนรู้สึกเฉยๆ บางคนชื่นชมความงามชวนตะลึงของเธอ เมื่อมีคนชมชอบก็ต้องมีคนเกลียด ชาวอินโดนีเซียบางส่วนที่ไม่ชอบใจที่เห็นคนญี่ปุ่นมีหน้ามีตาในสังคม เนื่องจากพวกเขายังฝังใจกับการกระทำโหดร้ายของทหารญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ รัตนา เดวี เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตามสามี เมื่อถึงคราวต้องออกงานสังคม เธอจะแต่งกายด้วยชุดประจำชาติของอินโดนีเซียแทบทุกงาน อาจเป็นการบอกกับประชาชนกลายๆ ว่าเธอพร้อมปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมของพวกเขา

เดวีใช้ชีวิตคู่อยู่กับประธานาธิบดีอย่างมีความสุข ใครๆ ต่างรู้ว่าสามีหลงรักภรรยาคนนี้เอามากๆ ถึงกับแต่งตั้งเธอให้เป็นที่ปรึกษาทั้งที่เธอจบแค่มัธยมปลาย ส่วนประธานาธิบดีซูการ์โนจบปริญญาเอกและมีประสบการณ์ทางการเมืองมากกว่าใคร เป็นรัฐบุรุษที่มีส่วนช่วยนำเอกราชมาสู่อินโดนีเซียหลังตกเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ (สมัยนั้นเรียกว่าฮอลันดา) มาเป็นเวลานาน

การแต่งตั้งดังกล่าวก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม ทว่าเดวียังคงท่าทีสุภาพอ่อนน้อมต่อสาธารณชนดังเดิมไม่เปลี่ยนไปจากวันแรกๆ ที่มาอยู่ในประเทศ แต่เธอเป็นผู้หญิงที่เต็มไปด้วยความมั่นใจ บอกกับทุกคนว่าเขาไม่ได้เลือกเธอเพราะสวย เขาเลือกเพราะเธอเป็นชาวต่างชาติที่แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา

“ลองนึกภาพตัวเองอยู่บนยอดภูเขาฟูจิแล้วมองลงมายังพื้นดิน คุณจะเห็นแต่ปุยเมฆหนา นั่นคือคนที่ห้อมล้อมอยู่รอบตัวและพยายามทำทุกอย่างเพื่อเอาใจคุณ แต่ฉันไม่ได้เป็นอย่างนั้น”

หลังใช้ชีวิตอยู่ในอินโดนีเซียเพียง ๕ ปี เหตุการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งได้เปลี่ยนชีวิตของเธออีกครั้ง นายพลซูฮาร์โต (Soeharto) ลูกน้องคนสนิทของประธานาธิบดีซูการ์โนตัดสินใจทำรัฐประหาร ยึดอำนาจและไล่ซูการ์โนลงจากตำแหน่ง

ไม่ใช่ว่าประธานาธิบดีซูการ์โนไม่รู้ว่าลูกน้องคนสนิทวางแผนคิดทำอะไร ก่อนถูกทำรัฐประหารภรรยาของเขากำลังท้องแก่ใกล้คลอด ประธานาธิบดีซูการ์โนจึงตัดสินใจส่งเดวีกลับญี่ปุ่นเพื่อจะได้คลอดลูกอย่างปลอดภัย แล้วสุดท้ายเขาถูกยึดอำนาจจริงๆ ช่วงบั้นปลายของชีวิตซูการ์โนอยู่กับ ฮาตินี (Hartini) ภรรยาคนที่ ๔ ไม่ได้อยู่กับภรรยาคนที่เขารักมาก ไม่ได้เห็นหน้าลูกสาวที่เพิ่งคลอด มีชีวิตอยู่หลังถูกทำรัฐประหารราว ๓ ปี ก่อนจากไปอย่างสงบในปี ๑๙๗๐

“เขามอบความรักให้ฉันในทุกวินาทีของทุกวัน” -นางเดวี ซูการ์โน กล่าวถึงสามีตัวเอง

รัตนา เดวี กลายเป็นหญิงม่ายพลัดถิ่นต้องโยกย้ายไปอยู่หลายเมือง ตอนแรกอยู่ญี่ปุ่นแต่ต้องย้ายไปสหรัฐอเมริกา เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นสนใจอยากผูกมิตรกับผู้นำอินโดนีเซียคนใหม่ จากนั้นจึงค่อยย้ายไปฝรั่งเศส เมืองที่ขึ้นชื่อว่ามีน้ำใจต่อผู้ลี้ภัยการเมือง รวมถึงใช้ชีวิตอยู่สวิตเซอร์แลนด์ ก่อนกลับบ้านเกิดอีกครั้งเมื่อปี ๒๐๐๘ ปีเดียวกับการตายของประธานาธิบดีซูฮาร์โต และใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน

คนไทยหลายคนอาจเคยเห็นเธอในรายการโทรทัศน์ญี่ปุ่นชื่อ โกโกริโกะ เกมส์กึ๋ยส์ (Cocorico) ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เรียกเธอว่า ‘มาดามเดวี’ มากกว่ารัตนา เดวี หรือชื่อเก่าอย่างนาโอโกะ ส่วนคนไทยที่ดูรายการนี้จะคุ้นกับชื่อ ‘คุณหญิงเดวี’

หลังจากต้องลี้ภัยทางการเมืองและใช้ชีวิตแบบไม่ติดที่เป็นเวลานาน จากหญิงสาวที่มีบุคลิกอ่อนโยน ยิ้มแย้มอยู่ตลอด เริ่มแปรเปลี่ยนเป็นสาววัยกลางคนที่เต็มไปด้วยความมั่นใจ สู้ชีวิต ไม่ยอมแพ้ต่อความยากลำบาก หลายคนเล่าว่าเมื่ออดีตประธานาธิบดีผู้เป็นสามีหมดอำนาจและตายจาก มาดามเดวีต้องเจอกับคำนินทาบ่อยครั้ง รวมถึงการดูถูกว่ายอมแต่งงานกับชายแก่เพื่อหวังคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเธอก็ยืดอกรับแล้วถามกลับว่า แล้วทำไมคนเราถึงจะอยากมีชีวิตที่ดีขึ้นไม่ได้ ?

เธอดิ้นรนอยู่ในสังคมชั้นสูงแม้ไม่มีสามีที่คอยปูทางให้เหมือนเมื่อก่อน พอถูกถามว่าชีวิตหลังแต่งงานอับเฉาและลำบากมากไหม เธอตอบสั้น ๆ ว่า “ทุกที่มีพรมแดงเสมอ” (everywhere there was a red carpet) ทุกสถานการณ์ต่างมีโอกาสให้เราได้เฉิดฉาย
.
ครั้งหนึ่งมีเรื่องเล่าอันลือลั่นเกี่ยวกับวีรกรรมของมาดามเดวี ณ งานสังคมชั้นสูงที่เมืองแอสเพน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๑๙๙๒ ตอนนั้นเธอมีอายุ ๕๒ ปี แต่ยังคงเป็นผู้หญิงสวยมั่นใจไม่ต่างจากสมัยสาวๆ นอกจากนี้ คนในแวดวงต่างรู้กันดีว่ามาดามเดวีไม่ถูกกับไฮโซสาวต่างชาติที่ชื่อว่า มินนี่ โอสเมญญา (Minnie Osmena) หลานสาวของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เซร์ฮิโอ โอสเมญญา (Sergio Osmena) เมื่อมินนี่เห็นมาดามเดวี เธอจึงเริ่มดึงความสนใจของคนในวงสนทนาด้วยการเล่าเรื่องผู้หญิงหยำฉ่าในย่านกินซ่าที่โชคดีได้ตกถังข้าวสาร ซึ่งหลายคนมองว่าเรื่องเล่านี้ฟังอย่างไรก็เป็นเรื่องของมาดามเดวีอย่างแน่นอน

ไม่มีใครรู้ว่ามินนี่เล่าเรื่องของเด็กสาวโชคดีจากย่านกินซ่าไปได้ถึงไหน รู้ตัวอีกทีทุกคนต่างได้ยินเสียงอะไรบางอย่างแตกควบคู่กับเสียงกรีดร้องและเสียงโวยวายของคนในงาน มาดามเดวีเดินถือแก้วไวน์เข้าไปหามินนี่ ยิ้มอ่อนให้หนึ่งครั้งก่อนตบหน้ามินนี่ทั้งที่มือยังถือแก้วอยู่ เศษแก้วขนาด ๒ นิ้ว ติดอยู่ที่ใบหน้าคละเคล้ากับเลือดที่เปรอะเต็มหน้าของมินนี่ เธอถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและเย็บไป ๓๗ เข็ม งานสังคมครั้งนั้นคงเป็นครั้งที่จำไม่ลืมสำหรับใครหลายคน  

การเดินไปตบมินนี่ โอสเมญญา โดยที่ลืมวางแก้วไวน์ก่อนตบ ทำให้ถูกดำเนินคดีข้อหาทำร้ายร่างกาย มาดามเดวีรับสารภาพว่าเป็นคนฟาดหน้ามินนี่ด้วยแก้วไวน์จริง แต่ก็อดบ่นเจ้าหน้าที่ไม่ได้เมื่อพวกเขาจะตั้งข้อหาเพิ่มว่าเธอพยายามฆ่า “คุณคิดว่าฉันบินไปถึงแอสเพน วางแผนเข้าร่วมปาร์ตี้ปีใหม่กับมินนี่เพื่อฆ่าเธอเหรอ!? แก้วแตกเป็นเรื่องปกติของงานเลี้ยง” ถูกจำคุกในเรือนจำ Pitkin Country เป็นเวลา ๓๔ วัน และปรับ ๗๕๐ ดอลลาร์ ภายหลังการติดคุกของเธอถูกเพิ่มเป็น ๖๐ วัน แต่ถึงกระนั้นมาดามก็เริ่ดเชิดไม่แคร์สื่อ แถมยังใช้ชีวิตอยู่ในคุกอย่างเริดหรูมีสไตล์อีกต่างหาก

“ตอนอยู่ในคุกก็แฮปปี้ดีนะ”

ปี ๒๐๐๘ ประธานาธิบดีซูฮาร์โตจากไปด้วยวัย ๘๖ ปี หลังปกครองอินโดนีเซียนานกว่า ๓๒ ปี พร้อมกับชื่อเสียงการสังหารหมู่ผู้เห็นต่างและเป็นผู้นำที่คอร์รัปชันหนักติดอันดับโลก สื่อหลายสำนักจึงพากันไปถามมาดามเดวีว่ายกโทษให้กับซูฮาร์โตผู้ที่ทำรัฐประหารสามีของเธอได้ไหม เธอตอบว่าตนไม่อยากพูดถึงคนตาย แต่ฉันจะไม่มีวันอโหสิกรรมให้เขา

วีรกรรมบ้าบิ่นกับการตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา ทำให้สื่อมักนำเธอไปเปรียบเทียบกับสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งฟิลิปปินส์อย่าง อิเมลดา มาร์กอส แต่เธอสวนกลับไปว่า “ลองมองดูรอบๆ บ้านฉันสิ” ซึ่งบ้านของเธอก็เป็นบ้านปกติ ไม่มีรองเท้าแบรนด์เนมพันคู่หรือกระเป๋ายี่ห้อดังพันใบแต่อย่างใด

นอกจากเรื่องตบตีและความไม่ยอมคน มาดามเดวีถือว่าได้รับการนับหน้าถือตาในวงสังคมไม่น้อยกว่าใคร เนื่องจากเธอใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับงานกุศล สามารถระดมทุนได้สูงถึง ๙๐,๐๐๐ ดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากเหตุก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา ทำงานร่วมกับสภากาชาดญี่ปุ่น ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวญี่ปุ่น และผู้ยากไร้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

นอกจากนี้เธอยังมีมุมมองชีวิตที่น่าสนใจ เธอเล่าถึงชีวิตวัยเด็กว่าเคยเดินลอดอุโมงค์ย่านอุเอโนะตอนกลางคืน ในอุโมงค์มีแต่คนไร้บ้านที่เอากล่องกระดาษมากั้นเป็นที่นอน อยู่ๆ มีเด็กคนหนึ่งเข้ามาดึงแขนเสื้อแล้วขออาหาร เหตุการณ์วันนั้นเป็นวันที่เธอไม่เคยลืม เธอหวนนึกถึงตัวเองว่าตอนนั้นเธอยังมีทั้งแม่และน้องชาย แต่เด็กคนนี้ไม่มีอะไรเลย บนโลกใบนี้มีคนที่ลำบากกว่าเราอยู่เสมอ จึงทำให้เราเห็นเธอในงานการกุศลบ่อยๆ แต่บางคนมองว่าเธอแค่สร้างภาพลักษณ์เท่านั้น

ในปี ๒๐๒๐ มาดามเดวีมีอายุ ๘๐ ปี ทว่าเธอกลับงดงามและดูเด็กกว่าวัย มีชีวิตบั้นปลายที่มีความสุข เมื่อถูกถามถึงเคล็ดลับความงาม เธอตอบแบบขำๆ ว่า “ฉันจะมีชีวิตอยู่ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าศัตรูของฉันจะตายหมด” คำตอบก็ยังคงเป็นตัวเองเสมอต้นเสมอปลายจริงๆ



ที่มาเรื่อง : ตรีนุช อิงคุทานนท์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2563 20:30:03 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5388


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0 Chrome 106.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2565 13:52:56 »




ภาพวาดในชุดสีชมพูของแอนนา ผลงานเอกของศิลปินดัง Franz Xaver Winterhalter

เจ้าหญิงมาเรีย แอนนา เฟรเดอริเก้ แห่งปรัสเซีย
แอนนาแห่งปรัสเซีย ภรรยาของชายผู้มีได้เพียงรักเดียว

เจ้าหญิงมาเรีย แอนนา เฟรเดอริเก้ แห่งปรัสเซีย หรือเรียกสั้นๆ 'แอนนา' เป็นหลานปู่ของจักรพรรดิเฟรเดอริก วิลเฮล์มที่ ๓ แห่งปรัสเซีย และเป็นหลานลุงของกษัตริย์ปรัสเซียถึงสองพระองค์ คือ กษัตริย์เฟรเดอริก วิลเฮล์มที่ ๔ และไกเซอร์วิลเฮล์มที่ ๑

แอนนาไม่เพียงโด่งดังที่เชื้อสายสูงศักดิ์แต่ได้รับความสนใจตั้งแต่เด็กเพราะขึ้นชื่อเรื่องความสวย ตอนอายุ ๑๖ เจ้าหญิงแอนนาเป็นที่ถูกตาต้องใจจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซ็ฟ แห่งออสเตรีย กระทั่งมารดาของฝ่ายชายต้องเขียนจดหมายทาบทามฝ่ายหญิงมาเป็นสะใภ้

อาร์ชดัชเชสโซเฟีย – มารดาของจักรพรรดิ เขียนจดหมายไปถึงพี่สาวของพระองค์ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นราชินีแห่งปรัสเซีย (พี่สาวของอาร์ชดัชเชสโซเฟีย คือพระนางเอลิซาเบธ ลุดวิก้า มเหสีของกษัตริย์เฟรเดอริก วิลเฮล์มที่ ๔ แห่งปรัสเซีย เนื่องจากเอลิซาเบธ ลุดวิก้าไม่มีทายาท ทำให้เมื่อเฟรเดอริก วิลเฮล์มที่ ๔ สวรรคต บัลลังก์จึงตกเป็นของน้องชายซึ่งต่อมาจะรวมเยอรมัน กลายเป็นไกเซอร์วิลเฮล์มที่ ๑)

จดหมายของอาร์ชดัชเชสโซเฟียที่เขียนถึงพี่สาว พยายามโน้มน้าวขอตัวเจ้าหญิงแอนนามาเป็นสะใภ้ โดยกล่าวว่าลูกชายของพระองค์ตกหลุมรักเจ้าหญิงหมดหัวใจ และความรักนั้นก็ถูกแสดงออกอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเหตุผลที่อาร์ชดัชเชสโซเฟียต้องเขียนจดหมายทาบทามอย่างจริงจัง ก็เพราะแอนนาในตอนนั้นมีคู่หมั้นอยู่แล้ว เป็นไปไม่ได้ที่ฟรานซ์ โจเซ็ฟ จะทำการขอแต่งงานซ้ำสอง ในบรรดาเหตุผลมากมายที่อาร์ชดัชเชสโซเฟียยกมา หนึ่งในนั้นดูจะทำนายอนาคตอย่างร้ายกาจ กล่าวว่าหากขืนให้แอนนาสมรสไป ชีวิตของเจ้าหญิงก็คงจะไม่มีความสุขและปราศจากความรัก

“จะไม่มีทางใดเลยหรือที่จะป้องการสมรสที่แสนเศร้านี้ ที่ซึ่งแอนนาผู้แสนทรงเสน่ห์ต้องอยู่กับอนาคตอันไร้สุข”

คำทำนายของอาร์ชดัชเชสโซเฟียถูกต้องแทบทั้งหมด ไม่ใช่เพราะพระองค์มีญาณทิพย์ตาวิเศษ แต่เพราะใครต่อใครในราชสำนัก ต่างรู้ดีว่าเจ้าชายเฟรเดอริก วิลเลียมแห่งเฮสเซิน-คาสเซิล – ว่าที่เจ้าบ่าวของแอนนา ตกอยู่ในภาวะหัวใจสลาย ทรงปฏิเสธการสมรสมาเกือบ ๙ ปีเต็ม เนื่องจากรักแท้เพียงหนึ่งเดียวของพระองค์ได้จากโลกนี้ไปแล้ว สตรีคนที่ว่า คือแกรนด์ดัชเชสอเล็กซานดร้า หรือ อดินี่ ลูกสาวคนโปรดของซาร์นิโคลัสที่ ๑ แห่งรัสเซีย

ย้อนกลับไปในปี ๑๘๔๓ เจ้าชายเฟเดอริก วิลเลียมแห่งเฮสเซิน-คาสเซิลวัย ๒๓ ถูกทาบทามให้เดินทางมานครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเพื่อสู่ขอแกรนด์ดัชเชสโอลก้า – ลูกสาวคนรองของพระเจ้าซาร์ แต่กลับตกหลุมรักกับอดินี่ผู้เป็นน้องสาว

ความรักที่เฟรเดอริกมีต่ออดินี่ เห็นชัดจนแม้แต่โอลก้าซึ่งมีใจให้เฟรเดอริกอยู่ก่อน เต็มใจถอนตัวหลีกทางให้ ส่วนซาร์และซารีนาก็ไม่เห็นเป็นปัญหา อนุญาตให้ทั้งคู่หมั้นหมายและแต่งงานกันในเดือนมกราคมปีถัดไป เฟรเดอริกทนรอไม่ไหวที่จะได้พบเจ้าสาว ถึงขั้นเดินทางมาเซอร์ไพรส์คนรักในวันคริสต์มาส ยอมผูกตัวเองไว้กับต้นคริสต์มาสของพระราชวังเพื่อสร้างเสียงหัวเราะให้ฝ่ายหญิง

คู่รักเฟรเดอริก-อดินี่เป็นที่เอ็นดูของผู้คนรอบข้าง แต่แล้วว่าที่เจ้าสาวกลับป่วยเป็นวัณโรคก่อนงานแต่งทำให้สุขภาพทรุดโทรมจนไม่สามารถเดินทางออกจากเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้ อาการของอดินีทรุดหนักหลังตั้งครรภ์ กลายเป็นว่าทารกต้องคลอดก่อนกำหนดเกือบสามเดือน ลูกชายของอดินี่เสียชีวิตในทันทีส่วนเธอก็จากโลกนี้ไปในวันเดียวกัน

เฟรเดอริกใจสลายสูญเสียทั้งลูกชายและรักแท้ แต่ด้วยความที่พระองค์เป็นลูกชายคนเดียวและยังไม่มีทายาท การสมรสเพื่อความเหมาะสมจึงถูกจัดตั้ง โดยเจ้าสาวคนที่สองของฝ่ายชาย คือแอนนาแห่งปรัสเซียผู้มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องของอดินี่ (แม่ของอดินี่เป็นป้าของเจ้าหญิงแอนนา)
  
อาร์ชดัชเชสโซเฟียรู้ภูมิหลังของเจ้าชายดีจึงเสนอทางเลือกใหม่ ขอให้ราชสำนักปรัสเซียถอนหมั้นแล้วมอบแอนนาให้ฟรานซ์ โจเซ็ฟ ซึ่งสามารถมอบความรักให้เจ้าหญิงได้มากกว่า ติดอยู่ที่ว่าการเมืองปรัสเซียตอนนั้นไม่ต้องการผูกมิตรกับออสเตรียซึ่งเป็นคู่แข่ง ทำให้ข้อเสนอถูกปฏิเสธและแอนนาต้องเข้าพิธีสมรสตามกำหนดเดิม

แอนนาเข้าพิธีสมรสกับเฟรเดอริกในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๑๘๕๓ ทั้งคู่มีทายาทด้วยกันมากถึง ๖ คน แต่ก็เหมือนที่อาร์ชดัชเชสโซเฟียทำนายไว้ ชีวิตคู่ของทั้งสองถึงจะสุภาพแต่ก็ห่างเหิน ชีวิตแต่งงาน ๓๐ ปี ไม่อาจเทียบเวลาเพียง ๘ เดือนของอดินี่ได้ และหัวใจของเฟรเดอริกก็ไม่อาจเปิดรับสตรีคนใหม่ให้เข้ามาแทนที่อดีตภรรยา

เจ้าหญิงวิกตอเรีย ราชกุมารี – ลูกสาวคนโตของควีนวิกตอเรียได้มีโอกาสพบแอนนาหลังทรงสมรสมาเป็นพระชายารัชทายาทแห่งเยอรมัน ทรงกล่าวถึงสตรีผู้นี้ว่า “สวยมาก มีรูปลักษณ์สง่างามยิ่งกว่าใครที่เคยพบมา แต่พระองค์เต้นรำกับทุกคนซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าหญิงไม่ควรกระทำ”

ส่วนฟรานซ์ โจเซ็ฟผู้พลาดหวังจากแอนนา พระองค์พบรักแท้คนใหม่คือเจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย หรือ ซีซี่ สตรีที่ได้รับคำชื่นชมว่าสวยงามที่สุดคนหนึ่งของยุค เจ้าหญิงวิกตอเรียมีโอกาสได้พบซีซี่ด้วยเช่นกัน โดยในครั้งนี้ ได้ทรงวิจารณ์จักรพรรดินีแห่งออสเตรียว่า “ขี้อายและพูดน้อย ยากเหลือเกินที่จะต่อบทสนทนากับพระองค์เพราะทรงมีเรื่องที่สนใจน้อยเหลือเกิน จักรพรรดินีไม่ร้องเพลง วาดรูป หรือเล่นเปียโน ทรงรู้เรื่องการเมืองน้อยมาก และแทบไม่พูดถึงลูกๆ ของพระองค์เลย”

แอนนาแห่งออสเตรียมีชีวิตยื่นยาวถึง ๘๒ ปี ทรงสิ้นพระชนม์ในเดือนมิถุนายน ๑๙๑๘ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑ จะจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมันในอีก ๕ เดือนต่อมา แอนนาได้รับการจดจำในฐานะสตรีที่มีความสามารถด้านดนตรี ทรงเล่นเปียโนได้เชี่ยวชาญและให้การอุปถัมภ์นักดนตรีชื่อดังจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น โยฮันเนส บราห์มส์, คลารา ชูมันน์, แอนทอน รูบินสไตน์ และจูเลียส สต็อกเฮาเซน


ที่มา (ข้อมูล-ภาพ) : เพจพื้นที่ให้เล่า
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 ตุลาคม 2565 13:59:22 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
รอบโลก เรื่อง "เครื่องดนตรี"
สุขใจ ตลาดสด
Kimleng 11 97985 กระทู้ล่าสุด 16 เมษายน 2563 22:40:01
โดย หมีงงในพงหญ้า
[ข่าวบันเทิง] - "แอนนา"ขอทุกคนช่วยคดีแตงโมจนกว่าจะสิ้นสุด ชี้หลายอย่างไม่กระจ่าง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 171 กระทู้ล่าสุด 10 มีนาคม 2565 12:55:50
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - "แอนนา"โชว์ตั๋วกลับไทย จ่อเข้าพบพนักงานสอบสวน 2 มิ.ย.นี้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 169 กระทู้ล่าสุด 29 พฤษภาคม 2565 17:45:41
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวด่วน] - "แอนนา"ป่วยกะทันหัน เลื่อนกลับไทย นัดให้ปากคำคดี"หวยทิพย์"ใหม่ 6 มิ.ย.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 170 กระทู้ล่าสุด 02 มิถุนายน 2565 03:20:03
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวเด่น] - ไม่ต้องเหนื่อยแล้ว.. "น้องปังปอนด์" เด็กชายขายผักบุ้ง คนดัง Tiktok เสียชีวิตแล้ว
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 44 กระทู้ล่าสุด 11 กุมภาพันธ์ 2567 13:48:33
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.409 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 6 ชั่วโมงที่แล้ว