[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 19:36:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 7 8 [9]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong  (อ่าน 111080 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 เมษายน 2553 16:58:05 »

บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong

ผมจะทยอยนำมาลงเรื่อยๆครับ
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
 
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #161 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 21:05:00 »

คำแนะนำ   “ โคจร  -  อรุณ  -  พินทุ ”
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่ 10 กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   คำว่า “ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาฎิโมกข์ ”  นั้น  หมายความสำรวมเพียงในสิกขาบทที่มาในพระปาฎิโมกข์คือ  ศีล  ๒๒๗  ข้อ  แคบเข้ามา  มรรยาทหมายถึงกิริยาวาจาที่เรียบร้อยตามสมณวิสัย  แต่ไม่ได้ตั้งใจไว้เป็นวินัย  เพราะบางอย่างไม่ผิดวินัย  แต่ผิดมารยาทสังคมก็มีโทษต้องติเตียน  พระนั้นไม่ใช่แต่อยู่ในวินัยแต่อย่างเดียว  ยังต้องอยู่ในมารยาทดีงามด้วย  โคจรหมายถึงสถานที่ควรไปไม่ควรไป
   สถานที่ไม่ควรไปเรียก  อโคจร  มีทั้งที่เป็นสถานที่เช่น  ร้านสุรา  สถานที่ที่มีบุคคลพลุกพล่าน  เช่น  ตลาดนัดสวนจตุจักร  พระจะไปเดินเบียดเสียดกับเขาไม่ควร  ยังมีสถานเป็นอโคจรอื่นๆอีก  ส่วนบุคคลนั้น  คือสำนักหญิงเพศยา  หญิงม่าย  สาวเทื้อ ( สาวแก่ )  ภิกษุณี ( เวลานี้ไม่มี สำนักนางชีโดยอนุโลม )  บัณเฑาะก์ ( คือกระเทย )  ท่านห้ามไม่ให้ไปคลุกคลี  ไปเป็นกิจจะลักษณะเช่น  เขาทำบุญนิมนต์ไปสวดไปฉันได้  ในปัจจุบันเกิดมีการแปลงเพศผู้ชายทำให้เป็นผู้หญิงก็ได้  บุคคลประเภทนี้ท่านก็ห้ามมิให้ไปคลุกคลีเช่นกัน  ไม่ระวังเรื่องโคจรย่อมทำให้คนอื่นพบเห็นติเตียนได้  ภิกษุที่ชื่อว่ารักษาตัวดีต้องถึงพร้อมด้วย  ศีล  อาจาระ  โคจร  อย่างนี้  ท่านว่าเป็นศรีสง่าของพระศาสนา  เหมือนเครื่องประดับอันมีค่า  ควรแก่การยกย่องนับถือบูชา
   คำว่า  “ อรุณ ”  เป็นชื่อเรียกแสงอาทิตย์แรกขึ้นสีแดงเรื่อๆ  อรุณมีความเกี่ยวข้องกับวินัยหลายข้อ  เช่น  การรักษาผ้าไตรจีวรครอง  มิให้ล่วงราตรี  รักษาอดิเรกจีวรมิให้ล่วง  ๑๐  วัน  การนอนร่วมกับอนุสัมปันเกิน  ๓  คืน  การรักษาเขตจำพรรษา  การเก็บอดิเรกบาตรมิให้เกิน  ๑๐  วัน  และยังมีอีกหลายสิกขาบทที่เกี่ยวแก่การนับราตรี  ถือเอาสำคัญตอนอรุณขึ้น
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #162 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 21:05:29 »

อรุณนั้นมี  ๔  คือ 
๑.ที่แรกสีขาวเหมือนสีเงินยวง  สียังสลัวชื่อ เสตารุณ 
๒.ต่อมาสีแดงเจือสีเหลืองทองคำ  ค่อยชัดขึ้นชื่อ ตัมพารุณ
๓.ต่อมาสีทองคำขาว  สีผ่อง  ค่อยหายสลัวชื่อ โอทาตารุณ
๔.สว่างกระจ่างแจ้งเห็นหน้ากันชัดเจน  จนเห็นรอยยิ้มบนใบหน้าได้แม้อยู่ห่างกัน  ๑๒  ศอกชื่อ นันทมุขี
   จึงชื่อว่าเป็นวันใหม่  การปลงกรรมก็ดี  สำหรับผู้อยู่ปริวาสกรรม  การฉันอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งตามวิกาลโภชนสิกขาบทก็ดี  ให้อรุณที่  ๔  ขึ้นเสียก่อนไม่เช่นนั้นยังไม่พ้นวันเก่า  ต่อถึงข้อที่สี่เห็นหน้ากันปรากฎตามกำหนดใกล้ไกลชั่ว  ๑๒  ศอก  เป็นกาลเข้าเขตวันใหม่อย่างภิกษุผู้รักษาผ้าครอง  ต้องให้อรุณดังกล่าวขึ้นเสียก่อน  จึงเปลื้องผ้าให้พ้นกายออกไปนอกเขตรักษาได้  ภิกษุที่อยู่ในอุโบสถที่ผูกสีมาแล้ว  ถือเอาสีมานั้นเป็นเขตอยู่ปราศจากไตรจีวรได้  แม้จะห่างตัวก็ไม่เป็นไร  เพราะสงฆ์สมมติพื้นที่สีมาเป็นแดนจีวราวิปลาส  คือไม่ถือว่าเป็นแดนอยู่ปราศจากไตรจีวรเหมือน
   นอกจากนี้  พระที่จะออกไปบิณฑบาตนอกวัด  ต้องสังเกตุอรุณให้ดีคอยจนได้อรุณ  ดังกล่าวจึงออกไปจากเขตจำพรรษา  มิฉะนั้น  พรรษาขาด  ถูกปรับอาบัติทุกกฎ  ถ้ารับบาตในเวลานี้  คือยังไม่ได้อรุณตามนี้  ถูกปรับอาบัติปาจิตตีย์  เพราะยังเป็นวิกาลอยู่ในวันเก่า  เป็นการรับไว้ค้างคืน  พระที่ออกไปรับบิณฑบาตดึกๆ  ต้องระวัง  แต่การกำหนดอรุณนี้  ไม่สะดวกเสมอไป  บางวันอากาศมืดครึ้มใช้านาฬิกาดี
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #163 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 21:05:54 »

ต่อไปเป็นเรื่องการพินทุ  อธิษฐาน  เกี่ยวกับเรื่องผ้า  เพราะสมัยนี้พระมักจะได้ผ้าบ่อย  พระใหม่ก็อาจได้  จึงควรรู้  จะได้ป้องกันตนให้พ้นอาบัติโทษ
   คำว่า  “ พินทุ ”  แปลว่า  หยดน้ำเป็นเม็ดกลมๆ  ขนาดเท่าถั่วเขียว  ไม่มีอากาศอยู่กลาง  ถ้ามีหยดน้ำเช่นนี้มีแวว  พิธีทำพินทุท่านทำให้เฉพาะผ้าสังฆาฎิ  อุตตราสงค์ ( จีวร )  อันตรวาสก ( สบง )  ซึ่งเป็นผ้ามีขอบ  เรียกผ้าอนุวาด  คือขอบชายผ้าที่มีผ้าประกบ  การพินทุต้องทำนอกขอบผ้านั้น  บัดนี้นิยมทำตรงมุมที่พ้นขอบผ้านั้นออกมา  จะทำบนพื้นผ้าสี่เหลี่ยมที่เขาเย็บไว้ทำรังดุมไม่ได้  พื้นที่นอกจากนั้นตามที่กล่าวมาแล้ว  จะทำที่ไหนก็ได้  ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันทำตรงมุมผ้า
   สิ่งที่ใช้ทำพินทุตามวินัยบัญญัติ  คือสีดำ  สีตม  และสีเขียว  สีอื่นไม่นิยมใช้จำใช้ดินสอดำ  หรือปากกาหมึกดำ  ก็ได้  ดินสอดำดีกว่าหมด  เหตุที่ต้องทำพินทุ  ก็เพราะพระถูกโจรลักผ้าจีวรไปแล้ว  ภายหลังเจ้าหน้าที่จับผู้ร้ายได้พร้อมของกลาง  จึงให้ภิกษุเจ้าของผ้าที่หายไป  ดูของๆตน  แต่ภิกษุต่างจำผ้าของตนไม่ค่อยได้  ปะปนสับสนกัน  พระพุทธองค์ทรงทราบจึงทรงบัญญัติเป็นวินัย  ให้ภิกษุทำเครื่องหมายที่เครื่องนุ่งห่มของตน  คือพินทุเสีย  ถามว่าทำไมจึงไม่ให้เขียนชื่อของตนแทนพินทุ  คงเป็นด้วยสมัยนั้นหาพระที่รู้หนังสือยาก  จึงทรงให้กระทำเพียงเครื่องหมาย  ถ้าจะแบบแกงไดคือ  ตีนกาขีดกากบาทก็คงได้
   นอกจากนี้  การทำพินทุ  มีความประสงอีกอย่างหนึ่งเป็นการทำให้เสียสี  คือขาดความงาม  ต่อไปขโมยจะได้ไม่เอา  แม้การที่ทำจีวรเย็บเป็นกระทงเหมือนคันนาตัดผ้าออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย  ก็มุ่งมิให้เป็นที่โจรปราถนา  แต่เวลานี้ก็ไม่แน่  เพราะจีวรใหม่ขายได้ราคา
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #164 เมื่อ: 26 เมษายน 2553 21:09:27 »

สำหรับ บทสวดมนต์ รวมรวมโดย sithiphong

สิ้นสุดแต่เพียงเท่านี้

ทั้งหมดที่ผมได้โพสลงในกระทู้บทสวดมนต์ รวบรวมโดย sithiphong     ในหมวดห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม   เว็บ http://www.sookjai.com/index.php?action=forum

ผมเองได้พิมพ์และทำเป็นรูปเล่ม ทำเป็นหนังสือสวดมนต์ส่วนตัว  แต่ต่อมาผมก็ได้นำมาลงในหลายเว็บ  เพื่อเป็นธรรมทานครับ

หากท่านใดมีบทสวดมนต์อื่นๆ  นำมาลงเพิ่มเติมได้อีกครับ

ขอบคุณครับ

.
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
somchailove3
มือใหม่หัดโพสท์กระทู้
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 1


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 14.0.1 Firefox 14.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #165 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2555 00:44:09 »

ขอบคุณมากๆครับ
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 ... 7 8 [9]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
บทสวดมนต์
ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
時々๛कभी कभी๛ 0 3348 กระทู้ล่าสุด 04 ตุลาคม 2553 12:36:19
โดย 時々๛कभी कभी๛
บทสวดมนต์ ธรรมจักร ทำนองอินเดีย พร้อมคำแปล ปรับปรุงใหม่
เพลงสวดมนต์
เงาฝัน 0 3646 กระทู้ล่าสุด 02 พฤศจิกายน 2554 05:31:53
โดย เงาฝัน
ย้ายแล้ว: บทสวดมนต์ ธรรมจักร ทำนองอินเดีย พร้อมคำแปล ปรับปรุงใหม่
บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 3359 กระทู้ล่าสุด 28 พฤศจิกายน 2554 17:27:47
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
บทสวดมนต์ (อนัมนิกาย) มหายาน ชื่อ มาฮาบ๊าดหยา...และ ทามเหล๋
เพลงสวดมนต์
มดเอ๊ก 0 2157 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2559 03:48:21
โดย มดเอ๊ก
บทสวดมนต์ (อนัมนิกาย) มหายาน ชื่อ เฮืองบุ๊นจ่าย
เพลงสวดมนต์
มดเอ๊ก 0 2334 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2559 03:49:59
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.162 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 20:27:30