[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 09:50:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดขุนสมุทรจีน และ แผ่นดินที่หายไป ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน  (อ่าน 8185 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 มิถุนายน 2553 19:08:59 »

วัดขุนสมุทรจีน และ แผ่นดินที่หายไป ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน คัดลอกมาจากที่ อ.มดเอ็กซ์โพสท์ไว้ในเวบเก่า




             
ภัยพิบัติทางธรรมชาติี่เกิดขึ้นทุกปีในประเทศไทยเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ถูกกัดเซาะหายไปเป็นบริเวณกว้างชั่วเวลา 30 ปีประเทศไทยหายไปแล้วกว่า แสนไร่ อันตรายที่สุด คือจังหวัดสมุทรปราการ และที่ บางขุนเทียน กรุงเทพฯ อัตราการกัดเซาะกว่า 25 เมตรต่อปี และ20-25 เมตร ต่อปี ตัวเลขจากผู้ทำวิจัยมา 10 ปี คือ รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ภาควิชา ธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ยังัังมีอีกหลายจังหวัดที่ชายฝั่งหาย เช่น ชลบุรี ระยอง 5จุดวิกฤตชายฝั่งทะเลไทย1.ชายฝั่งทะเลบ้านแหลมสิงห์-ปากคลองขุนราชพินิจใจ จ.สมุทรปาการ ระยะทาง 12.5 กม. ถอยร่นเข้ามาประมาณ 700 - 800 เมตร2.ชายฝั่งทะเลปากคลองราชพินิจใจ - บ้านท่าตะโก เขตบางขุนเทียน กทม. ระยะทาง 5.5 กม. กัดเซาะ 20-25 เมตรต่อปี หายไป 400-800 ม.3.ชายฝั่งทะเลบ้านเคียนดำ-บ้านบ่อนนท์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีฯ4.ชายฝั่งทะเลบ้านแหลมตะลุมพุก-บ้านบางบ่อ อ.ปากพนัง จ.นครศรีฯ5.ชายฝั่งบ้านเกาะทัง-บ้านหน้าศาล จ.นครศรีฯ ความยาวประมาณ 23 กม. อัตราการกัดเซาะประมาณ 12 ม.ต่่อปี
สาเหตุของการกัดเซาะ
1.การกัดเซาะเนื่องมาจากคลื่นลมในทะเล
2.การลดลงของพื้นที่ป่าชายเลน
3.การลดลงของตะกอนจากแม่น้ำ
4.การทรุดตัวของแผ่นดิน
ม่น่าเชื่อว่าเสาไฟฟ้าที่เห็นในภาพ เมือก่อนบริเวณนั้นเป็นถนนที่ชาวบ้านใช้สัญจรไปมา
         
    ถ้ายังมองว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญไม่เร่งดำเนินการแก้ไขเสียแต่ตอนนี้สุดท้ายพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่เรายังเห็นๆกันอยู่ในวันนี้คงจะมีสภาพไม่ต่างจากหลักกิโลเมตรกลางน้ำที่โผล่ให้เห็นอยู่ลิบๆเหมือนที่บางขุนเทียนก็เป็นได้
             นอกจากปัญหาน้ำปริมาณมหาศาลที่มากจนเกินกว่าเขื่อนที่มีอยู่ในประเทศไทยจะรองรับได้ทั้งหมด จนก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด แต่ยังมีอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านขุนสมุทรจีน ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ หมู่บ้านที่กำลังจะหายไปจากแผ่นดินไทย! เหตุผลที่หมู่บ้านดังกล่าวกำลังจะหายไปก็คือปัญหา “การกัดเซาะชายฝั่งทะเล” ที่กัดกินชายฝั่งหมู่บ้านนี้ไปถึง 3 - 4 กิโลเมตร
หมู่บ้านขุนสมุทรจีน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 9 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ มีพื้นที่ทั้งหมด 790 ไร่ ประชากร 420 คน มี 168 หลังคาเรือน แต่ปัจจุบันนี้เหลือเพียงแค่ 105 หลังเท่านั้น โดยรศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าโครงการวิจัยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคนนำนักศึกษาชมรมเยาวชนธนาคารโลกเข้าพบกับผู้ใหญ่บ้าน “สมร เข่งสมุทร” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 บ้านขุนสมุทรจีน โดยผู้ใหญ่บ้านกล่าวว่ารู้สึกดีใจที่คนรุ่นใหม่เข้ามาสนใจเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านต่อสู้กันมา 30 ปี จากที่อยู่กันมาเป็นพันๆ ตอนนี้คนก็หายไปหมดเหลือแค่ 200-300 คน มีแต่คนแก่กับเด็กๆ “เราแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้วิธีที่บรรพบุรุษเคยทำมา ก็คือการใช้ไม้ลวกปักไว้ การตั้งเสาไฟฟ้ากลางทะเลเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำทะเลกัดเซาะเข้ามา หรือมีการรณรงค์ การปลูกป่าชายเลน แต่วิธีดังกล่าวเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น เพราะวัสดุที่นำมาใช้ไม่ว่าจะเป็นไม้ลวก ซึ่งเป็นไม้ที่มีอายุการใช้งานที่ไม่นาน หรือเสาไฟฟ้าที่มีราคาสูงมาก ชาวบ้านคงไม่มีเงินมากพอที่จะไปซื้อเสาไฟฟ้ามาปักไว้ได้ วิธีหนึ่งที่ชาวบ้านสามารถที่จะทำได้ก็คือ การปลูกป่าชายเลน แต่กว่าป่าที่ปลูกจะโตก็อาจจะไม่ทันต่อการป้องกันการกัดเซาะของน้ำทะเลที่เกิดขึ้นทุกปี” ผู้ใหญ่บ้านกล่าว รศ.ดร.ธนวัฒน์ อธิบายสภาพปัญหา สาเหตุ และหนทางออกเพื่อปูพื้นให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่าปัญหา“การกัดเซาะชายฝั่งทะเล” เป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังประสบซึ่งทำให้พื้นดินของโลกหายไปกว่าร้อยละ 30 สำหรับแนวชายฝั่งไทยซึ่งยาวประมาณ 2,700 กิโลเมตร ต่างประสบปัญหานี้ ซึ่งทำให้แผ่นดินหายไปถึง 130,000 ไร่ทั่วประเทศ และสำหรับแนวชายฝั่งอ่าวไทยซึ่งได้แก่จังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานครถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหานี้รุนแรงอันดับต้นๆ ของโลก และพื้นที่หมู่บ้านขุนสมุทรจีนถือว่าประสบปัญหารุนแรงที่สุด “สาเหตุที่ทำให้การกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติกลายเป็นปัญหารุนแรงในปัจจุบัน มีหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ ภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน ทำให้น้ำทะเลขึ้นสูงอย่างน่าตกใจ, การสร้างเขื่อนซึ่งทำให้ตะกอนดินที่เคยไหลจากแม่น้ำมาสู่ปากแม่น้ำกลายเป็นแผ่นดินงอก หายไป 75%, การทรุดตัวของแผ่นดินเนื่องจากพื้นที่รอบชายฝั่งอ่าวไทยเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรม และป่าชายเลนเสื่อมโทรมเนื่องจากอาชีพการเลี้ยงกุ้งและการตัดไม้ หากปล่อยให้ปัญหาที่ดำรงอยู่ต่อไปโดยไม่แก้ไข จะทำให้อัตราการกัดเซาะจะทวีความรุนแรงกัดเซาะชายฝั่ง 65 เมตรต่อปี และภายในไม่กี่ 10 ปีข้างหน้าชุมชนรอบสนามบินสุวรรณภูมิจะถูกกัดเซาะและได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน”





http://www.chonburi33.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=16

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: วัดขุนสมุทรจีน แผ่นดินหาย น้ำท่วม โลกร้อน จมน้ำ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.334 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 07 เมษายน 2567 18:55:21