[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 21:00:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จิ๊บ ๆ ลองอ่านดูก่อนน่ะ  (อ่าน 3409 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 10:15:01 »


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/20.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/20.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/20.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>




ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นดาบ 2 คม เสมอ หากไม่ได้มีการโยนิโสมนสิการให้ดี หรือทำปัญญาให้รอบ
การศึกษามากไม่ว่าจะเป็นพระ และฆารวาส ทั้งทางโลก และทางธรรม การศึกษาทางโลกมาก เช่น การศึกษาที่สูงมาก ๆ เป็นต้นดาบคมแรกที่ดีมาก คือ ผู้นั้นสามารถใช้ความรู้ความสามารถในการเรียนที่สูง ๆ มานั้นสมมติถึงขั้น ดร.มาปรับใช้ในหน้าที่การงานการปฏิบัติสัมมาอาชีพให้ทั้งองค์กรและตนเองบรรลุผลสำเร็จ เป็นที่ปราบปลื้มของเพื่อนร่วมงานและครอบครัว บุคคลที่แวดล้อมจะรู้สึกว่าคน ๆ นี้มีประโยชน์มากช้ความรู้ที่เรียนมาให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไม่เสียปล่าว รู้จักใช้ปรับใช้หลักการที่เรียนมาสูง ๆ มาใช้ในทางปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดาบคมที่สองที่เป็นด้านตรงกันข้าม คือ ผู้ที่เรียนสูงแบบนั้นมามีความรู้มากแต่ไม่สามารถใช้วิชาความรู้ให้เข้ากับการปฏิบัติหน้าที่การงานของตนพวกเราคงเคยเจอไหมครับดร.บางท่านที่เราพยายามสื่อสารถามอะไรง่าย ๆ แต่พอท่านตอบแล้ว เราไม่เข้าใจเลย งงเป็นไก่ตาแตกถามธรรมดาตรง ๆ ง่าย ๆ ท่านยกตอบ diff นู่นนี่ยกmodel ต่าง ๆ มาเยอะมาก ตอบเสร็จเรางงเลยบางครั้งก็มีความรู้สึกว่าคุยกับท่านนี้ยากจังเค้าคงเรียนเก่งเกินไปจนคนธรรมดาอย่างไรฟังไม่เข้าใจไปต่อไม่เป็นเลยเป็นต้นคนนั้นเลยหันมาถามกับคนที่จบวุฒิรองลงมา ปรากฏว่าเข้าใจดี เป็นต้น บางท่านก็ไม่สามารถนำความรู้สูง ๆ มาใช้กับหน้าที่การปฏิบัติในงานประจำได้ ก็ปฏิบัติไปตามความคุ้นเคยเดิม ๆ จนบางท่านอาจรู้สึกว่า ความรู้ที่เรียนมาเสียดายจัง รู้สึกเบื่อที่เราจบสูง ๆ มาแต่ต้องมาทำงาน admin เป็นต้น ทั้งนี้ + ทั้งนั้นทั้ง 2 แบบ ไม่ใช่สิ่งที่ผิดอะไรเพียงแต่ต่างกันตรงที่ คนแรก สามารถใช้ความรู้ที่เรียนมาปรับสภาพให้เข้ากับการปฏิบัติงานได้ด้วยความราบ รื่น อีกคนไม่สามารถใช้ความรู้ที่เรียนมาปรับสภาพให้เข้ากับการปฏิบัติงาน
ได้ด้วยความราบรื่นเป็นต้น



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 11:23:23 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 10:21:32 »




ฉันใดก็ฉันนั้นการปฏิบัติธรรมก็เช่นกันการเรียนธรรมมากการศึกษาธรรมมามาก หากเราใช้ประโยชน์เป็นการเรียน+การศึกษาธรรมจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมได้ แต่จะต่างตรงที่ว่าผู้เรียนวิชาทางโลกหรือทำงานทางโลก ต้องใช้ความคิด ใช้สมอง ใช้สังขารความปรุงแต่งอยู่มาก ใช้ให้เกิดประโยชน์ เค้าถึงว่าผู้มีสมองดีและขยันขันแข็งไม่ย่อท้อ มักจะทำงานทางโลกได้ดี ส่วนผู้ปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมนั้นปฏิบัติที่จิต ต้องใช้จิตนำสังขารความปรุงแต่ง หรือความคิด เพราะผลจากการปฏิบัติอธรรมนั้นก็คือ จิตที่พ้นกิเลสตามขั้น ตามภูมิ ไม่ใช่ความคิด หรือสังขารพ้นกิเลส ดังนั้น สิ่งที่เราเรียนมามาก หรือเรียนสูง ๆ เวลาปฏิบัติธรรม หากเรามีสติตามจิตไม่ทัน พอปฏิบัติไป ความปรุงแต่งในการเรียนจากความจำต่างๆ จะเข้ามาวิพากวิจารย์จิตตนเองหรือการปฏิบัติของตนเอง ตามความเคยชินแล้ว แล้วกิเลสจะแทรกอยู่ในความปรุงแต่งตรงนั้นแหละจะหลอกจิตให้หลงอยู่ในสังขาร ความคิดเรื่อย ๆ เป็นต้นพอแทรกปั๊บ จิตจะน้อมใจเชื่อตามความเคยชินที่เรียนมากจำมากการปฏิบัติธรรมจึงติดอยู่แค่วงสังขารความปรุงแต่ง ไม่เข้าถึงตัวจิตสักที หากเห็นความปรุงแต่งมากขึ้นๆ ความปรุงแต่งจะดับไป ๆ กลายเป็นความว่าง จิตว่างไปแท้จริงจิตไม่ได้ว่างหรอกครับ เพราะความว่างนั้นเป็นอารมณ์ว่าง ก็คือ เป็นเจตสิกที่ว่าว่างมาแทนความปรุงแต่งที่วุ่น ๆ นั่นเอง ผู้ปฏิบัติธรรมลึกลงไประดับกลาง ๆ มักจะติดอารมณ์ความรู้สึกที่ว่าง ๆ สบาย ๆ อีกจะรู้สึกว่าจิตนี้ละเอียดขึ้น คราวนี้บางท่านก็อาจจะเทียบลึก ๆ ในจิตแล้วก็ติดสัญญาลึก ๆ ว่าเอาชัด ๆ เลยนะครับ เอ๊ะ ! เรานี้ ปฏิบัติธรรมถึงขั้นในแล้ว บรรลุธรรมหรือยัง เพราะในจิตมันว่างจังเลย อารมณ์อะไรกระทบมาก็เข้าไม่ถึงจิต ๆ แต่ผู้นั้นหารู้ไม่ว่าแม้ความรู้สึกว่าเราว่าง ๆ หรือมีความรู้สึกลึก ๆ ว่าเราไปไกลแล้ว ๆ ไม่ใช่ปุถุชนแล้ว ๆ นี่ก็เป็นอารมณ์สังขารหรือความปรุงแต่งนึงที่กิเลสในจิตหลอกไว้อยู่ แต่ผู้นั้นอาจไม่สนใจจะดูเพราะมีความรู้สึกลึก ๆ ว่า เราอยู่ขั้นใดขั้นหนึ่ง เป็นต้นหลักการแก้ไข ไม่ยากเลยหากถือหลักที่ว่า อย่าใส่ใจอะไรมากกว่าใส่ใจจิตตนเองผู้ปฏิบัติธรรมต้องเป็นผู้ซื่อสัตย์กับใจตัวเองอย่าน้อมใจเชื่ออะไรง่าย ๆ จิตติดอะไร ให้สังเกตเห็นให้จงได้ แล้วมันจะแก้ไข
ได้ง่าย ไม่อย่างนั้น ปฏิบัติจนตายก็ยังไม่รู้ว่าจิตติดอะไร เพราะจิตไม่อยากดูตัวเอง อาจจะกลัวลึก ๆ ว่าจิตจะเห็นสิ่งที่จิตติดเองก็ได้เป็นต้น



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 11:19:56 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 10:25:30 »





ครูบาอาจารย์ บางท่านจึงบอกว่า การเรียนทางธรรมมามากมากเวลาจะปฏิบัติทางจิตจริง ๆ ให้ยกความรู้นั้นไว้ก่อนให้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติในจิตให้แข็งแรง จนจิตช่วยเหลือตัวเองได้จากนั้นความรู้ที่เราได้ศึกษามาจะประสานกันได้อย่างกลมกลืน
ผมชอบ เทียบสอนตัวเองว่า กิเลส เปรียบเหมือนไวรัสในอากาศ ท่านทั้งหลายจะตีความว่าอย่างไรไวรัส นี้เรามองไม่เห็นหรอกอย่างตัวเราแต่ละคน ๆ สมมติมีคนมาถามว่าวันนี้ เป็นอย่างไรบ้างเราตอบว่าสบายดีร่างกายแข็งแรงดี ไม่เป็นอะไรความรู้สึกเราว่าอย่างนั้นแต่แท้จริงแล้วในตัวคนเราแต่ละคนจะมีสักกี่คนกล้า guarantee ว่าตัวเองร่างกายแข็งแรง 100% ไม่ได้เป็นโรคใด ๆ เลยวันนี้อาจจะมีไวรัสอะไรเข้ามาในร่างกายเรา แล้วฝังตัวเพื่อเป็นโรคอะไรบางอย่างเช่นง่าย ๆ ที่สุดเลยครับ โรคหวัด เราคาดการณ์ได้ไหมว่าตั้งแต่นี้ไปเราจะเป็นโรคหวัดตอนไหนไม่ได้เลยแต่รู้เหตุเช่น ตากฝนบ่อย ๆ หรืออยู่กลางแดดแรง ๆ มีสิทธิ์จะเป็นแต่พอมันเป็นปั๊บเรามีรู้ว่าเราเป็นหลังจากที่เชื้อมันฟักตัวในร่างกายไปแล้ว ชาวโลกส่วนใหญ่ตายด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับ 1 มีใครที่จะเห็นไหมครับว่ามะเร็งในร่างกายแต่ละคนมันเริ่มเกิดตอนไหนหากใครรู้คงรักษามันได้ไม่ยากอันนี้ไม่รู้เลยหมอก็คาดการณ์ไม่ได้ มีแต่อาจบอกว่า ให้ตรวจร่างกายประจำปีบ่อย ๆ ตรวจให้ละเอียด ๆ จึงจะรักษาโรคได้ทันเวลาไวรัสในอากาศนี้ร้ายแรงนัก
เข้าสู่ร่างกายคนเราทุกคนตอนไหนก็ได้ ทำให้เราเป็นโรคตอนไหนก็ได้แต่เราไม่เคยรู้ตัวเลย
ฉันใดก็ฉันนั้น กิเลสในใจคนยิ่งร้ายแรงกว่าไวรัสนั้น 100 เท่า 1,000 เท่า เพราะมันกัดกร่อนจิตใจอยู่แทบทุกขณะจิต กระดุกกระดิกใจแว็บนึงกิเลสเกิดขึ้นแล้ว รวดเร็วปานสายฟ้าฟาด รวดเร็วลึกซึ้งและแยบยลยิ่งกว่าไวรัสในอากาศเสียอีก ยาทางธรรมของพระพุทธองค์ทรงประธานให้แล้ว เบื้องต้น เพียงให้มีสติอยู่บ่อยๆ ไว้ก่อน มีสติอยู่บ่อยๆ หลังจากนั้นความแยบคาย หรือปัญญาต่าง ๆ จะเริ่มเกิดขึ้นหากสติมีไม่ไว้แล้วโดนกิเลสเหยียบย่ำหมด ให้มีกำลังใจฮึดสู้เข้าไว้ อย่าย่อท้อเด็ดขาด ให้มีความเข้มแข็งในใจตั้งเป้าหมายมั่นในการชำระกิเลส เมื่อเรามีกำลังในอนาคตต่อไปทำไมพระองค์จึงทรงให้เรามีสติ เพราะสติ เป็นเหมือนปากประตูและทางเดินเบิกทางไปเรื่อย ๆ ให้เราค่อย ๆ หยิบใช้อาวุธมาต่อสู้กับกิเลส ผมก็ปฏิบัติธรรมมาแบบนี้ตอนแรก ๆ สติไม่ไหวเลยโดนกิเลสเหยียบย่ำอย่างสุดขีด แต่กำลังใจก็สู้ไม่ถอยเช่นกันพระพุทธองค์ทรงบอก กิเลส 1,500 ตัณหา 108 นั้นจริง ๆ เลย ตอนปฏิบัติธรรมใหม่ ๆ กิเลสเหมือนจะเป็นล้านห้าด้วยซ้ำอะไรก็ไม่รู้มาเต็มไปหมดทางธรรมมีเพียงสติกับกำลังใจ 2 ตัว ปัญญาอะไร
ยังไม่เกิดทั้งนั้น พอสติเริ่มมีบ่อย ๆ ขึ้นกิเลสสังขารความปรุงแต่งต่าง ๆ เริ่มน้อยลง ๆ จิตจะเป็นสมาธิได้อย่างเป็นสุขและสบายใจด้วยความเหนื่อย
อ่อนจึงขอประคองสมาธิในจิตนั้นไว้ก่อน แต่โดยนิสัยผมชอบสังเกต เมื่อจิตเริ่มจะติดในสมาธิ มันก็จะหาวิธีแก้ของมัน พอเริ่มลืมตาอ้าปากได้
ก็ปฏิบัติพิจารณาเห็นจิต และอารมณ์ที่มันเกิดขึ้นในใจได้มากขึ้น จิตมาสังเกตเองว่า กิเลสที่มันแทรกอยู่ในอารมณ์ ในจิต นี่มันมีรากฐานมาจากไหนตอนนั้นกำลังวังชาในทางธรรมเริ่มมีมากขึ้น ปัญญาที่ไม่เคยเห็นๆ ก็เห็นแสงรำไรๆ มาแล้วเมื่อปัญญาเริ่มมาบ้างไม่มากก็น้อยปัญญานี้เปรียบเหมือนบันไดขั้นที่ 5 ในอินทรีย์ 5 เป็นอาวุธร้ายแรงสุด ๆ ประนึง(ดาบเจได)มีความรู้สึกแข็งขันขยันมั่นเพียร ดูกิเลสในใจไปเรื่อย ๆ เวลากิเลสขาดชั่วคราว
หรือขาดจากใจไปเลยมันก็เห็นและก็ไม่ได้สงสัยเอามาเป็นอารมณ์อะไรก็ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ดังนั้นฆารวาสอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นี่ไม่เหลือบากหว่าแรงในการปฏิบัติธรรมเลยครับตั้งหน้าตั้งตาไม่ย่อท้ออย่าให้กิเลสในจิตที่มันแทรกอาศัยตามสังขาร หลอกเราตามความเคยชินอารมณ์ทั้งหลายจะมีมากมายขนาดไหน หากเราใช้ให้เป็น อารมณ์สังขารเหล่านั้น ก็กลายมาเป็นอารมณ์ทางธรรม หรืออารมณ์วิปัสสนาได้เรื่อย ๆ สติปัญญามีอยู่ด้วยกันทุกคน หากใช้ให้เป็น มันก็ใช้แก้ไขกิเลสในใจได้ทั้งนั้น หากเราสนใจจะแก้เราไม่ติดเราไม่ถือทิฏฐิ เป็นต้น



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 11:20:33 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 10:29:09 »




ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ ตลอดจนพรสาวกอรหันต์ต่าง ๆ ก็เทศน์สอนประชาชนหรือเดียร์ถีย์จนบรรลุมรรคผลนิพพานมากมายก่ายกองตอนนั้น มีประชาชนรู้จักศาสนาพุทธกันไหมไม่เลยหลายคนหลายกลุ่มไม่ได้ตั้งใจจะมาฟังธรรมเล๊ย ศาสนาพุทธเป็นอย่างไรไม่ทราบ พระไตรปิฎกมีอย่างไรไม่ทราบ พระองค์ทรงสอนอะไรไม่ทราบเราจะได้ทราบวันนี้แหละเพราะเป็นวันแรกที่เราจะฟังธรรมจากพระองค์หรือพระสาวก
อรหันต์ต่าง ๆ เป็นต้น พอคนเหล่านั้นไปรวมกันที่ศาลา พระพุทธองค์บ้าง หรือพระอรหันต์ผู้เชี่ยวชาญ ท่านก็เทศน์ ให้ดูความจริงที่เป็นปรมัถในกาย
ในจิต เดี๋ยวนั้นเลย ว่า อย่างนี้รูป คือประกอบด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นมหาภูตรูป อะไร ตอนนั้น ผู้ฟังธรรมเข้าใจด้วยหัวใจจริง ๆ อย่างนี้เรียกว่าเวทนา คือ อารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ในใจอย่างนี้เรียกว่าสัญญา คือ ความจำได้บ้าง ความพรึบในจิตที่เคยชินว่าอันนั้นจะเรียกว่าอะไร พอปรุงแต่งว่าเรียกว่าอะไร อันนั้นเป็นอย่างไร อันนี้เป็นอย่างไร อันนี้เป็นสังขารวิญญาณ คือ สภาพรู้ รู้ในขันธ์ 4 ข้างบน เกิดขึ้นปนกันไปปนกันมา ท่านก็ถาม
ต่อว่า พวกนี้แต่ละขันธ์ ๆ แต่ละธรรมชาติ ๆ นี้เป็นอย่างไรท่านถามจิตใจคนฟังว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยง จิตผู้ฟังตอบแล้ววาจาตอบตามว่าไม่เที่ยงพระเจ้าข้า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นสุข หรือเป็นทุกข์เล่า จิตเค้าหล่านั้นเข้าใจและตอบโดยวาจาว่า เป็นทุกข์พระเจ้าข้า หากสิ่งเหล่านั้น ไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาแล้ว ควรหรือไม่ที่จะยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งนั้นเป็นไปตามอำนาจการบังคับบัญชาว่า นั่นเป็นเรา นั่นเป็นของเรา นั่นอยู่ใต้อำนาจการบังคบบัญชาของเรา จิตท่านเหล่านั้นเข้าใจและตอบออกมาว่าไม่เป็น ไม่มีความเป็นเรา ไม่มีของเราพระเจ้าข้าตอนนี้แสงปัญญาอันแก่กล้าอยู่ที่จิตท่านเหล่านั้นเต็มเปี่ยมท่านก็ถามต่อว่า เมื่อสิ่งเหล่านั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ควรหรือที่จะยึดถือสิ่งเหล่านั้นไว้ หรือควรปล่อยวางโดยประการทั้งปวงให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ หรือดเรื่องของมันควรปล่อยวางพระเจ้าข้า พอจิตเข้าใจถึงเนื้อในของจิตจริง ๆ ว่าควรปล่อยวางปั๊บ
จิตก็ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 หรือสิ่งทั้งปวงนั้นทันที พระองค์ก็ทรงกล่าวต่อไปว่า จิตเธอทั้งหลายได้ปล่อยวางอุปทานความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 และแล้วเธอก็ทราบด้วยปัญญาของตน ณ ที่นี้แล้วว่า ชาติสิ้นแล้ว ภพสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นที่ยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกต่อไปดังนี้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 11:21:27 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 10:32:10 »





ในสมัยพุทธกาลท่านจึงเรียนรู้ตามหลักความจริงในกายในจิต ในอารมณ์กันจริง ๆ ไม่ได้ผ่านการเรียนมากมายอะไรเลยหรือแทบไม่
เรียนเลยด้วยซ้ำท่านสอนให้เห็นสภาวะเดี๋ยวนั้น ก็รู้เดี๋ยวนั้น แก้ปัญหาในจิตได้เดี๋ยวนั้น หลุดพ้นเดี๋ยวนั้นทีเดียวสำหรับผู้มีอินทรีย์ แก่กล้า หรือขิปปาภิญญา เป็นต้นผมเข้าใจว่าสมัยนี้ผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้าแบบนี้ก็มีนะครับ เพียงแต่ยังไม่รู้จักตัวเองยังไม่พบธรรมที่แก้ปัญหาในจิตได้โดยตรงและ
สำคัญที่สุด คือ ไม่สนใจจะแก้กิเลสในใจครับ เหล่านี้ผมก็เอามาเตือนตัวเองด้วย และเอามาเล่าให้ฟังเฉย ๆ ครับ
ทุกวันนี้ ผมก็เหมือนเดิมตอนเดินไปห้องน้ำเมื่อกี๊เจอบางสิ่งบางอย่างที่น่าพอใจ จิตสังเกตเห็นอารมณ์พอใจเกิดขึ้นเองแล้วก็ดับไปเองที่ผิวหนังข้างนอก ไม่ได้ตั้งใจให้มันดับมันก็ดับเอง เมื่อกี๊ไปคุยเรื่องขึ้น airport link ไปสนามบินกับน้อง ๆ ก็เห็นอารมณ์ รับรู้ มีความรู้สึก ตอนนี้มาก็จบแล้ว อารมณ์ทั้งปวงเกิดขึ้นแล้วดับไป ก็แค่นั้น ไม่ได้เข้าถึงจิตนั้นเลยครับถ้าเป็นแต่ก่อน ๆ นี้ไม่ได้เลย ๆ ความทุกข์ทางใจกำเริบมากก็เหมือนเดิมชักชวนให้มาปฏิบัติธรรมกันเถิดอยากฝากข้อความสั้น ๆ ไว้ว่าอย่าสนใจอะไรมากมายกว่าสนใจจิตตัวเอง
หากจะมีใครบอกว่าของจริงนิ่งเป็นใบ้พูดไม่ได้อะไรอย่างนี้ผมก็ไม่ทราบว่าจะพูดอย่างไร เพราะพุทธองค์พระสาวกทั้งหลายมาจนถึงพุทธบริษัทรุ่นเรานี้
ก็คงต้องอาศัยการถ่ายทอดธรรมะโดยการพูดจากันหากรู้แล้วไม่พูดอะไร ๆ เลยก็ไม่รู้ว่าจะสื่อสารหรือเผยแพร่พระพุทธศาสนากันอย่างไรพูดมากก็อาจจะเป็นการติดสังขารก็ไม่รู้ว่าจะสื่อสารกันอย่างไรเอาเป็นคำกลาง ๆ แล้วกันน่ะ หลวงตามหาบัวท่านว่าพูดเสียบ้างไม่ใช่คุย




..............................THE END..............................

http://forums.212cafe.com/boxser/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2553 11:22:15 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2553 12:03:45 »




 ยิ้ม  ยิ้ม  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
คำค้น: จิ๊บ ๆ dhamma ข้อคิด พระสูตร ธรรมมะ เตือนใจ บางครั้ง ปฏิบัติ นักธรรม 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.41 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 29 สิงหาคม 2566 08:48:06