
พระพุทธรูปปางประทานอภัย ประทับยืนบนฐานบัวหงาย ทรงกลม
อยู่บนฐานแปดเหลี่ยม สูง ๓ ชั้น ทรงเครื่องน้อย สวมมงกุฏทรงเทริดแบบก้นหอยแหลม มีกรรเจียก
ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ทำด้วยสำริด สูง ๑๔๙ ซม.
ได้จากวัดวงษ์ฆ้อง อำเภอพระนครศรีอยุธย

พระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก ศิลาทราย สูง ๑๑๗ ซม.
ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ได้จากวัดพระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เศียรพระพุทธรูป ศิลปะอยุธยา


ระฆังจีน สมัยราชวงศ์หมิง พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑
และราชวงศ์ชิง พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕
นพศูล หรือ
นภศูล เครื่องประดับยอดพระปรางค์ ลักษณะเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ
ทำจากเหล็ก สูง ๑๘๐ เซนติเมตร ศิลปะอยุธยา
ได้มาจากยอดพระปรางค์วัดพระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หน้าบันไม้ จำหลักลายเทพนม และลายเครือเถาว์พุ่มข้าวบิณฑ์ ขนาดกว้าง ๕๑.๕ ซม. สูง ๔๘.๕ ซม.
ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ ได้จากวัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



ชิ้นส่วนปูนปั้นศิลปะอยุธยา

เครื่องปั้นดินเผา สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔


แผ่นหินจารึกตัวอักษรภาษาไทย สมัยอยุธยา

ปืนใหญ่ หล่อด้วยสำริดและเหล็ก สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์
กระสุนปืนใหญ่ ชนิดต่าง ๆ เป็นแบบดัมเบล สำหรับยิงเสากระโดงเรือก็มี
ปืนคาบศิลา ชนิดต่าง ๆ มีทั้งปืนคาบศิลาที่ผลิตจากต่างประเทศ
เช่น ปืนคาบศิลาตรามงกุฎที่ผลิตในประเทศอังกฤษในสมัยพระนางเจ้าวิตอเรีย (พ.ศ. ๒๓๙๐)
ปืนคาบศิลาตราหัวใจหรือใบโพธิ์ ของบริษัท อีสต์ อินเดีย คัมปะนี (พ.ศ. ๒๓๒๕)
และปืนคาบศิลาที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา และปืนอีกชนิดที่พบได้ยากอีกเช่นเดียวกัน
ได้แก่ ปืนปากแตรหรือปืนก้องไพร
(BLUNDERBUSS)
ปืนใหญ่หลังช้าง ทำด้วยสำริด เป็นปืนใหญ่ที่ติดตั้งกับสัปคับช้าง
ซึ่งสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และสามารถเล็งวิถีกระสุนได้แม่นยำกว่า
สัปคับและปืนใหญ่หลังช้างนี้ ตามประวัติกล่าวว่า ขุดได้ที่กลางพระนครกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มางลาง ใช้สำหรับแขวนคอช้าง ลักษณะคล้ายกระดิ่งที่แขวนคอวัว ควาย
เก๋งเรือ กว้าง ๑๖๑ ซม. ยาว ๒๗๘ ซม. สูง ๒๒๒ ซม. ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕
ทำจากไม้จำหลักลายพันธุ์พฤกษา ลงรักปิดทองและเขียนสี (การลงรัก เรียกอีกอย่างหนึ่่งว่า "สมุก")
ผนังด้านในตอนบนเหนือกรอบประตูหน้าต่าง มีภาพเขียนเป็นลายมงคลศิลปะจีน
เก๋งเรือนี้สันนิษฐานว่า คงจะเป็นเก๋งของเรือแหวต ซึ่งเป็นเรือขุดที่มีขนาดใหญ่ ใช้ฝีพายราว ๗-๘ คน
เรือแหวตนี้เป็นเรือที่บ่งบอกฐานะของเจ้าของเรือได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นเรือหลวงพระราชทาน
สำหรับเจ้านายที่ทรงกรม ตั้งแต่กรมพระขึ้นไปหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ไม่ต่ำกว่าเจ้าพระยา
และพระสงฆ์ระดับพระราชาคณะชั้นสมเด็จ