[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 06:59:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ "จันทรเกษม" พระนครศรีอยุธยา  (อ่าน 16778 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2555 14:05:05 »

.




พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ "จันทรเกษม"
ถนนอู่ทอง  ตำบลหัวรอ  อำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม หรือพระราชวังจันทรเกษม นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกที่สำคัญแห่งหนึ่งในส่วนภูมิภาค  สืบเนื่องจากพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๗  และโปรดเกล้าฯ ให้หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาโบราณราชธานินทร์)  ขณะดำรงตำแหน่งข้าหลวงมหาดไทย มณฑลกรุงเก่า รวบรวมโบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ ที่สำคัญในบริเวณเมืองกรุงเก่า และตามจังหวัดใกล้เคียง  นำมาเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังจันทรเกษม  โดยใช้โรงม้าพระที่นั่งเป็นสถานที่เก็บรักษา  ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อครั้งเสด็จฯ เยี่ยมมณฑลกรุงเก่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕  ทรงแนะนำให้พระยาโบราณราชธานินทร์  จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เรียกว่า“โบราณพิพิธภัณฑ์”

ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมมณฑลกรุงเก่า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนย้ายโบราณวัตถุและศิลปวัตถุต่าง ๆ จากโรงม้าพระที่นั่งเดิมไปจัดแสดง ในบริเวณพลับพลาจัตุรมุขแทน พร้อมกับโปรดเกล้าฯ ให้สร้างระเบียงตามแนวด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก  สำหรับแสดงศิลาจารึก และประติมากรรมประเภทต่าง ๆ  พร้อมกับตั้งชื่อใหม่ว่า “อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน”  เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗


โรงม้าพระที่นั่ง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาด ๖๐๐ x ๑๗.๐๐ เมตร
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้จัดแสดงศิลปวัตถุและโบราณวัตถุ ที่พระยาโบราณราชธานินทร์เก็บรวบรวมไว้  
จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นครั้งแรกภายในพระราชวังจันทรเกษม และเรียกชื่อว่า "โบราณสถานพิพิธภัณฑสถาน"

ย้อนอดีตวังหน้า “พระราชวังจันทรเกษม”
พระราชวังจันทรเกษม ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก หรือที่เรียกว่าคูขื่อหน้าในอดีต  ทางด้านทิศเหนือมุมทิศตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา ใกล้ตลาดหัวรอ  ตำบลหัวรอ  อำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบัน

พระราชวังจันทรเกษม  เดิมเป็นพระราชวังโบราณมีฐานะเป็นวังหน้าของกรุงศรีอยุธยา  จากหลักฐานพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่า สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๑๒๐ ในสมัยสมเด็จสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช  โดยมีพระราชประสงค์เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นอุปราชประทับที่วังจันทน์   เมืองพิษณุโลก  เมื่อเวลาเสด็จลงมาพระนครศรีอยุธยามักจะทรงมีข้าราชบริพารและทหารติดตามลงมาเป็นจำนวนมาก ไม่มีที่ประทับพักแรมเป็นการเฉพาะ   สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช  พระราชบิดา  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สร้าง “วังใหม่”  ขึ้นทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง  ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงอพยพผู้คนจากหัวเมืองเหนือลงมาอยุธยา  พระองค์ได้เสด็จมาประทับที่วังใหม่นี้  ชาวเหนือที่อพยพลงมาพักเรียกวังใหม่นี้ว่า วังจันทน์  ตามชื่อ วังจันทน์ ที่พิษณุโลก

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จฯ ขึ้นเสวยราชสมบัติแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  สถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นอุปราช  โปรดฯ ให้ประทับที่วังจันทน์ เรียกว่า วังจันทน์บวร   ครั้นสมเด็จพระเอกาทศรถขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๒๑๔๘  ทรงโปรดเกล้าฯ  ให้เจ้าฟ้าสุทัศน์พระราชโอรสดำรงตำแหน่งอุปราชประทับที่วังจันทน์บวร เช่นกัน  

จากแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจนถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  วังจันทน์บวรว่างเว้นจากการประทับของพระมหาอุปราชราว ๔๖ ปี  กระทั่งปี พ.ศ. ๒๑๙๙ สมัยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชนัดดาเป็นอุปราช  ประทับ ณ วังจันทน์บวร  

สันนิษฐานว่า ชื่อวังจันทน์บวรคงจะได้มาเปลี่ยนเป็น พระราชวังบวรสถานมงคล หลังจากที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ เนื่องจากสมัยต่อมาคือ รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา  ราวปี พ.ศ. ๒๒๓๑  โปรดเกล้าฯ  แต่งตั้ง หลวงสรศักดิ์  พระราชโอรสเป็นอุปราชและให้เรียกตำแน่งนี้ว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ซึ่งตำแหน่งนี้คงจะมาจากชื่อของ พระราชวังบวรสถานมงคล อันเป็นที่ประทับของอุปราชนั่นเอง  ส่วนเจ้านายที่สังกัดวังหลังเรียกว่า กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขและคงจะเป็นแบบอย่างกันมาจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์


เมื่อหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ)  เสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๔๖  โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ  พระราชโอรส ดำรงตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ประทับที่วังหน้าแห่งนี้  กระทั่งพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๒๒๗๕  วังหน้าจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ  หลังจากที่ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกในพระราชวังหลวงแล้ว ก็ยังทรงประทับที่วังหน้าเป็นเวลา ๑๔ ปี  ในเวลาเดียวกันนี้ก็ทรงโปรดให้แต่งตั้ง กรมขุนเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร)  เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ในระยะแรก ทรงโปรดให้ประทับ ณ วังหลวง  กระทั่ง พ.ศ. ๒๒๘๗  เกิดเพลิงไหม้วังหน้า  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ปลูกสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ และโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์เสด็จมาประทับที่วังหน้า  ซึ่งนับเป็นอุปราชองค์สุดท้ายที่ประทับ ณ วังหน้าแห่งนี้  หลังจากรัชกาลของพระองค์แล้ว วังหน้าก็ว่างมากระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐  หลังจากนั้น พระราชวังแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างเหลือแต่ซากอาคารก่ออิฐถือปูน เช่นเดียวกับโบราณสถานอื่น ๆ ของกรุงศรีอยุธยา

ระยะเวลาได้ผ่านไปจนกระทั่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  จึงได้เริ่มมีการฟื้นฟูและบูรณะกรุงเก่าขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  โดยเฉพาะในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๙๔ เป็นต้นมา  หลักฐานจากเอกสารที่สำคัญคือ จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ จุลศักราช ๑๒๑๙ (พ.ศ. ๒๓๙๕)  ได้เริ่มกล่าวถึงพระราชวังจันทรเกษมเป็นครั้งแรก  เมื่อพระองค์ทรงมีสารตราไปถึงพระยาโบราณกรุงเก่า เรื่อง “กรมพิทักษ์จะเสด็จขึ้นทอดพระกฐินให้เร่งมีการซ่อมแซมพระที่นั่งจันทรเกษม”  กล่าวได้ว่า พระราชวังจันทรเกษมในเวลานั้นคงได้เริ่มมีการฟื้นฟูและบูรณะขึ้นมาแล้วอย่างน้อย ตั้งแต่ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ จากนั้นมาในปี พ.ศ. ๒๓๙๗  พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรพระราชวังจันทรเกษม  แล้วมีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้มีการฟื้นฟูพระราชวังจันทรเกษมขึ้นมาใหม่ โดยให้เจ้าพระยามหาสิริธรรมเจ้าเมืองกรุงเก่าในเวลานั้นเป็นผู้ดูแลเริ่มจากการสร้างกำแพงพระราชวังในราวปี พ.ศ. ๒๔๐๐ และในปีต่อมา พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรการบูรณะพระราชวังจันทรเกษม รวมทั้งวัดเสนาสนารามและวัดขมิ้น

ในปี พ.ศ. ๒๔๐๓  พระองค์ได้มีพระราชดำริให้มีการขุดสระน้ำและสร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นมาใหม่ ตามร่องรอยของแนวฐานอาคารเดิม   หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๐๔  พระองค์จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าชิตเชิงพงษ์เคราะห์เป็นแม่กองในการดูแลการก่อสร้าง  พระตำหนักและพลับพลาที่ประทับ  โดยได้ทรงเร่งรัดให้ก่อสร้างแล้วเสร็จโดยเร็ว  ในการที่รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูบูรณะพระราชวังจันทรเกษมขึ้นใหม่นี้ เพื่อใช้เป็นที่ประทับในเวลาที่เสด็จประพาสกรุงเก่า และชื่อของพระราชวังนั้น เดิมเรียกว่า “วังจันทน์บวร”  คำว่า “บวร” นั้นทำให้นึกถึงวังหน้า  เมื่อจะสถาปนาเป็นที่ประทับแล้ว  จึงโปรดพระราชทานนามใหม่โดยเติมสร้อยข้างท้ายเรียกว่า “วังจันทรเกษม"


    พระราชวังจันทรเกษมในปัจจุบันมีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๙๕ ตารางเมตร  แต่ในอดีตนั้น อาณาเขตของพระราชวังจันทรเกษมมีเนื้อที่กว้างขวางกว่าเดิมในปัจจุบันมาก  ทิศเหนือ คือ ด้านหน้าจดกำแพงเมือง  ทิศตะวันตกถึงวัดขุนแสน  ทิศใต้ถึงวัดเสนาสนาราม (วัดเสื่อ)  ทิศตะวันออกถึงบริเวณที่ตั้งศาลพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน  ในหนังสือตำนานวังหน้าของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพยังได้กล่าวไว้ว่า “เขตวังหน้า เดิมกว้างกว่าแนวกำแพงนี้มาก  วัดเสนาสนาราม วัดขมิ้น ๒ วัด อยู่ในเขตวัง (ครั้งกรุงศรีอยุธยา  เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์)  เพราะได้เคยขุดค้นพบรากฐานพระราชมณเฑียร  บัวหัวเสา  บัวโคนเสา และฐานระหัดน้ำ  ได้ตามบริเวณที่กล่าวมาแล้วหลายแห่ง”

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อกำแพงอิฐลงมาสร้างพระนครที่กรุงเทพฯ  และสร้างพระอารามเป็นอันมาก  ในปี พ.ศ. ๒๔๓๘  พระยาชัยวิชิตสิทธิศักดิ์มหานัคราธิการ (นาก ณ ป้อมเพชร) ผู้รักษากรุงเก่าขณะนั้น  ได้เกลื่อนกำแพงลงเป็นแนวถนนรอบเกาะเมือง (ถนนอู่ทองในปัจจุบัน)  แนวกำแพงพระราชวังจันทรเกษมที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔  ในคราวที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระราชวัง เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน มีความยาวด้านละ ๔ เส้น (๑๖๐ เมตร)  บนกำแพงประดับด้วยใบเสมาโดยรอบ  มีประตูทางเข้า ๔ ด้าน ๆ ละ ๑ ประตู


ข้อมูลสรุป :  หนังสือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม  จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี โบราณพิพิธภัณฑ์  โดย สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๓
                พระนครศรีอยุธยา,  สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  กรมศิลปากร





พลับพลาจตุรมุขและหมู่พระที่นั่งพิมานรัตยา  
เป็นที่ประทับและออกว่าราชการของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
โปรดเกล้าพระราชทานให้เป็นที่จัดตั้ง "อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน"


หน้าบันด้านหน้ามุขกลางพลับพลาจตุรมุข
เป็นตราพระราชลัญจกรมหาโองการ  ตราพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้ว


หอส่องกล้อง

หอพิสัยศัลลักษณ์ (หอส่องกล้อง)  เป็นอาคารทรงหอ ๔ ชั้น  ขนาด ๑๕.๘๐ เมตร x ๑๗.๐๐ เมตร  สูง ๒๒ เมตร  ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้  สันนิษฐานว่าสร้างครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้พังลงตั้งแต่ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ สมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามรากฐานเดิม แล้วพระราชทานนามว่า หอพิสัยศัลลักษณ์   ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว



อาคารก่ออิฐถือปูนรูปตัว L

อาคารที่ทำการภาคหรืออาคารมหาดไทย เป็นอาคารรูปตัว L ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ตั้งอยู่ชิดกำแพงพระราชวังด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้  ขนาดกว้าง ๑๐.๐๐ เมตร  ด้านทิศตะวันตกยาว ๕๐.๐๐ เมตร  ด้านทิศใต้ยาว ๖๕.๐๐ เมตร   สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ครั้งพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร  เดชะคุปต์) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ใช้เป็นตึกที่ทำการภาคต่อมาจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ หลังจากนั้นยังใช้เป็นที่ทำการของอัยการจังหวัด  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน  สำนักงานสหกรณ์จังหวัด และสำนักงานคลัง เขต ๑  จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๓๖  ได้ย้ายออกไปจดหมด  ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ กรมศิลปากรจึงได้ทำการบูรณะซ่อมแซมจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๙    ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม  และอาคารจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุต่าง ๆ


พระพุทธรูปปางประทานอภัย ประทับยืนบนฐานบัวหงาย ทรงกลม
อยู่บนฐานแปดเหลี่ยม สูง ๓ ชั้น ทรงเครื่องน้อย  สวมมงกุฏทรงเทริดแบบก้นหอยแหลม มีกรรเจียก
ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ทำด้วยสำริด  สูง ๑๔๙ ซม.
ได้จากวัดวงษ์ฆ้อง  อำเภอพระนครศรีอยุธย


พระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก ศิลาทราย  สูง ๑๑๗ ซม.
ศิลปะลพบุรี  พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ได้จากวัดพระราม  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


เศียรพระพุทธรูป ศิลปะอยุธยา  






ระฆังจีน สมัยราชวงศ์หมิง  พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑
และราชวงศ์ชิง  พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕


นพศูล หรือ นภศูล   เครื่องประดับยอดพระปรางค์  ลักษณะเป็นรูปหอก  มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ
ทำจากเหล็ก สูง ๑๘๐ เซนติเมตร   ศิลปะอยุธยา  
ได้มาจากยอดพระปรางค์วัดพระราม  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


หน้าบันไม้ จำหลักลายเทพนม และลายเครือเถาว์พุ่มข้าวบิณฑ์ ขนาดกว้าง ๕๑.๕ ซม.  สูง ๔๘.๕ ซม.
ศิลปะอยุธยา  พุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ ได้จากวัดพุทไธศวรรย์  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา







ชิ้นส่วนปูนปั้นศิลปะอยุธยา


เครื่องปั้นดินเผา สมัยอยุธยา  พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๔




แผ่นหินจารึกตัวอักษรภาษาไทย  สมัยอยุธยา




ปืนใหญ่ หล่อด้วยสำริดและเหล็ก สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์


กระสุนปืนใหญ่ ชนิดต่าง ๆ เป็นแบบดัมเบล สำหรับยิงเสากระโดงเรือก็มี


ปืนคาบศิลา  ชนิดต่าง ๆ มีทั้งปืนคาบศิลาที่ผลิตจากต่างประเทศ
เช่น ปืนคาบศิลาตรามงกุฎที่ผลิตในประเทศอังกฤษในสมัยพระนางเจ้าวิตอเรีย (พ.ศ. ๒๓๙๐)
ปืนคาบศิลาตราหัวใจหรือใบโพธิ์ ของบริษัท อีสต์ อินเดีย คัมปะนี (พ.ศ. ๒๓๒๕)
และปืนคาบศิลาที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา และปืนอีกชนิดที่พบได้ยากอีกเช่นเดียวกัน
ได้แก่ ปืนปากแตรหรือปืนก้องไพร (BLUNDERBUSS)


ปืนใหญ่หลังช้าง ทำด้วยสำริด เป็นปืนใหญ่ที่ติดตั้งกับสัปคับช้าง
ซึ่งสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และสามารถเล็งวิถีกระสุนได้แม่นยำกว่า
สัปคับและปืนใหญ่หลังช้างนี้ ตามประวัติกล่าวว่า ขุดได้ที่กลางพระนครกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


มางลาง ใช้สำหรับแขวนคอช้าง ลักษณะคล้ายกระดิ่งที่แขวนคอวัว ควาย


เก๋งเรือ กว้าง ๑๖๑ ซม. ยาว ๒๗๘ ซม. สูง ๒๒๒ ซม. ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕  
ทำจากไม้จำหลักลายพันธุ์พฤกษา ลงรักปิดทองและเขียนสี (การลงรัก เรียกอีกอย่างหนึ่่งว่า "สมุก")
ผนังด้านในตอนบนเหนือกรอบประตูหน้าต่าง มีภาพเขียนเป็นลายมงคลศิลปะจีน
เก๋งเรือนี้สันนิษฐานว่า คงจะเป็นเก๋งของเรือแหวต ซึ่งเป็นเรือขุดที่มีขนาดใหญ่ ใช้ฝีพายราว ๗-๘ คน  

เรือแหวตนี้เป็นเรือที่บ่งบอกฐานะของเจ้าของเรือได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นเรือหลวงพระราชทาน
สำหรับเจ้านายที่ทรงกรม ตั้งแต่กรมพระขึ้นไปหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ไม่ต่ำกว่าเจ้าพระยา
และพระสงฆ์ระดับพระราชาคณะชั้นสมเด็จ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กันยายน 2558 11:52:01 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5389


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2555 18:39:08 »

.


รอยพระพุทธบาทจำลอง ศิลาทราย สลักลายมงคล ๑๐๘ ประการ เรียงอยู่ในตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ ขนาดกว้าง ๖๖.๘ ซม. ยาว ๑๖๒.๕ ซม.
ได้จากวัดท่าทราย บ้านแพน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


ตู้พระธรรม






ลายกำมะลอ หมายถึงการเขียนลวดลายด้วยการเขียนสี เกี่ยวกับพุทธประวัติ วิวทิวทัศน์แบบศิลปะจีน
บางตู้เป็นลวดลายประจำยามรัดอก ก้านแย่ง รูปมังกรจีน กินนร-กินรี ลายกนกเปลวเครือเถา สัตว์หิมพานต์ ฯลฯ






ลวดลายอันวิจิตรงดงามของตู้พระธรรมขาหมู


ตู้พระธรรมขาสิงห์ ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๓-๒๔














ส่วนหนึ่งของ ตาลปัตร ลวดลายอ่อนช้อยปราณีต สมัยรัชกาลที่ ๕
เท่าที่สังเกตน่าจะใช้เส้นโลหะที่มีขนาดเส้นเล็กมาก  
ปักลวดลายแทนการใช้เส้นด้ายหรือเส้นไหม







พระที่นั่งพิมานรัตยา
ปัจจุบันเป็นสถานที่เก็บรักษา พระพุทธรูปโบราณตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่
ซึ่งมีจำนวนมาก แต่เก็บภาพมาได้ไม่กี่ภาพ เนื่องจากแบตเตอรี่กล้องถ่ายรูปหมดค่ะ
















พระโคนดินสอ พระพิมพ์ พระแผง พระพิมพ์ประทับนั่งเรียง จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
เก็บรักษาไว้ภายในพระที่นั่งพิมานรัตยา


ภาพที่โพสท์ เป็นส่วนหนึ่งของโบราณวัตถุที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
"จันทรเกษม" จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กันยายน 2558 11:48:28 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ชีวประวัติ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระนคร
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
เงาฝัน 4 6015 กระทู้ล่าสุด 15 กรกฎาคม 2554 01:47:48
โดย หมีงงในพงหญ้า
พาเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ "เจ้าสามพระยา" พระนครศรีอยุธยา
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 2 11073 กระทู้ล่าสุด 16 สิงหาคม 2555 21:44:50
โดย หมีงงในพงหญ้า
"พระเจดีย์ภูเขาทอง" อนุสรณ์สถานแห่งชัยชนะของพระเจ้าบุเรงนอง (จ.พระนครศรีอยุธยา)
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 4400 กระทู้ล่าสุด 24 เมษายน 2556 13:32:51
โดย Kimleng
ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด บางปะอิน พระนครศรีอยุธยา - ชมแหล่งเรียนรู้เรื่อง "โขน"
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 2 367 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 16:41:46
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.608 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 21 ชั่วโมงที่แล้ว