[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 พฤษภาคม 2567 16:30:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 270 271 [272] 273 274
5421  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / กิมเล้งพาเข้าครัว - ซุปเปอร์สุขใจ (ตีนไก่ต้มยำสูตรสุขใจ) เมื่อ: 18 เมษายน 2555 10:32:40
กิมเล้งพาเข้าครัว - ซุปเปอร์สุขใจ (ตีนไก่ต้มยำสูตรสุขใจ)


เครื่องปรุง
- ตีนไก่ 1/2 กิโลกรัม
- เห็ดหอมแห้ง 3- 4 ดอก
- เห็ดหอมสด 3-4 ดอก
- เก๋ากี่ หรือ ฮ่วยกี้  (สมุนไพรจีน) 1 ช้อนชา
- รากผักชีบุบพอแตก 1 ราก
- ซีอิ๊วขาว
- น้ำตาลกรวด 2-3 เกล็ดขนาดเล็ก
- มะนาว
- ต้นหอม  ผักชีฝรั่ง
- พริกขี้หนูสด

วิธีทำ
1. นำเห็ดหอมแห้งแช่น้ำ บีบแห้ง ผ่าสี่ถ้าดอกใหญ่
2. ตีนไก่ล้างให้สะอาด  นำใส่หม้อเคลือบ (เหมาะสำหรับการตุ๋นที่ใช้เวลานาน ๆ )  เติมน้ำสะอาด  ใส่เห็ดหอมแห้งแช่น้ำ  ซีอิ๊วขาว  รากผักชี  น้ำตาลกรวด 2-3 เกล็ดเล็ก ๆ
    และเก๋ากี่หรือฮ่วยกี้   ยกขึ้นตั้งไฟตุ๋นด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ ๓  ชั่วโมง  (หรือจนกว่าตีนไก่เปี่อยนุ่ม)
3. ใส่เห็ดหอมสด (ถ้ามี)
4. ใส่ต้นหอม  ผักชีฝรั่งง  น้ำมะนาว  พริกขี้หนูหรือพริกชี้ฟ้าสดบุบพอแตก (จะใส่พริกแห้งคั่วด้วยก็ได้)  ปรุงรสและชิมให้รสเข้มข้น




เครื่องปรุง





นำเครื่องปรุงตามวิธีทำข้อ 2 ใส่หม้อเคลือบ ตุ๋นด้วยไฟอ่อน ๆ 3 - 4 ชั่วโมง 


น้ำงวดไปเติมน้ำเพิ่ม ใส่เห็ดหอมสด (ไม่ใส่ก็ได้)


ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว  ซีอิ๊วขาว  ต้นหอมผักชี  พริกสดบุบพอแตก

5422  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / Re: ขอโทษ : ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ เมื่อ: 17 เมษายน 2555 20:45:59





    









.
5423  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / พระธรรมปาโมกข์รูปที่ ๖ : สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เมื่อ: 16 เมษายน 2555 13:42:31


พระธรรมปาโมกข์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)  วัดบรมนิวาส  กรุงเทพมหานคร


พระธรรมปาโมกข์
รูปที่ ๖
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน  ติสฺโส)

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน)  วัดบรมนิวาส  นามฉายาว่า ติสฺโส  มีนามเดิมว่า “อ้วน”  นามสกุล “แสนทวีสุข”  เป็นบุตรเพี้ยเมืองกลาง (เคน  แสนทวีสุข)  โยมมารดาชื่อบุตสี  แสนทวีสุข  เกิดในรัชกาลที่ ๔  เมื่อ ณ วันเสาร์ เดือน ๔ แรม ๑๓ ค่ำ ปีเถาะ  จุลศักราช ๑๒๒๙  หรือตรงกับวันที่ ๒๑ มีนาคม  พุทธศักราช ๒๔๑๐  ณ บ้านหนองแคน  แต่โบราณเรียกว่าดอนมดแดง  แขวงจังหวัดอุบลราชธานี

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านเคยเล่าชีวิตเมื่อเยาว์วัยให้มหาไชย จันสุตะ ฟังว่า เมื่อยังเด็กท่านชอบมีเพื่อนฝูงมาก เพื่อนฝูงทั้งหลายมักตั้งท่านให้เป็นหัวหน้า และเมื่อท่านทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแล้ว เพื่อนฝูงจะเชื่อฟัง ท่านจัด ท่านแบ่งอะไรทุกคนพอใจ ไม่เคยโต้แย้ง ท่านมีแววของความเป็นผู้นำมาตั้งแต่วัยเยาว์ทีเดียว    นอกจากลักษณะของความเป็นผู้นำแล้ว สมเด็จฯ  ยังสนใจในทางพระพุทธศาสนา  ในวัยเด็กท่านจะช่วยโยมมารดาทำบุญตักบาตรทุกๆ เช้าที่หน้าบ้านเสมอ

ในรัชกาลที่ ๕  เมื่ออายุ 19 ปี  บรรพชาเป็นสามเณร มหานิกายที่วัดสว่าง  อำเภอวารินชำราบ ใกล้กับบ้านเกิดของท่าน  แล้วไปบวชเป็นสามเณรธรรมยุติกาที่วัดศรีทอง (ปัจจุบันคือวัดศรีอุบลรัตนาราม)  ในเมืองอุบล   ครั้นอายุครบอุปสมบทได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดศรีทอง เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๔๓๒ โดยมีท่านเทวะธัมมี  (ม้าว)  ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระอุปัชฌาย์    และท่านโชติปาโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์  

เมื่ออุปสมบทแล้ว เล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักพระอุปัชฌาย์อาจารย์ที่วัดศรีทอง ๓ พรรษา แล้วจึงเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ  มาอยู่ที่วัดพิไชยญาติการาม  เล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักพระสาสนโสภณ (อ่อน)  เมื่อยังเป็นที่พระเมธาธรรมรศบ้าง  เรียนต่อนายท้วมราชเมธีเมื่อยังเป็นเปรียญบ้าง  อาจารย์ทองบ้าง  ได้เข้าสอบความรู้ตามหลักสูตรของมหามกุฏราชวิทยาลัย  ได้ชั้นนักเรียนตรี เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๗  ได้ชั้นนักเรียนเอก เทียบด้วย ๓ ประโยค เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๓๘  ได้เล่าเรียนอยู่วัดพิไชยญาติการาม ๔ พรรษา

หลังจากพระอุปัชฌาย์ท่านได้มรณภาพแล้ว   ได้ย้ายไปอยู่วัดเทพศิรินทราวาส  เล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักเจ้าคุณอาจารย์พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)       เมื่อครั้งเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ยังเป็นที่พระครูวิจิตรธรรมภาณีบ้าง  เรียนกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)  แต่เมื่อยังเป็นเปรียญบ้าง  กับนายชูเปรียญบ้าง  ได้เข้าสอบความรู้ที่มหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๓๙ อีกครั้ง ๑  ได้ชั้นเปรียญตรี เทียบด้วย ๔ ประโยค  อยู่วัดเทพศิรินทร์ ๓ พรรษา

ย้ายมาอยู่วัดบวรนิเวศเล่าเรียนในสำนักพระยาวิจิตรธรรมปริวัตร (คำ  พรหมกสิกร)  แต่เมื่อยังบวชเป็นพระราชาคณะ ที่พระสาสนดิลกบ้าง เรียนต่อนายวันเมื่อยังบวชเป็นเปรียญอยู่บ้าง ได้เข้าสอบความรู้ที่มหามกุฏราชวิทยาลัยอีกครั้ง ๑  ได้ชั้นเปรียญโท เทียบด้วย ๕ ประโยค เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒  แล้วทูลลากลับออกไปอยู่ที่วัดสุปัฏนารามในจังหวัดอุบลราชธานีต่อมา

ถึงปีมะโรง ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ ที่พระสาสนดิลก เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗  เป็นตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานีมาจนตลอดรัชกาลที่ ๕

ถึงรัชกาลที่ ๖  ทรงพระกรุณาโปรดให้มีสมณศักดิพิเศษเสมอพระราชาคณะผู้ใหญ่ชั้นราช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔  ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๔๕๕ ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ ที่พระราชมุนี เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม

และในระหว่างนี้ ทรงตั้งให้เป็นเจ้าคณะธรรมยุตสำหรับภาคอีสานอีกตำแหน่งหนึ่ง

ถึง พ.ศ. ๒๔๖๔  เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่พระเทพเมธี เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน แล้วเลื่อนขึ้นเป็นพระโพธิวงศาจารย์ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘

มาในรัชกาลที่ ๗   เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมปาโมกข์  เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒   แล้วโปรดสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ที่พระพรหมมุนีเจ้าคณะรองหนกลาง เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๕  ดังสำเนาพระบรมราชโองการสถาปนาดังนี้


ประกาศสถาปนา
สมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก
มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี
พระปกเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาลเป็นอดีตภาค  ๒๔๗๕ พรรษา ปัจจุบันสมัย  มักกฎสมพัตรสร พฤศจิกายนมาส อัษฏมสุรทินภุมมวาร  โดยกาลบริจเฉท

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียมหาราชรวิวงศ อสัมภินพงศ์พีระกษัตร บุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรัตนบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสำศุทธเคราหณี จักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร มหามกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธอุต์กฤษฏนิบุณ อดุลยกฤษฏาภินีร์หาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณวิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ  มงคลลัคนเนมาหวัย สุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชนาวุธ  วิชัยยุทธศาสตรโกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญานประดิภานสุนทร ประวรศาสโนปสดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพโพยมจร  บรมเชษฐโสทรสมมต  เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ  นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร  ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิษิกต์  สรรพทศทิควิชิตโดโชไชย  สกลมไหศวรยมหาสวามินทร  มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชันยาศรัย  พุทธาทิไตรรัตนศรณารักษ  วิศิษฏศักตอัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกรมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพระราชดำริว่า พระธรรมปาโมกข์ เป็นผู้มีปรีชาญาณแตกฉานในพระไตรปิฎก สุตาคมสัทธรรม สำเร็จภูมิบาเรียน ๕ ประโยค ทรงพระกรุณาโปรดให้เป็นพระราชาคณะตำแหน่งสามัญและเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ขึ้นไป คือ พระราชมุนี พระเทพเมธี พระโพธิวงศาจารย์ พระธรรมปาโมกข์ เป็นลำดับมา  ก็รักษาสมณาจารคุณสมบัติและขนบธรรมเนียมประเพณีราชการเรียบร้อย สมควรแก่ตำแหน่งด้วยดี มีศีลาจารวัตรน่าเลื่อมใส ขวนขวายในนานากรณียกิจเป็นหิตานุหิตคุณอเนกประการ แก่พระบวรพุทธศาสนาและอาณาจักร

ในการศึกษาพระปริยัติธรรม  พระธรรมปาโมกข์ ได้เป็นอาจารย์ผู้แรกเริ่มสอนพระปริยัติธรรม ในสำนักโรงเรียนอุบลวิทยาคม ณ วัดสุปัฏน์ จังหวัดอุบลราชธานี  ในการต่อมาโดยความอุตสาหวิริยะอันแรงกล้า ได้เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทการศึกษาภาษาบาลีและธรรมทั่วทุกนครคามนิคมชนบท ในมณฑลภูมิภาคอีสานแห่งสยามประเทศ ให้เจริญวัฒนาการเป็นลำดับมา ปรากฏมีพระภิกษุสามเณรทรงภูมิบาเรียนนักธรรมนวกะมัชฌิมะและเถรภูมิแพร่หลาย

ในการศึกษาส่วนภาษาไทย สมัยยังไม่มีเจ้าหน้าที่กระทรวงธรรมการออกไปจัดการศึกษา พระธรรมปาโมกข์ได้เป็นผู้แรกเริ่มประสิทธิ์ประสาทให้การศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดา  โดยจัดตั้งโรงเรียนและจัดหาครูอาจารย์มาสอน ตลอดถึงจัดการสอบไล่เองเสร็จ แม้มีเจ้าหน้าที่กระทรวงธรรมการออกไปจัดการศึกษาแล้วก็มิได้ละเมิน ยังช่วยเหลือในส่วนที่เกี่ยวถึงโดยประการต่าง ๆ  ซึ่งเป็นการอนุเคราะห์กุลบุตรกุลธิดา  ให้ได้รับการศึกษาและธรรมจริยาเป็นอย่างดียิ่ง ทั้งเป็นผู้มีอุตสาหะวิริยะเอาใจใส่ในการฝึกหัดอบรมแนะนำสั่งสอนประชาชนนิกรและบรรพชิตให้ประพฤติดำรงอยู่ในกุลศลสุจริตธรรมสมาทาน ตามสมควรแก่ภาวะ และให้จักกรณียกิจอันเป็นหน้าที่มีอาทิ คือ อบรมสั่งสอนพระภิกษุบริษัทให้ดำรงในศีลาจารวัตรอันดีงาม ตามสมควรแก่สมณสารูปแนะนำอบรมประชาชนพลเมืองให้รู้ทางประกอบอาชีพ อนามัยอารยธรรมจริยา โน้มนำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตลอดถึงนำให้เด็กได้ทำพุทธมามกวิธีโดยพระราชนิยมสมควรแก่ภาวะวัย ทั้งได้จัดให้พระภิกษุผู้รู้ธรรมสามารถประกาศสั่งสอนอบรมธรรมจริยาแก่นักเรียนตามโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งที่เป็นโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนประชาบาล ตลอดทั้งประชาชนเพื่อให้เป็นพลเมืองดี ประจำอยู่ทั่วทุกจังหวัดทุกแขวงตำบลในมณฑลนครราชสีมา  นอกจากนี้ยังได้รจนาหนังสือต่าง ๆ อันประกอบด้วยสารประโยชน์คุณธรรม สำหรับแจกจ่ายประชาชนพลเมืองอีกเป็นอันมาก

พระธรรมปาโมกข์ ได้เป็นกรรมการสอบพระปริยัติธรรมในสนามหลวง เป็นแม่กองสอบธรรมสนามมณฑลนครราชสีมาเป็นลำดับมาจนถึงสมัยเปลี่ยนวิธีการสอบ ให้มีแม่กองแต่ผู้เดียวประจำอยู่ในพระนคร ก็ได้เป็นรองแม่กองประจำมณฑลอีก ในการบริหาร พระธรรมปาโมกข์ได้เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอิสาณและทำการแทนเจ้าคณะมณฑล มาแต่ครั้งยังเป็นบาเรียน ต่อมาได้เป็นเจ้าคณะมณฑลและเจ้าคณะฝ่ายธรรมยุตในภาคอิสาณ ครั้นแยกมณฑลอิสานออกเป็นมณฑลร้อยเอ็ด และมณฑลอุบล ก็ได้เป็นเจ้าคณะมณฑลอุบล และรั้งตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลร้อยเอ็ด เมื่อยุบรวมมณฑลทั้งสองเข้าในมณฑลนครราชสีมาก็ได้เป็นเจ้าคณะมณฑลนั้นสืบมาจนกาลบัดนี้ อนึ่ง ในคราวที่มณฑลอุดรว่างเจ้าคณะมณฑลลง ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้เป็นผู้รักษาการตำแหน่งนั้น

พระธรรมปาโมกข์ รับภารธุระในการบริหารคณะ โดยน้ำใจอันหนักแน่นมั่นคง เห็นแก่พระพุทธศาสนา ตั้งแต่เป็นเจ้าคณะมณฑลมามิได้ลาออกลาพัก ตลอดกาลนานถึง ๒๙ ปี  ได้วางระเบียบแบบแผนการปกครองคณะสงฆ์ในมณฑลภาคอิสาณ เป็นระเบียบเรียบร้อยสม่ำเสมอมาด้วยดี นอกจากนี้ยังเป็นผู้เห็นประโยชน์ของโบราณวัตถุ โบราณคดีเป็นพิเศษ ได้จัดส่งหนังสือคัมภีร์เรื่องราวต่าง ๆ และวัตถุโบราณของพื้นเมืองอิสาณ เข้ามาไว้ในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครเป็นอันมาก

พระธรรมปาโมกข์ เป็นผู้มีปรีชาฉลาดสามารถในการเทศนาสั่งสอนด้วยญาณวิจิตรปฏิภาณให้เหมาะแก่บริษัทผู้ฟัง ถูกความต้องการแห่งศาสนาและอาณาจักร เป็นผู้มีขันติวิริยะสมรรถภาพในการบริหารคณะและนวกรรมเป็นอันดี ประกอบกรณียกิจอันเป็นหิตานุหิตคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติศาสนาอันยิ่งใหญ่ไพศาล  สมบูรณ์ด้วยสมณาจารคุณสมบัติ ถึงพร้อมด้วยศีลจารวัตรเป็นสาธุทัศนียและครุฐานียแห่งพุทธบริษัท มั่นคงในพรหมจริยวัตรปฏิบัติยั่งยืนนาน ประกอบด้วยอัตตหิตและปรหิตจริยาอเนกประการ บัดนี้ ก็เป็นผู้เจริญด้วยพรรษายุกาลวัยวุฒิ สมควรจะดำรงที่พระราชาคณะตำแหน่งเจ้าคณะรอง ในพระบวรพุทธศาสนาได้

จึงมีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสิงหนาทดำรัสสั่งให้สถาปนาพระธรรมปาโมกข์ เป็นพระราชาคณะ มัชฌิมมหาคณิศวรานุนายก มีราชทินนามตามจารึกในหิรัณยบัฏ ว่า พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายก ตรีปิฏกธรรมมาลังการวิภูษิต มัชฌิมคณิศร บวรสังฆาราม ความวาสี สถิต ณ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร พระอารามหลวง เจ้าคณะรองหนกลางมีฐานานุศักดิ์ควรตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป คือ พระครูปลัดสุวัฒนพรหมจริยคุณ สมบุรณคณาธิปัติ มัชฌิมสังฆานุนายก ปิฎกธรรมรักขิต ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูธรรมธร ๑ พระครูพุทธพากย์ประกาศ พระครูคู่สวด ๑ พระครูธรรมศาสนอุโฆษ พระครูคู่สวด ๑ พระครูสังฆบริหาร ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑  

ขออาราธนาพระคุณจงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในคณะ และในพระอารามตามสมควรแก่กำลังและอิสสริยยศที่พระราชทานและขอจงเจริญอายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัสถิติ วุรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนา เทอญ

                                   ผู้รับพระบรมราชโองการ                                          
                                                  พระยามโนปกรณนิติธาดา
                                                  ประธานคณะกรรมการราษฎร

ถึง พ.ศ. ๒๔๘๒   ในรัชกาลที่ ๘   ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์  เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกาย พ.ศ. ๒๔๘๒   และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก รูปแรก ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
 
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)  ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙   สิริชนมายุได้ ๘๙ ปี






รวบรวมเรียบเรียง โดย กิมเล้ง : http://www.sookjai.com
ข้อมูล
   - อังกุรปัญญานุสรณ์ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) , ๒๕๔๕
   - http://www.dhammajak.net











.
5424  สุขใจในธรรม / ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม / Re: แจ้งงานทอดผ้าป่าฯ วัดมเหยงคณ์ เพื่อซื้อดินถมพื้นที่วัด และสร้างกำแพงป้องกันน้ำท่วม 15 เม. เมื่อ: 16 เมษายน 2555 06:40:11





บุญกุลศลเต็มเปี่ยม  โอกาสหน้าถ้าทราบจะพยายามไปทุกครั้ง  วัดมเหยงค์ได้ปัจจัยผ้าป่าสำหรับทำคันดินกั้นน้ำท่วม  ถมที่วัด ครั้งนี้  เป็นเงิน ๒,๕๓๓,๐๒๙ บาท  ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ





.
5425  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปเที่ยว / Re: กิมเล้งลุยต่างแดน ภาค 1 เรื่องเล่าจากฝรั่งเศส...ลุยทุ่งลาเวนเดอร์ เมื่อ: 14 เมษายน 2555 21:14:04

มุมหนึ่งของเมืองมาร์แซยย์ (Marseille)  เมืองใหญ่อันดับสอง ของฝรั่งเศส



...ตามริมฟุตบาตจะมีที่จอดรถจักรยานพร้อมที่ล็อกรถให้ด้วย โดยหยอดเงินใส่ตู้เล็กข้าง ๆ เป็นค่าบริการ



จำได้ราง ๆ ว่าเป็นที่ทำการของรัฐ....  



บริเวณท่าเรือเมืองมาร์แซยย์ (Marseille) ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  ซึ่งเป็นเมืองท่าอันดับ 1  ของฝรั่งเศส



สถานที่รอรถโดยสารประจำทาง  ริมท่าเรือเมืองมาร์แซยย์ จะมีคนผิวสีค้าขายสินค้าแบกะดินทั่วไป
สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นพวกแว่นตากันแดด  สร้อยคอ  สร้อยข้อมือ  ซึ่งทำด้วยลูกปัดและหินสีต่าง ๆ




อาคารบ้านเรือนจะออกโทนสีเดียวกันทั้งเมือง ดูเป็นระเบียบสวยงาม



สวนหย่อมน่ารักพบเห็นได้ทั่วเมือง  






ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวก....เจ้าหน้าที่จราจรที่พบเห็นโดยมากมักเป็นผุู้หญิง





เดินทางสู่ วาลองโซล(Valansole) มาดูแหล่งปลูกลาเวนเดอร์ (Lavender) ที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส
 


ทุ่งลาเวนเดอร์ถ้ามองดูไกล ๆ สวยงามมาก แต่พอเข้าใกล้จริง ๆ ก็อย่างที่เห็นน่ะแหละ



ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับผู้ใหญ่ในคณะ  ที่เห็นตั้งท่าถ่ายรูปทางซ้ายด้านหลัง นั่นก็มาด้วยกันจ้ะ



หลุดจากลุยทุ่ง ก็ไปเมืองกราซ Grasse  เพื่อเข้าชมโรงงานผลิตน้ำหอม Fragonard Perfumery
(ไกด์กำลังทำหน้าที่ล่ามถ่ายทอดความรู้ให้กับคณะเรา)









นี่คือสบู่หอม  หนึ่งในหลายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากหัวน้ำหอมของโรงงาน







เห็นรถ...อดใจไม่ได้...บันทึกภาพตามเคย



เห็นสว่างโล่งโจ้งอย่างนี้เถอะ... 2 ทุ่มครึ่งแล้วจ้ะ   (โปรดสังเกตนาฬิกาที่ผนังอาคาร) ที่ฝรั่งเศส และอิตาลีที่ไปในช่วงนั้นเวลา  3 ทุ่ม
บรรยากาศยังเหมือน 6 โมงเย็นบ้านเรา  คงสืบเนื่องจากแกนโลกเอียง ทำให้ประเทศแถบขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนมิถุนายน กรกฏาคม
ในขณะเดียวกันขั้วโลกใต้ก็จะหันออกจากดวงอาทิตย์ ดังนั้น ในช่วงระยะดังกล่าวประเทศในซีกโลกเหนือ ช่วงกลางวันจึงยาวกว่ากลางคืน
ส่วนประเทศในแถบซีกโลกใต้จะตรงกันข้าม ช่วงเวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืน  วิเคราะห์ผิดพลาดประการใด...ขออภัยเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้




ที่เมืองคานส์ :  ภาพถ่ายบริเวณมุมอาคารสถานที่จัดเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (le Festival de Cannes)
เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก  มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946  หรือ พ.ศ. 2489
อาคารสถานที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเล  อากาศดี และภูมิทัศน์สวยงามมากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง    




ประธานาธิบดี จอร์จ ปอมปิดู Georges Pompidou (รูปปั้นนะ ไม่ใช่คนที่ยืน)
ในยุคสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ปอมปิดู (Georges Pompidou) ฝรั่งเศสมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูงมาก
มีการดำเนินการก่อตั้งประชาคมยุโรป  และนับเป็นครั้งแรกที่จะให้จัดตั่้งองค์การตลาดร่วมยุโรป  ให้มีระบบเงินตราที่สอดคล้องกัน
โดยการตั้งระบบ Serpent ขึ้นเมื่อ 10 เมษายน ค.ศ. 1972 หรือ พ.ศ. 2515







บริเวณสถานที่จัดแสดงภาพยนต์เมืองคานส์




คนขวามือผู้บังคับบัญชา  ปลดเกษียณจากราชการแล้ว  ป่านนี้คงนอนอยู่บ้านอย่างเพลิดเพลินและมีความสุข





บอกแล้วไง...ฝรั่งชอบใช้รถยนต์คันเล็ก...เขาคงมีเหตุผลน่ะ




กำลังจะมุ่งหน้าสู่เมือง Nice  ที่ขึ้นชื่อว่าราชินีแห่งริเวียร่า
สถานที่ตากอากาศระดับโลก ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต่างใฝ่ฝันมาเยือน
แต่...เชื่อหรือไม่สู้ทะเลบ้านเราไม่ได้  ชายหาดเรียบริมฝั่งทะเล เขานำทรายมาถมเป็นหาดทรายเทียม
เพราะฝั่งทะเลแถวนั้นมีสภาพพื้นที่เป็นหิน เหมือนกับหัวหินบ้านเราเด๊ะ!




ที่เมืองนีซ  Nice  แทนที่พวกเราจะไปเดินเรียบริมฝั่งทะเล  กลับเลือกเข้าเมืองหาซื้อของ



กำลังมุ่งหน้าสู่เมืองมิลาน เมืองใหญ่อันดับ 2  ของประเทศอิตาลี
ชาวอิตาลีเรียกว่า "Milano"  เป็นมหานครแห่งแฟชั่น



โรงแรมที่คณะเราพักในนครปารีส
5426  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / พระธรรมปาโมกข์ รูปที่ ๕ : พระศาสนโศภณ (แจ่ม จตฺตสลฺโล) เมื่อ: 14 เมษายน 2555 16:21:50






พระธรรมปาโมกข์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์




พระศาสนโศภณ (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร



พระธรรมปาโมกข์
รูปที่ ๕
(แจ่ม  จตฺตสลฺโล)

พระศาสนโศภณ (แจ่ม จตฺตสลฺโล)  วัดมกุฎกษัตริยาราม  เป็นชาวจังหวัดเพชรบุรี  เกิดในสกุลถาวรบุตร  เมื่อวันอังคารที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๘   ตรงกับขึ้น ๑๔ ค่ำ  เดือน ๖  ปีกุน  เวลา ๐๗.๓๐ น.  โยมบิดาชื่อ พ่วง โยมมารดาชื่อ เอี่ยม  โยมบิดาเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)  บ้านเดิมอยู่ที่บ้านตำหนัก อ.เมือง จ.เพชรบุรี   เมื่อเยาว์วัยท่านเล่าเรียนอักขรสมัยที่วัดสนามพราหมณ์  อ.เมือง  จ.เพชรบุรี

ท่านเล่าว่า โยมบิดาของท่านมีพื้นเพเดิมเป็นชาวสุพรรณบุรี  ปู่ชื่อขาว  เป็นน้องชายของปู่เจ้าพระยมราช (ปั้น  สุขุม)  เปรียญทวดเดียวกัน  เป็นตระกูลกรมการเมืองสืบกันมา ถือศักดินาที่มีศักดิ์และมีนาจริง ๆ ไม่ใช่มีแต่ศักดิ์ไม่มีนาเหมือนขุนนางเดี๋ยวนี้  จะว่าเป็นลูกชาวนาก็ถูกเหมือนกัน ท่านเล่าต่อไปว่าพวก (ญาติ) ของท่านเข้ามาได้ดี ๓ คน คือ ท่านได้ดีทางพระ ๑  เจ้าพระยายมราชได้ดีทางราชการ ๑  เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก (พระมารดาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์)  ได้ดีทางผู้หญิง ๑  ฉะนั้น ท่านกับเจ้าพระยายมราชจึงรักใคร่นับถือกันฉันญาติตลอดมา

ท่านเล่าว่าท่านมีชื่อมาตามลำดับถึง ๓ ชื่อ คือทีแรกเขาเรียกกันว่า “จ่า”  เพราะเมื่อเป็นเด็กชอบเล่นเป็นจ่าเพื่อน จ่าฝูง  ภายหลังเขาเรียกกันว่า “แปลก”  เพราะชอบเล่นอะไรแปลก ๆ  ต่อมาเมื่อเป็นสามเณรจึงชื่อ “แจ่ม”  ท่านได้แต่งเป็นกลอนไว้ว่า “เดิมชื่อแปลก  แรกชื่อจ่า  มาชื่อแจ่ม”
เรื่องนามสกุล  ท่านเล่าปู่ของท่านชื่อขาว  ตาชื่อคง  แต่เมื่อพระสานพันธุกิจ (จอน)  น้องของท่านขอพระราชทานนามสกุล  เอาชื่อตามาเป็นชื่อปู่เสีย  จึงได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “ถาวรบุตร”
เมื่ออายุ ๑๘ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๓๕   เข้ามาอยู่วัดมกุฏกษัตริยาราม  ในสำนักพระครูวินัยธร (แสง)  ฐานานุกรมของพระพรหมมุนี (กิตฺติสาโร แฟง)   และบรรพชาเป็นสามเณรในเดือน ๗ ข้างขึ้นแห่งปีนั้น  ต่อมาได้อุปสมบทเมื่อวันพุธ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะแม  ตรงกับวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๘  พระพรหมมุนี (กิตฺติสาโร แฟง ปธ.๗)  ครั้งเป็นพระธรรมปาโมกข์ เป็นพระอุปัชฌาย์  พระธรรมปาโมกข์ (วราสโย ถม ปธ.๗) ครั้งเป็นพระราชกวี  เป็นพระกรรมวาจาจารย์  และพระมหานุนายก (มนาปจารี ดี) ครั้งเป็นพระครูปลัดชื่อนั้น  เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อบรรพชาอุปสมบทอยู่ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม  ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจากพระมหาทอง  เปรียญ ๗ ประโยค เมื่อเป็นสามเณร ๓ พรรษา และเป็นภิกษุ ๒ พรรษา  แล้วย้ายไปอยู่วัดวัดบวรนิเวศวิหาร ๓ พรรษา  ได้เรียนในสำนักพระศาสนดิลก (คำ)  เข้าสอบพระปริยัติธรรมในมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้เปรียญตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐  ได้เปรียญโท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ และได้เปรียญเอก (เทียบ ๗ ประโยค) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒   ครั้นสอบได้เปรียญเอกแล้วจึงกลับมาอยู่วัดมกุฏกษัตริยารามในปีนั้น และเป็นครูสอนปริยัติธรรมต่อมา

ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอริยมุณี  เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ ได้เป็นคณาจารย์เอกทางรจนาและแปลพระสูตร เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชกวี เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗  เป็นเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๒ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวี เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔   เลื่อนขึ้นเป็นพระธรรมปาโมกข์   เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๖   และได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นพระศาสนโศภณ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑


ประกาศสถาปนา
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาลเป็นอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๗๑ พรรษา ปัจจุบันนสมัยสูรยคตินิยม นาคสมพัตสร พฤศจิกายนมาส ษัษฐสุรทิน มงคลวาร โดยกาลชบริจเฉท

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียมหาราชรวิวงศ อสัมภินพงศพีรกษัตร บุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรัตนบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสำศุทธเคราหณี จักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร มหามกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธอุต์กฤษฏนิบุณ อดุลยกฤษฏาภินีร์หาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณวิจิตรเสาภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช วิชัยยุทธศาสตรโกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญานประดิภานสุนทร ประวรศาสโนปสดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพ  โยมจร  บรมเชษฐโสทรสมมต  เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ  นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร  ศรีรัตโนปลักษณ มหาบรมราชาภิเษกาภิษิกต์  สรรพทศทิค  วิชิตโดโชไชย  สกลมไหศวรยมหาสวามินทร  มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชันยาศรัย  พุทธาทิไตรรัตนศรณารักษ  วิศิษฏศักตอัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกรมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพระราชดำริว่า พระสงฆ์ซึ่งดำรงสมณคุณใหญ่ยิ่ง สมควรจะเลื่อนอิสสริยฐานันดรในสมณศักดิ์ มีอยู่หลายองค์ บัดนี้ จวบกาลมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ควรจะสถาปนาอิสสริยยศพระสงฆ์ขึ้นไว้ให้บริบูรณ์ตามตำแหน่ง

จึ่งทรงพระราชดำริว่า พระธรรมปาโมกข์   เป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกสุตาคมลัทธรรม สอบไล่ได้ถึงชั้นบาเรียนเอกในมหามกุฏราชวิทยาลัย เทียบชั้นบาเรียนเอก ๗ ประโยค ทรงพระกรุณาโปรดให้เป็นพระราชาคณะตำแหน่ง พระอริยมุนี พระราชกวี พระเทพกวี พระธรรมปาโมกข์ เป็นลำดับมา ก็สังวรสมณวัตรและรักษาประเพณีในราชการเรียบร้อย สมควรแก่ตำแหน่งสืบมาโดยลำดับ และมีเกียรติศัพท์เป็นที่นิยมแห่งพุทธบริษัททางแปลพระคัมภีร์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงสรรเสริญไว้ว่าเป็นผู้เอาใจใส่ในการแปล และรจนาหนังสือต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประโยชน์ให้แก่ผู้ถือศาสนาร่วมกัน ภิกษุเช่นนั้นชื่อว่ายังพระศาสนาของพระศาสดาให้รุ่งเรือง ในคราวที่จัดตำแหน่งฝ่ายปริยัตติ์เป็นคู่กับบริหารนั้น จึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดยกให้เป็นพระคณาจารย์เอกในทางรจนาและแปลพระคัมภีร์ มีตำแหน่งเทียบเท่าเจ้าคณะมณฑล พระธรรมปาโมกข์เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์เรียบร้อย  โดยอากัปปกิริยาสงบสงัดมั่นคงในศีลสมบัติ มิได้ย่อท้อต่ออุมาทิภัย ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพเป็นที่น่าเลื่อมใส ได้กระทำคุณประโยชน์ในทางทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการศึกษาให้เจริญ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมและนักธรรม เป็นแม่กองสอบนักธรรมสนามมณฑลราชบุรี และสนามสาขาแห่งสนามหลวง เป็นกรรมการสนามหลวงตั้งแต่ยังตั้งกองสอบไล่อยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามตลอดมาจนบัดนี้ และทำกิจในสุตาคมมาด้วยดีไม่ย่อหย่อน ชำระพระไตรปิฎกบาลีอันควรแก้ไขพิมพ์ขึ้นใหม่ และเป็นธุระในการพิมพ์พระคัมภีร์อรรถกถา ชำระต้นฉบับให้ถูกต้องเป็นเบื้องต้น จนตรวจใบพิมพ์เป็นที่สุด อาศัยปรีชาญาณในพระคัมภีร์พุทธสมัยนี้ พระธรรมปาโมกข์ มีพิจิตรปฏิภาณโวหารเทศนาไพเราะสุขุม เป็นที่บูชาเลื่อมใสคุรุสถานีย์แห่งบรรพชิตและคฤหัสถชน ทั้งนี้สมควรจะเป็นที่พระราชาคณะผู้ใหญ่ในตำแหน่งได้

จึ่งมีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสิงหนาทดำรัสสั่งให้สถาปนาพระธรรมปาโมกข์ เป็นพระราชาคณะตำแหน่งเจ้าคณะรองธรรมยุตติกา มีราชทินนามตามจารึกในหิรัณยบัฏว่า พระศาสนโศภณ วิมลญาณอดุลยตรีปิฎกคุณประสาธนวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสีสถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวง เจ้าคณะรองธรรมยุตติกา มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป คือ
       พระครูปลัดอรรถจริยานุกิจ พิพิธธรรมโกศล วิมลสุตาคม อุตดมคณานุนายก ตรีปิฎกญาณวิจิตร ๑
       พระครูวินัยธร ๑
       พระครูธรรมธร ๑
       พระครูพิสิษฐสรเวท พระครูคู่สวด ๑
       พระครูพิเสษสรวุฑฒิ พระครูคู่สวด ๑
       พระครูสังฆวุฑฒิกร ๑
       พระครูสมุห ๑
       พระครูใบฎีกา ๑
ขอพระคุณทั้งปวงผู้รับราชทินนามเพิ่มอิสริยยศในครั้งนี้ จงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกาณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในคณะ และในพระอารามตามสมควรแก่กำลัง และอิสสริยยศที่พระราชทานนี้ และขอจงจิรสถิติกาล เจริญอายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิ วุรุฬหิไพบูลย์ในพระพุทธศาสนา เทอญ

นอกจากท่านจะเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสและเจ้าอาวาสมาถึง ๓๘ ปีแล้ว ยังได้ทำกิจพระศาสนาอีกเป็นอันมาก คือ
       ๑.  เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมในสำนักวัดมกุฏกษัตริยารามมาหลายปี จนศิษย์สามารถเป็นครูสอนแทนได้
       ๒. เป็นครูสอนนักธรรมเป็นองค์แรกของวัดมกุฏกษัตริยาราม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็นต้นมา จนศิษย์สามารถเป็นครูสอนแทนได้เช่นเดียวกัน
       ๓. เป็นผู้สอนธรรมวินัยและโดยเฉพาะวินัยบัญญัติแก่ภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ในพรรษามาจนถึงปีสุดท้ายก่อนถึงมรณภาพ
       ๔. เป็นกรรมการสนามหลวงในการสอบบาลี ตั้งแต่ยังตั้งกองสอบไล่อยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๑
       ๕. เป็นกรรมการสนามหลวงฝ่ายนักธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๖ จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๑
       ๖. เป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ จนถึงมรณภาพ (พ.ศ. ๒๔๖๗)
     ๗. เป็นแม่กองธรรมสนามมณฑลราชบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ และเป็นแม่กองธรรมสาขาสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗
      ๘. เป็นแม่กองธรรมสนามหลวงทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงลาพักเพราะอาพาธ
ท่านเป็นผู้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการสอบนักธรรมหลายอย่าง เช่น กำหนดวันสอบ  การออกข้อสอบ (วิชาละ ๗ ข้อแทน ๑๔ ข้อ)  วิธีสอบ การบัญชี ระเบียบข้อบังคับ หลักสูตร (ใช้พุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๒ สำหรับเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นโท และเล่ม ๓ สำหรับนักธรรมชั้นเอก)  เริ่มประมวลประกาศระเบียบบัญชี พร้อมทั้งปัญหาและเฉลยจัดพิมพ์เป็นเล่ม สำหรับแจกแก่คณะกรรมการ ซึ่งยังคงใช้ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้
      ๙. เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง และเป็นรองประธานมหาเถรสมาคมบัญชาการแทนพระองค์เจ้าพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ และได้บริหารงานแทนประธานมหาเถรสมาคมอีกหลายครั้ง
      ๑๐. เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ และได้รับเลือกเป็นรองประธานสังฆสภา เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ท่านได้รับอาราธนาให้ตรวจชำระคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถากับปกรณ์วิเสส คือ อปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก ในคัมภีร์ขุททกนิกาย อัฏฐสาลินี อรรถกถา อภิธัมมสังคณี และมิลินทปัญหา

เมื่อทำบุญอายุครบ ๖๐ ปี ท่านได้หล่อพระพุทธรูปด้วยทองสำริดนั่งขัดสมาธิแบบปาละไว้ ๑ องค์ และสร้างแทนหินอ่อนสำหรับตั้งพระพุทธรูปนั้นไว้ในพระวิหารคด เพื่อเป็นที่บรรจุอัฐิของท่าน

ท่านมีโรคลำไส้ประจำตัว ภายหลังได้อาพาธเกี่ยวกับโรคไต และโรคหัวใจพิการ ถึงมรณภาพที่กุฏิเจ้าอาวาส เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ตรงกับแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา เวลา ๐๒.๓๐ นาฬิกา  สิริอายุได้ ๗๐ ปี ๕ เดือน ๗ วัน   ๕๑ พรรษา  เป็นเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้ ๒๖ ปี ๔ เดือน ๒๕ วัน

วัดมกุฏกษัตริยารามถือเอาวันมรณภาพของท่านคือวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน เป็นวันบำเพ็ญกุศลถวายอดีตเจ้าอาวาสทุกองค์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นต้นมาตราบจนทุกวันนี้

ชั่วหรือดีที่ทำ กรรมทั้งหลาย
ไม่หนีหายสูญสิ้น ไปถิ่นไหน
ย่อมอยู่ดีกินดี ไม่มีภัย
รวมเก็บไว้ที่จิต ติดตัวเรา
อนิจจังทั้งนั้น ไม่ทันคิด
พอเห็นฤทธิ์อนิจจัง ลงนั่งเหงา
ว่าโอ้โอ๋อกเอย เอ๋ยอกเรา
มามัวเมานิจจัง จีรังกาล
                     
                                                      
....อุทานธรรม (พระศาสนโศภน)





รวบรวมเรียบเรียง โดย กิมเล้ง :http://www.sookjai.com

ข้อมูล
- อังกุรปัญญานุสรณ์ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) , ๒๕๔๕
- http://www.mua54.org
- http://www.gigcomputer.net





.

5427  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / พระธรรมปาโมกข์ รูปที่ ๔ : พระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส) เมื่อ: 14 เมษายน 2555 15:56:58

พระธรรมปาโมกข์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์



http://image.uamulet.com/uauctions/UAKGlkImages/2010/9/6341958372599350472.JPG
พระธรรมปาโมกข์ (แย้ม  อุปวิกาโส) วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสิมาราม  กรุงเทพมหานคร  


พระธรรมปาโมกข์
รูปที่ ๔
(แย้ม  อุปวิกาโส)



พระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส)  วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสิมาราม  นามฉายาว่า อุปวิกาโส  เป็นชาวบ้านพลูหลวง  แขวงจังหวัดสุพรรณบุรี  เกิดในรัชกาลที่ ๔  เมื่อ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๒๗ พ.ศ. ๒๔๐๘  หรือตรงกับวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๐๘  

ในรัชกาลที่ ๕  เมื่ออายุได้ ๑๙ ปี  มาบวชเป็นสามเณรที่วัดราชประดิษฐ์ในกรุงเทพฯ  เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๒๖  สมเด็จพระสังฆราช (สา)  เมื่อยังดำรงพระยศเป็นที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์  เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว เล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักอาจารย์รอดจนอายุครบอุปสมบท  จึงได้อุปสมบทที่วัดราชประดิษฐ์  เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘  สมเด็จพระสังฆราช (สา)  เป็นพระอุปัชฌาย์  ตั้งแต่อุปสมบทแล้ว ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมต่อสมเด็จพระสังฆราช (สา) เป็นพื้น  และเรียนต่ออาจารย์บุษย์บ้าง

ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งแรกเมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ หาได้เป็นเปรียญไม่  แปลครั้งที่ ๒ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค  ต่อมาถึงปีมะแม พ.ศ. ๒๔๓๘  เข้าแปลครั้งที่ ๓  แปลได้อีก ๓ ประโยค  รวมเป็น ๖ ประโยค

ได้เปนถานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราช (สา)  แต่เมื่อยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์นั้นหลายตำแหน่ง  ตั้งแต่เป็นพระครูสมุห์เป็นต้น  แล้วเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นพระครูสังฆวิจารย์  พระครูธรรมรูจี  พระครูธรรมราต  พระครูวรวงศา  ครั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (สา)  ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช  ก็ได้เลื่อนเป็นพระครูธรรมกถาสุนทร แล้วเป็นพระครูปลัดอวาจีคณานุสิชฌน์  โดยลำดับมา

เมื่อสมเด็จพระสังฆราช (สา  สิ้นพระชนม์แล้ว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระอวาจีคณานุสิชฌน์  ต่อมาเมื่อพระสาสนโสภณ (อ่อน)  ซึ่งครองวัดราชประดิษฐ์ต่อจากสมเด็จพระสังฆราช (สา) ถึงมรณภาพ  ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐ์ นับเป็นองค์ที่ ๓ โดยลำดับ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นต้นมา

ถึงรัชกาลที่ ๖  ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ ที่พระเทพกวี เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ปีชวด พ.ศ. ๒๔๕๕ แล้วเลื่อนขึ้นเป็น พระธรรมปาโมกข์   เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๖  ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์  เจ้าคณะรองฝ่ายอรัญวาสี  เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๖

ครั้นวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘  ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเป็นที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะรองหนกลาง  มีสำเนาประกาศพระบรมราชโองการสถาปนา ดังนี้

ประกาศสถาปนา
ศุภมัสดุ  พระพุทธศาสนกาล ๒๔๖๘  พรรษา  ปัตยุบันสมัย  พฤศจิกายนมาศ  นวมทิน  จันทรวาร  กาลกำหนด

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี  ศรีสินทรมหาวชิราวุธ  เอกอัครมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานารถมหาสมมตวงศ์  อติศัยพงศวิมลรัตน  วรขัตติยราชนิกโรดม  จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ  อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี  จักรีบรมนารถ  จุฬาลงกรณราชวรางกูร  บรมมกุฎนเรนทร์สูรสันตติวงศวิสิษฐ  สุสาธิตบุรพาธิการ  อดุลยกฤษฎาภินิหารอติเรกบุญฤทธิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค  มหาชโนตตะมางคประณตบาทบงกชยุคล  ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมาลยทิพยเทพาวตาร   ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ  สรรพเทเวศรานุรักษ์  ปุริมศักดิสมญาเทพทวาราวดี  ศรีมหาบุรุษสุตสมบัติ  เสนางคนิกร  รัตนอัศวโกศลประพนธปรีชา  มัทวสมาจาร  บริบูรณคุณสาร  สยามาทินครวรุตเมกราชดิลก  มหาปริวารนายกอนันต  มหันตวรฤทธิเดช  สรรพวิเศษศิรินธร  บรมชนกาดิศรสมมต  ประสิทธิวรยศมโหดม  บรมราชสมบัติ  นพปฎลเสวตรฉัตราดิฉัตร  ศิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิสิต  สรรพทศทิศวิชิตไชย  สกลมไหศวริยมหาสวามินทร  มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม  บรมนารถชาติอาชาวไศรย  พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ  อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี  เมตตากรุณาสีตลหฤไทย  อโนปไมยบุญการ  สกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร์  ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช  บรมนารถบพิตร  พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 ทรงพระราชดำริว่า  พระอุบาลีคุณูปมาจารย์  มีความรอบรู้แตกฉานในพระปริยัติธรรมและชำนาญตำราโหราศาสตร์  กอปรด้วยวัตตจริยา  สมจริยา  รัตตัญญุตาคุณ  ได้รับภาระพระพุทธศาสนาสั่งสอนมหาชนให้เกิดศรัทธาเลื่อมใส  ในสัมมาทิฐิมาช้านาน  บัดนี้ มีพรรษายุกาลมากแล้ว  และบรรดาพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของสมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว สา) วัดราชประดิษฐ์ฯ  ซึ่งมีชนมชีพอยู่ ณ บัดนี้ ก็เหลือแต่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์องค์เดียว  ได้เอาใจใส่รักษาขนบธรรมเนียมแห่งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น  ให้เป็นแบบแผนปฏิบัติมั่นคงมาจนบัดนี้  ซึ่งนับว่า เป็นคุณสมบัติสำคัญอีกส่วนหนึ่ง สมควรจะยกย่องอิสสริยศักดิ์ให้สูงขึ้น

จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นพระราชาคณะมีราชทินนามตามจารึกในหิรัณย์บัตรว่า พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณ   ตรีปิฎกธรรมาลังการวิภูษิต  มัชฌิมคณิศร  บวรสังฆาราม  คามวาสี  สังฆนายก  สถิต ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวง เจ้าคณะรองหนกลาง มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป คือ
พระครูปลัดสุวัฒนพรหมจริยคุณ สมบุรณสมาจารวัตร มัชฌิมสังฆนายก ธุรวาหะ ๑
พระครูวินัยธร ๑
พระครูธรรมธร ๑
พระครูพุทธพากย์ประกาศ ๑
พระธรรมศาสน์อุโฆษ ๑
พระครูสังฆบริหาร ๑
พระครูสมุห์ ๑
 พระครูใบฎีกา ๑

พระพรหมมุนี (แย้ม) ถึงมรณภาพด้วยโรคอัมพาต เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๔  สิริชนมายุได้ ๖๗ ปี







รวบรวมเรียบเรียง โดย กิมเล้ง : http://www.sookjai.com

ข้อมูล
- อังกุรปัญญานุสรณ์ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) , ๒๕๔๕
- www.tongzweb.com[/size]




.
5428  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / พระธรรมปาโมกข์ รูปที่ ๓ : พระธรรมปาโมกข์ (ถม วราสโย) เมื่อ: 14 เมษายน 2555 14:07:56
พระธรรมปาโมกข์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์

พระธรรมปาโมกข์ (ถม  วราสโย)วัดมงกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร



พระธรรมปาโมกข์
รูปที่ ๓
ถม  วราสโย

พระธรรมปาโมกข์ (วราสโย ถม)   วัดมงกุฎกษัตริยาราม   นามเดิมว่าถม  นามฉายาว่า วราสโย  เกิดเมื่อ ณ วันพุธ แรมค่ำ ๑  เดือนอ้าย  ปีระกา  จุลศักราช ๑๒๒๓  พ.ศ. ๒๔๐๔ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เปนบุตรหลวงสิทธินายเวร ( ขำ สิทธิขมังกุร)  นายเวรมหาดเล็ก ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  บ้านเดิมอยู่ที่ปากคลองคราม ในคลองบางกอกน้อย  จังหวัดธนบุรี

ในรัชกาลที่ ๕ ถวายตัวเปนศิษย์ศึกษาในสำนักสมเด็จพระมหาสมณะแต่ยังดำรงพระยศเปนกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส  แล้วอุปสมบทที่วัดมงกุฎกษัตริย์ เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙   พระพรหมมุนี ( กิตติสาโร แฟง) เมื่อครั้งยังเป็นพระกิตติสารมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์   สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งเปนกรมหมื่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์  แล้วเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระมหาสมณะแลพระพรหมมุนี  (แฟง)   ต่อมาได้เปนตำแหน่งพระครูสมุห์  แล้วเปนพระครูพิศาลสรภัญถานานุกรมในสมเด็จพระมหาสมณะ   เมื่อเสด็จดำรงพระยศเปนเจ้าคณะรองคณะธรรมยุติกา  แล้วเข้าแปลพระปริยัติธรรมที่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓ แปลได้ ๗ ประโยคในคราวเดียวนั้น

ถึงปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๓๖  ทรงตั้งเปนพระราชาคณะที่พระราชกระวีมาอยู่วัดบวรนิเวศ ต่อมาเมื่อโปรดให้เพิ่มตำแหน่งราช เข้าในชั้นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๓๘ จึงทรงเลื่อนเปนพระราชาคณะผู้ใหญ่ในราชทินนามเดิม เมือวันที่ ๒๘ มีนาคม  แลโปรดให้อาราธนากลับไปอยู่วัดมงกุฎกษัตริยาราม มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้

ให้เลื่อนพระราชกระวี เปนพระราชกระวี   นรสีห์พจนปิลันทน์  สถิตย์ ณ วัดมงกุฎกษัตริยารามราชวรวิหาร  พระอารามหลวง  มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๔ ตำลึงบาท  มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๓ รูป คือ พระครูปลัด ๑  พระครูสมุห์ ๑  พระครูใบฎีกา ๑  รวม ๓ รูป

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๘  ตรงกับปีกุญ พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเลื่อนเปนพระเทพกระวี  มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้

ให้เลื่อนพระราชกระวี เปนพระเทพกระวี ศรีวิสุทธินายก  ตรีปิฎกปรีชา  มหาคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี  สถิตย์ณวัดบวรนิเวศวิหาร  พระอารามหลวง  มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๔ ตำลึงกึ่ง  มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๔ รูป คือ พระครูปลัด ๑  พระครูสังฆวิไชย ๑  พระครูสมุห์ ๑  พระครูใบฎีกา ๑  รวม ๔ รูป

ถึง ร.ศ. ๑๒๕  ตรงกับปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๔๙  ทรงเลื่อนเปนพระธรรมปาโมกข์ มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้

ให้เลื่อนพระเทพกระวี  เปนพระธรรมปาโมกข์  ยุตโยคยตินายก  ไตรปิฎกธารี  ธรรรมวาทีคณฤศร  บวรสังฆารามคามวาสี  สถิตย์ณวัดมงกุฏกษัติยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวง มีนิตยภัตรราคาเดือนละ๗ ตำลึง  มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๖ รูป คือ พระครูปลัด  มีนิตยภัตรราคาเดือนละหนึ่งตำลึง ๑  พระครูวินัยธร ๑  พระครูวินัยธรรม ๑  พระครูสังฆพิไชย ๑  พระครูสมุห์ ๑  พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๖ รูป

แต่ภายหลัง พระธรรมปาโมกข์ ถม เกิดขัดกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ   จึงถวายพระพรลาสิกขาบท   โปรดให้ออกจากตำแหน่งพระราชาคณะ  เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๖๒    แล้วย้ายไปอยู่วัดมัชฌันติการาม บางเขนในเดือนนั้น  ครองตนเป็นอุบาสก  ไม่มีครอบครัว  สมาทานนิตยศีล  บำเพ็ญทานการกุศล  เช่นอุทิศเงินสร้างกุฏิวราสัย ที่คณะนอก ๑ หลัง  ถวายที่ดินแก่วัดมกุฏกษัตริยารามและแก่วัดบวรนิเวศวิหาร  บริจาคเงินแก่มหามกุฏราชวิทยาลัย  และถวายพระแก้วมรกตองค์น้อยเป็นสมบัติของวัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นต้น


รวบรวมเรียบเรียง โดยกิมเล้ง : http://www.sookjai.com

ข้อมูล
-อังกุรปัญญานุสรณ์ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๕
- http://www.mua54.org




.
5429  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / พระราชพินัยกรรม (ฉบับพิสดาร) ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อ: 13 เมษายน 2555 11:13:35
.


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ  พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระราชพินัยกรรม (ฉบับพิสดาร) ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖


คุณลักษณะของพินัยกรรมโดยทั่วไปมักเป็นเรื่องการมอบสมบัติหรือแบ่งสันปันส่วนทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่ทายาท รวมทั้งการจัดสรรตำแหน่งทายาทเป็นกรณีส่วนใหญ่

แม้แต่ในหนังสือพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓  ได้บัญญัติคำ “พินัยกรรม”  ไว้ว่าหมายถึง “หนังสือสำคัญที่ทำไว้ก่อนตายเพื่อมอบมรดก”  

อย่างไรก็ตามได้เกิดมีพินัยกรรมที่ค่อนข้างประหลาดขึ้นมาฉบับหนึ่ง ซึ่งในชั้นแรกมิได้ระบุถึงเรื่องการแบ่งมอบสมบัติมรดกให้แก่ผู้ใดไว้เลย   คงระบุแต่เพียงการจัดพิธีศพเท่านั้น  ดังที่ปรากฏในเรื่องราวพระราชพินัยกรรมของล้นเกล้าฯ  รัชกาลที่ ๖   ที่จะนำเสนอดังนี้

หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๔๕๓   สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร    ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ บรมราชาภิเศกเป็นพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ  พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   พระมหากษัตริย์ลำดับพระองค์ที่ 6  แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์       ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุ ๓๐ พรรษา และยังไม่ทรงมีพระชายาหรือหม่อมห้ามมาก่อน        ในขณะที่พระราชอนุชาส่วนใหญ่ทรงมีพระชายากันเกือบทุกพระองค์แล้ว     พระองค์ยังทรงดำรงพระองค์เป็นโสดอยู่ตลอดมา เนื่องจากทรงหมกมุ่นเอาจริงเอาจังอยู่กับพระราชกิจเป็นเนืองนิตย์มาแต่ครั้งขณะทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ     ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะใช้เวลาในช่วงต้นรัชกาลปฏิบัติพระราชกิจในราชการแผ่นดินให้ลุล่วงไปด้วยดีเสียก่อน   ด้วยในระยะเวลานั้นเป็นระยะที่พระองค์ทรงเริ่มปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองขนานใหญ่ตามแบบอย่างวิธีบริหารราชการแผ่นดินของยุโรป   เนื่องจากภัยของจักรวรรดินิยมกำลังใกล้บ้านเมืองเข้ามาทุกที  ทรงทราบดีว่าชาติมหาอำนาจในยุโรปได้บุกรุกเอาดินแดนในทวีปเอเชียซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับดินแดนไทยไปเป็นประเทศเมืองขึ้น   ถ้าหากว่าภาวะของบ้านเมืองยังอยู่ในลักษณะนี้ต่อไป  ก็น่ากลัวอันตรายว่าจะไม่พ้นอำนาจการรุกรานนั้น    โดยทรงลืมตระหนักไปว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่พระองค์จะต้องมีองค์รัชทายาทสืบราชบัลลังก์ต่อไป   แต่กว่าจะทรงนึกขึ้นได้วันเวลาก็ได้ผ่านล่วงเลยมาถึงตอนปลายรัชกาลเสียแล้ว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระโรคภายในมาแต่ยังทรงพระเยาว์  พระสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง  ทรงรู้ว่าคงมีพระชนม์ชีพอยู่ได้ไม่นานนัก ดังนั้น ในเวลาต่อมาจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้จัดทำพระราชพินัยกรรมขึ้นไว้ฉบับหนึ่งเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๓   ภายหลังครองราชย์สมบัติได้ ๑๐ ปีเศษ   และมีพระชนมายุได้ ๔๐ พรรษา   ก่อนเวลาสวรรคตเพียง ๕ ปี   ในขณะนั้นพระองค์เสด็จประทับ ณ พระราชวังพญาไทหรือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน  มีผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  คือ
       - มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี  (ม.ร.ว. ปุ้ม  มาลากุล)   เสนาบดีกระทรวงวัง
       - จางวางเอกและพลโทพระยาประสิทธิ์ศุภการ   (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ)   ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กและสมุหราชองครักษ์
       - จางวางโทพระยาอนิรุทธเทวา  (ม,ล.ฟื้น  พึ่งบุญ)  อธิบดีกรมมหาดเล็ก
       - จางวางโทพระยาสุจริตธำรง  (โถ  สุจริตกุล)   อธิบดีกรมชาวที่
       - จางวางตรีพระยาราชสาสน์โสภณ (สะอาด  ชูโต) ราชเลขานุการในพระองค์

พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า...เวลานี้ข้าพเจ้ากำลังมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์  จึงขอสั่งข้อความไว้ดังต่อไปนี้
        ๑.  ถ้าข้าพเจ้าสวรรคตลง ณ แห่งหนึ่งแห่งใด นอกจากในพระบรมมหาราชวังให้อัญเชิญพระบรมศพโดยเงียบ ๆ เข้าไปยังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน  ให้จัดการสรงน้ำพระบรมศพในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน และจึงให้เชิญไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
        ๒. ในเวลาที่ตั้งพระบรมศพที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และในเวลาอื่น ๆ ต่อไปนี้ตลอด   ห้ามมิให้มีนางร้องไห้  ถ้าผู้ใดรักใคร่ข้าพเจ้าจริง  ปรารถนาจะร้องไห้ ก็ให้ร้องไห้จริง ๆ เถิด อย่าร้องอย่างเล่นละครเลย *
        ๓. ในการทำบุญ ๗ วัน    ทุก ๆ ๗ วัน ไปจนถึงงานพระเมรุ  ขอให้นิมนต์พระซึ่งข้าพเจ้าได้เคยชอบพอมาเทศน์   อย่าได้นิมนต์ตามยศ   และนอกนั้นก็ให้นิมนต์พระมหาเปรียญที่มีท่าทางจะเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาต่อไป
        ๔. งานพระเมรุ  ขอให้กำหนดภายหลังวันสวรรคตโดยเร็ววันที่สุดที่จะทำได้   ถ้าจะได้ภายในฤดูแล้งแห่งปีสวรรคตแล้วก็ยิ่งดี  เพราะการไว้พระบรมศพนาน ๆ  เป็นการสิ้นเปลืองเปล่า ๆ
        ๕. ในการทำบุญ ๗ วัน เมื่อไว้พระบรมศพก็ดี และในงานพระเมรุก็ดี ขอให้จัดการทำพิธีกงเต็ก**   ถ้าไม่มีใครศรัทธาทำให้   ข้าพเจ้าขอให้ทายาทของข้าพเจ้าหานักพรตอานัมนิกาย  จีนนิกาย  มาทำให้ข้าพเจ้า
        ๖. ส่วนงานพระเมรุ  ขอให้ทางวังตัดกำหนดการลงให้น้อย  คือตัวพระเมรุให้ปลูกด้วยถาวรวัตถุ  ใช้วัตถุนั้นเองเป็นพลับพลาทรงธรรม
        ๗. ก่อนที่จะยกพระบรมศพไปสู่พระเมรุ  ให้มีงานศราทธพรต*** ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทวันเดียว
        ๘. ญาติวงศ์ของข้าพเจ้าและข้าราชการกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ถ้ามีความปรารถนาจะทำบุญให้ข้าพเจ้า ก็ให้ทำเสียให้เสร็จในขณะที่ตั้งพระบรมศพอยู่ก่อนงานพระเมรุ  ส่วนงานพระเมรุขอให้เป็นงานหลวงอย่างเดียว
        ๙. สังเค็ต**** ขอให้จัดของที่จะเป็นประโยชน์สำหรับพระสงฆ์ที่จะได้รับไป และให้เลือกพระสงฆ์ที่จะได้สังเค็ตนั้น ให้เลือกพระองค์ที่จะใช้สังเค็ตจริง ๆ จะไม่เอาไปขาย
       ๑๐. ส่วนของแจก ขอให้เลือกเป็นหนังสือ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเนื่องด้วยกิจการที่ข้าพเจ้าได้ทำเป็นประโยชน์มาแล้วแก่แผ่นดิน  อีกอย่างหนึ่งขอให้เป็นหนังสือที่จะเป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
       ๑๑. ในการแห่พระบรมศพ ตั้งแต่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปถึงวัดพระเชตุพน  ให้ใช้พระยานมาศตามประเพณี  จากวัดพระเชตุพนไปพระเมรุ  ขอให้จัดรถเสียใหม่เป็นรถปืนใหญ่บรรทุกพระบรมศพ เพราะข้าพเจ้าเป็นทหาร อยากจะใคร่เดินทางในระยะที่สุดนี้อย่างทหาร
       ๑๒. ในขบวนแห่นี้ นอกจากทหาร  ขอให้จัดมีเสือป่าและลูกเสือให้สมทบกระบวนด้วย  แลขอให้นักเรียนโรงเรียนพระบรมราชูปถัมภ์*****ได้เข้ากระบวนด้วย
       ๑๓. การโยนโปรย ขอให้งดไม่ต้องมีทุกระยะ  และพระโกศขอให้ใช้เจ้าหน้าที่กรมภูษามาลา
       ๑๔. การอ่านพระอภิธรรมนำพระบรมศพ   ถ้าสิ้นสมเด็จพระมหาสมณะกรมพระยาวชิรญาณวโรรส และพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ไปแล้ว   ขอให้นิมนต์พระญาณวราภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น)  วัดบวรนิเวศน์  หรือพระราชสุธี (อุปโม)  วัดราชาธิวาส  แต่ถ้าแม้ท่านทั้งสองนี้ จะนำไม่ได้ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งแล้ว  จึงให้นิมนต์พระราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์สูงกว่ารูปใด ๆ ในคณะธรรมยุติกนิกาย
         ๑๕. ในการถวายพระเพลิง  เมื่อแตรทหารบกบรรเลงเพลงสรรเสริญบารมีจบแล้ว  ขอให้รวมแตรสั้นเป่าเพลงสัญญาณนอน
         ๑๖. ส่วนงานพระบรมอัฐิ  ขอให้ทำตามระเบียบที่เคยทำมาแล้วเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
๑๗. พระอังคาร ขอให้บรรจุใต้ฐานพระพุทธชินสีห์ในวัดบวรนิเวศวิหารส่วนหนึ่ง  อีกส่วนหนึ่งขอให้กันเอาไว้ไปบรรจุใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์  ที่พระปฐมเจดีย์ในโอกาสอันเหมาะซึ่งไม่ติดต่อกับงานพระเมรุ

พระบรมราชโองการนี้  ได้กระทำไว้เป็น ๓ ฉบับ ความต้องกัน  พระราชทานให้เสนาบดีกระทรวงวังรักษาไว้ฉบับหนึ่ง  ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กรักษาไว้ฉบับหนึ่ง  ราชเลขาธิการรักษาไว้ฉบับหนึ่ง  และทรงกำชับเจ้าหน้าที่ทั้งสามนี้ให้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้เสด็จขึ้นเสวยสืบสันตติวงศ์ เพื่อได้ทรงทราบพระราชประสงค์นี้โดยตลอดถ้วนถี่
                                (พระปรมาภิไธย)  ราม วชิราวุธ ปร.  ได้ตรวจถูกต้องกับต้นฉบับเดิมแล้ว
                                (ลงชื่อ)  พระยาราชสาส์นโสภณ




 
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 มีพระกำเนิดเป็นสามัญชนในสกุลอภัยวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2448  มีพระนามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์ (ติ๋ว อภัยวงศ์)


ตอนปลายรัชกาลเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘   ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตเพียงไม่กี่เดือน  ในขณะนั้นพระนางเจ้าสุวัทนา  พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระครรภ์แก่แล้ว  จึงได้ทรงเรียกนำพระราชพินัยกรรมฉบับดังกล่าวมาเพิ่มเติมในส่วนเกี่ยวกับพระราชมรดกไว้ดังนี้  

ถ้าพระองค์ได้พระราชโอรส ให้ทรงได้รับพระราชทานวังพญาไท  และพระราชวังสนามจันทร์ที่จังหวัดนครปฐมเป็นพระราชมรดก  และให้ทรงได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไป  ในขณะที่ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะอยู่นั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา (รัชกาลที่ ๗ ในเวลาต่อมา) ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  แต่ถ้าทรงได้พระราชธิดา ก็ได้ขอให้สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินที่ได้สืบสันตติวงศ์ต่อ ๆ ไป ทรงพระมหากรุณาถวายการเลี้ยงดูตามพระเกียรติของสมเด็จเจ้าฟ้าต่อไป

ในเวลาต่อมาปรากฏว่า พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีได้ถวายการประสูติพระราชธิดา เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑๒ นาฬิกา ๕๐ นาที  ก่อนที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ จะเสด็จสวรรคตเพียง ๑ วัน  ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาสในพระบรมมหาราชวัง   เจ้าพระยารามราฆพ  ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก  ได้อัญเชิญพระราชธิดาไปเข้าเฝ้าแล้วทูลว่าประสูติแล้วเป็นหญิง  พระเจ้าอยู่หัวทรงนิ่งอยู่ชั่วครู่หนึ่ง  ทรงมีพระราชดำรัสด้วยพระสุรเสียงอันแผ่วเบาด้วยความเหนื่อยอ่อนว่า  “ก็ดีเหมือนกัน  มิน่าเล่าได้ยินเสียงพิณพาทย์ประโคม ไม่ได้ยินเสียงปืน”  (ถ้าปืนใหญ่ยิงสลุตแสดงว่าประสูติพระราชโอรส)   ทรงลูบพระเศียรและพระอุระพระราชธิดาด้วยความรักและสงสาร แล้วทรงสะอื้นน้ำพระเนตรไหลลงสู่พระปรางทั้งสองข้าง  รุ่งขึ้นวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘   เมื่ออัญเชิญพระราชธิดามาให้ทอดพระเนตรอีกครั้งหนึ่ง  พระองค์ก็มีพระราชดำรัสไม่ได้เสียแล้ว  และต่อมาในคืนนั้นเองพระองค์ก็ได้เสด็จสวรรคตเมื่อเวลา ๑ นาฬิกา ๔๕ นาที ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานภายในพระบรมมหาราชวัง  ในขณะมีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา  เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี

บรรดาเหล่าข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ก็ได้สนองพระเดชพระคุณตามพระราชพินัยกรรมของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ครบถ้วนตามพระราชประสงค์ทุกประการ.  




* ขบวนนางร้องไห้ :  พระราชพิธีเก่าแก่มีมีแต่โบราณจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕   มีการเกณฑ์บรรดานางในขับกล่อมโหยหวนด้วยอาการเศร้าโศก  เพื่อถวายพระเกียรติยศในงานพระบรมศพ   (จึงถือว่าได้ถูกยกเลิกโดยปริยายในสมัยรัชกาลที่ ๖)
**กงเต๊ก : การที่ลูกหลานทำบุญกุศลทั้งทำแทนตัวผู้ตายและทำให้ผู้ตายด้วย เพื่อให้ผู้ตายได้กุศลผลบุญมากพอที่จะไปขึ้นสวรรค์    
***ศราทธพรต : พิธีทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
****สังเค็ด : ทานวัตถุมีตู้พระธรรม โต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่าเครื่องสังเค็ด

*****รัชกาลที่ ๖ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว



รวบรวมเรียบเรียง โดยกิมเล้ง : http://www.sookjai.com

ที่มาข้อมูล
-วารสารความรู้คือประทีป : ผู้พิมพ์ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด, ๒๕๓๙
-ประวัติศาสตร์ ๖ แผ่นดิน : สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, ๒๕๕๔
-พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ : บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, ๒๕๔๖
http://wikipedia.org








.




.

5430  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปรษณีย์ / Re: ไม่ถูกหวยก็ให้มันรู้กันไปข้างนึง (สิวะ) เมื่อ: 13 เมษายน 2555 05:42:38

เซียนหวยตัวจริงต้องอย่างนี้....โอ่งไหตีหวยยากกว่าเจ้าจิ้งจก ตุ๊กแก...ฯลฯ
 เจ้าพวกนั้นมันยังส่ายหัวกระดิกหาง ฯลฯ นะท่าน....








เห็นมะ...ได้เลขเด็ดแล้ว นั่งยิ้มแป้นเชียว






หัวเราะลั่น  หัวเราะลั่น  หัวเราะลั่น  หัวเราะลั่น  หัวเราะลั่น




.
5431  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: สัตว์ป่าหิมพานต์และพระเมรุมาศ(ตอนที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ) เมื่อ: 12 เมษายน 2555 10:20:08




ตอนไปถ่ายภาพชุดนี้เค้ายังไม่ให้ถ่ายภา่พและยังไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปชมพระเมรุมาศเกือบไปแล้วมั๊ยล่ะ


 
ไปเก็บภาพมาได้แบบชิล ๆ   ชิลๆ  ชิลๆ ต้องไม่ธรรมดา


 
กลอกตา  กลอกตา  กลอกตา  กลอกตา  กลอกตา




.



5432  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: สัตว์ป่าหิมพานต์และพระเมรุมาศ(ตอนที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ) เมื่อ: 11 เมษายน 2555 16:18:42






โอ๊ะ  แสดงว่ามีบุญนะเนี่ย...ที่อุตส่าห์เอาตัวรอดกลับมาได้...เจ้า Mck. เตรียมข้าวห่อ+โอเลี้ยง จะไปเยี่ยมแล้วน่ะ





.
5433  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / Re: พระธรรมปาโมกข์ รูปที่ 2 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เมื่อ: 11 เมษายน 2555 13:37:14




     ยังมีต่ออีกนะ   รูปที่ ๓......ถึง ๑๔   สลึมสลือ   สลึมสลือ   สลึมสลือ   โปรดติดตาม





.
5434  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / พระธรรมปาโมกข์ รูปที่ ๒ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เมื่อ: 11 เมษายน 2555 13:33:52
พระธรรมปาโมกข์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์


พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร


พระธรรมปาโมกข์
รูปที่ ๒
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า


พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์  สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ   เป็นพระราชวงศ์ในราชสกุลชมพูนุท  พระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าภุชงค์   พระนามฉายาว่า สิริวฑฺฒโน พระองค์มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าภุชงค์ เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์  กับหม่อมปุ่น  ประสูติเมื่อ ณ วันศุกร์   แรม ๗ ค่ำ เดือนอ้าย  ปีมะแม  จุลศักราช ๑๒๒๑  หรือตรงกับวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒  ที่วังหน้าวัดราชบพิธฯ   มุมถนนราชบพิธกับถนนเฟื่องนคร   ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)    เป็นหม่อมเจ้าชายใหญ่  ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๓  กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์    เมื่อยังทรงพระเยาว์ได้เล่าเรียนอักขรสมัยในสำนักเจ้าจอมมารดาสัมฤทธ  ซึ่งเป็นย่า  

ถึงรัชกาลที่ ๕  เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๔  พอเกสากันต์แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ  ให้ตามเสด็จไปในเรือที่นั่งบางกอกคราวเสด็จประพาสอินเดีย  จนถึงเมืองสิงคโปร์    แล้วให้ทรงอยู่ศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียน Raffles เมืองสิงคโปร์  กับหม่อมเจ้าองค์อื่น ๆ ที่ไปในคราวเดียวกัน   หลังจากนั้น ๙ เดือน  เสด็จกลับพระนคร   พอดีกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษสำหรับเจ้านายขึ้น   จึงมีรับสั่งให้ทรงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสอนภาษาที่นี่โดยไม่ได้เสด็จกลับไปสิงคโปร์อีก   นอกจากนี้ยังทรงศึกษาอักษรขอมจากพระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย อาจารยางกูร) จนทรงผนวชในปี พ.ศ. ๒๔๑๖

ครั้นพระชนมายุได้ 14 พรรษา เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖  ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ขณะดำรงพระยศเปนกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์เปนพระอุปัชฌาย์   พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรขณะดำรงพระยศเปนหม่อมเจ้าพระราชาคณะเป็นพระอาจารย์     ทรงผนวชแล้วประทับ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม      ในปีนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงผนวชประทับอยู่ที่วัดพระพุทธรัตนสถาน ๑๕ วัน  เวลาเสด็จบิณฑบาตก็โปรดให้ตามเสด็จด้วยทุกคราว จนเสด็จลาผนวช  

ครั้นออกพรรษาแล้ว  ทรงศรัทธาในสมณเพศจึงไม่ลาผนวช  จับเล่าเรียนภาษาบาลีต่อพระครูบัณฑรธรรมสโมธาน (สด)  แต่ยังเป็นอาจารย์ให้นิสสัยพระและให้ศีลสามเณรอยู่วัดราชบพิธ  และเรียนหนังสือไทยต่อพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น) ต่อมาอีก  ครั้นพระครูบัณฑรธรรมสโมธานไปครองวัดนรนารถ จึงเรียนพระปริยัติธรรมต่อมากับหลวงญาณภิรมย์ (โพ) บ้าง และอาจารย์รอดบ้าง และได้เรียนภาษาสังสกฤตต่อพราหมณ์ซึ่งโปรดให้มาสอนอยู่คราว ๑  ครั้นพระชัณษาใกล้จะครบอุปสมบท  จึงทรงศึกษาพระวินัยแลเล่าสวดมนต์และปาฏิโมกข์จนจบ

เมื่ออายุครบอุปสมบท ได้โปรดให้อุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ)เป็นพระอุปัชฌาย์   สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์  ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณที่พระธรรมวโรดมเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณกร ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่หม่อมเจ้าพระราชาคณะเป็นพระบรรพชาจารย์   ได้รับพระนามฉายาว่า "สิริวฑฺฒโน" ผนวชแล้วกลับมาประทับที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามตามเดิม

ถึงปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๒๒  โปรดให้ทรงอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ) เป็นพระอุปัชฌาย์  ทรงผนวชแล้วกลับมาอยู่วัดราชบพิธตามเดิม  เล่าเรียนพระปริยัติธรรมต่อขุนปรีชานุสาสน์ (โต)  และอาจารย์รอดต่อมา  แล้วไปเรียนต่อสมเด็จพระสังฆราช (สา)  แต่เมื่อยังเป็นที่พระธรรมวโรดม ที่วัดราชประดิษฐ์บ้าง

ถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๒๕  โปรดให้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์  ได้แปลถวายหน้าพระที่นั่งวัน ๑  ได้เป็นเปรียญ ๔ ประโยค  ได้พระราชทานตาลิปัตรเปรียญพื้นตาดปักดิ้นเป็นเกรียติยศ  ต่อมาถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๒๙  ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกครั้ง ๑  ได้อีกประโยค ๑  รวมเป็น ๕ ประโยค

ถึงปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๐  ทรงตั้งเป็นหม่อมเจ้าพระราชาคณะ  มีราชทินนามว่า หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต  คราวเดียวกับทรงตั้งพระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรที่วัดราชบพิธ  เมื่อวันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ แรม ๑๐ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน  

ถึงปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒  ทรงเลื่อนสมณศักดิเป็นชั้นธรรม  ตำแหน่งพระธรรมปาโมกข์ เมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๐ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๘

ถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๔๙  ทรงสถาปนาเป็นพระองค์เจ้า  และมีสมณศักดิเสมอพระพรหมมุนี  เจ้าคณะรองในคณะกลาง เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ มีสำเนาประกาศดังนี้


คำประกาศ
ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาล  เปนอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๔๘ พรรณนา ปัตยุบันกาล จันทรคตินิยม ตุรังคสังวัจฉระ ไพศาขมาศสุกรปักษ์ นวมีดิถีภุมวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ พฤษภาคมมาศ ปฐมมาสาหคุณพิเศษปริเฉทกาลกำหนด

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ฯลฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรตเปนพระโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ์ ถ้า
ดำรงอยู่ในฆราวาสได้รับราชการดี ก็จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเปนพระองค์เจ้าให้เปนพระเกียรติยศตามราชประเพณีมีมา  หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรตนี้  โดยว่าทรงผนวชมิได้รับราชการแผ่นดินก็บริบูรณ์ด้วยวิจารณญาณ  ชำนาญในพระปริยัติธรรม เปนเปรียญ ๕ ประโยค ทรงคุณวุฒิวิริยภาพ ขวนขวายในธุระพระพุทธสาสนา ได้เคยเปนผู้ตรวจชำระพระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์แลเปนสภานายกแห่งมหามกุฎราชวิทยาลัย  ได้สั่งสอนพุทธมามกชนทั้งคฤหัสถ์แลบรรพชิต  ให้เข้าใจในกิจที่ควรปฏิบัติตามพุทธโอวาท  ประกอบด้วยมารยาตรควรแก่สมณวัตร  ปกครองสมณบริษัทโดยเรียบร้อย  มีอัธยาไศรยเมตตาต่อสหธรรมมิกพรหมจารรย์มั่นคงในพุทธสาสนา  เปนอจลพรหมจริยาภิรัต  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สถาปนาเปนหม่อมเจ้าพระราชาคณะ  แลต่อมาก็ได้ทรงรับอิศริยศักดิเพิ่มตำแหน่งเปนหม่อมเจ้าพระราชาคณะผู้ใหญ่เทียบยศเสมอเทพ  ภายหลังได้ทรงรับอิศริยยศตำแหน่งพระธรรมปาโมกข์  ได้รักษาสมณศักดิทั้งประเพณีราชการเรียบร้อยตลอดมา  ควรเปนสมณทายาทในสมณวงศ์ดำรงคุณธรรมสัมมาปฏิบัติ  ย่อมเปนที่เคารพนับถือแห่งพุทธสาสนิกบริสัช  แลได้เปนพระกรรมวาจาจารย์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเมื่อทรงผนวชเปนภิกษุ แลเปนผู้ถวายสรณแลศีลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเมื่อทรงผนวชเปนสมเณรหลายพระองค์ แลเปนพระอุปัธยาจารย์แห่งกุลบุตรเปนอันมาก  อนึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้ทรงผนวชในพระพุทธสาสนา และดำรงคุณธรรมดังกล่าวมาแล้ว ในเวลานี้ก็มีน้อยพระองค์ สมควรเพิ่มพระอิศริยยศในราชตระกูลแลสมณศักดิให้ยิ่งขึ้น

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาเลื่อนอิศริยยศหม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรตเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า มีราชทินนามตามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพระสถาพรพิริยพรต อังคีรสสาสนธำรง ราชวรพงศ์ศักดิพิบุลย์ สุนทรอรรถปริยัติโกศล โสภณศีลสมาจารวัตร มัชฌิมคณานุนายก สาสนดิลกบพิตร อัชนาม สถิต  ณ วัดราชบพิธสถิตย์มหาสิมารามราชวรวิหาร พระอารามหลวง ทรงศักดินา ๓๐๐๐ มีตำแหน่งสมณศักดิที่พระพรหมมุนี เจ้าคณะรองในคณะกลาง มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๘ ตำลึง มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๘ รูป คือ

พระครูปลัดพิพัฒน์พรหมจริยคุณ สมบุรณคณาธิปัติ มัชฌิมสังฆานุนายก ปิฎกธรรมรักขิต มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๒ ตำลึง ๑
พระครูวินัยธร ๑
พระครูวินัยธรรม ๑
พระครูพุทธพากย์ประกาศ ๑
พระครูธรรมสาสน์อุโฆษ ๑
พระครูสังฆบริหาร ๑
พระครูสมุห์ ๑
พระครูใบฎีกา ๑  รวม ๘ รูป

ขออาราธนาให้ทรงรับธุระพระพุทธสาสนา เปนภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์พระภิกษุสงฆ์สามเณรในคณะตามสมควรแก่พระกำลังแลอิศริยยศซึ่งพระราชทานนี้  จงเจริญพระชนมายุพรรณ ศุข พละ ปฏิภาณ คุณสารสมบัติ สรรพศิริสวัสดิ์พิพัฒน์สถาพร จิรฐิติกาลในพระพุทธสาสนาเทอญฯ

ถึงรัชกาลที่ ๖ เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๕๓  โปรดให้ตั้งการพิธีตั้งกรมที่วัดราชบพิธ  ทรงสถาปนาเปนพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ สมณศักดิเสมอสมเด็จพระพุฒาจารย์เมื่อ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม

เพราะเหตุสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิญาณวโรรส สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ครั้นถึงวันที่ ๒๐ สิงหาคม จึงทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรศิริวัฒน์ เป็นพระเจ้าวรวงศเธอและทรงเลื่อนสมณศักดิขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้าตำแหน่งสกลสังฆปรินายก มีประกาศพระบรมราชโองการดังนี้


ประกาศ
สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
มีพระบรมราชโองการ ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศทราบทั่วกัน

ด้วยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายกปธานาธิบดีสงฆ์สิ้นพระชนม์ล่วงลับไปเสียแล้ว ทรงพระราชดำริห์ว่า พระวรวงศเธอ กรมหมื่นชินวรศิริวัฒน์ สมเด็จเจ้าคณะใหญ่หนกลาง ทรงมีคุณูปการในทางพุทธสาสนกิจ สมควรจะดำรงตำแหน่งสนองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสสืบไปได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้ สถาปนาคำนำพระนามและฐานันดรศักดิขึ้น เปนพระเจ้าวรวงศเธอ กรมหมื่นชินวรศิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ดำรงตำแหน่งสกลสังฆปรินายกปธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักรสืบไป

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศไว้ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๔ เปนปีที่ ๑๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

ถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ ในรัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดให้เลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศเธอ กรมหลวง

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๐  สิริพระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา ๕ เดือน ๙ วัน ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา ๑๕ ปี ๘ เดือน ๕ วัน




กิมเล้ง : http://www.sookjai.com





.

5435  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / พระธรรมปาโมกข์ รูปที่ ๑ : พระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) เมื่อ: 11 เมษายน 2555 13:16:23
พระธรรมปาโมกข์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์


พระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร)  วัดมงกุฎกษัตริยาราม (ปัจจุบันเขียนเป็น มกุฏกษัตริยาราม) กรุงเทพมหานคร  
พระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนาม “พระธรรมปาโมกข์”  รูปแรก


พระธรรมปาโมกข์
รูปที่ ๑
(แฟง  กิตฺติสาโร)


     พระพรหมมุนี (แฟง)  วัดมงกุฎกษัตริยาราม (ปัจจุบันเขียนเป็น มกุฏกษัตริยาราม)   นามฉายาว่า กิตฺติสาโร  เกิดในรัชกาลที่ ๓  เมื่อ ณ วันจันทร์ เดือน ๙ ปีระกา  พ.ศ. ๒๓๘๐   ตรงกับวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๘๐  บิดาชื่อ คง  มารดาชื่อ ปาน   บ้านเดิมอยู่คลองสามเสนฝั่งเหนือ  ตรงข้ามกับวัดอภัยทายาราม (วัดมะกอก)  อำเภอดุสิต  จังหวัดพระนคร   เมื่อจวนจะอุปสมบท ได้มาเป็นศิษย์อยู่ในสำนักพระจันทรโคจรคุณ (จนฺทรํสี ยิ้ม)  ครั้งยังเป็นพระครูอยู่วัดโสมนัศวิหาร    และอุปสมบทที่วัดโสมนัศวิหาร  เมื่อปีมะแม  พ.ศ.๒๔๐๒   สมเด็จพระวันรัตน์ (พุทฺธสิริ ทับ)   แต่ครั้งยังเป็นพระพรหมมุนี เป็นอุปัชฌายะ   พระจันทรโคจรคุณ (จนฺทรํสี ยิ้ม) ครั้งยังเป็นพระครูชื่อนั้น เป็นกรรมวาจาจารย์    เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระพรหมมุนี (เหมือน)    แต่เมื่อยังเป็นพระอริยมุนีบ้าง  ในสำนักอาจารย์ทองบ้าง  เมื่อทรงสร้างวัดมงกุฎกษัตริย์  ท่านรับตำแหน่งเป็นพระสมุห์ในถานานุกรมไปอยู่วัดมงกุฎกษัตริย์ด้วย  เมื่อปีมะโรง พศ. ๒๔๑๑

     ถึงรัชกาลที่ ๕  เข้าแปลพระปริยัติธรรมครั้งแรกที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓  ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค  ต่อมาถึงปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙   เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์อีกครั้ง  ๑  แปลได้อีก ๔ ประโยค  รวมเป็น ๗ ประโยค  ถึงปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๒๔  ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระกิตติสารมุนีตามนามฉายาของท่าน  ครองวัดมงกุฎกษัตริย์  ต่อมาถึงปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕  ทรงเลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่  ที่พระเทพโมลี  มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้


คำประกาศ
    ศุภมัสดุ ฯลฯ  (ลงวันศุกร์  เดือน ๔ แรม ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕  ที่ ๑๗ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๑ พร้อมกับทรงตั้งหม่อมเจ้าพิมลธรรม)

     อนึ่งพระราชาคณะที่มีความรู้พระปริยัติธรรมปรากฏในสงฆมณฑลสมควรที่จะเลื่อนอิศริยยศมีอิกหลายรูป  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระกิตติสารมุนี เปนพระเทพโมลีตรีปิฎกธรา มหาธรรมกถึกคณฤศร บวรสังฆาราม ความวาสี สถิต  ณ วัดมงกุฎกษัตริยารามวรวิหาร พระอารามหลวง   มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๔  ตำลึง ๒ บาท  มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๔ รูป คือ พระครูปลัด ๑  พระครูสังฆวิชิต ๑  พระครูสมุห์ ๑  พระครูใบฎีกา ๑  รวม ๔ รูป  ขอพระคุณทั้งปวงซึ่งรับราชทินนามเพิ่มอิศริยยศและนิตยภัตรในครั้งนี้  จงจิรฐิติกาลเจริญอายุวรรณ  ศุขพลปฏิภาณ คุณสารศิริสวัสดิ  ในพระพุทธสาสนาทุกประการเทอญฯ

     ถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๗  ทรงเลื่อนสมณศักดิเป็นพระธรรมปาโมกข์  ชั้นธรรมในคณะธรรมยุติกา เป็นตำแหน่งทรงตั้งขึ้นใหม่  มีสำเนาทรงตั้งดังนี้

คำประกาศ
    ศุภมัสดุ ฯลฯ (ลงวันพฤหัศบดี เดือนอ้าย ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๗ ที่ ๒๐ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓  พร้อมกับทรงตั้งหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์)

     อนึ่งพระราชาคณะที่มีความรอบรู้พระปริยัติธรรมปรากฏในสงฆมณฑล  สมควรที่จะเลื่อนอิศริยยศในสมณศักดิแลพระสงฆ์ซึ่งทรงสมณคุณ  สมควรจะเปนพระราชาคณะแลพระครูมีอิกหลายรูป  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระเทพโมลี  เป็นพระธรรมปาโมกข์ยุตโยคยตินายก  ไตรปิฎกธารี  ธรรมวาทีคณฤศร  บวรสังฆาราม  ความวาสี  สถิต  ณ วัด มงกุฎกษัตริยารามวรวิหาร พระอารามหลวง  มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๕ ตำลึง มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๕ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูวินัยธรรม ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ รวม ๕ รูป  ขอพระคุณทั้งปวงซึ่งรับพระราชทินนามเพิ่มอิศริยยศ แลนิตยภัตรในครั้งนี้ จงจิรฐิติกาล เจริญอายุวรรณ ศุขพลปฏิภาณ คุณสารศิริสวัสดิในพระพุทธสาสนาทุกประการเทอญฯ

พระพรหมมุนี (แฟง) เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนาม “พระธรรมปาโมกข์”  เป็นรูปแรก

     ถึงปีกุน พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเลื่อนสมณศักดิเป็นพระพรหมมุนี เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๘ มีสำเนาประกาศที่ทรงตั้งดังนี้


คำประกาศ
    ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาล  เปนอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๔๒ พรรษา ปัตยุบันกาล จันทรคตินิยม วราหะสังวัจฉระกติกมาศ สุกรปักษ์ อัฐมีดิถี ศุกรวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทร ศก ๑๑๘ พฤศจิกายนมาศ ทะสะมะมาสาหะคุณพิเศษ ปริเฉทกาลกำหนด

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ฯลฯ  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า พระธรรมปาโมกข์   ประกอบไปด้วยวิริยานุภาพอันไพศาล  ทรงคุณวุฒิโดยอเนกประการ  เปนผู้รอบรู้พระปริยัติธรรมแตกฉานด้วยดี  ได้เปนพระอาจารย์แนะนำพระปริยัติธรรมถวาย  พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส  จนถึงได้เสด็จเข้าแปลในที่ประชุมพระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่  เฉพาะน่าพระที่นั่ง  กับได้เปนอุปัธยาจารย์อุปสมบทกุลบุตรผู้มีเลื่อมใสในพระพุทธสาสนา  ให้สำเร็จกิจบรรพชาอุปสมบทตามพระบรมพุทธานุญาต  ทั้งเปนผู้ตรวจชำระพระไตรปิฎกหลวง  ลงพิมพ์สำเร็จทันการพระราชพิธีรัชฎาภิเศก  สมพระราชประสงค์ด้วยรูป ๑  แลเปนกรรมการของมหามกุฏราชวิทยาลัย  ช่วยจัดการเล่าเรียนอักษรสมัยภาษาไทยแลภาษามคธ  บำรุงพุทธสาสนาให้เจริญปรากฏทั่วไปในสยามรัฐมณฑล  สั่งสอนพุทธสาสนิกชนให้ประพฤติชอบตามพระธรรมวินัย  ทั้งพร้อมไปด้วยศีลสมาจารวัตร  มีความปฏิบัติสมควรแก่ธรรมทายาทเรียบร้อยตลอดมา  ควรเปนที่คารวะนับถือของพุทธมามะกะ บริษัททั้งคฤหัสถ์แลบรรพชิต บัดนี้ก็มีพรรษายุกาลเจริญยิ่งขึ้น สมควรจะเปนพระราชาคณะผู้ใหญ่ได้

     จึงมีพระบรมราชโองการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ดำรัสสั่งให้สถาปนา พระธรรมปาโมกข์ เป็นพระพรหมมุนี มีราชทินนามในหิรัญบัตรว่า พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายกตรีปิฎกธรรมาลงกรณ์ มัชฌิมคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต  ณ วัดมงกุฎกษัตริยารามวรวิหาร พระอารามหลวง ตำแหน่งเจ้าคณะรองในคณะกลาง มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๖ ตำลึง มีถานานุศักดิควรตั้งถานานุกรมได้ ๘ รูป คือ

     พระครูปลัดพิพัฒน์พรหมจริยคุณ สมบุรณ์คณาธิปัติ มัชฌิมสังฆานุนายก ปิฎกธรรมรักขิต มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๒ ตำลึง ๑
     พระครูวินัยธร  ๑
     พระครูวินัยธรรม  ๑
     พระครูพุทธพากย์ประกาศ  ๑
     พระครูธรรมสาสน์อุโฆษ     ๑
     พระครูสังฆบริหาร  ๑
     พระครูสมุห์     ๑
     พระครูใบฎีกา  ๑     รวม  ๘  รูป

     ขอให้พระคุณทั้งปวงซึ่งรับราชทินนามแลเพิ่มอิศริยยศในครั้งนี้ จงจิรฐิติกาล เจริญอายุวรรณ  ศุขพลปฏิภาณคุณสารศิริสวัสดิ  ในพระพุทธสาสนาทุกประการเทอญฯ

     พระพรหมมุนี (แฟง)  ถึงมรณภาพ เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๙ ตรงกับเดือน  ๑๒ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓  อายุ ๖๔ ปี





กิมเล้ง : http://www.sookjai.com




.




5436  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / Re: หยุดใจให้ไร้อยาก (สุรศักดิ์ เขมรํสี) เมื่อ: 10 เมษายน 2555 16:40:24
 

  ได้ฟังธรรมพระอาจารย์แล้วสบายใจมาก ๆ  ... ๆ... ๆ. ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม รัก
5437  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: อาบัติปาราชิกยังพอแก้ไขได้ เมื่อ: 10 เมษายน 2555 14:56:39




เป็นคนหนึ่งที่ชอบฟังธรรมของพระอาจารย์สุรศักดิ์  เขมรํสี  หรือพระครูเกษมธรรมทัต แห่งสำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดมเหยงคณ์  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  คือฟังเกือบทุกเช้า ระหว่างเตรียมอาหารใส่บาตร  (เป็นคนตื่นแต่ตี 4 จนเป็นนิสัย)   ท่านพูดโดยสรุปได้ว่าพระสงฆ์ที่ต้องอาบัตินั้น หากได้ปลงอาบัติแล้ว ศีลบริสุทธิ์ขึ้นมาใหม่ได้ แต่บาปนั้นยังติดตัวพระรูปนั้นอยู่ การปลงอาบัติไม่สามารถลบล้างบาปกรรมที่พระสงฆ์รูปนั้นได้กระทำไว้ได้.....แต่ในเรื่องของปาราชิกไม่ทราบมาก่อนค่ะ


 


กรรม12 หลวงพ่อสุรศักดิ์





.
5438  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / โอวาทธรรมท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต เมื่อ: 10 เมษายน 2555 14:31:14


"พระอรหันต์กลางกรุง" พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


โอวาทธรรมท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต


คนเราเมื่อมีลาภก็เสื่อมลาภ  เมื่อมียศก็เสื่อมยศ  เมื่อมีศุขก็มีทุกข์  เมื่อมีสรรเสริญก็มีนินทา
เป็นของคู่กันมาเช่นนี้  จะไปถืออะไรกับปากมนุษย์  ถึงจะดีแสนดีมันก็ติ  ถึงจะชั่วแสนชั่วมันก็ชม
นับประสาอะไร  พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลิศยิ่งกว่ามนุษย์และเทวดายังมีมารผจญ  ยังมีคนนินทาติเตียน
ปุถุชนอย่างเรา จะรอดพ้นจากโลกะธรรมดังกล่าวแล้วไม่ได้
ต้องคิดเสียว่าเขาจะติก็ช่าง ชมก็ช่าง  เราไม่ได้ทำอะไรให้เขาเดือดเนื้อร้อนใจ
ก่อนที่เราจะทำอะไรเราคิดแล้วว่า ไม่เดือดร้อนแก่ตัวเราแลคนอื่น เราจึงทำ
เขาจะนินทาว่าใส่ร้ายอย่างไรก็ช่างเขา  
บุญเราทำกรรมเราไม่สร้าง  พยายามสงบกาย สงบวาจา สงบใจ
จะต้องไปกังวนกลัวใครติเตียนทำไม  ไม่เห็นมีประโยชย์
เปลืองความคิดเปล่า ๆ
ธมฺมวิตกฺโก


                                    
Death is my friend


ก้อนเนื้อที่คอท่านซึ่งบวมออกมาเป็นก้อน ท่านว่าหมอตรวจพบก้อนนุ่มๆอยู่ภายใน แนะนำให้ผ่าตัดออกเพราะเป็นเนื้อร้ายหรือที่เรียกกันว่ามะเร็ง ท่านว่า "จะไปทำมันทำไม Death is my friend อันความตายนั้นไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอะไรเลยเหมือนกับพวกคุณกลับจากที่ทำงานแล้วก็เปลี่ยน "เสื้อผ้า"







.
5439  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / รำลึกครบ 100 ปีไททานิค : 15 เม.ย. 55 เมื่อ: 10 เมษายน 2555 11:22:35


รำลึก 100 ปี “ไททานิค”
 


          
ในภาพยนตร์เรื่องไททานิค บทสรุปของเรื่องราวบนแผ่นฟิล์มคือการอับปางลงอย่างไม่มีวันกลับ พร้อมกับความรักนิรันดร์ของแจ๊คกับโรสที่กลายเป็นตำนานชู้รักเรือล่มอันยิ่งใหญ่ ทว่าในความเป็นจริงหลังจากเรือที่ไม่มีวันจมอย่างไททานิคชนหินโสโครกจนหักเป็นสองท่อนและจมลงเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2455 นั้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของคนอีกกลุ่มที่ต้องรีบทำงานแข็งกับเวลาที่ผ่านไปเพื่อระบุว่าใครรอดและใครเสียชีวิต

เมืองฮาลิแฟกซ์ ในมณฑลโนวาสโกเทียของแคนาดา ท่าเรือใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ใกล้กับจุดที่ไททานิคจมไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 1,200 กิโลเมตร คนในเมืองนี้จึงต้องรับบทบาทสำคัญในโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของศตวรรษที่ 20

เฟรเดอริค ลาร์ดเนอร์ กัปตันเรือแม็คเคย์-เบนเน็ตต์ เรือวางสายโทรเลขใต้ทะเล ซึ่งถูกสร้างมาเพื่อให้แล่นผ่านน้ำแข็งและหมอก มันถูกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับค้นหาสายโทรเลขใต้ทะเลลึกและซ่อมแซมสายเหล่านั้น แต่สำหรับครั้งนี้งานของเขาคือต้องไปถึงจุดเรือจมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และกู้ศพจากเรือไททานิคขึ้นมา ลูกเรือซึ่งเป็นคนท้องถิ่น 75 คนจากหมู่บ้านชาวประมงซึ่งอยู่ใกล้เมืองฮาลิแฟกซ์ที่สุดขนโลงศพขึ้นเรือลำนี้แทนที่สายโทรเลข พวกเขาจะได้รับค่าจ้างสองเท่าสำหรับช่วงเวลาน่ากลัวหลายวันที่รออยู่ข้างหน้าได้

ก่อนที่ไททานิคจะหักสองท่อนและจมลง มีผู้โดยสารเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่สามารถลงเรือชูชีพได้ พวกเขาถูกรับขึ้นเรือโดยสารที่ผ่านมาเพียงลำเดียวที่ไปถึงจุดเกิดเหตุ ส่วนคนที่เหลือถูกทิ้งไว้ให้เสียชีวิต ในคืนที่ไททานิคจม อุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือลบสององศาต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ในสภาพเลวร้ายสุด ๆ เช่นนี้ กัปตันลาร์ดเนอร์รู้ว่าระยะเวลารอดชีวิตโดยเฉลี่ยนั้นไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง

เวลาเดียวกันนั้น จอห์น เฮนรี บาร์นสเตด นายทะเบียนของเมืองฮาลิแฟกซ์ ที่คอยจดบันทึกว่าใครเกิด ใครแต่งงาน และใครตายซึ่งตามปกติแล้วมันเป็นงานที่ไม่น่าสนใจ แต่ไม่ใช่ในเวลานี้เพราะงานของเขาคือเตรียมการสำหรับศพผู้เสียชีวิต และระบุตัวตนของทุก ๆ ศพ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเทคโนโลยีนิติวิทยาศาสตร์ในปี 1912 ห้องดับจิตทั้งเมืองถูกเตรียมให้ว่างไว้ และสัปเหร่อจากทั่วทั้งมณฑลก็เตรียมพร้อมที่จะทำงาน

บาร์นสเตดไม่ปล่อยให้มีสิ่งใดเป็นไปตามยถากรรม สมัยเป็นหนุ่ม บาร์นสเตดได้เห็นผู้บังคับบัญชาของเขาล้มเหลวในการทำภารกิจนำศพกลับบ้านจากเรืออีกลำของบริษัทไวท์สตาร์ ที่ชื่อ อาร์เอ็มเอส แอตแลนติก ซึ่งอับปางที่ชายฝั่งของมณฑลโนวาสโกเทีย  พวกเขาระบุตัวตนได้ไม่กี่ศพ ทรัพย์สินถูกขโมยและครอบครัวของพวกเขาต้องสิ้นหวัง บาร์นสเตดปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีกไม่ได้

การระบุตัวตน การเขียนหมายเลข และทรัพย์สิน คือวิธีการของบาร์นสเตด ทุกศพจะถูกเขียนหมายเลข และหมายเลขนั้นพร้อมด้วยคำบรรยายรูปพรรณสัณฐานและรายการทรัพย์สินจะอยู่กับศพนั้นเสมอ

http://abroadcenter.com/admin/upload/module_cms/title_cms/img_35c39782a5f46a45addfbd98761a74cd.jpg
เมืองฮาลิแฟกซ์  มณฑลโนวาสโกเทีย  แคนาดา

17 เมษายน สองวันหลังจากไททานิคจมลง และยังไม่มีความชัดเจนว่าจริง ๆ แล้วเกิดอะไรขึ้น หรือมีกี่คนรอดชีวิต บนเรือที่มาช่วยเหลือซึ่งกำลังมุ่งหน้าไปนิวยอร์ก มีนางแมเดลีนซึ่งขณะนั้นตั้งครรภ์ได้ห้าเดือน ภรรยาของผู้โดยสารที่รวยที่สุดบนเรือไททานิครวมอยู่ด้วย สามีของเธอคือ จอห์น เจค็อบ แอสเตอร์ และหลานสาวของเขาคือแจ๊คกี้ แอสเตอร์ เดร็กเซล

เกือบสี่วันแล้วหลังจากเรือไททานิคจม เรือช่วยเหลือก็นำผู้รอดชีวิตกลับมาก็มาถึงนิวยอร์ก การกลับบ้านครั้งประวัติศาสตร์ของเรือลำนี้เกิดขึ้นตรงจุดที่ปัจจุบันคือท่าเทียบหมายเลข 54 ซึ่งไม่ได้ใช้งานแล้ว ในท่าเรือเวสต์ไซด์ของนิวยอร์ก พอเรือช่วยเหลือเข้าเทียบท่า เมื่อวินเซนต์เห็นแมเดลีนอยู่คนเดียว เขาก็รู้ว่าพ่อของเขาจะไม่มีวันได้กลับมาบ้านอีกแล้ว แต่ถ้ายังไม่พบศพและระบุตัวตน ก็ไม่มีใครแน่ใจได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับจอห์น เจค็อบ แอสเตอร์ ไม่มีใครแน่ใจได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนเหล่านั้นที่ไม่ได้กลับบ้าน

21เมษายน เรือแม็คเคย์-เบนเน็ตต์ไปถึงจุดเรืออับปาง หลายศพลอยไปแล้ว แต่พวกลูกเรือก็ต้องประหลาดใจที่อีกหลายศพยังเกาะกลุ่มกันอยู่ท่ามกลางซากอับปางศพเหล่านี้ต้องถูกกู้ ถอดเสื้อผ้า ตรวจสอบ และจดบันทึกตามคำสั่งของบาร์นสเตด

ขั้นแรกศพถูกวางเรียงบนดาดฟ้าเรือ แล้วเสื้อผ้าก็ถูกถอดออก และสิ่งของแต่ละชิ้นจะถูกเขียนบรรยายและจดบันทึกไว้ หลังจากนั้นเสื้อผ้าจะถูกเผาเพื่อป้องกันพวกนักล่าของที่ระลึก จะต้องมีสองคนอยู่ด้วยเสมอขณะเก็บทรัพย์สินจากแต่ละศพ นี่หมายความว่าจะปล่อยให้มีสิ่งใดถูกเก็บไว้ผิดที่หรือถูกขโมยไปไม่ได้ รายการของที่อยู่ในกระเป๋าของผู้ตายถูกบันทึกไว้อย่างครบถ้วน เพื่อช่วยในการระบุตัวตน ทั้งบนเรือและบนฝั่งตรงกัน

หมายเลขซึ่งกำหนดให้ศพจะถูกส่งมอบให้บาร์นสเตดที่บนฝั่ง และจะอยู่กับบุคคลนั้นไปตลอดการจดบันทึกทั้งหมด หลักการระบุตัวตน การใส่หมายเลข และการเก็บทรัพย์สินของบาร์นสเตดยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในหน่วยงานกู้ภัย ดับเพลิง ตำรวจ และยามฝั่ง

22 เมษายน ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ มีข่าวมาถึงเรือแม็คเคย์-เบนเน็ตต์ว่าวินเซนต์ แอสเตอร์ได้เสนอเงิน 10,000 ดอลลาร์ หรือเท่ากับสองแสนห้าหมื่นดอลลาร์ในปัจจุบัน เป็นเงินรางวัลสำหรับการหาศพบิดา และก็ดูเหมือนจะมีคนได้รางวัลนั้น จอห์น เจค็อบ แอสเตอร์ถูกระบุตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยอักษรย่อปักด้วยไหมในคอปกเสื้อของเขา โดยกระดุมข้อมือเพชร และเงินสด 3,000 ดอลลาร์ในกระเป๋า

แม้จะหาบางคนพบแต่ไม่ได้หมายความว่าทุคนจะได้กลับบ้าน เมื่อโลงศพ 70 โลงที่นำไปกับเรือถูกใช้จนหมด และศพมีสภาพแย่มากจนระบุตัวตนไม่ได้ การฝังศพในทะเลจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในขณะนั้น พวกเขาต้องอาศัยน้ำลึกอย่างน้อย 600 ฟุต และน้ำหนักถ่วงในผ้าห่อศพเพื่อป้องกันไม่ให้ศพลอยขึ้นมา กัปตันลาร์ดเนอร์คาดการณ์เรื่องนี้ไว้อยู่แล้ว จึงใส่ตะแกรงเหล็กมาในห้องเก็บสินค้าใต้ท้องเรือ ศพเกือบทั้งหมดที่ถูกฝังในทะเลนั้นเป็นผู้โดยสารชั้นสามหรือลูกเรือ ซึ่งถูกส่งกลับลงสู่ก้นทะเลลึกโดยมีพิธีกรรมทางศาสนาอย่างเหมาะสม





5440  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / Re: กิมเล้งพาเข้าครัว - ขนมเปี๊ยะไส้ถั่วและไข่เค็ม เมื่อ: 10 เมษายน 2555 00:29:34

























ติดตามสูตรอาหารและเคล็ดลับการประกอบอาหารคาว-หวาน
ได้ที่  "สุขใจในครัว" สุขใจดอทคอม
หน้า:  1 ... 270 271 [272] 273 274
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.814 วินาที กับ 26 คำสั่ง