[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 ธันวาคม 2567 08:01:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า:  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมฐาน ๔๐  (อ่าน 14304 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 43.0.2357.134 Chrome 43.0.2357.134


ดูรายละเอียด
« ตอบ #20 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2558 14:52:00 »

.


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๒๑ เตือนพระ

ทุกข์จากความร้อน ความกระหาย จากการป่วยไข้ไม่สบาย ความแก่เฒ่าเข้ามารบกวน ความปรารถนาไม่สมหวัง นี่เป็นอาการของความทุกข์ทั้งหมด ทีนี้ถ้าเราเกิดแล้วเราก็ต้องทุกข์ ถ้าเราตายไปแล้วจะต้องเกิดใหม่มันก็เป็นทุกข์อีก การที่เราจะหนีความทุกข์ที่เรามาปฏิบัติความดีกันนี่ เรามาปฏิบัติเพื่อหนีทุกข์ เราจะพ้นจากความทุกข์ได้ก็ต้องถึงพระนิพพานเป็นสำคัญ แต่ถ้าขณะใดที่จิตใจของเรายังเข้าไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด เราก็เป็นผู้ไม่พ้นจากความทุกข์

การที่จะทำจิตใจของเราให้เข้าถึงพระนิพพานมันก็เป็นของไม่ยาก

พยายามตัดอารมณ์ของความชั่วให้หมด ขึ้นชื่อว่าอารมณ์ใดเป็นปัจจัยของความชั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เราเห็นกันง่ายๆ ก็อารมณ์ที่มีการฝ่าฝืนศีล ๕ ประการ ศีล ๕ ประการนี้จัดว่าเป็นสภาวะคือเป็นอารมณ์ของความดี ถ้าหากว่าละเมิดศีลห้าประการข้อใดข้อหนึ่งก็ตามที นั่นชื่อว่าเราสร้างความชั่วให้เกิดขึ้นกับจิต ขึ้นชื่อว่าความชั่วทั้งหมด พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่าจงพยายามละเสีย คือการละด้วยกำลังของจิต เมื่อจิตเราละความชั่วแล้ว กาย วาจา ทั้ง๒ประการมันต้องละด้วย เพราะกายวาจานี่จะทำหรือจะพูด พูดไปตามจิตสั่ง ถ้าจิตสั่งดีวาจาก็พูดดี กายก็ทำดี ถ้าจิตสั่งชั่วกายก็ทำชั่ว วาจาก็พูดชั่ว นี่เรามานั่งคุมกำลังที่ใจของเรา เราจะเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์

การเจริญพระกรรมฐานเขาทำกันแบบนี้ ไม่ใช่สักแต่เพียงว่าทำกัน

ทำกันเป็นปีๆเอาดีอะไรกันไม่ได้ก็เพราะว่าใจเลว ตัวอย่างในสมัยองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาฟังเทศน์กันจบเดียวเขาก็เป็นพระอรหันต์บ้าง ฟังเทศน์จบเดียวก็เข้าป่าไปฝึกปฏิบัติรวบรวมกำลังใจตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ไม่ช้านานเท่าไรเขาก็เป็นพระอรหันต์กันหมด เขาไม่มานั่งฟังกันทุกวันๆ อย่างกับเราทั้งหลายที่ฟังกัน ดีไม่ดีฟังไปฟังมาเลยกลายเป็นของธรรมดาไป ผลที่ฟังไม่ได้ปฏิบัติ ทิ้งไปเสีย ปฏิบัติแต่ความชั่วเข้ามาแทน
 
คนเราจะดีหรือไม่ดีมันอยู่ที่ใจ ถ้าใจมีสภาพจำเสียอย่างเดียวมันก็ไม่มีความชั่ว ความชั่วที่จะมีกับเราได้ก็เพราะอาศัยใจไม่จำ ดูตัวอย่างพระราธะ บวชต่อเมื่อวัยแก่ ขอพระกรรมฐานพระพุทธเจ้ายันพระนิพพาน พระพุทธเจ้าสอนแค่เพียงย่อๆ ท่านก็ไปอยู่กับพระสารีบุตร ไม่ทันจะถึงพรรษาท่านก็เป็นอรหัตผล นี่เขาทำกันอย่างไร วิธีทำได้แบบนั้นก็เพราะจิตมันมีสภาพจำ จำแล้วก็นำไปประพฤติปฏิบัติ คือว่าทำหูของเราให้มันเป็นหูเนื้อ ไม่ใช่ทำตาเป็นตากระทู้ หูเป็นหูกระทะ ไอ้ตากระทู้น่ะตามันมาก แต่มันมองไม่เห็นอะไร หูกระทะมันใหญ่แต่ฟังอะไรไม่ได้ยิน สภาพของหูเรามันต้องเป็นหูเนื้อ ตาเนื้อมองเห็นได้ ฟังอะไรได้ยินได้ และจิตมีสภาพจำ ที่ว่าจำแล้วนั้นจำอย่างไร นี่เราพูดกันมานาน สำหรับพวกนักปฏิบัติที่มาใหม่จำไว้ด้วยว่า
 
๑.เราต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ จำแล้วก็นำไปปฏิบัติว่าจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้ใครเขาทำลายศีล ไม่ยินดีในเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว นี่ฟังกันเพียงแค่จบเดียวก็ต้องจำกันไปเลย ฆราวาสก็มีศีล ๕ พระมีศีล ๒๒๗ สำหรับพระที่มีจริยาไม่ดี ก็เพราะว่ามีศีล ๒๒๗ไม่ครบถ้วน ถ้าศีล ๒๒๗ นี่พูดให้ฟังกันทุกวันไม่กี่วันมันก็จบ ย้อนกันไปย้อนกันมา ถ้ายังมีจริยาไม่ดีก็แสดงว่ามันเลวเกินไป ไม่สมควรกับผ้ากาสาวพัสตร์

๒.มีสมาธิตั้งมั่น ถ้าจิตมีสภาพจำ ตัวจำนี่เป็นตัวสมาธิ เป็นของง่ายๆ จำอย่างไร จำว่าจะไม่ละเมิดศีล นี่เป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่จะทำให้เราเข้าถึงพระนิพพาน ประการที่สองนี้ อารมณ์จิตจำสภาวะของศีลไว้ รักษาอารมณ์ของศีลให้ครบถ้วน เพราะว่าถ้าศีลมีอารมณ์ครบถ้วนและปฏิบัติได้ครบถ้วนจริงๆ เราก็ตัดอบายภูมิ เราไม่ไปเกิดในนรก นี่เป็นผลอันหนึ่งที่จิตมีสภาพจำศีลและก็ปฏิบัติในศีล ถ้าอารมณ์มันทรงอยู่ในศีลบริสุทธิ์ได้ก็ชื่อว่ามีจิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตมีสมาธิ จิตเป็นกำลัง ก็ใช้ปัญญาช่วยให้เราทำลายความทุกข์ให้หมดไป อาการจิตมีสภาพจำศีล และก็ทรงศีลให้บริสุทธิ์มีสมาธิในสีลานุสสติกรรมฐาน นี่มันก็ยังไม่ถึงพระนิพพาน แต่ว่าใกล้เข้าไปแล้ว ถ้าจิตทรงศีลได้เป็นสมาธิเราก็เกิดเป็นพรหมได้ จัดว่าเป็นพรหมจรรย์ เพราะเรามีความประพฤติอย่างพรหม มีธรรมปีติเป็นปกติ

ทีนี้การที่เราจะก้าวเข้าสู่พระนิพพานตัวนี้ต้องใช้ปัญญา

ตัวปัญญานี่ความจริงก็หาไม่ยาก แต่ว่าสภาพจิตน่ะมีสภาพจำหรือเปล่า ถ้าเรามีสันดานไม่จำละมันก็ลงนรกทั้งนั้นเหมือนกันหมด ไม่มีใครเหลือ กรรมเล็ก กรรมใหญ่ การแนะนำพร่ำสอนตามกระแสพระสัทธรรมเทศานาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องของศีล ในเรื่องของสมาธิ ในเรื่องของปัญญา เราพูดกันมาจนน่าเบื่อ พูดกันจนเป็นของธรรมดาไป สิ่งสภาพวัตถุทั้งหลายของสงฆ์ถูกทำลาย ไม่มีใครมอง นี่แสดงว่าจิตมันมีสภาพไม่จำ พอใจในอบายภูมิ อยากลงนรกกันดี อยากจะไปอเวจี หรืออยากจะไปโลกันต์ก็ไปตามอัธยาศัย ดูตัวอย่างพระเทวทัตเป็นสำคัญ อยู่ในสำนักขององค์พระจอมไตรบรมศาสดาก็มีสันดานชั่วๆ แบบนี้จึงได้ไปอเวจีมหานรก นี่ถ้าเราปรารถนาจะไปพระนิพพานจิตเราจำหรือเปล่า พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นต้น การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ ทีนี้จิตของเราก็มองเห็นอยู่ ตาเราถ้าเรามีตาเนื้อเราก็จะเห็นสภาของคนที่เกิดมาก่อนเรา ก็แก่ไปกว่าเรา
 
ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์
ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ เมื่อความป่วยไข้ไม่สบายปรากฏ มันก็มีอยู่แล้วให้เราเห็น ตัวเรามันก็ป่วย ตัวเราก็แก่ เด็กก็แก่ลงทุกวัน ผู้ใหญ่ก็แก่ลงทุกวัน
มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ ชาวบ้านชาวเมืองเขาก็ตายให้เราดูอยู่ทุกวัน นี่สภาพจิตเราจำบ้างหรือเปล่า เคยนึกบ้างไหมว่าสภาพของเราจะเป็นอย่างนั้นฃ
 
แล้วก็เรามีสภาพจำบ้างหรือเปล่าว่าเราเกิดมาได้กี่วันแล้วมันเต็มไปด้วยความทุกข์ ตั้งแต่วันเกิดมาถึงวันนี้มันมีความสุขบ้างหรือเปล่า ถ้าเรานึกว่าชีวิตของเราวันใดวันหนึ่งมีความสุขก็แสดงว่าจิตใจของเราพอใจในอบายภูมิ เพราะมันหลอกตัวเอง มันไม่มีปัญญา ถ้าเรามีปัญญาจริงๆ เราจะเห็นว่าตอนตื่นขึ้นมาเช้าๆ น่ะไม่ได้ล้างหน้ามันก็เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความทุกข์เขาแปลว่า ความไม่สบายกายไม่สบายใจ หน้ามันกรังหน้าตาเกรอะกรังฟันไม่ได้แปรง เราไม่สบายกายไม่สบายใจ นี่เป็นอาการของความทุกข์ จิตจำหรือเปล่า เราตื่นขึ้นมาแล้วก็ต้องเข้าห้องน้ำ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การปวดอุจจาระปัสสาวะเป็นอาการของความทุกข์ไม่ใช่ความสุข ดิ้นรนด้วยประการทั้งปวง ถ้าหาที่ถ่ายไม่ได้มันก็มีอาการกระสับกระส่ายเสียดแทงด้วยประการทั้งปวง

นี่เป็นอาการของความทุกข์ จิตจำหรือเปล่า

หรือว่าอยากจะถ่ายอุจจาระปัสสาวะ พอถ่ายแล้วก็สบายใจ ถือว่ามันเป็นความสุข การถ่ายครั้งหนึ่งพอแล้วหรือยังในชีวิตเรา มันมีตลอดวัน จัดเป็นนิพัทธทุกข์ ทำไมเราจึงไม่จำกัน นี่คนที่เขาจะไปนิพพานเขาจำหมด เมื่อถ่ายอุจจาระปัสสาวะแล้ว สิ่งอื่นที่จะต้องมีมาคือ หิวข้าว อยากกินอาหาร ความหิวข้าวมาเบียดเบียน ตัวความหิวความกระหายเป็นอาการของความทุกข์ ถ้าไม่ได้กินก็มีอาการเสียดแทงตลอดเวลา ทีนี้ถ้าเรากินอิ่มเดียวมันอิ่มตลอดชีวิตไหม มันก็ไม่ตลอดชีวิต วันหนึ่งกินหลายครั้ง หลายหิว หิวกี่ครั้งก็ทุกข์เท่านั้น อยากกี่ครั้งก็ทุกข์เท่านั้น แล้วกินไปจนตายมันก็ไม่เลิกกิน ถ้ามันยังไม่ตายมันก็กินต่อไป ขึ้นชื่อว่าความทุกข์ มันมีอยู่ประจำทุกวัน สภาพจิตของเรามองเห็นกันบ้างหรือเปล่า จิตของเรามองไม่เห็นก็แสดงว่าจิตของเราเป็นจิตที่ไร้ปัญญา นี่ทุกข์มีจริงแต่เราไม่เคยมองเห็นความทุกข์ ถ้าเรามองเห็นความทุกข์แล้วจะมีประโยชน์อะไรบ้าง

ทุกข์นี่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่าอริยสัจ ความจริงที่พระอริยเจ้าเข้าถึง

และความจริงที่จะทำให้บุคคลเป็นพระอริยเจ้า พระอริยเจ้าทุกท่านที่ทำให้เป็นพระอริยเจ้าได้เพราะเห็นทุกข์เป็นสำคัญ รู้อาการเกิดมานี้มันก็มีความทุกข์ทุกลมหายใจเข้าออก นี่มันตัวทุกข์ ถ้าเราเกิดต่อไปข้างหน้าอีก ทุกข์แบบนี้จะเกิดไปอีกกี่แสนชาติกี่แสนกัป มันมีเท่านี้แหละทุกข์แบบนี้เหมือนกัน ถ้าเราไม่ต้องการเกิด เราต้องการพระนิพพาน เราก็เดินเข้าไปหาว่าอะไรเป็นปัจจัยของความทุกข์ เหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์ได้แก่ ตัณหา คือความอยาก อยากตะเกียกตะกาย อยากจะเกิดอีก อยากจะให้ชิวิตมันทรงอยู่ ไม่อยากจะให้มันตายต่อไป หรือว่าเกิดแล้วก็อยากจะให้มันทรงตัว ไม่อยากจะแก่ ไม่อยากจะตาย ความแก่เข้ามาถึงความตายเข้ามาถึงก็ดิ้นรน อยากจะให้พ้นความแก่ความตาย

ตัวอยากนี่มันเป็นตัวโง่ ตัดตัวปัญญา ไม่ใช่ตัวปัญญา ตัวของอบายภูมิ เราจะเข้าถึงพระนิพพานได้เราก็ต้องตัดตัวอยาก คือความโง่เสีย มันอยากอะไรที่เราพึงตัด เราก็ตัดความอยากเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม เกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี เป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ เราไม่เอา เราจะไปพระนิพพาน คนที่ไปพระนิพพานเขาทำกันอย่างไร ก็มีเหตุอยู่ ๓ อย่างเท่านั้นที่จะไปพระนิพพานได้ คือ

หนึ่ง รู้จักให้ทาน การให้ทานทำลายโลภะ ความโลภ เราให้ทานเพื่อเป็นการตัดกิเลส ไม่ใช่ให้ทานเพื่อหวังผลตอบแทน ให้แล้วก็ให้ไปเลย เป็นการตัดความโลภที่อยู่ในจิต

ประการที่สอง เรามีศีลบริสุทธิ์ด้วยอำนาจของพรหมวิหารสี่ ถ้าเรามีพรหมวิหารสี่ ศีลเราบริสุทธิ์ ถ้าเราไม่มีพรหมวิหารสี่ ศีลก็ไม่บริสุทธิ์ นี่ทั้งพระทั้งเณรทั้งฆราวาสเหมือนกัน พระมีสิกขาบทถึง ๒๒๗ ที่ต้องปฏิบัติ แต่ความจริงมีมากกว่านั้น ถ้าปฏิบัติศีลได้ครบ ๒๒๗สิกขาบท เรื่องที่ต้องว่าต้องตักเตือนกันไม่มี ไม่มีจุดบกพร่องอะไรสักนิดหนึ่ง หาข้อตำหนิติเตียนกันไม่ได้เลย ที่เราเป็นผู้เผลออยู่ก็เพราะเราไม่มีศีล ก็ต้องพูดว่าเป็นนักบวชที่ไม่มีศีล ถ้าศีลพร่องก็แสดงว่าไม่มี ไม่มีแล้วเป็นอะไร เป็นฆราวาส สิกขาบททั้ง ๒๒๗ นี้ละเอียดละออพอแล้ว ถ้าเราเคารพและปฏิบัติทั้งหมดนี่ก็ไม่มีเรื่องที่จะต้องเกรงกันเลย สบาย และไปนิพพานง่าย ช่องว่างที่จะไปอบายภูมิสำหรับพระไม่มี ถ้ามีความเคารพในสิกขาบททั้ง ๒๒๗ แต่ว่าที่เรามีช่องว่าง เปิดช่องโหว่ให้อาบัติมันกิน ก็แสดงว่าใจเราไม่รักศีล เมื่อใจไม่รักศีล ศีลก็ไม่มีในใจ ก็เหลือแต่เปลือก ถ้าเหลือแต่เปลือกแล้วยังครองผ้ากาสาวพัสตร์ก็มีอเวจีเป็นที่ไป เป็นอันว่าเราต้องการจะไปพระนิพพาน ในเมื่อเรามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ประการศีลก็ตั้งมั่น ศีลตั้งมั่นจิตทรงพรหมวิหารสี่ เรียกว่าจิตที่ทรงสมาธิ นี่อารมณ์เยือกเย็นมีความสบาย มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์เพราะใจเย็น คนที่ไร้สติสัมปชัญญะ ขาดละเมิดสิกขาบทต่างๆ เพราะขาดพรหมวิหารสี่ จิตมันร้อน มันถูกไฟนรกเผาใจ มันคิดไม่ออก นึกไม่ได้จำไม่ได้เพราะไฟนรกมันเผาใจ เมื่อจิตเราทรงพรหมวิหารสี่ได้ปกติ ศีลก็บริสุทธิ์

การทรงพรหมวิหารสี่นี่ตัด เป็นการตัดโทสะและพยาบาท เป็นกิเลสตัวที่สองที่เราจะเข้าพระนิพพาน เราจะพังมันได้ด้วยอำนาจพรหมวิหารสี่ พรหมวิหารสี่ของคนไหนจะบกพร่อง ดูกันแค่ศีล ดูศีลเท่านั้นแหละพอ ถ้าศีลบกพร่องละก็พรหมวิหารสี่ไม่มี ถ้าพรหมวิหารสี่ไม่มีทำอย่างไร ก็ไปนรก ถ้าพรหมวิหารสี่ครบถ้วน ศีลไม่บกพร่อง แสดงว่าจิตคนนั้นเป็นสมาธิ มีอารมณ์ตั้งมั่น มีความเยือกเย็น การเจริญสมาธิเราต้องการอย่างเดียว คือ อารมณ์เยือกเย็นของใจ ในเมื่อใจเย็น ไฟนรกไม่เผา ความสบายใจก็เกิด ตัวปัญญาเกิดเพราะอารมณ์จิตเย็น ที่ปัญญาไม่เกิดเพราะอารมณ์จิตร้อน เหมือนกับคนที่ถูกแดดเผาจัดๆ ร้อนก็คิดอะไรไม่ออก ถ้าอารมณ์ใจเย็นเหมือนนั่งเย็นๆ สบายเมื่อนั่งในห้องแอร์ สมองโปร่ง

ข้อนี้อุปมาฉันใด จิตของเราก็เหมือนกัน ถ้าถูกกิเลส ไฟคือ ราคัคคิ ไฟคือราคะ โมหัคคิ ไฟคือโมหะ โทสัคคิ ไฟคือโทสะ ไฟกิเลสทั้งสามประการนี้เผาให้เร่าร้อน ก็คิดอะไรไม่ออก ไฟสามกองนี้เผาอย่างไร มันเผาแทนไฟนรก ถ้าถูกเจ้าไฟสามกองเผา มันเร่าร้อนในขณะที่เป็นอยู่ ตายแล้วก็ดิ่งลงนรกไป เขาเรียกว่าไฟนรก

เมื่ออารมณ์จิตสบายแล้ว ปัญญาก็เกิด เกิดอย่างไร คนนั่งสบายๆ มีอารมณ์สบายก็มองเห็นได้เลยว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของมีจริง และโลกนี้ทั้งโลกหรือโลกไหนก็ตาม ถ้ามีเกิดอีกก็เต็มไปด้วยความทุกข์ จะหลบไปเป็นเทวดาหรือพรหมก็หลบได้ชั่วคราว หลบไปไม่ได้ตลอดกาลตลอดสมัย หมดบุญวาสนาจากเทวดาและพรหม ก็ลงมาเกิดเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นเปรต เป็นอสุรกาย ไม่เป็นเรื่อง เราไม่เอา ตัดสินใจเด็ดขาด ขึ้นชื่อว่าความเกิดต่อไปไม่มีสำหรับเรา เราไม่ต้องการความเป็นคน ไม่ต้องการความเป็นเทวดา ไม่ต้องการความเป็นพรหม เราต้องการเฉพาะพระนิพพาน เราจะไม่มัวเมาในชีวิต เราจะไม่มัวเมาในทรัพย์สิน ถือว่าชีวิตและทรัพย์สินไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ตายแล้วร่างกายก็จมอยู่กับพื้นดิน ทรัพย์สมบัติเราก็เอาไปกับเราไม่ได้ ขณะมีชีวิตอยู่เราก็ทรงกายอยู่ ทรงเข้าไว้เพื่อรักษาไว้ชั่วขณะ ตายแล้วก็แล้วกันไป ตัดความห่วงเสียตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เลิก อยู่ก็ต้องทำมาหากิน แต่ว่าทำมาหากิน เมื่อตายแล้วมันจะไปไหนก็ช่างมันไม่ต้องเป็นห่วง ไม่ห่วงอย่างไร เราไม่ต้องการร่างกายคือขันธ์ห้าต่อไปอีก ไม่เอาอีกแล้ว ขันธ์ห้าคือร่างกายที่เป็นคนก็ดี ขันธ์ทิพย์ คือร่างกายที่เป็นเทวดาหรือร่างกายที่เป็นพรหมก็ดี เราไม่เอา ตั้งใจไว้โดยเฉพาะว่าเราไม่ต้องการ เราต้องการอย่างเดียว คือพระนิพพาน

เห็นใครเขาตาย ก็นึกว่าไม่ช้าเราต้องตายอย่างเขา เห็นใครเขาแก่ ก็นึกว่าไม่ช้าเราก็ต้องแก่ตามเขา เห็นใครเขาป่วย ก็นึกว่าไม่ช้าเราก็ป่วยตามเขา ถ้ามันตายแล้วไปไหนก็นึกว่าช่างมันไม่เอาอีกแล้ว ความเกิดที่เต็มไปด้วยความระยำ เต็มไปด้วยความทุกข์ เราไม่ต้องการมันอีก เราต้องการอย่างเดียว คือแดนพระนิพพาน เป็นแดนอมตะ ไม่มีความแก่ ไม่มีความเจ็บ ไม่มีความป่วยไข้ ไม่มีความไม่สบาย ไม่มีทุกข์แม้แต่เท่าขี้เล็บ ไม่มีทุกข์เลยในแดนพระนิพพาน

เราตั้งใจตรงไว้เฉพาะพระนิพพานอย่างเดียว นี่จิตของเราแปลงจริงๆ พระนิพพานไปง่ายๆ เหมือนพระโคธิกะ จิตท่านปลงโดยเฉพาะตายแล้วไปพระนิพพาน ไปไม่ยากพระนิพพานไปง่ายๆ แต่ว่าขอให้ทำจิตของเราให้มีสภาพจำ หูของเราเป็นหูคน ตาของเราเป็นตาคน ใช้ได้ ถ้าหูเป็นหูกระทะ ก็ไม่ไหว ไปไม่ได้ นี่ปรับปรุงกายปรับปรุงใจให้ดี ความบกพร่องในสำนักของเรายังมีอยู่มาก เกินพอดีไป คือว่าคำสอนมีอยู่ทุกๆวัน วันละ ๓ เวลา แต่ว่าจุดบกพร่อง อารมณ์จิตบกพร่อง จริยาบกพร่องนี่มีอยู่มาก มากเกินกว่ามนสำนักต่างๆ ในสมัยโบราณที่เขาปฏิบัติกัน โดยมากเขาไม่ได้รับการสอนกันทุกวันเหมือนที่นี่และหลายเวลาแบบนี้ เดือนหนึ่ง สองเดือน หรือว่าครึ่งเดือน จึงจะรับคำสอนจากครูอาจารย์สักครั้งหนึ่งเมื่อเวลาจำเป็น มิฉะนั้น เขาสอนกันรวดเดียว ต่างคนต่างทำกัน และผลที่สุดท่านก็เอาดีกันไปได้ แต่ว่าของเราสอนมากเกินไป ออกจะมีความประมาท จะรู้ได้อย่างไร จะรู้ได้
ประการที่ ๑ จริยา แสดงออกมาบางทีไม่ใช่จริยาของพระ
ประการที่ ๒ ทรัพย์สินของสงฆ์ เตือนกันแล้วเตือนกันอีก แต่ว่ายังพบหล่นเรี่ยราดเสียหายกันอยู่นั่นแหละ ไม่มีใครสนใจ นี่แสดงว่าจิตใจของเราไม่มีสภาพจำ นี่ปรับปรุงตัว ปรับปรุงใจเสียให้ทัน ไม่อย่างนั้นจะลงโลกันต์ไปเสียก่อน

ทำสัญญาเป็นสัญญาดื้อ ทำสัญญาเป็นสัญญาด้าน ทำจิตเป็นจิตบอด ผลที่สุดจะเห็นทางไปสวรรค์ เห็นทางไปพรหม เห็นทางไปพระนิพพานได้อย่างไร ต้องทำสัญญาเป็นต้นว่าสัญญาที่มีความสว่างไสว มีความระมัดระวัง มีความรู้สึกอยู่เสมอ พระธรรมวินัยฟังกันทุกวัน วินัยนี่น่าจะคล่องกันทุกองค์ แต่เปล่า กลับเป็นคล่องไม่จำเสียนี่ ไม่ใช่คล่องจำ ต่อแต่นี้ไปก็ตั้งใจสำรวมกันเสียให้ดี ไม่น่าจะเตือนกันนะ เรื่องพรรค์นี้ไม่น่าจะต้องเตือน ฟังกันทุกวันยังจะต้องเตือนกัน นี่เราลงโทษตัวเรา พิจารณาตัวเอง โดยนั่งนึกว่านี่เราเลวมาแล้วเท่าไร ไปบวกความดีที่จะมีมาข้างหน้าได้ไหม แต่ถ้าศีลบกพร่องไปสวรรค์ไม่ได้ มาเกิดเป็นมนุษย์ไม่ได้ ปรับปรุงเสียให้ทันนะ อย่าทำตนให้เสียโดยคะนองเกินไป จริยาคะนองเกินไป แสดงว่าใจมันเลว มีสภาพไม่จำ

เอาละต่อแต่นี้ไป ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น เอาใจจับลมหายใจเข้าออก กำหนดจิตให้รู้ไว้โดยเฉพาะ ว่าชั่วเวลา ๓๐ นาทีนี้ เราจะไม่ยอมให้จิตพลาดจากลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้าก็รู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกก็รู้อยู่ว่าหายใจออก จับไว้เฉพาะอารมณ์แรก ว่าเราต้องการพระนิพพาน ตั้งใจไว้ก่อนเลยทีเดียวว่า การทำอย่างนี้เราต้องการพระนิพพาน และเวลากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกก็นึกตามไปด้วย หายใจเข้านึกว่า พุท หายใจออกนึกว่า โธ พุทโธเป็นพระนามความดีของพระพุทธเจ้า เวลานี้พระพุทธเจ้าเข้าสู่พระนิพพานแล้ว ถ้าขณะใดจิตใจของเรายังจับคำว่า พุทโธอยู่ และจิตตั้งไว้เฉพาะพระนิพพาน ตายเมื่อไรไปนิพพานเมื่อนั้นต่อแต่นี้ไปขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 44.0.2403.125 Chrome 44.0.2403.125


ดูรายละเอียด
« ตอบ #21 เมื่อ: 04 สิงหาคม 2558 14:44:16 »

.


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๒๒ ธรรมานุสสติแบบพิจารณา

การอธิบายเรื่องการปฏิบัติพระกรรมฐานในวันนี้ ขออธิบายเรื่องธรรมานุสสติกรรมฐาน อนุสสติทั้ง ๑๐ ประการ มีพุทธานุสสติ เป็นต้น และมีอานาปานสติเป็นปริโยสาน ตามแบบฉบับท่านบอกว่า ทรงได้แค่เฉพาะอุปจารสมาธิ ไม่สามารถจะเข้าถึงฌานได้ แต่ทว่าถ้าเรามีความฉลาด เราก็สามารถจะทำอนุสสติทั้งหมดเข้าถึงสมาบัติ ๘ ก็ได้ แล้วก็เป็นบาทของวิปัสสนาญาณ เข้าถึงวิปัสสนาญาณเบื้องสุด ถึงอรหัตผลก็ได้ นี่เป็นเรื่องของความฉลาด หรือความโง่ของนักปฏิบัติ

สำหรับธรรมานุสสติกรรมฐาน ท่านแปลว่า นึกถึงความดีของพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปกติ อนุสสติแปลว่าตามนึกถึง ธรรมา คือธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้มีทั้งหมดด้วยกัน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เราจะไปนำเอาธรรมะทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์มานั่งใคร่ครวญในเวลาเดียวกันย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะเวลาจำกัด เพราะฉะนั้นเราก็ต้องถือเอาหัวใจของพระศาสนาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเป็นปัจฉิมวาจา คือว่าเป็นการประกาศให้บรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายที่ไปประกาศพระศาสนาถือเป็นแบบฉบับ เรียกว่าโอวาทปาฏิโมกข์ว่า

สัพพปาปัสสะ อกรณัง ท่านทั้งหลายจงแนะนำให้ชาวบ้านทั้งหลาย จงละความชั่วเสียทั้งหมด

กุสลัสสูปสัมปทา จงประพฤติปฏิบัติแต่ความดี
 
สจิตตปริโยทปนัง จงทำอารมณ์จิตของตนให้ผ่องใส
 
เอตัง พุทธาน สาสนัง ท่านทรงรับรองว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด

เวลาที่เราจะพิจารณาพระธรรมตามแบบของอนุสสติที่เรียกว่าเป็นอุปจารสมาธิเป็นอันดับสูงสุด ก็มาพิจารณากันใน ๓ ข้อนี้ เรานึกไว้เสมอว่า ขึ้นชื่อว่าความชั่วทั้งหมดเราจะไม่ทำ แล้วความชั่วอันดับหยาบที่เราจะมองเห็นกันได้ง่าย ก็คือ การละเมิดศีล ๕ ประการ เราจะไม่ยอมละเมิดเด็ดขาด หากว่าเราไม่ละเมิดศีล ๕ ประการได้ ก็ชื่อว่าเราไม่ทำความชั่ว ถ้าเรายังละเมิดศีล ๕ ประการอยู่ ก็ชื่อว่า เรายังทำความชั่วอยู่ ใช้ไม่ได้นี้เราก็มานั่งใคร่ครวญจิตของเราว่า จิตของเราน่ะยอมรับนับถือความดีในศีล ๕ ประการแล้วหรือยัง ถ้ายังก็พยายามหาทางริดรอนความชั่วเสีย ถือว่าการละเมิดศีล ๕ ประการ ข้อใดข้อหนึ่งก็ตาม ไม่มีความจำเป็นสำหรับชีวิตที่จะต้องละเมิด

การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเอามาเลี้ยงชีพไม่มีความจำเป็น อยากจะกินเนื้อสัตว์ ชาวบ้านเขาฆ่าขายถมไป เราไปซื้อมากินได้ หรือว่าจะไม่กินเนื้อสัตว์เลย เขากินเจกันอิ่มหมีพีมันอ้วนพีกันด้วยประการทั้งปวง ช้างก็ดีควายก็ดีม้าก็ดี กินหญ้ามีกำลังดีกว่าคนตั้งเยอะแยะ นี่ขึ้นชื่อว่าอาหารไม่จำเป็นต้องใช้เนื้อสัตว์เป็นมาตรฐาน แต่ว่าถ้ามีโดยเราไม่จำเป็นจะต้องฆ่าเราก็กินได้ ถ้าเราจำเป็นจะต้องฆ่าสัตว์ให้ตาย เป็นการทำลายชีวิต เป็นการสร้างความชั่ว เราไม่เอา นี่ถือว่าข้อนี้ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องละเมิด
 
ข้อที่ ๒ การลักการขโมยทรัพย์สินของบุคคลอื่น การยื้อแย่งคดโกงเขา ก็ไม่มีความจำเป็น เราจะยื้อแย่งคดโกงเขามาได้มากสักเท่าไรก็ตาม เราก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายเหมือนกันหมด มีมากก็แก่ก็เจ็บก็ตาย มีน้อยก็แก่ก็เจ็บก็ตายเหมือนกัน ซึ่งมันไม่มีความสำคัญในการที่มีชีวิตมีทรัพย์มากทรัพย์น้อย
 
ข้อที่ ๓ การละเมิดศีลข้อที่สาม คือข้อกาเมสุมิจฉาจาร การร่วมรักในสตรีระหว่างเพศ อยู่ในเขตแห่งการหวงแหน ก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร ไม่ได้สร้างตนให้เป็นคนดี ไม่ได้สร้างตนให้เป็นคนหนุ่ม ไม่ได้สร้างคนให้เป็นมหาเศรษฐีอนุเศรษฐีขึ้นมาได้ มีเมียมาก มีเมียน้อย มีผัวมาก มีผัวน้อย มันก็แก่ มันก็เจ็บ มันก็ตายเหมือนกันการทรงชีวิตอยู่ เราทรงอยู่ด้วยความสุจริต เราไม่มีการทุจริต แล้วก็ทรงชีวิตอยู่ได้ แต่การกล่าววาจาทุจริตหมายถึงว่าการโกหกมดเท็จเพื่อยังชีพความเป็นอยู่ เราปรารถนาความสุข มันก็หาความสุขจริงๆ ไม่ได้ มันก็แก่ก็เจ็บก็ตายเหมือนกัน เราจะไปโกหกเขาทำไม

การดื่มสุราเมรัยเป็นการบั่นทอนชีวิต บั่นทอนปัญญา สร้างโรคภัยไข้เจ็บให้เกิดแก่ร่างกาย ทำลายประสาทให้มัวหมอง เป็นคนไร้สติสัมปชัญญะ มีสติฟั่นเฟือน มันก็ไม่เกิดประโยชน์ คนที่เขาไม่กินเหล้าเมายา เขาก็ทรงชีวิตอยู่ได้ ไม่เห็นมีความจำเป็นอะไรที่เราจะต้องละเมิด

นี่เราก็ใคร่ครวญดูว่าพระธรรมคำสั่งสอนข้อแรกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราทำได้ไหม นี่เราถือธรรมมานุสสติกรรมฐานไม่ใช่ไปนั่งภาวนาว่าพุทโธเฉยๆ ภาวนาพุทโธเฉยๆ นั่นเป็นการทรงอารมณ์จิตเป็นฌาน แต่ทว่าเราต้องควบคุมอารมณ์อย่างนี้ไว้ด้วยว่าเราจะไม่ละเมิดข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามในด้านศีล แล้วในส่วนธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่าไม่สมควรปฏิบัติ อย่างอคติ ๔ เป็นต้น และตัวอิจฉาริษยาก็ตาม อย่างนี้เราก็ต้องไม่มีในใจของเรา เป็นอันว่าถ้าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้จิตใจของเราไม่คบมันได้ ไม่สนใจกับมัน คอยระมัดระวังไว้ไม่ให้เกิดขึ้นกับใจของเรา ก็ชื่อว่าเราไม่ทำความชั่วตามที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้แล้วในข้อต้น อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นธรรมานุสสติกรรมฐานได้หนึ่งในสาม

ธรรมานุสสติในข้อที่สอง พระพุทธเจ้าสอนให้เราทำแต่ความดี

ก็คือให้เราทรงศีลห้าประการให้บริสุทธิ์ ทรงพรหมวิหารสี่ให้ปกติ พรหมวิหารสี่ก็คือเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร มุทิตา มีจิตอ่อนโยนไม่อิจฉาริษยาใคร อุเบกขา วางเฉย กฎธรรมดาเข้ามาถึงตัว ความป่วยไข้ไม่สบาย การกระทบกระทั่งแห่งจิต ที่มันเป็นกฎธรรมดาของชีวิตของบุคคลที่เกิดมา ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา จิตใจของเราไม่หวั่นไหว อย่างนี้ชื่อว่า เราทำความดีแล้ว รักษาความดีนี้ไว้ให้เหมือนกับเกลือรักษาความเค็ม ถ้าจิตใจของเราทรงไว้ได้อย่างนี้ แสดงว่าเราได้สองในสามของความดีที่จัดว่าเป็นธรรมานุสสติกรรมฐาน

สจิตตปริโยทปนัง พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้เราทำจิตให้ผ่องใส

อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงแนะนำให้เรานึกถึงกฎธรรมดาไว้เป็นปกติ ว่าสภาพของชีวิต สิ่งที่มีชีวิตก็ตาม ไม่มีชีวิตก็ตาม ในโลกทั้งหมดมันเป็นอนิจจัง หาอะไรเที่ยงไม่ได้ มันเป็นทุกขัง ในเมื่อมันไม่เที่ยงมันก็มีความทุกข์ อนัตตาในที่สุดมันก็สลายตัว ไม่มีอะไรยืนตัว เราจะไปเกาะโลกธรรมหมายถึงว่าเกาะชีวิต ร่างกายของเรานี้ว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา ก็ชื่อว่าเราโง่เต็มที ร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุสี่ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ เข้ามาประกอบเป็นเรือนร่างชั่วคราว เป็นเหมือนกับบ้านพักบ้านอาศัยชั่วคราวหรือว่าบ้านเช่า ถ้ามันเป็นบ้านเช่ามันก็เก็บค่าเช่าแพงเกินไป เจ้าของบ้านคือกิเลสตัณหาอุปาทานและอกุศลกรรมที่ดันให้เรามาเกิดมาอาศัยอยู่ในกาย มันเก็บค่าเช่า มันมีความโหดร้ายมาก เรามาอาศัยบ้านหลังนี้อยู่ บ้านหลังนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ต้องซ่อมทุกวัน วันหนึ่งๆ ซ่อมหลายครั้ง ซ่อมด้วยอะไรบ้างล่ะ ซ่อมด้วยอาหารการบริโภค ถ้าไม่ซ่อมมันก็รวนเรโยเย สร้างความทุกข์ให้เกิดกับเรา ให้อาหารการบริโภคตลอดเวลาแล้วมันก็ยังไม่พอ บางครั้งมันก็โซซัดโซเซ หมายความว่าความป่วยไข้ไม่สบายปรากฎ ความสุขความสบายกายความสบายใจมันก็ไม่มีต้องสิ้นเปลือง ต้องทุกข์ทรมานกายทรมานใจ ทรัพย์สินมีเท่าไรก็ต้องจับจ่ายใช้สอยเอามารักษาตัวจนหมดจนสิ้น เราหามาด้วยความลำบาก นี่แสดงว่าเจ้าของบ้านนี่มันใจร้ายมาก แล้วยิ่งไปกว่านั้น เราจะทะนุบำรุงมันเท่าไรก็ตาม เจ้าของบ้านมันก็พยายามทำให้ร่างกายคือบ้านที่เราอาศัยอยู่นี่ทรุดโทรมตลอดเวลา เราจะเห็นว่าร่างกายของเราแก่ลงไป ทรุดโทรมลงไปตลอดกาลตลอดสมัย นี่เห็นความใจร้ายของเจ้าของบ้านว่ามันร้ายขนาดไหน แล้วในที่สุดมันก็ทำลายบ้านเสีย นี่เรียกว่าเราอาศัยบ้านหรือเช่าบ้านเสียค่าเช่าแพงแล้วยังไม่พอ ในที่สุดเจ้าของบ้านมันก็ทำลายบ้านนี้ให้เราแสวงหาบ้านอยู่ต่อไปใหม่

ก็เป็นอันว่าบ้านเหล่านี้ก็ดี บ้านหลังต่อไปก็ดี ที่จะมีต่อไป เราก็จะพบแต่ความทุกข์มันไม่มีอะไรเป็นสุข ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงสอนให้บรรดาท่านพุทธบริษัทว่า สจิตตปริโยทปนัง จงทำจิตใจให้ผ่องใส คิดไว้เสมอว่า บ้านเช่าก็คือร่างกายหลังนี้มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าเราจะต้องมีบ้านแบบประเภทนี้ต่อไป เราก็จะพบแต่ความทุกข์อีก ให้วางภาระบ้านหลังนี้เสีย หมายความว่า เราไม่สนใจกับบ้านหลังนี้ ในขณะที่เราอาศัยอยู่ เราจะทะนุบำรุงมันตามปกติ เพราะเรายังอาศัยอยู่ ข้าวปลาอาหารหาให้มันกิน มันหนาวหาผ้ามาห่ม มันร้อนหาน้ำให้อาบสร้างความเย็นให้ปรากฎ ถ้ามันป่วยไข้ไม่สบาย รักษาเพื่อเป็นการระงับเวทนา ถ้ามันจะพังจริงๆ ก็ยิ้มได้ ทำใจไว้เสมอว่า ไอ้บ้านจัญไรแบบนี้จะไม่มีสำหรับเราอีก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ มันเป็นเชื้อสายของกิเลสตัณหาอุปาทานและอกุศลกรรม หรือจะกล่าวกันว่ามันเป็นเรือนจำที่กิเลสตัณหาอุปาทานและอกุศลกรรมส่งจิตคือเราเข้ามาขังไว้เป็นการทรมานก็เป็นไปได้ ฉะนั้น บ้านหรือเรือนจำประเภทนี้เราจะไม่มีมันต่อไป ชาติก่อนเราโง่แล้ว เวลานี้เรามาพบคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงแนะนำให้เรารู้แล้วว่าบ้านหลังนี้มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ เป็นเรือนร่างแห่งความทุกข์ เราไม่ต้องการมันอีก

วิธีที่จะไม่ต้องการมันเราทำยังไง

เราก็ล้วงไปหาพระธรรมคำสั่งสอนที่องค์สมเด็จพระจอมไตรสอนไว้เป็นหลัก เป็นการทำลายบ้านหลังนี้ คือไม่ต้องการพบบ้านหลังนี้ต่อไป นั่นก็คือมีการให้ทาน ใคร่ครวญไว้เสมอว่าเราจะต้องให้ทานตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่ง ว่าเราจะไม่มีบ้านอันเต็มไปด้วยความทุกข์ ความเดือนร้อนแบบนี้อีก เราต้องเป็นคนให้ทานเป็น ให้ทานในที่นี้ไม่ใช่ให้ทานเอาหน้า ให้เอาชื่อเสียง เราให้ทานเอาศักดิ์ศรี หมายความว่าให้ทานเพื่อเป็นการตัดกิเลสคือโลภะ ความโลภที่จะอยากมีบ้านนี้ต่อไป เราไม่อยากมีบ้านนี้ต่อไป เราให้ทานเพื่อเป็นการตัดรากตัดเหง้าของการที่จะมีบ้านประเภทนี้ ให้ทานไปด้วยดีเป็นการสงเคราะห์ เป็นการทำจิตให้สบาย

ประการที่สอง เราจะเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ประกอบไปด้วยพรหมวิหารสี่ ถ้าไม่มีพรหมวิหารสี่ ศีลมันไม่บริสุทธิ์ เป็นการกำจัดโทสะความโกรธให้พินาศไป
 
ประการที่สาม เราจะเชื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาว่า ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรัก ของชอบใจเป็นทุกข์ นี่ถ้าเรายึด ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ร่างกายของเรานี่มันไม่ใช่เรา เราไม่ยึดถือมันเสีย คิดเสียว่าในเมื่อมันมีความเกิดขึ้นแล้ว ก็รู้ว่ามันจะเจ็บ มันจะแก่ มันจะตาย ก็ถือว่าเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วประเดี๋ยวมันก็แก่ มันแก่ไปทุกวันเรารู้ แก่ก็แก่ไป เราไม่ทุกข์กับภาวะของมัน มันจะเป็นยังงั้นก็ช่างมันปะไร อยากจะแก่ก็เชิญแก่ ถ้ามันป่วยไข้ไม่สบาย เรารักษามันหายก็หาย ไม่หายหรือมันจะตายก็ช่างมัน เราไม่ต้องการมันอีกแล้ว ในเมื่อความตายมันจะเข้ามาถึงจริงๆ เราก็สร้างความภูมิใจว่า ที่สุดของความทุกข์ของเราเข้ามาถึงแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอนไม่ให้เรายึดถือ บ้านประเภทนี้เราไม่ยึดถือมัน มันพังเสียได้ก็ดีแล้ว ขึ้นชื่อว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายสำหรับเราที่มีร่างกายเลวๆ แบบนี้ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ต่อไปเราจะแสวงหาความสุข กล่าวคือ เป็นผู้ไม่เกิดเป็นคน ไม่เกิดเป็นเทวดา ไม่เกิดเป็นพรหม ส่วนที่เราต้องการจะไปนั่นก็คือ พระนิพพานสายเดียว นี่การพิจารณาแบบนี้ที่พระโบราณาจารย์ท่านเขียนไว้ว่า เป็นได้เข้าถึงอุปจารสมาธิ

วันนี้ก็ขอพูดจบไว้แต่เพียงเท่านี้ อย่างนี้เขาเรียกว่า ธรรมานุสสติกรรมฐานแบบพิจารณา สำหรับธรรมานุสสติกรรมฐานแบบภาวนาให้เป็นฌานสมาบัติ วันพรุ่งนี้มีโอกาสจะพูดต่อไป

ต่อแต่นี้ไป ขอบรรดาพุทธบริษัททุกท่านพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาว่า พุทโธ หรือว่าธัมโม หรือสังโฆ ก็ได้ แต่ว่าถ้าภาวนาว่าพุทโธ ก็ให้จิตอยู่แค่พุทโธ อย่าให้มันเลยไปถึง ธัมโม หรือสังโฆ ถ้าภาวนาว่าธัมโมก็ให้จิตอยู่แค่ธัมโมอย่างเดียว อย่าให้มันไปถึงพุทโธหรือสังโฆ ถ้าภาวนาว่า สังโฆ ก็ให้จิตมันอยู่แค่สังโฆอย่างเดียว อย่าให้มันไปถึงพุทโธ ธัมโม จิตมันจะส่าย รักษาอารมณ์อย่างไหนก็รักษาอารมณ์อย่างนั้นไว้เป็นปกติ เวลาหายใจเข้านึกว่าพุท หายใจออกนึกว่าโธ ถ้าเจริญธรรมานุสสติกรรมฐาน เวลาหายใจเข้านึกว่า ธัม เวลาหายใจออกนีกว่า โม ธัมโม ธัมโม หากว่าเจริญสังฆานุสสติกรรมฐาน หายใจเข้านึกว่า สัง หายใจออกนีกว่า โฆ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ อย่าให้จิตมันสอดส่ายไปสู่อารมณ์อื่น ถ้าเราสามารถจะทรงความดีได้ชั่วขณะหนึ่งในช่วงเวลา ๓๐ นาทีที่จะให้เวลาต่อไปนี้ ถ้าทรงความดีได้อย่างนี้สัก ๓ นาที ก็ชื่อว่าเรามีความดีพอสมควร
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 44.0.2403.130 Chrome 44.0.2403.130


ดูรายละเอียด
« ตอบ #22 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2558 09:45:44 »

.


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๒๓ ธรรมานุสสติแบบอารมณ์ปัก

สำหรับวันนี้จะได้พูดเรื่องธรรมานุปัสสนาหรือว่าธรรมานุสสติต่อ เมื่อวานนี้ได้พูดธรรมานุสสติตามแบบปฏิบัติที่พระโบราณาจารย์ได้เขียนไว้ว่ามีอารมณ์เข้าถึงอุปจารสมาธิ วันนี้จะได้พูดเรื่องธรรมานุสสติกรรมฐานในด้านระดับของฌาน เพราะว่าถ้าเรามีความฉลาดเราก็ทำได้ ฉะนั้นการเจริญพระกรรมฐานตามแบบฉบับโดยเฉพาะ ท่านอาจจะกล่าวว่าบรรดาอนุสสติทั้งหมดเว้นไว้แต่อานาปานสติอย่างเดียว จึงจะเข้าถึงฌานได้นอกนั้นเข้าถึงอุปจารสมาธิ แต่ว่าอาจารย์ผู้ฉลาดเช่นหลวงพ่อพริ้งวัดมะกอก อสุภกรรมฐาน ท่านสามารถจะเนรมิตเอารูปอสุภขึ้นมาได้เลยทีเดียว เราจะเพ่งรูปตายแล้ววันหนึ่ง สองวัน สามวัน สี่วัน ห้าวัน หกวัน ลักษณะไหนก็ตาม เมื่อพูดถึงลักษณะอสุภคือคนตายแบบนั้น ภาพนั้นจะปรากฏเป็นคนนอนอยู่ข้างหน้า นี่ก็เพราะว่าอาศัยใช้อนุสสติบวกกับกสิณ นี่ความฉลาดเขามีได้เขาทำได้แบบนี้

สำหรับธรรมานุสสติก็เหมือนกัน ถ้าเราเจริญธรรมานุสสติกรรมฐานใคร่ครวญพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างนั้นมีผลแค่อุปจารสมาธิ แต่ว่าถ้าพิจารณาเป็นจริงก็บวกวิปัสสนาญาณเข้าไปด้วย แล้วนานๆ เข้ากำลังก็จะรวมเข้าถึงปฐมฌาน ก็สามารถตัดกิเลสได้เหมือนกัน นี่เรามาพูดกันถึงว่า ทำอย่างไรถึงจะเป็นฌาน ๔ หรือฌาน ๘ ได้ แล้วก็ทำได้

อันดับแรก เรื่องตอนต้นเห็นจะไม่ต้องพูดกัน เราตั้งใจจับรูปพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งคือพระพุทธรูปไว้เป็นนิมิตจากพุทธานุสสติกรรมฐาน การเจริญพุทธานุสสติกรรมฐานเป็นฌานเรายึดถือพระพุทธรูปเป็นนิมิตอยู่แล้ว คราวนี้เราก็ถือพระพุทธรูปองค์นั้นเป็นพุทธานุสสติตั้งขึ้นไว้เป็นกสิณเดิม เวลาที่จะพิจารณาถึงธรรมานุสสติ ท่านให้ตั้งจิตเพ่งไปคิดให้เห็นว่า มีดอกมะลิแก้วหล่นออกมาจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูปองค์นั้น นี่สร้างภาพเป็นกสิณขึ้นมาว่าเป็นดอกมะลิแก้ว พระพุทธรูปนั้นเผยพระโอษฐ์อ้าพระโอษฐ์ขึ้นมา ดอกมะลิแก้วหล่นลงมาเป็นสีใส แล้วก็สวยเป็นแก้วสวยแก้วใส แล้วแก้วนี้ถือว่าเป็นธรรมานุสสติ คือพระธรรมที่ไหลออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า นี่เขาจับนิมิตแบบนี้ แล้วขอบอกไว้เสียเลยว่า การที่เห็นเป็นดอกมะลิแก้วไหลออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้านั่น คำว่าแก้วนี่ใส ใสก็เป็นได้สองอย่างคือโอทาตกสิณหรือว่าอาโลกกสิณ ถ้าเราถือภาพเป็นสี ใสก็เป็นอาโลกกสิณ ถ้าเราถือว่าดอกมะลิแก้วนี่ขาวใส ใสแล้วก็ขาวก็เป็นโอทาตกสิณ แล้วเราก็จับภาพนั้นนึกถึงลมหายใจเข้าหายใจออก หายใจเข้าก็นึกว่า ธัม หายใจออกนึกว่า โม ภาวนาว่า ธัมโม แล้วจับภาพดอกมะลิแก้วนั้นให้ติดตาติดใจ เป็นปกติ

ถ้าหากว่าจิตของเราเป็นอุปจารสมาธิเบื้องต้น ก็จะเห็นดอกมะลิแก้วตามที่อารมณ์นึก เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง มันก็ย้อนกันไปย้อนกันมา พอจิตเลื่อนลงไปนิดหนึ่งจิตไม่เป็นสมาธิ อารมณ์ที่จะรู้สึกว่าเห็นดอกมะลิแก้วมันก็หายไป นี่เป็นเครื่องวัด ถ้าอารมณ์ใจเป็นสมาธิขึ้นมา อารมณ์ที่เราต้องการเห็นดอกมะลิแก้วมันก็ปรากฏ ถ้าหากว่าเราชำนาญมาจากพุทธานุสสติกรรมฐานได้ฌาน ๔ หรือฌาน ๘ แล้วเรื่องนี้ก็เป็นของไม่ยาก เราก็สามารถจะผลิตธรรมานุสสติกรรมฐานให้ได้ถึงฌาน ๘ ภายใน ๗ วัน ไม่ใช่ของยากเลย ๗ วันนี่ ภายใน ๗ วันนะ ไม่ใช่ครบ ๗ วัน

เมื่อพิจารณาแบบนั้นแล้ว จิตเป็นอุปจารสมาธิทรงตัว ดอกมะลิแก้วจะหยุดอยู่ เรียกว่ากองลงมาหรือลอยอยู่ข้างหน้า หยุดอยู่โดยเฉพาะ เมื่อหยุดอยู่อย่างนั้นเราสามารถจะบังคับให้ทรงอยู่ได้นานแสนนานตามกำลังที่เราต้องการ นี่ยังเป็นสมาธิเบื้องต้น เขาเรียกอุคหนิมิต อุคหนิมิตตัวนี้ต่อไปจะขยายไปมองเห็นแล้วปรากฏว่าเรานึกว่าดอกมะลิแก้วใหญ่ไปหรือว่าเล็กลงมา สูงขึ้นต่ำลง แล้วมีความสวยสดใสสวยกว่าเรียกว่าอุปจารนิมิต เห็นเท่าภาพเดิมที่เรานึกอยู่ว่าจะเห็น อย่างนี้เรียกว่าเป็นอุคหนิมิต ถ้าบังคับให้ภาพนั้นเคลื่อนไปได้ ใหญ่ได้ เล็กได้ ใสกว่า เป็นอุปจารนิมิต อุปจารนิมิตนี่มี่ความสดใสมากขึ้น จิตทรงตัวมากขึ้น ดอกมะลิแก้วจะใส ขยายใหญ่โต ตัวเป็นประกายพรึก

เมื่อดอกมะลิแก้วเป็นประกายพรึกแล้ว นี่เรากำลังปฏิบัติธรรมานุสสตินะ ภาวนาว่าธัมโมแล้วก็สังเกตอารมณ์ใจ อารมณ์ใจ ใจเราสามารถได้ยินเสียงภายนอกได้ชัดเจนแจ่มใส แต่ว่าเราไม่รำคาญในเสียง นี่แสดงว่านิมิตนั้นเป็นปฏิภาคนิมิต จิตเข้าถึงปฐมฌาน องค์ภาวนาคงภาวนาอยู่ ภาพดอกมะลิแก้วสดใสสวยกว่าปกติขึ้นมา แล้วทรงตัวได้นาน

เมื่อภาวนาไปภาวนาไป อารมณ์แห่งการภาวนาหยุดเฉยๆ ดอกมะลิแก้วใสกว่าเดิม ผิดปกติขึ้นมาอีกเป็นประกายพรึกสวยกว่าเก่า อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ ๒ คำภาวนาหายไปมีความชุ่มชื่นปรากฏ ต่อไป ความชุ่มชื่นหายไป ลมหายใจน้อยลง รู้สึกว่าลมหายใจมันเบามากเกินปกติหูได้ยินเสียงภายนอกเบาๆ แผ่วเบามาก แล้วก็มีอาการเครียด ตัวตึง มีความรู้สึกเหมือนกับตัวตึง นั่งตรง ถ้านอนก็เหมือนกันนอนตรงตึงตัวเข้าไว้ แต่เราไม่ได้เกร็ง ความรู้สึกเป็นยังงั้น สีของดอกมะลิแก้วสดใสเป็นกรณีพิเศษ ใสแพรวพราว บอกไม่ถูก มันจับใจ ใหญ่ได้ เล็กได้ เคลื่อนไปข้างหน้าได้ เคลื่อนไปข้างหลังได้ เราจะให้อยู่สูงได้ อยู่ต่ำได้ รู้สึกว่ามีการคล่องตัวมากขึ้น อาการอย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ ๓ ตอนนี้ภาวนาหายไปหมดแล้ว

แล้วต่อมาดอกมะลิแก้วเป็นประกายพรึกหนาทึบ เป็นประกายแพรวพราว จับใจ ไม่ปรากฏลมหายใจ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ ๔ นี่ ว่ากันถึงว่าเราทำธรรมานุสสติให้เข้าถึงฌานที่ ๔ ได้ จำอาการไว้ด้วยนะ ตอนหัวค่ำนี่ต่อๆ ไป ก็จะถือว่าให้เป็นการศึกษาพระกรรมฐานครบ ๔๐ กอง แต่ว่าเวลาปฏิบัติจริงๆ ภาวนาจริงๆ พิจารณาจริงๆ เราก็เลือกเอาตามอัธยาศัย ศึกษาไว้เพื่อเป็นความรู้ เพราะอะไรมันเกิดขึ้น ก็จะได้รู้ว่านี่เป็นอะไรแน่

ต่อไปเมื่อจิตจับภาพเป็นประกายพรึกของธรรมานุสสติคือดอกมะลิแก้วสดใสเป็นกรณีพิเศษทรงอยู่ได้นานแสนนาน เพราะว่าเราได้ฌานมาจากพุทธานุสสติกรรมฐานแล้ว เป็นของไม่ยาก โดยมากเขาทำกันวันเดียว หนเดียวเขาได้ฌาน ๘ เพราะว่าฌานเดิมมันเป็นฌาน ๘ มาแล้ว อารมณ์มันเป็นแบบเดียวกัน อย่างมากมันก็จะขลุกขลักอยู่ในวันแรก พอวันที่สองก็ตรงทางโผงถึงฌาน ๘ ไป

ที่กล่าวมาแล้วนี้เรียกว่ารูปฌาน เต็มฌาน ๔ แล้ว รูปฌานเต็ม ๔ ต่อไปเราก็จะทำธรรมานุสสติกรรมฐานให้เป็นฌาน ๘ ก็จับอรูปตั้งภาพนิมิตคือดอกมะลิแก้วที่เราคิดว่าเป็นพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นให้ทรงตัวอยู่มีอารมณ์จับนิ่ง เมื่อนิ่งพอจิตสบายเป็นอุเบกขารมณ์ จิตขยับนึกว่าภาพนี้จงหายไป ขออากาศจงปรากฏอากาสานัญจายตนะ พิจารณาว่าเวลานี้ไม่มีอะไร ภาพหมดไปแล้ว มีแต่สภาพว่างเหลือแต่อากาศ ขึ้นชื่อว่าอากาศนี้หาที่สุดมิได้ ไม่มีอะไรทรงตัว ชีวิตของเราก็เหมือนกัน ถ้ายังหลงอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสอยู่ มันก็จะมีแต่ความทุกข์หาที่สุดมิได้ นี่มันใกล้วิปัสสนาญาณเข้าไปเต็มที แต่มันยังไม่ถึง ถ้าหากว่าเรายังมีตัวอยู่อย่างนี้ เราก็พบความทุกข์หาที่สุดมิได้ ความร้อนความหนาวความกระหาย ทุกข์ภัยต่างๆ ที่เกิดมาก็เพราะอาศัยร่างกายเป็นสำคัญ นับตั้งแต่นี้ไป เราไม่ต้องการร่างกาย เราไม่ต้องการอะไรทั้งหมด ขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ เป็นที่รับแห่งทุกข์ทั้งปวง เราไม่ต้องการ ต้องการอย่างเดียว ความหมดไปจากขันธ์ ๕ มีสภาพเหมือนอากาศ จิตใจมันก็จะทรงตัวมีความปกติ จิตนิ่งเป็นอารมณ์ของฌาน ๔ จิตทรงความสบายเป็นฌาน ๔ ได้ตามอัธยาศัย อย่างนี้เรียกว่าได้อากาสานัญจายตนะฌาน

เมื่อได้อากาสานัญจายตนฌานพิจารณาอากาศแล้ว ต่อไปก็ขยับขึ้นไปอีกนิดหนึ่งขึ้นไปวิญญาณัญจายตนฌาน พิจารณาว่า ขึ้นชื่อว่าวิญญาณถ้ายังทรงสภาพอยู่ มันก็ยังรับรู้สภาวะของความสุขหรือความทุกข์ เราไม่ต้องการให้วิญญาณทรงสภาพ จับเป็นกลุ่มเป็นก้อน ต้องการให้วิญญาณนี้สลายไปเหมือนอากาศ มันจะได้ไม่มีความรับสัมผัสใดๆ ทั้งหมด แล้วอารมณ์จิตก็ตั้งเพ่งไปเฉพาะข้างหน้าเห็นภาพของวิญญาณโดยนิมิตจัดขึ้นแล้วกระจายวิญญาณให้สลายตัวไป ไม่มีอะไรเหลือ ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงอยู่ จิตได้ถึงฌาน ๔ ก็ชื่อว่าเราได้วิญญาณัญจายตนฌาน

ตอนนี้อากิญจัญญายตนฌาน ฌานที่ ๓ จับภาพกสิณตั้งขึ้น ภาพกสิณนี่มีสภาพเหมือนกับสภาพของจิต ขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ ก็ดี เราว่ายังงั้น วิญญาณก็ดี ถ้ามันยังมีอยู่ตราบใด มันก็ใช้ไม่ได้ มันก็จะประสบกับความทุกข์ ต่อไปนี้แม้แต่วิญญาณนิดหนึ่งก็จะไม่ปรากฏสำหรับเรา อากิญจัญญายตนะแปลว่าไม่มีอะไรเลย เราเป็นผู้ไม่มีอะไรเหลือแม้แต่นิดเดียว แม้แต่ความรู้สึกนิดหนึ่งมันก็จะไม่ปรากฏ จิตทำลายภาพกสิณให้หายไป คือดอกมะลิแก้วให้หายไป มีแต่อากาศว่างเปล่า จิตมีความสุข เพ่งอยู่เสมอว่า เราต้องการไม่มีรูป ไม่มีสภาพแบบนี้ เราจะไม่มีทุกข์ นี่ถ้าจิตทรงถึงฌาน ๔ แล้วก็ชื่อว่าเราได้ฌาน ๗ แล้ว อรูปฌานที่ ๓ เป็นฌาน ๗
 
อรูปฌานที่ ๔ ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ หวนกลับมาจับกาย จับวิญญาณ จับจิต จับร่างกายของเรา ว่าเวลานี้เรายังมีร่างกายอยู่ มันรับทุกข์ เรามีอายตนะมันรับทุกข์ เรามีวิญญาณ เรายังมีอาการรับสัมผัสมันรับทุกข์ ไม่ใช่รับสุข ชีวิตของเรามันไม่มีการรับสุข มันรับแต่ทุกข์ ต่อไปนี้ถึงแม้ว่าเรายังจะอยู่ในร่างกายนี้ก็ตามที เราจะทำความรู้สึกเหมือนว่าเป็นคนไม่มีสัญญา เนวสัญญานาสัญญายตนะ ท่านบอกว่ามีสัญญาและมีอายตนะแต่ทำเหมือนคนไม่มีสัญญา ทำเป็นเหมือนคนไม่มีอายตนะ อายตนะก็ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สัญญาก็ได้แก่ความจำ จำว่านี่หนาว นี่ร้อน นี่เปรี้ยว นี่เค็ม นี่เผ็ด นี่อุ่น อะไรก็ตาม มันจำได้ สัญญาแปลว่าความจำ ตอนนี้ไม่อยากจะจำ ปล่อย มันจะร้อนมา มันจะหนาวมา มันจะยังไงก็ช่างหัวมัน ทำเหมือนกับคนตายแล้ว ทำเหมือนคนไม่รู้สึกแล้วจิตมันก็ทรงได้ มันจะหนาว มันจะร้อน มันจะหิว มันจะกระหายก็ตาม ฉันไม่หิวด้วย แกอยากหิวก็หิว ฉันไม่หิว จิตมันอยู่ในความสงบ อันความหิวมันก็ไม่เกิด เมื่อหนาวมาจริงๆ เอ้า มันจะยังไงก็ช่าง ฉันไม่หนาว เอาจิตเข้าไปตั้งฌาน ๔ มันก็ไม่หนาว เรียกว่ามีสัญญาเหมือนกะไม่มีสัญญา มีวิญญาณเหมือนกะไม่มีวิญญาณ มีอายตนะ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง รูปสวยเสียงเพราะฉันไม่สนใจ รูปไม่สวยเสียงไม่เพราะฉันไม่สนใจ รสอาหารมันจะเป็นยังไงฉันไม่สนใจ ว่าไอ้พวกนี้มันสลายตัวหมด ต่อไปมันก็ไม่มี นี่มันใกล้วิปัสสนาญาณมาก ฉะนั้น พวกที่ได้สมาบัติ ๘ จึงเจริญวิปัสสนาญาณไม่เกิด ๑ อาทิตย์ได้อรหัตผล และเป็นปฏิสัมภิทาญาณ นี่พิจารณาตามนี้จนจิตชิน ก็ชื่อว่าเราได้เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่มันก็ไม่ยากนะ ยากไหม มันไม่ยากนี่ เราพูดกันมาถึงพุทธานุสสติมาแล้ว ไอ้การระงับนิวรณ์ การทรงเมตตา การทรงพรหมวิหารสี่ การทรงศีล เราพูดกันมาแล้ว แล้วเราก็ได้พุทธานุสสติกรรมฐานเป็นสมาบัติ ๘ มาแล้ว แล้วก็เรื่องอะไรล่ะจะต้องมานั่งคลำธรรมานุสสติกรรมฐานกันถึง ๗ วัน ๘ วัน เขาคลำกันไม่เกิน ๓ วัน เป็นอย่างช้า คือวันแรกขลุกขลักนิดหนึ่ง วันที่สองเอาไปกินเสียหมดแล้ว วันที่สามซ้อมให้มีการทรงตัว แล้วหลังจากนั้นเขาจับสังฆานุสสติต่อไปอีกฌาน ๘ อีก

นี่เป็นวิธีการที่จะพึงรู้ เป็นหลักวิชา แต่ว่าหลักวิชาจริงๆ น่ะอนุสสติท่านบอกว่าให้ใช้ได้แต่เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น นี่ตามแบบอนุสสติเดิม ตอนนี้เราก็มาดัดแปลงแก้ไขให้เกิดเป็นฌานได้ มันจะเป็นไรไป ไม่ผิด ก็เอาอนุสสติมาเป็นกสิณเสียมันก็หมดเรื่องกันไป นี่เขาทำกันได้แล้วจิตมันก็ทรงตัวดี ถ้าจิตมีความมั่นคง แล้วก็ได้ถึงสมาบัติ ๘ หรือถึงสมาบัติ ๔ แล้ว เวลาจะเจริญวิปัสสนาญาณมันก็เป็นของง่าย มันไม่มีอะไรจะยากนี่จำไว้เป็นพื้นฐาน เพราะว่ามีคนเขาพูดกัน ไอ้พวกเกาะตำราว่าอนุสสติทั้งหมดจะเป็นฌานไม่ได้นอกจากอานาปานสติกรรมฐาน เราก็จะตอบเขาว่าเฉพาะอนุสสติจริงๆ ละก็เป็นเช่นนั้น แต่เราดัดแปลงอนุสสติเป็นกสิณได้ เป็นกสิณแล้วก็ถือเอาพระธรรม เอาพระพุทธ เอาพระสงฆ์ เอาเข้ามาเป็นกสิณนั่นเอง เมื่อเป็นกสิณแล้วเราก็ทำฌาน ๘ ให้เกิดขึ้นได้ อย่าว่าแต่ฌาน ๔ เลย นี่การทรงตัวมันดีอย่างนี้

เอาละต่อแต่นี้ไปก็ขอทุกท่าน พยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้าภาวนาว่า พุท เวลาหายใจออกภาวนาว่า โธ อย่างนี้ก็ได้นะ หรือว่าใครถนัดแบบไหนก็ให้พิจารณาหรือภาวนาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 44.0.2403.155 Chrome 44.0.2403.155


ดูรายละเอียด
« ตอบ #23 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2558 09:03:46 »

.


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๒๔ ธรรมานุสสติเป็นวิปัสสนาญาณ

สำหรับวันนี้ก็จะขอให้ท่านทั้งหลายได้ศึกษาธรรมานุสสติต่อ วานนี้ได้พูดถึงเรื่องธรรมานุสสติกรรมฐานใช้เป็นอารมณ์ฌาน ตั้งแต่รูปฌานและอรูปฌานมาแล้ว วันนี้ก็จะใช้ธรรมานุสสติกรรมฐานในด้านสมถภาวนาเป็นวิปัสสนาภาวนา

แต่ว่าการที่เราจะเจริญวิปัสสนาภาวนาเป็นบาทแห่งการพิจารณาถึงร่างกายว่า ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันดับแรกก็ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัทพยายามจับภาพธรรมานุสสติกรรมฐานตามที่กล่าวมาแล้ว ให้จิตทรงอารมณ์เป็นฌานเสียก่อน คำว่าเป็นฌานก็คือว่ามีอารมณ์แน่นสนิท จิตอยู่ในอุเบกขารมณ์ เป็นเอกัคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง แล้วก็มีอารมณ์วางเฉยจากอารมณ์ทั้งปวง มีจิตสดใส มีความสบายมีความสดชื่น มีจิตหยุดจากอารมณ์ต่างๆ ทั้งหมด เมื่อมีอารมณ์จิตสบายแล้ว ก็ถอยหลังจิตมาสู่อุปจารสมาธิ คำว่าถอยหลังในที่นี้ความจริงน่ะพูดตามหลักวิชา อันเนื้อแท้จริงๆ แล้วก็ไม่ต้องถอยหลัง เมื่อจิตมันแน่นสนิทแล้ว เราก็คิดว่าต่อไปนี้เราจะใคร่ครวญอย่างนี้ สมาธิมันก็ลดลงมาเอง เมื่อสมาธิลดลงมาจิตมันก็ยังมีความสดชื่นอยู่ในขอบเขตของฌาน ตอนนี้เราก็มาใช้ธรรมานุสสติกรรมฐานที่ท่านเรียกว่าสมถะมาเป็นวิปัสสนาญาณ

ในอันดับแรกเราก็พิจารณาถึงรูปของพระพุทธเจ้า ว่าพระพุทธเจ้านี่ทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ ประเสริฐสุดกว่ามนุษย์ทั้งหมด ประเสริฐกว่าเทวดาหรือพรหม แต่ว่าร่างกายของพระองค์คือ ขันธ์ ๕ ย่อมไม่ทรงอยู่ได้ ย่อมเป็นไปตามกฎของธรรมดา คือเมื่อความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็มีความแปรปรวน มีโรคภัยไข้เจ็บรบกวนเหมือนกับร่างกายของเรา แล้วต่อมาความแก่เฒ่าไม่สบายก็ปรากฏ ในที่สุดสังขารขององค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็แตกสลายลง เราเรียกกันว่านิพพาน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงมีชีวิตอยู่ แล้วเมื่อดับชีพสังขารไปแล้ว ที่เราใช้คำว่านิพพาน นิพพะนี่เขาแปลว่าดับ ดับจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร พระพุทธเจ้าไม่มีทางที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ เทวดาหรือเกิดเป็นพรหม หรือว่าแม้แต่จะเฉียดเข้าไปสู่อบายภูมิก็ย่อมไม่มีมีแดนเป็นที่อยู่แดนเดียวคือพระนิพพาน

ตอนนี้เราก็ต้องมาดูว่าพระพุทธเจ้าท่านก็เป็นลูกมนุษย์อย่างเรา แล้วทำไมเล่าพระพุทธเจ้าจึงไปนิพพานได้ ท่านกับเรานี่ไม่มีอะไรแตกต่างกัน มีอาการ ๓๒ เหมือนกัน มีความรู้สึกนึกคิดเหมือนกัน ที่แตกต่างกันอยู่สักหน่อยหนึ่ง ก็คือการบำเพ็ญบารมีมาต่างกัน ท่านบำเพ็ญบารมีมาเพื่อบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณโดยไม่ต้องรับคำสอน แล้วเราเป็นสาวกบำเพ็ญบารมีมาเพื่อรับคำสอน รู้สึกว่าจะได้กำไรดีกว่าพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงค้นคว้าพระธรรมเอง มีความเหนื่อยมาก เราเป็นแต่เพียงฟังคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงบรรลุแล้ว หามาป้อนให้แก่พวกเรา พวกเรามากินสำรับที่ตั้งอยู่ข้างหน้าเฉยๆ เขาปรุงมาแล้ว ทำมาแล้วด้วยดีทุกอย่าง เท่านี้ก็ชื่อว่าเราเป็นผู้ได้เปรียบกว่าบุคคลผู้หามาให้เรา อาหารที่พระพุทธเจ้าทรงหามาให้เราอาหารชิ้นที่โอชารสที่สุดก็ได้แก่อริยสัจสี่ อริยสัจสี่นี่องค์สมเด็จพระมหามุนีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นคว้าได้เองโดยไม่ต้องผ่านอาจารย์องค์ใดทั้งหมด

ตอนนี้เรามาเจริญธรรมานุสสติ อริยสัจนี้ก็เป็นธรรมานุสสติ หรือว่าการที่เรามาพิจารณาร่างกายของพระพุทธเจ้าว่ามีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น พระองค์ก็เป็นเด็กเหมือนกัน ต่อมาค่อยโตขึ้นมา ต่อมาเป็นหนุ่ม ต่อมาค่อยๆ แก่ลงทีละน้อยๆ มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ในที่สุดก็สิ้นชีพสังขารที่เรียกว่านิพพาน แสดงว่าความเกิดมันไม่เที่ยง มันมีความแก่สนับสนุน มีความป่วยไข้ไม่สบายสนับสนุน มันมีความตายเป็นที่สุด ตัวนี้เป็นธรรมะ จะถือว่าเป็นพุทธานุสสติไม่ได้แล้ว ต้องถือว่าเป็นธรรมานุสสติ เอาร่างกายของพระพุทธเจ้ายกขึ้นมาเป็นธรรม เดินไปตามกฎของธรรมดา นั่งพิจารณาดูว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ ร่างกายของพระองค์ยังเป็นเช่นนั้น ในฐานะที่พระองค์เป็นลูกกษัตริย์มีสมบัติมาก ทำไมจึงไม่ทรงหลงใหลใฝ่ฝันในรูปโฉมโนมพรรณหรือสมบัติที่มีอยู่ ทั้งนี้ก็เพราะว่าองค์สมเด็จพระบรมครูเห็นว่า มันไม่จีรังยั่งยืนเป็นวัฏฏะคือวนไปวนมา เป็นเหตุของความทุกข์หาความสุขจริงจังอะไรไม่ได้ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงแสวงหาธรรมที่ไม่เกิดต่อไปที่เรียกว่าโมกขธรรม โมกขธรรมแปลว่าธรรมเป็นที่พ้นจากความเกิด

นี่เราก็ดูตัวอย่างของพระพุทธเจ้า ท่านดีกว่าเราโดยฐานะ ดีกว่าเราโดยบารมี ถ้าเป็นฆราวาสท่านก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชปกครองโลกโดยธรรม เมื่อมาบวชท่านก็เป็นพระพุทธเจ้า จัดว่าเป็นผู้เด่นที่สุด แต่ท่านก็ยังเห็นว่าร่างกายของมนุษย์มันเป็นของไม่ดี ความเกิดเป็นของไม่ดี แล้วพวกเราจะมานั่งนึกหาความดีถึงว่าการเกิดเป็นของดีเพื่อประโยชน์อะไร แล้วพระองค์เองก็ทรงเห็นภัยในวัฏฏะ เห็นว่าการครองร่างอยู่อย่างนี้มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ความทุกข์มีอะไรบ้างเราพูดกันมานานแล้ว ใคร่ครวญหาความทุกข์ให้เจอ บุคคลใดถ้าไม่เห็นทุกข์ บุคคลนั้นก็ชื่อว่ายังมีอวิชชาหรือโมหะบังหน้าอยู่เต็มที่ องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงกล่าวว่าคนโง่ย่อมมองไม่เห็นทุกข์ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเห็นว่าความทุกข์เป็นความสุขไปหมด ยังมีความปรารถนาในความทุกข์เห็นเป็นปัจจัยของความสุข จะเหน็ดเหนื่อยยากลำบากสักเท่าไรก็ตามทีเห็นว่าดีอยู่เสมอ นี่เป็นอารมณ์ของความโง่คืออวิชชาเข้าปิดบังใจ
 
แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรไม่ได้คิดอย่างนั้น เวลาใกล้รุ่งอรุณแห่งวันเพ็ญกลางเดือนหก พระองค์ก็ทรงยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาญาณ เห็นอริยสัจสี่คือทุกข์เป็นจุดต้น สัตว์และคนทั้งหลายที่เกิดมาทั้งหมดจะเป็นเทวดา หรือพรหมก็ตามเป็นผู้ไม่พ้นจากความทุกข์ หาความสุขจริงจังอะไรไม่ได้ แล้วตัวทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้มันมาจากไหน พระองค์ก็ใคร่ครวญต่อไปว่ามันมาจากเหตุของความทุกข์คือสมุทัย ได้แก่ความอยาก คือว่าอยากเกิด อยากสวย อยากงาม อยากร่ำรวย อยากมีฐานะใหญ่ อยากเป็นผู้มีอำนาจวาสนาบารมีสูง อยากอย่างนี้อยากได้ แต่ไม่อยากตายไม่อยากป่วยทั้งๆ ที่มันจะต้องตายจะต้องป่วย ความอยากตัวนี้เป็นภัยอย่างยิ่งเพราะเป็นการปิดใจบังใจของท่านบรรดาพุทธบริษัทชายหญิงให้เห็นว่านั่นเป็นของดี แต่องค์สมเด็จพระชินสีห์ย่อมมองไม่เห็นด้วย เจ้าความอยากตัวนี้แหละเป็นปัจจัยให้เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ เกิดเป็นคน เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหมนี่น้อยนัก ส่วนใหญ่แห่งการเกิดของพวกเรา ก็คือเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น เกิดเป็นเปรต อสุรกาย เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานมีมากต่อมาก แสดงว่าดินแดนแห่งการเกิด ในเมื่อเราเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะมันมีทุกข์มากกว่าสุข นี้ถ้าหากว่าเราไม่พึงปรารถนาความเกิดเสียแล้ว มันก็จะมีแต่ความสุขอย่างยิ่งหาความทุกข์เจือปนไม่ได้ สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา จึงทรงพิจารณาว่าการตัดตัณหาเป็นของดี การตัดตัณหาตัวนี้ไม่ต้องตัดที่ไหน ตัดกันที่ตัวเราเป็นสำคัญ ไม่ต้องไปตัดที่ชาวบ้าน ชาวบ้านเป็นเรื่องของเขา ถ้าเราตัดตัวเราเสียได้อย่างเดียว เราก็ตัดคนอื่นได้หมด เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกที่เราจะพอใจยิ่งไปกว่าร่างกายของเราไม่มี ส่วนที่เราห่วงใยมากที่สุดก็คือร่างกายของเรา

วิธีตัดร่างกายเราจะตัดกันอย่างไร?
 
ก็มานั่งพิจารณาร่างกายดู นี่ธรรมานุสสติกรรมฐานนะ ทั้งหมดนี่เป็นธรรมะทั้งนั้น ว่าร่างกายของเรานี่มันมาจากไหน? ดูเป็นอันดับแรก จะเห็นว่า ร่างกายของเรานี่มันมาจากธาตุ ๔ คือธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ แล้วมันตั้งอยู่นานไหม? มันทรงตัวไหม? ก็จะเห็นว่ามันตั้งอยู่ไม่ได้นาน มันไม่มีการทรงตัว มันเคลื่อนไปหาความสลายตัวในที่สุด ขณะที่มันตั้งอยู่มันสกปรกหรือมันสะอาด? เราก็จะเห็นว่ามันสกปรกด้วยประการทั้งปวง การทรงชีวิตอยู่เต็มไปด้วยความสุขหรือความทุกข์? ใคร่ครวญไปด้วยปัญญา จิตทรงฌานจะเห็นชัด เห็นว่าเต็มไปด้วยความทุกข์ เราดูสิว่า ร่างกายของเรานี่น่ารักตรงไหน? น่าประคับประคองตรงไหน? มองไปจะเห็นแต่ความสกปรกทั้งกาย ไม่มีอะไรเป็นที่น่าประคับประคอง

แล้วก็ดูต่อไปว่า ร่างกายของเรานี่มันเป็นเราหรือไม่ใช่เรา เราเป็นเจ้าของมันหรือว่ามันเป็นเจ้าของเรา เรามีการควบคุมมันได้ตลอดกาลตลอดสมัย หรือว่ามันให้เราอยู่กับมันตลอดกาลตลอดสมัย? พิจารณาไปด้วยกำลังฌานสนับสนุน เราก็จะเห็นได้ร่างกายนี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นเรือนร่างที่อาศัยสำหรับเราชั่วคราวเท่านั้น ในที่สุดมันก็สลายตัว ถ้าเรายังแบกความโง่เข้าไว้ เราก็ต้องไปหาร่างกายเป็นที่เกิดใหม่ ถ้าเจอะร่างกายคนก็พอทำเนา ถ้าเป็นคนดี ถ้าไปเจอะเอาร่างกายคนง่อยเปลี้ยเสียขาทุพพลภาพเข้าก็จะมีอารมณ์หนัก นี่เพราะอาศัยการอยากเกิดมันไม่แน่นัก ดีไม่ดีก็ไปคว้าเอาร่างกายสัตว์เดรัจฉานเข้าเพราะกรรมที่เป็นอกุศลสนับสนุน หรือมิฉะนั้นก็ไปคว้าเอากายของสัตว์นรกหรือกายเปรต กายอสุรกายเข้ามันก็ไม่เป็นเรื่อง มิฉะนั้นเราไปคว้ากายเทวดาหรือพรหมมันก็สุขชั่วคราว หมดบุญวาสนาบารมีก็หล่นลงมาใหม่

เป็นอันว่าการปรารถนาในร่างกายนี้ไม่เกิดประโยชน์ ร่างกายที่เราได้แต่ละคราวมันก็ไม่คงทนถาวร ไม่อยู่ตลอดกาลไม่อยู่ตลอดสมัย การที่เราจะตัดความอยาก คือตัณหาตัวนี้ได้ก็คือตัดร่างกายของเราเสีย พิจารณาว่าร่างกายนี้มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็มีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง มีการแตกสลายไปในที่สุด ชาติปิ ทุกขา ความเกิดทุกข์ ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ นั่งนึกมันอยู่แค่นี้พอ ว่าเกิดมันก็ทุกข์ แก่ก็ทุกข์ เจ็บก็ทุกข์ ตายก็ทุกข์ ในเมื่อมันทุกข์ทุกอย่างแล้ว ในขณะที่แบกทุกข์อยู่เราก็ทนไม่เป็นไร มันจะทุกข์ก็ไม่ว่าขอให้มันอยู่กับเราตลอดกาลตลอดสมัย มันก็ไม่ยอมอยู่เสียอีก มันก็พัง ยังงี้เราจะคบมันไปเพื่อประโยชน์อะไร เราก็ไม่คบมันดีกว่า
 
วิธีที่เราจะไม่คบเราทำยังไง?
 
เราก็พิจารณาเห็นโทษของความเกิดเป็นสำคัญ ว่ามันเป็นทุกข์

เมื่อเห็นโทษของความเกิดแล้วเราก็พยายามหนีความเกิด ด้วยการยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ว่าให้ละความชั่ว ประพฤติความดี ทำจิตให้ผ่องใส

ตัดโลภะ ความโลภ ด้วยการให้ทาน

ตัดโทสะ ความโกรธ ด้วยอภัยทาน คือเมตตา
 
ตัดโมหะ ความหลง ด้วยการมองหาความจริงให้พบอยู่เสมอว่า ร่างกายเป็นทุกข์ ความเกิดเป็นทุกข์ แล้วก็ตัดสินใจไว้โดยเฉพาะว่า กรรมใดที่มีเยื่อใยกับความเกิดเราไม่ต้องการกรรมนั้น หมายความว่าธรรมอันใดก็ตามที่เป็นปัจจัยให้เราจะต้องเกิดเราไม่ต้องการมันอีก ธรรมที่ต้องการให้เราเกิดก็คือ ความรัก ความรักในบุคคล ความรักในสัตว์ ความรักในวัตถุ ที่ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา นี่จะไม่มีสำหรับเราต่อไป ถ้าความเมตตาปรานีในด้านความรักเพื่อการสงเคราะห์ ปรารถนาให้มีความสุข อย่างนี้มีอยู่ แต่ว่าเราจะไม่ยึดไม่ถือว่าคนนั้นเป็นคนของเรา สัตว์ตัวนี้เป็นสัตว์ของเรา วัตถุนั้นเป็นวัตถุของเรา ร่างกายนี้เป็นร่างกายของเรา ไม่มีอีก ถือว่ามันเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้วก็มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง มีการแตกสลายไปในที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ เราก็เชื่อว่าพระองค์พูดถูก พูดจริง เมื่อเชื่อแล้วก็คุมตัวไว้ไม่ให้ลงอบายภูมิ คือมีศีลบริสุทธิ์ เมื่อมีศีลบริสุทธิ์แล้วก็นึกรู้ได้ว่าเราเป็นพระโสดาบัน แต่ว่ายังไม่ดีพอ เพราะว่าอะไร เพราะว่ากามราคะมันยังมีอยู่ ความโกรธความพยาบาทมันยังมีอยู่

ก็ใช้อสุภกรรมฐาน พิจารณาควบกับวิปัสสนาญาณว่า ร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แล้วทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่มีเราไม่มีของเรา เราจะมั่วสุมเพื่อกามารมณ์ เพื่อความมัวเมาเพื่อกามารมณ์เป็นปัจจัยของความทุกข์เพื่อประโยชน์อะไร เพราะว่าร่างกายของคนทุกคนเต็มไปด้วยความสกปรก เราไปมั่วสุมอยู่ก็ชื่อว่าหลงใหลใฝ่ฝันในสิ่งสกปรกเห็นว่าเป็นของสะอาด มันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง ทำใจให้เห็นตามความเป็นจริง จนกระทั่งอารมณ์เกิดนิพพิทาญาณมีความเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ คือร่างกายของเราและบุคคลอื่น พิจารณาตัวเราให้มาก ว่ามันสกปรก เมื่อเห็นเราสกปรก แล้วเราก็เห็นคนอื่นสกปรก ความรู้สึกในเพศมันก็จะหมดไป

แล้วต่อไปก็เจริญเมตตาพรหมวิหารสี่หรือกสิณสี คือ กสิณสีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว อย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามาตัดอารมณ์ของโทสะ บวกไปด้วยเมตตาบารมี เอาร่างกายของคนและสัตว์นี่เข้ามาเทียบกับคนเรา มันเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน เราจะโกรธจะเคืองเขาเรื่องอะไร คิดประทุษร้ายเขาด้วยเรื่องอะไร มันไม่เป็นประโยชน์ จนกระทั่งอารมณ์ใจของเราดับความโกรธเสียได้ อย่างนี้เรียกว่าอนาคามี เพียงเท่านี้อย่างย่อก็เรียกว่าพอแล้ว ชื่อว่าการเจริญธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน หรือว่าธรรมานุสสติกรรมฐานเท่านี้เรียกว่าพอจุดหนึ่ง คือเป็นพระอนาคามีแล้ว เราเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมเราก็นิพพานบนนั้น

แต่ทว่าถ้าขันธ์ ๕ ของเรายังทรงอยู่ก็ยังไม่ควรพอ เพราะการตัดกิเลสหยาบตัดได้แล้ว เหลือกิเลสละเอียดอีก ๕ ตัว คือ ความหลงใหลในรูปฌานและอรูปฌานว่าเป็นของประเสริฐไม่มีอะไรเลิศยิ่งกว่าไม่มีความรู้สึกในเรา เราเห็นว่าพระนิพพานมีความสำคัญ จึงไม่เมาอยู่ในรูปฌานและอรูปฌาน ทำจิตให้ก้าวหน้าต่อไปว่า เราจะเอาฌานเป็นกำลังก้าวเข้าไปสู่พระนิพพาน แล้วก็หันเข้าไปตัดมานะความถือตัวถือตน ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา ถือว่าอารมณ์อย่างนี้ไม่มีสำหรับเรา คือว่าคำว่าเขาว่าเรายังไม่มี ทุกคนไม่มีใครเป็นเราเป็นเขา ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ชาวบ้านก็เหมือนกัน ร่างกายไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเขา ไอ้ที่เรารังเกียจกันน่ะมันรังเกียจเปลือก รังเกียจสิ่งที่ไม่ใช่สมบัติของตัว ฉะนั้น ใครจะเป็นคนจน ใครจะเป็นคนรวย ใครจะสกปรก ใครจะสะอาดหรือจะเป็นสัตว์เดรัจฉานอะไรก็ช่าง ถือว่ามันเป็นเพื่อนแห่งความสกปรกเหมือนกัน เกิดมาแบกความสกปรก เกิดมาแบกความทุกข์เหมือนกัน ไม่มีใครดีกว่ากัน ไม่มีใครเลวกว่ากัน ตกอยู่ในอำนาจของกฎธรรมดา คือ เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกันหมด เห็นสัตว์เห็นคนเราสัมพันธ์ได้ตลอด ถือว่าเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน มันสกปรกเหมือนกัน จนกระทั่งมีอารมณ์สบายไม่ถือชั้นวรรณะ

ต่อไปก็ตัดอุทธัจจะ มีจิตจับเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ถือมงคลตื่นข่าว พอเขาบอกอะไรก็โน่นดีอะไรที่นี่ดีก็ช่างเขา ไม่ถือว่ามีความสำคัญ สิ่งที่มีความสำคัญอยู่อย่างเดียว คือมันดีหรือชั่วมันอยู่ที่ตัวเรา มันอยู่ที่ใจของเรา ถ้าเรามีเมตตารู้ว่าการให้ทาน รู้ว่าการสงเคราะห์ มีศีลบริสุทธิ์ ไม่เมาในชีวิต ไม่เมาในทรัพย์สินต่างๆ นี่มันเป็นความดี เราไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่านไปอย่างอื่น เราต้องการตัดร่างกาย เราหวังพระนิพพานโดยเฉพาะ อารมณ์ใดใครบอกว่าโน่นดีนั่นดีเราไม่เอา เรามีจิตอย่างเดียวคือทำใจเฉพาะพระนิพพาน ไม่เกาะโลก ทิ้งโลก คือเทวโลก มนุษยโลก พรหมโลกไม่เกาะ เราไม่เกาะเขา ไม่เกาะทรัพย์สินต่างๆ เมื่อมีชีวิตอยู่เราหามาเพื่อใช้สอย คิดไว้เสมอว่ามันหมดก็หมดไป ตายแล้วก็เลิกกัน ไม่มีใคร เวลาตายไม่มีใครแบกทรัพย์สมบัติไปได้ ใจมันก็สบาย ทำจิตตรงแต่โดยเฉพาะอารมณ์พระนิพพาน อารมณ์ใจของเราก็จะผ่องใสมีอารมณ์แนบสนิท มีแต่ความสุข เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นของธรรมดาไปหมด ความเร่าร้อนเกิดขึ้นในโลกก็ถือว่าเป็นธรรมดา ความเยือกเย็นเกิดขึ้นในโลกก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ใจมันสบาย

ต่อจากนั้นไปเหลืออีกนิดเดียว คือตัวอวิชชา ความจริงตัวนี้ไม่ต้องตัดก็ได้ มันตัดมาหมดแล้ว ไม่มีอะไรเหลือ เอ้า ตัดสักนิดก็ได้ การตัดอวิชชา คือตัดฉันทะกับราคะ ก็ตัดกันมาหมดแล้วนี่ ความจริงถ้าตัดมาได้ ๙ ตัวมันก็ตัดหมด อวิชชามันก็ไม่เหลือ ถ้าเราโง่เสียแล้ว เราก็ไม่สามารถจะตัดร่างกายแยกไปว่า มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราได้ นี่เพราะเรามีความฉลาดแล้ว อวิชชามันไม่มีแล้ว เราจึงไม่เมาในขันธ์ ๕ คือร่างกาย ไม่เมาในทรัพย์สิน ไม่เมาในบุคคล ไม่เมาในชีวิต

ที่นี้จิตใจของเราที่มีอารมณ์เข้าถึงจุดนี้ คือว่าทำลายอวิชชาไปได้แล้ว มีความรู้สึกยังไง นี่อารมณ์พระอรหันต์ ความรู้สึกของพระอรหันต์ มีอารมณ์ปกติอยู่เสมอไม่มีอะไรผิดปกติ หาความทุกข์อะไรไม่ได้สำหรับพระอรหันต์ พระอรหันต์ไม่มีทุกข์ ทางกายพระอรหันต์เราจะเห็นว่าทุกข์ แต่ใจพระอรหันต์ไม่มีทางทุกข์ เพราะท่านถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา เห็นคนเลวถือว่าธรรมดา ในโลกมันก็ต้องมีคนเลว เห็นคนดีเข้าแล้วก็รู้สึกธรรมดา ในโลกมันก็มีคนดี ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้นแก่ตัว ท่านก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา การถูกนินทาว่าร้ายปรากฏขึ้นก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าร่างกายมันเกิดทุพพลภาพก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

จะยกตัวอย่างพระให้ฟังสักองค์หนึ่ง คือท่านเจ้าคุณเทพประสิทธินายก คือว่าหลวงปู่นาค วัดระฆังองค์เดียวกัน เวลาที่ท่านใกล้จะมรณภาพ ท่านก็นอนไม่หลับ ข้าวก็ฉันไม่ได้ จะกลืนข้าวมันก็ไม่ลง ก็เลยเข้าไปเยี่ยมถามว่าหลวงปู่ครับจำวัดหลับดีไหม บอกเออ เวลานี้เขาไม่ให้นอนว่ะ เขาไม่ให้หลับ เขาให้นอนเหมือนกันเขาไม่ให้หลับ ถามว่าฉันข้าวล่ะเป็นยังไงครับ ฮือ มันก็ไม่อยากให้กินอีกนั่นแหละ ท่านว่ายังงั้น ท่านบอกว่ามันไม่อยากให้กิน ก็ถามว่าหลวงปู่มีความรู้สึกเป็นยังไงครับ บอกว่า ตามใจมัน มันให้หลับก็หลับ มันไม่ให้หลับก็แล้วไป มันให้กินก็กิน มันให้กินหรือไม่ให้ก็แล้วไป ทั้งๆ ที่ร่างกายของท่านโทรมมีอาการไข้หนักท่านก็พูดเป็นปกติ ถามว่าหลวงปู่มีความรู้สึกเป็นยังไงกับการที่นอนไม่หลับกินไม่ได้ ท่านก็ตอบว่าไม่เห็นมันจะเป็นยังไง เห็นเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของฉัน มันจะหลับหรือไม่หลับก็เป็นเรื่องของมัน อยากหลับก็ให้มันหลับ มันไม่อยากหลับก็ช่างมัน ในเมื่อเขามีข้าวมาให้กินมันจะกินก็กิน มันไม่กินก็ช่างมัน ตามเรื่องของมันปะไร ถามว่าหลวงปู่ฉันยาไหมล่ะ ท่านบอกยาเขาก็ฉัน เขาให้ฉันก็ฉัน แล้วเวลาที่จะฉันมีความรู้สึกเป็นยังไง ท่านบอก เอ้า หนึ่งเป็นการฉลองศรัทธา สองถ้าหากมันจะเป็นไปได้เป็นการระงับเวทนา ทุกขเวทนา ถ้าระงับได้ก็ได้ ระงับไม่ได้ก็แล้วไป ก็ไม่ได้ตั้งใจว่ามันจะระงับได้จริงจัง นี่อารมณ์ของหลวงปู่นาควัดระฆัง พวกเราส่วนใหญ่เราก็ถือว่าท่านมีอารมณ์เสมอด้วยพระอรหันต์ เพราะรู้สึกว่าอารมณ์จิตใจของท่านไม่เอาไหนเลย แต่ใครจะมีความรู้สึกว่ายังไงก็ช่าง นี่เราไปนั่งเปรียบเทียบกับพระอรหันต์ตามประวัติต่างๆ ในเวลาที่พระพุทธเจ้ายังทรงชีวิตอยู่ เราก็จะเห็นว่าสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครูมีอารมณ์จิตคล้ายหลวงปู่นาควัดระฆังหรือเจ้าคุณเทพประสิทธินายก ท่านถือว่าร่างกายไม่มีความหมาย ร่างกายไม่มีความสำคัญ เวลาท่านจะนิพพาน ท่านไปลาพระพุทธเจ้านิพพาน รู้สึกว่าเป็นธรรมดาอย่างพระอานนท์จะนิพพาน ก็ตั้งใจไปนิพพานในระหว่างแม่น้ำ คือมีญาติทั้งสองฝั่ง นิพพานบนอากาศ พระสารีบุตรจะนิพพาน ก็ไปลาพระผู้มีพระภาคเจ้าไปนิพพานในห้องที่เกิด ดูท่านไม่มีความทุกข์ ไม่มีความร้อนแก่การแตกดับของขันธ์ ๕ เลย นี่มาถึงหลวงปู่นาคก็เหมือนกัน เราไปนั่งดูๆ แล้วใคร่ครวญดูก็พิจารณาว่าท่านมีอาการเหมือน หรือว่าคล้ายคลึงพระอริยเจ้าสมัยนั้น ฉะนั้น จึงปักใจกันว่าหลวงปู่นาคอย่างน้อยที่สุดก็เป็นพระ ท่านเป็นพระแน่นอน จะเป็นพระอันดับไหนนั่นไม่แน่ ที่แนะนำในตอนนี้ให้รู้อารมณ์ว่า ถ้าอารมณ์เราเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์มันมีความรู้สึกเป็นยังไง คือมันไม่มีความขึ้นลงแห่งความรู้สึกของจิต ได้ของดีมาก็แค่นั้นแหละ ได้ของชั่วมาก็แค่นั้นแหละ แต่ก็มีความรู้สึกพอใจอยู่นิดว่า เอ้อ มันมีของใช้ มันมีความสะดวกสบาย แต่ก็จิตใจก็รู้อยู่เสมอว่าไอ้เรากับมันไม่ช้าก็จากกัน เมื่อจากกันแล้ว ใครจะเอาไปไหนก็ช่าง ก็หมดเรื่องกันไป หน้าที่ของเราก็ใช้เพียงแค่มันอยู่
 
นี่เราเจริญธรรมานุสสติกรรมฐานหรือว่าธรรมะในอนุสสติ ๑๐ ทำจิตใจอย่างนี้ ชื่อว่าธรรมานุสสติให้เข้าถึงวิปัสสนาญาณ แต่ความจริงธรรมานุสสตินี่ถ้าเจริญเข้าถึงวิปัสสนาญาณไม่ได้ก็ซวยเต็มที เพราะว่าวิปัสสนาญาณมันเป็นธรรมานุสสตินั่นเองที่พูดมานี่ก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้มีความเข้าใจ กลางคืนถือว่าเป็นการศึกษา คือว่าจะแนะนำกรรมฐาน ๔๐ ให้หมด โดยใช้วิธีคำกล่าวย่อๆ ตามนี่แหละ มากบ้างน้อยบ้างตามสมควรแก่กรรมฐานในบางกอง จะได้ไว้เป็นเครื่องประดับใจ เวลาจะใช้อะไรขึ้นมา เวลาไหนจะได้ใช้ให้ครบถ้วน แต่ว่าเวลาสงบสงัดเช่นเวลาภาวนา เมื่อเลิกจากคำอธิบายแล้วก็ให้ปฏิบัติตามอัธยาศัยของตัว ถ้าชอบใจอะไรอยู่แล้วปฏิบัติอะไรอยู่แล้วได้ดี ปฏิบัติอย่างนั้น หรือว่าจะใคร่ครวญไปในตามทำนองธรรมะที่กล่าวในปัจจุบันก็ทำได้ตามอัธยาศัย

ต่อแต่นี้ไปขอทุกท่านพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ หรือว่าจะนึกยังไงก็ได้ตามสบาย หรือว่าพิจารณากรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ได้ตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2558 09:23:00 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 44.0.2403.155 Chrome 44.0.2403.155


ดูรายละเอียด
« ตอบ #24 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2558 09:24:08 »

.


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๒๕ สังฆานุสสติ

สำหรับวันนี้จะได้พูดเรื่องสังฆานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐานนี่มีการปฏิบัติเป็น ๓ ประการเหมือนกัน ตามแบบท่านให้พิจารณาคุณของพระสงฆ์ อันนี้จะเข้าถึงอุปจารสมาธิเป็นที่สุด ถ้ายึดรูปของพระสงฆ์เป็นอารมณ์ อันนี้จะเข้าได้ถึงฌาน ๔ หรือฌาน ๘ แล้วก็ในตอนท้ายพิจารณาธรรมที่ทำให้เป็นพระสงฆ์ ได้แก่วิปัสสนาญาณ อันนี้ได้ถึงพระนิพพานเหมือนกัน วิธีปฏิบัติเบื้องต้นก็จะขอไม่พูด ก็เพราะว่าให้ปฏิบัติมาเช่นเดียวกับพุทธานุสสติหรือธรรมานุสสติ คือพยายามตัดอารมณ์ อารมณ์ที่เรามีความห่วงใยเสียให้หมด
 
ในอันดับแรก ท่านกล่าวว่าคุณของพระสงฆ์ การพิจารณาความดีของพระสงฆ์ ที่ตามพระบาลี ท่านกล่าวว่า สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ เป็นต้น เรียกว่าพระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีความปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ การปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่เราจะปฏิบัติตามพระสงฆ์ ปฏิบัติยังไง เราใช้อารมณ์แบบย่อๆ พอให้เกิดความเข้าใจง่ายไม่ใช่ว่าไปนั่งไล่แบบกันเสียจนกระทั่งเกาะแบบไม่ติด เผลอแบบแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ อย่างนี้ไม่ใช่วิสัยของนักปฏิบัติ นักปฏิบัติเขาจะต้องเก็บของที่กระจายออกไปมากมายเข้ารวมอยู่ในจุดเดียว แล้วเราจึงจะค้นคว้าจับเอาได้ให้เป็นประโยชน์โดยง่าย ฉะนั้นชื่อว่าคุณของพระสงฆ์มีมากมายด้วยกัน ถ้าจะกล่าวกันไปก็คือพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั่นแหละที่เป็นคุณของพระสงฆ์ เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงเทศน์ความรู้ให้พระสงฆ์ปฏิบัติถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ย่อให้สั้นลงได้แก่มรรค ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ย่อมรรค ๘ ลงมาให้เหลือเพียงแค่ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อศีล สมาธิ ปัญญา ยังยาวไป ก็ย่อลงมาเหลือรูปกับนาม เมื่อรูปกับนามนี่ก็ยังยาวเกินไป เราย่อมาเป็นสังขารที่เรียกว่า บุญญาภิสังขาร คำว่าบุญญาภิสังขารก็หมายถึงว่ามีอารมณ์เป็นบุญเป็นกุศลอยู่ตลอดเวลา เท่านี้ก็ถึงพระนิพพานได้แล้ว

การย่อมากเกินไปบรรดาท่านทั้งหลายจะไม่เข้าใจ ขอขยายออกไปอีกนิด ย่อลงมาถึงบุญญาภิสังขาร ทำยังไงถึงจะเป็นบุญญาภิสังขาร คำว่าอภิสังขารตัวนี้ไม่ใช่ร่างกาย อภิสังขารตัวนี้ได้แก่อารมณ์ของจิต อารมณ์ของจิตที่เป็นบุญก็หมายถึงว่าอารมณ์จิตที่มีความสะอาด หรืออารมณ์จิตที่มีความดีไม่เกลือกกลั้วไปด้วยความชั่วนั่นเอง อารมณ์จิตของเราที่มันจะไม่เกลือกกลั้วกับความชั่วตามนัยของพระอริยเจ้าที่เรียกกันว่าพระอริยสงฆ์ก็คือ

เราพิจารณาศีลตามฐานะของเรา ทรงศีลให้บริสุทธิ์ จำไว้ทีเดียวว่าศีลต้องบริสุทธิ์ทุกสิกขาบท พระมีศีล ๒๒๗ สิกขาบทต้องบริสุทธิ์หมด ความจริงบริสุทธิ์แค่ ๒๒๗ สิกขาบทนี่ยังไม่ดีพอ เพราะว่ายังมีสิกขาบทยิ่งไปกว่านี้อีก สิกขาบทที่มีในพระปาฏิโมกข์ ๒๒๗ สิกขาบท ถึงแม้ว่าจะน้อยเกินไปก็ควรจะรักษาให้บริสุทธิ์ เณรรักษาศีล ๑๐ ให้บริสุทธิ์ ฆราวาสรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ ให้บริสุทธิ์ ถ้าเราพิจารณาว่าศีลของเรามีสภาพเป็นยังไงแล้วก็ทรงศีลให้บริสุทธิ์ทุกลมหายใจเข้าออกอย่างนี้ชื่อว่าเป็นสังฆานุสสติอันดับแรก ยังไม่เป็นพระแท้ ยังไม่เข้าถึงพระแท้ นี่เข้าถึงเปลือกพระ

คราวนี้มาเข้าถึงกระพี้พระ เมื่อทรงศีลบริสุทธิ์แล้วก็ทำจิตให้ทรงสมาธิ คำว่าสมาธิคือจิตตั้งไว้ในเฉพาะส่วนที่เป็นกุศลอย่างเดียว เป็นเอกัคตารมณ์ หมายความว่า อารมณ์ของเรานี้อยู่ในส่วนที่เป็นกุศลโดยเฉพาะ จะเลือกเอาในมหาสติปัฏฐานสูตรหรือว่าในกรรมฐานทั้ง ๔๐ ก็ได้ตามใจชอบ มีผลเสมอกัน ทรงอารมณ์อย่างนี้ได้ตลอดคืนตลอกวัน อารมณ์ของเราไม่ไปยุ่งกับอารมณ์ของความชั่ว ตั้งอยู่ในขอบเขตของคุณความดี แล้วก็มีพรหมวิหารสี่เป็นอัปปมัญญา คำว่าพรหมวิหารสี่ก็มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คำว่าอัปปมัญญาคือไม่มีขอบเขต เรามีพรหมวิหารสี่ทรงความดีประเภทนี้ไม่จำกัดบุคคลและสัตว์ ไม่เลือกหมูไม่เลือกคณะ ไม่เลือกประเภทของคนและสัตว์ เรามีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สม่ำเสมอกันหมด อันนี้ชื่อว่าเข้าถึงกระพี้พระสงฆ์แล้ว ยังไม่ถึงแก่น

ตอนที่จะเข้าถึงแก่น เราก็มาพิจารณาว่าพระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านเป็นพระอริยเจ้าได้ พระพุทธเจ้ายอมรับว่าเป็นพระสงฆ์นั่นน่ะท่านปฏิบัติยังไง เราก็จะเห็นได้ว่าท่านปฏิบัติตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระจอมไตรคือปฏิบัติในอริยสัจทั้ง ๔ ประการ มีสภาวะรู้ความทุกข์ว่าขันธ์ ๕ มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่ต้องไปหาทุกข์ที่ไหน หาทุกข์ที่ร่างกายเราให้พบ ไอ้การที่ไปหาทุกข์ของชาวบ้านนั่นน่ะมันไม่เห็นทุกข์ของร่างกาย หน้าของชาวบ้านเขามอมขมุกขมัวมอมแมมผมเผ้ารุงรัง ผิวหน้าตาไม่สะสวย มองเห็นหน้าเขาได้ แต่ว่าหน้าของเรามันเลวกว่าหรือว่ามันสกปรก ข้อนี้มีอุปมาฉันใดการมองดูทุกข์ก็เหมือนกัน

ในอันดับแรกมองให้เห็นทุกข์ของร่างกายเป็นสำคัญ ว่าความเกิดเป็นทุกข์ มันเป็นทุกข์ยังไง บรรยายกันมากเวลาไม่พอ การอยู่ในท้องแม่คุดคู้อยู่ตลอดเวลา ๑๐ เดือนมันสบายหรือ ออกมาข้างนอกแล้วมากระทบกับอากาศความร้อนความหนาวปวดแสบร่างกายทั้งตัว เมื่ออกมาแล้วมีความหิวมีความกระหาย มีการปวดอุจจาระปัสสาวะ มีความป่วยไข้ไม่สบาย มีความปรารถนาไม่สมหวัง นี่เป็นอาการของความทุกข์ทั้งหมด เมื่อโตขึ้นแล้วก็มีประการหนึ่งคือการประกอบกิจการงานเต็มไปด้วยความเหนื่อยยาก มันก็เป็นอาการของความทุกข์ แล้วยิ่งกว่านั้นกิเลสยั่วยุให้หาทุกข์เพิ่มขึ้นไป เป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วอยู่คนเดียวไม่พอหาว่ามันสุขน้อยเกินไป พยายามแสวงหาคู่ครองเข้าไว้อีก นี่มันเพิ่มทุกข์หนักเข้าไปอีก เมื่อมีคู่ครองแล้วมันก็ยังไม่พอ อยากจะมีลูกอยากจะมีหลาน อยากจะมีเหลน เมื่อลูกโผล่ออกมาแต่ละคนก็เต็มไปด้วยความทุกข์ แล้วความป่วยไข้ไม่สบายเบียดเบียน ร่างกายก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ความแก่ชราเข้ามาถึงตัว ร่างกายเป็นไปไม่ได้ตามปกติ หาความสุขหาความสะดวกของร่างกายไม่ได้ นี่ก็เป็นอาการของความทุกข์ ในที่สุดการพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็เป็นอาการของความทุกข์ เมื่อความตายเข้ามาถึง เราไม่อยากตายมันก็ทุกข์ นี่ทุกข์โดยย่อที่กล่าวมาแล้วมันก็แค่นี้แหละ ถ้าเยอะแยะมันก็ทุกข์ มองหาทุกข์ให้มันพบ หาความไม่เที่ยงของร่างกายให้มันพบ เมื่อความไม่เที่ยงเกิดขึ้นมันก็เป็นทุกข์ ผลที่สุดมันก็สลายตัว เมามันทำไม

เมื่อเราเห็นทุกข์แล้ว ก็หาทางตัดความทุกข์ อะไรมันเป็นเหตุของความทุกข์ก็ได้แก่ความอยากคือตัณหา อยากเกิด อยากมีผัว อยากมีเมีย อยากมีลูก อยากมีหลาน อยากมีเหลน อยากมีทรัพย์สินต่างๆมีความอยากไม่รู้จักจบ เรียกว่าอยากนอกรีตนอกรอย อยากตะเกียกตะกายหาความทุกข์เข้ามาใส่ใจ เห็นว่ามันเป็นความสุข นี่เพราะอาศัยความโง่เป็นสำคัญ องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาจึงสอนให้ อยากใหม่ เอาความอยากแก้อยาก จิตมันอยากอยู่แล้ว แก้มัน ทำลายความอยากมันไม่ได้ ก็หันเข้าหาอยาก เปลี่ยนอยากเสียใหม่ แทนที่จะอยากเกิดเราก็อยากไม่เกิด มันอยากแก่มาก่อนเราก็อยากไม่แก่ มันอยากตายมาก่อนเราก็อยากไม่ตาย ไอ้อยากไม่ตายนี่อยากด้วยกันทุกคน อยากยังไงมันถึงจะอยากไม่เกิด อยากไม่แก่ อยากไม่ตาย เราก็ต้องมีความอยากคืออยากตัดโลภะความโลภ โทสะความโกรธ โมหะความหลง ตัดโลภะความโลภด้วยการให้ทาน ตัดโทสะความโกรธด้วยการทรงพรหมวิหารสี่ ตัดโมหะความหลงด้วยสักกายทิฏฐิ นี่พระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิบัติอย่างนี้ถึงได้เป็นพระสงฆ์ตามที่พระพุทธเจ้าทรงรับรอง

ตอนนี้เราจะทำยังไงมันถึงจะตัดโมหะได้ โมหะตัวเดียวหมดเรื่องกันไป การตัดโมหะที่เราจะพึงตัดได้ตามรูปของอริยสัจ ก็พิจารณาว่าร่างกายนี่มันเป็นเราหรือเป็นของเราจริงหรือเปล่า เนื้อแท้มันไม่ใช่ของเรา มันไม่เคยตามใจเรา เราปรนเปรอมันด้วยประการทั้งปวง มันไม่เคยเชื่อเรา เราไม่ต้องการให้มันแก่ มันก็แก่ เราไม่ต้องการให้มันป่วย มันก็ป่วย เราไม่ต้องการให้มันตายมันก็ตาย นี่เราจะไปนั่งมัวเมามันทำไม ในเมื่อร่างกายมันไม่เชื่อเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ตัดมันทิ้งไปเสีย ตัดทิ้งแบบไหน?

เอาอย่างง่ายๆที่สุด อย่างพระโคธิกะ นี่พูดถึงสังฆานุสสติ ใช้วิธีรวบรัดแบบง่ายๆ เอาอย่างพระโคธิกะเป็นสำคัญ แต่อย่าเอาเยี่ยงพระโคธิกะนะเอาแต่อย่าง อย่างพระโคธิกะท่านปลงขันธ์ ๕ เมื่อเวลาร่างกายของท่านป่วยหนัก ท่านไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติความดีให้เป็นพระโสดาสกิทาคาอนาคาอรหันต์ ได้แต่อารมณ์จิตทรงฌานโลกีย์ ฌานก็ย่อแย่ง่อนแง่นเต็มที เพราะร่างกายมันป่วย ท่านจึงมาพิจารณาว่า

ร่างกายนี้มันเป็นโทษ ร่างกายเป็นภัย ร่างกายเป็นมาร มันรุกรานจิตใจของเรา ทำลายความดีของเรา นี่เราเกิดในสำนักขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนเขาเป็นพระโสดาสกิทาคาอนาคาอรหันต์แล้ว แต่เราอยู่กับองค์สมเด็จพระประทีปแก้วกลับได้ฌานโลกีย์ ก็ง่อนแง่นคลอนแคลนไม่ทรงตัว ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะร่างกายเป็นปัจจัย ร่างกายเป็นอุปสรรค

เราถือว่าร่างกายเป็นมารร้ายคอยทำลายความดี

ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่ประกอบไปด้วยขันธ์ ๕ อย่างนี้เราไม่ต้องการมันอีก
 
เมื่อเราตายจากภาวะคราวนี้แล้วขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ จะเป็นส่วนใดๆ ก็ตาม จะอยู่ในฐานะใดๆก็ตาม เราไม่ต้องการทั้งหมด ต้องการลดสมรรถภาพของขันธ์ ๕ ตัดให้ขาดกระเด็นไป ทำหนังสือหย่าขาดกัน แล้วไม่ผูกพันธ์ในขันธ์ ๕ ต่อไป ขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ จะไม่มีสำหรับเราอีก เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว แกก็หยิบมีดโกนขึ้นมาเชือดคอตาย เมื่อตายแล้วพระโคธิกะก็ไปนิพพาน นี่อารมณ์ที่เราจะเข้าถึงเป็นสังฆานุสสติได้สมบูรณ์ก็ตัวตัดขันธ์ ๕ แต่ว่าไม่ใช่เชือดคอ ไม่เอานะ วิธีเชือดคอไม่เอา แต่ใช้อารมณ์เช่นเดียวกับพระโคธิกะมันง่ายดีเป็นตัวอย่าง ลืมตาอยู่ทุกขณะยังไม่หลับ มีความคิดอยู่เสมอว่าร่างกายนี้เป็นภัยร่างกายนี้เป็นโจรร้ายที่มันพยายามปล้นความสุขเราอยู่ตลอดเวลา เราปรนเปรออาหารให้มันกินวันละ ๓ เวลา ๕ เวลามันก็ไม่พอ มันก็ยังอยากโน่นอยากนี่อีก ยังมีความทุกข์ กินอาหารแล้วมันหิว หิวแล้วกินอาหาร อิ่ม อิ่มแล้วมันร้อน มันอยากจะอาบน้ำ มันหนาวอยากจะหาความอุ่น กินของคาวแล้วมันก็จะกินของหวาน หาให้มันทุกอย่างมันก็ยังแก่ลงไปทุกวันมันก็ป่วยไปทุกวัน ต้องประกอบกิจการงานด้วยความเหนื่อยยาก แต่มันไม่มีความรักเราสักนิดหนึ่ง เลี้ยงดูมันขนาดไหนมันก็ไม่ยอมเชื่อไม่ยอมเห็นใจเรา มันทรุดโทรมอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้เราจะไม่คบมันต่อไป เราต้องการอย่างเดียวคือไม่มีขันธ์ ๕ ได้แก่พระนิพพาน

พระนิพพานนี่มีอะไร พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าพระนิพพานนี่ตัดธาตุทั้งหมดอุปาทานรูปทั้งหมดให้แก่ดินน้ำลมไฟ ไม่มีในพระนิพพาน ไม่มีร่างกายอย่างนี้ แต่ว่าอายตนะยังมีอยู่ อายตนะได้แก่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ นี่เอากายมาจากไหน กายมันก็เป็นกายทิพย์พิเศษ ตามี หูมี มือมี เท้ามี แขนมี ขามี มีทุกอย่าง แต่ว่าร่างกายของเทวดาก็ดี พรหมก็ดี พระนิพพานก็ดี ขาดอวัยวะภายใน เครื่องจักรกลภายในคือลำไส้ ตับ ไต ไส้ปอด อุจจาระปัสสาวะ น้ำเลือดน้ำเหลืองน้ำหนองไม่มี มีสภาพเบาคล้ายลม มันก็หมดกันไม่มีเส้น ไม่มีเอ็น ไม่มีเส้นไม่มีเอ็นจะปวด มันจะปวดที่ไหนล่ะ ไม่มีกระเพาะจะใส่อาหาร มันจะหิวได้ยังไงไม่มีประสาทจะรับสัมผัสความร้อนความหนาวมันจะรู้สึกได้ยังไง เป็นอันว่าพระนิพพาน ไม่รู้สึกทุกข์ อารมณ์แห่งพระนิพพานทุกข์ชนิดหนึ่งไม่มี

นี่การเจริญสังฆานุสสติกรรมฐาน ถ้ามุ่งเอาระดับฌานให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับพุทธานุสสติกับธรรมานุสสติเป็นพระกรรมฐานที่ปฏิบัติมาแล้ว เมื่อได้ฌาน ๔ แล้วจะทำเป็นอรูปฌานให้เกิด ก็ยกภาพพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งที่เรากำหนดขึ้นมาเป็นกสิณ เมื่อเป็นกสิณแล้วก็เพิกกสิณทิ้งไปถืออรูปฌานเป็นสำคัญ แต่ว่านั่นต้องระวังนะ ฌาน คืออรูปฌานก็ดีรูปฌานก็ดีทำลายความดีของคนมามากแล้ว ถ้าไปหลงอยู่ในรูปฌานและอรูปฌาน มันเข้าใจว่าจิตใจของตัวเข้าถึงพระนิพพาน ความหลงตัวนี้เป็นเหตุร้ายแรงมากต้องคิดไว้เสมอว่า อารมณ์แน่นสนิทอย่างเดียวไม่มีความพอ เราต้องการอย่างเดียวคืออารมณ์ตัด

ตัดความสวย ความงาม ทั้งคนและสัตว์และวัตถุ เห็นอะไรเข้ามาก็ตามไม่รู้สึกว่ามันจะสวยสดงดงามตรงไหน หาความดีอะไรไม่ได้ ร่างกายของคนและสัตว์เต็มไปด้วยความโสโครก ไม่มีความทรงตัว มีการสลายตัวไปในที่สุด ไปหลงมันทำไม วัตถุก็เหมือนกัน ตัดความโลภ การแสวงหาอาชีพเพื่อการครองชีพเป็นของธรรมดา เป็นหน้าที่แต่ว่าจิตใจไม่ทะเยอทะยานเกินพอดี ไม่ต้องการอาชีพนอกรีตนอกรอยคดโกงเขา ทำตัวให้ลำบาก ไม่เอา อย่างนี้เป็นความโลภ ถ้าเป็นฆราวาสก็ประกอบกิจวัตรเป็นสัมมาอาชีวะหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรมไม่เป็นบาปไม่เป็นโทษ ทำตามหน้าที่ แต่คิดไว้เสมอว่าทรัพย์สมบัติทั้งหลายเหล่านี้ตายแล้วก็เลิกกัน ไม่ห่วงไม่ใยมัน ตายแล้วมันจะไปทางไหนก็ช่างเราไม่ใช้มัน

ตัดความโกรธด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ ตัดความหลงเสียด้วยอำนาจของสักกายทิฏฐิ พิจารณาว่า ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ตามที่กล่าวมาแล้ว เมื่อจิตใจของเรามีอารมณ์ทรงอยู่ตลอดเวลา ความโลภไม่ปรากฏความทะเยอทะยานไม่ปรากฏ ความผูกพันในร่างกายของเราของบุคคลอื่นไม่ปรากฏ ความโกรธความพยาบาทไม่มีในใจ ไม่เห็นอะไรเป็นสาระแก่นสารคือไม่มีความหลง อารมณ์มันก็มีความสุข มันมีความสุขจริงๆ ไม่มีความทุกข์ ทำให้ถึงเถอะมันสุขบอกไม่ถูก ถ้าจิตเราเข้าถึงพระนิพพานแต่กายมันยังทรงอยู่ ยังมีความรู้สึกหนาว ร้อน หิวกระหาย แต่ใจมันก็สบาย มันถือเป็นเรื่องธรรมดาเสียทั้งหมด จิตมีความสุขบอกไม่ถูก นี่การเจริญสังฆานุสสติกรรมฐานโดยย่อก็ขอกล่าวไว้แต่เพียงเท่านี้

เอ้า ต่อแต่นี้ไปขอทุกท่าน พยายามตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อย่าทิ้งนะ อานาปานสติกรรมฐาน ถ้าทิ้งละก็เสร็จ พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกหายใจเข้านึกว่า พุท หายใจออกนึกว่า โธ หรือว่าจะภาวนาว่ายังไงก็ได้ตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 44.0.2403.157 Chrome 44.0.2403.157


ดูรายละเอียด
« ตอบ #25 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2558 08:52:05 »

.


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๒๖ จาคานุสสติ

ลำดับต่อนี้ไป เป็นโอกาสที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะพากันเจริญพระกรรมฐาน คือทรงอารมณ์เป็นสมาธิและใช้ปัญญาพิจารณาขันธ์ ๕ เพื่อผลที่จะพึงได้ก็คือโมกขธรรม ธรรมเป็นเครื่องพ้นจากความตายหรือว่าความเกิด เพราะอะไร เพราะว่าพระพุทธเจ้ากล่าวว่า ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ อันนี้อาศัยความเกิดตัวเดียว ถ้าเราไม่เกิดเสียแล้ว ความแก่ ความป่วยไข้ไม่สบาย ความตาย การพลัดพรากจากของรักของชอบใจย่อมไม่มีกับเรา นี้การที่เราจะไม่เกิดได้ ก็เพราะอาศัยทำจิตให้เป็นปรมัตถจิต เรียกว่าเข้าถึงธรรมก็เป็นปรมัตถธรรม ถ้าจะเรียกว่าบารมีก็เป็นปรมัตถบารมีเป็นบารมีอย่างยิ่ง ถ้าเป็นการปฏิบัติก็เรียกกันว่าปรมัตถปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติอย่างยิ่ง คือเป็นการควบคุมใจให้ทรงอยู่ในกุศลธรรม
 
ทุกวันเราก็ได้ศึกษากันมาตั้งแต่พุทธานุสสติกรรมฐาน เมื่อวานนี้ก็ได้มาจบลงที่ศีลานุสสติกรรมฐาน วันนี้ก็จะได้พูดถึงจาคานุสสติกรรมฐาน การจะทรงอารมณ์ให้สบาย อันดับแรกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้บรรดาท่านทั้งหลายกำจัดนิวรณ์เสียก่อน คือว่าเวลาที่เราจะเข้ามาเจริญสมาธิจิต ให้ตัดอารมณ์ที่มีความห่วงใยที่เรียกกันว่าปลิโพธ คิดเสียว่าเวลานี้เราเป็นบุคคลคนเดียว เราไม่มีเพื่อน เราไม่มีพี่เราไม่มีน้อง เราไม่มีอะไรทั้งหมด แม้แต่ร่างกายนี่ก็เหมือนกัน เราก็ไม่ถือว่าเป็นสาระเป็นแก่นสาร เป็นร่างกายจริงๆจังๆอะไรของเรา เพราะมันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแก่ไปในท่ามกลาง แล้วก็มีการสลายตัวไปในที่สุด เป็นอันว่าร่างกายนี่ก็ไม่ใช่ภาระของเราที่จะต้องห่วงเกินไป เป็นอันว่าเวลานี้เราเป็นคนไม่มีห่วง เรามีภาระอย่างเดียวคือจับจิตเฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งซึ่งเป็นมหากุศล จะพาตนไปสู่สวรรค์ก็ได้ ไปสู่พรหมโลกก็ได้ ไปสู่พระนิพพานก็ได้ ทำใจตรงให้สบายไม่นึกถึงเรื่องอื่นเข้ามาแทรกแซงใจ ต่อแต่นี้ไปก็ขอได้โปรดศึกษาจาคานุสสติกรรมฐาน
 
คำว่า จาคานุสสติกรรมฐาน แปลว่า การตามระลึกนึกถึงความดีในการให้ แต่ว่าจริยาตัวนี้ยังไม่ใช่ตัวให้ แต่ใจเราคิดว่าเราจะให้ แล้วก็พร้อมที่จะให้อยู่เสมอ ถ้าให้ไปแล้วเราก็ไม่ลืม คำว่าไม่ลืมในที่นี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไปทวงหนี้ ทวงบุญทวงคุณทั้งหลายแก่เขา เราไม่ลืมความดีอันนั้น นี่เป็นที่เกาะใจส่วนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่าควรจะทำ ควรจะคิดอยู่ตลอดเวลา อันนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกพุทธภาษิตไว้เป็นเครื่องยืนยันว่า กัมมัง สัตเต วิภัชชติ กรรมย่อมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์ คำว่ากรรมคือการทำด้วยกาย กล่าวด้วยวาจา หรือว่านึกด้วยใจ ทำด้วยกายเรียกว่ากายกรรม ทางวาจาเรียกว่าวจีกรรม ทำด้วยใจเรียกว่ามโนกรรม อีกอันหนึ่งพระพุทธเจ้ากล่าวว่า เจตนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วทามิ ท่านถือว่าการตั้งใจไว้โดยเฉพาะเป็นบุญ วันนี้เรามาศึกษาทางใจกัน ไม่ได้ศึกษาทางวัตถุ

อันดับแรกก็ให้จิตนึกอยู่เสมอว่า เราจะใช้จาคานุสสตินึกถึงการให้อยู่ตลอดเวลา แต่การให้นี่เราก็ต้องเลือกให้ เพราะว่าถ้าเราเอาพืชพันธุ์ธัญญาหารไปหว่านในที่ดอนเกินไปมันก็จะเสียเพราะไม่มีน้ำช่วย ไปหว่านในมหาสมุทรน้ำมากเกินไปมันก็จะจมน้ำตาย เราต้องหว่านลงในที่อันพอดีพอควร น้ำไม่มากเกินไป น้ำไม่น้อยเกินไป ไม่ขาดแคลนอาหารที่ต้นไม้พึงต้องการอาศัยเป็นอาหาร ข้อนี้มีอุปมาฉันใด เรานึกไว้เสมอว่าเราจะบริจาคทานเพื่อเป็นการทำลายความโลภในจิตของตน แล้วก็ใคร่ครวญในเขตศาสนาขององค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาว่าจุดไหนหนอที่เป็นน้ำเป็นแหล่งใหญ่ ที่เราจะอาศัยสร้างความเยือกเย็นได้ดี เราไปทำบุญที่นั่น นี่หมายถึงว่าเรามีเวลาที่จะเลือก อานิสงส์มันก็สมบูรณ์บริบูรณ์ ถ้าไม่มีเวลาที่จะเลือกถึงแม้ว่าคนทุศีลเราก็ให้ได้ แต่ว่าให้ไปแล้วถึงแม้ผลจะไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ชื่อว่าเรายังได้ให้ ให้ด้วยความเต็มใจ ให้ด้วยความปรารถนาในการสงเคราะห์ มันก็เป็นปัจจัยตัดความโลภเหมือนกัน

นี้มาตอนเจริญจาคานุสสติกรรมฐานเขาเจริญกันยังไง? ก็เอาใจเข้าไปจับนึกถึงว่า ตั้งแต่เกิดมานี่เราเคยให้ทานกับคน เคยให้ทานกับสัตว์เดรัจฉาน เคยถวายทานแก่พระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยกริยาอย่างใดบ้างที่เราเคยมีมา เอาอารมณ์เข้าไปจับนึกถึงวัตถุทาน นึกถึงกริยาที่เราเคยให้ นึกถึงบุคคลผู้รับ นึกไว้ในใจเสมอว่ากิจนี้เราเคยได้ทำแล้ว ตัวอย่างที่บรรดาท่านพุทธบริษัทมาสร้างศูนย์ศิษย์หลวงพ่อปานวัดบางนมโค อันนี้ไม่ได้หมายความให้มาสร้างที่นี่ทำที่นี่ถึงจะได้บุญ เราอยู่ใกล้จุดนี้ เราก็คิดว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ที่เรานั่งกันอยู่นี่ ฝั่งนี้ก็ดี ฝั่งโน้นก็ดีเป็นสมบัติของเรา เป็นสมบัติตรงไหน เพราะการร่วมกันสร้าง สร้างให้เป็นความดี เป็นที่อาศัยสะดวกสบายเกิดขึ้นเวลาที่เจริญพระกรรมฐานจิตสงัด จิตก็จับเอาอารมณ์คือภาพนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราพอใจในเขตนั้นยกขึ้นไปสู่อารมณ์ว่า วัตถุธาตุหรือสถานที่อาศัยทั้งหลายเหล่านี้ นี่เป็นฝีมือของเราผู้ช่วยสร้าง ผู้ร่วมกันสร้าง เราถือว่าเป็นสมบัติของเรา การจับภาพอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีความรู้สึกขึ้นในใจอย่างนี้ ท่านเรียกว่ากสิณ ทำจาคานุสสติกรรมฐานขึ้นเป็นกสิณ แล้วมีจิตใคร่ครวญอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งภาพนั้นคลายตัวเป็นสีขาว แล้วก็เป็นแก้ว แล้วก็เป็นประกายพรึก มีจิตทรงอยู่ได้ดีอย่างนี้ก็เรียกว่าเอาจาคานุสสติกรรมฐานเข้ามาเป็นฌาน ๔ เป็นรูปฌาน อันนี้เราทำได้ ถ้าเราต้องการเป็นอรูปฌานก็จับภาพอันนั้นขึ้นมาทรงฌาน ๔ ให้เป็นปกติ มีความแจ่มใสดีก็เพิกอาการอย่างนั้นทิ้งไป ถือว่าภาพที่เรารักษาอยู่ย่อมเป็นปัจจัยของความทุกข์ เพราะยังมีความเกิด เราไม่ต้องการความเกิด เราก็ใช้อรูปฌานแทน จิตทรงฌาน ๔ แล้วพิจารณาของสี่อย่าง คือ

อากาสานัญจายตนะ พิจารณาว่าอากาศมีความกว้างขวางหาประมาณมิได้
 
วิญญานัญจายตนะ อารมณ์ของวิญญาณก็กว้างขวางเกินไปหาที่กำหนดหมายไม่ได้
 
อากิญจัญญายตนะ สิ่งใดที่มีแล้วเราก็ทำเหมือนว่ามันไม่มี คือไม่มีความสนใจกับวัตถุธาตุ บุคคลและสัตว์อะไรทั้งหมด มีแล้วเหมือนไม่มี อย่างที่หลวงพ่อกบวัดสาริกาท่านทำ ใครจะไปใครจะมามากมายยังไงก็ช่าง ท่านทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ คนไปหาท่านบางที ๓ วัน ๔ วัน บางทีไม่ได้พูดสักคำ นี่เรียกว่าใช้อากิญจัญญายตนฌานและเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

เมื่ออากิญจัญญายตนะเป็นฌาน ๔ แล้ว ก็จับเนวสัญญานาสัญญายตน มีสัญญาความจำทำเหมือนว่าเราเป็นคนไม่มีสัญญาความจำ ไม่รู้เรื่องอะไรมันเสียเลย นี่หลวงพ่อกบวัดถ้ำสาริกาท่านก็ทำมาแล้วเหมือนกัน มันหนาวมันร้อนยังไงก็ช่าง ท่านนอนเฉย มันหนาวจัดชาวบ้านเขาเอาผ้ามาห่มให้ ขโมยมันก็มาดึงเอาไปท่านก็ไม่ว่าอะไร ท่านนอนเฉยมีความรู้สึกเหมือนกัน แต่ทำใจสบายเหมือนกับเกิดความไม่รู้สึก ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

รูปฌานหรือรูปฌานนี่ทำให้คนหลงผิดว่าเข้าถึงพระนิพพานเสียมากมายแล้ว นี่เราทำกสิณหรือว่าทำจาคานุสสติกรรมฐานให้เป็นกสิณแล้วก็เป็นอรูปฌาน

ถ้าเราจะคิดเอาจาคานุสสติกรรมฐาน มาเป็นวิปัสสนาญาณเพื่อเข้าถึงมรรคผลนิพพานมันก็ไม่ยาก เราก็ดูวัตถุทานที่เราให้ พิจารณาคนที่เราให้ ที่รับทานไปจากเรา ขณะที่เขารับอาจจะมีรูปร่างหน้าตาผ่องใส มีความสวยสดงดงาม นานๆไปเราจะเห็นว่าความโทรมมันเกิดขึ้นมาทีละน้อยๆ ปัจจัยของทานที่เราให้ ไม่ใช่ว่าจะช่วยให้เขาหนุ่มสาวอยู่ได้ตลอดเวลา เป็นแต่เพียงว่าเป็นการประทังทุกขเวทนาที่จะเกิดกับเขาเท่านั้น ในกาลบางครั้ง ถ้าหมดปัจจัยเสียแล้วทุกขเวทนามันก็เกิด

คราวนี้เราไปดูตึกรามบ้านช่อง ตั้งแต่สมัยโบราณ สร้างด้วยศิลาแลง เป็นของใหญ่แข็งแรงมากไม่น่าจะพัง ของตั้งแต่สมัยอยุธยา สุโขทัย มันพังไปจนเกือบจะหมดแล้วไม่มีอะไรปรากฏ เหลือซากก็แสนจะทุเรศ ไม่สามารถจะทำอะไรขึ้นมาให้ดีขึ้นมาได้ นี่เราก็เห็นว่าอาคารสถานที่เราสร้างไว้ถวายแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา มันก็ต้องมีสภาพอย่างนั้น เมื่อสภาวะความเปลี่ยนแปลงการทำลายตัวปรากฏขึ้น เราไม่หนักใจปล่อยมันตามสบาย ทำได้ซ่อมได้ก็ซ่อมไป ทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็แล้วไป ไม่มีทุนไม่มีรอนก็แล้วไป ในเมื่อวัตถุทั้งหลายเหล่านั้นเป็นของแข็งมันยังเก่าแก่คร่ำคร่า แล้วก็ยังผุพังในที่สุดได้ คราวนี้มาเปรียบเทียบกับร่างกายของเรา ร่างกายของเรามันไม่แข็งอย่างนั้น มันอ่อนนุ่มนิ่มปวกเปียกไปหมด แต่ว่าในที่สุดเราก็มาพิจารณาว่าเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นทรงอยู่ไม่ได้ ร่างกายของเรามันก็ทรงอยู่ไม่ได้ ความจริงเราต้องการให้ร่างกายมันทรงอยู่ แต่มันทรงไม่ได้ก็เพราะว่าเป็นเรื่องของกฎธรรมดาที่เราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ การที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำให้เราพิจารณาเห็นว่าร่างกายนี่มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเราเหล่านี้เป็นของจริง นี่เราก็ยกเอาวัตถุทานคืออาคารสถานที่ของใช้ต่างๆ มันมีความแข็งแรงขึ้นมาเปรียบเทียบว่าสร้างแล้วมันก็เก่ามันก็ทรุดโทรม ร่างกายเราจะทรงอยู่ได้ที่ไหน ในเมื่อร่างกายมันทรงอยู่ไม่ได้ ก็เป็นปัจจัยที่จะต้องหาความเกิดต่อไป แล้วมันเกิดได้ยังไงล่ะ ปัจจัยที่จะทำให้เราเกิด คิดว่าถ้าเราไปเกิดจะไปเกิดที่ไหน ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์มันก็มีความลำบากอย่างนี้ เกิดเป็นเทวดาหรือพรหมหมดบุญวาสนาบารมีก็ต้องหล่นลงมาเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสัตว์นรกไป ไม่แน่นัก แต่จุดหมายปลายทางที่เราต้องการนั่นก็คือพระนิพพาน จิตจับเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์

เมื่อจิตจับเฉพาะพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว เราจะไปพระนิพพานได้อย่างไร? เราก็มานั่งดูซิ การที่จะไปพระนิพพานทำตรงไหน
 
๑. โลภะ ตัดความโลภ
 
๒. โทสะ ตัดความโกรธ
 
๓. โมหะ ตัดความหลง
 
ทั้งสามประการนี้เราตัดตรงไหน? เขาตัดที่สักกายทิฏฐิ การพิจารณาร่างกายว่า มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ใช้ปัญญาพิจารณาว่าร่างกายนี้มันเป็นเพียงธาตุ ๔ เข้ามาประชุมกัน มีเครื่องหล่อลื่นให้มีการทรงตัวไว้ได้แก่อาหาร และสิ่งใดที่เป็นการเกินวิสัยที่จะรักษาไว้ได้ มันเป็นของเสีย มันก็ทำลายโยนทิ้งไป เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำหนอง เหงื่อไคล เป็นต้น เมื่อมันหลั่งไหลออกมาแล้วเป็นที่สกปรกเราก็โยนทิ้งไป ไม่สนใจกับสภาวะอย่างนั้น แม้แต่ร่างกายเราเอง เราก็ไม่สนใจเป็นยังไงก็ช่าง ป่วยไข้ไม่สบายรักษาถ้าหายไม่หายก็ช่างมัน จิตใจเราตั้งไว้เฉพาะอย่างเดียวคือพระนิพพาน เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเราแล้ว เราก็สร้างให้มันเป็นสาระประโยชน์เป็นแก่นสาร คิดไว้ในใจว่าคนที่เขาจะไปนิพพานได้

๑. ตัดความโลภ เราจะตัดยังไง นี่เรานั่งคิดกัน ใคร่ครวญกัน ตัดความโลภด้วยการให้ มันอยากได้จริงดึงเข้ามา แต่การให้มันผลักออกไป ถ้าเราให้ทานได้บ่อยเท่าไรมีใจสบายเท่าไร ก็แสดงว่าบารมีของเราก็ถึงระดับนั้น ถ้าจิตใจของเราทุกวันนี้เราพร้อมในการสงเคราะห์ ละก็เวลานี้จิตของท่านเป็นปรมัตถจิตแล้ว

ประการที่ ๒ นี่มาถึงอีกก้าวหนึ่งที่เราจะเข้าถึงนิพพาน เราก้าวเข้าไปแล้วสามก้าวเท่านั้น ข้อที่สองตัดความโกรธ ก็มานั่งเจริญพระกรรมฐานระงับเหตุระงับผล แผ่เมตตาจิตไปในทิศทั้งปวงว่าเราจะไม่มีเวร ไม่มีภัยต่อใคร แล้วก็ตั้งใจทรงอารมณ์สมาธิคือ เมตตาพรหมวิหารสี่ให้เป็นปกติ อย่างนี้ก็จะทำลายความโกรธ ความพยาบาทลงไปได้

สำหรับความหลงนั้นไม่ต้องอะไรมาก เมื่อพิจารณากายว่ามันมีสภาวะต้องพัง ไม่จีรังยั่งยืนไม่ถาวร ใจมันก็เริ่มสบาย คิดว่าร่างกายของเรา เรายังจะไม่สามารถจะนำไปได้ สำมหาอะไรกับทรัพย์สมบัติส่วนอื่นภายนอก เมื่อตายแล้วจะเอาไปได้ แต่ว่าความดีที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ไว้นี่มีประโยชน์มาก คือเราเชื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าเราจะเข้าสู่พระนิพพานในชาตินี้แล้ว แล้วหลังจากนั้นก็ตั้งหน้าตั้งตาสร้างความดีในเรื่องจาคานุสสติกรรมฐาน ใส่บาตรกับพระหน้าบ้านบ้าง เอาของไปถวายกับพระที่วัดบ้าง คนยากจนเข็ญใจมีมา มีอะไรพอจะแบ่งจะปันให้ เราก็แบ่งปันให้ตามสมควร ใจมันก็จะเริ่มสบาย จิตมีความสุข อาศัยทานบารมีหรือจาคานุสสตินี้เป็นพื้นฐานที่นำตนให้เข้าถึงพระนิพพาน หรือด้วยฌานสี่ ฌานแปดก็ได้ อันนี้เป็นการศึกษากันไว้ ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายไม่ศึกษาไว้ให้หมดทั้ง ๔๐ ประการมันจะมีความลำบาก

เอ้า กาลเวลาที่จะพูดก็หมดไปนานแล้ว ต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ ให้ทรงอารมณ์ไว้เฉพาะเท่านี้เท่านั้น ไม่ต้องไปคิดอย่างอื่นว่ามันจะมีมรรคมีผลเป็นประการใด จงอย่าคิด เพราะเวลานี้เป็นอารมณ์จิตที่เราต้องการเงียบสงัดให้เป็นเอกัคตารมณ์ เอาละต่อแต่นี้ไปทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 45.0.2454.99 Chrome 45.0.2454.99


ดูรายละเอียด
« ตอบ #26 เมื่อ: 24 กันยายน 2558 15:48:31 »

.


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๒๗ เทวตานุสสติ

สำหรับวันนี้จะได้ให้ท่านทั้งหลายได้มีโอกาสศึกษาพระกรรมฐานตามลำดับ ที่แล้วมาที่พูดไว้แล้วได้พูดถึงจาคานุสสติ วันนี้จะได้พูดถึงเทวตานุสสติ รวมความว่าอนุสสติทั้ง ๖ ประการตามที่กล่าวมาแล้ว ๕ ประการและวันนี้อีก ๑ รวมเป็น ๖ ประการนี้ ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงมีกรรมฐานไว้โดยเฉพาะสำหรับท่านที่มีศรัทธาจริต คือมีความเชื่ออยู่แล้วให้พยายามหันเหความเชื่อเข้ามาอยู่ในขอบเขตของความดี ไม่ใช่เชื่อเลอะเทอะไป ให้เชื่อในความดีของพระพุทธ ของพระธรรม ของพระสงฆ์ ของศีล ของการบริจาค ตัดโลภะ เป็นความดีอย่างประเสริฐ เป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย
 
สำหรับอันดับที่ ๖ นี้ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงแนะนำให้ใช้เทวตานุสสติ คำว่าเทวตานุสสติแปลว่านึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์ อนุสสติแปลว่าตามนึกถึง เราก็มานั่งมองดูกันถึงความดีของเทวดา เทวดาท่านทำยังไงถึงได้ว่าดี ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงให้นิยมนับถือเทวดา ก็พระพุทธเจ้ามีอยู่แล้ว ทำไมไม่เกณฑ์ให้นับถือเฉพาะพระพุทธเจ้าอย่างเดียว ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญูรู้ดีจริงๆ คือว่าอารมณ์ของคนนี่จะไปเกณฑ์ให้จิตจับอยู่แต่พระนิพพาน โดยเฉพาะอย่างเดียวนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ คือกำลังใจหรือว่ากำลังบารมีของบุคคลไม่เสมอกัน องค์สมเด็จพระทรงธรรม์จึงใช้วิธีผ่อนปรนในอันดับแรก ให้ทำจิตของตนในระยะต่ำเสียก่อน คือว่าให้นึกถึงความดีของเทวดาแล้วก็ปฏิบัติอย่างเทวดา เมื่อตายแล้วก็เป็นเทวดาได้ คราวนี้เทวดาท่านบอกว่าอยู่บนสวรรค์ชั้นกามาวจร หากว่าเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นกามาวจรได้ เราก็เป็นพรหมได้ เพราะก้าวขึ้นไปอีกก้าวเดียวก็เป็นพรหม คราวนี้ถ้าขึ้นไปเป็นพรหมได้แล้ว ก็ไปนิพพานได้ เพราะขยับขึ้นไปอีกนิดเดียวก็ไปนิพพาน นี่จะเห็นความฉลาดขององค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าน่ะมีมาก นี่กล่าวมาโดยย่อจะต้องรวบรัดเพราะเวลาจำกัด
 
สำหรับเทวตานุสสตินี้ พระพุทธเจ้าให้นึกถึงความดีของเทวดา แต่ว่าไม่ใช่ให้นึกจับใจจับภาพของเทวดา ว่าเทวดาองค์นั้นสวย เทวดาองค์นี้สวย นางฟ้าองค์นั้นสวย นางฟ้าองค์นี้สวย ไม่ใช่อย่างนั้น หรือว่าเทวดาองค์นั้นๆมีวิมานแก้ว ๗ ประการ แก้ว ๓ ประการ แก้ว ๕ ประการ ก็ไม่ใช่ยังงั้น การนึกถึงเทวตานุสสติ การนึกถึงเทวดาเป็นอารมณ์ คือ จับเอาหัวใจของเทวดามาใช้ เพื่อเราจะได้เป็นเทวดาไปด้วย หัวใจของเทวดานั้นมีอยู่ ๒ อย่าง เป็นธรรมะ ท่านเรียกว่า หิริโอตัปปะ ที่ท่านกล่าวว่าเป็นเทวธรรม คือธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นเทวดา ธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นเทวดามีสองจุด คือ หิริอย่างหนึ่ง โอตัปปะอย่างหนึ่ง หิริแปลว่าความละอายต่อบาป โอตัปปะ ความกลัวผลของบาปจะให้ผลเป็นเครื่องเดือดร้อน นี่ คนที่ทรงคุณธรรมความดี ๒ ประการ เป็นเทวดาได้อย่างสบาย และเป็นเทวดาชั้นสูง

ที่พระพุทธเจ้าให้เรารู้จักหัวใจของเทวดาหรือธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา ให้นึกถึงเทวดา แม้แต่ภุมมเทวดาก็ตาม ที่เราพากันยกศาลพระภูมิเจ้าที่ ความจริงเราก็เลยนึกว่าท่านเป็นเจ้าของพื้นที่ดิน แต่ความจริงไม่ใช่ พระภูมิเจ้าที่ท่านเรียกว่าภุมมเทวดา ซึ่งแปลว่าเป็นเทวดาผู้มีบุญน้อยวาสนาบารมีน้อย วิมานอยู่กับพื้นดิน การยกศาลพระภูมิก็ไม่ใช่ว่าจะให้เทวดามาอยู่บนศาลพระภูมิ เป็นแต่ว่าเรายอมรับนับถือเทวดา การยกศาลพระภูมิ ถ้าเราจะไหว้พระภูมิหรือไหว้ภุมมเทวดา อย่างชนิดเรียกว่าท่านมาเป็นยามรักษาบ้าน อันนี้ก็ไม่เข้าถึงจุดความจริง ถ้าเราเห็นศาลของภุมมเทวดาเมื่อไรก็นึกว่า นี่ท่านเกิดมาเป็นเทวดา ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่ปวด ไม่เมื่อย ไม่มีภาระ ไม่ต้องหุงข้าว หุงปลา ไม่ต้องทำนา ค้าขาย ไม่ต้องรับราชการ รับจ้าง ความเสื่อมโทรมของร่างกายไม่มี มีแต่ความสุข ความร้อนเกินไปสำหรับเทวดาไม่มี มีแต่ความเยือกเย็นมองไปเห็นศาลของเทวดาหรือภุมมเทวดาละก็คิดอย่างนี้ แล้วก็คิดต่อไปว่าความดีที่เป็นเทวดาแม้แต่เทวดาหางแถวก็ยังดีกว่าเราซึ่งเป็นคนหัวแถว คนหัวแถวคนแรกก็ได้แก่กษัตริย์หรือว่าประธานาธิบดี เรียกว่าเป็นใหญ่กว่าคนทั้งหมดในชาตินั้น ก็มีความแก่ ความป่วย ความตาย ความกระหาย ความกระทบกระทั่งกับอารมณ์ต่างๆ พอใจบ้างไม่พอใจบ้าง มีความทุกข์ตลอดเวลา มีความทรุดโทรม มีความกระสับกระส่าย มีความตายไปในที่สุด แต่เทวตาไม่มี จะมีก็เพียงแต่ว่าจุติเวลาหมดบุญวาสนาบารมี ยามปกติเทวดามีความสุข นี่การยกศาลพระภูมิ ถ้าไหว้พระภูมิแล้วละก็เขาไหว้แบบนี้

เราก็ดูกันต่อไปว่าท่านเป็นเทวดาได้ยังไง ความสำคัญจริงๆที่เป็นเทวดาได้แบบเทวดาชั้นดีก็มีหิริความละอายต่อความชั่ว ลองนึกดู ขึ้นชื่อว่าความชั่วทั้งหมดเราอาย โอตัปปะ เกรงกลัวผลของความชั่วจะเข้ามาทับใจให้เกิดความทุกข์ ความชั่วนี่มันเข้าที่ไหนมันก็สร้างความทุกข์ที่นั่น มันหาความสุขกายสุขใจอะไรไม่ได้เลย นี่สองจุดนี่ อายความชั่ว แล้วก็เกรงกลัวผลของความชั่ว เมื่อเราทั้งอายทั้งกลัวความชั่ว เราก็ทำชั่วไม่ได้ ไม่ว่าในที่ลับหรือที่แจ้ง เราทำไม่ได้แน่ อายแล้ว อายไม่พอแถมกลัวด้วย นี่คนอายความชั่วกลัวชั่ว ไม่กล้าทำความชั่วมันเหลืออะไร ในเมื่อเราไม่ทำความชั่ว มันก็เหลือแต่ความดี อารมณ์จิตของเรามันมี ๒ อย่างเท่านั้น รับอารมณ์ ๒ อย่าง ไม่รับชั่วมันก็รับดี
 
ทีนี้ อารมณ์จิตของเราไม่รับชั่ว เหลือแต่ความดีโดยเฉพาะ เข้าในพระบาลีที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า สัพพปาปัสสะ อกรณัง ว่าท่านทั้งหลายจงอย่าทำความชั่วทั้งหมด นี่การเจริญเทวตานุสสติเข้าในพระพุทธฎีกาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตั้งเป็นธรรมนูญของพระศาสนาเข้าไว้ว่า สัพพปาปัสสะ อกรณัง จงอย่าทำความชั่วทั้งหมด แล้วก็ กุสลัสสูปสัมปทา จงทำแต่ความดี การเจริญเทวตานุสสติตามแบบของอนุสสติเดิม เรามานั่งใคร่ครวญ นั่งคิดถึงอยู่ตลอดเวลาว่า อันดับอย่างต่ำของความดีขั้นมีความสุขก็คือเทวดา สูงขึ้นไปอีกนิดคือพรหม สูงที่สุดก็คือพระนิพพาน เวลานี้เราตั้งใจว่าเราจะไปนิพพาน แต่ว่าเรามีความดีถึงระดับของเทวดาแล้วหรือยัง นี่เป็นเครื่องวัดใจเรา ต้องวัดไว้เสมอนะ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง แล้วจะมานั่งนึกว่า เอ๊ะนี่เราดีเท่าเทวดาแล้วหรือยัง เราจะไปนิพพาน เทวดาท่านดีตรงไหนล่ะ เทวดาท่านดีตรงที่ท่านไม่ทำความชั่ว เพราะอาย เป็นคนขี้อาย อายชั่วแล้วเกรงกลัวชั่ว เป็นคนขี้ขลาดไม่อยากจะทำชั่ว กลัวความชั่ว นี่เวลานี้ใจของเราเท่าใจของเทวดาแล้วหรือยัง ความชั่วทั้งหมด ทั้งในด้านศีล เป็นพระ เป็นเณร ฆราวาสก็เหมือนกัน อยู่ในขอบเขตของศีลของตัวโดยเฉพาะตามหน้าที่ ขึ้นชื่อว่าความชั่วเฉพาะศีลนี่เป็นขอบเขตของพระพุทธศาสนา เราไม่ละเมิด แล้วก็ไม่ละเมิดระเบียบประเพณีของแต่ละชาติ แต่ละภาษา แต่ละหมู่ แต่ละคณะที่เราอยู่ ไม่ละเมิดต่อกฎหมายของบ้านเมือง คือไม่ทำด้วยความเต็มใจ ถ้าเรารู้สึกว่าจะละเมิดกฏหมายบ้านเมืองระเบียบประเพณีหรือศีลเมื่อไร ความอายนี่มันปรากฏ รู้สึกสั่นสะท้านเกรงกลัวผลของศีลผลของการละเมิดศีลประเพณีและกฏหมายของบ้านเมือง นี่อย่างนี้เรียกว่าเราก้าวเข้าสู่ความเป็นเทวดา เราอายแล้วเราก็กลัว ไม่ยอมปฏิบัติตามนั้น คือไม่ยอมละเมิด นี่ ที่ใจของเราปักอยู่อย่างงี้โดยเฉพาะแล้วเราก็คิดไว้ว่านี่เราทำอย่างนี้เราเป็นเทวดาได้ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายทำได้อย่างดีก็ไม่ใช่ภุมมเทวดา ลงอายความชั่วจริงๆ เกรงกลัวผลของความชั่วจริงๆ เอาจิตจับจิตอยู่ไว้เสมอ เรียกว่าจิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน ถ้าเราเจริญในด้านนี้ เช้าเราก็มองดูจิตว่า เอ ตั้งแต่เช้าเมื่อวานถึงเช้าวันนี้น่ะเราหน้าด้านใจด้านบ้างหรือเปล่า คือหมายความว่าละเมิดหิริและโอตัปปะเวลาไหนที่เราไม่อายชั่ว เวลาไหนที่เราไม่เกรงกลัวผลของความชั่ว มีบ้างไหม นั่งจับอารมณ์ใจให้รู้ ถ้าบังเอิญมันจะมีขึ้นละก็ตั้งใจไว้เสียใหม่ว่า วันนี้ตลอดวันเราจะไม่ยอมให้ความชั่วเข้ามาสิงใจ เพราะมันจะเป็นปัจจัยให้ไปสู่อบายภูมิ นี่ใคร่ครวญจิตอยู่อย่างนี้ตลอดเวลาเรียกว่าเจริญเทวตานุสสติกรรมฐาน ถ้าท่านเจริญเทวตานุสสติกรรมฐานแบบนี้โดยใช้อารมณ์เบาๆ คือจิตของท่านเข้าสู่อุปจารสมาธิแล้วเป็นเทวดาได้ หรือว่าขณิกสมาธิก็เป็นเทวดาได้ หากว่าเราเอาจิตจับไว้โดยเฉพาะ หิริและโอตัปปะมันจุดตรง อย่างนี้สมเด็จพระพุทธองค์บอกว่าเป็นเทวดาได้ แล้วชั้นดีเสียด้วย

ถ้าเราเจริญเทวตานุสสติกรรมฐานเราจับหิริและโอตัปปะ ใคร่ครวญพิจารณาอยู่ป้องกันอยู่ตลอดเวลา เมื่อนานๆเข้าอารมณ์จิตมันชิน ทีแรกก็ต้องระมัดระวัง ระวังเช้า ระวังกลางวัน ระวังกลางคืนจนกว่าจะหลับ คอยตรวจหน้าตรวจหลัง ระมัดระวังการพูด การทำ การคิด ว่ามันจะน้อมเข้าไปในความชั่ว การทำบ่อยๆมันชิน ตอนชินนี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท จะนั่งอยู่ก็ดี จะยืนอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี ทำอะไรอยู่ก็ตาม อารมณ์จิตมันทรงอารมณ์อยู่เป็นปกติเรียกว่ามันเป็นอัติโนมัติ ไม่ยอมพูดชั่ว ไม่ยอมทำชั่ว ไม่ยอมคิดชั่ว อารมณ์มันทรงตัว ใครทำอะไรจุ้นจ้านพลุ่งพล่านยังไงก็ตามเถอะ ส่งเสียงเอะอะโวยวาย ใจของเราก็ไม่น้อมไปในความชั่ว ไม่กวัดแกว่งไปสู่อารมณ์ของความชั่ว อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า อาศัยที่ท่านใคร่ครวญแต่ความดี คือ หิริและโอตัปปะ หรือเลี่ยงผลของความชั่ว เกรงกลัวผลของความชั่ว อารมณ์จิตของท่านเป็นฌาน คำว่าฌานนี่คือว่าอารมณ์มันทรงอยู่ตลอดเวลา คำว่าตลอดเวลาก็หมายถึงว่าเราหมดจากภาระอย่างอื่นแล้วจิตมันก็ทรงอยู่แบบนี้ ป้องกันความชั่ว จิตทรงตัว ขึ้นชื่อว่าความชั่วไม่ยอมละเมิด อารมณ์มันสบายใจเป็นสุข ใจเป็นสุขตลอดคืนตลอดวัน มีความภูมิใจว่าเวลานี้เราดี เราสะอาดพอแล้ว จิตใจของเราสะอาดตามที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงสอน อารมณ์สบาย ใจมันเป็นฌาน พอใจมันเป็นฌาน ตายแล้วมันไปไหนล่ะ แทนที่เราจะอยู่ที่เทวดาก็ย่องไปพรหมแล้ว นี่เทวตานุสสติ อนุสสติเขาบอกว่าได้แก่อุปจารสมาธิ นี่ถ้าทำไม่เป็นล่ะมันก็แค่นั้นแหละ ถ้าเรามีความเข้าใจสักนิดหนึ่งละก็ เราก็ไปเป็นพรหมได้ คือทรงอารมณ์จิตนั่นให้มันทรงตัว วันทั้งวัน คืนทั้งคืน เราไม่ยอมน้อมจิตเข้าไปหาในความชั่ว คอยระวังมันไว้ เวลาจะพูดระวังปาก เวลาจะทำระวังกาย เวลาจะคิดระวังใจ ใจทรงอยู่ในความดีเป็นปกติ เขาเรียกว่าทรงฌาน เราก็ไปเป็นพรหม
 
คราวนี้เมื่อจิตทรงฌานได้แล้ว นี่ก้าวเดียวก็ไปพระนิพพาน เราก็มานั่งนึกว่า ความชั่วที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงห้ามเราละได้แล้วทั้งหมด แล้วองค์สมเด็จพระบรมสุคตกล่าวว่า อีกจุดหนึ่ง สจิตตปริโยทปนัง จงทำใจให้ผ่องใส แต่ความจริงเราทรงอยู่ในหิริโอตัปปะ คือ เกรงความชั่ว กลัวความชั่ว จนอารมณ์จิตเป็นฌาน มันก็ใสแล้ว อารมณ์จิตเป็นแก้วควรแก่การเจริญวิปัสสนา เราก็มานั่งนึกดูว่า การเป็นเทวดาก็ดี การเป็นพรหมก็ดี ถ้าหมดวาสนาบารมีเมื่อไร เราก็ต้องจุติมาเกิดเป็นมนุษย์ ความดีที่สุดคือพระนิพพาน ทำยังไงล่ะ เราก็ตั้งใจว่านี่เรารักษาความดีถึงระดับพรหมได้แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วว่าเราไม่ต้องการมาเกิดเราจะไปนิพพาน เราก็ตัดขันธ์ ๕ โยนทิ้งไป คราวนี้ใจมันสะอาด ใจมันบริสุทธิ์ ใจมันทรงตัวมีกำลัง มันก็ทำไม่ยาก เราก็ตั้งใจตัดสักกายทิฏฐิ ถือว่าร่างกายของมนุษย์มันเลว มันเต็มไปด้วยความสกปรก เต็มไปด้วยความโสโครก เต็มไปด้วยความทุกข์ เต็มไปด้วยความเสื่อม เต็มไปด้วยความกระสับกระส่าย เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ปรนเปรอเท่าไรก็ไม่มีการทรงตัว หาความเที่ยงไม่ได้ ในเมื่อมันไม่เที่ยงแล้วก็มันมีแต่ความทุกข์ ในที่สุดมันก็สลายตัว เราจะมานั่งมัวเมาหวังอยู่ในกายเพื่อประโยชน์อะไร ร่างกายเป็นธาตุ ๔ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ เป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราว เป็นปัจจัยของความทุกข์ ถ้าเรามีความอยากเกิดต่อไป เราก็อยากทุกข์ เวลานี้เราเป็นเทวดาได้แล้ว มีความดีมีความสุขในฐานะที่เป็นเทวดาหรือพรหม แล้วทำไมเราจึงจะนิยมกลับลงมาเกิดให้มันมีความทุกข์ต่อไป จึงต้องจับกำลังใจให้คงที่ว่า ขึ้นชื่อว่าอัตภาพที่ประกอบไปด้วยขันธ์ ๕ นี้จะไม่มีสำหรับเราในกาลต่อไป เราจะยอมโง่ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ต่อไปขึ้นชื่อว่าความโง่ที่จะปรารถนามามีขันธ์ ๕ คือร่างกายอย่างนี้ไม่มีอีก เรามีความต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพาน แล้วก็รวบรวมกำลังใจเพื่อทำให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ตอนนี้มันง่ายเพราะใจมันดีซะแล้ว มันสะอาด แล้วก็มองไปว่า โลภะ ความโลภ เป็นปัจจัยของความไม่สะอาด เราต้องการมันหรือ คนที่มีหิริโอตัปปะ มันก็ตัดอยู่แล้ว ตัดความโลภอยู่แล้ว มีความสันโดษพอใจในทรัพย์สินที่มีอยู่เฉพาะที่เราหาได้ คือหาได้โดยไม่คดไม่โกงใคร แล้วก็มองให้ละเอียดลงไปว่า ทรัพย์สินทั้งหลายเหล่านี้มันไม่เป็นปัจจัยของความดีจริงๆ มันเป็นประโยชน์สำหรับเมื่อมีร่างกายอยู่ แต่ว่าเป็นปัจจัยของความทุกข์ จะต้องห่วงจะต้องระมัดระวังหวงแหนมันอยู่ตลอดเวลา เป็นอันว่ามันไม่ใช่ความสุขจริง เราก็วางภาระเสีย ไม่ใช่วางแล้วโยนทิ้ง มันจำจะต้องหามาก็หามาตามหน้าที่ มีกินมีใช้แต่จิตใจไม่ผูกพัน ตายเมื่อไรก็ช่างมัน มันจะไปไหนก็ช่างหัวมัน ตายแล้วก็แล้วกัน แม้แต่ร่างกายของเราก็ไม่คำนึงถึง

โทสะ ความโกรธ อันนี้มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ โกรธทำไม โกรธมันทำลายใจให้ผิดปกติ คือว่าทำลายความสุขของใจ อารมณ์โกรธเป็นอารมณ์เผาผลาญให้เกิดความเร่าร้อน ดีไม่ดีอารมณ์โกรธก็เป็นตัวก่ออันตรายก่อภัยให้เกิดแก่ตน คนทุกคนเกิดมาแล้วก็ป่วย คนทุกคนเกิดมาแล้วก็ตาย เต็มไปด้วยความทุกข์ มันไม่มีอะไรเป็นความสุข เราจะไปสนใจกับความโกรธเพื่ออะไร นอกจากจะไม่โกรธแล้วก็มีเมตตากรุณา คือความรักและความสงสารเข้ามาแทนที่ อารมณ์อย่างนี้มันมีความสุข นี่เราทำลายความโกรธเสียด้วยอำนาจของเมตตาพรหมวิหาร คือความกรุณาความสงสาร จิตใจของเราทรงอารมณ์อย่างนี้ตลอดวัน

ต่อไปก็ทำลายรากฐานตัวสุดท้าย คือความหลง คือมองปลงไปว่าร่างกายเต็มไปด้วยความทุกข์ โลกเต็มไปด้วยความสกปรก หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ ยึดอารมณ์ใจ คือตัดอารมณ์ฉันทะ คือความพอใจที่เราจะมาเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม เรามีความนิยมเฉพาะพระนิพพาน ตัดราคะ ความกำหนัดยินดี เห็นว่าโลกสวย เทวดาสวย พรหมสวย สามสวย ความจริงมันก็มีสวยอยู่เหมือนกัน แต่มันสวยไม่คงที่ ไม่ตลอดกาล ไม่ตลอดสมัย ถึงจะเป็นต้นไม้ก็เป็นต้นไม้ล้มลุกคลุกคลานต้องสร้างกันบ่อยๆ ที่มีความสวยคงทนถาวรได้จริงๆ ก็คือพระนิพพาน เราจับใจไปเฉพาะที่นั่น เราจะไม่มัวเมาในทรัพย์สินทั้งหลาย จะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต แม้แต่ร่างกายของเราก็ดี เราไม่มีความยินดีที่จะปกครองมันต่อไป ถ้าเราตายแล้วเมื่อไร เราก็เลิก ใจเราก็มีความสุข ความโลภไม่มีก็มีความสุขใจ ความโกรธความพยาบาทไม่มี ความเดือดร้อนมันก็ไม่มี ความกระสับกระส่ายของจิตก็ไม่เกิดขึ้น ใจมันก็สบาย เราไม่ยึดถือแม้แต่ร่างกาย ว่ามันเป็นเราเป็นของเรา แล้วในเมื่อเราไม่ยึดถือร่างกายเสียอย่างเดียว เราปล่อยร่างกายเสียอย่างเดียวก็ชื่อว่าปล่อยหมดทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ความเมามันก็ไม่เกิด เพียงเท่านี้เราก็เข้าถึงพระนิพพานได้ไม่ยากนัก ที่ว่าไม่ยากก็เพราะว่าเทวตานุสสติทำให้ใจของเราสะอาดผิดปกติ มันสะอาดมากอยู่แล้ว ที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอนให้ขึ้นต้นว่าเทวตานุสสติจงนึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์ นี่ถ้าเรามีความโง่เสียหน่อยเดียว จะนึกว่าแหมพระพุทธเจ้านี่สอนต่ำเกินไป ทำไมไม่สอนตรงเฉพาะพระนิพพาน ทั้งนี้ก็เพราะองค์สมเด็จพระพิชิตมารรู้อัธยาศัยของคนว่า คนที่มีความเชื่อต้องใช้อะไรเป็นเครื่องมือสำหรับสนับสนุนให้เข้าถึงสวรรค์ เข้าถึงพรหมโลก แล้วก็เข้าถึงพระนิพพาน
 
เอาละบรรดาทุกท่าน ขึ้นชื่อว่าการปฏิบัติพระกรรมฐานทุกกอง ถ้ามีความฉลาดก็จับกรรมฐานกองนั้นๆ เป็นสมถะด้วย เป็นวิปัสสนาญาณด้วย ช่วยให้ไปถึงพระนิพพานได้โดยเฉพาะ ถ้าทำเป็นจริงๆ กรรมฐานกองเดียวเป็นประโยชน์ถึงพระนิพพานหมด
 
เอาละต่อแต่นี้ไป นี่พูดให้เข้าใจเพื่อเป็นการศึกษา แต่ฟังแล้วเอาไปใช้ก็ดีเหมือนกัน เทวตานุสสติกรรมฐานนี่ถ้าใช้ทุกวันละก็เรื่องพระนิพพานเป็นของง่าย ก็บอกแล้วนี่ ถ้าจิตสะอาดเสียอย่างเดียวมันก็ไปนิพพาน

ต่อแต่นี้ไป ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น ตอนนี้สำคัญนะทิ้งกันไม่ได้ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 45.0.2454.101 Chrome 45.0.2454.101


ดูรายละเอียด
« ตอบ #27 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2558 09:15:34 »


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๒๘ กายคตาสติ

ต่อไปนี้ ตั้งใจศึกษาพระกรรมฐานตามลำดับ วันนี้จะได้พูดเรื่องกายคตาสติกรรมฐาน การเจริญกรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ตาม ย่อมมีผลทำจิตให้เป็นสมาธิ แต่ว่าผลพิเศษย่อมเป็นไปตามอำนาจของกรรมฐานกองนั้น ๆ การที่เราจะเจริญพระกรรมฐานให้ได้ดีจริง ๆ เราก็ต้องเป็นผู้มีอารมณ์ชนะใจของตัวเองไม่ใช่ผู้แพ้ คำว่าชนะก็หมายถึงว่าการเจริญสมถภาวนา เราต้องการให้จิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตจับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ให้ทรงอยู่ในอารมณ์นั้น ไม่ใช่ว่าจะปล่อยให้อารมณ์อื่นเข้ามายุ่งกับใจ แล้วจงรักษาเวลาตามสมควรตั้งเวลาไว้เฉพาะเท่านี้ เราจะไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามายุ่งกับจิต แล้วก็ทรงอารมณ์ให้ตรงตามนั้นได้จริง ๆ รักษาอารมณ์ให้คงที่ไว้อย่างนี้จึงชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติที่ดีแล้วจึงจะได้ดี สำหรับด้านวิปัสสนาญาณก็ใช้ปัญญาพิจารณาหาความจริงของขันธ์ ๕ ให้พบ ที่เราต้องเกิดแก่เจ็บตายกันเป็นปกติ เพราะว่าเราโง่ไม่ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง ฉะนั้น เราก็ต้องมีอารมณ์ชนะใจอยู่เสมอ ทำปัญญาให้เกิด พิจารณาหาความจริงให้พบ เมื่อหาความเป็นจริงพบก็ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง มีอารมณ์ว่าง คือปล่อยขันธ์ ๕ เสีย ถือว่ามันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา เมื่อเราปล่อยขันธ์ ๕ ได้เมื่อไร เราก็ถึงพระนิพพานเมื่อนั้น

นี่พูดถึงกฎธรรมดาที่ว่าการเจริญพระกรรมฐานเอาดีไม่ได้ก็เพราะใจมันไม่รักดี ใจไม่ทรงอารมณ์ ภาวนาว่าพุทโธ ธัมโม สังโฆ เดี๋ยวก็ส่งกระแสจิตไปสู่ที่อื่น ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาทับจิต อย่างนี้ที่เราเรียกว่ายอมแพ้กิเลส ถ้าจิตใจฟุ้งซ่านไม่ทรงตัวอย่างนี้จะไปหาใครสอนที่ไหนก็เอาดีไม่ได้ การจะดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง
 
สำหรับวันนี้จะขอพูดเรื่องกายคตาสติกรรมฐานเป็นลำดับต่อมา กายคตาสติกรรมฐาน พระพุทธเจ้าให้พิจารณาร่างกายของเราเป็นอารมณ์ สำหรับกรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานทำลายอำนาจราคะจริต เป็นกรรมฐานกองหนึ่งใน ๑๑ กองที่ทำลายความรักในการรักสวยรักงาม ราคจริตมีอารมณ์รักสวยรักงาม คือมีอารมณ์ที่ยอมโกหกใจตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าของในโลกนี้ทั้งหมดจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตก็ดี สิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ดี ไม่มีอะไรสวยจริง ไม่มีอะไรงามจริง มันเต็มไปด้วยความสกปรก ก่อนที่เราจะเห็นสิ่งอื่นเป็นของสกปรก ก็ต้องเห็นใจตัวของเราเองเสียก่อน คนอื่นเป็นยังไงช่างเขา เขาจะเห็นว่าตัวเขาสะอาด เขาจะเห็นว่าตัวเขาสกปรก เขาจะเห็นตัวเขาสวยสดงดงามยังไงก็ช่างเขา อย่าเอาใจเข้าไปยุ่ง เรามานั่งดูตัวของเราเองดีกว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

อัตถิ อิมัสมิง กาเย มีอยู่ในกายนี้ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้น

มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ตับ ไต ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง มันข้น เสลด น้ำลาย อย่างนี้เป็นต้น รวมความง่าย ๆ ไม่ต้องไปนั่งว่าคาถาให้มันเพลิน การสวดคาถานี้ได้ยินพระสวดอยู่เสมอ เขาว่ากันคล่องปากแบบนกแก้วนกขุนทองไม่มีประโยชน์อะไร ความจริงคาถานี้อาการทั้ง ๓๒ ประการ พระพุทธเจ้าให้พิจารณาว่าเป็นของสกปรกโสโครก โดยไม่เอาจิตเข้าไปยึด การท่องไว้จนคล่องปาก แล้วก็สวดกันไปตามอารมณ์ของการคล่องไม่มีผล ผลก็มีอยู่อย่างหนึ่งว่าเราจำได้ แต่ว่าการจำได้แล้วไม่นำเข้ามาพิจารณาร่างกายของเราให้เห็นไปตามนั้นมันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

วิธีที่จะเกิดประโยชน์ก็มานั่งนึกซิว่า

ผม สะอาดหรือสกปรก ขน สะอาดหรือสกปรก เล็บ สะอาดหรือสกปรก หนัง สะอาดหรือสกปรก เนื้อ สะอาดหรือสกปรก เลยเนื้อเข้าไป มีอุจจาระปัสสาวะ น้ำเลือดน้ำเหลือง น้ำหนอง เสลด ไขมัน น้ำลาย แล้วก็ไส้ใหญ่ไส้น้อย อาหรใหม่ อาหรเก่า ตับไตไส้ปอด ลองนั่งนึกดูซิ ว่าอย่างไหนมันสะอาดบ้าง เอาปัญญาเข้าไปพิจารณาหาความจริง เราจะรู้ว่าของทั้งหลายเหล่านี้มันสกปรกจริงๆ ขณะใดจิตของเราเห็นว่าร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี เต็มไปด้วยความสกปรกตามความเป็นจริง เรื่องนี้ไม่ต้องอธิบายมาก เพราะเรารู้กันอยู่แล้ว แต่ขณะใดเรายังเห็นว่าสะอาด ขณะนั้นจิตเราเข้าสู่อบายภูมิ แสดงว่าเป็นจิตของสัตว์นรกแล้ว ไม่ใช่จิตของเทวดา เพราะว่าอะไร เพราะว่าสัตว์นรกมันโง่ มีอารมณ์ที่เป็นอกุศล อกุศลก็แปลว่าไม่ฉลาด คำว่าไม่ฉลาดก็แปลว่าโง่ ของมันสกปรกเห็น ๆ อยู่ยังไปคิดว่ามันสะอาด ของมันเลวเราก็ไปเห็นว่ามันดี อารมณ์จิตอย่างนี้เป็นอารมณ์จิตของอบายภูมิ อย่าไปกันเลยนิพพาน แค่สวรรค์หรือเป็นมนุษย์ก็เป็นไม่ได้ เพราะอารมณ์ใจมันเศร้าหมอง

ในเมื่อร่างกายของเราเต็มไปด้วยความสกปรก นึกเอา หยิบเอามาสักชิ้นหนึ่ง น้ำลายที่อยู่ในปาก กลืนก็ได้อมก็ได้ แต่ว่าบ้วนออกมา มือของเราแตะน้ำลายไม่ได้ นั่นแสดงว่ามันสกปรกหรือมันสะอาด อาหารที่เราจะกินเข้าไปเลือกแล้วเลือกอีก เอาของดีที่สุด ทำปรุงดีที่สุด สะอาดที่สุด แต่ส่วนที่เป็นกากหลั่งไหลออกมาที่เราเรียกกันว่าอุจจาระ เราก็แตะต้องไม่ได้ มันสะอาดหรือสกปรก น้ำที่เราจะดื่มเข้าไป ต้องเลือกน้ำที่สะอาดปราศจากโรค ดีไม่ดีก็กินน้ำกลั่นมันสะอาดดี แต่น้ำที่ร่างกายไม่ต้องการไขออกมาทิ้งไป คือมันล้นจากความต้องการทิ้งออกมา ที่เราเรียกกันว่าปัสสาวะ เราก็ไม่อยากเอามือเข้าไปแตะ เราถือว่าสกปรก คราวนี้น้ำเลือดน้ำเหลืองน้ำหนองที่มีอยู่ในร่างกายเป็นสิ่งที่เราต้องการบำรุงให้เลือดดีร่างกายจะได้งาม ร่างกายจะได้แข็งแรง แต่พอเลือดไหลออกมาจากร่างกายเราก็เกิดความรังเกียจเหม็นคาว ไม่อยากแตะต้องหาว่ามันสกปรก ของทั้งหลายเหล่านี้มันอยู่ที่ไหน มันอยู่ในร่างกายเราหรือมันอยู่ที่ไหน เราเอามาจากที่อื่นหรือยังไง

นี่ นั่งนึกด้วยอำนาจของปัญญาพิจารณาเห็นตามความเป็นจริง กรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานสำคัญที่สุดที่ตัดราคะความรักและเป็นกรรมฐานที่พระอรหันต์ทุกองค์จะต้องผ่าน ไม่ว่าพระอรหันต์องค์ไหน ถ้าจะเป็นพระอริยเจ้าคือตั้งแต่อนาคามีขึ้นไป ถ้าบอกว่าไม่เคยผ่านกรรมฐานกองนี้ละก็อย่าไปเชื่อใคร เป็นไม่ได้แน่นอน จึงจัดว่าเป็นกรรมฐานพื้นฐานใหญ่ ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาถือว่ามีความสำคัญ ฉะนั้น พระก็ดี เณรก็ดี ที่จะบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา พระอุปัชฌาย์จึงสอนตจปัญจกกรรมฐาน ๕ ประการขึ้น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น วันนั้นท่านสอนย่อเพราะเวลาน้อย ความจริงก็สอนอาการ ๓๒ ทั้งหมดให้เห็นว่าเป็นของสกปรก ส่วนที่สอนเพียง ๕ ประการ เพราะสิ่งที่มันเห็นอยู่ ผม ถ้ามันสะอาดจริง ๆ ไม่ต้องสระ ไม่ต้องสาง ไม่ต้องฟอก ไม่ต้องชะ ไม่ต้องล้าง ปล่อยมันตามนั้นแล้วมันไหวไหมล่ะ สักเจ็ดแปดวันก็เหม็นเป็นแร้งทึ้ง ทนไม่ไหว นี่ แสดงว่าผมมันสกปรก นี่ ในเมื่อผมนี้ความจริงมันมีสภาพเน่าไม่ได้เพราะมันเป็นของแข็ง ไม่มีส่วนใดที่เป็นน้ำจะซึมเข้าไปได้ แต่มันก็ยังสกปรก เพราะเหงื่อไคลที่ไหลมาจากร่างกายเข้ามาทับมัน นี่ถ้าของประเภทนี้ถ้าสกปรกได้ เนื้อหนังก็สกปรกยิ่งไปกว่านั้น

การพิจารณาเห็นเป็นของสกปรก เราพิจารณาทำไม ?
 
ก็เป็นการพิจารณาตัดความรักที่เราเห็นว่ามันสวยมันงามมันสะอาด

นี่พิจารณาไป ของจริงมันมีอยู่ ทำจิตให้รู้กฎของความเป็นจริง ไม่ต้องไปหาตำรับตำราที่ไหน ถ้าสงสัยก็บ้วนน้ำลายออกมา แล้วเอามือเข้าไปละเลงเล่น แล้วก็กลืนเข้าไปใหม่ก็ได้ ถ้าทำได้ยังงี้มันก็สะอาด แล้วก็ปัสสาวะออกมาถือว่าน้ำที่เราจะกินเข้าไป เลือกกินน้ำที่สะอาดที่สุด เวลาปัสสาวะออกมาเอากลับเข้าไปดื่มใหม่ได้ไหมล่ะ ถ้าดื่มได้มันก็สะอาด ถ้าดื่มไม่ได้มันก็สกปรก อาหารเลือกให้มันดีที่สุด ปรุงให้มันดีที่สุด ปราศจากโรคเป็นอาหารที่สะอาด แล้วกากที่ถ่ายออกมา ลองกลับเข้าไปกินใหม่ได้หรือไม่ได้ ถ้าไม่ได้มันก็สกปรก แล้วของเหล่านี้มันอยู่ที่ไหน มันอยู่ในกาย ในเมื่อกายของเราสกปรก แล้วกายของคนอื่นที่ไหนจะสะอาด ที่ให้พิจารณาตัวเองเป็นสำคัญ ก็เพราะว่าตามปกติเราย่อมไม่มองเห็นตัวเรา ย่อมมองเห็นแต่บุคคลอื่น คิดว่าตัวนี้มันดีเลิศ ประเสริฐเสียทั้งหมด

ในเมื่อพิจารณาร่างกายเป็นของสกปรก ที่เรียกกันว่ากายคตาสติกรรมฐาน กรรมฐานกองนี้ควรจะใช้ทุกลมหายใจเข้าออก เพราะเป็นกรรมฐานสำคัญ ถ้าเราเห็นว่าร่างกายสกปรก มีความเบื่อหน่ายในร่างกาย ร่างกายเราก็เห็นว่าสกปรก เห็นคนอื่นก็เห็นว่าสกปรก ให้มันสกปรกจริง แต่ใช้สัญญาน้อมเข้าไป ใช้ปัญญาพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงให้เกิดความรังเกียจ ที่เรียกว่านิพพิทาความเบื่อหน่าย ถ้าจิตทรงอยู่อย่างงี้ตลอดกาลตลอดสมัย เห็นร่างกายเราเมื่อไร เห็นร่างกายบุคคลอื่นเมื่อไร เห็นว่าสกปรกน่าเกลียดโสโครกไม่เป็นของน่ารัก อย่างนี้ก็ชื่อว่าเข้าถึงกรรมฐานกองนี้ได้เต็มที่ ที่เรียกกันว่าสมถภาวนา เมื่ออารมณ์เข้าจับจุดสมถภาวนา ถ้ามันทรงได้ตลอดกาลตลอดวัน เห็นเมื่อไรเห็นว่าสกปรกเมื่อนั้น อย่างนี้เรียกกันว่าปฐมฌาน ไม่ใช่อุปจารสมาธิ ถ้าบางขณะยังเห็นว่ามันสวยสะอาด อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ไม่มีการให้คะแนนกัน ถ้าเป็นการสอบก็ถือว่าใช้อะไรไม่ได้เลย จิตยังทรามอยู่มาก ยังไม่เข้าถึงจุดที่เป็นกุศล บางวะระเห็นว่าสะอาด บางวาระเห็นว่าสกปรกอย่างนี้เขาเรียกว่าเอาดีไม่ได้ ก้าวขึ้นไปยังไม่ถึงขั้นประถม โดยนิยมแล้วต้องเห็นว่ามันสกปรกตลอดเวลา ไม่มีอารมณ์พิสมัยเพราะเห็นว่ามันสกปรก นี่เราไม่ต้องการของสกปรก ถ้าจิตมันทรงยังงี้ได้ตลอดเวลา ก็ชื่อว่าเราถึงกรรมฐานกองนี้แล้ว เห็นเมื่อไร เห็นกายเราเมื่อไร เห็นกายบุคคลอื่นเมื่อไรเราก็เบื่อหน่ายเมื่อนั้น รังเกียจเมื่อนั้น ให้มีความรังเกียจเป็นปกติ แล้วก็รังเกียจจริง ๆ ไม่ใช่สักแต่ใช้สัญญาเป็นเครื่องความจำว่า ครูบาอาจารย์หรือพระพุทธเจ้าท่านสอนบอกว่าร่างกายคนเรานี่น่ารังเกียจ มันสกปรก แต่ไอ้ใจหนึ่งมันเกิดความรักความปรารถนา อันนี้ใช้ไม่ได้ มันต้องเห็นรังเกียจจริง ๆ ในเมื่ออารมณ์รังเกียจปรากฏอย่างนี้ชื่อว่าอารมณ์สมถภาวนาปรากฏคราวนี้เราทำกรรมฐานกองนี้ให้เป็นวิปัสสนาภาวนา สมถะทุกกองเป็นวิปัสสนาได้หมด ต้องควบกัน ถ้าไม่ควบกันมันก็เอาดีไม่ได้ เราก็มานั่งพิจารณาที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า

อัตภาพร่างกายที่เกิดมาแล้ว มันเป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง เต็มไปด้วยความทุกข์ อนัตตา มันสลายตัว

เราก็มานั่งพิจารณาร่างกายที่เต็มไปด้วยความสกปรกนี่มันเป็นนิจจังหรืออนิจจัง ?
 
นิจจังแปลว่าเที่ยง อนิจจังแปลว่าไม่เที่ยง ความจริงความสกปรกมันเป็นนิจจัง คือความเที่ยง มันสกปรกเป็นปกติ นับตั้งแต่วันเกิดถึงวันตาย ร่างกายไม่เคยสะอาด เราอาจจะเถียงว่าอาบน้ำฟอกสบู่แล้วชำระร่างกายดีแล้ว นั่นมันเพียงแต่ผิวกำพร้า แต่อุจจาระปัสสาวะน้ำเลือดน้ำเหลืองน้ำหนองที่มีอยู่ในกายเรารีดออกมาหมดได้รึเปล่าล่ะ มันเอาออกมาไม่ได้มันก็สกปรกอยู่ตลอดเวลา แล้วร่างกายที่เต็มไปด้วยความสกปรกนี่มันทรงตัวไหม มันมีความแข็งแรงมันมีความสมบูรณ์ทรงตัวรึเปล่า หรือว่ามันมีความเสื่อมความโทรมอยู่เป็นปกติ นี่หันเข้ามาหาวิปัสสนาญาณว่ามันสกปรกแล้วเราก็พอทน คือว่าจำจะต้องอยู่ อยู่ด้วยอาการทนอยู่ ด้วยความรังเกียจ ตอนนี้เจ้าร่างกายที่เต็มไปด้วยความสกปรก แล้วมันไม่ใช่เท่านั้น มันยังมีความเสื่อม มันยังมีความโทรมเป็นปกติ มันมีความต้องการ ต้องการให้เราต้องบำรุงอยู่เสมอ ความต้องการของมันก็คือว่า หาของมาซ่อมมาแซมความเสื่อมของมัน ความเสื่อมก็ได้แก่ความเป็นเด็กเล็กมาเป็นเด็กใหญ่ จากผู้ใหญ่มาเป็นคนแก่ อันนี้เราก็เห็นความเสื่อมความโทรม หูก็ฝ้าตาก็ฟาง ฟันก็หัก ผมก็หงอก กายก็ค่อม เรี่ยวแรงก็หมดไป สติปัญญาก็เสื่อมทราม ไอ้นี่เป็นอาการเสื่อมที่เราเห็นถนัด แต่ทว่าคนไม่ยอมเห็นกัน เห็นแล้วไม่ยอมคิด นี่เป็นความโง่ สำหรับวิปัสสนาภาวนาก็เห็นด้วยปัญญาจริง ๆ ว่ามันเสื่อมลงไปทุกขณะจิต ความเสื่อมก็คือตัวไม่เที่ยง มันไม่ทรงตัว
 
พระพุทธเจ้ากล่าวว่า มันไม่เที่ยงแล้วมันเป็นทุกข์ ตรงไหน ?
 
ร่างกายเกิดมามีอวัยวะสมบูรณ์ตามปกติ แต่มันมีความเสื่อมสลาย ตัวเสื่อมนี่เอง มันต้องการให้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์บริบูรณ์ เราก็ต้องแสวงหาอาหาร ต้องประกอบกิจการงานทุกอย่างเพื่อนำมาบำรุงร่างกาย ความต้องการเกิดขึ้นคือความหิวเป็นอาการของความทุกข์ การแสวงหาอาหารต้องประกอบกิจการงานทุกอย่างเต็มไปด้วยความเหนื่อยยาก เป็นอาการของความทุกข์ นอกจากนั้นความป่วยไข้ไม่สบายปรากฏ โรคะแปลว่าเสียดแทง มันทำให้เกิดความลำบาก นี่ก็เป็นอาการของความทุกข์ นี่เพราะมันไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ เราเป็นเด็กแล้วโตขึ้นเป็นหนุ่มเป็นสาวเต็มตัว มีกำลังร่างกายแข็งแรงเราพอใจ แต่ทว่าเราก็ลืมมัน นับตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันนี้มันทุกข์อยู่ตลอดเวลา ทุกข์จากความหิวความกระหายความหนาวความร้อนความป่วยไข้ไม่สบายความปรารถนาไม่สมหวัง มันเบียดเบียนเรามาตลอดเวลา เป็นอาการของความทุกข์ คนที่มีปัญญาเท่านั้นจึงจะมองเห็น ในเมื่อถึงความเป็นหนุ่มเป็นสาวเราพอใจ แต่มันก็ทรงอยู่ได้ไม่นานมันก็กลับแก่ นี่ทุกข์เพราะความแก่เข้ามาอีก ทุกข์เพราะร่างกายไม่สมบูรณ์ มีกำลังวังชาไม่คงที่ ไม่สามารถจะทำงานได้ตามปกติได้ สายตาที่เคยยาวก็กลับสั้นมองอะไรไม่ใคร่เห็น ฟันที่เคยเคี้ยวอาหารได้ดี ๆ ก็หัก เคี้ยวไม่ถนัดกินของไม่สะดวก หูก็ชักจะฝ้าตาก็ชักจะฟาง ร่างกายก็ทรุดโทรม นี่เป็นอาการของความทุกข์ ในที่สุดพระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นอนัตตา อนัตตาคือการสลายตัว ในที่สุดมันก็พัง

นี่ ในเมื่อร่างของเรามันสกปรกแล้วก็ไม่เที่ยง มีความทุกข์ มีการพังไปในที่สุด แล้วเราจะมานั่งหลงใหลใฝ่ฝันปรารถนาร่างกายของเรา ปรารถนาร่างกายของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์อะไร ไม่ว่าร่างกายของใครทั้งหมด จะมีฐานะเช่นใดก็ตาม มีความรู้แบบไหนก็ตาม จะมีอำนาจวาสนาเท่าไหนก็ตาม มันก็มีความเสื่อม มีความทุกข์มีการสลายตัวไปในที่สุด แล้วเราก็มานั่งมัวเมาร่างกายของเรา มัวเมาร่างกายของบุคคลอื่น ก็ชื่อว่าเต็มไปด้วยความโง่ แล้วจะต้องเกิดใหม่ ความมัวเมาปรารถนามันเป็นกิเลส กิเลสแปลว่าอารมณ์เศร้าหมองของจิตคือจิตมันเต็มไปด้วยความโง่ เพราะความเศร้าหมองเกิดขึ้น ความทะเยอทะยานคือตัณหาความอยากได้มันก็เกิด อยากจะได้กายคนอื่นมาเป็นกายของเรา อยากจะให้กายของเราทรงอยู่ตามปกติ อยากจะให้ร่างกายของเราไม่สลายตัว มันเป็นไปได้ที่ไหน ไอ้การเกิดขึ้นแล้วการเสื่อมไปสลายตัวไปมันเป็นของธรรมดาห้ามมันไม่ได้ เหมือนกับพระอาทิตย์ที่ขึ้นในเวลาเช้าก็ลับไปในเวลาเย็น ใครจะไปห้ามดวงอาทิตย์ได้ ถ้าเราห้ามดวงอาทิตย์ไม่ได้ฉันใด เราก็ห้ามความแก่ห้ามความตายของร่างกายไม่ได้

ในเมื่อร่างกายมันต้องแก่มันต้องตายมันเต็มไปด้วยความทุกข์ เราห้ามมันไม่ได้ มันเป็นอะไรล่ะ ก็เรียกว่ากายคตาสติในตอนต้น แล้วก็มาเป็นสักกายทิฏฐิที่พระพุทธเจ้าเห็นบอกว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ถ้ามันเป็นเราจริง มันเป็นของเราจริง มันสกปรกไม่ได้ เพราะเราไม่ต้องการให้มันสกปรก เราก็ต้องบังคับให้มันสะอาดให้มันทรงตัวได้ แต่นี่ด้านการสกปรกบังคับให้มันสะอาดเราก็ทำไม่ได้ มันเป็นเราจริง ๆ รึ ไอ้เรื่องความสะอาดความสกปรก ช่างเถอะปล่อยไปนิดหนึ่ง นี่เราเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว เราไม่อยากแก่ ห้ามได้ไหม ห้ามความแก่ได้ไหม เราก็ห้ามไม่ได้ เรามีร่างกายสมบูรณ์บริบูรณ์เราไม่อยากป่วย เราห้ามความป่วยได้ไหม เราก็ห้ามไม่ได้ แล้วในที่สุดมันจะป่วยก็ไม่ว่า มันจะแก่ก็ไม่ว่า เอาละมันจะยังไงก็ช่างมันห้ามไม่ได้ เราไม่ต้องการตาย เพราะยังห่วงลูกห่วงหลานห่วงทรัพย์สินที่เราหามาได้ด้วยความลำบาก แล้วเราบังคับมันไม่ให้ตายได้ไหม เราก็บังคับไม่ได้ ในเมื่อเราบังคับไม่ได้อย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในมัน มันไม่มีในเรา

ในเมื่อมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราห้ามปรามไม่ได้ ทะนุถนอมมันก็ไม่ทรงตัว ก็จะคบมันทำไมต่อไป วางขันธ์ ๕ คือร่างกายเสียให้หมด พิจารณาตามความจริง เอากายคตาสติเป็นที่ตั้ง ว่ามันสกปรก สร้างความรังเกียจแม้แต่ตัวเอง ไม่ใช่ไปนั่งรังเกียจเฉพาะบุคคลอื่น แม้แต่ร่างกายของเราเองนี่ก็ถือว่ามันมีสภาพเหมือนส้วมเคลื่อนที่ หรือว่าโลงศพเคลื่อนที่ ข้างในเต็มไปด้วยศพแล้วก็สกปรกสิ้นดี กลิ่นในร่างกายก็เต็มไปด้วยความเหม็น ถ้าข้างในมันหอมละก็ ดูอุจจาระปัสสาวะ มันเคลื่อนออกมามันเหม็นหรือมันหอม มันเหม็น แล้วเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่จริงๆ มันเหม็นยิ่งไปกว่านั้น นี่มันสกปรกอย่างนี้เราต้องการอะไรมัน มองเข้าไปหาจุดของความสกปรกให้เห็น นิพพิทาญาณจะเกิด คือเป็นวิปัสสนาญาณตัวที่ ๖

เมื่อนิพพิทาญาณเกิด ความเบื่อหน่ายในร่างกายเกิด ก็เบื่อมันต่อไปว่ามันสกปรก แล้วยังไม่พอ มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตามีการสลายตัว ไม่มีการทรงตัว ในเมื่อมันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีการสลายตัวไปอย่างนี้เราจะเมามันเพื่อประโยชน์อะไร เราก็ทำใจให้เข้าถึงสังขารุเบกขาญาณ วิปัสสนาญาณนี่ไม่ต้องว่าตามลำดับ โจนมันไปเลย สังขารุเบกขาญาณมีอารมณ์วางเฉย ความต้องการในร่างกายไม่ต้องมีขึ้นมาอีก เลิก คิดว่านับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี ที่เต็มไปด้วยความสกปรกเต็มไปด้วยความไม่เที่ยงเต็มไปด้วยความทุกข์มีการสลายตัวไปในที่สุด เราไม่ต้องการมันอีก เราจะถือว่าเรามีร่างกายชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ชาติต่อไปร่างกายแบบนี้เราจะไม่มี เพราะเราไม่ต้องการมัน ปลดร่างกายเสีย ถือว่าร่างกายเป็นศัตรูใหญ่ เป็นภัยใหญ่ที่ทำให้เรามีความทุกข์ ที่เราต้องมาเกิดแก่เจ็บตาย เต็มไปด้วยความทุกข์แบบนี้ก็เพราะอาศัยเราโง่มาในกาลก่อน เห็นว่าร่างกายมันเป็นของดี มันเป็นเราเป็นของเรา ฉะนั้น จึงได้ตกเป็นทาสของกิเลสตัณหาอุปาทานและอกุศลกรรม

คราวนี้มาสังขารุเบกขาญาณ เขาทำกันยังไง ?

ผมมันจะหงอก ถือว่าเป็นเรื่องของธรรมดา ฟันจะหักถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา หูจะฝ้าตาจะฟางมันจะแก่หลังค่อม ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา แล้วความตายจะเข้ามาถึง ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา สังขารุเบกขาญาณแปลว่าความวางเฉยในสังขาร คือในขันธ์ ๕ ไม่ดิ้นไม่รน ไม่กระวนกระวายปล่อยเป็นเรื่องธรรมดา มันเกิดได้ก็แก่ได้ มันเกิดได้ แล้วมันก็ป่วยได้ มันเกิดได้มันก็ตายได้ มันจะตายก็ช่างมัน เพราะเราไม่ต้องการมัน ถือว่ามันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นภาระของมัน เมื่อจิตใจของเราไม่ยึดถือร่างกาย เรามีความเบื่อหน่ายในร่างกายของเราแล้ว ร่างกายของใครที่ไหนล่ะเราจะเห็นว่าสะอาด ในเมื่อเราไม่มีความต้องการ ไม่ต้องการร่างกายของเราต่อไปอีก แล้วเราจะต้องการร่างกายของใคร เป็นอันว่าเมื่อถึงสังขารุเบกขาญาณ อารมณ์วางเฉยมันก็วางได้ไม่สนใจกับร่างกาย มันจะเป็นยังไงก็ช่าง เมื่อมันยังมีลมปราณอยู่ เราก็ปรนเปรอมัน เพราะเราต้องอาศัยมันเมื่อมันจะพังก็เชิญพังตามใจ คิดว่าร่างกายอย่างนี้จะไม่มีสำหรับเราอีก เราเลิก ไม่ต้องการ ขันธ์ ๕ จะมีในสภาพเช่นใดก็ตามเราไม่ต้องการทั้งหมด เมื่อจิตเราไม่ต้องการในขันธ์ ๕ เสียอย่างเดียว กิเลสทั้งหมดมันก็หมด เมื่อมันมีอารมณ์ไม่ต้องการในขันธ์ ๕ เห็นว่าร่างกายขันธ์ ๕ เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ทุกขังเป็นทุกข์ อนัตตามีการสลายตัว ร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรก อย่างนี้ก็ชื่อว่าเราเข้าถึงความเป็นผู้ไม่สงสัยในคุณพระรัตนตรัย

แล้วในเมื่อเราไม่ต้องการร่างกายอีก เราก็ต้องจับบันไดขั้นต้น นั่นคือทำศีลให้บริสุทธิ์ เพื่อจะก้าวไปสู่พระนิพพาน เมื่อศีลบริสุทธิ์ดีแล้ว เราก็เข้าไปจับทำลายกามราคะ คือกามฉันทะ มีความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย เป็นต้น นี่เราก็พิจารณากายคตาสติ อาการอย่างนี้มันก็ไม่ปรากฏ รูปสวยมันก็ไม่มี เสียงเพราะมันก็ไม่มี รสอร่อยมันก็ไม่มี กินเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น ไม่หลงในรสอาหาร ถ้าเรายังหลงในรสอาหารอยู่ นี่ก็ชื่อว่าเราหลงอบายภูมิ เราหลงในรูปสวย ในเสียงเพราะ ก็ชื่อว่าเราหลงในอบายภูมิ อบายเป็นดินแดนของความเร่าร้อน มันเป็นทุกข์ นี่เราก็ไม่มีความหลง ช่างมันปะไร ร่างกายมันจะเป็นยังไงก็ช่าง เราไม่ติด ไม่ติดในรูป ในเสียง ในรส ในกลิ่น แล้วไม่ติดในสัมผัส มีความรังเกียจเห็นว่าสกปรก กามฉันทะมันก็ตัดไป

เมื่อกามฉันทะปลดไปแล้ว โทสะมันยังเหลือ เราก็คิดว่าร่างกายนี่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แล้วก็ไม่ใช่ของคนอื่นด้วย มันเป็นเพียงส่วนกลาง เป็นธาตุ ๔ มาประชุมกัน เป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราว เราจะโกรธคิดประหัตประหารเขาเพื่อประโยชน์อะไร ไม่ต้องไปฆ่ามันชาวบ้าน มันตายหมด ไม่ต้องไปทรมานเขา เขาก็เป็นทุกข์หมด เขาทุกข์อยู่แล้ว จะตายอยู่แล้ว จะไปทำอะไรเขา นอกจากจะไม่ทำแล้วก็ยังมีจิตเมตตาสงสาร ความรักความสงสาร ว่าเออะ นี่เขาโง่นะที่มาหลงในร่างกาย มาแกล้งทำตัวเป็นเด่น ทำให้เกิดโทสะกับบุคคลอื่น นี่เขาโง่จริงๆ เขาหลงในอบายภูมิ เราไม่เอาด้วย ปลดเปลื้องความโกรธเสียด้วยอำนาจของเมตตาบารมีหรือพรหมวิหาร ๔ นี่มันสังขารุเบกขาญาณนี่ มันก็วางเสียซิ จะว่ายังไงก็เชิญด่ายังไงก็เชิญฉันไม่ยุ่ง ไอ้ที่เขาด่าน่ะเขาไม่ได้ด่าเรา เขาด่าขันธ์ ๕ ในเมื่อขันธ์ ๕ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจะไปโกรธเราทำไม นี่สังขารุเบกขาญาณเป็นแบบนี้ เมื่อเราวางอารมณ์โทสะเสียได้แล้วเราก็เป็นพระอนาคามี เห็นไหมล่ะสักกายทิฏฐิ ถึงพระนิพพาน จะว่าสมถะไม่ดี นี่ก็เพราะความโง่เท่านั้น พระอรหันต์ก็ยังใช้สมถะเป็นปกติเพื่อความอยู่เป็นสุข

ในเมื่อเข้าถึงอนาคามีแล้ว เราก็เหลืออนุสัยตัวเล็ก ๆ เรามองดูรูปฌานและอรูปฌานว่า เอ้อ ไอ้นี่ไม่ใช่ตัวนิพพานไม่พ้นทุกข์ เรายึดรูปฌานและอรูปฌานเป็นกำลังเพื่อก้าวเข้าไปสู่พระนิพพาน ไม่ใช่ได้ฌานแล้วมานอนตีพุง ว่าเราเป็นผู้วิเศษแล้ว นั่นมันใจนรก ไม่ใช่ใจสวรรค์ ไม่ใช่ใจนิพพาน เพราะรูปฌานและอรูปฌาน ยังไม่สามารถจะปลดเปลื้อง ยังไม่สามารถจะตัดความเกิดได้ นี่เราก็เห็นรูปฌานและอรูปฌานเป็นกำลังใหญ่ทรงกำลัง มีกำลัง รักษากำลังให้ทรงตัว รักษาฌานไว้แต่ไม่ตั้งอยู่เท่านั้น ก้าวต่อไป

ใช้กำลังของฌานเป็นกำลังใหญ่เข้าไปตัดมานะความถือตัวถือตน เห็นว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา ยกทิ้งไปว่าไม่มีอะไรดี ไม่มีอะไรเลว มันเป็นไปตามสภาวะของมันเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีอะไรน่ารังเกียจแล้วไม่มีอะไรน่ารัก ไม่รักด้วยไม่รังเกียจด้วย คือรังเกียจคนอื่น รังเกียจกายของบุคคลอื่น รังเกียจกายเขาว่าเขาต่ำกว่าเรา เลวกว่าเรา อันนี้ไม่มี มันสกปรกเหมือนกัน มันพังเหมือนกัน มันเป็นเรือนร่างเป็นที่อาศัย เราจะเข้าไปยุ่งกับมันทำไม

แล้วก็รักษาอารมณ์ใจให้ตรงเฉพาะพระนิพพาน ตัดอุทธัจจะความฟุ้งซ่านทิ้งเสีย อารมณ์อื่นไม่ต้องการ ต้องการอารมณ์อย่างเดียว คือพระนิพพาน อารมณ์พระนิพพานเป็นยังไง จิตมีความสุข ไม่สนใจกับขันธ์ ๕ ยอมรับนับถือ เจ็บก็เจ็บซิ ป่วยก็ป่วยซิ ร้อนก็ร้อน หนาวก็หนาวตามใจ มันร้อนก็อาบน้ำ มันหนาวก็เอาผ้ามาห่ม มันทนไหวก็ไหว ทนไม่ไหวตายช่างมัน นี่อารมณ์เราไม่ยอมไปยุ่งกับขันธ์ ๕ มากเกินไป เราปรนเปรอมันบ้างตามเวลา เพราะมันจะหิวก็ต้องหาให้มันกิน มันร้อนก็ต้องหาน้ำมาอาบ เมื่อมันหาวก็หาผ้ามาห่ม เป็นการทำลายทุกขเวทนาเพราะเราต้องอาศัย แล้วคิดว่าที่เราทำยังงี้ ทำไปเพื่อรักษากำลังใจให้คงที่ มันจะพังเมื่อไรก็เชิญ นี่สังขารุเบกขาญาณ ใจมันสบายแบบนี้

เมื่อทำลายอุทธัจจะได้แล้วก็ทำลายอวิชชา ความโง่ ก็ตัดฉันทะ ความพอใจในร่างกายเสียให้สิ้น ตัดราคะความเห็นว่าร่างกายเป็นของสวยสดงดงามเสียให้หมด ตัดความพอใจ คือฉันทะต้องการที่จะมีร่างกายต่อไปอีก ตัดมันทิ้งไป เราไม่ต้องการมันอีก เราจะไม่มองเห็นว่าร่างกายประเภทนี้มีความสวยสดงดงามหรือมีความสะอาด เมื่อตัดได้แล้วอารมณ์ก็มีความสุข อย่างอารมณ์พระอรหันต์ อารมณ์พระอรหันต์น่ะมีความสุขจริง ๆ ไม่มีอาการขึ้นไม่มีอาการลง ไม่ติดในขันธ์ ๕ ไม่ติดในร่างกาย ในเมื่อไม่ติดในร่างกายเสียอย่างเดียว ร่างกายเรา เรายังไม่ติดมันแล้วจะติดร่างกายใคร ในเมื่อเราไม่ติดในร่างกายเราและไม่ยึดถือร่างกายเราว่า ร่างกายนี่มันเป็นเรา เป็นของเราแล้ว เราจะเห็นว่าร่างกายของบุคคลอื่นเป็นเราเป็นของเราได้ยังไง แล้วทรัพย์สินนอกกายยังจะเห็นว่าเป็นเราเป็นของเราอยู่ได้ยังไง มันก็ตัดไปหมด เมื่อตัดเสียแล้วยอมรับนับถือกฎของธรรมดา อารมณ์ใจมันก็สบาย แบบเราเห็นพอสว่างขึ้นมาเรารู้ว่าวันนี้มีแดด แสงแดดมันเป็นความร้อน เรารู้ว่ามันจะเป็นยังงั้น ใจมันก็ปกติไม่ดิ้นรน พอค่ำลงไปอากาศเย็นเรารู้ว่าอากาศมันเย็น เราก็ไม่กระวนกระวาย นี่สิ่งใดถ้ามันเป็นธรรมดาเรายอมรับนับถือมัน ใจเราก็เป็นสุข ร่างกายก็เหมือนกัน มันสกปรกเราก็รู้ว่ามันสกปรก มันไม่เที่ยงเราก็รู้ว่ามันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์เราก็รู้ว่ามันเป็นทุกข์ มันจะต้องสลายตัวเราก็รู้ว่ามันต้องสลายตัว เราก็ไม่ฝืนมัน มันฝืนไม่ได้ใจก็สบาย ตายก็เชิญฉันไม่ต้องการ เป็นอันว่าทำจิตได้อย่างนี้ก็ชื่อว่าเราใช้สมถะกับวิปัสสนาควบกันไปในขณะเดียวกัน การเข้าถึงพระนิพพานมันก็ของไม่ยาก

ขอท่านทั้งหลายผู้รับฟังและหวังดีกับตัวเองนำไปพิจารณาทุกลมหายใจเข้าออก อัตตนา โจทยัตตานัง เตือนใจของตนเองไว้ ว่าวันไหนมันหลงร่างกายของเราบ้างไหม ว่าร่างกายของเราแข็งแรงดี สวยสดงดงามผิวพรรณผ่องใส มีอารมณ์ใจสบายเพราะว่าร่างกายเราแข็งแรงมันสวยมีไหม ถ้ามีจงรู้ว่านั่นโง่เต็มทีแล้ว เป็นอารมณ์ของอบายภูมิ ตอนนี้วันไหนล่ะที่เราเห็นว่า แหม ร่างกายคนอื่น มันสวยมีไหม ถ้ามันมีก็แสดงว่าเราโง่เต็มที เราพึงคิดไปว่าไอ้เจ้าโง่ตัวนี้เราไม่คบ เพราะร่างกายมันเป็นยังไง เรารู้อยู่แล้ว สกปรก เราก็สกปรกคนอื่นก็สกปรก ร่างกายมันไม่ใช่เรา มันเป็นบ้านเช่าชั่วคราว เราเลิกไม่ต้องการมันอีก สังขารุเบกขาญาณใช้ให้เป็นอารมณ์ วางเฉยต่อสิ่งที่จะเข้ามากระทบ คือโลกธรรม ๘ มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ นินทาสรรเสริญ สุขทุกข์ อารมณ์ ๘ ประการเกิดขึ้น เรามีอารมณ์สบาย ปกติ ไม่มีอะไรหวั่นไหว ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา มีจิตใจจับเฉพาะอย่างเดียว คือพระนิพพาน ทำศีลให้บริสุทธิ์ ทำสมาธิให้ตั้งมั่น ใช้ปัญญายอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง ไม่ดิ้นรน มีอารมณ์สบาย เป็นอันว่ากรรมฐานกองนี้ ถ้าทำได้แค่นี้ ท่านก็เป็นอรหันต์ มันไม่ยากคิดไว้ทุกวัน คิดไว้เสมอทุกวัน ทุกลมหายใจเข้าออก ตื่นขึ้นมาแล้วก็ดูกายสกปรก ดูกายไม่เที่ยง ดูกายเป็นทุกข์ ดูกายเป็นอนัตตา อารมณ์มันจะชิน จะเป็นปกติ ในที่สุดมันก็เปลื้องได้

ต่อแต่นี้ไปขอทุกท่านพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก ท่านจะพิจารณากรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ตามที่ศึกษามาแล้วก็ให้เป็นไปตามอัธยาศัย หรือจะภาวนาว่ายังไงก็ได้ ถ้าทางที่ดีภาวนาอย่างอื่นมันยาวเกินไป เวลาใกล้จะตายจะลำบากมันจะเหนื่อย ก็ควรใช้คำภาวนาว่าพุทโธง่ายด้วย แล้วก็มีคุณใหญ่เพราะว่าเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน เอ้าต่อแต่นี้ไปทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.80 Chrome 46.0.2490.80


ดูรายละเอียด
« ตอบ #28 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2558 09:59:23 »


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๒๙ มรณัสสติ

โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานศีลและสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปนี้ก็เป็นโอกาสที่บรรดาท่านพุทธบริษัทจะได้รวบรวมกำลังใจให้เป็นสมาธิ คำว่าสมาธิแปลว่าการตั้งใจมั่น ก็ตั้งใจไว้เฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งคือระยะนี้ที่สอนกันมาเป็นพื้นฐานคือให้บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านพยายามกำหนดจิตให้รู้ลมหายใจเข้าหายใจออก เวลาหายใจเข้านึกว่าพุทธ เวลาหายใจออกนึกว่า โธ เอาเท่านี้พอ ถ้าขณะใดที่จิตของท่านยังรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก รู้คำว่า พุทโธ ก็แสดงว่าจิตของท่านเป็นสมาธิ เป็นมหากุศลใหญ่ตั้งใจไว้เพียงเท่านี้ก็เป็นบุญอนันต์ คือว่าจะนับประมาณอานิสงส์ไม่ได้ ถ้าทรงจิตไว้ได้ตามปกติตายแล้วก็เกิดเป็นพรหม นี่ว่ากันถึงสมถภาวนา อารมณ์นี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลยทรงไว้ให้เป็นปกติ จะเป็นเวลานี้หรือเวลาอื่นใดก็ตามทำงานอยู่ นั่งรถนั่งเรือเดินทางไปไหนก็ตาม นึกถึงอารมณ์นี้ไว้เป็นปกติ เวลาตายจะไม่หลงตาย จุดที่ไปอย่างเลวก็ต้องสวรรค์ อย่างดีก็ต้องพรหมโลก เพราะว่าสมถภาวนามีผลถึงพรหมโลก และเราจะไปนิพพานได้ ถ้ามีสมถภาวนาแจ่มใสพอสมควร ปัญญาก็จะเกิดเป็นวิปัสสนาญาณขึ้นมาเอง
 
ในวันนี้ก็จะขอแนะนำอนุสสติข้อต่อไปเพื่อเป็นการศึกษาไว้เวลาปฏิบัติ วันนี้จะสอนเรื่องมรณัสสติกรรมฐาน สำหรับมรณัสสติกรรมฐานนี้เป็นกรรมฐานสำหรับบุคคลที่มีจริตเป็นพุทธจริตคือเป็นบุคคลฉลาด บุคคลที่มีความฉลาดแล้วย่อมไม่กลัวความตาย รู้จักสภาวะปกติของขันธ์ห้าคือร่างกายว่ามันมีความเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น มีความแปรปรวนในท่ามกลางและก็ตายไปในที่สุด ที่นี้การที่นึกถึงความตายไว้เป็นปกติ การนึกถึงความตายจงอย่านับอายุว่าเวลานี้เรายังหนุ่มอยู่ เรายังสาวอยู่ ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย เวลานี้เราเป็นบุคคลวัยกลางคน มันยังไม่แก่ มันยังไม่ตาย หรือว่าเวลานี้เราแก่แล้วแต่ก็ยังคงไม่ตายอารมณ์อย่างนี้ไม่ควรคิด เพราะว่าความตายย่อมไม่มีนิมิตเครื่องหมาย คนที่ตายไม่ใช่ว่าแก่หง่อมแล้วถึงจะตายเสมอไป บางคนเข้าอยู่ในครรภ์มารดาไม่ทันที่จะออกมาเห็นเดือนเห็นตะวันก็ตาย บางรายคลอดจากครรภ์มารดาไม่ทันจะเห็นเดือนเห็นตะวัน ไม่รู้ว่าโลกนี้เป็นอย่างไรก็ตาย บางรายเกิดมาแล้วไม่กี่วันก็ตาย หนุ่มก็ตาย เด็กก็ตาย แก่ก็ตาย วัยกลางคนก็ตาย นี่ความตายหาความแน่นอนไม่ได้ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจาจึงทรงแนะนำให้บรรดาท่านพุทธบริษัทนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ จงคิดไว้ว่าวันนี้เป็นเวลาค่ำเรายังมีชีวิตอยู่ แต่ว่าเราอาจจะไม่เห็นพระอาทิตย์ของวันรุ่งขึ้นก็ได้ ความตายอาจมาถึง
 
ทีนี้คนที่นึกถึงความตายเป็นปกติดีหรือเลวเป็นประการใด อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำว่าคนที่นึกถึงความตายเป็นปกติเป็นคนดีไม่มีความประมาท เมื่อรู้ว่าเราจะตายสภาวะความตายไม่ใช่สภาวะสูญ ถ้าเรายังไม่หมดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานเป็นอรหันต์เมื่อไร ความเกิดก็ปรากฎ เมื่อตายแล้วก็เกิด ไม่ใช่หมายความว่าเกิดเป็นคนเสมอไป ถ้าทำกรรมชั่วไว้ จิตใจสั่งสมอยู่ในอารมณ์ชั่วก็ไปเกิดเป็นสัตว์นรกบ้าง เป็นเปรตบ้าง อสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง ถ้าเกิดเป็นคนมีความอุดมสมบูรณ์กับใครเขาไม่ได้ นี่เป็นปัจจัยของความชั่วที่เราเรียกกันว่าบาป ทีนี้คนที่มีความดีมีศีลห้า กรมบถสิบบริสุทธิ์ก็เกิดเป็นมนุษย์ได้ แล้วก็เกิดเป็นมนุษย์ชั้นดี หรือมิฉะนั้นมีการภาวนาอยู่บ้าง มีศีลมีทานเป็นปกติเกิดเป็นเทวดาก็ได้ถ้ามีกำลังใจเป็นฌาณสมาบัติทรงความดีไว้เป็นปกติ คำว่าฌานแปลว่าการเพ่ง เป็นอารมณ์ที่ทรงอยู่ ทรงอยู่แต่เฉพาะในอารมณ์ที่เป็นกุศล เวลาจะตายจิตก็ทรงอยู่ตามนั้น อย่างนี้ตายแล้วเกิดเป็นพรหม ถ้าตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน เราก็ไปพระนิพพาน

เป็นอันว่าความตายมีอยู่ แต่ว่าตายแล้วก็ไม่สูญต้องเกิด จะเกิดเป็นอะไรก็ช่าง สุดแล้วแต่กรรมที่จะพึงกระทำ เมื่อเรารู้แล้วเราทำความดีไปเกิดใหม่ในส่วนผลดีที่มีความสุข ทำความชั่วต้องไปเสวยทุกข์ในอบายภูมิ อย่างนี้เราก็ควรจะหลีกเลี่ยงความชั่วไว้เป็นสำคัญ จงระลึกถึงความตายเป็นปกติ อาจจะคิดว่าวันนี้เรามีชีวิต พรุ่งนี้เราอาจจะตายก็ได้ หรือว่าเวลานี้ขณะที่เรานั่งอยู่อาจจะตายไปก่อนเวลาที่เราจะนอนเสียอีกก็ได้ ถ้าเราคิดไว้อย่างนี้เสมอ จิตใจของเราก็ไม่ประมาท พยายามแสวงหาความดีไว้เป็นปกติ การรแสวงหาความดีไว้เป็นปกติจะเอาความดีกันทางไหนล่ะ เรารู้ตัวอยู่ว่าเราจะตายเราก็เลือกทางเอา ถ้าเราต้องการเกิดเป็นมนุษย์ ก็พยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ พยายามรักษากรรมบถ ๑๐ ให้บริสุทธิ์ เราก็พยายามคุมอารมณ์ศีลให้เป็นปกติ อย่างนี้ตายแล้วเป็นมนุษย์ได้แบบสบาย ๆ แล้วก็เป็นมนุษย์ชั้นดี ตามพระบาลีว่า สีเลนะ สุคติง ยันติ เวลาตายแล้วคนมีศีลจะไปสู่สุคติ มีความสุขสมบูรณ์ สีเลนะ โภคะสัมปะทา เราจะมีโภคทรัพย์มากมาย สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ย่อมเป็นปัจจัยให้ถึงพระนิพพานได้โดยง่าย ทีนี้ถ้าเราเป็นคนมีศีล เรานึกถึงความตายไว้แล้ว ถ้าเราต้องการดีเราก็รักษาศีลให้เป็นปกติ

ทีนี้การเจริญมรณัสสติกรรมฐานเราจะไปได้แต่เฉพาะพรหมโลกหรืออย่างไร ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น เราสามารถจะไปพระนิพพานได้โดยยกสมถภาวนาขึ้นเป็นวิปัสสนาภาวนา การนึกถึงความตายเป็นอารมณ์เป็นสมถภาวนา มีผลตั้งแต่กามาวจรสวรรค์ถึงพรหมโลก ทีนี้การที่มีผลถึงสวรรค์หรือพรหมโลกเมื่อกี้ว่ายังหาความสุขให้เพียงพอไม่ได้ เราก็ต้องสรรหาความสุขให้ยิ่งไปกว่านั้น ความสุขที่ยิ่งไปกว่านั้นเราก็ต้องถือความตายเป็นอารมณ์ ว่าเราเกิดมานี้มันต้องตายแน่ เราไม่สามารถจะทรงชีวิตอยู่ได้ ความตายเป็นของปกติ เราจะตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเย็น ตายเที่ยง เมื่อไรนี่เราไม่รู้ แต่ว่ามันต้องตายแน่ ฉะนั้น เราก็ต้องเตรียมความตายไว้เฉพาะทุกลมหายใจเข้าออก คำว่ามรณัสสติ การนึกถึงความตายเป็นอารมณ์นี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวกับพระอานนท์ ถามพระอานนท์ว่า อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์ทูลตอบว่าข้าพระพุทธเจ้านึกถึงความตายประมาณวันละ ๗ ครั้งพระเจ้าข้า สมเด็จพระบรมศาสดาทรงกล่าวว่า อานันทะ ดูก่อนอานนท์มันยังไกลเกินไปสำหรับตถาคตนี้นึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก นี้แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ยังไม่ละความตาย

นี่เรานึกถึงความตายแล้วปรารถนาความดี มีการให้ทาน การรักษาศีล มีการเจริญภาวนา ถ้าภาวนาเป็นด้านสมถะ ภาวนาก็เป็นปัจจัยให้เกิดเป็นพรหมหรือไปสวรรค์ได้ การให้ทานรักษาศีลก็ไปเกิดบนสวรรค์ได้ เกิดเป็นมนุษย์ได้ แต่มันยังไม่ถึงที่สุดของความทุกข์ เพระมันยังต้องมีการเกิดต่อไป เราก็มาหาทางตัดความเกิดเสีย ถ้าเราไม่เกิดเสียอย่างเดียว เราก็หาความตายไม่ได้

ทีนี้ถ้าเราจะทำมรณัสสติกรรมฐานให้เป็นวิปัสสนาญาณเราทำอย่างไรมันจะเข้าถึงพระนิพพานได้ ความจริงสมถะทุกกองแปลงเป็นวิปัสสนาญาณได้หมด เราเจริญพระกรรมฐานกองไหนจนอารมณ์จิตเป็นฌานมีความมั่นคง เราใช้กรรมฐานกองนั้นเป็นวิปัสสนาญาณ เวลานี้เรามาพิจารณามรณัสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ อันนี้ไม่ควรจะลืม จงคิดไว้ว่าความตายจะเข้ามาถึงเราเมื่อไรก็ได้ หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกมันก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้ามันก็ตาย กินข้าวไม่ทันอิ่มมันอาจจะตายคาชามข้าวก็ได้ ในเมื่อเรานึกถึงความตายเป็นปกติ คิดว่าเราจะต้องตาย แล้วก็ย้อนถอยหลังขึ้นมาสักนิดหนึ่งว่าก่อนที่เราจะตาย นับตั้งแต่ที่เราเกิดจนถึงวันนี้เราจะตาย เราเป็นคนมีความสุขหรือมีความทุกข์ ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาหาความจริง ความทุกข์แปลว่าจำจะต้องทน คือทนทำ ทนอยู่ ทนคิด ทนประกอบกิจการงานทุกอย่าง นี่เป็นอาการของความทุกข์ ทีนี้เรามานั่งคิดดูว่าความทุกข์ที่มันปรากฎมีอะไรบ้าง

เราเกิดมานี้เราพบกับความทุกข์บ้างหรือเปล่า ก็นั่งใคร่ครวญกันดูนับตั้งแต่เกิดจากครรภ์มารดานนี้เรามีความสุขหรือความทุกข์ ขณะที่เราไปนั่งคุดคู้อยู่ในครรภ์มารดานี่เราดูสภาพของคนที่นั่งกอดเข่า นั่งคุดคู้อยู่ในครรภ์มารดา จะเหยียดมือเหยียดเท้าก็เหยียดไม่ได้ เพราะรังของมดลูกมันมีอยู่นิดเดียว นั่งกอดเข่าอยู่สิ้นเวลา ๑๐ เดือน เวลา ๑๐ เดือนนี่มันนาน นี่เราเป็นคนโตแล้ว เรามานั่งกอดเข่าเล่นโก้ ๆ สัก ๑ วัน จะทนไหวไหม เราก็ทนไม่ไหว เพราะมันเมื่อยมันปวด ไม่มีการขยับขยายอริยาบถ นี่แสดงว่าความทุกข์มันมีมาตั้งแต่เกิดอยู่ในครรภ์มารดา นี่มันทุกข์ อยู่ในครรภ์มารดาอาศัยความอบอุ่นจากธาตุไฟของมารดา พอเคลื่อนมาจากครรภ์มารดาแล้วมากระทบกับอาการของความหนาวและความร้อน แม้ว่าจะเป็นอาการปกติ แต่ว่าเราไม่เคยสัมผัสกับอากาศ เด็กที่เกิดจากครรภ์มารดาใหม่ ๆ ส่งเสียงร้องจ้า นั่นแสดงว่าร่างกายมันแสบเต็มทน เพราะว่ากระทบความหนาวนิดหนึ่งแล้ว ความร้อนนิดหนึ่งมันไม่เคยสัมผัส มันก็มีความแสบกาย จึงร้อง แพทย์สมัยปัจจุบันมีความรู้พอ มีความฉลาดพอ เมื่อเด็กออกใหม่ ๆ เขาจึงนำผ้าสำลีมาหุ้มกายเด็กทันทีป้องกันการสัมผัสอากาศ มีการแสบตัว

ทีนี้เมื่อเกิดมาเป็นคนแล้ว ความหิวมันก็เป็นทุกข์ ความหิวเป็นอาการเสียดแทง มันทุกข์ ไม่ใช่สุข ถ้าใครคิดว่าเป็นสุข ลองปล่อยให้มันหิวตลอดกาล ไม่กินข้าว ไม่กินน้ำ ไม่กินอาหาร ลองดูซิมันจะทนไหวไหม และความกระหาย การปวดอุจจาระ ปัสสาวะ มันก็เป็นทุกข์ นอนไม่หลับก็เป็นทุกข์ นั่งมากเกินไป ยืนมากเกินไป นอกมากเกินไป กินมากเกินไปเลยความต้องการ มันก็เป็นทุกข์ ปวดเมื่อยไปทั้งตัว ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้นกับเราก็เป็นทุกข์ มันทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประกอบอาชีพต่าง ๆ การแสวงหาเงิน เราต้องใช้แรงงาน เราต้องใช้ความคิด เราจะนั่งเฉย ๆ นอนอยู่เฉย ๆ มันไม่ได้ เพราะอะไร เพราะว่ามันจะต้องทำงาน อาการที่มันต้องทำงานมันก็ต้องทน จะหนาวก็ทน จะร้อนก็ทน จะปวด จะเมื่อยก็ทน ต้องทน อยู่ดีไม่ไดี กระทบกระทั่งกับบุคคลใต้บังคับบัญชาก็ดี ผู้บังคับบัญชาที่เหนือกว่าก็ดี เขาสร้างความกระทบกระเทือนใจเราก็ต้องทน ในเมื่อเราพบกับอารมณ์ที่เราไม่ชอบใจ ก็พบกับอาการกลัดกลุ้ม มันเป็นอาการของความทุกข์
 
ทีนี้อาการป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้นกับเรา มันก็เป็นอาการของความทุกข์ พอแก่ลงเข้าหน่อยหนึ่งหูตาฟาง ฟันหัก ผมหงอก ร่างกายไม่ดี สติปัญญาฟั่นเฟือน จะทำอะไรก็ไม่คล่องแคล่ว นี่เป็นอาการของความทุกข์ ในที่สุดเมื่อความตายจะเข้ามาถึง เวลาตายจริง ๆ มันไม่ได้ตายแบบสบาย ๆ หรือนอนหลับ คนที่จะตายนั้นถูกทุกขเวทนาบีบคั้นอย่างหนัก มีทุกขเวทนาอย่างหนัก มันเหลืออดเหลือทน ถ้ายังพอทนได้มันไม่ตาย อันทุกขเวทนามาบีบคั้นจนเหลือจะทนมันจึงตาย อันนี้เป็นอันว่า กว่าเราจะตาย เรามีความทุกข์ตั้งแต่วันเกิดจนกระทั่งถึงวันตาย นี่เราไม่มีความสุข ถ้าหากว่าเราจะปรารถนาความเกิดต่อไป ก็ชื่อว่าโง่เต็มที ถ้าท่านจะเกิดเป็นคนอีกกี่แสนชาติก็ตาม มันก็ต้องพบกับความทุกข์อย่างนี้ตลอดเวลา ถ้าเราไปเกิดเป็นพรหม หรือเทวดาเมื่อหมดอายุขัย หมดบุญวาสนาบารมี มันก็พบกับความทุกข์ กลับมาเกิดเป็นคนก็ทุกข์แบบนี้ ดีไม่ดีเลยไปเกิดเป็นสัตว์นรกมันก็ยิ่งทุกข์ใหญ่ ไฟไหม้ตลอดทั้งวัน มีสรรพาวุธสับอยู่ตลอดเวลา นึกถึงภาพดู เมื่อเกิดเป็นเปรตมีความทุกข์แสนสาหัส มีไฟท่วมตัวอยู่ตลอดเวลา จะเกิดเป็นอสุรกายก็ไม่ไหวมันหิวโหย ต้องไปหาอาหารที่เททิ้งแล้วจะเน่าเปื่อยแล้วกิน คอยหลบซ่อนตนไม่ให้คนเห็น แต่ถ้าเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน แม้จะมีคนเมตตาปรานีประการใดก็ดี ย่อมมีความปรารถนาไม่สมหวัง บางทีต้องการอยากจะกินอย่างโน้นมีความปรารถนานั้น เขาก็ให้อย่างโน้น ป่วยไข้ไม่สบายก็บอกใครเขาไม่ได้ เมื่อเจ้านายบุคคลเลี้ยงเขายังไม่ให้ ก็ให้ทนทุกขเวทนา
 
นี่เป็นอันว่าถ้าเราจะเกิดต่อไปอีกมันก็เต็มไปด้วยความทุกข์ พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้หนีความเกิด โดยยกมรณัสสติกรรมฐานขึ้นเป็นอารมณ์ ว่าเราเกิดมาแล้วมันต้องตาย ก่อนที่จะตายเต็มไปด้วยความทุกข์ ทำยังไงถึงจะได้ไม่เกิด อาการที่ทำให้เราเกิดเล่ามันเกิดเพราะอะไร เกิดเพราะกิเลสความเศร้าหมองของจิต ตัณหามีความทะยานอยาก อยากจะเป็นคนอยู่ตลอดเวลา อยากจะเกิด อุปาทานยึดมั่นถือมั่นว่าเกิดเป็นคนนี่เป็นของวิเศษ อกุศลกรรมเราไม่ยอมทำใจของเราให้บริสุทธิ์ มีอารมณ์เศร้าหมองอยู่ตลอดเวลา เศร้าหมองบ้างไม่เศร้าหมองบ้างก็ตาม ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของการเศร้าหมอง อาการทั้ง ๔ ประการนี้มันเป็นปัจจัยของการเกิดมาเสวยความทุกข์
 
ทีนี้เราหนีความทุกข์ไปหาความสุข ที่เรียกกันว่า แดนอมตะ คือ พระนิพพานเราหากันยังไงวิธีหาแดนพระนิพพานก็ต้องจับจุดกันเสียก่อน ว่าอะไรเป็นตัวดึงเราให้เกิด ให้ไปพระนิพพานไม่ได้ อาการที่ดึงให้เราเกิด ไปนิพพานไม่ได้รากใหญ่มันก็มีอยู่ ๓ อย่าง คือ โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง นี่หากว่าเราตัดความโลภ ความโกรธ ความหลง เสียได้แล้วเราก็ไปนิพพาน เราจะตัดความโลภ ความโกรธ หรือว่าความหลงได้ ก็อาศัย กายคตา สักกายทิฏฐิ คือ การพิจารณาเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ มาผสมเป็นเรือนร่างชั่วคราว แล้วมันก็มีความเสื่อมความทุกข์อยู่ตลอดเวลา และในที่สุดมันก็พัง ถ้ามันเป็นเราจริง มันเป็นของเราจริง มันย่อมไม่เป็นไปตามนั้น เพราะเราเป็นหนุ่มแล้วเราก็ไม่ต้องการแก่ เรามีร่างกายแล้วเราก็ไม่ต้องการป่วย ถ้าเราทรงตัวมาได้เร็วเราไม่ต้องการตาย แต่เราห้ามมันได้ไหม ถ้าเราห้ามมันไม่ได้ มันจะแก่เสียอย่างใครจะไปห้ามมัน มันจะป่วยใครจะไปห้ามความป่วย แม้แต่หมอยังป่วย ถ้ามันจะตายจริง ๆ ใครก็ห้ามไม่ได้ การที่เราห้ามไม่ได้ แสดงว่าร่างกายนี่มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เราก็คือจิต ที่เราเรียกว่าจิต หรือ อทิสมานกาย คือ การที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเรือนร่าง อาศัยเนื้อหนังกระดูกเป็นต้น เป็นเรือนร่างที่อาศัย การต้องการอะไร เราคือ จิตเป็นผู้สั่ง ร่างกายมีอุปมาเหมือนหุ่นเท่านั้น

ทีนี้ เราก็มาคิดว่า ในเมื่อร่างกายมันไม่เป็นเรา มันไม่ใช่ของเรา มันเป็นแดนของความทุกข์ เป็นที่อาศัยของความทุกข์ เราก็วางเสีย คิดไว้เสมอว่าร่างกายนี้ไม่มีประโยชน์ มันเต็มไปด้วยความสกปรก เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เต็มไปด้วยอาการของความทุกข์ เราไม่ต้องการร่างกายอีก เราเกิดมาแล้วชาตินี้ถือว่าเป็นชาติสุดท้าย เพราะพบธรรมขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ขอยึดถือพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระประทีปแก้วเป็นสำคัญ

ส่วนที่เป็นสำคัญที่สุดก็นึกอยู่เสมอว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา มันเสื่อมทุกวัน มันพังทุกวัน มันเต็มไปด้วยความทุกข์ สร้างความเบื่อหน่ายในการที่จะเกิดต่อไป เห็นโทษของความเกิด และประการที่สองตั้งใจยอมรับพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยใช้ปัญญาเข้าพิจารณาด้วย ไม่ใช่เชื่อเฉย ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าอย่างไร ว่าความเกิดมาแล้วมันเป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา มีการสลายตัว ลองคิดดูว่ามันจริงไหม

อีกอย่างหนึ่ง พระองค์ทรงตรัสว่า ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ตามที่พูดมาแล้ว ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมัสสุปายาส เป็นต้น การเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ มันทุกข์เพราะอะไร มันทุกข์เพราะความปกติอันนี้เป็นอนิจจังนั้นเป็นธรรมดาของการเกิด สภาวะมันเป็นอย่างนั้น แต่อุปาทานมันเข้าไปยึด อวิชชามันบังหน้า อวิชชาบังใจไม่ให้เกิดปัญญา ทีนี้เมื่อเราเห็นว่าพระพุทธเจ้าว่าเป็นทุกข์ นี่มันทุกข์จริงไหม ถ้าเราเห็นจริงตามนี้ แสดงว่าเรายอมรับนับถือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยอมรับนับถือแล้วเราก็คิดต่อไปว่า พระพุทธเจ้าบอกเราว่าตายแล้วมันไม่ถึงที่สุด มีเกิด อันดับแรกก็เลือกทางเกิดในทางดีเสียก่อน แล้วก็จำกัดความเกิดให้มันน้อยลง ถ้าเราไม่สร้างความดี มันเกิดอีกกี่แสนวาระเราก็นับไม่ได้ นี่เราจะจำกัดความเกิดให้มันน้อยที่สุดที่จะน้อยได้เมื่อยังไปไม่พ้น นั่นก็คือ การทำตนให้เป็นพระโสดาบัน อย่าลืมนะที่ว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา คิดไว้เสมอเป็นปกติ ไม่ช้ามันจะพัง มันเต็มไปด้วยความทุกข์ เรายอมเชื่อถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า สองจุดนี่คลานเข้าไปจะเต็มอัตราพระโสดาบันแล้ว

ต่อไปก็ยอมรับนับถือองค์สมเด็จพระประทีปแก้วที่ให้สร้างความดีในเบื้องต้น นั่นก็คือทรงศีลห้าให้บริสุทธิ์ ไม่ยอมละเมิดศีลห้า นี่เป็นหลักใหญ่ ๓ ประการ แล้วมีอารมณ์รักพระนิพพานเป็นอารมณ์ เพียงเท่านี้ เรานั่งพิจารณากันแบบง่าย ๆ ว่า ศีลห้าของเราบริสุทธิ์ตลอดกาลตลอดสมัยไหม เราจะต้องไม่ละเมิดไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว ยอมรับนับถือความดีของพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ มีจิตตั้งตรงเฉพาะพระนิพพาน อย่างนี้เขาเรียกกันว่า พระโสดาบัน ไม่เห็นมีอะไรยาก มันของง่าย ๆ น่าจะทำกันได้ทุกคน คือว่า ถ้าเราถึงพระโสดาบันแล้ว เราจำกัดความเกิดได้ จำกัดเขตเฉพาะการเกิดได้ด้วย เมื่อเราเป็นพระโสดาบันแล้ว สิ่งที่เราไม่มีสิทธิ์ไปเกิดมี ๔ จุด นั่นก็คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน เราไม่มีสิทธิ์เป็น สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ไปเขาก็ไม่รับ มีสิทธิ์ที่เราจะเกิดได้ก็เกิดเป็นคนกับเทวดา หรือว่าพรหมกับคน สลับกันไปสลับกันมาอยู่แค่นี้ไม่ลงอบายภูมิ นี่ถ้าหากว่าเรามีกำลังใจอ่อนไปสักนิดหนึ่ง ท่านกล่าวว่าจะเกิดเป็นมนุษย์อีก ๗ ชาติ โดยสลับกับเทวดา ตายจากคนไปเกิดเป็นเทวดา พ้นจากภาวะเทวดามาเกิดเป็นคน สลับกันไปสลับกันมาอย่างละ ๗ เราก็ถึงพระนิพพาน เป็นพระอรหันต์ ทั้งนี้ ถ้าหากว่ากำลังใจเข้มข้นขึ้นไปหน่อยหนึ่ง ขนาดกลาง เราก็เกิดเป็นมนุษย์อีกแค่ ๓ ชาติ แล้วเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมอีก ๓ ชาติ สลับกันไปแค่นี้ เราก็ถึงพระนิพพาน ถ้าเรามีอารมณ์เข้มข้นจริง ๆ มีจิตจับดิ่ง โดยเฉพาะคิดว่าร่างกายไม่เป็นเรื่อง ธรรมะของพระพุทธเจ้าดีแล้ว ทรงศีลบริสุทธิ์มีความเข้มข้น แล้วมีการระมัดระวังมัธยัสถ์ในการปฏิบัติในการพูด การกระทำในความคิด ให้อยู่ในขอบเขตของความดีในกุศล มีจิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าจิตเป็นเอกัคตารมณ์อย่างนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงกล่าวว่า ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาและพรหม ลงจากเทวดาและพรหมมาเป็นมนุษย์อีกเพียงครั้งเดียว ฟังเทศน์จากพระอีกเพียงครั้งเดียวเป็นอรหันต์ทันที เข้าถึงพระนิพพานหมดความทุกข์

นี่เพราะอะไร เพราะนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เพราะก่อนที่จะตายมันเป็นทุกข์ การนึกถึงความตายเป็นสมถภาวนา เราลองคิดดูว่าตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันตาย มันเต็มไปด้วยอาการของคนทุกข์ มันไม่เที่ยง มันสลายตัว ที่เรียกว่าอนัตตา อันนี้เป็นวิปัสสนาภาวนา บวกกันเข้าไปทั้ง ๒ อย่าง การเจริญพระกรรมฐานอย่าใช้อย่างเดียว มันไม่ทรงสภาพ เพียงเท่านี้ท่านพุทธบริษัทท่านจะได้ชื่อว่ายับยั้งการเกิดไว้ได้มาก คือการกำจัดเวลาความเกิดให้สั้นเข้ามา แทนที่จะเกิดเป็นแสน ๆ ครั้ง อย่างเลวที่สุดเราก็เกิดอีก ๗ ครั้ง อย่างกลางเราก็เกิด ๓ ครั้ง ถ้าเราทำได้ดีที่สุดเราก็เกิดอีกครั้งเดียง แล้วเราก็ไม่มีโอกาสไปเกิดในดินแดนที่เต็มไปด้วยความทุกข์ คือ สัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน อย่างนี้ไม่มีทางจะไป

เอาละสำหรับวันนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ให้ท่านศึกษาไว้เพียงเท่านี้ เวลามันเกินมานานแล้ว จงนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรานึกถึงไว้เสมอว่าก่อนจะตายนี่มันสุขหรือมันทุกข์ ถ้าเรายังเห็นว่ามุมหนึ่งมุมใดของความเป็นมนุษย์ว่าเป็นสุขก็แสดงว่าใช้ไม่ได้ นึกถึงบารมีที่สมเด็จพระจอมไตรทรงตรัสไว้ว่า อัตตนา โจทยัตตานัง ตื่นขึ้นมาตอนเช้าเตือนใจไว้เสมอว่า เราจะต้องตายนะ ร่างกายมันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา ความดีที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ทำให้ครบถ้วน เราจะเป็นคนมีศีลบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา จิตใจของเรามีความปรารถนาอย่างเดียวคือ พระนิพพาน นี่เป็นอาการของพระโสดาบัน ถ้าทำอย่างนี้ได้ทุก ๆ วัน บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านจงรู้ตัวว่าท่านเป็นพระโสดาบันแล้ว แล้วยังมีผลตามที่กล่าวมา ที่กล่าวว่าต้องเกิดเป็นคนอีก ๗ ชาติ ๓ ชาติ ๑ ชาติ นั้น ว่ากันตามตำรา ถ้าโดยจริยาแล้ว คนที่เป็นพระโสดาบัน ถ้าตายไปเป็นเทวดาหรือเป็นพรหม ไม่ช้าพระศรีอาริยเมตตรัยทรงตรัส ฟังเทศน์จากพระศรีอาริย์จบเดียวก็เป็นพระอรหันต์ ถ้าเผอิญเราลงมาเกิดเสียก่อนพระศรีอาริย์ตรัสยังไม่ได้เป็นเทวดาหรือพรหม เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ธรรมดา พระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันต์แต่วิชชา ๓ ขึ้นไปก็ดี ย่อมจะรู้อัธยาศัยของคนว่า คนนี่มีบุญบารมีอะไรมาเป็นสำคัญ ท่านจะเทศน์เจาะเฉพาะกำลังใหญ่ที่มีทุนมาแล้วเท่านั้น เทศน์ซ้ำของเดิม เมื่อเทศน์ซ้ำของเดิม ความตั้งใจมั่นก็ปรากฎ ธรรมปีติก็ปรากฎ ทั้ง ๆ ที่เราไม่รูว่าเป็นของเดิม แต่มันถูกใจเหลือเกิน มีความถูกใจ ปลื้มใจ เลื่อมใส ฟังเทศน์จบเดียวก็เป็นพระอรหัน์ นี่เป็นอันว่าถ้าเราคุมกำลังใจของเรานี้นั้น เป็นพระโสดาบันได้ในชาตินี้เพียงแค่เวลาอีกประเดี๋ยวเดียวที่พระศรีอาริย์ตรัส เราก็เป็นพระอรหันต์ได้ ขึ้นชื่อว่าหมดความทุกข์ หมดความเกิด

พระนิพพานไม่มีสภาพสูญ เขาเรียกว่าทิพยวิเศษ เป็นแดนอมตะ ไม่มีการเคลื่อน ไม่เหมือนเทวดาหรือพรหม เทวดาหรือพรหมหมดวาสนาบารมีก็ต้องลงมา ถ้าเข้าถึงแดนพระนิพพานเสร็จไม่มีการลง คงอยู่อย่างนั้นเป็นปกติ มีความสุขเป็นปกติ ไม่มีความหนัก แม้แต่อารมณ์ข้องขัดแม้แต่เพียงนิดเดียว ขึ้นชื่อว่าเป็นความดี

เอาละวันนี้เตือนกันเพียงเท่านี้นะ เป็นการศึกษา เมื่อเวลานี้ก็จะสอนกรรมฐาน ๔๐ ไปแต่ละวันจะได้รับจุดหนึ่ง ๆ ฉะนั้น ท่านที่มาใหม่อาจจะแปลกว่าสอนกันยังไง การที่สอนกรรมฐานครบ ๔๐ ก็จะได้มีไว้ใช้ เก็บไว้ใช้ได้ครบถ้วนว่าอะไรมันเกิดขึ้นยังไง เราชอบใจกองไหนทำกองนั้นให้หนัก แล้วอย่าลืมบวกวิปัสสนาญาณ เอาละต่อแต่นี้ไปขอให้ทุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น พยายามกำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก แต่การหายใจนี่อย่าบังคับมัน มันจะสั้น มันจะยาว มันจะเบา มันจะแรงช่างมัน ปล่อยมันไปตามปกติ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุธ เวลาหายใจออกนึกว่า โธ
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.80 Chrome 46.0.2490.80


ดูรายละเอียด
« ตอบ #29 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2558 09:28:28 »


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๓๐ อุปสมานุสสติ

ต่อจากนี้ไป บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานเสร็จแล้วก่อนอื่นทั้งหมด ท่านพยายามรวบรวมกำลังใจให้เป็นสมาธิ คำว่าสมาธิหมายถึงว่ามีจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะ คือ ความสำคัญอยู่ที่จิตทรงอยู่ นั่นคือ รักษาอานาปานสติกรรมฐานได้แก่ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออกไม่นึกถึงเรื่องอื่น อย่างนี้เรียกว่าจิตเป็นสมาธิ และต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายตั้งใจสดับการศึกษาพระกรรมฐานตามลำดับ
 
เมื่อวานนี้ได้พูดถึงมรณัสสติกรรมฐานแล้ว วันนี้ต่อไป ขอให้ท่านศึกษาข้อต่อไปถึงอนุสสติข้อ ๙ นั่นก็คือ อุปสมานุสสติกรรมฐาน ทุกคืนที่ศึกษาพระกรรมฐานเรียงตามลำดับก็เพื่อบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะได้ทรงความรู้ไว้ ว่าการเจริญพระกรรมฐาน ถ้ามีความรู้ไม่รอบจริง ๆ ก็เป็นเครื่องหนักใจ เพราะว่าถ้าไม่ศึกษาให้ครบถ้วน ดีไม่ดี ถ้ามีบุคคลใดบุคคลอื่นที่เขาปฏิบัติเหมือนเรา ถ้าสมมติว่าอยู่ในขอบเขตพระกรรมฐานที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ เราก็อย่าไปค้านว่าเขาปฏิบัติผิด อย่างนี้ก็จะถือว่าเราเองเป็นผู้ทำลายความดีของเขา และเราก็หมดดีไปด้วย ฉะนั้น เพื่อเป็นการช่วยให้เป็นการทรงตัวอยู่ในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ละคืนจึงได้นำกรรมฐานแต่ละกองมาแนะนำแก่บรรดาพุทธบริษัทให้มีความรู้รอบตัวไว้ เพราะว่ากรรมฐานทุกกองมีผลเสมอกันทางด้านสมถภาวนา คือทำจิตให้เป็นสมาธิ

วันนี้ขอพูดเรื่องอุปสมานุสสติกรรมฐาน สำหรับอุปมานุสสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานใช้เฉพาะท่านที่มีจริตเป็นพุทธจริต หรืออีกนัยหนึ่งจะพูดว่าเวลาใดที่จิตใจของเราเกิดความฉลาด เราใช้เวลาที่เกิดความฉลาดขึ้น ถ้าอารมณ์มันโง่อยู่ละก็ใช้ไม่ได้ ไม่ตรงกับอัธยาศัย คำว่าอุปสมานุสสติกรรมฐานนั้นก็แปลว่านึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ กรรมฐานบทนี้สูงมาก ท่านที่จะมีจิตใจเข้าถึงและนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์จริงโดยไม่วางพระนิพพานนั่นก็คือพระโสดาบันขึ้นไป แต่สำหรับเรายังไม่ถึงพระโสดาบัน เราก็ใช้ได้ เพราะว่าเราก็จะสังเกตได้ว่ามันมีอารมณ์ขาดตกบกพร่องอยู่ได้บ้างเป็นธรรมดา ไม่ค่อยสม่ำเสมอ ถ้าตามวาระจิตของเราเข้าถึงตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปแล้ว อารมณ์ที่ต้องการพระนิพพานนี้ไม่มีการบกพร่อง และมีการทรงตัวอยู่เป็นปกติ การนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็รู้สึกว่ามันไม่ยาก ตกลงจะนั่งภาวนาว่า นิพพานัง นิพพานัง และก็นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าหากว่าเราคิดไปถึงคำว่านิพพานัง นิพพานังเฉย ๆ นี้ ก็ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นภาวนาแบบนกแก้วนกขุนทองไป แต่เราต้องใช้
 
คือก่อนที่จะใช้คำว่า นิพพานัง มันต้องหมายพิจารณาคำว่า นิพพาน คืออะไร นิพพะนี่เขาแปลว่าดับ ดังนั้นเป็นวิภัติไม่ต้องไปสนใจ คำว่านิพพานนี่ดับ ดับอะไร ก็ดับกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม รวมความว่าดับอารมณ์ความชั่วทั้งหมด ความชั่วที่มันเป็นรากใหญ่ที่มันเกาะกินใจคน ก็ได้แก่ ความรัก หรือว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเป็นรากเหง้าของความชั่ว ความชั่วอย่างอื่น ๆ มันเป็นกิ่งก้านของรากของความชั่ว ๓ ประการที่กล่าวมานี่ ถ้าเราตัดต้นโค่นรากเสียได้หมดแล้ว คือเราตัดความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง (ความจริงความรักกับความโลภมันตัวเดียวกัน) เสียได้หมดแล้ว เราก็ถึงพระนิพพาน เรียกว่าดับ ถึงแม้ว่าจะยังไม่ตาย ก็ได้ชื่อว่าพูดถึงพระนิพพาน คำว่าพระนิพพานนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องตายเสมอไป นิพพานแปลว่าดับ คือ ดับกิเลส ตั้งแต่เล็กกระทั่งใหญ่หมด
 
แล้วเราก็มานั่งดูว่า ทำไมจะต้องดับกิเลส นี่เราใช้อุปสมานุสสติกรรมฐานก็ต้องใช้ปัญญา คือบอกแล้วว่าคนโง่ใช้ไม่ได้ คือถามว่าใครฉลาด บอกว่าตัวเรานี่ฉลาด เพราะบางวันบางเวลามันมีอารมณ์ฉลาด บางเวลามันมีอารมณ์ติดอยู่ในราคะ รักสวยรักงาม บางเวลาอารมณ์ติดอยู่ในความโกรธ ที่เรียกว่าโทสะจริต บางเวลามันก็มีอารมณ์อยู่ในความหลงและวิตก คิดอะไรก็ไม่ตกลงใจ บางเวลาก็เกิดสัทธาปสาทะ บางเวลามีอารมณ์จิตผ่องใส นี่เรียกว่าจริตทั้ง ๖ มันมีอยู่กับเราในบุคคลคนเดียวกันแต่เป็นไปตามเวลาตามกาลตามสมัย

ทีนี้ถ้าหากใจเราผ่องใส คิดว่าพระนิพพานมีความสุข เกิดเป็นมนุษย์มันมีความทุกข์ เกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็ไม่พ้นจากความทุกข์ นี่ ถ้าอารมณ์คิดอย่างนี้เรียกว่าใจมันสบายใช้ได้ ใช้อุปสมานุสสติกรรมฐานได้ ว่าไอ้ มนุษย์มันก็ทุกข์ เป็นความสุขชั่วคราว คือ เมื่อหมดอำนาจวาสนาบารมีก็ต้องกลับมาทุกข์ใหม่ เราก็ไม่เอา เราไปพระนิพพานดีกว่า

แล้วการที่ไปพระนิพพานดีกว่ามันต้องคลำหาทางไปพระนิพพานได้อย่างไร

ท่านบอกว่าต้องตัดกิเลส ต้องขุดรากขุดเหง้าของกิเลสโยนทิ้งไป ขุดรากของความโลภ ขุดรากของความโกรธ ขุดรากของความหลงทิ้งไปเสีย เมื่อทิ้งความโลภ ความโกรธ ความหลง ทั้ง ๓ ประการ หมดไปแล้จะมีอะไรเหลือ เครื่องเชื่อมกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมไม่มี คือ จิตเกิดความเบา กิเลสทั้งหมดดับ นิพพานแปลว่าดับ มันดับไปจริง ๆ ดับหมด เมื่อกิเลสดับหมด จิตมันก็มีความโปร่ง จิตมีความสบาย จิตเป็นอัปปนา จิตไม่กระทบกระทั่งทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว มันเต็มเสียแล้ว เข้าถึงพระนิพพาน เมื่อคิดอย่างนี้มันก็คิดได้ แต่ว่ายังก่อน

คิดว่าเราจะตัดความโลภ ตัดความโกรธ ตัดความหลง แล้วเอาอะไรมาตัด

มานั่งคิด เราเอาทานเข้ามาตัดความโลภ ความโลภกับความรักมันตัวเดียวกัน เพราะเรารักเราจึงอยากได้ เพราะเรารักสิ่งนั้นสิ่งนี้เราจึงอยากได้ ตัวอยากได้น่ะคือตัวดึงเข้า ทีนี้เราต้องหาทางที่มันเป็นศัตรูกัน คือตัวดันออก ก็ได้แก่การให้ทานกันอยู่เป็นปกติ ความโลภมันจะค่อยลดน้อยลง และในที่สุดเราจะสังเกตได้ว่า โลภะที่มันจะปลดหมดไปได้ เพราะว่ากำลังใจของเราไม่ติดในทรัพย์สินต่าง ๆ ได้ทรัพย์สินต่าง ๆ มาตามหน้าที่ ที่กล่าวว่าตามหน้าที่ หมายความว่าคนเราเกิดมาต้องทำมาหากิน จะเป็นพระเป็นเณร ก็ต้องอาศัยอยู่ อาศัยการใช้สอยเหมือนกัน เมื่อได้ทรัพย์สินมาก็มีความพอใจในทรัพย์สินนั้น แต่ว่าถึงแม้ว่าเราจะมีไว้เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น เราไม่มัวเมาในทรัพย์สินต่าง ๆ ถือว่าทรัพย์สินทั้งหลายเหล่านี้หามาได้ เมื่อหามาได้มันก็มีโอกาสที่จะหมดไปได้เหมือนกัน ถ้ามันไม่หมดไป ไม่ สูญไปในสมัยที่เรามีชีวิตอยู่ เราตายแล้วเราก็ต้องจากมัน หามาเกือบตายก็ไม่มีโอกาสได้เป็นเจ้าของ เป็นอันว่าเราใช้อุเบกขา วางเฉย ถือว่าทรัพย์สินต่าง ๆ ได้มาก็ดีใจ ได้มาก็ได้ใช้ ใช้ในขอบเขตของความจำเป็น ถ้าบังเอิญมันหมดไปก็ไม่สะทกสะท้าน หรือว่าเราตายจากมันไปก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นเรื่องธรรมดาใจไม่หวั่นไหว อย่างนี้เชื่อว่าโลภะ-ความโลภ-สลายตัว นี่สังเกตได้จากการประสบพบลาภสักการะ นอกจานั้นก็มีจิตยอนดีในการสงเคราะห์ เราให้ทานง่าย เราสงเคราะห์ง่าย ใครเขามีความทุกข์เดือนร้อน ถ้าไม่เกินวิสัยเราให้ได้ทันที และไม่มีการรีรอ มีจิตคิดอยู่เสมอตลอดกาลตลอดสมัย หมายความถึงว่าทุกลมหายใจเข้าออก เราพร้อมที่จะเสียสละเพื่อเป็นการสงเคราะห์ นี่แสดงว่าความโลภมันหมดไปจากใจ ต้องพิจารณาอย่างนี้นะ แต่ต้องระวังให้ดี มันต้องเป็นปกติ

เมื่อตะกี้ว่าความโลภหมดไป จะบอกว่าความโลภหมดไป จะรับทรัพย์สินมาทำไมเมื่อคนอื่นให้ ก็พระพุทธเจ้าเองท่านเป็นผู้หมดกิเลส หมดความโลภ มีคนถวายท่านก็ยังรับ เมื่อรับแล้วเราไม่เมา ไม่ติดในลาภสักการะ เมื่อมีสำหรับใช้ก็ใช้ไป เมื่อหมดแล้วก็แล้วกันไป ถือวว่าเมื่อเราตายมันจะจากกันไป ก็จากกันไป ไม่มีความเสียดมเสียดาย ถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่เวลาทรงชีวิตอยู่ต้องระมัดระวังอย่าปล่อยรุ่มร่าม ตามพระวินัยจะเห็นว่าพระพุทธเจ้ามีความละเอียดอ่อนในการรักษาทรัพย์สินมาก นี่ไม่ใช่ว่าคนหมดโลภแล้วจะไม่เอาอะไรเลย ไม่ใช่อย่างนั้น เรา เขาให้ก็รับ แต่ใจมันไม่เกาะ มันไม่บ้าลาภ บ้ายศ บ้าสรรเสริญ บ้าสุข

มาข้อที่ ๒ จะไปนิพพานนี่ อุปสมานุสสติทำอย่างไรตัดความโกรธ แต่ว่าความโลภตัดลงแล้วความโกรธมันก็มีกำลังอ่อน กิเลส ๓ ตัวนี่ ลองตัวใดตัวหนึ่งพังลงไปสักตัวแล้ว อีก ๒ ตัวมันก็มีกำลังอ่อนเต็มทีแล้ว ทำลายง่าย การทำลายความโกรธท่านให้ทำลายด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมตตาจิต กรุณา เมตตาจิตแปลว่าความรัก กรุณาแปลว่าความสงสาร พอเห็นหน้าคนเห็นหน้าชาวบ้าน แทนทีทจะเห็นว่าเป็นคนน่าเกลียด แทนที่จะเห็นเขาเป็นศัตรู กลับเห็นเป็นคนที่น่ารักน่าสงสาร ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะความน่ารักก็ได้แก่คนทุกคนที่มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกัน ถือว่าเป็นเพื่อนกัน ทีนี้ถ้าเราเห็นว่าเขามีความทุกข์ เราก็สงสาร ถ้าบังเอิญเขาทำความผิด ทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้น เป็นเหตุที่บางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่ไม่ชอบใจของเราในอดีตกับเวลานี้ แทนที่เราจะโกรธกับสงสารเพราะว่าอะไร เพราะว่าการกระทำผิดของเขาเป็นการยั่วยุให้คนอื่นให้เกิดความเดือดร้อน นั่นมันเป็นอาการสร้างศัตรู สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเอง เขาทำอย่างนั้น เขาพูดอย่างนั้น คิดอย่างนั้น ความจริงจิตใจของเขาไม่มีความสุข เขาทำให้เรามีความโกรธ แต่เรากลับมีความเมตตาปรานี คิดว่าไม่น่าเลยนะ อาการอย่างนี้มันเป็นอาการของความทุกข์ เป็นเหตุของความเร่าร้อน เขาไม่น่าโง่แบบนี้ ที่สร้างศัตรูให้เกิดกับตน มันเป็นอาการของความทุกข์อย่างหนึ่ง คนที่มีศัตรูมากจะกินก็ไม่ถนัด จะนอนก็ไม่ถนัด จะตื่นอยู่ก็ไม่ไหว จะต้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา เพราะเกรงว่าจะมีคนมาทำอันตราย นี่เห็นคนอื่นทั้งหลายที่เขามีอารมณ์ผิด มีจริตคิดผิดไปอย่างนั้น แทนที่เราจะโกรธกลับมีความสงสาร มีความเมตตาปรานี แต่ทว่าถ้าเราหวังดีแล้วเขาไม่ยอมรับความหวังดีด้วยกับเรา ก็ทรงความอุเบกขา ความวางเฉยเข้าไว้ อย่างนี้ ถ้าอารมณ์จิตปกติเป็นอย่างนี้ ไม่สามารถเข้าทำลายความโกรธได้ หรือว่าใช้พรหมวิหาร ๔ ไม่ตรงกับอัธยาศัย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ให้ใช้กสิณ ๔ อย่าง คือ กสิณสีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว อย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้เป็นฌานสมาบัติ เพราะกสิณ ๔ ประการนี้ เป็ฯไปเพื่อการทำลายโทสะโดยเฉพาะให้หมดให้พินาศไป
 
ในเมื่อเราใช้พรหมวิหารทั้ง ๔ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่งกดอารมณ์ของความโกรธหมดไปแล้ว ก็ใช้อารมณ์วิปัสสนาญาณ คือ สักกายทิฏฐิ พิจารณาเห็นว่าสภาพร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา มันเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ที่เข้ามารวมกันเป็นเรือนร่างที่เราอาศัย ชาวบ้านชาวเมืองก็เหมือนกัน สัตว์อื่นก็เหมือนกัน ทีนี้คนที่โกรธกันด่ากัน เขาไม่ได้ด่าใจนะ เขาด่าตัว เขาด่าธาตุ ๔ เขาด่าดินน้ำลมไฟ เขาไม่ได้ด่าเรา เพราะไอ้ตัวเราจริง ๆ นั่นคือจิต เขามองไม่เห็น นี่เขาด่าธาตุ ๔ ก็ช่างเขาเป็นไร ในเมื่อเราไม่รับเสียอย่างเดียว คำด่าก็ตกอยู่กับเขา ความสบายใจเราก็เกิด อารมณ์จิตมันก็จะสบาย ก็คิดว่าคนเรามันจะต้องตายกันไปหมด จะไปนั่งโกรธ นั่งคิดอาฆาตมาดร้ายกันเพื่อประโยชน์อะไร เราจะฆ่าเขาก็ตาย ไม่ฆ่าเขาก็ตาย เราประทุษร้ายเขา เขาก็มีความทุกข์ เราไม่ประทุษร้ายเขา เขาก็มีความทุกข์ ก็ปล่อยให้เขาทุกข์เขาเอง เขาตายเองดีกว่า ไม่ต้องไปทำให้เหนื่อย ถ้าไปเจอะคนเขาทำไม่ดี เขายั่วยุด้วยประการต่าง ๆ ให้เราเกิดโทสะ เราก็ยิ้มได้ว่าคนประเภทนี้ไม่ใช่คนดี เป็นคนทำลายตัวเอง เป็นคนที่น่าสงสาร แทนที่จะเป็นคนที่น่าโกรธ ถ้าจิตเราคิดอย่างนี้ ความสบายมันก็เกิดขึ้นในที่สุด เราก็ทำลายความโกรธไปเสียได้ นี่เป็นก้าวที่ ๒ ที่เราเดินใกล้เข้าไปสู่พระนิพพานเพราะว่าดับไปแล้ว ความโลภก็ดับ ความโกรธก็ดับ
 
มันก็เหลือแต่ความหลง หลงอะไร หลงสภาพร่างกายว่าเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา เราคิดว่าสภาพร่างกายของเราจะทรงสภาพอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการฟัง การแก่ การตาย การเจ็บ ทั้ง ๆ ที่มันแก่ลงทุกวัน เราก็มองไม่เห็นความแก่ มีการทรุดโทรมลงทุกวัน เราก็ไม่เห็นอาการทรุดโทรม มันตายไปทุก ๆ วัน มันหมดไป ลมหายใจเข้ามาทีออกไปทีชีวิตมันก็หมดไป เราก็มองไม่เห็น ไอ้ตัวมองไม่เห็นนี่มันเป็นตัวโมหะ-ความหลง

ทีนี้เราจะมองเห็นอย่างไร เราก็ตั้งใจพิจารณาหาความจริง ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าคนเกิดมาแล้วมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จริงไหม นั่งมองคนอื่น คนที่เด็กกว่า แล้วก็มองคนที่แก่กว่า สภาพเดิมของเราเป็นเด็ก มาเวลานี้เป็นอย่างนี้ อีกไม่ช้าก็แก่อย่างคนโน้น แล้วก็มองคนที่ตาย ไม่ช้าเราก็ตายอย่างเขานี่แหละ ทีนี้เราจะมามองชีวิตเพื่อมันจะไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย มีประโยชน์อะไร จะเอาใจเข้าไปยอมรับนับถือว่าเราเกิดมาแล้ว มันต้องแก่แน่ และอาการป่วยไข้ไม่สบาย มันก็มีแน่ ทุกข์ประจำกายประจำใจมันก็มีอยู่ตลอดวัน ในที่สุดเราก็ต้องสลายตัว นี่เป็นเพราะอะไร เป็นเพราะความโง่ที่เราเข้ามายึดถือร่างกาย คือ ขันธ์ห้า ถ้าเราไม่ยึดร่าง คือขันธ์ห้าเสียอย่างเดียว ถือว่าขันธ์ห้านี่มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราตามความเป็นจริง ถ้ามันเป็นเราจริงเป็นของเราจริงมันต้องไม่แก่ ไม่ป่วย ไม่ตาย เพราะเราไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น นี่เราห้ามปรามมันไม่ได้

ในเมื่อขันธ์ห้ามันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราควรจะทำอย่างไรเพื่อถึงพระนิพพาน ในเมื่อมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราก็ปล่อยให้เจ้าของเขาไปเสีย เจ้าของเขาคือกิเลสตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม เพราะว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่เป็นเจ้าของขันธ์ห้า เรากับเขาแยกกันแล้วก็ปล่อยขันธ์ห้าให้เป็นเรื่องของของเขาไปแล้วทำจิตใจของเราให้มีความสุข คิดว่าขันธ์ห้าที่ประกอบไปด้วยธาตุสี่นี่มันใช่ของเราไม่ใช่เรา มันเป็นเรือนร่างที่เราอาศัยชั่วคราวเหมือนบ้านเช่า เราเข้ามาครองบ้านหลังนี้เมื่อไรก็เต็มไปด้วยความทุกข์เมื่อนั้น นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราไม่ต้องการมันอีก เพราะบ้านหลังนี้เต็มไปด้วยความเลว มีความเสื่อมอยู่ตลอดเวลา และมีการสลายตัวไปในที่สุด แล้วก็เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขอะไรไม่ได้ ขณะใดถ้าบ้านหลังนี้พังเราสร้างใหม่ บ้านแบบนี้ก็มีทุกข์แบบนี้ เราไม่ต้องการมันอีก เราต้องการบ้านหลังที่ไม่มีกิจต้องทำ มีแต่ความสุข คือความดับจากอารมณ์ของความทุกข์ได้แก่พระนิพพาน

ทำอย่างไร มาปรารภพระนิพพานเป็นอารมณ์นี่ ก็นั่งไล่เบี้ยกันไป โดยย่อนะ พิจารณาว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเราแล้วทำอย่างไรเราถึงจะหนีร่างกายไปได้ จะไม่มีร่างกายแบบนี้อีก จะไม่มีการเกิด ทำจิตเข้าถึงพระนิพพานเราก็ใช้ปัญญาพิจารณาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าควรเชื่อไหม เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาเห็นว่าควรเชื่อ พระพุทธเจ้าเทศน์จริงไม่สงสัย ใช้ได้หนึ่งละ เพียงก้าวอีกก้าวหนึ่งก็ถึงพระนิพพาน ในเมื่อเราไม่สงสัยว่าพระพุทธเจ้าเทศน์ตามความเป็นจริงแล้ว อันดับแรกเราก็ต้องตัดอบายภูมิด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ศีลต้องบริสุทธิ์ทั้งพระเณรและฆราวาส เมื่อถือว่าเป็นพระมีศีล ๒๒๗ นั่นเป็นรูรั่วแห่งจิต ๒๒๗ ข้อใดข้อหนึ่งบกพร่อง แสดงว่าเราเอาเชื้อนรกเข้ามาติดใจ ถ้าเรารักษาศีลบริสุทธิ์ทุกสิกขาบท เราก็ปิดอบายภูมิได้เป็นพระโสดาบัน

ต่อไปทำลายกามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ ให้พินาศไปด้วยอำนาจอสุภกรรมฐานกับกายคตาสติกรรมฐาน แล้วทำลายโทสะให้พินาศไปด้วยอำนาจพรหมวิหารสี่หรือกสิณสี่ตามที่กล่าวมา อย่างนี้เราก็เป็นพระอนาคามี อีกก้าวเดียวถึงพระนิพพาน ต่อไปก็ทำกำลังใจเราไม่ให้มัวเมาในรูปฌานและอรูปฌาน ทำลายมานะ ความถือตัวถือตนให้หมดไป ทำลายความฟุ้งซ่านของจิต เราจะตั้งใจภาวนาพิจารณาอย่างไหน ตั้งอารมณ์ไว้อย่างนั้นโดยเฉพาะ แล้วก็ตัดความรักความเยื่อใยในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก ตัดความเห็นว่ามนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก สวยสดงดงาม เราไม่ต้องการโลกทั้ง ๓ นั้น สิ่งที่เราต้องการคือพระนิพพาน จิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ หมดจากความโลภ ความโกรธ ความหลง อย่างนี้ชื่อว่าเข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบัน

เอาละอุปสมานุสสติวันนี้พูดยาวหน่อย แต่รู้สึกจะสั้นกว่ามรณัสสติกรรมฐานพูดไว้สำหรับเป็นความรู้แก่บรรดาท่านพุทธบริษัท เป็นนักเจริญกรรมฐานจะต้องศึกษากรรมฐานให้ครบ ๔๐ อย่าง เวลากลางคืนจะพยายามสอนกรรมฐานไปคืนละอย่างสองอย่าง ไอ้สองอย่างมากนักน่ากลัวคงไม่ได้ จะได้เพียงอย่างเดียว บางอย่างก็ใช้สองคืนสามคืนซ้อน ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้ให้ท่านทั้งหลายเอาความรู้นี้ไปเป็นเครื่องประดับเวลาที่อารมณ์อย่างใดที่มันเกิดขึ้นในทันทีทันใด ไม่ใช่ว่าเรานั่งภาวนาว่า พุทโธ พุทโธ ก็พุทโธไปเรื่อย ความโลภ ราคะจริตเกิดขึ้นก็ พุทโธ โมหะจริต เกิดขึ้นก็ พุทโธ โทสะจริตเกิดขึ้น ก็พุทโธ ถ้าศรัทธาจริตเกิดขึ้นนี่พุทโธได้ มีผลแน่นอน ถ้าราคะจริต โทสจริต โมหะจริต วิตกจริต พุทธจริตเกิดขึ้น พุทโธไม่เป็นเรื่องแน่ ไม่ตรงกัน ต้องใช้กรรมฐานให้ตรงกับอาการของจริตที่จริตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงจะมีผลเข้าถึงพระนิพพานได้ทันที

เอาละต่อแต่นี้ไปขอให้ท่านทุกคนตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก คำภาวนาอย่างอื่นไม่เคยใช้ ไม่คล่องอยู่ ก็ใช้คำว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ คำภาวนานี้ถ้าบุคคลใดใช้คำภาวนาอย่างอื่นคล่องมาแล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยน ใช้ภาวนานั่นได้ตามปกติ หรือว่าท่านทั้งหลายจะใช้อารมณ์พิจารณาสมถภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนาตามที่กล่าวมาแล้ว ตามที่มีความรู้อยู่เพื่อเป็นการทำลาย ราคะ โทสะ โมหะ ทั้ง ๓ ประการ ก็ให้เป็นไปตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 46.0.2490.86 Chrome 46.0.2490.86


ดูรายละเอียด
« ตอบ #30 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2558 16:29:41 »


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๓๑ อานาปานสติ

สำหรับวันนี้จะได้พูดเรื่องอานาปานสติกรรมฐาน ถือว่าเป็นกรรมฐานอนุสสติข้อสุดท้าย สำหรับอานาปานสติกรรมฐานนี้ ถ้ามหาสติปัฏฐานสูตรท่านขึ้นต้น แต่ว่าด้านอนุสสติท่านเอาวางไว้เป็นข้อสุดท้าย แต่ว่าวิธีปฏิบัติก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นมาตั้งแต่พุทธานุสสติก่อน เราจะเอากรรมฐานในอนุสสติ ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ให้เป็นไปตามอัธยาศัย แต่โดยเฉพาะในมหาสติปัฏฐานสูตร ท่านใช้อานาปานสติกรรมฐานเป็นข้อต้น ก็เพราะว่าอานาปานสติเป็นกรรมฐานที่ระงับความฟุ้งซ่านของจิต ถ้าหากจะกล่าวขึ้นโดยจริตก็เป็นกรรมฐานคู่กับวิตกจริตหรือโมหจริต วิตกแปลว่าตรึกนึกอยู่เสมอ โมหะแปลว่าโง่ ถ้ามันไม่โง่มันก็ตัดสินใจไม่ตกลง ถ้าหากว่าเราจะพูดกันถึงด้านนิวรณ์ โมหะจริตหรือว่าวิตกจริตก็ได้แก่อุทธัจจะกุกกุจจะ คือมีอารมณ์ฟุ้งซ่านและรำคาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์ที่ฟุ้งซ่าน เพราะมันฟุ้งซ่านไม่ทรงอารมณ์ไว้โดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งจึงเกิดความรำคาญ อันนี้การเจริญพระกรรมฐานพระอาจารย์ผู้สอนทั้งหมดที่ปฏิบัติพระกรรมฐานได้มาแล้ว ส่วนใหญ่ท่านให้ขึ้นอานาปานสติก่อน ควบกับพุทธานุสสติกรรมฐาน การที่ให้ขึ้นอานาปานสติกรรมฐานก่อนเพราะจิตเราทุกคนมันฟุ้งซ่าน คนทั้งโลกที่จะหาอารมณ์จิตไม่ฟุ้งซ่านไม่มีเลย ฉะนั้น ในมหาสติปัฏฐานสูตรจึงขึ้นอานาอานสติกรรมฐานก่อนเพื่อน เพื่อเป็นการระงับอารมณ์ฟุ้งซ่าน
 
สำหรับอานาปานสตินี้มีการปฏิบัติเป็น ๒ แบบด้วยกัน โดยเฉพาะแบบที่เป็นสุกขวิปัสสโกอย่างในมหาสติปัฏฐานสูตร สำหรับมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นแบบของสุกขวิปัสสโกโดยเฉพาะ ท่านให้กำหนดลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก เวลาหายใจเข้ายาวหรือสั้น เวลาหายใจออกยาวหรือสั้นให้รู้อยู่ นี่ท่านให้ใช้กำหนดจิตเฉพาะเท่านั้นเอง คือไม่มีการปรับพื้นฐานใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะว่าสุกขวิปัสสโกในอันดับต้นใช้อารมณ์สมาธิเพียงเล็กน้อย แล้วก็พิจารณาวิปัสสนาญาณควบคู่กันไป ไม่จำเป็นต้องตั้งอารมณ์ให้เป็นฌานก่อน ทั้งนี้ก็เพราะว่าเป็นการปฏิบัติแบบง่าย ๆ ไม่ต้องการประเภทวิชชาสาม อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทาญาณ ต้องการอย่างเดียว คุมอารมณ์ได้เล็กน้อยก็ควบคุมไปกับวิปัสสนาญาณ แต่เมื่อาศัยที่พิจารณาวิปัสสนาญาณกับควบคุมกำลังใจเล็กน้อย เมื่อจิตเข้าถึงปฐมญาณ ฌานก็มีอำนาจตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานเป็นพระอรหันต์ได้เหมือนกัน เป็นแบบง่าย ๆ จึงเรียกว่า สุกขวิปัสสโก
 
สำหรับในกรรมฐาน ๔๐ ท่านวางไว้อีกแบบหนึ่ง คือ เฉพาะอานาปานสติกรรมฐาน ท่านให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเหมือนกัน ทีนี้ในกรรมฐาน ๔๐ ท่านสอนให้ ๔ แบบคือ แบบสุกขวิปัสสโก เตวิชโช วิชชาสาม ฉฬภิญโญ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทัปปัตโต คือ ปฏิสัมภิทาญาณ ฉะนั้น การวางอารมณ์พื้นฐานของจิตในตอนต้น จึงวางพื้นฐานอารมณ์ไว้สูงมาก เป็นแบบสายกลาง ๆ ไม่ใช่ตั้ง ๗ ฐาน ๘ ฐาน นั่นตั้งกันแบบใหม่ สำหรับพระพุทธเจ้าท่านตั้งไว้ ๓ ฐาน คือ เวลาหายใจเข้าและหายใจออก เวลาหายใจเข้าให้กำหนดรู้ไว้ที่จมูก ลมจะกระทบที่จมูก ลมจะกระทบไหลเรื่อยไปกระทบที่หน้าอกแล้วกระทบศูนย์เหนือสะดือเล็กน้อย เวลาหายใจออก ลมกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก และกระทบริมฝีปากหรือจมูก ถ้าคนริมฝีปากยื่นจะกระทบริมฝีปาก ถ้าริมฝีปากงุ้มรับความรู้สึกที่จมูก นี่จำไว้ให้ดี ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายได้อานาปานสติกรรมฐานกองเดียว กรรมฐานอีก ๔๐ กองง่ายมาก กรรมฐานที่ยากจริง ๆ ก็คือ อานาปานสติกรรมฐาน แล้วก็เป็นกรรมฐานที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำได้ให้ หากว่าท่านไม่ได้อานาปานสติกรรมฐานเสียกองเดียว กรรมฐานกองอื่นไม่มีความหมาย ท่านจะบอกว่าท่านไม่ได้อานาปานสติกรรมฐานแต่ได้กรรมฐานกองอื่น ๆ ด้วย ได้กรรมฐานกองอื่น ๆ อีก ๓๙ กอง อันนี้ไม่มีใครเขาเชื่อ เพราะมันเชื่อไม่ได้ เราจะเล่นกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัฏฐาน หรือว่าอะไรก็ตาม ถ้าไม่ใช้อานาปานสติกรรมฐานควบคู่แล้วไม่มีทางจะได้ผล เพราะฉะนั้น อานาปานสติกรรมฐานจึงเป็นพื้นฐานใหญ่ที่สุด เป็นตัวนำของกรรมฐานทั้งหมด
 
นี่เราก็พูดกันมาถึงอนุสสติ ๑๐ ถ้าเรารวบรวม มันจบแค่อานาปานสติ ฉะนั้น อานาปานสติมันก็ต้องพูดกันมากหน่อย เพราะว่าเป็นกรรมฐานใหญ่ ถ้าได้เสียกองเดียว กองอื่นก็หมด อานาปานสตินี่ทรงกำลังถึงฌาน ๔ เช่นเดียวกับกสิณ อานาปานสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานกองใหญ่ ทรงกำลังถึง ฌาน ๔ และเป็นกรรมฐานละเอียดจับได้ยาก เมื่อจับอานาปานสติกรรมฐาน ได้กรรมฐานกองอื่นจะรู้สึกเป็นของง่าย
 
ทีนี้เราทรงอานาปานสติให้คงที่ ให้เข้าถึงระดับฌาน ต้องมีพื้นฐานที่มีความสำคัญตามลำดับ จะยกเรื่องที่พระพุทธเจ้าท่านทรงยกขึ้นไว้ในอุทุมพริกสูตร ในอันดับแรกท่านทั้งหลายจะต้องควบคุมกำลังใจ ให้เรารู้ตัวอยู่เสมอว่าเราจะประพฤติใจของเราให้ตั้งอยู่ในอารมณ์สมาธิหรือว่ามีอารมณ์จิตบริสุทธิ์ เราไม่ยุ่งกับอารมณ์ของบุคคลอื่น จริยาของบุคคลอื่น เขาจะดีหรือเขาจะชั่วแค่ไหนเป็นเรื่องของเขา ไม่เกี่ยวกับเรา เขาดีก็ดีของเขา เขาเลวก็เลวของเขา เราไม่ได้พลอยดี เราไม่ได้พลอยเลวไปด้วย คือเวลานี้เราเข้ามาในเขตของพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้เราดี ปฏิบัติความดี คือการที่เราจะปฏิบัติความดีมันจะทำกันอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวเป็นพระบาลีว่า อัตตนา โจทยตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเองอยู่เสมอ อย่าไปเที่ยวนั่งเตือนชาวบ้านเขา เตือนตัวเองแหละเป็นสำคัญ ให้ตัวรู้ตัวไว้ว่าเวลานี้เราทำอะไร เวลานี้เราต้องการอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้เราเจริญอานาปานสติกรรมฐาน หรือแม้กรรมฐานกองอื่น ๆ ก็เหมือนกัน จะต้องเตือนตนเองไว้เสมอ ให้เรารู้ตัวเองว่า เวลานี้เรารู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก เราต้องการรู้ว่าลมกระทบฐานไหนบ้าง ลมเข้าลมออกกระทบฐานไหนบ้าง นี่เราต้องเตือนตนและบังคับจิตไว้เสมอ

ทีนี้ผลที่จะพึงได้รับ พระพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวไว้ว่า อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนแลย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตน โก หิ นาโถ ปโร สิยา บุคคลอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งเราได้ อัตตนา หิ สุทันเตนะ เมื่อเราฝึกฝนตนของเราดีแล้ว นาถัง ลภติ ทุลลภัง เราจะได้ที่พึ่งอันบุคคลอื่นพึ่งได้โดยยาก คือ เป็นอันว่าผลของการเจริญสมาธิภาวนาวิปัสสนาญาณ พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่าเราเท่านั้นที่ทำตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หมายความว่า ในเมื่อเรารับคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วต้องปฏิบัติตามด้วยตนเอง ไม่ใช่จะไปนั่งอ้อนวอนให้ครูบาอาจารย์ช่วยบ้าง ขอบารมีคนนี้ช่วย ขอบารมีพระพุทธเจ้าช่วย ขอบารมีพระปัจเจกพุทธเจ้าช่วย ขอบารมีพระอรหันต์ช่วย ขอบารมีเทวดาพรหมช่วย เป็นต้น เรานึกน้อมถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและท่านอื่น ๆ ที่กล่าวมานั้นเป็นของดี แต่ทว่าอย่านึกว่าจะมาให้พระพุทธเจ้าทำจิตเราให้เป็นสมาธิอันนั้นไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้แล้วว่า อักขาตาโร ตถาคตา ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกเท่านั้น ความดีหรือความชั่วเป็นเรื่องของพวกท่านเองจะพึงปฏิบัติ อันนี้จำไว้ให้ดี จำไว้แล้วจงอย่าลืม ลืมเมื่อไรบรรลัยเมื่อนั้น คำว่า บรรลัยนี้เขาแก้ศัพท์ให้มันหย่อนลงมา ตามหลักพระพุทธศาสนาท่านบอกว่า ลืมเมื่อไรฉิบหายเมื่อนั้น เป็นผู้ฉิบหายเสียแล้วจากความดี ศัพท์นี้รู้สึกว่าจะเป็นปกติในทางพระพทธศาสนา บุคคลใดถ้าจะสลายซึ่งผลซึ่งตนจะพึงได้ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าผู้นั้นเป็นผู้ฉิบหายเสียแล้ว อย่างท่านอาฬารดาบสและอุทกดาบสซึ่งเป็นพระอาจารย์ สอนให้พระพุทธเจ้าได้สมาบัติ ๔ และสมาบัติ ๘ เมื่อพระองค์ทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ ๆ องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงได้ระลึกถึงพระอาจารย์ทั้งสองว่าทั้งสองฟังธรรมของเราเพียงครั้งเดียวจะได้บรรลุพระอรหัตผล แต่ว่าทั้งสองท่านเวลานี้ ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นอรูปพรหม ไม่มีโอกาสที่จะรับสัมผัสในการแสดงพระธรรมเทศนา เพราะไม่มีอายตนะ ไม่มีหู ไม่มีตา ไม่มีกายทั้งหมด จึงกล่าวว่าเป็นที่น่าเสียดายที่อาจารย์ทั้งสองเป็นผู้ฉิบหายเสียแล้วจากความดี นี่ คำว่าฉิบหายนี้เป็นของธรรมดา เป็นพวกสลายตัวหมดเท่าที่จะได้รับ ถ้าพวกเราบอกว่าฉิบหายนี่เราโกรธ จะไปโกรธเขาทำไม ถ้าเราดี เราก็ไม่ฉิบหาย ไม่บรรลัย ไม่สลายตัว อันนี้เป็นเครื่องเตือนให้ท่านทั้งหลาย ว่าจงอย่าลืมถ้อยคำตามที่กล่าวมาแล้ว จำไว้ว่าเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้ที่ช่วยตัวของเราเองได้
 
ในอันดับแรก จงจำไว้ว่าเราจะไม่ยุ่งกับอารมณ์ของบุคคลใด เราจะไม่ยุ่งกับจริยาของบุคคลใด เราจะสนใจอย่างเดียว ระงับอารมณ์ของเราให้ทรงอยู่ในด้านของกุศลเป็นอันดับแรก เราตั้งใจไว้ว่า เรากำหนดจิตแต่เฉพาะอารมณ์ใดเราจะทรงอารมณ์นั้นไว้โดยเฉพาะ นี่เป็นจุดเริ่มต้น ถ้าหากว่าท่านทำใจได้ดีอย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่าท่านเข้าถึงสะเก็ดของพระพุทธศาสนา เห็นไหม เมื่ออารมณ์ที่ไม่ยุ่งกับความดีและความชั่วของชาวบ้านนั้นเข้าถึงสะเก็ดของพระพุทธศาสนา ถ้าอารมณ์ใจของเรายังยุ่งอยู่ เราก็เข้าไม่ถึงสะเก็ด วัดใจของท่านเองไว้ด้วยนะ นี่ เวลานี้เราตั้งใจจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เราก็ตั้งใจกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เราก็ตั้งใจกำหนดรู้เฉพาะลมหายใจเข้าออกเพื่อเป็นการกันความฟุ้งซ่านของจิต แต่อึกอักจะมาตั้งอารมณ์ให้ทรงตัวแบบนี้มันไม่ง่ายนัก พระกรรมฐานไม่ใช่ของง่าย แต่ก็ไม่ใช่ของยาก เมื่อควบคุมอารมณ์ไว้ได้ดีไม่ยุ่งในจริยาของคนอื่นแล้วก็จงรักษาศีลให้บริสุทธิ์ นี่เป็นอันดับสอง เพราะว่าเมื่อพยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้ชาวบ้านชาวเมืองอื่นเขาทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว
 
แล้วต่อไปก็ระงับนิวรณ์ห้าประการ นิวรณ์ห้าประการนี่เราจะต้องเป็นผู้ชนะ ไม่ใช่ผู้แพ้ ถ้าท่านแพ้นิวรณ์ห้าท่านก็เขียนไว้เลือกเอาจะเอานรกขุมไหน ถ้าเป็นพระเป็นเจ้าด้วยยิ่งสบายดีนัก ลงอเวจีมหานรกจะนึกว่าทำไมเข้มข้นนัก ที่อื่นทำไมไม่พูดกัน ก็ที่อื่นเขาไม่ได้สนใจนี่ อยากจะลงนรกขุมไหนเขาก็ตามใจตนเอง แต่ว่าสำนักนี้ไม่ต้องการให้ใครลงนรก แต่ว่าถ้าอยากจะลงก็ห้ามไม่ได้เหมือนกัน ได้แต่แนะนำ ทีนี้การที่เราจะทรงสมาธิได้ดี ไม่ยุ่งกับอารมณ์ของบุคคลอื่น มีศีลบริสุทธิ์แล้วยังเอาดีไม่ได้ เคยบอกแล้วว่ามีศีลบริสุทธิ์มันยังไม่ดี พระพุทธเจ้ายังไม่ได้บอกไว้ ยังไม่ถือเป็นสมมติสงฆ์แท้ จะต้องมีอารมณ์ชนะนิวรณ์ห้า ขณะที่เราทรงสมาธิจิตกำหนดลมหายใจเข้าออก จิตจะไม่พะวงถึง
 
๑. กามฉันทะ คือ รูปสวย เสียงเพราะ รสอร่อย กลิ่นหอม สัมผัสนิ่มนวล อารมณ์ใคร่ครวญในกามารมณ์ ไอ้การอย่างนี้ต้องไม่มีในขณะที่เราทรงสมาธิ หรือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
 
๒.เราจะไม่มีอารมณ์ความโกรธหรือความพยาบาทคิดอยู่ในใจขณะนั้น
 
๓.ขณะทีเรากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เราจะตัดความง่วงไม่ให้เป็นเจ้าหัวใจของเรา
 
๔.เราจะคุมอารมณ์ใจของเราโดยเฉพาะในเวลาที่เราตั้งไว้
 
๕.เราจะไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเชื่อว่าผลการปฏิบัตินีน่มีผลดีจริง ๆ

นิวรณ์ห้าประการนี้ทุกขณะที่ท่านต้องการทรงสมาธิ ทุกท่านจะต้องป้องกันไม่ให้มันเข้ามายุ่งกับจิตเป็นอันขาด แต่ถ้าหากมัวแต่คิดว่า ถ้าหากจะชนะแต่เวลาที่จะเจริญพระกรรมฐานมันยังเบาเกินไป วันหนึ่งเรามานั่งเจริญกรรมฐานกี่นาที เราปล่อยอารมณ์ให้มันเลื่อนลอยกี่นาที ดูปริมาณของเวลามันพอกันหรือไม่ ถ้าเวลาปริมาณมันพอกัน ก็ยังเรียกว่าเป็นคนกึ่งนรกกึ่งสวรรค์ ความจริงนิวรณ์ห้าประการนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพระไม่ควรจะให้มันเข้ามายุ่งในจิต แม้แต่วินาทีหนึ่งของ ๒๔ ชั่วโมง ถ้าหากว่านิวรณ์ไม่เข้ามายุ่งกับจิตของท่านเมื่อไร เวลานั้นคำว่าสมาธิจิตไม่มีแก่จิตของท่าน เข้าใจไว้ด้วย

เมื่อระงับนิเวรณ์ จิตใจของเราชนะนิวรณ์ได้โดยเด็ดขาดแล้ว ก็ต้องทรงพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา ความรัก แผ่ความรัก ความปรานี ปรารถนาความเป็นมิตรไปในทั่วจักรวาลทั้งปวง ถือว่าเราเป็นคนไม่มีศัตรู สัตว์และบุคคลทั้งหมดย่อมเป็นที่รักของเรา กรุณามีจิตสงสาร ใคร่จะสงเคราะห์ให้เขามีความสุขทั้งคนและสัตว์ มุทิตา มีจิตอ่อนโยน ยินดีเมื่อบุคคลอื่นได้ดี ไม่อิจฉาริษยาใคร อุเบกขา สิ่งใดที่มันเกินวิสัยซึ่งเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ความตายจะเข้ามาถึง จิตใจเราไม่ดิ้นรส ปล่อยเป็นเรื่องธรรมดาวางเฉย

หากว่าท่านทรงศีลบริสุทธิ์ ระงับนิวรณ์ห้าประการ ทรงพรหมวิหารสี่ โดยเฉพาะตลอดวันตลอดคืน อย่างนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ท่านมีความดีเข้าถึงเปลือกของพระพุทธศาสนา นี่ต้องให้ดีนะ อานาปานสตินี่เราต้องคุยกันมาก เพราะเป็นกรรมฐานกองใหญ่ก็จะต้องพูดถึงฌาน ๔ หรือฌาน ๘ ว่ากันตามลำดับ นักศึกษาใหม่ฟังแล้วก็ตั้งใจทำให้ดีนะ เพราะการสอนพระกรรมฐานตอนกลางคืนนี่ไม่ซ้ำกัน จนกว่าจะจบกรรมฐาน ๔๐ และวิปัสสนาญาณ ใครจะมาก่อนมาหลังไม่รับทราบ เพราะถ้าขืนไปดูแล้วเวลานี้เราต้องการอธิบายให้เข้าใจเพื่อผลในการปฏิบัติเท่านั้น ก็จะสอนไปตามประเภทไม่ถอยหลัง

ทีนี้อันดับแรกนี้ ก่อนที่ะจบก็ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจฟังว่า เวลานี้เราจะรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก จนกว่าจะสิ้นเวลา ก็จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา เอากันเท่านี้ก่อนนะ วันพรุ่งนี้ต่อไปใหม่ ต่อไปนี้ขอให้ทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 47.0.2526.111 Chrome 47.0.2526.111


ดูรายละเอียด
« ตอบ #31 เมื่อ: 18 มกราคม 2559 11:48:20 »


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๓๒ พรปีใหม่

ปีใหม่ก็จะคืบคลานเข้ามาถึง ก็เป็นอันวาชีวิตของเราก็ล่วงเข้ามาอีก ๑ ปี ปีใหม่ที่เคลื่อนเข้ามาเราก็จะแก่เข้าไปอีก ชีวิตของเราก็จะเดินเข้าไปหาความดับ เพราะธรรมดาของชีวิตเมื่อมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นและก็มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง และมีการตายแตกทำลายพันธุ์ไปในที่สุด นี่เป็นกฎธรรมดาของสิ่งมีชีวิตที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ศ.๒๕๑๙ ที่จะเข้ามาถึงจัดว่าเป็น พ.ศ. ที่มีความวิกฤติที่สุดของชีวิตประเทศไทยในยุคนี้ เพราะว่าตกอยู่ในเขตที่มีความวิกฤตอย่างหนัก ความแปรปรวนเป็นไปของโลก ของชีวิตมนุษย์
 
อันนี้ก็ถือว่าเป็นปกติธรรมดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า โลกมีอันจะต้องฉิบหายไปในที่สุด ไม่มีอะไรทรงตัว ทีนี้สำหรับเราเหล่าพุทธบริษัทในฐานะที่ท่านทั้งหลายเป็นพุทธมามกะ คือนับถือพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ พระบาลีกล่าวว่า บุคคลผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยย่อมจะไม่สลาย คือ จะต้องไม่พินาศไปด้วยอำนาจของโลกซึ่งเต็มไปด้วยความแปรปรวน ทั้งนี้ก็เพราะว่าองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ว่า สิ้นเวลา ๒,๕๐๐ ปีเศษ สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท์ว่า อานันทะ ดูก่อน อานนท์ เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไป ๒,๕๐๐ ปีเศษ คือ หลังจากกึ่งพุทธกาล ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี คือ พ.ศ.๒๔๘๕ เป็นต้นมา โลกจะเต็มไปด้วยความวิกฤต ไฟจะตกจากอากาศ ไฟจะลุกในอากาศ ฝนเหล็กจะตกจากอากาศ บรรดาคนจะมีความทุกข์ยากล้มตายเป็นอันมาก และองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงกล่าวต่อไปอีกว่า อานันทะ ดูก่อน อานนท์ ความวิกฤตคือความร้ายแรงของโลกก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะมีความร้ายแรงก็จริงแหล่ แต่ทว่ายังไม่ร้ายแรงเท่าหลังกึ่งพุทธกาล อันนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อน อานนท์ ยักษ์หินที่ถูกสาปจะลุกขึ้นอาละวาด ยักษ์นอกพุทธศาสนาจะรบราฆ่าฟันล้มตายกันฝ่ายละครึ่งจึงจะหยุดยั้ง สมณะชีพราหม์จะล้มตาย แต่ว่าประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาจะมีภัยอันนี้เหมือนกัน แต่ทว่าไม่ร้ายแรงนัก ไม่ถึงกับพินาศ นี่เป็นคำพยากรณ์ขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้
 
ทีนี้คำพยากรณ์ขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฎเป็นความจริง คือตั้งแต่ปี ๒๔๘๕ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็เกิดขึ้น เมื่อสงครามสงบแล้ว ความวิกฤติของโลกยังไม่สงบ มีการรบราฆ่าฟันเป็นปกติ ระยะนี้เป็นระยะหลังกึ่งพุทธกาล มีสมณะชีพราหมณ์ทั้งหลายล้มตายเป็นอันมาก คำพยากรณขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรงตามความเป็นจริง อีกข้อหนึ่งที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาจะมีภัยเหมือนกันแต่ไม่ร้ายแรงนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย ก็ถือกันว่าเป็นประเทศที่ทรงพระพุทธศาสนา

ถ้าเราจะพิจารณากันตามความเป็นจริง จะเห็นว่าประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งหมดไม่มีประเทศใดที่ทรงคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุคตบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ได้ครบถ้วนเช่นประเทศไทย ในประเทศไทยเรามีทั้งพระสูตร พระวินัย ปรมัตถ์ คือพระอภิธรรม สำหรับประเทศอื่น เช่น ประเทศพม่า โดยมากจะไม่เคร่งครัดในเรื่องของพระวินัย โทษในเรื่องพระวินัยเขาไม่เคร่งครัดเพราะถือว่าไม่สำคัญ จะนิยมแต่ในเฉพาะด้านของปรมัตถ์ คือ อภิธรรมเท่านั้น ตามบาลีว่า พระสูตรคือประเทศไทย พระวินัยคือมอญ อภิธรรมพม่า หมายความว่าในประเทศไทยเรานิยมพระสูตร แต่ว่าเรามีพระวินัยและพระอภิธรรมครบถ้วน สำหรับวินัยมอญก็มายถึงว่าประเทศมอญเขาเคร่งครัดในพระวินัยแบบชาวมอญ สำหรับพม่านั้นยกพระสูตรทิ้งไป พระวินัยทิ้งไป เหลือพระอภิธรรม เราก็จะเห็นว่าในประเทศไทยยังคงทรงไว้ได้ทั้ง ๓ ประการ คือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม ทั้ง ๓ ประการ เมื่อเราพิจารณาตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระพุทธญาณท่านทรงพยากรณ์กับพระอานนท์แล้ว จะเห็นว่าประเทศไทยเราคงพระวินัย คือ เคารพองค์สมเด็จพระจอมไตรไว้ตามพระพุทธพยากรณ์ จึงถือว่าประเทศไทยอยู่ในเขตคำพยากรณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ คือ อาจจะต้องไม่สลายไป ในการนับถือองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาที่มีพระบาลีว่า พุทโธ อัปปมาโณ คือว่า คุณของพระพุทธเจ้าหาประมาณมิได้ การเคารพในพระธรรมว่า ธัมโม อัปปมาโณ การเคารพในพระธรรมว่าหาประมาณมิได้ หรือคุณของพระธรรมหาประมาณไม่ได้ สังโฆ อัปปมาโณ คุณของพระอริยสงฆ์หาประมาณมิได้

การเคารพในคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สามารถจะยังชีวิตและความสุขของเราให้คงอยู่ได้ปลอดภัยจากอันตราย ดูตัวอย่าง เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงชีวิตอยู่ในขณะนั้น องค์สมเด็จพระบรมครูเสด็จประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร ในขณะนั้นปรากฎว่าพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ถูกพระยาชมภูบดีรุกราน เหมาะขึ้นมาในอากาศเห็นยอดปราสาทของพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์มีความสวยสดงดงามยิ่งกว่า ความริษยาก็เกิดขึ้น จึงได้ลงมาจากอากาศมายืนอยู่บนยอดปราสาท ชักพระขรรค์อันประจำพระองค์ขึ้นฟันยอดปราสาท ความจริงพระขรรค์นี้ แม้แต่เหล็กท่อนใหญ่ ๆ กระทบแล้วไม่หนักนักก็จะขาดไปทันที แต่อาศัยที่พระเจ้าพิมพิสารมีความเคารพในองค์สมเด็จพระมหามุนี คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นไตรสรณาคมน์ทั้ง ๓ ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระองค์เป็นพระโสดาบัน ด้วยอำนาจของพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ จึงป้องกัน แทนที่ยอดปราสาทจะขาด พระขรรค์ของพระยาชมภูก็บิ่นทำลายไป พระยาชมภูมีความเจ็บใจ จึงได้ยกเท้าขึ้นกระทืบยอดปราสาทก็เป็นเหตุให้เหล็กยอดปราสาททิ่มทะลุรองเท้าไปโดนเท้าบาดเจ็บ ถึงกับมีความโกรธมากจึงเหาะกลับประเทศของพระองค์ และก็ใช้ อวิตาศรไปร้อยพระกรรณ คือ ร้อยหูของพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ คือมีศรเป็นกรณีพิเศษ เมื่อศรเข้ามาประกาศว่า เราจะร้อยหูของพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ พระเจ้าพิมพิสารได้ทราบแล้ว ได้ยินแล้ว เห็นแล้ว ก็มีความกลัว จึงเสด็จไปเฝ้าองค์พระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในที่สุดบารมีของพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุขก็ระงับอันตรายนั้นเสียได้ ในที่สุดบังคับให้พระยาชมภูบดีเข้ามาเฝ้าสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา ได้ฟังพระธรรมเทศนามีความเลื่อมใสอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และก็ได้สำเร็จพระอรหัตผล เป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา แสดงว่าที่พระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์พระบาทท้าวเธอพ้นจากอันตรายได้เพราะอาศัยคุณพระรัตนตรัยเป็นสำคัญ ในฐานะที่พระองค์เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน มีความมั่นคงในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศีลห้าเป็นสมุจเฉท คือ รักษาศีลห้าเป็นปกติ
 
ฉะนั้น วันนี้เป็นวันที่สุดของปี ๒๕๑๘ ปี พ.ศ.๒๕๑๙ เข้ามาถึง ก็เป็นปีที่เต็มไปด้วยความวิกฤตของประเทศไทย ฉะนั้น บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จงอย่าประมาทในชีวิต จงทรงจิตของท่านให้มีควมมั่นคงในคุณพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ คือ คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ปฏิบัติจิตให้ตรงต่อเฉพาะพระพุทธองค์ว่าที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงสั่งสอนไว้ เราทำอย่างไรที่ว่าทรงความดีตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวให้พวกเราทุกคนเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ทุกสิกขาบท คือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภิกษุ และสามเณร มีความจำเป็นจะต้องทรงสิกขาบททั้งหมดให้ครบถ้วนบริบูรณ์ สำหรับฆราวาสก็มีความจำเป็นอยู่เหมือนกัน แต่ทว่าบางท่านก็สามารถรักษาสิกขาบทให้ครบถ้วนได้ เพราะความจำเป็นในชีวิต ฉะนั้น ขอให้ตั้งสัจธรรมไว้ว่า ถ้าศีลข้อใดก็ดีใน ๕ ข้อนี้ เราจะทรงไว้ได้ตลอดชีวิต จะไม่ละเมิด ให้ตั้งจิตถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ในชีวิตของเรานี่ สิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งหรือสองสิกขาบทก็ตามที ซึ่งไม่เกินวิสัยเราจะทรงไว้ให้ครบถ้วน ไม่ยอมให้มัวหมอง สำหรับท่านผู้ใดสามารถจะทรงสิกขาบททั้ง ๕ ประการได้ หรือ ๘ ประการได้ก็ยิ่งดี อย่างนี้ได้ชื่อว่ามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการปฏิบัติ กาย วาจา ใจ และสำหรับกำลังใจนั้นมีความสำคัญ บรรดาพุทธบริษัททุกท่านทรงความดี คือ นึกถึงบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้มีจิตยึดพระพุทธคุณไว้เป็นสำคัญ
 
การนึกถึงพระพุทธคุณทำอย่างไร ว่ากันมากไปก็ไม่ถนัด อิติปิ โส ภควา ฯ จนจบก็ไม่ไหว ฉะนั้น โบราณาจารย์จึงกำหนดไว้ว่าบุคคลใดผู้ใดมีความนึกถึงบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ให้ภาวนาว่า “พุทโธ” ใช้คำว่า พุทโธ ให้เป็นปกติ ภาวนาไว้ทุกวันทุกคืนตลอดเวลา และการที่จะภาวนาไปได้ตลอดเวลา และการที่เราจะภาวนาไปได้ตลอดวันตลอดคืนก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะจิตย่อมมีภาระนึกคิดอย่างโน้นคิดอย่างนี้ บางทีก็ต้องสนทนาปราศรัย ในการที่จะนึกทุกวันทุกเวลาเป็นไปไม่ได้ แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่ขาด พระโบราณาจารย์ที่มีความฉลาดได้สั่งสอนไว้ว่า ถึงเวลาก่อนหลับให้บรรดาพุทธบริษัทกำหนดใจนนึกถึงคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ จะกำหนดการเข้าออกของลมหายใจว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่า พุธ เวลาหายใจออกนึกว่า โธ อย่างนี้เป็นความดี หรือนึกถึงคุณความดีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็เป็นการป้องกันภัยอันตราย เวลาที่ท่านทั้งหลายภาวนาว่า พุทโธ อมน้ำลายไว้ในปาก ภาวนาไว้จนขึ้นใจ ในจิตมีความสุข ค่อยกลืนน้ำลายลงไป อย่างนี้คุณพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น จะคุ้มครองสรรพอันตรายแก่พุทธบริษัทได้ และเวลาตื่นขึ้นมาใหม่ ๆ และก่อนหลับทุกวัน ทำแบบนี้เป็นปกติ เวลาที่ยังตื่นอยู่ ถ้าคิดขึ้นมาได้เมื่อไรก็ทำใจให้นึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาวนาว่า พุทโธ เป็นปกติ อย่างนี้จิตของบรรดาท่านพุทธบริษัท ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึง พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะได้ ทั้ง ๓ ประการ แล้วการนึกถึงความดีของสมเด็จพระพิชิตมารก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงความดีทั้ง ๓ ประการครบถ้วน คือ พระพุทธเจ้าจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็ต้องอาศัย พระธรรม เมื่อทรงธรรมแล้วพระองค์ก็บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า ธรรมะของพระพุทธองค์ที่เราจะพบได้ก็อาศัยบรรดาพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ประชุมสังคายนากันร้อยกรองเอาไว้ จึงได้ตกทอดถึงพวกเรา ฉะนั้น การนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงชื่อว่าเข้าถึงความดีครบไตรสรณาคมน์ทั้ง ๓ ประการ
 
การนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระพิชิตมาร ใช้คำว่า พุทโธ เป็นปกติ ถ้าหากว่ากล่าวโดยธรรม ถ้าเรามีอารมณ์อ่อน ที่ว่ามีอารมณ์จิตเข้าไม่ถึงฌาน เวลาตายแล้วก็ไปสู่สวรรค์เทวโลก มีชั้นดาวดึงส์ เป็นต้น ดูตัวอย่าง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร หรือ สุปติฏฐิตเทพบุตร เป็นต้น หรือสาตะกีเทพธิดา นี่ใช้กำลังจิตมีศรัทธายังอ่อน นึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าชั่วเวลาเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุปติฏฐิตเทพบุตร ทำความชั่วคือฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมาตลอดชีวิต เมื่อเวลาจะตายไม่กี่นาที จึงได้นึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้อาศัยนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลานั้น จิตผ่องใส เวลาตายแทนที่จะไปรับอกุศลในอบายภูมิ กลับไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก ต่อมาเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไปเทศน์โปรดพระพุทธมารดา สุปติฏฐิตเทพบุตรได้ฟังอุณหิสวิชัยสูตร จบลง ปรากฎว่าได้บรรลุพระโสดาบัน บาปทั้งหลายที่ท่านทำไว้ไม่มีโอกาสจะให้ผล
 
นี่การนึกถึงคุณความดีขององค์สมเด็จพระทศพลมีผลต่อบรรดาท่านพุทธบริษัท ถึงแม้ว่าเราจะทำบาปทำกรรม มากมายเพียงใดก็ตามที่อาศัยความดีขององค์สมเด็จพระชินสีห์สามารถจะบำบัดให้เราพ้นไปจากภัยพิบัติ คือ พ้นจากอบายภูมิได้ ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต คิดว่านับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ปีเก่าจะหมดไป ปีใหม่จะเข้ามาถึงเราจงรักษาสัจธรรม ทรงความดีเข้าไว้ คือ จะนึกถึงความดีขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่หยุดยั้ง คือว่าปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นปีที่จะเต็มไปด้วยวิกฤติการณ์อย่างที่สุด โดยวิธีที่เราจะใช้ในฐานะที่เป็นมนุษย์ธรรมดาเพื่อความพ้นอันตราย ดูตัวอย่างพระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอต้องถูกทำร้ายจากพระยาชมพูบดี แต่อาศัยที่มีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาอย่างมั่นคง ในที่สุดอันตรายก็ยุติลงด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้า นี่ ในสมัยพระพุทธเจ้า ถ้ามาในสมัยหลัง เมื่อสมัยที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจเป็นพิเศษ ขณะนั้น ปรากฎว่าข้าราชบริพารของพระองค์ท่านหลายท่านที่อาตมารู้จักเป็นกลุ่ม ๆ บุคคลกลุ่มใหญ่มีความเคารพองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปกติ คือ ในยามปกติพวกเขาเหล่านั้นจะไม่คล้องพระเครื่องอยู่ในตัว เขาถือว่าจิตใจของเขาเข้าถึงพระอยู่เป็นปกติ แต่ว่าภาวนาของบุคคลพวกนี้ไม่ขาด พอตื่นขึ้นมาเช้าก็จับคำว่าพุทโธอยู่เป็นปกติ เวลายามว่าง เมื่อจิตว่างจากกิจอื่นก็ใช้คำภาวนาว่าพุทโธ เวลาที่ไม่ลืมเกรงว่าจะลืม เวลาเช้า เวลาที่จะไปไหนหรืออยู่บ้านก็ตาม เกรงว่าอันตรายจะมีต่อเขา เขาแนะนำ นี่อาตมาเคยได้รับทราบมาเอง คือ ได้รับคำแนะนำจากคนผู้นั้นจากปากเขาเอง บอกว่า เวลาที่เราเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อร่างกายให้อมน้ำลายไว้ในปาก ภาวนาว่า พุทโธ ให้ขึ้นใจ เป็นการเสกน้ำลายแล้วกลืนลงไป ๓ ครั้ง บุคคลประเภทนี้ แม้จะปะทะข้าศึกหนัก ศัตรูหนักเพียงใดก็ตาม ก็มีการแคล้วคลาด
 
ถ้ามีความดีเป็นที่สุดขนาดหนัก ถ้ามีจิตทรงความดีขนาดกลาง เขาบอกว่ายิงของเขาไม่ออก ถ้าว่าทรงความดีขนาดเบา ใจยังเบาอยู่ ยังไม่เข้าถึงที่สุด ยิงไม่เข้า เขาว่าอย่างนั้น ความจริงก็เป็นไปตามนั้น เพราะเคยไปด้วยกัน เขาปลอดจากอันตรายจากสรรพาวุธทุกอย่าง ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงอย่าวางใจ จงอย่าประมาทในชีวิต จงคิดว่าคุณของพระพุทธเจ้า คุณของพระธรรม คุณของพระสงฆ์ทั้ง ๓ ประการ จะสามารถทรงเราให้มีชีวิตอยู่ได้ นี่กล่าวโดยเฉพาะ ถ้าเราสิ้นอายุขัย การนำถึงความดีขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะทำให้เราพ้นทุกข์

ฉะนั้น นับตั้งแต่นี้ต่อไป ตั้งใจไว้ว่า จนกว่าจะสิ้นปี พ.ศ.๒๕๑๙ ที่เต็มไปด้วยความวิกฤตทุกทิศของโลกจะเต็มไปด้วยความเร่าร้อน เราจะยึดเอาคุณความดีขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไว้เป็นประจำ คือ คำภาวนาว่า พุทโธ พุทโธ เป็นปกติ ถ้าเป็นอย่างนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะมีความสุขในชีวิต คือ จิตของท่านจะทรงสมาธิ อำนาจบารมีของพระพุทธเจ้าจะทำจิตใจของท่านให้เยือกเย็นมีความสุข อันตรายจะเกิดขึ้นกับท่านทั้งหลายก็จะพ้นภัย และด้วยอำนาจของพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ แต่ถ้าชีวิตอายุขับที่จะสิ้นไปเมื่อไร ความดีขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะบันดาลให้เราพ้นอบายภูมิทั้ง ๔ ประการ คือ ไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน อย่างเลวที่สุด เราก็จะเป็นเทวดา ถ้าจิตใจมีสมาธิแรงกล้า เราจะเข้าถึงการเป็นพรหม ถ้าจิตของเราโดยนิยมไม่ยึดในขันธ์ห้า หรือว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา จิตเราเกาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน เราจะไปที่นั่น เอาใจตรงนี้ยึดองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดานั่นเอง ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วพุทธบริษัททั้งหลายถ้าจะพ้นจากกิเลสจะเข้าถึงพระนิพพานได้
 
เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับปีเก่าจะสิ้นไป ปีใหม่จะเข้ามา ขออำนาจพุทธบารมีขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน และพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมไปด้วยพระอริยสงฆ์ทั้งหมดที่มีความเคารพในองค์สมเด็จพระบรมสุคตศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่สุด จงปกปักรักษาบรรดาท่านพุทธบริษัททุกที่านให้มีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย ขอให้ปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งหมด ภัยใด ๆ ที่ปรากฎต่อโลกจงอย่ามีกับพุทธบริษัท ขอให้จิตใจของท่านพุทธบริษัทมีความปลอดโปร่งพ้นจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปทาน เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ในชาตินี้
 
เราท่านพุทธบริษัททุกท่าน กาลเวลาที่จะพูดก็เลยมาแล้ว ต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจงปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ยึดอานาปานสติเป็นอารมณ์ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ หรือว่าท่านพุทธบริษัทท่านใดจะพิจารณาวิปัสสนาญาณ กรรมฐานบทใดไปตามควมประสงค์จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 48.0.2564.103 Chrome 48.0.2564.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #32 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2559 14:56:38 »


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๓๓ อานาปานสติ

บัดนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานศีลและสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อนี้ไปก็เป็นโอกาสที่บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายจะพึงกำหนดจิตให้เป็นสมาธิวิปัสสนาญาณ

สำหรับวันนี้ก็จะพูดถึงอานาปานสติกรรมฐานต่อ แต่ว่าก่อนที่บรรดาท่านพุทธบริษัทจะใช้อารมณ์เป็นอานาปานสติกรรมฐานหรือว่ากรรมฐานกองใดก็ตามที่ได้เคยศึกษามา ในตอนต้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัทกำหนดใจหาความจริงของขันธ์ห้าไว้เป็นปกติ ความจริงที่เราควรจะยอมรับนับถือที่เราเรียกว่าอริยสัจ กล่าวโดยย่อ คือ อนิจจัง-ความไม่เที่ยง ทุกขัง-ความทุกข์ อนัตตา-การสลายตัว

เมื่อความเกิดมีขึ้นในร่างกายย่อมมีความเปลี่ยนแปลงเป็นปกติ คือ จากความเป็นเด็กหถึงความเป็นผู้ใหญ่ ความมีสภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์บริบูรณ์เข้าถึงความเสื่อม การทรงตัวในฐานะเป็นคนปกติมาถึงความเป็นคนป่วยไข้ไม่สบาย จากความเป็นหนุ่มเป็นสาวมาถึงคราวเป็นคนแก่ นี่เรียกว่าความเสื่อม คือความไม่เที่ยง ความไม่เที่ยงอย่างนี้ย่อมมีเป็นปกติธรรมดาของคนและสัตว์ที่เกิดมาในโลก

แต่ความไม่เที่ยวปรากฎมันก็มีความทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจเกิดขึ้น เราไม่ต้องการความไม่เที่ยง แต่ความไม่เที่ยงมันก็จะต้องมี เราห้ามอาการมันไม่ได้เพราะมันเป็นปกติธรรมดา ถ้าเราไม่ใช้ปัญญาพิจารณาหาความจริง อารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดตรงไหน เกิดตรงที่เราไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เราไม่ต้องการความป่วยไข้ของร่างกาย เราไม่ต้องการควมปรารถนาไม่สมหวังที่เกิดขึ้นกับจิต แต่มันก็ต้องมี มีความไม่ต้องการความไม่ปรารถนา การมีอารมณ์ความรู้สึกฝ่าฝืนอาการที่เป็นไปตามปกติ อย่างนี้เรียกว่าคนที่ไร้ปัญญา ขาดการพิจารณาหาความจริง เมื่อขาดการพิจารณาตามความเป็นจริง เมื่อความจริงมาปรากฎเราไม่ต้องการ ความทุกข์มันก็เกิด เพราะมันมีอารมณ์ฝืน

เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เรายอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง เรามีอารมณ์รู้อยู่เสมอว่าเมื่อความเกิดมีขึ้นแล้ว ความเปลี่ยนแปลงมันย่อมปรากฎ ความแก่เข้ามาถึง ความป่วยไข้ไม่สบายเข้ามาถึง ความตายจะเข้ามาถึงในที่สุด อาการพลัดพรากจากของรักของชอบใจยังมีอยู่ ในเมื่อจิตของเรายอมรับความเป็นจริง ยอมรับนับถือกฎธรรมดาแบบนี้แล้ว ถ้าอาการเหล่านี้ทั้งหลายปรากฎ จิตเราก็มีความสบาย เรารู้อยู่แล้วว่าอาการมันจะต้องเป็นอย่างนั้น ต่อมาเมื่อความตายมันเข้ามาถึงเรา ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าอะไร เพราะว่ามันเกิด แก่ เจ็บแล้วก็ตายในที่สุด เป็นอันว่า ความเกิดมีขึ้นก็มีความตายคู่กันเป็นของธรรมดา

เมื่อความตายมันมีแล้ว ก็หันไปพิจารณาร่างกาย มันเป็นเราเป็นของเราจริงหรือเปล่า ก็จะเห็นว่าร่างกายมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เพราะว่ามันมีความเกิดในเบื้องต้น มันมีความแก่ในท่ามกลาง มีการแตกสลายไปในที่สุด เราไม่ต้องการอย่างนั้น แต่เราก็ไม่สามารถจะห้ามปรามมันได้ ถ้ามันเป็นเราจริงเป็นของเราจริง เราก็ห้ามมันได้ ในเมื่อเห็นว่ามันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ถ้าเราจะหลงความเกิดต่อไป เราก็ต้องพบกับความตายอย่างนี้อีก นี่ พระพุทธเจ้าท่านให้วางภาระในการเกิดเสีย เมื่อเราไม่เกิดมันก็ไม่ตาย

แล้วการที่เราไม่เกิดเราจะทำอย่างไร เราก็ต้องทำจิตให้บริบูรณ์ไปด้วยทาน ตัดโลภะ-ความโลภ จิตบริบูรณ์ไปด้วยศีล ตัดโทสะ-ความโกรธ เพราะศีลจะมีได้เพราะอำนาจเมตตาบารมีเป็นสำคัญ แล้วก็ตัดความหลงการยึดถือสภาพร่างกายเป็นเราเป็นของเราเสีย ถือว่ามันมีความเกิดในเบื้องต้น ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง มีความแตกสลายไปในที่สุด อย่างนี้เป็นภาระที่มีความทุกข์ อย่างนี้เราไม่ต้องการมันอีก ไม่ยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นเราเป็นของเราต่อไป ทีนี้จิตใจของเราก็มีความสุข นี่พูดถึงวิปัสสนาญาณโดยย่อควรคิดไว้เป็นปกติ แล้วควรคิดให้มันแนบเนียนไปกว่านี้ แต่นี่มันเบื้องต้นธรรมดา ท่านพุทธศาสนิกชนคิดได้ก็จะมีความสบายใจขึ้นมาก
 
ทีนี้อารมณ์ที่จะทรงวิปัสสนาญาณได้จริง ๆ อารมณ์ของบรรดาท่านพุทธบริษัทชาย-หญิงจะต้องมีสมาธิจิตเป็นสำคัญ ต้องระงับอารมณ์ฟุ้งซ่านให้สิ้นไป ไม่ยอมให้อารมณ์ใด ๆ เข้ามายุ่งกับร่างกาย ในเมื่อเราพิจารณาวิปัสสนาญาณ การระงับอารมณ์ฟุ้งซ่านนั้นองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่าต้องใช้อานาปานสติกรรมฐานเป็นสำคัญ เพราะอานาปานสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานที่ระงับอารมณ์ฟุ้งซ่านของจิต อานาปานสติกรรมฐานก็คือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เมื่อเวลาที่จิตมันซ่านจริง ๆ ก็ไม่ต้องใช้คำภาวนา ใช้กำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกเป็นสำคัญอย่างเดียวเท่านั้น ถ้ามันซ่านจริงถ้าเราภาวนามันจะยิ่งซ่านกันใหญ่

ทีนี้การกำหนดลมหายใจเข้าออกทำอย่างไร ตั้งใจไว้โดยเฉพาะเวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก นี่เบื้องต้น นี่เริ่มฝึกในจุดต้น ถ้ากำหนดรู้โดยเฉพาะ ให้รู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าสั้นหรือยาว อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้เป็นด้านของมหาสติปัฏฐานสูตร เรียกว่าเป็นพื้นฐานของสุกขวิปัสสโก ถ้าหากเราต้องการศึกษาเพื่อเตวิชโช คือ วิชชาสาม ฉฬภิญโญ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทัปปัตโน ปฏิสัมภิทาญาณ ก็ต้องกำหนดฐานลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้าลมหายใจกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบจมูกหรือริมฝีกปาก ถ้าคนริมฝีปากเชิด ลมจะกระทบริมฝีปาก ริมฝึกปากคุ้มจะกระทบจมูก
 
การเจริญอานาปานสติกรรมฐานนี้แยกออกเป็น ๒ ประเภทด้วยกันตามขั้นสุดท้าย ถ้ารักแค่สุกขปัสสวิโกก็ไม่ต้องกำหนดลม ๓ ฐาน ถ้าจะใช้สมาธิให้ได้ถึงวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณ ก็ใช้ ๓ ฐาน ให้เลือกเอาตามอัธยาศัย นี่การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกมันเป็นของยาก ถ้าเราพูดกันนี่มันไม่ยาก เวลาทำจริง ๆ มันยากเพราะว่าจิตของเรามันชอบซ่านชอบคิดเป็นปกติ จิตมีสภาพกลับกลอกดิ้นรนตลอดเวลา มีความไวมาก การจะบังคับจิตให้อยู่นิ่ง ๆ เหมือนบังคับลิงไม่ให้มันเคลื่อนไหว มันก็ยากเหมือนกัน แต่ทว่ามันก็ไม่เกินวิสัยที่เราจะทำได้
 
ในระดับแรก ถ้าเราบังเอิญเราไม่เคยปฏิบัติทางด้านจิตกับสมาธิ ท่านให้ใช้เวลาสั้น ๆ อย่าใช้เวลายาวเกินไป โดยตั้งใจไว้ว่าในช่วงเวลาเพียงเท่านี้ เราจะไม่ยอมให้อารมณ์จิตคิดเรื่องอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่เรากำหนดไว้ว่ารู้ลมหายใจเข้าออก ถ้าจิตมันไม่ฟุ้งซ่านเพียงใดจะควบคำภาวนาใด ๆ ก็ได้ตามอัธยาศัย แล้วให้ทรงอยู่เฉพาะอย่างนั้น เพราะจะกำหนดจิตไว้ว่า ๑๐ ช่วง เฉพาะลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าหายใจออกนับเป็นหนึ่ง เข้าออกอีก ๑ คู่นับเป็น ๒ อย่างนี้เป็นต้น แล้วก็ช่วงจังหวะ ๑๐ คู่ของลมหายใจเข้าลมหายใจออก เราจะไม่ยอมให้จิตคิดถึงเรื่องอื่นอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งหมด นอกจากแต่เพียงว่ารู้ลมหายใจเข้าออก อย่างนั้นก็ดี หรือว่าเราจะใช้พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติควบก็ได้ไม่บังคับ ถ้าจิตมันซ่านเกินไป ท่านใช้พุทธานุสสติควบ เวลาหายใจเข้านึกว่าพุธ เวลาหายใจออกนึกว่า โธ อย่างนี้ก็ได้ หรือว่าจะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ นี่สอนเลย อานาปานสติ แต่ก็ไม่เป็นไรมันไม่ผิด ถ้าจิตไม่ซ่านเกินไปก็ใช้ได้ ในชั่วช่วง ๑๐ คู่ของลมหายใจเข้าออก หรือบางทีท่านพุทธบริษัทที่ฝึกใหม่ก็อย่าให้มันน้อยเกินไป เราอย่าถือปริมาณของเวลาเป็นสำคัญ การเจริญพระกรรมฐานควรจะถือคุณภาพเป็นสำคัญ การใช้ปริมาณของเวลานั่งครึ่งชั่วโมง หนึ่งชั่วโมง สองชั่วโมง สามชั่วโมง ถ้าหากจิตซ่านล็อกแล็ก ๆ หาการทรงตัวไม่ได้ มันก็จะมีสภาพไม่ต่างอะไรกับการเอาตะกร้าไปตักน้ำ ตักทั้งวันทั้งคืนไม่มีน้ำติดขึ้นมา อย่างดีที่สุดก็เป็นตะกร้าเปียก ๆ เท่านั้น สู้เราเอาจอกเล็ก ๆ เข้าไปตักจ้วงทีเดียวน้ำติดขึ้นมาหน่อยหนึ่งไม่ได้ ไม่ต้องเสียเวลามาก ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ท่านนักปฏิบัติพระกรรมฐานหวังเอาความดีกันจริง ๆ นี่เราพูดเอาดีกันจริง ๆ ตามที่เขาปฏิบัติกันมามันมีผล เขาใช้เวลาน้อย ๆ อย่าให้มากนัก แต่ว่าไม่ใช่เกณฑ์ให้น้อยเสมอไป คือใช้เวลาช่วงสั้น ๆ สัก ๑๐ คู่ของลมหายใจเข้าออก ในช่วง ๑๐ คู่นี้เราจะไม่ยอมให้จิตคิดอย่างอื่นเลย ถ้าเราจะไม่ภาวนาด้วย หรือว่าภาวนาด้วย จิตจะอยู่เฉพาะภาวนาที่เราต้องการ ถ้าบังเอิญในช่วง ๑๐ คู่นี่ในระหว่างที่มันไม่ทันถึง ๑๐ จิตมันแวบไปสู่อารมณ์อื่น พอรู้สึกตัวมันเริ่มต้นใหม่ ทรมานมันเสีย อย่าตามใจมัน อย่างนี้ใน ๑ ถึง ๑๐ ภาวนาไป ก็จับลมหายใจได้ ๑ คู่ จะนับนิ้วมือก็ได้ ให้จิตมันทรงตัว คือบังคับให้จิตอยู่ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เรียกว่าสมาธิ แล้วถ้าบังเอิญนับ ๑ ถึง ๑๐ แล้วมันยังดีอยู่ เราถือว่าเป็นทุนที่เราตั้งใจไว้ จิตยังไม่ซ่านนับต่อไปอีก ๑๐ ตอนนี้ถือว่าเป็นกำไร ถ้านับต่อไปถึง ๑๐ ยังดีอยู่ ก็นับต่อไปอีก ๑๐ การที่จะคิดว่าการนับอยู่นี่จะเป็นสมาธิได้อย่างไร อารมณ์แนบสนิทในสมาธิไม่ต้องรู้อะไร ถ้าคิดอย่างนี้ผิดถนัด
 
การรู้ลมหายใจเข้าออก รู้อยุ่ ๑ ถึง ๑๐ เราคิดว่าเรากำหนดรู้เพียงเท่านี้ ถ้าจิตมันทรงอยู่แบบนี้ เขาเรียกกันว่าสมาธิ เพราะว่าสมาธิแปลว่าความตั้งใจมั่น คือว่าตั้งใจไว้ว่าจะรู้อะไรเราก็รู้อยู่เท่านั้น เราเรียกกันว่าสมาธิ คือ เวลาฝึกใหม่ ๆ ท่านทั้งหลายอย่าใช้เวลามาก คือว่าเราจะไม่ต้องการไม่บังคับในการใช้เวลามาก ถ้าจิตยังทรงอารมณ์ดีอยู่ จะทรงอยู่เท่าไรก็ได้ไม่ห้าม ถ้าเห็นวาอารมณ์จิตซ่านเกินไป ทำอย่างไรมันจึงจะหยุดหรือควรจะปฏิบัติอย่างไร นี่มีความสำคัญมาก ต้องฟังคำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำถึงการบังคับจิตไม่ให้อารมณ์จิตซ่าน
 
นักปฏิบัติ ถ้าเขาฉลาดละก็ เรื่องสมาธิไม่เป็นของยาก โดยเฉพาะอานาปานสตินี่ก็ต้องใช้เวลาพูดหลายคืนหน่อย เพราะว่าเวลาพูดแต่ละคืนมีจำกัด ถ้าอารมณ์จิตดี ซ่านจริง ๆ ก็มีวิธีปฏิบัติอยู่ ๒ อย่าง ถ้าซ่านจริง ๆ บังคับไม่ไหวจริง ๆ ให้เลิกเสียอย่างหนึ่ง อย่าฝืนทำต่อไป จิตมันจะดิ้นรน ถ้าจิตมันซ่านเราบังคับไม่ได้มันจะกลุ้ม ความกลุ้มเกิด ความกระวนกระวายปรากฎ ความทุกข์กายไม่สบายใจปรากฎ ดีไม่ดีถ้าคิดมากไปก็เลยกลายเป็นโรคเส้นประสาท ไอ้ที่ทำกรรมฐานแล้วคลั่งขาดสติสัมปชัญญะ เพราะไม่รู้จักการประมาณตัวเป็นสำคัญ ยังมีวิธีหนึ่ง ถ้ามันซ่านจริง ๆ พระพุทธเจ้าให้เลิกเสีย
 
แล้วมีอีกวิธีหนึ่ง พระพุทธเจ้าแนะนำให้ใช้การยืดหยุ่น การยืดหยุ่นเป็นของสำคัญ อันนี้เคยปฏิบัติมาแล้วทั้ง ๒ อย่าง มันมีผลจริง ๆ แต่ว่าวิธีที่ ๒ นี้ เป็นวิธีที่อาตมาชอบที่สุด แต่ว่าทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นวิธีของพระพุทธเจ้าที่จะต้องการอย่างไหนก็ได้ วิธีที่ ๒ พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ว่าถ้าบังคับไม่หยุดจริง ๆ บังคับไม่อยู่แน่ ๆ เว้นไว้แต่เพียงว่าถ้าเราเป็นพระอริยแล้วขึ้นไปถึงอรหัตผล หรือว่าเป็นผู้ทรงฌานได้จริง ๆ ก็บังคับได้ชั่วระยะเวลา ยามว่างเข้าเวลาปกติก็ดิ้นรนตึงตัง ๆ ถ้าเป็นพระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันไปมันยังไม่หมดได้ แต่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของกุศล อกุศลไม่มี ถ้าถึงพระอรหันต์แล้วสบายมาก วันทั้งวันสบาย น้อมอยู่ในกุศลตลอดเวลา มีแต่ความเยือกเย็นของจิต
 
หวนกลับมาวิธีที่ ๒ ถ้ามันซ่านจริง ๆ พระพุทธเจ้าบอกให้ปล่อยให้มันคิดไปส่งเดชเลยเพราะบังคับ ๆ ไม่อยู่ มันอยากจะคิดอะไรก็เชิญคิดตามอัธยาศัย อย่าขัดคอมัน แต่ตั้งใจไว้เลยว่ามันเลิกเมื่อไรจะเริ่มต้นกันใหม่ วิธีนี้เป็นวิธีที่มีความสำคัญมาก เหมือนคนที่บังคับม้าพยศ ถ้าม้ามันพยศมันยังมีกำลังอยู่ไม่สามารถจะบังคับให้เข้าทางได้ ท่านบอกให้กอดคอถือแส้เข้าไว้ มันจะไปไหนให้มันวิ่ง ปล่อยให้มันวิ่งให้มันหมดฤทธิ์ ในเมื่อมันหมดฤทธิ์ที่มันจะวิ่งไปได้แล้ว กำลังมันก็น้อย เราจะบังคับให้มันวิ่งไปสบาย ไปขวา ไปหน้า ไปหลังก็ได้ เพราะหมดแรงพยศ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด จิตของเราก็เหมือนกัน ถ้ามันจะฟุ้งบังคับไม่อยู่ ก็เชิญมันคิดตามอัธยาศัย ลองดูนะ ลองดูแล้ว ลองดูหลายครั้ง เพราะว่าตอนระยะแรกๆ คุมมันไม่อยู่เหมือนกัน ก็เลยปล่อยให้มันคิดไปตามที่ท่านแนะนำมันก็ไม่เกิน ๑๕ นาทีถึง ๒๐ นาที มันเลิกคิด ปล่อยไปตามอัธยาศัยจะเข้าบ้านเข้าช่องใครก็ช่างหัวมัน พอมันเลิกคิดก็กลับมาจับอารมณ์ใหม่ คราวนี้มาจับอารมณ์เพียงวินาที หรือสองวินาที อารมณ์มันจะหยุดซ่านทันที เพราะมันเหนื่อย อารมณ์จะดิ่งเป็นฌานนานแสน บางทีชั่วโมงหรือครึ่งชั่วโมง มันยังไม่ถอน อารมณ์จะเงียบจริง ๆ จะทรงเป็นสมาธิจริง ๆ
 
วิธีทั้งสองประการขอบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ทั้งชายหญิง และพระภิกษุสามเณร จงพยายามกำหนดเอาชนะจิตด้วยวิธีนี้ คือว่า สู้มันไม่ไหวจริง ๆ ปล่อยมันคิด ถ้ามันเลิกคิดแล้วดึงมันกลับเข้ามาสู่ลมหายใจเข้าออกภาวนาด้วยก็ได้ อันนี้จิตจะแนบสนิทเป็นฌานได้อย่างดีมาก อันนี้คำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องพยายามประพฤติปฏิบัติตลอดเวลา เพราะเป็นวิธีเดียวกับที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติมาแล้วก็มีผล ตลอดจนท่านอริยชนทั้งหมดคือพระอริยเจ้าที่บรรลุมาแล้วก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระพิชิตมารก็มีผลเช่นเดียวกัน ไม่ควรจะทอดทิ้งเสีย ควรจะยึดถือเอาไว้ปฏิบัติเพราะอานาปานสติกรรมฐานเป็นตัวคุมอารมณ์จิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ตัวนี้เป็นกรรมฐานสำคัญมาก เราจะเจริญวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทา ทำกสิณ ทำอสุภะ อะไรก็ตามถ้าไม่ยึดอานาปานสติกรรมฐาน จิตมันจะไม่ลงเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้น อานาปานสติกรรมฐานจึงถือเป็นกรรมฐานใหญ่อย่างยิ่ง ครอบกรรมฐานทั้งหมด เพราะฉะนั้น ในมหาสติปัฏฐานสูตร องค์สมเด็จพระบรมสุคตจึงขึ้นอานาปานสติกรรมฐาน พอเริ่มต้นก็สอนอานาปานสติกรรมฐานก่อน เป็นการคุมใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เวลากาลที่เราจะพูดกันก็หมดลงแล้วก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้
 
ต่อไปนี้ก็ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กุมภาพันธ์ 2559 14:58:15 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 48.0.2564.103 Chrome 48.0.2564.103


ดูรายละเอียด
« ตอบ #33 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2559 14:59:05 »

กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๓๔ อาณาปานสติ (ต่อ)


สำหรับวันนี้ก็จะได้พูดถึงอานาปานสติต่อ แต่ว่าก่อนที่จะพูดอะไรทั้งหมดรับฟังอะไรทั้งหมด ก็จงอย่าลืมให้พิจารณาไว้เสมอว่า พิจารณาไว้เป็นปกติว่า อัตภาพนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ เป็นเพียงร่างกายที่มาอาศัยชั่วคราว เมื่อความเกิดมีขึ้นแล้วก็มีความแปรปรวน มีความป่วยไข้ ความแก่ ไม่สบาย มีการสลายตัวไปในที่สุด ขณะใดที่มีอัตภาพอยู่ ขณะนั้นชื่อว่าเรามีความทุกข์ ฉะนั้น เราไม่ต้องการอัตภาพนี้อีก ความปรารถนาในความเป็นมนุษย์ก็ดี ความเป็นเทวดาก็ดี ไม่เป็นเหตุให้หมดทุกข์ เราไม่ต้องการ สิ่งที่เราต้องการคือพระนิพพาน และตั้งใจไว้เสมอว่าเรายอมรับนับถือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเหตุผล และจะใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง จะได้เกิดความมั่นใจว่าพระพุทธเจ้าสอนจริงถูกจริง อย่าน้อมใจเชื่อ เมื่อเราไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทำใจให้เข้าถึงคุณพระรัตนตรัย ยอมรับนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ด้วยความจริงใจ สำหรับพระสงฆ์นี้ต้องเลือกนะ เพราะถือว่าตั้งแต่พระอริยสงฆ์ขึ้นไป แต่ถึงแม้ว่าสงฆ์ที่เป็นปุถุชนเราก็ไม่ดูถูก หากว่าองค์ไหนไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเราก็งดเว้นการยอมรับนับถือเสีย เพราะอันนั้นเป็นการยอมรับนับถือโจรให้ปล้นพระพุทธศาสนา ตัดการสงเคราะห์เสีย ดูตัวอย่าง เช่น อนาถบิณฑิกคหบดีตัดการสงเคราะห์พระสุธรรมเถรเพราะการปฏิบัติไม่ดี อันนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ช่วยกันกำจัดโจรร้ายที่ปรากฎในพระพุทธศาสนา แต่นี้ในเมื่อเรายอมรับนับถือความดีของพระสงฆ์คือพระอริยสงฆ์ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปด้วยความมั่นคงถือว่าเป็นสรณะ จากนั้นก็พยายามรักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ สำหรับศีลแปดนี้ก็ให้เป็นไปตามกาลตามสมัย แต่ว่าบุคคลใดจะรักษาได้ก็เป็นการดี บุคคลใดรักษาศีลห้าเป็นปกติ มีจิตใจยอมรับนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างมั่นคง อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่าท่านเป็นพระโสดาบัน จำองค์พระโสดาบันไว้ให้ครบว่า

เรายอมรับนับถือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่มีข้อสงสัย การที่จะไม่สงสัยก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาเสียก่อนว่าพระพุทธเจ้าสอนเกิด แก่ เจ็บ ตาย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเป็นความจริงไหม ถ้าจริง เชื่อได้ ใจเรายึดถือได้มั่นคงก็ยอมรับนับถือคำสอนของพระพุทธเจ้ายอมรับนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในเมื่อเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นของมีจริง เราต้องการพ้นจากการเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อย่างแรกเราปิดอบายภูมิเสียก่อน โดยที่ไม่ยอมเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ก็เพราะว่าเรามีศีลห้าบริสุทธิ์ เรียกว่าศีลห้าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ให้ระมัดระวัง ทรงให้ได้ ความเป็นพระโสดาบันจะเข้าถึงเรา สำหรับการเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูงเอาไว้ว่ากันทีหลัง อันดับแรกเป็นพระโสดาให้ได้เสียก่อนเท่านี้ดีพอแล้ว แล้วก็อย่าเพ่อหยุดยั้งตั้งใจระงับกิเลส ทำลายกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปทานจริง ๆ แล้วอารมณ์ใจจุดนี้ก็ควรรักษาไว้ตลอดชีวิตและทุกลมหายใจเข้าออกว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นธาตุสี่ เป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราว ไม่ช้ามันก็สลายก็พัง ปกติมันก็เต็มไปความสกปรกโสมม มันเป็นแดนนำมาซึ่งความทุกข์ เราไม่ต้องการมันอีก ขึ้นชื่อว่าความเป็นมนุษย์ก็ดี ความเป็นเทวดาก็ดี ไม่เป็นแดนที่หมดทุกข์ เราไม่ต้องการ เราต้องการความสิ้นทุกข์ คือ พระนิพพาน แล้วทำจิตให้มั่นในคุณพระรัตนตรัย รักษาศีลห้าให้เป็นปกติเป็นการป้องกันอบายภูมิไว้ก่อน พระโสดาบันคุ้มตัวได้เพียงไม่ลงอบายภูมิ แต่ก็ต้องเกิดเป็นมนุษย์กับเทวดา แต่ว่าจำกัดเขต อันนี้ชื่อว่าเราเข้าถึงความดี องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์เบื้องแรกก็ได้กระแสพระนิพพาน คือพระโสดาบัน มั่นใจเหยียบหัวหาดเข้าไว้ ยึดให้ได้ต่อไปก็ตะลุยเข้าถึงพระอรหัตผล วันนี้ก็จะขอพูดถึงอานาปานสติกรรมฐานต่อไป การใคร่ครวญแบบที่จะพูดต่อไปนี้ท่านจะไม่ภาวนากรรมฐานกองไหนเลยก็ยิ่งดี พิจารณาตามนั้นเป็นการตัดกิเลสโดยเฉพาะ
 
วานนี้เราพูดถึงอานาปานสติกรรมฐานเข้าถึงฌานสี่ หวังว่าพอเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจไปพลิกหนังสือดู ทีนี้เมื่ออานาปาน์เข้าถึงฌานสี่แล้ว เราก็ทำกรรมฐานอีกสามสี่ห้ากอง กองไหน นี่เป็นของง่าย เราจะต้องฝึกซ้อมฌานสี่ให้มีความคล่องแคล่ว เข้าเมื่อไรออกเมื่อไรให้มีการทรงตัวตามอัธยาศัย จึงค่อยย้ายไปหาฌานอื่น นี่เป็นแต่เพียงอานาปานสติกรรมฐานอย่างเดียว ถ้าเราเข้าถึงฌานสี่หรือเข้าไม่ถึงฌานสี่ก็ตาม ถามว่าจะไปนิพพานได้ไหม อันนี้ก็ต้องขอตอบว่าได้ ใช้อานาปานสติอย่างเดียวเป็นพื้นฐาน เป็นกำลังแค่ขณิกสมาธิก็ดี อุปจารสมาธิก็ดี ปฐมฌานก็ดี เราทำวิปัสสนาญาณควบคู่กันไป แต่ความจริงมันต้องคู่กันทุกบท ไม่ว่ากำหนดกรรมฐานกองใดก็ต้องยึดอารมณ์วิปัสสนาญาณไว้ให้ควบคู่ ให้ทรงตัวอยู่ด้วยกัน
 
การที่เรามีอานาปานสติกรรมฐานเข้ามาเป็นวิปัสสนาญาณ เราทำได้อย่างไร ความจริงอานาปานสติกรรมฐานจริง ๆ เป็นวิปัสสนาญาณไม่ได้ นอกจากว่าเราดัดแปลงให้เป็นวิปัสสนาญาณเท่านั้น แล้วก็มีผลเท่ากัน

คือในอันดับแรกอานาปานสติกรรมฐาน เราอาศัยการทรงจิตให้อยู่ตัวเสียก่อน ให้จิตมันไม่กระสับกระส่ายในอารมณ์อื่น ด้วยอำนาจอานาปานสติเป็นเครื่องควบคุม
 
เมื่อจิตสบายแล้วก็มาน้อมถึงกาย คือมาน้อมถึงลมหายใจเข้าออก ว่าลมหายใจเข้าก็ดีออกก็ดี ว่ามันไม่ใช่ของเก่า เราดึงลมข้างนอกหายใจเข้ามาช่วยบริหารร่างกายภายใน เมื่อปอดขยายตัวแล้ว การทำงานของอวัยวะภายในทรงตัว เวลาหายในออกลมหายใจในท้องออกไป และหายใจเข้าใหม่ ความจริงมันไม่ใช่ลมเก่า มันเป็นลมใหม่ ส่วนของเก่ามันก็หมดไป ของใหม่เข้ามาแทนที่ ชีวิตเรายังทรงอยู่ได้
 
นี่เรามานั่งพิจารณาว่าถ้าเราหายใจออกแล้วเราไม่หายใจเข้ามันจะเป็นอย่างไร หรือหายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกมันจะเป็นอย่างไร ก็ต้องตอบว่าตาย ถ้าขาดลมหายใจเสียอย่างเดียวก็ต้องตาย ที่เราทรงอาการอยูได้เพราะอาการสันตติ คือความสืบต่อของชีวิต ลมหายใจเข้าหายใจออกท่านกล่าวว่าเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่เรียกว่าผัสสาหาร คืออาหารของการสัมผัส ถ้าขาดอาหารจุดนี้เสียแล้ว จะมีอาหารจุดไหนก็ตาม มีกินมีใช้เท่าไรก็ตาม ไม่มีประโยชน์ การที่เราทรงชีวิตอยู่ได้ก็เพราะอาศัยการหายใจเข้าหายใจออกไม่หยุด มันติดต่อตลอดไป ถ้าอาการหายใจเข้าหายใจออกหยุดเมื่อไรเราก็ตาย หรือถ้าหายใจออกแล้วไม่หายใจเข้า หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออก มันก็ตายหมดชีวิตกัน
 
ชีวิตที่มันต้องสลายไปมันเป็นเราเป็นของเราหรือเปล่า ชีวิตที่มันเป็นเรามันเป็นของเรามันเป็นความเป็นอยู่แต่ขันธ์ห้าคือร่างกายล่ะมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราเสียแล้ว เรามาอาศัยอยู่ ขันธ์ห้ามันก็สลายตัวมันก็พังไปสิ้นลมปราณเรียกกันว่าเป็นผีไป นี่เราก็มานั่งดูการเกิดไปเป็นคนแล้วก็ไปเป็นผี เป็นผีแล้วก็กลายเป็นคน เป็นคนแล้วก็กลายเป็นผี มันไม่มีอะไรจะสนุก ถ้าเป็นผีดี อย่างไปเป็นเทวดาหรือเป็นพรหมก็พอทำเนา เป็นผีชั่วอย่างเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต อสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่เป็นเรื่อง มันมีความทุกข์หนัก ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากความหลง คือ โลภะ-ความโลภ หรือราคะ-ความรัก โทสะ-ความโกรธ โมหะ-ความหลง มันอยู่ในใจ
 
เวลานี้เรามีแต่อานาปานสติกรรมฐานมันเป็นอย่างไร เราก็กำหนดทิ้งร่างกายว่าชีวิตของเราไม่ต่างอะไรกับลมหายใจเข้าออก ร่างกายที่มันทรงอยู่ได้ก็เพราะอาหารใหม่เข้าไปเลี้ยง อาหารเก่าสลายตัวไปหมดคุณภาพ ร่างกายต้องการใหม่คือความหิว แสดงความหิวให้ปรากฎ แสดงความอยากให้ปรากฎ ร่างหายหิวแสดงว่าอาหารเก่าที่เข้าไปเลี้ยงร่างกายหมดกำลังหมดสมรรถภาพไปแล้ว ต้องการอาหารใหม่เข้าไปแทนที่ เราก็หาให้ นี่มันก็เหลือลมหายใจ ลมหายใจเก่าหมดไปลมหายใจใหม่ก็พอดีเข้ามา มันทรงตัว ถ้าเราไม่ส่งอาหารใหม่เข้าไปมันก็ตาย พัง เพราะมันขาดการช่วยเหลือ นี่มันเป็นจุดหนึ่งที่เราควรจะคิดเพราะว่าชีวิตของเรานี่มันเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ยังมีความต้องการในอาหาร ความต้องการในอาหารมี ๒ ประเภท คือหิวธรรมดา แสดงว่าอาหารที่ปรนปรือร่างกายหมดสมรรถภาพต้องการอาหารใหม่เข้าไป ทีนี้อารมณ์อยากเปรี้ยว อยากขม อยากเผ็ด อยากเค็ม อยากร้อนอะไรก็ตาม ถ้าอยากเป็นกรณีพิเศษ นั่นก็เป็นความต้องการของร่างกายที่ร่างกายขาดตกบกพร่อง ร่างกายต้องการสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเข้าไปจุนเจือ
 
อันนี้ถ้าหากว่าเราไม่จุนเจือมัน หรือเราจุนเจือมันอยู่อย่างนี้แหละ ถ้าเราบอกอย่าแก่เลยนะ เธออยากจะกินอะไรฉันจะหาให้ มันอยากอะไรเราก็หามาให้มัน อย่ายอมแก่ไหม มันไม่ยอม ไม่ยอมเลิกแก่ มันก็ต้องแก่ไปตามสภาพของมัน
 
ความแก่เราไม่ว่า อย่าป่วยเลยนะ อย่างไรฉันก็ช่วยลูกช่วยหลานดูปลาดูไก่ไปตามเรื่อง เลี้ยงหลานได้ แต่อาการอย่างนี้มันจะเชื่อเราที่ไหน เราจะปรนเปรอมันขนาดไหนก็ตาม หาอาหารอย่างดีมาให้มันก็ไม่เกิดประโยชน์ ไม่เกิดประโยชน์ มันอยากจะป่วยเสียอย่างมันก็ป่วย นี่แสดงถึงการที่เราบังคับไม่ได้
 
จะป่วยก็ไม่ว่าละ จะนอนซมอยู่กับบ้านมีลืมตาเห็นลูกหลานคุยกับลูกคุยกับหลาน มองดูทรัพย์สินที่เราหาได้ อย่าตายเลยนะ เอาแค่ป่วยก็แล้วกันต่อไปมันเชื่อไหม มันก็ตาย
 
นี่หากว่าเราจะเกิดมาใหม่มันก็มีสภาพแบบนี้ถ้าเป็นคน เป็นสัตว์ก็มีสภาพเหมือนคน มีเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน เป็นเทวดาหรือพรหมถ้าหากหมดบุญวาสนาบารมีก็ต้องหล่นลงมา ดีไม่ดีเลยไปหานรก เพราะกรรมที่เป็นอกุศลมันมีอยู่ นี้เราจึ่งนำอานาปานสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่องค์สมเด็จพระบรมครูสอนว่าเวลาหายใจเข้านึกว่าพุท หรือโธก็ตาม หายใจออกนึกยังไงก็ตาม แล้วกลับมาพิจารณาใหม่ ว่าลมหายใจเข้าหายใจออกนี่มันเป็นอนิจจังนะ มันเป็นของไม่เที่ยง ถ้ามันเที่ยงจริง ๆ มันก็ไม่ต้องหายใจเข้าใหม่หรือไม่ต้องหายใจออกใหม่ อันนี้มันไม่ทรงตัว ไอ้การไม่ทรงตัวแบบนี้มันก็ต้องทุกข์ ถ้าบังเอิญจมูกหายใจไม่ออกต้องหายใจทางปากมันก็ทุกข์ หรือจมูกหายใจได้ข้างหนึ่งไม่เต็มสองข้าง อย่างนี้เราก็ทุกข์ และต่อไปแม้ว่าเราจะบำรุงร่างกายสักเท่าไรก็ตามแต่ร่งกายมันแก่ไปมากกว่านี้เราก็ทุกข์ เป็นอันว่าการเกิดนี้มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ ลมหายใจเลี้ยงร่างกายเราไว้เพื่อให้ทนต่อสู้กับความทุกข์ เราไม่เอาแล้ว มันทุกข์ เราไม่เอา เราต้องการความสุข
 
ต้องการความสุขทำยังไง แทนที่จะบอกว่าตัดราคะเสีย ตัดโลภะ ตัดโทสะ ตัดโมหะ ความหลง ไม่บอก เอาอย่างนี้ดีกว่า ให้คิดไว้เสมอว่าร่างกายนี้มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ มันไม่เที่ยง และมันสลายตัวไปในที่สุด เราต้องการมันทำไม นั่งนึกดูร่างกายว่าอะไรมันดีบ้าง มองดูแล้วจริง ๆ ด้วยความจริงใจจะเห็นว่าไม่มีอะไรในร่างกายมันทรงตัวอยู่ได้เลย คำว่าดีไม่มี มันมีแต่แก่ลงไปทุกวัน ๆ หาความพัง ก่อนจะพังก็เต็มไปด้วยความทุกข์นานาประการ จากความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ความกระทบกระทั่งจากอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ และมีการสัมผัสที่ไม่เป็นไปตามความปรารถนาทุกอย่างนี่ เราแบกทุกข์ไว้ทั้งหมด แต่เราไม่เป็นทุกข์ นี่เรามองทุกข์แล้วเราทำยังไงดีล่ะ เกิดมีร่างกายไม่ดีแล้วว่าร่างกายมีเพียงใด ความเป็นเทวดาหรือพรหมก็หวังยากเพียงนั้น ไม่ต้องพูดถึงเรื่องนิพพาน ถ้ายังมัวเมาในร่างกายแล้วละก็ ไป แหมลำบาก แล้วก็ไปโน่นแหละ นรก การขึ้นสวรรค์มันก็ไม่มี ทีนี้ทำไง
 
เราก็มานั่งปลงตัวเดียวว่าร่างกายเป็นเพียงธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ ถ้าใจมันยังทรงอยู่ก็ไม่ต้องไปทำลมมันหรอก คิดพิจารณาไปเลย แล้วมันก็สลายตัว เราจะไปมัวยึดถือร่างกายนี้มันเป็นเราเป็นของเราเพื่อประโยชน์อะไร มันอยากจะตายก็เชิญตาย มันอยากจะแก่ก็เชิญแก่ มันอยากจะป่วย ที่เชิญนี่ไม่ใช่อะไร มันห้ามไม่ได้ ถ้ามันเป็นเข้าจริง ๆ แล้วเราก็ไม่ดิ้นรน ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ชื่อว่าเป็นธรรมดาของมัน พอเราจับธรรมดาได้แล้ว พอจิตมันตกอยู่ในธรรมดาเป็นปกติ อย่างนี้เขาเรียกว่าลงทางตรง เข้าทางตรง ความเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา เป็นของไม่ยาก เมื่อจิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดา มีใครเขามายั่วยวนให้เกิดกามราคะถือว่าเป็นธรรมดา แต่ว่าปัจจัยนี้มันเป็นปัจจัยของความทุกข์เราไม่เอาด้วย ใครเขาจะมาแนะนำสั่งสอนให้คดโกงชาวบ้านชาวเมืองเราไม่เอาด้วย นี่ใครเขาบอกว่าจงคิดให้ดีนะ ชาตินี้เกิดแล้วชาติหน้าเราก็มาเกิดกันใหม่ เราสั่งสมบุญบารมีเพื่อความเกิดเป็นมนุษย์ เราก็บอกเขา ไม่เอา ฉันจะไปนิพพาน ฉันต้องการจุดเดียว คือไปพระนิพพาน
 
มองดูตัวทุกข์ให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์จริง และปัจจัยที่ทำลายความทุกข์ได้คือการตัดตัณหาความทะยานอยาก ตัดอยากเสียให้หมด อยากเที่ยว อยากกิน อยากหวาน อยากเฝื่อน อยากทำอะไรก็ช่าง อยากสวย อยากงาม อยากแก่ อยากหนุ่ม เลิกกัน ไม่อยากแล้ว ขี้เกียจ อยากไปเท่าไร ๆ ก็อยากไม่ได้นาน ไม่ช้าก็ตาย ก็เลยไม่อยากต่อไป ทำอารมณ์ว่าเราจะยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเราแล้ว เราจะรักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ เราจะพยายามทำลายกามราคะให้สิ้นไป เราจะพยายามทำลายโทสะให้สิ้นไป นี่เป็นพระอนาคามีแล้ว
 
เราจะไม่เมาในรูปฌาน อรูปฌาน เราไม่ถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขา เลวกว่าเขา เราเสมอเขา ทำใจสบาย ใครมาอย่างไรก็รับรองได้ ไม่ถือว่าใครใหญ่ใครเล็ก เราจะระงับอารมณ์ฟุ้งซ่านด้วยอานาปานสติกรรมฐานคุมไว้ตลอดเวลา ให้จิตจับอยู่เฉพาะพระนิพพานเป็นอย่างเดียว ตัดฉันทะ-ความพอใจในการเกิดเป็นมนุษย์ เป็นพรหม เป็นเทวดา ตัดราคะที่เห็นว่าโลกมนุษย์มีความสวยสดงดงามด้วยอำนาจของความโง่สั่งสอนเราไม่เอา ต่อแต่นั้นเราก็มาตัดราคะ คือความกำหนัดยินดีว่าโลกนี้สวยสดงดงาม พรหมโลกและเทวโลกสวยสดงดงาม เราไม่เอา เราต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วเราก็ดูใจของเรา พิจารณาอารมณ์ของเราว่ารักร่างกายไหม หรือว่าถือเป็นเรื่องธรรมดาที่มันจะพัง ร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรก ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสาร อารมณ์นี้มีกับเราหรือเปล่า มีตลอดวันไหม ถ้าเป็นได้ตลอดวันละก็ ชื่อว่าใจของเราเข้าสู่จุดแห่งพระนิพพานแล้ว
 
เอาละท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ต่อไปนี้ขอให้ท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
 
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 49.0.2623.110 Chrome 49.0.2623.110


ดูรายละเอียด
« ตอบ #34 เมื่อ: 04 เมษายน 2559 14:35:59 »

http://www.bloggang.com/data/p/phaiseethong/picture/1250012292.jpg
กรรมฐาน ๔๐


กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๓๕ อารมณ์สมาธิ

สำหรับวันนี้เรามาสรุปอารมณ์กันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อบรรดาท่านนักปฏิบัติทั้งหลายจะได้มีความเข้าใจหรือเผื่อว่าจะลืมไป สำหรับอารมณ์สมาธินี่ตั้งใจให้ดีนะ จะเป็นกรรมฐานกองใดก็ตาม ในด้านสมถภาวนา เราต้องการอย่างเดียว คือ ทรงสติสัมปชัญญะ คำว่าสติ แปลว่า คอยนึกเข้าไว้ สัมปชัญญะแปลว่ารู้ตัว สติเข้ามานึกไว้ ก็หมายความว่าคอยนึกอยู่เสมอว่า เวลานี้เราเจริญพระกรรมฐานกองไหน สัมปชัญญะ-รู้ตัวว่าเราทรงอารมณ์อยู่อย่างนั้นบ้างหรือเปล่า ว่าเราสามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างนั้นหรือเปล่า มีอะไรบ้างที่เรากำลังควบคุมอยู่
 
เป็นอันว่าการเจริญสมถภาวนาเขาเจริญกันลืม ถ้ามีสติสัมปชัญญะอยู่เป็นปกติก็หมายถึงว่าเราไม่ลืม เพราะกันลืมกัน กันลืมตรงไหน อารมณ์สมถภาวนาจะต้องการอารมณ์สงบของจิต คำว่าสมถะ แปลว่าอุบายเป็นเครื่องสงบจิต หรือทำจิตให้สงบ วิปัสสนาเป็นเครื่องทำให้ปัญญาเกิดขึ้น หรืออุบายเป็นเครื่องเรืองปัญญา คือให้มีปัญญา คำว่าปัญญาในที่นี้ ต่างคนต่างก็มีด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็เจาะจงลงไป เจาะลงไปให้อยู่เฉพาะปัญญา พิจารณารู้เท่าทันตามความเป็นจริงของขันธ์ห้า
 
นี่เรายังไม่พูดกันถึงวิปัสสนา พูดกันเรื่องสมถะ ทำจิตให้สงบ สมถะเป็นอุบายให้จิตสงบตรงไหน จับใจความให้ดี ให้เกิดความเข้าใจชัด เขาสงบกันตรงนี้ คือสงบตรงที่ไม่ปล่อยให้อารมณ์จิตเข้าไปยุ่งกับจริยาของคนอื่น อันดับต้น เมื่อเราจะดี ใครเขาจะดีจะชั่วก็ช่างเขา เราไม่เกี่ยว เขาดีเขาก็ดีของเขา เขาชั่วก็ชั่วของเขา ที่พูดแบบนี้ไม่ใช่หมายความว่าพระพุทธเจ้าดี พระอริยสงฆ์ดีละก็ไม่เอา ไม่ใช่อย่างนั้น นี่เราพูดถึงความดีชั่วตามจริยของโลก ใครเขาจะกินจุ ใครเขาจะกินน้อย เดินก้าวยาวหรือเดินก้าวสั้น เขาจะเสียงดังหรือจะเสียงเบาช่างเขา เราไม่ยุ่ง เรามาควบคุมกำลังใจของเราเองโดยเฉพาะ ว่าไม่ยอมให้อารมณ์แห่งความชั่วทั้งหมดมันมาเกิดกับใจ หรือว่าอารมณ์นอกรีตนอกรอยทั้งหมดมันเกิดขึ้นกับใจ
 
อารมณ์ของความชั่วมันมีอะไรบ้าง คืออารมณ์ที่ชอบทำลายศีลด้วยตัวเอง หรือว่ายุชาวบ้านให้เขาทำลายศีล เมื่อเห็นบุคคลอื่นทำลายศีลแล้วดีใจว่าเขาไม่รักษาศีลทำลายศีลเสียได้ก็ดี อารมณ์ชั่วอย่างนี้อย่าให้มี คือ ศีลทุกสิกขาบท พระ เณร อุบาสก อุบาสิกา รู้สภาวะว่าเรามีอะไรเป็นศีล พระนี่สำคัญมาก ๒๒๗ ดีไม่ดีไม่รู้หรอกว่า ๒๒๗ มีอะไรบ้าง แต่ของเรายังดี นั่งฟังกันทุกวันจำได้หรือเปล่าไม่ทราบ ความจริงพระนี่ต้องถือว่าบวชเข้ามาในวันนั้นต้องรู้ศีลของตัว ไม่ใช่บวชเข้ามาสัก ๑๐ วันยังไม่รู้ อันนี้ไม่ได้ คือเรียกว่าเราจะต้องควบคุมว่าเราจะไม่ทำลายศีลด้วยตัวเอง ศีลของใครมีเท่าไรรู้ไว้ด้วย เราจะไม่คิดยุยงให้คนอื่นคิดทำลายศีล เราจะไม่ดีใจในเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว นี่ สงบตรงนี้ สงบตรงที่ไม่ทำจิตให้ชั่ว
 
ข้อต่อไป เมื่อคุมศีลอยู่แล้วก็คุมพร้อมกันนั่นแหละ ไม่ได้เฉพาะอย่าง ก็ระวังให้จิตสงบจากนิวรณ์ห้าประการ คือ
 
๑. กามฉันทะ เราจะไม่ยอมรับทราบเรื่อง รูปสวย รสอร่อย เสียงเพราะ กลิ่นหอม การสัมผัส สัมผัสระหว่างเพศ หรืออารมณ์ที่เกลือกกลั้วไปด้วยกามารมณ์ คือคิดสร้างวิมานในอากาศ การมีคู่ครองดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ มีทรัพย์สินสวยๆ มีบ้านสวยๆ มีรถสวยๆ ราคาแพงๆ มีตู้เย็นสวยๆ มีเครื่องปรับอากาศสวย ๆ ของสวยสดงดงาม เสียงเพราะๆ กลิ่นหอม หอมหวนยวนใจ ไม่ติดใจไม่สนใจอะไรทั้งหมด เห็นว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีการทรงสภาพ มันสวยไม่จริง เดี๋ยวมันก็เก่า เก่าแล้วมันก็พัง เสียงเพราะผ่านหูแล้วมันก็หายไป กลิ่นหอมผ่านจมูกแล้วก็หายไป รสอร่อยผ่านปลายลิ้นถึงกลางลิ้นถึงโคนลิ้นแล้วก็หายไป การสัมผัส สัมผัสแล้วก็ผ่านไป ไม่มีอะไรเอาใจเข้าไปเกาะอยู่ มันก็ไม่ติดอยู่ อารมณ์ที่เกลือกกลั้วนึกสร้างวิมานในอากาศก็ไม่มีในใจ นี่เป็นข้อที่หนึ่ง
 
๒. มีเมตตาเป็นปกติ ระงับความโกรธ ความพยาบาท ไม่ให้เกิดขึ้นกับใจ เห็นโทษของความโกรธความพยาบาทว่าไม่ดี อารมณ์โกรธ อารมณ์พยาบาท พยายามตัดทิ้งเสีย
 
๓. เมื่อปฏิบัติความดีอยู่ ระงับความง่วง อย่าให้ความง่วงเข้ามาครอบงำจิต ข้อนี้ต้องระวัง ต้องดูเองว่า คำว่าระงับความง่วงนี่หมายถึงความง่วงที่เกิดจากนิวรณ์นะ เราต้องดูว่าร่างกายของเราเพลียหรือเปล่า อดนอนมากไหม ตรากตรำงานมามากหรือเปล่า ต้องดูด้วย คำว่าระงับความง่วงที่เกิดจากนิวรณ์นี่เป็นอย่างนี้ คือว่าเวลาปกติเราสบายๆ มีใจโปร่งสว่างไสวดี ยังไม่มีอะไรทำท่าจะง่วง เราไม่อดนอน ไม่เพลียจนเกินไป แต่ทว่าพอจับจิตเป็นสมาธิปับเราก็เริ่มง่วง นี่คือตัวนิวรณ์ หากว่าเราเพลียเกินไปหรือว่าอดนอนเกินไป ตรากตรำเกินไป เกิดความเพลียขึ้นมา มีอาการคล้ายง่วง นั่นมันเพลียจากการงาน เพลียจากการง่วงนอน อันนี้ห้ามทนนะ ต้องรีบนอน ต้องรีบพัก ทรงสติจับอารมณ์ลมหายใจเข้าออก คำภาวนาพิจารณาเล็กน้อย ปล่อยให้มันหลับไปเลย อย่างนี้ไม่ใช่นิวรณ์ ร่างกายมันอ่อนแอมันเพลียมาก อย่าไปฝืนมัน มันจะเป็นโรคเส้นประสาท ถ้าหากว่าร่างหายเราดีๆ อยู่สว่างไสวอยู่ พอเริ่มจับจิตเป็นสมาธิพักง่วง จิตมันจะเป็นนิวรณ์ นี่ต้องรู้ ถ้าไม่รู้แบบนี้โรคเส้นประสาทมันจะกิน
 
๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ ข้อนี้สำคัญมาก ขณะที่เราทรงตัว เราหวังในการทรงสมาธิ จิตจับอารมณ์สมถภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เราจะไม่ยอมให้อารมณ์ของเราฟุ้งซ่าน แต่ก็อย่าลืม ข้อนี้เราชนะมันไม่ได้แน่ จะชนะตลอดกาลตลอดสมัยไม่ได้ ต้องชนะชั่วคราว เพราะอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่าน ตัวนี้ที่ตัดได้จริงๆ คือพระอรหันต์ อันนี้เรากันไม่ได้ ฟุ้งซ่านกันตรงไหน กันความฟุ้งซ่านตัวนี้ คือไม่ยอมให้อารมณ์ที่เป็นอกุศลเข้ามาถึงจิต กำลังของจิตในด้านสมถะต้องแบ่งเป็น ๒ ตอนด้วยกัน ตอนที่เรายังไม่เป็นผู้ทรงฌานตอนหนึ่ง และตอนที่เราเป็นผู้ทรงฌานแล้วตอนหนึ่ง ที่เรายังมีอารมณ์ยังไม่เป็นทรงฌานนั้น บังคับจิตมันอยู่ในอารมณ์เดียวนานๆ นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ประเดี๋ยวก็วิ่งหลังวิ่งหน้า วิ่งหน้าวิ่งหลัง อันนี้จะทำอย่างไร ระยะที่จิตเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือว่าเป็นอัปปนาสมาธิ ขั้น ฌาน ๑, ฌาน ๒, ฌาน ๓ นี่มันก็โดดหน้าโดดหลัง เป็นเหมือนกัน เว้นไว้แต่ว่าถ้าเข้าถึงฌานแล้วเราสามารถกำหนดจิตทรงฌานได้ก็เป็นฌานโลกีย์ แม้แต่ฌาน ๔ ก็ตาม จิตจะทรงความดีอยู่แต่เฉพาะในเวลาที่จิตเข้าฌานเท่านั้น ถ้าเวลาถอนจากฌานมาแล้ว จิตก็เป็นเรื่องธรรมดาๆ ก็วิ่งไปวิ่งมาเหมือนกับม้าที่ถูกขัง ถ้าปล่อยแล้วมันก็โขยกไปตามเรื่อง
 
ทีนี้ตัวอุทธัจจะตัวนี้เราคุมมันไม่ได้ตลอดเวลา ถ้าเป็นกิจในเบื้องต้นก็เอาจิตคุมไว้ว่า ถึงแม้ว่ามันจะส่ายจากจุดเดิม แต่ทำโดยเฉพาะก็ตั้งใจไว้ ภาวนาว่าพุทโธ ตั้งใจกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก หรือว่าตั้งใจพิจารณากรรมฐานกองใดกองหนึ่ง เราจะกำหนดจิตไว้ว่า ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ห้านาที สิบนาที นี้เป็นกำลัง เราจะไม่ยอมให้จิตพล่านไปสู่จุดอื่นอารมณ์อื่นนอกจากที่เราตั้งใจไว้จะภาวนาหรือยังไม่ถึงกำหนดนั้น มันพล่านไปตั้งต้นใหม่ให้มันเข็ด แต่อย่าให้นานนัก จนกว่าอารมณ์จิตจะชิน ก็ขยับให้มากขึ้นมาทีละน้อย ทีนี้ในเมื่อจิตธรรมดาต้องพล่าน ในเมื่อจิตมันเลยอารมณ์มาแล้ว ในเมื่อจิตทรงอยู่ในกรรมฐาน โดยเฉพาะตามที่เราตั้งไว้ ฌานโลกีย์ก็เป็นอย่างนั้นแหละ ถ้ามันไม่นึกอะไรเสียเลย จิตไม่วอกแวกเสียเลย จิตไม่ฟุ้งซ่านเสียเลย อันนี้เป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปแต่ว่าพยายามควบคุมว่า นอกจากเวลาที่เราควบคุมไว้ โดยเฉพาะเป็นเวลาสั้น ๆ เวลาเหลือจากนั้นมันจะซ่านก็ว่านเถอะ แต่ว่าให้จิตน้อมอยู่ในกุศลตลอดเวลา มันคิดไปถึงว่าการให้ทานมันดี เป็นเทวดาน่ะมันดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ก็ว่าไป ให้ทานดีเป็นการผูกมิตรทำลายศัตรูไปในตัว เราให้ทาน ทานัง สัคคโสปาณัง ทานเป็นบันไดไปสู่สวรรค์ การให้ทานดีมาก ตายแล้วไปเป็นเทวดา มีทิพยสมบัติมาก เกิดมาเป็นคนก็เป็นคนร่ำรวย ไม่ยากจนเข็ญใจ ถ้ามันจะฟุ้งซ่านก็ให้อยู่ในขอบเขตนี้ ให้มันอยู่ในด้านของกุศล
 
ทีนี้อยากจะถามว่าเราบังคับมันอย่างนี้อกุศลมาได้ไหมล่ะ มันมาได้แน่ มันมาได้แล้วละก็ พอรู้ตัวก็ขับมันไป มันต้องมา ไม่มาไม่ได้หรอกเพราะจิตเรายังไม่ชนะมัน เมื่อเวลาเรายังมีอารมณ์ฟุ้งซ่านอยู่ หมายความว่าถึงผู้ทรงฌานแล้วก็ยังมีอารมณ์แทรก นี่หมายถึงผู้ทรงฌานตั้งเวลาเฉพาะไว้ แต่เวลาอยู่ในฌานมันดีจริงๆ ออกนอกฌานมันก็เอาอีกแหล มันก็เหมือนกับรูปเดิม ดีไม่ดีก็คิดถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถึงอสุภกรรมฐาน กสิณ และอนุสสติ ๑๐ อะไรก็ตามไปๆ มาๆ มันก็พรวดพราดกลับไปหาทางอื่นอีกเพราะมันยังไม่พ้นวิสัยของกามารมณ์ยังไม่พ้นวิสัยของความพยาบาท ความหลง แต่ก็ต้องคอยเอาสติยับยั้งไว้ ถ้ามันพรวดพราดเข้าไปในด้านอกุศลก็บอกว่าไม่เป็นเรื่องแล้ว ที่นายทำความดีมาตั้งนาน นายจะลงนรกน่ะมันจะใช้ได้หรือ นี่อารมณ์มันเป็นอย่างนี้ ก็คอยตั้งว่าคอยสงบอารมณ์ที่มันเป็นความชั่ว อย่าให้อารมณ์ที่เป็นความชั่วเข้ามาสิงใจ
 
ทีนี้วิธีที่จะปฏิบัติพระกรรมฐาน เอาด้านที่สรุปง่ายๆ จากสมาธิ ถ้าจะให้ดีมันดีตรงไหน วิปัสสนาญาณนี่ก็เหมือนกันหรอก จะให้ดีก็มีว่าเวลาที่เราตั้งเวลาไว้เฉพาะๆ นั่นเป็นเวลาหนึ่งเวลาเท่านั้นเท่านี้ เราจะเจริญสมาธิ ทีนี้เวลาที่เหลือจากนั้น นั่งอยู่ กินอยู่ เดินอยู่ ทำการงานใดอยู่ อะไรก็ตาม ถ้าจังหวะมันดีก็ให้นึกถึงอารมณ์สมาธิที่เราตั้งใจไว้ ในกรรมฐานสี่สิบกองไม่จำกัดให้เฉพาะบุคคลใดว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ จะพิจารณาก็ได้ จะเพ่งก็ได้ ใคร่ครวญก็ได้ ให้เป็นไปตามอัธยาศัยในกรรมฐาน ๔๐ กอง อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ไม่ต้องเลือก เวลาไหนจิตมันอยากจะคิดก็ให้มันคิดอยู่ในขอบเขตของกรรมฐานที่จะพิจารณา เวลาไหนจิตมันจะทรงอารมณ์สงัดตามที่มันต้องการ ระวังไว้อย่างเดียวว่าอย่าให้อกุศลเข้ามายุ่งกับใจเท่านั้น นี่เป็นระเบียบแห่งการปฏิบัติที่ควบคุมด้วย เรียกว่าจิตสงบเป็นสมาธิ สมาธิคือการตั้งใจมั่น ก็หมายความว่าตั้งใจไว้เฉพาะอารมณ์ในอารมณ์กรรมฐาน ๔๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งใช้ได้หมด ไม่ใช่เฉพาะเวลานี้ กำหนดลมหายใจเข้าออกภาวนาว่าพุทโธ อาจารย์บอกอย่างนั้น แต่บางเวลาจิตมันอยากจะล่อ ธัมโม สังโฆ ขึ้นมา นึกถึงความดีของศีลขึ้นมา นึกถึงความดีของฌาน นึกถึงความดีของเทวดา นึกถึงมรณัสสติ การนึกถึงความตายนี่ดีนะ เราจะได้ไม่ประมาท นึกถึงความดีของพระนิพพานอะไรอย่างนี้ นึกถึงร่างกายเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ร่างกายเต็มไปด้วยของสกปรก ร่างกายเราตายแล้วขึ้นอืด เป็นของน่าเกลียด ร่างกายประกอบไปด้วยธาตุสี่ อาหารที่เรากินเข้าไปปรากฎว่ามันเป็นของสกปรก ถ้ามันคิดอย่างนี้มันดีทั้งนั้น ในกรรมฐาน ๔๐ ดีหมด
 
มาพูดถึงกรรมฐาน ๔๐ ในกรรมฐาน ๔๐ ควรศึกษาว่ามันมีอะไรบ้าง ถ้าวันไหนจิตมันไปชนข้อใดข้อหนึ่ง ปล่อยมันเลยใช้ได้ทั้งนั้น ดีกว่าปล่อยให้มันยุ่งกับอกุศล คำว่าเป็นกุศลก็คืออยู่ในขอบเขตของกรรมฐาน ๔๐ หรือว่าในมหาสติปัฏฐานสูตรอย่างใดอย่างหนึ่ง สติปัฏฐานสูตรตามที่มีแบบไว้นะ ไม่ใช่ตามแบบย่อที่ใครๆ เขาตั้งไว้ใหม่ๆ น่ะ ไม่เอา เอาแบบของพระพุทธเจ้าโดยตรง ในมหาสติปัฏฐานสูตรอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าจิตมันข้องอยู่ ใคร่ครวญตามนั้นได้ทันที อย่างนี้เราจิตสงบหรือว่าจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น มั่นอยู่เฉพาะในอารมณ์ที่เป็นความดีที่พระพุทธเจ้าตรัส อันนี้ดี ควรทำ อย่างนี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์สมาธิที่เราต้องการ
 
ถ้าถามถึงผล ผลของสมถภาวนา อย่าเผลอเชียวนะ ถ้าอารมณ์จิตมันเป็นฌานจริง ๆ มันกดอารมณ์แน่น จิตแน่นสนิทดีไม่ดี นึกว่าเป็นพระอรหันต์ส่งเดชไป ถ้าจะเอาอะไรล่ะ จะไปติดรูปสวยๆ เห็นว่าสวยหรือเปล่าให้เฉย ได้ยินเสียงเพราะๆ รสอร่อย กลิ่นหอม จะไปติดในรูป รส กลิ่น เสียง หรือก็เปล่า ไม่เป็นเรื่อง ไม่เอา ไม่เอาเสียแล้ว อย่างไรๆ เราก็ไม่ต้องการ มันเป็นเรื่องเล็ก นี่เวลาจิตมันทรงฌาน มันกดนิ่ง สบายๆ จิตมันแนบสนิท พูดจาไม่อยากพูดกับใคร ขยับเขยื้อน ไปไหนก็ไม่เอา ถ้าการงานมันเคร่งคครัด นี่ความเที่ยงแท้แน่นอน จิตใจมันไม่อยากจะล็อกแล็กไปไหน ไม่สอดสายเพราะเกรงสมาธิจะเคลื่อน จิตมีอารมณ์สงัด บางทีเผลอไปว่า นี่เราเป็นพระอรหันต์เสียแล้ว นี่ความพลาดมันอยู่ตรงนี้ นี่จงทราบให้ดี จงระมัดระวังให้ดี อย่าประมาทคิดว่าเราดีแล้ว ถ้าเราคิดว่าเราดีแล้วเมื่อไร มันก็เป็นทางแห่งความตาย คือการสลายตัวแห่งสมาธิหรือความดี
 
วันนี้เราก็แนะนำไว้อย่างนี้เป็นจุดรวมๆ จะได้ว่าการเจริญสมาธิเขาเอาตรงไหน เขามีความเข้าใจกันตรงไหน รวมสรุปอีกครั้งว่าการเจริญสมาธิในด้านสมถภาวนา เราต้องการสงบจากอารมณ์ที่เป็นอกุศล คือารมณ์ที่ค้านกับศีล หรืออารมณ์ที่ตามใจนิวรณ์ห้า ไม่เอาเราต้องค้านกับนิวรณ์ห้า ศีลนี่ค้านกันได้ ต้องตามใจศีลแต่ว่าคัดค้านนิวรณ์ห้าประการ ถ้าจะให้สูงไปว่านั้นก็ต้องตามใจพรหมวิหารสี่ อันนี้ดีมาก ถ้าตามใจพรหมวิหารสี่เสียอย่างเดียว นิวรณ์ก็พัง ถ้าไปจับวิปัสสนาญาณก็เปิดวิ่งแน่บ ไปเร็วจริงๆ
 
เวลาที่จะพูดก็หมดนานแล้ว ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ต่อแต่นี้ไปขอให้ท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา



จาก หนังสือกรรมฐาน ๔๐
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 เมษายน 2559 09:48:27 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 49.0.2623.110 Chrome 49.0.2623.110


ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: 11 เมษายน 2559 09:47:48 »




กรรมฐาน ๔๐
โดย พระราชพรหมยาน (ฤๅษีลิงดำ)
ตอนที่ ๓๖ อสุภกรรมฐาน

อสุภกรรมฐานนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้เหมาะกับราคจริต เพราะว่าเป็นการทำลายความรู้สึกกายของคนและสัตว์เต็มไปด้วยความสวยงาม สำหรับอสุภกรรมฐานนี้ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายพิจารณาเป็นเอกัคตารมณ์หรืออารมณ์เป็นปกติ ก็จะเป็นปัจจัยเข้าถึงพระอนาคามี โดยง่าย จะว่าเฉพาะพระอนาคามีก็ไม่ได้ เพราะพระอนาคามีแล้วอีกประเดี๋ยวใจก็เดินไปถึงอรหัตผล นี่จงจำไว้ให้ดีว่าสำหรับอสุภกรรมฐานนี้ ไม่ใช่กรรมฐานเพ่ง เป็นกรรมฐานพิจารณา แต่ว่าเราจะเพ่ง ก็ได้ แต่ถือว่าไม่สำคัญ
 
ก่อนที่จะพิจารณาอสุภกรรมฐาน อันดับแรกพยายามจับลมหายใจเข้าออก ภาวนาว่า พุทโธ ไว้ก่อนให้จิตสบาย พอจิตสบาย จิตทรงอารมณ์ดี ก็มาพิจารณา สุภกรรมฐาน อสุภ แปลว่า ไม่สวย ไม่งาม จำไว้ให้ดี นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้พิจารณาคนตาย ตายแล้ว วันหนึ่ง สองวัน สามวัน นี่เป็นคนตายขึ้นอืด มีน้ำเหลืองไหลตลอดถึงร่างกายทรุดโทรม เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก แล้ว รู้สึกว่าหน้าหายไป เหลือแต่กระดูก กระดูกเป็นท่อน แต่ว่าทรงเป็นรูปอยู่ แล้วต่อมากระดูกก็แตกขาดไป เป็นชิ้นเป็นท่อนเป็นอัน แล้วในที่สุดก็แตกเล็กน้อยเรี่ยราดไป ในที่สุดก็จมพื้นแผ่นดิน ก็จะขอกล่าวแต่ โดยย่อว่า อสุภความจริงมี ๑๐ อย่าง เมื่อรวมแล้วก็พิจารณาเรื่องของคนตาย ตามธรรมดาคนเรา ถ้ายังไม่ ตายก็มีความรักกัน มีความผูกพันกันอยู่ประคับประคองกันได้ ไม่มีการรังเกียจ รักกันปานจะกลืนกิน แต่ทว่าพออีกคนสิ้นลมปราณไปแล้วเท่านั้น บางทีขณะที่เขาตายลงไปใหม่ ๆ เราก็ไม่อยากเข้าไปแตะต้อง รังเกียจว่า ร่างกายมันเย็น มันมีสภาพเป็นซากศพ ดีไม่ดีก็เลยกลัว หาว่าเป็นผี
 
ต่อไปนี่นั่งนึกถึงความเป็นจริงที่องค์สมเด็จพระจอมไตรเอามาสอน ความจริงพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เอาอะไรมาสอนเรา เอาของจริง ๆ ที่มีอยู่ แต่ว่าเราไม่ยอมรับรู้ตามความเป็นจริง ทั้งนี้ก็หมายความว่า ของน่ะมีจริง แต่เราไม่เคยคิดว่ามันเป็นอย่างนั้น คนและสัตว์ที่อยู่กับเรา ถ้ายังไม่สิ้นลมปราณแล้ว เราไม่เคยคิดว่ามันสกปรก แต่ความจริงถ้าเราพิจารณากายคตาสติกรรมฐานมาแล้วมันก็พอแล้ว ทีนี้ถ้าหากว่ามันยังไม่พอ กายคตาสติกรรมฐานและอสุภกรรมฐาน สองอย่างรวมกัน แต่อสุภแยกเป็น ๑๐ ประเภท กายคตาสติ ๑ เป็น ๑๑ เป็นตัวตัดราคจริต ความเห็นสวยสดงดงาม นี่เราที่จะเดินทางไปสู่พระนิพพานไม่ได้ ทำใจให้ถึงพระอนาคามีไม่ได้ ทำลายกามราคะให้สิ้นไปไม่ได้ ก็เพราะอารมณ์ฝืนความเป็นจริง กายคตาสติกรรมฐาน ให้พิจารณาว่ากายมันสกปรก กายเป็นชิ้น เป็นท่อน ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ กระดูก ตับ ไต ไส้ ปอด มัน แต่ละส่วนแยกกันออกไป แล้วก็เต็มไปด้วยความสกปรก แต่ว่ามันยังสกปรกน้อยไป ส่วนที่มันยังแข็งแกร่ง มีความสะอาดสดชื่นมันยังมีอยู่
 
ทีนี้เรามานั่งนึกดูถึงคนตาย ตายแล้วหนึ่งวัน มีสภาพเป็นอย่างไร สิ้นลมปราณตัวแข็ง ธาตุไฟหายไป ธาตุลมหายไป เหลือแต่ธาตุน้ำกับธาตุดิน เราไม่อยากจะแตะต้อง ไม่อยากจะมองทั้งที่รักจะขาดใจตาย
 
ตายแล้ววันที่สองเป็นอย่างไร เริ่มท้องเขียว ๆ ขึ้นมาแล้ว
 
ตายแล้ววันที่สามดีขึ้นไปหน่อย ผิวพรรณชักจะเริ่มเปล่งปลั่งขึ้น ชักจะมีความอ้วนพีขึ้น ตอนนี้ชักมีกลิ่น กลิ่นที่ปรากฏขึ้นเป็นกลิ่นที่เราไม่ต้องการ
 
วันที่สี่ วันที่ห้า ดีแล้ว ขึ้นอืดน้ำเหลืองไหล ต่อไปก็มีมันจุก เนี้อหนังปริ มันขึ้นอืดเต็มที่ ตอนนี้ดูซิสิ่งสกปรกในร่างกายมันก็หลั่งไหลออกมาดูไม่ไหว เดินไปท้ายลมทนไม่ไหว เดินเข้าไปใกล้ก็ไม่อยากจะเข้าไป มันน่าเกลียดน่ากลัว เราก็มานั่งพิจารณากันตอนนี้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่สกปรกนี่มันมีอยู่ที่ไหน มันมาจากที่ไหน มันมาทีหลังหรือว่ามาระหว่างที่คน ๆ นั้นมีชีวิตอยู่ ถ้าเราพิจารณาจริง ๆ มันไม่ได้มาจากไหน ความจริงขณะที่ท่านมีลมปราณ เดินไปไหนมาไหน พูดได้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันมีอยู่ในตัวครบถ้วนบริบูรณ์ ได้อาศัยจิตที่มีการทรงตัวอยู่ และมีการบังคับระบบประสาทต่าง ๆ ก็มีกำลังที่จะปกปิดความสกปรกไว้ได้ เราจึงไม่เห็นสภาพอย่างนั้น หรือว่าไปอีกที ธาตุสี่มีกำลังเสมอกัน บางอย่างจะอ่อนไปบ้าง แต่ก็มีกำลังจะปกปิดไว้ได้ นี่พอธาตุลมหายไป ไม่มีใครปรนปรือ จักรกลภายใน หยุดทำงาน
 
ต่อมาความอบอุ่น คือ ธาตุไฟหายไปเหลือแต่น้ำกับดิน เมื่อเหลือแต่น้ำกับดิน น้ำมีสภาพซึมซับ มันก็จะละลายดิน ดินทนไม่ไหวก็พังยุ่ยไป ทีนี้สิ่งสกปรกที่อยู่ภายในก็ปรากฏ หาอะไรดีไม่ได้ เมื่อพิจารณานึกถึงซากศพทั้งหลายแล้วก็นึกถึงตัวเราว่ามันมีสภาพอย่างนั้น ถ้านึกถึงคนอื่น บุคคลอื่น สัตว์อื่น มันก็มีสภาพอย่างนี้ เมื่อเห็นหน้าคนเมื่อไร เห็นหน้าสัตว์เมื่อไร ก็นึกถึงภาพว่าคนนี้คือศพ มีสภาพขึ้นอืด มีน้ำเหลือไหล ร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรก น่าเกลียดโสโครก แล้วมานึกถึงตัวเรา ร่างกายที่เราอาศัยอยู่นี่ก็เหมือนกัน ก็มีสภาพแบบนั้น ไม่มีอะไรจะน่ารัก
 
การพิจารณาอสุภกรรมฐาน ถ้าจิตเข้าถึงจริง ๆ พิจารณาทีละเล็กทีละน้อย ต่อไปเมื่อจิตเข้าถึงเอกัคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นอะไรก็ตามมันเป็นซากศพไปหมด เราก็มีความรังเกียจในร่างกายของเรา ในร่างกายของบุคคลอื่นและสัตว์อื่น เมื่อความรังเกียจมีขึ้น กามราคะคือความพอใจในผิวพรรณวรรณะ หรือการสัมผัสมันก็ไม่มี เพราะขณะใดมองเห็นทีไรมันเป็นศพไปทุกที เห็นความเน่าเห็นความอืด เห็นความสกปรกมันจับอยู่ที่ขั้วหัวใจ
 
แล้วผลแห่งการพิจารณาอย่างนี้จะเป็นผลอย่างไร ถ้ากำลังใจของเราเข้มแข็งแล้ว มานั่งนึกในใจว่า โอหนอร่างกายของคน ของเราก็ดี ของบุคคลอื่นก็ดี สัตว์ก็ดี มีความสกปรกอย่างนี้ แต่เนื้อแท้ที่จริง เรามันหลงว่าร่างกายนี้มันเป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา แต่ความจริงร่างกาย มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เพราะร่างกายมันเป็นเพียงธาตุสี่เข้ามาประชุมกัน ทรงสภาวะชั่วคราว เราคือจิตหรืออทิสมานกายที่มาอาศัยอยู่ในร่างนี้ เราไปหลงใหลใฝ่ฝันว่า มันเป็นเรา เป็นของเราแล้ว นอกจากนั้นเราก็หลงใหลใฝ่ฝันว่ามันมีสภาพน่ารักน่าชื่นชม ดีไม่ดีเราก็ไป นิยมในร่างกายของบุคคลอื่นเข้าอีก เนื้อแท้ที่จริงที่เรามีอารมณ์คิดอย่างนี้เพราะอาศัยความโง่เป็นปัจจัย ไม่มองหาความเป็นจริง
 
ความจริงแล้วร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรก มันเต็มไปด้วยความทุกข์สกปรก ไม่พอมันก็ทุกข์อีก เพราะอะไร ทุกข์เพราะมันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนแปลงไปตามปกติ ในที่สุดมันก็มีการสลายตัว นี่ถ้ามันเป็นเราจริงเป็นของเราจริง เราก็บังคับมันไม่ได้ มันจงอย่าสกปรกนะ จงสะอาด จงพยายามอาบน้ำ ขัดสีฉวีวรรณทุกวัน แต่มันก็เป็นเพียงแต่ภายนอกเท่านั้น แค่หนังกำพร้า ในความจริงเราทำความสะอาดได้ชั่วหนึ่งในล้านคือหนังกำพร้านิดเดียว แต่มันก็สะอาดไม่จริง ทุกวันมันเต็มไปด้วยความ สกปรก และต้องชำระล้างมันตลอดวัน แต่เราไม่ได้ใช้ปัญญามองลงไปว่า สิ่งที่เราซึมซาบออกมาจากภายในร่างกายมันเป็นของสกปรก นี่ส่วนข้างในจริง ๆ เลอะเทอะ ดูอะไรไม่ได้ เมื่อมันดูอะไรไม่ได้ เราก็หลงมันเป็นเราเป็นของเราเสียอีก ทีนี้เมื่อมันเป็นเราจริง เป็นของเราจริง เราก็บังคับมัน อย่าแก่นะ มันก็ไม่ยอมมันต้องแก่ จงอย่าป่วยนะมันก็ไม่ยอมมันจะป่วย อวัยวะบางส่วนบอกอย่าเพ่อเสื่อมซิ ผมอย่าเพิ่งหงอก มันยอมหรือ มันก็ไม่ยอม ตาอย่าเพ่อฝ้าฟาง มันก็ไม่ยอม ฟันอย่าเพ่อหัก มันก็ไม่ยอม เป็นอันว่าร่างกาย กำลัง จงอย่าสลายไปเราจะทำงาน มันก็ไม่ยอม นี่แสดงว่านอกจากความสกปรก โสโครกแล้วมันก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันพังไปตามสภาพ แล้วเราจะมานั่งยึดถือว่ามันเป็นเรา เป็นของเราแล้ว จะมาหลงใหลใฝ่ฝันว่าเป็นของสะอาด น่ารัก น่าชม น่านิยม น่าประคับประคองเพื่อประโยชน์อะไร
 
นี่พยามยามคิดนึกถึงสภาพซากศพที่ตายแล้วใหม่ ๆ จนกระทั่งตายแล้วขึ้นอืด แล้วก็ร่วงโรยลงไปถึงหนังหุ้มกระดูก ถึงกระดูก กระดูกยังทรงร่างอยู่ และต่อมากระดูกก็หลุดเป็นชิ้น ๆ เป็นท่อนเป็นอัน มันสวยตรงไหนบ้าง เริ่มตายใหม่ ๆ เราก็รังเกียจแล้ว นี่นั่งพิจารณาแบบนี้ทุก ๆ วัน เวลาพิจารณาไป ใจมันเริ่มส่ายไปสู่อารมณ์ ก็ทิ้งอารมณ์นี้เสีย จับลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตมันทรงตัว เวลาที่จับลมหายใจเข้าออกเราจะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ ว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ได้ อย่างไรก็ช่าง

เรามาพิจารณาตอนนี้ว่า ถ้าหากว่าจิตเราเห็นว่าร่างกายของคนและสัตว์เต็มไปด้วยความสกปรกเหมือนกับผีเดินได้ เราจับภาพไหนก็ตามถ้าชัดถ้าชอบร่างกระดูก เราก็พิจารณานึกถึงภาพกระดูก อยู่ตลอดเวลา และก็มองมาในร่างกายของเรา เห็นว่าเป็นโครงกระดูกอยู่ตลอดเวลา เห็นร่างกายของบุคคลอื่นเห็นเป็นโครงกระดูก โครงกระดูกเดินได้ แล้วมองดูเฉพาะโครงกระดูก มันสวยตรงไหน ตาโบ๋ ฟันซี่โต ไม่มีเนื้อ ไม่มีหนังหุ้ม มีแต่ซี่โครงระยั้วระเยี้ยไปหมด ร่างกายเต็มไปด้วยความน่าเกลียด นี่ภาพกระดูกนะ บางคนพอใจในจุดนี้ บางคนก็พอใจในสภาพคนตายใหม่ ๆ ชอบพิจารณาตรงนั้นเห็นชัด บางคนก็ชอบร่างกายมีสีเขียวบ้าง ขึ้นอืดบ้าง เป็นชิ้น เป็นท่อน เป็นตอนบ้าง เห็นสภาพของแร้งกา กัดกินบ้าง อันนี้ก็ตามอัธยาศัย ว่าชอบตรงไหนก็พิจารณาจุดนั้นให้มันเห็นชัด เมื่อมันเห็นชัดแล้วก็พิจารณาว่ามันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา มันมีสภาพเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ไม่ช้าเราก็ได้อนาคามิผล เมื่อทำลายกามราคะเสียได้ ถ้าไม่ได้ชาตินี้ทำอย่างไรถ้าไม่ได้ในชาตินี้ เกิดไปชาติหน้าไปเป็นเทวดาหรือพรหมสุดแท้แต่กำลังของสมาธิ ถ้าสมาธิอ่อนก็เป็นเทวดาแน่ กลับมาเกิดเป็นคนอีกที ถ้าพบพระอรหันต์หรือพบพระพุทธเจ้า ฟังเทศน์ในเรื่องราวของอสุภกรรมฐาน หรืออนุปุพพิกถาอย่างท่านพระยศ ฟังครั้งแรกเป็นพระโสดาบัน ฟังซ้ำอีกครั้งชั่วระยะเวลาใกล้ ๆ เป็นพระอรหัตผล
 
นี่เป็นผลที่เราเจริญอสุภกรรมฐานจงพยายามทำใจให้เข้าถึง คือมีอารมณ์ดึงสภาวะให้เห็นเป็นปกติแล้วก็แสดงความรังเกียจ ไม่ใช่ว่าเห็นว่าเป็นอสุภแล้วไม่เป็นไร ต่างคนต่างสกปรก มันจะปะทะกันอย่างไรก็ช่าง อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ต้องพิจารณาให้เห็นสภาพเป็นที่น่ารังเกียจ น่าโสโครก นึกขึ้นมาทีไรนึกสะอิดสะเอียนเมื่อนั้น นี่สภาพบุคคลและสัตว์ เห็นหน้าคนและสัตว์จะแต่งตัวสวยสดงดงาม จะมีร่างกายทรวดทรงเป็นอย่างไรก็ตาม เห็นปับเห็นผ้าทะลุเข้าไปถึงหนัง ทะลุหนังเข้าไปหาเนื้อ ทะลุเนื้อเข้าไปภายในเห็นว่าร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรก เป็นกายคตาสติ มองไปอีกที ที่ไหนได้เจ้านี่เป็นศพขึ้นอืด เห็นเป็นโครงกระดูกเดินได้ รังเกียจใหญ่เลยตอนนี้ นี่อย่างนี้จึงจะเรียกว่าการเจริญอสุภกรรมฐานเข้าถึงจุด เข้าถึงที่ของอสุภกรรมฐาน ในขณะที่เจริญไปแบบนี้แล้วต้องนั่งดู พิจารณาดูเห็นด้วยปัญญาว่า เออ ร่างกายนี่มันสกปรกอย่างนี้หนอ แต่ความจริงมันก็ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราจะมานั่งมัวเมามันเพื่อประโยชน์อะไรในทั้งร่างกายเราและกายคนอื่น เป็นของที่เราควรครอบครอง นี่เราโง่จัด แล้วองค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ พระองค์ไม่โง่ มีความฉลาด สมเด็จพระบรมโลกนาถจึงเข้าสู่พระนิพพานได้ มีความสุข
 
สำหรับเรายังพอใจอยู่ในความทุกข์นี่มันน่าสลดใจอย่างยิ่ง นี่คิดย้อนไปย้อนมา ย้อนมาย้อนไป จนจิตมันซ่านก็ตั้งอารมณ์ใหม่ในอานาปานสติกรรมฐาน ถ้าทำอย่างนี้จริง ๆ ไม่นาน ใช้เวลาเท่าไร อย่าไปคิดแต่เฉพาะกลางคืน และก็อย่ามานั่งนึกเฉพาะเวลาเจริญกรรมฐาน กรรมฐานกองใดก็ตามถ้าจับขึ้นมาเป็นอารมณ์แล้ว ว่ามันตลอดไป ไม่ใช่ไปนั่งท่องอสุภะ อัฏฐิกัง ๆ ปฏิกุลัง ๆ อะไรพรรค์นี้ไม่เอา
 
แล้วอสุภกรรมฐานไม่ใช่กรรมฐานมานั่งภาวนากัน เป็นตัวใช้ปัญญามามองหาความจริง อันดับแรกเรียกใช้สัญญาความจำ จำสภาพของคนตายแต่ละจุดว่ามันเป็นอย่างไร แล้วก็ใช้ปัญญาล้วงเข้า ไปดูสิ่งที่โสโครกว่ามันมาจากไหน มันมีทรงอยู่ก่อนหรือว่าตายแล้วมันถึงจะมา ย้อนไปย้อนมา ล้วงหาความจริงให้ปรากฏอย่างนี้แหละ ขึ้นชื่อว่าเราเป็นพระสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคต ถ้าทราบแล้วนี่ถ้าชาตินี้เราไม่ได้ แต่จิตใจมันทรงอยู่ในความสุข มันเกิดกับใจมาก เพราะความหลงใหลใฝ่ฝันในร่างกายของเราของบุคคลอื่นไม่มี ถ้าความรักความติดใจในความสวยสดงดงามไม่มี มันเป็นความสุขใจ อย่างบอกไม่ถูกเพราะหมดห่วง เมื่อรักตัวเราว่าสวย รักในคนอี่นว่าสวย ติดในของสวยทั้งคนก็ดีทั้งวัตถุก็ดี มันยุ่งใจบอกไม่ถูก ถ้าอะไรสกปรกนิดรู้สึกว่าสมองหมุน นี่แค่วัตถุ เห็นคนที่เรารัก เราปรารถนาไปคุยกับคนอื่น ชักไม่ชอบใจเสียแล้ว ดีไม่ดีคนนั้นป่วยไข้ไม่สบายหมุนคว้างเลย ทั้งเหน็ดทั้งเหนื่อย ทั้งมีความสุขทุกข์กาย ทุกข์ใจ เสียทรัพย์สิน ถ้าไปโดนคนที่รักตายเข้า ดีไม่ดีจะตายตามเขาเลย ทำอะไรต่ออะไรไม่ถูก อย่างนี้เป็นเพราะอะไร เป็นเพราะความโง่ ถ้าคนมันสกปรก เรารู้ว่ามันสกปรก คนมันต้องแก่เราก็รู้ว่าแก่ คนมันต้องตายเราก็รู้ว่าตาย ตายแล้วไปห่วงทำไม ในเมื่อป่วยไข้ไม่สบายก็รักษาพยาบาล เป็นการสงเคราะห์ เป็นการระงับบรรเทาเวทนา เป็นเรื่องธรรมดาอยู่ ก็สงเคราะห์ซึ่งกันและกัน คิดไว้เสมอว่าคนนี้ก็คือซากศพนั่นเอง แล้วเราก็ซากศพ ต่างคนต่างสกปรก มันผูกพันอะไรกันนัก นี่จิตใจถ้าเราวางได้อย่างนี้มันก็สบาย ความสุขมันก็มี มันไม่มีความหนักใจใครจะตายก็ตาย พลัดพรากจากกันไป ก็เป็นของธรรมดา วางเสียได้มันก็มีความสุขไม่มีอะไรดึงใจ
 
เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เรื่องอสุภกรรมฐานพูดไปพูดมามันก็วนอยู่กับตัวสกปรก แต่เมื่อวนก็ให้วน แต่ใจของตนให้เป็นอารมณ์ปกติ วันทั้งวัน คืนทั้งคืน มองดูหน้าใคร นึกถึงใครขึ้นมา เห็นมันขึ้นอืด เน่าอืดสกปรก หรือจิตคิดอยู่ในร่างกายในกระดูก ก็เห็นเป็นร่างกระดูก นอนก็เห็นเป็นร่างกระดูกเหยียด นั่งก็เป็นร่างกระดูกนั่ง มันสวยไหมร่างกระดูก ว่าง ๆ ก็ไปเอามาดู จะเดินก็เป็นร่างกระดูกเดิน ถ้าติดใจในร่างกระดูก ถ้าติดใจถ้าพอใจในการพิจารณาในการขึ้นอืด น้ำเหลืองไหลเฟะ ตาโปน แลบลิ้นปลิ้นตา มีผิวกายแตกน้ำเหลืองไหลโซม ดูมันน่าเกลียดบอกไม่ถูก นี่ใจมันติดแบบนี้ เห็นหน้าคนปับมันมีความรู้สึกเป็นอย่างนั้น เห็นหน้าสัตว์นั้นมีความรู้สึกเป็นอย่างนั้น นึกถึงใครขึ้นมามีความรู้สึกเป็นอย่างนั้น ถ้าจิตมันติดอย่างนี้จริง ๆ ละก็ บรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง แล้วควบกับวิปัสสนาญาณตามที่กล่าวแล้วว่ามันไม่ใช่ร่างของเรา มันเป็นเรือนร่างที่เราอาศัยชั่วคราว ไม่ช้ามันพัง มันก็สลายตัว นี่ความเป็นพระอนาคามีจะปรากฏแก่ท่านภายในระยะเวลาไม่ช้า
 
เวลาการพูดมันก็ย้อนไปย้อนมา ต่อไปนี้ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา



จาก หนังสือกรรมฐาน ๔๐
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า:  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.042 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 23 พฤศจิกายน 2567 23:42:19