
กุศลตามกาล

กุศลตามกาล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 623
ไม่ควรคิดที่จะว่าเขาด้วยศีลวิบัติ
[๙๗๙]ชื่อว่า ชน ในคำว่า ไม่พึงคิดเพื่อธรรมคือการว่ากล่าว
ซึ่งชน คือ บุคคลที่เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร
เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ ภิกษุไม่พึงคิด คือ
ไม่พึงยังความคิดให้เกิด ขึ้น ไม่พึงยังความดำริแห่งจิตให้เกิดขึ้น ไม่พึง
ยังมนสิการให้ เกิดขึ้นเพื่อการกล่าว การค่อนว่า การนินทา การติเตียน
การไม่ สรรเสริญ การไม่พรรณนาคุณแห่งชน ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาจาร-
วิบัติ ด้วยทิฏฐิวิบัติ หรือด้วยอาชีววิบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึง
คิด เพื่อธรรมคือการว่ากล่าวซึ่งชน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า..................................................................................
ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจพึง
ทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลายพึง
เปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขตไม่
พึงคิดเพื่อธรรม คือการกล่าวว่าซึ่งชน
ข้อความจากอรรถกถา
บทว่า ชนวาทธมฺมาย คือ เนื้อธรรม คือ การว่ากล่าวชน.
บทว่า น เจต เยยฺ ย คือ ไม่พึงยังความคิดให้เกิด.
บทว่า อิทํ เต อปฺปตฺตํ คือ กรรมนี้ไม่ถึงแก่ท่าน บทว่า อสารุปฺปํ
คือ กรรมนี้ไม่สมควรที่ท่านจะประกอบ. บทว่า อสีลฏฐํ ไม่ดังอยู่ในศีล
คือ ชื่อว่า อสีลฏฐํ เพราะไม่ตั้งอยู่ในศีลอันเป็นความขวนขวายของ
ท่านอธิบายว่า กรรมนี้ไม่เป็นประโยคสมบัติของท่านผู้ตั้งอยู่ในศีล..............................................http://www.oknation.net/blog/3155